ได้จัดการทำงาน 2 ด้าน คือ การจัดการพัฒนาสวนไม้ผลด้วย

การผลิตทุเรียนคุณภาพ และการจัดการงานด้านการตลาดด้วยการทำ MOU เป็นงานที่ต้องทำแบบผสมผสานกันเพื่อให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ

การผลิตทุเรียนคุณภาพ ด้วยสภาพพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตภูเขาไฟเก่าที่มอดดับ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในจังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ให้ปลูกทุเรียนหมอนทองด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม ปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลทุเรียนคุณภาพ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการผลิตให้เป็นทุเรียน GI : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือเป็นพืชคุณภาพเฉพาะถิ่น เป็นการผลิตทุเรียนคุณภาพยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพพืชเศรษฐกิจ เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาการผลิตที่ยั่งยืน

ด้านการตลาด ได้ทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU (Memorandum of Understanding) ในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสวนไม้ผลกับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ (Siam Makro Public Limited) ซึ่งเป็นธุรกิจค้าส่ง เป็นการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เพื่อร่วมมือในการส่ง-รับทุเรียนที่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย

การดำเนินงานครั้งแรก ได้ทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเกษตรกรสวนไม้ผลกับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขาจังหวัดศรีสะเกษ

การขยายตลาด จากจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสวนไม้ผล กับ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขาจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ สาขาละ 1 แห่ง และขยายตลาดไปที่จังหวัดอุบลราชธานี 2 สาขา

และได้ขยายตลาดไปต่างประเทศ ที่สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ สาขากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่เป็นซัพพลายเออร์ (Suppliers) ใหญ่ แล้วจัดการส่งทุเรียนไปยังสาขาต่างๆ ในประเทศกัมพูชา

คุณสุขุมาภรณ์ ตองอบ เกษตรกรก้าวหน้านักพัฒนาสวนไม้ผลรุ่นใหม่ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า แนวทางข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสวนไม้ผลกับบริษัทผู้ซื้อ คือ สวนคัดทุเรียนคุณภาพ จัดบรรจุภัณฑ์ตามจำนวน จัดส่งไปที่สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สาขาที่ได้บันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ไว้ ดังนี้

– จัดส่งทุเรียนคุณภาพให้สาขาจังหวัดศรีสะเกษ 15 ตัน ต่อฤดู หรือต่อปี ราคา 125 บาท ต่อกิโลกรัม

– จัดส่งทุเรียนคุณภาพให้สาขาจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสุรินทร์ และสาขาจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดละ 3-5 ตัน ต่อฤดู หรือต่อปี ราคา 140 บาท ต่อกิโลกรัม – จัดส่งทุเรียนคุณภาพให้สาขาจังหวัดอุบลราชธานี 5-10 ตัน ต่อฤดู หรือต่อปี ราคา 130 บาท ต่อกิโลกรัม

– จัดส่งทุเรียนคุณภาพให้สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ สาขากรุงพนมเปญ 3 ตัน ราคา 130 บาท ต่อกิโลกรัม ต่อฤดู หรือต่อปี และมีข้อมูลว่า สยามแม็คโคร กรุงพนมเปญ นำไปขาย 220-250 บาท ต่อกิโลกรัม

ราคาซื้อ-ขาย จะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้หรือไกล หรือกลไกตลาด และนี่คือสิ่งที่ได้ดำเนินการตามข้อตกลงร่วมกัน ที่ทำให้เกษตรกรนำไปสู่การยกระดับรายได้เพื่อก้าวสู่ความมั่นคงในด้านการยังชีพ

ขอบคุณ คุณธนดล วงษ์ขันธ์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ที่นำเยี่ยมชมสวน พร้อมกับได้นำเรื่องราว พลิกผืนดิน พัฒนาคุณภาพทุเรียนหมอนทอง ทำ MOU กับคู่ค้า สู่การมีรายได้มั่นคง เป็นความสำเร็จของเกษตรกรนักพัฒนาสวนไม้ผล และเปิดตลาด MOU เพื่อทำให้มีรายได้และยังชีพมั่นคง

สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณสุขุมาภรณ์ ตองอบ เลขที่ 122 หมู่ที่ 16 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. (085) 417-7178 หรือ คุณสุริยา บุญเย็น สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทร. (062) 196-1377 ก็ได้ครับ

การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในสวนยาง ทั้งนี้เศษซากพืชคลุมดินเมื่อย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยปรับโครงสร้างดินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้การเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชคลุมดินไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รักษาความชื้นในดิน ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช ตลอดจนเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน เช่น มด แมลง หนอน ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ และยังช่วยเพิ่มฮิวมัสให้แก่ดินอีกด้วย

สถาบันวิจัยยาง ได้มีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชคลุมดินในสวนยางช่วงเวลาเดียวกันกับการปลูกยาง โดยปลูกในระหว่างแถวยางที่ไม่มีการปลูกพืชแซมยาง พืชคลุมดินที่นิยมปลูกในสวนยาง ได้แก่ พืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรีย เป็นต้น ปัจจุบันมีพืชคลุมดินอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพเหมาะสำหรับนำมาปลูกในสวนยาง คือ ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่สามารถเจริญเติบโตคลุมดินได้ดี และช่วยเพิ่มธาตุอาหารตลอดจนอินทรียวัตถุให้แก่ดินได้ดีกว่าพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ

อีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร

ซีรูเลียมเป็นพืชคลุมดินตระกลูถั่ว อายุข้ามปีและเป็นพืชวันสั้น มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ รากจะมีปมตรึงไนโตรเจนจากอากาศ สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของลำต้นเป็นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัด ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายใบโพธิ์ ใบค่อนข้างหนา ดอกเป็นช่อสีม่วง ซีรูเลียมจะเริ่มออกดอกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฝักจะมีลักษณะแบนยาวมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ ฝักจะแตกออกมาเองเมื่อแห้งจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มเมล็ดหนา เมล็ดมีสีเหลืองจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน น้ำหนัก 1 ก.ก. จะมีเมล็ดประมาณ 28,420 เมล็ด ระบบรากมีทั้งรากแก้วและรากฝอย

ซีรูเลียม มหัศจรรย์พืชคลุมดินในสวนยาง

ซีรูเลียมขึ้นหนาแน่น วัชพืชอื่นขึ้นไม่ได้
พืชคลุมดินซีรูเลียม มีการนำเข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย ในปี 2519 จนถึงปัจจุบัน จากการทดลองปลูกปรากฏว่าควบคุมวัชพืชได้ดี ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุอาหารในดิน ช่วยลดปัญหาการเกิดไฟไหม้ในสวนยาง และยังช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ

จากการทดลองปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวต้นยางและไม้ผล พบว่า เมื่อพืชคลุมซีรูเลียมเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมดินได้หนาแน่นจนวัชพืชอื่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และยังสามารถควบคุมวัชพืชในระหว่างแถวยางและไม้ผลได้ถาวรตลอดไป เมื่อเปรียบเทียบกับพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ พบว่า พืชคลุมดินซีรูเลียมสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีที่สุด ดังนั้นซีรูเลียมจะประหยัดในการจ้างแรงงานกำจัดวัชพืช ช่วยลดการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชในสวนยาง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยางเป็นการลดต้นทุนการผลิตไปในตัวด้วย

พืชคลุมดินโดยทั่วไปไม่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง พืชคลุมดินจะแห้งตายในฤดูร้อน ซากกองพืชคลุมจะเป็นเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดไฟไหม้สวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน และสวนไม้ผลที่ปลูกพืชคลุมเหล่านี้

จากการศึกษาและประสบการณ์ในการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวยางและไม้ผล พบว่า พืชคลุมซีรูเลียมมีอายุยืนยาว และมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี พืชคลุมโดยทั่วไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา โดยปกติพืชคลุมจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในระหว่างแถวยางที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เมื่อต้นยางเจริญเติบโตมีร่มเงาเกิดขึ้นในระหว่างแถวพืชคลุมอื่นมักจะตายหรือเจริญเติบโตไม่ดี แต่พืชคลุมซีรูเลียมไม่ตายและยังคงสามารถเจริญเติบโตและควบคุมวัชพืชได้ดีในสภาพร่มเงา สามารถคลุมพื้นที่ได้ภายใน 4-6 เดือน ขณะเดียวกันก็เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สวนยางพาราจากการที่ปมรากจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชคลุม

ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมเปิดกรีดยางได้เร็วขึ้น

จากการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงที่มีพืชคลุมตระกูลถั่วและแปลงหญ้าคา ในสวนยางที่ปลูกพืชตระกูลถั่วจะมีการเจริญเติบโตเป็นสองเท่าของสวนยางที่มีหญ้าคาปกคลุม และสามารถเปิดกรีดยางภายใน 6-7 ปี และกรีดยางได้ก่อนสวนยางที่มีหญ้าคาขึ้นปกคลุมประมาณ 3-4 ปี

การทดสอบการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในแปลงเอกชนที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปรากฏว่า สามารถเปิดกรีดยางได้ก่อนแปลงของเกษตรกรที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมประมาณ 1 ปี และผลผลิตในแปลงที่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมให้ปริมาณน้ำยางที่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียม

ระบบรากฝอยหนาแน่นป้องกันการพังทลายหน้าดิน

โดยปกติฝนตกในบริเวณสวนยาง ทรงพุ่มต้นยางจะช่วยซับและรับปริมาณน้ำฝนส่วนหนึ่งไว้ที่ใบ น้ำฝนบางส่วนจะระเหยก่อนลงสู่พื้นดิน บางสวนจะไหลลงมาตามลำต้น และบางส่วนจะตกผ่านทรงพุ่มลงสู่พื้นดิน การปลูกซีรูเลียมในระหว่างแถวยางจะช่วยรับน้ำที่ผ่านทรงพุ่มชั้นหนึ่งก่อนลงสู่พื้นดิน เนื่องจากพืชคลุมซีรูเลียมมีคุณสมบัติคลุมอย่างถาวร มีพื้นที่ใบคลุมดินหนาแน่น ซากพืชซีรูเลียมที่แห้งตายถูกปลดปล่อยลงไปช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยในการดูดซับและเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้รากฝอยที่หนาแน่นของซีรูเลียมจะช่วยยึดอนุภาคและโครงสร้างของดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ดีขึ้น

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม

จากคุณสมบัติที่ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นๆ ซีรูเลียมเป็นพืชคลุมดินที่เหมาะสมที่จะปลูกในสวนยางพาราในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดกรีดยางได้ (ปีที่ 1-6) เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง แต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับช่วงแสงและอากาศ ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและมีราคาสูง

เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมค่อนข้างจะได้ผลดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สถาบันวิจัยยางจึงได้เริ่มโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมขึ้นในปี 2554 เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์และทำการผลิตพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมอบให้ศูนย์เรียนรู้ยางพาราโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรทั่วประเทศ ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมเพื่อสนองความต้องการเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร

ศูนย์เรียนรู้ยางพาราฯ โดยการดำเนินงานของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดของการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมในปี 2554 การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ คือ

1.เมล็ดจะมีความงอกต่ำ เนื่องจากสารที่เปลือกหุ้มเมล็ดบางชนิดไม่ยอมให้น้ำและอากาศผ่าน

2.เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อย ซึ่งเกี่ยวกับช่วงแสงในแต่ละพื้นที่ และความต้องการอากาศที่เย็นในช่วงการออกดอก ทำให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร จึงทำให้เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีราคาสูงถึง กก.ละ 500-700 บาท

จากการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าว เราสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 40 กก./ไร่

การขยายพันธุ์ซีรูเลียมระดับเกษตรกร

การขยายพันธุ์ซีรูเลียม ถ้าเราปลูกคลุมดินในสวนยาง ธรรมดาก็จะออกดอกและติดฝัก แต่ติดไม่มากเมื่อเราปล่อยให้เลื้อยไปตามพื้นดิน ซีรูเลียมจะเจริญเติบโตทางด้านลำต้นมากกว่าที่จะไปผลิตดอกออกฝัก แต่ถ้าเราต้องการขยายพันธุ์ เราก็ต้องทำค้างเหมือนกับค้างถั่วหรือค้างผัก จะทำให้ติดฝักได้มาก ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ทดลองปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์โดยขึ้นค้าง จะได้เมล็ด 50 กก./ไร่ ดังนั้นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกและติดเมล็ดได้ดีกว่าขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำลำต้น

ในช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง อาจส่งผลกระทบต่ออ้อยในระยะแตกกอ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวไร่อ้อยเฝ้าระวังการระบาดของหนอนกออ้อย มักพบการเข้าทำลายของหนอนกออ้อย 2 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิวดิน และเข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย ผลผลิตอ้อยลดลง 5-40% และยังพบหนอนเข้าทำลายอ้อยในระยะอ้อยย่างปล้อง โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นอ้อย ทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม

ส่วน หนอนกอสีชมพู ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินตรงส่วนโคนของหน่ออ้อยระดับผิวดิน และเข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย และแม้ว่าหน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไปได้ แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่จะมีอายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลงตามไปด้วย

สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยทั้ง 2 ชนิด ให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย และในช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกออ้อย ให้ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว ต่อไร่ ต่อครั้ง โดยให้ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง กรณีพบการระบาดหรืออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10% ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงเดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน หรือสารอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นโดยใช้น้ำในอัตราส่วน 60 ลิตร ต่อไร่

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แร่ธาตุในดินซึ่งเป็นต้นทุนในการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ส่งผลให้ จ.ยะลา กลายเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและผลไม้ชายแดนใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร แร่ธาตุในดินซึ่งเป็นต้นทุนในการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ส่งผลให้ จ.ยะลา กลายเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและผลไม้ชายแดนใต้

ผมมีความสนใจปลูกต้นไม้ไว้รอบบริเวณบ้าน และพืชผักอีกประเภทหนึ่งที่ผมสนใจ อยากปลูกไว้บริโภคภายในครอบครัว แต่ผมประสบปัญหาการเพาะเมล็ดพืชผักที่มีขนาดเล็กมาก มักไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นพริก มะเขือ และผักกาด อีกหลายชนิด คือเพาะแล้วไม่งอก หรืออาจงอกบ้างแต่น้อยมาก ทั้งนี้ ผมใช้ดินถุงซื้อจากตลาดต้นไม้เป็นวัสดุเพาะ ดังนั้น ผมขอเรียนถามว่า ผมควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การเพาะเมล็ดพืชผักเหล่านั้นให้ได้ผลดี

ผมขออนุญาตนำเมล็ดพริกมาเป็นตัวอย่าง หลายท่านบ่นว่า พริกที่เกิดขึ้นเอง โดยที่นกกินเมล็ดพริกเข้าไปแล้วขับถ่ายออกมา เมื่อได้รับความชื้นในดินจะเจริญงอกงามให้ผลดี ดีกว่าการเพาะเมล็ดด้วยตนเอง ซึ่งมักเกิดความล้มเหลว ผมเคยทดลองเพาะเมล็ดพริกขี้หนูโดยใช้ดินถุงเป็นวัสดุเพาะ ผลปรากฏว่าไม่ได้ผล

ต่อมาใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำบีบน้ำให้หมาด ปรากฏว่าระยะแรกเมล็ดงอกได้ดี แต่อีกชั่วระยะหนึ่งต้นอ่อนกลับเน่าตาย เมื่อให้คะแนนจะได้เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการวิจัยต่อไป

ผมลงทุนซื้อวัสดุเพาะที่เรียกว่า พีทมอส บรรจุถุงจากร้านค้าวัสดุเกษตร ขนาดบรรจุ 5 ลิตร ราคาประมาณ 50-75 บาท ต่อถุง มาเพาะเมล็ดพริก และเมล็ดไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ วัสดุเพาะดังกล่าวมีลักษณะร่วนซุย และสะอาด ให้ฉีกถุงบรรจุ เทวัสดุลงในกะละมัง คลุกเคล้าและเกลี่ยให้เรียบ ปล่อยก๊าซบางชนิดที่หลงเหลืออยู่ในถุงระเหยออกไป แล้วใส่ในภาชนะที่มีรูระบายน้ำต่ำจากขอบเล็กน้อย รดน้ำพอชุ่ม วางเรียงเมล็ดพืชเป็นแถว ให้แต่ละเมล็ดห่างกันเล็กน้อยและกลบเมล็ดด้วยวัสดุเดียวกัน ใส่ในถุงพลาสติกทำเป็นตู้อบ ผูกปากถุงให้แน่น เก็บในที่ร่ม ภายใน 5-7 วัน เมล็ดจะงอกต้นอ่อนออกมาให้เห็น แล้วจึงเปิดปากถุงออก เลี้ยงต้นกล้าให้สมบูรณ์

ขั้นตอนต่อไป ทำได้สองวิธี

วิธีแรก เมื่อต้นอ่อนเติบโตมีใบจริงชุดที่สอง ให้ถ่ายลงถุงเพาะชำสีดำ ที่วัสดุเพาะมีส่วนผสมจากดินร่วน 3 ส่วน ดินก้ามปู 1 ส่วน และปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน เลี้ยงไว้ให้แข็งแรงสมบูรณ์ จึงนำลงปลูกในแปลง ทำให้โอกาสรอดตายสูง และอีกวิธีหนึ่ง บำรุงต้นกล้าให้แข็งแรง เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง

วิธีนี้ระยะแรกต้องพลางแสงให้ เพื่อลดความสูญเสียจากการเผาไหม้ของแสงอาทิตย์ จากนั้นให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 โรยบางๆ เดือนละ 1 ครั้ง แล้วรดน้ำตาม หมั่นควบคุมแมลงศัตรูอย่างสม่ำเสมอ คุณจะได้ต้นพริก หรือพืชอื่นๆ ผลิดอกออกผลตามความต้องการ ปัจจุบัน การขยายพันธุ์มะม่วง เกือบทั้งหมดจะใช้วิธีการทาบกิ่ง มีบางส่วนใช้วิธีการเสียบยอดบนต้นตอในกรณีที่มียอดมะม่วงพันธุ์ดีจำนวนน้อย โดยปกติแล้วต้นที่เสียบยอดจะมีขนาดเล็กกว่ากิ่งทาบ ในความเป็นจริงแล้วมะม่วงจัดเป็นไม้ผลที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย แม้ว่าต้นมะม่วงจะมีอายุหลายปี ถ้าเกษตรกรต้องการจะเปลี่ยนพันธุ์ก็ทำได้ไม่ยุ่งยากโดยมีเทคนิค ดังต่อไปนี้

การทาบกิ่งมะม่วงอาร์ทูอีทูแนวใหม่ แบบสวนคุณวารินทร์ ชิตะปัญญา เลขที่107/1 หมู่ 1 ต.บ้านฉาง จ.ระยอง การขยายพันธุ์โดยวิธีการทาบกิ่งแนวใหม่นี้เป็นการประยุกต์ การทาบมะม่วงแบบเก่าที่จะเพาะต้นตอในแปลงเพาะกล้า เมื่อต้นตอมีขนาดลำต้นเท่าแท่งดินสอก็จะสามารถถอนต้นไปปาดแผลขึ้นทาบกิ่งได้เลย โดยไม่ต้องนำต้นตอไปอัดถุงขุยมะพร้าวก่อนแล้วจึงจะนำไปขึ้นทาบได้ เริ่มต้นจากปาดกิ่งมะม่วงอาร์ทูอีทูที่ต้องการทาบให้เป็นแผลยาว ประมาณ 1-1.5 นิ้ว จากนั้นถอนต้นตอมะม่วงพื้นเมืองปาดให้เป็นลิ่มแผลยาว ประมาณ 1-1.5 นิ้ว เช่นกัน ส่วนด้านตรงข้ามให้ปาดเป็นแผลเล็กน้อย

จากนั้น ประกบแผลของต้นตอพื้นเมืองกับกิ่งอาร์ทูอีทูให้สนิทใช้พลาสติกพันกิ่งจากด้านล่างขึ้นบนให้แน่น จากนั้นนำขุยมะพร้าวที่ผ่านการแช่น้ำแล้วบีบน้ำออกให้พอหมาด ใส่ถุงพลาสติกหูหิ้ว ขนาด 6×7 นิ้ว ประมาณ 1-2 กำมือ ใช้ถุงหูหิ้วที่บรรจุขุยมะพร้าวมัดรวบรากต้นตอพื้นเมือง พร้อมกับมัดอ้อมให้หูหิ้วยึดกับกิ่งอาร์ทูอีทูที่ทาบ จากนั้นใช้เชือกฟางมัดถุงหูหิ้วให้แน่นติดกับกิ่งอาร์ทูอีทูเป็นอันเสร็จ อีกราว 35-45 วัน กิ่งทาบจะมีรากสีน้ำตาลเดินเต็มถุง แสดงว่าจะสามารถตัดไปชำต่อในโรงเรือนได้

ในกรณีขึ้นทาบกิ่งอาร์ทูอีทูขนาดใหญ่นั้น ก็สามารถใช้วิธีดังกล่าวได้ดี เพียงจะต้องมีการทาบสัก 2 ต้นตอ เป็นอย่างน้อย เพื่อให้กิ่งทาบมีรากหากินให้สมส่วนกับกิ่งขนาดใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มขนาดถุงที่บรรจุขุยมะพร้าวนำไปล้อมถุงขุยมะพร้าวเดิมให้มีขนาดถุงใหญ่ขึ้นเพื่อให้เพิ่มจำนวนรากให้มากขึ้น เมื่อมีรากเต็มถุงขุยมะพร้าวจึงจะตัดลงมาชำ อนุบาลในโรงเรือนหรือลงปลูกในแปลงปลูกได้เลย การตัดกิ่งทาบที่มีขนาดต้นใหญ่ แล้วลงปลูกในแปลงเลยนั้นจะต้องมีการดูแลที่ดีคือ จะต้องมีการกางซาแรนบังแดดให้สัก 2 เดือน มีการให้น้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีไม้ค้ำยันให้ต้นไม่โยกคลอน

การเสริมขามะม่วงที่เปลี่ยนยอดใหม่ ต้นมะม่วงที่มีการเปลี่ยนยอดใหม่ เช่น สวนคุณวารินทร์ เปลี่ยนต้นมะม่วงพันธุ์เดิมอย่าง น้ำดอกไม้สีทองมาเป็นอาร์ทูอีทูทั้งสวนนั้น รอยต่อของแผลระหว่างต้นมะม่วงเดิมกับกิ่งพันธุ์อาร์ทูอีทูจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการฉีกขาด หากกิ่งอาร์ทูอีทูโตขึ้น กิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อมีลมแรงกิ่งก็จะฉีกขาดได้ง่าย และต้นตอมีอายุเกือบ 10 ปี สวนคุณวารินทร์จึงใช้วิธี “เสริมขา” คือ ใช้กิ่งหรือยอดที่แตกออกมาจากต้นตอหรือต้นมะม่วงเดิม (น้ำดอกไม้สีทอง) โดยจะทำการเฉือนยอดต้นตอแล้วเสียบแปะไว้กับกิ่งอาร์ทูอีทู นอกจากช่วยลดปัญหากิ่งมะม่วงฉีกขาดแล้ว การเสริมขาดังกล่าวช่วยในเรื่องของการหาอาหารดีอีกด้วย

การขยายพันธุ์มะม่วงของ “ไต้หวัน” ที่ไต้หวัน จะเตรียมต้นตอเหมือนกันบ้านเราโดยจะเพาะเมล็ดมะม่วงพื้นบ้านไว้ในถุงดำ ประมาณ 5-8 เดือน ต้นตอจะมีขนาดเท่าดินสอจึงจะใช้ได้ เตรียมยอดพันธุ์ดี โดยตัดเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนยาว 5-8 เซนติเมตร และต้องมีข้อใบทุกท่อน วิธีการขยายพันธุ์ กะระยะความสูงของต้นตอ 20-30 เซนติเมตร ตัดยอดทิ้งแล้วปาดข้างให้แผลยาว 1 นิ้ว นำยอดพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ ปาดข้างเช่นเดียวกัน แผลยาว 1 นิ้ว ประกบกับรอยแผลที่ต้นตอ ใช้เชือกหรือยางยืดรัดตรงรอยประกบให้แน่น หลังจากนั้นใช้ถุงพลาสติกครอบและห่อด้วยหนังสือพิมพ์อีกชั้นเพื่อป้องกันแสงแดด มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น หลังจากนั้น ประมาณ 30-40 วัน ยอดพันธุ์ดีก็จะแตกยอดออกมา ก็ให้เอาหนังสือพิมพ์และถุงพลาสติกที่ครอบไว้ออก ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและใช้อุปกรณ์น้อย

การเปลี่ยนยอดบนต้นตอขนาดใหญ่ วีธีคือ ตัดต้นตอเก่าโดยให้สูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร เตรียมยอดพันธุ์ดี โดยเลือกยอดที่มีตุ่มตาผุดออกมาเพื่อความรวดเร็วในการแตกยอด ใช้มีดเปิดเปลือกต้นตอ กว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 นิ้ว เฉือนแผลต้นตอเป็นรูปลิ่มยาว 1 นิ้ว เสียบลงไปบนต้นตอที่กรีดแผลไว้ ใช้เทปพันแผลให้แน่นครอบด้วยถุงพลาสติกและใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อไว้เพื่อป้องกันแสงแดด ประมาณ 15-20 วัน ตุ่มตาจะเริ่มผลิออกมา ให้แกะกระดาษหนังสือพิมพ์และถุงพลาสติกออก

เทคนิคในการขยายพันธุ์มะม่วงกิ่งใหญ่ คุณเสน่ห์ ลมสถิต บ้านเลขที่ 53/1 หมู่ที่ 5 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ได้ผลิตกิ่งทาบที่ได้มาตรฐาน มีวิธีการทาบกิ่งมะม่วงขนาดกลางและใหญ่ โดยใช้หลักการทาบกิ่งเหมือนกับการทาบกิ่งเล็กเพียงแต่กิ่งทาบขนาดกลางและขนาดใหญ่นั้น ต้นตอมะม่วงที่จะนำมาทาบกับกิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีขนาดต้นตอใหญ่ด้วยและถ้าจะให้กิ่งพันธุ์มีความแข็งแรงและมีเปอร์เซ็นต์รอดตายสูงจะต้องเพิ่มจำนวนต้นตอที่ใช้ทาบมากขึ้น อย่างกรณีการทาบกิ่งของคุณเสน่ห์ถ้าเป็นกิ่งเล็กยังใช้ต้นตอทาบ อย่างน้อย 2 ต้นตอ ขนาดของกิ่งพันธุ์ดีใหญ่มากขึ้นเท่าไรจะต้องใช้จำนวนต้นตอทาบมากขึ้นเพิ่มไปด้วย บางกิ่งจะใช้จำนวนต้นตอทาบถึง 20 ต้น ก็มี

และอย่าลืมว่าถ้ากิ่งพันธุ์ดียิ่งมีขนาดใหญ่เท่าใด ระยะเวลาของการออกรากจะใช้เวลานานขึ้นตามลำดับ บางกิ่งอาจจะใช้เวลาเป็นปีถึงจะตัดลงมาชำได้ คุณเสน่ห์ย้ำให้ดูที่ปริมาณและสีของรากในตุ้มมะพร้าวเป็นหลัก (ถ้ารากมีสีน้ำตาลและปลายรากสีเหลืองอ่อนๆ ตัดกิ่งทาบลงมาได้) คุณเสน่ห์ยังได้บอกถึงเคล็ดลับเพิ่มเติมในการทาบกิ่งและเพิ่มเปอร์เซ็นต์การรอดตาย หลังจากทาบกิ่งเสร็จให้ใช้มีดลอกเปลือกของกิ่งพันธุ์ดีบริเวณใต้ตุ้มทาบลงมาเล็กน้อยให้เป็นแผลเช่นเดียวกับการตอนกิ่งเพื่อเป็นการเตือนและให้กิ่งพันธุ์ดีได้ปรับตัวเมื่อพร้อมจะตัดลงมาชำเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม หมั่นสังเกตตุ้มมะพร้าวของต้นตออย่าให้น้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่า เกษตรกรจะต้องกรีดบริเวณปลายตุ้มมะพร้าวเพื่อระบายน้ำออกโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

เทคโนโลยีการ “ฝากท้อง”มะม่วง Royal Online เทคโนโลยีการฝากท้องมะม่วงหรือที่ชาวสวนมะม่วงทั่วไป เรียกว่า “อุ้มบุญ” เป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตมะม่วงที่ชาวสวนทั่วไปนิยมทำกันมาก เพราะนอกจากจะได้ผลผลิตจากต้นแม่ตามปกติแล้ว ยังได้ผลผลิตจากกิ่งที่นำไปเสียบฝากไว้อีก เรียกว่าได้ผลผลิต 2 ต่อ การฝากท้องก็คือ การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเสียบยอด ที่เราไม่ต้องตัดต้นแม่ทิ้งในช่วงปีแรกๆ เราสามารถเก็บต้นแม่ไว้ให้ผลผลิต รอจนกว่ากิ่งพันธุ์ดีที่เสียบไว้หรือฝากท้องไว้ในปีแรกโตพอจึงตัดต้นแม่ทิ้งเหลือแต่กิ่งพันธุ์ดีให้เจริญเติบโตต่อไป วิธีการนี้จะไม่เสียประโยชน์จากต้นแม่เลย

ตัวอย่างเกษตรกร คุณจตุพร พึ่งประดิษฐ์ เจ้าของสวน “ไร่ไทรทอง” เลขที่ 1 หมู่ 1 ต.วังทับไทร กิ่ง อ. สากเหล็ก จ.พิจิตร ที่ปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นและเพชรบ้านลาดในพื้นที่จำนวน 10 กว่าไร่ และได้นำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง และน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มาเสียบฝากไว้ ปีหนึ่งๆ เก็บผลผลิตได้กว่า 30 ตัน ขายได้เงิน 5-6 แสนบาท สอบถามได้ความว่า ตามปกติแล้วปลูกมะม่วงพันธุ์ฟ้าลั่นและเพชรบ้านลาด ปีหนึ่งจะได้ผลผลิตอย่างสูงไม่เกิน 20 ตัน และได้เงินประมาณ 2 แสนบาท แต่พอนำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้มาเสียบฝากไว้ ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ขายได้เงินมากขึ้น

คุณจตุพร เล่าว่า เทคโนโลยีเกี่ยวกับการฝากท้องมะม่วงเริ่มเป็นที่นิยมของเกษตรกรชาวสวนมะม่วงทั่วไป ก่อนหน้านี้ที่สวน ปลูกมะม่วงพันธุ์เพชรบ้านลาดและฟ้าลั่นนับพันต้น ในตอนนั้นราคาถือว่าถูกมากราคาสู้มะม่วงน้ำดอกไม้ไม่ได้ ถ้าจะให้ตัดต้นเพื่อเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองเลย ก็เสียดายเวลา เพราะกว่ายอดน้ำดอกไม้สีทองที่เสียบไว้จะให้ผลผลิตต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี จึงศึกษาเทคนิคการฝากท้องจนเข้าใจและตัดสินใจฝากท้องน้ำดอกไม้สีทอง กับต้นพันธุ์เพชรบ้านลาดและฟ้าลั่น

วิธีการฝากท้องก็คือ การเสียบยอด แต่มี “เคล็ดลับอยู่ว่าต้นพันธุ์เดิมจะต้องไม่ มีการแตกใบอ่อนเพราะหากต้นมีใบอ่อนแล้วการเสียบยอดจะไม่ค่อยติด” แล้วยอดพันธุ์ดี (น้ำดอกไม้สีทอง) ที่จะนำมาเสียบฝากต้องเป็นยอดที่ไม่เป็นโรคและต้องเป็นยอดที่มีตาเต่ง ยอดอวบอ้วน ตามปกติแล้วการเสียบฝากสามารถเสียบได้กับกิ่งทุกขนาด แต่กิ่งขนาดเล็กจะทำได้ง่ายกว่ากิ่งขนาดใหญ่ เพราะกิ่งใหญ่จะลอกเปลือกยากและเปลืองเทปพลาสติกพันยอดมากกว่า

ส่วนตำแหน่งการเสียบนั้นจะต้องเสียบด้านบนของกิ่ง เพื่อป้องกันการฉีกขาดและควรเลือกเสียบบนกิ่งหลักๆ ประมาณต้นละ 3-5 กิ่ง ต้นพันธุ์เดิมจะกรีดแผลเป็นรูปตัวยู (U) คว่ำ กรีดแผลยาวประมาณ 1.50 นิ้ว แล้วใช้มีดงัดเปลือกต้นมะม่วงออก ส่วนยอดพันธุ์ดีใช้มีดปาดเป็นปากฉลามให้แผลด้านหนึ่งยาว 1.50 นิ้ว อีกด้านหนึ่งปาดแผลยาวเพียง 1 เซนติเมตร เท่านั้น ในการปาดยอดพันธุ์ดีจะต้องใช้มีดคมๆ ปาดครั้งเดียวให้ขาด ห้ามให้แผลช้ำ เพราะหากแผลช้ำจะติดเชื้อ แล้วนำยอดพันธุ์ดีไปเสียบใต้ เปลือกต้นพันธุ์เดิม จากนั้นให้พันเทปพลาสติก วิธีพันจะต้องพันจากด้านล่างขึ้นข้างบน เปรียบเหมือนการมุงหลังคาบ้าน และการพันต้องใช้มือกดยอดให้แน่นๆ ถ้าพันแน่นกิ่งจะติดง่าย