ในส่วนคุณศุภัชญา ถึงแม้เป็นลูกสาว ก็มีความสนใจที่จะเรียน

ทางสายเกษตรตามพี่ชายคนโต โดยไปเรียนที่วิทยาลัยเกษตรน่าน รุ่น 37 ในปี 2522 และสอบบรรจุเข้ารับราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ในเดือนเมษายนปี 2522 จากนั้นจึงย้ายมาทำงานในจังหวัดพะเยา เจริญเติบโตในสายงานจนเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2560 ในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ เกษตรอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

เมื่อเกษียณอายุราชการ ประกอบกับพี่น้องก็เกษียณจากงานประจำ และหลานๆ หลังจากออกไปหาประสบการณ์ชีวิตสักพักจึงได้คิดหวนกลับมาบ้านเกิดเพื่อพัฒนาแผ่นดินปู่ย่า ตายาย โดยต่อเติมบ้านเก่าให้เป็นร้านขายอาหาร อาหารว่าง และเครื่องดื่ม ภายในอาคารมีการตกแต่งที่บอกเล่าถึงเรื่องราวและความทรงจำในอดีต เพื่อให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่มีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นบ้านรูปทรงบ้านโบราณทางภาคเหนือ มีการปรับเปลี่ยนให้สวยงามและได้บรรยากาศ แต่ยังคงมีแปลงปลูกพืชทั้งสวนครัวและพืชสมุนไพรภายในบริเวณบ้าน

เมื่อมีการปรับปรุงบ้านให้เป็นร้านกาแฟ ขนม และอาหารเมนูง่ายๆ ที่ใช้วัตถุดิบการปรุงจากสวนของที่บ้าน ซึ่งคุณศุภัชญาได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ทางการเกษตรที่ได้ร่ำเรียนและทำงานมาใช้โดยการปลูกแบบปลอดภัยจากสารพิษ

แรกๆ ก็เริ่มจากญาติมิตรที่เข้ามาลองชิมอาหารและเครื่องดื่มของร้านต่างพากันติดใจทั้งบรรยากาศและรสชาติของเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเมนูที่แทบทุกคนมาต้องสั่งคือน้ำผักกับ (แกล้ม) ลาบ แรกๆ ก็เรียกว่าเครื่องดื่มผักสมุนไพรหรือเมนูสุขภาพ คือทางเจ้าของเครื่องชงกาแฟที่ร้านซื้อมาใช้ได้เข้ามาซ่อมบำรุงเครื่องแล้วเห็นผักสมุนไพรในสวนของร้านจึงเก็บมาปั่นและสอนทางร้านให้ทำ เมื่อชิมแล้วเห็นว่าอร่อยและมีประโยชน์จึงลองทำผสมน้ำผึ้งไซรัปที่ทางร้านทำเอง คุณภาพคงที่ให้ลูกค้าชิม มีการพูดกันปากต่อปากทำให้มีคนเข้ามาใช้บริการกันอย่างต่อเนื่อง

มีวันหนึ่งเพื่อนซึ่งเคยได้ชิมน้ำผักสมุนไพร ได้กลับมาที่ร้านแล้วสั่งว่าขอน้ำผักกับลาบ (แกล้ม) ลาบ ทางร้านเห็นว่าเป็นชื่อที่แปลกแตกต่างจากน้ำผักสมุนไพรที่ธรรมดาไปแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมนูน้ำผักกับลาบแทน สมุนไพรที่ใช้มีมากกว่า 22 ชนิด ดังนี้

ผักชะมวง สรรพคุณช่วยฟอกโลหิต บรรเทาธาตุพิการ แก้ไขตัวร้อน มะกอกอินเดีย สรรพคุณ แก้อาเจียน บำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร จิงจูฉ่าย (ดอกแก้วเมืองจิ่น) สรรพคุณมีแคลเซียมและวิตามินบีช่วยขับพิษ ฆ่าไวรัส หูเสือ (กำปองหนา) สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือดลม ชะเอม (โปร่งฟ้า) สรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง สะระแหน่ (หอมด่วน) สรรพคุณบรรเทาอาการเครียด ปวดหัว บำรุงรักษาสายตา สเปียร์มินต์ สรรพคุณแก้อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ปวดเกร็งในช่องท้องส่วนบน แก้ตะคริว ผักฮาก (ผักรด) ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยลดความดัน เล็บครุฑ สรรพคุณ แก้ปวดหัว ไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว

ตะไคร้ (จั๊กไค) สรรพคุณช่วยขับลม ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด มะตูม (บ่าปิน) สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยระบาย ช่วยรักษาอาการท้องร่วง แก้หวัด ย่านาง (จอยนาง) สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ต่อต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทานโรค มันปู สรรพคุณ มีวิตามินซีและอีสูง เบต้าแคโรทีน ลูทีน ช่วยในการบำรุงสายตา กะเพรา (ก้อมก้อ) สรรพคุณแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง โหระพา สรรพคุณสร้างภูมคุ้มกันกับร่างกาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และมะเร็ง

โกฏทั้งเก้า สรรพคุณแก้หอบหืด เสมหะเป็นพิษ สะอึก ขับลม บำรุงโลหิต ผักแผว (ผักไผ่) สรรพคุณช่วยชะลอวัย ป้องกันและต้านมะเร็ง บำรุงประสาท แก้หอบหืด ยี่หร่า (จั๋นจ้อ กะเพราควาย) สรรพคุณ แก้โรคเบื่ออาหาร ต้านมะเร็ง แก้อาการปวดท้อง และอาหารไม่ย่อย เสลดพังพอน สรรพคุณรักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลในปาก เริม ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ ลดอาการไข้หวัด รักษาอาการอักเสบ แก้ไอ เจ็บคอ คออักเสบ แมงลัก (ก้อมก้อขาว) สรรพคุณเป็นยาระบาย กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนักได้

พลูคาว (คาวตอง) บำบัดและฟื้นฟูความดันโลหิตสูง ต้านมะเร็ง รักษาโรคมาลาเรีย แต่ผักชนิดนี้ทางร้านจะถามก่อนว่าจะให้ใส่หรือไม่เนื่องจากบางคนไม่ชอบกลิ่นคาวของผักตามชื่อ และเมนูนี้จะต้องกินที่ร้านเท่านั้นเนื่องจากถ้าทิ้งเวลานานจะทำให้เกิดการแยกชั้นและรสชาติเปลี่ยนไป

นอกจากร้านจะเปิดขายเฉพาะแล้ว ยังร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรม กาดหล่ายต้าวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จัดมาแล้วถึง 2 ครั้ง ณ ขัวน้อยรอด สะพานภูมินทร์ซอย 2 ภายในงานได้มีการจำหน่ายของกินพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง สืบทอดตำนานรสชาติของชุมชนแม่ต๋ำ ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้าในเครือข่ายโครงการวิจัยฯ จากชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ซึ่งกาดหล่ายต้าในแต่ละครั้งจะอยู่ในธีมที่ต่างกัน เช่น ครั้งที่ 1 คณะกรรมการก็ได้เชิญชวนผู้ร่วมงานสวมใส่ชุดคาวบอยผ้าขาวม้า ครั้งที่ 2 เชิญชวนสวมกางเกงยีน ใส่เสื้อยืด และสะพายย่าม ในธีม “ยีนส์ ยืด ย่าม” นอกจากนี้ ยังจัดให้มีมุมถ่ายรูปให้ผู้ร่วมงานได้เก็บภาพเป็นที่ระลึกตลอดทั้งงาน

สำหรับกาดหล่ายต้าวัฒนธรรมสร้างสรรค์นั้น เกิดขึ้นจากความร่วมมือของชุมชนแม่ต๋ำ เทศบาลเมืองพะเยา และภาคีเครือข่าย เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสนำเสนอสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนาย่านเศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

ปลายปี 2564 อากาศเย็นสบายอย่างไม่น่าเชื่อ ออกจากตัวเมืองสุพรรณบุรี มุ่งสู่อำเภอดอนเจดีย์ ไปไม่นานนัก ขวามือเป็นที่ตั้งของ บริษัท ซิตโต้ อินเตอร์เทรด จำกัด อยู่เลขที่ 272 หมู่ที่ 5 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สังเกตุง่ายๆ คือหลังคาสีเขียว

เป้าหมายของการเดินทางคือ การสัมภาษณ์ คุณสรรพ์ บุญเจริญ ผู้จัดการขาย บริษัท ซิตโต้ อินเตอร์เทรด จำกัด เมื่อเอ่ยถึง ซิตโต้ ท่านผู้อ่านไม่น้อยจะคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ที่มีปุ๋ย และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรคุณภาพ ถือว่าเป็นผู้มีอุปการคุณกับนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านอย่างมาก

วิจัย และพัฒนาพันธุ์ข้าว
ส่งเสริมปลูก ซื้อคืน ส่งออก
คุณสรรพ์ เริ่มให้สัมภาษณ์ว่า งานปุ๋ยและปัจจัยการผลิตยังทำอยู่ ขณะเดียวกันก็พัฒนาระบบไฮโดรโปนิกส์ อยู่ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเจริญเติบโตของพืช

สำหรับที่สุพรรณบุรี เป็นการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยมีที่นา 83 ไร่ครึ่ง ทำการทดสอบร่วมกับมหาวิทยาลัย เรื่องของการเก็บพันธุกรรม มีอาจารย์เป็นผู้ดูแล ทางบริษัทดูแลปัจจัยการผลิต จัดการเรื่องปุ๋ย เคมีภัณฑ์ เพื่อทำอาหารคุณภาพและปลอดภัย มีความนุ่ม เวลาผ่านไป 6 เดือนแล้วก็ยังอร่อยตรงกับความต้องการของตลาด

งานวิจัยข้าวใช้เวลาไม่น้อย เมื่อได้พันธุ์ที่เหมาะสม รูปแบบการดำเนินงานของบริษัทคือทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง กับเกษตรกร คือ

หนึ่ง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ส่วนนี้ใช้ความละเอียดในการดูแล ทางบริษัทจะรับซื้อเมล็ดพันธุ์คืนราคาสูงกว่าท้องตลาด ตันละ 2,000 บาท ในกรณีที่ผลิตเมล็ดพันธุ์แล้วมีการปลอมปนใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ ทางบริษัทจะซื้อคืนเพื่อสีเป็นข้าวทั่วไป ให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด ตันละ 500 บาท พันธุ์ที่เป็นของบริษัทและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันคือ ซิตโต้เจ้าแปด และ หอมซิตโต้ นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่ตลาดต้องการ

สอง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวในท้องถิ่นต่างๆ โดยติดต่อเกษตรกรแปลงใหญ่ สหกรณ์การเกษตร แล้วซื้อผลผลิตเข้ามาแปรรูปเป็นข้าวสารในโรงสีของบริษัท ซึ่งมีกำลังการผลิต 300 เกวียน ต่อวัน ข้าวสารที่ได้ส่งจำหน่ายทั่วไป และส่งออกไปต่างประเทศ

กรณีของการส่งออกไปต่างประเทศ มีหลายประเทศสั่งซื้อ และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำไมต้องวิจัยเอง
คุณสรรพ์ อธิบายว่า ข้าวในบ้านเรามีข้าวนุ่ม ข้าวหอมนุ่ม ข้าวหอมแข็ง ข้าวแข็ง

“ข้าวหอมแข็ง ตลาดไม่ยอมรับเลยไม่มีการผลิต…ทีนี้มาดูข้าวหอมนุ่ม ตัวหลักคือขาวดอกมะลิ 105 ผลิตได้ปีละครั้ง ราคาสูง…แต่ผู้บริโภคต้องการข้าวราคาย่อมเยา ตัวรองหอมมะลิลงมาคือหอมปทุมธานี…แต่บริษัทต้องการความหลากหลาย เราต้องการผลิตข้าวหอมนุ่มราคาไม่แพง อดีตที่ผ่านมาคนกินข้าวนุ่มอย่างข้าวเจ๊กเชย เคี้ยวอร่อย ไม่กระด้าง…เราจะพบว่า ข้าวหอมนุ่มบางพันธุ์ระยะปลูกนานเกินไป ต้านทานต่อโรคและแมลงต่ำ…เรามีฟาร์มจึงต้องวิจัยเอง โดยใช้องค์ความรู้ มีตารางงาน เราตั้งเป้าก่อน ต้องการข้าวหอมนุ่ม อายุสั้น ผลผลิตสูง จึงจะตอบโจทย์ เกษตรกรอยากปลูก เราอยากส่งเสริม ผู้บริโภคชอบ งานวิจัยใช้พื้นที่ไม่มาก ปลูกในท้องร่องสวนมะม่วง นำเกสรมาผสมไขว้ ทำหลายรอบ ไม่ยุ่งยาก แต่ต้องมีตารางงานชัดเจน”

คุณสรรพ์บอก และอธิบายอีกว่า “พันธุ์ของบริษัทที่ได้มา มีซิตโต้เจ้าแปด หอมซิตโต้…แต่ก็ยังทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้หอมซิตโต้เป็นพ่อ ใช้แม่เป็นหอมปทุมธานี…ความหอมของข้าวนอกจากพันธุกรรม ดินที่ปลูกแล้ว เรื่องของปุ๋ย แร่ธาตุที่ใส่ให้กับนาข้าวก็มีส่วนสำคัญ…องค์ความรู้งานวิจัยได้จากที่เราเรียนเกษตรมา และที่สำคัญมากนั้นคนที่ทำงานร่วมกับเรามีความชอบในการปรับปรุงพันธุ์ เขาใส่ใจรายละเอียดในการผสมและคัดเลือก ที่สำคัญมากนั้นเขาเคยร่วมงานกับ อาจารย์วรวิทย์ พาณิชพัฒน์ อดีตนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว”

ซื้อขาย ต่างจากโรงสีทั่วไป
คุณสรรพ์บอกว่า ข้าวพันธุ์ทั่วไป มีการรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริม

สำหรับพันธุ์ใหม่ๆ จะผลิตแล้วบรรจุถุงส่งให้ลูกค้าชิม เมื่อผลตอบรับว่าอร่อยก็จะขยายพันธุ์ปลูก ทำให้มีข้อแตกต่างจากโรงสีทั่วไป “โรงสีทั่วไปซื้อในฤดูกาล ของเรามีความหลากหลาย แทนที่จะซื้อมะลิอย่างเดียว ของเรามีมะลิทนแล้ง มะลิทนน้ำท่วม กลายเป็นข้าวนุ่มราคาย่อมเยา ตอบโจทย์พื้นที่แล้งจัด พื้นที่น้ำท่วม อย่างมะลิน้ำท่วมมีแถวพิจิตร บางระกำ ถึงเวลามีข้าวใหม่เข้าสู่โรงสีตลอด เกษตรกรปลูกข้าวไม่พร้อมกัน…เมล็ดพันธุ์ข้าวที่จำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว อย่างซิตโต้เจ้าแปด กข 41 กข 47 กข 49 หอมซิตโต้ นอกจากนี้ยังมีผลิตข้าวเปลือกสำหรับเป็นอาหารไก่และนก เมล็ดสั้นไก่จิกกินง่าย โปรตีนสูง ชื่อพันธุ์ไข่มุก ปีหนึ่งผลิตราวหมื่นตัน” คุณสรรพ์ อธิบายและบอกต่ออีกว่า

“การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกตามต่างจังหวัด เราไปคัดเลือกพื้นที่ จากนั้นเอาเคมีภัณฑ์ไปให้ใช้ ข้าวที่ออกมารสชาติจึงแตกต่าง ดูอย่างทุเรียนระยอง จันทบุรี ลับแล ชุมพร เบตง ทั้งๆ ที่พันธุ์เดียวกันรสชาติต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้นผมรู้แล้วว่า ลูกค้าของผมต้องการข้าวประมาณไหน มีความเหนียวนุ่ม จะต้องใส่ปัจจัยการผลิตอย่างไร”

คุณสรรพ์ บอกว่า แนวคิดหนึ่งที่สนใจทำมากนั้นคือ หาพันธุ์ข้าวสำหรับบดและผสมลงในกาแฟโบราณ เพื่อให้ได้รสชาติดี กลิ่นหอม ในแวดวงเกษตร ถือว่าคุณสรรพ์ ประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำธุรกิจเกษตร

ในฐานะที่เรียนจบมาทางด้านการเกษตร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คุณสรรพ์ฝากถึงน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ที่เรียนเกษตรว่า หลักสูตรพื้นฐานทางการเกษตรจำเป็นต้องเรียน แต่ขณะที่เรียนต้องตั้งคำถาม หรือมีจินตนาการให้กับตัวเอง

เช่นตั้งคำถามว่า จะผลิตข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูง ถ้ามีคำถามหรือมีจินตนาการที่ดีก็จะมีคำตอบ มีเป้าหมาย คนที่เรียนเกษตรต้องดูท้องถิ่น อย่างอยู่ยะลา จะผลิตทุเรียนอย่างไร อยู่ปักษ์ใต้ปลูกพริกไทยดีไหมเพราะมีความชื้น อยู่อีสานนำข้าวหอมมะลิที่ป่นและหักมาทำแป้งเพื่อส่งขายดีไหม เพราะเป็นแป้งที่อร่อย หรือคนจีนกินหมั่นโถว ใช้หอมมะลิทำหมั่นโถวจะดีกว่าไหม

คุณสรรพ์ประสบความสำเร็จในงานที่ทำอย่างน่าชื่นชม แต่เขาบอกว่า มีเรื่องให้คิดและทำต่ออยู่เสมอ

เขายกตัวอย่างโรงสี

“เรื่องของโรงสี อยากให้เกษตรกลวิธาน แผนกช่าง ในสถาบันที่เปิดสอนทางการเกษตร มาศึกษากับเราก็ได้ มาดูว่าสีข้าวอย่างไรให้ดีให้สวย จากการสำรวจแรงงานดูแลโรงสี ส่วนใหญ่เป็นพม่า ทำให้เสียโอกาส…ข้าวเป็นวัตถุดิบที่นำมาสี โดยที่แต่ละล็อตไม่เหมือนกัน การปรับ การขัดสี การกะเทาะ จะได้ข้าวคุณภาพดีอยู่ที่การเซ็ต เราเอาข้าวเมล็ดอ้วนมาสี หากเซ็ตแคบไปการแตกหักมีมาก หากข้าวล็อตที่ผอม ผลออกมาไม่มีคุณภาพ การดูแลโรงสีไม่ต่างจากกุ๊กในร้านอาหาร วัตถุดิบเหมือนกัน แต่กุ๊กต่างกัน คนจะเข้าร้านที่กุ๊กฝีมือดี อยากให้วิทยาลัยเกษตรกรรม หรือสถาบันที่สอนทางด้านการเกษตรมาฝึกงาน อาจจะหลักสูตร 2-3 เดือน…ปีหนึ่งมีข้าว 20 ล้านตัน หากสีข้าวโดยคนมีฝีมือดี จะได้ข้าวคุณภาพเพิ่มขึ้น

ข้าว ถือว่าเป็นอาหารสำคัญของคนไทย

งานของ บริษัท ซิตโต้ อินเตอร์เทรด จำกัด ถือว่ามีความสำคัญต่อคนไทย โดยเฉพาะคนไทยที่เป็นชาวนา รวมทั้งผู้บริโภค คุณสรรพ์ บุญเจริญ คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง เตี้ย (สูง 93 เซนติเมตร) ทรงกอตั้ง ปล้องสีเหลืองอ่อน ลำต้นแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 6.2 มิลลิเมตรใบ

สีเขียว ใบแก่ช้า มีขนบนแผ่นใบเล็กน้อย ลิ้นใบมี 2 ยอด กาบใบสีเขียว มุมของธงใบปานกลางดอก/ช่อดอก

กลีบรองดอกสีฟาง ยอดเกสรเพศเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงสั้น จำนวนรวงใน 1 กอ 17 รวง จำนวนเมล็ดต่อรวง เฉลี่ย 140 เมล็ด การโผล่พ้นของรวงค่อนข้างมาก 4 เมล็ด

เมล็ดเรียวยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ยอดเมล็ดสีขาว ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก ยาว-กว้าง-หนา = 11.24 – 2.73 – 2.16 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว-กว้าง-หนา = 8.32 – 2.34 – 1.94 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 34.42 กรัม (ความชื้น 14%) ข้าวกล้องสีน้ำตาลมัน การร่วงของเมล็ด ปานกลาง (6-25%) ลักษณะรวงจับกันแน่นปานกลาง ความยาวของรวง 24.85 เซนติเมตร

ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์

ข. จำนวนวันตกกล้าถึงออกดอก 50% เท่ากับ 58 วัน

ค. ผลผลิตเฉลี่ย 920 กิโลกรัม ต่อไร่ ในฤดูนาปี และ 1,030 กิโลกรัม ต่อไร่ ในฤดูนาปรัง

