2-3 ปีแรก ของการปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์ โดยมีเป้าหมาย

ให้เป็นสวนส้มโชกุนอินทรีย์ทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณธรรมนูญ ยอมรับว่า ในช่วงแรกถือว่าหิน เพื่อนๆ หลายสวนที่เริ่มทำอินทรีย์ด้วยกัน ถอดใจ หันกลับไปใช้สารเคมีตามเดิม แต่สำหรับเขาและคุณพ่อ มองว่า การทำอินทรีย์นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังทำให้สวนส้มอยู่อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ส้มโชกุนกว่า 3,000 ต้น แบ่งปลูกในพื้นที่ 3 แปลง คุณธรรมนูญ เริ่มจากแปลง 600 ต้นก่อน ด้วยการนำดินไปตรวจวิเคราะห์หาแร่ธาตุในดิน และเริ่มทำสารชีวภัณฑ์ที่ใช้แทนปุ๋ยเคมี แทนปุ๋ยที่ให้ทางใบ และแทนสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นกันแมลง

ปัจจุบัน จากแปลงที่ปลูกไว้ 600 ต้น เริ่มขยับไปแปลงที่ 2 และ 3 ตามลำดับ รวมแล้วกว่า 3,000 ต้น ที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นอินทรีย์ทั้งหมด “3 เดือนแรกที่ลองเปลี่ยนจากเคมีมาเป็นอินทรีย์ เราใช้สารชีวภัณฑ์ที่ทำขึ้นเอง เมื่อ 3 เดือนผ่านไป เริ่มเห็นผล เพลี้ยไฟ ไรแดง หายไปจากระบบ แต่มีหนอนเข้ามากินใบแทน ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับผลส้ม ไม่ได้ทำให้ผลส้มเสียหาย มีเพียงใบแหว่งๆ เท่านั้น ส่วนหนอนเจาะผลพบบ้างแต่น้อย ไม่ถือว่าเป็นปัญหา เรียกว่า ดีทีเดียว”

หลังการทดลองผ่านไป 1 ปี ตรวจค่าสารเคมี ไม่พบตกค้าง

คุณธรรมนูญ บอกว่า ผลผลิตที่ได้ สามารถบอกลูกค้าได้อย่างเต็มปากว่า ส้มโชกุนของสวนจิตต์มาลี เป็นส้มปลอดสารเคมี ราคาขายก็ดีกว่าส้มโชกุนจากสวนอื่น ลูกค้าพอใจ ถามหา มีเท่าไรก็ขายได้หมด

การให้ปุ๋ยทางดิน ในยุคที่ให้สารเคมี ให้ทุก 3 เดือน เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นขี้วัว ก็ให้ 6 เดือนครั้งเท่านั้น

การให้ปุ๋ยทางใบ ต้องให้สัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกันแมลง “ผลผลิตที่ได้ ส้มจะให้ผลผลิตมากในปีที่ 7 ขึ้น ยุคที่ได้เยอะได้มากถึง 200 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์ พยายามปรับให้เป็นอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้ต่อต้นลดลง เหลือเพียง 80-100 กิโลกรัม ต่อต้น แต่ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 50-60 บาท ต้นทุนการผลิตลดลงจากเดิมถึง 5 เท่า ก็ถือว่าคุ้มทุนแล้วครับ”

ผลผลิตส้มโชกุนที่ได้ทุกวันนี้ มีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงสวน แต่ระยะหลัง เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นส้มโชกุนอินทรีย์แล้ว ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ประเด็นนี้ ไม่ได้เป็นประเด็นที่คุณธรรมนูญและคุณพ่อต้องการ ทั้งคู่ต้องการเพียงให้สวนส้มจิตต์มาลี เป็นสวนส้มอินทรีย์แห่งแรกของเบตง ที่ได้รับการยอมรับ และเป็นต้นแบบให้กับสวนส้มหรือสวนไม้ผลชนิดอื่น เพื่อให้เกษตรกรรมในพื้นที่เบตงปลอดภัย

คุณธรรมนูญ เป็นชายหนุ่มที่ไม่หวงความรู้ พร้อมจะถ่ายทอดประสบการณ์ให้ผู้สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธรรมนูญ ชาญวิรวงศ์ โทรศัพท์ 081-388-0994 หรือติดต่อผ่านเฟซบุ๊ก ส้มโชกุน เบตง จิตต์มาลี

การทำสวนส้มโชกุนเบตง (สวนส้มจิตต์มาลี)

เริ่มปี 2542 แปลงที่ 1 จำนวน 1,000 ต้น แปลงที่ 2 (ปี 2545) จำนวน 2,000 ต้น

ปี 2551-2553 เกิดวิกฤตส้มราคาตกต่ำ (ประมาณ 10 บาท) ตามมาด้วยต้นส้มเสื่อมโทรม

ทั้งประเทศ (ปรากฏการณ์โดมิโน่) ทำให้แปลงแรกล้มเหลวไป แปลงที่ 2 ยื้อได้ประมาณ 1,000 ต้น จนถึงปัจจุบัน

ราคาส้มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2554-ปัจจุบัน (สูงถึง 100 บาท)

แม้ราคาจะสูงแต่กลับไม่มีการปลูกเพิ่มมากเหมือนในอดีต เนื่องจาก

ปัญหาต้นเสื่อมโทรมที่ชาวสวนแก้ไม่ตก จึงไม่มั่นใจที่จะปลูกใหม่
ไม่มีพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสม จะปลูกที่เก่า สภาพดินแข็งจากการใส่ปุ๋ยและสารเคมีมาอย่างยาวนาน ทำให้ไม่เหมาะกับการปลูก
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น บวกกับแรงงานที่หายากขึ้น
ไม่มั่นใจในการปลูกส้มโชกุน
เนื่องจากผ่านช่วงวิกฤตที่สำคัญมา และยังเหลือต้นส้มแปลงเก่าที่ยังให้ผลผลิตได้ระดับหนึ่ง จึงทำให้มั่นใจที่จะปลูกส้มเพิ่มอีกครั้ง และโชคดีที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอเบตง ได้ติดต่อมาว่า มีโครงการฟื้นฟูการปลูกส้มโชกุนในจังหวัดยะลา โดยเฉพาะที่เบตง จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ เมื่อกลางปี 2557 ปลูกเพิ่มทั้งในพื้นที่แปลงเก่าและแปลงใหม่ จำนวน 2,000 ต้น ซึ่งจะให้ผลผลิตได้ทั้งหมดในปี 2559 เป็นต้นมา

เทคนิคการจัดการส้มโชกุนเบตง

ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยคอก (ขี้วัว ขี้ไก่ ฯลฯ) ปีละ 1-2 ครั้ง
ตัดหญ้า แทนการฉีดยาฆ่าหญ้า
ใส่ปุ๋ยเคมีสลับกับการปรับความเป็นกรดของดินด้วยเสมอ (โดโลไมท์ ยิปซัม)
ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อ บีที (Bt) ในการป้องกันเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แทนยาเชื้อราที่เป็นเคมี
ฉีดยาฆ่าแมลง เมื่อแมลงระบาดเท่านั้น
ใช้กับดักกาวเหนียว เพื่อดักแมลงวันผลไม้
ใช้เชื้อ บีที (Bt) ในการกำจัดหนอนเจาะผล
ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใช้สารชีวภาพฉีดพ่น เช่น สารสะเดา น้ำส้มควันไม้ อื่นๆ (เพื่อความปลอดภัยของผลผลิต)
9. ตัดแต่งผลให้พอเหมาะกับต้นส้มอยู่เสมอ (หลีกเลี่ยงต้นเสื่อมโทรมและอ่อนแอต่อโรค)

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการประกวดแปลงใหญ่ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2561 นั้น แปลงใหญ่ข้าวตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา นำนวัตกรรมมาใช้ ต่อยอดการวิจัย เพิ่มมูลค่าผลผลิตและใช้ตลาดนำการผลิต จึงได้รับรางวัลที่ 3 ระดับประเทศ

ความเป็นมาของ แปลงใหญ่ข้าวบ้านตุ่น เริ่มต้นจากการนำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน มีการตรวจเลือดหาสารพิษและสารเคมีตกต้าง เมื่อปี 2532 ตำบลบ้านตุ่น มีจำนวนครัวเรือน ประมาณ 1,600 ครัวเรือน มีประชากร 4,462 คน ตรวจพบสารพิษตกค้างในเส้นเลือด 90% ของประชากรทั้งหมด

สมาชิกในชุมชนจึงได้ร่วมโครงการ ลด ละ เลิก สารเคมี จากปี 2532-2540 และต่อจากนั้น ปี 2541-2550 ได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มทำข้าวอินทรีย์ ปี 2539 ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ต่อมาในปี 2550 ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านดอกบัว มีสมาชิกกลุ่ม 15 ราย จนถึงปี 2556 มีสมาชิก 169 ราย และได้จัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านบัว จำกัด

ปี 2559 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา และสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เนื่องจากกลุ่มผู้ปลูกข้าวประสบปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง จึงมีการคิดแนวทางการลดต้นทุน ให้เกษตรกรในแปลงใหญ่ทำบัญชีต้นทุนการทำการเกษตร

นำสมาชิกมาอบรม เรื่องการลดต้นทุน ให้ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ไตรโคเดอร์ม่า จุลินทรีย์หน่อกล้วย ทำปุ๋ยหมักกอง เก็บเมล็ดพันธุ์เอง เพิ่มผลผลิต มีการทำนาอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบในชุมชน (พื้นที่ไข่แดง) และพื้นที่ข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP (พื้นที่ไข่ขาว)

และทางกลุ่มได้มีการรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกเกษตรกรแปลงใหญ่ โดยรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิส่วนต่างที่สูงกว่าราคาตลาด กิโลกรัมละ 2 บาท โดยสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินบ้านบัว จำกัด เพื่อดำเนินการแปรรูปส่งข้าวขาวขาย กิโลกรัมละ 50 บาท ข้าวกล้อง กิโลกรัมละ 70 บาท ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กิโลกรัมละ 80 บาท

ปัจจุบัน มีตลาดหลักคือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงพระตำหนักดอยตุง ทางกลุ่มแปลงใหญ่ส่งให้เดือนละ 1,350 กิโลกรัม นอกจากนี้แล้ว ยังส่งจำหน่ายชุมชนสหกรณ์กรุงเทพมหานคร ภาคเอกชนและเครือข่ายต่างๆ ผลิตภัณฑ์เด่น คือ ข้าวมงคล (ข้าวหอมมะลิอินทรีย์แท้) เหมาะสำหรับผู้รักและห่วงใยสุขภาพ

นอกจากนี้แล้ว ได้นำข้าวท่อนปกติขาย กิโลกรัมละ 13 บาท เมื่อนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยทำสบู่ แชมพู ลิปสติก สามารถเพิ่มมูลค่าเป็นกิโลกรัมละ 800 บาท ส่วนรำข้าวนำไปเลี้ยงสุกร ไก่ และแกลบที่เหลือจากการสีทำเป็นพลังงานทดแทน (เตาแกลบชีวมวล) และขี้เถ้าแกลบทำปุ๋ยใส่ในนาข้าว สมาชิกมีการใช้ข้าวอย่างคุ้มค่าและไม่มีสิ่งเหลือตกค้าง (Zero waste)

โดยจุดเด่นและความภาคภูมิใจของแปลงใหญ่บ้านตุ่น ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต 20% เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 20% โดยการบริหารจัดการน้ำให้แก่สมาชิกขุดสระขนมครกทุกราย เพื่อเป็นแหล่งน้ำ พร้อมทั้งนำนวัตกรรมและต่อยอดการวิจัย ได้มีการพัฒนาคุณภาพสู่การรับรองอินทรีย์ และ GAP ร้อยละ 80 นำหลักการตลาดนำการผลิตมาวางแผนการผลิตให้แก่สมาชิก

และเชื่อมโยงการตลาดทุกเครือข่าย สร้างแบรนด์สินค้าและเปลี่ยนจากผลผลิตวัตถุดิบไปสู่สินค้านวัตกรรม ลดความเสี่ยงการผลิตพืชเชิงเดี่ยวพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น มีความรักสามัคคี มีรายได้อย่างต่อเนื่อง

แปลงใหญ่ข้าวตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ถือว่าได้ดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม พร้อมที่ขยายผล สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณสวัสดิ์ ปานา ผู้จัดการแปลงใหญ่ข้าวบ้านตุ่น โทร. (090) 949-4664 และ คุณบาล บุญก้ำ ประธาน (ศพก.) บ้านตุ่น โทร. (082) 895-7321

“เงาะโรงเรียนนาสาร” หนึ่งในผลไม้โปรดของหลายๆ คน เงาะโรงเรียนนาสาร มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 50 ปี เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร คือ ขนาดผลใหญ่ สีแดงเข้ม ปลายขนสีเขียว เนื้อล่อน กรอบ หวาน หอม แถมมีรสชาติอร่อยที่สุด

จุดเริ่มต้นของความอร่อย

เงาะโรงเรียนนาสาร มีต้นกำเนิดมาจาก เงาะพันธุ์เจ๊ะมง ซึ่งเป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองของปีนัง ที่ นายเคหว่อง ชาวปีนังได้นำ “เงาะพันธุ์เจ๊ะมง” ติดตัวเข้ามารับประทานที่เหมืองแร่ดีบุก อำเภอบ้านนาสาร หลังรับประทานได้ทิ้งเมล็ดไว้ ด้วยเหตุของดินที่ดีและมีความชุ่มชื้นอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้เมล็ดเงาะที่ถูกทิ้งไว้งอกขึ้นมา จำนวน 3 ต้น ประมาณ พ.ศ. 2500-2501

หลังเลิกกิจการเหมืองแร่ ทางราชการได้ซื้อบ้านพักพร้อมที่ดินของนายเคหว่อง เพื่อนำมาสร้างโรงเรียน “นาสาร” หลังจากต้นเงาะทั้ง 3 ต้น เจริญเติบโตงอกงาม ติดดอกออกผล ปรากฏว่า มีเงาะอยู่ต้นหนึ่งที่มีรสชาติหวานกรอบ เนื้อล่อน อร่อย แตกต่างจากพันธุ์เดิม (เงาะพันธุ์เจ๊ะมง ผลใหญ่ สีแดง ลักษณะทรงรี เปลือกหนา รสไม่หวาน) ครูแย้ม พวงทิพย์ ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนนาสาร จึงนำพันธุ์เงาะดังกล่าวไปให้กับชาวบ้านได้ทดลองปลูก จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอบ้านนาสารในเวลาต่อมา และเกิดการกระจายพันธุ์ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยชาวบ้านนิยมเรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้ ว่า “เงาะโรงเรียนนาสาร” ตามแหล่งกำเนิดคือ โรงเรียนนาสาร

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้ใหม่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียนนาสาร อย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จัดงานเงาะโรงเรียนขึ้นเป็นประจำ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคมของทุกปี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เงาะโรงเรียนนาสาร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของเงาะโรงเรียนนาสารอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 โดยระบุพื้นที่การปลูกเงาะโรงเรียนนาสารครอบคลุมเขตพื้นที่ 3 อำเภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอเวียงสระ

ต้นแบบเงาะแปลงใหญ่

ปัจจุบัน “เงาะโรงเรียนนาสาร” ได้รับการยกย่องว่า เป็นต้นแบบเงาะแปลงใหญ่ของประเทศไทย ผลสำเร็จของโครงการ เกิดจากประชาชนส่วนใหญ่ในอำเภอบ้านนาสาร ที่ทำอาชีพสวนเงาะหันมาทำงานรวมกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มุ่งส่งเสริมการเกษตรโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก

เงาะแปลงใหญ่ ดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานีพัฒนาที่ดินสุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดิน การใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน สนับสนุนสารเร่ง พด. เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยพืชสด สารปรับปรุงดิน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 ดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มผู้ผลิตและการตลาด องค์การบริหารส่วนตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ สนับสนุนการรวบรวมผลผลิต ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดความรู้ด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น

เงาะแปลงใหญ่ มีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยมีความเข้มแข็งสามารถบริหารการผลิตและการตลาดร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันสามารถพัฒนากระบวนการทำงานในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ศักยภาพของพื้นที่ และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง

คุณสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้พาคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมกิจการแปลงใหญ่เงาะโรงเรียนนาสาร ณ หมู่ที่ 4 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของ คุณวารินทร์ เพชรโกษาชาติ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้ผลเพิ่มพูนทรัพย์ บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 4 ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 087-870-4304

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้ผลเพิ่มพูนทรัพย์ ได้เริ่มต้นทำเกษตรแปลงใหญ่เงาะโรงเรียนนาสาร ตั้งแต่ ปี 2558 มีสมาชิก 118 คน เนื้อที่ 1,163 ไร่ เดิมเกษตรกรมีผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,000-2,000 กิโลกรัม หลังจากเข้าสู่ระบบแปลงใหญ่ ก็มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 4,000-7,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตรวม 3,489 ตัน สมาชิกทุกราย ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการผลิต GAP ทั้งหมด และมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

