ไปดูสวนกล้วยไข่คุณภาพจากนั้นทีมงานได้ลงพื้นที่ปลูกกล้วยไข่

ของสมาชิกกลุ่มอย่าง คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร เป็นเจ้าของสวน อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปลูกกล้วยไข่มานานกว่า 30 ปี ใช้เนื้อที่ปลูก 12 ไร่ จำนวน 2,000 กว่าต้น เป็นพันธุ์กล้วยไข่ดั้งเดิมของกำแพงเพชร

คุณป้าพิมพ์ บอกว่า การปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรนับเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาดในแปลงปลูก อย่าให้รก ปุ๋ยที่ใช้ในตอนเริ่มปลูกใช้สูตรเสมอ 15-15-15 พอตกเครือจะใช้ปุ๋ยน้ำตาลสูตร 21-0-0 ใส่เพื่อเร่งผล

ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพรินเผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขายผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้วกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

แวะแหล่งขายกล้วยไข่ริมทาง
ก่อนเดินทางกลับทีมงานแวะเยี่ยมเยียนแผงขายกล้วยไข่ที่ตั้งเรียงรายตลอดสองข้างทางถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร ซึ่งผู้ขายมีทั้งแบบมีสวนกล้วยตัวเองแล้วนำผลผลิตมาวางขาย กับอีกแบบคือไปรับซื้อกล้วยจากสวนโดยตรงเพื่อนำมาวางขาย

คุณวิน บุนนาค เจ้าของแผงขายกล้วยไข่รายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า มีสวนกล้วยไข่ของตัวเองขนาด 3 ไร่ และทำอาชีพนี้มานานกว่า 30 ปี นอกจากนั้น ยังรับซื้อกล้วยไข่จากสวนของชาวบ้านที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง อย่างที่ ลำมะโกรก นครชุม และโพธิ์สวัสดิ์ อีกหลายราย

ตลอดเวลากว่า 30 ปี กับการคลุกคลีกล้วยไข่ คุณวินพบว่าเป็นไม้ผลที่ปลูกและดูแลยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะหลังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก ก็ยิ่งทวีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้ (2559) ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งที่มาเยือนตั้งแต่ต้นปี เลยทำให้ได้ผลผลิตน้อย ราคาจึงสูงกว่าปกติ

อีกทั้งยังพบว่าผลกระทบเช่นนี้จึงส่งผลต่อการขายกล้วยไข่ ซึ่งโดยปกติระยะทาง 10 กิโลเมตร ตั้งแต่ทางแยกจะมีร้านขายกล้วยไข่ตั้งเรียงรายมาตลอด แต่ปีนี้หายไปเกินครึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านกำแพงเพชรบางรายสู้ไม่ถอยแล้วคิดจะปลูกต่อไป

หลายคนที่คุ้นกับลักษณะประจำของกล้วยไข่กำแพงเพชรมักทราบว่ามี รสหวานหอม เนื้อแน่น เปลือกบาง ตลอดจนขนาดผลมีความพอดี ซึ่งจุดเด่นเช่นนี้จึงเป็นเสน่ห์ของกล้วยไข่กำแพงที่ทำให้คนทั้งประเทศติดใจ แล้วมักแวะเวียนมาหาซื้อในช่วงที่มีผลผลิตซึ่งมักตรงกับเทศกาลสาร์ทไทย คุณวิน บอกว่า เคยรับกล้วยไข่จากแหล่งอื่นมาขายร่วมกับกล้วยไข่กำแพงเพชร ปรากฏว่าลูกค้าชิมแล้วชอบกล้วยไข่กำแพงเพชรมากกว่าเพราะมีรสหวาน หอม

ผลที่เกิดจากความแห้งแล้งจึงทำให้ในช่วงผลผลิตมีจำนวนกล้วยไข่ไม่มาก โดยมีการกำหนดราคาขายหน้าร้านอยู่ระหว่าง 30-50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ ส่วนแบบขายยกเครือราคาตั้งแต่ 120-250 บาท คุณวิน ชี้ว่า ปีนี้ราคากล้วยไข่สูงกว่าที่เคยพบมาก่อน และคิดว่าราคานี้คงไม่ลดลงแล้วจนสิ้นฤดู เพราะผลผลิตจะทยอยออกมาตลอด จนทำให้ไม่ล้นตลาดจนต้องลดราคา

ผู้ขายกล้วยไข่รายนี้ชี้ว่า ความจริงแล้วตลาดกล้วยไข่กำแพงเพชรไม่มีปัญหาด้านราคา แต่ด้วยความที่การปลูกและการดูแลเป็นไปด้วยความยาก ประกอบกับเจออุปสรรคมากมายทั้งภัยจากธรรมชาติและโรคพืช จึงทำให้ชาวบ้านจำนวนหลายรายถอดใจเลิกปลูก แล้วหันไปปลูกอ้อยและมันสำปะหลังแทน ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ปลูกกล้วยลดลง ขณะเดียวกัน เมื่อมีกล้วยน้อยจึงทำให้ราคาสูงตามไปด้วย

ร้านขายกล้วยไข่ของคุณวิน ตั้งอยู่ริมถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร บริเวณหลัก กม.10 ร้านนี้ไม่ได้ขายแต่กล้วยไข่ แต่ยังขายหน่อกล้วยราคาหน่อละ 10-15 บาท แล้วยังมีกล้วยหอมทองที่ปลูกไว้นำมาขาย นอกจากนั้น ยังรับไม้ผลชนิดอื่นจากชาวบ้านมาวางขายด้วย

ถึงแม้ว่าผลจากภัยแล้งได้สร้างความเสียหายให้แก่ชาวกำแพงเพชรมากมาย ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพการเกษตรไปปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ และการจับมือกันของชาวกำแพงเพชรเพื่อหาทางแก้ไขปัญหากล้วยไข่ในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการหวนกลับมาปลูกกล้วยไข่ ผลไม้ประจำถิ่นที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวกำแพงเพชรมายาวนาน

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับอดีตเจ้าของหนังสือพิมพ์แห่งสวนสยามท่านหนึ่ง ชื่อท่าน ผอ.เจริญชัย พร้อมภรรยาสาว ชื่อ คุณกนกอร เพ็งจางค์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2545-2555 ระยะเวลาประมาณ 7-8 ปี ท่าน ผอ.เจริญชัย ได้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์เพ็งจางค์อันโด่งดังในยุคนั้น ได้ผลิตนิตยสารต่างๆ ออกมาสู่แผงหนังสือ ล้วนแต่เป็นหนังสือมีสาระ สอนคนให้เป็นคนดี เป็นหนังสือแนวธรรมะสอนใจ เช่น หนังสือเส้นทางธรรมะ ชะตากรรม และหนังสือในแนวบาป บุญ คุณ โทษ ออกสู่แผงหนังสือจำหน่ายทั่วประเทศ โดย บริษัท ธนบรรณ จำกัด วันเวลาผ่านไป คนยุคใหม่ไม่ค่อยสนใจจะอ่านหนังสือกันแล้ว หันไปอ่านอีบุ๊ก เฟซบุ๊ก เพราะไม่ได้หาซื้อ ทำให้หนังสือและนิตยสารต่างๆ หายไปจากแผงหนังสือ

คงเป็นยุคอิ่มตัวของหนังสือแล้ว คุณเจริญชัย เพ็งจางค์ ก็เลยหันไปเล่นการเมืองท้องถิ่น โดยได้รับเลือกให้เป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนภรรยา คุณกนกอร เพ็งจางค์ ตอนแรกเธอเป็นพยาบาลวิชาชีพ อยู่โรงพยาบาลวชิระ กรุงเทพฯ ต่อมาย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ที่อยู่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

มีงานประจำทั้ง 2 คน แต่ คุณเจริญชัยและคุณกนกอรไม่เคยคิดจะอยู่เฉยๆ ในวันหยุดเขาและเธอเป็นคนขยันทำมาหากิน มีลูกด้วยกัน 4 คน คนโตอายุได้ 16 ปี คนรอง 10 กว่าขวบ ทำงานช่วยพ่อแม่ได้แล้ว โดยคุณกนกอรจะใช้เวลาในวันหยุดราชการเพาะปลูกผักหลายอย่าง โดยเปิดขายอยู่หน้าฟาร์ม เช่น ผักบุ้ง ยอดอ่อนทานตะวัน ทำให้มีรายได้จากยอดผัก 10 ถุง = 250 บาท นอกจากนั้น ก็ทำฟาร์มเป็ด ไก่ ปู ปลา ในฟาร์มของเธอมีครบทุกอย่าง ไม่ต้องหาซื้อ ไม่ต้องไปตลาด โดยมีคุณเจริญชัยและลูกๆ เป็นผู้ช่วย

นอกเหนือจากฟาร์มผักระยะสั้น ก็มีการเลี้ยง หอย ปู ปลา ไว้ในบ่อ ตักขายได้เป็นรายวัน มีรายได้เข้าฟาร์มไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท ต่อสัปดาห์ ดังนั้น ชีวิตราชการของคุณกนกอรจึงไม่ต้องมีหนี้สินเหมือนคนอื่น นอกจากพืชผักสวนครัวแล้ว เธอยังวางแผนปลูกผักหวานป่า ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้าน เก็บยอดขายได้ตลอดชีวิต นอกจากนั้นก็มีฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งวัว ควาย หมู เป็นรายได้ต่อปี ขยันแบบนี้ก็น่าเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นๆ ได้ ถ้าข้าราชการดีๆ อย่างคุณกนกอรทำได้แบบนี้ก็นับได้ว่าน่ายกย่องเป็นแบบอย่างแก่คนอื่น หรือคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี

เรียกได้ว่าไม่ปล่อยให้เวลาสูญไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากทำฟาร์มปลูกผัก เลี้ยงสัตว์แล้ว คุณกนกอรยังแบ่งที่ดินเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมเพื่อให้ผู้มาปฏิบัติธรรม และทำพืชผักสวนครัว สอนเด็กในหมู่บ้านให้รู้จักทำมาหากิน ยังมีร้านอาหาร และทำโฮมสเตย์ให้แขกผู้มาเยือนในราคาย่อมเยา

คุณกนกอร พยาบาลวิชาชีพ รับราชการกินเงินเดือนแต่หารายได้พิเศษในวันหยุดและเวลาเลิกงานด้วยการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และผักบุ้งยอดอ่อนขายแก่ข้าราชการและชาวบ้านละแวกใกล้เคียง เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งนับว่าค่าครองชีพยิ่งสูงขึ้นตามยุคสมัย และมีลูกๆ ต้องส่งเสียเล่าเรียนอีก 3 คน คุณกนกอรและสามีจึงต้องรับภาระหนักหน่อย

คุณกนกอร จะเพาะต้นอ่อนทานตะวันและผักบุ้งยอดอ่อนสลับกัน โดยจะเพาะครั้งละ 10 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัมละ 100 บาท ขายได้สัปดาห์ละ 1,000 บาท หรือถ้ามีคนสั่งเข้ามาก็จะมียอดเพิ่ม ประมาณ 20-30 กิโลกรัม ก็จะมีรายได้ครั้งละ 2,000-3,000 บาท ต่อสัปดาห์ ออกขายทางออนไลน์ในหมู่ข้าราชการในจังหวัดร้อยเอ็ด

วิธีเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน

ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี ใครประหยัดได้ก็ประหยัด แถมถ้าประหยัดแล้วยังหารายได้เสริมได้อีกช่องทางก็จะเป็นทางรอดและทางเลือกให้กับชีวิตเรา สำหรับวันนี้ เราจะแนะนำการปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งผักที่เราจะแนะนำนี้ นอกจากจะปลูกไว้กินเองแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับเราได้อีกด้วย นั่นก็คือ การเพาะ “ทานตะวันงอก” นั่นเอง

สำหรับการปลูกทานตะวันงอก อุปกรณ์ประกอบด้วย

เมล็ดพันธุ์ทานตะวัน ซึ่งมีหลายพันธุ์ให้เลือก สามารถหาซื้อได้จากร้านอาหารสัตว์ หรือซื้อตามอินเตอร์เน็ตก็ได้
ถาดเพาะ-กะละมัง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าจะใส่ดินแล้วระบายน้ำออกไปได้ ใช้ถาดจากร้านทุกอย่าง 20 ก็ได้ การเลือกถาดเพาะ หรือกะละมังนี่ ถ้าปลูกหลายถาด หรือหลายกะละมัง ควรซื้อแบบเดียวกัน เพราะเวลาเอามาซ้อนกันมันจะได้ซ้อนได้
ผ้าขนหนูที่ไม่ใช้แล้ว 1 ผืน เอาไว้บ่มเมล็ดทานตะวัน
กะละมังสำหรับแช่เมล็ดทานตะวัน
ดินปลูกสำเร็จรูป หรือจะทำเองก็ได้ ส่วนผสมก็มี ดิน แกลบดำ ปุ๋ยคอก ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน เพราะว่าละเอียดกว่าปุ๋ยคอก และไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นๆ ขึ้นมารบกวนในภายหลัง

เอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำไว้สัก 6-12 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ก็แช่ตอนกลางวัน ตกเย็นเลิกงานก็มาบ่มเมล็ดพันธุ์ต่อ จากนั้นก็เอาเมล็ดพันธุ์ออกมาสะเด็ดน้ำ แล้วห่อด้วยผ้าขนหนู บ่มเมล็ดเอาไว้ให้รากงอก ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ถึง 1 คืน สำหรับการแช่และบ่ม ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศด้วย ถ้าอากาศร้อนๆ อบอ้าว รากจะงอกไวนิดหนึ่ง อาจจะ 6-8 ชั่วโมง ก็สามารถเอาออกมาใส่ถาดเพาะได้

สำหรับถาดเพาะ ใส่ดินประมาณนิ้วหนึ่งก็พอ จากนั้นก็เอาเมล็ดพันธุ์ที่บ่มจนรากงอกออกมาแล้วมาโรยไว้ให้ทั่ว เอาถาดเพาะซ้อนๆ กันไว้ ไม่ต้องกลัวว่าทานตะวันงอกจะเป็นแผลกดทับหรือหักงอ เสร็จแล้วก็หาผ้าสีทึบๆ คลุมเอาไว้สัก 1 คืน ตอนเช้าก็เอาออกมารดน้ำปกติค่ะ การเอาถาดกดเมล็ดพันธุ์เอาไว้จะช่วยให้รากมันไชลงดิน ไม่ดันขึ้นมาด้านบน

พอรากไชลงดินแล้ว ต้นก็จะเริ่มงอกขึ้นมา เราก็เอาถาดมาวางเรียง หรือวางไว้บนชั้นก็ได้ แต่ไม่ต้องให้โดนแสงแดด แล้วก็รดน้ำเช้า-เย็น วิธีรดน้ำนี่ใช้กระบอกฉีดพ่นน้ำให้เป็นละออง เพราะถ้าเอาสายยางฉีดมันจะแรงไป ต้นอาจจะหัก หรือดินกระเซ็นมาใส่ใบทานตะวันได้ ช่วงนี้ใบทานตะวันจะเป็นสีเหลืองๆ ไม่ต้องตกใจ การไม่ให้ต้นอ่อนโดนแสงจะเป็นวิธีเร่งให้ต้นอ่อนยืดตัวขึ้นหาแสง ประมาณสักวันที่ 6 เรายกถาดออกไปให้รับแสง ทีนี้ใบก็จะเป็นสีเขียวสวยงาม สามารถตัดกิน หรือตัดขายได้ วิธีการตัด ก็ใช้มีดคมๆ ตัดแต่เบามือ (สำหรับคนที่จะเอาไปขาย) ส่วนตัดกินเอง ถ้าไม่ซีเรียสว่าต้องสวยงาม ก็ตัดตามสบาย การแช่และบ่มเมล็ดพันธุ์ในตอนแรก จะช่วยให้เบาแรงตอนเก็บเกี่ยว เพราะเราต้องเก็บเปลือกเมล็ดพันธุ์ออกจากใบเลี้ยงด้วย ไม่งั้นเก็บเปลือกกันเหนื่อยเลย

สำหรับวิธีเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เราสามารถดัดแปลงไปเพาะต้นอ่อนผักบุ้งงอก หรือผักชนิดอื่นๆ ก็ได้ เพียงแต่ตัดส่วนของการบ่มเมล็ดพันธุ์ออกเท่านั้น 9 ปี ติดต่อกันแล้ว ที่เกษตรกรตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดงาน “วันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน” ขึ้น

ปี 2563 จะเป็นปีที่ 10 แม้งานจะจัดครบทศวรรษก็ตาม แต่ “เห็ดตับเต่า” ไฮไลต์ของงาน ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพียง 10 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่เป็นพืชที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติรังสรรค์ให้เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เป็นเห็ดในรูปแบบที่เพาะได้เช่นเดียวกับเห็ดอื่น

หลายชื่อที่ใช้เรียก เห็ดตับเต่า เช่น เห็ดตับเต่าดำ เห็ดเอ็กโตไมคอร์ไรซ่า ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์ แต่ที่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกและเป็นที่รู้จัก คือ เห็ดตับเต่า

เคยได้ยินจากเนื้อเพลง พูดถึงเห็ดตับเต่าว่าขึ้นริมเถาย่านาง แท้จริงแล้ว เห็ดตับเต่า สามารถขึ้นได้ดีที่โคนต้นโสน อาศัยเกื้อกูลรากของต้นโสนในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะโสนกินดอก มะกอกน้ำ ไทร ยูคาลิปตัส กระถินเทพา และป่าเต็งรัง รวมถึงยังขึ้นได้ดีและอาศัยอยู่ร่วมกับพืชตระกูลถั่วหลายสกุล แต่ทั้งนี้ บริเวณลุ่มน้ำในเขตตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีต้นโสนเป็นพืชประจำถิ่นขึ้นอยู่ค่อนข้างมาก จึงเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมเกิดเห็ดตับเต่าตามธรรมชาติจำนวนมาก

ที่ผ่านมา มีผู้พบเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วน พบว่า ปริมาณเห็ดตับเต่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มากกว่าแหล่งอื่น หากจะบอกว่าตำบลสามเรือน เป็นพื้นที่ที่พบเห็ดตับเต่ามากที่สุดของภาคกลาง ทั้งยังมีความสมบูรณ์ในดอกเห็ดมากที่สุด ก็ไม่ผิด

คุณภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มองการอนุรักษ์และส่งเสริมธุรกิจเกษตรเห็ดตับเต่า เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของการพัฒนาภาคเกษตรกรรม เนื่องด้วย เห็ดตับเต่าเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างมาก แม้จะเก็บเห็ดตับเต่าจำหน่ายได้ปีละครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนของทุกปี

“เห็ดตับเต่ามีลักษณะดอกขนาดใหญ่ หมวกเห็ดมน ผิวมัน เนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข้ม ก้านโคนใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม มีขึ้นตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ตลอดแนวที่ลุ่มริมคลองโพธิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เห็ดชนิดนี้จะมีขายและมีให้ซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น เมื่อเริ่มมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา เห็ดตับเต่า จะทิ้งสปอร์ไว้ใต้ดินที่มีความชื้นเย็นสูง เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง”

เห็ดตับเต่า พบมากในพื้นที่ตำบลสามเรือน เกษตรกรผู้เพาะเห็ดตับเต่าประมาณ 250 ราย พื้นที่เพาะเห็ดตับเต่าประมาณ 250 ไร่ และยังพบอีกบางส่วนในพื้นที่ตำบลบ้านช้าง อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษตรกรผู้เพาะเห็ดตับเต่าประมาณ 27 ราย พื้นที่ในการเพาะเห็ดตับเต่า ประมาณ 20 ไร่ รวมพื้นที่พบเห็ดตับเต่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 270 ไร่ มีเกษตรกรที่ดูแลพื้นที่จำนวน 277 ราย และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร สามารถเรียกเห็ดตับเต่าว่า เป็นพืชเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้ เพราะรายได้จากการจำหน่ายเห็ดตับเต่า เฉลี่ยผลผลิตที่สามารถเก็บจำหน่ายได้วันละประมาณ 1,000 กิโลกรัม หากคิดราคากิโลกรัมละ 120-150 บาท เป็นระยะเวลา 4 เดือน จะทำให้เกษตรกรมีเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 14,000,000 บาท

ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 495,000 กิโลกรัม ต่อ 275 ไร่

แบ่งจำหน่ายสด 198,000 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายผลสดหน้าแปลง กิโลกรัมละ 70-90 บาท ต่อกิโลกรัม มูลค่าการซื้อขาย 13.8 ล้านบาท ต่อปี

แปรรูป จำหน่ายตลอดปี 297,000 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายแปรรูป กิโลกรัมละ 100-120 บาท ต่อกิโลกรัม มูลค่าการซื้อขาย 27.9 ล้านบาท ต่อปี

รวมมูลค่าเห็ดตับเต่าต่อปี 41.76 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บอกด้วยว่า การเห็นควรให้มีการอนุรักษ์ ส่งเสริม ให้ความสำคัญในการพัฒนาเห็ดตับเต่าให้มีผลผลิตมากขึ้น ไม่ใช่เพียงมองเห็นในรูปของธุรกิจเกษตร แต่เล็งเห็นถึงแนวทางของการอนุรักษ์เห็ดตับเต่า ให้เป็นพืชพื้นถิ่นที่มีคุณค่าและสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ทั้งนี้ แนวคิดในการอนุรักษ์มุ่งเน้นไปที่วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1. สร้างการรับรู้ของบุคคลภายนอกพื้นที่ทราบว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเห็ดตับเต่าที่คุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย

2. การทำความเข้าใจหรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเอง ให้มีองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดตับเต่าเป็นอาชีพเสริม หากประสบความสำเร็จก็สามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ และ 3. การสร้างความรับรู้ในเรื่องของคุณค่าทางอาหารสูงในเห็ดตับเต่า ที่มองว่าสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด รสชาติและเนื้อของเห็ดตับเต่า มีความคล้ายกับ “เห็ดทรัฟเฟิล” ของฝรั่งเศส ที่มีราคาแพงถึงกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท ทั้งยังเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ เพราะขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงเห็นว่าควรทดลองประกอบอาหารให้เกิดเมนูซิกเนเจอร์ สามารถรับประทานได้เฉพาะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น

เพราะสามารถเก็บจำหน่ายได้เพียง 4 เดือน ต่อปี และมีเอกลักษณ์ในรสชาติที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ความต้องการเห็ดตับเต่าในท้องตลาดสูง แนวคิดอนุรักษ์และต่อยอด ให้มีการเพาะเห็ดตับเต่าได้นอกฤดูกาลจึงเกิดขึ้น

คุณภานุ ให้ข้อมูลว่า มีการเก็บข้อมูลเพื่อวิจัยในพื้นที่ระหว่างสถานศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ ร่วมกับชุมชนวิจัยเรื่องการเพาะเห็ดตับเต่าในชุมชนพบว่า การวิจัยและพัฒนา “เชื้อเห็ดตับเต่า” ซึ่งปกติแล้ว เห็ดตับเต่าไม่สามารถเพาะเลี้ยงนอกสภาวะธรรมชาติได้ เนื่องจากต้องอาศัยอยู่กับรากไม้ เช่น โสน แต่นักวิจัยของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สามารถจำลองสภาวะธรรมชาติเพื่อการเพาะเห็ดได้แล้ว โดยได้พัฒนาเทคนิคการผลิตหัวเชื้อเห็ดตับเต่าหลายรูปแบบ ทั้งแบบก้อนเดี่ยวและก้อนเค้ก

ที่มีส่วนประกอบของมันฝรั่ง ปุ๋ย และดิน รวมทั้งพัฒนากระบวนการเพาะเลี้ยงเห็ดที่เหมาะกับหัวเชื้อแต่ละแบบด้วย และหลังจากได้นำหัวเชื้อเห็ดตับเต่าไปเพาะในแปลงโสนของเกษตรกรที่บ้านสามเรือนแล้ว พบว่า เห็ดตับเต่าเจริญเติบโตได้ดีมากในแปลงที่ดินมีธาตุอาหารสูงและมีความเป็นกรดสูง เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดตับเต่าได้มากถึง 2,500 กิโลกรัมในพื้นที่ 10 ไร่ ขายได้ราคากิโลกรัมละ 80-150 บาท องค์ความรู้เหล่านี้นอกจากจะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นโมเดลสำหรับการเพาะเห็ดตับเต่าในพื้นที่อื่นได้ด้วย

“เห็ดตับเต่าจะขึ้นตามธรรมชาติ เฉพาะในพื้นที่ลุ่มริมคลอง และต้องขึ้นปะปนอยู่ในป่าโสนเท่านั้น เห็ดตับเต่าชอบขึ้นตามที่ลุ่ม ปะปะกับต้นโสนที่มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาพอสมควร เริ่มด้วยการเก็บเผาวัชพืชตามพื้นที่ลุ่มริมคลองก่อน จากนั้นจะติดตั้งสปริงเกลอร์ให้น้ำสร้างความชื้น เพื่อให้เมล็ดต้นโสนที่จมฝังตามพื้นดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ งอกเจริญเติบโตเป็นป่าโสน เมื่อต้นโสนมีอายุประมาณ 1 เดือนเศษ จะมีความสูงท่วมหัว เป็นช่วงจังหวะที่ชาวบ้านจะเข้าทำความสะอาดกำจัดวัชพืชใต้ต้นโสน ด้วยวิธีการถอนหรือถากถางเท่านั้น จะไม่ใช้สารเคมี รอฝนตกลงมาสร้างความชื้นให้เห็ดเจริญเติบโต รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อรดน้ำต่อเนื่อง 10-15 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มแทงดอกขึ้นจากดิน การออกดอกเห็ดจะเร็วหรือช้าขึ้นกับความชื้นในดิน ถ้าดินแห้งเห็ดก็จะไม่ออกดอกเลย ห้ามใช้สารกำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะเห็ดจะไม่ออกดอกเลยและมีผลต่อเนื่องอยู่นาน”

นอกเหนือจากการอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดให้มีการเพาะเห็ดตับเต่านอกฤดู ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล็งเห็นความสำคัญถึงการแปรรูปเห็ดตับเต่า เพราะทราบดีว่า การแปรรูปจะช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้ดี

เกษตรกรผู้เพาะเห็ดตับเต่าเอง ได้รวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปเห็ดตับเต่าไว้หลายชนิด โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยสุวรรณภูมิ ส่งเสริมรูปแบบการแปรรูปให้มีความหลากหลาย เช่น การบรรจุในภาชนะปิดสนิทในน้ำเกลือ ซึ่งสามารถเก็บได้ 1 ปี โดยไม่เสีย การแช่แข็ง การตากแห้ง เป็นต้น

การแปรรูป สามารถทำได้หลายแบบ เช่น น้ำพริกเผาเห็ดตับเต่าสามารถใช้เห็ดตับเต่าได้ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนผสมทั้งหมด การทำเห็ดสวรรค์หรือเห็ดสามรส หรือเห็ดอบกรอบปรุงรส สามารถใช้เห็ดตับเต่าและเห็ดนางฟ้าได้ในปริมาณ 50 : 50 การทำหมูยอ โดยใช้เห็ดตับเต่าแทนที่เนื้อหมู สามารถใช้ได้ในปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณเนื้อหมูและเมื่อเพิ่มปริมาณเห็ดตับเต่าปริมาณเยื่อใยหยาบของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณไขมันลดลง และการใช้เห็ดตับเต่าเสริมลงในบะหมี่ในระดับ 9.89 เปอร์เซ็นต์ ผู้บริโภคให้การยอมรับไม่แตกต่างจากการใช้แป้งสาลีแต่เพียงอย่างเดียว เห็ดตับเต่ามีศักยภาพที่จะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เพื่อช่วยให้เก็บรักษาไว้ได้นานนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว และสามารถบริโภคได้ตลอดทั้งปี

เมื่อเล็งเห็นความสำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมัครเว็บสล็อต จึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเห็ดตับเต่าในพื้นที่ขึ้น และให้ความสำคัญกับการพัฒนาในเรื่องขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเห็ดตับเต่า เพื่อให้ชุมชน เยาวชน หรือผู้มาเยี่ยมชม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ดตับเต่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถจะนำมาพัฒนาได้ ตลอดจนการแปรรูปเห็ดตับเต่า ที่ชาวบ้านยังไม่ทราบถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จึงให้เชฟที่มีความชำนาญศึกษาเรื่องของการนำเห็ดตับเต่าไปประกอบอาหาร เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นในระดับจังหวัด และต่อเนื่องไปถึงระดับประเทศ

นอกจากนี้ เห็ดตับเต่า จะเป็นตัวชูโรงให้เกิดการท่องเที่ยวในตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มากขึ้น จึงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้รองรับ ให้มีที่พักเชิงนิเวศ มีการทำประมงตามวิถีพื้นถิ่นดั้งเดิม ทั้งนี้ ยังเป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงจัดให้มีงานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ครั้งที่ 10 ขึ้น บริเวณตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดนิทรรศการและเทคโนโลยี เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร นำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในแปลงเห็ดตับเต่า ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจมีความเข้มแข็ง เผยแพร่ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับบุคคลภายนอกให้รับรู้ มีการฝึกอบรมให้กับเกษตรกรเพื่อนำไปพัฒนาอาชีพการเกษตรให้ดีขึ้น ทั้งยังส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจจะได้ชมสวนเห็ดตับเต่าที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด

วันที่ 25-26 กรกฎาคม 2563 พบกันที่ งานวันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน