ในอนาคตจะมีการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพมากขึ้นรวมถึงการเร่ง

ขยายพันธุ์ วางแผนขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในระยะยาว โดยสิ่งที่ได้ไม่เพียงพลังงานทดแทน แต่จะได้ธรรมชาติป่าไม้กลับคืนมา เกิดความอุดมสมบูรณ์ควบคู่กัน ถือเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกร ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปทดลองผลิตใช้ได้เลย สำหรับเกษตรกรผู้สนใจสามารถศึกษาเยี่ยมชมได้ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และศูนย์วิจัยน้ำมันยางนา อบต.พิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โทร. (081) 729-4334

ซีพีเอฟลดการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำ ส่งเสริมความยั่งยืนการใช้ทรัพยากรทางทะเล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นส่งเสริมความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เดินหน้าความร่วมมือกับองค์กรและสมาคมต่างๆ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล คาดในอีก 3 ปีข้างหน้าลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำเหลือไม่เกิน 5 %

น.สพ.สุจินต์ ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มีเป้าหมายดำเนินงานเรื่องการใช้ทรัพยากรจากทะเลชัดเจน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะลดการใช้ทรัพยากรทางทะเลด้วยการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ลดการใช้น้ำทะเลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้การผลิตอาหารกุ้ง สามารถลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นจากเดิมที่ 35 % เหลือเพียง7% ในปัจจุบัน และในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเหลือเพียง 5 % เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่เรายังสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงที่ถูกกฎหมาย

“บริษัทฯมีแนวทางชัดเจนในการปกป้อง อนุรักษ์ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล โดยให้ความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมสูตรอาหารกุ้ง เพื่อลดการใช้ปลาป่นซึ่งได้มาจากทรัพยากรทางทะเล รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเป็นกุ้งขาวแวนนาไม ทำให้ลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์ลงจาก 35% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เหลือ 7% ในปัจจุบัน” น.สพ.สุจินต์ กล่าว

น.สพ. สุจินต์ กล่าวย้ำว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ของซีพีเอฟสู่การเป็นครัวของโลก (Kitchen of the world) ธุรกิจสัตว์น้ำของบริษัททั้งอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และอาหารแปรรูป-สำเร็จรูป ทำให้บริษัทไปเกี่ยวข้องกับทะเล เช่น ปลาป่นและการใช้น้ำทะเลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้บริษัทตระหนักดีและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังมีโครงการ ‘ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน’ โดยร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) และเครือข่ายภาคประชาสังคม ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศของประเทศทั้งทางทะเลและทางบกอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับ 8 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ประกาศเจตนารมย์สนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ Fishery Improvement Plan –FIP ใน 2 ฝั่งทะเลของไทย คือ ฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าประมาณปลายปี 2560 นี้ จะมีการประกาศหลักเกณฑ์เพื่อที่จะนำมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่าโปรแกรมดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูทะเลให้กลับมามีสภาพอุดมสมบูรณ์

อนึ่ง บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงและผลิตอาหารกุ้ง โดยรับซื้อปลาป่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารกุ้งซึ่งใช้สำหรับเลี้ยงกุ้งของฟาร์มของบริษัท โดยทั่วไปวัตถุดิบในการผลิตปลาป่นมาจาก 1. ผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (By-Product) เช่น โรงงานซูริมิ โรงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา 2.ผลพลอยได้จากการทำประมง (By-Catch) ซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนและทวนสอบย้อนกลับของปลาป่นที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (International Fishmeal and Fish Oil Organization ’s Responsible Supply Chain of Custody หรือ IFFO RS COC ซึ่งรับรองโดยองค์กรปลาป่นสากล (IFFO)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ศึกษาแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ เจาะกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร ระบุ มีกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดรวม 18 กลุ่ม เนื้อที่เพาะปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งจังหวัด 29,040 ไร่ โดยเฉลี่ยได้กำไรสุทธิ 955.48 บาทต่อไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้ว

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในโครงการการศึกษาแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระดับพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ปีเพาะปลูก 2559/60 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกข้าวอินทรีย์ พบว่า ต้นทุนและผลตอบแทนข้าวอินทรีย์ มีต้นทุนรวม 3,673.77 บาทต่อไร่ และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ พบว่า มีผลผลิตเฉลี่ย 335.21 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาที่ขายได้เฉลี่ย 13.81 บาทต่อกิโลกรัม และมีรายได้จากการขายผลผลิต 4,629.25 บาทต่อไร่ ซึ่งเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้ว จะได้กำไรสุทธิเฉลี่ย 955.48 บาทต่อไร่

จังหวัดสุรินทร์ ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดนำร่องในการขยายตลาดผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วไป ทำให้เกษตรกรที่ผลิตเป็นอินทรีย์รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ภายในจังหวัด รวมประมาณ 18 กลุ่ม มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งจังหวัด ประมาณ 29,040 ไร่ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการขายข้าวในรูปแบบข้าวเปลือกอินทรีย์ เกษตรกรจะนำไปขายให้กับกองทุนข้าวเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ และเกษตรกรในแต่ละกลุ่มจะได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตรวจผ่านมาตรฐานการรับรองของ คู่ค้า เช่น NOP EU Fairtrade IFOAM COR Bio Suisse มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มก.สร.) PGS มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.) และ Organic Thailand เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์แล้ว ในบางกลุ่มยังได้ริเริ่มพัฒนาต่อยอดข้าวอินทรีย์เป็นเวชภัณฑ์ เป็นแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมผลการศึกษาครั้งนี้ได้ ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 โทร.044 465 079 หรือ 044 465 120 ในวันและเวลาราชการ

ส่งออกเดือนมิถุนายนสดใสบวกต่อเนื่อง ดันไตรมาส 2 พุ่ง 10.9% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 17 ไตรมาส สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมรุ่ง ขยายตัวทุกตลาด โดยเฉพาะส่งออกไปจีน-ญี่ปุ่น-อาเซียนยังครองแชมป์ ปัจจัยสำคัญ ศก.โลกดีขึ้น ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า แถลงการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน 2560 ว่า ขยายตัว 11.7% มูลค่า 20,282 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 10.9% จากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัว 4.9% และเป็นการขยานตัวสูงสุดในรอบ 17 ไตรมาส ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 มีมูลค่า 113,547 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 7.8%

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ 18.3% สินค้าที่ส่งออกขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว 34.4% ยางพารา 27.2% น้ำตาลทราย 36.0% ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 15.0% อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องแปรรูป 7.7% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป 12.2% เป็นต้น รวม 6 เดือนแรกกลุ่มสินค้านี้ขยายตัว 13.1%

สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ 11.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยสินค้าที่ขยายตัวคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ 18.9% ผลิตภัณฑ์ยาง 43.7% ผลิตภัณฑ์พลาสติก 49.2% เม็ดพลาสติก 18.7% เป็นต้น รวม 6 เดือนแรก สินค้ากลุ่มนี้ขยายตัว 6.9%

ตลาดส่งออกสำคัญก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ตลาดจีน 29.9% รวม 6 เดือน ขยายตัว 31.2% ตลาดญี่ปุ่น 26.5% รวม 6 เดือนแรก ขยายตัว 8.0% ตลาดอาเซียนขยายตัว 24.6% รวม 6 เดือนแรก ขยายตัว 3.1% ตลาด CLMV 13.8% รวม 6 เดือนแรก 13.5% ตลาดสหภาพยุโรป ขยายตัว 5.9% รวม 6 เดือนแรก ขยายตัว 7.2% เป็นต้น

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 18,365 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.7% ส่งผลให้ดุลการค้า มิถุนายน เกินดุล 1,917 ล้านเหรียญสหรัฐ รวม 6 เดือนแรก มีการนำเข้า 106,576 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.0% และการค้าเกินดุล 6,971 ล้านเหรียญสหรัฐ

แนวโน้มการส่งออกปี 2560 มีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญ ที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ และราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันขยายตัวต่อเนื่อง

วันนี้ (21 กรกฎาคม 2560) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยันกรณีเกิดกระแสข่าวในโลกโซเชียล ระบุบริษัทยางล้อรายใหญ่ไม่รับซื้อยางที่ปลูกในพื้นที่บุกรุก ไม่กระทบต่อประเทศไทยแน่นอน เนื่องจากมีแผนรองรับ ซึ่งเริ่มดำเนินแล้วในส่วนของการสร้างมาตรฐานการยอมรับระดับสากลกับ“การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC” ย้ำ การให้ข่าวควรสืบหาแหล่งที่มาและควรมีความชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการปั่นให้เกิดกระแสเชิงลบ หวั่นกระทบสถานการณ์ราคายาง

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (ผวก.กยท.) กล่าวถึง กระแสข่าวในโลกโซเชียลที่ระบุว่าบริษัทยางล้อรายใหญ่มีแผนไม่รับซื้อยางพาราจากประเทศที่ปลูกยางในพื้นที่บุกรุกว่า เป็นกระแสข่าวเก่าที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2559 จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนก เนื้อหาข่าวกล่าวถึงประเทศทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงประเทศไทย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนี้จะไม่กระทบแน่นอน เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กยท. มีการเตรียมแผนรองรับและดำเนินการแล้ว คือ การสนับสนุน ส่งเสริม

ให้ความรู้กระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กยท. เห็นถึงความสำคัญและโอกาสของการพัฒนาสวนยางไปสู่มาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้ยาง รักษามาตรฐานคุณภาพ และขยายฐานตลาดส่งออก ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่ปี 2559 โดยนำร่องในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปัจจุบันมีผู้ร่วมโครงการกว่า 2,700 ราย รวมพื้นที่กว่า 40,000 ไร่ การดำเนินการจะเน้นการอบรมให้เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC มีการสำรวจตรวจแปลง และเตรียมเรื่องการตรวจรับรอง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 9 เดือน จึงคาดว่าประมาณเดือนกันยายนนี้จะมีพื้นที่นำร่องพื้นที่แรก

จากนั้นจะมีการขยายผลต่อในช่วงเดือนสิงหาคมอีกประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตภาคตะวันออก (ตราด จันทบุรี ระยอง) และในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนกลางอีกประมาณ 50,000 ไร่ (นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่) ดังนั้น ภายใน 3 ปีคาดว่า การผลักดัน และบริหารการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากลจะครอบคลุมพื้นที่สวนยางของเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ทั้งหมด ฉะนั้น ปัญหาเรื่องบริษัทยางไม่รับซื้อยางจากประเทศที่ไม่ได้รับการรับรอง จึงไม่มีผลต่อประเทศไทย เพราะสามารถมั่นใจได้ว่าสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กยท. เป็นสวนยางที่มีแหล่งที่มาถูกต้องชัดเจน

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ กยท. ได้เร่งดำเนินการในเรื่องการให้การรับรองมาตรฐาน FSC สำหรับสวนยางที่เปิดกรีด ซึ่งเป็นแนวคิดในการที่จะรับรองการดำเนินการจัดการสวนยางให้ได้มาตรฐานการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตั้งแต่น้ำยางไปจนถึงไม้ยาง โดยจะเน้นดำเนินการในรูปแบบแปลงใหญ่ ผ่านสถาบันเกษตรกร เพราะ กยท. มองว่า สถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และให้สถาบันเกษตรกรทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมผลผลิตของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับรองมาตรฐาน ซึ่งจะได้ผลผลิตที่เป็นการรับรองจาก FSC ทั้งนี้

เกษตรกรที่เข้าสู่ระบบของ FSC ซึ่งเทียบเท่ากับระบบให้การส่งเสริมปลูกแทนของ กยท. แต่ประเด็นการจัดการสวนยางแบบยั่งยืนจะมีการตรวจสอบรายงานย้อนกลับ รวมไปถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่เพิ่มเติมเข้ามา โดยมุ่งเน้นให้มีการจัดการสวนยางให้เกิดความสมดุลทั้ง 3 ด้าน คือสิ่งแวดล้อม ชุมชนสังคม หรือเศรษฐกิจ จะได้ประโยชน์ในเรื่องของมูลค่าของผลิต ทั้งที่เป็นน้ำยางและสิ่งที่ไม่ใช่ยาง ซึ่งหมายถึงไม้ยาง ซึ่งสามารถผลักดันให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10% ของมูลค่าที่มีการซื้อขายอยู่ทั่วประเทศ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันการผลิตและการแข่งขันทางการตลาดสู่กับต่างประเทศได้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการให้ข่าว ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผวก.กยท. ฝากว่า อยากให้มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการสร้างกระแสเชิงลบที่จะกระทบต่อสถานการณ์ราคายางปัจจุบัน “สิ่งสำคัญ คือ เรื่องของการให้ข่าวการสื่อสารให้ข้อมูล ขอให้มีการตรวจสอบให้ชัดเจนทั้งในเรื่องของระยะเวลา วัตถุประสงค์ของการให้ข่าว และความถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากเป็นไปในเชิงลบหวั่นจะกระทบต่อสถานการณ์ยางพารา การให้ข่าวลักษณะนี้จึงควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อเรื่องของราคายางที่ทุกภาคส่วนพยายามปรับแก้หรือรักษาอยู่ในปัจจุบัน” ผวก.กยท.กล่าว

เอสซีจี นำโดย นายอาสา สารสิน ประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี และผู้บริหารเอสซีจี ร่วมกับตัวแทนชุมชน เยาวชนคนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการ “รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย” เมื่อเร็วๆ นี้

โดยโครงการ “รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย” เป็นการสานต่อโครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” โดยนำแกนนำจากชุมชนและตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ จากจังหวัดกาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และขอนแก่น ไปเรียนรู้และเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่ารอบ
โรงงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด และป่าของชุมชนโดยรอบโรงงาน อันเป็นผลมาจากการสร้างฝายชะลอน้ำ ได้ลงมือสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อนำประสบการณ์จริงและความรู้ที่ได้รับกลับไปใช้แก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในชุมชนของตนเอง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สมาชิกในชุมชนได้

อัตราการว่างงานของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับแนวโน้มการว่างงานของคนไทยในปี 2560 พบว่า หากพิจารณาถึงกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่จำนวนกว่า 5.5 แสนคนที่จบปริญญาตรีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และต้องเริ่มหางานทำ จำนวนคนไทยว่างงานโดยรวมจะเพิ่มขึ้นจากเดิมราว 1.2 แสนคน เป็น 1.4 – 1.5 แสนคน ปัญหาดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ การลงทุน ไปจนถึงประสบการณ์ไม่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง ดังนั้น การส่งเสริมให้เยาวชนค้นหาความชอบของตนเองและวางแผนด้านอาชีพตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยให้พวกเขามีเวลาศึกษาหาความรู้อย่างเพียงพอ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่สุดและสามารถเริ่มต้นที่ตัวเยาวชนเอง

เพื่อเป็นการปลูกฝังรากฐานการศึกษาที่มีประสิทธิภาพให้แก่เยาวชนเพื่อต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบุคคลคุณภาพในแก่ประเทศชาติ เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้ริเริ่ม “โครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Banpu Education for Sustainability หรือ BES) มาตั้งแต่ปี 2547 ได้จัด กิจกรรม Career Day: เปิดโลกอาชีพ ปูเส้นทางสู่อนาคต โดยร่วมกับกิจการเพื่อสังคม a-chieve (อาชีพ) จัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพมิติใหม่ให้กับนักเรียนในโรงเรียน 6 แห่งใน 3 จังหวัดภาคเหนือที่ได้รับการสนับสนุนจากบ้านปูฯ ตามโครงการ BES ได้แก่ โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสระ

จังหวัดพะเยา โรงเรียนสบปราบพิทยาคม โรงเรียนแม่ทะพัฒนศึกษา และโรงเรียนแม่ทะวิทยา จังหวัดลำปาง โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จังหวัดลำพูน โดยได้เชิญพี่ต้นแบบอาชีพมาร่วมถ่ายทอดข้อมูล เพื่อให้เยาวชนได้ทำความรู้จักกับอาชีพต่างๆ รอบตัว และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองกำลังสนใจ ไม่ใช่เพียงติดอยู่ในกรอบของอาชีพยอดนิยม หรือการเรียนจบปริญญาที่สังคมรอบตัวปลูกฝังกันมา เพราะหัวใจสำคัญของกิจกรรมแนะแนวอาชีพ คือ การสร้างเส้นทางให้เยาวชนเดินไปได้อย่างถูกทิศทาง ประสบความสำเร็จ และมีความสุขที่ได้ประกอบอาชีพที่เหมาะกับตนเอง

นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส – องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยประสบการณ์จากระยะเวลา 14 ปีของการดำเนินงาน และการสนับสนุนโรงเรียนใน 3 จังหวัดภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่บ้านปูฯ เคยดำเนินธุรกิจในอดีต เราได้เห็นถึงข้อจำกัดด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของเยาวชนในพื้นที่ว่ามีจุดเริ่มต้นจากการที่เยาวชนไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วตนมีความชอบหรือมีศักยภาพด้านไหน ควรเลือกเรียนต่อสายใด หรือจบแล้วควรทำงานอะไร การหาคำตอบและปลูกฝังให้พวกเขาสามารถติดกระดุมชีวิตเม็ดแรกได้อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้หลงเดินทางผิดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ด้วยความเชื่อที่ว่า “พลังความรู้ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” บริษัทฯ จึงได้จัดกิจกรรมด้วยความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้เยาวชนมีการเรียนรู้แบบบูรณาการ พร้อมจุดประกายให้พวกเขาได้เข้าใจระหว่างสิ่งที่อยากเป็น กับสิ่งที่เหมาะจะเป็น ซึ่งถ้าหากปรับตรงนี้ได้ เยาวชนก็จะเจอจุดที่พอดี มีอาชีพที่มั่นคง และมีความสุขในการทำงาน ส่งผลต่อเนื่องไปถึงครอบครัวและสังคมที่เข้มแข็งต่อไป”

กิจกรรม Career Day: เปิดโลกอาชีพ ปูเส้นทางสู่อนาคต walkoffbalk.com ได้รับความสนใจจากเยาวชนที่เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน โดยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ที่มีโอกาสรับฟังข้อมูล คำแนะนำด้านอาชีพ และพูดคุย ซักถามกับพี่ต้นแบบจากกรุงเทพ เชียงใหม่ และคนในท้องที่ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มอาชีพสุขภาพ เช่น ตัวแทนจากโรงพยาบาลท้องถิ่น กลุ่มอาชีพเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ กลุ่มอาชีพวิศวกรรมและซ่อมบำรุง เช่น วิศวกร โปรแกรมเมอร์ และช่างยนต์ กลุ่มอาชีพศิลปะ เช่น สถาปนิก นักออกแบบ และเชฟ รวมไปถึงกลุ่มอาชีพภาษาและการสื่อสาร เช่น นักประชาสัมพันธ์และนักแปล ที่ร่วมกันถ่ายทอดและแนะนำประสบการณ์ชีวิตของตนเองผ่านมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมองเห็นภาพอาชีพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น พี่ต้นแบบกลุ่มสุขภาพจากทุกท้องที่จะย้ำเสมอว่า อาชีพในโรงพยาบาลไม่ได้จำกัดอยู่แค่แพทย์ หรือต้องเรียนเก่งมากอย่างที่น้องๆ เข้าใจกันเท่านั้น เพราะยังมีสาขาที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพยาบาล เภสัชกร โภชนาการ เทคนิคการแพทย์ หรือกายภาพบำบัด

ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมยังได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังมาร่วมถ่ายทอดชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมได้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่ตนเองจะได้เจอต่อไปในสนามจริง หลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรม เยาวชนกว่าร้อยละ 91 มีข้อมูลอาชีพที่ตนสนใจมากยิ่งขึ้น และกว่าร้อยละ 75 ยังมีความกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้นที่จะออกไปค้นหาข้อมูลสายการเรียนและข้อมูลอาชีพด้วยตนเองอีกด้วย

นอกเหนือจากกิจกรรมพิเศษดังกล่าว บ้านปูฯ ยังให้การสนับสนุนโรงเรียนทั้ง 6 แห่งภายใต้โครงการ BES โดยในปีการศึกษา 2560 นี้ บริษัทฯ ได้มอบทุนสนับสนุนรวมกว่า 2.4 ล้านบาท เพื่อจัดหาครูภาษาอังกฤษชาวต่างชาติเจ้าของภาษาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยความมุ่งหวังให้เยาวชนและบุคลากรในโรงเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพและการให้ทุนสนับสนุนดังกล่าวเป็นเพียงส่วนเล็กๆ จากบ้านปูฯ ในฐานะสมาชิกหนึ่งในสังคมเพื่อช่วยขับเคลื่อนการศึกษาไทย และแก้ไขปัญหาภาวะตกงานของเด็กจบใหม่ได้ในระดับหนึ่ง ตัวเยาวชนเองต้องใฝ่หาความรู้ และค้นหาตัวเองให้ได้ การมีความรู้ในเชิงวิชาการ การรู้และเข้าใจในสภาวะรอบตัว และรู้จักตัวเองต่างหากที่จะช่วยนำพาพวกเขาก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางอนาคตและกำหนดเป้าหมายในอาชีพที่ใช่ให้กับตัวเอง

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เมื่อเวลา 04.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 17.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 30 นอต หรือ 55 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ และคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2560 โดยพายุนี้จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยในช่วงวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2560 ขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดไว้ด้วย

ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. (ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย (นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย) อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา