ในเกษตรกรที่อยู่พื้นที่ห่างไกลโรงงานมาก การเดินทางมาส่งบุก

ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลา คุณวิทยาจึงเข้าไปส่งเสริมให้ทำบุกตากแห้ง แล้วจึงนำมาส่งให้กับโรงงาน เป็นการลดน้ำหนักของบุกเมื่อขนส่ง ทั้งยังเพิ่มมูลค่าบุกขึ้นไปอีก โดยเนื้อบุก 7 กิโลกรัม เมื่อทำบุกตากแห้งแล้ว จะได้เนื้อบุก 1 กิโลกรัม แต่เกษตรกรจะได้ราคาขายบุกจากราคาปกติเพิ่มขึ้นไปอีก 10 ตัว ซึ่งวิธีการทำบุกตากแห้งไม่ยาก เพียงนำบุกมาล้างให้สะอาด เข้าเครื่องสไลซ์ จากนั้นใช้แก๊สหุงต้มทำความร้อนเพื่อทำให้บุกแห้ง หรือนำไปตากแห้งกับแดด 2 วัน 2 คืน แล้วเก็บไปขายให้กับโรงงาน แต่การตากแห้งควรระวัง เพราะหากเนื้อบุกมีคุณภาพ เมื่อทำตากแห้งแล้วเนื้อบุกจะไม่ดำ หากเนื้อบุกดำ ราคาซื้อขายกับโรงงานจะถูกลงอีก

ปัจจุบัน มีเกษตรกรทำไร่บุกกว่า 3,000 ครัวเรือน พื้นที่อำเภอสบเมยเป็นพื้นที่ดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับพืชมีหัวอย่างบุกอยู่แล้ว ทำให้แต่ละปีมีผลผลิตจากบุกเข้าสู่โรงงานในปริมาณที่สูง ในแต่ละปีมีผลผลิตบุกเฉพาะอำเภอสบเมยป้อนให้กับโรงงานในพื้นที่มากถึง 20,000 ตัน ในปริมาณนี้ คุณวิทยา บอกว่า ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบุกจากประเทศเพื่อนบ้าน เพราะยังมีผู้ผลิตจากประเทศจีนเข้ามาติดต่อรับซื้อบุกในพื้นที่อีกหลายราย ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นเรื่องของบริษัทรับสัมปทานและโรงงานแปรรูปดำเนินการเอง หากส่งไปยังประเทศจีน สามารถส่งออกไปในรูปของหัวบุกได้เลย แต่ถ้าส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องแปรรูปหัวบุกให้อยู่ในรูปของบุกผงก่อน

“การทำไร่บุกต้นทุนต่ำมาก หากซื้อไข่บุกมาปลูกเอง ราคาลงทุน 50 บาท ต่อกิโลกรัม พื้นที่ต่อไร่ใช้ไข่บุก ประมาณ 100 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 5,000 บาท หากปลูกไว้เพียง 6 เดือน แล้วขุดมาขาย จะได้น้ำหนักบุกหลุมละครึ่งกิโลกรัม รวมน้ำหนักบุกที่ได้ ไร่ละ 2,500 กิโลกรัม คิดราคาบุกเฉลี่ยที่ 20 บาท ต่อกิโลกรัม จะได้เงินจากการขายประมาณ 50,000 บาท ต้นทุนการผลิตนอกเหนือจากค่าไข่บุกแล้ว อาจมีค่าแรงงาน รวมๆ คิดไปที่ต้นทุน 10,000 บาท ทำให้เหลือกำไรจากการขายบุก 40,000 บาท ต่อไร่ และหากเกษตรกรปล่อยไว้นาน 1-3 ปี ก็จะทำให้ได้น้ำหนักบุกมาก สัดส่วนกำไรต่อไร่จากการขายบุกก็จะมากกว่านี้อีกหลายเท่า”

อย่างไรก็ตาม การขุดหัวบุกมาจำหน่าย หากหัวบุกที่ลงปลูกมีระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือน ก็ไม่ควรรีบขุดไปจำหน่าย แม้ว่าน้ำหนักหัวบุกจะได้น้ำหนักตามต้องการ เพราะเนื้อบุกจะยังไม่แก่ถือว่ายังไม่มีคุณภาพ เมื่อเนื้อบุกยังไม่แก่เต็มที่ ขณะขุดออกมาหัวบุกจะไม่เป็นไร แต่จะเริ่มเน่าระหว่างขนส่ง เพราะเนื้อในของบุกยังไม่แน่น วางทับกันมากจะเละและเน่าในที่สุด ทำให้ผลผลิตเสียหายก่อนถึงโรงงาน

“ผมเคยคำนวณราคาต้นทุนและราคาซื้อขายบุก พบว่า จริงๆ ราคารับซื้อในอดีตที่ชาวบ้านไม่มีต้นทุนเลย อยู่ที่กิโลกรัมละ 3-4 บาท เมื่อมีต้นทุน ราคาซื้อขายบุก อยู่ที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท ชาวบ้านก็ได้กำไรแล้ว แต่เพราะบุกยังเป็นพืชที่มีความต้องการสูง และผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ราคาซื้อขายปัจจุบันพุ่งขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 27 บาท”

เกษตรกรหลายราย รู้จักวิธีการสร้างมูลค่าจากบุก เมื่อถึงระยะที่ต้นบุกล้ม ก็รอให้ถึงเวลาไข่บุกหลุด เก็บไข่บุกนำไปขาย หรือบางรายเพาะไข่บุกเป็นต้นกล้าก่อน เพื่อให้หัวบุกที่นำไปปลูกจากแปลงเพาะมีหัวขนาดใหญ่ขึ้นในระยะเวลาเท่ากับการปลูกด้วยไข่ หรือบางรายยังไม่เก็บหัวบุกในไร่ของตนเอง แต่เข้าไปเก็บหัวบุกจากป่าออกมาขาย เพราะหวังให้หัวบุกในไร่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ การตากแห้งก็เป็นที่นิยมทำในกลุ่มเกษตรกรชาวสบเมย เพราะราคาผลผลิตสูงกว่าการซื้อขายบุกสดหลายเท่า

ทุกวันนี้ คุณวิทยา เกษียณอายุราชการออกมาแล้ว แต่ยังคงทำหน้าที่นักวิชาการเกษตรได้อย่างดีเช่นเดิม ด้วยการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการเข้าไปส่งเสริมการปลูกบุกให้กับเกษตรกรที่สนใจ และหากพื้นที่ใดที่เห็นว่า พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกบุก ต้องการวิทยากรที่มีความรู้ สามารถติดต่อ คุณวิทยา วนาสถิตย์ ได้ที่ บ้านเลขที่ 334/4 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัด

สวนทุเรียน GAP ของ ลุงมนัส ฮวดจึง ประธานชมรมเกษตรกรชาวสวนจังหวัดปราจีนบุรี บ้านเลขที่ 133/2 หมู่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โทร.0-3740-3568 , 086-144-1092

ลุงมนัสมีพื้นเพเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดที่ลาดกระบัง อาชีพเดิมทำนาแต่มีรายได้ลุ่มๆ ดอนๆ จึงตัดสินใจ ซื้อที่ดินเนื้อที่ 30 ไร่ ในตำบลดงขี้เหล็กตั้งแต่เมื่อ 40 ปีก่อนเพื่อปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน ปัจจุบัน สวนฮวดจึง ปลูกทุเรียน 350 ต้น ต้นมังคุด 500 ต้น เงาะโรงเรียน100 ต้น กระท้อน 50 ต้น และมะไฟอีกบางส่วน

ระหว่างเดินชมสวนแห่งนี้ สังเกตว่า ไม้ผลส่วนใหญ่มีอายุกว่า 15 ปีแล้วทั้งสิ้น เช่น ต้นทุเรียน ต้นเงาะพันธุ์โรงเรียน ต้นกระท้อน พันธุ์ปุยฝ้าย ซึ่งโดยปกติ ต้นไม้ที่มีอายุมากจะให้ผลผลิตลดลง แถมลำต้นสูงใหญ่มาก การดูแลสวนจึงทำได้ยาก โดยเฉพาะต้นกระท้อนที่ต้องอาศัยการห่อผล

ลุงมนัสพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเลือกใช้เทคนิคการทำสาวต้นไม้ ลุงมนัส ต้องใช้เวลาในการตัดทอนต้นให้เตี้ยลง ค่อยๆ ทำอย่างใจเย็น ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จึงจะได้ต้นทุเรียน ต้นเงาะ ต้นกระท้อนที่มีวัยสาวเอ๊าะๆ ที่มีผลผลิตเพิ่มพูนมากขึ้น

การดูแล “สวนฮวดจึง” ลุงมนัสไม่ได้จ้างคนงาน อาศัยแค่แรงงานของตัวเอง และภรรยา คือ ป้าฉวีวรรณ แสงอินทร์ ช่วยกันทำงานดูแลในแต่ละวัน ตั้งแต่เช้าตรู่ทั้งสองสามีภรรยาจะช่วยกันดูแลให้น้ำ ตัดหญ้า หว่านปุ๋ยและตัดแต่งกิ่ง สวนแห่งนี้ ดูแลตัดหญ้าจนเตียนแลดูสะอาดตามาก ที่สำคัญสวนนี้ไม่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า และดูแลให้น้ำด้วยระบบน้ำสปริงเกลอร์ มีสถานที่เก็บอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย หยิบใช้งานง่าย ส่วนปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยคอก ที่หาซื้อจากท้องตลาดทั่วไป

ลุงมนัสจะว่าจ้างคนงาน เฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น ในช่วงต้นฤดู ที่ผลผลิตมีปริมาณไม่มาก ลุงมนัสจะปีนบันไดไม้ไผ่ขึ้นไปตัดทุเรียนด้วยตัวเอง หลังจากนั้นจะใช้เชือกเกี่ยวมัดขั้วผลทุเรียนไว้แบบหลวมๆ และค่อยๆ หย่อนผลทุเรียนลงมาอย่างช้าๆ จนถึงพื้นดิน ลุงมนัสบอกว่า การใช้เทคนิคนี้ ต้องคอยระวังไม่ให้ผลทุเรียนโดนกิ่งทุเรียนบนต้น มิฉะนั้นปมเชือกที่มัดไว้หลวมๆ ก็จะคลายตัวทันที ทำให้ผลทุเรียนร่วงหล่นจนเสียหายได้

ทุเรียนที่เก็บจากในสวนจะถูกทำความสะอาดผล และคัดแยกตามความสวยงาม ขนาด และอัตราความแก่ของผลทุเรียน ก่อนจำหน่าย ลุงมนัสไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องตลาด เพราะสวนฮวดจึง ได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งผลิตทุเรียนคุณภาพดี เนื้อแห้ง รสหวานมันอร่อย จึงมีลูกค้าขาประจำที่เป็นชาวปราจีนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงแวะเวียนมาซื้อผลผลิตถึงสวน

ยิ่งใกล้วันที่ทุเรียนจะออกจะมีผู้มาเยือนมากมายๆ แถมที่นี่ยังสามารถขายได้ในราคาดีกว่าทุเรียนทั่วไปอีกด้วย แต่ละปี จะมีผลผลิตทั้ง 4 ชนิดเข้าสู่ตลาดประมาณ 31.5 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 438,500 บาท มีกำไรสุทธิประมาณปีละ 343,500 บาท

ในอดีตลุงมนัสก็เหมือนเกษตรกรชาวสวนผลไม้รายอื่นๆ ที่ใช้ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชอย่างเต็มที่ถึงปีละ20 ครั้ง จึงต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงมาก แถมเกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อมและตัวเกษตรกร ทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีโรคภัยรุมเร้ามากมาย

จุดเปลี่ยนที่ทำให้ลุงมนัสตัดสินใจหยุดการใช้สารเคมีในสวน เกิดขึ้นหลังจากลุงมนัสมีโอกาส พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ตระหนักถึงพิษภัยจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี และมองเห็นว่า ระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เป็นทางเลือกใหม่ ที่จะช่วยปรับสภาพแวดล้อมในสวนให้ดีขึ้น

ลุงมนัสจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ จัดการคุณภาพของสวนแบบ GAP เมื่อปี 2548 และได้รับการรับรองมาตรฐานเป็นแปลงเกษตรปลอดภัย (Q ) เมื่อปี 2549 และได้รับการตรวจสอบเป็นแปลงเกษตรปลอดภัยจากสารพิษต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

ทุกวันนี้ ลุงมนัส ดูแลสวนทุเรียนโดยใช้วิธีการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน ( IPM ) เพื่อลดการใช้สารเคมี รักษาความสมดุลทางธรรมชาติและช่วยรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งนำเทคโนโลยี ในการตัดแต่ง ดอกและผลทุเรียน รวมทั้งผสมเกสรในทุเรียน ใส่ปุ๋ยที่เพียงพอกับความต้องการของพืช ใช้จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ลุงมนัสอาศัยวิธีการควบคุมโรคเน่าของรากทุเรียนโดยการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมศัตรูพืช โดยระบบ ชีววิธี

สวนแห่งนี้มีแมลงศัตรูพืชมากมายเช่น แมลงช้าง มวนเพชรฆาต รวมทั้งมดแดง ลุงมนัสบอกว่า แมลงเหล่านี้ มีประโยชน์อย่างมาก เพราะทำหน้าที่สร้างความรำคาญให้กับกระรอก ยิ่งต้นไหนมีมดแดงมากๆ ผลไม้เหลือให้เก็บขายได้เยอะ แต่เวลาเก็บผลผลิตต้องอดทน ให้มดแดงกัดสักหน่อยก็ถือว่า คุ้มค่า เพราะมดแดง ทำหน้าที่สำคัญในการกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญในสวนผลไม้

กรมวิชาการเกษตรได้จัดประกวดแปลงปลูกพืชในระบบ GAP ดีเด่นประจำปี 2553 ขึ้นเพื่อคัดเลือกเกษตรกรผู้ที่มีการปฎิบัติที่ดีในการปลูกพืช ( GAP) จากผู้สมัคร 2,000 ราย ปรากฎว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรีได้คัดเลือกสวนทุเรียนของ “มนัส ฮวดจึง” เป็นแปลงเกษตรดีที่เหมาะสม GAP ดีเด่นระดับภาคตะวันออก

ลุงมนัสบอกว่า การจัดระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม ต้องอาศัยการจดบันทึกการทำงานในสวนทุกเรื่องอย่างชัดเจนว่า ในแต่ละวัน ดูแลสวนอย่างไรบ้าง ฉีดพ่นปุ๋ย ยาชนิดไหน ใช้ไปมากน้อยแค่ไหน มีรายรับรายจ่ายอะไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญมากเพราะทำให้เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนของการผลิต รวมทั้งสามารถคำนวณต้นทุนผลกำไรได้ด้วย

ลุงมนัส ถือเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนทั่วไป เพราะลุงมนัสเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่หวงวิชา ในแต่ละวันจึงมีเพื่อนเกษตรกรแวะเวียนมาขอเยี่ยมชมสวนและขอความรู้ทางการเกษตร ลุงมนัสยินดีถ่ายทอดความรู้อย่างไม่ปิดอำพราง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับความรู้นำไปใช้แล้วได้ผล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี โทร.0-3721-7871 หรืออีเมล์ prachinburi@doae.go.th สำหรับผู้สนใจแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการสวนทุเรียนกับลุงมนัส สามารถพูดคุยทาง

ธุรกิจฟาร์มเห็ด เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันที่หลายคนสนใจอยากทำเป็นอาชีพหลังเกษียณเพราะใช้เงินลงทุนไม่สูงมากแต่ให้ผลตอบแทนที่ดี การพัฒนาธุรกิจฟาร์มเห็ดให้ประสบความสำเร็จมีปัจจัยพื้นฐานไม่กี่อย่างเริ่มจากโรงเรือนที่ใช้เปิดคอกเห็ดต้องควบคุมอุณหภูมิ-ความชื้น-แสง-ปริมาณอ๊อกซิเจนได้อย่างเหมาะสม ควบคุมโรคแมลงและไรเห็ดได้ ก็มีดอกเห็ดออกขายทำเงินได้แล้ว หากต้องการให้ฟาร์มเห็ดมีผลกำไรเพิ่มมากขึ้นก็ต้องลงทุนขายก้อนเห็ดและเชื้อพันธุ์เห็ดไปพร้อมๆ กัน

หากใครอยากเห็นธุรกิจฟาร์มเห็ดที่สร้างมาเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นมรดกทางธุรกิจแก่ลูกหลานในระยะยาว ควรลงทุนสร้างฟาร์มเห็ดครบวงจร มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดและติดแบรนด์สินค้าฟาร์มให้เป็นที่รู้จักของตลาดในวงกว้าง และพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ลูกค้าแวะเวียนเข้ามาใช้ชมและเลือกซื้อสินค้าถึงฟาร์ม ซึ่งการทำธุรกิจรูปแบบนี้จะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับ “เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์ม ” ผู้นำตลาดฟาร์มเห็ดเชิงท่องเที่ยวแนวใหม่ กับฟาร์มเห็ดครบวงจร ที่นี่เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ กิจกรรม ที่พัก ร้านกาแฟ ช็อปปิ้ง และไฮไลท์ร้านอาหาร เสิร์ฟเมนูเห็ดนานาชนิด ที่เป็นทั้งเครื่องดื่ม อาหารทานเล่น อาหารคาว ขนมหวานที่ทำจากเห็ด กลายเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเขาใหญ่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะมาเยี่ยมชมกิจการทุกวันตลอดทั้งปี

“ หนุ่มวิศวะ ” ผันตัวมาทำฟาร์มเห็ด

ปี 2554 คุณปรเมศวร์ สิทธิวงศ์ หนุ่มวิศวกรเจ้าของบริษัทรับเหมาสร้างข่ายโทรคมนาคมที่มีรายได้หลักแสนต่อเดือน ตัดสินใจขายหุ้นให้เหลือน้อยลง เพื่อหันมาทำธุรกิจเชิงเกษตรกรรม บนที่ดินมรดกเนื้อที่ 90 ไร่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ของครอบครัวภรรยาคือ “คุณแอนนา สิทธิวงศ์ ”

โดยคุณปรเมศวร์ ร่วมหุ้นกับเพื่อน 2 คนทำธุรกิจฟาร์มเห็ดท่องเที่ยวมูลค่า 10 ล้านบาทโดยปรับเปลี่ยนที่ดินประมาณ 2 ไร่ครึ่งริมถนนธนะรัชต์ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเคยเป็นสวนมะม่วงและปลูกน้อยหน่ามาก่อน มาลงทุนก่อสร้างฟาร์มเห็ดแห่งนี้ ช่วงที่ปรับที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคาร เมื่อขุดดินลงไปเจอแต่หินอ่อน คุณปรเมศวร์เล่าแบบขำๆ ว่า ผมเกือบเปลี่ยนใจไปขอสัมปทานทำหินอ่อนแทนฟาร์มซะแล้ว

ช่วงที่คุณปรเมศวร์วางแผนว่าจะทำฟาร์มเห็ด เขาพยายามเสาะหาข้อมูลเรื่องการทำฟาร์มเห็ดจากแหล่งต่างๆ จนเจอเพื่อนวัยเด็กสมัยเรียนมัธยมมงฟอร์ต ที่เชียงใหม่ด้วยกัน คือ ผศ.พิเชษฐ์โสวิทยกุล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง ที่เคยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง โรงเรือนระบบปิดของเห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นผู้จุดประกายเรื่อง “ ฟาร์มเห็ดครบวงจร สไตล์โมเดิร์น ” ภายใต้บรรยากาศโอโซนจากเขาใหญ่ ทั้งระบบปิด ระบบเปิด และระบบเพาะในดิน รูปแบบโรงเรือนที่ทำไม่ซ้ำใครในสไตล์โมเดิร์นด้วยการใช้ผนังตาข่าย ใช้หลังคาเป็นเหล็กแผ่นเพื่อให้มีความโปร่งสามารถระบายอากาศได้ดีตามแบบที่เห็ดชอบ

เขาใหญ่ พาโนรามา ฟาร์มเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เป็นต้นมา ในการทัวร์ฟาร์มเพาะเห็ดจะมีมัคคุเทศก์พาชมและอธิบายสรรพคุณของเห็ดแต่ละชนิด เมนูอาหารที่แนะนำ และขนาดที่เหมาะสมในการเก็บ

ที่นี่เพาะเห็ดหลากหลายชนิดได้แก่ เห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางนวล เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูเผือก เห็ดนางรมทอง เห็ดหัวลิง(ยามาบูชิตาเกะ) เห็ดหลินจือ เห็ดต่งฝน หรือ เห็ดโต่งฝน เห็ดพื้นบ้านของลาว มีสรรพคุณ เป็นยาแก้ปวดท้อง ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร ช่วยในการหมุนเวียนของโลหิตได้ดี เติบโตได้ดีในฤดูฝนและเห็ดตีนแรด(เห็ดตับเต่าขาว)ซึ่งเชฟบางคนบอกว่า เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดที่อร่อยที่สุดในโลก น้ำหนักมากสุดที่เคยเพาะได้ในฟาร์มแห่งนี้คือ 35 กิโลกรัม หากใครอยากทดลองเพาะเห็ดเพื่อเฝ้าดูการเติบโตของดอกเห็ดในแต่ละวัน ทางฟาร์มก็มีก้อนเชื้อเห็ดจำหน่ายในราคาย่อมเยา

นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการ “เขาใหญ่ พาโนราม่า รีสอร์ท ”แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพอย่างครบวงจร นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสบรรยากาศสุดฟิน แช่สระออนเซ็น แร่หินอ่อนธรรมชาติ แบบ 360 องศา

สินค้าขายดีของทางฟาร์มได้แก่ น้ำเห็ด 7 อย่าง ตรา อิมมูเฟรช ผลิตจากเห็ดสด ๆ ที่ได้รับทุนวิจัยผลิตภัณฑ์จาก สวทช. เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะเห็ดมีใยอาหาร(Fiber) ที่จะช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินเเละช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ ” ชาเห็ดหลินจือ ” ได้รับการขึ้นทะเบียนอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทางฟาร์มได้นำเห็ดคุณภาพดีมาแปรรูปเป็นสินค้าหลากหลายชนิด อาทิ ถั่วลิสงอบกรอบเคลือบเห็ด ไอศกรีมเห็ด หลินจืออบแห้ง ผงเห็ดโป๊ยเซียน ไส้อั่วเห็ด แหนมเห็ด ฯลฯ เข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ ได้เลือกซื้ออย่างสะดวก สด ใหม่ อยู่เสมอ ทางฟาร์มได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้า เพื่อขยายเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายสินค้าสุขภาพ แปรรูปจากเห็ด ในทุกจังหวัดทั่วประเทศอีกด้วย

“ เห็ดหลินจือ ” สินค้าเด่น

สินค้าเด่นที่นับเป็นพระเอกของฟาร์มคือ “ เห็ดหลินจือ ” ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีนมานานกว่า 4,000 ปี “หลินจือ” แปลเป็นไทยว่าสมุนไพร แห่งจิตวิญญาณ สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบ เรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ ป้องกันโรคมะเร็ง เบาหวาน ลดความดัน

ส่วนที่หายากที่สุดของเห็ดหลินจือ คือ สปอร์เห็ดหลินจือที่กระเทาะเปลือกแล้ว มีพลังมหัศจรรย์ในการบำรุงร่างกาย ใช้เป็นยาอายุวัฒนะที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ที่ผ่านมาทางฟาร์มจะเน้นการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปจากเห็ด โดยเฉพาะสปอร์เห็ดหลินจือ ที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้วในรูปชาเห็ดหลินจือ กาแฟเห็ดหลินจือ

นอกจากนี้ ทางฟาร์มเห็ดแห่งนี้ ยังได้เปิดรับพันธมิตรทางธุรกิจในรูปแบบ Contract Farming (การทำฟาร์มสัญญา หรือ ฟาร์มประกัน) ในโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือเชิงพาณิชย์ สร้างอาชีพและรายได้จากการเพาะเห็ดหลินจืออย่างถูกต้องตามหลักการ ให้แก่เกษตรกรผู้สนใจทั่วประเทศ

หลายปีที่ผ่านมา ทางฟาร์มได้ทุ่มเทพัฒนาการเพาะเห็ดหลินจือมาอย่างต่อเนื่องและพร้อมแลกเปลี่ยประสบการณ์ถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นต้นแบบในการส่งเสริมให้เกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในด้านการทำฟาร์มเห็ดหลินจือ

เนื่องจากเมืองไทยสามารถเพาะเห็ดหลินจือได้ทุกพื้นที่หากมีการออกแบบโรงเรือนที่เหมาะสมและเทคโนโลยีการผลิตที่สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ในการเพาะพันธุ์เห็ดหลินจือเชิงพาณิชย์ได้บริษัทจึงได้ริเริ่มโครงการฯ ร่วมกับพันธมิตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างครบวงจร

นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับความมหัศจรรย์ และความสวยงามของดินแดนของเห็ดนานาชนิด อย่าลืมแวะมา ชม ชิม ช๊อป แชะ เเละแชร์เรื่องราวดีๆ กันได้ที่ เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม และ เขาใหญ่ พาโนราม่า รีสอร์ท ได้ทุกวัน การเดินทางไปเขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม สะดวกสบาย หาง่าย ฟาร์มแห่งนี้ตั้งอยู่ กม.10.5 ต.หนองน้ำ ปัจจุบัน กระแสความนิยมบริโภคพืชผักอินทรีย์เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าขายดีหลายชนิด จัดอยู่ในกลุ่มพืชผักพื้นบ้าน ที่ปลูกเป็นผักริมรั้ว ดูแลแบบพืชผักอินทรีย์ กลายเป็นสินค้าทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของเกษตรกรในหลายพื้นที่ เพราะพืชผักพื้นบ้านปลูกดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาโรคแมลงมากนัก แถมมีตลาดรองรับแน่นอน สร้างรายได้ดีให้แก่เกษตรกร

ถั่วแปบ หรือ มะแปบ เหมยโต้ว เสี่ยงตาวโต้ว ถั่วแปบ เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่มีแหล่งกระจายพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปทางภูมิประเทศแบบเขตร้อนหรือร้อนชื้น โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ถั่วแปบเขียว ฝักจะมีสีเขียวเข้ม และถั่วแปบขาว ซึ่งฝักจะมีสีเขียวซีดขาว แต่ปัจจุบันมีถั่วแปบอีกชนิดหนึ่ง คือ ถั่วแปบม่วง มีลักษณะฝักสีม่วง มีดอกสีม่วง สวยงามมาก ปลูกตามแนวรั้วไว้รับประทานฝักอ่อน เช่น แกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอยใส่หมูหรือกุ้งก็ได้ตามชอบ

ถั่วแปบ ประกอบด้วย โปรตีน แป้ง ไขมัน เกลือแร่ เว็บเล่นบาคาร่า และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี รวมไปถึงวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี กรดแพน-ไรทีนิค และสารพฤกษเคมี ที่มีชื่อว่า ไฟโตฮีแม็กกลูตินิน (Phytohemagglutinine) ซึ่งช่วยเร่งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการทำงานเซลล์สิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ถั่วแปบ ยังสามารถปลูกคลุมดิน เพื่อบำรุงรักษาดินให้ดีอีกด้วย

ผักปลัง ผักปั้ง หรือ โปเต้งฉ่าย ผักปลัง เป็นผักพื้นบ้านที่พบเห็นอยู่ทั่วไป เป็นผักที่ไม่ต้องดูแลมากนัก ผักปลังจึงเป็นผักที่ค่อนข้างปลอดสารพิษ ผักปลัง สามารถนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนไปทำอาหาร เช่น ลวกหรือนึ่งรับประทานกับน้ำพริก แกงอ่อมหอย ผัดใส่แหนม แกงส้ม แกงแค แกงเห็ด

ผลสุกของผักปลั่งนิยมใช้เป็นสีผสมอาหาร เช่น ขนมชั้น บัวลอย ขนมน้ำดอกไม้ ขนมเรไร และซ่าหริ่ม เป็นต้น ผักปลังในปัจจุบันมีทั้งประเภทใบเล็กและใบใหญ่ มีทั้งสีเขียวและสีแดง

กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือลื่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบแอฟริกาตะวันตก แถวประเทศซูดาน และที่ประเทศอินเดีย ก็มีกระเจี๊ยบอีกชนิดหนึ่ง ฝักเป็นสีแดง ทั้งลำต้นและก้านใบก็จะเป็นสีแดง ซึ่งแตกต่างไปจากพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งจะมีแต่ฝักสีเขียวเท่านั้น

เรานำฝักกระเจี๊ยบไปปรุงอาหารได้หลายชนิด ตั้งแต่ลวกจิ้มน้ำพริก ชุบแป้งทอด ใส่แกงเลียง ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกระเจี๊ยบมาก ใช้ทำข้าวปั้นห่อสาหร่าย ปลูกได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

น้ำเต้าลาย

น้ำเต้าลายเป็นพืชโบราณนานแสนนานจากฟอสซิลซากพืชที่พบในแหล่งโบราณคดีที่แม่ฮ่องสอนก็มีเมล็ดน้ำเต้ารวมอยู่ด้วย น้ำเต้าลาย ก็เป็นอีก 1 ในกว่า 50 สายพันธุ์ ของน้ำเต้า รูปร่างคล้ายฟักเขียว แต่มีลายสีขาวที่ผล ดูสวยงามและเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง น้ำเต้าลายบริโภคได้ทั้งแกงส้ม ต้มจืด ผัดใส่ไข่ ใส่หมู แกงเผ็ดไก่ ใส่พะโล้