ไก่ที่ให้ไข่ เป็นไก่ชุดกลาง ไก่ชุดแรก คือไก่ใหม่ ที่ให้ไข่เพียง

ส่วนไก่ชุดกลาง จะให้ไข่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ และชุดสุดท้ายเป็นไก่แก่ที่ปลดระวาง ไม่ขายออก ยังคงเลี้ยงไว้เพื่อแปรรูปเป็นไก่แช่แข็ง ขายได้ตลอดปี

อีกทั้งเทคนิคในรุ่นพ่อ ที่แม้จะเลี้ยงไก่ในโรงเรือน แต่ก็ทำให้ไก่มีความสุขได้ด้วยการเปิดเพลงให้ไก่ฟัง ตรงนี้คุณมิตรชัยได้บอกไว้ว่า หากไก่ไข่กินอิ่มและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความสุข การเปิดเพลงให้ไก่ฟังจะทำให้ไก่ให้ไข่สม่ำเสมอ เช่น ไก่ 1,000 ตัว จะให้ไข่อยู่ที่ 800-900 ฟอง ต่อวัน และมีอายุการให้ไข่นานถึง 18 เดือน

ทุกวัน ที่เก็บไข่สดนำไปจำหน่ายที่หน้าร้านตลาดสดเทศบาลหล่มเก่า เก็บไข่ทุกเช้าและขายหมดในทุกวัน ไข่ไก่ที่มิตรชัยฟาร์มจึงเป็นไข่ไก่สดจริงๆ

ไอเดียของมิตรชัยฟาร์ม ต่อยอดจากเดิมที่ทำโรงเรือนเลี้ยงไก่บนบ่อปลา เป็นการทำโรงตากขี้ไก่ หลังปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรือนระบบปิด เพื่อเก็บขี้ไก่ไปตากแห้ง ขายเป็นปุ๋ย มีรายได้อีกทาง

แปลงผักที่เคยเก็บเป็นผักสวนครัวขายได้ในทุกวัน คุณชาญณรงค์ยอมรับว่า การทำงานในไร่ มีหลักๆ เป็นพ่อและผม ส่วนแม่และภรรยาจะมีหน้าที่ดูแลการแปรรูปและหน้าร้านในตลาดสดเทศบาลหล่มเก่า มีแรงงานที่จ้างไว้นิดหน่อยเท่านั้น จึงพักแปลงผักไว้ชั่วคราวในช่วงนี้ แต่ที่ผ่านมาแปลงผักก็ทำรายได้ให้เก็บไปขายในทุกวัน

ผลผลิตที่ได้ทั้งหมด ไม่ต้องรอพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่ไหนมารับซื้อ ทั้งของสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจะนำไปจำหน่ายที่หน้าร้านของตัวเองในตลาดสดเทศบาลหล่มเก่า

คุณชาญณรงค์ เล่าว่า แนวการทำเกษตรของครอบครัวยุทธรักษ์คือ การน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดมูลค่ามากที่สุด ซึ่งทุกวันนี้ ครอบครัวยุทธรักษ์มีความสุขกับการทำการเกษตร

ชีวิตทุกวันของครอบครัวยุทธรักษ์ เป็นเกษตรกรโดยแท้ และมิตรชัยฟาร์มยังคงพร้อมเป็นต้นแบบ แหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณชาญณรงค์ ยุทธรักษ์ โทรศัพท์ 082-998-8023 ที่ตั้งมิตรชัยฟาร์ม หมู่ที่ 4 ตำบลนาแซง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ช่วงวันหยุดยาว นับเป็นเทศกาลแห่งความสุข หลายคนได้ท่องเที่ยวโต้ลมหนาวที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ถูกยกย่องว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” ไปกี่ทีก็ไม่มีเบื่อ เพราะได้พักผ่อนคลายความเหนื่อยล้า ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม ทอดสายตามองวิวทิวทัศน์ที่ร่มรื่น ในบรรยากาศสบายๆ สูดอากาศสดชื่นเย็นสบายบนยอดเขาได้เต็มปอด เติมพลังให้ร่างกายสดชื่น ตามสโลแกน “นอนเขาค้อ 1 คืน อายุยืน 1 ปี”

ก่อนเดินทางกลับ แนะนำให้แวะเช็กอิน “ทุ่งกังหันลมเขาค้อ” อีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่สวยงามที่น่าเที่ยว น่าช็อปปิ้ง และเหมาะกับการมาแวะถ่ายรูปสวยๆ ถ่ายเซลฟี่กันให้เบิกบานใจ การเดินทางไปทุ่งกังหันลมสะดวกสบาย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2196 (สี่แยกรื่นฤดี-แคมป์สน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 มีป้ายบอกทาง วิ่งไปตามทางเนินเขาอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็ถึงทุ่งกังหันลม ภายในสถานที่แห่งนี้ มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าเกษตร อาหาร สินค้าโอท็อปของชุมชนและมีบริการรถไฟฟ้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เข้ามาร่วมให้บริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย

แหล่งผลิตพลังงานสะอาด

ทุ่งกังหันลม เขาค้อ (Windtime Khaokho) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านชาวเขา บ้านเพชรดำ ตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นศูนย์เรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านพลังงานทดแทน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ของ บริษัท เขาค้อ วินด์ พาวเวอร์ จำกัด ปัจจุบันคนในกลุ่ม CP ถือหุ้นกว่า 80% มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 5,200 ล้านบาท ที่นี่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานลม จากกังหันลมขนาดใหญ่ จำนวน 24 ต้น ตั้งอยู่บนยอดเนินเขาที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,050 เมตร บนเนื้อที่ประมาณ 350 ไร่ กังหันลมแต่ละต้นมีความสูง ประมาณ 110 เมตร จากพื้นดิน มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 120 เมตร ปีกใบพัดกว้าง 3 เมตร ยาวข้างละ 60 เมตร ทำให้กลายเป็นจุดไฮไลต์ที่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลๆ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของอำเภอเขาค้อก็ตาม

กังหันลมแต่ละต้น ราคาสูงถึง 250 ล้านบาททีเดียว เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด เฉลี่ยต่อปีราว 140 ล้านหน่วย ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ทุ่งกังหันนี้ได้เปิดผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 เป็นต้นมา กังหันลมสีขาวขนาดใหญ่ จำนวน 24 ต้น ทำหน้าที่เป็นเสาไฟ ลำเลียงกระแสไฟฟ้าจากโครงการเขาค้อ ส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอหล่มสัก ผู้รับซื้อกระแสไฟฟ้า รองรับการพัฒนา การขยายตัวของชุมชน และป้องกันการขาดแคลนไฟฟ้าในอนาคต

ไร่ผากำนันอดิศักดิ์ ติดโผแหล่งท่องเที่ยวที่น่าประทับใจแห่งหนึ่งในบริเวณทุ่งกังหันลมแห่งนี้ นักท่องเที่ยวนิยมใช้เป็นจุดกางเต็นท์ที่รวมวิวรอบด้านที่คุ้มมากๆ ได้ชมทั้งพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น มีจุดถ่ายรูปเล่นบริเวณริมหน้าผา ยามเช้าตื่นมาพบกับทะเลหมอกให้ถ่ายรูปกันอีกด้วย ที่สำคัญมีไร่สตรอเบอร์รี่ให้ชมและเก็บด้วยตัวเอง ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี

คุณอดิศักดิ์ บำรุงคีรี วัย 54 ปี เป็นอดีตกำนันตำบลเขาค้อ ปลูกสตรอเบอร์รี่สายพันธุ์พระราชทาน 80 เนื้อที่ 7 ไร่ มานานกว่า 7 ปีแล้ว สินค้าสตรอเบอร์รี่ขายดีจนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เนื่องจากคุณอดิศักดิ์หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า กำนันอดิศักดิ์ ใส่ใจดูแลการปลูกสตรอเบอร์รี่อย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อไหลสตรอเบอร์รี่พันธุ์ดีจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในราคาต้นละ 2-3 บาท จากนั้นนำมาเพาะขยายพันธุ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน และนำปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยทั่วไป ไหลสตรอเบอร์รี่ 1 ต้น สามารถแตกหน่อออกไปอีก 3-4 หน่อ ในแต่ละหน่อ ผลิดอก 1 พวง ดูแลอีก 2 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตออกขายได้

การปลูกสตรอเบอร์รี่ให้ได้ผลผลิตที่ดีของกำนันอดิศักดิ์ มีเคล็ดลับอยู่ที่การเตรียมแปลง เริ่มจากยกร่องแปลง ใส่ปุ๋ยคอกประเภทปุ๋ยขี้หมูหรือขี้ไก่เป็นหลัก ใช้ใบตองตึงหรือแผ่นพลาสติกคลุมแปลงปลูก เจาะรูปลูกไหลสตรอเบอร์รี่ในระยะห่างประมาณ 20-30 เซนติเมตร 1 ไร่ ต้องใช้ไหลสตรอเบอร์รี่อย่างน้อย 7,000-8,000 ต้น

หลังจากปลูก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 เพียงเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นการเติบโตของต้นสตรอเบอร์รี่ ที่นี่ดูแลให้น้ำแปลงปลูกสตรอเบอร์รี่ด้วยระบบน้ำหยดเป็นหลัก แล้วยังติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์แบบฝอยร่วมด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับต้นสตรอเบอร์รี่ และล้างฝุ่นไปในตัว

แต่ละวัน กำนันอดิศักดิ์จะคอยเดินสำรวจแปลงปลูก หากพบว่าต้นสตรอเบอร์รี่เริ่มมีใบแก่ ให้ตัดใบแก่ออกเพื่อไม่ให้ต้นโทรม เคล็ดลับสำคัญที่สตรอเบอร์รี่ของไร่แห่งนี้ขายดีจนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเก็บผลผลิตที่สุกคาต้น ทำให้ผลสตรอเบอร์รี่มีรสชาติหวาน หอม ฉ่ำน้ำ ถูกใจคนซื้อมากกว่าสินค้าที่ขายในท้องตลาดทั่วไป

ผลผลิตในไร่แห่งนี้ เน้นขายตลาดนักท่องเที่ยว โดยช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม สามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 400 บาท หลังผ่านเทศกาลปีใหม่ไปแล้ว ราคาขายปรับตัวลดลงเหลือประมาณกิโลกรัมละ 200-300 บาท ถือเป็นไม้ผลที่สร้างรายได้ที่ดี เพราะทำกำไรไม่ต่ำกว่า 300,000-400,000 บาทต่อปี

ไร่ผากำนันอดิศักดิ์ เปิดเป็นลานกางเต็นท์ (ค่ากางเต็นท์ คนละ 150 บาท) วิวสวย 360 องศา ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ มีไฟฟ้าให้ใช้ มีบริการห้องน้ำสะอาด มีบริการหมูกระทะสำหรับคนที่ไม่ได้เตรียมอาหารไปด้วย นักท่องเที่ยวที่แวะมาที่นี่ต่างประทับใจกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นจุดรับลม ด้านหน้าคือกังหันลม ด้านหลังคือวิวพระอาทิตย์ตก และมีทะเลหมอกด้วย ที่สำคัญได้กินสตรอเบอร์รี่สดๆ จากไร่ในราคาไม่แพง ไร่ผากำนันอดิศักดิ์ ให้บริการดี ราคาหลักร้อย วิวหลักล้าน ติดหน้าผา เหมาะแก่การพักผ่อนจริงๆ บรรยากาศครบรสแบบนี้พลาดไม่ได้นะทุกคน

เนื่องจาก ไร่ผากำนันอดิศักดิ์ อยู่ภายในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ก่อนเข้ามาต้องให้บุคคลภายในไร่พาเข้าเท่านั้น สนใจเยี่ยมชมภาพบรรยากาศที่ประทับใจของไร่ผากำนันอดิศักดิ์ได้

เกษตรกรรุ่นใหม่ หัวใจรักการเกษตร มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการบริหารจัดการ สามารถต่อยอดเป็นผู้ประกอบการและผู้นำการเกษตรได้ ตามโครงการ Young Smart Farmer (YSF) ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสบความสำเร็จในหลายๆ จังหวัด สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของสังคม เศรษฐกิจ แม้กระทั่งยุคของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกษตรกรรุ่นใหม่ ลูกหลานของเกษตรกรที่มีความรู้ ประสบการณ์ ได้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด นำความรู้อาชีพของรุ่นพ่อแม่มาประยุกต์เป็นอาชีพใหม่ สร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้น แตกต่างจากวิถีเดิมๆ คุณจุรียพร วงษ์แก้ว หรือ คุณตั๊ก เจ้าของ บริษัท ใบพลู เฮอร์เบิล จำกัด หนึ่งในผู้นำเกษตรกรกลุ่ม YSF ของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี พัฒนาการปลูกพลูและต่อยอดเป็นผู้ประกอบการส่งออกตลาดไต้หวัน ได้เล่าถึงกระบวนการปลูก การผลิต และธุรกิจใบพลูส่งตลาดไต้หวัน ด้วยประสบการณ์ที่สร้างสมมา 7-8 ปี

ปลูกพลูทางรอดใหม่ ปัญหาช้างป่าบุกรุก ราคายางตกต่ำ คุณจุรียพร วัย 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 53/1 หมู่ที่ 15 บ้านคลองใหม ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เล่าว่า หลังจากจบปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ได้ทำงานในสถานศึกษาก่อนจะหันมาทำอาชีพเกษตรเมื่อ 7-8 ปีที่ผ่านมา ด้วยใจรักและเป็นลูกเกษตรกรชาวสวน พ่อแม่ทำสวนยางพารา แต่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ และในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมวมีช้างป่าบุกรุกสวนผลไม้และทำอันตรายกับคนกรีดยางพาราตอนกลางคืน จึงสนใจจะปลูกพลูเป็นอาชีพใหม่อย่างจริงจัง ได้ไปเรียนรู้ลงมือปลูกพลูและการจัดการด้านตลาดกับเพื่อนที่ภาคใต้ 1 ปี พร้อมกับการไปดูงานที่ไต้หวัน จนกระทั่งแน่ใจว่าพลูจะเป็นพืชเศรษฐกิจและสร้างอาชีพใหม่ได้ จึงตัดสินใจโค่นสวนยางพารา 15 ไร่ ทำแปลงปลูกพลูเป็นพืชเชิงเดี่ยว เริ่มจากทดลอง 1 ไร่ ขยายเป็น 2-3 ไร่ และในปัจจุบันมี 8-9 ไร่ และรวมกลุ่มชาวสวนรุ่นใหม่ YSF ปลูกพลูเพื่อการส่งออก สร้างโรงงานที่ทำแพ็กกิ้งส่งออก ทำให้ชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่ามีงานทำมีรายได้

“จังหวัดจันทบุรี อำเภอแก่งหางแมว ภูมิประเทศติดกับภูเขา ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีสภาพอากาศที่ใกล้เคียงกับภาคใต้ มีโรคและแมลงค่อนข้างน้อยการจัดการง่าย สามารถปลูกเป็นพืชหลักเชิงเดี่ยวและปลูกแซมได้ในสวนยางพารา สวนพริกไทย รอบๆ บริเวณบ้านได้เป็นรายได้เสริมและน่าจะแก้ปัญหาการบุกรุกและอันตรายจากช้างป่าได้ เพราะใบพลูเมื่อนำมาขยี้มีกลิ่นฉุน แสบร้อนของน้ำมันหอมระเหย ใบมีรสเผ็ด ช้างป่าน่าจะไม่ชอบ และไม่เคยมีช้างป่าบุกรุกเข้ามาในแปลงพลู” คุณจุรียพร กล่าว

คุณจุรียพร อธิบายว่า พลูที่ปลูกใช้พันธุ์พัทลุงเป็นพันธุ์ไต้หวันผสมกับพลูทางใต้ที่ตลาดไต้หวันต้องการ ลักษณะใบสีเขียวเข้ม รสชาติไม่เผ็ด หวานกว่าพลูไทย การปลูกพลูจะปลูกเป็นพืชแซมสวนยาง สวนพริกไทย หรือรอบๆ บ้านเป็นรายได้เสริมก็ได้ แต่ถ้าปลูกเป็นอาชีพหลักพืชเชิงเดี่ยว มีขั้นตอนหลักๆ 5-6 ขั้นตอน

การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นที่สูง ไม่เป็นที่ชื้นแฉะ น้ำขัง และอากาศร้อนชื้น และตั้งอยู่ไม่ไกลจากโรงงานแพ็กกิ้ง เพราะเก็บแล้วต้องนำมาแพ็กกิ้งเพื่อให้ใบสดๆ
การเตรียมดิน ถ้าพื้นดินราบหรือที่ต่ำควรยกร่องดินการปลูกระหว่างร่องระยะห่าง 1 เมตร ในร่องปลูก 2 แถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 1.5 เมตร ใช้เสาปูน เสาไม้ หรือไม้ไผ่ ปักให้ยอดพริกไทยพัน ติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ให้น้ำได้กระจายหัวละ 4 ต้น และใช้ซาแรนสีดำขนาด 50%, 60%, 70% คลุมแปลงต้นพริกไทยลดความร้อนจากแสงแดด
การปลูก ยอดพริกไทยที่ตัดมาปลูกแช่น้ำไว้ก่อน 25 วันให้แตกราก ทำโคนพริกไทยใช้ปุ๋ยคอกหมักปักเสา เมื่อปลูกได้ 1 เดือนยอดพริกไทยจะเติบโตแข็งแรงพอที่พันรอบค้างไม้ได้ ใช้เชือกมัด และเมื่อยอดแตกพันยาวขึ้นไปยอดเสาต้องคอยมัดเป็นระยะๆ ให้ยอดสูงประมาณ 3 เมตร ไม่ให้สูงเกินไปจะเก็บลำบาก
การให้น้ำ เปิดสปริงเกลอร์ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที ถ้ามีฝนตกดินชื้นเว้น 2 วัน ให้ 1 ครั้ง
การเก็บเกี่ยว เมื่อพลูอายุ 1 ปีจะเก็บใบได้ จะใช้แรงงานในชุมชนเก็บเกี่ยวด้วยมือ เลือกเก็บใบเขียวๆ ไม่มีจุด ที่เป็นเกรด 2 เช่น ใบกรอบ แก่ มีจุดเลือกออกส่งขายให้พ่อค้าที่ฉะเชิงเทราทำ “ใบพลูนาบ” (นาบในกระทะร้อนๆ) ส่งออกอินเดีย บังกลาเทศ กิโลกรัมละ 30 บาท และ
การแพ็กกิ้ง ควรทำในห้องแอร์หรือที่ร่มเพื่อให้ใบสด สีสวย ถ้าส่งทางเครื่องบินใช้กล่องโฟมบรรจุวันเดียวถึง (จริงๆ 3 ชั่วโมง) ถ้าส่งทางเรือบรรจุใส่ตะกร้า 13 วันถึง

“ใช้เงินลงทุนประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อไร่ ต่างกันที่ใช้เสาปูนหรือเสาไม้ไผ่ เสาปูนจะใช้ได้นาน 10-15 ปี ถ้าเป็นเสาไม้ไผ่ถูก อายุการใช้งาน 3-4 ปีจะผุพัง ขึ้นอยู่กับต้นทุนของเกษตรกร นอกนั้นเป็นค่าพันธุ์ยอดละ 15-20 บาท ค่าปุ๋ยคอก พลูอายุ 1 ปีจะเก็บใบขายได้ไปถึง 10-15 ปี ให้ผลผลิต 300-500 กิโลกรัมต่อไร่ 1 เดือนเก็บได้ 3 รอบ (10 วันเก็บครั้ง) ใช้ระยะเวลา 4-5 เดือนไม่เกิน 6 เดือนจะได้ทุนคืน ตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท บางครั้งสูงถึง 100 บาท 240-250 บาทแต่เป็นช่วงสั้นๆ ถ้าปลูกแซมมีรายได้ 1,000-2,000 บาทต่อเดือนพอเป็นค่ากับข้าว แต่ถ้าปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวเป็นอาชีพหลัก 8-9 ไร่ จะมีรายได้เดือนละ 200,000-300,000 บาท เฉลี่ยไร่ละ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน” คุณจุรียพร กล่าว

คุณจุรียพร เล่าว่า เมื่อได้ปลูกพลูอย่างจริงจัง สำนักงานเกษตรอำเภอแก่งหางแมวได้ส่งเสริมให้มีการปลูกพลู ในกลุ่ม Young Smart Farmer และสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้จัดอบรมทางด้านวิชาการ การตลาด และควบคุมไม่ให้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสนับสนุนโครงการผู้ปลูกพลูแปลงใหญ่ ต่อมาได้แนะนำกับชุมชนให้ปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยขยายเครือข่ายในอำเภอแก่งหางแมว อำเภอคิชฌกูฏ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดที่อยู่ใกล้เคียง และที่จังหวัดนครปฐม โดยสร้างโรงงานแพ็กกิ้ง ที่อำเภอแก่งหางแมว และจังหวัดนครปฐม เมื่อปี 2561 ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ใบพลู เฮอร์เบิล จำกัด เพื่อส่งใบพลูไปตลาดต่างประเทศ

ปัจจุบันได้ปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว 8-9 ไร่ มีเครือข่าย 30 ราย พื้นที่เป็นรวมๆ ประมาณ 60 ไร่ ผลผลิตประมาณ 300-500 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถจัดเก็บได้ 3 รอบ ใน 1 เดือน 10 วัน ต่อ 1 รอบ ได้ผลผลิตเดือนละ 3-4 ตัน ยังน้อยมาก ไม่เพียงพอกับบริษัทที่รับซื้อส่งออกไปตลาดไต้หวัน บริษัทรับซื้อต้องการให้ขยายพื้นที่เครือข่าย 200 ไร่ ผลผลิต 100 ตัน ต่อเดือน ซึ่งการขยายเครือข่ายทำได้ค่อนข้างยาก ต้องค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ได้ผล ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน เกษตรกรต้องมีใจรัก สภาพพื้นที่ภูมิอากาศเหมาะสม และระยะเวลาขนส่งไม่ไกล จากพื้นที่เครือข่ายเมื่อเก็บแล้วต้องนำมาทำแพ็กกิ้งที่โรงงานอำเภอแก่งหางแมว ถ้าปริมาณ 500 กิโลกรัมต้องทำให้เสร็จภายใน 5-7 วัน ก่อนเกษตรกรที่ร่วมเครือข่ายจะปลูกจะไปช่วยดูพื้นที่ นำพันธุ์ไปให้ปลูก การให้เครดิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำเอง ตลอดจนการให้คำปรึกษาดูแล การเก็บใบ การทำแปลงที่ได้ใบรับรอง GAP เพื่อให้ผลผลิตได้คุณภาพมาตรฐานส่งออก

ตลาดหลักไต้หวัน กิโลกรัมละ 80-100 บาท เคยพุ่งสูงถึง 250 บาท

คุณจุรียพรกล่าวถึงตลาดรับซื้อใบพลู มีไต้หวัน อินเดีย ปากีสถาน และทางยุโรป แต่ส่งออกตลาดไต้หวันเป็นหลัก เพราะมีพ่อค้าไต้หวันทางใต้มาติดต่อทำตลาดทำสัญญาซื้อขาย แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอ ส่วนตลาดอินเดียมีความต้องการสูงเช่นกันระยะแรกๆ เคยส่งไปบ้าง กระบวนการส่งออกพลูมีหลักๆ 3 ข้อ คือ 1. คุณภาพใบพลูที่ส่งออก ใบต้อง “สีเขียวสวยมันเรียบ” ลักษณะใบไม่บิด เบี้ยว ไม่มีลาย จุด ไม่มีสีเหลือง 2. คัดขนาด 3 ไซซ์ ขนาดเล็ก 3-4 นิ้ว ขนาดกลาง 4-5 นิ้ว ขนาดใหญ่ 5-6.5 นิ้ว 3. การแพ็กกิ้ง ต้องนำมาราดน้ำก่อนให้สด คัดขนาด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ซ้อนใบเรียงให้สวยงามแล้วตัดขั้ว บรรจุใส่กล่องโฟมน้ำหนัก 12-15 กิโลกรัม ส่งทางเครื่องบินและบรรจุตะกร้าน้ำหนัก 25-30 กิโลกรัม ใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ส่งทางเรือ

การแพ็กกิ้งส่งออกแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม ซึ่งต้องเก็บและทำให้เสร็จภายใน 5-7 วัน ใบพลูที่จะส่งออกทางเรือ จะจัดส่งไปที่บริษัทขนส่งบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่จังหวัดนครปฐม ส่วนทางเครื่องบินส่งที่สนามบินสุวรรณภูมิจะไปลงที่ไทเป ทางบริษัทตลาดไต้หวันจะเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขนส่ง ช่วงราคาใบพลูแพงจะให้ส่งทางเครื่องบิน เวลาปกติจะส่งทางเรือ เมื่อถึงปลายทางจะกระจายให้ร้านค้าต่างๆ ไปทำแพ็กกิ้ง แบรนด์ของตัวเองขายให้ลูกค้า

“ใบพลูที่ส่งออก ร้านค้าต่างๆ สมัครบอลออนไลน์ จะทำขายคู่กับหมากเขียวเป็นคำๆ ใส่ไส้ช็อกโกแลต ดีปลีในหมาก คำละ 20-30 บาท บรรจุกล่องมีแบรนด์ของตัวเอง ราคากล่องละ 250-500 บาทหรือ 1,000 บาท กลุ่มผู้บริโภคจะเป็นผู้ชายกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน นิยมเคี้ยวหมากกันทั้งวัน หมากพลู 1-2 คำเหมือนดื่มกาแฟ 3 แก้ว หรือเครื่องดื่มชูกำลังจนเคยชิน เชื่อว่าทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า จะซื้อหมากพลูติดกระเป๋าเป็นกล่องเคี้ยวแล้วคายทั้งวัน ร้านค้าที่ขายเป็นห้องกระจกริมถนนใหญ่ ที่ผู้คนผ่านไปมาหรือไปทำงาน กลยุทธ์การขายมีผู้หญิงสาวๆ แต่งตัวโป๊ๆ คอยโบกมือเรียกลูกค้า ร้านไหนขายดีรถจะติดเป็นแถวยาว กลุ่มลูกค้าไต้หวันมีกำลังซื้อสูงเพราะค่าแรงขั้นต่ำวันละ 1,500 บาท นอกจากไต้หวันแล้วยังมีตลาดอินเดีย ปากีสถานที่อยู่ในโซนยุโรป ออสเตรเลีย ที่ต้องการใบพลูจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตลาดอินเดียปลูกเองและนำเข้าจากศรีลังกา พม่าที่อยู่ ใกล้เคียงและรสชาติถูกใจมากกว่าแต่กลุ่มผู้บริโภคเป็นระดับชาวบ้านทั่วๆ ไปกำลังซื้อน้อย กว่าและไม่กว้างเท่าตลาดไต้หวัน

ช่วงปลายปีไต้หวันมีอากาศหนาว หิมะตก ปลูกพลูเองไม่ได้ ราคาจะสูงกิโลกรัมละ 80-100 บาท ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ราคาเดียวกัน ปี 2564 ช่วงสั้นๆ เคยสูงถึง 240-250 บาท และช่วงราคาต่ำที่ไต้หวันปลูกเองได้เดือนมิถุนายน-กันยายน ราคาเคยลดลงเหลือ 40 บาท ถ้าต่ำกว่านี้จะไม่คุ้มทุน ตอนนี้มีออเดอร์อาทิตย์ละ 4 รอบ รอบละ 500-1,000 กิโลกรัม แต่ทำได้แค่ 1-2 รอบ ประมาณเดือนละ 3-4 ตันเท่านั้น อนาคตใบพลูน่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตา สนใจสอบถาม คุณจุรียพร วงษ์แก้ว

สวัสดีค่ะ ผู้อ่านท่านผู้เจริญคะ ท่านเคยคิดกันหรือไม่ว่า ที่ดินในไทยแลนด์แดนมหัศจรรย์นั้น มันไม่มีทางงอกออกมาได้ สมมติว่ารุ่นปู่ รุ่นย่า ของเราอาจจะเคยครอบครองที่ทำกินเป็นร้อยไร่ ตกมาถึงมือพ่อแม่เรา 20-30 ไร่ พอมาถึงมือเราเหลือที่ดิน 5-10 ไร่ แล้วลูกหลานของเราจะเหลือที่ดินกันคนละกี่ไร่

จำนวนคนไทย ลูกท่าน หลานเดี๊ยน ที่เกิดมาทุกวันจนใกล้ 70 ล้านคน อยู่รอมร่อ จะมีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินกันคนละกี่ไร่ แล้วที่ดินที่มีกันคนละเท่าแมวดิ้นตายนั้น เราจะปลูกอะไรเอาไว้กินไว้ขายได้บ้าง เราท่านเคยคิดกันไว้หรือยังคะ ถ้ายังรันตีขอพาไปชม “โครงการ 1 ไร่ไม่ยากจน” ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี กันค่ะ