ไก่บ้านเมืองเพรียว สระบุรี ไก่เนื้อก็ได้ ไก่ชนก็ดี

“ไก่เมืองเพรียว” เป็นไก่พื้นเมืองดั้งเดิมของชาวบ้านตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่เลี้ยงกันไว้ตามบ้านเรือนแบบปล่อยตามธรรมชาติ ต่างคนต่างเลี้ยงไม่มีรูปแบบการเลี้ยงที่ชัดเจน จนเมื่อเกิดการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชื่อเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านเขาขี้เหล็ก และจัดตั้งฟาร์มต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของสมาชิกและนำกลับไปพัฒนาไก่ของตนเอง จึงส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ โดยได้รับการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์จากทางปศุสัตว์

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองชนิดนี้สมาชิกกลุ่มจะรวมกันผลิต ผสมอาหารเองจากวัตถุดิบในท้องถิ่นปลอดจากสารเคมีทุกอย่างและแจกจ่ายให้สมาชิกนำกลับไปใช้ มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการวางแผนการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด

คุณสมบัติ ขุนทอง รองประธานกลุ่ม กล่าวว่า เหตุผลสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อต้องการให้ชาวบ้านที่เลี้ยงไก่ในแต่ละครัวเรือนมีเอกภาพที่ชัดเจน ไม่ต้องการให้เลี้ยงกันเองโดยขาดระบบจนควบคุมไม่ได้ ทั้งในเรื่องโรคระบาดหรือการกำหนดราคาขาย

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้เน้นเชิงการค้ามากนัก ดังนั้น ในแต่ละครัวเรือนจึงมีจำนวนไก่ที่เลี้ยงรายละ 30-50 ตัว ไปจนถึงจำนวนกว่า 100 ตัว แต่หากรวมจำนวนไก่ทั้งหมดในกลุ่มอาจได้จำนวนนับพันตัว ทั้งนี้ ในแต่ละครัวเรือนมักเน้นเลี้ยงไก่พ่อ-แม่พันธุ์ไว้เป็นหลัก แล้วค่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยการให้แม่ไก่ฟักเองตามธรรมชาติ โดยแม่พันธุ์ที่อายุมากแล้วเริ่มให้ลูกไม่แข็งแรงจะปล่อยขายเป็นไก่เนื้อ

รูปแบบการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านจะทำเป็นโรงเรือนแบบเล้ากับล้อมเป็นคอกไว้ ซึ่งมีขนาดแต่ละครัวเรือนต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ ทั้งนี้ การล้อมคอกเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ออกไปหาอาหารกินไกล

สำหรับไก่ที่ออกไข่แล้วแม่ไก่จะฟักไข่เองตามธรรมชาติ โดยวัคซีนจะเริ่มให้ครั้งแรกเมื่อลูกไก่อายุได้ 3 วัน แล้วไม่ควรให้เกิน 7 วัน หลังจากได้ลูกเจี๊ยบแล้วจะนำมาคัดความสมบูรณ์แล้วแยกออกมาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์แล้วจะเริ่มคัดเมื่อลูกเจี๊ยบอายุสัก 1-2 สัปดาห์เพื่อแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก ทั้งนี้ จะมีการกำหนดว่าพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัว หรือตัวผู้ 2 ตัว ต่อตัวเมีย 10 ตัว ขึ้นอยู่กับแต่ละครัวเรือนจะกำหนด ไก่แต่ละแม่จะมีลูกเจี๊ยบได้คราวละ 5-10 ตัว

ลูกเจี๊ยบจะถูกเลี้ยงไว้ในสุ่มก่อนแล้วให้อาหารประเภทปลายข้าว ข้าวโพดบด หรือหัวอาหารและรำ ขึ้นอยู่กับแต่ละรายที่เลี้ยง เมื่อเลี้ยงไว้ได้สัก 2-3 อาทิตย์ จึงปล่อยออกมาเลี้ยงต่อในเล้า

ไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงอยู่ในช่วง 8-10 เดือนจึงเริ่มขายได้ และน้ำหนักที่ตลาดต้องการอยู่ระหว่าง 1.5-2 กิโลกรัม สำหรับชาวบ้านรายใดที่พร้อมจะขายไก่ก็จะดำเนินการผ่านกลุ่มเพื่อให้พ่อค้ามารับซื้อ

การเลี้ยงไก่พื้นบ้านเมืองเพรียวของชาวบ้านในพื้นที่จะเลี้ยงกันแทบทุกบ้าน มีจำนวนมาก-น้อยต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการและจำนวนพื้นที่ ทั้งนี้ ชาวบ้านจะเลี้ยงไก่ไปพร้อมกับการประกอบอาชีพหลักของชาวบ้านในพื้นที่คือการทำนา ปลูกมันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด หรือบางส่วนไปทำงานตามโรงงาน ทั้งนี้ ชาวบ้านเลี้ยงไก่เป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยใช้อาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น จึงไม่มีไขมัน แล้วมีเนื้อล้วน นับเป็นไก่อินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

นอกจากการเลี้ยงไก่เนื้อแล้ว หากไก่ตัวใดที่มีรูปลักษณะคุณสมบัติเหมาะกับการเป็นไก่ชน โดยจะดูจากไก่ที่มีน้ำหนักระหว่าง 2.7-3 กิโลกรัม มีหางยาว ปีกยาว และหนา หรือมีคอยาวก็จะแยกเลี้ยงไว้ ทั้งนี้ ไก่ชนมักจะแยกไว้ทุกรุ่น โดยมีการให้ความดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ทั้งวิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร หรือวิตามิน กระทั่งพออายุได้สัก 8 เดือนจึงจะเริ่มให้ทดลองชน อย่างไรก็ตาม ไก่ชนที่เลี้ยงไว้แล้วมีคุณลักษณะเด่นมาก จะมีชาวบ้านจากจังหวัดอื่นเดินทางมาซื้อ

สำหรับไก่เนื้อจะมีพ่อค้ามารับซื้อ โดยจะมาติดต่อที่กลุ่มก่อนเพื่อสอบถามรายละเอียดความต้องการไก่ จากนั้นจึงไปจับไก่ตามบ้านของสมาชิกที่พร้อมขาย

พ่อค้าที่เดินทางมารับซื้อไก่ในทุกสัปดาห์ในครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 ตัว โดยจะเลือกไก่ที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์และมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5-2 กิโลกรัม ต่อตัว ในราคารับซื้อตัวละ 80-90 บาท ตัวผู้หรือตัวเมียราคาเดียวกัน เป็นการรับซื้อเป็นไก่เป็น จากนั้นพ่อค้าจึงนำไปแปรรูปขายทั้งตัวในราคาตัวละประมาณ 150 บาท มักนำไปขายที่ตลาดสดแถวแก่งคอย

พ่อค้ารับซื้อไก่ชี้ว่า ไก่ของชาวบ้านกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีคุณภาพเพราะเลี้ยงกันอย่างมีระบบทั้งวิธีการดูแลและการให้ยา จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งไก่บ้านเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเพราะไม่มีไขมัน มีเนื้อล้วน นำไปปรุงอาหารแล้วอร่อย

คุณสมบัติ บอกว่า อีกไม่นานทางกลุ่มจะติดตั้งตู้ฟักไข่เพื่อให้สมาชิกนำไข่มาฟัก แล้วเมื่อได้เป็นตัวลูกเจี๊ยบก็จัดการหยอดวัคซีนทันที ดังนั้น แนวทางนี้จึงสามารถช่วยให้การฟักไข่ที่ชาวบ้านนำมามีประสิทธิภาพมากกว่าการฟักตามธรรมชาติ อีกทั้งเมื่อลูกไก่ฟักแล้วทางกลุ่มจะหยอดวัคซีนให้ฟรี แล้วจึงนำคืนให้ชาวบ้านกลับไปเลี้ยงต่อไป

ดังนั้น ชาวบ้านสามารถประหยัดต้นทุนจากการสูญเสียไก่ แล้วสะดวกไม่ต้องหยอดวัคซีนเอง ทั้งยังช่วยให้วัคซีนเป็นไปตามตารางที่ทางปศุสัตว์กำหนด อีกทั้งยังเป็นการควบคุมการใช้วัคซีนของทางราชการได้อย่างคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การนำไข่ของชาวบ้านมาฟักที่กลุ่มมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่าบำรุงเล็กน้อย

คนสานสุ่มไก่ถือว่าเป็นอีกอาชีพที่มีบทบาทในหมู่บ้าน โดยปกติคุณทะนงที่มีอาชีพสานสุ่มไก่มานานกว่า 10 ปี จะสานไว้ขายปีละ 70-80 ใบ แล้วสานคนเดียวเท่านั้น ใช้ไม้ไผ่สีสุกที่หาได้ในพื้นที่มาสานสุ่มไก่ ทำไว้ 2 ขนาด คือเล็ก-ใหญ่ ต้นทุนจะซื้อไม้ไผ่ลำละ 30 บาท โดยสุ่ม 2 ใบ ใช้ไม้ไผ่ 3 ลำ จึงลงทุนซื้อไม้ไผ่ในราคา 90 บาท แต่ขายมีรายได้ 500 บาท

จึงเห็นได้ว่าการเลี้ยงไก่พื้นบ้านเมืองเพรียวของชาวบ้านตำบลห้วยแห้ง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี สามารถสร้างเม็ดเงินโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งรายได้จากอาชีพเกษตรกรรมประจำเพียงอย่างเดียว เพราะไก่พื้นบ้านชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นไก่เนื้อหรือไก่ชนก็ตาม

สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อไก่เมืองเพรียวได้ที่ คุณสมบัติ ขุนทอง โทรศัพท์ (089) 796-6004 นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เปิดเผยว่า มั่นใจว่าปี 2561 นี้ รัฐบาลจะสามารถสรุปยอดขายข้าวสารส่งออก จากไทยส่งไปขายในตลาดต่างประเทศ ได้รวม 11 ล้านตัน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างแน่นอน โดยใน 11 ล้านตันนี้ เป็นยอดรวมทั้งที่รัฐบาลขายและที่เอกชนขายได้ซึ่งความมั่นใจนี้ สอดคล้องกับกรณีที่ นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ที่ออกมาระบุว่า ถึงวันนี้เราส่งออกข้าวไปแล้ว 9.89 ล้านตัน ขณะที่ล่าสุดมียอดสั่งซื้อข้าวสารจากต่างประเทศเข้ามา 3.24 แสนตัน แยกเป็นข้าวสารที่ประเทศจีนซื้อแบบจีทูจี 1 แสนตัน และจากฟิลิปปินส์ 8 หมื่นตัน รวมถึงที่เอกชนชนะการประมูลในตลาดต่างประเทศอีก 1.44 แสนตัน และเมื่อรวมยอดสั่งซื้อข้าวสารจากกลุ่มประเทศอื่น เช่น กลุ่มประเทศในแอฟริกา แล้วทุกอย่างจะเป็นไปตามเป้าหมายแน่นอน

อย่างไรก็ตามทราบว่าในปี 2562 หน่วยงานของรัฐบาลกำหนดเป้าหมายส่งออกข้าวสารไปตลาดโลกที่ประมาณ 10 ล้านตันขึ้นไปเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะยอดสั่งซื้อข้าวสารเข้ามาจำนวนมากแบบนี้ ถือเป็นการการันตีราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศไทย จะไม่ตกต่ำลง ดังนั้นหากชาวนาเองพัฒนาคุณภาพข้าวให้ดีขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ให้มากกว่านี้ ชาวนาก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นแน่นอน

จังหวัดบึงกาฬ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เดินหน้าจัดงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2562” เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้เรียนรู้นวัตกรรมแปรรูปยาง เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ และเป็นเวทีการค้าเชื่อมโยงสินค้ายางไทยสู่ตลาดโลก มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการค้ายางพาราของภูมิภาคอาเซียน

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. จังหวัดบึงกาฬ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)บึงกาฬ หน่วยงานราชการและภาคเอกชน ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2562” ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 13-19 ธ.ค.2561 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ภายใต้แนวคิด“บึงกาฬ ศูนย์กลางยางพารา เศรษฐกิจก้าวหน้า การค้าก้าวไกล”

นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ริเริ่มการจัดงาน และในฐานะประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน จังหวัดบึงกาฬเป็นแหล่งปลูกยางพารามากที่สุดในพื้นที่ภาคอีสาน เนื้อที่ประมาณ 1.3 ล้านไร่ คณะผู้จัดงานเล็งเห็นความสำคัญของอาชีพการทำสวนยาง จึงได้จัดงานวันยางพาราบึงกาฬต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 7 เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำ –กลางน้ำ- ปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้ายางพารา ให้พี่น้องชาวสวนยางมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง และใช้งานดังกล่าวเป็นเวทีเชื่อมโยงการค้ากับนานาประเทศ เช่น จีน เวียดนาม สปป.ลาว ฯลฯ

“การจัดวันยางพาราบึงกาฬที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในวงการยางพารามากมาย เช่น นวัตกรรมการก่อสร้างถนนยางพารา การก่อตั้งโรงงานแปรรูปหมอนยางพารา นวัตกรรมเครื่องกรีดยาง ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ รับเบอร์วัลเลย์ผู้ค้ายางรายใหญ่จากจีน เตรียมนำเสนอ นวัตกรรมเครื่องกรีดยางรุ่นใหม่ ทำงานด้วยระบบมอเตอร์ โดยอาศัยแรงคนกรีดยางตามปกติ แต่กรีดยางได้เร็วกว่าเดิม แถมได้หน้ายางเรียบ ช่วยยืดอายุการกรีดต้นยางได้ยาวนานขึ้น โดยทั่วไป แรงงานที่ใช้มีดกรีดยางทั่วไป จะกรีดยางได้ 700-800 ต้น/คน/วัน แต่นวัตกรรมชิ้นนี้ จะทำให้กรีดยางได้มากกว่าเดิม เฉลี่ย 1,000 ต้น/คน/วัน” นายพินิจกล่าว

ด้านนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ทางจังหวัดได้มอบหมายให้ องค์กรปกครองท้องถิ่นและหน่วยราชการต่างๆ จัดสรรงบประมาณสำหรับก่อสร้างถนน มาใช้ในดำเนินงานก่อสร้างถนนยางพาราแอสฟัลท์และถนนพาราดินซีเมนต์ตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งสั่งการให้โรงพยาบาลและหน่วยงานราชการที่จำเป็นต้องใช้หมอนและที่นอนสั่งซื้อที่นอนและหมอนที่ทำจากยางพารา เพื่อช่วยให้มีการระบายการใช้น้ำยางพารา ออกจากตลาดให้มากที่สุด

นายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ภาวะราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้ เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ได้ แต่อยู่แบบทรมาน เพราะเงินรายได้หดหายไปเยอะมาก ผมอยากให้รัฐบาลช่วยปลดล็อคกฎหมายเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เปิดโอกาสให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป ซึ่งผลิตโดยสถาบันเกษตรกร เช่น หมอนยางพารา ที่นอนยางพารา สนามเล่นตระกร้อ สนามฟุตซอล ฯลฯ ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นเช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาล ฯลฯ เพราะนอกจากประชาชนจะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวแล้ว ยังช่วยระบายยางพาราออกจากตลาด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำไปพร้อมๆ กัน

ด้านนายโทนี่ เฉิน หรือ เฉินหู้เซิง ในฐานะผู้อำนวยการของสำนักงานตัวแทนบริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ กรุ๊ป ผู้ค้ายางรายใหญ่ของจีน เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้สั่งซื้อหมอนยางพารา จากชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ล็อตแรก 2,001 ใบ โดยนำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในชื่อ”บึงกาฬ” เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้ายางพาราของจังหวัดบึงกาฬ เพราะหมอนยางพาราราของบึงกาฬมีคุณภาพดีเป็นที่ชื่นชอบของชาวจีนอย่างมาก คาดว่าปีหน้าจะมีโอกาสส่งออกหมอนยางของจังหวัดบึงกาฬได้เพิ่มขึ้นเป็นหมื่นหรือแสนใบได้ไม่ยาก

นายกมลดิษฐ สมุทรโคจร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายคาราบาวแดง เครื่องดื่มระดับโลก เปิดเผยว่า สำหรับพิธีเปิดงานวันยางพาราบึงกาฬ ในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ ทางบริษัทเตรียมจัดแสดงคอนเสิร์ตวงคาราบาว นำโดยแอ๊ด คาราบาว พร้อมจัดกิจกรรมคืนกำไรให้กับผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องดื่มคาราบาวแดงภายในงานวันยางพาราบึงกาฬ จะได้รับคูปองชิงโชคมากมาย ทั้งทีวี ตู้เย็น และมอเตอร์ไซด์ นอกจากนี้ทางคาราบาวยังให้การสนับสนุนการแข่งขัน “ ไทยแลนด์ลูกทุ่งคอนเทสต์ 2019 ” อย่างยิ่งใหญ่ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 500,000 บาท

พล.ต.ท.ดร.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว ประธานที่ปรึกษา บริษัทในเครือประวิทย์กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยไข่มุก ตราเรือใบไข่มุก และปุ๋ยมรกต ตรารุ่งอรุณ กล่าวว่า ทางบริษัทสนับสนุนการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ โดยมอบปุ๋ยเป็นของรางวัล ในกิจกรรมการแข่งขันกรีดยางพาราชิงแชมป์ประเทศไทย รวมทั้งสนับสนุบชุดกีฬาและอุปกรณ์กีฬาให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม การแข่งขันบึงกาฬฟุตซอลคัพ 2019 นอกจากนี้ ทางบริษัทได้ออกบู๊ทขายสินค้าปุ๋ยคุณภาพดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราในราคาพิเศษอีกด้วย

ส่วนนายประชา เกษลี ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบึงกาฬ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐนำยางพารามาใช้ก่อสร้างถนนมากขึ้น ทางโครงการชลประทานบึงกาฬจึงได้นำงบประมาณประจำปี 2561 มาใช้ก่อสร้างถนนลาดยางพารา จำนวน 2 โครงการ คือ ถนนยางพาราแอสฟัลติก บริเวณสันเขื่อนประตูระบายน้ำห้วยคาด ความยาว 1.3 กม. ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำยางพาราข้น 60 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1.8-3.0 ตัน ส่วนอีกแห่งเป็นโครงการก่อสร้างถนนบริเวณประตูระบายน้ำห้วยบางบาด ต.ชัยพร อ.เมืองบึงกาฬ ระยะยาวประมาณ 2.4 กม. ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำยางพาราข้น 60 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 6 ตัน

และปีงบประมาณ 2562 ชลประทานบึงกาฬ จะดำเนินงานก่อสร้างถนนยางพาราดินซีเมนต์ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยซำ อ.โซ่พิสัย และอ่างเก็บน้ำห้วยสหาย อ.บุ่งคล้า ซึ่งจะใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสมในการก่อสร้างถนนยางเพิ่มขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10 เท่าตัว ทั้งนี้เกษตรกรชาวสวนยางพาราและผู้สนใจสามารถแวะชมนิทรรศการถนนยางพารา ของโครงการชลประทานบึงกาฬ ได้ในงานวันยางพาราบึงกาฬตั้งแต่วันที่ 13-19 ธ.ค.นี้ ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

สำหรับการจัดงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2562” ในครั้งนี้ จัดงานยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยจัดแบ่งโซนนิทรรศการและกิจกรรมออกเป็น 12 โซน อาทิ โซนบึงกาฬรวมใจ เทิดไท้องค์ราชา จัดแสดงสวนไฟเฉลิมพระเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยนิทรรศการ “ปกแผ่นดิน…บดินทร” เล่าเรื่องจากปกหนังสือพิมพ์ หนังสือ และนิตยสารต่างๆ ตั้งแต่ประสูติจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงนิทรรศการภาพกิจกรรมจิตอาสาโครงการ “เราทำความดีด้วยหัวใจ” และภาพที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวบึงกาฬ โซนบึงกาฬเมืองก้าวหน้า นำเสนอยุทธศาสตร์ทิศทางการพัฒนาและวิสัยทัศน์ในการสร้างบึงกาฬให้น่าอยู่ ยุทธศาสตร์และผลงานที่พร้อมผลักดันให้ชุมชนเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เรียนรู้ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” กับศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา พร้อมกิจกรรมร่วมแสดงความคิดเห็น “ไปไหนดีที่บึงกาฬ”

โซนบึงกาฬลานเด็กเล่น ปีนี้มีความพิเศษที่กิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติ กับการสอนทักษะดูนกเบื้องต้น และพาไปดูนกที่บึงโขงหลง พื้นที่ชุ่มน้ำโลกในจังหวัดบึงกาฬ ที่มีนกกว่า 167 ชนิด, ห้องเรียนท้องฟ้าและวิทยาศาสตร์ สนุกได้ความรู้กับการดูเมฆ, ห้องเรียนศิลปะกับเทคนิคการระบายสีไม้ สีน้ำ วาดการ์ตูน และกิจกรรมมหัศจรรย์การพับกระดาษแบบโอริงามิ “เสกกระดาษ…สร้างศิลป์สนุก”

นอกจากนี้มี โซนเปิดโลกยางพารา นวัตกรรมการค้าและการลงทุน นำเสนอนิทรรศการความสามัคคีในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดบึงกาฬ นำไปสู่การรวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ “บึงกาฬรับเบอร์กรุ๊ป” รวมถึง “บึงกาฬโมเดล” นำเสนอความเปลี่ยนแปลงและการเติบโตอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ถือเป็นจุดแข็งในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของบึงกาฬที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ ในโซนนี้ ยังได้นำเสนอการต่อยอดไปสู่นวัตกรรมต่างๆ อาทิ สนามฟุตซอลจากยางพารา 100% และหมอนยางพารา ของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ

โซนเวทีปราชญ์ชาวบ้าน รวบรวมหัวข้อเสวนา และวิทยากรที่ดีที่สุดมาให้ความรู้ในเรื่องยางพารา เพื่อสร้างความรู้สู่รายได้ ด้วยการให้ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป และการวิจัยอุตสาหกรรมยางพารา จากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมถึงปราชญ์แผ่นดิน และเกษตรกรตัวอย่าง อาทิ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำเสนอผลงานนวัตกรรมจากยางพารา, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กับนวัตกรรม “สารจับยาง IR” สำหรับน้ำยางพาราความเข้มข้นต่ำ ที่ใช้สำหรับแยกเนื้อยางพาราออกจากน้ำ ช่วยแก้ปัญหาน้ำยาง DRC (Dry Rubber Content) ต่ำ พร้อมการเสวนา “ถนนยางพาราดินซีเมนต์ ทางรอดของการใช้ยางพารา” อีกหนึ่งผลงานการต่อยอดยางพาราจาก มจพ.

และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จะมาให้ความรู้ พร้อมกับการจัดแสดงผลิตภัณฑ์เพื่อชาวสวนยางพารา อาทิ “สารบีเทพ (BeTHEP)” สำหรับรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่น ช่วยยืดอายุยางสดได้นานกว่าเดิม, “ParaFIT” น้ำยางพาราข้นสำหรับทำผลิตภัณฑ์โฟมยางที่มีจุดเด่นเรื่องปริมาณแอมโมเนียต่ำกว่าน้ำยางพาราข้นทางการค้า 30 – 75% และ “กาวดักแมลงจากน้ำยางพารา (ParaTRAP)” พัฒนาและออกแบบให้สะดวกต่อการใช้งาน

ในโซนนี้ยังมีกิจกรรมสาธิตเมนูอาหาร โดยเชฟจารึก ศรีอรุณ อาจารย์ประจำหลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ศูนย์ปฏิบัติการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เพื่อให้พี่น้องที่สนใจได้นำความรู้ไปเป็นช่องทางเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับไฮไลท์สำคัญในภาคบันเทิงของงานปีนี้ คือ การแข่งขัน “ไทยแลนด์ลูกทุ่งคอนเทสต์ 2019” แชมป์ชนแชมป์ จากโรงเรียนแชมป์ถ้วยพระราชทานฯ ได้แก่ โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี, โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต จ.นครราชสีมา, โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์ จ.อ่างทอง, โรงเรียนบึงกาฬ จ.บึงกาฬ และโรงเรียนประจำอำเภอ ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดบึงกาฬ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 500,000 บาท โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีระดับประเทศ ได้แก่ ครูสลา คุณวุฒิ, ครูเทียม ชุติเดช ทองอยู่, และครูเรืองยศ พิมพ์ทอง มาเป็นคณะกรรมการตัดสิน

ภายในงานยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกอีกมากมาย อาทิ การแข่งขันกรีดยางพาราชิงแชมป์ประเทศไทย, การแข่งขันลับมีดกรีดยางพารา, การแข่งขันกองเชียร์ยางพารา และพลาดไม่ได้กับครั้งแรกของการแข่งขันบึงกาฬฟุตซอลคัพ 2019 รวมทั้งคอนเสิร์ตส่งท้ายปีจากศิลปินระดับประเทศ รวมไปถึงกิจกรรม “Check in Bueng Kan” ที่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้โพสต์ภาพบรรยากาศภายในงาน พร้อมติด #RubberDay2019 และกิจกรรม “Bueng Kan Passport” เพื่อลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษภายในงาน

นับเป็นแหล่งปลูกสับปะรดสีที่ใหญ่สุดในประเทศ สำหรับสวนลงวุฒิ อ.ภูเรือ จ.เลย สถานที่แห่งนี้มีสัปปะรดสีมากกว่า 40 สายพันธุ์ โชว์ความสวยงามเรียงรายให้บรรดานักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมและถ่ายรูปกลับไปเป็นที่ระลึก สายพันธุ์หลัก ได้แก่ สกุลกุซแมเนีย สกุลเอคเมีย สกุลนีโอเรเจลยา สกุลรีซี และสกุลทิลแลนด์เซีย แต่สกุลที่มีการผลิตและทำจำนวนมากสุด เห็นจะเป็น สกุล “กุซ แมเนีย” ซึ่งเป็นสับปะรดสีมีดอกทั้งหลาย

“สวนลุงวุฒิ” เดิมสวนไม้ดอกไม้ประดับแห่งนี้จะไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมสวนแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นความต้องการของเจ้าของสวน คือ ลุงวุฒิ เชยกลิ่นเทศ อดีตประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์เซ็นเตอร์ จำกัด ได้รวบรวมปลูกเลี้ยงจนสวนของลุงวุฒิ กลายเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับจากต่างประเทศหลากหลายชนิด

ภายหลังท่านเสียชีวิตลง กิจการสวนทั้งหมดจึงตกทอดมายังรุ่นลูกโดย คุณรำไพ เชยกลิ่นเทศ หรือ “คุณหยุ่น” บ้านเลขที่ 166 ม.4 ถนนเลย-ด่านซ้าย บ้านหนองบง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย 42160 โทรศัพท์ 08-1907-8318 มารับหน้าที่เป็นผู้สานดูแลต่อ และเริ่มเปิดสวนไม้ดอกไม้ประดับ และมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปัจจุบันสวนลุงวุฒิเป็นที่รู้จักกันดีในบรรดานักท่องเที่ยวที่มา อ.ภูเรือ จ.เลย โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว จะต้องแวะมาเที่ยวถ่ายรูปสวยๆ กับไม้ดอกไม้ประดับ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ให้ซื้อกลับบ้าน หรือ พ่อค้าแม่ค้าไม้ดอกไม้ประดับที่เดินทางเข้ามารับไม้ดอก

ไม้ประดับที่สวนลุงวุฒิที่สวนเพื่อเอาไปขายต่อ เพราะนอกจากมีความหลากหลายในเรื่องของสายพันธุ์แล้ว คุณภาพต้นดี สีสันสวยงาม ราคาก็ย่อมเยา สามารถนำไปขายต่อได้กำไรพอสมควร

สับปะรดสีสกุลมีดอก “กุซแมเนีย” ไม้เด่นของสวนลุงวุฒิ คุณหยุ่นเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการผลิตสับปะรดสีว่า คุณเกรียงไกร โพธิ์ดี เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นบ้าน 4 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เขียวหางดำ และเทาทอง คลุกคลีในวงการไก่พื้นบ้านมานาน 12 ปี ตลอดเวลา 12 ปี เป็นประสบการณ์ที่ทำให้วันนี้ คุณเกรียงไกร เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นบ้านมือหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี เพราะนอกจากจะเป็นผู้เลี้ยง เพาะ ขยายพันธุ์ อนุรักษ์สายพันธุ์ ทำการตลาดในประเทศและต่างประเทศแล้ว ยังสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรด้วยกัน ให้ไก่ไปเลี้ยงแล้วรับซื้อลูกไก่ประกันราคาอีกด้วย

“ผมเริ่มต้นจากไก่สวยงาม ก็เป็นไก่พื้นบ้าน แต่เลี้ยงแล้วเอาไปชน สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแล้วนำไปชนด้วย ต้องใช้ดูแลค่อนข้างละเอียดมาก เช่น การออกกำลังกาย การตากแดด การให้น้ำ ทุกอย่างต้องใช้เวลา ผมจึงเลิก แต่สุดท้ายก็หันมาสนใจไก่พื้นบ้านในลักษณะของไก่สวยงาม ไม่เอาไปชนที่ไหน แต่เพราะไม่มีประสบการณ์ ทำให้ช่วงแรกถูกหลอก ได้สายพันธุ์ที่เลือดไม่แท้ หมดเงินไปหลายแสนบาท”

คุณเกรียงไกร ต้องการเลือดแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเข้าใจว่า หากเพาะไก่พื้นบ้านขาย ลูกค้าที่มาซื้อ ก็ต้องการไก่เลือดแท้ 100 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน ดังนั้น ในการผสมพันธุ์ จึงมีการจดบันทึก และเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ที่มีความสมบูรณ์ โดยให้ผสม 1:1 เท่านั้น

“การดูแลไก่พื้นบ้านเลือดแท้ให้ได้คุณภาพ จะเลี้ยงปล่อยเหมือนไก่บ้านทั่วไปไม่ได้ เพราะต้องทำให้ได้คุณภาพ เพื่อขายให้ได้ราคาดีตามสายพันธุ์”

โรงเรือน แบ่งเป็นสัดส่วน มีคอกไก่รุ่น ไก่พ่อพันธุ์ ไก่แม่พันธุ์ กรงอนุบาลไก่ และแยกไก่ประกวดไว้อีกต่างหาก พื้นภายในโรงเรือน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ พื้นทรายและพื้นแกลบ

พื้นแกลบ เป็นพื้นโรงเรือนที่ช่วยให้ไก่ขนสวย ขนเงา เพราะแกลบไม่ทำลายขน ทั้งยังมีข้อดีช่วยให้น้ำขนมีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะไก่ที่อยู่ระหว่างการถ่ายขน ขนที่ขึ้นใหม่จะมีน้ำขนสวยงาม ไม่หัก ไม่กร่อน นอกจากนี้ โอกาสที่เท้าไก่จะเป็นแผลจากพื้นโรงเรือนค่อนข้างน้อย เพราะแกลบมีความนุ่ม เมื่อไก่กระโดดขึ้นลงจากคาน จะช่วยลดอัตราและโอกาสการบาดเจ็บได้มาก รวมถึงแกลบมีอาหารเสริมให้ไก่ได้เป็นอย่างดี เพราะภายในแกลบอาจมีพืชงอกขึ้นมา หรือมีสัตว์ แมลง ซุกซ่อนภายในแกลบ ไก่จะคุ้ยเขี่ยและจิกกินเป็นอาหารได้ด้วย