แปลงใหญ่เงาะโรงเรียนมีเป้าหมายการดำเนินงาน 5 ด้าน ดังนี้

ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมี ใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี
การเพิ่มผลผลิต โดยเน้นการปรับปรุงดิน ตัดแต่งกิ่ง ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการออกดอก การใช้ผึ้งผสมเกสรเงาะ
การเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยยกมาตรฐานการผลิต GAP และดูแลจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ
การตลาด ใส่ใจพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า
การบริหารจัดการ โดยสนับสนุนให้เกษตรกรวางแผนการผลิตร่วมกัน บริหารจัดการจุดรวบรวมผลผลิตร่วมกัน บริหารจัดการน้ำร่วมกัน เป็นต้น
เทคนิคการผลิตเงาะคุณภาพ

คุณวารินทร์ มีพื้นที่ปลูกเงาะ 10 ไร่ ปลูกในระยะห่าง 10×10 เมตร จำนวน 160 ต้น อายุเงาะ 28 ปี โดยดูแลเอาใจใส่แปลงปลูกเงาะอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพราะต้องการให้ต้นเงาะมีผลผลิตคุณภาพดี ขนาดผลใหญ่ 22-24 ผล ต่อกิโลกรัม หลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะเตรียมความพร้อมโดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งซ้อนออกไป ให้แดดส่องถึง 20% พ่นสารเคมีป้องกันเชื้อรา หว่านสารปรับสภาพดิน (โดโลไมท์) ก่อนใส่ปุ๋ย 1 เดือน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี สูตร 32-0-26 ช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะฉีดพ่นอาหารเสริม แคลเซียมโบรอน น้ำหมักชีวภาพ ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เตรียมแต่งช่อดอกโดยควบคุมน้ำ ให้อาหารเสริมทางใบ ปุ๋ยเกล็ดสูตร 0-43-56 ช่วงเดือนพฤษภาคม เมื่อต้นเงาะติดผลอ่อน จะพ่นสารเคมีป้องกันเชื้อราด้วยกำมะถัน

ปัจจุบัน ทางกลุ่มประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพที่ดี สามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ร้อยละ 20 จากเดิมที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ 8.35 บาท ต่อกิโลกรัม เหลือแค่ 6.68 บาท ต่อกิโลกรัม สร้างรายได้แก่สมาชิกไม่ต่ำกว่า ไร่ละ 216,000 บาท สามารถต่อรองด้านราคากับพ่อค้าได้ โดยจำหน่ายสินค้าผ่านกับสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสารเจาะตลาดโมเดิร์นเทรด คือห้างท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และทางกลุ่มวิสาหกิจพัฒนาไม้ผลเพิ่มพูนทรัพย์ ได้รวบรวมผลผลิตพรีเมี่ยมเกรด ส่งขายตลาดในประเทศและส่งออก ประเทศจีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย

แนะ ระวัง 2 แมลง ศัตรูพืชในสวนเงาะ

ในช่วงอากาศร้อน มีฝนตก และหนาวในเวลากลางคืน กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะควรเฝ้าระวัง 2 แมลงศัตรูพืช คือ หนอนคืบกินใบ และ แมลงค่อมทอง สามารถพบได้ในระยะที่เงาะแตกใบอ่อนและใบแก่ผสมกัน เกษตรกรควรสังเกตหนอนคืบกินใบ มักพบหนอนกัดกินใบเพสลาด ใบอ่อน และใบแก่ ส่งผลให้การปรุงอาหารของใบไม่เพียงพอ ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ หากพบหนอนคืบกินใบ ในกรณีที่โคนต้นเงาะโล่งเตียนไม่มีหญ้ารก ให้เกษตรกรเขย่ากิ่งเงาะเพื่อให้ตัวหนอนทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน แล้วจับไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก และให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วนแมลงศัตรูพืชอีกชนิดคือ “แมลงค่อมทอง” ซึ่งเป็นตัวเต็มวัยมักกัดกินใบอ่อน ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเว้าๆ แหว่งๆ หากระบาดรุนแรง ใบอ่อนจะถูกกัดกินจนเหลือแต่ก้านใบ บริเวณยอดพบมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็น แมลงค่อมทองตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองเป็นมัน ตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักอยู่บนลำต้นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มรวมกัน ตัวเต็มวัยมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวลงสู่พื้นดินเมื่อต้นพืชถูกกระทบกระเทือน

หากพบแมลงค่อมทองเข้าทำลายมาก ให้เกษตรกรใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าต้นหรือกิ่งเงาะให้ตัวเต็มวัยแมลงค่อมทองหล่นลงสู่พื้นดิน เพื่อเก็บตัวเต็มวัยแมลงค่อมทองรวบรวมนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก และให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรพ่นให้ทั่วในระยะที่ต้นเงาะแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10-14 วัน

ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ ในระยะที่ต้นมังคุดเตรียมความพร้อมในการออกดอกและระยะแตกใบอ่อน ใบมังคุดที่ถูกเข้าทำลายจะมีลักษณะแคระแกร็น ใบบิดเบี้ยว ใบหงิก เนื่องจากเซลล์และเนื้อเยื่อของใบบางส่วนถูกทำลายตั้งแต่ในระยะที่ยังเป็นใบอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่

กรณีที่มีการระบาดรุนแรง อาจพบหนอนชอนใบมากกว่า 1 ตัวต่อใบ ทำให้ต้นมังคุดมีใบที่ไม่สมบูรณ์ในระยะต้นกล้า ส่งผลให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต สำหรับต้นมังคุดที่โตแล้วเมื่อมีการถูกทำลายรุนแรง จะทำให้ต้นมังคุดมีการแตกใบอ่อนบ่อยครั้งเพื่อชดเชยใบที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งใบอ่อนจะเป็นตัวดึงดูดแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ เข้ามาทำลายต้นมังคุดเพิ่มมากขึ้น

สำหรับแนวทางในการป้องกันและกำจัด funnypatentsandinventions.com เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและสังเกตการเข้าทำลายของหนอนชอนใบอย่างสม่ำเสมอ โดยให้สังเกตดูที่ใต้ใบมังคุดจะพบรอยทางยาวเป็นเส้นสีขาว เนื่องจากการทำลายของหนอนชอนใบ หากพบหนอนกัดกินใบอ่อนเข้าทำลายประมาณ 30% ของยอด ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดในระยะแตกใบอ่อน ให้พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน

ช่วงนี้มีสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงโชคอนันต์นอกฤดูให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วง มักพบตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวเพศเมียวางไข่ฝังไว้ใต้เปลือกลำต้นในเวลากลางคืน เมื่อไข่ฟักตัวเป็นหนอนจะกัดกินชอนไชตามเปลือกไม้ด้านใน ทำให้เกิดยางไหล บางครั้งหนอนอาจควั่นเปลือกไม้จนรอบลำต้น อาจส่งผลให้ท่อน้ำและท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ต้นมะม่วงทรุดโทรม ใบแห้ง และยืนต้นตายได้ เกษตรกรสามารถสังเกตรอยทำลายได้จากขุยไม้ที่หนอนถ่ายออกมาบริเวณเปลือกลำต้น

เกษตรกรควรใช้วิธีในการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นมะม่วงแบบผสมผสาน คือ การใช้วิธีกล และการใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัด สำหรับการใช้วิธีกล ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยให้สังเกตรอยแผลเล็กและชื้นที่เกิดจากตัวเต็มวัยด้วงหนวดยาวทำขึ้นเพื่อการวางไข่ หากพบให้ทำลายไข่ของด้วงหนวดยาวทิ้งทันที

กรณีพบขุยและรอยทำลายที่เปลือกไม้บริเวณลำต้น ให้ใช้มีดแกะเปลือกไม้ที่พบรอยทำลายออก และจับตัวหนอนมาทำลายทิ้งทันที จากนั้น เกษตรกรควรกำจัดแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของด้วงหนวดยาว โดยให้ตัดต้นมะม่วงที่ถูกเข้าทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ให้นำออกมาเผาทำลายทิ้งนอกสวน

ส่วนการใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัด หากพบหนอนชนิดที่เจาะเข้าไปในลำต้นมะม่วง ให้เกษตรกรใช้สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี เข้มข้น 3-5 มิลลิลิตร นำมาฉีดเข้าในรูที่หนอนเจาะทำลาย และใช้ดินเหนียวอุดรูให้แน่น

กรณีพบหนอนชนิดที่เจาะกินใต้เปลือกลำต้น ให้เกษตรกรพ่นให้ทั่วบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่ด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซีทามิพริด 20% เอสพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร