ได้สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าไม้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยได้ขับเคลื่อนร่วมกับกรมป่าไม้ ผ่านโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน เป็นเวลากว่า 13 ปี ปัจจุบัน ชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ด้วยการปกป้องและหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม เพิ่มการปลูกป่า บริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และมีการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เป็นเครือข่ายเพื่อผนึกกำลังกันดูแล รักษา ฟื้นฟูป่าได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ บริษัทได้สนับสนุนป่าชุมชนด้วยรางวัลในกิจกรรมประกวดป่าชุมชน รวมจำนวน 1,828 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นมูลค่ามากกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งแต่ละป่าชุมชนได้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการป่าให้อุดมสมบูรณ์และยั่งยืน

“บริษัทขอขอบคุณป่าชุมชน 1,525 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้ และขอแสดงความยินดีกับ 145 ป่าชุมชน ที่ได้รับรางวัล ซึ่งถือเป็นป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการป่าอย่างมีแบบแผน มีการผสานวิทยาการสมัยใหม่และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุกภาคส่วนแข็งขันร่วมกันปกป้องดูแลฟื้นฟูป่าจนมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังคำนึงถึงการใช้ประโยชน์บนหลักความพอเพียงและยั่งยืน บริษัทเชื่อมั่นในพลังของชุมชน ซึ่งจะเป็นเกราะที่แข็งแกร่งคุ้มกันป่าไม้ ช่วยพลิกฟื้นผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์และยั่งยืน ขยายแนวคิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าไม้ให้กับสังคม อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญสนับสนุนภารกิจการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรมป่าไม้สัมฤทธิ์ผลด้วย” คุณกิจจา กล่าว

สำหรับป่าชุมชนบ้านปง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศปีนี้ มีพื้นที่ป่าชุมชน 3,330 ไร่ ปัญหา “ภัยแล้ง” เป็นแรงผลักดันให้ชุมชนจับมือกันพลิกฟื้นผืนป่านับจากปี 2548 จนปัจจุบัน ป่าผืนนี้ได้รับการฟื้นฟู พัฒนาและปกป้องจนเป็น “ป่าต้นน้ำ” ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ วัดจากจำนวนนกยูงในป่าที่เพิ่มขึ้น ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปัญหาป่าแล้ง ด้วยการประยุกต์ระบบน้ำหยดที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ให้ต้นไม้ในป่า นำ “ศาสตร์พระราชา” เศรษฐกิจพอเพียง และหลักการเข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา

มาใช้เป็นแนวทางจัดการพัฒนาป่าชุมชนและแหล่งน้ำอย่างเป็นระบบ มีการสำรวจและวัดการเติบโตของต้นไม้ สำรวจลำห้วยและเส้นทางของน้ำ เพื่อจัดการการใช้น้ำสำหรับครัวเรือนและเกษตรกรรม ส่งเสริมการทำเกษตรแบบ “งูกินหาง” ฟื้นฟูและรักษาป่าด้วยแนวคิดยกป่ามาไว้ในบ้าน โดยให้ทุกบ้านปลูกไผ่ไว้กินหน่อ ส่งเสริมชุมชนผลิตไม้ซี่รั้วแทนไม้ตะเกียบเป็นการเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการ “เลี้ยงหมูหลุม” ด้วยซังข้าวโพด เพื่อแก้ปัญหาการเผาซังข้าวโพดที่สร้างฝุ่นควัน และขยะเศษอาหารของชุมชน นอกจากชุมชนจะมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายหมูแล้ว ยังมีปุ๋ยอินทรีย์สำหรับทำการเกษตรและจำหน่ายด้วย

ป่าชุมชนบ้านกุดหมากไฟ จังหวัดอุดรธานี ได้รับรางวัลดีเด่นด้าน “ป่าชุมชน รักษ์น้ำ รักษ์ป่า พัฒนาชีวิต” มีพื้นที่ป่าชุมชน 500 ไร่ เป็นป่าผสมประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ไม้มีค่าสำคัญหลากหลายชนิด โดยเฉพาะไม้พะยูง เป็นป่าต้นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตชาวอุดรธานี ชุมชนตระหนักว่า “ป่าสมบูรณ์ คือกำเนิดของน้ำ” จึงมีการบริหารจัดการป่าอย่างเป็นระบบตั้งแต่การลาดตระเวน การฟื้นฟูป่า การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของป่า การจัดทำแนวกันไฟ และบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายป่าชุมชน

องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการดูแลรักษาป่า และพัฒนาจนถึงการประเมินศักยภาพความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าชุมชน น้ำที่ได้จากป่าชุมชนจัดการด้วยเครื่องมือ 3 อย่าง คือ ฝาย ห้วย และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งน้ำส่วนหนึ่งจะใช้ในชุมชน อีกส่วนปล่อยไหลไปหล่อเลี้ยงชุมชนตามทางน้ำ จนจบที่เขื่อนห้วยหลวง เพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนในจังหวัดอุดรธานี น้ำที่ไม่เคยแห้งเหือดจากป่าที่สมบูรณ์ทำให้ชุมชนมีน้ำอุปโภคบริโภค รวมทั้งทำการเกษตรตลอดปีและทุกปี ที่สำคัญยังช่วยให้ชุมชนที่นี่สามารถผลิต “มะม่วงสีทองนอกฤดู” ที่มีราคาสูงส่งออกต่างประเทศ และ “กล้วยหอมสีทอง” ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนอย่างมาก

ผลการประกวดป่าชุมชนชนะเลิศระดับประเทศ ประจำปี 2563

รางวัลป่าชุมชนระดับประเทศ

ป่าชุมชนชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท คือ ป่าชุมชนบ้านปง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
รางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 3 รางวัล จะได้รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัลแห่งละ 100,000 บาท
– ป่าชุมชนบ้านปางสัก หมู่ที่ 12 ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์

– ป่าชุมชนตำบลเจริญสุข หมู่ที่ 1, 12, 14 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

– ป่าชุมชนบ้านบางไทร หมู่ที่ 8 ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

รางวัลดีเด่นเฉพาะด้าน “ป่าชุมชน รักษ์น้ำ รักษ์ป่า พัฒนาชีวิต”

ป่าชุมชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ป่าชุมชนบ้านกุดหมากไฟ หมู่ที่ 1 ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะได้รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 2 รางวัล จะได้รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล แห่งละ 25,000 บาท ได้แก่
– ป่าชุมชนบ้านห้วยโป่งใหม่ หมู่ที่ 19 ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

– ป่าชุมชนบ้านวังไทร (บ้านถ้ำพระหอ) หมู่ที่ 6 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

รางวัลป่าชุมชนระดับภาค

จำนวน 4 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล แห่งละ 30,000 บาท
รางวัลป่าชุมชนระดับจังหวัด

จำนวน 67 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล แห่งละ 25,000 บาท
รางวัลชมเชย

จำนวน 67 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล แห่งละ 10,000 บาท จังหวัดฉะเชิงเทราหรือเมืองแปดริ้ว มีวัดหลวงพ่อโสธรที่โด่งดังเป็นที่นับถือสักการะของผู้คนทั่วประเทศแล้ว เมืองแปดริ้วยังมีชื่อเสียงด้านการผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพ ด้วยรสชาติที่หวานหอมและเนื้อนุ่ม ทั้งมะม่วงสุกหรือดิบ ทำให้ครองใจตลาดผู้บริโภคมาช้านาน แถมยังส่งไปขายต่างประเทศได้ในปริมาณที่สูงอีกด้วย หลายคนสงสัยว่า “ทำไม…มะม่วงแปดริ้ว จึงมีชื่อเสียงและขายได้” ก่อนอื่นควรรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภาพรวมการผลิตมะม่วงของไทยเสียก่อน

ประเทศไทยมีมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ทั้งเก่าและใหม่ ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษก็ปลูกมะม่วง พันธุ์อกร่อง พิมเสน ขายตึก ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้ในปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง และบางพันธุ์หายไป หรือบางพันธุ์มีการนำมาปรับปรุงใหม่ เช่น พันธุ์ขายตึก หรืออย่างพันธุ์อกร่องที่พยายามนำกลับมาทำใหม่เพื่อให้ออกนอกฤดู แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมะม่วงในฤดูมีปริมาณมาก ทำให้ราคาตก อย่างไรก็ตาม หากสามารถทำได้ก็จะประสบความสำเร็จเรื่องราคา เพราะเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว

มะม่วงสายพันธุ์ยอดนิยมคือ น้ำดอกไม้ ยังคงครองแชมป์ทั้งขายภายในและส่งออกไปต่างประเทศในกลุ่มของมะม่วงสุก หากเป็นมะม่วงดิบก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น เขียวเสวย ที่มียอดการส่งไปขายที่ประเทศเวียดนามในแต่ละปีสูงมาก

มะม่วง จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันมาก นอกจากใช้บริโภคภายในประเทศในรูปผลสด แล้วยังมีการแปรรูปส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่เพาะปลูก 1.97 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 3.12 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,583 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 5.42 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 29.75 บาท ต่อกิโลกรัม

แหล่งผลิตมะม่วงที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย น่าน ลำพูน เชียงใหม่ และฉะเชิงเทรา เป็นต้น โดยสายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกเชิงการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มหาชนก แก้วขมิ้น และอาร์ทูอีทู เป็นต้น

ข้อได้เปรียบของเกษตรกรชาวจังหวัดฉะเชิงเทราในการประกอบอาชีพปลูกมะม่วงคือ สภาพดินและน้ำ เพราะเป็นดินตะกอนที่มีความเค็มเล็กน้อย เป็นน้ำกร่อย ข้อได้เปรียบเช่นนี้ ทำให้ผลผลิตมะม่วงของจังหวัดฉะเชิงเทรามีรสชาติหวาน เนื้อนุ่ม และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก จังหวัดฉะเชิงเทรามีการปลูกมะม่วงอยู่ในอันดับต้นของประเทศไทย มีผลผลิตปีละ 2-3 หมื่นตัน เพราะเป็นมะม่วงที่มีคุณภาพและรสชาติหวาน เนื้อนุ่ม ไม่มีโรคแมลงมารบกวน จึงทำให้ผิวสวย ขณะเดียวกัน ในแต่ละปีจะมีผลผลิตที่สูงมาก

การผลิตมะม่วงของจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้รับการยอมรับทางด้านรสชาติ คุณภาพที่ได้มาตรฐาน ที่สำคัญ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อำเภอบางคล้า เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เนื่องจากอำเภอบางคล้ามีคุณภาพดินที่มีความเหมาะสมเพราะเป็นดินเหนียวปนตะกอน มีธาตุอาหารสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกมะม่วง พันธุ์ที่นิยมรับประทานดิบ ได้แก่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น แรด ทวายเดือนเก้า ขายตึก โชคอนันต์ มันขุนศรี และพันธุ์ที่นิยมรับประทานสุก ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้สีทอง อกร่อง และมหาชนก

จังหวัดฉะเชิงเทรามีพื้นที่ปลูกมะม่วงกระจายไปทุกอำเภอ ได้แก่ บางคล้า ราชสาส์น แปลงยาว พนมสารคาม สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ และคลองเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สูง ที่ดอน และเกษตรกรมีระบบการจัดสวนที่ดี โดยได้รับรองการจัดสวนตามระบบ GAP แล้ว

ทั้งนี้ ผลผลิตมะม่วงของจังหวัดส่วนใหญ่จำหน่ายในตลาดภายในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการลงนามสัญญาซื้อขายมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกระหว่างเกษตรกรชาวสวนกับบริษัทผู้ส่งออก ตั้งแต่ ปี 2544 เป็นต้นมา โดยกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งออก ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตมะม่วงส่งออก จังหวัดฉะเชิงเทรา และกลุ่มสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด

สถานการณ์ทางการตลาดมะม่วงของจังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับตลาดภายในประเทศ ช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน อาจมีผลผลิตมะม่วงออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคามะม่วงตกต่ำ ราคาขายสูงหรือต่ำตามคุณภาพของผลผลิต และถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด ทางจังหวัดมีการช่วยเหลือเกษตรกรในการระบายผลผลิตมะม่วงด้วยการจัดงานมหกรรมมะม่วงในท้องถิ่น อันได้แก่ งานวันมะม่วงและของดีอำเภอพนมสารคาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ต่อด้วยงานเทศกาลมะม่วงและของดีเมืองบางคล้า ในช่วงเดือนมีนาคม และงานวันมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้ว ในช่วงเดือนเมษายน นอกจากนี้ ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีโครงการจัดตลาดนัดมะม่วงอยู่ตลอดเวลาบริเวณเส้นทางฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม เป็นตลาดจำหน่ายมะม่วงขนาดใหญ่ของเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นการจัดตลอดทั้งปี

จังหวัดฉะเชิงเทรามีประวัติการปลูกมะม่วงมาอย่างยาวนาน หากต้องการทำสวนมะม่วงคุณภาพดี เพื่อส่งออกแบบหลักเกณฑ์มาตรฐานแล้ว สวนเก่าแก่ทั้งหลายต้องรื้อปลูกใหม่ คือต้องให้อยู่ในช่วงเป็นวัยเจริญพันธุ์ มะม่วงต้นเก่าแก่และทางเดินอาหารไม่สะดวก ใบไม่โตแล้วจะทำให้ผลสวยได้อย่างไร จึงต้องรื้อสวนเพื่อปรับปรุงใหม่ เพราะมะม่วงถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตที่ดี ควรจะอยู่ในช่วง 8-12 ปี

เกษตรกรแปดริ้วฝีมือดี+ปรุงดินบำรุงต้นเก่ง

ความจริงที่จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นกลุ่มแรกที่มีการพัฒนาวิธีการปลูกมะม่วง อย่างเช่น การห่อถุง ก็ถือว่าฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่นำร่อง โดยใช้ถุงดำคาร์บอนมาห่อผลมะม่วงเพื่อทำให้ผิวมีสีสวยนวลดูน่ารับประทาน โดยห่อตั้งแต่อายุ 50-60 วัน ทิ้งไว้ประมาณ 90-100 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ ผิวมะม่วงจึงสวยมาก ไม่ต้องนำไปบ่ม

เหตุผลที่ใช้ถุงดำ เพราะถุงดำมีลักษณะ 2 ชั้น ทึบแสง พอไม่มีแสงก็ไม่มีคลอโรฟิลล์ เลยเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง เดิมที วิธีนี้นิยมใช้ห่อสาลี่ในประเทศจีน แต่เกษตรกรฉะเชิงเทรานำวิธีนี้มาใช้กับมะม่วงที่ได้ผลดี

มะม่วงฉะเชิงเทรามีรสชาติที่ถูกใจผู้บริโภคเพราะผู้ปลูกมีประสบการณ์ที่ยาวนาน ดังนั้น คนปลูกมะม่วงก็เหมือนคนทำอาหารที่ต้องรู้ว่าต้องการให้มีรสชาติออกมาแบบใด ควรเติมหวาน เติมเผ็ดมากน้อยแค่ไหน เพราะความมีประสบการณ์จะบอกให้รู้เอง รวมไปถึงการได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำเป็นอย่างดีจากนักวิชาการเกษตรมาโดยตลอด

การผลิตมะม่วงให้มีรสชาติหวานอร่อย นอกจากใช้เทคนิคประสบการณ์ด้านการเพาะปลูกของเกษตรกรชาวสวนมะม่วงแล้ว ยังอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ธาตุดินของการให้อาหารมะม่วง ว่าดินขาดธาตุอาหารตัวไหน เช่น นำตัวอย่างดินจากอำเภอพนมสารคามที่มีลักษณะเป็นดินทรายมาก ไปตรวจวิเคราะห์พบว่าขาดธาตุอาหารตัวหน้าและตัวท้าย ส่วนตัวกลางสูง ต้องปรับปุ๋ยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของพืช

วิธีนี้ ช่วยบำรุงพืชให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเงินได้ดี โดยทั่วไปเกษตรกรชาวสวนมะม่วงฉะเชิงเทรานิยมใช้เทคนิคการให้ปุ๋ย โดยรอบแรกใช้ปุ๋ยสูตรเสมอก่อน คือ 15-15-15 หลังราดสารแล้วนิยมใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูงคือ สูตร 15-5-20 เพื่อบำรุงต้นให้มีความหวานนั่นเอง

โดยทั่วไป ดินส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอบางคล้าหรือคลองเขื่อน เป็นดินเหนียว เมื่อนำไปวิเคราะห์ปรากฏว่าตัวท้ายสูง จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมมะม่วงในเขตนั้นจึงมีรสชาติหวาน แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติเป็นตัวกำหนด ถือเป็นความได้เปรียบเชิงธรรมชาติ ประกอบกับสภาพพื้นที่ดินในจังหวัดนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นดิน 3 น้ำ ซึ่งเคยนำรถขุดดินลงไปลึกสัก 3 เมตร พบแต่เปลือกหอย จึงเรียกได้ว่า แผ่นดินจังหวัดฉะเชิงเทรา…ทำเลเป็นต่อ ทำให้มีผลผลิตมะม่วงมีรสชาติอร่อยเด็ด ครองใจผู้ซื้อทั้งในประเทศและตลาดส่งออกมาโดยตลอด

ในช่วงที่อากาศเย็น มีน้ำค้างลง และมีความชื้นในอากาศสูงเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกฟักแม้ว (ซาโยเต้ หรือ มะระหวาน) ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้างที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน ต่อมาขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน เริ่มแรกพบแผลเหลี่ยมเล็กฉ่ำน้ำตามกรอบของเส้นใบย่อย ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กรณีที่ในตอนเช้ามีความชื้นสูง จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ

หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น และต้นที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง กรณีเป็นโรคในระยะผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

กรณีพบด้วงเต่าแตงที่เป็นพาหนะเชื้อราสาเหตุโรค เกษตรกรควรกำจัดโดยการจับตัวด้วงเต่าแตงมาทำลาย หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไซมอกซานิล+ฟามอกซาโดน 30%+22.5% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ + วาลิฟีนาเลท 60% + 6% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ พ่นทุก 5-7 วัน และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บผลผลิตอย่างน้อย 7 วัน

มะเขือยาว เป็นพืชผักคู่ครัวไทยที่ขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี ไม่เคยเจอปัญหาล้นตลาดและราคาตกต่ำ แถมช่วงไหนผลผลิตขาดตลาด ราคาขายขยับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แต่การปลูกมะเขือยาวให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มะเขือยาวจัดอยู่ในกลุ่มพืชปราบเซียน มีความเสี่ยงสูง เพราะอ่อนแอต่อโรคและแมลง หากต้องการให้ได้ผลผลิตที่ดี ต้องดูแลจัดการแปลงปลูกอย่างใกล้ชิด ฉีดยาป้องกันโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ หากทำได้มีผลผลิตดีออกขายมีผลกำไรก้อนโตแน่นอน

ในฉบับนี้ ขอพาไปพูดคุยกับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์การปลูกมะเขือยาวเชิงการค้ามานานกว่า 10 ปี ชื่อว่า คุณเด่นชัย ลิ้มไพบูลย์ หรือ คุณเอก อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 4 อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โทร. 086-165-9584

ก่อนหน้านี้ คุณเอกเคยทำงานบริษัทเอกชน ในตำแหน่งวิศวะคอมพิวเตอร์มานานหลายปี ก่อนจะหันมาจับอาชีพการเกษตรตามรอยพ่อแม่ เพราะเขารู้สึกว่าอาชีพเกษตรกรรมสร้างรายได้ดีกว่าทำงานประจำ แถมเป็นอาชีพอิสระ เป็นเจ้านายตัวเอง ทำเกษตรแล้วมีความสุขมากกว่าทำงานออฟฟิศ หลังลาออกคุณเอกทำอาชีพพ่อค้าซื้อขายสินค้าเกษตรที่ตลาดปฐมมงคล จังหวัดนครปฐม คุณเอกสังเกตเห็นเกษตรกรลูกไร่มีรายได้ก้อนโตจากการปลูกมะเขือยาว สร้างแรงจูงใจให้เขาคิดจะลงทุนปลูกมะเขือยาวบ้าง

คุณเอก เลือกใช้นวัตกรรมกล้ามะเขือยาวเสียบยอด เช่นเดียวกับเกษตรกรลูกไร่ เนื่องจากเป็นกล้าพันธุ์ดี ทนโรค เพราะใช้ยอดมะเขือยาวเสียบบนตอมะเขือพวงป่า ผลิตโดย บริษัท ทวีศักดิ์การเกษตร จำกัด จังหวัดนครปฐม คุณเอกซื้อกล้ามะเขือยาวเสียบยอด จำนวน 1,200 ต้น นำมาปลูกในแปลงปลูกยกร่อง เนื้อที่ 8 ไร่ ปลูกในระยะห่าง 1.3-1.5 เมตร เพื่อให้แปลงปลูกมะเขือยาวมีผลผลิตคุณภาพดีสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

หลังเก็บเกี่ยวเสร็จทุกๆ 3 วัน หากยังมีผลอ่อนบนต้น คุณเอกจะใส่ปุ๋ยคอกรองพื้นเดือนละครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยขี้นกกระทา ใส่บำรุงดินให้ดินฟูกินปุ๋ยเคมีได้เร็วขึ้น และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 เป็นประจำ เพื่อเร่งขยายผล หากช่วงไหน ต้นมะเขือขาดลูก ขาดดอก จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 21-7-14 เพื่อบำรุงใบ บำรุงต้น และบำรุงผล นอกจากนี้ยังใส่ใจดูแลป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชสำคัญคือ เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนเจาะผล โดยฉีดสารเคมีในปริมาณน้อย แต่ต้องฉีดบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูพืชบินเข้ามาในแปลงเพาะปลูก

สำหรับต้นมะเขือยาวที่อายุเกิน 1 ปี มีลำต้นใหญ่ แต่ขนาดผลจะไม่ใหญ่ตาม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเกษตรกรว่าจะปลูกต่อไปอีก 1-2 ปี หรือตัดสินใจรื้อแปลงเก่าและลงทุนปลูกรอบใหม่ ใช้เวลาปลูกประมาณ 2 เดือน ต้นมะเขือยาวจะเริ่มติดดอก ให้ผลดก ขนาดผลใหญ่กว่าเดิม

“ต้นมะเขือยาวเสียบยอดเจริญเติบโตแข็งแรง ทนโรค และให้ผลผลิตยาวนานกว่า 1 ปี ต่อรุ่น เก็บผลผลิตออกขายได้เดือนละแสนกว่าบาท หรือปีละล้านกว่าบาท สวนผมมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยและยาไม่ถึงหมื่นบาท บวกค่าจ้างแรงงานอีก 30,000 บาท ขายผลผลิตได้เดือนละแสนกว่าบาท หักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเหลือผลกำไร 50% ของยอดขาย ถือว่า มะเขือยาว เป็นพืชสวนครัวทำเงินที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนมากทีเดียว เพราะไม่มีปัญหาตลาดซบเซา นับเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ ดีกว่าพืชล้มลุกตัวอื่น” คุณเอก กล่าว

ตั้งแต่คุณเอกปลูกมะเขือยาวมา 10 ปี ไม่ค่อยเจอปัญหาราคาตกต่ำสักเท่าไร มะเขือยาวเบอร์ยอด ราคาหน้าสวนโดยเฉลี่ย 10 บาทขึ้นไป เบอร์รอง อยู่ประมาณ 7-8 บาท ช่วงมะเขือยาวมีราคาแพง คนก็แห่ปลูกตามกัน ท้ายสุดก็เลิกทำกัน เพราะสู้ปัญหาโรคและแมลงไม่ไหว

“หากมองเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน สมัครเล่น UFABET พืชล้มลุกชนิดอื่นมีอายุเก็บเกี่ยวได้ไม่กี่เดือนก็ต้องรื้อแปลงปลูกใหม่ แต่มะเขือยาวมีอายุเก็บเกี่ยวยาวนานข้ามปี 1 เดือน ตัดผลผลิตได้ประมาณ 20 วันขึ้นไป เรียกว่าได้ผลดก สร้างรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่คุ้มค่ากับการลงทุน” คุณเอก กล่าว

คุณทวีศักดิ์ กลิ่นคง เจ้าของกิจการ บริษัท ทวีศักดิ์การเกษตร จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้แก่สวนแห่งนี้ กล่าวเสริมว่า มะเขือยาว เดิมทีปลูกโดยใช้เมล็ด ปลูกไปนานๆ มีโรคเหี่ยวเขียวจากเชื้อแบคทีเรียเข้ามารบกวน ไม่มียาตัวไหนที่จะป้องกันและรักษาได้ ทำให้มะเขือตายอย่างเดียว มะเขือที่ปลูกมีอายุยืน 3-5 เดือนเต็มที่ ผมจึงเกิดไอเดียว่าเสียบบนตอมะเขือพวงป่าน่าจะทนโรค ก็พิสูจน์แล้วว่ามันทนได้ เก็บผลผลิตได้ยาวเกินปีหรือเป็นปีหรือหลายปีแล้วแต่ฝีมือของเกษตรกรแต่ละราย

การปลูกมะเขือยาวเสียบยอดทำได้ไม่ยาก แนะนำให้ปลูกในระยะระหว่างแถว 4 เมตร เพราะมะเขือโตสูงใหญ่มากถึง 2 เมตร หรือ 2 เมตรกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มประมาณ 2 เมตร การเปลี่ยนระยะปลูกต่อไร่ ทำให้จำนวนต้นต่อไร่ลดลงกว่าเดิม ที่เคยปลูกไร่ละ 1,000-3,000 ต้น ก็เหลือแค่ 200-250 ต้น เท่านั้น บางคนไม่เคยเห็นมะเขือยาวเสียบยอดมาก่อน มักจะไม่เชื่อว่าปลูกแล้วลำต้นสูงใหญ่ จึงปลูกในระยะถี่ เมื่อต้นโต 4-5 เดือน ต้นมะเขือจะชนกันหมด เดินทำงานไม่ได้ ทำให้ดูแลยาก

หลังปลูก เกษตรกรควรปักไม้ทำค้างเพื่อพยุงกิ่ง เพราะมะเขือยาวเป็นพืชที่มีกิ่งอ่อน หากทำค้างไม่ดีผลผลิตก็จะไม่สวย โดยทั่วไปต้นมะเขือยาวเสียบยอดจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีมาก จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งและใบที่มากเกินไปออกเป็นระยะ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เก็บเกี่ยวได้ยาวนาน

“หากปล่อยให้มีใบเยอะเกินความจำเป็น ลูกมะเขือยาวแหว่งไปโดนใบหรือกิ่งจะมีรอยตำหนิ แทนที่จะขายมะเขือเบอร์ยอด จะกลายเป็นมะเขือยาวตกเกรด ราคาขายหายไปเกินครึ่ง จึงจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง ดูแลรักษาง่าย จะช่วยให้ลูกมะเขือยาวมีผิวสวย ขายได้ราคาดี” คุณทวีศักดิ์ กล่าว