ไอเดียสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าจากกะปิ ทุเรียนชะนีเกาะช้างสู่ไอศกรีม

ทุเรียนชะนีเกาะช้าง คุณมานพ เจ้าของสวนคีรีบัญชร บ้านด่านใหม่ ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด วัย 50 ปี ด้วยพื้นเพครอบครัวเป็นชาวสวน บ้านเกิดอยู่ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ก็ทำงานที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และย้ายมาทำงานสาขาที่อำเภอเขาสมิง และสาขาอำเภอเกาะช้างในปัจจุบัน ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ในธนาคารได้สัมผัสกับเกษตรกรชาวสวน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องมากู้หนี้ยืมสิน จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจให้เกษตรกร ชาวสวน ชาวประมง หรือชาวบ้านทั่วๆ ไป มีวิธีการที่จะอยู่อย่างเท่าเทียมกับอาชีพอื่นๆ ในสังคม ที่ผ่านมาได้ค้นหาเอกลักษณ์ของดีจังหวัดตราด และได้ส่งเสริมต่อยอดอาชีพชาวบ้านให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (เรื่องราวนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้เคยนำเสนอไปแล้ว ทั้งเรื่องกะปิเกาะช้าง และทุเรียนชะนีเกาะช้าง)

ตัวอย่าง ปี 2554 เป็น ผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาเขาสมิง ได้ส่งเสริมให้ผลิตกะปิเกาะช้างในรูปของแพ็กเกจจิ้งซองสุญญากาศ ขนาด 25 กรัม เพื่อพกพาเป็นของฝากไปต่างประเทศ เพิ่มมูลค่ากะปิเกาะช้างจากกิโลกรัมละ 100-150 บาท เป็น 400 บาท

ปี 2555 ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สนับสนุนให้มีการประมูลทุเรียนชะนีเกาะช้าง ทำให้ทุเรียนชะนีเกาะช้าง กิโลกรัมละ 40-50 บาท ราคาเพิ่มขึ้นมาเป็น กิโลกรัมละ 90-100 บาท และล่าสุด ปี 2559-2560 ร่วมมือกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตราด ซื้อทุเรียนชะนีเกาะช้างคุณภาพจากชาวสวนได้ราคาเพิ่มขึ้น กิโลกรัมละ 150-250 บาท ส่งถึงบ้าน

“เกาะช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียง ด้านตะวันตกมีหาดทรายสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำรายได้สูง ขณะที่ด้านตะวันออกสภาพดินดี อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านพื้นเพเป็นชาวสวน มีสวนมะพร้าว ส้มโอ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง เปรียบเสมือนเป็นครัวของเกาะช้างเ แต่ชาวบ้านกลับมีรายได้น้อยมากประมาณปีละ 120,000 บาท บางรายต้องกู้หนี้ยืมสิน

ขณะที่ราคาที่ดินกลับแพงขึ้นเรื่อยๆ เกรงว่าในอนาคตชาวบ้านที่ทำสวนจะถอดใจขายที่ดิน จึงพยายามที่จะหาวิธีรักษาอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านไว้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลเพื่อให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ปีละ 200,000-300,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นอาชีพประมง ที่แปรรูป กะปิเกาะช้าง หรือ ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ที่ได้รับการตอบรับดีมาก ต่อไป ปี 2560 คือการพัฒนาแปรรูปเพิ่มมูลค่าทุเรียนชะนีเกาะช้าง เป็นทุเรียนกวน ไอศกรีมทุเรียนชะนีเกาะช้าง และการเปิดตัวโครงการใหม่ “โครงการตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน” สร้างแบรนด์พืชผักสวนครัวเกาะช้างที่เป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ 100% สู่ตลาดผู้บริโภค” คุณมานพ กล่าวถึงไอเดีย

ไอศกรีมทุเรียน ทุเรียนกวนชะนีเกาะช้าง สร้างมูลค่าเพิ่มและมีกินตลอดปี

คุณมานพ กล่าวถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุเรียนอินทรีย์ชะนีเกาะช้างว่า ปัญหาทุเรียนบนเกาะช้างต้นสูงเก็บลำบาก หาแรงงานยาก หากไม่ให้เหมาล่วงหน้าช่วงที่ได้ราคาดี เช่น กิโลกรัมละ 80-90 บาท เมื่อชาวสวนจะเก็บไว้ตัดเองจะต้องรับความเสี่ยง ตอนนั้นทุเรียนอาจจะมีปริมาณมาก ไม่ได้ราคาสูงตามที่เหมา หากชาวสวนตัดทุเรียนเองให้แก่จัด 90% เนื้อทุเรียนจะเนียน อร่อย ถ้าแช่แข็งไว้ สามารถนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าจำหน่ายได้ทั้งปี โดยการสร้างแบรนด์ของทุเรียนชะนีเกาะช้าง เช่น ทำไอศกรีม ทุเรียนกวน หรืออาจจะทำเป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์ จะได้รสชาติอร่อย และที่สำคัญเป็นทุเรียนอินทรีย์ 100%

“งานเทศกาลผลไม้และของดีเกาะช้าง ปีนี้จัดช่วงระยะเวลายาว ระหว่าง วันที่ 15 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2560 ณ หน้าที่ว่าการอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้ซื้อหา ลิ้มลองรสชาติทุเรียนชะนีเกาะช้างอย่างจุใจ ทั้งผลสดๆ และแปรรูปทุเรียนกวน จะมีการเปิดตลาดไอศกรีมทุเรียนชะนีเกาะช้างเป็นครั้งแรก งานนี้สามารถเลือกซื้อสินค้าของดีอื่นๆ ของเกาะช้างได้ เช่น อาหารทะเลแปรรูป กะปิ น้ำปลา น้ำเคย ผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปของเกาะช้าง รวมทั้งพืชผักปลอดสารพิษ” คุณมานพ กล่าว

โครงการตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน ส่งเสริมการผลิต การตลาด

คุณมานพ เล่าให้ฟังว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้เปิด “โครงการตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน” ที่บริเวณด้านข้างของที่ทำการ ธ.ก.ส. สาขาเกาะช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง ด้านฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นเส้นทางผ่านไปแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของเกาะช้าง เพื่อเปิดพื้นที่สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาทางด้านการตลาดกับเกษตรกร การสร้างอาชีพเสริม อาชีพใหม่ๆ กับเกษตรกร รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการสอนให้ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย รวมทั้งการนำของดีในพื้นที่เกาะช้างมาพัฒนาให้ได้คุณภาพมาตรฐานและนำมาจำหน่ายในพื้นที่ตลาดประชารัฐเพื่อชุมชนแห่งนี้ ให้กับประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว อาทิ ผักปลอดสารพิษ ผลไม้ ข้าวสาร ไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหารทะเล กะปิ น้ำปลา สินค้าโอท็อป

“ได้เปิดสอนให้ชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปแล้ว มีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เกษตรกรภูมิปัญญาในจังหวัดตราดให้คำแนะนำปลูกมะนาว มะกรูด พริกขี้หนู มะเขือยาว มะเขือเทศ กระเจี๊ยบ กระวาน ผักบุ้ง การปลูกจะใช้วิธีปลูกผักในถุง ในตะกร้า แบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นแบบอย่างไปปฏิบัติในครัวเรือนและบริการลูกค้าที่พักโฮมสเตย์ของชาวบ้าน หรือนำมาฝากขายข้างๆ ตลาดประชารัฐจะมีร้านอาหารบริเวณใกล้เคียงนำไปปรุงอาหารสดๆ บริการลูกค้า โครงการต่อไปจะเปิดอบรมกลุ่มผู้สูงอายุทำน้ำปั่นผักเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัย 100% ให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษและรู้จักที่จะดูแลสุขภาพตัวเอง การส่งเสริมพัฒนาอาชีพเสริมดังกล่าว เป้าหมายคือ การสร้างสุขภาพที่ดี ทั้งกาย ใจ ให้กับลูกค้าของ ธ.ก.ส. มีอยู่ 800 ราย รวมกับชาวบ้านบนเกาะช้าง จากนั้นการเงินรายได้จะตามมาเอง เพราะเชื่อว่าทุกคนมีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว” ผู้จัดการ มานพ กล่าวทิ้งท้าย

กล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งปลูกแล้วยังดูแลรักษาง่าย สามารถให้ผลผลิตเร็ว พร้อมกับเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดค้าขายยังมีความคล่องตัวสูงทั้งภายในประเทศและส่งออก ฉะนั้น กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าในลักษณะพืชหลักหรือแซมพืชอื่นเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ทางด้านเศรษฐกิจกล้วยที่มีความสำคัญแล้วสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นหลักคือกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอม จึงทำให้ชาวบ้านหลายพื้นที่ของประเทศนิยมปลูกกล้วยทั้งสองชนิดกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ คุณภาพกล้วยจะต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ แต่หากพื้นที่ใดพบข้อจำกัดการปลูกก็จะมีการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภูมิประเทศ แม้จะพบกับปัญหา/อุปสรรคนานัปการก็ตาม

ขณะเดียวกัน ชาวบ้านยังพัฒนาแนวคิดในเชิงการตลาดด้วยการรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านการปลูกเพื่อให้ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นำมาสู่รายได้จำนวนมาก

การสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า” ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน ช่วงแรกเป็นเนื้อหาการบรรยายในประเด็น “ผลิตกล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า ให้ได้ผลผลิตดี เป็นที่ต้องการของตลาด” โดยท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับประสบการณ์การปลูกกล้วย การดูแลรักษา รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวส่งขายจากทีมวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์ตรง ได้แก่

คุณคมกฤช สุขกุล นักส่งเสริม นักวิชาการ และนักการตลาด ทั้งยังปลูกกล้วยน้ำว้าทางภาคอีสาน คุณสมยศ คำเพ็ง เกษตรกรรุ่นใหม่ กับเทคนิคง่ายๆ เพื่อทำกล้วยหอมทองส่งขายต่างประเทศ

อาจารย์พัชนี ตุษยะเดช เจ้าของแปลงกล้วยน้ำว้ายักษ์

คุณวิไล ประกอบบุญกุล ปลูกกล้วยหอมที่ปทุมธานีมานานกว่า 30 ปี

โดยมี อาจารย์ถวิล สุวรรณมณี ดำเนินรายการ สำหรับวิทยากรท่านแรกคือ คุณคมกฤช สุขกุล เป็นผู้ที่ทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชผสมผสานแล้วประสบความสำเร็จอย่างดี รวมถึงกล้วยพันธุ์ที่ปลูกคือ น้ำว้าปากช่อง 50 ขณะเดียวกัน ได้นำข้อมูลจริงมาถ่ายทอด แล้วส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่พัฒนาการปลูกกล้วยเพื่อให้มีคุณภาพอย่างสมบูรณ์เต็มที่

ทำไมคุณคมกฤชจึงเลือกปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 เพราะเขามองว่ากล้วยน้ำว้าเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ปัจจุบัน ผลผลิตกล้วยน้ำว้ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของการบริโภค อีกทั้งตลาดมีความต้องการกล้วยเพิ่มขึ้นทุกปี

คุณคมกฤช กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงานสัมมนาในคราวนี้และยินดีที่จะถ่ายทอดประสบการณ์จากการที่ได้ไปส่งเสริมการปลูกกล้วยน้ำว้าในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง คือทางจังหวัดอำนาจเจริญ ตลอดจนบางส่วนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

ต้องบอกก่อนว่าตัวเองเริ่มต้นเรื่องกล้วยจากการมีข้อมูลที่น้อยมาก เนื่องจากเรียนจบด้านประมง แต่มีความจำเป็นต้องเข้ามาทำงานเรื่องผลไม้ แต่อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่ปัญหาถ้าให้ความใส่ใจเต็มที่ ไปพร้อมกับการศึกษาหาความรู้ ตลอดจนไปอบรมหลายแห่ง แม้กระทั่งที่ศูนย์วิจัยปากช่อง

สำหรับพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญที่ได้เข้าไปดูแลเป็นสวนของกลุ่มเอกชน โดยพยายามผลักดันให้ชาวบ้านมีแนวคิดใหม่ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตพืช เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องการให้ชาวบ้านหันมาสนใจปลูกกล้วยแทนพืชไร่บางชนิดเพราะนับวันพืชไร่จะประสบปัญหาด้านราคาอย่างต่อเนื่อง

อาจเป็นเพราะความเคยชินที่ชาวบ้านมักทำเกษตรกรรมแบบเดิมด้วยการปลูกให้เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ได้มีการดูแลบำรุงต้นจึงทำให้ประสบปัญหาความเสียหาย อีกทั้งยังต้องการปลูกฝังแนวคิดเพื่อให้เกษตรกรสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง จนถึงวันนี้ชาวบ้านสามารถทำได้แล้ว

พอได้เข้าไปช่วยก็จะแนะนำวิธีปลูก เทคนิคการปลูก การดูแล การเก็บผลผลิตที่ถูกต้อง รวมถึงช่วยวางแผนการตลาดด้วย ทั้งนี้ ในระยะแรกดูเหมือนชาวบ้านยังขาดความเชื่อมั่นและไม่มั่นใจสักเท่าไร กระทั่งพอผ่านไปช่วงหนึ่งมีชาวบ้านที่ร่วมมือประสบความสำเร็จตามแนวทางที่แนะนำ จากนั้นจึงมีชาวบ้านต่างทยอยเข้ามาร่วมกลุ่มกันเพิ่มมากขึ้น

แต่ต้องบอกก่อนว่าผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้ได้จำนวนกล้วยตามมาตรฐาน 14-15 หวี ต่อเครือ เพราะบางรายก็ได้จำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับความสามารถของชาวบ้าน แต่สิ่งที่มุ่งเน้นคือความต้องการให้ชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ให้ได้ทุกคน ด้วยตัวเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังนั้น การที่เราแนะหลักคิดและเทคนิคแล้วให้ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาของตัวเองมาผสมกันจึงทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างดี

สำหรับพันธุ์กล้วยที่นำมาใช้คือกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ซึ่งผลจากการทดลองปลูกชุดแรกปรากฏว่าเป็นไปด้วยดี ตั้งแต่เริ่มปลูก การดูแลในระยะ 6 เดือน การแทงหน่อและปลี ก็ได้ผลดีมากในจังหวัดอำนาจเจริญ

คุณคมกฤช กล่าวต่ออีกว่า สำหรับพื้นที่ทางภาคอีสานตอนใต้ที่ได้สำรวจตลาดกล้วย ไม่ว่าจะเป็นที่อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ พบว่ามีความต้องการกล้วยน้ำว้าอีกมากถึงสูง และสวนกล้วยที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดดังกล่าวก็มีผลผลิตไม่พอเพียง เพราะบางส่วนยังต้องสั่งมาจากทางจังหวัดเลย

ขณะเดียวกัน ที่เลยราคากล้วยหน้าสวนก็ขยับราคาไปถึงหวีละ 18 บาท เมื่อถึงมือพ่อค้าเป็นราคา 20 บาท ต่อหวี แล้วพ่อค้ารับไปส่งอีกต่อในราคาหวีละ 25 บาท จนไปถึงมือคนบริโภคจะเป็นราคาหวีละ 35-40 บาท

“สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงเพราะถ้าปริมาณกล้วยมีน้อยเกินไปหรือขาดแคลนจะทำให้กล้วยทางเวียดนามและลาวเข้ามาในตลาดบ้านเรา เพราะขณะนี้พบเห็นแถวจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ซึ่งพื้นที่แถบนั้นส่วนใหญ่แปรรูปกล้วยมะลิอ่อง แล้วตัวผมเองได้เดินทางไปดูที่แหล่งปลูกพบว่ายังปลูกแบบธรรมชาติ”

ดังนั้น ถ้าเขามีการปรับปรุงวิธีปลูกให้เป็นระบบอาจส่งผลกระทบกับกล้วยของบ้านเราอย่างแน่นอน ทั้งนี้ กล้วยที่มาจากเวียดนามและลาวจะซื้อ-ขายกันเป็นกิโลกรัม ตกราคากิโลกรัมละ 8 บาท โดยขายกันแบบยกเครือแล้วส่งผ่านเข้ามาทางชายแดนโดยปลอดภาษี

ด้วยเหตุนี้ในฐานะที่เป็นนักส่งเสริมจึงต้องการให้เกษตรกรมีการรวมตัวกัน ทั้งนี้ แต่ละรายอาจมีเนื้อที่เพียงรายละ 5-10 ไร่ก็พอ เพียงแต่ต้องการให้รวมตัวอย่างเข้มแข็ง

ท้ายนี้คุณคมกฤชฝากถึงเกษตรกรรายใหม่และเก่าในเรื่องการหาซื้อหน่อกล้วยว่า ต้องระวังการหลอกขายหน่อที่ไม่มีคุณภาพ เพราะไปคิดว่าราคาถูกเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหน่อเหล่านั้นไม่ได้ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อมาก่อน แล้วเมื่อซื้อมาปลูกกว่าจะรู้ว่าถูกหลอกก็ต้องเสียเวลาไปหลายเดือน เสียเงินทองอีก พอปลูกไม่ได้ผลก็ไปโทษปัจจัยอย่างอื่น ซึ่งที่แท้จริงแล้วต้นเหตุมาจากหน่อที่ไม่มีคุณภาพนั่นเอง

สอบถามรายละเอียดการปลูก การดูแล หรือต้องการผลผลิต ตลอดจนพันธุ์กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ติดต่อคุณคมกฤช สุขกุล โทร. (093) 327-1949

ใครๆ ก็รู้ว่า มะนาวนอกฤดู ขายได้ราคาดีกว่ามะนาวตามฤดูกาล เกษตรกรจำนวนมากจึงมุ่งเป้าผลิตมะนาวนอกฤดู ในวงบ่อซีเมนต์ ซึ่งจะได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการปลูกดูแลของเกษตรกรแต่ละราย

ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แนะเทคนิค “ การบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดู “ โดยใช้สารแพคโคลบิวทราโซลและวิธีการควั่นกิ่ง หากใครสนใจเทคนิคนี้ สามารถนำไปปฎิบัติได้ไม่ยาก เริ่มจากบำรุงต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน เพราะสารแพคโคลบิวทราโซลมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน เมื่อมะนาวมีการสร้างฮฮร์โมนฯ น้อยก็จะเกิดการสะสมอาหารมากขึ้น มีการแตกใบอ่อนน้อยลง

การใช้สารแพคโคลบิวทราโซลอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปลิดผลเล็กๆ ออก โดยการตัดแต่งกิ่ง ถ้ามีผลให้เหลือเฉพาะผลใหญ่ไว้รอจำหน่าย ส่วนผลเล็กๆ ให้เอาออกให้หมด ตัดแต่งกิ่งโดยตัดปลายยอดออก และกิ่งที่อยู่ตรงกลางทรงพุ่มและโคนต้นออกให้หมด ผลที่เหลืออยู่นี้อาจไว้ขายหรือเก็บไว้ใช้บ้างในครัวเรือน ให้ปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา ต้นละ 300 กรัม และปุ๋ยคอก ต้นละ 1 ปุ้งกี๊ เพื่อกระตุ้นใบชุดใหม่ออกมา และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ทั้ง 2 เดือนนี้ควรให้มีการแตกใบอย่างน้อย 2 ชุด โรคและแมลงที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ หนอนชอนใบ หนอนแก้วส้ม แมลงค่อมทอง โรคแคงเกอร์ เป็นต้น

เดือนกันยายน จะมีใบชุดใหม่ ควรเริ่มใบเพสลาดหรือเริ่มแก่ ให้ราดสารแพคโคลบิวทราโซล อัตรา 5-10 กรัม ต่อต้น (ทรงพุ่มกว้าง 1 เมตร ใช้สาร 5 กรัม ต่อต้น) โดยการขุดบริเวณโคนต้นลึกประมาณ 1-2 นิ้ว หลังจากนั้นละลายสารแพคโคลบิวทราโซลตามที่กำหนด ละลายน้ำ 1 ลิตร รดบริเวณโคนต้น แล้วรดน้ำตามหมาดๆ หรือพอชื้นทุกวันหรือวันเว้นวัน ถ้ามีฝนตกหนักต้องราดสารซ้ำตามทันที อย่างไรก็ตาม ระยะนี้มีฝนตกแต่ก็มีระยะที่ฝนทิ้งช่วงอยู่บ้าง ให้อาศัยช่วงที่ฝนทิ้งช่วง อย่างน้อย 10 วัน หลังจากราดสาร จะได้ผลดีที่สุด เมื่อราดสารแพคโคลบิวทราโซล ได้ 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 หรือ 12-24-12 อัตรา ต้นละ 300 กรัม (ขึ้นอยู่กับทรงพุ่มและอายุของต้น สำหรับอัตราที่แนะนำนี้สำหรับต้นมะนาวที่มีทรงพุ่ม 1.5 เมตร หรือ อายุ 2 ปี) เพื่อให้ใบสะสมอาหารและป้องกันการเกิดยอดใหม่

สำหรับเกษตรกรที่ไม่ต้องการราดสารแพคโคลบิวทราโซล ให้ควั่นกิ่งแก่ โดยการใช้เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยตัดแต่งกิ่งขนาดเล็กที่มีความหนาของใบเลื่อยไม่เกิน 1-1.5 มิลลิเมตร เลื่อยกิ่งเกือบรอบกิ่ง ความลึกประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือเมื่อเห็นเนื้อไม้สีขาวๆ ติดมากับใบเลื่อยอย่าควั่นรอบกิ่ง เพื่อป้องกันการตายอันเนื่องมาจากการควั่นกิ่ง หลังจากนั้นให้คอยหมั่นตรวจดูรอยควั่นว่ามีการเชื่อมประสานกันหรือยัง ถ้ามีการเชื่อมเร็วให้ควั่นซ้ำ หรือถ้าไม่มีเวลาให้ใช้ลวด เบอร์ 16 มัด ตามรอยควั่นไว้ประมาณ 45 วัน แล้วจึงเอาลวดออก ให้สังเกตว่ายอดหรือตาของมะนาวจะบวมเป่ง เริ่มให้น้ำน้อยๆ หรือพ่นอาหารเสริมจำพวกสาหร่ายทะเล สูตรเร่งดอก ก็ได้ มีงานวิจัยบางงานพบว่าการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลร่วมกับการควั่นกิ่งด้วย ซึ่งได้ผลดีมาก เหมาะสำหรับในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ไม่สามารถงดการให้น้ำได้

เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มะนาวจะมีอาการบวมของตาที่อยู่ตามซอกของใบ หรือที่ปลายยอด ให้กระตุ้นการออกดอกได้โดยการเริ่มให้น้ำทีละน้อย มะนาวบางสายพันธุ์หรือต้นที่พร้อมจะออกดอกก็จะแทงช่อดอกออกมาภายใน 2 เดือน หลังการราดสารทันที อย่างไรก็ตาม จะออกดอกเฉพาะต้นที่มีการสร้างตาดอกแล้วเท่านั้น
จากงานวิจัยเบื้องต้นของ ดร.วินัย วิริยะอลงกรณ์ ได้นำสารโพแทสเซียมคลอเรต ความเข้มข้น 2-4 กรัม ต่อตารางเมตร พบว่ามะนาวมีการตอบสนองได้ดี และมีการออกดอกได้ทุกต้น ทุกกิ่งพร้อมๆ กัน (ทำกับมะนาวที่ปลูกในกระถาง ขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร โดยไม่มีการงดให้น้ำแต่อย่างใด) ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะสารโพแทสเซียมคลอเรตความเข้มข้นต่ำๆ สามารถช่วยกระตุ้นการแตกตาได้ เช่นเดียวกับในมะม่วงที่มีการใช้สารไทโอยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกตาได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในปีแรกของงานได้ใช้สาร ไทโอยูเรีย พ่นกระตุ้นตาดอก ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน สำหรับงานวิจัยสารโพแทสเซียมคลอเรตกับมะนาวกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาในระดับแปลงปลูกขนาดใหญ่ว่าสามารถจะใช้ได้หรือไม่อย่างไร การปฏิบัติดูแลรักษาในระยะนี้ถ้ามะนาวเริ่มออกดอก ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมี อาจใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นเป็นบางครั้ง ควรให้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัม ต่อต้น

วิธีดูแลมะนาวนอกฤดูในช่วงออกดอก

เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนใหญ่มะนาวจะเริ่มติดผลขนาดเล็กถึงใหญ่ ควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอีกครั้ง และให้ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 ระยะเดือนนี้เป็นช่วงฤดูหนาว กลางวันจะร้อน กลางคืนอากาศเย็น สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้เพลี้ยหอย ไรแดง เพลี้ยไฟ ระบาดได้ง่าย ควรหาทางป้องกันด้วย เมื่อมีเพลี้ยหอยทำลาย โรคราดำจะตามมา ทำให้ผิวผลไม่สวย ส่วนไรแดงจะทำให้ใบหงิกงอ โดยเฉพาะปลายยอด เพลี้ยไฟ จะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวผลขนาดเล็ก ทำให้เมื่อผลมะนาวโตขึ้นผิวจะมีลักษณะเป็นรอย หรือเรียกว่า ขี้กลาก ทำให้เสียราคาได้ นอกจากนี้ อาจพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี โบรอน ปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปน้ำเป็นปุ๋ยเดี่ยวและอย่าให้มะนาวขาดน้ำในช่วงนี้

เดือนมกราคม มะนาวจะเริ่มขยายผลใหญ่ขึ้น ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 เพื่อบำรุงผลและต้นไม่ให้โทรม ช่วงนี้อากาศหนาว โดยเฉพาะภาคเหนือ จะต้องให้น้ำมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ผลมะนาวมีการเจริญเติบโตที่ปกติ และผลมีคุณภาพดี มีน้ำมาก และมีกลิ่นหอม อาจมีบางผลที่เริ่มแก่บ้างก็สามารถเก็บจำหน่ายได้ การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงยังจำเป็นต้องฉีดในช่วงนี้ เพราะถ้าไม่ป้องกันจะทำให้ผิวผลเสียหายได้ โดยเฉพาะโรคราดำ โรคแคงเกอร์ เพลี้ยไฟ ไรแดง
เดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน มะนาวเริ่มเก็บเกี่ยวได้บ้าง

จึงควรทยอยและเลือกเก็บมะนาวที่เริ่มแก่ โดยเฉพาะช่อผลที่แน่นเกินไป ระยะนี้ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีหรือถ้าจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีต้องเก็บผลหลังจากฉีดสารเคมีแล้วอย่างน้อย 15 วัน หรือการใช้สารสมุนไพรฉีดพ่น เช่น น้ำส้มควันไม้ ก็ได้
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่หมดแล้วอาจยังมีผลผลิตส่วนหนึ่งเหลืออยู่บนต้นบ้าง ถ้าไม่มากเกินไปก็สามารถเลี้ยงไว้บนต้นได้ หลังจากนั้น ควรให้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เพื่อบำรุงต้น และถ้ามีต้นที่กำลังออกดอกใหม่ ควรทำลายดอกทิ้ง ซึ่งมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำให้ใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งที่พอจะทำได้คือ การใช้ปุ๋ยยูเรียฉีดพ่นที่ช่อดอกให้ดอกร่วง โดยใช้อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร (5%) ฉีดพ่นเฉพาะช่อดอก ก็สามารถทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้มากเกินไปอาจทำให้เสียหายต่อตาและกิ่งหรือใบได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

ระยะนี้เริ่มมีทุเรียน ผลไม้สุดฮิตออกมาสู่ตลาดมากขึ้น ต้นฤดูเป็นทีของทุเรียนพันธุ์กระดุม จากนั้นมีพันธุ์ยอดนิยมอย่างหมอนทอง ส่วนชะนีมีไม่มากนัก

เดิมทีทุเรียนชะนีและหมอนทอง ครองใจผู้บริโภคมายาวนาน หลังๆเริ่มมีการฟื้นฟูพันธุ์ดั้งเดิมกลับมา อย่างนกหยิบ นกกระจิบ ก้านยาว หลงลับแล หลินลับแล สาลิกา และพวงมณี

พบทุเรียนพวงมณีในตลาดไม่มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า เกษตรกรปลูกกันไม่มาก สวนละ 5-6 ต้น เมื่อมีผลผลิตก็นำออกจำหน่าย

หน้าตาพวงมณีเป็นอย่างไร

หนังสือ “ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืช..ทุเรียน” สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ให้ข้อมูลไว้ว่า ทุเรียนพวงมณี เมื่อปลูกแล้วต้นแจริญเติบโตเร็ว การจัดเรียงกิ่งไม่เป็นระเบียบ ใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม

ดอกตูมกลมรี ปลายดอกตูมมน ออกดอกติดผลมาก ต้นอายุ 15 ปี ให้ผลผลิต 110-1120 ผลต่อต้นต่อปี

ผลรูปรี ปลายผลแหลม ฐานผลป้าน ก้านผลยาว 5-11 เซนติเมตร หนามผลนูนปลายแหลม หนามตรง ผลยาว 18.38 เซนติเมตร กว้าง 14.88 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 48.16 เซนติเมตร น้ำหนักผล 1.36 กิโลกรัม มีกลิ่นอ่อนๆ รสชาติหวานมันพอดี เนื้อละเอียดไม่มีเส้นใย

จุดเด่นของพวงมณี อยู่ตรงที่เนื้อละเอียด รสชาติหวาน หากกินในช่วงที่สุกพอเหมาะรสชาติอร่อยมาก ขนาดของผลก็กระทัดรัด สีเนื้อเข้ม เป็นสีนาก

เนื้อของพวงมณีอาจจะไม่มากนัก เพราะเมล็ดค่อนข้างโต ประเด็นนี้อาจจะเหมาะกับคนที่ชอบกินทุเรียนแต่กลัวอ้วน ราคาของทุเรียนพวงมณี ใกล้เคียงกับพันธุ์อื่น ซึ่ง 2-3 ปีมานี้ ทุเรียนบ้านเรา ราคาค่อนข้างสูง สาเหตุนั้น ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นไปปลูกยางพารา รวมทั้งเกิดภาวะแห้งแล้ง

เรื่องการค้าการขายกับต่างประเทศ ไทยส่งทุเรียนไปขายจีนได้มากขึ้น ทำให้ราคาในประเทศขยับ

ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รวมพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองไว้กว่า 200 พันธุ์ สิ่งที่มีอยู่ บางพันธุ์อาจจะได้รับการนำมาปัดฝุ่น นำเสนอต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ยังผสมพันธุ์ทุเรียนได้พันธุ์ใหม่ขึ้นมา อย่างจันทบุรี 1,2,3,4,5,6… แต่ผลผลิตยังไม่แพร่หลาย

พันธุ์ทุเรียนจากมาเลเซีย ก็มีนำเข้ามาปลูกอีกไม่นานคงเสนอตัวต่อสาธารณะได้ อย่างพันธุ์เหมา ซาน คิง

ความหลากหลายของพันธุกรรมทุเรียน สร้างประโยชน์ให้กับวงการเกษตรในบ้านเราอย่างมาก

ช่วงนี้อย่าลืมอย่าพลาด หากมีโอกาส บาคาร่าออนไลน์ ช่วยกันอุดหนุนผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะทุเรียนพวงมณี “ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ” หนึ่งในไม้ผลรอบบ้าน ที่คนไทยนิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสด เพราะเป็นมะม่วงที่มีรสอร่อย เนื้อกรอบ รสชาติหวาน กลมกล่อม แต่บางรายปลูกมะม่วงเขียวเสวยมา 5-6 ปีแล้ว ดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำก็แล้ว แต่กลับติดผลน้อยมากหรือแทบไม่ติดผลเลย เนื่องจากการพัฒนาของดอกเพศเมียไม่มากพอ หากต้องการให้มะม่วงติดผลดี จำเป็นต้องช่วยผสมเกสรให้ด้วย

ก่อนอื่น ต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของ “ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ” กันสักหน่อย ต้นมะม่วงเขียวเสวยที่ให้ผลแล้วจะมีทรงพุ่มโปร่ง ใบเรียวยาวปลายแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม ชอบที่โล่งแจ้ง มักติดผลปีเว้นปี ผลกลม ยาวเรียว ปลายก้นงอน มีน้ำหนักผล เฉลี่ย 335 กรัม ความหวาน ประมาณ 19 องศาบริกซ์ มะม่วงเขียวเสวยมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านช้ากว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ และเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคยางไหล เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีอายุ 105 วัน หลังจากดอกบาน

หากต้องการให้มะม่วงพันธุ์เขียวเสวยติดผลดก ต้องเริ่มจากบำรุงรักษาต้นให้เติบโตสมบูรณ์เสียก่อน ตัดแต่งกิ่งด้วยวิธีตัดแต่งรอบทรงพุ่ม จากปลายยอดลึกเข้าไปในทรงพุ่ม 50-100 เซนติเมตร ตัดกิ่งกระโดง และกิ่งแก่หรือมีโรคแมลงทำลายทิ้งไป ให้ทรงพุ่มโปร่ง ลมพัดผ่านและแสงส่องเข้าในทรงพุ่มได้

และบำรุงต้นให้สมบูรณ์โดยการให้น้ำและใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 30-10-10 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านให้ทั่วทรงพุ่มและรดน้ำตาม ให้ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อมะม่วงแตกใบชุดที่ 2 ในอัตราเดียวกัน ก่อนมะม่วงออกดอก 2-3 เดือน เป็นระยะสร้างตาดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น และเพิ่มปริมาณปุ๋ยขึ้นเมื่อต้นมะม่วงมีอายุมากขึ้น ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านรอบทรงพุ่มและรดน้ำตาม ทั้งนี้ก่อนใส่ปุ๋ยควรกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาด ป้องกันการแย่งปุ๋ยที่ใส่ลงดิน ระยะก่อนออกดอกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร ควรให้น้ำ 22 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน หากมีฝนตกก็ให้เว้นไป และต้องงดการให้น้ำก่อนออกดอก 2 เดือน เพื่อกระตุ้นให้ต้นมะม่วงสร้างตาดอก มะม่วงเริ่มแทงช่อแล้วจึงเพิ่มการให้น้ำมากขึ้น หมั่นกำจัดวัชพืช และโรคแมลงศัตรูอย่างสม่ำเสมอ