ให้น้ำวันละในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ แต่ขึ้นอยู่กับความชื้นของดินด้วย

ในการให้ปุ๋ยเหมือนไม้ผลทั่วไป เช่น ให้ปุ๋ย สูตร 16-16-16 บำรุงต้น และ สูตร 13-13-21 บำรุงผล และฉีดฮอร์โมนพืชตามช่วงการเจริญเติบโต เทคนิคการปลูกให้ได้ผลผลิตดีนั้น คุณนัฐกร แจกแจงว่า ต้องรู้ธรรมชาติก่อนว่ามะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่ชอบน้ำเยอะ ชอบแดดจัด แต่ไม่ชอบน้ำขังและชื้นแฉะ หมักหมม ชอบดินที่มีการระบายน้ำค่อนข้างดี ดังนั้น การเตรียมวัสดุปลูกและพื้นที่ปลูกต้องนึกถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย

ซึ่งการที่จะทำให้มะเดื่อฝรั่งเติบโตไปได้ดี จะต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมดินก่อนเป็นอันดับแรก หากดินมีความสมบูรณ์จะช่วยให้พื้นฐานของมะเดื่อตั้งต้นและไปต่อได้ดี

สำหรับโรคและแมลง มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยมาก ที่พบคือ ต้นมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกนอกโรงเรือน เช่น หน้าฝน จะเจอหนอนกินใบ โดยตัวหนอนจะห่อใบมะเดื่อฝรั่งเพื่อเป็นที่หลบซ่อน และกินใบในช่วงกลางคืน วิธีแก้ไขใช้สารสกัดสมุนไพรต่างๆ เช่น น้ำหมักสะเดา น้ำส้มควันไม้ ที่มีขายตามตลาด แต่ถ้าปลูกจำนวนไม่เยอะให้คนจัดการบี้ตรงหนอนม้วนใบก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ปลูกในโรงเรือนจะสามารถกันปัญหาเรื่องโรคและแมลงได้ดี มักไม่ค่อยมีปัญหาเหล่านี้

โรคที่เจอในต้นมะเดื่อฝรั่งหลักๆ คือ ราสนิมที่ใบ จะเจอช่วงหน้าฝน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสียหายต่อผลผลิตมากนัก ที่สวนของคุณนัฐกรเองเขาจะปล่อยให้ใบร่วงไป เพราะจากนั้นจะแตกใบใหม่ นอกจากนี้ มีปัญหานกจะมากินผลตอนใกล้สุก แก้ไขโดยห่อผลเมื่อใกล้สุก

กิ่งพันธุ์ขายดี ผลิตไม่ทัน

“ที่สวนของผมทำเกษตรแบบปลอดภัย เน้นใส่ปุ๋ยคอกมูลวัวเป็นหลัก และมีการฉีดฮอร์โมนบำรุงพืช ใส่ปุ๋ยเคมีสลับกันและใช้ปุ๋ยไฮโดรบ้าง มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่สามารถปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ได้ เนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ถ้ามีการดูแลแล้วตัดแต่งกิ่ง จะมีผลผลิตออกมาได้ตลอด”

คุณนัฐกร ให้ข้อมูลอีกว่า มะเดื่อฝรั่ง สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด (บางสายพันธุ์) การตอนกิ่ง การปักชำ การติดตาและต่อกิ่ง แต่ที่สวนเลือกวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากง่ายและเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ใช้เวลาสั้นๆ เพียงแค่ 1 เดือน ก็ออกรากแล้ว และได้ต้นพันธุ์ไว้ปลูก โดยราคากิ่งพันธุ์จำหน่ายตั้งแต่ราคา 180-300 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย

ในการตอนกิ่งมะเดื่อฝรั่งนั้น หลังจากที่รากออกแล้ว จะมีการตัดกิ่งตอนไปชำเพื่ออนุบาลในกระถางดำต่อไป ซึ่งเมื่อตัดกิ่งไปแล้วจะทำให้ต้นมะเดื่อฝรั่งแตกกิ่งก้านสาขาได้เยอะมาก ทำให้ได้กิ่งพันธุ์เพิ่มเยอะขึ้น เหมาะสำหรับการปลูกเพื่อขายกิ่งพันธุ์

นับตั้งแต่ปลูกมะเดื่อฝรั่งมา 2 ปี เกษตรกรรายนี้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟังว่า บรรดามือใหม่ที่ซื้อกิ่งตอนไปปลูก บางคนจะเจอปัญหารากเน่า โคนเน่าตาย เนื่องจากไม่ได้ศึกษาวิธีการดูแลอนุบาลกิ่งตอนให้ดีก่อน ทำให้มือใหม่เจอปัญหานี้เยอะ บางคนถึงกับท้อ สิ่งที่สวนทำคือ หลังจากนำกิ่งลงกระถางแล้วก็รดน้ำพอชุ่ม วางไว้ในที่ร่มสัก 2-3 ชั่วโมง แล้วนำถุงมาคลุมปิดกระถางไว้เพื่ออบเรียกราก ใช้เวลา 15-20 วัน จะสังเกตเห็นมีรากเดินออกจากก้นกระถาง

ช่วงที่อบไม่ต้องรดน้ำ จนกว่าจะนำถุงพลาสติกจากกระถางออกเมื่อผ่านการอบแล้ว หลังจากนั้น วางไว้ที่ร่มรำไร เวลารดน้ำให้ดูที่ความชื้นของดิน อาจจะ 2-3 วัน รดต่อครั้ง พอต้นตั้งตัวได้ค่อยๆ ย้ายต้นให้โดนแดด เพื่อให้ต้นปรับตัวได้ ก่อนนำไปปลูก

คุณนัฐกร บอกว่า ที่ผ่านมามีผู้สนใจซื้อกิ่งพันธุ์จำนวนมาก จนผลิตไม่ทัน เนื่องจากกิ่งพันธุ์มีปริมาณน้อย ไม่ทันต่อความต้องการ ตอนนี้เลยใช้วิธีเปิดให้คนที่สนใจลงชื่อจองไว้ก่อน เมื่อกิ่งพร้อมจะแจ้งให้โอนเงิน จากนั้นจะส่งกิ่งทางไปรษณีย์ไปให้

“มะเดื่อฝรั่ง ยังรู้จักกันไม่แพร่หลายนัก มีหลายคนถามว่า จะขายให้ใคร ปลูกอย่างไร ต้องดูแลแบบไหน ใส่ปุ๋ยอย่างไร ขายส่วนไหนของพืชได้บ้าง ในช่วงแรกๆ ผมจะโพสต์ขายกิ่งตอนในกลุ่มของมะเดื่อฝรั่ง และมีลูกค้าคนที่สนใจมาศึกษาวิธีการปลูกที่สวน มีทั้งครู ตำรวจ และกลุ่มคนที่สนใจรักสุขภาพ และตอนนี้สวนที่นี่เป็นที่รู้จักแพร่หลายแล้ว ทำให้มีกลุ่มคนที่สนใจเดินทางเข้ามาติดต่อชมสวน และซื้อกิ่งพันธุ์เป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น ทีวี และเฟซบุ๊ก”

เขาให้คำแนะนำสำหรับคนที่อยากจะปลูกเชิงธุรกิจ เพื่อจำหน่ายกิ่งพันธุ์และจำหน่ายผลสดว่า มะเดื่อฝรั่ง สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย เนื่องจากชอบอากาศในประเทศไทยและปลูกได้ผลผลิตดีในบ้านเรา สำหรับคนที่จะปลูกเป็นอาชีพควรมองตลาดให้ดี ว่าจะทำการตลาดอย่างไร จะมีการแปรรูปผลผลิตได้ไหม ควรศึกษาสายพันธุ์ที่จะปลูกด้วย และที่ขาดไม่ได้คือ เงินทุน

เล็งทำแหล่งท่องเที่ยว

กับคำถามที่ว่า มะเดื่อฝรั่ง ที่สวนมีรสชาติเหมือนหรือแตกต่างจากมะเดื่อฝรั่งที่ปลูกที่เชียงใหม่หรือไม่อย่างไร ประเด็นนี้ คุณนัฐกร ตอบว่า รสชาติไม่แตกต่างกันเท่าไร โดยขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์มากกว่า แต่สำหรับฤดูฝนคนที่ปลูกข้างนอกโรงเรือน อาจจะไม่สามารถควบคุมคุณภาพเรื่องความหวานได้ เนื่องจากพืชได้รับน้ำในปริมาณที่เยอะ ดังนั้น ความได้เปรียบของการปลูกมะเดื่อฝรั่งในระบบโรงเรือนจะควบคุมคุณภาพได้ และสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

เจ้าตัววางแผนในอนาคตไว้ว่า จะขยายโรงเรือนไปเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด เพื่อจะได้ผลิตให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค และในอนาคตถ้ามีโอกาสอยากจะแปรรูป เช่น ทำมะเดื่อฝรั่งอบแห้ง แย้มมะเดื่อฝรั่ง และอยากให้คนไทยรู้จักต้นมะเดื่อฝรั่งมากขึ้น โดยออกแสดงจำหน่ายผลผลิตมะเดื่อฝรั่งตามงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการเกษตร นอกจากนี้ อยากจะทำให้เป็นแหล่งที่ศึกษาดูงาน สำหรับผู้ที่สนใจ

“ผมอยากทำสวนตรงนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เลยจัดสวนรอบบ้าน และปั้นรูปต่างๆ รอบสวนเพื่อความสวยงาม ทำให้คนที่มาสวนได้มีความสุขกับการถ่ายรูป โดยสวนที่นี่ผมจะเน้นสีชมพู และรูปหัวใจ เพราะหมายถึงสิ่งที่ผมสร้างขึ้นมาด้วยใจรัก และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค”

ใครที่ยังไม่เคยเห็น หรือไม่เคยชิมมะเดื่อฝรั่ง อาจจะมองไม่ออกว่าเจ้าผลไม้ชนิดนี้สามารถแปรรูปอะไรได้บ้าง คุณนัฐกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แปรรูปได้หลายอย่าง เช่น นำผลสดไปอบแห้ง น้ำมะเดื่อฝรั่ง ทำเป็นแยมมะเดื่อฝรั่ง นำไปแต่งขนมและอาหาร นำใบมาทำเป็นชาใบมะเดื่อฝรั่ง และรับประทานผลสด แต่ที่สวนเริ่มทำคือ ทำชาใบมะเดื่อฝรั่ง ลักษณะการขาย จะนำไปขายโดยการโพสต์ขายในเฟซบุ๊ก และกลุ่มคนที่สนใจทั่วไป

ในการแปรรูปนั้นจะใช้ใบมะเดื่อฝรั่ง โดยเลือกใบที่ 5 ลงมานับจากยอด เพราะเป็นใบที่ไม่อ่อนมาก เหมาะทำชา หลังจากนั้น นำไปล้างและไปหั่นเป็นชิ้นๆ จากนั้นตากให้แห้ง ประมาณ 2 แดด แล้วนำไปคั่วเพื่อให้มีกลิ่นหอม ก่อนนำไปบรรจุในซองชา กล่องละ 30 ซอง ราคากล่องละ 180 บาท

เขามองตลาดของมะเดื่อฝรั่งว่า ในอนาคตตลาดน่าจะเปิดกว้างขยายมากขึ้น คนน่าจะรู้จักมากขึ้น เนื่องจากในช่วงนี้คนเริ่มรู้จักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามสื่อต่างๆ ประกอบด้วยกับทุกวันนี้คนหันมาบริโภคผลไม้เพื่อสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากเป็นไม้ผลที่ติดอันดับ 10 ของโลก ที่มีโภชนาการสูง อีกทั้งผลยังสามารถแปรรูปได้หลายอย่าง

สนใจอยากติดต่อเข้าไปชมสวน หรือซื้อกิ่งพันธุ์ติดต่อมาได้ที่ เฟซบุ๊ก ลำดวน สวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์ แฟนเพจ “สวนมะเดื่อฝรั่งสุรินทร์ คุณนัด หรือที่เบอร์โทร. เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานหลายรายปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิม โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว ปรับเปลี่ยนไปทำเกษตรอื่นที่เหมาะสมกว่า ดังเช่น ในจังหวัดอำนาจเจริญ ที่เกษตรกรรวมตัวกันปรับเปลี่ยนการทำนาในพื้นที่ไม่เหมาะสมมาทำไร่อ้อยให้สอดรับกับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ ในลักษณะแปลงใหญ่อ้อยประชารัฐ ซึ่งเป็นการทำเกษตรแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ (อ้อยโรงงาน) ที่มีการดำเนินการร่วมกันระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และเอกชน ในการพัฒนารายได้สินค้าเกษตร สร้างรายได้เร็ว เชื่อมโยงตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการให้แก่เกษตรกรรายย่อย คาดหวังให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ในปีงบประมาณ 2560 มีแปลงเกษตรเพิ่มขึ้นจากปี 2559 จำนวน 1,910 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ 3,400,000 ไร่ เกษตรกร 250,000 ราย อยู่ใน 10 กลุ่มสินค้า 67 ชนิดสินค้า โดยกลุ่มที่เพิ่มขึ้นคือ กลุ่มแปลงใหญ่แมลงเศรษฐกิจ เช่น ผึ้งโพรง ชันโรง จิ้งหรีด เป็นต้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เน้นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เสริมการใช้เทคโนโลยี มีการเชื่อมโยงตลาด

และเพิ่มเติมการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรให้เกิดความมั่นคง มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการแปลงเกษตรของตนเอง นอกจากนี้ ในแปลงเกษตรที่เข้าร่วมโครงการใหม่จะเน้นให้เกษตรกรได้วิเคราะห์ปัญหา กำหนดแผน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และในปี 2561 ได้วางเป้าหมายขยายพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,200 แปลง ขณะที่โรดแมปในระยะ 20 ปีนั้นจะต้องทำให้พื้นที่การเกษตรของไทยร้อยละ 60 เป็นรูปแบบการเกษตรแปลงใหญ่ เนื่องจากการทำเกษตรแปลงใหญ่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรได้จริง จนสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงรายละ 50,000 บาท

สำหรับความคืบหน้านโยบายประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ที่แบ่งกลุ่มสินค้าเป็น 5 กลุ่ม อาทิ พืชเศรษฐกิจหลัก สัตว์บก ประมง เกษตรสร้างรายได้เร็ว (Clash Crop) หนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักที่เกษตรกรสามารถลดพื้นที่ปลูกข้าว คือ อ้อย มีราคารับซื้อที่แน่นอน และสิ่งที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พยายามผลักดันคือ แปลงใหญ่ประชารัฐ เพราะมีเอกชนดูตลาด รัฐให้ความรู้โดยศูนย์ ศพก. 882 ศูนย์ ทั่วประเทศ จะเป็นเสาหลักแนะนำเกษตรกร ซึ่งเมื่อพูดถึงลักษณะของเกษตรแปลงใหญ่อ้อย หลายคนคงคิดถึงไร่อ้อยโรงงานที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ผืนเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว เกษตรแปลงใหญ่คือ การรวมกลุ่มของเกษตรกรในหลายๆ พื้นที่เข้าด้วยกัน อย่างเช่น ที่ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีการรวมกลุ่ม เกษตรกร 10 ราย เนื้อที่รวมกัน จำนวน 121 ไร่

ด้าน นายทรงพันธ์ จันทร์สว่าง เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวเสริมว่า จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับมอบหมายจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินการโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิต มีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่าย มีตลาดรองรับที่แน่นอน สามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งการดำเนินแปลงใหญ่อ้อยประชารัฐ ดำเนินการในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เกษตรกรเป้าหมาย 159 ราย พื้นที่ 2,945 ไร่ อำเภอเสนางนิคม เกษตรกรเป้าหมาย 117 ราย พื้นที่ 2,019 ไร่ อำเภอหัวตะพาน เกษตรกรเป้าหมาย 258 ราย พื้นที่ 2,359 ไร่

แปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ (อ้อยโรงงาน) จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่รวม 7,323 ไร่ รวม 3 อำเภอ พื้นที่มีความเหมาะสมบนพื้นที่ N ของข้าว 3,450 ไร่ ปรับเปลี่ยนปลูกอ้อย 3,047 ไร่ มีเกษตรกรสมาชิก 534 ราย กลุ่มใหญ่ 3 กลุ่ม มี Smart Farmer 200 คน สินค้าอ้อยโรงงานและพันธุ์อ้อย ผลผลิตรวม 8,678.4 ตัน มีการดำเนินงานจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานสมาชิกแปลงใหญ่ ถ่ายทอดความรู้ในการบริหารจัดการองค์กรเกษตรในแต่ละแปลง/การรวมกลุ่มเกษตรกร ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร หลักสูตรการบริหารจัดการการตลาด/เชื่อมโยงการตลาด โดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิต ร้อยละ 7.18 ลดต้นทุนจาก 11,150 บาท ต่อไร่ เป็น 10,350 บาท ต่อไร่ เพิ่มผลผลิต ร้อยละ 20 จาก 10 ตัน ต่อไร่ เป็น 12 ตัน ต่อไร่

กิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิตส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือปอเทืองบำรุงดิน ไม่เผาใบอ้อย ลดการอัดแน่นของเครื่องจักรเหยียบย่ำ (Control Traffic) ลดการไถพรวนเพื่อรักษาโครงสร้างดิน เพิ่มผลผลิต ใช้พันธุ์คุณภาพดี ใช้ปุ๋ยเหมาะสม จัดระยะปลูกรองรับรถตัดอ้อย 1.65 เมตรขึ้นไป ไถดะลึก 40 เซนติเมตร ลงริบเปอร์ฝังปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัท และดูแลรักษาต่อเนื่อง บริหารจัดการแปลงแบบ Mitrphol Modern Farm มาตรฐาน Bonsucro เป็นต้น

ที่มาของ คำว่า เงาะพอดีคำ เป็นการขนานนามของผลเงาะที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอลอง โดยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ท่านได้ไปเยี่ยมชมสวนเงาะของเกษตรกรและได้ลิ้มชิมรสเงาะ 1 ผล แกะกินแล้วมีขนาดพอดีหนึ่งคำ ท่านก็เลยตั้งชื่อให้ดังกล่าว อันเป็นการสื่อความหมายว่า เงาะที่เมืองลอง มีขนาดผลไม่ใหญ่มากนัก แต่มีลักษณะเด่นอยู่หลายประการ โดยเฉพาะเรื่องรสชาติ

ที่สวนเงาะของผู้เขียนอยู่ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ก็เป็นสวนหนึ่งในหลายๆ สวนของเกษตรกรผู้ปลูกเงาะ ขอนำเสนอชุดประสบการณ์ของผู้เขียนเองมาเผยแพร่ยังท่านผู้อ่าน แรกเริ่มเดิมทีของการปลูกเงาะ

ด้วยการซื้อกิ่งพันธุ์เงาะโรงเรียนมาปลูก เมื่อปลายปี 2552 จำนวน 80 ต้น ปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ กิ่งพันธุ์นั้นได้มาจาก 3 แหล่ง จากจังหวัดจันทบุรี อุตรดิตถ์ และงานวันเกษตรจังหวัดแพร่

ปีที่ 1 ปีที่ 2 เงาะไม่เจริญเติบโต พื้นที่ปลูกเงาะเจ้าของเดิมปลูกส้มเขียวหวาน แต่ได้เลิกกิจการไป จึงได้นำดินไปตรวจวิเคราะห์ ผลปรากฏว่า ดินมีค่า pH 5.5 องค์ประกอบของดินมีอินทรียวัตถุน้อยมาก ไม่ถึง 1% (ต้องมีไม่น้อยกว่า 5%) ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) อยู่ในระดับน้อยมาก โพแทสเซียมอยู่ในระดับปานกลาง

ปี 2554 เกิดอุทกภัย น้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ สวนเงาะของผู้เขียนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยมตายไปหลายต้น ปัจจุบันจึงเหลือเงาะ 70 ต้น หลังจากนั้น ได้ปรับสภาพดินเพิ่มอินทรียวัตถุด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก (เน้นใช้วัตถุดิบใบก้ามปูและใบไผ่แห้ง) และฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ ปีที่ 4 เงาะให้ผลผลิตปีแรกแต่ได้ผลผลิตไม่มากนัก นำไปแบ่งปันแจกเพื่อนๆ เกษตรกร ต่างสรุปเป็นเสียงเดียวกันว่าเงาะที่สวนของผู้เขียนเป็นเงาะอนุบาล ไม่ใช่เงาะโรงเรียน เพราะผลเงาะมีขนาดเล็ก

ปีที่ 5 พัฒนาคุณภาพใหม่ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากสื่อ สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนเกษตรกรที่ปลูกเงาะมาก่อน แล้วก็ลองนำมาปฏิบัติดู ผลปรากฏว่าเงาะติดดอกมาก แต่ต่อมาดอกร่วง ส่วนที่ติดผลก็มีมากอยู่ ตลอดฤดูกาลผลที่ติดก็ร่วง ที่มีอยู่บนต้นก็เป็นเงาะยิ้มคือ ผลแตก ได้ผลผลิตแค่พอกิน ก็คิดเอาเองว่าคงจะเป็นเพราะโน่น นั่นนี่ ไม่ได้โทษตัวเอง

ปีที่ 6 พัฒนาใหม่อีกสักปี ไม่ท้อถอย อ่านหนังสือคู่มือการปลูกเงาะ เดินทางไปศึกษาวิธีการดูแลเงาะกับเกษตรกรผู้ปลูกเงาะรายเดิม ได้ข้อคิดว่าเงาะเป็นผลไม้ปราบเซียน เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะลมฟ้าอากาศ กับเทคนิคการงดให้น้ำและเทคนิคการให้น้ำ และเข้าใจธรรมชาติของเงาะ อากาศร้อนแล้วฝนตกก็ร่วง ขาดน้ำก็ร่วง ให้น้ำมากก็ร่วง จึงคิดวางแผนดำเนินการใหม่

ปีที่ 7 พ.ศ. 2559 ต่อเนื่อง พ.ศ. 2560 เป็นปีแรกที่เงาะติดดอกดี ติดผล ผลใหญ่ แม้จะมีผลหลุดร่วงไปบ้าง เนื่องจากสภาพอากาศและมีแมลงรบกวน

ตั้งแต่เริ่มปลูกเงาะผู้เขียนจัดทำทะเบียนประวัติเงาะและแผนผังสวนเงาะ ว่าเงาะแต่ละต้นลงดินปลูกเมื่อไร กิ่งพันธุ์มาจากแหล่งใด แต่ละปีจัดทำปฏิทินงานดูแลเงาะเป็นรายเดือน บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่เตรียมต้นเงาะ หลังการเก็บผลหมดแล้ว การเตรียมความสมบูรณ์ของต้นเงาะ ระยะออกดอก ดอกบาน ดอกโรย และผลอ่อน ระยะขยายผลเข้าเนื้อจนถึงเก็บผล

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลูกเงาะปีแรกจนถึง ปีที่ 4 ได้ลองผิดลองถูกมาตลอด จนปัจจุบันได้พัฒนาคุณภาพดีขึ้น มีชุดประสบการณ์ของตนเองที่ได้จากการบันทึกแต่ละปี ทุกปี เงาะทางภาคเหนือจะเริ่มแตกตาดอกในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม และเก็บผลผลิตในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

ผู้เขียนขอนำเสนอชุดประสบการณ์ การปฏิบัติต่อเงาะ เริ่มจากการเตรียมต้นเงาะหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตนะครับ

– ตัดแต่งกิ่งทันทีหลังเก็บผลผลิตให้รอบทรงพุ่ม ดูโล่ง โปร่ง แสงแดดส่องเข้าถึงโคนต้น ตัดกิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งกระโดง กิ่งทับซ้อน ตัดแต่งกิ่งปลายพุ่ม เพื่อให้แตกยอดใหม่สมบูรณ์ ยอดใหญ่ ส่งผลถึงช่อดอกต่อไป

– ปรับสภาพดินด้วยปูนโดโลไมท์ ต้นละ 1 กิโลกรัม โรยรอบๆ ทรงพุ่ม ปูนโดโลไมท์จะมีธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg)

– ใส่ปุ๋ยหมัก อัตรา 1 ปีบ ต่อต้น เพื่อทำให้ดินร่วนซุย ผู้เขียนไม่ได้ปฏิเสธปุ๋ยเคมีแต่ใช้น้อย เพียงนำปุ๋ยเคมีมาเป็นตัวช่วยในการเร่งปฏิกิริยาให้แก่จุลินทรีย์ระหว่างทำกิจกรรมของปุ๋ยหมัก ใช้สูตร 15-15-15 เพียง 5 กิโลกรัม ต่อน้ำหนักวัสดุผลิตปุ๋ยหมัก 1 ตัน

ระยะการเตรียมต้นเงาะจะฉีดพ่นสารอยู่ 2 ชนิด

ฉีดพ่นน้ำหมักมูลสุกร ใช้มูลสุกรแห้ง 20 กิโลกรัม แช่น้ำเปล่า 200 ลิตร นาน 2 วัน กรองเอาน้ำหมักมาผสมกับน้ำเปล่าอีก 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วใบและพื้นดินรอบทรงพุ่ม โดยฉีดพ่นหลังใส่ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ธาตุอาหารรอง
ซื้อสาหร่ายทะเลสกัดมาฉีดพ่นช่วงเช้า อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม เพื่อเร่งการแตกใบอ่อน เตรียมความสมบูรณ์ของต้นเงาะ

– กำจัดวัชพืชรอบๆ โคนต้นเงาะ ใช้วิธีการตัดหญ้า กวาดโคนต้นเงาะให้โล่งเตียน ทิ้งระยะไว้ประมาณ 20 วัน เพื่อสร้างความเครียดให้แก่ต้นเงาะ

– สร้างสภาวะความเครียดจากการขาดน้ำ งดให้น้ำต้นเงาะอย่างต่อเนื่อง 21 วัน เพื่อกระตุ้นให้ต้นเงาะสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างตาดอกให้มากขึ้น

– สังเกตใบเงาะ มีสีเขียวสดใสใบเป็นมัน เป็นใบแก่ทั้งต้น โดยให้ดูใบ ชุดที่ 2 ใบไม่มีการถูกทำลายจากโรคและแมลง

– ตรวจดูหนอนหัวแข็งเจาะลำต้น ถ้าพบจะเร่งกำจัดด้วยการฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้เข้มข้นเข้าไปในรูตำแหน่งที่หนอนเจาะแล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูไว้ และจากสถิติหนอนมักจะเข้าเจาะลำต้นช่วงเงาะออกดอก

– เตรียมให้ต้นเงาะออกดอก

– หลังการแตกใบอ่อน ชุดที่ 2 และใบเงาะเป็นใบเพสลาด ใส่ปุ๋ยหมัก ต้นละ 1 ปีบ เพื่อให้เงาะมีการสะสมอาหาร พร้อมที่จะออกดอก

– ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพไข่ หรืออาจเรียกว่าฮอร์โมนไข่ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน (เป็นความเชื่อของผู้เขียนว่า สูตรดังกล่าวจะช่วยในการเร่งการแตกตาดอก บำรุงดอกและผล แต่ยังไม่มีงานวิจัยมายืนยัน)

น้ำหมักชีวภาพไข่ ผลิตจากวัตถุดิบ

ไข่ไก่ 5 ฟอง
ยาคูลท์ 3 ขวด
แป้งข้าวหมาก 2 ลูก
น้ำผึ้งครึ่งแก้ว
นมสด 2 ขวดเล็ก
น้ำซาวข้าว 5 ลิตร
น้ำมะพร้าวแก่ครึ่งลิตร
กากน้ำตาล 1 ลิตร
น้ำส้มควันไม้ 1/4 ลิตร
พด.2 1 ซอง
นำวัตถุดิบมาหมักนาน 21 วัน เก็บไว้ใช้ได้นาน 4 เดือน

– สังเกตต้นเงาะมีอาการใบเหลือง ใบลู่ลง ปลายยอดก้านตั้ง แห้งแข็ง ใบล่างของกิ่งร่วง จึงให้น้ำทั่วทรงพุ่ม ด้วยระบบสปริงเกลอร์ ต้นละ 2 หัว ให้น้ำนาน 1 ชั่วโมง

– หลังให้น้ำ ประมาณ 5 วัน สังเกตที่ยอดเงาะมีการพัฒนาเป็นตาดอกหรือไม่ ถ้าเป็นจะมีลักษณะเป็นไข่ กลมขาวต้องให้น้ำสม่ำเสมอ

คำว่า ให้น้ำสม่ำเสมอนี่แหละ ที่ทำให้ผู้เขียนลองผิดลองถูกอยู่ 2-3 ปี สรุปว่า ควรให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 2 วัน เว้น 1 วัน แต่ต้องติดตามการพยากรณ์อากาศ ฟ้าฝนจะตกหรือไม่ในช่วงดังกล่าว

– ระยะที่ต้นเงาะออกดอก ดอกบาน จนถึงดอกโรย

– ขอย้ำว่าเมื่อเห็นตาดอก เริ่มให้น้ำสม่ำเสมอให้วันเว้นวัน เพราะสภาพพื้นที่อำเภอลองถ้าร้อนก็ร้อนน่าดู แต่ให้น้ำไม่มากนัก ผู้เขียนจะเปิดสปริงเกลอร์นาน 15 นาที

– ระยะดอกบานจนถึงดอกโรย ผู้เขียนจะเปิดน้ำให้ 2 วัน ต่อครั้ง โดยดูสภาพอากาศ พื้นดินชื้นขนาดไหน ไม่ให้พื้นดินแห้งเป็นอันขาด ให้น้ำจนกว่าเงาะจะติดผลขนาดเล็ก จึงเปลี่ยนระยะเวลาเป็น 3 วันครั้ง แต่เพิ่มการให้น้ำเป็น 45 นาที และพื้นดินต้องไม่แห้ง

– ที่สวนจะใช้วิธีนำไส้ปลามาแขวนไว้ตามต้นเงาะเพื่อล่อให้แมลงวัน เเมลงอื่นๆ มาตอมและเป็นตัวช่วยในการผสมเกสร หรือบางสวนอาจปลูกเงาะตัวผู้หรือเลี้ยงผึ้งก็ได้

– ระยะที่ดอกบานถึงดอกโรย จะฉีดพ่นสารอยู่ 3 ชนิด

ระยะดอกเริ่มบานพ่นน้ำหมักจากผักบุ้ง สมัครสโบเบ็ต (หรือจะซื้อฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน มาพ่นก็ได้) ผลิตจากการหมักยอดผักบุ้งและยอดตำลึง 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม พด.2 1 ซอง หมักนาน 21 วัน นำน้ำหมัก 40 ซีซี ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร พ่นที่ช่อดอก จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 พ่นเมื่อดอกบาน 50% ครั้งที่ 3 พ่นเมื่อดอกบานทั้งช่อฉีดพ่นเพื่อยืดช่อดอก
ซื้อแคลเซียม-โบรอน มาฉีดพ่น เพื่อให้ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
แคลเซียม (Ca) ช่วยสร้างผลและเมล็ด ป้องกันผลแตก

โบรอน (B) ช่วยเพิ่มคุณภาพและน้ำหนักของผล ป้องกันดอกมีรูปร่างผิดปกติ ผลเล็ก

ฉีดพ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกระยะดอกบาน ครั้งที่สองเมื่อเงาะติดผลอ่อน

ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อช่อดอกยาวเป็นช่อสะเดา ครั้งที่ 2 ฉีดพ่นเมื่อเงาะติดผลอ่อน โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น
หากระยะนี้มีเพลี้ยแป้งมาทำลายช่อดอกหรือผล ผู้เขียนใช้วิธีเลี้ยงมดแดงไว้ตามต้นเงาะทุกต้น เพื่อให้มดแดงช่วยกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งได้ผลดีมาก โดยไม่ต้องใช้กำมะถันผงมาฉีดพ่นเลย

-เมื่อดอกเงาะร่วงโรยไปแล้วนาน 7 วัน จะฉีดพ่นสาหร่ายทะเลเป็นครั้งที่ 2 อัตรา 30 ซีซี ผสมกับปุ๋ยน้ำยูเรียที่ผลิตขึ้นมาเอง 40 ซีซี น้ำ 20 ลิตร เพื่อให้เงาะสะสมอาหารที่ใบ เงาะมีผลโตเร็ว

ปุ๋ยน้ำยูเรีย ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลือง เนื้อสับปะรด อย่างละ 1 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร น้ำซาวข้าว 10 ลิตร หมักนาน 14 วัน