ง. อายุเก็บเกี่ยว 86-92 วันหลังงอก

จ. ปริมาณอมิโลส 26.58%

ฉ. ปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระดับปานกลาง

ช. พื้นที่แนะนำ พื้นที่นาชลประทาน

ลักษณะเด่นพิเศษ

อายุเก็บเกี่ยวสั้น (สั้นกว่า 100 วัน) ผลผลิตต่อไร่สูง
2. เมล็ดโต เรียว ยาว (น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 34.42 กรัม ที่ความชื้น 14%)
3. เมล็ดข้าวสารใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้
4. มีปริมาณอมิโลสสูง อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ (650c) ข้าวสุกร่วน ความคงตัวของแป้งสุก ปานกลาง (42 มิลลิเมตร) ค่อนข้างนุ่ม ไม่มีกลิ่น

กลีบรองดอกสีฟาง ยอดเกสรเพศเมียสีขาว ยอดดอกสีฟาง รวงแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงสั้น จำนวนเมล็ดต่อรวง เฉลี่ย 205±15 เมล็ด เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดเฉลี่ย 85±2.16

เมล็ด

เรียว ยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขนสั้น ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก ยาว-กว้าง-หนา = 10.42±0.10 – 2.57±0.10 – 2.02±0.04 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว-กว้าง-หนา = 7.66±0.15 – 2.24±0.07 – 1.78±0.05 มิลลิเมตร ขนาดเมล็ดข้าวสาร ยาว-กว้าง-หนา = 7.50±0.18 – 2.12±0.06 – 1.73±0.05 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 26.31±0.02 กรัม (ความชื้น 14%)

ลักษณะอื่นๆ

ก. ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์

ข. ผลผลิตสูง ในฤดูนาปี เฉลี่ย 980 และ 950 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยการปักดำและหว่านน้ำตมตามลำดับ ส่วน

ในฤดูนาปรังได้ผลผลิตเฉลี่ย 900 และ 890 กิโลกรัม ต่อไร่

ค. อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 110 วันหลังงอก

ง. ปริมาณอมิโลส 15.25-16.58%

จ. พื้นที่แนะนำ ให้ปลูกในพื้นที่นาชลประทาน

ลักษณะเด่นพิเศษ

1. เป็นข้าวหอม ข้าวสุกนุ่ม
2. เมล็ดข้าวสารใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ ฟักทอง แทงบอล UFABET เป็นพืชสวนครัวที่ได้รับความนิยมตลอดทั้งปี เพราะปลูกดูแลง่าย สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน โดยทั่วไป ฟักทอง 1 ต้น จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 5-7 ผล ปลูกฟักทอง 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1-1.5 ตัน หากมีการดูแลจัดการที่ดี ให้ปุ๋ยเต็มที่ จะได้ผลผลิตที่เป็นน้ำหนักสดถึง 2 ตัน สำหรับฟักทองพันธุ์เบา ปลูกได้ 50-60 วัน ก็เก็บผลได้ ส่วนฟักทองพันธุ์หนัก หากปลูกในเดือนกุมภาพันธ์จะเก็บผลได้ในเดือนมิถุนายน โดยทยอยเก็บไปได้เรื่อยๆ จนถึงเดือนกรกฎาคม

ฟักทอง เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดินระหว่าง 5.5-6.8 ปลูกฟักทองไม่ใช่เรื่องยาก คล้ายกับการปลูกแตงโม เนื่องจากฟักทองเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย

เนื่องจากธรรมชาติของต้นฟักทอง เป็นพืชที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ จึงต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก จึงนิยมปลูกในระยะ 3×3 เมตร ส่วนฟักทองพันธุ์เบา ให้ผลขนาดเล็ก นิยมปลูกในระยะ 75×150 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกลึก 3-5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 3-5 เมล็ด หลังกลบหลุมให้ใช้ฟางข้าวแห้งคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน

เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบ ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อต้นฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้ง เมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน สำหรับฟักทองพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ควรใส่ปุ๋ยให้ มากกว่าต้นฟักทองพันธุ์เบา ควรรดน้ำแปลงปลูกฟักทองทุกวัน แต่งดรดน้ำ 15 วัน ก่อนเก็บผลแก่