เจาะเส้นทางผลไม้ทำเงิน “แก้วขมิ้น” ข้ามแดนยึดไทย

แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถปลูกและส่งออกมะม่วงได้มากมายหลายสิบชนิด แต่วันนี้กลับพบว่า ความต้องการบริโภค “มะม่วงแก้ว”เพิ่มขึ้นเท่าตัว และไทยยังผลิตมะม่วงแก้วนอกฤดูได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ นี่คือช่องว่างการตลาดที่ทำให้ “มะม่วงแก้วขมิ้น”จากกัมพูชารุกเข้ามายึดตลาดเมืองไทย

สำหรับมะม่วงแก้วขมิ้น ปลูกมากที่ประเทศกัมพูชา เพราะสภาพดิน อากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นเหมาะสม จึงให้ผลดกมาก และยังมีรสชาติหวาน กรอบ อมเปรี้ยวน้อยกว่ามะม่วงแก้วของไทย ลักษณะเนื้อมาก ผลใหญ่ เนื้อมีสีเหลืองสวยงามเหมือนขมิ้น โดยเฉพาะตรงไส้จะเหลืองจัด จึงเป็นที่มาของชื่อมะม่วงแก้วขมิ้น หรือมะม่วงไส้ขมิ้น แต่มีชื่อเป็นทางการว่า “พันธุ์ละเมียด”

ข้อมูลปี 2557 กัมพูชามีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 65,250 เฮกตาร์ หรือประมาณ 391,500 ไร่ ผลผลิตส่งขายไทย 30% และเวียดนาม เกาหลี จีน 70% ปลูกมากใน 8 จังหวัด คือ กัมปงสะปือ (ปลูกมากที่สุด 243,750 ไร่) กัมปงจาม กันดาล ตะแก้ว ตบูงขมุม เสียมเรียบ พระตะบอง และบันเตียเมียนเจย

วันนี้มะม่วงแก้วขมิ้นเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของกัมพูชา ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม-พฤษภาคม แต่เว้นระยะหมดรุ่นเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในเมืองไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา เพราะมะม่วงไทยขาดตลาด และโรงงานแปรรูปส่งออก มีความต้องการวัตถุดิบจำนวนมาก

อีกทั้งด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย เนื้อหนา สีเหลืองสวย จึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยเป็นอย่างมาก คาดว่ามีมะม่วงแก้วขมิ้นส่งเข้ามาเมืองไทยวันละ 1,000 ตัน

เส้นทางของมะม่วงแก้วขมิ้นส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกัมปงสะปือ และเป็นเจ้าของสวนรายใหญ่ปลูกหลายหมื่นไร่ บางรายเกือบแสนไร่ มีผู้รับซื้อเข้าไปซื้อถึงสวนทั้งคนจีน คนไทย กัมพูชา จากนั้นจะขนส่งด้วยรถตู้ รถปิกอัพ รถ 6 ล้อ 10 ล้อมาไทยตามเส้นทางผ่านพนมเปญ ตะแก้ว กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และจังหวัดไพลิน ถึงด่านชายแดน บ้านผักกาดและบ้านแหลม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี รวมระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร

เมื่อถึงด่านบ้านแหลม บริษัทส่งออกของจังหวัดไพลินต้องจัดทำพิธีการศุลกากรผ่านด่านเข้ามาด่านไทย กระจายให้ลูกค้าประจำ สำหรับที่ด่านบ้านผักกาด มีผู้นำเข้ามากเกือบ 20 ราย มีพื้นที่โรงพักสินค้าและคัดเกรด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ1.มะม่วงตะกร้า แพ็กตะกร้าละ 25-30 กิโลกรัมเพื่อบริโภคผลสด ส่งให้ลูกค้าตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และทั่วประเทศ

2.มะม่วงโรงงาน ส่วนใหญ่ป้อนให้โรงงานแปรรูปที่จันทบุรี ราชบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ และทั่วไป โดยแนวโน้มจะส่งขายโรงานแปรรูปเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปทำมะม่วงแช่อิ่ม หรืออบแห้งจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีนมีออร์เดอร์ล่วงหน้ามาแล้ว

ขณะที่ราคามะม่วงในช่วงนี้ต้นทางจากสวนอยู่ที่ 6-7 บาท/กิโลกรัม เมื่อนำมาส่งที่ตลาดชายแดนราคา 12-13 บาท/กก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30-35 บาท และราคารถเข็นขายผลไม้ สามารถทำราคาได้สูงถึงลูกละ 20-25 บาท ส่วนมะม่วงแปรรูปแช่แข็งสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 75 บาท/กก.

ใครๆ ก็อยากมีสนามหญ้าสีเขียวๆ ไว้เพิ่มบรรยากาศความสดชื่น และใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด นั่งเล่น นอนเล่น ในสนามหญ้าหน้าบ้านให้เพลิดเพลินใจ แต่การดูแลสนามหญ้าให้เขียวชอุ่มสวยงามตลอดเวลา ก็ต้องคอยแบ่งเวลาดูแล ให้ปุ๋ย ให้น้ำ ต้นหญ้าในสนามอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นหญ้าเริ่มเขียว ปัญหาที่ตามมาคือ หญ้าจะโต สูงๆ ต่ำๆ ไม่เท่ากัน ตกเป็นภาระหนักของพ่อบ้านหลายรายที่ถูกแม่บ้านชี้นิ้วสั่งให้ตัดหญ้า

หากใครรู้สึกเบื่อ กับการทำงานตัดหญ้า ขอแนะนำให้ลองปลูก “ใบต่างเหรียญ” เป็นไม้สนามแทนต้นหญ้า เพราะประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้าได้อย่างดี เนื่องจาก ต้นใบต่างเหรียญ จะเจริญเติบโตแนบไปกับดิน ทำให้ประหยัดเวลาและพลังงานในการตัดหญ้า “ใบต่างเหรียญ” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัย ในหัวข้อ “จากพืชท้องถิ่น สู่ไม้ประดับ” ของกรมวิชาการเกษตร ที่เผยแพร่สู่สาธารณชน มาตั้งแต่ ปี 2556 เพื่อให้คนไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ของพืชท้องถิ่นในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

“ใบต่างเหรียญ” เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน มีรากตามข้อ ทำให้ยึดเกาะดินได้ดี ใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ขอบเรียบ ดอกสีขาว ออกตามซอกใบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแบ่งจากต้นเดิม ทนแล้งได้ดี เป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นของ “ใบต่างเหรียญ” คือเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ ใบจะช่วยปกป้องไม่ให้น้ำฝนปะทะผิวดินโดยตรง ป้องกันการชะล้างหน้าดินได้ดี ใบไม่ช้ำ หรือเละเมื่อถูกเหยียบย่ำ

หากใครเบื่อดูแลสนามหญ้า ก็อยากเชิญชวนให้หันมาปลูกใบต่างเหรียญแทน เพื่อประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้า และร่วมอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน สำหรับผู้อ่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทร. (02) 940-7409 ในวันและเวลาราชการ

แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถปลูกและส่งออกมะม่วงได้มากมายหลายสิบชนิด แต่วันนี้กลับพบว่า ความต้องการบริโภค “มะม่วงแก้ว”เพิ่มขึ้นเท่าตัว และไทยยังผลิตมะม่วงแก้วนอกฤดูได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ นี่คือช่องว่างการตลาดที่ทำให้ “มะม่วงแก้วขมิ้น”จากกัมพูชารุกเข้ามายึดตลาดเมืองไทย

สำหรับมะม่วงแก้วขมิ้น ปลูกมากที่ประเทศกัมพูชา เพราะสภาพดิน อากาศ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นเหมาะสม จึงให้ผลดกมาก และยังมีรสชาติหวาน กรอบ อมเปรี้ยวน้อยกว่ามะม่วงแก้วของไทย ลักษณะเนื้อมาก ผลใหญ่ เนื้อมีสีเหลืองสวยงามเหมือนขมิ้น โดยเฉพาะตรงไส้จะเหลืองจัด จึงเป็นที่มาของชื่อมะม่วงแก้วขมิ้น หรือมะม่วงไส้ขมิ้น แต่มีชื่อเป็นทางการว่า “พันธุ์ละเมียด”

ข้อมูลปี 2557 กัมพูชามีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 65,250 เฮกตาร์ หรือประมาณ 391,500 ไร่ ผลผลิตส่งขายไทย 30% และเวียดนาม เกาหลี จีน 70% ปลูกมากใน 8 จังหวัด คือ กัมปงสะปือ (ปลูกมากที่สุด 243,750 ไร่) กัมปงจาม กันดาล ตะแก้ว ตบูงขมุม เสียมเรียบ พระตะบอง และบันเตียเมียนเจย

วันนี้มะม่วงแก้วขมิ้นเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของกัมพูชา ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม-พฤษภาคม แต่เว้นระยะหมดรุ่นเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในเมืองไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา เพราะมะม่วงไทยขาดตลาด และโรงงานแปรรูปส่งออก มีความต้องการวัตถุดิบจำนวนมาก

อีกทั้งด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย เนื้อหนา สีเหลืองสวย จึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยเป็นอย่างมาก คาดว่ามีมะม่วงแก้วขมิ้นส่งเข้ามาเมืองไทยวันละ 1,000 ตัน

เส้นทางของมะม่วงแก้วขมิ้นส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกัมปงสะปือ และเป็นเจ้าของสวนรายใหญ่ปลูกหลายหมื่นไร่ บางรายเกือบแสนไร่ มีผู้รับซื้อเข้าไปซื้อถึงสวนทั้งคนจีน คนไทย กัมพูชา จากนั้นจะขนส่งด้วยรถตู้ รถปิกอัพ รถ 6 ล้อ 10 ล้อมาไทยตามเส้นทางผ่านพนมเปญ ตะแก้ว กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และจังหวัดไพลิน ถึงด่านชายแดน บ้านผักกาดและบ้านแหลม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี รวมระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร

เมื่อถึงด่านบ้านแหลม บริษัทส่งออกของจังหวัดไพลินต้องจัดทำพิธีการศุลกากรผ่านด่านเข้ามาด่านไทย กระจายให้ลูกค้าประจำ สำหรับที่ด่านบ้านผักกาด มีผู้นำเข้ามากเกือบ 20 ราย มีพื้นที่โรงพักสินค้าและคัดเกรด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ1.มะม่วงตะกร้า แพ็กตะกร้าละ 25-30 กิโลกรัมเพื่อบริโภคผลสด ส่งให้ลูกค้าตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และทั่วประเทศ

2.มะม่วงโรงงาน ส่วนใหญ่ป้อนให้โรงงานแปรรูปที่จันทบุรี ราชบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ และทั่วไป โดยแนวโน้มจะส่งขายโรงานแปรรูปเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปทำมะม่วงแช่อิ่ม หรืออบแห้งจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีนมีออร์เดอร์ล่วงหน้ามาแล้ว

ขณะที่ราคามะม่วงในช่วงนี้ต้นทางจากสวนอยู่ที่ 6-7 บาท/กิโลกรัม เมื่อนำมาส่งที่ตลาดชายแดนราคา 12-13 บาท/กก. ส่วนราคาขายปลีกทั่วไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30-35 บาท และราคารถเข็นขายผลไม้ สามารถทำราคาได้สูงถึงลูกละ 20-25 บาท ส่วนมะม่วงแปรรูปแช่แข็งสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 75 บาท/กก.

ใครๆ ก็อยากมีสนามหญ้าสีเขียวๆ ไว้เพิ่มบรรยากาศความสดชื่น และใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด นั่งเล่น นอนเล่น ในสนามหญ้าหน้าบ้านให้เพลิดเพลินใจ แต่การดูแลสนามหญ้าให้เขียวชอุ่มสวยงามตลอดเวลา ก็ต้องคอยแบ่งเวลาดูแล ให้ปุ๋ย ให้น้ำ ต้นหญ้าในสนามอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นหญ้าเริ่มเขียว ปัญหาที่ตามมาคือ หญ้าจะโต สูงๆ ต่ำๆ ไม่เท่ากัน ตกเป็นภาระหนักของพ่อบ้านหลายรายที่ถูกแม่บ้านชี้นิ้วสั่งให้ตัดหญ้า

หากใครรู้สึกเบื่อ กับการทำงานตัดหญ้า ขอแนะนำให้ลองปลูก “ใบต่างเหรียญ” เป็นไม้สนามแทนต้นหญ้า เพราะประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้าได้อย่างดี เนื่องจาก ต้นใบต่างเหรียญ จะเจริญเติบโตแนบไปกับดิน ทำให้ประหยัดเวลาและพลังงานในการตัดหญ้า “ใบต่างเหรียญ” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัย ในหัวข้อ “จากพืชท้องถิ่น สู่ไม้ประดับ” ของกรมวิชาการเกษตร ที่เผยแพร่สู่สาธารณชน มาตั้งแต่ ปี 2556 เพื่อให้คนไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ของพืชท้องถิ่นในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

“ใบต่างเหรียญ” เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน มีรากตามข้อ ทำให้ยึดเกาะดินได้ดี ใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ขอบเรียบ ดอกสีขาว ออกตามซอกใบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแบ่งจากต้นเดิม ทนแล้งได้ดี เป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นของ “ใบต่างเหรียญ” คือเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ ใบจะช่วยปกป้องไม่ให้น้ำฝนปะทะผิวดินโดยตรง ป้องกันการชะล้างหน้าดินได้ดี ใบไม่ช้ำ หรือเละเมื่อถูกเหยียบย่ำ

หากใครเบื่อดูแลสนามหญ้า ก็อยากเชิญชวนให้หันมาปลูกใบต่างเหรียญแทน เพื่อประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้า และร่วมอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน สำหรับผู้อ่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทร. (02) 940-7409 ในวันและเวลาราชการ

ไทยไฟเขียวนำเข้า “มะม่วงแก้วขมิ้น” กัมพูชา หวังป้อนโรงงานแปรรูปแช่แข็งส่งออก-บริโภคผลสดในประเทศพุ่งเท่าตัว ด้านผู้นำเข้าชายแดนฝั่งเมืองจันท์-ตราด-สระแก้ว-สุรินทร์ สบช่องเร่งปรับตัวจดทะเบียน สร้างโรงพักคัดแยกสินค้า จ่อนำเข้าให้ทันรับฤดูกาลผลิตตุลาคมนี้ หวั่นทำใบรับรองสุขอนามัยพืช-ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าฝั่งกัมพูชาไม่พร้อม เผยนายหน้าหัวใสโขกค่าดำเนินการสูงเฉียด 3 หมื่นบาท/วัน

นายสุทัศน์ แก้วสะอาด หัวหน้าด่านตรวจพืชจันทบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ลงนามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง เงื่อนไขการนำเข้าผลมะม่วงสดจากราชอาณาจักรกัมพูชา พ.ศ. 2559 อนุญาตให้นำมะม่วงสดหรือมะม่วงแก้วขมิ้นจากกัมพูชาได้ภายใต้การดูแลของกรมวิชาการเกษตรของไทย และองค์กรอารักขาพืช (NPPO) ของกัมพูชา

ประกาศฉบับนี้ทำให้สามารถนำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นจากประเทศกัมพูชาได้ทุกช่องทางชายแดนที่ติดต่อกับกัมพูชาทั้ง4จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด โดยผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าและส่งออก คือ 1.จดทะเบียนการค้า 2.มีใบอนุญาตนำเข้าอาหารและใบอนุญาตนำเข้าสิ่งที่ต้องห้ามจากการค้า

ส่วนผู้ส่งออกต้องมี 1.ใบรับรองสุขอนามัยพืช ที่ออกโดยองค์กรอารักขาพืช กัมพูชา และ 2.ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) เพื่อยกเว้นภาษีสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งเอกสารของผู้ส่งออกทั้งสองอย่างต้องระบุชื่อผู้นำเข้าให้ตรงกัน พร้อมทั้งจะมีการสุ่มตรวจตัวอย่างศัตรูพืช ถ้ามีปริมาณน้อยกว่า 1,000 ผล สุ่มตรวจ 450 ผล ถ้ามากกว่า 1,000 ผล จะสุ่มตรวจ 600 ผล

“จันทบุรีน่าจะมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งผู้นำเข้าที่จดทะเบียนและมีโรงพักสินค้าที่ได้มาตรฐาน อย.ของกระทรวงสาธารณสุข ตอนนี้มีบริษัทจดทะเบียนแล้ว 3-4 ราย ส่วนการยื่นขอใบอนุญาตนำเข้ามะม่วงจากกรมวิชาการเกษตร น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการตามประกาศดังกล่าวตั้งแต่ตุลาคมนี้เป็นต้นไป” นายสุทัศน์กล่าว

ผู้นำเข้าโอดกฎใหม่ต้นทุนพุ่ง

แหล่งข่าวจากผู้นำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นด่านบ้านผักกาดจังหวัดจันทบุรีเปิดเผยว่า ผู้นำเข้าพร้อมที่จะจดทะเบียนการค้า และก่อสร้างโรงพักขนถ่ายผลไม้ตามมาตรฐาน อย.แล้วตามระกาศกรมวิชาการเกษตร แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือเอกสารใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของกัมพูชา เพราะทำการค้ากับผู้ส่งออกรายย่อยคงไม่สามารถขอเอกสารได้ ขณะนี้จึงมีนายหน้าเข้ามารับดำเนินการให้ผู้นำเข้าไทยมีเอกสารผู้ส่งออกฝ่ายกัมพูชา โดยเสนอราคาเบ็ดเสร็จรายละ 29,000 บาทต่อมะม่วงไม่เกิน 250 ตัน/วัน ซึ่งเป็นราคาที่สูง โดยเฉพาะใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) เสนอราคา 15,000 บาท

ทั้งนี้ผู้นำเข้าจะแบกภาระค่าใช้จ่ายสูงถึง 29,000 บาท/ราย/วัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก และกำหนดให้นำเข้ารายละไม่เกิน 250 ตัน/วันนั้นก็สูงเกินจริง เพราะช่วงที่ผลผลิตมะม่วงออกมากยังนำเข้าไม่เกิน 100-120 ตัน/วัน ซึ่งนายหน้าแนะนำให้รวมกลุ่มกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย

“ด่านบ้านผักกาด มีผู้นำเข้ารายใหญ่กว่า 10 รายตื่นตัวที่จะจดทะเบียนการค้าและสร้างโรงพักผลไม้ที่ได้มาตรฐาน อย. แต่การลงทุนสูงมาก ขณะที่การค้ามะม่วงบวกกำไรเพียงกิโลกรัมละ 1-2 บาท หากต้องเสียค่าเอกสารอีกก็จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก เรายินดีจ่ายเงินค่าดำเนินการในราคาที่เราอยู่กันได้” ผู้นำเข้ารายหนึ่งกล่าว

นายสุมิตร เขียวขจี อดีตประธานหอการค้าจังหวัดตราด กล่าวถึงแนวโน้มตลาดมะม่วงแก้วขมิ้นว่า มีโอกาสเติบโตเพราะโรงงานแปรรูปส่งออกมีความต้องการสูงมาก โดยได้เตรียมลู่ทางนำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นจากจังหวัดกำปงสะปือทางชายแดนด้านจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ 260 กิโลเมตร ใกล้กว่าการนำเข้าด่านจังหวัดจันทบุรี 150-160 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้ามะม่วงทางเกาะกงมากถึง 60-70%

อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่าเอกสารการนำเข้า-ส่งออกทางฝั่งกัมพูชาจะสะดวกหรือไม่ หากเป็นรูปแบบของการนำเข้าจังหวัดจันทบุรีเดิมจะสะดวก คือ มีคนกลางนำเข้ามาลอตใหญ่ โดยเคลียร์เอกสารทั้งนำเข้าและส่งออกให้ จากนั้นมีลูกค้าประจำมารับสินค้ากระจายออกไป

“คาดว่าจะมีผู้เข้าไปซื้อมะม่วงมากขึ้น ผู้นำเข้ารายย่อยจึงควรรวมตัวกันเพื่อติดต่อกับผู้ส่งออกกัมพูชาจัดทำเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดเดียวกัน เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก รายย่อยจะทำการค้าโดยตรงได้ยาก” นายสุมิตรกล่าว

ด้านนายวุฒิพงษ์ รัตนมณฑ์ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออก จังหวัดตราด กล่าวว่า ปัจจุบันโรงงานแปรรูปผลไม้มีความต้องการมะม่วงแก้วขมิ้นจำนวนมากเพื่อนำผลสุกไปแช่แข็งส่งออก เพราะลูกใหญ่เนื้อมาก รสชาติไม่เปรี้ยวจัด สีเหลืองสวย ซึ่งสหกรณ์ก็สนใจที่จะนำเข้ามาแปรรูปในช่วงที่โรงงานหมดช่วงฤดูกาลทุเรียน หากแปรรูปแช่แข็งส่งตลาดต่างประเทศได้จะเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะมีตลาดจีนที่รับซื้ออยู่แล้ว ทั้งนี้ต้องรอศึกษาวิธีการนำเข้าและส่งออกตามประกาศของกรมวิชาการเกษตรก่อน โดยเฉพาะเรื่องการออกเอกสารรับรองสุขอนามัยพืชของกัมพูชาว่าทำได้หรือไม่

เมื่อเร็วๆ นี้ “กรมส่งเสริมการเกษตร” พาสื่อมวลชนบุกพิสูจน์ผลการดำเนินงาน “ศูนย์การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร” (ศพก.) ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิตสวนปาล์ม

คุณสงกรานต์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เล่าว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีพันธกิจสำคัญคือ การส่งเสริมพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีขีดความสามารถในการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด ซึ่งจังหวัดกระบี่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของการดำเนินงาน เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในระดับโลกแล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ยางพารา และปาล์มน้ำมัน โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผ่านโครงการต่างๆ อย่างหลากหลาย และมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน การส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการตลาด การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้เพิ่มเติมประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงาน รวมทั้งเป็นการเผยแพร่กิจกรรมของเกษตรกรในพื้นที่

คุณสมหวิง หนูศิริ เกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์ ตั้งอยู่ที่ 261 หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งทับควาย ตำบลทุ่งไทรทอง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการในลักษณะการทำเกษตรแบบผสมผสานมีกิจกรรมหลากหลาย ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชหลัก ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ เพาะเห็ด การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์และเศษวัสดุเหลือใช้จากในแปลงทำปุ๋ยหมัก ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี

คุณสมหวิง กล่าวว่า การปลูกปาล์มน้ำมันที่ดีต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจในการปลูก เกษตรกรจะปลูกอย่างเดียวไม่ได้ เพราะในปัจจุบันไม่เหมือนเมื่อก่อน ต้นทุนการผลิตสูง ทีนี้เกษตรกรจะปลูกต้องคำนึงถึงพื้นที่ การปลูกปาล์มน้ำมันไม่ได้เหมาะกับทุกพื้นที่ แต่ทางภาคใต้แล้วถือว่าเหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมัน

หลังจากการเตรียมดิน แนะให้ปลูกแบบใหม่ ก่อนหน้านี้ จะปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถว 9×9 เมตร หรือ 8×8 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นเยอะ แต่ผลผลิตน้อย ปัจจุบัน แนะให้ปลูกระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถว 10×10 เมตร วางแนวให้ได้รับแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำให้ปาล์มออกลูกได้มาก วิธีนี้ได้ทะลายน้อยก็จริง แต่ได้ผลผลิตมาก ลูกดก ช่วยประหยัดแรงงาน เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มก็สามารถทำเองได้

คุณสมหวิง บอกว่า เมื่อก่อนเกษตรกรนิยมปลูกปาล์มพันธุ์ไต้หวัน ไปเก็บใต้โคนต้นมาปลูก ด้วยความไม่เข้าใจของเกษตรกรจึงส่งผลทำให้ไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร จึงทำความเข้าใจใหม่ว่าการปลูกปาล์มให้ได้ผลดีต้องมีพันธุ์ปาล์มที่ดี บุคคลที่จะขยายพันธุ์ปาล์มต้องมีหนังสือรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ทีนี้เกษตรกรได้ปาล์มที่ดีมาปลูก เมื่อเกษตรกรเข้าใจเรื่องพันธุ์ปาล์มแล้ว เข้าใจเกี่ยวกับการดูแล ทางศูนย์เราก็พยายามแนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาร่วมกับปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมก่อนปลูก นี่คือ ตัวหลักคือเราต้องป้องกันตั้งแต่ ที่ดิน 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 22 ต้น ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ปลูกปาล์มแบบลดต้นทุนการผลิต

สวนของคุณสมหวิงมีวิธีลดต้นทุน ดังนี้ เน้นที่การเลี้ยงสัตว์ในสวนปาล์ม เพราะสัตว์ช่วยถางสวนให้ ลดสารเคมี ใช้มูลเป็นปุ๋ย
ทำปุ๋ยหมักมาใส่ต้นปาล์ม ทำค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน เพื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพตามค่าวิเคราะห์ดิน ลดปุ๋ยเคมีลง ต้นทุนการผลิตก็ลดลงด้วย ช่วงแรกเกษตรกรก็ไม่เข้าใจในการปลูกพืชแซมในสวนยาง โดยเฉพาะภาครัฐเมื่อก่อนไม่ให้ปลูก

ให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ไม่ให้ปลูกพืชแซม เพราะเป็นนโยบายของภาครัฐให้ทำลายพืชชนิดอื่นเหลือพื้นที่เปล่าๆ แต่เมื่อโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ามาสู่ชุมชนจะเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะโยงถึงชาวสวน ทำให้ชาวสวนเกิดแนวคิดว่า จะมานั่งทำสวนเชิงเดี่ยวไม่ได้แล้ว ต้องหารายได้เสริมเพื่อแก้ปัญหายามปาล์มน้ำมันราคาตกในช่วงฤดูแล้ง ต้องหาอาชีพเสริมเข้ามาใส่ คราวนี้ก็มาคิดว่าในสวนปาล์มสามารถปลูกอะไรได้บ้าง จึงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้รู้ว่าในสวนปาล์มสามารถเลี้ยงสัตว์ ทำประมง ปลูกพืชผักก็ได้ ซึ่งทุกวันนี้รายได้หลักน้อยกว่ารายได้เสริม

เรียบร้อยไปแล้วสำหรับการประกาศผลและพิธีมอบรางวัลนวัตกรรม เนื่องใน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๙” เพื่อเชิดชูเกียรติแก่นวัตกรไทยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมจนประสบความสำเร็จ ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ในปีนี้แบ่งรางวัลออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม รางวัล Inspirational Innovator รางวัล Startup of the year รางวัล Total Innovation Management รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย และรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภท ดังนี้

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลงานนวัตกรรม ไข่ออกแบบได้ บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด

ด้านสังคม ได้แก่ ผลงานนวัตกรรม การพัฒนาโพรไบโอติกแลกโตแบซิลลัสพาราเคซิอิเอสดีหนึ่งเพื่อใช้ป้องกันฟันผุ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม

สาขา Food Design ได้แก่ แป้งเบเกอรี่สำเร็จรูปปราศจากกลูเต็น บริษัท บูรพา พรอสเพอร์ จำกัด

สาขา Green design ได้แก่ “บีช” กระเบื้องผงแก้วรีไซเคิล บริษัท อิมแม็กซ์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สาขา Medical Product Design ได้แก่ แผ่นรองใต้ก้นพร้อมถุงวัดปริมาตรเลือดภายหลังการคลอดปกติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สาขา Service Design ได้แก่ บริการรับตู้รับฝากสิ่งของควบคุมระยะไกล บจก. อินโนชิเนติ

รางวัล Inspirational Innovator

องค์กร ได้แก่ “ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์” (Teach for Thailand)…สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาไทย

บุคคล ได้แก่ นายวิเชียร พงศธร…ผู้ยึดหลักคิดและปฏิบัติสู่สังคมไทยที่มีความสุขอย่างยั่งยืนร่วมกัน

บุคคล ได้แก่ ดร.มีชัย วีระไวทยะ…บิดาแห่งธุรกิจเพื่อสังคม

รางวัล Startup of the year

รางวัล Startup of the year ได้แก่ JITTA บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาคุณภาพไข่ไก่ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยการใช้นาโนเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบการนำส่งสารอาหารเข้าสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพไข่ไก่ อาทิ การนำส่งน้ำมันโหระพาและน้ำมันออริกาโน่ ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรคบิดในไก่ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยกระตุ้นการกินอาหาร เป็นการทำให้ลำไส้ของไก่สะอาด ส่งผลให้ไก่ได้รับสารอาหารได้เต็มที่ อย่างเช่น เพิ่มไอโอดีนหรือสารอาหารอื่นๆที่ต้องการเข้าไป และมีผลทำให้ไข่ขาวของเป็นวงกลม ผู้บริโภคมีโอกาสได้บริโภคไข่ไก่ที่มีคุณภาพ และปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีและยาปฏิชีวนะ

“ตอนนี้ทางบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทใหญ่ๆ รวมถึงตัวเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ด้วย ซึ่งในการพัฒนาไข่ไก่รูปแบบนี้ จะทำให้ขายไข่ไก่ได้ราคาดีขึ้น นอกจากนี้ทางบริษัท คลีน กรีนเทคฯ ก็ยังได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆในอาเซียน อย่างเช่น มาเลเซีย พม่าฯลฯ ในการผลิตไข่ดังกล่าว”

ส่วนรางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม สาขาการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green design) “VOWDA” แป้งอัดแข็งจากกะลามะพร้าว คว้า รางวัลที่ 2 คุณวิลาสินี โฆฆิตชัยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ว้าวด้า จำกัด กล่าวว่า ด้วยความที่ครอบครัวและทำธุรกิจอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปลูกมะพร้าวจำนวนมาก และเห็นการทิ้งกะลามะพร้าวโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า จึงอยากนำมาเพิ่มมูลค่า เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น เพราะเห็นว่าน่าจะมาทำเป็นแป้งทาหน้าได้ หลังจากที่เคยนำข้าวและเม็ดบัวมาทำเป็นแป้งอัดแข็งจำหน่ายก่อนหน้านี้แล้ว

“วิธีการทำแป้งอัดแข็งจากกะลามะพร้าวค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน เพราะต้องผ่านกระบวนการแปรรูป 3 อย่างคือ การแปรรูปให้เป็นถ่านกัมมันต์บดละเอียด การแปรรูปโดยการบดละเอียดให้ได้ขนาด จากนั้นนำมาฆ่าเชื้อโดยใช้วิธีให้คงสี และการใช้หลักการสกัดเซลลูโลสบริสุทธิ์ นำไปผสมในสูตรตำรับแป้งแต่งหน้าแบบแข็ง และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเครื่องสำอางออแกนิก ซึ่งจะออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ในราคาตลับละ 900 กว่าบาท ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าทำไมแพงทั้งๆที่ทำจากกะลามะพร้าว ความจริงต้องผ่านหลายกระบวนการมาก กว่าจะทำออกมาได้ ซึ่งเหมาะกับคนที่ชอบใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติแทนแป้งทัลคัมที่ใช้กันอยู่ทั่วไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แป้งอัดแข็งจากกะลามะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก เพราะหลายคนไม่คิดว่าจะนำมาทำเป็นแป้งทาหน้าได้ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการมักจะนำน้ำมันมะพร้าวมาทำเป็นเครื่องสำอางเสียมากกว่า

ไม่บ่อยนักที่จะมีโอกาสได้พบหรือสนทนากับเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ จนถึงขึ้นเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐี เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเกษตรกรบ้านเรา ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนหรือไม่ก็พอมีพอกิน ไม่มีเหลือเก็บ น้อยคนนักที่จะสามารถสร้างฐานะมั่งคั่งขึ้นมาได้จากการทำอาชีพหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินนี้ได้

งานนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ชักชวนให้ไปดูสวนทุเรียนของ”คุณฉัตรกมล มุ่งพยาบาล” ที่ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร บนพื้นที่ 45 ไร่ และยังมีสวนทุเรียนอีก 15 ไร่ ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

เกษตรกรหนุ่มผู้นี้ที่มีดีกรีถึงปริญญาโท โดยจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และปริญญาโทที่สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ซึ่งในสวนของเขาปลูกผลไม้หลายอย่างและพืชอื่นๆด้วยอย่างเช่น ปาล์มน้ำมัน กล้วยน้ำหว้า ไผ่ตง ส้มโชกุน และทุเรียนหลายพันธุ์ แต่หลักๆคือ”หมอนทอง” ซึ่งเป็นพันธุ์ส่งออกที่ด้ราคาดี โดยในปีหนึ่งๆเขามีรายได้จากการขายทุเรียนส่งนอกหลายล้านบาท ประเทศนำเข้าเป็นอันดับหนึ่งคือ จีน

ด้วยความรู้ความสามารถและยังอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยเฉพาะในวงการเกษตร ทำให้เขาได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆมากมาย อาทิ เกษตรกรทำสวนดีเด่นของจังหวัดชุมพร ปี 2557 และได้รับคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นรองชนะเลิศระดับประเทศ สาขาอาชีพการทำสวน ในฐานะสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้นั่งเก้าอี้เลขาธิการสมาคมชาวสวนไม้ผลจังหวัดชุมพร และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้ผลคุณภาพบ้านห้วยเหมือง รวมถึงมีตำแหน่งต่างๆอีกมาก และสวนของเขายังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพทุเรียน และศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก

เรียกว่า เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่มีคุณภาพคับแก้วจริงๆ ที่สำคัญเขายังนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ต่างๆถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้อย่างไม่เหน็ดเนื่อย สาเหตุที่เขาทำสวนผลไม้จนสามารถสร้างฐานะได้อย่างมั่นคงนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน ส่วนหนึ่งเพราะเรียนจบทางด้านเกษตรมา และเมื่อจบก็ทำงานกับบริษัทขายปุ๋ยเคมีอยู่หลายปี กระทั่งตัดสินใจมาทำยึดอาชีพเกษตรเต็มตัวในปี2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นแปลงผลิตทุเรียนที่ตรงตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เป็นต้นแบบของการส่งออก

นอกจากนี้ยังใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี อาทิ ทำระบบ สมัครพนันออนไลน์ QR Code เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพย้อนกลับถึงแหล่งผลิตได้ ผลิตทุเรียนนอกฤดู รวมถึงเน้นการรวมกลุ่มเกษตรเพื่อให้มีอำนาจต่อรองในการส่งออก ซึ่งทำให้เขาและสมาชิกสามารถขายทุเรียนได้ถึงกิโลกรัมละ 120 บาท

เมล่อนเป็นพืชตระกูลแตง ดูแลง่าย แต่การปลูกในโรงเรือนจะทำ

ผลผลิตที่ดีในทุกฤดู สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ อีกทั้งยังลดปัญหาโรคและแมลง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำโรงเรือนมีขนาดตาถี่มาก ป้องกันแมลงเข้าภายในโรงเรือนได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบฟาร์มยังเป็นท้องนาอยู่ ทำให้ปัญหาแมลงศัตรูพืชพบได้น้อย เพราะไม่มีพืชตระกูลเดียวกันเป็นตัวชักจูง แต่การป้องกันโรค หลังเสร็จสิ้นการเก็บผลผลิตและเตรียมแปลงปลูก จะต้องกำจัดวัชพืชภายในโรงเรือนให้หมด เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้

การเพาะกล้า นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์เก็บ ห่อด้วยผ้าดิบชุบน้ำบิดหมาด เก็บในกระติกหรือที่อับชื้น 25 ชั่วโมง สังเกตเห็นมีรากงอก ให้นำไปเพาะในถาดปลูก ขนาด 104 หลุม โดยใช้พีทมอสส์ (Peat moss) เป็นวัสดุเพาะกล้า รดน้ำเช้าเวลาเดียว 7-10 วัน จากนั้นย้ายปลูกลงแปลง

ระยะปลูก 50×50 เซนติเมตร ทำค้างความสูง 180 เซนติเมตร หรือพิจารณาจากความสูงสุดเอื้อมของแรงงาน เพื่อสะดวกเมื่อต้องดูแลต้น นำกล้าลงปลูก ภายในแปลงเป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำเฉพาะเวลาเช้า นานประมาณ 10 นาที เมื่อติดลูกให้ลดปริมาณน้ำลงเรื่อยๆ ดูความชื้นเป็นหลัก และงดน้ำ ก่อนเก็บผล 10 วัน เมื่อติดผลขนาดไข่ไก่ให้โยงเชือกรับน้ำหนักผลเมล่อน และสามารถเก็บผลได้หลังจากย้ายปลูก 90 วัน

เมื่อเมล่อนให้ใบ 7 ใบ ให้แทงปุ๋ยลงกลางระหว่างต้น ใช้สูตร 16-16-16 จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ควรผสมเกสรไว้ 3 ผล เมื่อติดผลให้เลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว เมื่อผลเริ่มคล้อยให้แทงปุ๋ยลงระหว่างต้น ที่เดิม สูตร 11-6-34 ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

“เทพมงคล ฟาร์ม ให้ปุ๋ยเคมีน้อยมาก เพราะการปลูกให้เมล่อนได้ผลผลิตดี ควรดูแลด้วยอินทรียวัตถุดีกว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งหากจะให้ก็เพียงเป็นตัวบำรุงเสริมเท่านั้น”

ภายในโรงเรือนแปลงยาว 30 เมตร กว้าง 1 เมตร ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโคนม เพื่อให้ได้อินทรียวัตถุสูงและไม่มีเมล็ดหญ้าปะปนมา นอกจากนี้ ควรเลือกมูลโคนมที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยสับปะรด เพราะมูลดังกล่าวจะทำให้เมล่อนมีเนื้อสีเหลืองได้ ปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ 30 กระสอบ ต่อโรงเรือน และทุกๆ 2 สัปดาห์ จะเพาะกล้า เพื่อตัดเมล่อนหมุนเวียนขายได้ตลอดปี

ปัจจุบัน เมล่อน เป็นพืชหลักของเทพมงคล ฟาร์ม แต่ละสัปดาห์ต้องผลิตส่งห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 600 กิโลกรัม แต่ความสามารถในการผลิตต่อสัปดาห์ สามารถเก็บผลได้มากถึง 5 ตัน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อซื้อไปขายยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น เขาใหญ่ วังน้ำเขียว ฉะเชิงเทรา ในราคาส่งกิโลกรัมละ 85 บาท และอีกจำนวนหนึ่งยังคงเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ด้วย

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ต้องการสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว คุณมงคล แนะนำว่า ควรเริ่มจากโรงเรือน 3-5 โรงเรือน จำนวนผลผลิตต่อโรงเรือนเฉลี่ย 200 ต้น สร้างรายได้เฉลี่ย 40,000 บาท ต่อ 3 เดือน

นอกเหนือจากเมล่อน ซึ่งเป็นพืชหลักในการปลูกสร้างรายได้และพัฒนาพันธุ์ของเทพมงคล ฟาร์มแล้ว คุณมงคลยังสนใจพืชผักอีกหลายชนิด เช่น แตงกวา บวบงู มะเขือเทศเชอร์รี่สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งพืชผักที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ หากประสบความสำเร็จ เทพมงคล ฟาร์ม ก็พร้อมเปิดจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจทั่วไป

เทพมงคล ฟาร์ม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งนอกจากจะปลูกเมล่อนเชิงพาณิชย์ การปรับปรุงพันธุ์สำหรับพืชผักอีกหลายชนิด การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ แล้วยังเป็นสถานศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับคนรักเมล่อน โดย คุณมงคล ธราดลธนสาร เปิดฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตร ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เกษตรไทยไม่จน” จัดให้มีการอบรมการปลูกเมล่อน รับจำนวน 15 คน ต่อรุ่น ระยะเวลา 3 วัน (ศุกร์-อาทิตย์) และเปิดอบรมทุก 3 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถติดตามผ่านทางเฟซบุ๊ก : เทพมงคล ฟาร์ม (Melon Farm) หรือติดต่อได้ที่ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 528 หมู่ที่ 14 ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ (086) 115-6295

นายเศวต วิชัยดิษฐ ปราชญ์ชาวบ้าน อยู่บ้านเลขที่ 15/3 หมู่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี เปิดเผยถึงสถานการณ์ การผลิตมะพร้าวแกงในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยว่า ปัจจุบันพื้นที่ลดลง เนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างเข้ามาแทนที่ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะสมุย จึงได้ร่วมกับเกษตรกรอนุรักษ์และปลูกมะพร้าวแกงขึ้น โดยปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นอย่างลางสาด มังคุด ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงของดีที่มีอยู่

นายเศวตกล่าวว่า มะพร้าวเกาะสมุย ที่อายุมากๆและให้ผลผลิตอยู่ ปัจจุบันบางสวนมีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เกษตรกรที่มีความเข้าใจก็ปลูกทดแทน ในอดีตที่ผ่านมานั้น นอกจากอาชีพทะเลแล้ว เกษตรกรอยู่ได้เพราะมะพร้าว ราคาซื้อขายกัน ผลละ 10-20 บาท แล้วแต่ฤดูกาลแล้วก็การติดผลมากน้อยแค่ไหน

“หลังจากปลูกไม่เกิน 8 ปี มะพร้าวแกงที่ปลูกก็จะให้ผลผลิตได้ แต่หากใครดูแลดี อาจจะให้ผลผลิตเร็วกว่านี้ มะพร้าวแกงสมุยทะลายหนึ่งติดผล 18-20 ผลต่อทะลาย ผลมี 2 ลักษณะคือสีเขียวอ่อนและสีเหลืองแดง ขนาดผลปานกลาง เนื้อหนา จุดเด่นคือเมื่อนำไปคั้นกะทิมีความมัน และกลิ่นหอมมาก เป็นมะพร้าวแกงระดับแนวหน้าของประเทศ…การอนุรักษ์ ทางเกษตรกรร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ อยากให้ชาวบ้านได้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ส่วนใหญ่เกาะสมุยอยู่ได้ด้วยมะพร้าวกัน..ต้นพันธุ์พอมี แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า ที่เบอร์โทรศัพท์ 087-8846832 และ086-1204118”นายเศวตกล่าว

พลูเป็นไม้เลื้อยที่มีข้อและปล้องชัดเจน โดยแต่ละข้อจะมีรากสั้นๆออกรอบๆ จัดเป็นพืชใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ซึ่งลักษณะของใบจะแหลมคล้ายใบโพธิ์ ผิวใบมัน มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ

สวนพลูกว่า 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมี คุณสิตา หิมารัตน์ หรือคุณเจี๊ยบ เจ้าของสวนพลูแห่งนี้

คุณเจี๊ยบ เล่าว่า การปลูกพลูการเกษตรที่ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ และเธอเอง ก็มาสืบสานอาชีพนี้ต่อ พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่จะให้ผลผลิตดีต้องปลูกในพื้นที่ที่สภาพอากาศร้อนชื้นและมีแสงแดดส่งถึงอย่างน้อย 50-60 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถปลูกได้ทุกฤดู

30 วันเก็บ 1 ครั้ง ไม่งั้นใบจะแก่เกินไป

เริ่มต้นการปลูก ดินต้องเป็น ดินร่วน ขุดหลุม ลึก 15 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร โดย กิ่งพันธุ์ต้องเป็นยอดที่ขยายพันธุ์โดยการชำ

ระยะปลูกระหว่างต้น ระหว่างแถว อยู่ที่ 1.2 เมตร คูณ 1.5 เมตร และต้องให้น้ำวันเว้นวัน และปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้ง หลังจากปลูกแล้ว 3 เดือนเก็บใบขายได้ และเมื่อ คิดตค่าติดตั้งโรงเรือน ระบบน้ำ 1 ไร่ ใช้เงินทุนประมาณ 40000 บาท

สำหรับตลาดที่สำคัญคือ ปากคลองตลาด และส่งออกไป ไต้หวัน ด้วย ส่วน ราคาจำหน่าย จะแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ ขนาดใบใหญ่ จำหน่ายกิโลกรัมละ 70 บาท ใบขนาดกลางเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนใบขนาดเล็กจะจำหน่ายกิโลกรัมละ 30-50 บาท โดยราคาแต่ละขนาดจะปรับขึ้น-ลง ตามปริมาณใบพลูในช่วงเวลานั้นๆ

ทั้งนี้ คุณเจี๊ยบ มีคำแนะ สำหรับคนที่อยากปลูกคือ ต้องเริ่มต้นจากหาตลาดก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรก

ผู้สนใจ ติดต่อ คุณเจี๊ยบได้ที่ โทร. 062-4239236 หรือ เข้าไปดูในเพจ ขายใบพลูราคาส่ง by เจี๊ยบ ปีที่ผ่านมาพบว่า มีขนุนวางจำหน่ายในตลาดผลไม้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ปริมาณการผลิตลดน้อยตามไปด้วย อีกทั้งมีการส่งออกไปจีนและอินโดนีเซียอีกจำนวนหนึ่ง

แนวคิด ที่จะยืดเวลาการผลิตขนุนให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีบังคับให้ออกนอกฤดูนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลกับขนุนนั้น เคยเกิดความเสียหายมาแล้ว ขอเล่าย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกน่าฉงน

มีเกษตรกรท่านหนึ่ง ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ราดให้กับต้นมะม่วงเพื่อบังคับให้ออกนอกฤดู แต่ในสวนดังกล่าวเกษตรกรปลูกแซมด้วยต้นขนุน ซึ่งมีผลกระทบเมื่อขนุนแตกใบอ่อนออกมาใหม่ ใบเกิดมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับมือของมนุษย์ที่แบคว่ำลง ที่ใต้ใบมีผลขนุนขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือติดอยู่ตามแฉกของใบเต็มไปหมด ในที่สุดเกษตรกรต้องตัดต้นขนุนทิ้งไปหลายต้น

แพคโคลบิวทราโซล เป็นสารที่มีความสามารถในการยับยั้ง การผลิตฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน ที่ทำหน้าที่ยืดความยาวของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตทางลำต้น รวมทั้งกิ่งและใบ แต่กลับไปกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกได้ในชั่วระยะหนึ่งกับต้นไม้บางชนิด ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ต้นมะม่วง ปัจจุบัน มีการนำมาใช้กับมะนาวกันบ้างแล้ว แต่สำหรับขนุนเป็นสารต้องห้ามอย่างยิ่งยวด

ยุคสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนส่วนหนึ่งเลือกหันหลังให้เมืองใหญ่ กลับถิ่นฐานบ้านเกิด หาประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้อง บางส่วนถ้าไม่เปิดร้านขายของเล็กๆ ก็เลือกเป็นเกษตรกร ฝากความหวังไว้กับผืนดิน สายน้ำ และท้องฟ้า

ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเลือกเดินบนเส้นทางสายเกษตร ประสบความสำเร็จได้ คือความรู้ เพราะมีบางคนที่เลือกเป็นนายตัวเอง แต่ยังขาดความรู้ ต้องล้มเหลวกลับเข้ามาขายแรงในเมือง

การปลูกมะนาว ที่สวนมะนาวย่านภาษีเจริญของ ลุงจำรัส คูหเจริญ อดีตข้าราชการวัย 74 ปี เจ้าของสวนมะนาวลุงจำรัส ที่ปลูกมะนาวจนประสบความสำเร็จ และยังสามารถเพาะพันธุ์มะนาวได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำความรู้ไปต่อยอดต่อไป

ลุงจำรัส เริ่มเล่าว่า มีพื้นเพมาจากครอบครัวชาวสวน อาศัยอยู่ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ มานานแล้ว เรียกว่าทำสวนเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ส่วนตนสนใจปลูกกล้วยไม้เป็นอาชีพ ตามคำแนะนำของ ศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไทย ตอนนั้นทำสวนกล้วยไม้ได้ประมาณ 8 ปี จึงสอบชิงทุนไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นได้ ช่วงประมาณปี 2506 ไปเรียนประมาณ 5 ปีครึ่ง ด้านวิศวกร ควบคู่สาขาการเกษตร ช่วงนั้นต้องให้เเม่ดูเเลต้นไม้เพียงลำพัง หลังจากเรียนจบได้กลับมาที่บ้าน พบว่า ต้นไม้ที่ปลูกไว้ตายหมด จากนั้นจึงปลูกพืชชนิดต่างๆเช่น ซ่อนกลิ่น กุหลาบ ปลูกได้ไม่นานก็ตายอีกเช่นเคย เลยลองหันมาปลูกส้มโอกับมะม่วง แต่โดนเวนคืนที่เพื่อทำถนนจึงต้องเลิกปลูก

เจ้าของสวนมะนาว เล่าต่อว่า ต่อมาได้มาปลูกต้นโป๊ยเซียน สร้างรายได้และประสบความสำเร็จถึง 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเลิกปลูก และหันมาปลูกมะนาวแทน โดยมะนาวนั้นปลูกมาตั้งแต่สมัยรุ่นของพ่อแม่ กว่า 60 ปีแล้ว แต่มาเริ่มพัฒนาสายพันธุ์อย่างจริงจังเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเทคนิคที่ได้ในการพัฒนาสายพันธุ์มะนาวคือ ใช้หลักการผสมตามหลักของตนเอง เพราะเมื่อตอนที่ปลูกพืชชนิดต่างๆสมัยก่อนก็ผสมสายพันธุ์เอง ฉะนั้นสิ่งพวกนี้จึงอยู่ในหัวมาโดยตลอด และอาศัยว่าเป็นเรื่องที่ใจรัก ประกอบกับพอจะมีความรู้พื้นฐานด้านการทำเกษตรอยู่บ้าง

ผมเริ่มจากการพัฒนาสายพันธุ์มะนาวใหม่เพื่อต้านทานโรคแคงเกอร์ โดยมีชื่อว่ามะนาวพันธุ์จำรัส 9ก่อนจะต่อยอดปรับปรุงพันธุ์เพิ่ม โดยลองผิดลองถูกมาหลายปีกว่าจะได้มะนาวพันธุ์จำรัส 28 และ 29ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ประหยัดแรงงานที่จ้างมาฉีดยาป้องกันและกำจัดโรค ตลอดจนลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะลดปัญหาสารตกค้างในผลผลิต อันจะนำมาสู่ความปลอดของผู้บริโภค

“สำหรับมะนาวจำรัส 28 และจำรัส 29 ได้พัฒนามาจากมะนาวพันธุ์จำรัส 9 ซึ่งเป็นมะนาวลูกผสมระหว่างแป้นพวง(พันธุ์แม่) ผสมกับมะนาวน้ำหอม(ด่านเกวียน) จุดเด่นคือให้ลูกดก ผลโตและมีน้ำมาก น้ำ เนื้อ กลิ่นเหมือนมะนาวแป้น เปลือกบาง น้ำหนักผล 70-100 กรัม การเจริญเติบโตของต้นดี ใบใหญ่และต้านทานโรคดีมาก โดยมะนาวจำรัส 28 เป็นผลจากการผสมระหว่างมะนาวจำรัส 9 และใช้มะนาวแป้นจริยาเบอร์ 1 มาผสม เพื่อเพาะเมล็ดจนเป็นต้นแล้ว ออกดอกให้ผลเมื่อต้นยังเล็ก แต่ผลโตมาก ทรงของผลแบนแบบมะนาวแป้นทั่วไป น้ำ เนื้อ กลิ่น เหมือนมะนาวแป้นทุกอย่าง และมีเปลือกที่บาง ออกดอกง่ายโดยที่ไม่ต้องบังคับก็ออกดอกทั้งปี และต้านทานโรคได้ดีมาก

และมะนาวพันธุ์จำรัส 29 เป็นผลจากการผสมระหว่างมะนาวจำรัส 9 (พันธุ์แม่) และใช้ส้มโชกุนเป็นพ่อ เมื่อได้เพาะเมล็ดจนขึ้นมาเป็นต้นแล้ว จะให้ผลเมื่อต้นยังเล็กแต่ออกดอกเร็ว ผลโตมาก ลักษณะผลเหมือนมะนาวแป้นทั่วไป เปลือกบาง มีน้ำมากเหมือนมะนาวจำรัส 28 ผลที่ออก 2 เดือนก็มีน้ำมากแล้ว และผลโตมากโดยไม่ต้องบังคับเช่นเดียวกับพันธุ์จำรัส 28 มีการเจริญเติบโตและการต้านทานโรคดีมาก” ลุงจำรัส เผยเคล็ดลับ

เจ้าของสวนมะนาวชื่อดัง เผยถึงเทคนิคการปลูกมะนาวว่า จะปลูกในวงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร แต่ละวงบ่อซีเมนต์วางห่างกัน ประมาณ 3 เมตร เพื่อให้สะดวกในการดูแลต้นมะนาว โดยทั่วไปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะสามารถปลูกมะนาวได้ 135 บ่อ ใช้เงินลงทุน ประมาณ 50,000 บาท สำหรับค่าปุ๋ย ค่าต้นพันธุ์มะนาวรวมทั้งค่าวงบ่อซีเมนต์ หลังจากปลูกมะนาวแล้ว ภายใน 1 ปี สามารถถอนทุนคืนได้ทั้งหมด และในปีที่ 2 จะสามารถทำกำไรได้ถึง 1 เท่าตัว หรือสามารถทำเงินได้ 100,000 บาท เนื่องจากการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถควบคุมน้ำและปุ๋ยได้ดี สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูออกขายทำกำไรได้ตามที่ต้องการ ขณะที่การปลูกมะนาวลงดิน แม้จะมีผลผลิตสม่ำเสมอ แต่ยังทำผลกำไรสูงไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ต้นมะนาวมีผลผลิตออกนอกฤดูได้”

เมื่อถามถึงการเตรียมวัสดุปลูก ของสวนแห่งนี้ ลุงจำรัส บอกว่า สวนของผมเลือกใช้ดินเหนียวแห้ง ใส่จนเต็มวงบ่อซีเมนต์ จากนั้นเติมปูนขาวลงไป 1 กำมือ ต่อ 1 หลุม รดน้ำตามหนึ่งครั้งพอให้ดินชุ่มชื้น ขุดหลุมลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นให้นำกิ่งพันธุ์มะนาวที่จัดเตรียมไว้ ปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ได้เลย และนำไม้ไผ่มาผูกกับต้นมะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นมะนาวโอนเอนไปมาในช่วงที่มีลมแรง จากนั้นเทแกลบเหลืองโรยหน้าดิน ตามด้วยปุ๋ยคอก เทให้หนาประมาณ 1 นิ้ว คอยดูแลให้น้ำและใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ต้นมะนาวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยผลผลิตจะพุ่งสูงสุดในช่วงเดือน มี.ค. และเม.ย. ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่มะนาวในตลาดจะให้ผลน้อย ทำให้สามารถกำหนดราคาในการขายได้

ผู้ใดสนใจเรื่องการปลูกมะนาว อยากเรียนรู้หลักการปลูก เพื่อนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงตนเองเเละครอบครัว ลุงจำรัสยินดีเปิดสอนให้ฟรี และหากเรียนแล้วสนใจซื้อต้นมะนาวของลุงจำรัสไปปลูก ก็มีขายให้ในราคาต้นละ 200 บาท

สามารถเดินทางมาหาลุงจำรัส ได้ที่บ้านเลขที่ 363 ถนนพัฒนาการ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีบีทีเอสวุฒากาศ มุ่งหน้าไปทางถนนราชพฤกษ์ ประมาณ 1 กิโลเมตร หรือโทรศัพท์ไปสอบถามก่อนได้ที่หมายเลข 081-552-6700 หรือ 02-457-0920

“เมืองไพลิน” ในอดีตเคยเป็นค่ายอพยพของเขมรแดง เรียกว่า “ฐานภูลำเจียก” และเคยเป็นเหมืองพลอยสีน้ำเงิน (บลู แซฟไฟร์) หรือ “พลอยไพลิน” ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก แต่ทุกวันนี้เมืองไพลินไม่เหลือพลอยให้ขุดอีกแล้ว เมืองไพลินได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางหุบภูเขาสูง มีแหล่งน้ำอุดมสมบรูณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่ดี เอื้อต่อการเติบโตของไม้ผล ทำให้เมืองไพลินกลายเป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของประเทศกัมพูชา

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ลำไยสดจะถูกส่งออกผ่านชายแดน ที่ด่านช่องพรม บ้านโอร์สะกรอม เพื่อนำมาขายล้งจีนที่ฝั่งไทย ผ่านทางด่านถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระยะทางขนส่งสินค้า ประมาณ 17 กิโลเมตร หากใครมีโอกาสผ่านไปแถวด่านถาวรบ้านผักกาด คงจะเคยสังเกตเห็นรถบรรทุกจากฝั่งเขมรที่บรรจุสินค้าลำไยสด รวมทั้ง มันสำปะหลัง และข้าวโพด มาส่งขายพ่อค้าในฝั่งไทยแทบทุกวัน

ลุงแยม หรือ “ซา จำเจริญ” เกษตรกรชาวกัมพูชา เจ้าของสวนลำไยสองพี่น้อง ในพื้นที่ฝั่งไทยที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และเป็นผู้ปลูกลำไยมากที่สุดในเมืองไพลิน เนื้อที่ปลูกลำไยมากกว่า 125 ไร่ ปัจจุบัน สวนลำไยในเมืองไพลินแห่งนี้ มีต้นทุนการผลิตลำไย เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8-10 บาท ขายผลผลิตในราคาหน้าสวนกว่า 40 บาท/กิโลกรัม หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่าย ยังเหลือผลกำไรก้อนโต เรียกว่า โกยผลกำไรเกินร้อย มีรายได้สูงกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นๆ สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเขมรจำนวนมาก หันมาสนใจอาชีพปลูกลำไยกันอย่างกว้างขวางในจังหวัดไพลินและจังหวัดพระตะบอง

สวนลำไยสองพี่น้อง ได้นำกิ่งพันธุ์ลำไยสายพันธุ์อีดอจากเมืองไทย มาปลูกที่เมืองไพลิน ในระยะห่าง 8×8 เมตร ทุกๆ 8 ปี จะตัดลำไยออก 1 ต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายกิ่งชนกัน ในปีที่ 15 จะมีต้นลำไยเฉลี่ย 32 ต้น ต่อไร่ ลำไยแต่ละต้นจะให้ผลผลิตมากกว่าต้นละ 150 กิโลกรัม สร้างรายได้มากกว่าต้นละ 10,000 บาท โดยมีพ่อค้าขาประจำจากฝั่งไทยเข้ามาเหมาซื้อผลผลิตถึงสวนอย่างต่อเนื่อง

ลุงแยม การันตีคุณภาพลำไยเขมรว่า มีรสชาติอร่อยกว่าลำไยไทย เพราะสภาพดินในเมืองไพลินมีความอุดมสมบรูณ์ของแร่ธาตุมากกว่าฝั่งไทย ประกอบกับเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำนวนมาก จนโครงสร้างดินได้รับความเสียหาย ทำให้รสชาติลำไยไทยเปลี่ยนแปลงไป สังเกตได้จากเนื้อลำไยไทยจะกรอบน้อยกว่า และมีรสชาติหวานแหลม เนื้อฉ่ำน้ำ ขณะที่ลำไยเขมรจะมีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแน่นกว่าลำไยไทย

หลังจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว ลุงแยม จะฟื้นฟูต้นลำไยให้มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนเร่งการแตกใบอ่อน โดยใช้สารกลูโคมิค อัตรา 10 ซีซี ผสมกับสารอินทรีย์ไก่ทอง ชนิดเข็มข้น 10 ซีซี และสินแร่ภูเขาไฟ 1 กิโลกรัม ผสมเข้าไปกับน้ำ 20 ลิตร และใช้สินแร่ภูเขาไฟ 10 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 10 กิโลกรัม หว่านรอบทรงพุ่ม ในสัดส่วน ต้นละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนก่อน เว้นระยะห่างไป ประมาณ 7-15 วัน จึงเสริมด้วย จี-อะมิโน (กรดอะมิโนบริสุทธิ์) ในช่วงใบเพสลาด หากพบว่า มีการแตกใบอ่อน 3-4 ชุด ซึ่งเป็นระยะที่ใบของต้นลำไยเริ่มสะสมอาหาร ให้ใช้สูตรเดิมฉีดพ่นอีก 3 ครั้ง

เมื่อต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอกต้องคุมใบอ่อนที่แตกออกมาในช่วงแทงช่อ โดยฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน เพื่อช่วยให้ขั้วลำไยเหนียวไม่หลุดร่วง และติดผลดก การที่ใช้กลูโคมิคผสมกับแคลเซียม-โบรอน ฉีดพ่นก็เพื่อขยายขนาด ช่วยให้ผลลำไยใหญ่ขึ้น ช่อผลของลำไยติดดกและสม่ำเสมอทั้งช่อ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 45 วัน จะใช้กลูโคมิคผสมกับจีแมกและแคลเซียม-โบรอน ฉีดพ่นทุก 10 วัน ฉีดต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เน้นให้ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยตัว K หรือธาตุโพแทสเซียม เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ลำไยมีเนื้อแน่น กรอบ มีรสหวานสูง ผิวเปลือกสวย ตรงกับความต้องการของตลาด

ตัวเลขการค้าชายแดนไทย-เขมร เพิ่มขึ้นทุกปี

คุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทย-กัมพูชา เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจการค้า จากการใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้าในอนุภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดไพลิน มีมูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างกันเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 (มกราคม-กรกฎาคม) มีมูลค่าการค้ารวมกันกว่า 8,000 ล้านบาท ประชากรกัมพูชาส่วนใหญ่ต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย ได้แก่ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ พลาสติก น้ำตาล ขนมที่ทำจากน้ำตาล เป็นต้น ส่วนสินค้ากัมพูชาที่ส่งมาขายไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าเกษตร ประเภท ข้าวโพด มันสำปะหลัง ลำไย เป็นต้น

ด้าน ดร. รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติขจร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับจังหวัดพระตะบอง จังหวัดไพลิน จัดงานแสดงสินค้าไทย ณ จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา นับเป็นการเปิดประตูการค้าผ่านชายแดนบ้านแหลม และด่านผักกาด จังหวัดจันทบุรี สู่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ อันดับ 5 ของกัมพูชา และมีจำนวนประชากรมากเป็น อันดับที่ 4 ของประเทศ

จังหวัดพระตะบอง ได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ชามข้าวแห่งกัมพูชา” เพราะที่นี่คือ แหล่งปลูกข้าวที่เลี้ยงคนกัมพูชาทั้งประเทศ และเป็นเมืองใหญ่ อันดับ 5 ของกัมพูชา คนกัมพูชานิยมสินค้าที่ผลิตจากไทยมากที่สุด จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตไทย หากจะหันมาให้ความสำคัญกับตลาดเพื่อนบ้านมากขึ้น เพราะที่นี่แค่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าไทย คนกัมพูชาก็พร้อมจะซื้อแล้ว ยิ่งถ้าของดีจริง คนกัมพูชายิ่งภักดีในแบรนด์และบอกต่อ จนเรียกได้ว่าถ้าสินค้าตัวไหนทำดีจนได้ใจคนกัมพูชา ก็จะได้ใจตลอดไปจนยากที่ใครจะมาแข่งได้เลยทีเดียว

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ผู้สื่อข่าวสืบทราบว่ามีชาวบ้านที่ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร มีอาชีพทำนาและทำข้าวเม่าขาย สร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อย่างดี จึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่บ้านบัวใหม่พัฒนา หมู่ 2 ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ผู้สื่อข่าวพบกับ นายสมาน พลเสน อายุ 49 ปี

โดยนายสมาน เปิดเผยว่า มีอาชีพทำนามาตั้งแต่รุ่นเก่าแก่ ไม่เคยขายข้าวได้ราคาสูงถังเกิน 15,000 บาท/ตัน ดังนั้น จึงคิดหาทางแปรรูปและนำเอาภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากรุ่น พ่อแม่ มาเพิ่มรายได้ ด้วยการทำข้าวเม่า จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป

ซึ่งข้าวเม่าของคนภาคอีสานจะทำจากข้าวที่เริ่มแตกรวง และเป็นน้ำนมอ่อนๆ เก็บเกี่ยวจากที่นา จากนั้นจะนำมารูดเมล็ดออกจากรวง แล้วนำมาคั่วใส่กระทะด้วยความร้อนที่อยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ คั่วจนสุก แล้วนำมาตากให้เย็นสนิท

จากนั้นจะนำมาใส่ครกตำ และใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกออกก็จะได้ข้าวเม่าที่อ่อนนุ่ม มีรสชาติหอม เพราะกลิ่นสีเขียวจากข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม และนำมาห่อใส่ใบบัว ทั้งนี้ หากนำไปใส่ถุงพลาสติก ข้าวเม่าเมื่อถูกปล่อยให้ถูกอากาศเย็นจะแข็งตัว เหมือนข้าวแห้งกินไม่อร่อย จึงนิยมนำมาใส่ห่อด้วยใบตองกล้วย หรือห่อด้วยใบบัวที่กินฝัก

นางเทอดนารี พลเสน อายุ 48 ปี ภรรยานายสมาน กล่าวว่า การทำข้าวเม่าทำง่าย แต่ก็ไม่ยากหรือง่ายเกินไป เพราะหากไม่รู้วิธีการจะได้ข้าวเม่าที่ไม่อร่อยหรือแข็ง ผู้ที่จะทำข้าวเม่าเป็น จะต้องดูข้าวที่ออกมาว่า มีเวลาหรือพอที่จะทำได้หรือไม่ ความหมายก็คือหากนำข้าวที่อ่อนเกินไปมาทำ ก็จะเหนียวจับกันเป็นก้อนๆภาษาอีสานว่า “ขาวเม่าขี้แมว” ขายที่กิโลกรัมละ 200 บาท หรือประมาณตันละ 2 แสนบาท

“ในการทำข้าวเม่าไม่ต้องเรียน เพราะเคยทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ กินกันในหน้าที่จะออกพรรษา ตอนแรกทำเสร็จจะนำไปถวายพระในวัดหรือใส่บาตรทำบุญก่อน จึงนำมากินไม่มีการขาย ต่อมาพัฒนามาขายทำให้ขายดี คนนิยมซื้อกินกัน ข้าวเม่ามีกินเฉพาะข้าวที่ออกรวงใหม่เท่านั้น เพราะข้าวที่แก่จะไม่สามารถทำข้าวเม่าได้ หรือหากทำได้จะไม่อร่อยเหมือนข้าวที่เริ่มออกรวงหรือเป็นน้ำนมในแต่ละปีข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่นิยมปลูกและให้ผลผลิตเร็ว คือพันธุ์ข้าวฮากไผ่ ข้าวขี้ต้ม เป็นภาษาเรียกของคนอีสาน และข้าวพันธุ์ที่กล่าวมาให้ผลผลิตเร็วเป็นข้าวเบา

ชาวบ้านจึงนิยมปลูกเพราะนำมาทำข้าวเม่า ได้ก่อนพันธุ์อื่นๆ ปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านมักปลูกกันคนละไม่เกิน 4-5 ไร่ เพราะหากเกินนั้นจะนำมาทำข้าวเม่าไม่ทัน ซึ่งหนึ่งไร่สามารถทำข้าเม่าได้ประมาณ 200 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 200 บาท หรือประมาณไร่ละ 40,000 บาท ทำทั้งหมด 5 ไร่ ก็อยู่ที่ 200,000 บาท โดยระยะเวลาการทำข้าวเม่า ประมาณต้นเดือนตุลาคม ไปจนใกล้จะสิ้นเดือนหรือเวลาประมาณเดือนครึ่ง ก็จะหมดหน้าเนื่องจากข้าวในนาแก่เกินไปพอที่จะเก็บเกี่ยว ดังนั้นระยะเวลาจะอยู่ที่ 45 วันเท่านั้น” นางเทอดนารี กล่าว

นางเทอดนารี กล่าวต่อว่า สมัครแทงบอลออนไลน์ ในแต่ละปีจะสามารถทำข้าวเม่าได้ช่วงเดียว แต่ก็ทำให้มีความพอใจ เพราะสามารถมีรายได้ช่วงสั้นเป็นแสนบาท ส่งลูกเรียนหนังสือได้สบายพออยู่พอกิน ไม่ถึงขั้นรวย แต่ก็มีทรัพย์สินเพิ่ม เช่น รถยนต์ และทำบ้านใหม่ได้ ในหมู่บ้านจึงพากันนิยม ทำนาปลูกข้าวทำข้าวเม่ากันมาก แล้วนำมาวางขายริมทางในหมู่บ้าน วันหนึ่งจะขายได้ประมาณวันละ 3,000-4,000 บาท จึงเป็นที่มาคำว่า “บ้านนาบัวข้าวเม่า”

จากการสอบถามเกษตรกร สำหรับพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงถือเป็น

พื้นที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ริมฝั่งแม่น้ำโขงมายาวนาน เนื่องจากในช่วงหน้าแล้งหลังน้ำโขงลด ชาวบ้านจะปรับเป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกผักสวนครัวทุกชนิดส่งขายตลาด เนื่องจากพื้นที่ริมโขงจะมีดินตะกอนที่ไหลมากับน้ำทับถมอยู่หลังน้ำลด ทำเป็นปุ๋ยอย่างดีในการทำการเกษตรได้ผลผลิตงอกงาม ส่วนใหญ่ช่วงน้ำลดจะปลูกผักหน้าหนาว ประกอบด้วย ผักหอม ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง และสลัด ใช้เวลาปลูกประมาณ 2 -3 เดือน ส่งขายได้ ยิ่งปีไหนน้ำลดเร็วยิ่งดี เพราะสามารถปลูกได้เร็ว

สามารถเก็บผลผลิตขายได้ต้นฤดูได้ราคาดี เช่นช่วงนี้ ผักสลัดจะมีราคาแพง จากปกติ ราคา ประมาณ กิโลกรัมละ 20 บาท เพิ่มเป็น 30 -40 บาท ผักคะน้า จากปกติ ราคา ประมาณกิโลกรัมละ 15 -20 บาท เพิ่มเป็น 25 – 30 บาท ผักบุ้ง จากปกติราคา ประมาณกิโลกรัมละ 20 บาท เพิ่มเป็น 30 บาท ผักกาดขาว จากปกติ ราคากิโลกรัมละประมาณ 20 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 30 -35 บาท รวมถึงผักอื่นๆ เพิ่มขึ้นทุกรายการ มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อไม่อั้น ทำเงินวันละ 4,000 – 5,000 บาท บางคนไม่มีพื้นที่ต้องยอมเช่าทำการเกษตร แต่ก็คุ้ม เพราะส่วนใหญ่ผลผลิตจะงอกงาม และมีแหล่งน้ำสูบน้ำจากน้ำโขงมารดผัก ได้ตลอด ยิ่งช่วงเทศกาลกินเจ เกษตรกรที่ปลูกลงมือก่อนหน้านี้สามารถเก็บผลผลิตได้เร็ว ทำเงินช่วงเทศกาลกินเจ สร้างเงินหมุนเวียนสะพัดวันละกว่า 10,000 บาท

จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ปลูกมะม่วง ประมาณ 11,510 ไร่ (2558) พื้นที่ปลูกมะม่วงแปลงใหญ่สุดของจังหวัดลําปางอยู่ที่ตำบลพิชัย อำเภอเมือง ประมาณ 200 ไร่ เป็นมะม่วงมหาชนก ส่วน คุณสายัณห์ ปานพินิจ เคยปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์และน้ำดอกไม้สีทอง ประมาณ 150 ไร่ อยู่ที่ตำบลพิชัย อำเภอเมือง ก่อนเลิกมาปลูกยางพารา รองลงมาประมาณ 50 ไร่ ปลูกมะม่วงมหาชนกเช่นกัน อยู่ที่ตําบลสบป้าด อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง นอกนั้นมีพื้นที่ถือครองปลูกมะม่วงกันไม่ถึง 100 ไร่ สวนมะม่วงอีกหนึ่งแห่งถึงแม้มีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพียง 20 ไร่ ไม่ใช่รายใหญ่ลำดับต้นๆ ของจังหวัดลำปาง แต่หนุ่มใหญ่ผู้นี้ก็ประสบความสำเร็จเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 3 ปี ในปีนี้ (2559) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจน่าติดตามความสำเร็จของหนุ่มใหญ่คนหนึ่งผู้ที่ไม่เคยปลูกมะม่วงมาก่อน

จากคนหนุ่มที่ทำงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมาตลอดเกือบ 30 ปี ได้หันหลังให้กับธุรกิจที่ทำรายได้สูงมาปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอย่างมุ่งมั่น หนุ่มนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างผู้นี้ก็คือ คุณเอกภพ วิญญาภาพ ในวัยเข้าสู่ 50 ปีต้นๆ ทิ้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ทำกับพ่อ เพื่อมาสร้างฝันที่ตนเองเคยวาดฝันไว้กับความรู้ด้านไม้ผลที่ตัวเองเรียนจบมาให้เป็นจริง เมื่อจบชั้น ปวส. จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรลำปาง(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง) ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) สาขาไม้ผล (รุ่น 4) ในปี พ.ศ. 2530 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้ทำงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่กับบริษัทของพ่อ (พ่อจบแม่โจ้) ได้ตระเวนขึ้นเหนือล่องใต้หลายจังหวัดอยู่นานร่วม 30 ปี เกิดความเบื่อหน่ายและอยากใช้วิชาชีพที่ตนเองเรียนมาลงมือปฏิบัติเองบ้าง ได้ขอใช้พื้นที่ว่างเปล่าของพ่อ อยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยฮี ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ในปี พ.ศ. 2555 นำรถแทรกเตอร์เข้าไถปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมปลูกไม้ผล ตอนนั้นไม่ได้คิดจะปลูกมะม่วง คิดแต่จะปลูกไม้ผล จึงนำความนี้ไปปรึกษากับอาจารย์ภาควิชาไม้ผลที่แม่โจ้ คือ ผศ. พาวิน มะโนชัย ที่เคยเป็นนักศึกษาแม่โจ้ รุ่น 51 รุ่นเดียวกัน ว่าควรจะปลูกพืชอะไรดี ผศ. พาวิน มะโนชัย แนะนำให้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด หาตลาดง่าย ได้ราคาสูง และกิ่งพันธุ์ยังหาง่าย ดังนั้น จึงตกลงใจจะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและติดต่อซื้อกิ่งพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จำนวน 500 กิ่ง

พื้นที่สวนแห่งนี้แต่ก่อนนั้นคุณพ่อของเขาซื้อไว้เพียง ไร่ละ 500 บาท เมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว พื้นที่อยู่ท้ายหมู่บ้านห้วยฮี ใกล้กับคลองชลประทาน ได้ปล่อยเป็นพื้นที่ว่างเปล่าและได้ขุดดินออกไปถมที่ กลายเป็นสระน้ำที่ซึมจากตาน้ำ ชาวบ้านนำวัวควายเข้ามาเลี้ยงกินน้ำจากสระนี้ ดินดีเหมาะที่จะปลูกพืชอะไรก็ได้ ชาวบ้านที่นี่ส่วนมากทำนากัน ชาวบ้านมีอัธยาศัยดี สวนมะม่วงที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นสวนมะม่วงแห่งแรกของหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด

ชาวบ้านเรียกสวนมะม่วงนี้ว่า สวนมะม่วงเสี่ยเอก กิ่งพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จำนวน 500 กิ่ง นำมาปลูกตามคำแนะนำของ ผศ.พาวิน มะโนชัย โดยให้ปลูกที่ระยะระหว่างต้น 3 เมตร และระยะระหว่างแถว 4 เมตร ขุดหลุม ขนาด 60×60 เซนติเมตร ใหญ่กว่าปกติที่นิยมขุดหลุม 50×50 เซนติเมตร โดยแยกหน้าดินไว้ด้านหนึ่งคลุกเคล้าปุ๋ยคอกที่หมักทิ้งไว้ 1 ปี รองก้นหลุมด้วยโดโลไมต์ก่อนเอากิ่งพันธุ์ลงปลูกจนครบ 500 กิ่ง แล้วขุดหลุมขนาดเดียวกัน ทำเหมือนกันอีก 700 หลุม เพื่อปลูกต้นตอมะม่วงแก้ว มะม่วงตลับนาค อายุ 8 เดือน สูง 80เซนติเมตร จนเต็มพื้นที่ รวม 1,200 ต้น ในพื้นที่ 20 ไร่ พร้อมปลูกบ้านพักคนงาน 1 หลัง เพื่อให้อาศัยอยู่กับครอบครัวในสวน

วิธีการให้น้ำ…ต้นมะม่วงแต่ละหลุมวางหัวมินิสปริงเกลอร์ไว้ประจำต้นทุกต้น ปั๊มแรงดันสูงท่อส่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ส่งไปตามท่อย่อ พีวีซี 2 นิ้ว เป็นสายหลักเข้าไปในสวน ก่อนแยกเข้าท่อหัวสปริงเกลอร์ขนาด 1/2 นิ้ว (4 หุน) น้ำสูบจากสระน้ำ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 4 เมตร เป็นน้ำที่ซึมขึ้นมาจากตาน้ำ มีน้ำใสและมีน้ำอยู่ตลอด เนื่องจากระดับน้ำในสระจะขึ้นๆ ลงๆ ท่อดูดของปั๊มจึงใช้ท่ออ่อนเพื่อให้อ่อนตัวได้ตามการขึ้นลงของระดับน้ำที่หัวกะโหลกปลายท่อดูดติดกับลูกลอย การให้น้ำปล่อยสลับกัน ปล่อยแต่ละแถว 3-5 วัน ต่อครั้ง หรือความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ เมื่อต้นมะม่วงจากกิ่ง 500 ต้น เจริญเติบโตแตกยอดสมบูรณ์ดี อายุพอจะตัดไปเสียบยอดกับต้นตอแก้วและตลับนาคทั้ง 700 ต้นแล้ว จึงตัดไปเสียบยอดจนครบ เมื่อใกล้ถึงฤดูหนาวได้สังเกตและคาดการณ์ระยะเวลาแล้วว่า มะม่วงควรจะออกช่อดอก จึงหยุดให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แต่หน้าแล้งผ่านมาน้ำในสระแห้งไม่เพียงพอ จนต้องเจาะบาดาลลึก 132 เมตร สูบขึ้นมาช่วยและให้น้ำถี่ขึ้นทุก 2 วัน

การให้ปุ๋ย…ให้ปุ๋ยคอกหมักค้างปี ปีละ 4 ครั้ง ประมาณต้นละ 5 กิโลกรัม ส่วนปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ให้ปีละ 4 ครั้ง การใส่ปุ๋ยครั้งแรก เมื่อใกล้จะแตกใบอ่อน จึงให้ปุ๋ย สูตร 25-7-7 ในอัตรา 300-400 กรัม ต่อต้น เป็นเรื่องยากต่อการกะคำนวณปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในแต่ละครั้ง จึงบอกให้คนงานใส่ปุ๋ย ครั้งละ 2 กระป๋อง ของกาแฟกระป๋องจะได้ปริมาณใกล้เคียงกับ 300-400 กรัม การใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 หลังจากใบอ่อนเปลี่ยนเป็นใบแก่ ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในอัตราส่วนเท่าเดิม การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อใกล้จะออกดอกจึงใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 ในอัตราเท่าเดิม และการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 ใส่ระยะที่ติดผล ใช้ปุ๋ย สูตร 18-24-24 ในอัตราเดิมเช่นกัน

ศัตรูพืช…โรคที่พบ เป็นโรคแอนแทรกโนส ทำลายใบอ่อน ทำให้ใบบิดเบี้ยวเป็นจุดสีน้ำตาล ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราอมิสตา แมลงที่พบระบาดทำความเสียหาย เช่น ด้วงงวงกรีดใบ แมลงค่อมทอง เพลี้ยจักจั่นมะม่วงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเซฟวินฉีดพ่นในช่วงแตกใบอ่อน มะม่วงเริ่มมีช่อดอกจะพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราผสมกับสารเคมีพวกคาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) และฮอร์โมนฉีดพ่น ปกติแล้วระยะดอกบานห้ามฉีดพ่นสารเคมี เนื่องจากการฉีดพ่นสารเคมีทำให้ดอกมะม่วงได้รับความเสียหายและสารออกฤทธิ์ของสารเคมีจะทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสร แต่ในช่วงดอกบานมักมีศัตรูเข้าทำลายจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการฉีดพ่นสารเคมีบ้าง หลังจากมะม่วงติดผลแล้วพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราอีกครั้ง การตัดหญ้าใช้เครื่องตัดหญ้าสะพาย ตัดตามสภาพเหตุการณ์

เมื่อมะม่วงอายุได้ 2 ปี บางต้นเริ่มติดผลบ้างแล้ว ได้เด็ดทิ้งปล่อยให้ติดไว้เพียง ต้นละ 2-3 ผล เจ้าของห่อด้วยถุงคาร์บอน 2 ชั้น หรือถุงดำห่อพร้อมกันหมด จึงไม่รู้ว่าผลไหนแก่พร้อมจะเก็บ คนงานต้องแกะถุงแทบทุกถุงเพื่อเปิดดูผลที่แก่ ซึ่งเสียเวลาไปมาก เพราะยังขาดประสบการณ์ในการห่อ ผลผลิตที่ได้ในชุดแรกนี้มีจำนวนน้อยไม่กี่พันผล จึงขายได้บ้างและแจกจ่ายให้กับเพื่อนๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สวน จนเข้าสู่ปีที่ 3 ต้นมะม่วงมีความสมบูรณ์เต็มที สูงเท่าระดับศีรษะแล้วจึงให้ติดผลมากได้ เมื่อผลมะม่วงมีขนาด 11 เซนติเมตร จะห่อด้วยถุงคาร์บอน 2 ชั้น หรือถุงดำที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากกว่า 50,000 ถุง จากตลาดคำเที่ยง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ก่อนการห่อ ผศ. พาวิน มะโนชัย ได้พาไปดูสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้รู้เทคนิคในการห่อ เขาได้แนะนำให้ทำเครื่องหมายติดไว้ที่ถุงด้วยริบบิ้นสีต่างๆ ถ้าใช้ปากกาเคมีทนน้ำก็อาจจางไปได้ ให้เย็บริบบิ้น(ใช้ที่เย็บกระดาษ) ติดกับถุงมีริบบิ้น ของ คุณเอกภพ กำหนดไว้ 11 สี หรือ 11 ชุด ห่อสัปดาห์ละ 1 สี หรือสัปดาห์ละชุด ไล่ไปเรื่อยๆ จนครบ โดยเด็ดผลที่ไม่สมบูรณ์ มีตำหนิ ผลบิดเบี้ยวออก ให้เหลือผลที่สมบูรณ์ทรงสวยเพียงช่อละ 1 ผล

การเก็บเกี่ยว…สังเกตเมื่อผลเริ่มจะแก่ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน หรือนับจากติดผล ประมาณ 100-110 วัน ใบมะม่วงเริ่มลู่ลง จึงเริ่มแกะห่อชุดแรก สังเกตก้นผลเริ่มเหลืองจึงเก็บ เลือกผลที่แก่จัดเพื่อลดปัญหาการบ่ม ผลมะม่วงที่ได้มีผิวสีเหลืองเข้มอร่ามนวลงามไร้ตำหนิ ผิวเต่งตึง ผลใหญ่ ผลไหนที่ยังไม่แก่ก็ปล่อยไว้ก่อน รอเก็บในชุดต่อไป ทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนหมดทั้ง 11 ชุด ดังนั้น ผลผลิตจึงออกเป็นระยะๆ มีไม่มากจนเกินไป ช่วยให้สามารถบริหารการตลาดได้ง่าย

การตลาด…มักเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมหาตลาดไว้รองรับ มะม่วงติดริบบิ้นชุดแรกที่เก็บได้นำไปเสนอขายกับร้านขายข้าวเหนียวมะม่วงในเมืองลำปาง แต่ถูกกดราคาอย่างมากจึงไม่ขาย นำไปขายที่ตลาดสีเขียวหน้า ธ.ก.ส. ลำปาง ได้รับการตอบรับดี จากนั้น คุณอำไพ ผู้เป็นภรรยาเรียนที่แม่วังลำปางและแม่โจ้พร้อมกัน แต่ที่แม่โจ้ คุณอำไพเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์ ได้เสนอขายมะม่วงผ่านอินเตอร์เน็ตทางโซเชียลมีเดีย เริ่มจากเพื่อนๆ ที่ทำงานตามธนาคาร บริษัทประกันภัย และบริษัทต่างๆ ขายพร้อมกับข้าวเหนียว

ได้รับการตอบรับดีมาก โดยเพื่อนๆ สั่งไปเพื่อเป็นของฝากหรือแจกให้กับผู้ร่วมงาน ขณะเดียวกันร้านขายข้าวเหนียวมะม่วงในเมืองเชียงใหม่ขอให้ส่งไปทุกสัปดาห์ เนื่องจากมะม่วงที่เชียงใหม่หมดก่อนแล้วส่งได้ไม่กี่ครั้งมะม่วงก็หมดเช่นกัน ไม่น่าเชื่อว่ามะม่วงจากสวน จำนวน 5 ตัน จะขายได้หมดโดยไม่ผ่านตลาดขายส่งหรือส่งออกต่างประเทศ เคยมีเพื่อนชาวสวนมะม่วงชวนให้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อส่งมะม่วงออกต่างประเทศ แต่ก็ได้ปฏิเสธไป

การตัดแต่งกิ่งเพื่อลดจำนวนกิ่ง…การตัดแต่งกิ่งเร็วทำให้การแตกยอดใหม่การออกช่อย่อมเร็วตามการตัดแต่งกิ่ง เริ่มหลังจากเก็บมะม่วงหมดแล้ว เลือกตัดกิ่งที่ชี้ลงดิน กิ่งที่พุ่งเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งกระโดง กิ่งโคนต้น เพราะกิ่งเหล่านี้มักไม่ออกช่อดอก และรูดใบทิ้งจนทรงพุ่มโปร่ง

นอกจากมะม่วงแล้ว ที่สวนได้ปลูกแก้วมังกร 100 ต้น มะนาวไร้เมล็ด 300 ต้น และไผ่กิมซุ่งอีก 100 กอระบบการให้น้ำไผ่ไม่ต่างไปจากมะม่วง ทำให้มีรายได้หมุนเวียนระหว่างที่มะม่วงยังไม่ให้ผลผลิต คุณเอกภพยังได้ทำสวนส้มสายน้ำผึ้งอยู่ที่บ้านค่ากลาง ตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง ไม่ห่างกันมากนัก จำนวน 50 ไร่ ปลูกส้มสายน้ำผึ้ง 3,000 ต้น กับมะนาวไร้เมล็ดอีก 1,000 ต้น มีคนงานประจำ 5 คน จึงต้องเดินทางไปมาระหว่างสวนส้มและสวนมะม่วงเป็นประจำ

ในอนาคต คุณเอกภพได้วางแผนไว้ว่า จะมีโครงการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงและมะนาว ซึ่งขณะนี้คุณอำไพได้ทำน้ำมะนาวพร้อมดื่มออกจำหน่ายบ้างแล้ว โดยได้รับคำแนะนำการผลิตจากอาจารย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

น้ำดอกไม้สีทองรุ่นแรกทำให้เจ้าของสวนมีกำลังใจกับ 3 ปี ที่ลงทุนลงแรงไป บนพื้นที่ 20 ไร่ พร้อมที่จะต้องต่อสู้ต่อไป ถึงแม้คุณเอกภพไม่มีประสบการณ์การปลูกมะม่วงมาก่อน แต่มีที่ปรึกษาที่ดี เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผลทุกขั้นตอน ไม่ว่าคุณเอกภพหรือว่าใครก็ตาม ย่อมประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเช่นกัน

“สมเกียรติ ผักอร่อย” ฟาร์มรับซื้อผัก ที่ได้รับมาตรฐาน GMP ในการผลิต การคัดบรรจุผัก เพื่อส่งจำหน่าย และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการเกษตรและการคัดบรรจุที่ทันสมัย ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบเกษตรกรคนรุ่นใหม่ และขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น เพื่อให้เกิดเครือข่าย ความเข้มแข็ง สามารถใช้วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง แต่มีรายได้เพิ่มขึ้นแบบสม่ำเสมอและยั่งยืน

คุณสมเกียรติ ลำพันแดง และ คุณสุนันทร์ สตะจริง คู่สามีภรรยา เจ้าของสวน “สมเกียรติ ผักอร่อย” เล่าให้ฟังว่า ทั้งคู่ไม่ได้เรียนจบสูงมากนัก เรียนจบแค่เพียงชั้นประถมศึกษา ยึดอาชีพแม่ค้าขายผักในตลาดสด เมื่อประมาณ 6-7 ปีก่อน และได้รับรู้ปัญหาอย่างหนึ่งของการขายผักคือ ตลาดผักไม่สม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอในที่นี้หมายถึง ผักบางชนิดก็หายากในบางฤดู บางชนิดก็เยอะเกิน และบางชนิดก็หาไม่ได้ ขาดตลาดไปเลยก็มี

ยกตัวอย่าง ผักบุ้ง บางฤดูหายากในตลาด ลูกค้ามีความต้องการ แต่แม่ค้าไม่มีขาย หรือบางทีก็มีเยอะเกินไป ซึ่งด้วยความเป็นแม่ค้าก็สงสัยว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น เลยคิดหาวิธีการว่าจะทำอย่างไร ถึงจะมีผักขายได้ตลอด มีมากมีน้อย ก็ควรน่าจะต้องมีขาย

คิดแบบนั้นเลยเริ่มมองหาคู่ค้า เจ้าของสวนผัก เจ้าโน้นเจ้านี้ มารวบรวมส่งผักขายให้กัน โดยพอเริ่มรวบรวมผัก ก็ได้หน่วยงานของเกษตรจังหวัดสระบุรี เข้ามาให้การช่วยเหลือ และจากนั้นจึงได้รับคำแนะนำให้มีระบบมาตรฐานของห้าง จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำมาตรฐาน GMP

โดยคุณสมเกียรติ บอกรายละเอียดว่า “มาตรฐาน GMP คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค GMP เป็นเกณฑ์ หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย

โดยครอบคลุม 6 ประการ คือ 1. สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต 3. การควบคุมกระบวนการผลิต 4. การสุขาภิบาล 5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด และ 6. บุคลากร

พัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับมาตรฐาน และขยายกำลังการผลิต และการรวบรวมไปเรื่อยๆ จนสามารถกลายเป็นผู้รวบรวมผักขายได้ ส่งขายไปยังห้างแม็คโคร 4 สาขา ในพื้นที่เขตจังหวัดสระบุรี จากยอดส่งผัก 200-300 กิโลกรัม ปัจจุบันสามารถส่งผักจำหน่ายได้ถึง 5-6 ตัน ต่อวัน”

ปัจจุบัน “สมเกียรติ ผักอร่อย” ในฐานะผู้รวบรวมผัก สามารถพัฒนาไปถึงขั้นของระบบคิวอาร์โค้ต เพื่อสแกนว่าผักถุงนี้มาจากฟาร์มไหน ใครเป็นผู้ปลูก ได้มาตรฐานอะไรบ้าง ผ่านการรับรองจากกระทรวงใด โรงคัดบรรจุสะอาดปลอดภัยหรือไม่ แค่ใช้มือถือสแกนหน้าถุง รายละเอียดก็จะขึ้นข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบได้

เป็นเกษตรกร มืออาชีพ

ยึดอาชีพ “ผู้รวบรวมผัก” ทำมาตรฐานส่งห้างตลอด 6 ปีที่ผ่านมา คู่สามีภรรยาจึงหันมาสร้างฟาร์มผักเป็นของตัวเองบ้าง เนื่องด้วยรู้และพอมีประสบการณ์ด้านการตลาด จึงเข้าใจและรู้ความต้องการของตลาดว่าต้องการผักแบบไหน จึงหันมาปลูกผักขาย เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่

คุณสุนันทร์ บอกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2559 มานี้ “สมเกียรติ ผักอร่อย ได้ปรับตัวจากผู้รวบรวมผัก มาปลูกผักเองบ้าง โดยใช้พื้นที่กว่า 16 ไร่ที่มีในพื้นที่ ที่มีอยู่ในตำบลโคกสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี มาเพาะปลูก เน้นการปลูกให้ได้มาตรฐาน เป็นการปลูกผักแบบยกระดับ คุณภาพของผัก ปลูกแบบออร์แกนิกโดยเน้นขายไปที่ตลาดสุขภาพ ราคาขายจึงสูง มีมูลค่าทางตลาดมากยิ่งขึ้น

โดยแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า และปลูกมะพร้าวน้ำหอม โดยจุดประสงค์ที่ปลูกมะพร้าวคือ เพื่อต้องการให้ธรรมชาติปรับช่วยกันเอง เพราะใบของมะพร้าวช่วยกรองแสงแดดได้บางส่วน ในขณะที่สร้างร่มเงา ลูกมะพร้าวน้ำหอมก็สามารถขายได้อีกด้วย

ส่วนพื้นที่ในการปลูกพืชจำพวกผักสลัดนั้น คุณสมเกียรติ บอกว่า มีพื้นที่น้อยก็สามารถทำได้ มีพื้นที่เพียง 5 ตารางวา ก็ทำเงินหมื่นได้ง่ายๆ ต่อเดือน เพราะพืชเหล่านี้ใช้เวลาปลูกไม่นาน ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถตัดขายได้แล้ว

โดยอาศัยแนวคิดการตลาดที่ว่า การจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องถามตัวเองก่อนว่า วางแผนดีหรือยัง อยากขายให้ใคร รู้ว่าจะขายให้กลุ่มไหน คุณภาพต้องเป็นแบบใดด้วย และต้องทำเกษตรให้ปลอดภัย”

ด้านยอดขาย คุณสุนันทร์ บอกว่า “ยอดขายในฐานะของผู้รวบรวมผัก ยอดขายอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านบาท ต่อเดือน แต่ถ้าในฐานะของเจ้าของฟาร์มผู้ปลูกผักเองนั้น แยกส่วนกัน ส่วนใหญ่ผักที่ปลูกที่นี่ มักขายที่หน้าสวนไปเลย ราคาค่อนข้างสูงกว่าผักที่อื่นมาก เพราะเป็นผักออร์แกนิก รายรับอาจไม่มากเท่าฐานะผู้รวบรวมผัก แต่ก็ถือว่าดีมาก”

คุณสุนันทร์ ยังบอกอีกว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ล้มลุกคลุกคลานมาก่อน จึงต้องเรียนรู้และพยายามทำความเข้าใจ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มักทำไม่เป็นระบบ ผลผลิตที่ได้เลยไม่ค่อยได้มาตรฐาน ล้นตลาดกันบ้าง ขาดตลาดกันบ้าง ต้องมีการวางแผนและปรับตัวทำตามระบบกันให้มากขึ้น

ส่วนคุณสมเกียรติ ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า “ตลาดผักในประเทศไทยยังไปได้อีกไกล แต่เกษตรกรคนไทยยังไม่ค่อยมีความเข้าใจ ถ้าหากอยากปลูกผัก ทำการเกษตร ก็อยากให้ลองหามุมมอง ปรับวิธีคิด คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค คุณภาพที่ได้มาตรฐาน และที่สำคัญ จิตใจที่รักการเกษตร มีความใส่ใจ เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาและยกระดับปลูกผักส่งขายได้”

ใครที่สนใจสามารถแวะไปเที่ยวชม “สมเกียรติ ผักอร่อย” ได้ที่ เลขที่ 45/1 หมู่ 7 ตำบลโคกสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี หรือโทรศัพท์ไปสอบถามกันได้ที่

สำหรับผู้ที่อยากปลูกแก้วมังกรไว้รับประทาน แต่มีพื้นที่จำกัดเชิญทางนี้เลยค่ะ เด็ดมาก

การปลูกแก้วมังกรในกระถาง เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่น้อย
วัสดุ – อุปกรณ์ :
1.ท่อน้ำทิ้งข้างในกลวงหน้ากว้าง4นิ้วยาว1.3เมตร(หรือเสาไม้ก็ได้)
2.กระถางหน้ากว้าง 50 ซ.ม.
3.ค้างด้านบนอาจทำจากไม้หรือปูนเป็นรูป4เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง x ยาว 30 ซ.ม
4.ขุยมะพร้าว
5.ดิน
6.เชือกฟาง

วิธีการปลูก
1.ใช้เสาตั้งเป็นหลักในกระถาง
2. ใส่ขุยมะพร้าวรองก้นกระถางเพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีในอัตราส่วน1 ใน 3 ของปริมาตรกระถางจากนั้นนำดินสำเร็จรูปผสมกับขุยมะพร้าวหรือแกลบดำใส่ลงไปในกระถางจนถึงขอบกระถาง
3.นำต้นแก้วมังกรมาปลูกให้ชิดกับเสา แล้วใช้เชือกฟางมัดต้นแก้วมังกรให้ติดกับเสา ไม่ต้องมัดให้แน่นมาก ควรผูกไว้จนกว่าต้นแก้วมังกรจะเจริญเติบโตจนพ้นหัวเสา
4.จากนั้นนำดินมากลบด้านบนของกระถางเป็นอันเสร็จ ต้นแก้วมังกรเป็นสามเหลี่ยมแต่จะมีอยู่ด้านหนึ่งที่เป็นด้านแบนดังนั้นเวลาผูกต้นแก้วมังกรให้จับด้านแบนของต้นเข้ากับหลักเพราะว่าด้านแบนเป็นด้านที่จะออกราก
การดูแลแก้วมังกรในกระถาง

1.การรดน้ำให้รดน้ำเพียง1ครั้งภายใน 2-3 วันและไม่ควรรดมากเกินไปเพราะอาจทำให้เป็นโรคโคนเน่าได้
2.การให้ปุ๋ยใส่ปุ๋ยทุก 15 วันใส่ครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะสูตรที่ใช้ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำติดต่อกันเป็นเวลา3วัน(วันละครั้งเช้าหรือเย็นก็ได้)ถ้ามีปุ๋ยคอกเช่นมูลไก่หรือมูลวัวก็ใช้ได้และให้ใส่เดือนละ 1 ครั้ง เมื่อปลูกได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ผสมกับ 15-15-15 ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง

ผลผลิต : เมื่อแก้วมังกรอายุได้8เดือน-1ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิตประมาณ 30 ผลต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 2 ประมาณ 50 ผลต่อหนึ่งค้างปีที่ 3 ประมาณ 100-200 ผล ต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 4-15 ประมาณ 300 ผลต่อหนึ่งค้างขึ้นไป ขนาดของผลโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 ผลต่อหนึ่งกิโลกรัม
ประโยชน์ของแก้วมังกร
แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีทั้งสรรพคุณทางยา คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพกับความงามอีกด้วย มักใช้บริโภคเพื่อจุดประสงค์ในการลดน้ำหนัก เพราะเนื่องจากเมื่อกินแก้วมังกรแล้วจะรู้สึกอิ่ม และแก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงประกอบกับให้แคลอรี่ต่ำ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ให้ข้อมูลว่า แก้วมังกรสารที่มีประโยชน์คือ มิวซิเลจ (Mucilage) ซึ่งมีในเฉพาะในตระกูลกระบองเพชร มีลักษณะคล้ายวุ้นเจลช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และควบคุมระดับกลูโคสในคนที่เป็นโรคเบาหวานในชนิดที่ไม่ต้องใช้อินซูลินได้ สามารถช่วยในการบรรเทาโรคโลหิตจางช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้แก่ร่างกาย ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ และต่อมลูกหมาก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของกระดูกและฟัน

ขณะที่ กรมวิชาการเกษตร ก็ให้ข้อมูลว่า ในแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงนั้น ยังมีสารไลโคปีนซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ชุ่มชื้น และมีส่วนช่วยในชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยต่าง ๆ
ช่วยดับร้อนและดับกระหาย
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง เพราะมีวิตามินซีสูง
ช่วยบรรเทาอาการโรคความดันโลหิตได้
ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนมในสตรี
ช่วยดูดซับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างอย่างตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสีย หรือสารตกค้างที่มาจากยาฆ่าแมลง
มีกากใยสูงช่วยในการขับถ่ายให้สะดวก แก้อาการท้องผูก
ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ แก้ปัญหาการขับถ่ายต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

จังหวัดไหนๆ ก็ต้องมีไม้ผลของดีประจำจังหวัด ผลผลิตคุณภาพโดดเด่น สร้างงานและเงินให้กับเกษตรกรในจังหวัดอย่างน้อย 2-3 ชนิด จังหวัดมหาสารคามเอง เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสาน ที่อาจมองไม่เห็นความเด่นของไม้ผลชัดมากนัก เพราะความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก

สภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่ เมื่อหากย้อนรอยไป 2 ปีที่ผ่านมา “เมล่อน” ไม้ผลตระกูลแตง เริ่มมีเสียงกล่าวถึงเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ 14 ไร่ ไม่นับว่ามาก หากใช้เป็นโรงเรือน โรงปรับปรุงพันธุ์ ของไม้ผลสักชนิด

แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ เทพมงคล ฟาร์ม หรือ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่เพิ่งเปิดตัวทำฟาร์มเมล่อน ติดตั้งโรงเรือนและระบบน้ำหยด ให้เมล่อนคุณภาพดี เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา เพราะนับตั้งแต่ผลผลิตเมล่อนรุ่นแรกที่ได้ ก็ขึ้นห้างวางขายในราคากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท

คุณมงคล ธราดลธนสาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด หนุ่มไฟแรงที่เพิ่งผ่านการศึกษาจากสาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลังจบการศึกษาก็เข้าทำงานตำแหน่งนักส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ของบริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชื่อดังแห่งหนึ่ง และเป็นโอกาสดีที่ทำให้ตลอดระยะเวลาการทำงาน ได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเก็บเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงการเดินทางไปส่งเสริมยังต่างประเทศหลายประเทศ ทำให้มีโอกาสเก็บเมล็ดพันธุ์เมล่อน และพืชผัก ผลไม้ชนิดอื่น ติดมือกลับมาด้วย

เมล่อน เป็นผลไม้ที่คุณมงคลเลือกปลูก เพราะเห็นว่าเป็นพืชระยะสั้น แต่มีมูลค่าทางเมล็ดพันธุ์สูง

ระหว่างที่ยังทำงานประจำ ยังไม่มีโอกาสทำหน้าที่เกษตรกรเต็มตัว คุณมงคลก็เพิ่มรายได้เสริมให้กับครอบครัว ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อคืนในราคาลูกละ 10 บาท และนำไปจำหน่ายเองในราคาลูกละ 35 บาท

เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของการทำงาน และต้องการมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น อาชีพเกษตรกรรม จึงเป็นทางเลือกที่คุณมงคลเลือก ทำให้คุณมงคลลาออกจากงานประจำ เพื่อก้าวเป็นเกษตรกรเต็มตัว และคาดหวังจะใช้สิ่งที่ร่ำเรียนมาให้เกิดประโยชน์ในอาชีพของตนเอง

เริ่มต้นด้วยพื้นที่เพียง 4 ไร่ สำหรับทำโรงเรือนเมล่อน 8 หลัง บนเนื้อที่ 2 ไร่ และอีก 2 ไร่ ยังคงทำนา เพราะบริเวณโดยรอบที่ปลูกเป็นพื้นที่นาทั้งหมด ในการลงทุนครั้งแรก โรงเรือนเมล่อนลงทุนการก่อสร้างโรงเรือนและติดตั้งระบบทั้งสิ้น ประมาณ 40,000-50,000 บาท แต่เมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย พบว่า พลาสติกที่ใช้สำหรับติดตั้งโรงเรือนที่ผลิตในประเทศ มีขนาดความกว้างมากที่สุดเพียง 6 เมตร แต่โรงเรือนที่ตั้งใจสร้าง กำหนดขนาดไว้ที่ ความยาว 30 เมตร ความกว้าง 6.2 เมตร ทำให้ต้องมีรอยต่อ ซึ่งรอยต่อพลาสติกเป็นผลให้เกิดความชื้น เป็นรอยรั่วเมื่อถึงอายุขัย ไม่สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ จึงต้องนำเข้าพลาสติกสำหรับทำโรงเรือนจากประเทศกรีซ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแบ่งครึ่งม้วนพลาสติก จะได้ความกว้าง 6.2 เมตร และความยาว 30 เมตร พอดีกับขนาดโรงเรือนที่ตั้งใจ

“พลาสติกที่สั่งจากประเทศกรีซ มีความเหนียวมาก สามารถทานแรงลมได้มากถึง 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ไม่ก่อให้เกิดตะไคร่น้ำหรือปรสิต ซึ่งไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมากับเมล่อน ส่วนโครงสร้างเดิมเปลี่ยนจากเหล็กเป็นเหล็กแป๊บประปาซึ่งไม่เป็นสนิม และทั้งโครงสร้างและระบบในโรงเรือนแบบที่ใช้อยู่ มูลค่าโรงเรือนละประมาณ 100,000 บาท อายุการใช้งานนานถึง 30 ปี”

พื้นฐานเดิมที่เรียนรู้มาทางด้านการเกษตร ทำให้คุณมงคลรู้จักการคัดเมล็ดพันธุ์ นำมาปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมาก ซึ่งเมล่อนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ดำเนินการมาก่อนก่อตั้งฟาร์ม และได้เมล่อนสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา คือ สายพันธุ์ซันสวีท และ สายพันธุ์หยกเทพ

ซันสวีท เป็นเมล่อนเนื้อส้ม ข้อยืด โตไว ทำให้ดีหนีเพลี้ยได้ไว หวาน กรอบ มีความหวานโดยสายพันธุ์ 14-15 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 18 บริกซ์

หยกเทพ เป็นเมล่อนเนื้อเขียว คล้ายเมล่อนญี่ปุ่น ข้อสั้น โตช้า ผลใหญ่ น้ำหนักผล 2-3 กิโลกรัม เนื้อหนา หวาน หอม ความหวานโดยสายพันธุ์ 13-14 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 16 บริกซ์

เรื่องของสีเนื้อเมล่อน คุณมงคล บอกว่า เมล่อนเนื้อสีเขียว GClub เป็นสีที่ตลาดผู้บริโภคระดับกลางและระดับสูงต้องการมากกว่าเมล่อนเนื้อสีส้ม ดังนั้น หากเกษตรกรปลูกเมล่อนเนื้อสีใด ควรคำนึงถึงตลาดที่จะส่งจำหน่ายด้วย

สำหรับโรงเรือนมาตรฐานของฟาร์ม มีขนาดกว้าง 6.2 เมตร ยาว 30 เมตร ปลูกได้ 350 ต้น ในแต่ละต้นเมื่อให้ผล จะปลิดทิ้งเหลือเพียง 1 ผล ต่อต้น น้ำหนักต่ำสุดของผล 1.5 กิโลกรัม น้ำหนักมากที่สุดของผล 3 กิโลกรัม เฉลี่ยน้ำหนักผลอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยงมีการปลูกพืชผักกว่า

ผสมผสานในพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ พืชผักที่ปลูก ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริก คะน้า ผักชีฝรั่ง กวางตุ้ง กล้วย โหระพา ถั่วพู ผักบุ้งจีน ผักสลัด ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. Organic Thailand และระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM มีใบรับรองคุณภาพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง มีการจัดจำหน่ายผลผลิตโดยตรง และมีตลาดรองรับที่แน่นอนไปยังตลาดสำคัญๆ อาทิ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งพา (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ตลาดสุขใจ (อินทรีย์สุขใจ) โรงแรมโรสการ์เดนท์ อำเภอสามพราน จุดจำหน่ายผักอินทรีย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ไทวิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ส่งออกไปประเทศไต้หวัน)

คุณสมทรง ม่วงพารา เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง อยู่บ้านเลขที่ 44/3 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เบอร์โทร. (086) 833-9003 เล่าว่า

แรกเริ่มก็ทำการเกษตรเพื่อการค้า ก็ทำเหมือนคนอื่นๆ ทั่วๆ ไป ใส่ปุ๋ยเคมีมาก ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เห็นแมลงเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัด ไม่รู้ว่าแมลงชนิดไหนมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งสนใจในเรื่องของสุขภาพ จึงเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เริ่มทำการเกษตรปลอดภัย GAP ก่อน จากนั้นได้สนใจทำเกษตรอินทรีย์ ได้เข้าร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งพา (ภา) ยามยาก ตลาดสุขใจ (อินทรีย์สุขใจ) ประกอบกับการส่งเสริมแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอพุทธมณฑล สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม จากกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาหาข้อมูลจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทำความเข้าใจ มีความตั้งใจจริง อดทน ไม่เอาเงินเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญมีความสุขที่ได้ทำ ปลอดภัยทั้งคนทำ คนบริโภค และสิ่งแวดล้อม

คุณสมทรง เล่าต่อว่า การทำแปลงพืชผักเกษตรอินทรีย์ต้องทำอย่างประณีต มีการเก็บตัวอย่างดิน นำไปวิเคราะห์พร้อมกับหาชนิดและปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน มีแหล่งน้ำอิสระ ต้องเก็บตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์เพื่อหาสารปนเปื้อนว่าขัดต่อหลักการผลิตพืชอินทรีย์หรือไม่ มีตากดิน วางรูปแบบแปลง โดยมีการขุดร่องล้อมรอบแปลงเพื่อกักน้ำ หรือป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีที่อาจจะไหลบ่ามาท่วมในฤดูฝน มีการปลูกหญ้าแฝกริมร่อง เพื่อให้รากหญ้าแฝกเป็นกำแพงกรองน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ส่วนใบของหญ้าแฝกก็สามารถนำไปคลุมแปลงพืชผัก อีกทั้งสามารถปรับสภาพดินได้ด้วย ในการเตรียมแปลงนั้นจะใช้แรงงานคนขุด วางรูปแบบแปลงไปตามตะวัน

เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและช่วยฆ่าเชื้อโรค ใช้พืชตระกูลถั่วมาหว่านคลุมดิน เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบำรุงดิน โดยรอบแปลงจะมีการปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยกันแมลง เช่น พริก ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา เป็นต้น แปลงจะมีการยกร่องเพื่อปลูกพืชผัก โดยก่อนปลูกต้องมีการปรับปรุงสภาพดิน โดยใช้ปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว จะต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในกลุ่มตามหลักมาตรฐานที่กำหนด ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักที่นำมาปลูกต้องนำไปล้างน้ำที่มีความร้อน ประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที นำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดาก่อนแล้วนำไปหว่านลงแปลง การปลูกพืชผักอินทรีย์ต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง มีการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกันไป ไม่ปลูกพืชผักชนิดเดิมๆ ในแปลงเดิม จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ก่อนรดน้ำควรขยี้ให้สมุนไพรช้ำจะได้มีกลิ่นไล่แมลง นอกจากนั้น พืชสมุนไพรที่ปลูกยังสามารถนำไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย เมื่อเก็บเกี่ยวพืชผักแล้ว ต้องรีบทำความสะอาดแปลง เศษพืชที่เป็นโรคให้รีบทำลายนอกพื้นที่ปลูก ส่วนที่ไม่เป็นโรคก็สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยต่อไปได้ กลุ่มจะใช้ทรัพยากรในแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Zero waste)

คุณไพบูลย์ เล่าว่า ทุกวันนี้กลุ่มมีความภาคภูมิใจที่ได้ผลิตพืชผักอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค คนผลิตสุขภาพก็ดีขึ้น ไม่ต้องจ่ายเงินรักษาตัว สิ่งแวดล้อมก็ดี รายได้ก็แน่นอน ราคาดี มีตลาดรองรับ ขอแค่มุ่งมั่น ตั้งใจ อดทน อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ อาทิ ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์ ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุ์กรรม ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน ปัจจัยการผลิตต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม และต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ

นครราชสีมา (25 ก.ย. 59) ผู้สื่อเดินทางไปที่บ้านพระ เลขที่ 182 หมู่ที่ 4 ต.มะเริง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีครอบครัวหนึ่งทำอาชีพเพาะถั่วงอกแบบโบราณขาย มาเป็นระยะเวลานานเกือบ 40 ปี จนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ กศน. อ.เมือง จ.นครราชสีมา ให้เป็นศูนย์เรียนรู้อาชีพของชุมชนในปัจจุบัน

นางศรีนวล แก้ววัน อายุ 46 ปี ผู้ทำอาชีพเพาะถั่วงอกแบบโบราณแห่งนี้ เปิดเผยว่า ในอดีตนั้นครอบครัวของตนเคยมีอาชีพทำไร่ ทำนามาก่อน แต่ช่วงหลังๆ มานี้ประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติหลายอย่าง ทั้งเรื่องภัยแล้ง น้ำท่วม และราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ดังนั้นครอบครัวของตนจึงได้ตัดสินใจขายที่นาไปเกือบหมด แล้วนำเงินที่ได้มาลงทุนทำอาชีพเพาะถั่วงอกขายอย่างเดียว โดยใช้บริเวณใต้ถุนบ้านของตนเอง เป็นสถานที่เพาะถั่วงอกขาย ซึ่งช่วงแรกๆ ก็ลองผิดลองถูก ใช้หลายวิธีแต่ก็ไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร ต่อมาได้มีคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านแนะนำว่าควรเพาะถั่วงอกในโอ่งดีกว่า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ แต่ยังไม่มีใครทำเป็นอาชีพจริงจัง ตนจึงได้เริ่มศึกษาวิธีการเพาะถั่วงอกในโอ่งขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อปี 2522 ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มได้ผลผลิตดี สามารถนำไปขายส่งให้กับตลาดสดในตัวเมืองนครราชสีมาได้จำนวนมาก

ซึ่งปัจจุบันครอบครัวของตน เพาะถั่วงอกในโอ่งทั้งหมด 40 ใบ สามารถเก็บถั่วงอกขายได้สัปดาห์ละประมาณ 800 กิโลกรัม โดยจะมีพ่อค้าคนกลางจากตลาดแม่กิมเฮง และตลาดประปา มารับซื้อถึงที่ ซึ่งขายส่งในราคากิโลกรัมละ 18 บาท เฉลี่ยมีรายได้สัปดาห์ละประมาณ 14,000 บาท หรือเดือนละ 57,600 บาท เป็นรายได้หลักเลี่ยงครอบครัวตนจนถึงปัจจุบัน ส่วนพ่อค้าคนกลางจะไปขายในราคากิโลกรัมละ 20-25 บาท

นางศรีนวลฯ ได้บอกถึงขั้นตอนการเพาะถั่วงอกในโอ่งแบบโบราณให้ได้ผลผลิตดีว่า ขั้นตอนแรกนั้น ต้องไปหาเลือกซื้อโอ่งขนาดความสูง 1.5 ฟุต กว้าง 1 ฟุต แล้วนำมาเจาะรู้ขนาดนิ้วก้อย 2 รู้ที่ตูดโอ่ง เพื่อให้น้ำสามารถซึมออกได้ ขั้นตอนที่ 2 ให้ซื้อเมล็ดถั่วเขียว คัดเกรดA ในปัจจุบันราคากิโลกรัม 60 บาท แล้วนำเมล็ดถั่วเขียวนั้น มาแช่ไว้ในกะละมังประมาณ 5 ชั่วโมงก่อน ขั้นตอนที่ 3 นำเมล็ดถั่วเขี่ยวที่แช่น้ำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว มาใส่ไว้ในโอ่งประมาณโอ่งละ 2 กิโลกรัม แล้วคลุมด้วยกระสอบทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้รากงอกออก ขั้นตอนที่ 4 ให้เอาใบสะแกสด มาคลุมไว้ด้านบนเมล็ดถั่วเขียว แล้วเอาไม้ไผ่ขัดไว้ด้านบน ขั้นตอนที่ 5 หมั่นรดน้ำใส่ในโอ่ง วันละ 4 เวลา ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน ขั้นตอนที่ 6 ดึงไม้ไผ่ที่ขัดไว้ออก แล้วเปิดเอาใบสะแกออกด้วย ซึ่งก็จะได้ถั่วงอกที่มีความขาว อวบ พร้อมที่จะเก็บไปขายได้ทันที ส่วนขั้นตอนการคัดเอาเปลือกถั่วเขียวออกจากถั่วงอกนั้น ก็จะใช้พัดลมขนาดใหญ่ เป่า แล้วนำผ้ามุ้งมาปู และนำถั่วงอกมาใส่กระด้งเพื่อร่อนให้เปลือกถั่วเขียวปลิวออกจากถั่วงอก พอคัดได้ถั่วงอกล้วนแล้ว ก็เก็บใส่ถุงชั่งกิโลพร้อมนำไปขายได้แล้ว นางศรีนวลฯ กล่าวปิดท้าย

หลายคนเชื่อว่า หากต้องการปลูกพืชไร่ ไม้ผลให้ประสบความสำเร็จ ต้องเช็กสภาพดิน น้ำ ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนลงมือปลูกหรือไม่ สำหรับการปลูกองุ่นเชิงการค้า แค่เช็กสภาพดินและน้ำ อาจยังไม่เพียงพอ คุณแจ๊ส-รัชนีวรรณ คนหมั่น เจ้าของไร่องุ่นภูพิบูลย์ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี แนะนำว่า ควรเช็กกระแสลมด้วยว่า เป็นอุปสรรคต่อการปลูกองุ่นหรือไม่

ก่อนหน้านี้ องุ่นเขียวพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เคยปลูกมากในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แต่ระยะหลังเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นเกือบหมด เพราะเจอปัญหาโรคแมลงรุมเร้า รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะ “กระแสลม” ที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตของต้นองุ่น คุณแจ๊ส บอกว่า พื้นที่ปลูกองุ่นในอำเภอดำเนินสะดวก มักเจอปัญหา “ลมไซฮวง” ซึ่งเป็นลมร้อนที่พัดมาจากทะเลทางตะวันตกในช่วงฤดูร้อนของทุกปี ทำให้ดอกองุ่นที่กำลังบาน ร่วงลงหมด หรือต้นองุ่นมีลูกอ่อน ก็จะมีอาการผลร่วงเกลี้ยงต้น ทำให้ต้นองุ่นโทรม

ปัจจุบัน พื้นที่อำเภอมวกเหล็ก ได้เปรียบในเรื่องสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี แต่มีจุดอ่อนสำคัญคือ ปัญหาลมแรง คุณแจ๊ส ต้องลงทุนสร้างเสาร้านองุ่นให้มีความแข็งแรงคงทน โดยใช้เสาปูน เหล็กแป๊บ เป็นโครงสร้างหลักในการก่อสร้าง หลังทำเสาร้านองุ่นเสร็จก็ต้องขึงเชือกเหมือนกับสวนองุ่นทั่วไป ที่นี่ปลูกองุ่นในระยะห่าง ต้นละ 1.20 เมตร ดูแลจัดการผลผลิตอย่างใกล้ชิด ทำให้ผลผลิตส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ตลาดเป็นสินค้าเกรดเอ ขายได้ราคาดี

ภายหลังการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้ง คุณแจ๊ส จะปล่อยให้ต้นองุ่นพักตัวระยะหนึ่ง ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นองุ่นได้สร้างอาหารสะสมไว้ในต้น เพื่อใช้สำหรับออกดอกในครั้งต่อไป ในช่วงที่ต้นองุ่นพักตัว ไม่ต้องดูแลมากนัก แค่ให้น้ำเป็นครั้งคราวเพื่อไม่ให้ดินแห้งจนเกินไป จากนั้นจึงค่อยตัดแต่งกิ่งรอบใหม่

เนื่องจาก อำเภอมวกเหล็ก มีสภาพอากาศดีมาก ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง คุณแจ๊ส จะใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น โดยพิจารณาจากภาวะอากาศเป็นหลัก เมื่อสภาพอากาศเย็น เสี่ยงต่อการเกิดเพลี้ยไฟ และราน้ำค้าง ก็จะเริ่มใช้ยา หากเจอปัญหาเพลี้ยไฟจะฉีดพ่นยาฟอรั่ม น้ำหนัก 15 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ ส่วนปัญหาราน้ำค้างมักเจอในช่วงที่ดอกองุ่นกำลังบาน และมีปัญหาราเข้าช่อ จะใช้วิธีฉีดยากันราน้ำค้างล่วงหน้า ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

สวนองุ่นโดยทั่วไปจะนิยมให้ปุ๋ย-ฮอร์โมน 2 ตัว เพื่อเร่งการเติบโตของผลองุ่น แต่คุณแจ๊สทุ่มทุนใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถึง 5 ตัว พร้อมกัน โดยเริ่มจาก ให้ปุ๋ย สูตร 16-16-16 เพื่อช่วยขยายลูกองุ่นให้มีผลโต และเติมปุ๋ย สูตร 13-13-21 เพื่อช่วยเพิ่มความหวาน โดยเติมปุ๋ยทุกๆ 15 วัน ให้อาหารเสริมที่ผลิตจากสาหร่าย เพื่อช่วยสร้างเปลือก พร้อมเติมแคลเซียม เพื่อช่วยสร้างเนื้อองุ่น และให้อาโทนิค เพื่อช่วยให้ผลองุ่นมีขั้วแข็งแรง และสุดท้ายให้ จิบเบอเรลลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้องุ่นมีผลยาว

ช่วงที่ผลองุ่นเริ่มเข้าสี คุณแจ๊ส จะคอยดูแลให้น้ำวันเว้น 3 วัน/ครั้ง เพื่อให้ต้นองุ่นสร้างน้ำตาล น้ำหนักดี และมีสีสวย องุ่นของที่นี่มีคุณภาพดี เกรดเอ ขายได้ราคาดี โดยมีราคาขายส่งกิโลกรัมละ 100 บาท เมื่อพ่อค้ารับผลองุ่นจากสวนแห่งนี้ไปวางขายในตลาดสด องุ่นจะยังคงความสด กรอบ อร่อย นานถึง 5 วัน โดยผลไม่เหี่ยวเฉา หากเก็บไว้ในตู้เย็น จะยังคงคุณภาพดียาวนานนับเดือนเลยทีเดียว

“การปลูกองุ่นให้ประสบความสำเร็จ มีเคล็ดลับสำคัญ 3 ประการ คือ การตัดแต่งกิ่ง จังหวะตลาด และอากาศ สำหรับการตัดแต่งกิ่งครั้งแรกหรือมีดแรก หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะได้เงินทุนคืนทั้งหมด การเก็บเกี่ยวครั้งต่อมาที่เรียกว่า มีด 2-4 ก็ถือว่า เป็นผลกำไรแล้ว เกษตรกรที่เป็นมือเซียนจริงๆ จะต้องคำนวณมีดหนึ่งให้ออก หากโกยทุนในมีดแรกไม่ได้ ไม่ต้องหวังกำไรแล้ว” คุณแจ๊ส กล่าวในที่สุด

สำหรับในเมืองไทยแล้ว ขนมขบเคี้ยวนับเป็นหนึ่งในสินค้ายอดนิยม คงไม่มีใครไม่รู้จัก “มันฝรั่งทอดกรอบเลย์” ของ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด หนึ่งในผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบของไทย ที่มีฐานการผลิตมันฝรั่งอยู่ในไทยมานานแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยกลับนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งเป็นจำนวนมากถึง 4,700 ตัน ต่อปี ส่งผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูง

คุณชวาลา วงศ์ใหญ่ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในไทยมีต้นทุนผลิตสูงกว่า 40% ซึ่งเป็นต้นทุนค่าหัวพันธุ์มัน บริษัทจึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการเพาะปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนภายใต้สัญญาข้อตกลงการผลิตที่มีการประกันราคารับซื้อที่แน่นอน” ซึ่งเป็นนโยบายหลักของบริษัทในการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบในประเทศ ที่ผ่านมามีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมกว่า 6,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกกว่า 28,000 ไร่ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ และส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย

นอกจากนี้ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ยังได้ร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโครงการ “พัฒนาหัวพันธุ์มันฝรั่งภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินธุรกิจระยะยาวของบริษัท เพื่อเพิ่มอัตราการใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งภายในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในไทย มีหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพดี และขยายตลาดการส่งออกมันฝรั่งสู่อาเซียนในอนาคตอีกด้วย

ด้าน คุณสนอง จรินทร ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าว่า “โครงการพัฒนาหัวพันธุ์มันฝรั่งภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า” นี้ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทางกรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปีแล้ว ในการพัฒนาหัวพันธุ์มันฝรั่ง รุ่น G0 และได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกมันฝรั่ง และกระจายมันฝรั่งพันธุ์ดีให้เกษตรกรนำไปปลูก จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาหัวพันธุ์มันฝรั่ง จนถึงรุ่น G3 มีราคาขายที่ กิโลกรัมละ 25-26 บาท”

ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ได้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยใช้พันธุ์มันฝรั่งแอตแลนติกมาพัฒนา จนได้หัวพันธุ์มันฝรั่ง รุ่น G0 โดยกรมวิชาการเกษตร มีกำลังการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง รุ่น G0 ประมาณ 50 ตัน ต่อปี ด้าน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ได้นำหัวพันธุ์มันฝรั่งดังกล่าวไปขยายผลต่อยอด พัฒนาเป็น รุ่น G1 และทดลองปลูกต่อเนื่อง จนได้หัวพันธุ์มันฝรั่ง รุ่น G3 ที่ผ่านมาได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมันฝรั่งพันธุ์ดังกล่าว ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน พบว่าได้ผลผลิตคุณภาพดี เป็นที่น่าพอใจ

เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา จากการตรวจสอบพบว่า การปลูกมันฝรั่งในไทยนั้น พบว่า มีผลผลิตเสียหาย ประมาณ 30% เพราะผลกระทบจากภาวะภูมิอากาศแปรปรวนของไทย ที่อยู่ในพื้นที่เขตร้อนชื้น ประกอบกับสายพันธุ์มันฝรั่งที่สามารถปลูกได้ในเขตร้อนชื้นมีสายพันธุ์ที่ค่อนข้างจำกัด และอ่อนแอต่อโรค ทำให้การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งมีราคาสูง เกษตรกรจึงเลือกที่จะนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากต่างประเทศมากกว่า

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร และ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากต่างประเทศ จากเดิมปีละ 5,000 ตัน ให้เหลือแค่ปีละ 2,500 ตัน และช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบตัวอย่างอาชีพเกษตรกรที่ทำได้ง่ายเพียงแค่มีที่หลังบ้าน โดยการปลูกสละและเพาะพันธุ์กล้าขาย สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อปี แม้จะอายุมากก็ทำได้ เกษตรกรรายนี้ชื่อ สุนทร เนตรโสภา อายุ 64 ปี ชาวบ้านฮ่องสิม ต.หลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนคร ซึ่งทุกวันจะมีกิจวัตรประจำวัน โดยการหมั่นดูแล กำจัดวัชพืชและให้น้ำ สละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซีย ที่ปลูกไว้หลังบ้าน เพื่อเร่งผลผลิตให้ทันส่งขาย

สุนทรเล่าว่า เดิมพื้นที่ 14 ไร่หลังบ้าน ปลูกมะขามหวานมานานถึง 13 ปี แต่เพราะสภาพอากาศร้อนชื้นไม่เอื้ออำนวย ทำให้มะขามหวานผลผลิตน้อย ขาดทุนเป็นหนี้สิน ต่อมาลูกสาวทำงานที่ภาคใต้ เห็นเพื่อนบ้านนิยมปลูกสละในพื้นที่ไม่กี่ไร่ กลับมีรายได้ดี จึงโค่นต้นมะขามทิ้งนำสละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซียมาให้ปลูก ทดแทนใช้เวลาดูแลเพียง 3 ปี สละทั้ง 2 สายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิต ออกลูกดก จากนั้นจึงหันมาดูแลปลูกสละขายอย่างจริงจัง สละเก็บผลผลิตได้ตลอดปี ปลูก 14 ไร่ หรือ กว่า 2 พันต้น เก็บขายได้เฉลี่ยวันละ 100-200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 80-100 บาท

ยอมรับว่าแรกเริ่มที่ปลูกสละชาวบ้านต่างหัวเราะเยาะ ปลูกสละในอีสานจะได้หรือ พอทำแล้วปรากฏว่าทำกำไรตกไร่ละ 1 แสนบาทต่อปี นอกจากขายผลสละเป็นรายได้หลัก ตนเพาะพันธุ์กล้าสละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซีย ขายต้นละ 50 บาท มีผู้โทรสั่งจองเกือบทุกวัน สละสามารถปลูกได้ในภาคอีสาน ดูแลง่าย สละจะให้ผลผลิตได้นานถึง 20 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแล

วันที่ 27 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิษณุโลก ซึ่งยังมีน้ำท่วมเป็นวงกว้างที่ อ.บางระกำ โดยเฉพาะในเขต ต.คุยม่วง ต.ชุมแสงสงคราม และ ต.ท่านางงาม น้ำจากแม่น้ำยมหลากล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ทางการเกษตรนาข้าวเสียหายนับหมื่นไร่ หลายพื้นที่ได้สร้างแนวกั้นน้ำ เช่น ที่ ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม ต.ท่านางงาม และ ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามาท่วมนาข้าวที่อายุ 2-3 เดือน ใกล้เก็บเกี่ยว ขณะที่หลายพื้นที่น้ำท่วมสูง ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ทัน แม้ชาวนาอีกหลายรายกพยายามลงแรงเกี่ยวข้าวที่จมน้ำลึก ถึง 1 เมตร เพื่อจะได้ทุนกลับคืนมาบ้าง

โดยที่บ้านวังแร่ หมู่ 3 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำยมไหลหลากมาจากอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และจากคลองเมม ได้หลากมาท่วมพื้นที่นาจมมิดเป็นพื้นที่กว้าง มีชาวนาพยายามลงแรงเกี่ยวข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำ เพียงลำพัง 2 คน เนื่องจากนาข้าวที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในไม่กี่วันข้างหน้า แต่กลับมาถูกน้ำท่วมเสียก่อน

ซึ่งนายสน ด้วงต้อย และนางสมนึก ดวงต้อย อายุ 66 ปี 2 สามี-ภรรยา ได้ใช้เรือลงไปเกี่ยวข้าวในพื้นที่นาข้าวของตนเองที่ถูกน้ำท่วม ระดับความลึกประมาณ 1 เมตร ปลูกข้าวเอาไว้ 12 ไร่ เพราะข้าวอายุกว่า 80 วัน โดยใช้ตอกมัดเป็นกำใส่เรือแจว จูงขึ้นมาใส่รถอีกโก้ง นำไปตากแดดที่ลานบ้าน เพื่อรอให้แห้งจะได้ตันละ 2,000 บาท

นายสน เปิดเผยว่า ตนทำนาบริเวณทุ่งวังแร่มานากว่า 40 ปีแล้ว นาข้าวเคยถูกน้ำท่วมเสียหาย 2-3 ครั้ง ข้าวส่วนใหญ่ไม่เสียหาย เพราะจะเกี่ยวได้ทันก่อนน้ำมาท่วม แต่ต้นปีนี้แล้งมากไม่มีน้ำทำนา จึงทำให้ทำได้ล่าช้า ข้าวอายุได้ 80 วัน จำนวน 12 ไร่ ใกล้เก็บเกี่ยวได้แล้ว แต่น้ำเริ่มขึ้นมาเร็วมาก จะปล่อยทิ้งไว้ก็เสียดาย ลงทุนไปประมาณ 40,000 กว่าบาทแล้ว จึงพากันมาใช้เคียวเกี่ยวข้าวเท่าที่เกี่ยวได้ บางจุดก็อยู่ลึกมาก ไม่สามารถเกี่ยวได้ ถ้าตากแดดก็คงขายได้ตันละ 2,000 บาท แต่ยังดีกว่าปล่อยให้นาข้าวจมน้ำเสียหายไปโดยไม่ได้ทำอะไรเลย

แปลงเกษตรของเด็กนักเรียนในโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีไอเดียทำบวบงูให้ตรงสวย ขายได้ราคา ซึ่งปกติผลของบวบงูจะมีลักษณะยาว เรียว บิดโค้งไปมาตามความยาวของผล พบผลตรงน้อยมาก มีลายสีเขียวอ่อนหรือขาวพาดยาวเป็นแนวตั้ง แต่บางพันธุ์ก็จะเป็นสีเขียวอ่อนพาดลายขาว หรือเป็นสีขาวไม่เห็นลายก็มี ความยาวของผลบวบงูสามารถยาวได้ถึง 200 เซนติเมตร เลยทีเดียว

สำหรับแปลงเกษตรของเด็กนักเรียนโรงเรียนรวมไทยพัฒนา 3 มีวิธีทำบวบงูให้ตรงสวยงาม ด้วยการเก็บก้อนหินภายในบริเวณโรงเรียน นำมาผูกห้อยไว้กับปลายผลของบวบงู ตั้งแต่ผลของบวบงูมีความยาว ประมาณ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งทำให้บวบงูมีรูปทรงของผลตรงสวยงาม เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดีกว่าผลบวบงูที่บิดโค้งงอไปมา และวิธีนี้หากใครจะนำไปใช้ก็ไม่ขัดข้อง

จริงๆ แล้ว ไผ่ในเมืองไทยมีมากหนักหนา กระนั้นก็ตามเมื่อค้นพบไผ่สายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่อยู่ในวงการก็อดไม่ได้ที่จะให้ความสนใจ

แต่ก่อนเก่าโบราณมีการนำไผ่จากจีนเข้ามาปลูกคือ ไผ่ตง ระยะเวลาน่าจะกว่า 100 ปีแล้ว ราว 10-20 ปีมานี้ มีการนำไผ่ชนิดใหม่จากจีนเข้ามา ลักษณะโดดเด่นมาก คือเจริญเติบโตและให้หน่อเร็ว

แต่ที่มานั้นยังสับสน ว่านำเข้ามาตั้งแม่เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้นำเข้ามา ยุคแรกๆ เมื่อไผ่ชนิดนี้ ไปเจริญแพร่พันธุ์อยู่ที่ใด คนในท้องถิ่นจะตั้งชื่อขึ้นใหม่ ทำให้ไผ่จีนที่คุณสมบัติโดดเด่นมีมากกว่า 5 ชื่อ

ในเขตตัวเมืองกาญจนบุรี เรียกกันว่า ไผ่ตงลืมแล้ง

ที่อำเภอไทรโยค เรียกว่า ไผ่กิมซุ่ง

คุณทรงยศ พุ่มทับทิม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ไปพบที่ระยอง จึงนำไปศึกษาอยู่ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เรียก ไผ่จีนเขียวเขาสมิง

ชาวนครสวรรค์เรียก ไผ่อินโดจีน

ยังมีชื่ออื่นๆ อีก

คุณสมบัติที่พบเห็นอยู่ของไผ่ชนิดนี้ หากสภาพแวดล้อมดีพอสมควร จะเจริญเติบโตเร็ว หลังปลูกเพียง 4-7 เดือน ก็เริ่มให้หน่อได้แล้ว จำนวนหน่อต่อกอดก แต่ต้องหมั่นสางลำออก อย่าให้ลำมากหรือแน่นมากเกินไป หากลำมากจำนวนหน่อที่ออกมาจะน้อย หน่อมีขนาดเล็ก ให้ดีควรไว้ลำ 6-7 ลำ ต่อกอ โดยสางลำที่อายุมากออกไปใช้งาน

ที่จังหวัดตราด เคยเก็บตัวเลขไว้ พบว่า ไผ่จีนให้หน่อได้ 30 หน่อ ต่อกอ ต่อปี น้ำหนัก ต่อหน่อ 1.5-2.5 กิโลกรัม หน่อไผ่จีนนำไปปรุงอาหารได้ทุกอย่าง

ลำไผ่จีนก็ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการเผาถ่าน พื้นที่ใดมีน้ำดี สามารถทำให้ออกก่อนฤดูได้

สิ่งหนึ่งที่ผู้ปลูกไผ่ชนิดนี้ประทับใจมากนั้น ผืนดินที่รกเรื้อไปด้วยหญ้า เมื่อปลูกไผ่จีนได้ 2-3 ปี บริเวณนั้นจะร่มเย็น พื้นล่างไม่มีวัชพืชขึ้น

เริ่มแรกที่มีการเผยแพร่เรื่องของไผ่จีน สนนราคาต้นพันธุ์ค่อนข้างสูง ซึ่งวิธีขยายพันธุ์ทำได้ง่ายโดยการตอน ทุกวันนี้ ต้นพันธุ์ไผ่จีนราคาย่อมเยา สามารถซื้อหาไปปลูกได้ทีละมากๆ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบไผ่นี้ เพราะสามารถสร้างป่าได้เร็ว หน่อไผ่ก็จำหน่ายได้ดี เพราะมีการบริโภคกันมาก

ผักชีฝรั่ง เป็นผักและสมุนไพรไทยที่นิยมนำมาปรุงอาหารในหลากหลายเมนู โดยเฉพาะอาหารอีสาน เนื่องจากใบมีรสชาติจืด แต่มีกลิ่นหอมแรง สามารถปรับปรุงกลิ่นอาหารให้ชวนรับประทานมากขึ้น

ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลาปลูกประมาณ 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยเกษตรกรจะปลูกในโรงเรือนความสูงประมาณ 1.70-2.00 เมตร ด้านบนจะมุงตาข่ายพรางแสง ให้แสงส่องผ่านได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยการปลูกผักชีฝรั่งจะใช้เมล็ด ปลูกระบบร่องน้ำจึงได้ผลผลิตดี โดยหน้าร่องควรกว้าง 6 เมตร หรือ 3 วา ร่องน้ำกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ส่วนความยาวแล้วแต่พื้นที่

และหลังจากหว่านเมล็ดลงไปแล้ว 10- 15 วัน เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า ซึ่งในช่วงนี้จะต้องดูแลกำจัดวัชพืช รดน้ำอย่าให้ขาด เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน และพอต้นกล้าอายุได้ 1 เดือน ก็จะเริ่มบำรุงปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์

ส่วนตลาดจะเป็นตลาดในประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจำหน่ายกิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งแต่ละรอบจะเก็บผลผลิตได้ 3-4 ตัน ทำรายได้เฉลี่ย 3-4 แสนบาท

วันที่ 29 กันยายน 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม บรรยากาศใกล้เทศกาลกิเจ ประจำปี พบว่า บรรยากาศการค้าขาย ไม่เพียงร้านจำหน่ายอาหารเจตามพื้นที่ต่างๆ ที่คึกคัก แต่ยังมีพื้นที่การเกษตรริมโขง ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่ชาวบ้านทำอาชีพปลูกผักตลอดแนว ริมแม่น้ำโขงขาย สร้างรายได้ มีเนื้อที่นับ 10,000 ไร่ โดยในปีนี้โชคดีของชาวบ้าน ที่ระดับน้ำโขงลดเร็ว ทำให้ชาวบ้านได้เริ่มปรับพื้นที่ปลูกผักตั้งแต่ต้นปี สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้นไปถึงช่วงฤดูหนาว

โดยเฉพาะในช่วงนี้ใกล้เทศกาลตรุษจีน สมัครพนันออนไลน์ ได้มีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจากทั่วภาคอีสาน มาสั่งซื้อพืชผักสวนครัว เพื่อไปจำหน่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ราคาพืชผัก สวนครัวเริ่มปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง ประมาณ 30 -40 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลดีต่อเกษตรกรในพื้นที่ริมแม่น้ำโขง มีเงินหมุนเวียนสะพัด บวกกับในช่วงนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ ทำให้พืชผักได้รับความเสียหายจนขาดตลาด ทำให้หันมาสั่งในพื้นที่ จ.นครพนม เพิ่มขึ้น ทำให้ตามตลาดสดต่างๆ มีการสั่งออเดอร์พืชผัก สวนครัว เข้ามาจำหน่ายกันคึกคัก

ข้าวในนาของคุณจินดาปลูกเน้นความเป็นอินทรีย์ตั้งแต่เริ่มแรก

ที่ต้องดูแลบำรุงดินก่อนปลูกข้าวตามฤดูกาล โดยไม่มีการเผาตอซังแต่จะไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด แล้วปล่อยเศษฟางข้าวไว้กลางทุ่งเพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยในดิน อีกทั้งได้นำถั่วลิสงที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวแล้วนำมาเข้ากระบวนการทำปุ๋ยหมัก แล้วผสมกับฟางข้าว ขี้วัว ขี้ไก่ เศษใบไม้ ใส่ลงในดิน

แนวทางนี้ทำให้ข้าวในนาของคุณจินดาได้ผลผลิตครั้งละประมาณ 250 ถุง (ถุงละ 42 กิโลกรัม) เขาบอกว่า เป็นผลผลิตที่สูงเพราะปลูกแบบอินทรีย์ด้วยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และต่างจากชาวบ้านแหล่งอื่นที่มักเผาตอซัง แล้วบ่นว่าได้ผลผลิตน้อย

นอกจากนั้น สวนแห่งนี้ยังปลูกพืชสวนครัว ได้แก่ พริก ข่า ตะไคร้ หรือไม่เว้นแม้แต่พืชกินใบ อย่างกะหล่ำปลี ผักกาดดอก ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะกับช่วงอากาศหนาว ดังนั้น จึงวางแผนปลูกพืชเหล่านี้ด้วยการเพาะไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วนำไปปลูกในพื้นที่ทำนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วในช่วงปลายปี

อีกส่วนของพื้นที่สวนเกษตร คุณจินดาได้ทำเป็นสวนมะนาวพันธุ์ตาฮิติ มีทั้งแบบปลูกลงดินกับปลูกในวงบ่อ เหตุผลที่ทำเช่นนี้เพราะต้องการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และความทนทาน โดยมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 80 ต้น ระยะปลูก 4 เมตร ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน มีอายุปลูก 8 เดือน และยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของมะนาวพันธุ์ตาฮิติ คือออกดอกติดผลตลอดปี โดยไม่ต้องใช้สารเร่ง มีการดูแลบำรุงต้นมะนาวและดินด้วยปุ๋ยคอก แกลบ ผสมกับมูลวัว มูลควาย นอกจากนั้น จะให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และฉีดน้ำสมุนไพรไล่แมลงปีละ 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง

เจ้าของสวนบอกเหตุผลที่ต้องปลูกมะนาวพันธุ์นี้ เพราะต้องปลูกร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งจะมีผลกับการตลาด เนื่องจากมีภาคเอกชนมารับซื้อแบบทำสัญญารายปีกันในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งถือเป็นราคาที่เหมาะสมเพราะเป็นการเฉลี่ยราคาทั้งปี

ส่วนไก่ที่เลี้ยงมี 2 พันธุ์ คือ ไก่พื้นเมือง และไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มีรวมกันทั้งหมด 100 กว่าตัว เป็นประดู่หางดำจำนวน 48 ตัว ทั้งนี้ ไก่ทั้งหมดจะปล่อยให้หากินตามธรรมชาติกับให้อาหารจากผักกะหล่ำปลี ผักบุ้ง กล้วย มาต้มผสมกับรำ มีบ่อปลาจำนวน 4 บ่อ เลี้ยงปลาสวาย ปลาจะละเม็ด และปลานิล แล้วนำพืชผักมาใช้เป็นอาหารปลา นอกจากนั้น มีรายได้เป็นรายปีอยู่กับสวนยูคาลิปตัสจำนวนหมื่นกว่าต้น บนเนื้อที่ 30 กว่าไร่

เดินตามแนวทางนี้แทบไม่ต้องใช้เงิน จึงมีเหลือออม

ชุมชนของคุณจินดาไม่มีตลาดหรือร้านค้า อีกทั้งยังมีความเป็นอยู่แบบชาวชนบท ซึ่งชาวบ้านแต่ละครัวเรือนมักทำเกษตรกรรมไว้บริโภคในครัวเรือนโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ ด้วยเหตุนี้แต่ละครัวเรือนจึงมักทำเกษตรแบบผสมผสาน ขณะเดียวกัน ถ้ามีผลผลิตมากเกินก็มักส่งเข้าไปขายในตลาด

คุณจินดา เผยว่า วิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบนี้ถือเป็นความพอเพียง ครอบครัวของเขาแทบจะไม่ต้องใช้เงินเลย เพียงแต่อาจมีรายได้เกี่ยวกับวัสดุปรุงกับข้าว อย่าง กะปิ น้ำปลา น้ำตาลทราย ผงชูรส เท่านั้น ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ไม่มาก แล้วไม่ต้องซื้อบ่อย จึงมีความเป็นอยู่แบบพอเพียง สร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน

“การที่สามารถบอกได้อย่างเต็มปาก เพราะประสบกับทุกสิ่งที่ปฏิบัติมาด้วยตัวเอง และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทุกอย่างที่ในหลวงทรงมอบให้ชาวบ้านเป็นของจริง เพราะทุกวันนี้ชีวิตมีความพอเพียงจริง มีเงินเหลือออมจริง”

ภายใต้กรอบของวิถีพอเพียงที่จะต้องนำทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่มาทำเกษตรกรรม คุณจินดานำแกลบจากข้าวที่ปลูกมาเผาแล้วจะนำไปใช้ในการผสมปุ๋ยและเป็นวัสดุปลูกพืช มีการเผาถ่านเองจากต้นไม้ในละแวกบ้านเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง แล้วยังนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ด้วย

ปลูกไผ่ รักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้

นอกจากพืชหลายชนิดแล้ว ไผ่ ยังเป็นพืชสำคัญของชาวตำบลผาปัง เนื่องจากชุมชนนี้มีการนำไผ่มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งสิ่งของเครื่องใช้และพลังงาน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจึงมีการเพาะเลี้ยงไผ่เพื่อสร้างรายได้

คุณจินดาปลูกไผ่กิมซุ่ง เหตุผลที่เลือกเพราะสามารถให้หน่อได้ตลอดทั้งปี ซื้อมาเพียงต้นเดียว แล้วนำมาขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนกว่า 50 ต้น บางส่วนที่ขยายแล้วนำไปปลูกริมรั้ว เป็นกำแพงทางธรรมชาติ แล้วมีโครงการเพาะ-ขยายต่อไปอีกไม่จำกัด เพราะมองว่าเป็นพืชที่ปลูกง่าย การดูแลไม่ยุ่งยาก เพียงแต่อย่าขาดน้ำ แล้วยังมีตลาดรองรับที่แน่นอนด้วย

เจ้าของสวนรายเดิมชี้ว่า ไผ่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่สำหรับเขาเลือกบางวิธีที่เหมาะสมและมีความสะดวกสอดคล้องกับพื้นที่ อย่างเช่น การแยกกอหรือเหง้า การชำปล้อง และการปักชำแขนง

พร้อมกับให้รายละเอียดว่า ถ้าเป็นการขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือเหง้า ควรเลือกเหง้าที่มีอายุ 1-2 ปี โดยตัดตอให้สูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่ และต้องระวังอย่าให้ตาที่กอเหง้าเสียหาย เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป

อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มาก จึงมีอัตราการรอดตายสูง ทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ

อีกวิธีคือการขยายพันธุ์โดยการชำปล้อง ซึ่งต้องเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนมี 1 ข้อ โดยจะต้องตัดตรงกลางท่อน ให้รอยตัดทั้งสองข้างห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และต้องมีแขนงติดอยู่ประมาณ 1 คืบ แล้วจึงนำไปชำในแปลงเพาะ ให้วางอยู่ระดับดินแล้วให้ตาหงายขึ้น ทั้งนี้ ต้องระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย เพราะจะทำให้หน่อไม่งอก หลังจากนั้น เทน้ำใส่ปล้องไผ่ให้เต็ม

วิธีสุดท้ายคือ การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ โดยให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว ดูรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง และมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้ว หรือเลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี

ภายหลังที่ได้กิ่งแขนงแล้ว ให้ตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือ 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยต้องเตรียมแปลงเพาะชำด้วยการไถพรวนดิน ควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ ต้องขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ให้ร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วทุกด้าน นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่อง ห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังจากนั้นแล้ว ประมาณ 6-8 เดือน จะเริ่มแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรง พร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้

พึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ต้องเสียค่าไฟ

ในปัจจุบัน ชุมชนที่คุณจินดาอาศัยอยู่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ดังนั้น เขาจึงต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้กับทุกอย่างในบ้าน มีการต่อระบบวงจรไว้แต่ละจุด แบ่งแยกตามความต้องการใช้งานอย่างชัดเจน

โดยความรู้เรื่องการต่อระบบพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์นี้ได้มาจากลูกชายที่ขายแผงโซลาร์เซลล์เป็นคนสอนให้ นอกจากนั้น เขายังให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการใช้แบตเตอรี่ที่ชำรุดด้วยการนำมารีไซเคิลใหม่ โดยเป็นการช่วยเหลือฟรี

สวนเกษตรผสมผสานของคุณจินดาจึงถือเป็นต้นแบบของแหล่งความรู้ แนวทางการทำอาชีพเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืน แล้วได้รับการจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบลผาปัง” จึงเป็นสถานที่สำหรับให้ผู้คนที่สนใจเกษตรทฤษฎีนี้เข้ามาเรียนรู้กันอย่างเต็มที่

“ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากจนทำให้คนที่อยู่ในอาชีพเกษตรกรรมหลงไปตามกระแส แล้วมักลืมความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม แต่ถ้าทุกคนสนใจที่จะเอาใจใส่ในอาชีพด้วยการแสวงหาความรู้การใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียงได้อย่างถ่องแท้ ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนก็จะมีความแข็งแรงและมั่นคง และที่สำคัญในเมื่อปฏิเสธเทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ได้ ก็ยอมรับมาใช้ แต่ควรเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ตรงและเกิดประโยชน์กับตัวเรา” คุณจินดา กล่าว

ดินใต้โคนต้นโสนที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยานับเป็นสิ่งล้ำค่าราวกับขุมทรัพย์ เพราะดินจากธรรมชาติบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะเป็นที่ขึ้นของ “เห็ดตับเต่า” เห็ดที่มีหมวกลักษณะคล้ายร่มสีดำ – น้ำตาลอมเหลืองอ่อน เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 10 – 25 ซม น้ำหนักเยอะต่อ1ดอก เกือบ 2 กิโลกรัม มีขนเล็กๆ คล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล ส่วนเนื้อของเห็ดชนิดนี้จะหนา มีความเหนียวหนึบ เมื่อนำมาต้มหรือผัด จะไม่ค่อยเละหรือแหยะเหมือนเห็ดชนิดอื่น

เห็ดตับเต่ามักจะขึ้นในช่วงฤดูฝน ขึ้นมากในป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าต้นสะแก ถ้าเป็นในสวนมักจะพบในสวนผลไม้ เช่น สวนไผ่ รวมถึงขึ้นมากใต้โคนต้นโสน ที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คุณจำลอง จักรกร บ้านเลขที่ 55 หมู่ 6 ตำบลสามเรือน อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หญิงสาววัย 56 ปี เกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่มีอาชีพทำนามากว่า 100 ปี แต่ปัจจุบันเลิกทำนาแล้ว หันมาปล่อยที่นาให้คนเช่า แล้วเปิดบริษัทรับทำบัญชี รวมถึงเก็บเห็ดตับเต่าขายเฉพาะช่วงหน้าฝน ขาย 4 เดือนมีรายได้เกือบ 5 แสนบาท

คุณจำลอง เผยกับเส้นทางเศรษฐีว่า เห็ดตับเต่า เป็นเห็ดโบราณ ขึ้นเองตามทุ่งโสน บริเวณชายคลองหรือที่มีน้ำท่วมขัง ในอดีตเห็ดตับเต่าไม่มีใครสนใจ ชาวบ้านรังเกียจเสียด้วยซ้ำ เพราะลักษณะรูปร่าง สีสัน ไม่สะอาดสะอ้าน ไม่น่ารับประทานเหมือนเห็ดชนิดอื่นๆงถูกปล่อยทิ้งเน่าไปเองตามธรรมชาติ กระทั่งตอนอายุ 10 ขวบ เพิ่งรู้ว่าเห็ดชนิดนี้ คนภาคอีสานนิยมกิน อีกทั้งระยะหลังมีพ่อค้ามารับซื้อ ราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ จากกิโลกรัมละ 50 สตางค์ ปัจจุบันพ่อค้าคนกลางรับซื้อกิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนตามท้องตลาดขายกิโลกรัมละ 180- 200 บาท

ภายหลังคุณจำลองรู้ว่าเห็ดตับเต่านั้นขายได้ เธอก็เก็บขายเรื่อยมา โดยที่ไม่ได้ปลูก อาศัยเห็ดขึ้นเองบริเวณรั้วบ้าน พื้นที่ 3 ไร่ เธอจะเก็บขายเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น เพราะเห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นในดินที่มีความชื้นและมีน้ำชุ่มช่ำ

“เห็ดตับเต่าชอบขึ้นในดินที่มีความชื้นสูง ดังนั้นจึงพบมากในช่วงฤดูฝน แต่อย่างไรก็ตาม เห็ดตับเต่าไม่สามารถเพาะได้เหมือนกับเห็ดชนิดอื่นๆ ปัจจัยสำคัญ คือ ดินต้องดี โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นโสน และต้นไม้ชนิดอื่นๆ ที่โคนต้นมีดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นสูง ในพื้นที่ตำบลสามเรือน ซึ่งเป็นที่ลุ่มและฤดูฝนมักมีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด ดินจึงมีความชื้นสูงและมีต้นโสนขึ้นมาก”

ปริมาณเห็ดตับเต่าที่หญิงสาวเก็บขายแต่ละครั้ง เธอบอกว่า ตลอดระยะ 4 เดือน (มิถุนายน – กันยายน) เก็บขายได้ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 30 – 90 กิโลกรัม และเนื่องจากตลาดมีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง การเก็บจากธรรมชาติอย่างเดียวเริ่มไม่เพียงพอ ระยะ 2 ปีมานี้ ติดสปริงเกอร์รอบบ้าน ปล่อยน้ำวันละ 3-4รอบ เพื่อให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา รวมถึงปลูกต้นโสนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเห็ดตับเต่ามักจะขึ้นมากบริเวณภายใต้ต้นโสน

ณ ตำบลสามเรือน เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งผลิตเห็ดตับเต่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ตำบลนี้มีผู้เก็บเห็ดตับเต่าขายหลายราย เฉพาะสมาชิกกลุ่มของคุณจำลอง เธอบกว่า มีอยู่ 13 ราย แต่ละรายผลผลิตต่อรอบไม่ต่ำกว่า 1 ตัน มากสุดถึง 4 ตัน สมาชิกกลุ่มนี้จะมีรายได้จากการจำหน่ายเห็ดตับเต่ารวมกว่า 10 ล้านบาทเลยทีเดียว

เกษตรกรรุ่นใหม่เมืองรถม้า ใช้ภูมิปัญญาผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดคุณภาพ พร้อมดัดแปลงอุปกรณ์การเกษตรหลากหลาย ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นระดับภาคเหนือ

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง นำโดย คุณประวีณ์นุช สันพะเยาว์ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลงานของเกษตรกรดีเด่นและเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ประเภทต่างๆ ในจังหวัดลำปาง เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานของเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จได้เป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรรายอื่นๆ ได้นำไปปฏิบัติในไร่นาของตนเอง

จุดแรกคือ เทคนิคการปลูกสับปะรดให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ คุณกฤษณะ สิทธิหาญ เกษตรกรหนุ่ม วัย 41 ปี อยู่บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

คุณกฤษณะ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตมีการปลูกสับปะรดเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วๆ ไป ไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือปลูกปีละ 1 ครั้ง เต็มพื้นที่ 50 ไร่ เมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวก็เก็บครั้งเดียวหมดทั้งแปลง ต้องลงทุนปลูกใหม่ทุกครั้งทุกปี ต้องใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีเร่งการออกดอก ห่อหุ้มผลสับปะรดเพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดเผาไหม้ผิวของผล และการปฏิบัติการต่างๆ ในสวน

ทำให้ต้นทุนการปลูกสูงขึ้นทุกปี ตนเองได้จดบันทึกค่าใช้จ่ายมาโดยตลอด อย่าง เช่น เมื่อปี 2553 ต้นทุนการปลูกสับปะรด อยู่ที่กิโลกรัมละ 4.00 บาท แต่พ่อค้ารับซื้อสับปะรด กิโลกรัมละ 2.20 บาท ทำให้เกษตรกรชาวสวนสับปะรดในตำบลบ้านเสด็จขาดทุนเป็นจำนวนมาก มีการเดินขบวนขอให้ทางราชการเข้ามารับซื้อพยุงราคา ตนเองจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาการปลูกสับปะรดให้มีคุณภาพและมีต้นทุนต่ำ

โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มากขึ้นทุกขั้นตอน และมีสับปะรดให้ผลผลิตตลอดทั้งปี จึงเริ่มต้นตั้งแต่หาวิธีการปลูกโดยการใช้ผ้าพลาสติกปูคลุมพื้นดินเป็นแปลง เว้นระยะทางเดินระหว่างแปลงเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานและเก็บเกี่ยวผลผลิต อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในแปลง เป็นการรักษาความชื้นในดินด้วย แต่การปลูกโดยผ่านแผ่นพลาสติกนั้นจะต้องมีเครื่องมือในการเจาะให้เป็นรูที่มีราคาแพง จึงคิดค้นใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ผ่านไปยังขดลวดให้ร้อน สามารถเจาะเป็นรูได้

ขนาด 7 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 35 เซนติเมตร เว้นระยะสำหรับทางเดินเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย จากนั้นก็หาวิธีการปลูกสับปะรดในหลุมด้วยการดัดแปลงหัวฉีดน้ำที่ใช้กระแสน้ำแรงฉีดพ่นลงในรูหรือหลุมที่เจาะไว้ให้ดินอ่อนนุ่ม จากนั้นจึงนำหน่อสับปะรดลงปลูก ใช้เวลา 10-15 วัน หน่อสับปะรดก็จะออกรากและตั้งตัวได้แล้ว รอเวลาจนต้นสับปะรดเจริญเติบโตเต็มที่ ประมาณ 10 เดือน เริ่มที่จะออกดอกและติดผลอ่อน หากปลูกแบบเดิมจะต้องใช้เวลานานถึง 12 เดือน ระยะนี้เองเกษตรกรจะต้องห่อผลด้วยการใช้ใบสับปะรดของต้นตัวเองห่อผล

แล้วใช้ตอกมัดรวบยอดคล้ายกับการรวบเป็นจุก ต้องใช้แรงงานเหมาทั้งสวนห่อ และแรงงานก็หายาก จึงคิดค้นหาวิธีที่จะห่อผลให้รวดเร็วกว่าแบบเดิมๆ เพราะในความเป็นจริงแล้วคือไม่ต้องการให้แสงแดดส่องสาดที่ผล ทำให้ผิวไม่สวยงาม หรือเรียกว่าไหม้แดด จึงทดลองใช้เศษจากแผ่นป้ายโฆษณา ที่เรียกกันทั่วไปว่า แผ่นป้ายไวนิล ที่ใช้งานแล้ว มาตัดเป็นแผ่นเล็กๆ เจาะรูตรงกลางใช้สวมที่ดอกเล็กๆ ก่อนที่จะโตเป็นผลสับปะรด หรือเรียกว่าเป็นการใส่หมวกให้สับปะรด พบว่าสามารถห่อผลได้เร็ว และห่อได้วันละ 5,000 ต้น ต่อคน ต่อวัน มากกว่าการจ้างแรงงานคนห่อผลแบบเดิม คือ 1,000 ต้น ต่อคน ต่อวัน เท่านั้น

นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดดังกล่าวแล้ว คุณกฤษณะ ยังได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทางการเกษตรอื่นๆ เช่น เครื่องพ่นปุ๋ย พ่นสารเคมี ขนาด 60 ลิตร ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ติดตั้งบนรถเข็นขนาดเล็กโดยไม่ต้องแบกหรือสะพายหลังเวลาใช้งาน เพียงแต่เข็นล้อเลื่อนไปตามพื้นดินพร้อมกับการฉีดพ่น สามารถใช้ได้กับพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป มีการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าที่เป็นแบบสะพายข้างใช้ใบมีดตัดหญ้า ดัดแปลงโดยใช้เครื่องตัดหญ้าวางบนรถเข็นขนาดเล็ก แล้วใช้เส้นลวดแทนใบมีด ทำให้ตัดหญ้าได้เร็วและไม่มีอันตรายต่อคนใช้และต้นไม้ที่ปลูก นอกจากนี้ ยังได้ดัดแปลงรถเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เก็บระหว่างแปลงสับปะรด แทนที่เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวหัวสับปะรดแล้วใส่ตะกร้าแบกออกไปใส่รถบรรทุกอีกครั้งหนึ่ง ดัดแปลงใบมีดตัดหญ้าให้สะดวกต่อการใช้ ฯลฯ

ผลจากความขยันขันแข็ง จากความมุ่งมั่นทางการเกษตร พัฒนาการปลูกสับปะรดในพื้นที่ได้เป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรรายอื่น ได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการเกษตรให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำไร่ ระดับจังหวัดลำปางและเกษตรกรดีเด่นระดับเขตภาคเหนือ ประจำปี 2558

ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนหันมาทำอาชีพเสริม เช่นเดียว กับคุณมานพ เปรมปรีดิ์ซึ่งอาชีพหลักเป็นวิศวกร แต่วันหยุดแปลงร่างมาเป็นเกษตรกร มาปลูกเมล่อนบนดาดฟ้าใช้พื้นที่เพียง 50 ตรม. ก็สร้างรายได้ไปพร้อมกับความสุข

เมล่อน” ถือเป็นราชินีแห่งพืชตระกูลแตง สามารถแบ่งชนิดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะของผลครับ โดยรูปแบบการปลูกที่นิยมปลูกในบ้านเรานั้นมี 3 แบบ คือ ปลูกในแปลงแบบมีค้าง ปลูกบนดิน และปลูกในถุง

พี่มานพ เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกครั้งแรก 20 ต้น โดยเผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊คโดยไม่ได้หวังทำการตลาดอะไรมากมาย จนกระทั่งมีเพื่อนในโซเชียลให้ความสนใจ ติดต่อสอบถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จึงเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น

สำหรับสายพันธุ์เมล่อน จะเป็นสายพันธุ์ญี่ปุ่น คือ ฮันนี่ นัตสึ (เนื้อเขียว) และ ออรินจิ (เนื้อส้ม) เป็นสายพันธุ์ที่อายุเก็บเกี่ยวเท่ากัน สามารถปลูกในโรงเรือนเดียวกันได้

พี่มานพ บอกว่า การปลูกเมล่อนบนดานฟ้า ต่างจากการปลูกทั่วไป คือ วัสดุปลูก และพื้นที่ โดยการปลูกเมล่อนบนดาดฟ้าของพี่มานพ ใช้พื้นที่ 50 ตรม. ใช้เงินลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. สร้างโรงเรือนพร้อมระบบน้ำ ใช้เงินประมาณ 40,000 – 50,000 บาท
2. ค่าเมล็ดพันธุ์ ดิน ปุ๋ย และน้ำ ใช้เงินลงทุนรอบละ 4,000 บาท

“เมล่อน เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น และการปลูกในโรงเรือน มีมุ้ง มีหลังคาที่รับแดด จะช่วยให้เราลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคและแมลงต่างๆ ทั้งนี้ ผมปลูกบนพื้นที่สูง ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก”

ขั้นตอนและวิธีการปลูก
1. นำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำอุ่น อย่างน้อย 4 ชั่วโมง (เมล็ดไหนที่จมคือมีคุณภาพ)
2. นำไปบ่มผ้า 1 วัน (24-36 ชั่วโมง)
3. จากนนั้นนำเมล็ดที่ผ่านการบ่ม ไปเพาะในถาดเพาะหลุมละ 1 เมล็ด ซึ่ใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน ต้นกล้าจะแทงใบจริงออกมาประมาณ 2 ใบ
4. นำมาปลูกในถุงพลาสติก ประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มแขวนเชือกต้นละ 2 เส้น โดยเส้นแรกพยุงต้น อีกเส้นพยุงผล

การปลูกเมล่อนให้ได้คุณภาพ ปริมาณน้ำเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องควบคุมน้ำให้นิ่ง เริ่มต้นพี่มานพ เริ่มจากการให้น้ำต้นละ 200 ซีซี/ครั้ง 1 วันจะให้ 3 ครั้ง (เช้า/กลางวัน/เย็น) ประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะเริ่มเพิ่มปริมาณน้ำขึ้นตามความเหมาะสม

1 โรเรือน จะปลูกได้ประมาณ 150-160 ผล น้ำหนักเฉลี่ยผลละ 1.3 -1.8 กิโลกรัม ซึ่งขนาดผลน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม เป็นขนาดที่เหมาะสมและจำหน่ายได้ง่าย โดยราคาเฉลี่ยผลละ 150-200 บาท

พี่มานพ บอกว่า การเก็บเมล่อน สิ่งแรกที่จะคำนึง คือ ต้องนับวันที่ดอกบานและผสมซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45-50 วัน โดยการจะตัด ประมาณ 2 สัปดาห์ จะเทสค่าความหวาน”

“การตลาด มันอยู่ที่คนใกล้ๆตัวเรา ไม่คิดว่าจะต้องไปวางขายที่ไหน สุดท้ายการตลาดจะวิ่งมาหาผมเอง 20 ต้นของผม คนที่ติดตามผมใสเฟส เขาเห็นกระบวนการทุกขั้นตอน ทำให้เขามั่นใจว่าของเราปลอดสาร 100 % .ใครๆก็อยากจะบริโภคของที่มีคุณภาพ”

เมื่อ 5 ปีก่อน เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภายใต้โครงการสามพรานโมเดล หยุดใช้สารเคมีและหันมาทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ เมื่อ 5 ปีก่อน ก็ได้รับกระแสการตอบรับจากผู้บริโภคในวงกว้าง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียงหันมาทำเกษตรอินทรีย์ตามกันอย่างกว้างขวาง

เพื่อความยั่งยืนของโครงการและสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับเกษตรกรในเครือข่าย ล่าสุด คุณอรุษ นวราช ผู้บริหารสวนสามพราน และเลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ได้พาแกนนำสำคัญกว่า 160 คน ประกอบด้วย ผู้จัดการโครงการ หัวหน้ากลุ่มเกษตร ทายาทคนรุ่นใหม่ของเกษตรกร รวมถึงผู้บริหาร พนักงานของโรงแรม ลงพื้นที่ ศูนย์พันพรรณ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไปร่วมกิจกรรม “เปิดโลก เรียน-รู้ วิถีพึ่งตนเอง กับ โจน จันใด” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา ในวิถีอินทรีย์ และตระหนักในการพึ่งตนเอง ด้วยตัวของเขาเอง

คุณอรุษ บอกว่า คุณโจน จันใด เป็นเกษตรกรต้นแบบที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กว่า 14 ปี ที่เขาละทิ้งกรุงเทพฯ กลับไปพิสูจน์ความเชื่อตัวเอง ด้วยการหันมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เริ่มจากลงมือทำนา ปลูกผัก ผลไม้อินทรีย์ พร้อมเก็บเมล็ดพันธุ์ และสร้างบ้านดินด้วยตัวเอง เป็นวิถีชีวิตที่มีความสุขกับครอบครัวเล็กๆ นำไปสู่การก่อตั้ง ศูนย์พันพรรณ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้พึ่งพาตนเองและศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยและต่างชาติแวะเวียนเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตของการพึ่งตนเองของ คุณโจน จันใด อย่างไม่ขาดสาย

คุณโจน เป็นต้นแบบของการพึ่งพาตัวเองที่ดี และมีคอนเซ็ปต์เดียวกับสามพรานโมเดลด้วย คือเน้นเรื่องปัจจัยสี่ อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างภาคปฏิบัติในการสร้างฐานต้นน้ำที่เข้มแข็ง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของวิถีเกษตรอินทรีย์และการพึ่งพาตนเอง ส่วนสามพรานโมเดลจะเชื่อมโยงเครือข่าย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไปพร้อมๆ กัน

คุณอรุษ บอกอีกว่า จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้ทุกคนเริ่มเข้าใจถึงเหตุและผลว่า เกษตรอินทรีย์ต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน เมื่อลงมือทำ เกิดผลดีกับสุขภาพตัวเอง ก็รู้สึกว่าอยากทำ ศรัทธาที่จะมีส่วนร่วมด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่มาเพราะบริษัทบอกให้ทำ ตัวเกษตรกรก็เข้าใจความหมายของคำว่า “พึ่งพาตนเอง” ก่อนคือ มีกิน มีใช้ ภายในครอบครัวก่อน ที่เหลือแล้วจึงขาย

สำหรับกิจกรรม “เปิดโลกเรียน-รู้วิถีพึ่งตนเอง กับคุณโจน จันได” ในครั้งนี้ แบ่งการอบรม 4 รุ่นด้วยกัน รุ่นละ 40 คน ประกอบด้วยพนักงาน 2 รุ่น เกษตรกร 2 รุ่น แต่ละรุ่นต้องใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นเวลา 3 คืน 4 วัน ภายใต้ คอร์สพึ่งตนเอง โดยคุณโจน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์พันพรรณจะเป็นผู้ถ่ายทอดความผ่านฐานกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสื่อความหมายของการพึ่งพาตนเอง อาทิ การทำแปลงปลูกผัก การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการคัดเลือก การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

กิจกรรมไฮไลต์ในครั้งนี้คือ การร่วมกันทำบ้านดิน ที่ซ่อนความหมายของการพึ่งพาตนเองไว้ได้อย่างแยบยล และคำพูดหนึ่งของคุณโจน จันได ที่สร้างความประทับใจและจุดประกายความตระหนักถึงคุณค่าความสุขและความยั่งยืน จากการพึ่งพาตนเองได้อย่างมากมายก็คือ “ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เราทำให้มันยากเอง” ซึ่งนิยามนี้ก็ไม่ต้องอธิบายให้มากความ

คุณชนิญาดา รักสะอาด สมาชิกกลุ่ม “ป่าละอูเป็นสุข” หนึ่งในเกษตรกรเครือข่ายของโครงการสามพรานโมเดล เปิดเผยความรู้สึกว่า ปกติตัวเขาเองก็อยู่แต่ในสวนในไร่ คิดเองทำเอง ปลูกเองหวังขายหาเงินให้ได้เยอะที่สุด เพื่อนำมาซื้อข้าวของที่อยากได้ อยากมี แต่เมื่อได้เรียนรู้ในสิ่งที่คุณโจนเป็น ได้เห็นในสิ่งที่เขาทำ รู้เลยว่าเราเหมือนกบในกะลา คิดผิดมาตลอด คือไปให้ความสำคัญกับค่าของเงิน จนลืมนึกถึงตัวเอง กลับมาก็คุยกับกับสามีและลูกๆ เล่าในสิ่งที่เราได้สัมผัสมา ทุกคนเห็นในทิศทางเดียวกัน เราต้องทำไว้กินเองก่อน เหลือจึงขาย และปีนี้เราเริ่มเก็บเมล็ดพันธุ์เองด้วย

ขณะที่ คุณชรินทร์ ช่วยประดิษฐ์ ผู้จัดการฝ่ายขายอาวุโส สวนสามพราน สะท้อนความรู้สึกให้ฟังหลังจากกลับมาว่า มันใช่เลย คนเราต้องเริ่มจากการพึ่งตนเองให้ได้ก่อน สิ่งที่คุณโจนพูดและทำ สื่อให้เราเข้าใจความหมายชีวิต ว่าทุกอย่างต้องเริ่มจากตัวเอง และเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ จนนำไปสู่ความยั่งยืน กิจกรรมนี้ก็เหมือนจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งที่ช่วยต่อเติมภาพให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งสะท้อนให้พวกเราเข้าใจในสิ่งที่สวนสามพรานกำลังทำ และทำให้พวกเรามีแรงฮึดที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการสู่ความสำเร็จในอนาคต

ความเข้าใจที่มากขึ้นเท่าทวี ความมุ่งมั่นอยากเปลี่ยนแปลงที่ถูกขับออกมาจากข้างใน ประกอบกับความเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ที่มีมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้แสงไฟแห่งความศรัทธาในการทำอินทรีย์ด้วยหัวใจของเครือข่ายลุกโชนมากขึ้น เพื่อพร้อมร่วมกันขับเคลื่อน โครงการสามพรานโมเดล สู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนให้ได้อย่างแท้จริง

อนึ่ง โครงการสามพรานโมเดล ดำเนินกิจกรรมภายใต้แนวคิด สร้างสังคมเกษตรอินทรีย์ สู่ความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการขับเคลื่อนของมูลนิธิสังคมสุขใจ ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 5 ปี สำหรับผู้สนใจศึกษาดูงาน หรือทำกิจกรรมร่วมกับโครงการสามพรานโมเดล สามารถสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ คุณชรินทร์ ช่วยประดิษฐ์ โทร. (098) 267-2486 หรือ คลิกไปที่ Facebook/สามพรานโมเดล

วันที่ 24 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์ หินสอ อายุ 43 ปี ชาวบ้านหนองเดิ่น หมู่ 2 ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เกษตรปลูกดาวเรืองขาย เปิดเผยว่า แต่ก่อนมีอาชีพทำนา และเมื่อช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เมื่อหมดหน้านาก็ไม่มีงานทำจึงหันมาสร้างรายได้ด้วยการปลูกดาวเรืองขายเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ดีมีเงินเข้าครอบครับปีละนับแสนบาท

นายศักดิ์กล่าวว่า แต่ก่อนเมื่อเสร็จหน้านา ก็จะเข้าเมืองหางานทำ เพราะไม่มีรายได้ ต่อมาได้ไปพบดอกไม้ในตลาดสอบถามว่าชื้อหรือไม่จะปลูกมาขาย หลังจากนั้นก็ลงมือชื้อเมล็ดพันธุ์ ดอกดาวเรืองมาปลูกทดลองเพียง 1 ไร่ แต่มีลูกค้ามาเห็นและสั่งชื้อจำนวนมาก สามารถทำรายได้ถึง 4 หมื่นบาท ต่อไร่ในเวลาแค่ 4 เดือนเท่านั้น

จากนั้นมีออเดอร์สั่งเข้ามาจำนวนมาก จึงได้ขายพื้นที่การปลูกขึ้นเป็น 8 ไร่ ในปัจจุบัน มีเพื่อนเกษตรกรหลายคนสนใจหันมาปลูกกันหลายราย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเพราะคตลาดดอกดาวเรืองมีรับชื้อไม่อัน

ดอกดาวเรืองปลูกง่าย ดูแลง่ายกว่าการปลูกพืชอื่นให้ผลเร็ว ในแต่ละปีจะปลูกได้ไม่น้อยกว่า 3 รุ่นหมุนเวียน ส่วนตลาดจำหน่ายปัจจุบันส่งตลาดเมืองทอง กทม.และตลาดใกล้เคียง สกลนคร นครพนม อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น การลงทุน ดอกดาวเรืองจะลงทุนประมาณ 3,000-4,000 บาท/ไร่ แต่สามารถจำหน่ายได้ ไร่ละ 30,000-40,000 บาท ในแต่ละปีสามารถปลูกได้ 4 รุ่น

ดอกดาวเรืองจะขายดีมีราคาอยู่ที่ช่วง ออกพรรษา และงานต่างๆมากนำไปทำมาลัย เฉลี่ยตกอยู่ที่ ดอกละ 20-30 สตางค์ราคาที่หน้าสวน “แต่ก่อนทำนาทำสวนไม่เคบมีเงินแสนปัจจุบันสามารถพูดได้ว่าดอกดาวเรืองสามารถทำเงินได้ปีละหลายแสน”

ด้านทิพย์อักษร มะโนสิน อายุ 39 ปี ชาวบ้านดอนม่วย อ.พังโคน จ.สกลนคร กล่าวว่า แต่ก่อนเป็นแม่ค้าขายส่งดอกไม้ ต่อมาทดลองปลูกดอกดาวเรือง 1 ไร่ สามารถทำเงินได้ดีเก็บขายเองได้กว่า 4 หมื่นบาทต่อไร่ “นอกจากจะเก็บในส่วนของตนเองออกจำหน่ายยังมารับซื้อของเพื่อนบ้านไป ชุดดอกไม้ไหว้พระ และทำมาลัยจากดอกดาวเรืองขายส่วนหนึ่ง สามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบายพออยู่พอกิน คิดว่าตลาดดอกดาวเรืองยังไปได้ไกล ชื่อก็เป็นมงคล นำไปไหว้พระก็รุ่งเรือง ชีวิตก็รุ่งเรือง

คุณไพบูลย์ สวัสดิ์จุ้ย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เบอร์โทร. (087) 009-2860 เล่าว่า เหตุที่จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยงขึ้น เนื่องจากสมาชิกเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ มีใจรักชื่นชอบสนใจเกี่ยวกับการผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์เหมือนกัน ที่สำคัญคือ มีอุดมการณ์ร่วมกัน นั่นก็คือ “ไม่เอาเงินเป็นที่ตั้ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สมัคร Royal Online V2 มีดินน้ำอุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพในการผลิตพืชผักหลากหลายชนิด แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชผักเน้นเพื่อการค้า มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลทำให้สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พืชผักมีสารพิษตกค้าง และเกษตรกรผู้ผลิตได้รับสารพิษโดยตรงจากการใช้เคมีดังกล่าว สมาชิกอายุก็เริ่มเยอะขึ้นทุกวัน ถึงเวลาแล้วที่จะหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพดี นั่นก็คือ อาหาร หรือสิ่งที่เราบริโภคเข้าไป นอกจากนี้ การที่ผลิตพืชผักอินทรีย์ให้ผู้อื่นได้บริโภคนั้นได้บุญ ประกอบกับพืชผักอินทรีย์กำลังได้รับความนิยม เป็นทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ และความต้องการของตลาดผู้รักสุขภาพมีมากขึ้น จึงมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยงขึ้นมา

ใครจะเชื่อพื้นที่ห่างจากเมืองหลวงเพียงไม่กี่กิโลเมตร สามารถปลูกพืชผักอินทรีย์ได้ ผลผลิตดี มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ

มาผสมกันให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามที่ต้องการการผสมปุ๋ยใช้เอง

โดยการนำแม่ปุ๋ยนอกจากจะทำให้เกษตรกรสามารถใส่ธาตุอาหารได้ตรงตามปริมาณที่พืชต้องการแล้ว การผสมปุ๋ยใช้เองยังช่วยให้ประหยัดค่าปุ๋ยลงได้อย่างน้อย 20-30% เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยสูตร ช่วยลดแรงงานค่าใส่ปุ๋ย และลดค่าขนส่งได้อีกด้วย

คำแนะนำการใส่ปุ๋ย ข้าว ข้าวโพด และอ้อย ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โดยการผสมปุ๋ยใช้เอง ดังนี้ ข้าว ครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 18-46-0 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่เป็นปุ๋ยแต่งหน้า โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ เพียงอย่างเดียว โดยต้นข้าวที่ได้ปุ๋ยครบเพียงพอและทันเวลา จะแตกกอดี ใบแคบและตั้ง ต้นโต ไม่ล้ม รวงออกสุด สม่ำเสมอ รวงใหญ่ แน่น เมล็ดแกร่ง และน้ำหนักดี ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ผลผลิตสูง

ข้าวโพด ครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 18-46-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ครั้งที่ 2 เป็นปุ๋ยแต่งพร้อมทำรุ่น โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 17 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 7 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยต้นข้าวโพดที่ได้ปุ๋ยครบเพียงพอและทันเวลา ต้นแข็งแรง การเจริญเติบโตสม่ำเสมอตลอดทั้งแปลง ใบล่างไม่มีอาการเหลืองแห้ง ฝักข้าวโพดจะกางออกจากต้น เมล็ดเต็มฝัก และขนาดเมล็ดที่โคนฝักและปลายฝักจะมีขนาดเท่าๆ กัน น้ำหนักฝักต่อกระสอบจะสูงขึ้น และจำนวนกระสอบต่อไร่เพิ่มขึ้น

– อ้อย คำแนะนำปุ๋ยอ้อยแบ่งออกเป็นอ้อยปลูกและอ้อยตอ เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ อ้อยปลูก ครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้นในร่องอ้อยพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 12 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 18-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ครั้งที่ 2 เป็นปุ๋ยแต่งหน้าระยะแตกกอ (อายุ 2-3 เดือน) ใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่

อ้อยตอ ใส่ครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้นพร้อมตัดรากอ้อย ใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 13 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 18-46-0 อัตรา 22 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ครั้งที่ 2 เป็นปุ๋ยแต่งหน้าระยะแตกกอ ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 26 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ย สูตร 0-0-60 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่

ต้นอ้อยที่ได้ปุ๋ยครบและเพียงพอ หน่อจะสมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ รอดเป็นลำเยอะ การแตกกอดี โดยจะแตกกอเต็มร่องตั้งแต่อายุ 4 เดือน ลำมีขนาดใหญ่และสม่ำเสมอตลอดลำ น้ำหนักดี ต้นไม่ล้ม ต้านทานโรค และมีความหวานสูง

สำหรับคำแนะนำเรื่องปุ๋ย รวมถึงพืชชนิดอื่นๆ ผู้สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 61530 โทรศัพท์ (055) 311-305

ว่าที่พันตรีวิเวก จงสูงเนิน เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยถึงสถานการณ์ การปลูกส้มโอของอำเภอบ้านแท่นว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกให้ผลผลิตแล้ว 510 ไร่ โดยเฉลี่ยแล้ว พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ จำนวน 36 ต้น เมื่อส้มโออายุต้น 5 ปีขึ้นไป เก็บผลผลิตได้ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.3-1.8 กิโลกรัม พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทองดี

“ส้มโอบ้านแท่น ปลูกมากที่ตำบลบ้านแท่นและสามสวน จุดเริ่มต้นของงานปลูกส้มโอนั้น เมื่อปี 2530 นายบุญมี นามวงศ์ นำมะม่วงจากอำเภอบ้านแท่นไปจำหน่ายยังตลาดสี่มุมเมือง เมื่อนำผลผลิตไปถึงตลาดพบว่ามีความเสียหายไม่น้อย ขณะที่ส้มโอจากนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ขนย้ายไม่เสียหาย นายบุญมีจึงไปซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดี จากนครชัยศรี มาปลูกที่อำเภอบ้านแท่น พื้นที่ปลูกแต่เดิมไม่มากนัก แต่เนื่องจากจำหน่ายได้ดี จึงขยายพื้นที่เพิ่ม ปัจจุบันมีผู้ค้าชาวจีนมาซื้อ ราคาส้มโอทองดี กิโลกรัมละ 43 บาท เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก เกษตรกรบางรายปลูกส้มโอ 12 ไร่ ได้เงิน 1 ล้านบาท ปีหนึ่งๆ ส้มโอนำเงินเข้าสู่อำเภอบ้านแท่น ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท” ว่าที่พันตรีวิเวก กล่าว

ว่าที่พันตรีวิเวก กล่าวว่า พื้นที่ปลูกส้มโออำเภอบ้านแท่น มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นดินร่วนปนลูกรัง อยู่ในเขตชลประทานอ่างเก็บน้ำบ้านเพชร ผลผลิตที่ได้ออกมาจึงมีสีสวย รสชาติหวานอมเปรี้ยว กุ้งใหญ่ เนื้อแห้ง ไม่แฉะ ผลผลิตออกช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

“นอกจากจีนซื้อแล้ว ตามภาคอีสานเกษตรกรส่งขายมีตราของอำเภอบ้านแท่นในห้างแม็คโคร รวมทั้งบางห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ เนื่องจากเกษตรกรปลูกแล้วมีรายได้ดี นายอำเภอบ้านแท่น จึงให้การสนับสนุนขยายพื้นที่ปลูกอีก 500 ไร่ ตามโครงการของจังหวัด นอกจากอำเภอบ้านแท่นแล้ว ทางอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ก็ปลูกส้มโอเช่นกัน ซึ่งรสชาติที่ได้ก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป” ว่าที่พันตรีวิเวก กล่าว

หมากเม่า เป็นไม้ป่าขึ้นชื่อของจังหวัดสกลนคร ปัจจุบันถือเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้อย่างน่าสนใจ มุมหนึ่งที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงกันมากนักคือ เพื่อนและศัตรูของหมากเม่า

เรื่องนี้ คุณบุญเชิด วิมลสุจริต แห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร ได้ให้ข้อมูลถึงศัตรูของหมากเม่าว่า ที่พบการทำลายจะมีมาจากแมลง แต่ในธรรมชาติหมากเม่าจะมีแมลงศัตรูรบกวนน้อยมาก แต่ถ้าชะล่าใจปล่อยให้หมากเม่าอยู่เองตามธรรมชาติไปไม่ดูแล อาจจะเป็นที่ซ่อนตัวของแมลงที่ทำลายหมากเม่าได้ โดยเฉพาะบริเวณเปลือกของหมากเม่าจะเป็นที่ชื่นชอบมากกว่าส่วนอื่น

แมลงศัตรูที่พบมาก ได้แก่ หนอนเจาะเปลือก ตัวสีเหลืองอ่อนที่กัดกินเปลือกหมากเม่า กินแล้วก็จะขับถ่ายออกมาเป็นก้อนๆ คล้ายขี้เลื่อย ด้วงหนวดปม จะมีลายจุดเหลืองดำให้เป็นที่สังเกต หนอนเจาะลำต้น จะเป็นหนอนที่สวยสีชมพูแดง จะเจาะลำต้นและกิ่งหมากเม่า หนักเข้าอาจจะถึงขั้นตัดท่อน้ำเลี้ยงหมากเม่าเลยทีเดียว ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้ต้นหมากเม่าแตกกิ่งในทรงพุ่ม เพราะเป็นกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่แทงช่อดอก ไม่ให้ผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มให้โปร่งจนแดดส่องทะลุถึงโคนต้นได้

นอกจากนี้ ให้ใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วมาทาบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้หนอนเจาะลำต้นเข้ามาทำลาย รวมถึงการทำความสะอาดบริเวณโคนต้นหมากเม่า ไม่ให้มีเศษหญ้าหรือใบไม้กองทับถมกัน เพราะมันจะเป็นที่หลบซ่อนตัวของแมลงศัตรูทั้งหลาย

ขณะเดียวกันหมากเม่ายังมีแมลงที่ถือว่าเป็นแมลงคู่บุญ ซึ่ง คุณบุญเชิด บอกว่าคือ มดดำ ซึ่งอยู่แบบพี่น้องไม่ทำอันตรายให้แก่กัน โดยเฉพาะช่อผลหมากเม่านั้น มดดำชนิดนี้จะชอบอยู่เป็นพิเศษ ความสัมพันธ์ระหว่างหมากเม่ากับมดดำเป็นความสัมพันธ์ที่แปลกประหลาด ยากแก่การเข้าใจ แต่เป็นความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน จนเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีหมากเม่าที่ไหน มีมดดำที่นั่น และมีคนสังเกตว่าหมากเม่าต้นไหนที่มีมดดำมาก ศัตรูของหมากเม่าอย่าง เช่น หนอนเจาะเปลือก จะลดน้อยลงไปด้วย

“ปัจจุบัน ที่มีการปลูกหมากเม่าในเชิงการค้ามากขึ้น มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงมากขึ้น และสารเคมีเหล่านั้นก็ไปกระทบกับมดดำโดยไม่เจตนา นั่นเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งสำหรับผู้บริโภคว่า ถ้าหมากเม่าสดกองไหนที่มีมดดำแฝงตัวมาอยู่ด้วย เป็นอันมั่นใจว่าหมากเม่ากองนั้นปลอดจากสารเคมีแน่นอน” คุณบุญเชิด กล่าว

นอกจากจะมีมดดำแล้ว ยังมีนกป่าและนกบ้าน ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่ให้ประโยชน์กับหมากเม่า แต่เป็นโทษต่อชาวสวน โดยคุณบุญเชิด บอกว่า นกจะมากินผลหมากเม่าและนำเมล็ดหมากเม่าไปขยายอาณาจักรของหมากเม่าให้กว้างไกลยิ่งขึ้น เพราะหมากเม่าเป็นผลไม้ขนาดเล็กที่ง่ายต่อการกลืนกิน

แต่สำหรับชาวสวนถือว่า นก เป็นศัตรูที่ร้ายกาจ เพราะเข้ามาทำลายผลหมากเม่า จึงใช้วิธีป้องกันด้วยการทำหุ่นไล่กาที่มีขนาดเท่าคนจริง นำไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ในสวน พร้อมขึงตาข่ายดักนกไว้ในระหว่างแถวต้นหมากเม่า เพื่อดักนกไม่ให้เข้ามากินผลหมากเม่าที่สุกพร้อมจำหน่าย

ผลจากสภาวะทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการประกอบเกษตรกรรมในยุคก่อนที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ พอเกิดปัญหาความแปรปรวนทางธรรมชาติจึงสร้างความเสียหายโดยตรงกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทันที ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกับรายได้ในการทำมาหากิน

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สาขาเกษตรอินทรีย์ ที่ลำพูน

ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมผสานบนเงื่อนไขของความพอเพียง พึ่งพาตนเอง และลดรายจ่าย เมื่อชาวบ้านได้น้อมนำไปปฏิบัติต่างประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้า อีกทั้งบางรายสามารถผลักดันไปสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์แล้วจับมือกับกลุ่มธุรกิจเปิดตลาดเป็นสินค้าออร์แกนิก

คุณสมัย แก้วภูศรี หรือ ลุงสมัย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนสองพิมพ์ เลขที่ 45/1 หมู่ที่ 12 ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นเกษตรกรผู้ปลูกเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่ได้มาตรฐาน จนได้รับการรับรองเป็นสินค้าออร์แกนิกป้อนเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้

เจ้าของสวนสองพิมพ์เผยถึงความสำเร็จเช่นนี้เพราะว่าได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำรงชีวิต โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น และลดต้นทุนในการทำการเกษตร ด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย

ดังนั้น ในสวนลำไยพื้นที่ 40 ไร่ ได้มีการจัดวางแบบแผนการปลูกพืช ไม้ผล ไม้สวนครัว สมุนไพร และเลี้ยงสัตว์ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ ทุกอย่างในสวนแห่งนี้จะยึดหลักไม่มีการใช้สารเคมี สามารถนำผลผลิตจำหน่าย มีรายได้ทุกเดือน จนกระทั่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ ประจำปี 2558 นับเป็นเกษตรกรดีเด่น เป็นแบบอย่างที่ดีอีกคนหนึ่งของจังหวัดลำพูน

ลุงสมัยบอกถึงที่มาของแนวคิดทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานว่า เพราะราคาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาขายผลผลิตกลับลดลงหรือทรงตัวยาวนาน นอกจากนั้น ยังมองว่าผืนดินรองรับการใช้สารเคมีในปริมาณมากเป็นเวลายาวนานส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพ จะเพาะปลูกพืชชนิดใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ

พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าทำไมดินในป่าจึงมีคุณภาพมากกว่าดินที่ทำนาหรือทำเกษตร ด้วยเหตุผลนี้จึงคิดว่าต้องการจะทำให้ดินกลับมาสู่สภาพเดิมให้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความเข้าใจในวงจรทางธรรมชาติด้วย เพื่อทำให้ดิน น้ำ ป่า มีความยั่งยืน

แล้วยังแสดงความเป็นห่วงว่าหากปล่อยไปเช่นนี้ พอ AEC เข้ามามีต้นทุนการผลิตทางการเกษตรถูกกว่าไทย จึงต้องระวังว่าจะเป็นปัญหาต่อภาคเกษตรกรรมของไทย ดังนั้น แนวทางทำการเกษตรที่ถูกต้องจะต้องทำให้ต้นทุนต่ำเพื่อมีแรงขับเคลื่อนในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ผลผลิตมีคุณภาพด้วย

กว่าสิบปีที่ผ่านมา ลำไยซึ่งเป็นไม้ผลประจำถิ่นของภาคเหนือเกิดปัญหามากมาย มีความพยายามแก้ปัญหาเพื่อให้คลี่คลาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งพาตัวเองมากกว่าการขอความช่วยเหลือจากรัฐ ดังนั้น จึงมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีการรวมตัวกัน หารือกันเพื่อหาทางออกปลดล็อกปัญหาที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน ช่วงนั้นเกิดกระแสเกษตรอินทรีย์ขึ้น แต่ชาวบ้านกลุ่มนี้ยังขาดความรู้ จึงเดินทางไปหาความรู้ หาข้อมูลที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) กระทั่งพบว่ามีงานวิจัยที่น่าสนใจ โดยตั้งเป็นโจทย์ไว้ว่า อาชีพเกษตรกรรมมีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง, ถ้าจะทำเกษตรอินทรีย์จะทำได้ไหม แล้วควรทำอย่างไร และตลาดเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ไหน

จากนั้นทางสมาชิกกลุ่มจึงลงมือทำตามแนวทางประเด็นที่ตั้งไว้ โดยมีกระบวนการจัดระบบบัญชี มีการนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ตลอดจนมีการเจาะเลือดกลุ่มที่ทำงานด้วยกันจำนวน 35 คน แล้วพบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีสารเคมีตกค้างในเลือด นอกจากนั้น ยังพบว่ามีกลุ่มที่เสี่ยงเป็นโรคความดัน เบาหวาน จำนวนมาก และเหตุผลทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่แนวคิดที่จะต้องริเริ่มทำเกษตรอินทรีย์กันได้แล้ว

จึงเดินทางไปดูงานยังสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง พบว่าสินค้าออร์แกนิกที่ถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐานแล้วได้รับการรับรองสามารถส่งขายตลาดต่างประเทศได้มีราคาสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ไม่มีการรับรอง ดังจะพบได้ว่าถ้าเป็นพืชผักทั่วไปวางขายกิโลกรัมละ 8 บาท แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐานจะขายได้ถึงกิโลกรัมละกว่า 30 บาท อีกทั้งยังพบว่าชาวบ้านที่ทำเกษตรอินทรีย์ล้วนมีสุขภาพแข็งแรงดีด้วย

เหตุผลทั้งหมดจึงนำมาสู่การสรุปว่า ถ้าสวนของชาวบ้านในอำเภอลี้นำแนวทางเกษตรอินทรีย์มาทำบ้างคงไม่ยาก เพราะในพื้นที่มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้อในการทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขาดองค์ความรู้ กระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบเท่านั้น จากนั้นจึงลงมือปฏิบัติจริงด้วยการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมัก อีกทั้งยังทำสมุนไพรมาเพื่อเป็นสารไล่แมลง

ลุงสมัย ชี้ว่า ถ้าจะทำเกษตรอินทรีย์จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้ เพราะจะพบปัญหาแมลงศัตรูพืช ดังนั้น จึงควรปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิดและปลูกตามฤดูกาล เป็นการจำลองปลูกพืชแบบธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน โดยเฉพาะสวนคุณลุงสมัยปลูกพืชผัก สมุนไพร รวมทั้งสิ้นร้อยกว่าชนิด จึงไม่เคยเจอโรคแมลงเลย ดังนั้น ถ้าคิดทำเกษตรอินทรีย์ต้องปลูกพืชผสมผสาน

ภายในสวนเกษตรอินทรีย์ของลุงสมัย แบ่งการปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ออกเป็นโซน อย่างกลุ่มไม้ผล ได้แก่ ลำไย มะละกอ ฝรั่ง มะม่วง น้อยหน่า ส้มโอ แก้วมังกร เสาวรส กล้วย สับปะรด และมะเฟือง แปลงปลูกพืช ได้ปลูกผักกว่า 40 ชนิด ได้แก่ ผักโขม คะน้า กะหล่ำปลี กวางตุ้ง สลัด ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า ผักเชียงดา มะเขือ แตง ซาโยเต้ ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง กุยช่าย จิงจูฉ่าย ถั่ว และผักปวยเล้ง ฯลฯ เป็นต้น

แล้วยังปลูกสมุนไพรไว้อีกกว่า 10 ชนิด อาทิ ไพล ขมิ้นชัน ใบเตย คาวตอง ใบบัวบก ขิง ข่า ตะไคร้ ว่านหางจระเข้ ฟ้าทลายโจร และรางจืด เป็นต้น แล้วพื้นที่อีกส่วนได้เลี้ยงไก่อารมณ์ดีไว้จำนวน 80 ตัว เพื่อกินไข่ แล้วนำมูลมาใช้ทำปุ๋ย

“ปลูกลำไยไว้จำนวน 800 กว่าต้น ให้ผลผลิตและมีรายได้ปีละครั้ง ขณะเดียวกัน ใต้ต้นลำไยปลูกผักโขมในระยะเวลา 3-4 อาทิตย์ เก็บขายมีรายได้กิโลกรัมละ 40 บาท ซาโยเต้กิโลกรัมละ 70 บาท ดอกขจรกิโลกรัมละ 200 บาท แล้วยังมีพืชผักอีกหลายชนิดที่สามารถทยอยเก็บขายได้ตลอดเวลา จนทำให้มีรายได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง”

ในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ได้ยึดแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จึงมุ่งทำเกษตรอินทรีย์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืช/แมลง และเชื้อรา โดยทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์และวัชพืชใช้เอง มีการหว่านปอเทือง ถั่ว แล้วไถกลบเพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทั้งยังปลูกพืชโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือสารเคมี ทั้งนี้ เพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตและรักษาสภาพแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์

ปัจจุบันสวนลุงสมัยสามารถผลิตสินค้าออร์แกนิกได้สำเร็จและเป็นที่รับรองตามมาตรฐานด้วยกัน 2 อย่าง คือ ORGANIC THAILAND และ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ทั้งนี้ แต่ละมาตรฐานจะนำไปส่งขายยังสถานที่ต่างกัน เพราะมีกลุ่มลูกค้าต่างกัน

อีกทั้งยังไปเชื่อมกับทางมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เพื่อพัฒนารูปแบบสินค้าที่มี QR CODE ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังแหล่งผลิตได้ พร้อมกับมีการออกแบบจัดทำหีบห่อที่สวยงาม ได้มาตรฐาน จึงทำให้มีหลายหน่วยงานสนใจติดต่อแล้วจัดหาตลาดรองรับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อคราวเกิดวิกฤติภัยแล้งที่ผ่านมา ลุงสมัยยังแก้ไขปัญหาด้วยการใช้แนวทางความพยายามลดต้นทุนการผลิตทุกอย่างที่ปลูกที่เลี้ยงไว้ แก้ไขปัญหาด้วยการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำน้อย จึงทำให้รายจ่ายลดลง ที่เหลือนำไปขายเป็นรายได้ สามารถรักษาระดับรายได้อย่างเพียงพอ ชีวิตมีความสุขแบบพอเพียง โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

ทางด้านการตลาด ลุงสมัย บอกว่า ถ้าขายผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์ที่เป็นกลุ่มธุรกิจมีลักษณะขายส่งเป็นกิโลกรัม โดยกลุ่มนี้จะส่งขายต่อในตลาด Modern Trade ในกรุงเทพฯ และบางส่วนส่งตลาดฮ่องกงเฉพาะช่วงผลผลิตออก เช่น มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ลำไย เป็นต้น แต่ถ้าขายผู้บริโภคโดยตรงขายแบบบรรจุภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังขายทางออนไลน์ด้วย ส่วนตลาดประจำในท้องถิ่นสัปดาห์ละ 3 วัน

ลุงสมัยไม่เพียงทำหน้าที่ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเกษตรอินทรีย์, เป็นประธานธนาคารปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพชุมชนในการผลิตเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ กระทั่งได้รับการเสนอชื่อจากสภาเกษตรกรจังหวัดลำพูนเพื่อประเมินคัดเลือกรับรางวัลเกษตรต้นแบบพระราชทาน สาขาเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2558

“1 ใน 4 ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตคือ อาหาร ดังนั้น ถ้าอาหารชนิดนั้นมีคุณภาพ ปราศจากสารพิษ ก็จะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ ฉะนั้น ทางกลุ่มจึงให้ความสำคัญและมุ่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยเข้าสู่ตลาด จึงฝากผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าว่าควรจะสังเกตและเลือกซื้อเฉพาะอาหารที่มีเครื่องหมายรับรองออร์แกนิกจากหน่วยงานที่มีความเชื่อถือเท่านั้น” ลุงสมัย กล่าวฝาก

นับว่าเป็นเกษตรกรคนเก่งของไทยแห่งเมืองลำพูน ที่ได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรต้นแบบของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ในการทำเกษตรกรรม “ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญเท่ากับ “น้ำ” และถ้าทั้งสองอย่างมีความสมบูรณ์เกื้อกูลกันแล้วก็จะสร้างความมั่นคง ตลอดจนความแข็งแรงทางการเกษตรอย่างแน่นอน

ดินไม่ดี หรือดินที่ขาดคุณภาพย่อมส่งผลร้ายต่อภาคการเกษตรกรรม ที่ผ่านมาพบว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดคุณภาพและเสื่อมลงเป็นผลมาจากการใช้สารเคมีในปริมาณสูงติดต่อกันยาวนาน สร้างปัญหา ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร

“จันท์นิภา หวานสนิท” หญิงเก่ง แห่งเมืองกระบี่ เกษตรกรต้นแบบสภาเกษตรกรแห่งชาติ

สาขาเกษตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหัวข้อ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้หลักพึ่งตนเอง และอยู่อย่างพอเพียง นับเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

เช่นเดียวกับ จันท์นิภา หวานสนิท อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 7 บ้านใสสด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เป็นอีกคนหนึ่งที่น้อมนำแนวทางของพระองค์มาใช้ในอาชีพเกษตรกรรมจนประสบความสำเร็จ

ในอดีตครอบครัวของจันท์นิภาประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ดูจะต้องต่อสู้กับความยากลำบากอันเนื่องมาจากปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ เพาะปลูกอะไรก็ไม่เจริญงอกงามสมบูรณ์ สร้างปัญหาต่อรายได้ในครอบครัว กระทั่งเมื่อเธอได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกหญ้าแฝกบนพื้นทรายที่จังหวัดนราธิวาส จึงเกิดแรงบันดาลใจนำมาสู่การแสวงหาความรู้ ศึกษาค้นคว้าเพื่อทดลองนำมาประยุกต์ใช้ในที่ดินทำกินของตน

การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงคือรูปแบบที่เธอเลือก เพราะพบว่า ผลพวงจากการใช้สารเคมีจนทำให้ดินขาดคุณภาพ จึงต้องมีการนำองค์ความรู้มาปรับปรุงดินในสวน เพื่อทำให้ดินมีคุณภาพดี จึงทำให้คุณจันท์นิภาตั้งใจจะแก้ไขปัญหาด้วยการนำระบบอินทรีย์เข้ามาใช้ เพราะเธอรู้ว่าหากทำสำเร็จจะช่วยลดต้นทุน ขณะเดียวกัน ผลผลิตที่เกิดขึ้นจะมีคุณภาพ จนเห็นผลได้ชัด ดินมีความสมบูรณ์มาก จะปลูกอะไรก็เจริญเติบโตงอกงามได้ผลผลิตดีทุกอย่าง

คุณจันท์นิภา มีหลักคิดที่ใช้ประจำใจในการประกอบอาชีพจนประสบความสำเร็จ สิ่งนั้นคือการบอกกับตัวเองว่าต้องช่วยเหลือตนเองก่อน ความสำเร็จทุกอย่างที่เธอได้มาล้วนแต่เกิดจากความตั้งใจ มุ่งมั่น อดทน พากเพียร

การแสวงหาความรู้จึงเกิดขึ้นตั้งแต่การเดินทางไปดูงานยังสถานที่ต่างๆ ที่ล้วนแต่ประสบความสำเร็จทางด้านการเกษตรอินทรีย์ การเข้ารับการอบรมตามเครือข่ายต่างๆ อีกทั้งยังได้สมัครแล้วได้รับเลือกเป็นหมอดินอาสาประจำตำบลหมู่บ้าน และอำเภอ มีภารกิจสำคัญคือ การผลิตปุ๋ยหมัก/น้ำหมักโดยใช้ร่วมกับสารซุปเปอร์ พด.

บนเนื้อที่กว่า 28 ไร่ ที่มีทั้งสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นไม้ทุนเดิม คุณจันท์นิภาเริ่มทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดินให้มีความสมบูรณ์ก่อน แล้วนำพืช ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ และพืชสวนครัวมาวางผังการปลูกให้มีความเหมาะสมด้วยการแบ่งกลุ่มพืชผัก ผลไม้ ที่สามารถสร้างรายได้ตลอดเวลา โดยกำหนดเป็นรายได้ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และประจำปี แล้วจึงนำพืช อย่าง ไผ่หวาน มะฮอกกานี สักทอง พะยูง ไปปลูกแซมในสวนยางพารา

ส่วนในสวนปาล์มปลูกมะพร้าว สะตอ และกล้วยน้ำว้าเป็นพืชแซม สำหรับในร่องสวนก็เลี้ยงปลาและกุ้งฝอย อีกด้านหนึ่งเลี้ยงสัตว์ไว้ ได้แก่ นกกระทา หมูหลุม เป็ด ไก่ โดยนำมูลสัตว์เหล่านั้นมาใช้ทำปุ๋ยทั้งหมด ดังนั้น ระหว่างที่รอผลผลิตจากพืชหลัก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายปี สามารถมีรายได้จากการปลูกพืชแซมหลายชนิดอยู่ตลอดเวลา

คุณจันท์นิภา มองว่า การพัฒนาปรับปรุงดินให้มีคุณภาพควรมีการบูรณาการหลายอย่าง ฉะนั้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการดินด้วยการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ตัวเอง โดยพิจารณาและปรับตามผลวิเคราะห์ดิน มีการประยุกต์ปรับใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อาทิ การปรับปรุงดินที่เป็นกรดโดยการใช้โดโลไมท์ ใช้ปุ๋ยสดหว่านแล้วกลบ การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร

แล้วยังเพิ่มคุณภาพดินด้วยปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก ได้มาจากผลไม้สุก 4 ชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฟักทอง และสับปะรด ผสมกับเปลือกกุ้ง เปลือกไข่นกกระทา โดยมีอัตราผสม ได้แก่ ถ้าใช้น้ำในปริมาณ 150 ลิตร ให้ใช้ผลไม้อย่างน้อยชนิดละ 5 กิโลกรัม ใส่สารซุปเปอร์ พด. 2 ใส่กากน้ำตาล 10 ลิตร เติมน้ำพอสมควรอย่าให้ล้น แล้วถ้าใส่ยาคูลท์ด้วยยิ่งดี อย่างไรก็ตาม การนำไปใช้กับพืชแต่ละชนิดจะมีอัตราการผสมไม่เท่ากัน อย่างถ้าน้ำหมัก 1 ลิตร กับน้ำ 10 ลิตร ใช้กับพืช ไม้ผล แต่ถ้าเป็นพืชผักใบสวนครัวควรผสมในอัตรา 1 ต่อ 20

นอกจากนั้น ยังมีการปลูกพืชสมุนไพรหลายชนิดที่สำคัญ เพื่อนำมาใช้เป็นยารักษาโรคแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน แล้วยังต่อยอดด้วยการนำสารจากสมุนไพรเหล่านั้นมาผลิตเป็นสารป้องกันและไล่แมลง แล้วยังมีการก่อสร้างโรงอบสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย

เครื่องมือสำคัญที่ช่วยทำให้การทำสวนผสมผสานตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเห็นผลจริงอย่างเป็นรูปธรรมคือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ทั้งนี้ ผลดีของการทำบัญชีครัวเรือนจะช่วยเป็นเครื่องมือในการควบคุมทิศทางการใช้จ่าย ทำให้ทราบว่าควรกำหนดรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายรับ เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ และควรบริหารเงินอย่างไรเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอด

แนวคิดของคุณจันท์นิภา ถูกแพร่กระจายและนำไปใช้ในหลายพื้นที่ทั่วหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอต้องเดินสายเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจทุกสาขาอาชีพ ทั้งนี้ มีกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจัดขึ้นในศูนย์เรียนรู้ด้วยการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมอนุรักษ์ดินและน้ำ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ การเลี้ยงปลา การเลี้ยงหมูหลุม การปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสาน การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยไม่ใช้สารเคมี

ดินในพื้นที่ตัวเองเสียก่อนว่าดินมีลักษณะอย่างไร จะต้องปรับปรุงด้วยวิธีใดจึงจะทำให้ดินมีคุณภาพ แล้วจึงค่อยหารายละเอียดว่าดินชนิดนี้เหมาะกับการปลูกพืชประเภทใดจึงจะได้ผล เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศมีโครงสร้างดินแตกต่างกัน จะปลูกพืชได้ไม่เหมือนกัน

คุณจันท์นิภา หวานสนิท นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของชาวบ้านที่ได้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหัวข้อ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ตลอดเวลายาวนานถึง 21 ปี จนได้รับเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบและอื่นๆ มาหลายครั้งหลายครา

ล่าสุดได้รับการประเมินคัดเลือกจากสภาเกษตรกรแห่งชาติให้เป็นเกษตรกรต้นแบบรางวัลพระราชทานประจำปี 2558 สาขาเกษตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการประเมินถึง 3 ระดับ คือประเมินในระดับจังหวัดซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบจังหวัดกระบี่ มีการประเมินระดับภาคซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบภาคใต้ และมีการประเมินระดับชาติ

เป็นเกษตรกรที่ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แล้วยังเป็นแบบอย่างให้แก่เพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง ตลอดจนประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดกระบี่ และเกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนเป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจทั่วไป

“การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการยึดหลักพึ่งพาตนเอง ความมุ่งมั่นตั้งใจ และความคิดริเริ่ม ตลอดจนการบริหารจัดการอย่างพอดี ต้องประหยัดและไม่ฟุ่มเฟือย ทั้งต่อตัวเองและสมาชิกในครอบครัว เพราะสมัยที่เดือดร้อนทำเกษตรกรรมไม่ได้ รายได้ขัดสน มีปัญหาการเงิน แต่ภายหลังที่ได้นำแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางของพ่อหลวงมาใช้ ปรากฏว่าสภาพคล่องทางการเงินดีมาก แล้วยังพอมีเงินออมด้วย” เกษตรกรต้นแบบกล่าวฝาก

นี่ไม่ใช่เพียงอาชีพการมีเกษตรกรรม แต่คุณจันท์นิภา ถือเป็นเกษตรกรมืออาชีพ ที่เข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจของพอเพียงอย่างลึกซึ้งจนนำมาสู่การปฏิบัติที่สำเร็จอย่างแท้จริง จึงนับว่าเป็นหญิงเก่งแห่งเมืองกระบี่ ที่ได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรต้นแบบของสภาเกษตรกรแห่งชาติ สาขาเกษตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชาย ก่งเซ่ง อายุ 41 ปี เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 8 ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ปลูกผักสลัดระบบไฮโดรโปนิกส์ไร้ดิน ทั้งกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค 20 แปลง ซึ่งผักทั้ง 2 ชนิดมีเอเยนต์รับซื้อและตลาดรองรับไม่อั้น ส่งขายทั้งตามท้องตลาดและในห้างสรรพสินค้าทั้งใน อ.เมืองสงขลา และ อ.หาดใหญ่ เพื่อนำไปประกอบอาหารและทำสลัดเกลียว ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้

“การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ลงแปลงจนเก็บขายได้ 30 วัน แต่ละแปลงมีขนาด 2.00 x 4.00 เมตร สามารถปลูกผักสลัดได้ 200 ต้น และใช้วีปลูกแบบหมุนเวียนกัน โดยจะลงมือปลูกอาทิตย์ละ 4 แปลง เพื่อให้สามารถเก็บขายได้ต่อเนื่องทุกอาทิตย์และไม่ขาดช่วง สามารถเก็บผักขายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี สร้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณเดือนละ 35,000 – 40,000 บาท”

นายสมชาย เปิดเผยว่า เตรียมขยายพื้นที่แปลงปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับออเดอร์ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ที่มีอยู่ขณะนี้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สำหรับราคาของผักสลัดทั้งกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีราคาไม่ตก ราคาขายส่งอยู่ที่ กก.ละ 80 บาท ขายปลีก กก.ละ 100 บาท

การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกาหรือกฎตายตัว ว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ทั้งนี้ เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน เพียงแต่การผสมผสานนี้ขอให้ยึดหลัก สร้างความร่มรื่น แล้วให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกันมีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน

คุณจินดา ฟั่นคำอ้าย อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อดีตศึกษานิเทศก์ จังหวัดลำปาง เป็นอีกท่านหนึ่งที่สนใจการทำเกษตรผสมผสาน แล้วตั้งใจเดินตามแนวทางนี้ในบั้นปลายชีวิต จึงวางแผนล่วงหน้าก่อนจะเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา

อดีตศึกษานิเทศก์ท่านนี้ให้เหตุผลที่เลือกแนวทางการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เนื่องจากสมัยที่รับราชการได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ตลอดจนศึกษาหาความรู้ด้านการทำเกษตรหลายแห่ง หลายด้าน ล้วนพบว่าการทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะเกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก เพราะรายได้ของการมีชีวิตแบบชาวไร่ ชาวนา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำเกษตรกรรม แล้วเมื่อมีความเสียหายจากการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวแล้ว พวกเขาจะได้รับผลกระทบโดยตรงทันที แล้วจะอยู่กันอย่างไร

“หนทางออกที่ดีที่สุดคือ สมัคร GClub การทำสวนเกษตรผสมผสาน ทั้งนี้ การผสมผสานอาจไม่มีกฎตายตัว ว่าต้องปลูกพืชชนิดใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของแต่ละพื้นที่ แต่ละท้องถิ่น”

กำหนดกิจกรรมในสวนเกษตรผสมผสานทุกชนิดต้องเป็นอินทรีย์เท่านั้น

คุณจินดา มีพื้นที่อยู่จำนวน 19 ไร่ ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่การปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมถึงยังได้ขุดบ่อเลี้ยงปลา และเลี้ยงไก่ด้วย แล้วยังทำนาข้าวเหนียวนาปี พันธุ์ กข 6 จำนวนพื้นที่ 17 ไร่

การให้ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตร 0-0-60 หรือ 15-5-20 ส่วนปุ๋ยทางใบ

ใช้สูตร 9-19-34 “หลังจากนั้น ประมาณ 14 วัน มะนาวจะเริ่มแตกใบอ่อน พร้อมออกดอก ระยะนี้ต้องหมั่นดูแลไม่ให้แมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย ซึ่งผลมะนาวจะสมบูรณ์พร้อมเก็บจำหน่ายในช่วงฤดูแล้งพอดี”

โรคและแมลงศัตรูพืช คุณณรงค์ เล่าว่า โรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายที่สุดสำหรับมะนาว ป้องกันโดยพ่นสารคอปเปอร์หลังจากมียอดอ่อนแทงออกมา แต่ถ้ายังพบโรคแคงเกอร์อีก ให้แต่งกิ่งนำไปเผาทิ้ง นอกจากนี้ ควรระวังเพลี้ยไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคใบเหลืองในมะนาว ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราพ่นป้องกัน

สำหรับ คุณณรงค์ การทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ เพิ่งเริ่มต้นในรอบที่ 2 เท่านั้น ซึ่งรอบแรกของการทำมะนาว ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ นับเฉพาะ 150 วงบ่อ คือ ครึ่งหนึ่งของจำนวนวงบ่อทั้งหมด สามารถจำหน่ายได้ราคาดี คิดเป็นต้นทุนและกำไรราว 3 แสนบาท ราคามะนาวออกจากสวน ลูกละ 5-6 บาท ทีเดียว

สวนมะนาวนอกฤดูของ คุณณรงค์ ร่างใหญ่ หาง่าย ไม่ไกลแหล่งชุมชน หากท่านใดต้องการปรึกษาหรือเยี่ยมชมถึงสวน คุณณรงค์ยินดีต้อนรับ โทรศัพท์สอบถามกันก่อนได้ที่ (089) 122-4179 หรือทางเฟซบุ๊ก ในชื่อของ มะนาวสามชาย

พื้นที่ที่มีการปลูก “แห้ว” กันมากที่สุด และปลูกกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ คือ อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก อ.เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และด้วยคุณค่าสารอาหาร รสชาดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว “แห้ว” ถูกนำไปเป็นส่วนประกอบอาหารเมนูต่างๆ ทั้งคาวและหวาน บรรดาร้านอาหารและหลายโรงงานอุตสาหกรรมก็นิยมใช้ ส่งออกต่างประเทศอีกด้วย ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูก และเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

คุณเวโรจน์ พัฒนะพรหมมาส หรือกอล์ฟ เจนเเนอเรชั่นที่ 3 ที่เข้ามาสืบทอดการทำนาแห้วต่อจากคุณสุรพล พัฒนะพรหมมาส หรือคุณพ่อ เจ้าของนาแห้วและโรงงานคัดเกรดแห้วปลอดสาร ได้ใบรับรองเครื่องหมาย อ.ย. ผ่านการตรวจสอบสารเคมีตกค้างเป็นที่เรียบร้อย ตั้งอยู่เลขที่ 27/1 หมู่ 6 ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

คุณกอล์ฟ เผยกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ที่บ้านทำนาปลูกข้าว สลับกับปลูกแห้ว (ปลูกข้าว 6 เดือน ปลูกแห้ว 6 เดือน) มา 30 ปี ซึ่งรุ่นคุณพ่อท่านใช้วิธีนำพันธุ์แห้วจากจีนมาผสมกับแห้วพันธุ์ไทย จนได้แห้วที่มีขนาดใหญ่ สีขาวสวย น่ารับประทาน ปลูกที่อำเภอศรีประจันต์ ที่อำเภอนี้ปลูกแห้วขายกันตลอดทั้งปี ส่งทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับพื้นที่ปลูกแห้ว คุณกอล์ฟ เผยว่า มีนาแห้วเป็นของตนเองจำนวน 200 ไร่ มีลูกไร่อีกเกือบ 1,000 ไร่ ในส่วนของลูกไร่ก็จะเข้าไปดูแลเรื่องต้นพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ซึ่งขั้นตอนการขายลูกไร่จะนำแห้วมาขายให้ที่โรงงานเพื่อคัดเกรด พยายามควบคุมคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เพราะลูกค้าต่างประเทศมีหลายกลุ่ม ตัวอย่าง ประเทศแถบเอเชียตะวันออกหรือยุโรปต้องควบคุมเรื่องการใช้ปุ๋ยอย่างเข้มงวด ต้องปลอดสารเคมี

“ผมปลูกแห้วสลับกับทำนา ปลูกข้าว 6 เดือน ปลูกแห้ว 6 เดือน ทั้งปีจะปลูกเวียนแบบนี้ เฉพาะไร่ของตัวเอง เก็บผลผลิตได้วันละ ราว 3, 000 กิโลกรัม ราคาขายแห้วสด ขึ้นลงตามความต้องการของลูกค้า และความต้องการของตลาด ยกตัวอย่าง ช่วงกินเจ แห้วราคาแพงมาก ราคาขายหน้าฟาร์มกิโลกรัมละ 50 บาท ราคาต่ำสุด กิโลกรัมะ 31 บาท”

การคัดเกรดแห้ว มี 3 เกรด เกรดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.8 เซนติเมตรขึ้นไป เกรดนี้นำไปประกอบอาหาร หรือขายเป็นผลสด เกรดกลาง ขนาด 2.2 เซนติเมตรขึ้นไป แห้วเกรดนี้นำไปทำแห้วอัดกระป๋อง แห้วในน้ำเกลือ แห้วบด และสุดท้าย เกรดเล็ก ขนาดตั้งแต่ 2.2 เซนติเมตรลงมา นำไปทำแห้วหั่นเต๋า ทำไส้ขนม
คุณกอล์ฟ บอกต่อว่า ตลาดหลักที่ส่งแห้ว มีด้วยกัน 3 ที่ คือ ส่งแห้วสดที่ s&p นำไปทำไส้ขนม ขายแห้วปอกเปลือกส่งโรงงานมาลี สามพรานไปทำแห้วกระป๋อง และร้านอาหารเพื่อนำไปทำใส้หอยจ้อ

สำหรับวิธีการปลูกแห้ว เกษตรกรเจนวาย เผยว่า นำแห้วมาพึ่งลมไว้ 2-3 วัน จากนั้นใช้เถาแกลบกลบให้ทั่ว รดน้ำทุกเช้า หากอากาศร้อนมากให้รดน้ำเช้า-เย็น ทำเช่นนี้ 21-30 วัน จะได้กล้าแห้วสูงประมาณ 20-35 เซนติเมตร จากนั้นนำลงแปลงไปปลูกได้เลย

“การปลูกแห้วที่ อ.ศรีประจันต์ จะปลูกในแปลงนา นำต้นกล้าแห้วปลูกในระยะห่าง 70 × 70 เซนติเมตร สาเหตุที่ปลูกแห้วให้ห่างกัน เพราะแห้ว 1 ต้นพันธุ์ จะสามารถขยายออกเป็นแห้วอีก 100-200 หัว ดั้งนั้นจึงต้องเว้นระยะห่างเพื่อให้แห้วมีการเจริญเติบโตที่ดี”

หัวใจสำคัญของการปลูกแห้ว คือ “น้ำ” ในแปลงต้องมีน้ำตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงนำต้นกล้าลงปลูก จนถึงอายุ 6 เดือน การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังปักดำ 3-4 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากช่วงที่ 1 ประมาณ 2 เดือน ช่วงนี้แห้วกำลังออกดอก โดยจะใส่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 และ 13-13-21 ในอัตราส่วน 30-50 กิโลกรัมต่อไร่

“ผมว่าอำเภอศรีประจันต์ปลูกแห้วมากที่สุดแล้ว มีนาแห้วรวมกันกว่า 4,690 ไร่ ได้ผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ย 6,000 กิโลกรัมแห้วที่ปลูกในอำเภอศรีประจันต์ แต่ละปี มีมากกว่า 28,000 ตัน ถ้านับเป็นมูลค่าเงินก็มากกว่า 873 ล้านบาท”

ลำไย เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล มีพื้นที่เพาะปลูกในประเทศกว่า 1.10 ล้านไร่ แหล่งเพาะปลูกส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 81 อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ แถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา และน่าน ที่เหลือกระจายอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จันทบุรี สมุทรสาคร เป็นต้น

ปัจจุบัน ผลผลิตลำไยส่วนใหญ่ถูกส่งออกในลักษณะลำไยสด ลำไยอบแห้ง ลำไยแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ลำไย ฯลฯ ไปยังตลาดคู่ค้าหลักคือ จีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง เวียดนาม แคนาดา มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศมากกว่าปีละหมื่นล้านบาท ทำให้เกษตรกรรายเก่าและรายใหม่สนใจที่จะลงทุนทำสวนลำไยเพื่อป้อนตลาดส่งออก

อย่างไรก็ตาม ลำไย เป็นไม้ผลที่ต้องใช้ระยะเวลาปลูกนานพอสมควร ดังนั้น ระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป เกษตรกรสามารถหารายได้เสริมในสวนลำไยได้หลายช่องทาง เช่น ปลูกผักหวานออกจำหน่าย โดยเริ่มจากขุดหลุมและรองก้นหลุมด้วยขี้วัว ปลูกผักหวานในระยะห่าง ประมาณ 1.5×2 เมตร จะปลูกผักหวานได้ 500 ต้น ต่อไร่ หากปลูกในระยะห่าง 2×2 เมตร จะได้ 400 ต้น ต่อไร่ ดูแลให้น้ำต้นผักหวานอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกที่ปลูกจะให้น้ำทุกวัน พอผักหวานตั้งตัวได้แล้วจะให้น้ำ 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 ปีละ 2 ครั้ง เมื่อต้นผักหวานอายุ 6 เดือน ก็สามารถเก็บยอดออกจำหน่ายได้ ในราคา กิโลกรัมละ 80 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถเพาะกล้าพันธุ์ออกขายได้ ในราคา ต้นละ 10-15 บาท

สำหรับเกษตรกรชาวสวนลำไยในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร นิยมปลูกลำไยในระบบแปลงยกร่อง ช่วงที่ลำไยต้นเล็ก อายุ 1-2 ปีแรก เกษตรกรนิยมปลูกต้นมะพร้าวแกงเพื่อขายตัดยอด โดยปลูกต้นมะพร้าวขนาบต้นลำไย ในแปลงที่ยกร่อง โดยซื้อพันธุ์มะพร้าวแกง ลูกละ 12 บาท นำมาปลูกในระยะห่าง ประมาณ 1.50 เมตร หนึ่งร่องจะปลูกต้นมะพร้าวแกง ได้ประมาณ 60 ต้น ใช้เวลาปลูกมะพร้าวประมาณ 16 เดือน จะมีแม่ค้ามาเหมาสวนซื้อยอดมะพร้าว ในราคาต้นละ 200 บาท เทคนิคง่ายๆ แบบนี้ ช่วยโกยรายได้เข้ากระเป๋าได้หลักแสนทีเดียว

แหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่ดีที่สุดในประเทศ อยู่ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี และนครปฐม
สำหรับคราวนี้ จะพาชมสวนมะพร้าวที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่สามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่า 20,000ลูก/รอบ บนพื้นที่ 7 ไร่ ในช่วงหน้าฝน

ว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ พึ่งพเดช หรือคุณเดี่ยว เจ้าของสวน ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ในเชิงการค้าที่บ้านแพ้ว จ.ราชบุรี
ไม่เพียงแต่ ปลูกขายผลสด คุณเดี่ยวยังขายมะพร้าวพร้อมรับประทาน ขูดน้ำเนื้อใส่แก้วซีลฝาอย่างดี ออกงานอีเว้นต์แต่ละครั้ง ลูกค้าเข้าคิวยาวเหยียด รวมทั้งขายผ่านออนไลน์ ในเฟซบุ๊ค ใช้ชื่อว่า เดี่ยว บ้านแพ้ว ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างมาก
สำหรับการปลูกมะพร้าวนั้น คุณเดี่ยว แนะนำว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 45 ต้น โดยขุดหลุมกว้าง ลึก เท่าลูกมะพร้าว โดยเลือกต้นพันธุ์ที่มีใบเลี้ยงงามแล้ว สัก 3 ใบ
ส่วนการให้น้ำ ปลูกเสร็จก็รดน้ำเลย จากนั้น เว้นระยะเป็น 3 วันครั้งในสัปดาห์แรก และเมื่อตั้งตัวได้แล้วก็ สัปดาห์ละครั้ง
ปุ๋ยที่ใช้ เป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ขี้หมู
เมื่อมะพร้าวมีอายุ 3 ปี ตัดผลได้

คุณเดี่ยว บอกอีกว่า ภาพรวมการตลาด คิดว่าน่าจะโต เพราะเป็นไม้ผลที่ไม่ใช้สารเคมี และน้ำมะพร้าวมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก
ส่วนคำแนะนำ ใครที่ต้องการปลูกมะพร้าว หากมีพื้นที่อยู่แล้ว เงินลงทุนส่วนใหญ่คือต้นพันธุ์ ปัจจุบันต้นพันธุ์ขายกันราคา 70-90 บาทต่อต้น ใน 1 ไร่ ปลูกได้ 45 ต้น ดังนั้น เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 3150-4050 บาทต่อไร่ นั่นเอง

รับชม WeekendFarm รายการเกษตรในคอนเซ็ปต์ เรื่องเกษตรไม่อยากอย่างที่คิด We Can Do It ใครก็ทำได้ ออกอากาศ : ทุกวันเสาร์ เวลา : 21.00 – 22.00น. ทาง VoiceTV21 ติดตามได้ในรายการ MatichonWeekend

กระแสนิยมคนชอบรับประทานต้นอ่อนทานตะวัน กำลังมาแรง หลายคนมองหาวิธีการปลูก การเพาะ หรือบางคนเพาะขายเป็นอาชีพเสริมก็มี เนื่องจากตลาดยังนิยมและสามารถขายได้ เพราะเป็นผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดูแลไม่ยาก อีกทั้งยังไร้สารเคมีอีกด้วย

ซึ่งหลายคนที่หันมาปลูกต้นอ่อนทานตะวันขาย ไม่เพียงแต่ทำเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น แต่ยังสามารถทำเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีอีกด้วย

คุณสวรินทร์ ขุนโยธา หรือ คุณกัล วัย 41 ปี เจ้าของกิจการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งมีโรงเรือนเพาะปลูก โรงเล็กๆ ข้างบ้าน เล่าเรื่องราวของเธอให้ฟังว่า “เติบโตมาจากครอบครัวที่ปลูกผัก จึงทำให้เข้าใจการปลูกผักหรือวิธีการต่างๆ ได้ง่าย แต่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ทำอาชีพเพาะปลูกอะไร เป็นเพียงพนักงานของรัฐคนหนึ่งเท่านั้น

ช่วงระหว่างที่ทำงาน เกิดป่วยมีเนื้องอกที่มดลูก 4 ก้อน ต้องลางานเพื่อไปรักษาตัวอยู่บ่อยๆ จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมารักษาตัวและผ่าตัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 6 ปี ที่ลาออกจากงานออฟฟิศมายึดอาชีพเกษตร ปลูกต้นอ่อนทานตะวันเพื่อส่งขายให้กับตลาดสด สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนให้ไม่น้อย

ย้อนเล่าไปช่วงที่ต้องมารักษาตัว หลังจากลาออกจากงาน ได้ไอเดียมาเพาะต้นอ่อนทานตะวันขายเพราะการไปช่วยหลานขายต้นอ่อนทานตะวัน และผลิตผลจากไร่ลุงท็อป จ.ลพบุรี เนื่องจากมีงานทุ่งทานตะวัน เกิดสนใจเพราะสามารถขายได้วันละ 3-4 พันบาท ทั้งคิดว่าสามารถทำได้ง่ายที่บ้าน จึงกลับมาศึกษาและทำการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เริ่มจากทดลองก่อน เมื่อปลูกและได้ผลผลิต ก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้านได้ชิมกันก่อน จากนั้นก็เริ่มหาตลาดเพื่อขายบ้าง

จากที่ทดลองทำ กระทั่งสามารถจำหน่ายได้ ระยะเวลาประมาณหนึ่งปีครึ่ง คุณกัล บอกว่า “ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก เพราะวิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวันทำได้ง่าย ใครก็สามารถทำได้ ด้วยวิธีการเพาะปลูกต่างๆ สามารถหาได้จากสื่อทั่วไป อีกทั้งต้นอ่อนทานตะวันกำลังอยู่ในกระแสคนนิยมรับประทานกันมาก

ปัจจุบัน การเพาะต้นอ่อนทานตะวันขาย จึงได้กลายเป็นอาชีพหลักไปแล้ว อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000-40,000 บาท เป็นรายได้ที่สามารถหาได้ที่บ้าน”

ด้วยวิธีการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีเข้ามาช่วยในการปลูก ต้นอ่อนทานตะวันจึงเป็นอาหารที่ไม่มีสารเคมี โดยคุณกัลบอกถึงสโลแกนการปลูกผักว่า “ไม่สวยแต่ปลอดภัย”

พื้นที่ข้างบ้าน ที่ใช้ในการปลูกต้นอ่อนทานตะวันมีเพียงประมาณ 4-5 เมตร โดยทำชั้นปลูกแบบคอนโดฯ ปลูกได้ประมาณ 20-25 ถาด ซึ่งต้องวางแผนงานไว้ล่วงหน้าให้สอดคล้องกับออร์เดอร์ที่มี

สำหรับวิธีการปลูก คุณกัล บอกว่า นำเมล็ดต้นอ่อนทานตะวันแช่น้ำประมาณ 7-8 ชั่วโมง หลังจากนั้นบ่มเมล็ดอีกประมาณ 12 ชั่วโมง เมื่อนำมาปลูกในถาดก็โรยดินชั้นล่างก่อน จากนั้นโปรยเมล็ดต้นอ่อนบ่มเตรียมไว้ แล้วโปรยดินกลบทับอีกชั้น หลังจากนั้น 2 วัน ก็จะเริ่มงอก ต้นอ่อนทานตะวันอายุ 7 วัน ก็สามารถตัดขายได้ ซึ่งถ้าวางแผนงานก็จะมีต้นอ่อนทานตะวันขายทุกวัน

ด้านผลผลิตที่ได้ต่อวันและสามารถส่งขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 กิโลกรัม เป็นอย่างน้อย ขายกิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งเป็นราคามาตรฐานในการขายต้นอ่อนทานตะวันของที่นี่ ไม่ว่าวัตถุดิบจะถูกหรือแพงขึ้น ก็ขอขายในราคานี้ ทั้งการปลูกต้นอ่อนทานตะวันยังได้รับเงินทุกวัน และแนวโน้มของผักที่ไม่มีสารเคมีดีขึ้นทุกวัน เพราะคนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น อีกทั้งต้นอ่อนทานตะวันมีจุดเด่นตรงที่กรอบ อร่อย คนจึงนิยม คุณกัลเล่าให้ฟังในมุมมองของคนเพาะปลูก

คุณกัล ยังเล่าต่อด้วยว่า “ทุกการทำงานย่อมต้องเคยผิดพลาดกันมา ไม่มากก็น้อย เธอก็เคยเจอปัญหาในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันเช่นกัน ช่วงแรกที่ทำด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้ปลูกไปแล้วผักน็อก เติบโตได้ไม่เต็มที่ แล้วก็ไม่สวยเท่าที่ควร

อีกทั้งช่วงหน้าหนาวต้นอ่อนทานตะวันจะโตช้า บางทีก็ไม่ค่อยโต ต้นไม่ยาว ยิ่งถ้าอากาศไม่ร้อน ไม่มีความชื้น ผักก็จะไม่งอก ตอนแรกๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ก็ลำบากหน่อย แต่เมื่อต้องทำมาค้าขายกับคนอื่นแล้ว สัจจะและความซื่อสัตย์ คือเรื่องสำคัญ คู่ค้าถึงจะทำมาค้าขายกันยืด จึงพยายามปรับการปลูกผักให้สามารถส่งขายอย่างต่อเนื่องต่อไปได้”

นอกจากต้นอ่อนทานตะวันจะสามารถนำไปประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำไปจัดกระเช้าของฝาก ของขวัญ มอบให้ผู้ใหญ่ได้อีกด้วย เพราะที่ผ่านมา มีลูกค้าหลายคนสั่งต้นอ่อนทานตะวันนำไปจัดกระเช้ามาแล้ว คุณกัล บอก

สำหรับใครที่สนใจ สามารถโทรติดต่อสอบถามคุณกัลได้ที่เบอร์ (089) 508-6691 Facebook : Sawarin PK Kan Khunyota หรือตามที่อยู่ กองพันทหารสื่อสารที่ 21 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน 10220

อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมากในแถบยุโรปและอเมริกา เพราะมีสารอาหารวิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก
แม้ว่าผลอะโวคาโดน้ำหนัก 100 กรัม (ประมาณครึ่งผล) จะมีไขมันสูงถึง 14.66 กรัม แต่คุการรับประทานอะโวคาโดไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับการรับประทานไขมันอื่นในปริมาณเท่ากัน แถมการรับประทานอะโวคาโดยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย และไม่ทำให้อ้วน แถมยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
อะโวคาโด มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆภายในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย
ประโยชน์ของอโวคาโดอะโวคาโดเป็นผลไม้ที่สามารถช่วยลดริ้วรอยแห่งวัยได้ดีกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ จึงช่วยคงความอ่อนเยาว์ได้เป็นอย่างดีช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้
นอกจากนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยลดไขมันเลวในหลอดเลือดได้ จึงช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดโอกาศเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจวาย
ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ และยังมีอีกหลายคุณประโยชน์อีกมากมาย
ขอบคุณข้อมูล frynn.com

ในขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ และรัฐบาลก็ไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการประกันราคา ทางรอดของเกษตรกรจึงมีอยู่ทางเดียวคือ ต้องเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง

ในขณะที่อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้อย่างเด่นชัดและแน่นอนคือ การใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพราะในปัจจุบันเกษตรกรส่วนมากยังใช้ปุ๋ยไม่ถูกสูตร ไม่ถูกเวลา และปริมาณไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ผลผลิตต่ำและมีต้นทุนการผลิตที่สูง

คุณวีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร ได้กล่าวว่า การขาดความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยและสูตรปุ๋ย ทำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้องคือ ผิดชนิด ผิดเวลา และผิดปริมาณ ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่มีผลตอบแทนต่ำ ซึ่งมีตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ การปลูกข้าวในเขตภาคกลางของประเทศ

“กล่าวคือ ชาวนาในเขตภาคกลางส่วนมากจะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หรือปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตราที่สูงมาก คือ 25-50 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อเร่งให้ต้นข้าวมีสีเขียวและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เป็นปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ย สูตร 16-20-0 ในอัตราที่สูงมากเช่นกัน คือ 25-50 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งวิธีการเช่นนี้เป็นการใส่ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้อง ผลที่ตามมาคือ ใบข้าวจะมีสีเขียวเข้ม เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่จะไม่ค่อยแตกกอ เกิดการระบาดของโรคและแมลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องพ่นสารกำจัดโรคแมลงหลายครั้ง ข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน ทำให้ข้าวสุกแก่ไม่พร้อมกัน ต้นล้ม”

“และที่สำคัญผลผลิตต่ำและมีปริมาณเมล็ดลีบมาก เมื่อนำไปจำหน่ายจะถูกตัดราคาเนื่องจากข้าวมีความชื้นสูงและเมล็ดลีบ แต่ถ้าหากใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องครบตามความต้องการของข้าวแล้ว คือครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับ สูตร 0-0-60 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่เฉพาะ สูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ข้าวจะแตกกอดี ไม่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย ออกรวงพร้อมกัน ต้นไม่ล้ม เมล็ดสุกแก่พร้อมกัน เมล็ดเต็ม แกร่ง มีความชื้นต่ำ และมีผลผลิตสูง” คุณวีรวัฒน์ กล่าว

จะเห็นได้ว่า การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องจะช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวได้อย่างมหาศาล ตั้งแต่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลงเพราะข้าวแตกกอดีขึ้น การใช้ปุ๋ยปริมาณลดลงมากกว่าครึ่ง พ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงน้อยลงหรือไม่ต้องพ่นเลย แต่ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น เมื่อคิดค่าใช้จ่ายที่ลดลงจะมีมูลค่ามหาศาลนับเป็นหมื่นล้านบาทต่อปี

การที่เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในเบื้องต้นเกษตรกรจะต้องมีความรู้เรื่องปุ๋ยสูตรปุ๋ย ธาตุอาหาร และหน้าที่ของธาตุอาหารพืช การใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกเวลา ถูกวิธี และถูกปริมาณ และสุดท้ายการผสมปุ๋ยใช้เอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่ใส่ลงในดิน หรือพ่นทางใบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช และพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้

ธาตุอาหารพืช หมายถึง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยหรือในดินที่พืชจำเป็นต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งพืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้จนครบชีพจักร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 17 ธาตุ โดยมีอยู่ 3 ธาตุที่พืชได้จากน้ำและอากาศฟรีๆ ไม่ต้องซื้อมาใส่ให้พืช คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนอีก 14 ธาตุ ได้จากแร่ธาตุในดิน ถ้าขาดต้องเติมให้พืช แบ่งตามความต้องการของพืชได้ดังนี้

ธาตุอาหารหลัก มี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโพแทสเซียม (เค) ที่พืชต้องการในปริมาณมาก และดินโดยทั่วไปมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มให้กับพืชในรูปของปุ๋ยสูตรที่เกษตรกรซื้อมาใช้นั่นเอง

ธาตุอาหารรอง มี 3 ธาตุ คือ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ปริมาณที่พืชต้องการใกล้เคียงหรือมากกว่าฟอสฟอรัส เหตุที่จัดเป็นธาตุรอง เพราะในดินทั่วไปมักมีเพียงพอกับความต้องการของพืช และเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดิน มักมี 3 ธาตุนี้ปนลงไปด้วยเสมอ

จุลธาตุ พืชต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้ ธาตุเหล่านี้ ได้แก่ แมงกานีส เหล็ก ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน และนิเกิล บางครั้งเรียกธาตุเหล่านี้ว่า ธาตุอาหารเสริม เนื่องจากต้องให้เสริมจากธาตุอาหารหลัก

สูตรปุ๋ย ก็คือ ตัวเลข 3 ตัว ที่มีขีดคั่นระหว่างตัวเลข เพื่อแสดงถึงปริมาณธาตุอาหารที่รับรองว่ามีอยู่ในปุ๋ยตามกฎหมาย โดยตัวเลขจะหมายถึงร้อยละโดยน้ำหนักของธาตุอาหารไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโพแทสเซียม (เค) ตามลำดับ ไม่มีการสลับที่ เช่น ปุ๋ย สูตร 16-20-0 หมายความว่า ปุ๋ยน้ำหนัก 100 กิโลกรัม มีธาตุอาหารเอ็น 16 กิโลกรัม พี 20 กิโลกรัม และ เค 0 กิโลกรัม ดังนั้น ปุ๋ย สูตร 16-20-0 หนึ่งกระสอบ ซึ่งมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม จะมีธาตุเอ็น 8 กิโลกรัม พี 10 กิโลกรัม และไม่มีเค อยู่เลย

นอกจากปริมาณธาตุอาหารเอ็น พี เค ที่มีอยู่ในสูตรปุ๋ยแต่ละสูตรแล้ว เกษตรกรควรจะต้องรู้จักหน้าที่ของธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย กล่าวคือ ธาตุอาหารเอ็น จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและตั้งตัวได้ไว โดยเฉพาะในระยะแรกของการเจริญเติบโต การเจริญของลำต้น ใบ ทำให้ต้นและใบมีสีเขียว ควบคุมการออกดอก ติดผล เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชกินใบและต้น ส่วนพี จะช่วยกระตุ้นการสร้างรากในช่วงแรกของการเติบโต การตั้งตัวของพืช การแตกกอ การสร้างตาดอกและเมล็ด ขยายขนาดเมล็ด และการสุกแก่ ในขณะที่เค ช่วยในการดูดน้ำและอาหาร และขนส่งไปส่วนต่างๆ ของลำต้น ทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรค กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง ช่วยการสะสมอาหาร เพิ่มน้ำหนักและคุณภาพของผลผลิต

คุณวีรวัฒน์ ยังได้แนะนำวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ ที่เกษตรกรควรทราบและนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 1. ถูกสูตร คือการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้ครบ 2. ถูกเวลา คือใส่ปุ๋ยให้ทันกับความต้องการของพืช จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3. ถูกวิธี ใส่แล้วกลบ หรือใส่เมื่อดินมีความชื้น พืชได้รับปุ๋ยเต็มที่ ลดการสูญเสีย และ 4. ถูกปริมาณ ให้มีปริมาณธาตุอาหารให้พอเพียงกับความต้องการของพืช โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้

1. ถูกสูตร การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเอ็น พี เค ครบทั้ง 3 ตัว เพราะธาตุอาหารแต่ละตัวไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้ และถ้าใส่ครบทั้ง 3 ตัว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละตัวให้ดีขึ้น

2. ถูกเวลา การใส่ปุ๋ยให้ทันต่อการเจริญเติบโต หรือทันกับความต้องการของพืชจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยทั่วไปในพืชล้มลุก เช่น พืชไร่หรือพืชผัก จะแบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก โดยใส่ปุ๋ยเอ็นครึ่งหนึ่งของคำแนะนำ ปุ๋ยพีใส่รองพื้นครั้งเดียวทั้งหมด ส่วนปุ๋ยเคจะใส่รองพื้นครั้งเดียวทั้งหมดหรือแบ่งใส่ 2 ครั้งก็ได้ ครั้งที่ 2 เมื่อพืชมีอายุประมาณ 25-30 วัน หรือพร้อมกับการกำจัดวัชพืช โดยใส่เฉพาะเอ็น และเค ที่เหลือ

เหตุผลที่ต้องแบ่งใส่ปุ๋ยเอ็น 2 ครั้ง สมัครพนันออนไลน์ เนื่องจากพืชต้องการใช้เอ็นตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโต และสูญเสียไปกับน้ำได้ง่าย จึงควรแบ่งใส่เท่าๆ กัน ในขณะที่ปุ๋ยพี พืชต้องการใช้ในการสร้างราก การตั้งตัว การแตกกอ การสร้างรวงและเมล็ด โดยพืชจะค่อยๆ ดูดไปสะสมในลำต้นและใบก่อนนำไปใช้ ในขณะเดียวกัน ปุ๋ยพีเคลื่อนย้ายได้น้อยและสะสมในดิน จึงไม่ต้องห่วงว่าจะสูญเสียไปกับน้ำ ดังนั้น จึงควรใส่ปุ๋ยพีให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทันใช้ โดยใส่ครั้งแรกทั้งหมดครั้งเดียว ในส่วนของปุ๋ยเค พืชต้องการมาก สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงควรใส่ปุ๋ยเคให้เร็วที่สุด โดยใส่ครั้งแรกทั้งหมดครั้งเดียวพร้อมกับปุ๋ยพี หรือแบ่งใส่ 2 ครั้ง เท่าๆ กัน

แม่โจ้ ผลิตจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียต่อยอดจากมูลและปัสสาวะ

ขยะที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนที่เพิ่มของประชากรของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้มีการทำวิจัยใช้ไส้เดือนมาย่อยขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมาก และภายหลังจากนั้นได้ต่อยอดโดยนำมูล และปัสสาวะของไส้เดือนมาทำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย อี-เวิร์ม (E-Worm) พร้อมทั้งได้ส่งไปช่วยพื้นที่ประสบอุทกภัยที่น้ำท่วมขังจนเริ่มเน่าเสียในภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีองค์ความรู้ด้านการใช้จุลินทรีย์มาบำบัดน้ำเสีย จึงได้จัดทำชุดบำบัดน้ำเสีย ที่เรียกว่า อี-เวิร์ม (E-Worm) คือ กลุ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติจากลำไส้ไส้เดือนดินท้องถิ่นไทยที่มีความหลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ที่เกิดจากโครงการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน นอกจากการกำจัดขยะอินทรีย์อย่างได้ผลแล้ว ยังเกิดผลผลิตที่เป็นมูลไส้เดือนดินที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพดีและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยบำรุงพืชและยังใช้บำบัดน้ำเสียได้ผลดี เพราะมีจุลินทรีย์จากลำไส้ของไส้เดือนดินมากกว่า 300 ชนิด

อี-เวิร์ม (E-Worm) เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ อาศัยอยู่ได้ในน้ำลึก บริเวณแอ่งน้ำได้เป็นอย่างดี โดยจะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีอนุภาคเล็กลง และตกตะกอนอย่างรวดเร็ว มีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) อยู่ในช่วง 7-8 เมื่อเทลงสู่น้ำเน่าเสียซึ่งมีค่าความเป็นด่างสูง อี-เวิร์ม (E-Worm) สามารถทำการบำบัดน้ำเสียได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่จุลินทรีย์ทางการค้าทั่วไปในท้องตลาด ที่ใช้กากน้ำตาล

ในขบวนการขยายเชื้อรวมถึงน้ำหมักชีวภาพทั่วไป จะชอบทำงานที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในช่วงที่เป็นกรดอ่อน – กรดจัด

จากสถานการณ์มหาอุทกภัยของประเทศทำให้พื้นที่ในหลายจังหวัดของประเทศไทยถูกน้ำท่วมอย่างหนักในรอบกว่า 50 ปี มีประชาชนได้รับความเสียหาย และเดือดร้อนนับล้านคน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก ถึงแม้ว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมกำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น หลายแห่งระดับน้ำลดลง แต่อีกหลายแห่งยังมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้น้ำเน่าเสีย

ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความร่วมมือจาก สวทช.ภาคเหนือ และมูลนิธิโครงการหลวง ได้จัดทำชุดจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นชุดสำเร็จรูปใช้งานได้ทันที จำนวน 1,000 ชุด เพื่อส่งไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทร.0-5387-3493 ต่อ 200 หรือ www.maejoearthworm.org

ข้อมูลจำเพาะ

อี-เวิร์ม (E-worm) คือ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จากลำไส้ของไส้เดือนดินซึ่งมีความหลากหลายของจุลินทรีย์มากกว่า 300 ชนิด และเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ธรรมชาติจากลำไส้ไส้เดือน

ดินท้องถิ่นไทยที่มีความหลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ สามารถอาศัยอยู่ใต้น้ำลึกบริเวณก้นแอ่งน้ำได้เป็นอย่างดี โดยจะย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีอนุภาคเล็กลงและตกตะกอนอย่างรวดเร็ว โดยไม่รบกวนระบบออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (ไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ) และทำงานร่วมกับจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจนบริเวณผิวน้ำได้

จุดเด่น E-worm

เป็นน้ำจุลินทรีย์ที่มีค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) เป็นกลางจนถึงด่างอ่อน ซึ่งใกล้เคียงกับค่าความเป็นกรด – ด่าง ในแหล่งน้ำเสีย สามารถทนทานต่อสภาพน้ำเสียที่ขาดออกซิเจนได้ดี ไม่ต้องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำ ผ่านกรรมวิธีการผลิตในสภาพแวดล้อมแบบเปิดในธรรมชาติ จุลินทรีย์จึงมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เร็วกว่าจุลินทรีย์ที่ผลิตในสภาพแวดล้อมแบบปิด เช่นจุลินทรีย์ที่ผลิตจากห้องปฏิบัติการ หรือ การหมัก

วิธีการใช้จุ่มท่อปล่อยน้ำ E-worm ลงไปให้ลึกถึงก้นแอ่งน้ำ1 – 1.5 เมตร แล้วเทน้ำ E-worm ลงในกรวยให้น้ำ E-worm ไหลลงไปก้นแอ่งน้ำ โดยเทกระจายตามจุดต่างๆ ของแหล่งน้ำเสีย ตามอัตราแนะนำการใช้ หรืออัตราการใช้ ใช้น้ำ E-worm 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร

ความสามารถระหว่าง EM-BALL และ E-worm ในการบำบัดน้ำเสีย

น้ำเน่าเสีย คือ น้ำที่มีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายจนเหลือออกซิเจนละลายอยู่น้อย น้ำมีสีดำคล้ำ และส่งกลิ่นเหม็น โดยปกตินั้นน้ำเสียมักจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 8-9 ซึ่งถือว่ามีค่าเป็นด่าง

EM-BALL มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 4 เมื่ออยู่ในค่า pH ที่เป็นด่างอย่างน้ำเสีย จึงทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ใน EM-BALL ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างเป็นปกติ มีจำนวนจุลินทรีย์ใน EM-BALL อยู่ 40 สปีชีส์ และมีสารประกอบอินทรีย์จำพวก แกลบ รำ ดินทราย และ กากน้ำตาลอยู่ หากย่อยสลายไม่หมดก็จะทำให้น้ำเน่าเสียมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผลิตในสภาพแวดล้อมแบบปิดจากในห้องปฏิบัติการ จึงมีการปรับตัวได้ช้า

E-worm มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 7-8 เมื่ออยู่ในค่า pH ที่เป็นด่างอย่างน้ำเสีย จึงทำให้จุลินทรีย์ที่อยู่ใน E-worm สามารถดำเนินกิจกรรมได้เป็นอย่างดี จึงทำให้บำบัดน้ำได้รวดเร็ว มีจำนวนจุลินทรีย์ใน E-worm อยู่ 343 สปีชีส์ และไม่มีสารประกอบอินทรีย์ ทั้งยังผ่านกรรมวิธีการผลิตในสภาพแวดล้อมแบบเปิดในธรรมชาติ จุลินทรีย์จึงมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว

นายวุฒิพงษ์ รัตนมนต์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดตราด และประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปเเละส่งออกจังหวัดตราด เปิดเผยว่า

ขณะนี้ผู้รวบรวมผลผลิตผลไม้ หรือ “ล้งผลไม้” ใน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี และตราด กำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดตลาด ไม่มีขายให้กับล้งที่รับซื้ออยู่ในขณะนี้ ซึ่งมาจากปัญหา 3 ประการ คือ ทุเรียนออกขาดช่วง เพราะทุเรียนที่เคยออกในเดือนพฤษภาคมทุกปี แต่ปีนี้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ทุเรียนออกในปลายเดือนมีนาคม และเมษายน จนหมดรุ่นแรก และจะออกมาอีกครั้งในเดือนมิถุนายน อีกปัญหาหนึ่งก็คือ อากาศที่ร้อน และผลกระทบที่ขาดน้ำ ทำให้การติดดอกมีความเสียหายสูงถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด และสุดท้ายราคาที่รับซื้อมีราคาแพงเกินไปทำให้ผู้ซื้อหรือล้งไม่กล้ารับซื้อ เพราะอาจขาดทุนได้

นายวุฒิพงษ์กล่าวอีกว่า ที่สหกรณ์ฯได้ทำสัญญากับพ่อค้าจีนต้องส่งทุเรียนแปรรูปที่แกะเปลือกทั้งหมด แล้วฟรีซแช่แข็งส่งออกไปจำนวน 2,000 ตัน หรือต้องใช้ทุเรียนดิบทั้งหมด 10,000 ตัน ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถรอทุเรียนในจังหวัดตราดได้จึงต้องไปพึ่งทุเรียนในภาคใต้ ซึ่งต้องใช้กว่าร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 จะใช้ในตราดและจันทบุรี

ขณะที่ ป้าบุญชื่น โพธิ์แก้ว เจ้าของศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนยายดา ป้าบุญชื่น จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ปีนี้ผลไม้ออกผลผลิตน้อยกว่าทุกปี โดยเฉพาะทุเรียน น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา 8-10% ทำให้ราคาทุเรียนแพงขึ้น โดยต้นฤดูราคาพุ่งไปที่กิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากธรรมชาติเปลี่ยนแปลงผิดปกติ โดยในปีนี้ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง จะออกมากช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทางสวนยายดา ป้าบุญชื่น ยืนยันว่ามีปริมาณผลผลิตเพียงพอ สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาชมสวน เพื่อรับประทานบุฟเฟต์ผลไม้

ขณะที่ทางด้านจังหวัดจันทบุรี พ่อค้าแม่ค้าร้านขายปลีก และส่งออกผลไม้ในจังหวัด ต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าปีนี้ทุเรียนราคาค่อนข้างสูง ต้นทุนอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของทุเรียน ซึ่งหักค่าถุง ค่าห่อออกแล้ว รวมทั้งน้ำหนักเปลือกทุเรียนที่หายไป 4 ขีดต่อลูก จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ก็แทบไม่เหลือกำไร และบางวันต้องยอมขาดทุนเนื่องจากทุเรียนแตกอ้า เพราะทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่ไหว

แล้งหนัก ราคาผักหลายชนิดตามตลาดสดพุ่งสูง แต่ที่บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ได้พลิกผืนนาหันมาปลูกผัก กว่า 40% ของพื้นที่ โดยปลูกผักใช้ระบบน้ำหยด ประหยัดน้ำในช่วงนี้

วันที่ 13 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสภาพอากาศร้อนและแล้งหนัก ส่งผลกระทบให้ผักหลายชนิดไม่ออกผล ทำให้ขาดตลาด แต่ที่บ้านวังขี้เหล็ก หมู่ 10 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม ได้พลิกผืนนาหันมาปลูกผักส่งขายรายได้ดีในช่วงนี้

นายสมควร รุ่งเรือน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ท่าช้าง กล่าวว่า เดิมทีชาวบ้านในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำนา แต่หลังจากพบกับภัยแล้ง ทำให้ชาวบ้านได้มีวิธีปรับเปลี่ยนหันมาประกอบอาชีพปลูกผักขาย กว่า 40%ของหมู่บ้าน โดยผักส่วนใหญ่ เป็นมะระ ถั่วฝักยาว แตงกวา บวบ ขายมีรายได้ดีกว่าการทำนาที่ต้องใช้น้ำเยอะ โดยชาวบ้านที่นี้ได้นำระบบน้ำหยดมาใช้กับแปลงผัก โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งนี้ ชาวบ้านที่นี่จะปลูกมะระ ถั่วฝักยาว แตงกวา ส่งขายกันจำนวนมาก

นายสมควร รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ผักหลายชนิดราคาแพง มาก เนื่องจากร้อนและแล้ง ทำให้ผักบางชนิดได้รับผลกระทบ ไม่ออกผลผลิต แต่ผักที่หมู่บ้านตนกำลังจะออกผลผลิต โดยเฉพาะแตงกวา บอน ส่วนถั่วฝักยาว อีกหลายแปลง อีกเพียงอาทิตย์เดียวก็ออกผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวและส่งขายได้แล้ว ซึ่งถือว่าในช่วงนี้ผักในพื้นที่บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จะมีรายได้ดี โดยแตงกวา ราคาส่งขายกิโลกรัมละ 13 บาท แต่เมื่อไปขายตามตลาดหน้าร้าน มีราคาถึง 30 บาท มะระ กิโลกรัมละ 20 บาท ถั่วฝักยาว ส่งขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า ยังมีเกษตรกรชาวไทยที่ยากจนอยู่จำนวนมาก เนื่องจากยังขาดเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพและมีพื้นที่ทำประโยชน์จำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อแรงงานและผลตอบแทนเพื่อการดำรงชีพภายในครอบครัว ประกอบกับประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกษตรดังกล่าวจึงได้เข้าหักร้างถางป่าและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี อันทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของประเทศชาติอย่างใหญ่หลว

ในปี พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะอำเภอชะอำ อำเภอหัวหิน และอำเภอท่ายาง พระองค์สนพระราชหฤทัยในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์หุบกะพง ซึ่งอยู่ในคำแนะนำ ส่งเสริมของศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทรงเห็นว่าการดำเนินงานช่วยเหลือราษฎรให้มีที่ทำกินและประกอบอาชีพเป็นที่น่าพอพระราชหฤทัย ประกอบกับราษฎรในเขตอำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ขาดที่ทำกิน ทูลขอพระราชทานที่ทำกิน พระองค์สนพระราชหฤทัยบริเวณหุบเขาซึ่งมีพื้นที่อาณาเขตติดต่อในท้องที่ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

จึงมีรับสั่งให้ มจ. ภีศเดช รัชนี ติดต่อกรมพัฒนาที่ดินเพื่อให้สำรวจดิน จำแนกดิน รวมทั้งสำรวจภาวะสังคมของราษฎรในบริเวณท้องที่ดังกล่าว จากผลการสำรวจสามารถดำเนินการในพื้นที่ประมาณ 65,000 ไร่ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ได้ ในปี พ.ศ. 2513 พระองค์จึงทรงมอบให้กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ เป็นคณะกรรมการดำเนินการตามพระราชกระแสรับสั่ง ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ดินดี เหมาะในการเพาะปลูก ให้ดำเนินการจัดพัฒนาที่ดินให้ราษฎร ส่วนที่ 2 สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ให้ดำเนินการพัฒนาเป็นที่เลี้ยงสัตว์

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดให้มีการศึกษาและอบรมเกษตรกรเหล่านี้เกี่ยวกับหลักและวิธีการของสหกรณ์ในเขตขั้นพื้นฐานจนเห็นว่า เกษตรกรเหล่านี้เข้าใจหลักและวิธีการดังกล่าวได้ดีพอสมควรแล้ว จึงได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนสหกรณ์ให้จดทะเบียนเป็น “สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จำกัด”

คุณประกอบ เผ่าพงศ์ สหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ในรูปแบบสหกรณ์ ราษฎรที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำกินจึงได้จัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา เริ่มต้นมีประมาณ 400 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 900 กว่าคน โดยมีพื้นที่ทำกินครอบครัวละ 25 ไร่ ส่วนหนึ่งสำหรับอยู่อาศัย อีกส่วนเป็นพื้นที่เพาะปลูก ทั้งปลูกพืชหลัก ควบคู่กับพืชอายุสั้นแบบผสมผสาน เช่น พริก มะเขือ เพื่อให้มีรายได้ในระหว่างที่พืชหลักยังไม่ได้ให้ผลผลิต บางรายก็ปลูกควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งพืชหลักและพืชผัก

บางรายก็เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ปัจจุบันทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เข้ามาส่งเสริมให้มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และบริหารกิจการภายในครอบครัว เช่น จะไม่ลงทุนเพิ่มหากไม่มีความพร้อมของเงินทุนในการทำการผลิต หมายความว่าต้องมีกำไรจากการขายผลผลิตก่อน แล้วเอากำไรนั้นมาเป็นเงินลงทุนเพิ่มเพื่อเพิ่มผลผลิต ไม่กู้เงินมาเป็นทุนเพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก เป็นต้น

ทางด้าน คุณทัน อุ่นเรือน สมาชิกโครงการ ซึ่งใช้พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรปลูกมะม่วง เปิดเผยว่า เดิมตนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน มีรายได้ใช้จ่ายภายในครอบครัวแบบเดือนต่อเดือน ไม่มีเหลือเก็บ จึงหันมาทำการเพาะปลูกอย่างจริงจัง ในพื้นที่ของโครงการ ซึ่งได้รับส่งต่อพื้นที่มาจากครอบครัว เนื่องจากพื้นที่ในโครงการจะไม่สามารถซื้อขายกันได้ แต่สามารถส่งมอบกรรมสิทธิ์ เพื่อการอยู่อาศัยและทำกินได้ภายในครอบครัว โดยปลูกมะม่วง และผลิตเป็นมะม่วงนอกฤดูกาล เช่น พันธุ์เขียวเสวย โชคอนันต์ ฟ้าลั่น เป็นต้น

“มะม่วงนอกฤดูบางปี อย่างโชคอนันต์ ราคากิโลกรัมละ 25 บาท ถือว่าประสบผลสำเร็จ และก็ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ในเรื่องการใช้ปุ๋ย ใช้น้ำอย่างประหยัด ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตขึ้นมาเองตามที่ได้เข้ารับการอบรมจากวิทยากรด้านการพัฒนาดินที่ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดนำมาให้ ก็สามารถประหยัดและลดต้นทุนได้มาก ทำให้มีกำไรในการขายมะม่วงได้มากขึ้น และทำการผลิตกิ่งพันธุ์มะม่วงจำหน่ายด้วย โดยขายกิ่งละ 25 บาท ทำวันละ 100 กิ่ง ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นวันละ 2,500 บาท นอกเหนือจากขายผลมะม่วง ปัจจุบันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน” คุณทัน กล่าว

และในการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นมานั้น คุณทัน เล่าว่า เป็นผลทำให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการมีโอกาสในการทำการเพาะปลูกและจำหน่ายผลผลิตได้มากกว่าแบบต่างคนต่างทำ เมื่อเป็นสหกรณ์ก็สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำการเพาะปลูก เมื่อผลผลิตออกมาก็ใช้ระบบสหกรณ์มาทำการตลาด สามารถตัดพ่อค้าคนกลางที่มักจะกดราคาผลผลิตลงได้ แถมสามารถกำหนดราคาได้เองด้วย ซึ่งพ่อค้าคนกลางที่ต้องการซื้อมะม่วงก็ต้องยอมเพราะหากไม่ยอมก็จะไม่มีมะม่วงไปขายต่อ

เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่พระองค์ได้พระราชทานพื้นที่ทำกิน และพระราชทานพระราชดำริโครงการตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ขึ้นมา ทำให้ประชาชนที่ยากไร้ไม่มีที่ทำกิน กลับมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนองงานพระราชดำริมาดำเนินการและประสบความสำเร็จ ยังผลให้เกษตรกรสามารถผลิตและขายผลผลิตได้อย่างมีราคาภายใต้ระบบสหกรณ์

ฤดูกาลแห่งลำไยเริ่มขึ้น ผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาด ปริมาณผลผลิตที่ตลาดต้องการก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวสวนต้องมีเทคนิคเฉพาะสวน เพื่อให้ได้ผลผลิตตามปริมาณที่ตลาดต้องการ และควรให้ได้คุณภาพ เพื่อให้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาด

ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนได้มีโอกาสพบกับ คุณมานพ กาวิลุน เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 6 ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า พื้นที่รอบสวนตนเองส่วนใหญ่เขาจะปลูกข้าวกัน แต่ตนเองเห็นว่าการปลูกข้าวมักมีปัญหาทั้งในเรื่องฝนแล้ง น้ำท่วม ราคาข้าวไม่แน่นอน ตนเองจึงเลือกที่ทำสวนลำไย ในพื้นที่ 13 ไร่ โดยยึดหลักว่า “คนอื่นปลูกข้าว ผมทำสวนลำไย”

สวนลำไยมีอยู่ 2 แห่ง อายุ 5-12 ปี ได้ทดลองใช้และให้ความไว้วางใจผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ทุกผลิตภัณฑ์ เรียกว่าเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะตัดแต่งทรงพุ่ม ทางดิน ใช้ ฮิวโม่-เอฟ 65 ละลายน้ำราดทั่วทรงพุ่ม เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ดินชุ่มชื้นตลอดแม้จะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ทางใบ จะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพต้น เมื่อถึงระยะที่ต้นลำไยมีความพร้อม จะใช้สารราดลำไย ลองก้า-เอ็น ทางดิน ประมาณ 3 ขีด ตามขนาดของต้น ใช้ละลายน้ำราดพื้นรอบทรงพุ่ม จากนั้นจะใช้ อิมเพล เปิดตาดอก คุณมานพ กล่าวว่า ช่อดอกแตกออกมาเป็นพุ่ม แขนงตาดอกที่อยู่ก้านใบก็ออกดอกเต็ม ชอบมาก และจะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ ฉีดพ่นทางใบ ห่างกัน 7-10 วัน ต่อครั้ง ทำให้ใบลำไยสีเขียวเข้ม ติดผลดก ผลลำไยเรียงตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าขนาด AA เมื่อระยะใกล้จะเก็บเกี่ยวหรือในช่วงที่เมล็ดในดำ จะใช้เคลียร์ ร่วมด้วยเพื่อช่วยขัดสีผิวผลลำไย ให้ผิวของผลลำไยมีสีเหลืองทอง

“เมื่อปีที่แล้วสามารถขายผลผลิตลำไยได้ประมาณ เกือบ 300,000 บาท แต่ในปีนี้คาดว่าจะได้รับเงินมากกว่าปีที่แล้วโดยประมาณ 700,000 บาท แม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เกิดพายุฤดูร้อนที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่าพายุงวงช้าง ชาวสวนลำไยที่มีอยู่ประมาณ 100 กว่าแห่ง เสียหายจากลมพายุ ประมาณ 70 แห่ง บางรายทั้งใบและผลหล่นร่วงหมดเหลือแต่ต้น แต่ที่สวนของตนเองเสียหายบางส่วนเท่านั้นในช่วงที่ผลลำไยยังเล็กอยู่ เมื่อผ่านพ้นระยะนั้นแล้ว ที่สวนยังมีผลลำไยติดอยู่จำนวนมาก กิ่งก้านใบ และช่อดอกแข็งแรง เป็นเพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด”

ส่วนที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว ชาวสวน วัย 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 8 บ้านแม่อ้อใน ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรประเภทหัวไวใจสู้ ที่ทำสวนลำไยที่เขตบ้านแม่อ้อใน มีสมาชิก จำนวน 30 กว่าคน แต่ละคนปลูกลำไยมากกว่าคนละ 10 ไร่ เช่น คุณเจริญ แดงหม่อง คุณสงัด ศิริ คุณอุทัย คำแก้ว เป็นต้น โดยมี คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท เป็นผู้ให้คำแนะนำและติดตามผลการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

ลุงแก้ว เล่าว่า พื้นที่ปลูกลำไยที่บ้านแม่อ้อในจะแตกต่างกว่าสวนลำไยที่เป็นพื้นราบทั่วไป ที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำชลประทาน มีระบบน้ำที่สมบูรณ์แบบ แต่ที่บริเวณบ้านแม่อ้อในนี้เป็นการปลูกลำไยบนพื้นที่สูงไหล่เขา อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ได้รับคำแนะนำจาก คุณสงัด ศิริ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยใช้ผลิตภัณฑ์ สามสหาย ประกอบด้วย โปร-ซีบีเอ็น พรีคัส และ แซมวิก้า ฉีดพ่นที่ใบลำไย เมื่อต้นมีความสมบูรณ์พร้อมแล้วจึงราดลองก้า-เอ็น ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

ลุงแก้ว เล่าอีกว่า แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทครบทุกตัวแล้ว ได้รับผลผลิตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ต้นลำไยโตมากขึ้น ตามอายุและขนาดของต้นลำไย ปีนี้ลำไย 14 ไร่ ขายได้ 680,000 บาท

ลุงแก้ว บอกด้วยว่า นอกจาก ลองก้า-เอ็น และ ฮอร์โมนสามสหาย แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ชอบมาก คือ เคลียร์ ทำให้ผิวลำไยสีเหลืองนวลสวยมาก โดยรวมปีนี้อากาศแล้งและร้อนมาก แต่ผลลำไยก็ยังคงอยู่ในเกรด AA มากถึง ร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ และเกรด A ประมาณ ร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

ส่วน คุณสงัด ศิริ เกษตรกร วัย 58 ปี บ้านเลขที่ 133 บ้านแม่อ้อใน กลุ่มผู้ปลูกลำไยบ้านแม่อ้อใน กล่าวเพิ่มเติมว่า ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาเป็นเวลา 3 ปี ต่อเนื่องทุกปี แล้วประสบผลสำเร็จทุกปี ตนจึงแนะนำให้เพื่อนบ้านในพื้นที่บ้านแม่อ้อในและพื้นที่ใกล้เคียงใช้ตาม ส่วนใหญ่แล้วประสบความสำเร็จทุกรายที่ใช้ตาม และในปีนี้ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาใช้ ชื่อ อิมเพล ทำให้รู้สึกว่าช่อดอกสมบูรณ์กว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา และทนต่อสภาพความแห้งแล้งเมื่อต้นปี ดอกไม่หลุดร่วงง่าย

พื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ คุณไพฑูรย์ ชัยวรรณา เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 61 ปี บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 4 บ้านทา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ปลูกลำไยอย่างใส่ใจ และประณีตการปฏิบัติงานในสวนของตนเอง อายุลำไย ประมาณ 10 ปี พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด มาเป็นเวลาประมาณ 6 ปีแล้ว ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้ ลองก้า-เอ็น ฉีดพ่นทางใบและราดบริเวณทรงพุ่มสลับกัน สภาพดินดีขึ้นมาก มีรากฝอยแตกออกมาใหม่ปริมาณมาก ทำให้ลำต้นสมบูรณ์

คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท รับผิดชอบการให้คำแนะนำแก่ชาวสวนลำไยในพื้นที่ ได้ให้คำแนะนำว่า ทางบริษัทได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน 8 ขั้นตอนง่ายๆ กับเทคนิคการทำลำไยในฤดู-นอกฤดู สำหรับเกษตรกรชาวสวนลำไย ได้แก่ 1. ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว 2. ระยะสะสมอาหารก่อนราดสาร 1 เดือน 3. ระยะราดสาร 4. ระยะเปิดตาดอก 5. ระยะดึงช่อดอก-ระยะดอกบาน 6. ระยะติดผลอ่อน 7. ระยะมะเขือพวง 8. ระยะเมล็ดในดำ

พื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้พื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบของไร่มะขามเทศ ไร่อ้อย และท้องนา อีกจำนวนหนึ่งปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ ขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตร เนื่องจากระบบชลประทานเข้าไม่ถึง จำนวนมากต้องขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ สำหรับพืชไร่และพืชสวน ส่วนที่นา อาศัยความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

หากมีเกษตรกรคนใด ปลูกพืชที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ในบางโอกาสจะถูกมองว่า มีความคิดที่แปลกแตกต่าง แต่ความคิดที่แปลกแตกต่างของเกษตรกรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จัดว่าเป็นความคิดที่แปลกแตกต่าง เพื่อก้าวสู่การพัฒนา ในแบบฉบับของเกษตรกรตัวจริง

ช่วงสายในปลายฤดูหนาว “เทคโนโลยีชาวบ้าน” เดินทางไปยัง หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยหอม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพบกับเกษตรกรหนุ่ม คุณณรงค์ ร่างใหญ่ ผู้ซึ่งผันพื้นที่ปลูกอ้อยเกือบ 3 ไร่ มาปลูกมะนาวแทน

“ใครๆ ก็คิดว่าผมบ้า หรือไม่ก็คิดแปลกแยกจากคนอื่น เพราะไม่มีใครคิดทำสวนมะนาวเลย”

คุณณรงค์ มีความรู้ทางด้านกฎหมาย จบการศึกษาระดับเนติบัณฑิต ชีวิตการทำงานก้าวเข้าสู่ระบบลูกจ้างได้เพียง 1 ปี ก็ลาออก ก่อนลงทุนปลูกสร้างอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และยังคงเดินทางยังภูมิลำเนาเดิมที่ตำบลห้วยหอมอยู่เป็นประจำ

คุณณรงค์ บอกว่า ในทุกครั้งของการเดินทางกลับมาเยี่ยมมารดาที่ตำบลห้วยหอม คิดเสมอว่า ไม่ควรปล่อยให้เวลาระหว่างการเดินทางไปกลับสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ รถที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถกระบะ ควรบรรทุกของหรือใช้ประโยชน์ให้คุ้ม น่าจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดีกว่า

“ผมมองเห็นว่า ตลาดมะนาวหน้าแล้งน่าสนใจ ราคาแพง ราคาตลาดขายอย่างต่ำ ลูกละ 6 บาท จึงเริ่มศึกษาจากหนังสือและเว็บไซต์ ผิดบ้างถูกบ้าง และเริ่มทดลองทำในพื้นที่เดิมที่ปลูกอ้อยเกือบ 3 ไร่ เปลี่ยนเป็นปลูกมะนาวเกือบ 500 ต้น เหมือนจะไปได้ดี แต่ไม่นานใบมะนาวเริ่มเหลืองโดยไม่รู้สาเหตุ ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้”

คุณณรงค์ ตัดสินใจเข้าอบรมการปลูกมะนาวนอกฤดู ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ และได้ผล คุณณรงค์ กลับมาแก้ปัญหามะนาวใบเหลืองตามความรู้ที่รับการอบรมมา ทำให้การแก้ปัญหาลุล่วงไปด้วยดี

พื้นที่เกือบ 3 ไร่ แบ่งเป็นบ่อกักเก็บน้ำ 1 ไร่ 2 งาน พื้นที่ที่เหลือ ทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ 2 ไร่ จำนวน 300 วงบ่อ ลงทุนครั้งแรกประมาณ 1.4 แสนบาท ต่อไร่

ใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร วางระยะห่างระหว่างแถว 4 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 3 เมตร

กิ่งพันธุ์ที่ใช้ เป็นมะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร 1 และแป้นพวง

สาเหตุที่เลือก 2 สายพันธุ์นี้ คุณณรงค์ บอกว่า เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มภาคกลาง เพราะตลาดที่คุณณรงค์มองไว้ คือ ตลาดภาคกลาง และพันธุ์แป้นพิจิตร 1 ทนทานต่อโรคและแมลง ส่วนพันธุ์แป้นพวง ลูกดก

การเตรียมดินสำหรับปลูกในวงบ่อซีเมนต์ คุณณรงค์ นำวัสดุปลูกประกอบด้วยดินนา ขี้วัว กากถั่วแระ กากถั่วเขียว จากนั้นไถผาล 7 ดินนาก่อน ทิ้งดินนาที่ไถแล้วตากแห้งเกือบ 1 เดือน แล้วไถผาล 7 อีกรอบให้ดินร่วนซุย นำขี้วัวและกากถั่วโรยแล้วไถกลับไปมา จากนั้นนำรถไถดันพื้นที่ปลูกให้เป็นคู วางวงบ่อ ตักดินใส่วงบ่อที่มีแผ่นรองด้านล่าง

ระบบน้ำและการให้น้ำ คุณณรงค์ใช้ระบบน้ำหยดกับมะนาวต้นเล็กๆ โดยให้น้ำในช่วงเช้า เพียง 5 นาที หลังจากมะนาวเริ่มโตก็เปลี่ยนระบบน้ำหยดเป็นมินิสปริงเกลอร์ ให้น้ำในช่วงเช้าเช่นเดียวกัน แต่ปรับเวลาเป็น 10-15 นาที

หลังจากมะนาวผลิยอดอ่อนให้เห็น คุณณรงค์จะขลิบยอดทิ้ง จากนั้น 15 วัน พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลในครั้งแรก และอีก 45 ต่อมา พ่นสารแพคโคลบิวทราโซลอีกครั้ง สำหรับอัตราความเข้มข้นของสารแพคโคลบิวทราโซล ชนิดความเข้มข้น 10% ในอัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

สารแพคโคลบิวทราโซล สมัครเว็บบาคาร่า เป็นสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของกิ่งใบ เมื่อกิ่งใบน้อยลง โอกาสการออกดอกก็มีมากขึ้น มะนาวที่จะบังคับให้ออกนอกฤดูได้นั้น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป

คุณณรงค์ อธิบายว่า ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝนตก ควรงดให้น้ำ โดยการนำผ้าพลาสติกกันฝนขนาดใหญ่คลุมรอบวงบ่อ สังเกตใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยว หลังจากคลุมผ้าพลาสติกประมาณ 10-15 วัน และนำผ้าพลาสติกคลุมออก เมื่อใบสลด เหี่ยวหรือร่วงประมาณ 75-80% ให้น้ำพร้อมปุ๋ย

เปลี่ยนนาข้าว หันทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ทำเงินมากกว่าที่คิด

วิกฤตชาวนา”ยิ่งทำ ยิ่งจน” จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ธรรมชาติลงโทษ ชาวนาหลายชีวิตต้องทิ้งที่นา ปล่อยให้ที่นารกร้างว่าเปล่า ดิ้นรนเข้าเมืองทำงานรับจ้างแทน “สุเทพ ชูศรี” วัย 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 3 ต.โรง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา พลิกผืนนาจำนวน 30 ไร่ เกษตรกรคนหนึ่งที่ประสบปัญหา หาทางออกด้วยการพลิกผืนดินนาข้าว 30 ไร่ เปลี่ยนอาชีพมาทำสวนมะพร้าวน้ำหอม จนประสบความสำเร็จ ด้วยการเพิ่มเทคนิคทำเป็นมะพร้าวโนบรา สร้างมูลค่าเพิ่มขายลูกละ50 บาท ฮิตติดตลาดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งขายในตลาดทั่วไปและห้างดัง

“สุเทพ”จากที่เคยทำนาข้าวมายาวนาน รายได้พออยู่พอกิน ชักหน้าพอถึงหลัง แต่ระยะหลังดินเสื่อมสภาพ ต้องใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีเพิ่ม ทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น โรคซ้ำกรรมซัดราคาข้าวตกต่ำ รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัว

จึงมองหาอาชีพใหม่ที่มีอนาคตมาทดแทนอาชีพทำนา เดินทางไปดูการทำการเกษตรหลายตัว จึงตัดสินใจทำสวนมะพร้าวน้ำหอมแทนตั้งแต่ปี 2551 เพราะมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ลงแรงปลูกมะพร้าวน้ำหอมในผืนนา 30 ไร่ 1,300 ต้น

จากอดีตที่เคยทำนาและประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำและเคยเป็นแกนนำปิดถนนประท้วงมาแล้ว แต่ก็ต้องถอดใจจนต้องเลิกทำนาในที่สุด

“เทพ”บอกว่าแรกๆปลูกมะพร้าวน้ำหอม ก็ยังไม่รู้ว่าจะหาตลาดที่ไหน แต่เมื่อมะพร้าวออกผลผลิตหลังปลูก 3 ปี ก็ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่คิด แต่กลับมีตลาดรองรับจำนวนมากทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง และใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งขายเองลูกละ 10-20 บาท ไม่คิดหวนกลับไปทำนาอีก เนื่องจากทำสวนมะพร้าวน้ำหอมมีรายได้ที่ดีกว่า

“ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวน้ำหอม โดยการคว้านให้เหลือเฉพาะเนื้อกับน้ำมะพร้าวและตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ว่า”มะพร้าวโนบรา” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์จนฮิตติดตลาด หลังจากที่ไปเห็นแถวภาคกลางและกลับมาลองทำดู จนขณะนี้จะทำเป็นมะพร้าวโนบราทั้งหมด ไม่ขายเป็นลูกหรือเป็นทลายเหมือนที่ผ่านมาเนื่องจากขายได้ลูกละ 50 บาทและ มีตลาดรองรับทั้งตลาดทั่วไปและส่งห้างเช่นห้างเซลทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ เพิ่มช่องทางตลาดทั้งไลน์และเฟสบุ๊คส์ มีกระแสตอบรับดีมาก”

“มะพร้าวโนบรา” ติดตลาดทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เนื่องจากการสับมะพร้าวที่เอาเปลือกและ แคะเอาเนื้อออกมา ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ไม่ให้เนื้อมะพร้าวแตกและ การแพ๊คกิ้งจะมีตะกร้าสานด้วยใบตาล รองก้นด้วยใบตองและใบเตย ส่วนหลอดดูดทำจากต้นลาโพธิ์ที่มีเป็นจำนวนมากใน อ.กระแสสินธุ์และ ซีลด้วยพลาสติก นำไปแช่เย็นเพื่อให้ดูดีและน่ารับประทานยิ่งขึ้น

ปัจจุบันคุณสามารถปลูกมะลิ 60 ไร่ มีต้นมะลิ 40,000ต้น ลองคิดเล่นๆ หากเก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ย 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือวันละ 420 กิโลกรัม คิดราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาทต่อกิโลกรัมก็วันละ 42,000 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,260,000 บาท

เหลืออีกเพียงวันเดียวก็จะถึงบรรยากาศ “วันแม่” แน่นอนว่าสัญลักษณ์ประจำวันสำคัญวันนี้ คือ “ดอกมะลิ”ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งราคามะลิในปีนี้ ล่าสุดเส้นทางเศรษฐีออนไลน์สำรวจราคาหน้าสวน พบว่า ราคาลิตรละ 450 – 500 บาท หากขายเป็นกิโลกรัม ตกกิโลกรัมละ 900 – 1,000 กว่าบาทเลยทีเดียว

คุณสามารถ นาคทั่ง เกษตรกรมะลิเงินล้าน ปัจจุบันอายุ 49 ปี เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า หลังจากเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร รุ่นที่ 1 ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมมาตลอด 20 กว่าปี ทั้งคุมเครื่องจักร อยู่แผนกไฟฟ้า ตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้จัดการโรงงาน รับเงินเดือนแสนกว่าบาท แต่ด้วยแรงกดดันและปัญหาสุขภาพรุมเร้า คือ หมอนรองกระดูกเสื่อม วิธีการรักษาที่ให้ผลดี คือ ต้องเดิน ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้มีความคิดอยากเปลี่ยนอาชีพ อยากหาสิ่งใหม่ให้กับชีวิต หนที่สุดลาออกมาเป็นเกษตรกร ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แถมรายได้ไม่น้อยหน้าเงินเดือนเลยทีเดียว

“ผมมีสายเลือดเกษตรกรเต็มตัว เพราะพ่อแม่เป็นชาวนา แต่เนื่องจากทำงานโรงงานมาตลอด ขาดประสบการณ์และความรู้ด้านการทำเกษตร เลยศึกษาอยู่นานว่าจะปลูกพืชอะไรดี ซึ่งหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลก็พบว่า พืชใบ และไม้ดอก ดูแลไม่ยาก ทำเงินได้ไว เลยเริ่มต้นปลูกมะลิก่อน ตามด้วยใบพลู บนพื้นที่ 20 ไร่ ณ คลองสิบสามรังสิต ปัจจุบันขยายเป็น 60 ไร่ เก็บใบพลูได้วันละ 200 กิโลกรัม เก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 420 กิโลกรัม หรือราว 7 กิโลกรัมต่อไร่”

คุณสามารถ เริ่มปลูกมะลิราวปี 2554 บนพื้นที่ 20 ไร่ เขาบอกว่า ใช้เงินทุน 1 ล้านบาท ปลูกต้นมะลิพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ใช้วิธีปักชำกิ่ง 15,000 ต้น หลังต้นพันธุ์ลงดินได้เดือนครึ่ง มะลิเริ่มออกดอก ให้เก็บขาย ซึ่งราคาดอกมะลิ ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด สภาพอากาศ และปริมาณผลผลิต ช่วงหน้าร้อน เดือน มีนาคม – มิถุนายน มะลิจะให้ผลผลิตเยอะ ราคาจะตก เหลือเพียงลิตรละ 35 – 45 บาท ส่วนช่วงหน้าหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – มกราคา มะลิออกน้อย ราคาแพง บางช่วงที่ขาดตลาด ลิตรละ 2,500 บาทเลยทีเดียว

ปัจจุบันคุณสามารถปลูกมะลิ 60 ไร่ มีต้นมะลิ 40,000ต้น ลองคิดเล่นๆ หากเก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ย 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือวันละ 420 กิโลกรัม คิดราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาทต่อกิโลกรัมก็วันละ 42,000 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,260,000 บาท

สำหรับช่วงวันแม่ในปีนี้ คุณสามารถ ระบุกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เตรียมมะลิไว้รองรับความต้องการของลูกค้าชนิดไม่อั้น ซึ่ง ตั้งแต่วันที่ 4-12 สค ทางสวนตั้งเป้าจะมีรายได้จากการจำหน่ายดอกมะลิราว 5 แสนบาท

นอกจากรายได้ดอกมะลิ คุณสามารถ ยังปลูกพลูกินหมากจำนวน 10 ไร่ ลงทุนไปหนึ่งล้านบาทเช่นกัน ซึ่งใบพลูเก็บขายได้ทุกวัน วันละ 200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 60 บาท มีรายได้ต่อวัน วันละ 12,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือนมีรายได้ 360,000 บาท

แม้จะมีรายได้ต่อเดือนมาก แต่ทั้งนี้ คุณสามารถ เผยว่า รายได้ดังกล่าวยังไม่หักรายจ่ายที่ดิน เป็นที่เช่า มีค่าแรงงานของคนสวนอีก แต่ก็นับว่า ชีวิตทุกวันนี้มีความสุข อาการเจ็บป่วยเรื่องหมอนรองกระดูกลดลง

ผู้ใช้เส้นทางจากนครราชสีมา มุ่งสู่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่คงมีโอกาสแวะชิมข้าวโพดหวานที่ไร่สุวรรณ ซึ่งมีชื่อเต็มๆว่า ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ข้าวโพดอร่อยที่ได้ลิ้มรสกัน เป็นผลงานวิจัยของ ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนตำแหน่งบริหาร คือผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ

สถานที่แห่งนี้ ตั้งอยู่ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อก่อนมีชื่อเสียงมากทางด้านพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือพันธุ์สุวรรณ 1 สุวรรณ 2

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ข้าวโพดหวานอินทรี 2 เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ดร.โชคชัย ใช้เวลาวิจัยข้าวโพดสายพันธุ์นี้อยู่ 6 ปี จึงได้ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์แท้SSWI 114 กับ KSei 14004 ผลที่ออกมานั้น ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,430 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝัดสดที่ปอกเปลือกแล้ว 1,371 กิโลกรัมต่อไร่ ความหวาน 15 บริกซ์

หลังเปิดตัว ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ทางศูนย์ฯได้เพิ่มพื้นที่การจำหน่าย ซึ่งมีจำหน่ายฝักดิบ ฝักที่ต้มสุกแล้ว น้ำนมข้าวโพด รวมทั้งเมล็ดพันธุ์

ดร.โชคชัยบอกว่า ทางศูนย์ฯได้วางแผนการผลิต โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก จึงมีผลผลิตจำหน่ายทุกวัน นอกจากนี้ มีผู้ค้าอยู่ริมถนนบริเวณใกล้เคียง ตั้งแผงขายซึ่งก็สร้างรายได้ให้ดีมาก รวมๆแล้วปีหนึ่งข้าวโพดหวานสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท

ข้าวโพดของศูนย์แห่งนี้ มีรสหวาน มีกลิ่นหอมมาก เนื่องจากเขาตัดจากแปลงปลูกที่อยู่ไกลไม่เกิน 40 กิโลเมตร แล้วรีบนำมาต้มหรือแปรรูป การขนผลผลิตจากแปลงปลูกที่อยู่ใกล้ ทำให้ความหวานและกลิ่นหอมยังคงอยู่

ในกรณีที่ตัดข้าวโพดมาแล้ว แต่ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 วัน ความหวานจะลดลง อย่างน้อย 1-2 บริกซ์ เวลาผ่านไป ความหวานก็ลดลงเรื่อยๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยจัดเสวนาเกษตรสัญจรไปดูงานที่นี่ ซึ่งต้องจองผลผลิตให้ผู้ร่วมเดินทางไว้ชิมไว้ซื้อ หากไม่จองอดแน่ เนื่องจากคนแวะกันมาก โดยเฉพาะเสาร์และอาทิตย์ คนแน่น แทบไม่มีที่จอดรถ

เมื่อปี 2554 ดร.โชคชัย ผู้วิจัย ได้รับรางวัล “ผลงานวิจัยสร้างผลกระทบ” และรางวัลอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน ได้ชิมข้าวโพดและเห็นคนแวะเวียนไปซื้อกันแล้ว ต้องยกนิ้วให้ งานวิจัยชิ้นนี้ เผ็นผลงานยอดเยี่ยมและสร้างผลกระทบในเชิงบวกอย่างมาก

ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างมีเบอร์ 044-361770-2 เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกิโลกรัมละ 500 บาท ถือว่าไม่แพง ส่วนข้าวโพดต้มและน้ำนมข้าวโพด ไปสอบถามราคาที่ศูนย์ฯได้เลย ปีนี้ไปทางไหนคนก็บ่นเรื่องความแห้งแล้ง ความไม่ปกติของธรรมชาติทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี เกษตรกรที่อาศัยธรรมชาติ จำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมการรับมือไว้ เพื่อสู้กับความแห้งแล้งนี้

ช่วงวันอาทิตย์ก่อนปั่นจักรยานผ่านไปทางตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา เห็นเกษตรกร สามีภรรยาคู่หนึ่งกำลังมัดผักกาดอยู่ที่แปลงผัก เลยลงไปพูดคุยด้วย ทราบชื่อว่า คุณเจริญ ปัญญาชื่น อยู่บ้านเลขที่ 349 หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ด้วยวัย 55 ปี มีลูก 2 คน คนโตเรียนจบแล้ว ทำงานเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช คนสุดท้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม ตั้งอยู่ตำบลติดกัน ถามว่าลูกชายมาช่วยงานบ้างหรือเปล่า คุณเจริญ ส่ายหน้า บอกว่าไม่เหมือนสมัยลูกสาวเรียน เดี๋ยวนี้ลูกชายมีแต่กิจกรรมของโรงเรียน วันหยุดก็ต้องเรียนพิเศษ ก็อาศัย 2 แรง สามีภรรยา หากวันไหนที่ต้องเก็บผักชีซึ่งต้องใช้แรงงานมาก ก็ต้องจ้างแรงงานเพื่อนบ้านมาช่วย

คุณเจริญ เล่าว่า ที่ดินที่ปลูกผักเป็นมรดกที่คุณพ่อมอบให้ จำนวน 2 ไร่ 2 งาน สันนิษฐานว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นชุมชน ดึกดำบรรพ์ หลายพันปีมาแล้ว เป็นแนวทางน้ำเพราะชุมชนโบราณมักจะตั้งอยู่ริมน้ำเพื่อสะดวกในการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค และการเพาะปลูก เมื่อเกิดโรคระบาดหรือน้ำท่วมใหญ่จึงอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น สมัยคุณเจริญ ยังเด็ก เห็นเขาขุดหินจากบริเวณนี้ไปถมเป็นถนนสายแม่ต๋ำ-แม่ใจ ต่อมาคุณพ่อของคุณเจริญ จึงบุกเบิกปรับที่ดินมาถมทำเป็นนา บางครั้งไถนายังเจอเครื่องใช้ในยุคโบราณ พบหินสีที่แตกต่างกันอยู่เป็นประจำ

เมื่อได้รับมรดกตกทอดจากคุณพ่อของคุณเจริญ ก็สืบทอดอาชีพการเกษตรทำนาปี เสร็จจากการทำนา ประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ก็จะเริ่มปลูกผัก โดยผักที่ปลูกประกอบด้วย ผักกวางตุ้ง ทั้งกวางตุ้งต้น และกวางตุ้งดอกหรือทางเหนือเรียกผักกาดจ้อน ผักชี ขึ้นฉ่าย หอมแบ่ง โดยผักกาดจะหว่านทีละแปลง พื้นที่ประมาณ 1 งาน จากนั้น 5-7 วัน ก็จะหว่านอีกแปลง เพื่อให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด การดูแลรักษา จะให้น้ำโดยดูจากสภาพความชื้นของดินมี 7 วัน หรือ 10 กว่าวันครั้ง โดยสูบปล่อยท่วมแปลง เนื่องจากที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย

จึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง อาศัยบ่อน้ำที่ขุดไว้ในบริเวณแปลงปลูกผัก ซึ่งน้ำไม่ลึกเท่าไร สาเหตุน่าจะมาจากเป็นพื้นที่ทางน้ำเดิมในสมัยโบราณ ดั่งที่คุณเจริญสันนิษฐานไว้ ปัญหาการปลูกผักของคุณเจริญ คือโรคเน่า โดยเฉพาะขึ้นฉ่ายและผักชี จะปลูกซ้ำที่ไม่ได้เลย และปัญหาหนักมากในส่วนของหมัดผัก เดิมมีการใช้สารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีกลิ่นฉุนมาก จะป้องกันได้นานเป็น 10 กว่าวัน แต่ปัจจุบันสารเคมีดังกล่าวถูกห้ามใช้ไปแล้ว ในส่วนของปุ๋ยจะใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่และขี้หมู คุณเจริญ ทราบดีว่า หากใช้เคมีอย่างเดียวจะทำให้โครงสร้างของดินเสีย แต่หากใช้ชีวภาพอย่างเดียว การเจริญเติบโตช้า โดยการใช้สารเคมีให้ถูกช่วงเวลา หากจะเก็บเกี่ยวก็งดก่อนอย่างน้อย 15 วัน

การตลาดนั้นจะมีพ่อค้าแม่ค้า เข้ารับผลผลิตถึงแปลง และอีกส่วนคุณเจริญจะนำไปส่งให้ผู้ค้าส่งในหมู่บ้านรับไปขายต่อ รายได้แต่ละปีก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผักว่างามหรือไม่ ราคาในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดว่าสูงต่ำอย่างไร อย่างผักชีที่ขายไปก่อนหน้านี้ประมาณ 1 งาน ผลผลิต 400 กว่ากิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 15 บาท ก็ได้ประมาณ 6,000 บาท ถ้าผักกาดงามๆ รายได้ประมาณ 5,000 บาท ต่องาน ไร่หนึ่งก็ได้ประมาณ 20,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 60 วัน ก็พอคุ้มค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและส่งลูกเรียน

คุณเจริญ บอกว่า ปีนี้ถือว่าแล้งจัดในรอบ 10 กว่าปี การปลูกพืชผักซึ่งเป็นพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่จะสู้กับภัยแล้ง แต่ก็ดูแหล่งน้ำที่จะใช้ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะตนเองไม่ได้ปลูกที่นี่แปลงเดียว มีปลูกบริเวณบ้านอีกแปลง จำนวน 3 ไร่ ใช้ระบบสปริงเกลอร์ แต่ตอนนี้ต้องหยุดเพราะน้ำไม่พอ แปลงนี้ดีเนื่องจากมีระบบ บ่อน้ำตื้นจึงสามารถที่จะมีผลผลิตออกจำหน่ายได้

ข้อมูลทางวิชาการของการปลูกผักกาดกวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้น สามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศ ทั้งในรูปของสวนผักการค้า

ราก เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น ลำต้น ตั้งตรง มีสีเขียว ขนาดโตเต็มที่ใช้กินได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ก่อนออกดอกลำต้นจะสั้น มีข้อถี่มากจนดูเป็นกระจุกที่โคนต้น

เมื่อออกดอกแล้วในระยะติดฝักต้นจะสูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 85-144 เซนติเมตร ใบ ใบเลี้ยงมี 2 ใบ มีสีเขียว ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ขอบใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ ขนาดเล็ก โคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร รูปใบเรียวแหลมไปทางฐานใบและปลายใบ ขอบใบเรียบ

ช่อดอกและดอก ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดดอกช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างไปหาด้านบน ดอกที่บานแล้วมีก้านดอกยาวกว่าดอกที่ตูม ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ขนาดดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกสีเขียวอ่อน 4 อัน ขนาดเล็ก กลีบกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบชั้นในสีเหลืองสด 4 อัน แยกเป็นกลีบๆ ขนาดกลีบกว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตร ยาว 1.1-1.2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 อัน อับเกสรสีเหลืองแก่ ก้านชูเกสรสีเหลือง รังไข่ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอกและเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัวเมียสีเขียว ยาว 0.2-0.25 เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มสีเหลืองอ่อน ดอกบานในตอนเช้าประมาณเวลา 08.00 น. ผล ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-1.5 เซนติเมตร และส่วนที่มีเมล็ด ยาวประมาณ 3-4.1 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2.5 เซนติเมตร ผลตั้งขึ้น เมื่อผลแก่จะแตกตามยาวจากโคนไปหาปลายผล เมื่ออ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล

เมล็ด ค่อนข้างกลม มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.5 กรัม ผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากคือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบที่ทางกรมวิชาการเกษตร ส่งเสริมแนะนำคือ พันธุ์น่าน 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นผักกาดชนิดไม่ห่อปลี ส่วนกลางของก้านใบค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวอ่อน ความยาวเฉลี่ย 19.5 เซนติเมตร (อายุ 40 วัน)

ความหนาของก้านใบเฉลี่ย 0.9 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร ใบสีเขียว ลักษณะยาวรี ความยาวของใบเฉลี่ย 30 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร ความสูงเมื่ออายุ 40 วัน เฉลี่ย 57.26 เซนติเมตร น้ำหนักต้นเฉลี่ย 550 กรัม ออกดอกเมื่ออายุ 50 วัน ลักษณะเด่นของพันธุ์น่าน 1 คือ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว อายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุระหว่าง 30-40 วัน น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นสูง ต้นไม่แตกแขนง ทำให้เสียหายน้อยในการบรรจุเพื่อการขนส่ง ไม่ออกดอกก่อนอายุ 40 วัน จึงสามารถทยอยเก็บเกี่ยวส่งตลาดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 วัน แต่ข้อเสียของพันธุ์น่าน 1 ก็คือ ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง

ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ำเสมอ ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม

ในประเทศไทยสามารถปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งได้ตลอดปี เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้น ในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูก กว้าง 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือตามความเหมาะสม ในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน 2 วิธีด้วยกัน คือ

การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรงวิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น ก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วน ผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอ แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลังจากนั้น คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร

การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถวการปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถว โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึงทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้ การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้น การใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่

เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการรดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง สำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว คือประมาณ 35-45 วัน การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป สำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ ดังนั้น การเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 0 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 สัปดาห์

สนใจแลกเปลี่ยนความรู้พูดคุยกันเรื่องการปลูกผัก ติดต่อได้ที่ คุณเจริญ ปัญญาชื่น บ้านเลขที่ 349 หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (085) 029-0864 ขอเป็นเรื่องปลูกผักนะครับ เรื่องอื่น นอกเหนือจากนี้ขออย่าได้รบกวนเวลาทำมาหากินกันเลยครับ

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศสวนพริกในจังหวัดหนองคาย ที่ส่วนใหญ่นิยมปลูกใกล้กับริมฝั่งแม่น้ำโขงช่วงนี้คึกคัก เกษตรกรเร่งเก็บพริกเพื่อส่งขายให้ทันกับความต้องการของตลาด และก่อนที่พริกจะเสียหายจากฝนที่เริ่มตกลงมาในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ราคาพริกมีราคาสูงสุดในรอบหลายปี โดยเฉพาะพริกพันธุ์เล็บมือนาง และพันธุ์ฮอต ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก จากเดิมที่มีราคาเพียงกิโลกรัมละ 25 บาทเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้พริกมีราคาสูงในช่วงนี้ เนื่องจากตลาดมีความต้องการมาก แต่ผลผลิตปีนี้มีน้อย เนื่องจากเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่พริกมีราคาสูงในช่วงนี้ ทำให้เจ้าของสวนหลายรายยอมจ่ายค่าแรง ให้กับแรงงานที่รับจ้างเก็บพริกสูงถึง 10-30 บาท ต่อกิโลกรัม พร้อมมีอาหารเครื่องดื่มเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมให้อีก เพื่อเป็นการจูงใจแรงงานให้มารับจ้างเก็บพริกที่สวนของตนเอง

ลิ้นจี่เป็นพืชที่ชอบสภาพอากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 10 วันขึ้นไป จึงจะติดดอก แต่ปีนี้จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่พันธุ์ค่อมเนื้อที่ปลูกรวม 7,500 ไร่เกือบ 2 แสนต้น ที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ เจอผลกระทบจากภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้ต้นลิ้นจี่ส่วนใหญ่ “ออกดอก แต่ไม่ติดผล” ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากการจำหน่ายลิ้นจี่กว่า 100 ล้านบาท ในปีนี้

คุณกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ตรวจสอบพบว่า ผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีอากาศร้อนสลับหนาวในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อฤดูการผลิตของต้นลิ้นจี่ โดยปกติทุกปีต้นลิ้นจี่จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพอุณหภูมิอากาศต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 15 วัน เอื้อต่อการติดดอกออกผลของต้นลิ้นจี่

แต่ภาวะอากาศแปรปรวนทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมแทน ทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกแต่ไม่ติดผลเกือบทั้งจังหวัด อย่างไรก็ตาม สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงครามตรวจสอบพบว่า ในปีนี้พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ทั้งจังหวัด มีต้นลิ้นจี่ที่ออกดอกและติดผลเพียง 4 ต้น ได้แก่ ตำบลวัดประดู่ 2 ต้น และตำบลเหมืองใหม่ 1 ต้น ของอำเภออัมพวา รวมทั้ง พื้นที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จำนวน 1 ต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา นางสาวจิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และคณะได้ร่วมกันกางมุ้งไนล่อนให้กับต้นลิ้นจี่ค่อม ของ คุณป้าบุญมา พวงสวัสดิ์ ที่ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 11 หมู่ที่ 5 ตำบลบางสะแก เพื่อป้องกันไม่ให้กระรอกและแมลงเข้ามากัดกินผลลิ้นจี่ที่ติดผล พร้อมเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมต้นลิ้นจี่ที่ติดผล 4 ต้น ซึ่งคาดว่า จะมีผลผลิตรวมกันกว่า 100 กิโลกรัม

ด้าน คุณปัญญา พวงสวัสดิ์ น้องชายของ คุณป้าบุญมา พวงสวัสดิ์ เจ้าของสวนลิ้นจี่ที่ติดผลในปีนี้ เปิดเผยว่า ทางสวนเตรียมเก็บผลผลิตออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจลิ้มรสลิ้นจี่สมุทรสงคราม ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ สำหรับสวนลิ้นจี่แห่งนี้ คุณป้าบุญมา ก็ไม่ได้ดูแลอะไรมาก แค่ดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่เชื่อว่า ต้นลิ้นจี่พันธุ์ค่อม อายุ 30 ปี ดังกล่าว เป็นต้นลิ้นจี่พันธุ์ดี จึงติดดอกให้ผลผลิตได้ทุกปีติดต่อกัน ทำให้ผู้สนใจหลายราย แม้กระทั่ง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอยากได้กิ่งตอนลิ้นจี่ต้นดังกล่าวนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งทางครอบครัวก็ยินดีที่จะแบ่งปันกิ่งพันธุ์ลิ้นจี่คุณภาพนี้ให้แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยผู้สนใจสามารถติดต่อกับ คุณปัญญา พวงสวัสดิ์ ได้ที่เบอร์โทร. (081) 944-6997

ทั้งนี้ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของ สมัคร GClub ลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ลิ้นจี่แม่กลอง” คือ หนามจะตั้งและแหลมกว่าลิ้นจี่ภาคเหนือ ระยะห่างหนามจะเสมอกันทั้งผล ไม่เป็นกระจุกๆ ลักษณะผลจะโย้นิดๆ ผิวผลตึงและกรอบ มีเนื้อหนาและกรอบ สีขาวอมชมพูเรื่อๆ เนื้อแห้ง มีกลิ่นหอม รสหวานติดฝาดนิดๆ และผิวเปลือกด้านในสีจะออกชมพู หากผิดจากนี้ถือว่าไม่ใช่ลิ้นจี่แม่กลอง

บรรยากาศภายในงานมหกรรม ชิมทุเรียนพันธุ์ใหม่ จันทบุรี 1

แต่ละวัน คึกคัก สนุกสนาน มีผู้สนใจทั้งในและต่างจังหวัดเดินทางมาแวะชิมกันจำนวนมาก บรรดาเกษตรกรมืออาชีพต่างให้ความสนใจซื้อกิ่งพันธุ์ลูกผสมกันหมดไปหลายสายพันธุ์ เกษตรกรรายใหม่ๆ หรือบรรดาผู้สูงวัยหลังเกษียณสนใจที่จะปลูกทุเรียน ขอคำปรึกษากับนักวิชาการในงาน…น่าปลื้ม ขอบคุณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ที่ได้ทำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างและจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ดีๆ รูปแบบใหม่ จับต้องและกินได้ สร้างความสุขให้ผู้มาเยือนท่ามกลางบรรยากาศที่ร้อนตับแตกในเดือนเมษายน ให้คลายร้อนและเต็มไปด้วยรอยยิ้ม…สนใจสอบถามรายละเอียด

มาแอ่วเมืองเหนือครั้งนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณวาท กาไชย เกษตรกรคนเก่งที่ปลูก ฝรั่งกลมสาลี ผสมผสานกับสวนลำไย อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 13 ตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ปัจจุบัน คุณวาทอายุ 54 ปี ยึดอาชีพปลูกลำไยเนื้อที่ 2 ไร่ หาเลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด แต่ระยะหลัง ฝนฟ้าไม่เป็นใจ ผลผลิตน้อยจนน่าใจหาย แถมบางปี เจอปัญหาลำไยล้นตลาด ทำให้มีรายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อ 4- 5 ปีที่แล้ว คุณวาท จึงตัดสินใจโค่นต้นลำไยลงบางส่วน และปลูกต้นฝรั่งกลมสาลี แซมระหว่างต้นลำไย

ต้นฝรั่ง เป็นพืชที่มีรากตื้นและแผ่กระจายในระดับความลึกจากผิวหน้าดินลงไปประมาณ 20 เซนติเมตร หากน้ำขังจะทำให้รากอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและตายได้ง่าย คุณวาทจึงต้องยกร่องปลูกฝรั่ง พร้อมขุดสระ 2 บ่อ เพราะโดยปกติ สวนฝรั่งจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอในช่วงการออกดอกและการเจริญของผล หรือมีปริมาณฝนไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000-2,000 มิลลิเมตร

สาเหตุที่คุณวาทเลือกปลูกต้นฝรั่ง เนื่องจากเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน ร่วมกับ ลำไยที่เป็นไม้ผล จุดเด่นประการต่อมาคือ

ฝรั่งกลมสาลี ให้ผลผลิตเร็ว ติดผลง่าย ปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด และเป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง

คุณวาท ซื้อกิ่งฝรั่งตอนมาในราคากิ่งละ 20 บาท รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ประมาณครึ่งก.ก.ต่อหลุม พร้อมเติมดินโดโลไมท์ ประมาณ 3-4 ขีด/หลุม เพื่อช่วยปรับสภาพดินและบำรุงให้ต้นฝรั่งแข็งแรงสมบูรณ์ ปลูกต้นฝรั่งในระยะระหว่างต้น 1.5 เมตร และระหว่างแถว 2 เมตร

โดยทั่วไป ต้นฝรั่งกลมสาลี มีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มเตี้ยแผ่กว้าง ใบค่อนข้างยาวรี อายุให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดก ผลกลมแป้น ผิวเขียวอมเหลือง ขนาดผลปานกลาง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อหนาละเอียดแน่นกรอบ สีขาว ผลที่แก่สามารถปล่อยผลไว้บนต้นได้นาน

คุณวาทย้ำว่า การปลูกต้นฝรั่ง น้ำ ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ในระยะเริ่มปลูกฝรั่งใหม่ ๆ ควรรดน้ำทุกวันจนกว่าจะตั้งตัวได้ ต้องคอยรดน้ำให้ดินชุ่ม หากปลูกต้นฝรั่ง ในช่วงฤดูฝน ก็จะช่วยประหยัดแรงงานได้อีกทางหนึ่ง เมื่อต้นฝรั่งมีอายุประมาณ 8 เดือนก็จะเริ่มผลิดอกออกผลเป็นจำนวนมาก

คุณวาท กล่าวว่า ระยะนี้ถือว่า ต้นฝรั่งยังไม่โตเต็มที่ ผลฝรั่งยังไม่ค่อยได้คุณภาพ ต้องเด็ดผลฝรั่งส่วนใหญ่ทิ้ง ปล่อยทิ้งอยู่บนต้นแค่ 3- 4 ลูกก็พอแล้ว คุณวาท ปฎิบัติอย่างนี้เรื่อยมา จนกระทั่งต้นฝรั่งมีอายุประมาณ 2- 3 ปี ถือว่าสภาพต้นสมบรูณ์เต็มที่แล้ว

คุณวาท เปิดเผยเทคนิคในการบำรุงต้นฝรั่งว่า หากมีน้ำจำนวนมากเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก ต้นฝรั่งจะก็ผลิดอกออกผลออกเรื่อยๆ ที่ผ่านมา คุณวาทสามารถเก็บผลฝรั่งออกขายได้ถึงปีละ 2-3 รอบทีเดียว

ในระยะที่ต้นฝรั่งเริ่มผลิดอก จะดูแลให้น้ำและปุ๋ยสูตร 13-13-21 อย่างเต็มที่ ประมาณต้นละ 2- 3 กำมือโรยรอบทรงพุ่ม ในช่วงปีแรก เมื่อต้นฝรั่งมีอายุครบ 2 ปีก็จะเพิ่ม

สัดส่วนการให้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเป็น 3- 4 กำมือ การดูแลรักษา ปัญหาเรื่องโรคและแมลง มีน้อยมาก ที่เจอคือ เพลี้ยอ่อน เมื่อเจอต้องรีบแก้ไขโดยฉีดสารเคมีเซฟวันตามอัตราที่ระบุไว้ข้างขวด

ขั้นตอนการบังคับการออกดอกของต้นฝรั่ง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมตัดแต่งต้นฝรั่งเป็นทรงพุ่ม เพื่อให้ต้นฝรั่งมีความสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมออกดอก ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ โดยเริ่มจากตัดปลายยอดกิ่งออกเล็กน้อยเพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการแตกกิ่งแขนง และเลือกกิ่งแขนงที่แตกจากลำต้นหลักไว้ จำนวน 3 กิ่ง โดยเลือกกิ่งสมบูรณ์ มุมกิ่งกว้าง สูงจากพื้นประมาณ 30-40 เซนติเมตร แต่ละกิ่งห่างกันพอประมาณ

รวมทั้งตัดแต่งควบคุมความสูงของทรงพุ่มไม่ให้เกิน 1.5 เมตรและความกว้างของทรงพุ่มไม่เกิน 2 เมตร และตัดแต่งภายในทรงพุ่ม โดยเลือกตัดแต่งกิ่งแขนงขนาดเล็กที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งไขว้ กิ่งเป็นโรค โดยยึดหลักตัดแต่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้นเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึงช่วยลดการระบาดของโรค

การไว้ผลในแต่ละรุ่นของฝรั่ง คุณวาทจะไว้ผลเพียง 1 ผล/กิ่งแขนงย่อย 1 กิ่ง เพราะฝรั่งกลมสาลีมีน้ำหนักมากหากไว้ผลตั้งแต่ 2 ผลขึ้นไป จะทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่ายและทำให้ต้นโทรมเกินไป หลังดอกบานประมาณ 1-2 วัน ฝรั่งจะเริ่มติดผล

สำหรับมือใหมที่เริ่มหัดปลูกต้นฝรั่ง ควรฝึกสังเกต หากพบว่า ดอกตัวผู้เริ่มโรยและเหี่ยวแห้ง ที่ปลายยอดเกสรตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่า ฝรั่งเริ่มติดผลแล้ว ผลฝรั่งจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมี ขนาดเกือบเท่าผลมะนาวประมาณ 4 สัปดาห์ หลังติดผล ก็ทำการห่อ ผลทันที โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงพลาสติกมา คลุมผลฝรั่ง เพื่อช่วยให้ผลฝรั่งมีผิวขาว สวย

คุณวาท นิยมใช้ถุงพลาสติกห่อหุ้มผลฝรั่งมากกว่า เพราะสามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่า ผลฝรั่งจะเริ่มสุกในช่วงใด ฝรั่งกลมสาลีจากสวนของคุณวาท มีขนาดผลโต น้ำหนักโดยเฉลี่ย

มากกว่า 6 ขีด -1 ก.ก. ทีเดียว คุณวาทจึงเลี้ยงผลฝรั่งสำหรับเก็บเกี่ยวเพียงต้นละ 40- 50 ผลเท่านั้น

ผลผลิตที่ได้จะเก็บขายส่งให้กับแม่ค้าที่แวะมารับซื้อผลผลิตถึงสวนในราคาก.ก.ละ 10 บาทเท่านั้น ฝรั่งกลมสาลีของสวนแห่งนี้ มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของแม่ค้า เพราะฝรั่งมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย แถมมีขนาดผลโต เตะตาลูกค้าทำให้ซื้อง่ายขายคล่องกว่าฝรั่งพันธุ์ทั่วๆ ไป

ทุกวันนี้ คุณวาทผลิตกิ่งตอนต้นฝรั่งจำหน่ายให้แก่เพื่อนเกษตรกรที่สนใจปลูกฝรั่งในราคากิ่งละ 20 บาทเท่านั้น หากใครสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกฝรั่งชนิดนี้สามารถโทรศัพท์พูดคุยกับคุณวาทที่หมายเลขโทรศัพท์ 080-5020169 ได้ตลอดเวลา

หากใครมีที่ว่าง ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็อยากแนะนำให้ลองปลูกฝรั่งเพราะเป็นไม้ผลที่ผลผลิตเร็ว ที่สำคัญมีอนาคตทางการตลาดที่สดใสมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ คนไทยจำนวนมากนิยมกินฝรั่งทั้งผลสดและฝรั่งดอง ฝรั่งสดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก ในปริมาณสูง และยังมีเยื่อใยสูง หากใครสามารถบริโภคฝรั่งสดได้ทุกวันจะช่วยแก้ปัญหาระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

บ้านกะลุบี เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมเทือกเขาบูโด อยู่ในเขตอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี สภาพแวดล้อมภูมิอากาศแบบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรม รายได้หลักคือ ยางพารา

กะพ้อ แม้เป็นเพียงอำเภอเล็กๆ แต่มีเรื่องราววิถีชีวิตผู้คนที่น่าสนใจอยู่มากทีเดียว เช่น ปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรนักพัฒนาผู้ริเริ่มโครงการปลูกพืชพันธุ์เกษตรทางเลือกต่างๆ ให้กับชาวบ้าน เพื่อให้ใช้เวลาว่างและเพิ่มเติมรายได้ เนื่องจากราคายางพาราขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะที่ตกต่ำ ชาวบ้านที่รู้จักกันเรียกขานกันว่า แบเซ็ง

แบเซ็ง หรือ แวอุเซ็ง แต วัย 61 ปี อาชีพเดิมเป็นเช่นชาวบ้านทั่วไป ยึดอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ด้วยมีความรักในอาชีพเกษตรกรรม จึงหมั่นเพียรเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผ่านการฝึกอบรมดูงานภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ และกลับมาทดลองในแปลงของตนเอง บนพื้นที่ 2 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 15/1 หมู่ที่ 7 บ้านกะลุบี อำเภอกะพ้อ โทร. (081) 275-6642 จนเริ่มเข้าใจเรื่องดิน เรื่องสมุนไพรต่างๆ การกินผักเป็นยา แบบคนในสมัยอดีต

จากสิ่งที่เรียนรู้และปฏิบัติ แบเซ็ง บอกว่า จากการที่ได้เรียนรู้อย่างจริงจังและนำมาปฏิบัติจริงจนประสบผลสำเร็จหลายอย่าง โดยเฉพาะการนำผัก พืชพันธุ์ต่างๆ มาขยายผล มาทดลองอย่างจริงจังจนประสบผลสำเร็จ และในช่วงเวลากว่า 10 ปี ได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ชาวบ้านเสมอมา

วันนี้ แบเซ็ง ได้รับการยกย่องเป็นหมอดิน ปราชญ์ชาวบ้านของอำเภอกะพ้อ และอำเภอสายบุรี ภายในพื้นที่การเกษตรของหมอดินแบเซ็ง มีกิจกรรมที่น่าสนใจและเปิดให้ชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น แปลงเกษตรปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อบริโภคเอง หรือผลิตเพื่อจำหน่าย การปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับพืช การใช้ปุ๋ยชีวภาพ และการเพิ่มรายได้แก่ชาวบ้านในการปลูกพืชเกษตรทางเลือกอื่นๆ ในยุคยางพาราราคาถูก

พร้อมกันนี้ ยังร่วมทำงานแนวทางการอนุรักษ์ป่า ปลูกป่า กิจกรรมอนุรักษ์นกเงือก การรักษาผืนน้ำ ลำธาร รักษาป่าต้นน้ำ เป็นต้น

แบเซ็ง ยังมองว่า ชาวบ้านไม่ชอบทำเป็นเชิงเกษตรพัฒนามากขึ้นเท่าที่ควร ยังคงทำเกษตรแบบชาวบ้านๆ ไม่แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เท่าที่ควร ดังนั้น แบเซ็งจึงคอยมองหา สอดส่องเรียนรู้กรรมวิธีใหม่ๆ หาช่องทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพ เพิ่มปริมาณ ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การจัดการคุณภาพยาง การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไม่ต้องซื้อปุ๋ย สามารถทำได้เอง

สำหรับในวันนี้ สิ่งที่แบเซ็งได้ใส่ใจเป็นพิเศษและเน้นย้ำให้ทุกคนได้คิดคือ การลด ละ เลิกการใช้สารเคมีต่างๆ ในการประกอบอาชีพการเกษตร แบเซ็ง ได้เล่าถึงจุดพลิกผันว่า เกิดจากวันหนึ่งลูกลิงกังที่เลี้ยงอยู่ เช้าวันนั้นซื้อแตงโมที่ตลาดมา เมื่อเอามาให้มันกิน พอในช่วงสายๆ ปรากฏว่าเจ้าลูกลิงของเราน้ำลายฟูมปากเลย อยู่มาได้สักพักหนึ่งก็ตายในเวลาไม่นาน

แบเซ็งเห็นดังนั้นจึงคิดได้ว่า ผลไม้มีสารพิษ มันโดนสารพิษเล่นงานแล้ว “เราก็คงไม่ต่างกัน ทานผลไม้ทุกวันๆ สะสมสารพิษไปไม่รู้เท่าไรแล้ว เห็นท่าปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ตั้งแต่นั้นมาจึงตัดสินใจปลูกผักไว้ทานเอง ไม่ยอมซื้ออีกต่อไป ตั้งใจหาความรู้ ศึกษาการเกษตรด้วยตนเอง จากแหล่งสื่อต่างๆ และเปลี่ยนพันธุ์ ยกแปลง ทดลอง ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ จนเข้าใจ และพัฒนาเพิ่มหลายสายพันธุ์เรื่อยๆ มา”

แรกๆ ก็ไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไร ขึ้นอยู่กับเวลา ด้วยความอดทนและใจรัก แบเซ็ง เล่าต่อว่า

“นานๆ เข้าพอชาวบ้านรู้ว่าเรามีอะไร ทำอะไร ก็เริ่มเข้ามาดู มาศึกษาที่เรามากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนเมื่อเราได้ขยับขึ้นไปอบรมดูงาน เป็นตัวแทนของชาวบ้าน และติดต่อเชื่อมกับหน่วยราชการ จึงทำให้ได้ทำงานเกษตรอย่างจริงจัง และตั้งใจศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ไปแนะนำชาวบ้าน ให้ประโยชน์แก่ชาวบ้านต่อไป ให้ได้มากที่สุด”

มาระยะหนึ่ง ข่าวการทำแปลงผักปลอดสารพิษของแบเซ็ง ได้ไปถึงคุณหมอ เป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลกะพ้อ ได้รู้มาว่ามีการปลูกผักปลอดสารพิษที่นี่ จึงสนใจ มาชม มาซื้อถึงที่แปลงเลย จึงทำให้แปลงผักของแบเซ็งเป็นที่รู้จักและสร้างความน่าเชื่อถือแก่ชาวบ้านมาตั้งแต่นั้นมา

พร้อมกันนี้ คุณหมอยังแนะนำให้แบเซ็งปลูกพืชผักสมุนไพร เพื่อให้ชาวบ้านนำไปขยายต่อ เพื่อชุมชนจะได้มีสุขภาพที่ดี มีพลานามัยแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เลือกกินอาหาร กินผัก กินพืชสมุนไพรกันมากๆ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน จะได้ไม่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลกันบ่อยๆ

ทุกวันนี้ คุณหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เข้ามาซื้อผักปลอดสารพิษที่นี่กันเป็นประจำอยู่ไม่ขาดสาย ในแปลงผักปลอดสารพิษมีพืชพันธุ์ที่น่าสนใจอย่างหลากหลาย ทั้งพืชในท้องถิ่นและต่างถิ่นที่นำมาปลูกศึกษาทดลอง เช่น เมนทอล หญ้าหวาน แปะตาปี้ รวมถึงพืชป่า เช่น ควายผู้ ปลาไหลเผือก เมล็ดมังกร ส่วนมากที่เป็นประโยชน์ซึ่งสามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้ดี นอกจากนั้น ยังมีพืชที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน เช่น การปลูกเห็ดในสวนยาง ปลูกข้าวโพดในไร่ข้าว พืชตระกูลถั่ว ฟักทอง มันสำปะหลัง มันเทศ และอื่นๆ

ขณะนี้ ชาวบ้านเริ่มเข้ากลุ่ม จัดการตัวเองเป็นสมาชิก ขยายแปลงปลูกผักกันหลายคนแล้ว ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ระหว่างทดลอง ติดตามผล และไปแนะนำเพิ่มความรู้ให้แก่ชาวบ้านแบบตัวต่อตัว คาดว่าอนาคตจะดีขึ้นอีก เพิ่มผลิตผลออกมาเพิ่มมากขึ้น

ในอนาคต แบเซ็งวางเป้าหมายไว้ว่า ให้ชาวบ้านเข้าใจเรื่องของป่าต้นน้ำ การรักษาป่า รักษาแหล่งน้ำ รักษาสัตว์ป่า “สิ่งที่ดีคือ ชาวบ้านต้องรักษาทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่นี้ให้สามารถรักษาไว้ได้ยาวนานที่สุด ต้นน้ำต้องรักษา ไม่สร้างมลภาวะให้กับแหล่งน้ำ ป่าไม้ต้องยังคงอยู่เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติ เมื่อต้นน้ำดี ปลายน้ำดี ตลอดลำธารดี สัตว์ป่ายังคงอยู่ ไม่ทำร้าย ไม่บิดเบือน ธรรมชาติก็จะยังคงอยู่ตลอดไป ข้างบนเขาดี ข้างล่างจะปลูกอะไรก็ไม่มีปัญหา ที่แหล่งแร่ธาตุมีสัตว์ แหล่งน้ำไม่เหือดหายไปไหน ทุกคนก็มีความสุข ปลูกอะไรขึ้นดี ขึ้นงามไปหมด ผักปลอดสารพิษ สุขภาพดี ความเป็นอยู่ย่อมดีมีความสุข” แบเซ็ง กล่าวในที่สุด

สับปะรดพืชเศรษฐกิจของไทยที่ปลูกส่งขายติดอันดับโลกในรูปของผลิตภัณฑ์แปรรูปนานาชนิด สร้างงานสร้างอาชีพให้ผู้เกี่ยวข้องมากต่อมาก โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย และขยายการผลิตกันมาโดยตลอด

ประเมินจากการขยายกำลังการผลิต และการลงทุนเพิ่มของโรงงานเก่า และจำนวนการเกิดขึ้นของโรงงานรายใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับราคารับซื้อ ผลผลิตสับปะรดจากชาวไร่ที่กลับตกต่ำแบบซ้ำซาก ชาวไร่สับปะรดต้องแบกรับภาระด้านต้นทุนเกือบทุกด้าน จนต้องหันมาพึ่งพาทางภาครัฐให้ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ขณะที่ชาวไร่หลายคนต้องแก้ปัญหาของตัวเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไป

คุณรุ่งเรือง ไล้รักษา ชาวไร่สับปะรด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่คร่ำหวอดกับอาชีพปลูกสับปะรดมานาน คิดนอกกรอบด้วยการนำพันธุ์สับปะรดฉีกตามาพัฒนาเชิงการค้าจนประสบความสำเร็จขายสับปะรดฉีกตาสร้างรายได้ไร่ละ 200,000 บาท เป็นการสร้างทางเลือกของเขาในอาชีพและได้สร้างโอกาสให้กับเพื่อนๆ ชาวไร่สับปะรดอื่นๆ เป็นการช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐและต้องง้อโรงงานแปรรูปแต่อย่างใด

การประกอบอาชีพอะไรของทุกคนก็เป็นไปตามความถนัด ความชอบหรือไม่ ก็สืบทอดกันตามมา การปลูกสับปะรดก็เป็นอาชีพหนึ่งของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่เป็นจุดกำเนิดการปลูกสับปะรดของประเทศไทยก็ว่าได้ เรามักจะรู้จักกันในชื่อสับปะรดปราณบุรี สับปะรดสามร้อยยอด มายาวนาน ซึ่งทั้งหมดก็เป็นพันธุ์ปัตตาเวีย ใช้ผลิตป้อนโรงงานแปรรูปที่มีอยู่มากมาย สร้างงานสร้างรายได้ให้ชาวไร่สับปะรดทั้งจังหวัด แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นชาวหัวหินโดยกำเนิด และคลุกคลีในวงการสับปะรดมานานพอควร ขอสรุปว่าชาวไร่สับปะรดนั้น บางปีจะดูดีเพราะราคารับซื้อของโรงงานปรับขึ้น เช่น ปี 2553 – 2554 ราคาก็ประมาณ 5-6 บาทต่อกิโลกรัม แต่เพียงไม่กี่เดือนราคาจะปรับลงมาอีก อยู่ที่ประมาณ 3-4 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนของชาวไร่

กลับมาที่เรื่องราวของคุณรุ่งเรือง เริ่มจากประวัติที่ไม่ใช่คนหัวหินแต่กำเนิด เพราะเกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ก่อนไปอยู่หัวหิน ในปี 2515 กับครอบครัวที่ 136 หมู่ที่ 11 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบฯ เริ่มด้วยอาชีพรับจ้างทั่วไปในงานเกษตร เมื่อมีเงินพอได้ก็หาซื้อที่ดินไว้ทำไร่ จาก 32 ไร่ จนในปัจจุบันมีที่ทำกินถึง 200 ไร่ ซึ่งก็ใช้ปลูกสับปะรดปัตตาเวียส่งโรงงานตลอดมา แล้วสะสมที่ดินเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นเกษตรกรนักพัฒนาชั้นแนวหน้าคนหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นชาวไร่สับปะรดตัวจริง

“ชาวไร่สับปะรดตัวจริง” ที่มอบให้คุณรุ่งเรือง นั้น อยู่ที่ความมุ่งมั่นจนประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำไร่สับปะรด สิ่งที่เห็นชัดเจนก็คือระบบการปลูกสับปะรดของคุณรุ่งเรืองนั้นแตกต่างกับชาวไร่สับปะรดคนอื่น เขาใช้หลักวิชาการมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติครบถ้วนตามระบบ GAP ตั้งแต่การเตรียมดินที่ดี ระบบการไถที่ลึก เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดิน วิเคราะห์ดิน คัดหน่อพันธุ์แยกปลูกแต่ละแปลงตามขนาด จุ่มหน่อพันธุ์ป้องกันโรคเน่าก่อนปลูก

จำนวนต้นไม่ต่ำกว่า 8,000 ต้น/ไร่ ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ตามสัดส่วน N – P – K และธาตุอาหารรอง มีการให้น้ำในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง บังคับการออกดอกตามระยะด้วยการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง คุมวัชพืชได้ดี ห่อผลสับปะรดป้องกันผลไหม้ เก็บเกี่ยวตามความแก่สุกของผลสับปะรดตามมาตรฐานของโรงงาน และรักษาข้อสัญญาซื้อขายกับทางโรงงาน และลูกค้าอื่นๆ ด้วยผลผลิตคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อกันด้านซื้อขาย

จากวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ทำให้สามารถผลิตสับปะรดได้ผลผลิตระหว่าง 8,000 – 10,000 กิโลกรัม/ไร่ ผลสับปะรดผ่านมาตรฐาน STD โรงงานเกือบทั้งหมด ส่วนสับปะรดขายผลสดรสชาติก็ยอดเยี่ยม ตรงนี้ทำให้เขามีต้นทุนที่ต่ำกว่าชาวไร่คนอื่นๆ และกำไรสูง แม้ราคาซื้อสับปะรดจะตกต่ำบางปี บางฤดู แต่เขาก็อยู่ได้ และสับปะรดปัตตาเวียที่คุณภาพดี คือ เนื้อแน่นก็จะถูกตัดเพื่อขายตลาดผลสดให้พ่อค้าที่มาซื้อถึงไร่และเป็นแบบขาประจำกัน จึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตไปอีก 1 – 2 บาท/กิโลกรัม

สับปะรดฉีกตา : เพิ่มมูลค่าผลผลิต

จากสถานการณ์ด้านราคาสับปะรดส่งโรงงานที่ไม่แน่นอนทำให้ชาวไร่สับปะรดมีความเสี่ยงด้านการทำมาหากิน อาชีพทำไร่สับปะรดดูจะไม่ค่อยมั่นคงหากไม่มีทางเลือกหรืออะไรใหม่ๆ มาเสริมหรือทดแทน

“ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ชาวไร่สับปะรดอยู่ได้เพราะมีหน่อพันธุ์ของตัวเอง และได้แรงงานในครอบครัวในการทำกิจกรรมต่างๆ แรงงานนั้นจ้างก็ราคาสูงแล้วก็หาได้ยากมาก ต่อไปชาวไร่สับปะรดจะมีปัญหามากขึ้น ครอบครัวผมทำทุกอย่างในไร่แล้วก็มีแรงงานประจำ 3 คนก็พอได้ ผมต้องวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกันช่วงเวลาและฤดูกาลและเป้าหมายที่ต้องการ ต้องฝึกให้เขาเรียนรู้ทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติ ตอนแรกๆ ก็มีปัญหาบ้าง แต่พอเข้าที่ทุกอย่างก็ปล่อยได้ คอยไปดูและให้ข้อแนะนำบ้าง สำหรับสับปะรดฉีกตานั้น ผมนำเข้ามาเมื่อปี 2540-2541 จากการที่ราคาสับปะรดโรงงานตกต่ำมาก ราคาซื้อ 1.20 – 1.50 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น ทำให้ผมคิดว่าควรจะหาสับปะรดพันธุ์อื่นๆ มาทดลองปลูกขายผลสด น่าจะเป็นทางเลือกได้” คุณรุ่งเรือง อธิบายความเป็นมาก่อนตัดสินใจนำสับปะรดพันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม

คุณรุ่งเรือง บอกด้วยว่า ในตอนนั้นได้นำเอาสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง, เพชรบุรี 1, เพชรบุรี 2 (เนื้อขาว), ภูแล, นางแล มาทดลองปลูกดู ซึ่งที่สุดก็เลือกเอาสับปะรดฉีกตา หรือพันธุ์เพชรบุรี1 ของศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี เพราะเห็นว่าดีกว่าทุกสายพันธุ์ แล้วก็ขยายพันธุ์ปลูกเพิ่ม สังเกตดูคุณภาพผลผลิตว่าเป็นอย่างไร เมื่อมีผลผลิตก็ทดลองนำออกขายตลาดหัวหินราคาขาย 10 บาท/กิโลกรัม และไปทดสอบการชิมที่งานพืชสวนโลกจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีการตอบรับที่ดี สับปะรดปัตตาเวียขณะนั้นราคาซื้อขายไม่เกิน 2 บาท/กิโลกรัม จุดนี้ทำให้คุณรุ่งเรืองมั่นใจว่า ความเด่นของสับปะรดฉีกตาจะเป็นโอกาสหรือทางเลือกใหม่ จึงขยายพันธุ์และผลิตเป็นการค้า ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกสับปะรดฉีกตาประมาณ 30 – 40 ไร่ ปลูกได้ผลผลิตประมาณ 100 ตัน/ปี ซึ่งตอนนี้ได้ขยายพันธุ์ขายไปพร้อมกันด้วย

เทคนิคการปลูกและดูแลรักษา บปะรดพันธุ์ฉีกตา หรือพันธุ์เพชรบุรี1 นั้นก็ใช้ระบบปลูกเหมือนกับสับปะรดปัตตาเวีย คือ เตรียมต้นให้ดี รองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้ไก่) สัก 1 ตัน/ไร่ คัดขนาดหน่อแยกปลูกตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ปลูกแบบแถวคู่ใช้ระยะปลูก 30 x 40 x 80 เซนติเมตร (ระยะต้น/ระยะแถว/ระยะแถวคู่) ปลูกได้ประมาณ 8,500 – 9,000 ต้น/ไร่ ฉีดสารคุมหญ้าด้วยไดยูรอนผสมโปรมาซิล ใส่ปุ๋ยหลักสูตร 46-0-0 ผสมสูตร 15-5-20 ช่วงแรกเมื่ออายุ 3 และ 6 เดือน ครั้งละ 10 กรัม/ต้น ประมาณ 2-3 เดือนหลังปลูกอีกด้วย ปุ๋ยทางใบโดยใช้ส่วนผสมของยูเรีย (46-0-0) 4-5 กิโลกรัม เหล็ก 5-6 กิโลกรัม สังกะสี 150 กรัม และโปรแตสเซียม 1.5 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1,500 ลิตร ฉีดพ่น 5 ครั้ง (เดือนละครั้ง)

หลังจากฉีดปุ๋ยทางใบครั้งสุดท้ายไป 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนกาแฟ/ต้น โดยใส่ที่กาบใบล่าง จนสับปะรดอายุ 9-10 เดือน จึงบังคับการออกดอกด้วยสารเอทีฟอนผสมปุ๋ยยูเรีย ตามคำแนะนำของฉลากรวม 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน ประมาณ 30 วัน จะเห็นดอกสับปะรดสีแดงที่กลางทรงพุ่มอีก 3 เดือน (90 วัน) ก็เก็บเกี่ยวได้ จะเก็บเกี่ยวผลได้เร็วกว่าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ประมาณ 15-20 วัน ฉีดปุ๋ยเสริมสูตร 7-12-34 ผสม 0-0-60 และไมเพลค ต่อน้ำ 1,500 ลิตรอีก 2 ครั้ง และเมื่อออกดอกไป 50-60 วัน ช่วงออกดอกและให้ผลผลิตจะทำการให้น้ำช่วยให้สับปะรดได้สร้างผลผลิตคุณภาพดี มีขนาดผลโตเนื้อแน่นขึ้น

คุณรุ่งเรือง บอกว่า ใช้วิธีการปลูกสับปะรดแบบหมุนเวียนพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ พื้นที่ปลูกใหม่ไว้ตอนขยายพันธุ์ แปรงพักฟื้นและแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งจะเก็บผลผลิตรุ่นเดียวแล้วไถกลบทิ้งไว้ แล้วไปปลูกที่แปลงพักฟื้นก่อนหมุนเวียนกันไป แบบทยอยปลูกโดยแบ่งเป็นแปลงละ 5 ไร่ และบังคับดอกครั้งละ 5,000 ต้น เพื่อบริหารจัดการด้านการขายผลผลิต ซึ่งโดยเฉลี่ยสับปะรดพันธุ์ฉีกตาให้ผลผลิตราวๆ 7-8 ตัน/ไร่ ต่ำกว่าพันธุ์ปัตตาเวียประมาณ 2 ตัน/ไร่ แต่เมื่อดูรายได้จากการขายผลผลิตแล้วจะต่างกันมากมาย

สับปะรดฉีกตา ราคาเป็นของผู้ผลิต

หลังจากได้มุ่งพัฒนาสับปะรดฉีกตาจนประสบความสำเร็จด้านผลผลิตและคุณภาพในระดับหนึ่งแล้ว คุณรุ่งเรืองได้เปิดตัวจำหน่ายผลผลิตและทดลองลูกค้าแบบง่ายๆ คือ เปิดร้านแล้วปอกให้คนได้ชิมดู และก็ประเมินผลว่าคนกินชอบหรือไม่ชอบ ก่อนขยายช่องทางจำหน่ายเต็มรูปแบบ เพราะปริมาณผลผลิตเริ่มมากขึ้น ตอนนี้เขามีร้านขายที่ลานจอดรถบริเวณร้านโกลเด้นเพลส (Golden Place) ที่ตัวเมืองหัวหิน ตลาดของอ.ต.ก. (องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) ห้างแฟชั่นไอร์แลนด์ ตลาดบองมาร์เช่ ร้านค้าถนนสายบายพาสหัวหิน หนองพลับ และบริเวณหน้าวัดห้วยมงคล (หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดของโลก)

สำหรับการซื้อขายนั้นส่วนใหญ่จะมีการสั่งจองกันล่วงหน้าทางโทรศัพท์นัดหมายจำนวน/ปริมาณที่ต้องการ ทั้งพ่อค้า-แม่ค้าขาประจำรายใหม่ และนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวหัวหิน และไหว้หลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล ปัจจุบันปริมาณผลผลิตยังไม่พอกับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นโดยตลอด และจากการที่เขาทราบข้อมูล ได้ลองชิม และอยากทดลองว่ารสชาติที่หวานหอม เนื้อเหลืองทองกรอบว่าจะเป็นอย่างไร จากความแปลกใหม่ที่สามารถฉีกออกเป็นตาย่อยได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ฯลฯ เหล่านี้ทำให้สับปะรดฉีกตามีราคาเพิ่มขึ้นโดยผู้ซื้อไม่เกี่ยงราคา

ขณะที่ผู้เขียนไปเยี่ยมสวนเพชรรุ่งเรือง (บ้านคุณรุ่งเรือง) ประมาณช่วงวันสงกรานต์ ราคาขายแบบเหมาทุกขนาดก็ราคาผลละ 25 บาท ขาดตัว ซึ่งผลผลิตที่ทำได้ก็ประมาณ 7,500 – 8,000 ผล/ไร่ (ราว 7-8 ตัน) น้ำหลักเฉลี่ย 1-1.2 กิโลกรัม/ผล ทำให้คุณรุ่งเรือง มีรายได้จากการจำหน่ายผลสับปะรดฉีกตาระหว่าง 180,000 – 200,000 บาท/ไร่/รุ่น ขณะที่สับปะรดปัตตาเวียส่งโรงงานราคาผลละไม่เกิน 4-6 บาท และสับปะรดปัตตาเวียผลสด กิโลกรัมละ 8 บาทเท่านั้น ไม่ต้องพูดถึงความต่างของรายได้จากผลผลิต หากคำนวณรายได้จากการขายหน่อพันธุ์สับปะรดฉีกตาไปด้วยแล้วจะตกใจ เพราะหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นแม่เดิมจะให้หน่อระหว่าง 3 – 5 หน่อต่อต้น ปล่อยไว้แล้วบำรุงให้น้ำ ให้ปุ๋ยสักพัก หักออกขายตามใบจองอีกหน่อละ 10 บาท เป็นไงครับเห็นทางรวยหรือยัง

สรุปว่าตอนนี้ คุณรุ่งเรือง กลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านการปลูกสับปะรดผลสดไปแล้ว ด้วยการคิดนอกกรอบ รับนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงสับปะรดฉีกตา ผลผลิตปีละกว่า 100 ตัน เขามองว่า ต่อไปในอนาคตผลผลิตจะมากขึ้น จึงคิดหาแนวทางรับสถานการณ์ไว้แล้วโดยการติดต่อหาเครื่องคั้นน้ำ และบรรจุขวดเพื่อทำน้ำสับปะรดฉีกตาซึ่งต่อไปก็จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น จึงเตรียมการด้านการแปรรูปไว้แล้ว

ผู้เขียนเห็นว่า คุณรุ่งเรือง เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่อัธยาศัยที่ดี ไม่หวงวิชา และไม่เอาเปรียบเกษตรกรและคู่ค้า นับว่าเป็นส่วนเสริมให้สินค้า (ผลผลิตสับปะรดฉีกตา) ไปได้โลดยิ่งขึ้น ปัจจุบันใช้บ้านและสวนเป็นสถานที่จำหน่าย (ติดต่อ) กับลูกค้า เพราะไปมาสะดวกมาก เดินทางจากถนนสายบายพาสชะอำ-ปราณบุรี ระยะทางก็สัก 4-5 กิโลเมตร พอถึงสี่แยกวัดห้วยมงคล (หลวงปู่ทวด) เลี้ยวขวามือ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรผ่าน อบต.หินเหล็กไปนิดหน่อยก็ถึงสวนเพชรรุ่งเรืองอยู่ขวามือ ขึ้นถนนไปห้วยมงคลประมาณ 6-7 กิโลเมตรถึงสี่แยกหนองตะเภาเลี้ยวขวาเข้าไป ป้ายเด่นชัดเจน เขาจะรออยู่ที่นั่น โทร.085-2996701

หลังจากแวะพบคุณรุ่งเรือง แล้วได้เดินทางไปวัดห้วยมงคล ไหว้หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดของโลก เพื่อเป็นสิริมงคล แล้วออกมาตรงสี่แยกตลาดห้วยมงคล ได้พบกับคุณโสภา พร้อมเพรียง และคุณพรอำนวย รักอยู่ สองสามีภรรยา ที่เปิดร้านจำหน่ายสับปะรดฉีกตาและสับปะรดปัตตาเวียอยู่ใกล้ๆ กับวัดห้วยมงคล

สองสามีภรรยา เล่าให้ฟังว่า ร้านคุณอ้อ เป็นเจ้าแรกที่เริ่มวางขายสับปะรดฉีกตา ซึ่งพันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์แท้ผลผลิตรับรองได้ไม่เพี้ยน สั่งมาจากศูนย์ฯ เพชรบุรี ที่ร้านนำหน่อพันธุ์มาขายบางส่วนรับมาจากศูนย์เพชรบุรี เมื่อก่อนขายดีมาก เดี๋ยวนี้ลดลงนิดหน่อยเพราะมีร้านเปิดใหม่เกือบ 20 กว่าแห่ง รอบๆ สี่แยกห้วยมงคลนี้ แต่ภาพรวมยอดขายก็ยังไปได้ ราคาขายนั้นแบ่งเป็น 3-4 เกรด ตามขนาดของผลคือ ผลใหญ่สุดราคาขายผลละ 100 บาท ผลรองลงมาราคาผลละ 70 บาท หรือ 3 ผลคิดให้ 200 บาท เกรดขนาดผลที่ 3 ขายผลละ 50 บาท ส่วนขนาดผลเล็กสุด ประมาณ 300 – 400 กรัม/ผล ขายควบ 3-4 ผลขายควบ 100 บาท ที่ร้านนี้ให้สั่งผู้ปลูกเก็บผลผลิตในระยะตาเต็ม – แก่เต็มที่ถึงสุกตาเหลืองอมเขียวสัก 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อวางขายได้หลายวัน

สำหรับผลสับปะรดฉีกตาที่ขายเหลือสุดท้าย คือ สุกมากจะนำไปกวน ซึ่งให้เนื้อสับปะรดที่กวนแล้วออกเป็นสีเหลืองทอง รสชาติอร่อยมาก กลิ่นหอมกว่าปัตตาเวีย ตอนนี้มีไร่ของตัวเองและกำลังขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น ส่วนหน่อที่นำมาขายนั้น ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หน่อใหญ่ขายหน่อละ 25 บาท ก็มีลูกค้าซื้อไปกันมากเหมือนกัน คิดว่าอีก 4-5 ปีข้างหน้าผลผลิตจะออกมามาก แต่ก็ยังดีกว่าสับปะรดปัตตาเวีย

บริเวณหมู่บ้านห้วยมงคลนี้ สมัครพนันออนไลน์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพราะวัดห้วยมงคลสร้างหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก นักท่องเที่ยวมาก อีกอย่างมีตลาด 2 แห่ง และจะมีตลาดน้ำแห่งใหม่ที่หมู่บ้านห้วยมงคลซึ่งผู้คนหรือนักท่องเที่ยวจะเข้ามามากกว่าเดิม จากการที่มาเที่ยวหัวหินแล้วเลยขึ้นมาตลาดน้ำหัวหิน ตลาดน้ำสามพันนามแล้วตรงขึ้นมาเลย เส้นทางสะดวกมาก ไปมาสะดวก มีอาหารและหลายอย่างให้ท่องเที่ยว ยังไงก็แวะไปอุดหนุนกันบ้าง ติดต่อร้านคุณอ้อ เบอร์ 082-0731100

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์