ไปดูการเพาะเห็ดนางฟ้า โครงการ 9101 เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรวันนี้ ได้นั่งเรือลัดเลาะคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด ได้สัมผัสกับวิถีการยังชีพของประชาชนทั้งสองฝั่งคลองที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและได้ขึ้นฝั่งไปดูการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน…ซึ่งเป็นอาหารมีโปรตีนสูง ที่นิยมบริโภคกันแพร่หลาย และเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่เกษตรกรชาวคลองลัดมะยมกว่า 30 คน เพาะในโครงการ 9010 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จึงนำมาบอกเล่าสู่กัน

คุณกัลยา เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร เล่าให้ฟังว่า สภาพพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่การเกษตร 120,450 ไร่ เกษตรกร 7,032 ครัวเรือน พืชที่สำคัญที่มีการปลูกได้แก่ ข้าว 87,397 ไร่ เกษตรกร 3,328 ครัวเรือน กล้วยไม้ 1,514 ไร่ เกษตรกร 243 ครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับ (สนามหญ้า) 488 ไร่ เกษตรกร 94 ครัวเรือน พืชผัก 2,188 ไร่ เกษตรกร 658 ราย และอื่นๆ

โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน มีศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรคุณภาพ ส่งเสริมการปลูกและผลิตแบบแปลงใหญ่ เกษตรทฤษฎีใหม่ การผลิตพืชในโครงการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชหลากหลาย ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี มีการพัฒนาเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผ่านโครงการพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Farmer หรือท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ส่วนการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน ซึ่งเป็นเห็ดที่มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสหวาน เห็ดมีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์แต่ไม่เหนียวเหมือนเนื้อสัตว์ จึงทำให้ย่อยง่าย นำไปใส่ในต้มยำหรือต้มโคล้ง เห็ดชุบแป้งทอด หรือเห็ดผัดกะเพรา เป็นเห็ดที่ให้คุณค่าด้านโภชนาการสูง มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ให้พลังงาน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใย มีปริมาณไขมันต่ำ ช่วยในการไหลเวียนโลหิต ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง หรือลดไขมันในเส้นเลือด

สำนักงานเกษตรฯ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน เป็นเห็ดเศรษฐกิจสำคัญที่ผู้บริโภคมีความต้องการในปริมาณมาก และเป็นหนึ่งกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เกษตรกรมีรายได้นำไปสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง

คุณชวน ชูจันทร์ เกษตรกรผู้เพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน เล่าให้ฟังว่า วิถีชีวิตของประชาชนและเกษตรกรในบริเวณพื้นที่สองฝั่งคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด กทม. ได้พึ่งพาอาศัยอยู่คู่กับน้ำมายาวนาน น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญทั้งเพื่อการยังชีพและการเกษตร ทุกวันนี้ลูกหลานยังทำการเกษตรสืบต่อจากบรรพบุรุษด้วยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล หรือพืชผัก ทำให้ครอบครัวมีอาหาร มีรายได้จากการขายผลผลิตเพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิตและยังชีพ

เห็ดนางฟ้าภูฏาน มีโปรตีนสูง เป็นที่นิยมบริโภคกันแพร่หลาย ในเชิงการค้าเป็นเห็ดเศรษฐกิจสำคัญเหมาะที่จะทำให้มีรายได้ มีความมั่นคงในการยังชีพ จึงตัดสินใจเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานด้วยการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ในโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยภาครัฐได้ให้การสนับสนุนงบประมาณมาใช้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสมวัสดุเพาะ ห้องอบฆ่าเชื้อ ถุงเพาะ วัสดุเพาะหรือโรงเรือน

โรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน ได้คัดเลือกสถานที่สร้างโรงเรือนที่มีความเย็นชื้น สะอาดปราศจากศัตรูของเห็ดที่จะเข้ามารบกวน หลังคามุงด้วยใบจากหรือแฝกแล้วคลุมทับด้วยซาแรน ประตูปิด-เปิด โรงเรือน ทำด้วยกระสอบป่านหรือแผ่นพลาสติกยาง ก่อนสร้างโรงเรือนให้ดูทิศทางลมเหนือ-ใต้ด้วย เพื่อไม่ให้ลมพัดพาเชื้อโรคเข้ามากระทบก้อนเห็ดและการออกดอกเห็ด

ขนาดโรงเรือนควรมีความกว้าง ยาว และสูง 2x15x2 เมตร จะวางก้อนเชื้อเห็ดได้ตั้งแต่ 1,000 ก้อนหรือถุงขึ้นไป วัสดุที่นำมาสร้างโรงเรือนควรเลือกหรือจัดหาในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน

1. จัดการผสมอาหารเพาะเห็ด ด้วยการนำขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ยิปซัม 0.5 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม รดน้ำให้มีความชื้น 60-70% แล้วผสมคลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

2. นำอาหารเพาะเห็ดที่ผสมแล้วบรรจุใส่ในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 6×12 นิ้ว ให้ได้น้ำหนัก 800 กรัม ต่อถุง

3. รวบปากถุงอาหารเพาะเห็ด บีบไล่อากาศออก อัดถุงให้แน่น ใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลี และปิดด้วยกระดาษ

4. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน ที่อุณหภูมิ 95-100 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง แล้วปล่อยไว้ให้เย็น

5. จากนั้นนำถุงอาหารเพาะเห็ดมาใส่เชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏาน

6. ยกนำไปพักบ่มเชื้อ 21-25 วัน ให้เชื้อเดินเต็มถุง ด้วยการเก็บไว้ในโรงพักเชื้อที่ไม่ให้โดนแสงแดดและความชื้น หากพบว่าก้อนเชื้อเกิดราดำหรือราเขียวให้รีบแยกออกนำไปทำลาย เพื่อป้องกันการระบาดของศัตรูหรือเชื้อโรค

7. เมื่อเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏานเดินเต็มถุงแล้ว ก็นำเข้าโรงเรือนเพื่อเปิดดอกเห็ด เปิดจุกสำลีออก แล้วอีก 7 วัน จะได้เห็นดอกเห็ดขนาดเล็ก ต่อจากนั้นดอกเห็ดก็เริ่มจะเจริญเติบโตสมบูรณ์เหมาะสมพร้อมให้เก็บไปกินและขาย

ดอกเห็ดนางฟ้าภูฏานที่บานได้ขนาดเหมาะสมตามช่วงระยะเวลาจะเป็นดอกไม่แก่-อ่อนเกินไป หรือขอบดอกยังงุ้มอยู่ ถ้าขอบดอกเห็ดยกขึ้นแสดงว่าดอกเห็ดแก่หรือแก่จัด วิธีเก็บให้จับโคนดอกทั้งช่อ โยกซ้ายขวา-บนล่างแล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าดึงแล้วโคนดอกเห็ดขาดติดอยู่ให้แคะออกทิ้งให้สะอาด เพื่อป้องกันการเน่าเสีย

ข้อสังเกต ถ้าออกสปอร์เป็นผงขาวที่ด้านหลังดอกเห็ด ต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำให้แมลงเข้ามาในโรงเรือน ทำความเสียหายให้กับเห็ดนางฟ้าภูฏาน

คุณชวน ชูจันทร์ เกษตรกรผู้เพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า เพื่อให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่ คือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จให้เขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด ทำความสะอาด งดให้น้ำ 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัว จากนั้นให้น้ำตามปกติ เห็ดก็จะออกดอกได้คุณภาพเหมือนเดิม

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่ดี จะช่วยทำให้เก็บดอกเห็ดได้ 5-6 เดือน ก้อนเชื้อเห็ดเก่าได้นำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก รายได้จากการขายเห็ดนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการเพาะเห็ด รวมทั้งใช้ในการซ่อมสร้างบำรุงโรงเรือน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ครั้งต่อไป

เห็ดนางฟ้าภูฏานคุณภาพปลอดภัย ที่เก็บแล้วจะรวบรวมนำไปวางขายที่ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ราคา 70-100 บาท ต่อกิโลกรัม ถ้าวางขายในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะขายดี เพราะผู้มาเที่ยวตลาดน้ำจะซื้อไปบริโภคและนำไปเป็นของฝาก ทุกวันนี้การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานจึงเป็นวิถีที่ทำให้สมาชิกมีรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยการนั่งเรือลัดเลาะคลองลัดมะยมชมความงามสองฝั่งคลอง แล้วขึ้นฝั่งไปดูการเพาะเห็ดนางฟ้า โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน ได้ทั้งสนุกและเรียนรู้วิถีชาวคลอง และเชื่อว่านี่เป็นทางเลือกสู้วิกฤตเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพที่มั่นคง

การผันผวนของราคายางพาราที่สร้างปัญหาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนุ่มชาวสงขลา อย่าง คุณธนู จุลมณีโชติ ต้องหยุดทำธุรกิจยางพาราแล้วหันมาเอาดีทางการจัดการทำเกษตรแบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่ด้วยการยึดโมเดล “โคก-หนอง-นา” จนประสบความสำเร็จสร้างรายได้อย่างดีให้แก่ครอบครัว พร้อมเป็นต้นแบบให้แก่ท้องถิ่น ในชื่อ “ไร่ดำรงค์กิจ คาบสมุทรสทิงพระ”

คุณธนู มีบ้านพักอยู่เลขที่ 105/1 หมู่ที่ 10 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา แต่เดิมเคยทำธุรกิจสวนยางพาราทั้งปลูกและแปรรูปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ประสบปัญหาราคาตกลงเรื่อยๆ จนต้องตัดสินใจหยุด แล้วมาตั้งหลักชีวิตใหม่ด้วยการทำเกษตร โดยเริ่มต้นจากการปลูกพริกขี้หนู กระทั่งผ่านไป 3 เดือน พริกให้ผลผลิตอย่างสมบูรณ์ นำไปขายมีรายได้ดีมาก แต่ระหว่างปลูกพริกเขาพบว่าสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเรื่อยๆ รู้สึกว่ามีความสบาย หน้าตาผ่องใสกว่าเมื่อครั้งทำอาชีพสวนยางพาราที่ต้องใช้สารเคมี

ผลสำเร็จจากพริกทำให้คุณธนูเริ่มมีกำลังใจแล้วรักอาชีพเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น จึงได้ขยายผลมาปลูกมะนาวในวงบ่อจำนวน 180 วง ปรากฏว่าได้ผลดีเกินคาด ต้นมะนาวให้ผลผลิตจำนวนมาก ทั้งยังลองทำมะนาวนอกฤดูก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงมีรายได้ดีเช่นกัน ขณะเดียวกัน ในชุมชนที่อาศัยอยู่ยังไม่มีใครเคยปลูกมะนาวในวง พอมาเห็นความสำเร็จจากรายได้ของคุณธนูจึงเกิดความสนใจ จึงทำให้คุณธนูผลิตกิ่งพันธุ์มะนาวขายแทบไม่ทัน

เมื่อชายผู้นี้มองว่าได้เดินมาถูกทาง จึงตัดสินใจซื้อที่ดินจากญาติที่บอกขาย จำนวน 27 ไร่ แล้วเริ่มดำเนินการลงทุนลงแรงทำเกษตรกรรมอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมไปกับการแสวงหาความรู้การทำเกษตรแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่จากอินเตอร์เน็ต หรือศึกษาจากข้อมูลผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จในแนวทางนี้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง หรือแม้แต่ อาจารย์ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื่อง โดยยึดแนวทาง “โคก-หนอง-นา” เป็นโมเดลต้นแบบ

คุณธนูให้รายละเอียดขั้นตอนและวิธีตามแนวทาง “โคก-หนอง-นา” ว่า เริ่มจากที่ดินจำนวน 2 แปลง มีคลองคั่นกลาง ที่ดินทางทิศตะวันตกได้ขุดดินสร้างโคกเพื่อปลูกไม้หลากหลายชนิดแบบสวนป่าที่ประกอบไปด้วยไม้ใหญ่ อย่างตะเคียน พะยูง พะยอม ยางนา กันเกรา ที่มีรวมกันประมาณ 800 ต้น

ทั้งนี้ ได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมจำนวน 100 ต้น กล้วย มะม่วง ผักใบ ผักสวนครัว พืชสมุนไพรอย่างพริก ชะอม มะนาว หรือมะม่วงหิมพานต์ไว้บริโภคแล้วขายด้วย โดยมีร่องน้ำหรือคลองไส้ไก่ขุดไว้บริเวณโดยรอบ เพื่อช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น แล้วยังช่วยให้พืชดูดธาตุอาหารต่างๆ ขณะที่บางส่วนของที่ดินยังได้ขุดหนองเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ พร้อมกับเป็นแหล่งเลี้ยงปลานิล ปลาช่อน ปลาหมอ และปลาพื้นบ้านเพื่อไว้บริโภคและขาย

ส่วนที่ดินทางทิศตะวันออกจะทำนาปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดกับข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ แล้วยังขุดเป็นคลองไส้ไก่อีกเพื่อต่อเชื่อมกับคลองใหญ่แล้วใช้ระบบการเปิด-ปิดน้ำด้วยระดับน้ำช่วยทำให้ประหยัดค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำเข้านา อีกทั้งได้สร้างคันดินขนาดกว้าง 1.5 เมตร ไว้บริเวณด้านนอกเพื่อปลูกมะพร้าวแกงจำนวน 120 ต้น สำหรับด้านข้างคันดินจะปลูกต้นหมากไว้จำนวน 400 ต้น

ขณะที่การดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงพืชจะเน้นอินทรีย์ด้วยการใช้มูลนกกระทาที่น้องสาวเลี้ยงไว้ผสมกับรำและแกลบ พร้อมใส่น้ำหมัก แล้วทิ้งไว้ ก่อนนำมาใส่พืชพันธุ์ไม้ทุกชนิด จึงได้ประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุน ช่วยให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

คุณธนู บอกว่า ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ 13 ไร่ จะสีเอง เก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้แต่ละรุ่น เมื่อสีเสร็จจะนำไปบรรจุใส่ถุงสุญญากาศเพื่อส่งขาย โดยได้เริ่มเมื่อปี 2558 ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวมีจำนวนเพียงพอกับการบริโภคและขายตามสถานที่ต่างๆ กับทางออนไลน์ได้ตลอดทั้งปี แต่เนื่องเป็นข้าวคุณภาพที่มาจากการปลูกด้วยแนวทางอินทรีย์จึงทำให้ลูกค้าให้ความสนใจเพราะเป็นข้าวปลอดภัยจึงทำให้มียอดการสั่งซื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องรับซื้อผลผลิตข้าวจากเครือข่ายที่รับประกันคุณภาพเข้าเสริมโดยเป็นการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป แล้วยังขายในราคาสูงแต่ไม่กระทบต่อการซื้อของลูกค้า เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของคุณภาพข้าว

ผลสำเร็จของโมเดล “โคก-หนอง-นา” ทำให้เกิดระบบนิเวศที่เกื้อกูล สร้างความสมดุลทางธรรมชาติกลับมา ช่วยให้คุณธนูสามารถปลูกข้าวได้ถึง 2 ครั้งในรอบปี ขณะเดียวกัน ยังได้ควบคุมวัชพืชโดยใช้ระดับน้ำเป็นตัวกำหนดโดยใช้วิธีตีแปลงหรือไถพรวนจะทำให้กลบวัชพืชลงในดินแล้วใส่น้ำหมักที่ได้รับการพัฒนาที่ดินเพื่อมาช่วย จากนั้นจึงหว่านตม พอต้นข้าวสูงเล็กน้อยจึงปล่อยน้ำเข้าจะทำให้ไม่มีวัชพืชเพราะข้าวโตสูงกว่า

คุณธนูชี้ว่า โมเดลโคกหนองนาสามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มายาวนานได้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงนำแนวทางนี้ใช้เป็นกรณีศึกษาแล้วเป็นตัวอย่างให้แก่ชาวคาบสมุทรสทิงพระที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วมทุกปี

คุณธนู บอกว่า การปลูกพืชแบบผสมผสานตามแนวทางของเขาต้องมีการวางแผนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดังนั้น ครอบครัวของคุณธนูจึงมีรายได้ตลอดเวลาทุกวันไม่เคยขาด เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท จากชะอม พริก หรือผักเด็ดยอดอย่างยอดต้นมะม่วงหิมพานต์ ที่นำไปขายยังตลาดสดในชุมชน หรือมีรายได้เป็นเดือนอย่างกล้วย มะม่วง มะนาว มะพร้าว ที่นำไปขายตามตลาดสุขภาพร่วมกับผลผลิตของสมาชิกในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer ของจังหวัดสงขลา ขณะเดียวกัน ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคราชการและเอกชนเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มนำสินค้าไปขายตามสถานที่ต่างๆ

“ศาสตร์ของพระราชาในการทำเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งผลให้เกษตรกรใช้พื้นที่เกิดประโยชน์มากที่สุด ในบางครั้งการทำงานเกษตรไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากมาย แค่พื้นที่ 1 งาน 2 งาน หรือไม่เกิน 1 ไร่ ก็สามารถนำศาสตร์ของพระราชามาใช้ได้ เพียงแค่วางรูปแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ตัวเอง พร้อมกับใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นโดยไม่ต้องลงทุน ซึ่งทางหน่วยงานภาครัฐในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่างยินดีสนับสนุนเกษตรกรอย่างเต็มที่” คุณธนู กล่าว

สอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อข้าวอินทรีย์คุณภาพแบรนด์ “ไร่ดำรงค์กิจ คาบสมุทรสทิงพระ” ได้ที่ คุณธนู จุลมณีโชติ โทรศัพท์ (089) 876-6445 หรือ fb : ไร่ดำรงค์กิจ คาบสมุทรสทิงพระ หรือทาง line : (089) 876-6445

หากพูดถึงขยะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดไหน หรือประเทศใด ก็ต้องมีขยะหรือสิ่งของที่หลงเหลือจากการใช้งาน ไม่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นกัน

เมื่อไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ได้แล้ว “การกำจัดขยะ” จึงเป็นสิ่งที่ถูกนำมาจัดการขยะเหล่านั้น ซึ่งวิธีการก็มีหลากหลาย แต่วิธีที่ได้รับความนิยมและมักจะถูกนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ คงไม่พ้น การฝังกลบ และ การเผา อย่างแน่นอน ไม่ใช่เพียงเพราะสองวิธีดังกล่าวได้ถูกยึดถือและปฏิบัติมาอย่างแพร่หลายเป็นเวลาที่ยาวนานเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปริมาณขยะลงได้จำนวนมากอีกด้วย

แม้ว่าการเผาจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม แต่การเผาขยะอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษหรือผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเองก็สำคัญเช่นกัน จึงไม่แปลกนักที่ในปัจจุบันจะมีเตาเผารูปแบบต่างๆ ที่ถูกประดิษฐ์และคิดค้นขึ้นมาสำหรับใช้ในการกำจัดขยะประเภทต่างๆ โดยเตาที่ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นก็คงจะหนีไม่พ้น “เตาเผาขยะไร้มลพิษ” หรือ “เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ” ที่ถูกนำมาใช้ทั้งในการเผาขยะและป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

คุณเริงชัย พนมเริงศักดิ์ เจ้าของ บริษัท สยามวิศว์ จำกัด ที่บ้านเลขที่ 2/5 หมู่ที่ 9 ซอยเจริญผล แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการที่ประดิษฐ์และคิดค้น “เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ รุ่น K650” เตาเผาขยะที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้งานที่ง่าย ระบบคัดแยกขยะเพื่อให้สามารถนำมาขายและใช้ประโยชน์ได้ ทั้งยังสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ถึง 24 ชั่วโมง อีกด้วย

“เตาเผาขยะ” ทางออกหนึ่งของปัญหามลพิษ

คุณเริงชัย เล่าว่า จุดเริ่มต้นประดิษฐ์ เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ รุ่น K650 นั้น เดิมทีมีความสนใจเกี่ยวกับเครื่องจักรรวมถึงระบบและกลไกในการทำงานต่างๆ อยู่แล้ว ประกอบกับมีความรู้และความสามารถในการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับใช้งานด้วย หลังจากนั้น จึงได้เริ่มศึกษาและลงมือสร้างเตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเล็งเห็นว่าในปัจจุบันปริมาณของขยะนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของขยะในพื้นที่ต่างๆ นอกจากจะทำลายทัศนียภาพแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ รุ่น K650 ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเข้ามาป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

“การเริ่มต้นสร้างเตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษนั้น เริ่มต้นจากความคิดที่อยากจะแก้ปัญหาและกำจัดขยะที่ต้นทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ไปถมรวมกันจนเกิดเป็นกองใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้การกำจัดเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่าการกำจัดขยะโดยการฝังกลบนั้น นอกจากจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องแล้วยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องต่อสาธารณูปโภคต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากคือ เรื่องของการกำจัดเขม่าและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะ ความแข็งแรงของโครงสร้างและกลไกการใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชุมชนและเทศบาลตามพื้นที่ต่างๆ ได้” เจ้าของบอก

อย่างที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ว่า ระบบและกลไกการทำงานของเตาเผาขยะ รุ่น K650 จะเน้นการใช้งานที่ง่าย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานที่ตามความเหมาะสม ตัวเตาเผาจึงมีระบบการป้อนขยะต่อเนื่องด้วยสายพานลำเลียง ขนาด 2 ห้องเผาไหม้ และมีความร้อน 800-1,200 องศาเซลเซียส สำหรับห้องเผาที่ 1 จะใช้สำหรับเผาขยะทั่วไป ส่วนห้องเผาไหม้ที่ 2 ใช้สำหรับเผาเขม่า กลิ่น และควัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม จึงเรียกได้ว่า เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษนั้น เป็นเครื่องจักรที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านมลพิษได้อีกทางหนึ่ง

เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ K650 ประดิษฐ์ง่าย ใช้งานได้จริง

อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ รุ่น K650 เรียกได้ว่าถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องปริมาณขยะและมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้หรือการเผาขยะ ดังนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ คือ ความสะดวกในการใช้งาน รวมไปถึงวัสดุที่นำมาใช้ประกอบก็จะต้องได้มาตรฐานและมีความคงทน โดยเฉพาะวัสดุที่จะถูกนำมาใช้ประกอบเป็นตัวเตา เนื่องจากการเผาไหม้จะทำให้เกิดความร้อน วัสดุที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จึงต้องเป็นวัสดุทนความร้อน เพื่อไม่ให้มีไอร้อนแผ่ออกมาระหว่างเผา ทั้งยังเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเตาเผาขยะอีกด้วย

“สำหรับขนาดมาตรฐานของเตาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งานนั้น ขนาดจะอยู่ที่ประมาณ 40×3 เมตร ซึ่งขั้นตอนการทำก็ไม่ถือว่ายากนัก เพียงแต่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบเครื่องจักรด้วยเท่านั้น ส่วนวัสดุที่ใช้ทำนั้น จะแบ่งเป็นส่วนโครงสร้างเตาเผา ที่ต้องใช้เหล็กที่มีความหนา 4.5 มิลลิเมตร ส่วนของรางสเปรย์น้ำ ปล่องเหล็กสำหรับดักเขม่าและกลิ่นควัน ใช้เหล็กหนา ขนาด 5 มิลลิเมตร ส่วนของปล่องปล่อยควันระบายอากาศ หนา 3 มิลลิเมตรด้วย นอกจากนี้ ยังต้องมีตู้ควบคุมระบบการทำงาน ไฟสำหรับแสดงสัญญาณการทำงาน พัดลมเติมอากาศ ขนาด 0.5 แรงม้า ซึ่งตัวนี้จะต้องใช้ทั้งหมด 2 ตัว และเนื่องจากให้ความสำคัญในเรื่องของการเก็บไอความร้อนระหว่างการเผาไหม้ จึงต้องมีการเพิ่มในส่วนของวัสดุอย่างอิฐทนไฟ sk-32 อิฐฉนวนกันความร้อน รวมถึงปูนทนไฟ ที่สามารถทนความร้อนได้ถึง 1,300 องศาเซลเซียส ด้วย” เจ้าของอธิบาย

ส่วนระบบการลำเลียงขยะเข้าสู่เตาเผานั้น ได้เลือกใช้เป็นระบบสายพาน ทำให้วัสดุที่ขาดไม่ได้ในการประกอบเตาเผาขยะ คือ เกลียวส่งขยะขึ้นสายพานเพื่อคัดแยก เกลียวสกรูป้อนขยะเข้าห้องเผา และสายพานคัดแยกขยะ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ ต้องใช้มอเตอร์เกียร์ ขนาด 1 แรงม้า จำนวน 1 ตัว นอกจากนี้ อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ตะแกรงสำหรับกรองขี้เถ้าจากวัสดุทนไฟ และปั๊มน้ำ ขนาด 1 แรงม้า

“เตาเผาขยะไร้ควัน” นวัตกรรมใหม่ ใช้งานง่าย แค่เปิดสวิตช์

อย่างที่บอกไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า เตาเผาขยะไม่ก่อมลพิษ เป็นเตาเผาที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเรื่องปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นและปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้หรือการเผาขยะ ทำให้กลไกการทำงานหลักๆ โดยเฉพาะในส่วนการเผาจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ห้องเผาไหม้ เพื่อให้สามารถเผาได้ทั้งขยะและเขม่า กลิ่นและควัน โดยขยะที่สามารถนำมาเผาในเตาได้จะแบ่งเป็นขยะเปียก จำนวน 25% และขยะแห้ง จำนวน 75% ซึ่งสามารถเผาขยะได้ถึง 500 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง เลยทีเดียว นอกจากนี้ ขยะที่ถูกนำมาเผายังทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย ทั้งยังสามารถทนความร้อนได้ถึง 1,300 องศาเซลเซียส เลยทีเดียว

“อีกสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญไม่แพ้การกำจัดขยะและเขม่าควันจากการเผาไหม้คือ ระบบการทำงานที่ต้องไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการใช้งาน ทั้งยังให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยระหว่างการใช้งานด้วย ส่วนหนึ่งเพราะจุดประสงค์หลักในการคิดค้นเตาเผาคือ การที่จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ในทุกพื้นที่ ทำให้เราได้ออกแบบระบบและกลไกให้ง่ายต่อการใช้งานที่สุด คือสามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงแค่เปิดสวิตช์เท่านั้น ซึ่งในตอนนี้ได้มีการนำไปใช้ในจังหวัดนราธิวาสแล้ว และสำหรับแผนที่เราได้วางเอาไว้คือ ต้องการขยายการใช้งานออกไปให้ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นและมลพิษจากการเผาขยะได้อย่างยั่งยืน”คุณเริงชัย บอก

กล้วยหอม เป็นชื่อของผลไม้เมืองร้อน ที่จัดอยู่ในกลุ่มไม้ล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตอนใต้

ด้วยรสชาติหวาน กลิ่นหอม อันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังมีขั้นตอนการดูแลที่ง่าย สามารถปลูกได้ในแทบทุกภาคของประเทศ ทำให้เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน คือ “กล้วยหอมทอง” และ “กล้วยหอมเขียว”

นอกจากกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว กล้วยหอมยังอุดมไปด้วยเส้นใย วิตามิน รวมถึงแร่ธาตุหลายชนิด มีส่วนช่วยลดอาการท้องผูก รักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง ทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระและโปรตีนที่ช่วยในการผลิตสาร Serotonin หรือฮอร์โมนความสุข ซึ่งเป็นส่วนช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย

คุณศิริลักษณ์ วงศ์แพทย์ เจ้าของสวนกล้วยหอมทองศิวิไลซ์ และ คุณเสวก ดวงแย้ม เกษตรกรผู้ดูแลสวนศิวิไล ที่บ้านเลขที่ 497 หมู่ที่ 5 บ้านปางแจ้ง ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมทองอย่างได้ผล โดยเน้นการปลูกและขายพันธุ์เพื่อส่งขาย

สวนกล้วยหอมทองศิวิไล จากความชอบสู่อาชีพ

คุณศิริลักษณ์ เล่าถึงการเริ่มทำสวนว่า ก่อนที่จะมาทำสวนกล้วยหอมทองที่อำเภอปากช่องนั้น เริ่มต้นจากที่ตนเองมีความชื่นชอบและความสนใจเกี่ยวกับกล้วยหอมอยู่เป็นทุนเดิม ทั้งยังมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับกล้วยหอม ประกอบกับทางบ้านเองก็มีพื้นที่สำหรับทำสวนด้วย จึงได้หันมาให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับการทำสวนอย่างจริงจัง ส่วนเหตุผลที่เลือกปลูกกล้วยหอมทองนั้น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากทั้งคนไทยและต่างชาติ

นอกจากนี้ คุณศิริลักษณ์ มองว่า การทำสวนกล้วยหอมทองที่อำเภอปากช่องนั้น ก็เปรียบเหมือนอาชีพเสริมที่สามารถสร้างทั้งรายได้และความสุขให้แก่ตนเอง เนื่องจากในปัจจุบันก็ยังคงทำงานที่บริษัทควบคู่ไปกับการดูแลสวนด้วย ทำให้หน้าที่การดูแลและขยายพันธุ์กล้วยหอมทองภายในสวนศิวิไลจึงเป็นหน้าที่ของลุงเสวก อีกหนึ่งเกษตรกรที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในวงการกล้วยหอมทองคนหนึ่งของไทยเลยทีเดียว

จากสวนกล้วยน้ำว้า สู่เกษตรกรสวนกล้วยหอมทอง

ลุงเสวก เล่าว่า ก่อนที่จะเข้ามาดูแลกล้วยหอมทองของสวนศิวิไลนั้น เดิมทีเคยทำสวนกล้วยน้ำว้าอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาเริ่มหันมาสนใจเกี่ยวกับการปลูกกล้วยหอมทอง จึงได้ศึกษาและเริ่มต้นทำสวนอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าในช่วงแรกจะประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง แต่เพราะความตั้งใจและความทุ่มเท ทำให้การทำสวนกล้วยหอมทองนั้นประสบความเร็จและได้รับผลตอบแทนเป็นอย่างดี

อย่างที่ทราบดีว่า ในอำเภอปากช่อง ผลไม้ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายนั้นส่วนใหญ่จะเป็นน้อยหน่า แก้วมังกร ฝรั่ง ทำให้สวนศิวิไลเป็นที่แรกที่นำกล้วยหอมทองเข้ามาปลูกในพื้นที่

เจ้าของปลูกกล้วย 40 ไร่ โดยพื้นที่ทั้งหมดมี 125 ไร่ “เหตุผลที่เลือกเข้ามาดูแลกล้วยหอมสวนศิวิไล ส่วนหนึ่งก็เพราะอยากจะเข้ามาช่วยหลาน ที่รักในการทำสวนกล้วยหอมทอง ประกอบกับตนเองก็มีความรู้และประสบการณ์ในการทำสวนกล้วยหอมมากว่า 5 ปี จึงเชื่อว่าจะสามารถดูแลและพัฒนาผลผลิตของสวนให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ ซึ่งขนาดกล้วยของสวนจะหนัก 3-4 กิโลกรัม ต่อหวี นอกจากนี้ ยังได้มีการแบ่งสัดส่วนของสวนที่มีพื้นที่กว่า 125 ไร่ เอาไว้สำหรับทั้งขยายพันธุ์กล้วย ควบคู่ไปกับการปลูกผลไม้ อาทิ มะพร้าวน้ำหอม ทุเรียนจากจังหวัดสมุทรสงคราม รวมถึงลิ้นจี่จากอัมพวา เอาไว้สำหรับขายเพิ่มเติมด้วย” ลุงเสวก บอก

ปลูกเว้นระยะ 2×2 เมตร ดูแล-กำจัดวัชพืชง่าย

ก่อนที่จะแนะนำถึงการปลูกและการดูแลกล้วยหอมทองของสวนศิวิไล คงต้องเกริ่นก่อนว่าการขยายพันธุ์กล้วยหอมทองที่นี่ใช้ส่วนของหน่อ

“ที่สวน จะปลูกไร่ละ 400 ต้น ต้องเว้นระยะห่างต้นประมาณ 2×2 เมตร เพื่อให้สะดวกต่อการดูแลและกำจัดวัชพืชอีกด้วย ซึ่งเรื่องของศัตรูพืชหรือแมลงนั้นก็มีพบบ้าง แต่ที่สวนมีการทำสารชีวภาพสำหรับกำจัดแมลงขึ้นใช้เอง จึงไม่ถือว่าเป็นปัญหามากนัก” ลุงเสวก บอก

ที่สวนศิวิไล มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ “การค้ำกล้วย” ซึ่งการค้ำนั้นจะช่วยป้องกันปัญหาเรื่องความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับต้นกล้วยได้ เนื่องจากเมื่อกล้วยออกเครือแล้วจะมีน้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัมเลยทีเดียว นอกจากนี้ ที่สวนยังมีปัญหาเรื่องของลมอีกด้วย การค้ำกล้วยจึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ส่วนขั้นตอนการค้ำที่ถูกต้องนั้น จะต้องค้ำบริเวณเครือกล้วย และต้องวางให้เครือกับไม้อยู่ติดกันพอดี ก่อนมัดให้แน่นเพื่อประคองและรับน้ำหนักของเครือกล้วย

การให้ปุ๋ย-ระบบน้ำ 2 สิ่งสำคัญ ในการดูแลกล้วยหอมทอง

นอกจากระยะห่างระหว่างต้นในการปลูกหรือการค้ำแล้ว เว็บ SBOBET การใช้ปุ๋ยและระบบการให้น้ำก็ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการปลูกและดูแลต้นกล้วยหอมทองเช่นกัน โดยที่สวนจะใช้วิธีการให้ปุ๋ยแบบฝังกลบ

วิธีการให้ปุ๋ยแบบฝังกลบต้องเริ่มจากการขุดหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร โดยจะต้องขุดให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ศอก แล้วจึงนำปุ๋ยฝังลงในหลุมก่อนจะเอาดินกลบ ข้อดีของการให้ปุ๋ยด้วยวิธีการฝังกลบนั้น จะช่วยให้กล้วยสามารถดูดซึมสารอาหารได้นานกว่า 1 เดือน ในขณะที่การให้ปุ๋ยด้วยวิธีการโรยหรือหว่านจะทำให้กล้วยสามารถดูดซึมได้เพียงแค่ 7 วัน เท่านั้น

“สำหรับการให้ปุ๋ยที่สวนจะให้เดือนละเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ครั้งแรกจะใช้เป็น สูตร 25-7-7 + ยูเรีย โดยจะต้องผสมให้เข้ากันก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งปุ๋ยสูตรนี้จะใช้เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เพราะเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 ก็จะเปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 แทน เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมามีรสชาติหวานมันและมีขนาดที่ได้มาตรฐานของทางสวน ส่วนระบบการให้น้ำที่สวนจะใช้ระบบสปริงเกลอร์ โดยการรดน้ำ จะรดประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ซึ่งหากเป็นช่วงหน้าร้อนก็จะต้องปรับระยะเวลาและความถี่ในการรดน้ำให้เหมาะสม เนื่องจากกล้วยหอมทองเป็นผลไม้ที่ต้องอาศัยการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น การให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นที่เรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่ง” ลุงเสวก อธิบาย

แต่เนื่องจากที่สวนมีพื้นที่ 125 ไร่ ทำให้ต้องมีการขุดบ่อน้ำบาดาลและปล่อยน้ำลงสระก่อนแล้วจึงนำปั๊มสูบขึ้นมาใช้ สำหรับหัวสปริงเกลอร์ที่ใช้เป็นหัวธรรมดาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตัวปั๊มที่ใช้จะอยู่ที่ประมาณ 2 แรง ซึ่งตามปกติแล้วโดยทั่วไปจะสามารถเปิดพร้อมกันได้เพียง 50 หัว เท่านั้น แต่ที่สวนได้มีการประดิษฐ์ตัวดันลมขึ้นใช้เอง ทำให้สามารถเปิดหัวสปริงเกลอร์ใช้ได้พร้อมกันถึง 250 หัวเลยทีเดียว โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำตัวดันลมนั้นก็มีเพียงแต่ท่อ ฝาปิด และท่อเมน ขนาด 4 นิ้ว ซึ่งราคาก็จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 500 บาท