ไบโอเทค สวทช. เปิดตัวข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ “หอมนาคา”

คุณสมบัติสะเทินน้ำสะเทินบก ข้าวเหนียว เป็นตัวแทนความมั่นคงทางอาหารของพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน เพราะเป็นอาหารหลักของคนในพื้นที่ แต่ด้วยบริบทที่ไม่เป็นใจ ทุ่งนาลุ่มน้ำโขงที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติทั้งอุทกภัยและความแห้งแล้ง จึงแทบไม่เคยได้ปริมาณผลผลิตทัดเทียมพื้นที่อื่นซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่า

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พัฒนา “ข้าวหอมนาคา” ข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ทนแล้ง และทนโรค ถือเป็น “ข้าวเหนียวสะเทินน้ำสะเทินบก” สายพันธุ์แรกของไทย

ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ปัญหาหลักของการปลูกข้าวเหนียวที่พี่น้องชาวนาต้องเผชิญ คือ “ข้าวล้ม” เพราะข้าวเหนียวพันธุ์ไทยเป็นข้าวต้นสูง เวลาลมฝนมาแรงข้าวจะล้มนอนแม้ยังออกไม่เต็มรวง ปีไหนแล้ง “ขาดน้ำ” ผลผลิตจะออกน้อย หนำซ้ำยังต้องเผชิญกับ “โรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง” ทำให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของคนทำนา เพราะชะตาชีวิตต้องแขวนอยู่บนปัจจัยเสี่ยงที่ไม่อาจควบคุมได้ นักวิจัยไทยจึงพยายามพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่อเอาชนะปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

“จนในปีที่ผ่านมา ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับ คุณศรีสวัสดิ์ ขันทอง และคณะวิจัย นำความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม มาศึกษาและพัฒนาพันธุกรรมของข้าวเหนียวไทย เพื่อชูยีนเด่น ลดยีนด้อย ผ่านการผสมและคัดเลือกพันธุ์อย่างเหมาะสม จนได้ผลงานข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ “หอมนาคา” ที่สามารถจมอยู่ในน้ำได้นาน 1-2 สัปดาห์ และทนทานต่อการขาดน้ำในบางระยะของการปลูกข้าว สอดรับกับสภาพพื้นที่ และยังทนทานต่อโรคไหม้และขอบใบแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักทำให้ชาวนาสูญเสียผลผลิตอีกด้วย

ข้าวเหนียวหอมนาคาสามารถปลูกได้ตลอดปี เพราะเป็นข้าวไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 130-140 วัน โดดเด่นด้วยลักษณะลำต้นไม่สูง เก็บเกี่ยวง่าย สามารถเก็บได้ด้วยเครื่องทุ่นแรง สอดรับกับการทำนาสมัยใหม่และแนวโน้มการทำนาในอนาคตที่เครื่องจักรจะเข้ามาแทนที่ ทั้งนี้ ผลจากการทดลองปลูกพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือมีผลผลิต 800-900 กิโลกรัม ต่อไร่ และภาคอีสานมีผลผลิตสูงถึง 700-800 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่างจากเดิมที่มักมีผลผลิตเพียง 400-500 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่านั้น

ในด้านกระแสตอบรับจากผู้บริโภค ข้าวเหนียวหอมนาคาเป็นที่ชื่นชอบ เพราะเมื่อนำมานึ่งรับประทาน ข้าวมีความหอมและนุ่ม ถูกปากคนไทย อีกทั้งเมื่อหยิบรับประทาน ข้าวจะไม่ติดมือ วางตั้งทิ้งไว้ข้าวก็ไม่แข็ง และนำไปอุ่นซ้ำข้าวก็ไม่เละ ถือเป็นความโดดเด่นทางพันธุกรรม”

ดร.ธีรยุทธ กล่าวว่า การดำเนินงานต่อจากนี้ คณะวิจัยตั้งเป้าเผยแพร่ความรู้เรื่องการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ชาวนาสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้เอง ลดการพึ่งพิงรัฐหรือนายทุน ในด้านการค้าคณะวิจัยได้เจรจากับโรงสี ถึงข้อเด่นของข้าวสายพันธุ์นี้เพื่อให้เกิดการรับซื้อไปจำหน่ายต่อ ซึ่งโรงสีค่อนข้างให้ความสนใจ นอกจากนั้น ผลจากการทดสอบเรื่องการแปรรูป ข้าวเหนียวสามารถพองตัวเป็นข้าวพองได้ดี จึงอยู่ในช่วงของการเจรจาให้โรงงานได้ลองนำไปใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารแปรรูป ส่วนสุดท้ายคือทางด้านผลกำไรจากการขายข้าวที่ชาวนาจะได้รับ คณะวิจัยมีความเห็นว่าราคาข้าวน่าจะอยู่ในเกณฑ์ทั่วไปของตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อง่ายขายคล่อง เพราะกำไรที่ชาวนาจะได้เพิ่มมาจากปริมาณผลผลิตที่ได้มากขึ้นจากแต่ละรอบการปลูก และปริมาณการใช้ยาและสารเคมีที่ลดลงอยู่แล้ว

การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวครั้งนี้ ถือเป็นผลงานสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยกระดูกสันหลังของชาติฝ่าฟันอุปสรรคในการทำการเกษตร ท่ามกลางสถานการณ์ธรรมชาติที่แปรปรวน

เหตุการณ์ดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อปี 2544 ได้สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ นับเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ชาวอำเภอวังชิ้นหันมาตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของป่าทั้งทางตรงและทางอ้อมว่า ป่าไม้มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศวิทยา มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์น้ำและดิน ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น เมื่อชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจรักษาป่าในชุมชน ก็เท่ากับช่วยลดปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันได้อีกทางหนึ่ง

“โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” เป็นกิจกรรมประกวดป่าชุมชนตัวอย่างระดับประเทศ ที่กรมป่าไม้ และ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เป็นระยะเวลา 12 ปีแล้ว เพื่อเฟ้นหาป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการป่าทั้งด้านการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างพอประมาณบนเป้าหมาย “ป่ายั่งยืน ชุมชนได้ประโยชน์”

ในปี 2562 คณะกรรมการได้ตัดสินให้ “ป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง” จังหวัดแพร่ เป็นต้นแบบของป่าชุมชนที่ชาวบ้านร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ปกป้องและดูแลผืนป่าชุมชน การสร้างพลังชุมชนของบ้านแม่ขมิงเริ่มจากการน้อมนำศาสตร์พระราชา “ปลูกป่าในใจคน” หล่อหลอมคนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของป่า ส่งผลให้การบุกรุกแผ้วถางป่าค่อยๆ ลดลงจนหมดไปจากพื้นที่ ขณะที่การดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าของชุมชนเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้นๆ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและเป็นต้นแบบในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน และเป็นแกนนำที่ร่วมกับภาครัฐในการปลูกป่าในใจคนด้วย

คุณบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท เชื่อว่า ป่าชุมชนเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนการอนุรักษ์ป่าจนสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศได้ สำหรับป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง ได้รับรางวัลชนะเลิศดีเด่นด้านสืบสาน รักษา และต่อยอด สร้างสุขปวงประชา จากโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ประจำปี 2562 ป่าแห่งนี้ได้น้อมนำและสืบสานศาสตร์พระราชาในการพัฒนา รักษา และฟื้นฟูป่าบ้านแม่ขมิงจนอุดมสมบูรณ์กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำและอาหารหล่อเลี้ยงคนในชุมชนและทั้งจังหวัดแพร่มาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีความเข้มแข็งในการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าของคนและไฟป่าได้อย่างยอดเยี่ยม บริษัทมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่า ตลอดจนระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความยั่งยืน โครงการนี้จะยังคงดำเนินต่อไปเพื่อส่งเสริมชุมชนและขยายผลให้สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

กุศโลบายในการสร้างป่า

คณะกรรมการป่าชุมชนมีกุศโลบายในการสร้างป่า ด้วยการสร้างเครือข่ายขยายแนวร่วมในชุมชนใกล้เคียง โดยส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนที่เห็นผลเชิงประจักษ์ คือ การปลูกกาแฟ จนเกิดการก่อตั้ง เดอะ ปางงุ้น วัลเล่ย์ เป็นวิสาหกิจชุมชนใกล้เคียงที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง ที่ทั้งปลูกกาแฟ รับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรจังหวัดแพร่ และยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกกาแฟด้วย ในที่สุดไร่เลื่อนลอยได้พลิกฟื้นมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นและให้ร่มเงาฟูมฟักต้นกาแฟ

คุณอัจฉริยะพงษ์ ปันฟอง ประธานป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง เล่าให้ฟังว่า ความสามัคคีและทีมงานที่เข้มแข็งเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ ที่นี่แม้แต่เยาวชนก็มีส่วนร่วมในการดูแลป่าชุมชน เรามีการสร้างแนวกันไฟ สร้างฝาย ปลูกป่าเสริมเป็นประจำ โดยชุมชนตกลงร่วมกันว่า ทุกครัวเรือนต้องส่งตัวแทนมาร่วมกิจกรรมของชุมชนทุกครั้ง ชาวบ้านแม่ขมิง รวมทั้งเยาวชนจึงถูกปลูกฝังและเกิดการตระหนักรู้ว่าการดูแลป่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคน

ป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง ดูแลจัดการในรูปคณะกรรมการป่าชุมชน และจัดทำแผนการฟื้นฟูป่าประจำปี ขณะเดียวกันพยายามดึงคนทุกกลุ่ม ทุกวัย เข้ามาร่วมในทุกกิจกรรม เพื่อดับไฟในใจคนไม่ให้แผดเผาป่าจากความโลภหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยิ่งในช่วงอากาศแห้งเช่นนี้ ชุมชนมีการเตรียมพร้อมรับมือกับไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการดึงคนในชุมชนร่วมกันทำแนวกันไฟ ความกว้างประมาณ 1-2 เมตร ตามแนวสันเขา ครอบคลุมพื้นที่ป่าชุมชนระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังจัดทำ “ธนาคารใบไม้” เพื่อลดการเผาในชุมชนและลดจำนวนเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ และนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการหมักกับมูลวัวที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น ผสมกับเชื้อจุลินทรีย์ พด.1 ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ใช้ในการเกษตรของคนในชุมชน โดยกระจายกันทำ ในพื้นที่รวม 6 จุด ได้แก่ วัดแม่ขมิง ป่าช้า บริเวณในหมู่บ้าน 3 จุด และในป่าชุมชน เราหวังที่จะเป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรในอนาคต ทั้งเรื่องการจัดการป่า ปศุสัตว์ พลังงานทดแทน การบริหารจัดการน้ำ และการเกษตร

ป้าตุมมา อ่อนเอ้ย อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 2 ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ หนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการป่าชุมชนแม่ขมิง บนที่ดินทำกินแห่งนี้ ป้าตุมมา มีสระน้ำขนาดใหญ่สำหรับใช้ดูแลแปลงเพาะปลูก แต่เมื่อเข้าช่วงฤดูแล้ง น้ำก็แห้งแทบหมดบ่อ แต่โชคดีที่ได้น้ำจากอ่างเก็บน้ำบนภูเขาเข้ามาช่วย โดยผู้ใหญ่บ้านจะปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ผ่านมาตามลำห้วยเดือนละครั้ง ทำให้มีน้ำใช้เพียงพอสำหรับใช้ทำเกษตร ในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ ผู้ใหญ่บ้านอนุญาตให้เกษตรกรต่อท่อจากอ่างเก็บน้ำมาใช้ในแปลงไร่นา โดยเสียค่าน้ำหน่วยละ 3 บาท แม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ป้าตุมมาก็พร้อมที่จะจ่าย เพราะทำให้มีน้ำกินน้ำใช้ในการเพาะปลูกพืชมากขึ้น เพิ่มโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่ม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเท่านั้น ป้าตุมมา ก็พอใจแล้ว

ป้าตุมมา เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวเธอมีพื้นที่ทำกิน 5 ไร่ เดิมทีปลูกข้าวทำนาอย่างเดียว มีใช้แรงงานครอบครัว จำนวน 2 คน ดูแลแปลงเพาะปลูก ทั้งใส่ปุ๋ย ให้น้ำ แต่รายได้จากการทำนาแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แถมที่นายังเก็บน้ำไม่อยู่ ป้าตุมมา จึงหันมาปลูกมะละกอแทน แต่หลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ก็ไม่มีรายได้จากทางอื่น เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลจึงชักชวนให้ทำสวนเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา โดยแบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เช่น มะละกอ มะนาว พริก รวมทั้งดีปลี ซึ่งเป็นเครื่องเทศสมุนไพรที่ปลูกดูแลง่ายและขายได้ราคาดี ฯลฯ ทำให้ครอบครัวเธอมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี ผลผลิตที่ได้มีแม่ค้าในท้องถิ่นรวบรวมไปขายในตลาดที่อำเภอวังชิ้น

ทุกวันนี้ ครอบครัวป้าตุมมา มีรายได้หลักมาจากการทำสวนมะนาว ซึ่งลงทุนปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 20 ปี ที่นี่ปลูกมะนาวพันธุ์ตาฮิติ 270 ต้น ซื้อกิ่งพันธุ์มาชำลงดิน เว้นระยะห่าง 4×4 เมตร ขณะนี้ ต้นมะนาวอายุ 3-5 ปี สาเหตุที่เลือกปลูกมะนาวตาฮิติ เพราะเป็นมะนาวพันธุ์ดีที่ตลาดต้องการ มะนาวตาฮิติมีขนาดผลใหญ่ ติดผลดก ผิวบาง ไร้เมล็ด น้ำเยอะ และกลิ่นหอม ที่สำคัญขายได้ราคาดีกว่ามะนาวพันธุ์แป้น ปีที่แล้ว ขายมะนาวตาฮิติได้กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนผลผลิตมะนาวในปีนี้ ก็มีแนวโน้มขายได้ราคาดีเช่นกัน สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ทุกวัน

ป้าตุมมา บอกว่า การปลูกมะนาวลงดิน มีข้อดีคือ ดูแลง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ต้นมะนาวเจริญเติบโตดี เพราะระบบรากเจริญเติบโตได้อย่างเสรี ทำให้ต้นมะนาวสมบูรณ์แข็งแรงและมีอายุยืนยาวกว่าวิธีการปลูกในวงบ่อซีเมนต์ สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 20 ปี แม้ปลูกต้นมะนาวลงดินจะมีข้อจำกัด เพราะควบคุมการให้น้ำได้ยากกว่าการปลูกในวงบ่อซีเมนต์ แต่ป้าตุมมาก็สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูได้ไม่ยาก

ป้าตุมมา เริ่มจากตัดแต่งกิ่งที่มีโรค กิ่งที่ติดดอกและผลมะนาวออกให้หมด หลังจากนั้นงดการให้น้ำมะนาวในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เมื่อใบมะนาวมีอาการเหี่ยว ร่วง จึงเริ่มให้ปุ๋ย ให้น้ำ หลังจากนั้น 15 วัน มะนาวเริ่มแตกใบอ่อน หลังจากติดดอกแล้ว 4 เดือน ก็สามารถเก็บผลมะนาวได้ เมื่อมะนาวออกดอกจำเป็นต้องให้น้ำกับมะนาวทุกๆ วัน พร้อมใส่ปุ๋ยบำรุงต่อเนื่อง หากมะนาวออกดอกช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมก็จะสามารถจำหน่ายผลได้ในช่วงแล้ง (เมษายน-พฤษภาคม) ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวมีราคาแพงนั่นเอง

ตั้งแต่ ปี 2553 เป็นต้นมา ป้าตุมมา ได้แบ่งพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษ ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ปลูกปี 2553 หลังเก็บเกี่ยวออกขายได้ จะเว้นระยะการปลูกมะละกอสักระยะ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องโรคระบาด หันมาปลูกข้าวโพดและปลูกข้าว หลังจากนั้น จึงค่อยปลูกมะละกออีกรอบ มะละกอฮอลแลนด์ ปลูกดูแลง่าย เป็นที่นิยมของตลาดตลอดทั้งปี ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาที่น่าพอใจ

หนุ่มวัย 34 ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา หันหลังให้กับการทำงานประจำ ปลูกขึ้นฉ่ายไฮโดรโปนิก ซึ่งเป็นผักที่ค่อนข้างหายากในพื้นที่พะเยา ขายสร้างรายได้ วันละกว่า 1,000 บาท โดยผักที่ปลูกนั้นจากนี้จะทดลองใช้สารชีวภาพ ขณะเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถส่งจำหน่ายได้ทุกวัน

ลองไปดูข้อมูลทางวิชาการกันก่อน ขึ้นฉ่าย เป็นพืชที่เดิมทีพบอยู่ที่ตามริมน้ำในประเทศสวีเดน แอลจีเรีย และอียิปต์ และพบบ้างในบางพื้นที่แถบเอเชีย ซึ่งได้มีการนำผักชนิดนี้มาปลูกเมื่อประมาณ ค.ศ. 1542 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทำยาฟอกโลหิตของชาวจีน และเริ่มนำมาใช้เป็นอาหารเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 16 โดยใช้พันธุ์ hellow leaf stock ต่อมามีพันธุ์อื่นๆ มาแทน จึงเลิกนิยมไป ในสมัยที่ใช้รับประทานกันแรกๆ นิยมส่วนที่มีสีเขียว ต่อมากลับนิยมส่วนที่เป็นสีขาว พันธุ์ที่ดีจะมีการแตกแขนงมาก ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีวิตามิน เอ สูง ก้านใบของต้นจะอวบน้ำ มีรากตื้น ระบบรากเป็นฝอย รากฝอยนี้มีความยาวไม่เกิน 2 นิ้ว ลำต้นโตเต็มที่สูงสุดถึง 2 ฟุต แต่โดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 15 นิ้ว มักนิยมปลูกให้ชิดๆ กัน เพื่อให้ลำต้นสูง และเพื่อเป็นการบังแสงให้กับลำต้นที่มีสีขาว

วิธีการปลูกขึ้นฉ่ายนั้น สามารถกระทำได้ 2 วิธี ด้วยกัน คือ

เพาะให้เมล็ดงอกก่อน เมื่อกล้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ และ
หว่านเมล็ดในแปลงปลูกเลย หากปลูกแบบวิธีแรก ต้องเตรียมดินแปลงเพาะให้ละเอียดที่สุด เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็กมาก โดยเฉลี่ยน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ 1 กรัม จะมีจำนวนเมล็ดประมาณ 2,000-2,200 เมล็ด เลยทีเดียว หลังจากเตรียมดินแปลงเพาะให้ละเอียดดีแล้ว ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ช้อนชา ผสมกับทราย 1 ถัง แล้วคลุกให้เข้ากัน หว่านลงในแปลงเพาะ ขนาดเนื้อที่ 1 ตารางเมตร หลังจากหว่านแล้วให้ใช้ฟางแห้งคลุมบางๆ แล้วรดน้ำด้วยฝักบัวฝอย วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น เพื่อให้ดินชุ่มชื้น แต่อย่าให้น้ำขัง

เมื่อผ่านไปประมาณ 7-10 วัน เมล็ดขึ้นฉ่ายจะงอกเป็นฝอยๆ ในตอนนี้ควรใส่ปุ๋ยสตาร์ทเตอร์รด เพื่อเร่งให้กล้าแข็งแรง เมื่อกล้ามีอายุได้ 6-7 สัปดาห์ จะมีลำต้นสูง 3-4 นิ้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมกับการทำการย้ายกล้าเพื่อลงแปลงปลูก
สำหรับการปลูกแบบที่สอง ให้เตรียมแปลงปลูกเช่นเดียวกับแปลงเพาะ แต่ในการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ลดจำนวนให้น้อยลงกว่าการปลูกแบบเพาะกล้า เพื่อให้ง่ายต่อการถอนแยก ซึ่งในการปลูกแบบนี้จะต้องถอนแยก ซึ่งให้ถอนแยกโดยเว้นระยะห่างระหว่างต้น อยู่ที่ 2-3 นิ้ว

ในการปลูกขึ้นฉ่ายนั้น หากอยากให้ลำต้นมีสีขาว ก็ควรหุ้มด้วยฟางหรือดิน หรือตีไม้เป็นกรอบรอบๆ ต้น ให้แต่ละส่วนของใบโผล่ขึ้นมา 1 ส่วน 4 ของความสูงของลำต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนล่างโดนแสง การบังแสงนี้จะทำประมาณ 3 สัปดาห์ จึงเอาออก ก็จะทำให้ได้ก้านใบขาว กรอบ หากไม่บังแสง ก้านใบจะมีสีเขียวจัด

หลังจากการย้ายกล้าลงแปลงใหม่ๆ ควรทำร่มเงาบังแสงแดดอยู่ประมาณ 3-4 วัน โดยค่อยๆ เปิดให้โดนแสงมากขึ้นทีละน้อยๆ จนกระทั่งต่อมาเปิดให้โดนแสงได้ตลอดวัน ในช่วงกลางคืนจะได้รับความชื้นจากบรรยากาศเต็มที่ ขึ้นฉ่ายไม่ชอบอากาศร้อนจัด ดังนั้น หากปลูกในฤดูร้อน ควรบังแสงแดดไว้ตลอดวัน จะทำให้ผักงามมาก

การให้น้ำ ควรรดน้ำทั้งตอนเช้าและตอนเย็น แต่ในการรดน้ำตอนเย็นต้องระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้ขึ้นฉ่ายมีเชื้อราเข้าทำลายได้ น้ำที่ใช้รดควรเย็น เพราะผักนี้ชอบความเย็น ส่วนการให้ปุ๋ยนั้น มักใช้สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 โดยใช้ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่ และควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเสริม ในอัตรา 10-20 กิโลกรัม/ไร่ โดยเริ่มใส่เมื่อกล้ามีอายุได้ 10-15 วัน และปุ๋ยไนโตรเจนนั้นควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยใส่แบบหว่าน

หากปลูกโดยการย้ายกล้า ให้เริ่มนับวันหลังจากการย้ายกล้าไป ประมาณ 50 วัน ถึงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ โดยในการเก็บนั้นให้เก็บแบบวันเว้นวัน ด้วยการถอนเก็บทั้งต้น ลักษณะของต้นในระยะเก็บเกี่ยวควรอวบอ้วน สีเขียวอ่อนใส กรอบ ใช้เวลาการเก็บเกี่ยวทั้งหมด 30-45 ครั้ง หรือต้องเก็บให้หมดภายในระยะเวลาประมาณ 90 วัน เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานกว่านี้จะทำให้ผักเป็นเสี้ยน เหนียว ไม่น่ารับประทาน

คุณเจตน์กมล นาวา เกษตรกรหนุ่มในพื้นที่ หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา นำผู้เขียนเข้าดูแปลงปลูกผักขึ้นฉ่ายไฮโดรโปนิก ที่เขาปลูกไว้ประมาณ 4 แปลง…ปลูกในพื้นที่ 1 งาน หลังจากหันหลังให้กับการทำงานประจำ เป็นลูกจ้างบริษัทหลายแห่ง เนื่องจากถึงจุดอิ่มตัว โดยการหันมาปลูกผักขึ้นฉ่าย โดยระบบไฮโดรโปนิกที่ใช้ระบบน้ำวนเข้าบริหารจัดการ จนสามารถทำให้ผักขึ้นฉ่ายที่ปลูกไว้โตได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม รวมทั้งเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งในแต่ละวันก็จะสามารถผลัดเปลี่ยนเก็บผลผลิตได้ทุกวัน จนสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

คุณเจตน์กมล เล่าว่า ตนเองได้ปลูกผักดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาประมาณครึ่งปี หลังจากหันหลังให้กับชีวิตลูกจ้างบริษัทเอกชนหลายแห่ง โดยมาลงทุนปลูกผักขึ้นฉ่าย อาศัยความรู้ทุนเดิมที่มีอยู่ เนื่องจากตนเองได้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสัมผัสกับงานทางด้านการเกษตรมา จึงปลูกผักขึ้นฉ่ายแบบไฮโดรโปนิก ซึ่งขึ้นฉ่ายเป็นพืชผักที่เป็นความต้องการของตลาด เนื่องจากค่อนข้างที่จะมีผู้ปลูกน้อยและหายาก ประกอบกับมีราคาที่สูง หลังจากที่ตนเองปลูก ปรากฏว่า ผักขึ้นฉ่าย มีการเจริญเติบโตที่ดี สวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งการปลูกนั้นจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน กับ 10 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

โดยพื้นที่ประมาณ 1 งาน 4 แปลงปลูกนั้น UFABET สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 100-120 กิโลกรัม โดยเก็บผลผลิตทุกวันอย่างต่ำก็เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10 กิโลกรัม ซึ่งจะมีพ่อค้าแม่ค้าในตำบลและต่างพื้นที่เดินทางมารับซื้อ และจะขายส่งในราคากิโลกรัมละ 70 บาท ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี เนื่องจากผักขึ้นฉ่ายของตนเองนั้นจะมีความสวยงาม เพราะปลูกระบบไฮโดรโปนิกและอยู่ในโรงเรือนปิด ต่อไปตนเองก็จะขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น รวมทั้งจะทดลองใช้สารชีวภาพเข้าทดแทนปุ๋ยเคมีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป็นที่ต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นทุกวัน และจะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณเจตน์กมล นาวา อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรคโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนบางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยวหรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและ ร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้น ให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป

สำหรับแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ จะพบในช่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน เกษตรกรควรพ่นในช่วงติดผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่น้อยกว่า 15 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในระยะดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสรของพืช