เกษตรกรในพื้นที่เจ้าของแปลงกระเพราป่ากว่า 15 ไร่ ที่วันนี้ได้พลิก

หลังจากได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร กับบริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลาดหลุมแก้ว ใน ‘โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน’ ได้รับความรู้ในการปลูกพืชภายใต้ จีเอพี ( GAP : Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมมาตรฐานระดับโลก ซึ่งเป็นแนวทางการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ปลอดภัย ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

“ตั้งแต่ลดการใช้สารเคมี แล้วหันมาใช้สารชีวภาพหรือจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมในการเพาะปลูกตามหลักจีเอพี กระเพราของเราจึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ตัวผมและภรรยา รวมทั้งคนงานก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้ปลูกกะเพราป่าที่มีความหอมกว่ากระเพราพันธุ์อื่น โดยมีบริษัท มารับซื้อผลผลิตในราคาประกันที่เป็นธรรมกับเกษตรกร จึงทำให้ผมมีรายได้ที่มั่นคง จัดการบัญชีก็ง่ายขึ้น รู้รายรับรายจ่ายแต่ละวันได้ทันที ผมปลูกกระเพราป่าส่งขายได้สัปดาห์ละ 700 กิโลกรัม รวมกับกระเพราเกษตรและโหระพา หักต้นทุนแล้ว มีกำไรประมาณเดือนละ 4-5 หมื่นบาท แต่ที่สำคัญคือทุกอย่างรอบตัวดีขึ้นทั้งคุณภาพชีวิตที่สามารถส่งลูกๆ เรียนหนังสือสูงๆ และยังส่งไปถึงผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในชีวิต”

นางวาสนา เปรียเวียง คือเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ได้ตัดสินใจทิ้งอาชีพพนักงานบริษัท เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับสามีและลูกๆ รวมทั้งสานต่ออาชีพเกษตรกรของพ่อแม่ และได้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน เมื่อปีที่ผ่านมา และเลือกนำความรู้ที่ได้รับมาทำเกษตรกรรมปลอดภัยแบบผสมผสาน

“แปลงของเราปลูกพืชหลายชนิด ทั้งกระเพราป่า กระเพราเกษตร ยอดมะรุม ใบชะพลู ใบบัวบก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง เพื่อลดการพึ่งพาพืชตัวใดตัวหนึ่ง และมีการรวมกลุ่มกับเกษตรกรละแวกเดียวกันในนามวิสาหกิจปลูกผักปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องราคาสินค้าที่ไม่แน่นอนและหาวิธีสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ที่ช่วยให้เราทันต่อความเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้เรื่องข้อกำหนดการใช้สารเคมีและสารชีวภาพที่แตกต่างกันของตลาดส่งออกในแต่ละภูมิภาค เวลาเกิดปัญหา ก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำ เช่น ในช่วงที่เกิดโรคระบาด หรือ
การปรับปรุงให้สินค้าไม่มีปัญหาก่อนจัดส่ง ตอนนี้สามารถปลูกกระเพราป่าขายได้สัปดาห์ละ 200 กว่ากิโลกรัม รวมกับพืช ตัวอื่นด้วยก็มีรายได้ตกเดือนละ 30,000 บาท เป็นรายได้ที่มั่นคงขึ้น และมีความสุขที่มีเวลาให้ครอบครัวและดูแลลูก ตามที่เราฝันไว้”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน” ไม่ได้ส่งเสริมเพียงแค่การเพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมอบองค์ความรู้อื่นๆ เช่นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของชุมชน ที่มิใช่เพียงช่วยสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสุขของคนในชุมชนดังเช่นที่ นางลำดวน ทองอำพันธ์ หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลระแหง ได้บอกเล่าให้ฟัง

“เดิมทีนอกจากทำนา ก็ยังมีการปลูกผัก ผลไม้ต่างๆ บ้าง ต่อมาแม่บ้านในชุมชนได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีขึ้นตอนนี้มีสมาชิก 32 คน เพื่อจะหารายได้เสริมให้ครอบครัว เรามองที่ผลผลิตในชุมชน เช่น มะม่วง กล้วย ขนุน ข่า ตะไคร้ ที่หากขายโดยตรงไม่ค่อยได้ราคาที่ดี ทางโครงการฯ ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่า มีทั้งที่ทำขายได้ตลอดปี เช่น กล้วยฉาบ และน้ำพริก ที่มีตลาดภายนอกมารับไปขาย และที่ทำตามฤดูกาล คือ ขนุนทอด แต่มีเท่าไหร่ก็จะมีหน่วยงานอย่าง อบต. มารับซื้อเกือบทั้งหมด อย่างกล้วยฉาบ ทำครั้งหนึ่งได้เงิน 1-2 พันบาท เดือนหนึ่งถ้าทำ 3 ครั้ง ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5-6 พันบาท หลายครอบครัวมีเงินใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น แล้วยังหันหน้ามาพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการฯ มาเยี่ยมถึงบ้าน ติดตามถามไถ่ และหาความรู้หรืออาชีพใหม่ๆ มาเสริมให้ตลอด เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ชุมชนของเรากลับมาเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”

“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ สู่วิถีเกษตรที่ยั่งยืน” เริ่มจากความตั้งใจจริงของบริษัทซีพีแแรม เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนรอบโรงงานลาดหลุมแก้ว สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนหลักธรรมาภิบาลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมแก่ผู้ที่สนใจ ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ด้านการปลูกพืชปลอดภัย การปลูกพืชแบบผสมผสาน ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ กระเพรา การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงห่าน การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเลี้ยงเชื้อไตรโคเดอร์มา
ทั้งยังสนับสนุนทางเลือกอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ที่เหมาะสมให้ครัวเรือน ที่สำคัญคือการรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ในราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร พร้อมเปิดโอกาสให้เกษตรกรในชุมชน นำผลผลิตมาเปิดตลาดจำหน่ายให้แก่พนักงาน ในโรงงาน เป็นการสร้างตลาดที่แข็งแรงให้แก่ชุมชน

โครงการนี้เป็น 1 ใน 38 โครงการซีพีเพื่อชุมชนยั่งยืน ที่ได้รับ รางวัล “ซีพี…เพื่อความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการเพื่อสังคมดีเด่น สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนสังคม ครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือฯ ในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่การสนับสนุนให้เกษตรกรมั่นคงและชุมชนยั่งยืนอย่างแท้จริง ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 เกิดจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมการข้าว ทำการศึกษาทั้งภายในมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยข้าว กรมการข้าว และแปลงนาของเกษตรกร ใช้เวลานาน 13 ปี เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวหอม ลำต้นเตี้ย เหมาะสำหรับใช้รถเกี่ยวที่เกษตรกรนิยมใช้กันในปัจจุบัน ให้ผลผลิตดี เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ผ่านการรับรองพันธุ์พร้อมขยายให้แก่เกษตรกร

ประวัติ ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ทำการผสมพันธุ์ครั้งแรกในฤดูนาปี 2547 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับผสมกับข้าวเหนียวหอมพันธุ์ กข 6 ปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก ทำการผสมกลับ 4 ครั้ง (ภาษาวิชาการใช้ คำว่า ชั่ว) จากนั้นจึงศึกษาพันธุ์โดยปลูก 4 แถว จำนวน 2 ฤดู คือ นาปี 2551 และนาปรัง 2552

จากนั้นจึงทดสอบผลผลิตภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งนาปีและนาปรัง ในปี 2553 ต่อมาในปี 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำความตกลงความร่วมมือกับกรมการข้าว ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีวิจัยข้าว จำนวน 3 ฤดู ที่ศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของเกษตรกรไปพร้อมกัน จำนวน 2 ฤดู

ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการของข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้คือ เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม เมล็ดเรียวยาว ต้นเตี้ยเหมาะสำหรับเกษตรกรที่ใช้รถเกี่ยวข้าว ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี จึงได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 รางวัลระดับดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2555 จากการสัมมนาวิชาการ กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนล่างและภาคเหนือตอนบน กรมการข้าว ล่าสุดได้รับการรับรองพันธุ์ กรมการข้าวพันธุ์รับรอง ชื่อ “กข-แม่โจ้ 2” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558

ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 เป็นข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวในฤดูนาปี ประมาณ 138 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 685 กิโลกรัม ต่อไร่ หากปลูกช่วงนาปรัง อายุเก็บเกี่ยว 146 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัม ต่อไร่ ลักษณะกอแบะ ลำต้นแข็งปานกลาง ความสูงประมาณ 105 เซนติเมตร ในฤดูฝน และสูง 99 เซนติเมตร ในฤดูนาปรัง รวงข้าวยาว ประมาณ 29.75 เซนติเมตร ลักษณะรวงค่อนข้างกระจาย คอรวงสั้น จำนวนเมล็ดดี ต่อรวง 113 เมล็ด เมล็ดร่วงง่าย

ข้าวเปลือกสีฟาง มีหางบ้าง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.70 มิลลิเมตร กว้าง 2.65 มิลลิเมตร หนา 2.03 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องยาว รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดี ระยะพักตัว 7 สัปดาห์ ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 คือเป็นข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมอ่อน เมล็ดเรียวยาว ลำต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง ทำให้ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน

ผลิตและจำหน่ายโดยหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว สาขาพันธุกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ติดต่อ นางสาวศิรินภา อ้ายเสาร์ โทร. (095) 676-4747

แปลงเตยหอมสีเขียวสดๆ ที่เห็นอยู่นี้อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยพื้นที่นี้เคยใช้ปลูกข้าว แต่ด้วยปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และพื้นที่ขาดแคลนน้ำไม่สามารถทำนาปรังได้ ทำให้เกษตรกรอย่าง คุณโพธิ์ ภูฆัง ได้ปรับพื้นที่นามาปลูกเตยหอมแทน เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกและดูแลง่าย และตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
คุณโพธิ์ บอกว่า เตยหอมเป็นพืชที่ใช้งานได้สารพัดประโยชน์ เป็นได้ทั้งอาหารและสมุนไพรแปรรูปส่งออกไปยังต่างประเทศอีกทั้งเป็นพืชที่ปลูก และดูแลง่ายกว่าพืชชนิดอื่นๆ
ถึงแม้การปลูกเตยหอมจะลงทุนสูงกว่าพืชอื่น เนื่องจากต้องมีตาข่ายพรางแสงในลักษณะโรงเรือน แต่ปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 10 ปี เรียกว่าเก็บกินกันยาวๆ
สำหรับการปลูกเตยหอม คุณโพธิ์ บอกว่าต้องให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมแปลงปลูกให้ดูแลและเข้าจัดการง่าย โดยแปลงจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีท่อระบายน้ำต่อออกมายังบ่อพักน้ำที่หัวแปลงแต่และแปลง ไล่ระดับสูงมาต่ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากเตยหอมชอบน้ำหมุนเวียน อีกทั้งในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำปริมาณมาก ต้องผันน้ำออกจากแปลง ไม่ให้ท้วมขังภายในแปลง

นอกจากนี้ ระหว่างแปลงจะทำทางเดินรอบๆแปลงทุกแปลง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าดูแล การใส่ปุ๋ยในแต่ละเดือน รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่จะทำกันทุกๆ 3 เดือน
ส่วนหน่อเตยที่นำมาปลูก จะเลือกหน่อที่ไม่สมบูรณ์มากนัก เมื่อปลูกลงดินและได้รับสารอาหารจะทำให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วกว่า
และด้วยธรรมชาติของเตยเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด จะใช้ตาข่ายพรางแสง ความโปร่งแสง 60 เปอร์เซนต์ โดยทำเป็นโรงเรือน แต่อย่าให้ร่มเกินไป เนื่องจากจะทำให้ไม้โตช้า จากนั้นจะเปิดน้ำเข้าแปลง สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 10- 15 เซนติเมตร ส่วนบริเวณรอบๆพื้นที่ก็จะสร้างธรรมชาติให้ร่มรื่น
ส่วนการปลูก จะใช้ต้นพันธุ์ที่มีราก ปักลงไปในแปลง เช่นเดียวกับการดำนา โดยระยะห่างระหว่างต้นและแถว โดย 1แปลงจะปลูกประมาณ 5 แถว ดูแลใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 5-6 เดือน ก็จะเริ่ม ตัดใบจำหน่ายทุกๆ เดือน ตัดหน่อทุก 3 วัน และตัดต้น ทุก 5 เดือน สร้างรายได้ดีกว่าทำนา แน่นอน เนื่องจากพิสูจน์มากว่า 10 ปี
สำหรับการลงทุนปลูกเตยหอมต่อไร่ อยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4-5 ตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาท 3 เดือนคุณโพธิ์จะมีรายได้เข้ามาในครอบครัว 24,000-25,000 บาท เป็นตัวเลขที่น่าสนใจมากๆ
สำหรับใครที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ตามที่สวนเตยหอม โทรศัพท์ 08-7167-2740

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ทนแล้ง ทนทานต่อโรคแมลง แถมขายผลผลิตได้ทุกส่วน ตั้งแต่หัวมันสำปะหลัง ลำต้น ใบมันสำปะหลัง ปัจจุบันเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ไม่ต่ำกว่า 570,000 ครอบครัว ที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

“ปุ๋ยมันสำปะหลัง” นวัตกรรมใหม่ จาก “สวนดุสิต”

“ผศ.ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์” และ “ผศ.ดร. สุรชาติ สินวรณ์” อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้พัฒนานวัตกรรมปุ๋ย คือปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดกำจัดพาราควอท (Suan Dusit Green Fertilizer) และปุ๋ยสวนดุสิตนาโนซิลิคอน (Suan Dusit Nano Silicon Fertilizer) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ควบคู่กับลดต้นทุนการผลิต เพื่อยกระดับรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของไทย ผลงานทั้ง 2 ชิ้น ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และได้รับรางวัลพิเศษ honorable mention ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 45 เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

สารพาราควอท (Paraquat) หรือชื่อทางการค้าคือ กรัมม็อกโซน (Gramoxone) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในการเกษตรกรรม โดยเฉพาะในแปลงมันสำปะหลังจะพบสารพาราควอทตกค้างในพื้นที่มากที่สุด สารพาราควอทก่อให้เกิดพิษต่อมนุษย์ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง และสารพาราควอทยังมีความเป็นพิษต่อพืชอื่น รวมถึงมันสำปะหลังเองด้วย โดยมันสำปะหลังที่ได้รับสารพาราควอทจะแสดงอาการไหม้ เกิดจุดตาย (Necrotic) บนใบ และใบแห้งตาย หากพ่นโดนส่วนยอดอ่อนจะทำให้ยอดแห้งตาย (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2557)

“สารพาราควอท (Paraquat) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย เมื่อนำไปใช้งานจะตกค้างในเนื้อดินนานประมาณ 8-9 เดือน ก่อนจะสลายตัวตามธรรมชาติ สาเหตุที่สารพาราควอทสลายตัวได้ช้าเพราะซึมลงเนื้อดิน ทำให้ไม่โดนแสง ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรมลง เพราะสภาพดินที่แข็งและเหนียว ทำให้ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถขยายหัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ “การใช้หลักธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ” ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าว

เมื่อปี 2557 คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารพาราควอทที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแยกแบคทีเรียจากดินในแปลงมันสำปะหลัง ที่ปนเปื้อนสารพาราควอท จากการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายพาราควอทมากที่สุด คือ Aeromonas veronii (GenBank accession number JN880412) จึงนำแบคทีเรียดังกล่าวไปจดทะเบียนรับรองเชื้อพันธุกรรมกับธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร

ทีมนักวิจัยได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดในรูปปุ๋ยชีวภาพ อัดเม็ดเคลือบแบคทีเรีย เพื่อช่วยย่อยสารพาราควอทที่ตกค้างในดิน ปุ๋ยชนิดนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสัดส่วนของธาตุอาหาร NPK 15-7-28 ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง

คณะวิจัยได้นำปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวไปประยุกต์ใช้แหล่งปลูกมันสำปะหลัง เริ่มจากการขยายเชื้อแบคทีเรีย โดยนำปุ๋ยสวนดุสิตไบโอกรีน 25 กิโลกรัม มาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ขายตามท้องตลาด 25 กิโลกรัม ในถังพลาสติกที่มีฝาปิด (ควรใส่ถุงมือทุกครั้งก่อนสัมผัสปุ๋ย และล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสปุ๋ยข้างต้น) หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้ช้อนปลูกหรือส้อมพรวน ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม เป็นเวลา 3 วัน ก่อนนำออกมาผึ่งลมในที่ร่มจนแห้ง จึงนำไปใช้ได้

วิธีใช้กับแปลงปลูกมันสำปะหลัง จะหว่านปุ๋ยชีวภาพ ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยใส่ที่ระยะ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) และระยะ 5 เดือนครึ่ง (165 วัน) หลังปลูกมันสำปะหลัง และใส่เป็นสารปรับปรุงดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินในแปลงให้เหมาะสม

“ผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียสามารถย่อยสลายพาราควอทที่ตกค้างอยู่ในแปลงปลูกมันสำปะหลังได้หมดภายในระยะเวลา 3 เดือน ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้นุ่มขึ้น หัวมันสำปะหลังขยายตัวได้ง่ายขึ้น และได้ผลผลิตสูงขึ้นเป็นเท่าตัว จากเดิมไร่ละ 3 ตัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 6 ตัน หากมีการดูแลจัดการแปลงที่ดี มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ จะได้ผลผลิตเพิ่มสูงถึงไร่ละ 9 ตัน แถมได้เปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้นอีก 30% ช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น” ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าว

ปุ๋ยสวนดุสิตนาโนซิลิคอน

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นแมลงปากดูดที่ระบาดในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย มีความรุนแรงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการสูญเสียทางผลผลิตและเศรษฐกิจค่อนข้างสูง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการกำจัดเพลี้ยแป้งมิได้ผลดีนัก เนื่องจากเพลี้ยแป้งสามารถอพยพย้ายหนีบริเวณที่มีฉีดสารกำจัดศัตรูพืชได้ แล้วย้อนกลับมาใหม่เมื่อสารกำจัดศัตรูพืชหมดฤทธิ์

ฉะนั้น การพัฒนาความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลังจึงเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อป้องกันเชิงรับในการบรรเทาความรุนแรงของการทำลายผลผลิตมันสำปะหลังลงได้ โดยให้ธาตุบางชนิดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลัง ซึ่งซิลิคอนเป็นธาตุที่มันสำปะหลังมีความต้องการในการช่วยการเติบโตและช่วยทำให้ผนังเซลล์ของมันสำปะหลังแข็งแรง ลดการทำลายของเพลี้ยแป้งลงได้ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างแป้งที่หัว (ราก) ของต้นมันสำปะหลัง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์เพิ่มขึ้นที่ใบ ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ได้แป้งที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพสูง

ผศ.ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ ได้ศึกษาวิธีสกัดสารซิลิคอนจากวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่การเกษตรพัฒนาเป็นปุ๋ยนาโนซิลิคอน เพื่อใช้เป็นสารเสริมการเติบโต แก้ปัญหาเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เนื่องจากพื้นที่เขตเกษตรกรรมมันสำปะหลังตำบลห้วยบง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิดเป็นจำนวนมาก อาทิ แกลบข้าว ฟางข้าว ชานอ้อย ข้าวโพด ไผ่ หญ้าคา เป็นต้น

วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ สามารถนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยนาโนซิลิคอนได้ เนื่องจากมีปริมาณซิลิกาสูง และปุ๋ยซิลิคอนที่มีอนุภาคเล็กระดับนาโน จะช่วยให้มันสำปะหลังดูดซึมซิลิคอนเข้าไปสะสมที่ใบอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผิวใบ ทำให้แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูไม่สามารถเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงได้

ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอนในชุมชน โดยใช้เตาเผาที่ทำจากถังน้ำมันเก่า ขนาด 200 ลิตร และใช้วิธีการบด เพื่อให้มีต้นทุนผลิตต่ำ ลดการซื้อปุ๋ยซิลิคอนที่ขายตามท้องตลาดซึ่งมีราคาแพง ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น จากผลผลิตมันสำปะหลังที่สูงขึ้นและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เป็นการลดปัจจัยการผลิตจากการใช้สารเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังประเภทซิลิคอนลงได้ 950-1,250 บาท ต่อไร่ (ใช้ 50 กิโลกรัม ต่อไร่) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชอื่น ที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ เช่น อ้อย ข้าว ได้ด้วย จึงนับเป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองของชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอน

เกษตรกรที่สนใจสามารถผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอนได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากล้างทำความสะอาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แล้วตากแดดให้แห้งสนิท นำมาเผาในเตาเผาถ่านแกลบ ชนิด semi-oxidize ขนาด 200 ลิตร โดยใส่วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรลงในถัง เกลี่ยให้เรียบเสมอ จนระดับผิวบนของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอยู่ต่ำกว่าท่ออากาศออกด้านบน ประมาณ 3 เซนติเมตร

หลังจากนั้น ใส่ฟางข้าว หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ลงไปบนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผา เมื่อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไหม้จนหมด ให้ปิดฝาท่ออากาศเข้าด้านล่างและปล่องควัน รอให้เตาเย็นลง (ใช้เวลา 7-8 ชั่วโมง) หรือทิ้งไว้ข้ามคืน เปิดฝาถังนำซิลิคอนออกกองไว้ในที่โล่งแจ้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้ว จึงบรรจุใส่กระสอบ นำซิลิคอนมาบดหรือตำให้ละเอียดด้วยครก แล้วนำมาร่อนผ่านตะแกรง ขนาด 60 เมช นำผงที่ร่อนผ่านตะแกรงไปใช้ได้ เมื่อต้องการใช้งาน ให้นำปุ๋ยไปฝังกลบ ในอัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ ที่ระยะ 1 เดือนครึ่ง (45 วัน) และระยะ 5 เดือนครึ่ง (165 วัน) หลังปลูก และสามารถใช้เป็นสารปรับปรุงดินในการเตรียมแปลงปลูกมันสำปะหลังได้

“ในช่วงฤดูแล้งที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ภาครัฐมักแนะนำให้เกษตรกรใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการจัดการระบบน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีต้นทุนค่าจัดการค่อนข้างสูง วิธีแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ ใช้ปุ๋ยนาโนซิลิคอนบำรุงต้นมันสำปะหลังให้เติบโตแข็งแรง เพื่อให้แมลงศัตรูพืชกัดกินลำต้นและใบได้ยากขึ้น แล้วยังลดปัญหาอาการใบร่วง ใบมีขนาดใหญ่ สังเคราะห์แสงได้มากขึ้น เปอร์เซ็นต์แป้งก็สูงขึ้นตามไปแล้ว” ผศ.ดร. ณัฐบดี กล่าว

ผศ.ดร. สุรชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมปุ๋ยมันสำปะหลังของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 500 บาท ถือว่ามีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับแม่ปุ๋ยยูเรียที่ขายในราคากิโลกรัมละ 900 บาท ดังนั้น หากเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง จะช่วยให้มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ลดลง และได้ผลผลิตคุณภาพดี ในสัดส่วนที่มากขึ้นด้วย ล่าสุดผลงานวิจัยดังกล่าว กำลังถูกผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ขอซื้ออนุสิทธิบัตร เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ อดใจรออีกสักนิด เกษตรกรไทยจะมีโอกาสทดลองใช้นวัตกรรมปุ๋ยใหม่นี้ในไม่ช้า

หากใครสนใจผลงานนวัตกรรมนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณภรภัทร โรจนมงคล ทายาทรุ่นที่ 2 ของบริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด บริษัทแปรรูปไม้ยางพาราส่งออก ตั้งอยู่เลขที่ 91/2 หมู่ 2 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้ง เป็นธุรกิจที่รับซื้อไม้ยางพาราที่ครบอายุการกรีดน้ำยางจากเกษตรกร แล้วนำมาแปรรูปเป็นไม้ยางพาราอบแห้ง ก่อนจำหน่ายในประเทศ 5 เปอร์เซ็นต์ อีก 95 เปอร์เซ็นต์ส่งจำหน่ายยังประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่รับซื้อไม้ยางพาราอบแห้ง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือ เครื่องเรือนตกแต่งที่อยู่อาศัย โดยบริษัทก่อตั้งมานานกว่า 16 ปีแล้ว

คุณภรภัทร กล่าวอีกว่า GClub V2 ธุรกิจแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งส่งตลาดประเทศจีน มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนมีการเติบโตในทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีวัฒนธรรมใหม่เป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น มีการก่อสร้างคอนโดและที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมาก ทำให้ความต้องการเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ตกแต่งภายในบ้านค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศจีนมองว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบคือไม้ยางพาราอบแห้งป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของประเทศจีนได้ตลอด ส่วนไม้ชนิดอื่น แม้จะมีคุณภาพมากกว่า แต่หากปริมาณการป้อนเข้าตลาดในประเทศจีนไม่ต่อเนื่อง ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจได้

“อดีตที่ผ่านมา โรงงานรับซื้อจากเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอเมืองตรังก็เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ปัจจุบัน วัตถุดิบจากในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง หรือแม้แต่ทั้งจังหวัดตรังก็ไม่เพียงพอแล้ว ต้องรับซื้อจากทุกจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งปัจจัยหลักที่ไม้ยางพาราไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากกว่า”

ในแต่ละวัน ความสามารถในการแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งของบริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด สามารถรับไม้ยางพารามาแปรรูปเป็นไม้ยางพาราอบแห้งได้มากถึง 500-700 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือจากการแปรรูป เช่น ปีกไม้ จะมีบริษัทรับซื้อไปใช้ผลิตพลังงานให้กับโรงไฟฟ้า หรือ โรงงานผลิตไม้อัดแผ่นอีกทอด ซึ่งที่ผ่านมายังไม่พบปัญหาในระบบการผลิต ยกเว้นในช่วงฤดูฝน ที่การผลิตอาจล่าช้าบ้าง เนื่องจากติดปัญหาในการขนย้ายจากแปลงของเกษตรกรออกมายังโรงงาน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการแปรรูปไม้ยางพาราอบแห้งจะมีปริมาณมากเท่าใด ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดผู้บริโภคในประเทศจีน

บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่การใช้งานทั้งสิ้น 46 ไร่ มีแรงงานผลิต 300 คน

การเลี้ยงสาหร่ายให้มีคุณภาพ น้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด

ความเค็มของน้ำจะอยู่ที่ระดับ 25-30 พีพีที ถ้าความเค็มต่ำกว่า 25 พีพีที นั้นสาหร่ายจะละลายหายไป และถ้าความเค็มสูงกว่า 40 สาหร่ายก็จะตายเช่นกัน และถ้าเกิน 35 พีพีที สาหร่ายจะมีกลิ่นคาว ในกรณีที่น้ำเค็มที่สูบจากทะเลเค็มเกินต้องเติมน้ำจืดเพื่อเจือจางในระดับที่เหมาะสม การเติมน้ำจืดควรระมัดระวังเรื่องคลอรีนที่ใส่ในน้ำประปา จึงควรมีบ่อพักน้ำ

แต่ถ้าน้ำมีระดับความเค็มน้อยจากการวัดค่าตอนสูบน้ำเข้าก็จะหยุดสูบน้ำเข้าเพื่อรอให้น้ำทะเลมีระดับค่าใกล้เคียงกับปกติ เช่น ในช่วงหลังฝนตกน้ำเค็มจะมีค่าน้อยกว่า ต้องทิ้งไว้สักระยะหนึ่งให้เข้าสู่ภาวะความเค็มปกติ แต่ที่หาดท้ายเหมืองโชคดีที่มีโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม และบ่อเลี้ยงกุ้งทิ้งน้ำเสียลงทะเล น้ำที่ใช้ตลอดปีจึงมีความสะอาดปลอดภัยกว่าที่อื่น ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อเลย ที่มั่นใจเช่นนี้เพราะคุณภาพของผลผลิตสาหร่ายจะเป็นตัววัดคุณภาพของน้ำ ควรจะต้องมีการตรวจค่าความเค็มของน้ำทุกๆ 3 วัน ถ้าพบว่าความเค็มลดลงหรือมากเกินก็ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทันที แต่ถ้าค่าความเค็มเหมาะสมก็สามารถเลี้ยงต่อไปได้อีก แต่ไม่ควรเกิน 5 วัน

เมื่อเตรียมน้ำเสร็จแล้ว ก็นำต้นสาหร่ายที่เป็นแม่พันธุ์มาใส่ในแผงเพาะสาหร่าย แผงดังกล่าวทำจากท่อพีวีซีและตาข่ายพลาสติกสีดำ รูตาข่าย 10 มิลลิเมตร เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 50 คูณ 50 เซนติเมตร ใช้ตาข่าย 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นที่อยู่ของสาหร่าย ชั้น 2 เป็นฝาปิด 1 บ่อ ลงได้ 9-10 แผง ต้นพันธุ์ที่เหมาะจะแข็งกว่าปกติ และมียอดอ่อนเป็นพวงขนาดเล็กๆ อยู่เต็ม เมื่อวางต้นพันธุ์สาหร่ายกระจายจนทั่วก็เอาตาข่ายชั้น 2 มาปิดไว้พร้อมมัดเชือกทั้งสี่ด้านป้องกันไม่ให้ต้นพันธุ์หล่นออกจากแผง แล้วนำมาหย่อนลงในบ่อตามความลึกที่ 30-60 เซนติเมตร จากผิวน้ำในบ่อ

ในช่วงระหว่างดูแลหมั่นสังเกตน้ำ ถ้าน้ำใสเกินไปแสดงว่าอาหารสำหรับสาหร่ายหมดแล้ว จึงควรถ่ายน้ำออกเอาน้ำใหม่เข้ามา และต้องตรวจค่าความเค็มทุกๆ 3 วัน น้ำที่ดีเหมาะสมกับการเลี้ยงสาหร่ายจึงจะมีความขุ่นเล็กน้อย ระดับของกระชังในฤดูร้อนควรจะต้องอยู่ลึกกว่าปกติ เพราะมีแสงแดดส่องทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงสุด ในช่วงหน้าหนาวสาหร่ายเม็ดพริกสามารถเจริญเติบโตได้ดีและผลผลิตมีจำนวนมากกว่าฤดูอื่น

ผลผลิตในฤดูหนาวสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 1 เดือน ส่วนฤดูฝนจะใช้เวลา 45 วัน และในฤดูร้อนจะใช้เวลา 50-60 วัน ส่วนผลผลิตในฤดูหนาวจะมีน้ำหนักถึงแผงละ 12-14 กิโลกรัม ส่วนหน้าฝนจะมีผลผลิตประมาณ 8-11 กิโลกรัม ส่วนหน้าร้อนผลผลิตสาหร่ายจะลดลงเหลือแค่ 6-8 กิโลกรัมเท่านั้น

วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ในฟาร์มนายหัวจะแบ่งเป็นบ่อเลี้ยง 12 บ่อ บ่อเพาะพันธุ์ 2 บ่อ รวมเป็น 14 บ่อ โดยปกติจะเลี้ยงคราวละ 3 บ่อ เพื่อให้มีผลผลิตต่อเนื่อง การเก็บสาหร่ายก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยดึงแผงเลี้ยงสาหร่ายขึ้นจากน้ำแล้วเอาสันมือกดลงไปที่ตาข่าย ช้อนเอาสาหร่ายมาใส่ภาชนะจนหมดแผง แล้วนำมาใส่บ่อที่มีเครื่องตีออกซิเจนที่มีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยง เพื่อให้สาหร่ายสะอาดปราศจากสิ่งเจือปนและเป็นการพักฟื้นให้สาหร่ายแข็งแรงทนทานต่อการขนส่งรวมถึงการเก็บรักษา ใช้เวลาในบ่อ 2-3 วัน จึงนำมาจำหน่าย

สาหร่ายเม็ดพริกจะถูกบรรจุในถุงซิปพลาสติกขนาดบรรจุ 1-2 กิโลกรัม แล้วใส่กล่องโฟมอีกที เพื่อไม่ให้ช้ำเสียหาย ส่งทางขนส่งสาธารณะทั่วไป ส่วนผู้ซื้อเมื่อได้รับสาหร่าย มีคำแนะนำว่าห้ามแช่น้ำจืดเด็ดขาดเพราะสาหร่ายจะละลายหายไปกับน้ำจืดและห้ามแช่ตู้เย็นสาหร่ายจะละลายเป็นน้ำ แนะนำให้เก็บในอุณหภูมิห้องซึ่งสามารถเก็บได้นาน 7-10 วัน และหมั่นรินน้ำที่ค้างถุงทิ้งด้วย สนนราคาสาหร่ายเม็ดพริกอยู่ที่กิโลกรัมละ 200-250 บาท ค่าขนส่งกิโลกรัมละ 100 บาท ค่ากล่องโฟม 40-100 บาท กล่องโฟมใหญ่สามารถบรรจุได้ 10 กิโลกรัม

สนใจลองชิมส้มตำสาหร่ายได้ที่ ร้านจ๊อสพิซซ่า หน้าหาดท้ายเหมือง หรือติดต่อสั่งซื้อสาหร่ายเม็ดพริกได้ที่ คุณจิระศักดิ์ มุสิแดง โทรศัพท์ (087) 566-9855

เป็นอันว่าเนื้อหาบรรยายกล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า สำหรับภาคเช้าเสร็จสิ้นเรียบร้อย สาระสำคัญของเนื้อหาจากวิทยากรทุกท่านถูกถ่ายทอดลงในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านครบทุกท่าน ขณะเดียวกัน หากท่านติดตามมาตลอดทุกตอนจะเห็นว่าทุกท่านปล่อยความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่ไม่มีเก็บ จนเมื่อมาถึงช่วงท้ายรายการจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้ถามปัญหาข้อสงสัยจากวิทยากรแต่ละท่าน

ถาม – ชื่อไพบูลย์ มีอาชีพทนายความมาจากจังหวัดศรีสะเกษ แล้วชอบงานเกษตรกรรมมาก พร้อมกับได้ติดตามงานสัมมนาของเทคโนฯ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้มาเข้าร่วมสัมมนาไผ่ จากนั้นนำไปต่อยอดจนขณะนี้มีอาชีพสวนไผ่เพิ่มขึ้น แล้วยังส่งไผ่ไปขายต่างประเทศได้รับความสนใจดี

สำหรับการมาร่วมสัมมนาเรื่องกล้วยในครั้งนี้ เท่าที่ฟังจากวิทยากรทุกท่านล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่อยากจะทราบว่าเคยปลูกกล้วยแล้วไม่ประสบความสำเร็จบ้างไหม ส่วนตัวผมเองได้ปลูกกล้วยน้ำว้าไว้บ้างเหมือนกัน แล้วพบปัญหาเรื่องแมลงหนอนกอกับโรคตายพราย ซึ่งสร้างปัญหาต่อการปลูกกล้วยอย่างมาก ดังนั้น จึงขอทราบแนวทางในการป้องกันและกำจัด

อีกประเด็นคือมีความสนใจที่จะปลูกมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งกว่าจะได้ผลผลิตต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี ฉะนั้น ระหว่างรอมะพร้าวถ้าต้องการจะปลูกกล้วยในสวนมะพร้าวมีทางพอเป็นไปได้มากน้อยอย่างไร อีกทั้งควรใช้พันธุ์กล้วยอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

คุณคมกฤช – กล้วยที่ปลูกอยู่เป็นกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 อันมาจากเนื้อเยื่อ และบางส่วนใช้หน่อจากที่อื่น ดังนั้น ในประเด็นหนอนกอ สิ่งที่พึงระวังคืออย่านำต้นพันธุ์หรือหน่อจากแหล่งที่ไม่รู้จักมาปลูกเพราะเสี่ยงมาก

ดังนั้น ถ้าต้องการหาพันธุ์กล้วยมาปลูกควรใช้ความละเอียดรอบคอบในการหาข้อมูลแหล่งพันธุ์ที่รู้จักหรือเชื่อถือได้ดีกว่า แต่สำหรับที่สวนของผมไม่ค่อยเจอปัญหาเช่นนี้เนื่องจากมีการบริหารจัดการอย่างดี ซึ่งแนวทางนี้เป็นการป้องกันหนอนกอหรือโรคตายพรายได้อย่างดี

ที่ผ่านมาพบว่าในสวนของชาวบ้านที่พบหนอนกอมักมาจากมูลวัวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ และโรคตายพรายควรแก้ไขด้วยการวางระบบน้ำ เพราะชาวบ้านที่เจอโรคตายพรายมักเป็นสวนที่ปลูกกล้วยแบบธรรมชาติใช้น้ำฝนอย่างเดียว

ส่วนการปลูกกล้วยในสวนมะพร้าวคงไม่มีปัญหา และควรใช้ระยะปลูก 4 คูณ 4 เมตร กับ 2 คูณ 2 เมตร อาจใช้น้ำว้ามะลิอ่องปลูกได้

ถาม – ชื่อสมศักดิ์ มาจากจังหวัดอุทัยธานี ปัจจุบันมีสวนกล้วยน้ำว้าอยู่ และมีความสนใจพันธุ์กล้วยน้ำว้ายักษ์ของอาจารย์พัชนี พร้อมกับต้องการทราบว่าที่ขุดด้วยแบ๊กโฮขนาดหลุม 1 เมตร เพื่อต้องการขายหน่อนั้น เวลาขุดหน่อขายไม่ลำบากหรือ?? เพราะขนาดที่สวนขุดลึกเพียง 50 เซนติเมตร ยังขุดหน่อด้วยความลำบากเลย

อาจารย์พัชนี – การขุดลึก 1 เมตร และกว้าง 1 เมตรกว่า เพราะต้องการให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์มาก แต่ถ้าต้องการขายหน่อจะขุดลึกเพียง 50 เซนติเมตรเท่านั้น ฉะนั้น การขุดหลุมลึกเพราะต้องการให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว กล้วยพันธุ์ยักษ์นี้ยังสามารถปลูกได้กับดินทุกชนิด เพียงแต่ต้องพิจารณาว่าดินชนิดนั้นมีลักษณะอย่างไร แล้วค่อยดูว่าจะขุดให้มีความลึกเท่าไร อย่างกรณีถ้าดินไม่สมบูรณ์ควรจะขุดให้ลึกและกว้างเพื่อนำดินที่สมบูรณ์มีคุณภาพมาถมใส่หลุมที่เรียกกันว่าการปรุงดิน

ถาม – ชื่อวิภาดา มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช สนใจแนวทางปลูกกล้วยอินทรีย์ตามที่คุณสมยศมีประสบการณ์มา เพราะที่ผ่านมาตัวเองได้ลงมือปลูกกล้วยแบบอินทรีย์แล้วแต่ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้เวลาผ่านไปหลายปียังไม่มีผลผลิตเลย ต่างจากเพื่อนบ้านที่อยู่ละแวกนั้นได้ปลูกกล้วยแนวอินทรีย์เหมือนดิฉันและปลูกเวลาใกล้เคียงกันด้วย แต่ของเขาได้ผลผลิตแล้ว จึงขอถามคุณสมยศว่าเป็นเพราะอะไร ทำไมจนป่านนี้ยังไม่มีผลกล้วย

คุณสมยศ – ความจริงปัญหานี้ตอบยากเพราะไม่เห็นพื้นที่ปลูกจริง แต่ถ้าจะพอประมวลเอาจากประสบการณ์อาจต้องพิจารณาจากปัจจัยปลูกเบื้องต้นก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นพันธุ์ วิธีปลูก คุณภาพดิน การดูแลใส่ปุ๋ย และความสมบูรณ์ของน้ำ เพราะการปลูกกล้วยยังไงก็ต้องมีผลออกมาบ้าง เนื่องจากเป็นพืชที่ดูดซับธาตุอาหารได้รวดเร็ว

อีกทั้งระบบรากของกล้วยยังหากินตามผิวดิน ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรใส่ปุ๋ยให้ตรงตามเวลาแล้วควรให้ห่างจากโคนต้น ในกรณีที่ต้องใส่มูลสัตว์จะต้องหมักไว้นาน 3 เดือน เพราะการใช้มูลสดจะเจอปัญหาหนอนกอทันที

กับอีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะการนำกล้วยไปปลูกในสวนยางพาราที่มีร่มเกินไป ขาดแสงแดดที่เพียงพอ เพราะความจริงกล้วยควรปลูกกลางแจ้งเพื่อให้ใบได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงในการปรุงอาหาร ฉะนั้น แนะนำให้ปลูกในที่โล่งมากกว่า

ถาม – มาจากเชียงใหม่ อยากถามคุณคมกฤชว่า ช่วงที่เหมาะสมกับการปลูกกล้วย เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคตายพราย คุณคมกฤช – ได้ยินมาบ่อยเหมือนกันว่าควรปลูกกล้วยก่อนหรือหลังเข้าพรรษาจะดีกว่าเพราะจะได้ป้องกันโรคตายพราย ทั้งนี้ ความจริงแล้วถ้าสามารถจัดระบบการให้น้ำไว้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่ว่าจะปลูกกล้วยช่วงไหนก็ได้ทั้งนั้น

“เพราะที่สวนของผมได้วางระบบน้ำไว้อย่างดีจึงไม่เคยปัญหา ขณะเดียวกัน ข้อดีของการวางระบบน้ำก็คือสามารถกำหนดผลผลิตให้ออกตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญอันเป็นผลดีต่อการตลาด”

ในคราวหน้าเป็นการสัมมนาในช่วงสอง ที่ว่าด้วยเนื้อหาของการนำกล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้าไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ทั้งแบบผลสดที่เป็นหวีส่งเข้าห้างสรรพสินค้าดัง หรือแยกขายเป็นผลเดี่ยวส่งขายตามร้านสะดวกซื้อ รวมถึงการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตาก ซึ่งผลสำเร็จของทุกธุรกิจไม่ได้มาแบบง่ายๆ แต่ผู้ประกอบการเหล่านั้นต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ ฉะนั้น กว่าจะมาถึงวันนี้พวกเขาต้องต่อสู้อะไรมาบ้าง ขอให้ทุกท่านติดตามอ่านในคราวต่อไปให้ได้

เชื่อว่าถ้าพูดถึงราชาผลไม้อย่าง ทุเรียน หลายท่านคงนึกถึงแหล่งปลูกฝั่งภาคตะวันออก อย่าง จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด หรือแหล่งใกล้กรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงคือ จังหวัดนนทบุรี แต่ครั้งนี้ท่านผู้อ่านอาจต้องแปลกใจ เพราะคราวนี้เราจะพูดถึงแหล่งปลูกทุเรียนใกล้กรุงเทพฯ อีกแห่งคือ ที่จังหวัดปทุมธานี หรือจะเรียกได้ว่าสวนแห่งนี้เป็นสวนทุเรียนแห่งแรกในจังหวัดปทุมธานีก็ว่าได้

นับว่าเป็นข่าวดีไม่น้อยสำหรับท่านที่ชื่นชอบทุเรียนเป็นชีวิตจิตใจ ถึงหน้าทุเรียนอยากจะรับประทานทุเรียนรสชาติดีๆ สักทีก็ไม่ต้องไปไกลแล้ว แต่ขอกระซิบนิดหนึ่งว่า ด้วยความที่สวนแห่งนี้อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่มาก จึงทำให้ผลผลิตหมดเร็ว ถ้าอยากรับประทานทุเรียนอร่อยๆ ต้องรีบจอง

คุณสุพจน์ ตันพิชัย คือเจ้าของ “สวนทุเรียนหมอนทองพลัดถิ่น” คลองเก้า บ้านเลขที่ 9/8 หมู่ที่ 7 ตำบลบึงสามกา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี คุณสุพจน์ มีอาชีพเป็นเกษตรกรอยู่แล้ว ทำสวนส้มเขียวหวานมาก่อน ปลูกส้มตั้งแต่ พ.ศ. 2531 แต่ต้องโค่นสวนส้มทิ้ง เหตุเพราะช่วงนั้นเกิดอาการโรคลูกร่วง โรคระบาด ส้มโตได้เท่าลูกมะนาวผลก็หลุด ไม่คุ้มทุน จึงเริ่มปลูกทุเรียนลงไป ในช่วงที่ปลูกส้มได้ทดลองปลูกทุเรียนไว้ก่อนหน้าประมาณ 10 ต้น ปรากฏว่าปลูกแล้วได้ผลดี รสชาติอร่อย ตนจึงโค่นสวนส้มทิ้ง หันมาเอาดีกับการปลูกทุเรียนอย่างจริงจัง ช่วงแรกระหว่างรอผลผลิต คุณสุพจน์จะปลูกกล้วยหอมแซมในสวนทุเรียนก่อน เพราะปลูกทุเรียนต้องรอเวลาผลผลิตนาน 7-8 ปี อาศัยหารายได้จากกล้วยหอม แต่กล้วยหอมสามารถปลูกได้แค่ปีเดียว หลังจากปลูกกล้วยหอมก็เปลี่ยนมาปลูกกล้วยน้ำว้าต่อ การปลูกกล้วยแซมในสวนทุเรียนก็สามารถสร้างรายได้ระหว่างรอผลผลิตทุเรียนได้เป็นอย่างดี แต่คุณสุพจน์บอกว่าทุกวันนี้ตนก็ยังทำสวนส้มอยู่ แต่สวนอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร

ถามว่า ทำแล้วได้ผลไหม ตอบว่าได้ แต่ก็จะมีช่วงที่เกิดปัญหาแบบที่นี่ มาตอนนี้มียาใช้ นำมาผสมน้ำ ใช้สว่านเจาะต้น แล้วใส่เข้าไป 3 เดือน ทิ่มทีหนึ่ง แต่ต้นทุนจะสูงหน่อย แต่วิธีนี้หายได้ผลดี ใบจะเขียว ลูกได้มาตรฐาน

ปลูกทุเรียน 42 ไร่ ได้ผลผลิตไม่มาก แต่คุ้มค่า

ที่สวนแห่งนี้มีทั้งหมด 50 ไร่ ปลูกทุเรียน 42 ไร่ แบ่งปลูกมังคุด 8 ไร่ ณ ปัจจุบัน รายได้ส่วนใหญ่ได้จากการปลูกทุเรียนหมอนทอง เพราะมังคุดเพิ่งเริ่มปลูกได้ไม่นาน และถ้าถามว่า ปลูกทุเรียน 42 ไร่ ได้ผลผลิตดีไหม คุ้มค่ากับการลงทุน และเวลาหรือเปล่า ตอบได้เลยว่าคุ้ม ถึงแม้ว่าผลผลิตที่ออกมาไม่เป็นที่แน่นอน บางฤดูออกผลดก บางฤดูติดผลพอประมาณ แต่ที่นี่จะได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดี ลูกใหญ่ เฉลี่ยแล้วลูกละประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม มีลูกละ 2 กิโลกรัมบ้าง เป็นส่วนน้อย เนื่องจากตนเริ่มปลูกทุเรียนได้เพียง 15 ปี ประกอบกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่แน่นอนด้วย

ปลูกทุเรียนที่ปทุมธานีไม่ได้ยากอย่างที่คิด สมัยที่คุณสุพจน์ปลูก ซื้อกิ่งพันธุ์มาจากนนทบุรีและจันทบุรี ราคาสมัยนั้นต้นละ 30 บาท สมัยนี้ไม่ได้แล้ว ต้นละเป็น 100 บาท คุณสุพจน์แนะนำว่าทุเรียนปลูกที่ไหนก็ได้ ขอให้มีน้ำ ทุเรียนปลูกได้ทุกดิน แต่ถ้าปลูกกับดินเหนียวรสชาติทุเรียนจะดี รสชาติจะเหมือนทุเรียนนนทบุรี แต่ดินเหนียวจะปลูกยากสักนิดเพราะดินเหนียวให้น้ำแฉะไป ดินแห้งยากต้องดูด้วย อาจจะลำบากหน่อย ถ้าปลูกดินเหนียวช่วงเล็กๆ จะโตดี แต่ตอนโตจะสู้ดินทรายไม่ได้ ระบบไร่จะโตเร็ว ต้นจะสูงกว่านี้

ขุดหลุม กว้างประมาณ 1 เมตร เวลาปลูกให้ยกลอยขึ้นมา เท่ากับให้เป็นเนิน ความลึกไม่มาก ประมาณ 30 เซนติเมตร เริ่มใช้ต้นกล้า อายุไม่มากความสูงของต้นประมาณ 70 เซนติเมตร วางต้นสูงจากพื้นดินมาครึ่งหนึ่ง เวลาปลูกเอาดินกลบหลุมแบบเดิม แล้วเอาต้นทุเรียนวางตั้งไว้ เพื่อให้รากขยาย ลงต้นไปครึ่งถุงทุเรียน เพื่อให้เป็นเนิน พรวนดิน เวลารากออกจะขยายง่าย เพราะพื้นดินที่นี่เป็นพื้นดินเก่า ไม่เหมือนดินใหม่ที่ร่วนอยู่แล้ว

ความห่างระหว่างต้นที่สวนคุณสุพจน์ ปลูก 6 เมตร ถือว่าแคบไปนิดหนึ่ง เพราะเราทำสวนส้มมาก่อน จึงปลูกระหว่างส้มก่อน พอตายปุ๊บมีตอส้มเราทำอะไรไม่ได้ ส้มที่ปลูกเว้นระยะห่าง ประมาณ 3 เมตร ต่อต้น จึงต้องเว้นระยะปลูกทุเรียนที่ 6 เมตร แต่ถ้าจะให้ดีต้องเว้นความห่างระหว่างต้นไว้ที่ 8 เมตร กำลังสวย กิ่งก้านจะขยายได้กว้าง อากาศเข้าได้ดี ผลผลิตก็จะได้มากกว่านี้

ช่วงปลูกใหม่ๆ ให้คลุมฟางไว้เก็บความชื้น รดน้ำบ่อยๆ ถ้าจะให้ดีใช้ซาแรนบัง เพราะทุเรียนปลูกใหม่ไม่ชอบความร้อน ทางที่ดีคือให้ปลูกไม้ผลช่วยบังแดด

ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 หรือใส่ปุ๋ยยูเรีย ใหม่ๆ ให้รดน้ำ ดูสภาพของดิน ถ้าดินแห้งรดบ่อยๆ เพราะทุเรียนถ้าแห้ง ใบจะร่วงแล้วตายไปเลย ช่วงแรก ใช้วิธีตักน้ำในร่องสวนรด เมื่อต้นทุเรียนโตขึ้นมาหน่อย เราจะใช้เรือรดน้ำ อย่าให้แฉะไป หรือแห้งไป ถ้าใส่ปุ๋ยก็ให้น้ำมากหน่อย

ช่วงก่อนออกดอกต้องเว้นน้ำ พอให้ใบเริ่มเหี่ยวนิดๆ แล้วค่อยรดน้ำเข้าไป สักพักดอกจะออก ค่อยๆ พรมไปเรื่อยๆ

ปลูก 4-5 ปี ออกดอก ฉีดยาฆ่าแมลง ดูแล ให้อาหารเสริม ให้เจริญเติบโต

นับจากดอกบาน 3 เดือนครึ่ง เก็บผลผลิตได้

ขนาดผล ขึ้นอยู่กับอาหารที่ใส่เข้าไป หมั่นใส่ปุ๋ย 1 ปี ใส่ปุ๋ยคอกครั้งหนึ่ง ปุ๋ยเคมีก็ต้องใช้บ้าง รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียว

ผลผลิต

ปลูกทุเรียน 42 ไร่ หักที่ตายไปบ้าง จะเหลือประมาณ 25 ไร่ 1 ปี ให้ผลผลิต ประมาณ 20 ตัน เพราะทุเรียนที่สวนยังไม่ดกทุกต้น แล้วแต่บางปีถ้าติดเยอะจะได้ผลผลิตประมาณ 20-30 ตัน

คุณสุพจน์ บอกว่า มีตลอด คือหนอนเจาะต้น ตัวนี้อันตรายที่สุด ยาฆ่าแมลงก็เอาไม่อยู่ ต้องหาให้เจอแล้วจับออกมาเอง ยาฆ่าแมลงให้ผลแค่คุมไม่ให้หนอนมาวางไข่ ต้นทุเรียนที่โดนหนอนเจาะ สังเกตจากต้นจะมีแผลเยิ้มๆ ปูดๆ ออกมา ดูยากมาก ต้องดูตอนเช้า-เที่ยง พอบ่ายจะมองไม่เห็น ถ้ากินเยอะให้ดูที่โคนต้น เปลือกไม้จะกองอยู่ เอาสกรูไรไปเคาะ ต้องหมั่นตรวจสวน เพราะถ้ากินแล้วข้างในต้นทุเรียนกลวงหมดเลย ดูภายนอกต้นจะปกติแต่ข้างในไม่เหลือแล้ว ถ้ากินทั้งต้นใบจะเหลือง กินไวมาก ตัวนิดเดียวแต่วันหนึ่งกินไม่ธรรมดา

การตลาด

ราคาขายทุเรียนที่สวนคุณสุพจน์ จะมีเฉพาะทุเรียนหมอนทอง กิโลกรัมละ 130 บาท ลูกเล็ก-ใหญ่ ขายราคาเท่ากันหมด ไม่มีตกเกรด แล้วแต่คนชอบ

เจ้าของขายเองโดยตรง ลูกค้าจะมาซื้อเองที่สวน แม่ค้ามารับที่สวนมีบ้างแต่น้อยมาก ส่วนใหญ่ลูกค้าจะโทร.มาจอง โทร.มาเร็วก็มีของ ถ้าช้าก็หมด ผลิตไม่ทันตลาด ไม่ต้องหาตลาด ถึงฤดูแม่ค้า ลูกค้า เข้าหาเอง ส่วนมากลูกค้าที่มาก็อยากได้ทุเรียนที่มีคุณภาพ รสชาติดี

เจ้าของบอกว่า ไม่คิดแปรรูป เพราะขายแบบนี้ง่ายกว่า ใช้แรงงาน 4 คน อยู่ได้สบาย ผลผลิตออกมาแบบพอดี ไม่ดกมาก เฉลี่ยลูกละ 3 กิโลกรัม ทุเรียนขนาดประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม กำลังอร่อย ตลาดนิยมตัดขาย 3 กิโลกว่าถึง 4 กิโล คนรับประทานจะชอบลูกไม่เกิน 3 กิโลกรัม ถ้ามากกว่านี้ราคาจะสูง ขายยาก

สำหรับท่านที่สนใจอยากปลูกทุเรียนในเมืองดูบ้าง หรือสนใจอยากรับประทานทุเรียนหมอนทองอร่อยๆ มีคุณภาพ สามารถติดต่อ คุณสุพจน์ ตันพิชัย ได้ที่เบอร์โทร. (081) 918-9072

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 เจาะพื้นที่พิษณุโลก ศึกษาสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ระบุชัด 4 สินค้าน่าจับตามอง อ้อยโรงงาน มะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออก กล้วยน้ำว้า และพืชผัก แนะดึง Agri-Map Online ช่วยบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่เหมาะสม และพัฒนาพื้นที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านดิน แหล่งน้ำ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับการผลิต

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรจังหวัดพิษณุโลก โดยการใช้แผนที่เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โดยในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สศท.2) ได้ศึกษาสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์อุปทาน และมีต้นทุนผลตอบแทนที่คุ้มค่าทดแทนการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม

จากการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีสินค้าที่น่าสนใจ 4 ชนิด ได้แก่ 1) อ้อยโรงงาน เนื่องจากมีโรงงานในพื้นที่ภาคเหนือรองรับผลผลิตมากถึง 9 แห่ง มีหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างเป็นระบบ 2) มะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออก มีตลาดในแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่น จีน เกาหลี มาเลเซีย และตลาดโซนยุโรป ยังมีความต้องการต่อเนื่อง และมีกลุ่มการผลิตต้นแบบศักยภาพสูง ที่อำเภอเนินมะปราง และอำเภอวังทอง 3) กล้วยน้ำว้า มีโรงงานแปรรูปและกลุ่มที่เข้มแข็ง เป็นสินค้าสร้างชื่อของจังหวัด และ 4) พืชผักปลอดภัย มีกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้การสนับสนุนของเทศบาลตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ เป็นแกนนำหลัก

สำหรับแนวทางพัฒนาพื้นที่ไม่เหมาะสมจังหวัดพิษณุโลก สศท.2 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานในการบริหารจัดการไว้ 3 ขั้นตอน คือ 1) เตรียมการศึกษาวิเคราะห์ด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจการเกษตร โดยคณะทำงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดร่วมบูรณาการข้อมูลและวิเคราะห์ประมวลผลสินค้าที่มีศักยภาพ จำแนกพื้นที่ตามการบริหารจัดการสินค้าเกษตรกรรมเป็นรายอำเภอ รายตำบล และกำหนดกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2) มีการวางแผนบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตด้วยข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยี นวัตกรรม งานวิจัย และ 3) พัฒนาระบบการตลาดสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมบูรณาการ และนำไปวางแผนปฏิบัติตามขอบเขตอำนาจหน้าที่

นอกจากนี้ กรณีพื้นที่ไม่เหมาะสมที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากเกษตรกรปลูกข้าวเพื่อการบริโภค และเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย ดังนั้น ให้มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพดิน พัฒนาแหล่งน้ำ ให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการผลิต ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปานกลาง (S2) ควรให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานสินค้าตามแนวทาง และรูปแบบของนาแปลงใหญ่ ซึ่งภาครัฐมีการสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการอยู่ก่อนแล้ว

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ โดยการใช้แผนที่เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก หรือ Zoning by Agri-Map หากเกษตรกรท่านใดต้องการทราบข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มเติมสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ Agri-Map Online หรือสอบถามจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในได้ในพื้นที่จังหวัด

กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้าระยะยาวพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทั้งในระดับจังหวัด เขต และประเทศไม่น้อยกว่า 58,520 ราย เพื่อเป็นบุคลากรสำคัญในภาคการเกษตร

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer นับเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ที่มีทิศทางแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นการเตรียมพร้อมกับการสร้างบุคลากรด้านการเกษตรรุ่นใหม่ให้มีความทันสมัยและทำการเกษตรอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ให้เป็นไปตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเกิดเครือข่าย Young Smart Farmer ทั้งระดับจังหวัด เขต และประเทศ ไม่น้อยกว่า 58,520 ราย

สำหรับแนวทางการสร้างและพัฒนา Young Smart Farmer เพื่อเป็นบุคลากรที่สำคัญในภาคการเกษตร มีวัตถุประสงค์หลัก 1.เพื่อให้ทันกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3.เสริมสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยที่เกษตรกรรุ่นใหม่จะต้องสามารถเป็นผู้นำทางการเกษตร มีความภาคภูมิใจในอาชีพพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่พึ่งให้แก่เพื่อนเกษตรกรได้ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ เข้าร่วมโครงการ 9,116 ราย และผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น Young Smart Farmer 5,477 ราย ซึ่งในปี 60 มีเกษตรกรคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการแล้ว 2,310 ราย

ด้านคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น YSF ก็คือ จะต้องมีความรู้เรื่องที่ทำ มีข้อมูลตัดสินใจ มีการจัดการผลผลิต/ตลาดใส่ใจคุณภาพรับผิดชอบสังคม/สิ่งแวดล้อมภาคภูมิใจที่เป็นเกษตรกร โดยเกษตรกรรุ่นใหม่จะต้องได้รับการประเมินศักยภาพและต้องผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี มีอายุระหว่าง 17 – 45 ปี ในด้านแผนการขับเคลื่อนการพัฒนา YSF จะประกอบไปด้วยหลักสูตรอบรมในแต่ละระดับ คือ 1.เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรุ่นใหม่แต่ละรุ่น 2.มีการพัฒนากิจกรรมการเกษตรด้วยนวัตกรรม รวมทั้งบริหารจัดการกิจกรรมเกษตรด้วยระบบ IoT(internet of Things) 3.พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (StartUp) รวมทั้งพัฒนาระบบธุรกิจเกษตรด้วยนวัตกรรม, Smart Farm, Digital Market 4.สินค้าเกษตรได้รับรองมาตรฐานสากล Go to Global และยกระดับผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่สากล

“สำหรับการดำเนินงานในปี 60 นี้ GClub Slot กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และเครือข่าย YSF ดำเนินโครงการตลาด YSF อ.ต.ก. โดยมีเจ้าหน้าที่ อ.ต.ก. มาเป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ความรู้ด้านระบบการบริหารจัดการตลาดแบบครบวงจร ให้กับเครือข่าย YSF ได้เรียนรู้การบริหารจัดการตลาด การสร้างช่องทางการตลาด เพื่อให้มีความพร้อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้การตลาดแบบหมุนเวียนของเครือข่าย และเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลาดของร้านค้า YSF พร้อมทั้งร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการตลาดแบบหมุนเวียน โดยมีตัวแทน YSF จากเขต 1-9 ทำการประเมินผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้การตลาดแบบหมุนเวียน และหาแนวทางร่วมกันในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลาดของร้านค้า YSF ต่อไป” นายสมชาย กล่าว

อย่างไรก็ดีเกษตรกรและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ YSF สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ ใกล้บ้าน หรือสามารถสมัครได้กับเครือข่าย YSF Thailand ซึ่งก็จะประสานกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรอีกทางหนึ่ง

พื้นที่ อ. ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี แม้จะมีโรงงาน และโครงการที่พักอาศัยเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของประเทศ ข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี ระบุว่าปีพ.ศ. 2558 มีอยู่กว่า 404,700 ไร่ หรือ 42% ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด โดยยังมีเกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนา และปลูกพืชสวนเป็นหลักอยู่ แต่เกือบทั้งหมดยังเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว มีการใช้สารเคมีสูง ทำให้ประสบปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิต และราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เกษตรกรต้องไถกลบหรือถอนผลผลิตทิ้ง เนื่องจากไม่คุ้มทุนกับค่าแรงงานในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ในช่วงที่สินค้าเกษตรมีภาวะตกต่ำ อีกทั้งการใช้สารเคมีไม่ถูกหลัก ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ที่สำคัญทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผืนดิน และแหล่งน้ำ

กำนันบอกว่า การจัดการสวนต้องเน้นเอาใจใส่ หญ้าใช้เครื่องตัด

อย่างเดียวการดูแลศัตรูอื่นๆ ก็ไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด ปุ๋ยใช้ปุ๋ยชีวภาพที่หมักเอง นอกจากประหยัดต้นทุนแล้ว ยังปลอดภัยต่อเจ้าของและผู้บริโภคอีกด้วย คุณณรงค์ ทูลสูงเนิน เกษตรอำเภอน้ำยืน บอกว่า คุณหนูจร เป็นเกษตรกรต้นแบบ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวอย่างในการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่นี่จะขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน แก้วมังกร และลำไย

คุณหนูจร บอกว่า ปัจจุบันญาติพี่น้องเริ่มทำตามตัวเอง อย่างน้อยก็ 3-4 แปลง

เรื่องการขาย คุณอำนาจ บอกว่า มีรายได้ทุกวัน ลูกสะใภ้จะนำไปขายตามตลาดนัดที่มีหมุนเวียนทั่วอำเภอ เขายกตัวอย่างรายได้ วันที่ไปสัมภาษณ์ ตรงกับ วันที่ 11 พฤษภาคม 2560 เขาบอกจะขายกล้วยได้ 500-600 บาท วันรุ่งขึ้น (12 พฤษภาคม 2560) ขายมะละกอฮอลแลนด์และเรดเลดี้ จะมีรายได้ราว 1,000 บาท

“ตลาดไม่ต้องห่วง แม่ค้าที่ห้อยขายตามทางเขาต้องการมาก แต่ไม่มีให้เขา บางครั้งมาเหมาไปหมด เขามาเอาเอง เขาบอกมีเท่าไรจัดเตรียมไว้” คุณหนูจร บอก

ถนนสายเดชอุม-น้ำยืน ริมถนน มีผู้ค้าขายผลไม้อยู่ริมถนน มักแวะมาซื้อผลผลิตจากคุณหนูจรเสมอ แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ นายสุทิน ทองเอ็ม เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ชาวสุโขทัย เปิดเผยว่า อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพของบรรพบุรุษ เนื่องจากพ่อ แม่และญาติพี่น้องส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประกอบกับมีใจรักในการเกษตร อยากปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคเอง เหลือจากแบ่งปันให้เพื่อนบ้านก็แบ่งจำหน่าย จึงได้ศึกษาจากแปลงที่ประสบผลสำเร็จ แล้วได้ดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสมด้วยตนเอง โดยในระยะแรก ทำในพื้นที่ของครอบครัวเป็นหลัก

หลังจากได้สมรสก็ได้ลงมือทำในกิจกรรมของตนเองอย่างเต็มที่ ได้นำความรู้จากการศึกษาด้วยตนเอง และดูแบบอย่างที่ประสบผลสำเร็จมาปรับใช้ในแปลง ของตนเอง มีการเพิ่มเติมกิจกรรมเรื่อยมา เน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กิจกรรมมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดต้นทุน โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบัน ด้วยการ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” เพื่อลดความเสี่ยงและอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ตื่นมาไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน แต่กลับกันทำให้เรามีรายได้ทุกวันจากผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ ทั้งผักสดปลอดสารพิษ กบ ปลา ไข่ไก่ ชาวบ้านสามารถมาเดินเก็บ หรือจับขึ้นมาชั่งกิโลเองได้เลย นี่คือแนวคิดใหม่ในการจำหน่ายสินค้า

การผลิตลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีรายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นการทำการเกษตรปลอดสารพิษ มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากกลุ่ม ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่สำคัญมีบ่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภคและเพื่อการเกษตรได้ตลอดปี ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้แปลงไร่นาสวนผสมตัวอย่างของเกษตรกรในชุมชนและข้างเคียง และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนอีกด้วย

“เราต้องเปลี่ยนเรือกสวนไร่นาให้กลายเป็นห้างสรรพสินค้า เพื่อให้คนมาเดินซื้อหาได้เอง เกษตรกรจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บ และเสียเวลาในการนำผลผลิตออกไปขาย โดยได้มีการจัดสรรที่ดินของตัวเองที่มีอยู่ประมาณเกือบ 30 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ ทำนาข้าว 20 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นสวนผสม ปลูกผักสวนครัว ผลไม้ต่างๆ ไผ่ ขุดบ่อเลี้ยงกบ หอยขม ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาบึก ปลาแรด ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ปลาคาร์ฟ สระบัว ผักบุ้ง รวมทั้งเลี้ยงห่าน นกกระทา ไก่ไข่ ไก่พันธุ์สวยงาม เช่น ไก่ญี่ปุ่น ไก่มินิโคชิน ไก่ซิลกี้ ไก่อียิปฟายูมิ ไก่เหลืองหางขาว ไก่บาร์ม่า ไก่โปรแลน ไก่ดำมองโกลเลีย ไก่ไข่เล็กฮอนขาวหงอนจักร และไก่ไข่บาร์พลีมัทล๊อค นอกจากนี้ยังมีเลี้ยงปูนาในวงบ่อ กิ้งกือ-ไส้เดือนไว้ผลิตปุ๋ย และเลี้ยงมดแดงบนต้นมะม่วง” คุณสุทิน กล่าว

เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รวมกลุ่มแปลงใหญ่ผลิตน้ำผึ้งชันโรง หวังส่งเสริมให้คนไทยรู้จักและรับประทานน้ำผึ้งชันโรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งป้อนตลาดต่างประเทศที่ปัจจุบันมีแนวโน้มความต้องการน้ำผึ้งจากชันโรงสูงขึ้น เผยการทำการเกษตรในรูปแปลงใหญ่สามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งชันโรงและทำตลาดได้อย่างยั่งยืน

นายสวัสดิ์ จิตตเจริญ ประธานแปลงใหญ่ชันโรง อ.มะขาม จ.จันทบุรี เกษตรกรผู้เลี้ยงและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชันโรง กล่าวว่า ปัจจุบันการเลี้ยงผึ้งชันโรงใน อ.มะขาม จังหวัดจันทบุรี ถือเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการเลี้ยงผึ้งชันโรงที่ใหญ่ที่ของประเทศ โดยหัวใจสำคัญในการเลี้ยงนั้นก็เพื่อไว้ให้ชันโรงช่วยผสมเกสรในสวนไม้ผล ทำให้ไม้ผลติดดอกออกผลได้ดีมีคุณภาพ ส่วนน้ำผึ้งของชันโรงก็นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งคุณภาพสูงที่ขายได้ราคาดีกว่าน้ำผึ้งจากผึ้ง ซึ่งถือเป็นรายได้เสริมที่ดีของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง โดยที่ผ่านมาการขายน้ำผึ้งชันโรงของเกษตรกรที่พื้นที่แห่งนี้จะผลิตและขายโดยไม่ได้มีการรวมกลุ่มกัน ซึ่งก็สามารถทำตลาดได้ดี มีเท่าไรก็ขายหมด เนื่องจากการปริมาณการเลี้ยงชันโรงยังคงมีไม่มากนัก จึงทำให้ผลผลิตที่ได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่เมื่อช่วงต้นปี 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมแปลงใหญ่ชันโรงในพื้นที่ อ.มะขาม จ.จันทบุรี จำนวน 50 ราย โดยแต่ละรายมีพื้นที่เลี้ยงเฉลี่ย 10 ไร่/คน สามารถผลิตน้ำผึ้งจากชันโรงเฉลี่ย 150 มิลลิลิตร/รัง โดยมีต้นทุนการผลิต 1,200 บาทต่อรัง ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าผลผลิตจากชันโรงจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่การเตรียมพร้อมเข้าสู่การพัฒนาและการทำตลาดอย่างยั่งยืนการกลุ่มแปลงใหญ่ตามนโยบายของภาครัฐนับเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้ในอนาคตที่ผลผลิตน้ำผึ้งชันโรงมีปริมาณมากขึ้นมีการรวมกลุ่มกันทำตลาดสร้างอำนาจการต่อรองให้กับเกษตรกรได้

โดยภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมการเกษตรได้วางเป้าหมายการผลิตไว้ โดยเน้นให้สมาชิกขยายปริมาณการเลี้ยงให้มากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตจากชันโรงมากขึ้น และสามารถนำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับส่งเสริมให้คนไทยรู้จักและหันมาบริโภคให้มากขึ้นไปพร้อมๆ กัน

“อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการเลี้ยงชันโรงยังมีปัญหาและข้อจำกัดคือปริมาณการผลิตชันโรงของสมาชิกยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของการตลาด พืชอาหารของชันโรงมีปริมาณไม่เพียงพอทำผลผลิตชันโรงลดลง ประกอบกับที่ผ่านมาเกษตรกรที่เลี้ยงชันโรงส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อยและไม่สามารถหาตลาดขายผลผลิตได้ แต่หลังจากที่มีการรวมตัวเป็นแปลงใหญ่ ก็มีการรวบรวมผลผลิตเพื่อแปรรูปและขายมากขึ้น เกษตรกรรายย่อยที่เดิมไม่รู้จะนำผลผลิตไปขายที่ไหนก็นำมาส่งคนที่มีตาดขายประจำ ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ”นายสวัสดิ์ กล่าว

ทั้งนี้กลุ่มได้วางแนวทางพัฒนาการพัฒนาการเลี้ยงชันโรง เบื้องต้นได้มีการจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรกรายแปลง และปริมาณการผลิตของสมาชิก วางแผนการเพิ่มปริมาณการลี้ยงชันโรงให้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชันโรง และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงชันโรงเพื่อช่วยในการผสมเกสรในไม้ผลเพื่อเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก และสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรด้วยการขายน้ำผึ้งชันโรง แต่ด้วยการรวมกลุ่มกันเป็นแปลงใหญ่ชันโรงเพิ่งเริ่มต้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะนี้จึงมีผลการดำเนินงานที่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก แต่เชื่อว่าโครงการแปลงใหญ่จะสามารถพัฒนาการเลี้ยงชันโรงให้ดีและมีความยั่งยืนในทุกๆ ด้านได้

ลำไย เป็นหนึ่งในไม้ผลทำเงินที่ขายดีในยุคนี้ ต้นลำไยมักให้ผลผลิตในช่วงฤดู ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายนของทุกปี แต่ลำไยรุ่นนี้ มักเสี่ยงเจอปัญหาผลผลิตล้นตลาดและขายในราคาถูก หากใครอยากขายลำไยได้ราคาสูง ต้องผลิตลำไยนอกฤดู ออกขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะตลาดมีปริมาณความต้องการสูง มีโอกาสขายทำกำไรได้ก้อนโต เนื่องจากลำไย เป็นผลไม้มงคลที่คนจีนนิยมใช้เซ่นไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั่นเอง

การทำลำไยนอกฤดู แต่ละรอบ ต้องใช้เวลาวางแผนการผลิตล่วงหน้ากันข้ามปี โดย 4-5 เดือนแรก ต้องเตรียมตัวดูแลตัดแต่งกิ่งบำรุงต้น หลังจากราดสารจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องใช้เวลาดูแลอีก7 เดือนเต็ม ซึ่งช่วงเวลาปีเศษ ในการเฝ้าบำรุงรักษาลำไยนอกฤดู ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากสวนลำไยเจอโรคแมลงรบกวน ผลผลิตเสียหาย เสี่ยงกับการขาดทุนได้ ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกลำไยจึงควรเรียนรู้โรค-แมลงศัตรูพืชสำคัญในสวนลำไย รวมทั้งแนวทางป้องกัน เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาขาดทุนในอนาคต

แมลงค่อมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab. มักเข้าทำลายกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย ทำให้ต้นลำไยเสียหาย ชะงักการเจริญเติบโต มักพบการแพร่ระบาดของแมลงค่อมทองได้ง่ายช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม หลังจากนั้นจะพบเห็นแมลงค่อมทองน้อยลงในเดือนเมษายน และพบน้อยมากระหว่างฤดูฝน

แมลงค่อมทอง จัดอยู่ในกลุ่มด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากกัดกินเป็นงวงยื่นเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบเวลาถูกตัวหรือได้รับความกระเทือนจะทิ้งตัวลง ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดินเมื่อฟักและเจริญเป็นตัวหนอนจะอาศัยกินราก พืชอยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่กินเวลา 10 – 11 วัน ระยะหนอนอยู่ในดินนาน 5 – 6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ 14 – 15 วัน

วิธีการป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง เริ่มจาก เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย โดยใช้ยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30 – 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10 – 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หากพบการแพร่ระบาดมาก แนะนำให้ใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 – 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผีเสื้อมวนหวาน ( Fruit piercing moth ) ทางภาคเหนือเรียกว่า “กำเบ้อแดง” มักพบการแพร่ระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ผีเสื้อมวนหวาน ทำลายผลผลิตโดยใช้ปากเจาะแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุก ทำให้ผลลำไยหลุดร่วงภายใน 3 – 4 วัน ผลลำไยร่วงเมื่อนำมาบีบจะมีน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ ส่วนเนื้อในลำไยจะเน่าเสีย จากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย ผีเสื้อมวนหวาน ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงระยะเวลา 20.00 – 24.00 น.

ตัวเต็มวัยของผีเสื้อมวนหวาน เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลปนเทา ปีกคู่หลังมีสีเหลืองส้ม ขอบปีกด้านนอกสีดำ และกลางปีกมีแถบสีดำคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยวข้างละ 1 อัน เมื่อกางปีกทั้งสองข้างมีขนาดประมาณ 8.5-9.0 เซนติเมตร ไข่ ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บนใบพืชได้ประมาณ 200-300 ฟอง ไข่มีลักษณะทรงกลมสีเหลืองอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 มิลลิเมตร ระยะไข่ 2-3 วัน

ตัวอ่อน ที่ฟักออกจากไข่จะมีสีเขียวใสยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร หนอนมี 7 ระยะ เมื่อหนอนโตเต็มที่จะมีสีน้ำตาลปนดำ ด้านข้างของท้องปล้องที่ 2 และ 3 จะมีลายวงกลมสีขาวและส้ม นอกจากนี้ ยังมีจุดขาวแดงอมส้ม และฟ้าซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ระยะหนอน 12-21 วัน ดักแด้ หนอนจะนำใบพืชมาห่อหุ้มตัวแล้วเข้าดักแด้อยู่ภายใน ระยะดักแด้ 10-12 วัน

พืชอาหารของผีเสื้อมวนหวาน ในระยะหนอน คือ ใบย่านาง ใบข้าวสาร และใบบอระเพ็ด ส่วนระยะตัวเต็มวัย พืชอาหารสุดโปรดของ ผีเสื้อมวนหวาน คือ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง องุ่น กล้วย ลางสาด ลองกอง พุทรา มังคุด และไม้ผลอื่น ๆ

แนวทางป้องกันกำจัด ผีเสื้อมวนหวาน ทำได้หลายวิธี ได้แก่

กำจัดวัชพืช และพืชอาหารในระยะหนอน เช่น ใบย่านาง ใบข้าวสาร ที่อยู่ในบริเวณแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัย และเป็นอาหารของหนอน
ใช้กับดักแสงไฟ black light ล่อตัวเต็มวัย ในช่วง 20.00-22.00 น. เป็นช่วงที่ตัวเต็มวัยออกหากินมากที่สุด หากพบผีเสื้อมวนหวานให้ใช้มือจับ หรือสวิงโฉบ อย่างไรก็ตามผลไม้ก็ได้ถูกผีเสื้อเจาะทำลายไปแล้ว การจับผีเสื้ออาจจะลดประชากรลงในฤดูกาลต่อไป
ใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกที่มีกลิ่นหอม เช่น ลูกตาลสุก หรือสับปะรดตัดเป็นชิ้นๆ หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลง carbaryl ( Sevin 85% WP) อัตรา 2 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตรแช่ทิ้งประมาณ 5 นาที นำเหยื่อพิษไปแขวนไว้ที่ต้น

มวนลำไย ( Longan Stink Bug ) ชาวบ้านนิยมเรียกว่า แมลงแกง, แมงแคง แมลงชนิดนี้ สร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกลำไย โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกเสียหาย ไม่ติดผลหรือทำให้ผลร่วงหล่นตั้งแต่ผลอ่อน

มวนลำไย ที่เป็นตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 – 31 ซม. และส่วนกว้างประมาณ 15 – 17 ซม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7 – 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 – 74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย “แตนเบียนไข่ ” คือ ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไย โดยจะเป็นตัวทำลายไข่ ของมวนลำไยในธรรมชาติ

แนวทาง ป้องกันกำจัด มวนลำไย ได้แก่ 1. ตัดแต่งกิ่งลำไยไม่ให้ต้นหนาจนเกินไป จนเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของตัวเต็มวัย 2. จับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลาย 3. ถ้าพบระบาดมากใช้ยาฆ่าแมลงพวก โมโนโครโตฟอส ฉีดพ่นในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือยาฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ช่วงเวลาที่ลำไยกำลังเกิดช่อดอกและติดผล ซึ่งช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สำหรับยาฆ่าแมลงพวกคาร์บาริลจะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลง เป็นตัวอ่อนในวัย 1 – 2 เท่านั้น ถ้าพ่นในวัยอื่นจะไม่ได้ผล

ด้วงหนวดพู่ (Long-horned beetle) หรือเรียกว่า ด้วงหนวดยาวทหาร วงจรชีวิตของด้วงหนวดพู่ หนอนที่ฟักใหม่สีขาวครีม เริ่มกัดกินไชชอนใต้เปลือกไม้ ถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอกเป็นระยะๆ ตามเส้นทางที่หนอนไชชอนอยู่ใต้เปลือกไม้ หนอนโตเต็มที่มีขนาดยาว 8 – 10 เซนติเมตร ระยะหนอน 280 วัน จากนั้นจะเริ่มเจาะเข้าเนื้อไม้แข็ง หดตัวและเข้าดักแด้ เป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 24 – 29 วัน

ด้วงหนวดพู่ ที่เป็นตัวเต็มวัย มีขนาดเล็กไม่ถึงหัวนิ้วโป้งมือ แต่สามารถทำลายต้นไม้ตายได้ โดยกัดกินไชชอนจากเปลือกไม้ สู่เนื้อไม้ เจาะทำลายไม้ขนาดใหญ่ให้ตายได้ภายในไม่กี่เดือน พืชอาหารของด้วงหนวดยาว มีหลากหลาย เช่น ต้นสนทะเล สนประดิพัทธ์ พะยูง นนทรี ตะแบก ยูคาลิปตัส อินทนิลน้ำ กุหลาบ รวมทั้ง ลำไย ลักษณะการทำลายต้นลำไย ตัวแก่ของด้วงหนวดพู่จะกัดแทะผิวเปลือก ก้านช่อใบ ทำให้ช่อใบแห้ง รวมทั้ง เจาะกิ่ง และลำต้นทำให้กิ่งแห้ง

แนวทางป้องกันและกำจัด ด้วงในระยะหนอน แนะนำให้ใช้ imidacloprid (Confidor 100SL 10%SL) acetamiprid (Molan 20%SP) และ thiametoxam (Actara 25% WG) อัตรา 30 มิลลิลิตร 30 และ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะได้ผลดีในการกำจัด ส่วนระยะไข่ หากฉีดพ่นสาร dinotefuran (Starkle 10%WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ได้ผลดีเช่นกัน

โรคพุ่มแจ้หรือไม้กวาดแจ้

โรคพุ่มแจ้ หรือไม้กวาดแจ้(witches’ broom) ซึ่งเกิดจากเชื้อมายโคพลาสม่า (mycoplasma) ระบาด ลักษณะอาการเหมือนพุ่มไม้กวาดลำไยที่เป็นโรครุนแรงจะโทรม เมื่อออกดอกติดผลน้อยพันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อโรคนี้เคยพบในพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน ต้นลำไยที่ติดโรคชนิดนี้จะมี อาการปรากฎที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตา โดยเริ่มแรกใบยอดแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออก กลายเป็ยกระจุกสั้นๆขึ้นตามส่วนยอด หากยอดที่เป็นโรคเมื่อถึงคราวออกช่อดอก ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4-5 ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย พันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อนโรคนี้คือพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน

โรคพุ่มแจ้ หรือไม้กวาดแจ้ สามารถแพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรค โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ต้นอื่นๆ ได้

แนวทางป้องกันและกำจัด โรคพุ่มแจ้ ได้แก่

คัดเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมีเช่น ฟอสซ์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มิพซิน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือลอร์สแมน อัตรา 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
สำหรับต้นที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายซึ่งชาวสวนจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุกๆ สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคแมลงศตรูพืชในขณะนี้พบว่าในพื้นที่จังหวัดราชบุรี อำเภอจอมบึง และอำเภอโพธาราม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อย ที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งในภาคตะวันตกและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีการพบว่ามีศัตรูพืช คือ ตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส เข้าทำลายแปลงอ้อย เนื่องจากช่วงนี้ตัวอ่อนของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสเริ่มฟักออกจากไข่ ดังนั้นเกษตรกรชาวไร่อ้อยจึงควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตอ้อย และหากพบว่าพื้นที่ใดมีการระบาดของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสที่เข้าทำลายอ้อยให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านดำเนินการควบคุมโดยทันที

สำหรับรูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสเป็นตั๊กแตนที่มีขนาดกลางยาว 3-5 เซนติเมตร มีสีเหลืองปนเขียวหรือน้ำตาลปนเหลืองน้ำตาลแก่ ตัวอ่อนมีสีต่างๆ กัน เช่น เขียวอ่อน เหลืองอ่อน น้ำตาลแดงและดำทั้งตัว หน้ามีสีดำ ใต้ท้องมีสีดำตลอดตัว วงจรชีวิตของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส การผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม เป็นช่วงปลายฤดูฝน ไข่จะฟักตัวอยู่ในดินตลอดฤดูแล้ง อยู่ในดิน 7-8 เดือน ลักษณะไข่คล้ายเมล็ดพุทรา เปลือกหุ้มไข่แข็งมีทั้งชนิดรูปกลมและรี ตัวเมียวางไข่ได้ 3 – 4 ฝัก (1 ฝัก มีไข่จำนวน 30-60 ฟอง) ฟักออกเป็นตัวอ่อนช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน และจะเริ่มเป็นตัวเต็มวัยช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ของทุกปี โดยที่ตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสจะขยายพันธุ์ปีละ 1 ครั้ง

ส่วนลักษณะการทำลายพบการระบาดของตั๊กแตนตั้งแต่วัยที่ 4 โดยเข้าทำลายใบอ้อยจนเหลือแต่ก้านใบ ลักษณะการเข้าทำลายเหมือนตั๊กแตนปาทังก้า คือ จะกัดกินเนื้อใบอ้อยเหลือก้านใบ ไร่อ้อยถูกทำลายอย่างหนักมองเข้าไปเห็นแต่ก้านใบลักษณะคล้ายแส้ ตั๊กแตนชนิดนี้สามารถกินพืชได้หลายชนิด เท่าที่ได้สำรวจพบว่า ข้าว อ้อย ข้าวโพด ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หญ้าคา แฝก สาบเสือ พง อ้อ ไผ่ หญ้าใบไผ่ หญ้าตีนติดใบมันสำปะหลัง ละหุ่ง ปอแห้ว ใบมะพร้าว ใบข่า ใบสับปะรด และใบตะไคร้ เป็นต้น

ซึ่งการป้องกันกำจัดตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสนั้น เกษตรกรควรหมั่นดูแลแปลงอ้อยด้วยการไถพรวนดินเพื่อทำลายไข่ก่อนที่ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน โดยทำการไถบริเวณที่ตั๊กแตนวางไข่ จากนั้นก็กำจัดวัชพืชที่อยู่หัวไร่ปลายนาเพราะอาจเป็นที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนของตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสได้ สำหรับวิธีการกำจัดตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสในระยะตัวอ่อน สามารถทำได้โดยการใช้สารเคมี ได้แก่ คาร์บาริล 85% EC อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือกำจัดด้วยไดอะซินอน 60% EC อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือใช้สารฟิโปรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร กำจัดตัวอ่อนของด้วงหนวดยาวในแปลงที่พบการทำลายของด้วงหนวดยาวอ้อยร่วมด้วย แต่หากพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงของตั๊กแตนก็ให้ใช้วิธีการกำจัดด้วยกับดักเหยื่อพิษ โดยผสม czrtap hydrochloride 50% SP อัตรา 20 กรัม เกลือแกง -จ กรัม Ammonium bicarbonate อัตรา 30 กรัม สารจับใบ และน้ำ 1 ลิตร และนำกระดาษขนาด 11 x 15 เซนติเมตร ชุบสารละลายให้โชกและพึ่งลมให้แห้งและนำกระดาษไปวางไว้ที่ร่องระหว่างต้นอ้อย

อย่างไรก็ตามนอกจากการใช้สารเคมีแล้วเกษตรกรควรมีการเก็บทำลายโดยตรง เริ่มจากการสำรวจตรวจสอบใบอ้อยในไร่ เมื่อพบตั๊กแตนกำลังกินให้เก็บตัวตั๊กแตนแล้วนาไปทำลาย หรือนำไปเป็นอาหาร จากนั้นจึงพ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น เมตตาไรเซียม หรือบิวเวอเรีย และใช้แมลงศัตรูธรรมชาติแก้ปัญหาร่วมด้วยไปพร้อมกัน ได้แก่ วิธีการใช้แมลงหางหนีบซึ่งเป็นศัตรูของตั๊กแตนไฮไลไกลฟัสในการกำจัดอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็จะทำให้การควบคุมมีประสิทธิภาพสามารถกำจัดไข่ตั๊กแตนไฮไลไกลฟัสให้หมดไปได้

สาหร่ายทะเลได้ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่างๆ มากมายตามภูมิปัญญาของคนที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล หรือบนเกาะ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนขึ้นชื่อในเรื่องเมนูอาหารที่ทำจากสาหร่ายเนื่องจากชาวจีนและญี่ปุ่นนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงจากสาหร่าย ในการบริโภคส่วนใหญ่จะเป็นการบริโภคสาหร่ายแห้งที่ผ่านกรรมวิธีมาแล้ว เช่น ข้าวห่อสาหร่ายของญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันคนไทยคุ้นเคยกันดีเพราะมีการจำหน่ายกันแพร่หลายแม้ในตลาดนัด ส่วนสาหร่ายที่ชาวไทยรู้จักกันดีของชาวจีนคือ จี๋ฉ่าย ที่นำมาทำแกงจืดสาหร่ายรับประทานกันอยู่ทั่วไป

ส่วนในประเทศไทยสาหร่ายทะเลเป็นเมนูอาหารที่มีรับประทานทางภาคใต้และภาคตะวันออกมาเนิ่นนานแล้ว เช่น ยำสาหร่าย ชุบแป้งทอด หรือนำมาจิ้มรับประทานกับน้ำพริก สาหร่ายบางชนิดผ่านการอบแห้ง เช่น สาหร่ายผมนาง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและนำมาปรุงอาหารได้สะดวกกว่าเดิม ส่วนสาหร่ายที่นำมาเป็นขนมในซองสำเร็จรูปก็เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจนเจ้าของขึ้นแท่นเป็นเถ้าแก่

สาหร่ายเม็ดพริกหรือสาหร่ายพวงองุ่น เป็นสาหร่ายทะเลที่นำมารับประทานสด สมัยก่อนต้องอาศัยเก็บจากชายหาดเมื่อถูกคลื่นซัดมาจากทะเล ซึ่งมีในบางฤดูเท่านั้น ปัจจุบันสาหร่ายเม็ดพริกสามารถเพาะเลี้ยงแล้ว ในสาหร่ายจะมีแมกนีเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแคลเซียมที่บำรุงกระดูก ไอโอดีนป้องกันและรักษาโรคคอพอก สังกะสีที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และมีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายอย่าง ไขมันในสาหร่ายมีอยู่ในปริมาณต่ำให้พลังงานเพียงเล็กน้อยแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเหมาะสำหรับผู้ป่วย ความดันสูง โรคหัวใจ และเบาหวาน

เมื่อก่อนสาหร่ายเม็ดพริกมักนำมารับประทานกับน้ำพริก ต่อมาร้านอาหารริมทะเลได้นำมาดัดแปลงเป็นส้มตำสาหร่าย มีโอกาสได้ชิมมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีเวลาได้ศึกษาในรายละเอียดเอามาให้อ่านกัน คราวนี้มีโอกาสเจอเกษตรกรคนทำจริงจึงนำมาเสนอ คุณจีระศักดิ์ มุสิแดง เป็นเจ้าของฟาร์มสาหร่ายชื่อ นายหัวฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ชายหาดท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ใกล้กับอุทยานแห่งชาติหาดท้ายเหมือง

คุณจิระศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า Genting Club จบการศึกษาทางด้านวิศกรโทรคมนาคม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ทำงานด้านโทรคมนาคมในกรุงเทพฯ มา 6 เดือน รู้สึกอึดอัดกับชีวิตในเมือง อยากมีธุรกิจของตัวเอง มีโอกาสได้ดูการเลี้ยงสาหร่ายของญี่ปุ่นในสื่อออนไลน์จึงเกิดความชอบ ไม่นึกว่าในประเทศไทยมีการเลี้ยงเหมือนกัน ต่อมาได้เจอเพจของประมงชายฝั่ง จังหวัดเพชรบุรี เปิดอบรมการเลี้ยงสาหร่ายหางกระรอกหรือที่จังหวัดพังงาเรียกสาหร่ายเม็ดพริก จึงสมัครเข้าอบรมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 มานี้เอง ใช้เวลา 1 วันเต็ม ได้มีโอกาสเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริที่จังหวัดเพชรบุรี

หลังจากผ่านการอบรมมาก็ได้เริ่มหาฟาร์มเลี้ยง โดยได้เช่าที่หน้าหาดท้ายเหมืองซึ่งเป็นบ่อเพาะพันธุ์กุ้งเก่า บนพื้นที่ประมาณ 50 ตารางวา แล้วจึงยื่นใบลาออกจากบริษัทมาทำเต็มตัว ได้มาปรับปรุงระบบน้ำ ระบบไฟ และโครงสร้างอื่นหมดเงินไปประมาณ 150,000 บาท ลองผิดลองถูกมาจนประสบผลสำเร็จ

จากการศึกษาการเลี้ยงสาหร่ายในบ่อดิน จำเป็นต้องมาประยุกต์เลี้ยงในบ่อปูน ซึ่งต้องเปลี่ยนวิธีการหลายอย่าง การเตรียมบ่อเริ่มจากการสูบน้ำเข้าให้เต็มบ่อปูนขนาดความกว้าง 3.5 เมตร ยาว 4 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ใส่คลอรีนฆ่าเชื้อ 5 ช้อนโต๊ะ ซึ่งบรรจุน้ำประมาณ 12 คิวบิกเมตร ขนาดของบ่อแล้วแต่สภาพพื้นที่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญนัก แต่ระดับน้ำเป็นสิ่งสำคัญ ใช้เครื่องให้ออกซิเจนตีน้ำไว้ 1 คืน โดยเดินท่อพีวีซี 2 แถวไว้ที่พื้นบ่อ เจาะรูขนาด 1 มิลลิเมตร ไว้ทั่วท่อ 20-30 จุด เพื่อจะได้กระจายได้ทั่วบ่อ หลังจากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง ล้างบ่อด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ปล่อยทิ้งไว้ให้แสงแดดส่องฆ่าเชื้อประมาณ 3-4 วัน จึงปล่อยน้ำเข้าบ่ออยู่ในระดับที่พอเหมาะ

ลูกขนาดเท่าไข่เป็ด ใส่ปุ๋ยปรับปรุงคุณภาพผลสูตร 13-13-21

วันครั้งหนึ่ง จำนวนต่อต้นไม่มากนัก เป็นการทำให้ต้นไม้ชิน เรียกว่าการอ่อยปุ๋ย เมื่อต้นไม้ชินเรื่องปริมาณน้ำคือให้ต่อเนื่องกับให้ปุ๋ย ปัญหาต้นสลัดลูกทิ้งจึงไม่มี คุณเพ็ญนภา ภรรยาของคุณธนะศักดิ์ สะใภ้ของตระกูลพรมกอง เป็นผู้ที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับสามี พูดถึงการปลูกทุเรียนว่า การปลูกทุเรียนยากตรงที่เกิดโรครากและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา จึงต้องหมั่นดูแล หากไม่ดูแลใกล้ชิด เมื่อรู้ต้นทุเรียนเป็นโรคก็ตายเสียแล้ว

“ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์หมอนทอง มีพวงมณีและนกกระจิบบ้าง ต้นทุเรียนมีหลายรุ่น อย่างต้นที่อายุมากสุดให้ผลผลิต 80 ผล ต่อต้น ต่อปี เฉลี่ยผลหนึ่งหนัก 3.5 กิโลกรัม ต้นที่อายุน้อยก็ให้ผลผลิตน้อยตามอายุ สวนเราเป็นสวนขนาดใหญ่ของที่น้ำยืนนี่ค่ะ จุดเด่นของทุเรียนที่นี่รสชาติดี คนซื้อไปกินแล้วติดใจ” คุณเพ็ญนภา บอก

ที่สวนแห่งนี้ใช้น้ำใต้ดิน โดยขุดลงไปแล้วฝังวงบ่อ เป็นวงบ่อที่นิยมใช้ปลูกมะนาว

ช่วงที่ผ่านมาไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด

เป็นที่เลื่องลือว่า ผลผลิตทุเรียนที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี คุณภาพดี รสชาติอร่อย ผลผลิตส่วนใหญ่มาไม่ถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ คนท้องถิ่นรุมซื้อกัน แต่หากสนใจ สอบถามกันเป็นกรณีพิเศษได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ (080) 166-3156 นิตยสารปักษ์นี้ออก ยังพอมีผลผลิต

พื้นที่จังหวัดชลบุรี เดิมเป็นแหล่งใหญ่หนึ่งที่มีเกษตรกรทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลจากการขยายตัวของสาธารณูปโภคที่เจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

แม้พื้นที่ปลูกจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีสวนมะพร้าวที่ดีหลงเหลืออยู่ ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา สวนมะพร้าวจำนวนหนึ่งถูกทำลายจากการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างรุนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรต้องออกมารณรงค์ให้เลี้ยงแตนเบียน เพื่อปล่อยเข้าทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว

ถามถึงสวนมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยืนยันจาก คุณบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรอำเภอบางละมุง ว่า เหลืออยู่เพียง 2 สวนเท่านั้น ที่มีคุณภาพ

สวน คุณประวิทย์ ประกอบธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นสวนหนึ่งที่ขึ้นชื่อได้ว่า ผลิตมะพร้าวน้ำหอมได้คุณภาพ ลุงประวิทย์ มีพื้นที่สวนรวมกับพื้นที่บ้าน 10 ไร่ และมีพื้นที่สวนมะพร้าวตั้งอยู่ถัดไปอีกกว่า 10 ไร่ เป็นแปลงที่ไม่ติดกัน แต่ทุกแปลงปลูกมะพร้าวเป็นผลไม้หลักสร้างรายได้ ส่วนผลไม้ชนิดอื่นปลูกไว้รับประทาน

“ผมเป็นลูกชาวสวนโดยแท้ พ่อแม่ก็ทำสวนมะพร้าวมาก่อน มาซื้อที่ตรงนี้ 10 ไร่ ก็เริ่มปลูกมะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน อย่าง มะพร้าวน้ำหอม คือ หอมใบเตย ถ้ามะพร้าวน้ำหวาน ก็จะหวานธรรมชาติแบบพันธุ์โบราณ พวกหมูสีหรือนกคุ่ม”

พื้นที่สวนเกือบ 20 ไร่ มีมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 200 ต้น

เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คุณประวิทย์ นำมะพร้าวน้ำหอมจากสวนส่งไปประกวดความหวาน ผลที่ได้คือ มะพร้าวน้ำหอมของสวนได้รับรางวัลมะพร้าวน้ำหวานที่สุดระดับภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา) ภายใต้รางวัลชนะเลิศ การประกวดมะพร้าวน้ำหอม ในการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นกำลังใจอย่างดีให้กับชาวสวนเก่าอย่างคุณประวิทย์

ที่ผ่านมามะพร้าวแกง ปลูกระยะห่าง 10×10 เมตร ทำให้มีระยะห่างระหว่างต้นมาก คุณประวิทย์จึงปลูกเสริมด้วยมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหวาน แทรกระหว่างกลาง ทำให้ปัจจุบันมีมะพร้าวทั้งที่ให้ผลผลิตแล้วเกินกว่า 30 ปี ไล่ลำดับปีลงมาถึงมะพร้าวที่เพิ่งปลูก ยังไม่ถึงอายุการให้ผลผลิต

การปลูกมะพร้าวหากพื้นที่ไม่ต่ำก็ไม่ต้องยกร่อง ขุดหลุมความลึกพอดีกับผลมะพร้าว พิจารณาดินปลูก หากพื้นที่ปลูกสมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรองก้นหลุม แต่ถ้าดินทรายควรใช้ขี้วัวรองก้นสักหน่อย แต่ละหลุมปลูกควรห่าง 5X5 เมตร เมื่อต้นมะพร้าวโต ใบมะพร้าวจะจรดถึงกันพอดี หลังนำต้นลงปลูกกลบผลมะพร้าวไม่ต้องมิดมาก แต่เมื่อถากหญ้าหรือเก็บกวาดสวนก็ให้สุมไปที่โคนต้นมะพร้าว

น้ำ เป็นปัจจัยปลูกที่สำคัญยิ่งสำหรับการทำสวนมะพร้าว โชคดีที่สวนของคุณประวิทย์ ติดกับลำห้วยที่มีฝายทดน้ำอยู่ใกล้ ทำให้มีน้ำตลอดปี

ในฤดูฝน เป็นที่รู้กันว่า ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ฤดูอื่นหากเห็นว่าดินเริ่มขาดน้ำ ก็นำถัง 200 ลิตร บรรทุกน้ำใส่ท้ายรถกระบะ รดสัปดาห์ละครั้ง แต่ละครั้งของการรด ควรรดให้ดินชุ่ม ซึ่งคุณประวิทย์ บอกว่า การรดน้ำแบบที่สวนคุณประวิทย์ทำ ไม่ได้เป็นวิธีมาตรฐาน หากต้องการให้ได้มาตรฐาน ควรติดสปริงเกลอร์หรือติดตั้งระบบน้ำหยด และควรเริ่มลงปลูกมะพร้าวราวเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงฤดูฝนของทุกปี

คุณอุไร ประกอบธรรม ภรรยาของคุณประวิทย์ ผู้มีประสบการณ์การทำสวนมะพร้าวมากพอกัน บอกว่า การใส่ปุ๋ยให้กับมะพร้าว จะเริ่มให้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรให้ 4 ครั้ง ต่อปี ในระยะห่างของเวลาที่เท่ากัน ซึ่งบางสวนอาจจะใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผลที่ตามมาอาจทำให้ผลมะพร้าวไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า มะพร้าวขาดคอ ยกเว้นในช่วงที่มะพร้าวยังไม่ติดผล ควรให้ปุ๋ยทุก 3 เดือน

การทำมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน ให้ได้คุณภาพดี คุณประวิทย์ บอกเทคนิคอย่างง่ายว่า ไม่ควรซื้อปุ๋ยที่ผสมสูตรสำเร็จมาใช้ เพราะจะมีส่วนผสมของดินเปล่าที่ไม่มีประโยชน์ปนมามากถึง 3 กิโลกรัม แต่ใช้วิธีซื้อแม่ปุ๋ย ที่มีความเข้มข้นของธาตุแต่ละตัว นำมาผสมเพื่อให้ได้สูตรตามการใช้ประโยชน์ ต้นมะพร้าวจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใส่ปุ๋ย

“เราซื้อแม่ปุ๋ยมาเอง แล้วเอามาผสม ต้องการสูตรอะไรก็ผสมให้ได้อย่างนั้น ผมซื้อปุ๋ยสูตร 0-0-60, 18-24-0 และ 46-0-0 ใช้ 3 ตัวนี้มาผสมกันให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ ซึ่งสูตรที่ต้องการไม่มีขายในท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าต้องการให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตเร็ว ก็เน้นตัวหน้าสูง ถ้าต้องการให้ผลมะพร้าวหอมหวานก็เน้นไปที่ตัวหลังสูง เท่านั้นเอง”

โรคและแมลง เป็นเรื่องที่หนักใจที่สุด สำหรับชาวสวนมะพร้าว

คุณประวิทย์เองยังเอ่ยปากว่า ตั้งแต่ทำสวนมะพร้าวมานานหลายสิบปี ปัญหาที่พบและเป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว และ ด้วง

“ในอดีตไม่เคยมีปัญหาเหล่านี้ มะพร้าวปลูกทิ้ง ใส่ใจดูแลรดน้ำให้ปุ๋ยบ้าง ก็ได้ผลผลิตที่ดี แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หากปลูกทิ้ง ไม่มีทางที่จะได้ผลผลิตที่ดีแน่นอน ซึ่งปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวก็เพิ่งพบการระบาดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงด้วงแรดและด้วงงวงที่ทำลายมะพร้าวจนเสียหาย และเป็นปัญหาที่เกษตรกรไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ประสบความสำเร็จ”

แต่วิธีที่สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ทำ คือ

1. ปล่อยแตนเบียนให้ทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งวิธีนี้ ใช้ได้ดีกับมะพร้าวต้นเตี้ย หรือต้นที่สูงไม่เกิน 10 เมตร
2. หมั่นสังเกตใบมะพร้าว หากพบว่าใบมีทางลายและเริ่มแห้ง ให้คลี่ใบมะพร้าวดู พบหนอนหัวดำมะพร้าวก็นำมาบี้ทิ้ง จากนั้นก็ตัดใบนำไปเผาทำลาย
3. ก่อไฟรมควันภายในสวนมะพร้าว ช่วยลดจำนวนหนอนหัวดำที่เข้ามาภายในสวนมะพร้าว
สำหรับต้นมะพร้าวสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวแกง จำเป็นต้องฉีดสารเข้าที่ลำต้น ซึ่งวิธีนี้เลือกใช้เฉพาะต้นมะพร้าวที่อยู่ในแปลงถัดไปเท่านั้น
5. ทำเครื่องดักด้วง นำไปแขวนไว้กับต้นมะพร้าว โดยการใช้สารฟีโรโมนเป็นตัวล่อ
ทั้ง 5 วิธี ต้องทำร่วมกัน ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งได้ เพราะจะทำให้การป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวและด้วง ไม่ได้ประสิทธิภาพ

คุณประวิทย์ บอกว่า การใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เฉพาะอีกำแปลงถัดไป ส่วนแปลงมะพร้าวที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับบริเวณบ้าน จะงดใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะต้องการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสวนมะพร้าวธรรมชาติ ส่วนมะพร้าวบางต้นที่ถูกแมลงเข้าทำลาย หากใช้วิธีตามธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ยอมรับในปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้

“สวนนี้ ผมไม่ได้ปลูกแค่มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน เท่านั้น ผมยังปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสี มะพร้าวนกคุ่ม เอาไว้อีกด้วย ซึ่งหากพบสายพันธุ์แปลกๆ ที่พอเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ได้ ก็จะนำมาปลูกไว้เป็นการรักษาพันธุ์”

การเก็บผลจำหน่าย สำหรับมะพร้าวแกง จะเก็บเองและปอกเปลือกให้ มีพ่อค้ามารับจากสวน ในราคาลูกละ 20 บาท แต่ละรอบของการเก็บมะพร้าวแกง สามารถเก็บได้ครั้งละ 3,000-3,500 ลูก

มะพร้าวน้ำหอม และ มะพร้าวน้ำหวาน สามารถเก็บจำหน่ายได้ทุกวัน ในราคาลูกละ 15 บาท แต่ละวันเก็บได้ในปริมาณไม่เท่ากัน และไม่ว่าจะเก็บได้จำนวนเท่าไหร่ก็มีลูกค้ารับซื้อจากสวนไปหมด

ส่วนมะพร้าวชนิดอื่น เช่น มะพร้าวกะทิ ก็มีเก็บขายได้ประปราย ได้ราคาดี ผลเล็กราคา 30-40 บาท ผลใหญ่ราคา 80 บาท รวมถึงมะพร้าวทึนทึกที่ขายได้ทุกครั้งที่เก็บ

สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนทุกทิศ หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ก็ยินดี ติดต่อคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ได้ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ (096) 190-1825

เชื่อว่า มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจรู้สึกเบื่องานประจำ อยากหนีกรุงไปทำอาชีพเกษตรกรรม เพื่อใช้ชีวิตอยู่ใกล้ธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ หลายคนยังกลัวที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเอง แต่มีหนุ่มสาวลูกหลานไฮโซฯ กลุ่มหนึ่งที่จะกล้าไล่ตามความฝันที่จะทำอาชีพเกษตรกรรม ในชื่อไร่ “เก็บฟาร์ม” และลงทุนต่อยอดกิจการร้านอาหาร “แปลงผัก” ที่ประสบความสำเร็จทางการตลาด เชื่อว่าเรื่องราวของพวกเขาน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครๆ อีกหลายคน ได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในเส้นทางอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับพวกเขา

จุดเริ่มต้น “อาชีพเกษตรกรรม”

คุณกัลยกร บุนนาค หรือ คุณกัล 1 ใน 5 เจ้าของกิจการไร่ “เก็บฟาร์ม” เล่าให้ฟังว่า ภายหลังเธอเรียนจบปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ช่วงเวลานั้นครอบครัวย้ายไปอยู่ที่หัวหิน เปิดร้านอาหารไทย ชื่อ ชิฎฑะเฬ เธออยากอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว จึงตัดสินใจลาออกเพื่อย้ายมาอยู่กับครอบครัวที่หัวหิน

คุณกัล ไม่อยากทำงานประจำ อยากหางานที่ทำแล้วมีความสุข ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เธอจึงตัดสินใจเลือกทำอาชีพเกษตรกรรม เธอมั่นใจว่า อาชีพเกษตรกรรมสร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองได้แน่ๆ เพราะผักผลไม้สดเป็นอาหารที่จำเป็นต้องบริโภคอยู่แล้ว ยิ่งปัจจุบันกระแสการบริโภคผักเพื่อสุขภาพมาแรง ทำให้สินค้าผักผลไม้สดปลอดสารพิษได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เธอจึงตั้งเป้าหมายผลิตผักสดปลอดสารพิษออกขาย

ที่มาของ “เก็บฟาร์ม”

คุณกัล กับเพื่อนสนิทอีก 4 คน ประกอบด้วย คุณรนกร แสง-ชูโต คุณศุภกร จูงพงศ์ คุณธนวุฒิ กุลนิรันดร และ คุณธีรภัทร อัศวเบญญา ได้เช่าพื้นที่ 7 ไร่ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดำเนินกิจการไร่ “เก็บฟาร์ม (Geb Organic Farm)” โดยคาดหวังให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งผลิตและรวบรวมอาหารจากธรรมชาติ ที่ทุกคนสามารถมาเก็บ มารับประทานได้ พวกเขาวางแผนที่จะพัฒนาไร่เก็บฟาร์ม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและศูนย์การเรียนรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษในอนาคต

“ในไร่เก็บฟาร์มของพวกเรา พืชผักทุกชนิดถูกปลูกโดยแบบออร์แกนิก และพยายามทำให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยที่ไร้สารพิษ และยาฆ่าแมลง 100% ผลผลิตทุกชนิดของพวกเราจึง ‘ดีต่อสุขภาพ’ ของคุณลูกค้าทุกท่านเป็นอย่างมาก” คุณกัล กล่าว

เนื่องจากพวกเขาทั้ง 5 คน ล้วนเป็นเกษตรกรมือใหม่ คุณกัลจึงขอให้เพื่อนรุ่นพี่ ชื่อ “คุณจักรภูมิ บุณยาคม” หรือ คุณภูมิ ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำปุ๋ยไส้เดือน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม Thailand Young Farmer เข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการปลูกดูแลพืชผักผลไม้ในไร่เก็บฟาร์ม

สารพัดผักสลัด

เดิมทีพื้นที่ไร่เก็บฟาร์ม เนื้อที่ 7 ไร่ แห่งนี้ เคยใช้เป็นพื้นที่ปลูกสับปะรดมาก่อน ต่อมาคุณกัลได้ขอเช่าที่ดินดังกล่าว ในอัตรา ปีละ 30,000 บาท ไร่เก็บฟาร์มใช้เงินลงทุน 1.5 ล้านบาท เป็นค่าเช่าที่ ค่าก่อสร้างโรงเรือน ค่าวางระบบน้ำ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ปัจจุบันไร่เก็บฟาร์มเปิดดำเนินงานมาได้ 1 ปีแล้ว มีแรงงาน 4 คน ช่วยดูแลผลผลิต

ไร่เก็บฟาร์ม นำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักสลัดคุณภาพดีจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีอัตราการรอด 90 เปอร์เซ็นต์ พวกเขาทำโรงเรือนสำหรับเพาะต้นกล้าและปลูกผักแบบยกร่อง ปัจจุบัน เนื้อที่ 3 ไร่ ของไร่เก็บฟาร์มถูกนำมาใช้ปลูกผักสลัดถึง 11 ชนิด ได้แก่ ผักกรีนโอ๊ก ผักสลัดสีแดง “เรดโอ๊ก” ผักสลัดใบเขียว “ฟิลเลย์” ผักสลัดบัตเตอร์เฮด รวมทั้งพืชผักสวนครัวประเภทต่างๆ เช่น โหระพา มะเขือเทศเชอร์รี่ มะเขือเปรี้ยว แครอต บีทรูท ฟักทอง ถั่วแขกสีม่วง ถั่วฝักยาวลายเสือ ฯลฯ

หลักการปลูกผัก สไตล์ญี่ปุ่น

หลักการปลูกผักสไตล์ญี่ปุ่น มุ่งเน้นเรื่องการปรุงดินด้วยระบบชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้สภาพดินดีขึ้นเรื่อยๆ คุณภูมิ บอกว่า แนวคิดนี้ไม่ได้คำนึงถึงระบบธาตุอาหารสักเท่าไร การปลูกผักของที่นี่จะเน้นปรับค่าดินให้เป็นกรดอ่อนๆ ผสมตัววัสดุปลูกที่พัฒนาขึ้นใช้เอง วิธีนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิต แถมยังช่วยให้พืชเติบโตได้แข็งแรงอีกต่างหาก

สำหรับวัสดุปลูกที่ใช้ในฟาร์มแห่งนี้ เน้นวัตถุดิบที่มีความเป็นด่างและมีค่าคาร์บอน เช่น แกลบเผา กากอ้อยเผา เป็นต้น ส่วนวัตถุดิบที่ช่วยอุ้มน้ำคือ ขุยมะพร้าว หรือขุยตาล โดยนำวัตถุดิบกลุ่มนี้มาแช่น้ำเพื่อลดความเค็ม ก่อนนำไปใช้งาน สำหรับวัสดุปลูกการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชจะนำไปใส่ปุ๋ยน้ำหมักปลา (ซึ่งมีกรดอะมิโน) หมักจนหายร้อน จึงค่อยนำมาใช้งาน

ขั้นตอนการปลูกผักสลัดของไร่เก็บฟาร์ม เริ่มจากเพาะเมล็ดในวัสดุที่ทำขึ้นเอง มีขุยมะพร้าวกับขี้เถ้าแกลบนำมาหมักกับปุ๋ยน้ำหมัก เพาะเมล็ดในโรงเรือนนาน 15 วัน ฉีดปุ๋ยน้ำโบกาฉิ (มูลสัตว์ 1 ส่วน และอินทรียวัตถุ 4 ส่วน) ที่ทำขึ้นเอง จนกระทั่งกลายเป็นต้นอ่อนที่มีใบเลี้ยง ก่อนจะปลูกลงดิน ในระยะห่าง 20-30 เซนติเมตร ผักคอส มีลักษณะลำต้นสูง จะปลูกในระยะชิดลงหน่อย โดยทั่วไปผักสลัดจะใช้เวลาดูแลประมาณ 30-50 วัน

เก็บฟาร์มปลูกดูแลผักปลอดสารพิษ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะทำปุ๋ยน้ำหมักไว้ใช้เองจากน้ำนมวัวดิบและกากนม น้ำหมักจากเศษปลา ปุ๋ยหมักสูตรนี้ช่วยให้ผักสลัดที่ปลูกมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย นอกจากนี้ ยังทำปุ๋ยน้ำหมักสูตรไล่แมลงจากยาฉุน เครื่องต้มยำ ยาเส้น สะเดา ที่ใช้แล้วได้ผลดี ไม่มีปัญหาโรคแมลงรบกวนในแปลงปลูกผัก

การจัดการวัชพืชของเกษตรกรไทย จะเน้นถอนหญ้าออกจากแปลงปลูกผัก แต่เกษตรกรญี่ปุ่นจะใช้วิธีนำเอาผ้าใบปูบนแปลงที่มีวัชพืชขึ้นอยู่ จะทำให้วัชพืชเน่า แปลงถัดมาจึงค่อยปลูกผักสลัด ทำสลับกันแบบนี้จนเต็มพื้นที่เพาะปลูก หลังสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยว เกษตรกรญี่ปุ่นจึงค่อยนำเอาผ้าใบที่คลุมแปลงออก และย้ายมาคลุมในแปลงปลูกผักเดิม (รากพืชที่ตกค้างอยู่ในแปลงปลูกผักเดิมจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในที่สุด) การจัดการแปลงปลูกลักษณะนี้ ถือเป็นการพักหน้าดินอย่างหนึ่งแล้ว ยังได้ปุ๋ยไปในตัวด้วย

คุณภูมิ บอกว่า เก็บฟาร์มเน้นปลูกผักในลักษณะยกแปลง ขนาดความกว้าง ประมาณ 80 เซนติเมตร คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า รากพืชโดยทั่วไปมีหน้าที่ดูดน้ำ สารอาหาร รวมทั้งยึดรากกับดินเพื่อพืชจะมีลำต้นตรง ความจริงแล้วเราพรวนดินให้พูนขึ้นมาเพื่อช่วยให้รากอากาศของพืชดูดซึมออกซิเจนได้ดีขึ้น

สร้างมูลค่าเพิ่มผักสด

คุณกัล บอกว่า ผักสลัดอินทรีย์มีราคาจำหน่ายสูงกว่าผักสดทั่วไป จึงเน้นเจาะผู้บริโภคที่เข้าใจคุณค่าและประโยชน์ของผักสลัดอินทรีย์อย่างแท้จริง ช่วงแรกพวกเราปลูกผักเยอะเกินไป ขายผลผลิตไม่ได้ตามเป้าหมาย ทำให้เกิดปัญหาผักเน่าเสีย ไม่ทันขายได้ จึงต้องเปลี่ยนแผนใหม่ ลดจำนวนพื้นที่ปลูกลง เน้นปลูกและขายตามคำสั่งซื้อเป็นหลัก

ทุกวันนี้ เก็บฟาร์ม มีผักสดออกขายทุกวัน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 100 กิโลกรัม จำหน่ายในราคา กิโลกรัมละ 130-140 บาท เพิ่งจำหน่ายอย่างจริงจัง ตั้งแต่ต้นปี 2560 สินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งขายให้กับธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร และโรงแรมต่างๆ ในพื้นที่อำเภอหัวหิน สร้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,000 บาท

ผลผลิตอีกส่วนถูกนำมาใช้ในกิจการร้านอาหารของพวกเขา ชื่อ “ร้านแปลงผัก Veggie Bed” ซึ่งเป็นธุรกิจรวมทุนของคุณกัลกับคุณจักรภูมิ ร้านอาหารแห่งนี้เน้นขายอาหารโฮมเมดสไตล์ยุโรป ประเภทเมนูสลัดผัก ซุปฟักทอง สเต๊ก พาสต้า ฯลฯ เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559

“ผักสลัดที่มีรสชาติอร่อย หวาน กรอบ ถือเป็นจุดเด่นของร้านอาหารแปลงผักแห่งนี้ เลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ทำในสไตล์อาหารโฮมเมด เช่น ทำน้ำสลัดเอง สเต๊ก ก็เคี่ยวน้ำซอสเกรวี่เอง สินค้าใหม่สดทุกวัน ที่สำคัญจำหน่ายในราคาไม่แพง โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ชื่นชอบการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ” คุณกัล กล่าว

ใครสนใจอยากเป็นลูกค้าผักสลัดอินทรีย์ของไร่แห่งนี้ หรืออยากลิ้มลองรสชาติความอร่อยของอาหารโฮมเมดสไตล์ยุโรป เชิญมาได้ที่ “ร้านแปลงผัก Veggie Bed” ตั้งอยู่ในซอยหัวหิน 83 ร้านอยู่ต้นซอยทางขวามือ หรือสนใจเยี่ยมชมกิจการไร่ “เก็บฟาร์ม” สามารถติดต่อได้ทางเฟซบุ๊ก “Geb Organic Farm” หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์ (087) 107-5331

ทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน พาแวะไปชมแปลงปลูกพืชของเกษตรกรในอำเภอน้ำยืนหลายแปลงด้วยกัน

ที่ขาดไม่ได้คือ คุณหนูจร พุดผา อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 7 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (091) 019-7163 คุณหนูจร บอกว่า เกษียณจากกำนันไม่นานนัก ทุกวันนี้เป็นเกษตรกรเต็มตัว ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง หรือหวาดระแวงว่าคดีต่างๆ จะเข้าถึงตัว เพราะขณะที่ทำงานรับใช้ประชาชน ตนเองมีความตั้งใจจริง มีความซื่อสัตย์

พื้นฐานเดิมของอดีตกำนันแหนบทองคำเป็นเกษตรกร มีที่ดินเป็นมรดกตกทอดอยู่บ้าง ก่อนเกษียณ 10 ปี ได้เตรียมตัวอย่างเป็นระบบ โดยเสาะหาที่ดินเพิ่ม ซึ่งซื้อหาในราคาไม่แพง แต่ที่สำคัญมากนั้น เขาได้ปลูกไม้ยืนต้น โดยทะยอยปลูก จากน้อยไปหามาก จึงไม่ได้ลงทุนสูง ขณะเดียวกัน ก็มีรายได้ตั้งแต่ปีแรกๆ เพราะปลูกพืชอายุสั้น ส่วนพืชที่ให้ผลช้า รอไม่นานก็มีผลผลิตให้เก็บ

กล้วยที่ปลูกมีกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมทอง สาเหตุที่เจ้าของปลูกกล้วยนำร่องและมีค่อนข้างมาก เนื่องจากกล้วยให้ผลผลิตเร็ว เพียงปีเดียวก็ให้ผลผลิตแก่เจ้าของแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า เกษตรกรรายนี้ไม่ได้ปลูกกล้วยน้ำว้าอย่างเดียว แต่หาความหลากหลายเพื่อตอบสนองลูกค้า คนซื้อกล้วยน้ำว้าวันนี้ วันต่อไปอยากลิ้มรสกล้วยเล็บมือนาง ทางสวนก็มีให้

กล้วยที่ปลูกลงไป ช่วยนำร่องให้กับพืชอื่น โดยรักษาความชื้น รวมทั้งเป็นร่มเงาให้เป็นอย่างดี

ฝรั่งก็สร้างรายได้ดี…ฝรั่งที่ปลูกมีจำนวน 400 ต้น มีพันธุ์กิมจูและหวานพิรุณ สิ่งสำคัญในการดูแลฝรั่งนั้น คุณหนูจร บอกว่า ต้องห่อเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ เขายอมรับว่า ฝรั่งซื้อง่ายขายคล่อง ปริมาณที่ได้ต่อ 1 กิโลกรัมก็มาก ซื้อไปแล้วกินกันได้ทั้งครอบครัว เมื่อก่อนอาจจะมีความเข้าใจว่า ฝรั่งปลูกได้ขายดีเฉพาะในเขตที่ลุ่มภาคกลาง ทุกวันนี้อีสานอย่างอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ก็ปลูกได้ผลดีเช่นกัน ราคาขายฝรั่งทั้งปีนั้น คุณอำนาจ ภรรยาของคุณหนูจรบอกว่า กิโลกรัมละ 20 บาท

เงาะ ทุเรียน…ต้นกำลังเจริญเติบโต อย่างทุเรียนปลูกไว้ 21 ต้น ขณะนี้ต้นกำลังหนุ่มสาว อีกปีสองปีก็สามารถเก็บผลผลิตได้ เงาะปลูกไว้ 22 ต้น ขณะนี้ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตแล้ว

ขนุนปลูกง่าย…ขนุนเป็นพืชหนึ่งที่แซมในแปลงปลูกกล้วยและเงาะ เจ้าของผสมผสานอย่างลงตัว นอกจากปลูกและดูแลรักษาง่ายแล้ว ขนุนยังขายง่ายอีกด้วย อาจจะขายยกผล หากมีเวลาก็แกะเนื้อขาย คุณหนูจร บอกว่า ไม่เคยพ่นสารเคมีให้ขนุน เนื่องจากเป็นพืชที่ทนทาน ออกดอกติดผลทุกปีมีความซื่อสัตย์

มะพร้าวน้ำหอม…ปลูกทั้งหมด 60 ต้น เดิมทีเกษตรกรทางอีสานคุ้นเคยกับมะพร้าวแกง ผลใหญ่ ใช้เวลาปลูก 6-7 ปี จึงเก็บผลผลิตได้ เมื่อการสื่อสารทันสมัย การขนส่งสะดวก มะพร้าวน้ำหอมที่ปลูก 3-4 ปีมีผลผลิต จึงถูกนำไปปลูกที่อีสาน ซึ่งได้ผลดีเช่นกัน ที่ผ่านมามีการขนส่งมะพร้าวน้ำหอมจากภาคกลางไปอีสาน เพราะส่งไกลราคาจึงแพง เมื่อมีผลิตในท้องถิ่น ราคาที่ผู้ซื้อต้องจ่ายจึงถูกลง

มะพร้าวน้ำหอมของคุณหนูจร เจริญเติบโตดีมาก ส่วนหนึ่งเริ่มให้ผลผลิตแล้ว เจ้าของบอกว่า ปลูกให้ใกล้น้ำที่สุด ปุ๋ยที่ชอบคือปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ไก่

มะละกอพืชสามัญประจำสวน…คุณหนูจร เก็บมะละกอให้กับคณะที่ไป เพื่อนำกลับมากินที่บ้าน

มะละกอมีผลขนาดใหญ่ผิดปกติ ถามแล้วได้ความว่าเป็นพันธุ์ “เรดเลดี้” เนื้อสีสวยมาก เหมาะสำหรับกินสุก…พันธุ์อื่นๆ ก็มีปลูก

มะละกอถือว่าเป็นพืชสามัญที่ควรปลูกประจำสวนหรือประจำบ้าน M8BET มีไม่มากเก็บมาทำส้มตำ กินผลสุกเป็นผลไม้ที่คุณค่าทางอาหารสูง เหลือกินก็จำหน่าย ที่สวนแห่งนี้ผลผลิตมะละกอสวยมาก คงเป็นเพราะดินและน้ำสมบูรณ์

นอกจากนี้ ยังมีพืชชนิดอื่นๆ อีก เช่น แก้วมังกร มะนาว ลองกอง มังคุด พริกไทย ไผ่พันธุ์ต่างๆ เผือกหอม พืชผักสวนครัวหลายชนิด เปรียบเทียบกับทำงานเป็นกำนัน คุณหนูจร บอกว่า เป็นเกษตรกรสนุกกว่า

“สนุก ไม่รีบเร่ง ไม่มีใครบังคับ สวนเราอยู่ในโครงการท่องเที่ยวให้คนมาเยี่ยม นักศึกษามาฝึกงาน มีเครือข่ายชาวสวนด้วยกันมาเรียนรู้ เครือข่ายอยู่ยโสธร บุรีรัมย์ เขามาพักมาเรียนรู้ แล้วนำไปปฏิบัติ…ทำสวนเหนื่อยแต่พักผ่อนได้ ไม่เร่งรีบ เหนื่อยก็หยุด มีความสุขกว่าเป็นกำนัน ตอนเป็นกำนันจะออกจากบ้านมีคนมาหารือ บางครั้งรอคิว 2-3 คน กว่าจะออกได้ก็สาย ตอนนี้อิสระแล้ว”

คุณหนูจร บอกและเล่าอีกว่า

“ผมทำนา 12 ไร่ เอาไว้กินแจกจ่ายพี่น้องด้วย ที่เหลือก็ขาย ผมทำงานทุกวัน 3 ช่วง ช่วงแรกหกโมงเช้าถึงแปดโมงแล้วพักกินข้าว ช่วงที่สองสิบโมงถึงเที่ยง ช่วงที่สามบ่ายสามโมงถึงค่ำ ค่อยๆ ทำไม่ได้รีบเร่ง ช่วงที่เป็นกำนัน สวนไม่เรียบร้อยนัก ตอนนี้ดีขึ้น มีผลผลิตมากขึ้น”

ด้านนางจันทร์ทอน เสาร์แก้ว ผู้จัดการสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่

กล่าวว่า สหกรณ์ แห่งนี้มีการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตร เริ่มแรกสมาชิกได้ทำการปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งในตอนนั้นเรายังไม่รู้จักคำว่า “อินทรีย์” ส่วนหน้าที่หลักๆ ของสหกรณ์ก็จะมีการส่งเสริมสมาชิกในเรื่องของการผลิต การแปรรูป การตลาด การตรวจสารพิษตกค้าง การผลิตสินค้าตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานอื่นๆ ที่สามารถส่งออกได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค โดยทางสหกรณ์ฯ จะเข้าไปแนะนำสมาชิกให้ปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นดินในแต่ละพื้นที่

นอกจากนี้ ทางสหกรณ์ฯ ยังได้เซ็นสัญญากับห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์มี 300 กว่าราย จะผ่านการอบรมเพิ่มความรู้ในการปลูกพืชด้วยเกษตรอินทรีย์ เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดิน การปลูกพืชผักแบบเกษตรอินทรีย์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร ตลอดจนการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แยมลูกหม่อน แชมพู น้ำยาล้างจาน ฯลฯ

“อยากจะบอกว่าการทำเกษตรอินทรีย์ในช่วงแรกๆ จะมีต้นทุนการผลิตสูงหน่อย ส่วนปีต่อๆ ไปต้นทุนก็จะลดลง ส่วนใหญ่จะใช้แรงงานภายในครัวเรือน เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว โดยจะเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานเป็นหลัก สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชม สวนเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกสหกรณ์ฯ ได้ ตลอดเวลา” ผู้จัดการสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด กล่าว

การตัดแต่งกิ่งมะม่วงนั้น เริ่มตั้งแต่งเมื่อมะม่วงยังเป็นต้นกล้าอยู่ โดยเฉพาะมะม่วงที่เพาะในถุงพลาสติก หรือเพาะลงในแปลงปลูก และเวลาที่ปลูกลงหลุมจำเป็นต้องตัดแต่งรากและใบเพื่อลดการคายน้ำลงด้วยประการหนึ่ง

ระบบการตั้งพุ่มต้นมะม่วงนั้น นิยมเปิดกลางของทรงพุ่มให้โปร่งโดยเฉพาะการปลูกในระบบปลูกชิด จำนวนต้นที่ปลูกหนาแน่น ถ้าทรงต้นหนาทึบอาจจะทำให้เป็นที่สะสมของโรคและแมลงศัตรูได้ โดยเฉพาะโรคแอนแทรกโนส ฉะนั้นต้องตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ระบบกิ่งภายในทรงพุ่มโปร่ง เพื่อแก้ปัญหาโรคแมลงได้น้อยลง ระบบการเลี้ยงกิ่งข้างนี้จะทำให้การตั้งพุ่มของมะม่วงมีทรงพุ่มได้ดีคือ จากช่วงที่ 1 เลี้ยงกิ่งไว้ 1-2 กิ่ง พอช่วงที่ 2 เลี้ยงกิ่งที่แตกจากช่วงที่ 1 ไว้กิ่งละ 3 กิ่ง รวมกันเป็น 6 กิ่ง พอช่วงที่ 3 เลี้ยงไว้ 18 กิ่ง (1-2-6-18) การแตกกิ่งของมะม่วงแตกด้านข้างละ 3 ช่วง และรวมทั้งการเลี้ยงกิ่งจากลำต้นอีก 2 ช่วง รวมเป็น 5 ช่วง จะใช้เวลาเลี้ยงดูทั้งหมดประมาณ 7-8 เดือน การเลี้ยงระบบนี้กิ่งจะค่อยๆ โปร่งขึ้นและโคนกิ่งแข็งแรง กิ่งจะไม่หักหรือห้อยลงมาขณะที่มะม่วงติดผล

จุดประสงค์ของการตัดแต่งกิ่งมะม่วงระบบปลูกชิด

1.เพื่อเอาโครงสร้างให้ทรงพุ่มและลำต้นเตี้ย จะเริ่มตัดเมื่อยอดพันธุ์ดีเจริญได้สูงจากพื้นดิน 2 ฟุต หรือ 2 ชั้นใบ และเมื่อกิ่งที่แตกออกมาใหม่ซึ่งแตกจากตาข้างนั้น เราก็เริ่มตัดกิ่งหรือปลิดกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออกเพื่อให้ได้โครงสร้างตามที่เราต้องการให้เหลือไว้ 2 กิ่ง หรืออาจจะไว้ 3 กิ่งก็ได้(ในขั้นแรก)

2.เพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติงาน มะม่วงระบบปลูกชิดนั้น เมื่อเราตัดแต่งกิ่งแล้วจะได้ลักษณะรูปทรงพุ่มต้นเตี้ยสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น ฉีดสารเคมี การเก็บเกี่ยวผล การใส่ปุ๋ยซึ่งการปลูกมะม่วงระบบชิดต้นเตี้ย การเก็บเกี่ยวมะม่วงก็จะไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดขึ้นน้อย

3.เพื่อให้ปริมาณกิ่งและผลสมดุลกับลำต้นและธาตุอาหาร คือตัดแต่งเพื่อให้มะม่วงมีจำนวนกิ่งที่ออกดอก และถือผลในปริมาณที่พอดีกับสัดส่วนของลำต้นและปริมาณธาตุอาหาร ซึ่งจะทำให้ได้ผลมะม่วงที่สมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาด ถ้าหากไม่ได้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงจะติดผลมาก กิ่งใบมาก จะทำให้ผลเล็กและอาจทำให้มะม่วงทรุดโทรมได้

4.เพื่อป้องกันโรคและแมลง การปลูกมะม่วงระบบชิด ถ้าไม่ทำการตัดแต่งกิ่งจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและแมลงได้ เพราะจำนวนต้นมะม่วงที่ปลูกต่อไร่นั้นมีความหนาแน่น และถ้าไม่ตัดจะทำให้ทรงพุ่มทึบ แสงแดดส่องเข้าไปไม่ถึงบริเวณโคนกิ่งจะทำให้เกิดโรคจากเชื้อราได้หรือเป็นที่หลบซ่อนหรือว่างไข่ของพวกแมลงศัตรูได้

การปลูกมะม่วงในระบบปลูกชิดนั้น ต้องการตัดทรงพุ่มเตี้ย แคระเป็นหลัก รูปแบบที่นิยมใช้และเหมาะสมกับการปลูกมะม่วงระบบปลูกชิดนั้น คือแบบทรงแจกันซึ่งทำได้โดยตัดยอดหรือวิธีดียวกันกับตั้งพุ่มต้น ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ การตัดยอดหรือลำกระโดงให้สูงจากพื้นดินประมาณ 2 ฟุต หรือ 2 ชั้นไป และเมื่อมียอดใหม่แตกออกมาตามด้านข้างของลำต้น เลือกกิ่งบริเวณบนสุดไว้ประมาณ 2-3 กิ่ง และเลือกกิ่งที่มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด และมีระยะห่างพอดีทำให้เกิดทรงพุ่มคล้ายแจกัน มีช่องว่างตรงกลางพุ่ม ถ้าหากตัดกิ่งกระโดงในขั้นแรกให้อยู่ในระดับที่เตี้ย ก็จะทำให้ทรงพุ่มต้นมะม่วงเตี้ย และถ้าตัดกิ่งที่แตกออกมาชุดแรกอีกแต่ละกิ่งจะแตกยอดอ่อนออกมาหลายยอด ในแต่ละกิ่งเลือกเอาไว้ 2 ยอด หรือ 3 ยอด การตัดยอดนั้นไม่ควรทำเกิน 3 ครั้ง เพราะจะทำให้ทรงพุ่มมะม่วงทึบเกินไป ซึ่งการตัดแต่งกิ่งมะม่วงแบบแจกันนี้ จะทำให้มะม่วงมีการกระจายผลดีมากผลมะม่วงจะมีคุณภาพดี ทรงพุ่มโปร่ง แต่อาจทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่าย

การตัดแต่งกิ่งมะม่วงระบบชิดในต้นที่ให้ผลแล้ว การตัดแต่งมะม่วงระยะนี้แบ่งทำ 2 ครั้ง คือ

การตัดแต่งครั้งแรก ควรทำการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่ฝนเริ่มตกแต่มะม่วงยังไม่แตกยอดอ่อนเลือกกิ่งเริ่มจากโคนกิ่งใดกิ่งหนึ่งจนถึงปลายกิ่ง กิ่งที่ควรตัดทิ้งนั้น คือ กิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งแห้ง กิ่งที่มีกาฝาก กิ่งที่ทับซับซ้อนกันหลายๆ กิ่ง กิ่งที่ทำมุมแคบเกินไป และกิ่งที่ไม่สามารถยื่นออกไปรับแสงแดดได้เป็นต้องตัดออกเพื่อให้ได้ทรงพุ่มโปร่งและรูปทรงที่เราต้องการ และหลังจากตัดกิ่งแล้วควรใช้สารเคมีฉีดเพื่อจำกัดโรคและแมลง

การตัดแต่งกิ่งครั้งที่ 2 เริ่มตัดเมื่อฝนหมดแล้วเพื่อเป็นการให้มะม่วงออกดอก โดยการตัดกิ่งที่เกิดจากการตัดในครั้งแรก เพื่อลดจำนวนกิ่งให้น้อยลงจะได้ไม่แย่งอาหารและน้ำจากลำต้น จะทำให้กิ่งที่เหลือนั้นสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะออกดอกที่ติดผลต่อไป

วิธีการตัดแต่งกิ่งในระยะชิด

1.จะเป็นการสร้างโครงสร้างให้กับต้นมะม่วงที่ปลูก ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงยอดหรือลำต้นที่เกิดจากการติดตา ต่อกิ่ง จนมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร หรือประมาณ 2 ฟุตขึ้นไป (ถ้ามะม่วงเป็นกิ่งทาบ ปกติจะมีความสูงพร้อมที่จะตัดแต่งได้เลย)

2.ใช้เล็บสะกิดยอดออก หรือใช้ปลายมีดปาดเป็นรูปสามเหลี่ยมตัดตายอดออกเพื่อให้ตาข้างที่อยู่ ใกล้ในระดับเดียวกันแตกออกเป็นกิ่งข้าง ปล่อยให้ตาข้างแตกเป็นอิสระ เมื่อกิ่งแตกออกมามีความยาว 3-4 นิ้ว เลือกกิ่งที่แข็งแรง มีขนาดใกล้เคียงกันไว้ 2-3 กิ่ง และควรมีทิศทางที่เป็นมุมพอดีได้ระยะกัน ไม่แคบหรือกว้างเกินไป (กิ่งที่ทำมุมแคบเกินไปคือกิ่งที่ทำมุมกับลำต้นน้อยกว่า 45 องศา แต่ต้องไม่กว้างเกิน 60 องศา)

3.เป็นยอดที่เลี้ยงไว้ 2-3 กิ่ง เป็นใบแก่ให้ทำลายยอดของกิ่งใหม่ อีกครั้งเพื่อให้แตกกิ่งแขนงพร้อมกัน และเลือกไว้ยอดละ 2 กิ่ง เลือกกิ่งที่สมบูรณ์สม่ำเสมอกัน พร้อมทั้งอยู่ตำแหน่งตรงข้าม มีง่ามกิ่งกว้าง มุมที่ง่ามกิ่งประมาณ 60 องศา ถึงขั้นนี้ยอดทั้งหมดจะได้ 6-9 ยอด

4.เมื่อยอดชั้นที่ 2 เลี้ยงไว้ 6 หรือ 9 กิ่ง ใบแก่อีกครั้งก็จะทำลายยอดเช่นกัน ขั้นตอนที่ 2 และ 3 และเลี้ยงไว้ยอดละ 3 กิ่ง มุมที่ง่ามกิ่งประมาณ 45 องศา ก็จะได้ยอกดรั้งสุดท้าย เท่ากับ 18 หรือ 21 กิ่ง

ถ้าเขียนเป็นสูตรตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขั้นสุดท้าย คือ

1-2-6-18 หรือ 1-3-9-21

หรืออาจจะตัดแต่งสูตร 1-3-6-18 ก็ได้

สูตร 1-2-6-18

สูตร 1-3-9-21

สูตร 1-3-6-1

การตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่ให้ผลในระยะชิด

การปลูกมะม่วงในระบบระยะชิดเมื่อปลูกไปได้ 3 ปี ถึงปีที่ 4 เป็นช่วงที่จะเริ่มให้ต้นมะม่วงออกดอกและผลอย่างเต็มที่ และเมื่อเก็บผลผลิตเก็บเกี่ยวไปแล้วจะต้องทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มของต้นมะม่วงให้มีขนาดที่เท่าเดิม มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาทรงพุ่มใหญ่เกินไปมีผลต่อการออกดอกติดผลในครั้งต่อไป และไม่สะดวกในการปฏิบัติงานภายในสวน

ตัดแต่งกิ่งมะม่วงในระบบชิดที่ให้ผลแล้วควรทำดังนี้ คือ

มะม่วงที่ปลูกในระยะชิด เมื่ออายุประมาณ 3-6 ปี ทรงพุ่มก็เริ่มจะชนกัน การตัดแต่งกิ่งจะต้องตัดให้เหลือสั้น โดนตัดจากปลายกิ่งลึกเข้ามา 3 ช่วงใน ทุกกิ่ง ทุกต้น ซึ่งตัดแล้วทรงพุ่มของต้นมะม่วงจะเหลือประมาณ 2 ช่วงใบ (ช่วงการเจริญ) และการตัดในครั้งต่อๆ ไป ก็จะทำในลักษณะเดียวกันนี้ แต่จะเหลือโคนกิ่งของช่วงใบที่ 3 ติดอยู่ที่ปลายกิ่ง ช่วงใบที่ 2 กิ่งยาวประมาณ 10 เซนติเมตร โดยเลือกเอากิ่งที่แตกเข้าพุ่มไว้ เพื่อป้องกันมิให้ทรงพุ่มขนาดเกิน 1 เมตร จะทำให้มีพื้นที่ว่างระหว่างต้นได้กว้างขึ้น สะดวกต่อการปฏิบัติงานต่างๆ ภายในสวน

การแตกของกิ่งจะอาศัยตาที่โคนกิ่ง เมื่อกิ่งที่แตกออกมาโตพอสมควร ควรจะทำการปลิดกิ่งที่ไม่ต้องการออก เหลือไว้แต่กิ่งที่เจริญเหมาะสม

การตัดแต่งกิ่งในลักษณะนี้ ควรจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ซึ่งจะทำให้ยอดที่แตกออกมาแก่และสมบูรณ์พอที่จะออกดอกได้ในปีนั้นเลย ถ้าไม่มีการเตรียมการไว้ก่อนตัดแต่งช้าเกินไป จะส่งผลต่อผลผลิตที่จะได้ในปีนั้นอาจจะลดลงไปได้มาก และควรจะตัดแต่งในเดือนมิถุนายน ซึ่งยอดก็จะแก่ในเดือนพฤศจิกายน ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งที่มีอายุขนาดนี้จะสามารถออกดอกติดผลได้ดี

ในยุคที่ประเทศต้องการก้าวเข้าสู่ “Thailand 4.0” ภาคการเกษตรไทยเองก็ต้องตื่นตัวรับกระแสที่จะสร้างโอกาสการพัฒนาให้สอดคล้องกับเกษตรระดับโลกตามยุทธศาสตร์เกษตร 4.0 ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้วางไว้ ถือเป็นการพลิกแนวคิดเกษตรโดยเน้นการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนจากการใช้ทรัพยากรเป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม ประเด็นหนึ่งที่ภาคการเกษตรต้องเร่งหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การกำจัดทำลายบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรใช้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องในการทำลายบรรจุภัณฑ์เหล่านั้น ซึ่งสารปนเปื้อนที่เหลือตกค้างอยู่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเกษตรกรและสัตว์เลี้ยงได้

ชาวไร่กว่า 40,000 คน ทำไร่ยาสูบรวมกันกว่า 132,000 ไร่ มีผลผลิตใบยาสูบ 40,900 ล้านกิโลกรัม โดยประมาณ 18,200 ล้านกิโลกรัม หรือ 44% ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ การใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อควบคุมแมลงและโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับผลผลิตบางครั้งก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จึงได้ร่วมกับบริษัทรับซื้อและส่งออกใบยาสูบ บริษัท Alliance One Thailand บริษัท อดัมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ADAMS) และ บริษัท ไซแอม โทแบคโค เอกซ์ปอร์ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (STEC) ริเริ่ม โครงการกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรในไร่ยาสูบ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เพื่อเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วและส่งไปเผาทำลายอย่างถูกวิธี

นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กล่าวว่า “โครงการกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรฯ เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมหลักปฏิบัติด้านการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices – GAP) ที่เราต้องการพัฒนาคุณภาพผลผลิตใบยาสูบให้ได้มาตรฐานการส่งออก ในขณะเดียวกันก็ดูแลคุณภาพชีวิตของแรงงานในไร่และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ก่อนหน้าจะมีโครงการนี้ กว่า 80% ของบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรที่ใช้แล้วถูกกำจัดทำลายแบบไม่ถูกต้อง โครงการฯ ได้วางขั้นตอนการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี โดยบริษัทรับซื้อและส่งออกใบยาสูบเป็นผู้รับจัดเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรทั้งหมดที่ใช้ในไร่ยาสูบและพืชอื่นๆ เพื่อนำไปส่งบริษัทรับเผากำจัดขยะอันตรายให้ทำลายอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งฝึกอบรบและให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง”

จนถึงปัจจุบัน มีการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรที่ใช้แล้วกว่า 947,000 ชิ้น หรือมากกว่า 10 ตัน กลับคืนจากชาวไร่ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ถูกรวบรวมนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและถูกสุขลักษณะ และมีชาวไร่ยาสูบกว่า 13,400 ราย หรือร้อยละ 80 ของชาวไร่ยาสูบทั้งหมดเข้าร่วมโครงการ

นายเกษม เพ็งผลา ชาวไร่ยาสูบจาก ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า “เมื่อก่อนชาวไร่เรานิยมเอาขวดพลาสติกและแก้วให้กับร้านขายของเก่า หรือไม่ก็เผาหรือฝังลงดิน แต่พอเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทรับซื้อใบยาสูบก็มาให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง และแนะนำให้เก็บภาชนะบรรจุสารเคมีไว้ในตู้เก็บสารเคมี รอให้เจ้าหน้าที่จากทางบริษัทฯมารับ และนำไปส่งเพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป”

“นับเป็นครั้งแรกในภาคการเกษตรของประเทศที่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราอยากเห็นชาวไร่และแรงงานยาสูบมีความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม และเราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยกำหนดมาตรฐานที่ดีให้กับประเทศไทย เพื่อช่วยตอบโจทย์เกษตร 4.0 และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรไทย” นายพงศธร กล่าวสรุป

การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยมุ่งเน้นให้คนภายในชุมชนเกิดการพัฒนาอาชีพขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม เป็นภูมิปัญญาที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ไปสู่การสร้างอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง ถือเป็นยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เพื่อวิถีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนและสร้างชุมชนที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “สร้างรายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจากวิถีท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดยการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ได้นำไปสู่แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่เน้นการยกระดับความเป็นอยู่ให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชนอันเป็นการสนองต่อหลักการสัมมาชีพชุมชน ที่มุ่งเน้นไปที่ความสุจริตในการประกอบอาชีพ การไม่เบียดเบียนทั้งต่อตนเองและสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกระบวนการที่ซึ่งให้ชาวบ้านที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน สอนชาวบ้านในสิ่งที่ถนัดและที่สนใจในการฝึกอาชีพใหม่ๆ จากการต่อยอดภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นผู้ประสานงาน และมีทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เป็นพี่เลี้ยง ทำให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนมีอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถก้าวไปสู่สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อก่อให้เกิดรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ตั้งเป้าหมายการสร้างอาชีพครัวเรือน จำนวน 23,589 หมู่บ้าน 471,780 ครัวเรือน

‘บ้านหลักเขต’ หมู่ 18 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2555 ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนฐานรากอาชีพให้เข้มแข็งจากกรมการพัฒนาชุมชน โดยนายสุธีร์ วงค์อุ่นใจ ปราชญ์ชาวบ้าน วัย 58 ปี เล่าถึงความแตกต่างของชุมชนที่มีการนำแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปรับใช้ว่า คือการสร้างให้ พึ่งพาตนเองได้ หนี้สินลดลงและมีรายได้เพิ่ม เมื่อมีการนำแนวคิดวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามา ทำให้ทุกครัวเรือนมีความมั่นคงเกิดการรวมตัวด้านอาชีพโดยไม่ต้องรับจ้าง ชาวบ้านที่ไปทำงานต่างถิ่นก็กลับมามีอาชีพที่บ้านเกิดของตนเอง ในฐานะปราชญ์ชาวบ้านที่ได้เข้าร่วมโครงการอบรมส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ จึงนำความรู้จากการอบรมที่ได้เข้าไปถ่ายทอดสอนชาวบ้าน สร้างอาชีพจากครัวเรือน

‘หมู่บ้านหลักเขต’ เริ่มเรียนรู้การสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการมองวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนซึ่ง 230 ครัวเรือน ในหมู่ 18 มีจำนวนการปลูกกล้วยกันแทบทุกครัวเรือนเป็นทุนเดิม จึงได้หาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มของกล้วยที่มีอยู่ทุกครัวเรือน มาทำให้มีรายได้เพิ่ม โดยได้นำภูมิความรู้จากคนในหมู่บ้านมาช่วยถ่ายทอดการทำกล้วยแปรรูป ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตไว้ได้นานขึ้น ราคาจากการขายกล้วยหวีตามน้ำหนักชั่งที่จากเดิมมีราคาต่อหวีจำนวนไม่มาก จากหนึ่งหวีสามารถแปรรูปได้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัวได้

จากการพลิกผืนป่ากล้วยในหมู่บ้านหลักเขตสู่การรวมตัวกันจัดตั้งหมู่บ้านสัมมาชีพขึ้น โดยการตั้งกลุ่มขึ้นกันเอง 11 กลุ่ม เพื่อให้มีการดูแลกันอย่างทั่วถึง ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้ากลุ่มดูแลรับผิดชอบ มีการจัดประชุมกันในหมู่บ้านทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน เพื่อมาปรึกษาหารือกันในสัมมาชีพชุมชน

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2555 กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นถึงความพร้อมของทรัพยากรในหมู่บ้านหลักเขต จึงมีการสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนจนกระทั่งกลายเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบประจำปี 2555 ทำให้ชาวบ้านหันกลับมาสร้างรายได้จากสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวและมีการแลกเปลี่ยนภูมิความรู้สู่กัน และเมื่อกรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างรายได้ โดยเริ่มจากการคัดเลือกปราชญ์ให้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ และคัดเลือกทีมที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนให้แก่หมู่บ้าน จนกระทั่งมีการคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน จัดให้ใน 4 หมู่บ้าน มีทีมดูแลสัมมาชีพชุมชนต่อ 1 คน ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะสร้างรายได้แบบก้าวหน้า คือการแปรรูปวัตถุดิบในครัวเรือนออกขายเพิ่มรายได้

‘กัลยา สายประสาท’ ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการแปรรูปกล้วยออกสู่คนในชุมชน เล่าว่า เมื่อชาวบ้านเริ่มหันมาสร้างรายได้จากภูมิปัญญาในครัวเรือน ผลผลิตกล้วยซึ่งปลูกกันทุกครัวเรือนได้ถูกนำมารวมกลุ่มกันแปรรูป โดยปราชญ์ชาวบ้านจึงได้ชักชวนแกนนำวิทยากร 4 คน ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย และชาวบ้าน มาช่วยกันก่อตั้งกลุ่มชาวบ้านหลักเขตขึ้นเพื่อพัฒนาอาชีพในพื้นที่ ซึ่งปราชญ์และวิทยากรชุมชน จะต้องมีการเข้าอบรมความรู้จาก พช. แล้วเราก็ได้นำความรู้ที่อบรมแปรรูปกล้วยมาปรับใช้กับความรู้เดิมถ่ายทอดสู่คนในชุมชน

กัลยา ยังเล่าต่อไปอีกว่า ชาวบ้านที่มีความสนใจงานแปรรูปก็จะมารวมตัวกันที่ลานหมู่บ้าน เราก็จะสอนตั้งแต่การปอก การหั่น การผสมรสชาติ เค็ม หวาน การทำให้กล้วยฉาบได้มาตรฐานการผลิต ตลอดจนถึงการบรรจุผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนการผลิตซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณกล้วย ประมาณจำนวน 50-100 ถุง เฉลี่ยราคาอยู่ที่ประมาณถุงละ 20 บาท เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วก็จะนำขึ้นทะเบียนโอทอป ซึ่งการรวมกลุ่มแปรรูปในชุมชน ช่วยลดปัญหาหนี้สิน และยังช่วยเพิ่มเทคนิคการทำสัมมาชีพให้คนในชุมชน จากการแปรรูปกล้วยฉาบไปสู่การแปรรูปฟักทอง มันฉาบ และผลผลิตอื่นๆ ในแต่ละครัวเรือนด้วย

‘วรรณวิภา ธุวะชาวสวน’ เกษตรผู้ส่งเสริมการปลูกกล้วย เล่าว่า ตนเองคือหนึ่งในผู้ทำงานรับจ้างในเมืองที่เป็นหนี้สะสม หารายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด และได้ไปเห็นการสร้างอาชีพของคนในชุมชน จึงเกิดการเรียนรู้มุมมองใหม่ขึ้น โดยมีปราชญ์ชาวบ้านให้คำแนะนำ ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการพึ่งพาตนเอง จนกระทั่งได้เกิดความคิดในการเลี้ยงชีพจากวิถีชีวิตบ้านเกิด ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

วรรณวิภา เริ่มต้นจากการพออยู่พอกิน ปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานภายในบ้าน เมื่อผลผลิตออกผลจำนวนมากจนเหลือจึงนำออกขายสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน ต่อมาจึงพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบบ้านให้เป็น ศูนย์เรียนรู้การปลูกกล้วยแบบผสมผสาน จำนวน 2 ไร่ ที่มีการปลูกพืชรายวันและรายเดือน เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งเดือน รายได้หลักต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท และรายได้ต่อเนื่องเป็นรายวันตามผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้

รายได้หลักเน้นที่การผลิตกล้วย ในหมู่บ้านมีการแปรรูปกล้วยกันเอง รวมทั้งรับซื้อกล้วยของคนในพื้นที่ โดยให้ราคาจริงในท้องตลาด เฉลี่ยหวีละประมาณ 20-35 บาท นอกจากนี้กล้วยเป็นพืชที่สามารถขายได้ทั้งหน่อ หัวปลี ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 15 บาท รวมทั้งพืชผักในสวน จะส่งขายตามตลาดนัด หรือมีบางช่วงจะมีพ่อค้าเข้ามาติดต่อขอซื้อทั้งสวนของตนเองและคนในหมู่บ้านเพื่อส่งขายตลาดไท

กล่าวได้ว่า วันนี้ หมู่บ้านหลักเขตคือต้นแบบวิถีชีวิตบนเส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้สัมมาชีพในท้องถิ่นสร้างรายได้แบบพึ่งพาตนเอง การแปลงต้นทุนวัตถุดิบในครัวเรือน เลี้ยงชีพครัวเรือน เลี้ยงชีพชุมชน เป็นการสร้างความเข้มแข็งในระบบต้นน้ำอย่างบูรณาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำนึกรักบ้านเกิดจากภูมิปัญญา สัมมาชีพชุมชนอย่างแท้จริง สร้างเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ครอบครัวของ คุณมะโนทยาน พรมกอง อพยพจากอำเภอเดชอุดม มาตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านเลขที่ 165 หมู่ที่ 7 บ้านเกษตรสมบูรณ์ ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

สมัยก่อน ถึงแม้น้ำยืนจะเข้าออกลำบาก แต่ก็ดินดำน้ำดีกว่าที่เดชอุดม…ดีไม่ดีอย่างไรให้สังเกตดูที่ชื่อหมู่บ้านคือเกษตรสมบูรณ์ เมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ๆ ครอบครัวของคุณมะโนทยานปลูกข้าวไว้กิน ขณะเดียวกัน ก็ปลูกพืชไร่ จำพวกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง

มีอยู่ช่วงหนึ่ง มะเขือพวงมีราคา จึงปลูกกันพอสมควร ทำให้ผลผลิตมีมาก หากนำไปขายในตัวเมืองอุบลฯ หรือที่ตลาดอำเภอวารินชำราบ ขายได้ราคาไม่ดี จึงต้องนำไปขายไกลถึงจังหวัดจันทบุรี คุณมะโนทยาน นำมะเขือพวงบรรทุกรถไปขายถึงเมืองจันท์ ซึ่งอยู่ไกลพอสมควร

เมืองจันท์ในช่วงที่คุณมะโนทยานไปเห็นนั้นเป็นหน้าผลไม้ ตามข้างทางมีสวนเงาะสุกแดง ข้างทางบางแห่งมีทุเรียนวางขายอยู่เต็มไปหมด คณะที่ไปได้ซื้อชิมแล้วอร่อย

ขณะที่นั่งรถกลับบ้าน คุณมะโนทยานเริ่มคิดว่า น่าจะปลูกทุเรียน เพราะสภาพพื้นดินของอำเภอน้ำยืน สีเดียวกับเมืองจันท์ เพราะเป็นตะเข็บชายแดนติดต่อกับกัมพูชา ฝนฟ้าก็ตกดี แหล่งน้ำก็หาได้

ไปขายมะเขือพวงเที่ยวใหม่ ขากลับคุณมะโนทยานซื้อพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาปลูกที่บ้านจำนวน 150 ต้น

ครอบครัวนี้จำได้ชัดเจนว่า ตรงกับปี 2535 ปลูกไปได้ 5-6 ปี ทุเรียนเริ่มมีผลผลิต ถึงแม้ไม่มากนัก เจ้าของนำไปขายได้กิโลกรัมละ 20-30 บาท ทุกคนในครอบครัวตื่นเต้นและดีใจมาก เพราะข้าวโพดและมันสำปะหลัง ก่อนหน้านี้กิโลกรัมหนึ่งขายได้ไม่ถึง 5 บาท

ถือว่า งานปลูกทุเรียนเริ่มตั้งแต่ปี 2535 จากนั้นมาน้องชายของคุณมะโนทยาน คือ คุณเรืองศักดิ์ เห็นตัวอย่างจึงปลูกบ้าง ซึ่งก็ได้ผลดีเช่นกัน ลูกชายสืบทอดเจตนารมณ์

วันที่ไปขอข้อมูลเพื่อนำมาเผยแพร่ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คุณมะโนทยานติดภารกิจ การให้ข้อมูลจึงตกแก่ คุณธนะศักดิ์ พรมกอง ลูกชายของคุณมะโนทยาน ซึ่งถือว่าเป็นทายาทผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของผู้เป็นพ่อได้อย่างดีเยี่ยม

คุณธนะศักดิ์ บอกว่า หลังจากที่คุณพ่อ นำต้นทุเรียนมาปลูกใหม่ๆ คนทั่วไปยังไม่เชื่อว่าจะมีผลผลิตให้เก็บกินเก็บขาย เนื่องจากมีความเข้าใจว่า ทุเรียนต้องที่ภาคตะวันออกและภาคใต้เท่านั้น ที่ศรีสะเกษก็ยังไม่มีข่าวว่าปลูกได้ เมื่อมีผลผลิต จึงเป็นอันสรุปได้ว่า ทุเรียนปลูกได้แน่แล้ว ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

รวมระยะที่ทุเรียนลงหลักปักฐาน ที่สวนของคุณมะโนทยานเป็นเวลากว่า 25 ปี

แล้วทำไมไม่ขยายพื้นที่ออกมากๆ

ถึงแม้ทุเรียนปลูกได้ที่ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน แต่ราคาทุเรียนเมื่อปี 2540 ไม่สูงอย่างปัจจุบัน คือกิโลกรัมละ 80-100 บาท การขยายจึงมีไม่มาก

ความรู้ความชำนาญ เมื่อเปรียบเทียบกับท้องถิ่นเดิม ชาวสวนที่น้ำยืนยังมือใหม่ การขยายจึงมีไม่มาก พืชเศรษฐกิจบางชนิดก็ท้าทายเจ้าของให้ทดลองปลูก อย่างปาล์มน้ำมัน ที่ผ่านมาคุณธนะศักดิ์บอกว่า คุณพ่อได้ปลูกปาล์มน้ำมันแซมในสวนทุเรียน เวลาผ่านไปจึงทะยอยตัดออก ซึ่งเป็นเรื่องหนักหนาพอสมควร เพราะกำจัดยากมาก

ยางพาราก็เป็นพืชหนึ่งที่เพื่อนบ้านไม่อยากปลูกทุเรียน เนื่องจากทุเรียนดูแลมากกว่ายางพาราหลายเท่า เทคโนโลยีการผลิตลงตัว

คุณธนะศักดิ์ บอกว่า ที่ผ่านมา ทางครอบครัวไม่ได้ปลูกทุเรียนอย่างเดียว แต่มีกล้วยไข่ และที่ลงทุนลงแรงไปพอสมควรคือปาล์มน้ำมัน

ล่าสุด ครอบครัวนี้โละปาล์มน้ำมันเกือบหมดแล้ว มีทุเรียนอยู่จำนวน 400 ต้น มังคุด 50 ต้น

ทุเรียนที่ให้ผลผลิตเต็มที่ปัจจุบันมีอยู่ 100 ต้น

ต้นที่เก่าแก่สุดอายุ 25 ปี คือปลูกในปี 2535

เรื่องของผลผลิต บางปีมาก บางปีน้อย อย่างเช่นปี 2559 เกิดภาวะแห้งแล้ง แหล่งทุเรียนที่จันทบุรีผลผลิตลด ที่น้ำยืนผลผลิตก็ลดเช่นกัน “ผลผลิตเคยได้มากหน่อย 9 ตัน แต่ปี 2559 ได้ผลผลิต 3 ตัน ขายกิโลกรัมละ 80 บาท ได้เงินกว่า 2 แสนบาท ปี 2560 ต้นทุเรียนรุ่นแรกๆ ได้รับการดูแลอย่างดี ต้นใหม่ก็ทะยอยให้ผลผลิต ผลผลิตคงได้มากกว่า 20 ตัน ราคาอาจจะสู้ปีก่อนๆ ไม่ได้ เรื่องความรู้เกี่ยวกับทุเรียน คิดว่าอยู่ตัวแล้ว ปลูกมานาน สำหรับมังคุดก็เป็นอีกพืชหนึ่ง ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตอย่างดี พื้นที่ทั้งหมดมี 20 ไร่ อาจจะขยายออกบ้าง ปลูกทุเรียน มังคุด ไม่ทำอย่างอื่นอีกแล้ว” คุณธนะศักดิ์ บอก

ดูแลได้อย่างมืออาชีพ

ความรู้เรื่องการปลูกและดูแลทุเรียน คุณมะโนทยานได้ศึกษาจากตำรา เจ้าหน้าที่เกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน และจากประสบการณ์ จากนั้นลูกชายคือคุณธนะศักดิ์ สืบทอดต่อ ถือว่าปัจจุบันผลผลิตของที่นี่สวยงามได้คุณภาพ

“ของเราเคร่งครัดมากเรื่องการตัดทุเรียน จึงไม่มีปัญหาเรื่องทุเรียนอ่อน คือนับจากหลังดอกบาน ของเราทุเรียนหมอนทอง หลังดอกบาน 120 วัน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิต” คุณธนะศักดิ์ บอก

จากนั้นทำอะไรต่อ เจ้าของบอกว่า BALLSTEP2 ที่นี่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จช่วงเดือนมิถุนายน จากนั้นจะตัดแต่งกิ่ง พร้อมกับใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 2 กิโลกรัม ต่อต้น สำหรับต้นที่ขนาดใหญ่ ต้นเล็กเพิ่งให้ผลผลิตก็ลดจำนวนลง เจ้าของจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอให้ถึงเดือนสิงหาคม (ใส่เดือนละครั้ง)

ปุ๋ยคอกใส่ขี้วัวแห้งให้ 1-2 กระสอบปุ๋ย ต่อต้น

หลังใส่ปุ๋ยมักมีฝนตก จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำแต่อย่างใด

ระหว่างนี้ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนออกมา ต้องหมั่นสำรวจว่า ถูกหนอนทำลายหรือเพลี้ยไปเล่นงานหรือไม่ หากมีควรป้องกันกำจัด หากใบไม่ดีมีผลต่อการออกดอกติดผลด้วย

เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน เจ้าของใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้เดือนละครั้ง (ครั้งละ 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น แล้วแต่อายุ) เพื่อเตรียมต้นสำหรับการออกดอก

ช่วงหนาวศัตรูอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือไรแดง จะทำลายใบแก่ หากใบแก่มีน้อย มีผลต่อผลผลิตบนต้นเช่นกัน คือมีใบปรุงอาหารน้อย ทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ พลอยจะทำให้แตกใบอ่อนและผลขนาดเล็กอาจร่วงหล่นได้

ปลายฝนชนหนาว เจ้าของงดให้น้ำ จนกระทั่งเดือนธันวาคม ทุเรียนจะผลิดอกออกมา เป็นระยะไข่ปลา เจ้าของจึงให้น้ำเบาๆ 2-3 วันครั้ง นานครั้งละ 30 นาที ต่อมาเมื่อดอกพัฒนา จึงเพิ่มเวลาให้น้ำนานขึ้น

สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรประสบปัญหา คือทุเรียนแตกใบอ่อน ทำให้ผลขนาดเล็กร่วง คุณธนะศักดิ์บอกว่า ที่สวนไม่มีปัญหา ซึ่งแก้ไขโดยการให้น้ำสม่ำเสมอ รวมทั้งให้ปุ๋ยจนต้นทุเรียนชิน

จากชีวิตลูกจ้าง สู่เกษตรกรเจ้าของสวนเงาะเริ่มแรกเดิมทีเป็นลูก

อยู่ภายในสวนทางภาคใต้ จึงได้พอเรียนรู้สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับการทำสวนมาบ้าง เมื่อรู้สึกว่าอยู่ไกลจากบ้านมากเกินไป จึงได้หาโอกาสกลับมาอยู่บ้าน พร้อมทั้งทดลองปลูกพืชในพื้นที่ว่างที่มีอยู่ เมื่อปี 2545

“ก่อนหน้านั้นที่เราเลิกเป็นลูกจ้างเขา เราก็มาปลูกพวกพืชไร่ก่อน ผลปรากฏว่าราคาผลผลิตทางด้านนี้ไม่ตอบโจทย์ ยิ่งทำรู้สึกว่าไม่คุ้ม ก็เลยมาค่อยๆ ปรับพื้นที่เป็นไม้ผลจำพวกเงาะแทน ช่วงนั้นก็เริ่มที่ 200 ต้น พอเจริญเติบโตขึ้นโดนลมพัดโค่นไป ก็เหลืออยู่จริงตอนนี้ประมาณ 150 ต้น ก็สามารถให้ผลผลิตได้ดี” คุณทองดี บอกถึงที่มา

คุณทองดี เล่าต่อว่า เงาะที่นำมาปลูกจะต้องรอให้ต้นมีอายุประมาณ 3-4 ปี จึงจะเริ่มให้ผลผลิตเก็บขายได้ โดยเวลานี้ก็ได้ไม้ผลชนิดอื่นมาปลูกด้วย คือ ทุเรียน ซึ่งทุเรียนที่ปลูกจนให้ผลผลิตสามารถขายได้มีอยู่ประมาณ 30 ต้น และได้เพิ่มพื้นที่ปลูกไปอีกประมาณ 50 ต้น

“พอผลผลิตที่ออกมาขายจนหมดแล้ว เราก็จะเตรียมดูแลต้นให้สมบูรณ์ ด้วยการตัดแต่งกิ่ง จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 เดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ต้นเงาะมีความสมบูรณ์ สามารถออกผลผลิตได้ในฤดูกาลถัดไป ส่วนเรื่องการรดน้ำ เงาะถือว่าเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ ต้องมีน้ำผลผลิตถึงจะดี เราจะดูที่หน้าดิน ถ้าแห้งก็จะให้น้ำตามความเหมาะสม” คุณทองดี บอก

เมื่อผ่านการดูแลต้นเงาะเข้าสู่ต้นเดือนมกราคม คุณทองดี บอกว่า ไม้จะเริ่มออกดอกให้เห็นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในช่วงนี้จะเปลี่ยนปุ๋ย เป็นสูตร 8-24-24 โดยเน้นให้มีตัวกลางและท้ายสูง จากนั้นผ่านเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ต้นก็จะเริ่มติดผล ก็จะเตรียมการฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อบำรุงในเรื่องของการดูแลการติดผล เดือนละ 2-3 ครั้ง และที่สำคัญในเรื่องของการให้น้ำ ต้องหมั่นดูแลอย่าให้ขาดจนกว่าผลผลิตจะแก่ ซึ่งผลผลิตจะออกขายได้เมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน

ในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณทองดี บอกว่า ช่วงที่อากาศร้อนในเดือนมีนาคม-เมษายน ศัตรูของเงาะที่ต้องระวังคือ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย จะฉีดพ่นยาป้องกันตามอาการที่เกิด ซึ่งช่วงนี้สำคัญมากต้องดูแลเป็นพิเศษ

ผลไม้จากดินภูเขาไฟ รสชาติดี ตลาดต้องการ

คุณทองดี เล่าถึงเรื่องของการตลาดให้ฟังว่า ในช่วงแรกที่เริ่มทำสวนใหม่ๆ เมื่อผลผลิตเริ่มมีให้เก็บขาย จะนำไปขายเองตามตลาดนัด เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าเสียก่อน ซึ่งผลตอบรับจากการขายผลผลิตค่อนข้างดี ต่อมาไม่ต้องนำออกไปขายที่ไหนอีกเลย โดยมีพ่อค้าแม่ค้ามาซื้อถึงสวนกันเลยทีเดียว

“ตอนนี้ก็ถือว่าเงาะยังเป็นผลไม้ที่บ้านเรายังนิยมกินอยู่ ซึ่งราคาที่ผมขายอยู่หน้าสวน ก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 30-35 บาท เมื่อเทียบกับสมัยก่อนแล้ว ราคาปัจจุบันนี่ถือว่าดีมาก ซึ่งสมัยก่อน กิโลกรัมละ 8-10 บาท ถือว่าเดือนมิถุนายนเงาะที่นี่ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแก่ขายได้ โดยสวนผมต่อปีเฉลี่ยแล้ว ได้ผลผลิตประมาณ 40-50 ตัน ก็สามารถเป็นอาชีพที่มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ส่วนทุเรียนก็ขายผลผลิตได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 90-100 บาท ก็พอสามารถขายทำเงินได้เช่นกัน” คุณทองดี กล่าวถึงเรื่องตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกเงาะเป็นอาชีพสร้างรายได้ คุณทองดี แนะนำว่า สิ่งที่สำคัญของการปลูกเงาะคือ เรื่องแหล่งน้ำต้องมีอย่างเพียงพอ จึงจะทำให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ส่วนเรื่องอื่นๆ สามารถเรียนรู้และสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ เท่านี้ก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก ขอให้มีการจัดการที่ดี

ในวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นผลไม้ขายดี ติดตลาด ไม่แพ้ กล้วยชนิดต่างๆ ความจริง กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย หากใครมีพื้นที่ว่างในสวนหลังบ้าน ก็สามารถหาพันธุ์กล้วยไข่มาปลูกและบำรุงรักษาให้เจริญเติบโตได้ไม่ยาก แค่ใช้เวลาปลูกดูแลไม่นานก็จะได้ผลผลิตให้เก็บกินและเก็บขายได้

การปลูก-ดูแล
กล้วยไข่ เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปในพื้นที่ราบ ต้นกล้วยไข่เติบโตได้ดี ในสภาพดินร่วนซุยค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ “ฤดูฝน” เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการปลูกกล้วยไข่ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ปลูกต้นกล้วยไข่ในพื้นที่โล่งมากเกินไป เพราะหากเจอปัญหาลมพัดแรง จะเสี่ยงทำให้ต้นกล้วยไข่หักโค่นล้ม หรือหักครึ่งต้นได้ในระยะตกเครือ หากเป็นไปได้ ควรปลูกไม้กันลมไว้ด้วยจะยิ่งดี

ก่อนปลูก ควรไถดะไถแปรทั้งแปลง ตากดินไว้ 5-7 วัน ขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดขึ้นจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุมด้วยใบไม้หรือฟางข้าวแห้ง เกลี่ยดินที่ผสมไว้กลับลงหลุมวางหน่อกล้วยลงหากต้องการให้ต้นกล้วยตกเครือในทิศทางเดียวกัน ให้หันรอยแผลที่ตัดแยกจากต้นแม่ไปทิศทางเดียวกัน กลบหน่อกล้วยให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร กลบดินเหยียบอัดพอแน่น พูนกลบดินให้สูงเหนือผิวดินเป็นรูปหลังเต่าป้องกันน้ำขังและขณะรดน้ำหรือฝนตกชุก ในระยะฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำเป็นครั้งคราว

ต้นกล้วยไข่มีการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก นับจากเริ่มปลูกจนต้นกล้วยตั้งตัวได้ ระยะนี้ต้นกล้วยต้องการน้ำและอาหารมาก ซึ่งจะมีผลต่อการให้ผลผลิตกล้วย ระยะที่ 2 เริ่มจากหลังการตั้งตัวจนถึงก่อนการตกเครือเล็กน้อย อาหารส่วนใหญ่จะนำไปผลิตหน่ออ่อน ระยะที่ 3 จากระยะตกเครือไปจนถึงผลแก่ จะเห็นว่าต้นกล้วยต้องมีการสะสมอาหารไว้ในปริมาณสูงตลอดทั้ง 3 ระยะจึงจะให้ผลดี

การให้ปุ๋ย
หากปลูกต้นกล้วยไข่ ในแหล่งดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเคมีบำรุงดินด้วย ครั้งแรกใส่หลังจากต้นกล้วยไข่ตั้งตัวแล้ว 1 เดือน เลือกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อต้น และใส่อีกครั้งในระยะตกเครือ ด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา ครึ่งกิโลกรัม ถึงหนึ่งกิโลกรัม ต่อต้น ตลอดระยะการปลูกต้องหมั่นกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องตัดหญ้าเป็นวิธีดีที่สุด ส่วนวิธีขุดสับจะมีผลเสียคือเป็นการทำลายระบบรากของต้นกล้วย

การให้ผลผลิต
เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มแทงหน่อเมื่อมีอายุ 5-6 เดือน ให้ตัดแต่งหน่อกล้วย โดยเลือกหน่อไว้เพียง 2 หน่อเพื่อทดแทนต้นแม่โดยเลือกหน่อที่อยู่คนละด้านของต้นแม่ เนื่องจากมีระบบรากที่แข็งแรง ส่วนการตัดแต่งกิ่งและใบ แนะนำให้ตัดใบที่แห้งและใบที่เป็นโรคทิ้งไปให้เหลือเก็บไว้ในระยะเครือจวนแก่เพียง 4-5 ใบ ก็พอ

กล้วยจะเริ่มให้ปลีเมื่อมีอายุ 8-12 เดือน นับจากวันปลูก สังเกตการออกปลีจะเห็นมี ใบธง จะมีขนาดเล็กกว่าใบทั่วไปและตั้งตรง ก้านปลีเริ่มยืดยาวออก ปลีมีน้ำหนักมากขึ้นจึงโน้มห้อยลง ปลีจะเริ่มบานให้เห็นดอก ไล่เวียนจากโคนมายังปลาย เมื่อได้รับการผสมเกสร ดอกจะพัฒนาเป็นผลกล้วย รวมระยะเวลาการบานใช้เวลา 10-15 วัน จากนั้นให้ตัดปลีที่ยังไม่บานออก

เมื่อต้นกล้วยไข่เริ่มให้ผลผลิต เครือกล้วยมีน้ำหนักมาก แนะนำให้ใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนก็ได้ ค้ำต้นกล้วยไข่ เพื่อป้องกันลมพัดโยก ไม่ให้ต้นกล้วยไข่หักพับลงด้วย ในแต่ละเครือจะมีหวีสมบูรณ์อยู่ประมาณ 5-6 หวี และหนึ่งหวีมีประมาณ 10-16 ลูก เฉลี่ยแล้วในหนึ่งเครือจะมีผลกล้วย 70 ผล โดยประมาณ การเก็บเกี่ยว ตัดเครือเมื่อครบ 90 วัน

การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลีกล้วยแทงออกจากปลีโผล่พ้นยอด ให้เก็บไม้ค้ำออกจนหมดแปลง ตัดเครือด้วยมีดคม นำปลายเครือตั้งขึ้นให้โคนอยู่ด้านล่าง ควรปฏิบัติอย่างนุ่มนวลอย่าให้กล้วยช้ำ ปล่อยให้ยางไหลออกไม่ไปเปอะเปื้อนผลกล้วย เมื่อน้ำยางแห้งจึงเคลื่อนย้ายเข้าเก็บในโรงเรือน ก่อนส่งขายหรือมีผู้รับซื้อมาซื้อถึงที่

โรคแมลงศัตรูพืช
“โรคตายพราย” คือ โรคพืชสำคัญของพืชตระกูลกล้วย โรคตายพราย เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง ระยะที่ระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นกับต้นกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือน อาการที่พบ ก้านใบแก่จะมีสีเหลือง ต่อมาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วไป ใบอ่อนมีอาการเหลืองไหม้ หรือตายนึ่งบิดเป็นคลื่น ใบจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ กล้วยที่ติดเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ แก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามซีด หากตัดขวางที่ลำต้นจะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราปรากฏให้เห็น

การป้องกันกำจัด เลือกพื้นที่ปลูกอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้ต้นกล้วยอ่อนแอเกิดโรคได้ง่าย ในดินที่เป็นกรดต้องใส่ปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรดของดินลง ต้นที่เป็นโรคควรตัดและเผาทำลายทิ้งไป ระยะที่เกิดโรคต้องลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง สิ่งสำคัญต้องคัดเลือกหน่อพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคชนิดนี้ระบาดมาก่อน

“ด้วงงวงไชเหง้า” คือแมลงศัตรูที่สำคัญของกล้วยไข่ ด้วงงวงไชเหง้า ในระยะตัวหนอนจะทำลายเหง้ากล้วยอย่างรุนแรง หากเหง้ากล้วย 1 ต้นมีหนอน 5 ตัวจะทำให้ต้นกล้วยตายลงในที่สุด แมลงตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง

วิธีป้องกันและกำจัด หมั่นทำความสะอาดในแปลงปลูกกล้วยโดยเฉพาะกาบและใบที่เน่าเปื่อย ต้องกำจัดให้หมดเพราะจะเป็นที่วางไข่ของแมลงชนิดนี้ เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วย เฮ็พตาคลอ ตามอัตราแนะนำราดลงบริเวณโคนต้น การระบาดจะหมดไป

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา รวมพื้นที่กว่า 1.9 ล้านไร่ ซึ่งลุ่มน้ำปากพนัง จัดเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแหล่งหนึ่งของภาคใต้

คุณทวี ศรีเกตุ เกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้มีดีกรีในระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ชาวตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และทำการเกษตรในรูปแบบของการเกษตรผสมผสาน รวมถึงการเพาะพันธุ์ปลานิล ปลาทับทิมและปลาดุก มาตลอดชีวิตของการเป็นเกษตรกร ซึ่งเมื่อถูกจุดประกายด้วยพืชพื้นถิ่นของปากพนัง คือ “ทุเรียนน้ำ หรือ ทุเรียนเทศ” ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง

“ผมเห็นคนซื้อทุเรียนเทศมา ในราคาลูกละ 60 บาท ผมรู้สึกว่ามันแพงมาก เพราะบริเวณชุมชนที่ผมอยู่อาศัยมีหลายต้น เป็นพืชพื้นถิ่น ผลก็หล่นแตกเละเยอะมาก แต่พอได้คุยกับคนแก่ก็ทราบว่า เนื้อทุเรียนเทศมีสรรพคุณช่วยรักษาโรครำมะนาด เพราะเนื้อมีวิตามินซีสูงมาก ช่วยเรียกน้ำนมในผู้หญิงหลังคลอด ใบใช้รักษาเหาและอาการไอเรื้อรัง หลังจากนั้นไม่นาน ผมไปเจอที่ตลาดอตก. ราคาทุเรียนเทศ กิโลกรัมละ 300 บาท หลังจากนั้นผมตั้งใจว่า จะทำสวนทุเรียนเทศจริงจัง”

คุณทวี เก็บเมล็ดทุเรียนเทศมาเพาะกล้าเอง ก่อนลงปลูกครั้งแรก จำนวน 600 ต้น และเดินเข้าหาสถาบันการศึกษาที่มีนักวิจัยศึกษาสารในทุเรียนเทศ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากทุเรียนเทศ เป็นการต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานาน

เหตุที่ต้องเดินหน้าเข้าหานักวิจัย เนื่องจากคุณทวี ทราบว่าคุณประโยชน์จากผลและใบทุเรียนเทศมีมากก็จริง แต่ผลต่อเนื่องจากสารบางชนิดที่อยู่ในใบทุเรียนเทศ สามารถทำลายอวัยวะภายในร่างกายได้ จึงตัดสินใจปรึกษากับนักวิจัย เพื่อศึกษาวิจัยให้การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทุเรียนเทศนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

ทุเรียนเทศ เป็นพืชพื้นถิ่นของภาคใต้ เมื่อมีการปลูกจริงจัง โดยการเพาะเมล็ด คุณทวี ลงปลูกครั้งแรกจำนวน 600 ต้น เหตุที่ต้องเพาะจากเมล็ด เพราะต้องการพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเดิมเป็นทะเล ดินที่อยู่ลึกลงไปประมาณ 2 เมตร เป็นดินเค็ม คุณทวีต้องการให้รากลึกลงไปกินแร่ธาตุที่มีอยู่ เพื่อให้มีผลต่อใบทุเรียน ซึ่งจะเป็นแหล่งเก็บสารหลายชนิด ที่สามารถนำมาสกัดใช้ประโยชน์ได้

ระยะเวลาเพาะกล้า 5 เดือน จากนั้นนำลงปลูก ระยะห่างที่เหมาะสม คือ 3×3 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้เกือบ 100 ต้น ช่วงลงแปลงใหม่ๆ ควรรดน้ำให้พอชุ่ม 2-3 วันต่อครั้ง หากน้ำไม่ถึงจะทำให้ต้นทุเรียนเทศแห้งตาย จากนั้นให้ปุ๋ยเคมีในการเร่งโต แต่การให้ปุ๋ยเคมีจะให้จนถึงช่วงอายุของต้นทุเรียน 2 ปี จากนั้นงดให้สารเคมีเด็ดขาด

ต้นทุเรียนเทศ อายุ 2 ปีขึ้นไป รดน้ำสัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่า ไม่เกิดอันตรายกับต้นทุเรียนเทศ เพราะทุเรียนเทศเป็นพืชชอบน้ำ ให้ผลดีในฤดูฝน

เมื่อต้นทุเรียนเทศ อายุ 2 ปีครึ่ง-3 ปี เริ่มเก็บใบได้ ซึ่งการเก็บใบให้สังเกตอายุใบกลางๆ สีไม่เข้มเกินไป หากใบอ่อนหรือแก่เกินไป สารที่อยู่ในใบทุเรียนเทศจะลดลง ไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้

การเก็บใบทุเรียนเทศ ใช้แรงงานคนในการเก็บโดยการใช้กรรไกรตัด มีแผ่นรองบริเวณรอบโคนต้นรับใบที่ตัดออก ในการตัดใบแต่ละครั้งตัดเพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ของต้น และตัดทุก 3-4 วัน ได้ใบทุเรียนเทศครั้งละประมาณ 3-4 กิโลกรัม ควรเหลือใบเลี้ยงลำต้นไว้ เพราะเราต้องการผลทุเรียนเทศด้วย ภายหลังตัดใบแล้วเสร็จ นำใบไปล้าง ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำไปหั่นโดยใช้เครื่องหั่น ซึ่งการใช้เครื่องหั่นใบเป็นการนวดใบทุเรียนเทศไปในตัว เช่นเดียวกับหลักการทำชาที่ต้องนวดใบชา และเมื่อถูกความร้อนจะทำให้สารที่อยู่ในใบสกัดออกมาได้ง่าย

ใบทุเรียนเทศสด น้ำหนัก 4 กิโลกรัม เมื่ออบแห้งแล้วเหลือเพียงใบทุเรียนเทศอบ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม

เมื่อทุเรียนเทศโตเต็มที่จะสูงประมาณ 6-7 เมตร และเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 3 ปีครึ่ง แต่ควรบำรุงรักษาต้นด้วยการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นไม่สูงมาก การเก็บใบจะทำได้สะดวก โดยการตัดแต่งกิ่งทำควรหลังจากเก็บผลแล้ว

ทุเรียนเทศ ก็เหมือนพืชทั่วไปที่มีโรคและแมลง คุณทวี บอกว่า ที่พบมีเพียง 2 ชนิด คือ หนอนผีเสื้อกินใบอ่อน หากพบจะจับออกแล้วทิ้งลงคูน้ำให้ปลากิน ส่วนหนอนไชลำต้น ต้องใช้น้ำหมักจากเมล็ดทุเรียน ซึ่งหมักจากกากน้ำตาล อีเอ็ม เมล็ดทุเรียน และยาเส้น ฉีดเข้าลำต้น จะทำให้หนอนไชลำต้นตาย

“ใบทุเรียนเทศ สามารถขายใบสดได้ในราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่เราไม่ได้ขาย เพราะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากทุเรียนเทศ เช่น ใบทุเรียนเทศอบแห้งพร้อมชง น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น สบู่ครีมทุเรียนเทศ แชมพูสารสกัดจากใบทุเรียนเทศ ทั้งหมดได้มาตรฐาน GAP GMP และ อย. ซึ่งทำให้ผมมีรายได้แต่ละปีมากกว่า 1 ล้านบาท”

แม้จะมีข้อกังวลว่า การบริโภคทุเรียนเทศทั้งใบและเนื้ออาจมีสารบางชนิดที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะในร่างกาย แต่คุณทวี การันตีด้วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการนำนวัตกรรมมาใช้ทำลายสารที่มีผลต่ออวัยวะในร่างกายให้หมดไป แต่ยังคงเหลือสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ครบถ้วน

“มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการทำเครื่องอบไมโครเวฟพลาสม่า ซึ่งเครื่องอบดังกล่าว เมื่อนำใบทุเรียนเทศเข้าอบแล้ว พบว่า สารในกลุ่มที่มีผลต่อร่างกายหายไป แต่สารตัวอื่นที่มีคุณประโยชน์อยู่ครบ ซึ่งเป็นเรื่องดี และทำให้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายชนิดออกมา”

ปัจจุบัน สวนทุเรียนเทศที่คุณทวีปลูกไว้ รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากทุเรียนเทศ สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้และศึกษาดูงานเรื่องทุเรียนเทศ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ปีนี้เป็นปีที่ผลไม้ยอดนิยมของไทย อย่าง ทุเรียน มีผลผลิตมากมายออกสู่ตลาด ราคาดี ชาวสวนแฮปปี้ ผู้บริโภคยิ้มได้ เป็นฤดูกาลแห่งความสุขของชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะการส่งออกทุเรียนไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งต้องคัดคุณภาพให้เยี่ยม หรือที่เรียกกันว่า เกรดส่งออก

แต่ในวงเสวนา เรื่อง คุณภาพทุเรียนไทย จะไปถึง 4.0 หรือ อยู่ที่ 0.4 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก็ยังหยิบยกปัญหาที่พบในการทำคุณภาพทุเรียนไทยเพื่อการส่งออกให้ได้มาตรฐาน เพราะแม้จะมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างไร ก็อาจมี “ทุเรียนอ่อน” หลุดออกสู่ตลาด ลดทอนมาตรฐานทุเรียนไทยในสายตาต่างประเทศลง

คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี ให้ข้อคิดเห็นถึงการผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน ว่า ทุเรียนยังคงเป็นพืชที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรดีกว่าพืชอื่น แต่จะเป็นไปได้ดีก็ต่อเมื่อเกษตรกรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่หากจะให้ไปถึง 4.0 นั้น คิดว่ายังห่างไกล ต้องมีการพัฒนาอีกมาก ซึ่งมีอีกหลายสายพันธุ์ ไม่เฉพาะพันธุ์หมอนทอง ที่อาจเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการส่งออกได้

ด้าน ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ยังมองเห็นศักยภาพของชาวสวนทุเรียนไทยว่า สามารถทำคุณภาพทุเรียนได้ถึง 4.0 ซึ่งการควบคุมคุณภาพทุเรียนของเกษตรกรยังคงใช้วิธีการนับอายุ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีปัจจัยที่ทำให้การนับอายุคลาดเคลื่อน เกิดการเบี่ยงเบน ทำให้ทุเรียนไม่ได้คุณภาพ ทั้งนี้ ได้คิดค้นเทคโนโลยีอินฟราเรดย่านใกล้ (NIR Technology) สำหรับคัดทุเรียนคุณภาพ ซึ่งมั่นใจในเทคโนโลยีชิ้นนี้จะช่วยให้สามารถคัดทุเรียนคุณภาพ และช่วยให้ทุเรียนไทยไปถึง 4.0 ได้แน่นอน

สำหรับ รศ. สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองแห่งชาติ แสดงความเห็นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและการส่งออก กรณีที่ทุเรียนไทยไม่ได้คุณภาพการส่งออกว่า เห็นด้วยกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคัดคุณภาพทุเรียน เพราะสามารถคัดแยกได้แม่นยำ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็เปรียบเสมือนการปรับโครงสร้างของเกษตรกรและการตลาด ซึ่งหากสามารถคัดแยกทุเรียนคุณภาพได้แล้ว ราคาก็จะสูงขึ้น และเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าการเสวนา จะมุ่งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการคัดคุณภาพทุเรียน เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเป็นการปรับโครงสร้างเกษตรกรและการตลาดได้ยกระดับมากขึ้น แต่ ศ.ดร. จริงแท้ ศิริพานิช อาจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน แนะนำให้ใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมาช่วย ได้แก่ การลดอุณหภูมิก่อนนำทุเรียนเข้าตู้คอนเทนเนอร์ การใช้สารเอทิลีนกับทุเรียนในความเข้มข้นต่ำลง การปรับการระบายอากาศ เพื่อไม่ให้มีการสะสมสารเอทิลีน การขนส่งให้ใช้เส้นทางบกเพื่อใช้เวลาขนส่งสั้นลง เป็นต้น

คุณไพบูลย์ วงศ์โชติสถิต นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ทุเรียนพันธุ์หมอนทองยังคงเป็นพันธุ์เศรษฐกิจของไทย แม้ว่าหลายประเทศจะผลิตได้เช่นเดียวกันก็ตาม ซึ่งการผลิตได้ทุกประเทศหมายความว่า ทุกประเทศคือคู่แข่งของเรา แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถผลิตได้ทุเรียนคุณภาพเท่าประเทศไทย และหากจะพัฒนาให้มีสายพันธุ์อื่นขึ้นมาก็ควรรีบทำโดยเร็วที่สุด เพื่อเป้าหมายการเป็นประเทศส่งออกทุเรียน อันดับ 1 ของโลก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยจะใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรฯ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560-2564 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในปี 2564 ไม่น้อยกว่า 1,333,860 ไร่ และมีจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 96,670 ราย เพิ่มสัดส่วน ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศ ร้อยละ 40 และตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 60 รวมทั้งยกระดับ กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น โดยมุ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่มีความพร้อมเป็นผู้นำต้นแบบในการดำเนินการเพื่อให้มีอาหารปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

นายประยูร อินสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เป็นสถาบันเกษตรกรที่มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์แทนการปลูกพืชแบบสารเคมี เพื่อให้ชาวบ้านมีความปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกิน พร้อมทั้งจัดหาตลาดชุมชนเพื่อเป็นจุดจำหน่ายผลผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ และพิถีพิถันกับการเลือกซื้อพืชผักผลไม้อินทรีย์ไปบริโภคจำนวนมาก และเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสซื้อหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 จากการประเมินผลการยกระดับสหกรณ์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับชั้น 1 สมาชิกแรกตั้ง 202 คน ทุนแรกตั้ง 1,138,774.00 บาท ปัจจุบันสหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิก จำนวน 306 คน สหกรณ์มีทุนดำเนินงาน 5,405,454.16 บาท

นายประยูร อินสกุล กล่าวถึงผลของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ต่อไปว่า สหกรณ์ได้ส่งเสริมสมาชิกปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้านและผักสวนครัว และผลไม้ส่วนหนึ่ง รวมถึงยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกข้าวอินทรีย์ ประเภท ข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอรี่ โดยสหกรณ์ดำเนินธุรกิจ 6 ด้าน เป็นธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นธุรกิจรวบรวมผลิตผล การให้สินเชื่อ เพื่อการประกอบอาชีพแก่สมาชิก การรับฝากเงิน การจัดหาสินค้าและปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการทำเกษตรอินทรีย์มาจำหน่ายให้สมาชิก และยังดำเนินการจัดหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าการเกษตรอินทรีย์ ให้แก่สมาชิกด้วย

ทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ตลาดในโรงเรียนดาราวิทยาลัย ตลาดในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตลาดนัดเจเจมาร์เก็ต ซึ่งจำหน่ายในวันเสาร์ ตลาดในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมู่บ้าน Land and House ใกล้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และช่องทางการจำหน่ายข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ร้านค้าสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด, และยังเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทาง website / Face book / Line, รวมถึงส่งไปจำหน่ายยัง ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์และเครือข่ายร้านค้าสหกรณ์ในจังหวัดและต่างจังหวัด และยังได้ร่วมกับสำนักงานสสส.นำผลผลิตไปจำหน่ายที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ ณ บริเวณโครงการจริงใจมาร์เก็ต และที่ตลาดต้องชม ซึ่งร่วมกับพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ด้วย

โครงการเด่นในปี 2560 สหกรณ์ดำเนินการส่งเสริมและให้บริการสมาชิกในด้านการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องการรับรองร่วมกับมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ดังนี้ 1. หลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการผลิตในระบบอินทรีย์ 2. การลดต้นทุนการผลิตพืชด้วยการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนในครัวเรือนและการผลิตจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 3. การนำผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มสมาชิก 5. ประชาสัมพันธ์ตลาด โดยเน้นสร้างความเข้าใจในระบบเกษตรอินทรีย์ให้กับผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคสัญจรไร่นา

นายประยูร อินสกุล กล่าวถึงโครงการที่สหกรณ์ได้ดำเนินการร่วมกับกรมฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และโครงการเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น โดยสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เข้าร่วมโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการผักปลอดภัย/อินทรีย์ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้ามาดูแลสนับสนุน รวมถึงยังมีโครงการระบบการตรวจสอบย้อนกลับกับกรมวิชาการเกษตร โครงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) กับกรมพัฒนาที่ดินและมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย รวมถึงยังเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการรับรองการผลิตสินค้าภายใต้โครงการเฝ้าระวังมาตรฐานสินค้าเกษตรของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรด้วย

ในช่วงที่ผ่านมานั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและถือเป็นภารกิจเร่งด่วนในขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์และการรวมกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต

นางผ่องพรรณ สะหลี NOVA88 เจ้าของสวนฮ่มสะหลี อยู่บ้านเลขที่ 112/2 หมู่ 1 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เล่าว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นนาข้าว จำนวน 2 ไร่ 70 ตารางวา ต่อมาได้มีการขุดบ่อ และขุดร่องทำสวน โดยเริ่มทำสวนมาตั้งแต่ปี 2556 ตอนแรกปลูกผักไว้กินเอง ต่อมาก็เริ่มก็ปลูกเยอะขึ้นๆ โดยจะเน้นปลูกผักสวนครัว เช่น ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา พริกขี้หนู จิงจูฉ่าย ผักบุ้ง ผักตามฤดูกาล หรือผักเมืองหนาว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะพร้าว หม่อน อัญชัน เสาวรส อย่างละไม่ กี่ต้น โดยยึดการทำเกษตรแบบผสมผสานและหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงเป็นแบบอย่าง เริ่มจากการขุดร่อง ปลูกหญ้าแฝก และปลูกพืชผักอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งในส่วนของสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของจัดหาตลาดให้เกษตรกรไปจำหน่ายผลผลิต ทุกวันนี้ทำให้มีพืชผักไปวางขายที่กาดแม่โจ้ และตลาดเจเจ ขายเฉพาะ วันศุกร์-อาทิตย์ มีรายได้ 8,000 กว่าบาทต่อสัปดาห์

“รู้สึกภูมิใจที่ได้มีอาชีพเกษตรกร มีชีวิตอย่างพอเพียง และยังเป็นเกษตรกรต้นแบบให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ อีก ซึ่งในอนาคตมีโครงการจะขยายพื้นที่ปลูกพืชผักอินทรีย์เพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจาก ความต้องการของผู้บริโภคมีมากขึ้น จึงอยากจะเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชอินทรีย์กันมากขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย และส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรและยังมีรายได้ดีกว่าการปลูกพืชด้วยสารเคมีอีกด้วย ” นางผ่องพรรณ กล่าว

เกษตรกรชาวศรีสะเกษที่อดีตเคยทำงานในเมืองหลวงแต่ต้องเผชิญ

มีผลทำให้ตัวเองและภรรยาต้องออกจากงาน แล้วเดินทางกลับสู่บ้านเกิดเพื่อมาปักหลักต่อสู้ชีวิตด้วยการยึดอาชีพเกษตรกรรม แต่ด้วยความเป็นคนยึดมั่นต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 จึงได้น้อมนำตามแนวทางของพ่อหลวงมาใช้กับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ขนาด 9 ไร่ ของบ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 9 ตำบลคำเนียม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จนมาวันนี้ได้ปรากฏเป็นศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างภาคภูมิใจ

ภายในระยะเวลา 4-5 ปี คุณเชิดชัย ได้ทุ่มเท มุ่งมั่น แรงกายและใจ ผ่านการลองผิด-ถูก ที่ประกอบขึ้นจากการแสวงหาความรู้ ศึกษาจนทำให้สามารถเนรมิตสถานที่แห่งนี้ที่มีแต่ความแห้งแล้ง กันดาร ให้ค่อยๆ กลับกลายเป็นความอุดมสมบูรณ์เติบโตเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขนาดเล็กที่ยังไม่เป็นที่รู้จักดีพอ จนเมื่อคุณเชิดชัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้ประสานงานในกิจกรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักแล้วมีบุคคลต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานเพิ่มขึ้น

การทำเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อให้รวยหรือจน แต่ต้องการให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความพอเพียง ความพอดีที่ได้รับเท่านั้น ชีวิตก็จะมีความสุขแบบยั่งยืน

วัตถุประสงค์การทำเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมอย่างเดียว แต่ต้องการเน้นความเป็นศูนย์กลางในทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ ให้เข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นจากแนวทางนี้จะช่วยทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ภายหลังเสร็จสิ้นจากงานประจำ ช่วยลดค่าใช้จ่าย เสริมรายได้ให้แก่ครัวเรือน สร้างครอบครัวให้มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน เป็นศูนย์เรียนรู้เตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการ

ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง มีพื้นที่ ขนาด 9 ไร่ แบ่งออกเป็น 9 สถานีเรียนรู้ ได้แก่

การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ (ปลูกไม้พะยูง)
การปลูกพืชผักสวนครัว/พืชไร่
การทำนา
การเลี้ยงไก่-สัตว์ใหญ่
การเลี้ยงปลา
การปลูกไม้ผล
ที่อยู่อาศัย
การจัดภูมิทัศน์/สถานที่พักผ่อน และ
ความรู้ทางวิชาการ

ทั้งนี้ แต่ละสถานีจะปลูกฝังความรู้ ตลอดจนอุดมการณ์ รวมถึงแนวทางในการทำเกษตรระดับพื้นฐาน ไปจนถึงแนวใหม่ มุ่งหวังให้เกิดความสำนึก เพิ่มความรู้ทางการเกษตรกรรมตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ขณะที่ถูกกำหนดกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

“อย่างสถานีปลูกป่า เน้นให้ความสำคัญในการปลูกป่า โดยเฉพาะต้นพะยูง เพราะถ้ามีป่าเกิดขึ้นความสมบูรณ์ทางธรรมชาติจะกลับคืนมา สำหรับสถานีนี้ปลูกต้นพะยูง จำนวน 500 ต้น แบ่งออกเป็น 2 แห่ง มีอายุการปลูก 2 ปีครึ่ง โดยมีแนวคิดว่า ในเวลา 10 ปี คุณจะมีเงินถึง 500 ล้าน”

สำหรับผู้ทำกิจกรรมอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกต้องการทำเพื่อไว้เลี้ยงครอบครัวอย่างพอเพียง กับอีกกลุ่มที่ทำเพื่อเป็นรายได้เสริมหรืออาจขยายเป็นรายได้หลักในเวลาต่อมา

คุณเชิดชัย แนะว่าการที่ชาวบ้านหรือผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์จะนำเอาแบบอย่างไปใช้ทันทีไม่ได้ เพราะต้องปรับให้มีความเหมาะสม พร้อมกับต้องพิจารณาว่าในพื้นที่ตัวเองเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมชนิดใด อย่าเลียนแบบคนอื่น ควรเริ่มต้นทำทีละเล็กน้อยก่อน อย่าใจร้อน ควรมีการปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน มีการจัดวางผังการทำกิจกรรมต่างๆ ไว้ ดูเรื่องน้ำ ดิน ปุ๋ย แล้วควรหาตลาดรองรับไว้ด้วยเผื่อประสบความสำเร็จได้ดีมีปริมาณเพียงพอเกินตามความต้องการจะได้นำไปขายมีรายได้เกิดขึ้น

คุณเชิดชัย ชี้ว่าจากปัญหามูลฐานของพี่น้องเกษตรกรที่วนเวียนอยู่กับความยากจน มีหนี้สิน ปลูกผลผลิตทางการเกษตรอะไรก็ขาดคุณภาพ ขาดมาตรฐาน ขาดการยอมรับทางด้านการตลาด ถึงแม้ปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการส่งเสริมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในพื้นที่แล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนจะยังไม่ตรงเป้าหมายของการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง

ในปี 2557 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องเกษตร แล้วปรับแนวคิดที่เปลี่ยนมาให้ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน เป็นที่ยอมรับทางความสามารถในเชิงภูมิปัญญา อีกทั้งยังเป็นคนที่ตกผลึกทางความคิดทางการเกษตรที่อยู่ในท้องถิ่นชุมชนแต่ละแห่ง โดยให้มาเป็นวิทยากรแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมกับถอดบทเรียนสภาพความจริงของปัญหาเพื่อจัดเป็นหลักสูตรแล้วบูรณาการทุกภาคส่วนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานตามแผนโรดแมปที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ของศูนย์แต่ละแห่งให้มีมาตรฐานเดียวกัน

จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) สังกัดกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยให้เกษตรกรต้นแบบเป็นผู้บริหารศูนย์ เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรระดับอำเภอเพื่อให้สอดคล้องกับสินค้าทางการเกษตรหลักของอำเภอ โดยกำหนดให้มีอำเภอละ 1 ศูนย์ รวมทั่วประเทศ 882 ศูนย์

พร้อมกับตั้งเป้าว่า ต้องการให้ 882 แห่งนี้ มีศักยภาพพร้อมจะนำพาชาวบ้านไปสู่ความสำเร็จในการสร้างรายได้ ตลอดจนสร้างความเป็นอยู่และความแข็งแรงมากขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมอบภารกิจให้ผู้นำท้องถิ่นที่เรียกว่าปราชญ์มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำกิจกรรมด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนแนวทางที่มีระบบแบบแผนไปสู่ชาวบ้านในแต่ละชุมชน

จนเมื่อปี 2559 คุณเชิดชัย ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้นำเกษตรของจังหวัดศรีสะเกษหรือประธานเครือข่าย จากจำนวน 22 ศูนย์ ของจังหวัด ต่อจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธาน เขต 7 ในพื้นที่ภาคอีสาน แล้วในที่สุดได้รับเลือกให้เป็นประธานเครือข่าย (ศพก.) ระดับประเทศ โดยมีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์ทั่วประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายตามกรอบแนวทางที่ร่วมวางแผนกับรัฐบาล นอกจากนั้น ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการนโยบายฯ กระทรวงเกษตรฯ เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่จะสะท้อนปัญหาที่แท้จริงสู่ภาครัฐ

อีกทั้งต้องมีหน้าที่เชื่อมโยงทุกศูนย์ทั่วประเทศทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือศูนย์ที่ได้รับความเดือดร้อน ขาดความรู้ บุคลากร หรือเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ เรียกได้ว่าต้องประสานในระดับบนลงล่าง และล่างขึ้นบนไปพร้อมกัน “จากช่วงเวลา 16 ปี ที่ผ่านมา มีความตั้งใจว่า ต่อจากนี้จะทำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นเสมือนสถาบันแห่งการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ตลอดจนเพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เป็น ศพก. ที่ได้มาตรฐานที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องเกษตรกรได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนทัศนคติกับการทำเกษตรกรรมเสียใหม่ ให้เกิดความทันยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย” คุณเชิดชัย กล่าวทิ้งท้าย

ชาวบ้านหมู่ 6 ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ล้วนมีอาชีพที่ไม่แตกต่างกัน คือการทำไร่และทำนา ซึ่งถือเป็นอาชีพหลัก แต่เพราะความกระตือรือร้นใฝ่ศึกษาของคุณศิริกานต์ ธาตุมณี หญิงสาววัยกลางคนที่ไม่หยุดนิ่งต่ออาชีพตรงหน้า ทำให้เธอเริ่มศึกษาการเพาะเห็ดฟางจากเพื่อนร่วมหมู่บ้าน ที่เดินทางไปศึกษาการเพาะเห็ดฟางจากศูนย์การเรียนรู้ในจังหวัดใกล้เคียง โดยเริ่มเพาะเห็ดฟาง 3 โรงเรือน ตั้งแต่ปี 2550 มีกำไรจากการจำหน่ายเห็ดฟางโรงเรือนละ 8,000 บาทต่อรอบการเก็บเห็ดฟางขาย

แต่วัตถุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ดฟาง ประกอบด้วย กากมันสำปะหลัง รำอ่อน ขี้วัว ขี้เห็ดฟาง ฟาง และอีเอ็ม ในแต่ละครั้งเหลือทิ้งจำนวนมาก คุณศิริกานต์ สังเกตพบว่า เมื่อนำไปทิ้งยังท้องนาก็พบว่า ต้นข้าวเจริญเติบโตเร็วหลังจากได้รับวัตถุเพาะเห็ดฟางเหลือทิ้งเหล่านั้น เมื่อนำไปทิ้งยังโคนต้นไม้ ต้นไม้ต่างก็เจริญเติบโตได้ดี จึงมั่นใจว่า วัตถุเหลือทิ้งเหล่านั้นมีประโยชน์ จึงคิดนำมาแปรรูปจำหน่าย

“กากมันสำปะหลัง รำอ่อน ขี้วัว ขี้เห็ดฟาง ฟาง และอีเอ็ม ที่มีอยู่ในวัตถุเพาเห็ดฟาง ก่อนเพาะเห็ดฟางเราหมักไว้อยู่แล้ว แสดงว่ามีแร่ธาตุมาก แต่สังเกตพบว่า แม้ต้นข้าวจะเจริญเติบโตดี แต่ก็ทำให้ต้นข้าวตายก่อนออกรวง ซึ่งหมายความว่า วัตถุชนิดนี้มีความเค็มเกินไป จึงหาส่วนผสมมาเพิ่ม เพื่อให้มีความเป็นกลาง โดยนำขุยมะพร้าว แกลบดำจากขี้อ้อยที่ล้างแล้ว และปูนขาว ผสมเพิ่มเข้าไปให้พอเหมาะ”

คุณศิริกานต์ บอกว่า เธอลองผิดลองถูก เพื่อให้ได้สัดส่วนของดินปลูกที่เหมาะสมอยู่นานประมาณ 1 ปี จึงได้สูตรที่ลงตัว โดยตลอดระยะเวลา 1 ปี ทดลองกับต้นไม้ในสวนของตนเอง สุดท้ายก็พบว่า สูตรดินปลูกที่ได้ช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วกว่าดินปลูกทั่วไปถึง 4 วัน และมีความสดของต้นกล้าดีกว่า

การผสมดินปลูกให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม คุณศิริกานต์ บอกว่า ระยะแรกศึกษาทางอินเตอร์เน็ต และเริ่มสั่งถุงพลาสติกบรรจุน้ำหนัก 6.5 กิโลกรัม ติดโลโก้ศิริกานต์ จำหน่ายในราคาถุงละ 11 บาท แต่เนื่องจากถุงพลาสติกขาดง่าย จึงเปลี่ยนเป็นถุงกระสอบ บรรจุน้ำหนักดินปลูกเท่าเดิม และจำหน่ายในราคาเท่าเดิม คือ 11 บาท

ลองตลาดด้วยการ เดินเข้าไปหาร้านขายต้นไม้ต่างๆ ถูกปฏิเสธในระยะแรก แต่ต่อมาคุณศิริกานต์เสนอให้เจ้าของร้านต้นไม้นำดินปลูกใช้ปลูกต้นไม้ฟรี 10 ถุง เป็นการทดลอง ซึ่งได้ผล ทำให้เจ้าของร้านหลายแห่งเห็นผลจากการใช้ดินปลูกของคุณศิริกานต์ จึงยอมให้วางจำหน่ายหน้าร้านและกลายเป็นลูกค้าประจำ

“เรามีคู่แข่งอีกแบรนด์ ขายราคาถูกกว่า เราจึงผลิตแบรนด์ขึ้นใหม่อีกแบรนด์ ชื่อ ศิริชัย เพื่อส่งในราคาถูกลง โดยวัตถุดิบที่ทำดินปลูกเหมือนเดิม แต่ลดปริมาณของวัตถุดิบบางตัวลงเท่านั้น ซึ่งแบรนด์นี้ก็ถือว่าติดตลาด ถูกใจลูกค้าเหมือนกัน”

แต่ละเดือน คุณศิริกานต์ผลิตดินปลูกส่งลูกค้าเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 ถุง วางตลาดในเขตอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และอำเภอท่าบ่อ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ทุกเดือน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว คุณศิริกานต์ มีรายได้จากการเพาะเห็ดฟาง 3 โรงเรือน และ การผลิตดินปลูกจำหน่าย รวมถึงไร่นาสวนผสมที่พอมีอยู่อีก 30 ไร่ มีกำไรจากน้ำพักน้ำแรงทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 50,000 บาททุกเดือน

เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาตนและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

คุณเชิดชัย จิณะแสน เกษตรกรชาวศรีสะเกษที่อดีตเคยทำงานในเมืองหลวง แต่ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ มีผลทำให้ตัวเองและภรรยาต้องออกจากงาน แล้วเดินทางกลับสู่บ้านเกิดเพื่อมาปักหลักต่อสู้ชีวิตด้วยการยึดอาชีพเกษตรกรรม

แต่ด้วยความเป็นคนยึดมั่นต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 จึงได้น้อมนำตามแนวทางของพ่อหลวงมาใช้กับการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ขนาด 9 ไร่ ของบ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 9 ตำบลคำเนียม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จนมาวันนี้ได้ปรากฏเป็นศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างภาคภูมิใจ

ภายในระยะเวลา 4-5 ปี คุณเชิดชัย ได้ทุ่มเท มุ่งมั่น แรงกายและใจ ผ่านการลองผิด-ถูก ที่ประกอบขึ้นจากการแสวงหาความรู้ ศึกษาจนทำให้สามารถเนรมิตสถานที่แห่งนี้ที่มีแต่ความแห้งแล้ง กันดาร ให้ค่อยๆ กลับกลายเป็นความอุดมสมบูรณ์เติบโตเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขนาดเล็กที่ยังไม่เป็นที่รู้จักดีพอ จนเมื่อคุณเชิดชัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้ประสานงานในกิจกรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักแล้วมีบุคคลต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานเพิ่มขึ้น

การทำเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อให้รวยหรือจน แต่ต้องการให้ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความพอเพียง ความพอดีที่ได้รับเท่านั้น ชีวิตก็จะมีความสุขแบบยั่งยืน

วัตถุประสงค์การทำเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ได้มุ่งให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมอย่างเดียว แต่ต้องการเน้นความเป็นศูนย์กลางในทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ ให้เข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นจากแนวทางนี้จะช่วยทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ภายหลังเสร็จสิ้นจากงานประจำ ช่วยลดค่าใช้จ่าย เสริมรายได้ให้แก่ครัวเรือน สร้างครอบครัวให้มีความสุข มีภูมิคุ้มกัน เป็นศูนย์เรียนรู้เตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการ

ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง มีพื้นที่ ขนาด 9 ไร่ แบ่งออกเป็น 9 สถานีเรียนรู้ ได้แก่

การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ (ปลูกไม้พะยูง)
การปลูกพืชผักสวนครัว/พืชไร่
การทำนา
การเลี้ยงไก่-สัตว์ใหญ่
การเลี้ยงปลา
การปลูกไม้ผล
ที่อยู่อาศัย
การจัดภูมิทัศน์/สถานที่พักผ่อน และ
ความรู้ทางวิชาการ

ทั้งนี้ แต่ละสถานีจะปลูกฝังความรู้ ตลอดจนอุดมการณ์ รวมถึงแนวทางในการทำเกษตรระดับพื้นฐาน ไปจนถึงแนวใหม่ มุ่งหวังให้เกิดความสำนึก เพิ่มความรู้ทางการเกษตรกรรมตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ขณะที่ถูกกำหนดกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

“อย่างสถานีปลูกป่า เน้นให้ความสำคัญในการปลูกป่า โดยเฉพาะต้นพะยูง เพราะถ้ามีป่าเกิดขึ้นความสมบูรณ์ทางธรรมชาติจะกลับคืนมา สำหรับสถานีนี้ปลูกต้นพะยูง จำนวน 500 ต้น แบ่งออกเป็น 2 แห่ง มีอายุการปลูก 2 ปีครึ่ง โดยมีแนวคิดว่า ในเวลา 10 ปี คุณจะมีเงินถึง 500 ล้าน”

สำหรับผู้ทำกิจกรรมอาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกต้องการทำเพื่อไว้เลี้ยงครอบครัวอย่างพอเพียง กับอีกกลุ่มที่ทำเพื่อเป็นรายได้เสริมหรืออาจขยายเป็นรายได้หลักในเวลาต่อมา

คุณเชิดชัย แนะว่าการที่ชาวบ้านหรือผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์จะนำเอาแบบอย่างไปใช้ทันทีไม่ได้ เพราะต้องปรับให้มีความเหมาะสม พร้อมกับต้องพิจารณาว่าในพื้นที่ตัวเองเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมชนิดใด อย่าเลียนแบบคนอื่น ควรเริ่มต้นทำทีละเล็กน้อยก่อน อย่าใจร้อน ควรมีการปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อน มีการจัดวางผังการทำกิจกรรมต่างๆ ไว้ ดูเรื่องน้ำ ดิน ปุ๋ย แล้วควรหาตลาดรองรับไว้ด้วยเผื่อประสบความสำเร็จได้ดีมีปริมาณเพียงพอเกินตามความต้องการจะได้นำไปขายมีรายได้เกิดขึ้น

คุณเชิดชัย ชี้ว่าจากปัญหามูลฐานของพี่น้องเกษตรกรที่วนเวียนอยู่กับความยากจน มีหนี้สิน ปลูกผลผลิตทางการเกษตรอะไรก็ขาดคุณภาพ ขาดมาตรฐาน ขาดการยอมรับทางด้านการตลาด ถึงแม้ปัญหาเหล่านั้นจะได้รับการส่งเสริมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในพื้นที่แล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนจะยังไม่ตรงเป้าหมายของการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง

ในปี 2557 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องเกษตร แล้วปรับแนวคิดที่เปลี่ยนมาให้ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน เป็นที่ยอมรับทางความสามารถในเชิงภูมิปัญญา อีกทั้งยังเป็นคนที่ตกผลึกทางความคิดทางการเกษตรที่อยู่ในท้องถิ่นชุมชนแต่ละแห่ง โดยให้มาเป็นวิทยากรแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมกับถอดบทเรียนสภาพความจริงของปัญหาเพื่อจัดเป็นหลักสูตรแล้วบูรณาการทุกภาคส่วนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานตามแผนโรดแมปที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการเติมเต็มความสมบูรณ์ของศูนย์แต่ละแห่งให้มีมาตรฐานเดียวกัน

จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) สังกัดกระทรวงเกษตรฯ ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยให้เกษตรกรต้นแบบเป็นผู้บริหารศูนย์ เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรระดับอำเภอเพื่อให้สอดคล้องกับสินค้าทางการเกษตรหลักของอำเภอ โดยกำหนดให้มีอำเภอละ 1 ศูนย์ รวมทั่วประเทศ 882 ศูนย์

พร้อมกับตั้งเป้าว่า ต้องการให้ 882 แห่งนี้ มีศักยภาพพร้อมจะนำพาชาวบ้านไปสู่ความสำเร็จในการสร้างรายได้ ตลอดจนสร้างความเป็นอยู่และความแข็งแรงมากขึ้นอย่างยั่งยืน โดยมอบภารกิจให้ผู้นำท้องถิ่นที่เรียกว่าปราชญ์มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำกิจกรรมด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนแนวทางที่มีระบบแบบแผนไปสู่ชาวบ้านในแต่ละชุมชน

จนเมื่อปี 2559 คุณเชิดชัย ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้นำเกษตรของจังหวัดศรีสะเกษหรือประธานเครือข่าย จากจำนวน 22 ศูนย์ ของจังหวัด ต่อจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธาน เขต 7 ในพื้นที่ภาคอีสาน แล้วในที่สุดได้รับเลือกให้เป็นประธานเครือข่าย (ศพก.) ระดับประเทศ โดยมีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนศูนย์ทั่วประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายตามกรอบแนวทางที่ร่วมวางแผนกับรัฐบาล นอกจากนั้น ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการนโยบายฯ กระทรวงเกษตรฯ เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่จะสะท้อนปัญหาที่แท้จริงสู่ภาครัฐ

อีกทั้งต้องมีหน้าที่เชื่อมโยงทุกศูนย์ทั่วประเทศทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือศูนย์ที่ได้รับความเดือดร้อน ขาดความรู้ บุคลากร หรือเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์ เรียกได้ว่าต้องประสานในระดับบนลงล่าง และล่างขึ้นบนไปพร้อมกัน “จากช่วงเวลา 16 ปี ที่ผ่านมา มีความตั้งใจว่า ต่อจากนี้จะทำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นเสมือนสถาบันแห่งการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ตลอดจนเพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อการเรียนรู้ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เป็น ศพก. ที่ได้มาตรฐานที่สุด ตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องเกษตรกรได้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนทัศนคติกับการทำเกษตรกรรมเสียใหม่ ให้เกิดความทันยุคสมัยที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย” คุณเชิดชัย กล่าวทิ้งท้าย

ไม้ผลดั้งเดิมหลายชนิดสร้างรายได้อยากให้กลับมา

ไม้ผลดั้งเดิมของจังหวัดอุบลราชธานีมีหลายตัว โดยเฉพาะพืชที่เป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง มะขามหวาน มะขามเปรี้ยว ลำไย ล้วนแต่เป็นพันธุ์ดีๆ ทั้งนั้น เนื่องจากบางส่วนช่วงยางพาราบูม ทำให้พี่น้องเกษตรกรตัดผลไม้ออกบางส่วน มาปลูกยางพารา พื้นที่ลดลง ก็เลยอยากให้ผลไม้กลับมาสู่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกร

จุดเริ่มต้นของไม้ผลชนิดใหม่ เริ่มจาก คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านมองภาคการเกษตรมีความจำเป็น น่าจะมีการปรับโครงสร้างการผลิต ให้สอดคล้องกับพื้นที่ ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่ปลูกตามความเคยชิน ตามประเพณีนิยม ก็เลยให้มีการสำรวจว่ามีศักยภาพตรงไหนอย่างไร ควรมีการปรับเปลี่ยนการผลิตของเกษตรกร ช่วงนั้นเรียกว่าแผนปรับปรุงการผลิตทางการเกษตร ให้พี่น้องปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรขนานใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีการนำพืชเศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามา มีความเหมาะสมที่จะปลูกไม้ผล มีการนำเข้ามาตั้งแต่ช่วงนั้น ผลผลิตออกมาดี เริ่มมีการขยายตั้งแต่นั้นมา

พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลิ้นจี่ เข้ามาพร้อมกับจังหวัดศรีสะเกษ ช่วงปี 2531 มีการปลูกพร้อมกัน ดินเหมาะสมในการปลูกอย่างมาก ทั้งจังหวัดตอนนี้…ทุเรียน มีประมาณ 2,000 ไร่ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่

หากรวมไม้ผลทุกตัว พื้นที่กว่า 1 แสนไร่ เพราะฉะนั้นพืชเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก อยากเพิ่มพื้นที่ดึงพื้นที่กลับคืนมา ตอนนี้ยางพาราตัดโค่นเยอะ มาเป็นทุเรียน ทำผลไม้มากขึ้น อย่างอื่นมี ลำไย มะม่วง มะขาม เป็นผลไม้ส่งออกได้ดี มังคุด ลองกอง สะตอ มีพื้นที่เพิ่มขึ้น

คุณภาพของผลผลิตดีมาก เป็นที่นิยม โดยเฉพาะทุเรียนปลูกมาก อำเภอน้ำยืน น้ำขุ่น นาจะหลวย วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ สามารถให้ผลผลิตและรสชาติดีมาก ดินเป็นดินลาวาภูเขาไฟ มีธาตุกำมะถันเป็นทุน ทำให้รสชาติของทุเรียนออกมากลิ่นไม่ฉุนจัด รสชาติหวานมัน เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป

พื้นที่เหมาะสมสามารถขยายได้กว่า 2 แสนไร่

พื้นที่เหมาะสม มีศักยภาพที่จะปลูกพืชจำพวกไม้ผล มีราว 2 แสนไร่

ในปี 2560 ได้รับงบประมาณกลุ่มจังหวัด เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ทุเรียน ลำไย มะขามเปรี้ยว แก้วมังกร และมะม่วง…ทุเรียนจะเพิ่มพื้นที่ปลูกกว่า 2 พันไร่ รวมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท สวนเดิมก็จะเติมเทคโนโลยี…เติมนวัตกรรมเข้าไป ให้มีการลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าดียิ่งขึ้น

เกษตรกรมีศักยภาพ มีความรู้ดั้งเดิมในการทำสวนอยู่แล้ว เราจะเติมนวัตกรรมเข้าไปบางส่วน เพราะบางสวนประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรทั่วไปเป็นอย่างดี คงไม่ยุ่งยากเรื่องเทคโนโลยีสามารถทำได้

ตลาดดี มีตลาดกลางสินค้าเกษตรที่อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานีติดลาว กัมพูชา เวียดนาม สามารถส่งออกต่างประเทศ รายได้ของเกษตรกร ทำสวนดีกว่าอย่างอื่น

พัฒนาการของการทำสวน ในความรู้สึกยังช้าอยู่ เนื่องจากมีข้อมูลมากระทบต่อการตัดสินใจของพี่น้องเกษตรกร ปัจจัยหลัก ยางพารา ทำให้พี่น้องเกษตรกรปรับส่วนหนึ่งไปทำยางพาราเพิ่มขึ้น ทำให้งานผลิตผลไม้ชะลอตัวลง ที่จริงผลทางด้านการตลาด ที่นี่ไม่มีปัญหา อุบลฯ เป็นจุดกึ่งกลางของอินโดจีนแถบนี้ อยู่กึ่งกลางเขมร เวียดนาม ลาว สามารถส่งไปจีนสะดวก ส่งไปง่าย ต้นทุนไม่สูง สามารถเอาผลผลิตออกสู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้อย่างดี

ผู้ค้า ผู้ขาย ปัจจัยการผลิต มีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้น ล้งจะรับซื้อส่งออก มีอยู่แล้ว ปริมาณมีเพิ่มขึ้น ล้งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวเมืองอุบลฯ จะรวบรวมผลผลิตแล้วค่อยส่งต่างประเทศ ต่างจังหวัดบางส่วน

เกษตรกรทำสวนผลไม้ ฐานะดีกว่าทำนา ทำไร่ ใช้พื้นที่ไม่มาก ได้รายได้มากกว่า จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเกษตรกรทำนา ทำไร่

ผู้อยากเข้าร่วมโครงการไม้ผล เรารับพิจารณา เกษตรกรสนใจมีที่เหมาะสม สามารถแจ้งรายชื่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ระดับอำเภอมีคณะกรรมการพิจารณาว่า ใครเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด จะคัดพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นต้นแบบให้พี่น้องเกษตรกรรายอื่นๆ

งานขายผลผลิตทางออนไลน์ ต้องเติมให้กับเกษตรกร

ระบบดิจิตอลกับการตลาด รัฐบาลได้นำเข้ามาเพื่อรองรับ 4.0 ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ใส่พวกนี้เข้าไป ในเรื่องของตลาด ตอนนี้พัฒนาขึ้นมาเยอะ พี่น้องชาวนา ชาวสวน ผู้ปลูกพืชไร่ด้วย วิสาหกิจชุมชน จะใส่พวกนี้เข้าไป เพราะพวกนี้มีพัฒนาการค่อนข้างรวดเร็ว

พี่น้องชาวสวน ไม่ว่าจะขายผลไม้สด หรือขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขายทางระบบออนไลน์ เขาสามารถบอกกล่าวเล่าเรื่องสวนของเขาว่า มีกระบวนการผลิตอย่างไร ทำระบบอินทรีย์อย่างไร ทำระบบคุณภาพอย่างไร ตั้งแต่เริ่มต้นถึงออกสู่ตลาด เป็นการประชาสัมพันธ์งานคุณภาพของเขาเองสู่ลูกค้า ซึ่งจะมีการขายผ่านระบบนี้ จะทำให้ตลาดพวกนี้พัฒนายิ่งขึ้น ซึ่งตรงกับแนวทางนโยบายของรัฐบาลที่จะมุ่งด้านนี้เข้ามาช่วยด้วย รวมทั้งนวัตกรรมที่เป็นระบบต่างๆ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้ฮอร์โมนต่างๆ ระบบง่ายทันสมัยมากยิ่งขึ้น จะพัฒนาเข้ามา

เทศกาลผลไม้ ขนมาทุกอำเภอ

ในช่วง วันที่ 23-29 มิถุนายน 2560 มีการจัดงานวันผลไม้และของดีประจำจังหวัดอุบลราชธานี ณ ลานห้างบิ๊กซี อำเภอเมือง อุบลราชธานี ระดมผลไม้ที่มีอยู่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลำไย แก้วมังกร มะขาม กล้วย แคนตาลูป ขนุน ทุกตัวที่มีจะระดม นอกจากนี้ยังมีสินค้าแปรรูป มีนิทรรศการแสดงนวัตกรรมต่างๆ อยากให้มารับเทคโนโลยีต่างๆ

มีผลไม้จากทุกอำเภอ ขายในราคาไม่แพง Holiday Palace จะมีการรวมผลิตภัณฑ์ของดีระดมจำหน่าย ขอเชิญร่วมอุดหนุนเกษตรกรครั้งนี้ครับ ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อย เลือกหันหลังให้กับเมืองใหญ่ ตลอดจนการไปทำงานในพื้นที่ไกลๆ กลับมามองหาอาชีพที่สามารถเป็นเจ้าของกิจการเองได้ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะเห็นได้จากตามรายการทีวี ตลอดจนหนังสือต่างๆ ที่มีบุคคลจากหลากหลายอาชีพ ต่างมาหาความสุขที่ต้องการ ด้วยการทำเกษตรกรรมที่เห็นมาแต่ครั้งปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงขนาดที่เรียกว่าผลผลิตที่มี ขายดิบขายดีจนมีไม่พอขายกันเลยทีเดียว เหมือนเช่นเกษตรกรหลายๆ รายที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี

คุณณรงค์ ทูลสูงเนิน เกษตรอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า สภาพของพื้นที่ในอำเภอน้ำยืนนั้น เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลได้มากมายหลากหลายชนิด เพราะดินในพื้นที่เป็นดินภูเขาไฟ ทำให้สามารถปลูกไม้ผลได้ดี อาทิ เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร ฯลฯ ซึ่งผลผลิตที่ได้จึงมีรสชาติที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหวาน และรสสัมผัสอื่นๆ

“ตอนนี้เรียกได้ว่า ผลไม้ในพื้นที่นี้มีรสชาติดี จึงเหมือนเป็นมิติใหม่ของอำเภอน้ำยืน ที่เกษตรกรเกิดความตื่นตัวที่จะปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด ซึ่งตอนนี้ทางจังหวัดเองกำลังส่งเสริมให้มีการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 260 ไร่ ซึ่งมีเกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมแล้ว 52 ราย ซึ่งเราก็จะมีการให้พันธุ์ทุเรียน ตลอดจนศึกษาดูงานทางด้านการตลาด ก็คาดหวังว่าจากการดำเนินการเรื่องนี้สำเร็จ ก็จะทำให้ทุเรียนจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายได้แน่นอน รวมทั้งไม้ผลอื่นๆ ด้วย อย่างเงาะโรงเรียนตอนนี้ก็ถือว่ามีผลผลิตดีมีเกษตรกรที่มีประสบการณ์ปลูกอยู่ด้วยในขณะนี้” คุณณรงค์ กล่าว

คุณทองดี กุนาเพียง อยู่บ้านเลขที่ 314 หมู่ที่ 2 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่เคยจากถิ่นฐานบ้านเดิมไปทำงานไกลถึงภาคใต้ของประเทศไทย จึงได้มีแนวความคิดที่จะกลับมาทำสวนไม้ผลด้วยตนเอง จนประสบผลสำเร็จมากว่า 10 ปี โดยทำสวนอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ แต่กลับสามารถทำเงินได้เป็นหลักล้านบาทกันเลยทีเดียว

ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว

จากข้อมูลปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีสูตรที่สำคัญ ปี 2549-2554 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2554 ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีสูงถึง 6.1 ล้านตัน เป็นมูลค่า 71.8 หมื่นล้านบาท และสูตรปุ๋ยที่นำเข้ามานั้นไม่ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด อีกทั้งคุณสมบัติปุ๋ยไม่ได้เฉพาะเจาะจงสำหรับพืชแต่ละชนิด

การใช้ปุ๋ยของประเทศไทยเราจึงเป็นการใช้ปุ๋ยสูตรเดิมๆในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรม และปัญหาธาตุอาหารพืชบางชนิดตกค้างภายในดินปริมาณสูง คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีในปัจจุบันยังคงเหมือนเมื่อ 50 ปีก่อน กล่าวคือในนาดินทรายใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในนาดินเหนียวใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 เป็นปุ๋ยรองพื้น และใช้ยูเรียเป็นปุ๋ยแต่งหน้า หน่วยงานวิจัยหลายหน่วยงานออกมาแนะนำวิธีการใส่ปุ๋ยข้าวอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามพันธุ์ข้าว ตามค่าวิเคราะห์พืช หากพิจารณาแล้วล้วนเป็นวิธีที่ใช้ได้ผล แต่อาจจะยากแก่การปฏิบัติ

ดังนั้นการคิดค้นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลายที่ประกอบด้วยทั้งปุ๋ยอินทรีย์ที่ช่วยปรับปรุงความเสื่อมโทรมของดิน และปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุอาหารตามระยะความต้องการของพืช ซึ่งปุ๋ยจะค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา จะช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไป ลดความเสี่ยงจากภาวะที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรก และช่วงหลังพืชอาจได้รับปุ๋ยน้อยเกินไป จากการที่สารอาหารถูกชะล้างไปลึกกว่าระดับรากพืช จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งพืชก็จะขาดสารอาหารได้

นอกจากนั้นปุ๋ยละลายช้ายังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษาปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่มีคุณสมบัติละลายช้า ที่สามารถให้ทั้งสารอินทรีย์ที่สามารถปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรม ให้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีขึ้นทั้งการอุ้มน้ำและการระบายอากาศ พร้อมให้ธาตุอาหารในระดับที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต รักษาระดับผลผลิตให้ไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อีกทั้งปุ๋ยนี้เป็นการใช้ในครั้งเดียวคือช่วงรองพื้นเท่านั้น จึงเป็นการประหยัดค่าจ้างแรงงานใส่ปุ๋ย และยังสามารถปรับสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเกษตรสร้างสรรค์ ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว” ซึ่งเป็นปุ๋ยควบคุมการละลายที่ประกอบด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่ช่วยปรับปรุงความเสื่อมโทรมของดิน และปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของข้าว ซึ่งปุ๋ยจะค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา ช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ

กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว ประกอบด้วย การทำปุ๋ยหมักจากวัตถุดิบคือมูลสัตว์ ตัวอย่างเช่น การนำมูลโคที่ใหม่และแห้ง ปริมาณ 950 – 1,050 กิโลกรัม มากองบริเวณพื้นปูน เติมปุ๋ยสูตร 46-0-0 ปริมาณ 2 – 5 กิโลกรัม เติมปุ๋ยสูตร 0-3-0 ปริมาณ 20 – 40 กิโลกรัม ผสมวัตถุดิบทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากันพร้อมกับการเติมน้ำให้มีความชื้นร้อยละ 40 – 60 ใช้วัสดุที่สามารถกันน้ำได้คลุมให้มิด เพื่อป้องกันฝนและไม่ให้ความชื้นระเหยออกจากกองปุ๋ย และกลับกองปุ๋ยหมักที่ระยะเวลา 3 10 17 และ 24 วัน หลังจากการกอง

สูตรการผสมปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับการผลิตข้าวแบบใช้ปุ๋ยครั้งเดียว ประกอบด้วย ปุ๋ยอินทรีย์จากปุ๋ยหมักมูลสัตว์ร้อยละ 30 – 50 ปุ๋ยเคมีร้อยละ 36 – 42 ปูนร้อยละ 10 – 12 ซีโอไลต์ร้อยละ 10 – 12 และกรดซิลิคอนร้อยละ 5 – 10 โดยอัตราการปล่อยปลดธาตุอาหารหลักของพืชในรูปที่เป็นประโยชน์ช้ากว่าปุ๋ยอินทรีย์เคมีสูตรเดียวกันที่ไม่มีการผสมปูนและซีโอไลต์ 30 – 50 วัน อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีละลายช้าสำหรับนาหว่าน คือ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เพียงครั้งเดียวหลังจากหว่านข้าว 15 – 20 วัน สามารถลดต้นทุนปุ๋ยลงประมาณ 300 บาทต่อไร่ และได้รับผลผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากผลการทดลองในระดับสนามและไร่นาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลผลิตประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อไร่

สภาพอากาศในระยะที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกชุกช่วงนี้ อาจส่งผลกระทบให้มะละกอในระยะเก็บเกี่ยวผลดิบเกิดโรคได้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอให้เตรียมรับมือโรครากเน่าและโคนเน่า ที่พบมากในระยะต้นกล้าจนถึงระยะต้นโตเก็บเกี่ยวผลผลิต ระยะต้นกล้า จะแสดงอาการที่ส่วนลำต้นบริเวณผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำยุบเป็นแถบๆ ใบจะเหี่ยว ถ้าอาการรุนแรงบริเวณโคนต้นจะหักพับและตายในที่สุด ระยะ ต้นโต มักแสดงอาการเริ่มแรกพบรากแขนงสีน้ำตาลหลุดขาดได้ง่าย ต่อมาโรคลุกลามไปยังรากแก้ว ทำให้รากเน่าเปื่อย ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ก้านใบลู่ลง และหลุดร่วงได้ง่าย ส่วนต้นมะละกอจะเหลือใบยอดเป็นกระจุกและตายในที่สุด โดยบริเวณโคนต้นจะเน่าชุ่มน้ำ มีสีน้ำตาลเยิ้มออกมา และจะหักล้มพับได้ง่าย

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นมะละกอที่แสดงอาการของโรครากเน่าและโคนเน่า ให้ขุดหรือถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงและนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น เกษตรกรควรใส่ปูนขาวหรือโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ บริเวณหลุมที่ขุดหรือถอนต้นออกไปแล้ว และให้กลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุโรค

หากเริ่มพบการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า ให้เกษตรกรราดบริเวณโคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล + แมนโคเซบ 4% + 64 % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 – 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้ ควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน อีกทั้งควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีและไม่มีน้ำขัง

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวต้องใช้วิธีแบบผสมผสาน ได้แก่ การตัดทางใบมาเผาทำลาย การใช้ศัตรูธรรมชาติ (แตนเบียนบราคอน) ควบคู่กับการใช้สารเคมี ซึ่งวิธีการใช้สารเคมีนั้นต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทุกขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและทำเครื่องหมายที่ต้นมะพร้าวแต่ละต้นที่พบการทำลายของหนอนหัวดำ เป็นการชี้เป้าหมายในการใช้สารเคมีเข้าควบคุม

โดยแบ่งเป็นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร จะจัดการโดยฉีดสารเคมีเข้าต้น ต้องทำเครื่องหมายสีเหลืองไว้ที่ต้น ส่วนมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร จะจัดการโดยตัดทางใบและนำมาเผา ควบคู่กับการฉีดพ่นสารเคมีทางใบ จะทำเครื่องหมายสีแดงไว้ที่ต้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าต้นดังกล่าวต้องดำเนินการด้วยการฉีดหรือพ่นสารเคมีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวต้องดำเนินการอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อประสิทธิภาพที่ยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจและทาสีทำเครื่องหมายในต้นที่พบการระบาดให้ครบทุกต้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งแปลงที่พบผู้ครอบครอง และไม่พบผู้ครอบครองที่สามารถเข้าไปสำรวจได้ หากไม่สามารถเข้าสำรวจได้ เช่น มีการปิดล้อมแน่นหนา หรือเจ้าของไม่ยินยอมให้เข้าไปสำรวจ ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการเจรจา แต่ถ้าหากการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะแจ้งกรมวิชาการเกษตรใช้มาตรการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

นางสาวปิยากร นวลแก้ว หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ตระหนักและห่วงกังวลถึงปัญหาพันธุ์พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ตามบทบาทด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการเกษตร “ต้นเท้ายายม่อม” เป็นพืชใช้ทำแป้งชนิดหนึ่งที่เคยขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ จ.ชลบุรี เท้ายายม่อม เป็นพืชล้มลุกอายุยืน ไม่มีลำต้น เหง้าใต้ดินเป็นหัว กลมแบนหรือรีกว้าง เปลือกหัวบาง ผิวเรียบ เมื่ออ่อนสีขาว แก่แล้วเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล เนื้อหัวสีขาว ฉ่ำน้ำเล็กน้อย ดอกสีเหลืองหรือเขียวแกมม่วงเข้ม ผลสีส้ม มีเมล็ดมาก เมล็ดแบน เนื้อผลฝาดๆ หัวสดรับประทานไม่ได้มีรสขมมีพิษ หัวอ่อนรสขมมากกว่าหัวแก่ แต่สามารถสกัดแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ แป้งที่ได้ใช้ทำขนมและอาหารได้หลายชนิด เช่น ช่อม่วง ไดฟุกุ เต้าส่วน ออส่วน ฯลฯ ใบรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ก้านใบและก้านดอกให้เส้นใยใช้ทำหมวกและอุปกรณ์ตกเบ็ด หัวและแป้งใช้รักษาโรค ปัจจุบันถูก

“ต้นเท้ายายม่อม”เป็นพืชที่ใกล้สูญหายไปจากชุมชนและเป็นพืชที่นำมาทำแป้งที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่นำไปทำอาหารประจำถิ่นอันเป็นภูมิปัญญาเดิมที่ควรสืบทอดและคนในชุมชนก็เห็นความสำคัญและปรารถนาที่จะอนุรักษ์เพื่อสืบทอดภูมิปัญญา สภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรีจึงร่วมส่งเสริมให้มีการขยายพันธุ์และพื้นที่ปลูกโดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์เท้ายายม่อมและประสานหน่วยงานทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่อไป

ด้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.บ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี นางสาวศรีวรรณ จิตจินดา ประธานศูนย์อนุรักษ์เท้ายายม่อม กล่าวเพิ่มเติมว่า เท้ายายม่อมเป็นพืชเศรษฐกิจประจำถิ่น ปลูกและฝนเป็นแป้งมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า เป็นตำนานของคนชลบุรี ปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นที่ให้ร่มเงารำไร เช่น มะม่วง ลำไย มะพร้าว ขนุน เป็นต้น เป็นพันธุ์พื้นบ้านจึงมีความต้านทานโรค ไม่ต้องการการบำรุงอะไรเป็นพิเศษถ้าต้องการบำรุงให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ปัญหาที่เจอคือพื้นที่ปลูกด้วยเป็นชุมชนเมืองและการขยายพันธุ์จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ปัจจุบันกลุ่มศูนย์อนุรักษ์เท้ายายม่อม มีสมาชิก 50 คน ปลูก 20 คน พื้นที่รวม 20 ไร่ ปลูกเดือนพฤษภาคมเก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม-มกราคม ใช้หัวขยายพันธุ์ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินทราย หรือดินร่วน กลุ่มทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและรวบรวมโดยรับซื้อผลสด 80 บาท/กิโลกรัม เพื่อแปรรูปเป็นแป้ง 300 – 400 บาท/กิโลกรัม ผู้ซื้อต้องสั่งจองล่วงหน้า

คุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อมคือมีความละเอียดมาก มีสีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ทางด้านสรรพคุณ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่นอารมณ์ดี ช่วยผู้ป่วยฟื้นไข้เร็วขึ้นทำให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ระบุว่าแป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารมากที่สุด

ปัจจุบันมีหน่วยงานนำแป้งเท้ายายม่อมไปทำการวิจัยทำเครื่องสำอาง อาหารเสริม และอื่นๆ การทำแป้งเท้ายายม่อมนั้นจะนำหัวไปล้างให้สะอาด ปลอกเปลือกแล้วฝนด้วยหนังปลากระเบนหรือแผ่นสังกะสีเจาะรูเพื่อให้ได้เนื้อแป้งที่ละเอียดจากนั้นนำเนื้อไปคั้นน้ำแบบคั้นกะทิ ใช้ผ้าขาวบางกรองกาก ปล่อยแป้งตกตะกอน เทน้ำออก ทำซ้ำ 5-7 รอบจนน้ำใส จากนั้นนำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิทจึงนำไปใช้ หัวเท้ายายม่อม 10 กิโลกรัมจะได้แป้ง 2.2 กิโลกรัม หรือร้อยละ 22 สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี โทร.0-3828-6878 หรือ คุณศรีวรรณ โทร.08-1553-6365

โปรแกรมการคำนวณปุ๋ยอินทรีย์เคมีสั่งตัด ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วางแผนจัดการดิน/ปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตข้าว

จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ทำนาประมาณ 40.26% กระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ ซึ่งให้ผลผลิตข้าวแตกต่างกันตามศักยภาพของดิน และการจัดการดินและปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวและสนับสนุนการวางแผนการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อการปลูกข้าว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ จึงได้จัดทำ “โครงการการประเมินพื้นที่ปลูกข้าวด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และแบบจำลองสำหรับการใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยครั้งเดียว” โดยทำการประเมินความเหมาะสมและศักยภาพของพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปทุมธานีสามารถแบ่งเขตพื้นที่เหมาะสมเป็น 4 ระดับ คือ 1) พื้นที่เหมาะสมมาก ประมาณ 22 ไร่ 2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 49.03 ของเนื้อที่ ซึ่งกระจายในทุกอำเภอ 3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย มีข้อจำกัดความเป็นพิษของดิน และปริมาณการกักเก็บธาตุอาหารในดิน 4) พื้นที่ไม่เหมาะสม ประมาณร้อยละ 36.76 ของเนื้อที่ มีข้อจำกัดของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ถนน ที่ดินดัดแปลง แหล่งน้ำ และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การใช้งานโปรแกรมคำนวณปุ๋ยอินทรีย์เคมีสั่งตัด เริ่มต้นดังนี้ 1.เรียกโปรแกรม Internet Explorer 2. พิมพ์ในช่อง Address … http://203.150.10.52/organic/ แล้วจะขึ้นสู่หน้าหลักของโปรแกรม ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 9 เมนู โดยมีรายละเอียดของเมนูต่างๆ ดังนี้

เมนูที่ 1 หน้าหลัก เป็นหน้าจอแสดงการจัดกิจกรรมของโครงการปุ๋ยอินทรีย์

เมนูที่ 2 คำนวณปุ๋ยอินทรีย์เคมี เป็นหน้าจอแสดงการจัดกิจกรรมของโครงการปุ๋ยอินทรีย์ โดยตัวโปรแกรมจะไม่ทำงานหากยังไม่ทำการเลือกพันธุ์ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขทั้งหมดของโปรแกรม จังหวัดที่ทำการปลูกพืช อำเภอ ตำบล และชุดดินเป็นต้น

เมนูที่ 3 พันธุ์พืชปุ๋ยอินทรีย์เคมี ระบุชนิดพันธุ์พืชและอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ย

เมนูที่ 4 การผสมปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสมของพืช

เมนูที่ 5 ชุดดินปุ๋ยอินทรีย์เคมี จะบ่งบอกถึงคุณลักษณะของปุ๋ยฯ ทั้งหมด

เมนูที่ 6 ขั้นตอนการหมักปุ๋ยอินทรีย์

เมนูที่ 7 การพัฒนาเกษตรกร

เมนูที่ 8 คนเก่งปุ๋ยอินทรีย์เคมี ประกอบด้วยรายชื่อเกษตรกรคนเก่งด้านการวิเคราะห์ดินและการทำปุ๋ยอินทรีย์

เมนูที่ 9 ทีมงาน ประกอบด้วยบุคลากรของ วว. ที่จัดทำโครงการ

“อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูก “ข้าวหอมมะลิ 105” ข้าวหอมพันธุ์ดี รสชาติอร่อยที่สุดของโลก ในอดีต ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ นิยมปลูกข้าวนาหว่าน โดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในแปลงนาเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการ ทำให้ความหอมของข้าวหอมมะลิลดลง แถมมีต้นทุนการผลิตสูง เมื่อเจอปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก มีภาระหนี้สินรุงรัง แทบไม่เหลือเงินทุนสำหรับใช้ลงทุนทำนาในฤดูถัดไป

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนอุ่มแสง เพื่อหลีกหนีวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ที่มีแต่หนี้กับหนี้ เมื่อปี 2547 กลุ่มชาวนาในชุมชนบ้านอุ่มแสง ตำบลดู่ อำเภอราษีไศล ภายใต้การนำของ คุณบุญมี สุระโคตร โทร. (063) 750-5553 ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนอุ่มแสง (กลุ่มเกษตรทิพย์)” เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน มุ่งลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยนำเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการแปรรูปผลผลิตเพื่อผลิตมูลค่า

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ เป็นกลุ่มผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ครบวงจรขนาดใหญ่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาสูง มีรายได้ที่มั่นคงขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง สินค้าข้าวอินทรีย์ของชุมชนแห่งนี้มีคุณภาพดี เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจที่จะสานต่ออาชีพทำนาจากพ่อแม่

ด้านการผลิต

ทางกลุ่มได้ส่งเสริมให้ชาวนาที่เป็นสมาชิกผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยดำเนินกิจการมาแล้ว 8 ปี ปัจจุบันกลุ่มได้ดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกผลิตข้าวอินทรีย์ในรูปแบบนาแปลงใหญ่ มีเกษตรกรสมาชิก จำนวน 1,021 ราย พื้นที่ 14,720 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 14,085 ไร่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 539 ไร่ ข้าวมะลินิล 63 ไร่ และข้าวมะลิแดงสุรินทร์ 37 ไร่ ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล ได้แก่ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ไทย (Organic Thailand) International Federation of Organic Agriculture Movements : IFOAM, การรับรองผลิตภัณฑ์อาหารและออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกา (USDA) FLO ID 27806 ของ FAIRETRADE มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (EU-NOP) มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย และการรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

สำหรับการทำเกษตรแปลงใหญ่ของกลุ่มแห่งนี้ มุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการรวมกันหาพันธุ์ข้าว ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานความต้องการของตลาดแล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยนำเทคโนโลยีเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและเกษตรกร ในชื่อโครงการ “ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า เกษตรทิพย์” แนวคิดนี้ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้แล้วยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรได้เป็นอย่างดี

ตลาดข้าวอินทรีย์

สินค้าข้าวอินทรีย์ ของกลุ่มแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ข้าวสาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว จำหน่ายภายใต้ชื่อการค้า “ข้าวอินทรีย์ ลุงบุญมี สุระโคตร” โดยขายสินค้าผ่านช่องทางเว็บไซต์ และงานแสดงสินค้าต่างๆ เช่น งานโอท็อป และงาน Thaifex เป็นต้น การพัฒนาการผลิตและการตลาดอย่างไม่หยุดนิ่งของกลุ่ม ช่วยสร้างความเข้มแข็งในชุมชนชาวนาแล้ว สมาชิกยังได้รับผลตอบแทนสูงและมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีความยั่งยืนในอาชีพการทำนาไปพร้อมๆ กัน

“ข้าวสาร” เป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักของกลุ่ม โดยผลผลิตร้อยละ 80 มุ่งผลิตป้อนตลาดส่งออกเป็นหลัก ส่วนที่เหลืออีก ร้อยละ 20 จำหน่ายภายในประเทศ ปัจจุบัน กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ในภูมิภาคยุโรป อเมริกา และเอเชียสนใจบริโภคสินค้าเกษตรและอาหารที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพราะปลอดภัยจากปัญหาสารเคมีตกค้าง ทำให้ยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น กลุ่มข้าวสาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ฯลฯ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

“สินค้าแปรรูปจากข้าว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์น้ำมันรำข้าว เรียกว่า ขายดีมากจนผลิตไม่ทันกับความต้องการของผู้ซื้อจากทั่วประเทศ เนื่องจากทางกลุ่มผลิตข้าวกล้องเป็นหลัก ผลิตข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีเพียงแค่ร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตทั้งหมด จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะขยายกำลังการผลิตน้ำมันรำข้าว สำหรับสินค้าใหม่คือ ผลิตภัณฑ์สปา อยู่ระหว่างการพัฒนาตัว สินค้าเพื่อให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และมาตรฐาน อย. รวมทั้งศึกษาแนวทางเจาะตลาดใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าตลาดสปา ในอนาคต” คุณบุญมี กล่าว

แปรรูปเพิ่มมูลค่า ข้าวอินทรีย์

คุณบุญมี กล่าวว่า ถึงแม้ข้าวอินทรีย์ของกลุ่มจะขายดี เป็นที่ต้องการสูงในตลาดโลก แต่การขายข้าวสารยังให้มูลค่าผลตอบแทนน้อย เมื่อเทียบกับสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ดังนั้น ในปี 2557-2558 ทางกลุ่มจึงหันมาศึกษาวิจัยเรื่องการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าวและพัฒนาช่องทางตลาดไปพร้อมๆ กัน

ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเรื่องการแปรรูปข้าวจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาต่างๆ จนพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวได้หลายสิบรายการ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวอินทรีย์แปรรูป แป้งจากจมูกข้าวกล้องงอก จมูกข้าวกล้องงอกพร้อมดื่ม ไอศกรีมข้าวกล้องงอก ขนมที่ทำจากข้าวกล้องงอก เป็นต้น

ส่วนรำข้าวที่เหลือจากกระบวนการขัดสีข้าว ก็นำมาผ่านกระบวนการหีบเย็น จนได้น้ำมันรำข้าวส่งขายตลาดต่างประเทศ ส่วนข้าวหัก ถูกนำแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น ผงสครับขัดผิว สบู่ข้าว ลิปบาล์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์แป้งข้าวเจ้าอินทรีย์ ประเภท แป้งข้าวหอมมะลิ แป้งข้าวหอมนิล แป้งข้าวมะลิแดง และแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร สามารถแปรรูปสร้างมูลค่าได้หลากหลายเมนู เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นสปาเกตตี ฯลฯ

การผลิตข้าวอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้

คุณบุญมี บอกว่า สินค้าข้าวหอมมะลิของกลุ่ม ผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล ปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตพื้นที่อำเภอราษีไศล และอำเภอศิลาลาด ของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งพื้นที่แหล่งนี้ส่วนใหญ่เป็นดินที่มีความเค็ม น้ำน้อย เมื่อปลูกข้าวหอมมะลิ 105 จะทำให้มีความหอมมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย จึงทำให้ทุ่งกุลาร้องไห้มีความโดดเด่นในเรื่องข้าวหอมมะลิ จนได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

การเพาะปลูกพืชอินทรีย์หลังนา

ที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้ส่งเสริมให้สมาชิกลดต้นทุนการทำนาด้วยการหยอดข้าวแห้งและทำนาดำด้วยรถดำนาแทนการหว่าน ขณะเดียวกัน ได้ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์สำหรับใช้ในชุมชน รวมทั้ง ส่งเสริมปลูกพืชหลังนา เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพร้า ปอเทือง เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและลดการใช้ปุ๋ยในการทำนา นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังได้ส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ทำเกษตรปลอดการเผา ควบคู่กับการปลูกป่า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

ทางกลุ่มเน้นการจัดการตามมิติความสัมพันธ์ตามห่วงโซ่ของธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจขึ้นมาสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เช่น “วิสาหกิจกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์เกษตรทิพย์” ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใช้ในชุมชนและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ “กลุ่มวิสาหกิจเครื่องจักรกล” เน้นรวมพื้นที่การเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการคุ้มค่าการใช้เครื่องจักรกลทั้งการจ้างเพื่อการใช้งาน และการซ่อมบำรุง

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจพืชหลังนา” เพื่อส่งเสริมปลูกพืชเสริมรายได้หลังฤดูทำนา เช่น แตงกวา คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือ มะละกอ ตะไคร้ แตงโม มันเทศญี่ปุ่น ถั่วเหลือง ฯลฯ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ ปลูกดูแลง่าย ใช้เวลาน้อย แต่ขายผลผลิตได้ราคาดี เป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง เพราะพืชผักเหล่านี้ ปลูกดูแลในระบบเกษตรอินทรีย์ตลอดกระบวนการผลิตนั่นเอง

ชาวบ้านหมู่ 6 ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ล้วนมีอาชีพที่ไม่แตกต่างกัน คือการทำไร่และทำนา ซึ่งถือเป็นอาชีพหลัก แต่เพราะความกระตือรือร้นใฝ่ศึกษาของคุณศิริกานต์ ธาตุมณี หญิงสาววัยกลางคนที่ไม่หยุดนิ่งต่ออาชีพตรงหน้า ทำให้เธอเริ่มศึกษาการเพาะเห็ดฟางจากเพื่อนร่วมหมู่บ้าน ที่เดินทางไปศึกษาการเพาะเห็ดฟางจากศูนย์การเรียนรู้ในจังหวัดใกล้เคียง โดยเริ่มเพาะเห็ดฟาง 3 โรงเรือน ตั้งแต่ปี 2550 มีกำไรจากการจำหน่ายเห็ดฟางโรงเรือนละ 8,000 บาทต่อรอบการเก็บเห็ดฟางขาย

แต่วัตถุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ดฟาง ประกอบด้วย กากมันสำปะหลัง รำอ่อน ขี้วัว ขี้เห็ดฟาง ฟาง และอีเอ็ม ในแต่ละครั้งเหลือทิ้งจำนวนมาก คุณศิริกานต์ สังเกตพบว่า เมื่อนำไปทิ้งยังท้องนาก็พบว่า ต้นข้าวเจริญเติบโตเร็วหลังจากได้รับวัตถุเพาะเห็ดฟางเหลือทิ้งเหล่านั้น เมื่อนำไปทิ้งยังโคนต้นไม้ ต้นไม้ต่างก็เจริญเติบโตได้ดี จึงมั่นใจว่า วัตถุเหลือทิ้งเหล่านั้นมีประโยชน์ จึงคิดนำมาแปรรูปจำหน่าย

“กากมันสำปะหลัง รำอ่อน ขี้วัว ขี้เห็ดฟาง ฟาง และอีเอ็ม ที่มีอยู่ในวัตถุเพาเห็ดฟาง ก่อนเพาะเห็ดฟางเราหมักไว้อยู่แล้ว แสดงว่ามีแร่ธาตุมาก แต่สังเกตพบว่า แม้ต้นข้าวจะเจริญเติบโตดี แต่ก็ทำให้ต้นข้าวตายก่อนออกรวง ซึ่งหมายความว่า วัตถุชนิดนี้มีความเค็มเกินไป จึงหาส่วนผสมมาเพิ่ม เพื่อให้มีความเป็นกลาง โดยนำขุยมะพร้าว แกลบดำจากขี้อ้อยที่ล้างแล้ว และปูนขาว ผสมเพิ่มเข้าไปให้พอเหมาะ”

คุณศิริกานต์ บอกว่า เธอลองผิดลองถูก เพื่อให้ได้สัดส่วนของดินปลูกที่เหมาะสมอยู่นานประมาณ 1 ปี จึงได้สูตรที่ลงตัว โดยตลอดระยะเวลา 1 ปี ทดลองกับต้นไม้ในสวนของตนเอง สุดท้ายก็พบว่า สูตรดินปลูกที่ได้ช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วกว่าดินปลูกทั่วไปถึง 4 วัน และมีความสดของต้นกล้าดีกว่า

การผสมดินปลูกให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม คุณศิริกานต์ บอกว่า ระยะแรกศึกษาทางอินเตอร์เน็ต และเริ่มสั่งถุงพลาสติกบรรจุน้ำหนัก 6.5 กิโลกรัม ติดโลโก้ศิริกานต์ จำหน่ายในราคาถุงละ 11 บาท แต่เนื่องจากถุงพลาสติกขาดง่าย จึงเปลี่ยนเป็นถุงกระสอบ บรรจุน้ำหนักดินปลูกเท่าเดิม และจำหน่ายในราคาเท่าเดิม คือ 11 บาท

ลองตลาดด้วยการ เดินเข้าไปหาร้านขายต้นไม้ต่างๆ ถูกปฏิเสธในระยะแรก แต่ต่อมาคุณศิริกานต์เสนอให้เจ้าของร้านต้นไม้นำดินปลูกใช้ปลูกต้นไม้ฟรี 10 ถุง เป็นการทดลอง ซึ่งได้ผล ทำให้เจ้าของร้านหลายแห่งเห็นผลจากการใช้ดินปลูกของคุณศิริกานต์ จึงยอมให้วางจำหน่ายหน้าร้านและกลายเป็นลูกค้าประจำ

“เรามีคู่แข่งอีกแบรนด์ ขายราคาถูกกว่า เราจึงผลิตแบรนด์ขึ้นใหม่อีกแบรนด์ ชื่อ ศิริชัย เพื่อส่งในราคาถูกลง โดยวัตถุดิบที่ทำดินปลูกเหมือนเดิม แต่ลดปริมาณของวัตถุดิบบางตัวลงเท่านั้น ซึ่งแบรนด์นี้ก็ถือว่าติดตลาด ถูกใจลูกค้าเหมือนกัน”

แต่ละเดือน Royal Online คุณศิริกานต์ผลิตดินปลูกส่งลูกค้าเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000 ถุง วางตลาดในเขตอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และอำเภอท่าบ่อ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ทุกเดือน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว คุณศิริกานต์ มีรายได้จากการเพาะเห็ดฟาง 3 โรงเรือน และ การผลิตดินปลูกจำหน่าย รวมถึงไร่นาสวนผสมที่พอมีอยู่อีก 30 ไร่ มีกำไรจากน้ำพักน้ำแรงทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 50,000 บาททุกเดือน

สนใจดินปลูก หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ “ศิริกานต์ ดินปลูกนานาพันธุ์ไม้” หมู่ 6 ตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โทรศัพท์ 089-944-7920

เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาตนและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

นางโสมกล่าวต่อว่า เห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือจะสามารถ

ผลิตได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม กันยายน ซึ่งสมาชิกที่ไปแปรรูปเห็ดจะมีรายได้เสริมประมาณ 300-400 บาทต่อวัน พอถึงสิ้นปีทางสหกรณ์จะนำเงินปันผลมาแบ่งให้สมาชิกในกลุ่มทุกราย

นายสมศักดิ์ ทวินันท์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการและหัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยโสธร กล่าวว่า เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 และดำริให้มีการพัฒนาปรับปรุง ดังนี้ เรื่องขุดลอกหนองอึ่ง ปลูกต้นไม้รอบหนองอึ่ง การฟื้นฟูสภาพป่ารอบหนองอึ่ง และส่วนที่เป็นพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งรับสั่งให้ดูแลเรื่องปากท้องของประชาชนให้อยู่ดีกินดี

สำหรับพื้นที่ตั้งโครงการตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร มีพื้นที่ของป่าดงมันทั้งหมด 3,006 ไร่ ที่อยู่บนสันดอนทรายขนาดใหญ่ น้ำท่วมไม่ถึง เป็นป่าดิบแล้งผสมเต็งรัง มีพรรณไม้ประกอบด้วย ไม้ยางนา ไม้พะยอม และไม้แดง เป็นแหล่งเก็บของป่า ในแต่ละปีมีประชาชน 15 หมู่บ้านรอบพื้นที่ป่าจะมีรายได้จากการเก็บของป่า อาทิ เห็ดโคน เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดตะไค เห็ดก่อ จินูน และไข่มดแดง ประมาณ 3 ล้านบาทต่อปี และปัจจุบันเห็ดโคนและไข่มดแดงมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จึงมีการตั้งโรงงานแปรรูปเห็ดต่างๆ และไข่มดแดงให้เก็บไว้กินได้เป็นเวลานาน

นายสมศักดิ์กล่าวต่อว่า การแปรรูปผลิตผลจากเห็ดโคนและไข่มดแดงจากป่าดงมันรอบหมู่บ้านนั้น ปีหนึ่งชาวบ้านจะสามารถหาเห็ดมาจำหน่ายได้ 5-6 ตัน โดยขณะนี้เห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือสามารถสร้างรายได้ประมาณปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งมีบริษัทสยามแม็คโครได้ให้ความร่วมมือกระจายสินค้าในพื้นที่ภาคอีสาน โดยจากการประเมินความต้องการของตลาดเกี่ยวกับเห็ดโคนและไข่มดแดงอัดกระป๋อง ถือว่าประชาชนมีความต้องการสูงในตลาด ขณะที่ราคาตลาด เห็ดโคนในน้ำเกลือขวดแก้ว ราคา 350 บาท เห็ดโคนในน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง ราคา 180 บาท ส่วนไข่มดแดงในน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง ราคา 160 บาท

หนังสือและแนวคิด “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว The One Straw Revolution” เป็นแนวคิดอันโด่งดังของชาวญีปุ่นที่ชื่อ มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นเมื่อปี 2518 แปลเป็นภาษาอังกฤษปี 2519 และได้รับการแปลและเผยแพร่เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2530

แนวคิดดังกล่าว มีหัวใจอยู่ 4 ข้อคือ ไม่ใช้สารเคมี

ช่วงปี 2530 -2540 แนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อแรงบันดาลใจของเกษตรกรชาวไทย ในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ค่อนข้างมาก รวมไปถึง หนุ่มพนักงานออฟฟิศ คนนี้ด้วย คุณวรวิทย์ ไชยทิพย์ หรือคุณเม้ง ในวัย 44 ปี

คุณเม้ง จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี จากภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2537 เริ่มต้นทำงานที่ สำนักพิมพ์มติชน ในส่วนกองบรรณาธิการ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นคนทำหนังสือนั่นเอง ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเกษตรกลวิธานที่ร่ำเรียนมา หากแต่การสัมภาษณ์ พูดคุย ทัศนคติ การมองโลก ถูกอกถูกใจบรรณาธิการในสมัยนั้น นั่นคือคุณสรกล อดุลยานนท์ หรือหนุ่มเมืองจันท์ จึงได้ร่วมงานกัน

คุณเม้ง ทำงานในฐานะคนทำหนังสือ รวมทั้งเขียนการ์ตูน ในมติชนสุดสัปดาห์ พักใหญ่ ก็มองหาลู่ทาง ที่จะไม่ต้องอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองรถติดและค่อนข้างวุ่นวาย ตอนนั้น เขาเทใจที่ไปบุรีรัมย์ ทีคุณแม่ซื้อที่ดินไว้ และได้แนวคิดการทำการเกษตร แบบฟูกุโอกะ

ลาออกจากงาน ประจำ มุ่งหน้า บุรีรัมย์ ทำตามฝัน เกษตรอินทรีย์

คุณเม้ง ตัดสินใจ ลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าออกไป ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยอุดมการณ์การทำการเกษตร เขาเองก็ฝันที่จะปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เช่นเดียวกัน

แล้วเป็นไงมั่ง สำเร็จมั้ย? – ฉันถามออกไป

“อย่าว่าแต่จะทำขายเลยพี่ แค่จะทำให้แค่พอกินคนเดียว ยังรอดยากเลย” คุณเม้ง ตอบมาอย่างนั้น

เป็นอันว่าการปฏิวัติยุคสมัยของคุณเม้ง กลายเป็นประสบการณ์ ที่ได้บอกกับตัวเองว่า อย่างน้อยก็ได้ลองทำแล้ว

เอ้า!! ออกมาจากงานแล้ว แล้วยังไงต่อ? – ฉันถามต่อไปอีก

“จากนั้น ผมก็หันไปวงการเดิม คือไปรับหนังสือพ็อตเก็ตบุ้กมาขายตามห้องสมุด รวมทั้งไปเปิดบูธขายหนังสือ อะไรว่าไป”

ทว่า จุดเปลี่ยนสำคัญ ของคุณเม้งมาถึง เมื่อวันหนึ่งขณะขับรถ ผ่านอ.เสิงสาง อ.หนองไผ่น้อย จ.นครราชสีมา ซึ่งอยู่ไม่ไกล จาก อ.หนองกี่ บุรีรัมย์ บ้านที่คุณเม้งพักอาศัย ทั้งสองอำเภอที่ว่า มีเกษตรกรปลูกหน่อไม้ฝรั่งค่อนข้างมากทีเดียว คุณเม้ง ก็ปิ๊งไอเดีย ขึ้นมาทันที

เขารีบเปิดเช็คราคาหน่อไม้ฝรั่งที่ตลาดไท กิโลกรัมละ 100 บาท แต่ซื้อในพื้นที่ ราคาตก 70 บาทต่อ กก. ส่วนต่าง 30 บาทต่อกก. ถ้ารับหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ที่ตลาดไท สักวันละ 200 กก. ก็น่าจะได้กำไร อยู่ 6000 บาทต่อวัน หักค่าน้ำมัน ค่าอะไรจิปาถะ ยังไงซะ ก็เหลือมากกว่า….. คุณเม้งวาดฝัน

คุณเม้ง ตรงดิ่งที่ไปไร่หน่อไม้ ติดต่อเกษตรกรทันที จะขอรับซื้อหน่อไม้ฝรั่ง คำตอบที่ได้คือ – ไม่ขายค่ะ

อ้าว ….ทำไมล่ะ – คุณเม้ง ถามต่อ

มีเจ้าประจำอยู่แล้ว – เกษตรกรตอบ

(แป่ววววววววว…….) – คุณเม้ง คิดในใจ

และนี่ โลกของความเป็นจริง ที่คุณต้องเผชิญ !!

“ผมเข้าใจเค้านะครับ คือเราเป็นพ่อค้าใหม่ เกษตรกรเค้าก็ไม่มั่นใจว่า จะซื้อจริงจังมั้ย ซื้อนานแค่ไหน เพราะหน่อไม้ฝรั่งเค้าต้องเก็บทุกวัน” ทางแก้ของคุณเม้ง เมื่อยังตั้งใจจริงที่จะเดินบนทางนี้ก็คือ ต้องรอมีผู้ปลูกรายใหม่ๆ จากนั้นเข้าไปติดต่อขอซื้อ ซื้อกันตลอดไป ไม่ว่าราคาขึ้นหรือลง ไม่ว่าสินค้าจะขาดตลาดหรือล้นตลาด หากอยู่ในภาวะล้นตลาด ซื้อไปทิ้งก็ต้องซื้อ …แบบนี้ ถึงจะมัดใจระหว่างเกษตรกร และพ่อค้าคนกลาง เอาไว้ได้ (เริ่มเข้าใจหัวอกพ่อค้ากลางขึ้นมาบ้างแล้ว)

“อันนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ก็กะว่าจะปลูกเองด้วย สัก แค่ 2 ไร่ รายได้วันละพัน ก็น่าสนใจ คือการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง เป็นการเกษตรประณีต ถ้าจะทำมากกว่า 2 ไร่ต้องจ้างแรงงาน ดังนั้น 2 ไร่ จึงเป็นขนาดกำลังพอเหมาะ แต่ก่อนที่ผมจะปลูก ผมต้องไปหาตลาดก่อน ก็เริ่มจากหาสินค้าไปขาย หลังจากค้าขายมาได้สักครึ่งปี จึงเริ่มปลูก”

“ตอนแรก ผมขับรถเก๋ง เข้าไปในตลาดสี่มุมเมือง เอาหน่อไม้ฝรั่งไปส่ง ยังไม่มีความรู้ เรื่องเบอร์ เรื่องไซซ์เลย ก็มาเรียนกับเกษตรกรทีหลัง ตอนไปเปิดท้ายขาย ก็มีแม่ค้ามาซื้อทีละ 5-10 โล แม่ค้าเป็นคนสอนว่าต้องแพ็คแบบนี้ ใส่ถุงแบบนี้ แล้วเอาหนังสือพิมพ์หุ้มตรงส่วนปลายไว้อย่างนี้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือน”

คุณเม้ง เริ่มไปขายที่สี่มุมเมือง ขับขึ้น ลง กรุงเทพ-บุรีรัมย์ ตอนหลังไม่ไหว ก็จ้างคนขับ พอไปถึงก็จอดรถขาย ให้คนขับนอนพัก แต่ระบบที่เปิดท้ายขาย ขายหลังเที่ยงคืน จะขายได้แค่ 2 ชม. ถ้าไม่หมด ต้องขับรถออกไปวนมาหาที่จอดขายใหม่ ก็หนักหนาสาหัสกันทั้งคู่ ช่วงหลังก็เริ่มไม่ไหวกัน

เริ่มเบนเข็ม หาผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ขายล็อตใหญ่

“จากสภาพที่เป็นอยู่ ผมก็อยากหาตลาดที่แน่นอนกว่านี้ ผมเริ่มจากวิธีง่ายๆ เลยคือ เสิร์ชเน็ต หารายชื่อผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง โทรไปหาทีละเจ้าเลย จนได้ไปเจอกัย เคซีเฟรช ผู้ส่งออกพืชผัก รายใหญ่ของประเทศ ก็เอาตัวอย่างไปให้เค้าดู ซึ่งต่อมา เค้าก็รับซื้อจากผมเยอะทีเดียว”

จากเคซีเฟรช ก็มีผู้ส่งออกรายอื่น ติดต่อมาด้วย เพราะผู้ส่งออก ผู้ค้าแต่ละคน ก็ใช้ผักขนาดต่างกัน ก็ได้ลูกค้าหลายเจ้า

บทเรียนหนึ่งที่ผ่านเข้ามาคือ ภาวะหน่อไม้ฝรั่งล้นตลาด เนื่องจากในช่วงตรุษจีน ทางไต้หวัน จะไม่ใช้หน่อไม้ฝรั่ง ทำให้หน่อไม้ฝรั่งในไทย ปริมาณล้น ติดต่อไปทางไหน ก็ไม่มีใครรับ ทางแก้ก็คือ ต้องลงไปขายในตลาดเอง ขายถูก ขายยอมขาดทุน ปล่อยเน่าไปก็มี เพราะถึงอย่างไร ก็ยังต้องรับซื้อจากเกษตรกร ไม่ว่าถูกหรือแพง

“จากประสบการณ์ตอนนั้นจนถึงวันนี้ ก็ค่อนข้างอยู่ตัว จากนั้นผมก็ไปติดต่อห้างแมคโคร ซึ่งตอนนี้ได้ยอดออเดอร์ จากแมคโครเป็นหลัก ได้ วันละ 300-400 กก โดยนำไปส่งที่ ศูนย์กระจายสินค้า ที่วังน้อย อยุธยา”

“ตอนนี้ ผมก็ไปรับจากเกษตรกรในเขตอื่นๆ และส่งเสริมให้เกษตรกร (ลูกไร่) ปลูกด้วย รวมทั้งรู้จักเพื่อนๆในวงการ ก็แบ่งสินค้ากัน ใครขาดก็ขอเพื่อน ทำให้มีของป้อนตลอด

คุณเม้ง บอกอีกว่า ในฐานะพ่อค้าคนกลาง มีลูกไร่อยู่ในเครือ เขาต้องวางแผนการผลิต เพื่อไม่ให้สินค้าล้นตลาด อย่างบางครั้ง การทำหน่อไม้ฝรั่งขาว ได้ราคาดี ก็มีเกษตรกรอยากปลูกกัน เขาต้องวางแผน จำกัดพื้นที่ปลูกเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องราคาในระยะยาว

เรื่องราววงการเกษตรของคุณเม้ง เขาว่า ยังมีเรื่องให้เรียนรู้ และแก้ไขอีกมาก

อย่างไรก็ตาม คุณเม้ง ฝากบอกคนที่สนใจว่า “อยากเป็นเกษตรกรเงินแสน(ต่อเดือน) มีต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ส่งเสริมให้ปลูกนะครับ โทร 085251 9681”

ปัจจุบันคุณเม้ง อยู่ที่ 28 หมู่ 9 ต.ดอนอะราง อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดสินค้าอินทรีย์ที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ คำว่า อินทรีย์ หรือ ออร์แกนิก (Organic) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดกันอย่างแพร่หลาย สำหรับบ้านเรามีสินค้าที่เรียกตัวเองว่าเป็นอินทรีย์มากมายจนผู้บริโภคสับสน

จึงมีคำถามตามมาว่า…อินทรีย์ หรือ ออร์แกนิก (Organic) ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร? แล้วใช้อะไรเป็นตัวตัดสิน? เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจหรือเชื่อมั่นได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติการผลิตสินค้าเกษตรของแต่ละแห่งทั่วโลกมีความต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งสภาพพื้นที่ ปัจจัยการผลิตหรือแม้วิธีและกระบวนการ ฉะนั้น คงไม่ง่ายหากสินค้าทางการเกษตรจากสถานที่แห่งหนึ่งของประเทศหนึ่งจะเป็นที่ยอมรับจากอีกประเทศที่ตั้งอยู่คนละทวีปของโลก

แต่สำหรับสินค้าทางการเกษตรของ “ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชนตำบลละทาย” จังหวัดศรีสะเกษ นำพืชผลทางการเกษตรในกลุ่มสมุนไพร อย่าง หอมแดง กระเทียม ที่เป็นพืชท้องถิ่นชื่อดังของจังหวัด รวมถึงพืชสมุนไพรสำคัญ อย่าง ขิง ข่า ตะไคร้ มาสร้างมูลค่าผ่านกระบวนการปลูกแบบอินทรีย์อย่างแท้จริง จนได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานของประเทศ เพื่อเข้าสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ส่งขายยังประเทศเนเธอร์แลนด์ ในชื่อแบรนด์ “อรชัญ ออร์แกนิค” โดยมี คุณอรชัญ พันธ์วิไล และ คุณพ่อสมาน พันธ์วิไล (บิดา) อยู่บ้านเลขที่ 3/2 หมู่ที่ 4 ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกันเป็นผู้บุกเบิก

เลิกเป็นครู กลับบ้านเกิด เพื่อทำเกษตรตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 จนสำเร็จ คุณอรชัญ ซึ่งเดิมมีอาชีพเป็นครู คิดว่าถึงเวลาที่ต้องกลับมาบ้านเกิด เพื่อมาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น และปลดภาระหนี้สิน จึงได้ทำเกษตรกรรมตามแนวทางทฤษฎีใหม่ของในหลวง รัชกาลที่ 9 อันเป็นผลมาจากความล้มเหลวของไร่สุขสมาน ที่เน้นปลูกพืชไม้ผลเชิงเดี่ยว อย่าง ข้าว อ้อย ปอ และแตงโม

เป็นเวลา 10 ปี ที่คุณอรชัญและคุณพ่อสมานร่วมกันทำกิจกรรมผ่านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จ ทำให้ชีวิตครอบครัวตัวเองเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากที่เคยประสบปัญหาหนี้สินก็สามารถปลดเปลื้องหนี้สินต่างๆ ออกได้หมด แล้วยังมีวิถีชีวิตที่มีความสุขจากการมีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้มีเงินออม สิ่งเหล่านี้ได้ประสบกับตัวเองแล้วประจักษ์ว่าแนวทางทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมีความเป็นจริง

ภายหลังที่ได้สร้างรูปธรรมที่ชัดเจน จึงนำแนวทางนี้ไปถ่ายทอดให้ชาวบ้านที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้จากของจริง แล้วตั้งใจว่า ภายในเวลา 10 ปี จะนำพาชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการฝ่าด่านกำแพงความยากจนออกไป แล้วหากทำไม่สำเร็จจะยุบศูนย์เรียนรู้แล้วหันกลับไปทำอาชีพส่วนตัวอย่างเดียว

ชวนชาวบ้านร่วมกิจกรรมขายสินค้าเกษตรสร้างรายได้

แต่เพียง 3 ปี ภาพความสำเร็จเริ่มเห็นชัด เมื่อชาวบ้านทุกคนต่างให้ความสนใจให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการนำสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่แต่ละรายปลูกไปขายในตลาดกันทรารมย์ แต่กลับพบปัญหาสินค้ามีมากเกินไปจนทำให้ราคาไม่สูงอย่างที่ตั้งเป้าไว้

จากนั้นจึงไปปรึกษากับทางเกษตรและสหกรณ์จังหวัด แล้วหาทางออกด้วยการจัดตลาดเกษตรอินทรีย์ถนนคนเดิน พร้อมกับทางกลุ่มได้ปรับแผนการผลิตสินค้าเกษตรด้วยการกำหนดให้สมาชิกกลุ่มแต่ละรายปลูกพืชไม่ซ้ำกัน แบ่งกันปลูก แล้วแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น คนปลูก คนเก็บ และคนขาย ออกจากกัน จึงทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น

พัฒนาคุณภาพสินค้าเป็นเกษตรอินทรีย์ ยกฐานะสู่ สินค้าโอท็อป

อย่างไรก็ตาม พบว่า ผลผลิตหอมแดง-กระเทียม ที่สมาชิกกลุ่มปลูกมีจำนวนมาก จึงต้องมีการคิดขยายตลาดออกไป จนนำไปสู่การสร้างมาตรฐานสินค้า พร้อมกับส่งเข้าแข่งขันโอท็อป (OTOP) แล้วได้เปิดตลาดคู่ขนานไปกับหน่วยงานราชการ จนทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ในแบรนด์ “อรชัญ ออร์แกนิค”

สินค้าตัวแรกที่ผลิตขายแบบแพ็กเก็ตติดแบรนด์คือ ข้าวกล้อง จากนั้นไม่นานได้เพิ่มมูลค่าสินค้าประจำถิ่น ด้วยการผลิตหอมแดง กระเทียม พริก ที่ปลูกทุกอย่างแบบอินทรีย์ แล้วได้มีโอกาสไปออกขายตามบู๊ธงานแสดงสินค้าทุกระดับทั่วประเทศ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ที่กรุงเทพฯ ได้พบว่า สามารถขายสินค้าหมดเพียงวันเดียว จึงทำให้กลับมาคิดทบทวนหาแนวทางวางระบบการบริหารจัดการใหม่ เพื่อให้มีสินค้ามากพอสำหรับการขายในแต่ละงาน

จึงได้เริ่มวางระบบกระบวนการปลูกให้มีประสิทธิภาพ ที่เน้นแนวทางอินทรีย์เป็นหลัก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงยังช่วยลดต้นทุนการผลิต แล้วยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับแนวทางอินทรีย์ที่นำมาใช้ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก ฯลฯ

สร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง รุกสู่ตลาดต่างประเทศ

ขณะเดียวกันจัดทำแผนการปลูกพืชชนิดต่างๆ เพื่อกำหนดจำนวนผลผลิตที่แน่นอนได้อย่างชัดเจน มีการจัดทำปฏิทินการปลูกพืชเพื่อกำหนดตารางเวลาปลูกที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นแนวทางที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบคุณภาพได้อย่างมาตรฐาน และผลจากแนวทางนี้นำมาสู่การได้รับใบรับรองมาตรฐานคุณภาพสินค้าจากหน่วยงานต่างๆ หลายประเภท

กระทั่งได้มีโอกาสก้าวสู่ระดับสากลด้วยการเจรจาทางการค้ากับบริษัทต่างประเทศที่สนใจสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม จนนำมาสู่การปลูกพืชที่มีชื่อของจังหวัด อย่าง หอมแดง กระเทียม รวมถึงพืชในกลุ่มเครื่องเทศ ไม่ว่าจะเป็นพริก ขิง ข่า ตะไคร้ ป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปในประเทศ เพื่อผลิตเป็นสินค้าหลายชนิดส่งขายที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

ขณะเดียวกันทางกลุ่มก็ยังไม่ทิ้งตลาดในประเทศและได้มีการผลิตสินค้าการเกษตรที่น่าสนใจ ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม และข้าว (ไรซ์เบอร์รี่ หอมมะลิแดง หอมมะลิ 105 ข้าวเหนียวดำ) ตลอดจนพืชผักผลไม้อินทรีย์อีกหลายชนิดส่งให้แก่พันธมิตร อาทิ พลังบุญ เลม่อนฟาร์ม SMILE GREEN ออแกนิคฟาร์มเชียงใหม่ เป็นต้น

ปัจจุบัน “ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชน ตำบลละทาย” มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 114 คน ผลตอบแทนที่สมาชิกได้รับคือ ค่าตอบแทนจากการขายสินค้าเกษตรที่ปลูกได้ ตามออเดอร์ที่รับมาจากบริษัทแปรรูปสินค้าแล้ว จึงนำยอดสินค้าแต่ละรายการไปกระจายให้สมาชิกกลุ่มปลูกตามกำลังความสามารถของแต่ละราย จนเก็บผลผลิตทั้งหมดมารวมกันขาย ซึ่งจะมีการส่งสินค้าสัปดาห์ละครั้ง พอขายได้จึงนำรายได้มาแบ่งตามจำนวนที่แต่ละรายปลูก ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ทุกสัปดาห์

คุณอรชัญ ชี้ว่า ผลจากกิจกรรมของกลุ่มช่วยทำให้เกิดรายได้ในครัวเรือนตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้า โดยไม่ต้องออกไปหางานทำต่างถิ่น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสร้างความอบอุ่นให้แก่ครอบครัว และเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่อีกด้วย

“สมาชิกกลุ่มทุกคนเริ่มต้นมาจากการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 พวกเราภาคภูมิใจที่ได้เดินตามรอยของพระองค์ ทุกวันนี้พวกเรามีความสุขและอยู่อย่างสบายแบบไม่มีหนี้สิน เพราะแนวทางที่พระองค์ทรงวางไว้สามารถทำได้จริง ที่สำคัญผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมกลุ่มยังพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้าทางการเกษตรของไทยจากจังหวัดศรีสะเกษได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่ามีคุณภาพมาตรฐานจริง” คุณอรชัญ กล่าว

สนใจสอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานจากศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน วิสาหกิจชุมชนตำบลละทาย หรือต้องการเข้าเยี่ยมชมกิจกรรม ติดต่อได้ที่ คุณอรชัญ พันธ์วิไล โทรศัพท์ (089) 717-8774 fb:อรชัญ พันธ์วิไล

หรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตร ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุริยา บุญเย็น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทรศัพท์ (045) 616-829, (062) 196-1377

ขอขอบคุณ : คุณอัครพล แสงอรุณ และ คุณอุรชา แสงอรุณ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอกันทรารมย์ ที่อำนวยความสะดวก หลังพบว่า “เศษขยะ” จากอาหารสด คือ “ขุมทรัพย์” อันล้ำค่า “ชารีย์ บุญญวินิจ” ศิษย์เก่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คนหนุ่มวัยเพียง 29 ปี อดีตเซฟที่สหรัฐอเมริกา และได้เคยบวชเรียนเป็นพระมาแล้ว ปิ๊งไอเดียนำเศษอาหารไร้ค่ามาเลี้ยงไส้เดือน ผันชีวิตจากเด็กหนุ่มปกติ สู่วิถีชีวิตเกษตรกร จนได้รับฉายาลุงรีย์ไส้เดือนเงินล้าน

คุณชารีย์ เล่าว่า หลังจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำงานเป็นผู้ช่วยพ่อครัว ณ ร้านอาหาร แห่งหนึ่งนาน 4 เดือน ทุกๆ วัน ต้องพบเจอกับเศษอาหารที่เหลือทิ้งจำนวนมหาศาล แต่ขณะนั้นยังหาวิธีกำจัดเศษขยะเหล่านั้นไม่ได้ จนกระทั่งกลับมาเมืองไทย ไปบวชเป็นพระ ได้เจอกับพระนักพัฒนาที่มีทักษะการเกษตรสูงเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตร จึงเกิดความคิดอยากทำเกษตรที่สามารถเลี้ยงชีพได้

ชารีย์ บอกต่อว่า หลังจากสึกพระออกมา ก็ทำงานออฟฟิศด้านการออกแบบ กระทั่งปี 2553 เริ่มเลี้ยง “ไส้เดือน” เป็นอาชีพเสริม เพราะมองว่าไส้เดือน เป็นสัตว์ที่ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่เยอะ ไม่มีโรค ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ลงทุนครั้งเดียว ที่สำคัญไม่รบกวนงานประจำ

“ผมใช้ที่จอดรถ ประมาณ 6 x 3 เมตร เพื่อเลี้ยงไส้เดือน ลงทุนครั้งแรก 1,000 บาท เลี้ยงไส้เดือน 4 สายพันธุ์ วัตถุประสงค์ในการเลี้ยง ไว้เพื่อผลิตปุ๋ย เพราะไส้เดือน มีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างดินดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย ช่วยระบายน้ำและอากาศในดิน ไส้เดือนชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร และสิ่งสำคัญที่สุด คือ ไส้เดือนเป็นผู้ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีที่สุด”

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือน คุณชารีย์ บอกว่า แทบจะไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะส่วนใหญ่ได้มาฟรีจากคนแถวบ้าน เช่น กากถั่วเหลืองได้มาจากร้านขายน้ำเต้าหู้ ผักและเปลือกไข่ที่เหลือจากร้านหมูกระทะ และร้านปลาเผา

ด้านวิธีการเลี้ยง นำกะละมังเจาะรู ซ้อนกันเป็นชั้นๆ โรยแกลบ ใส่เศษผัก ใส่มูลวัว นำไส้เดือนใส่ลงไป ปิดด้วยตาข่าย ประหยัดพื้นที่ รดน้ำสัปดาห์ละครั้ง รักษาความชื้นไว้เสมอ ภายใน 1 เดือน ผลิตไส้เดือนได้ 2 ตัน ทำเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ ปุ๋ยมูลไส้เดือน น้ำหมักฉีดผัก ผลไม้ นำไปเป็นอาหารล่อเหยื่อตกปลา

1.สายพันธุ์แอฟริกัน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 3,000 บาท ใช้ผลิตปุ๋ยปลูกผักสวนครัว

2.สายพันธุ์ลายเสือ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท ใช้ขุนแม่พันธุ์สัตว์น้ำ

3.สายพันธุ์บลูเวริ์ม จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 6,000 บาท ใช้บำรุงพืชให้มีรสชาติความหวานเพิ่มขึ้น

4.ไส้เดือนพันธุ์ไทย จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 300 บาท ใช้เป็นเหยื่อตกปลา สำหรับต้นทุนค่าใช้จ่าย คุณรีย์ แจกแจงว่า ค่าเช่าสถานที่รายจ่ายทั่วไป 20,000 ค่าทีมงานดูแล 15,000 ค่าจัดการเตรียมอาหารไส้เดือนและสัตว์ในฟาร์ม 3,000 บาท ค่าขนส่ง 2,000 บาท

ส่วนช่องทางหารายได้ สมัครเว็บไฮโล มาจากจำหน่ายผลิตผล ปุ๋ย นำหมัก จำหน่ายสายพันธุ์ -จัดกิจกรรมเรียนรู้ คอร์สไส้เดือน จัดทุกเดือน คอร์สเลี้ยงกุ้งทางเลือก เดือนเว้นเดือน คอร์สปรุงดินปลูกผัก สองเดือนครั้ง คอร์สเพาะเห็ดมิวกี้ ปีละสองครั้ง

ปัจจุบัน “ฟาร์มไส้เดือนลุงรีย์” เกิดมาได้ 7 ปี นอกจากเลี้ยงไส้เดือนครบวงจรแล้ว ยังเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ปลูกผักสวนครัว” และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มลุงรีย์เปิดให้เข้าชมอีกด้วย

วันก่อน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ นำเสนอ เรื่องราวของคุณเม้ง วรวิทย์ ไชยทิพย์ ผู้ค้าส่งหน่อไม้ฝรั่งรายใหญ่ ที่เริ่มจากศูนย์ แต่ปัจจุบัน สามารถส่งห้างสรรพสินค้าแมคโคร ได้ราว 300-400 กก.ต่อวัน

(อ่านเพิ่ม กดลิ้งค์ เส้นทางสู่ การเป็นผู้ค้าหน่อไม้ฝรั่งรายใหญ่ ส่งห้างฯ-ส่งออก จากจุดเริ่มต้น หนุ่มออฟฟิศมากฝัน)
ซึ่งนอกจาก ห้างแมคโครแล้ว คุณเม้ง ยังทำหน่อไม้ฝรั่งขาว ส่งห้างสรรพสินค้าอีกหลายแห่งในกรุงเทพฯ ซึ่งวิธีการทำหน่อไม้ฝรั่งขาว ก็มีหลักง่ายๆ คือ ไม่ให้หน่อไม้เกิดการสังเคราะห์แสง หรือไม่ให้ถูกแสง เมื่อหน่อไม้ฝรั่งโตขึ้นมาได้นิดหนึ่งก็ครอบด้วยท่อพีวีซี ที่หุ้มปลายสูงขึ้นมาด้วยถุงพลาสติกปลูกสีดำ ทำให้ไม่ถูกแสง ซึ่งราคาหน่อไม้ฝรั่งขาว จะสูงกว่าหน่อไม้ฝรั่งปกติ อีกเท่าตัว

ผู้ใหญ่บ้าน ต.วังเย็น ปลูกมะนาวหอมแปดริ้ว เปลือกบาง น้ำเยอะ

นายทองพูล โฉมสอาด (ผู้ใหญ่สันต์) อยู่บ้านเลขที่ 18/1หมู่6 ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เล่าให้ฟังว่า เดิมที่ตนเป็นเกษตรกรปลูกพริก ปลูกมะนาวเป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว แต่มะนาวที่ปลูกเป็นมะนาวตลาดพันธุ์ทั่วไป ตนเพิ่งเริ่มปลูกมะนาวหอมแปดริ้วได้ 3 ปี ปรากฎว่าได้ผลดี ลักษณะเด่นของมะนาวพันธุ์นี้คือ ให้ผลดก เก็บลูกได้เร็ว ทันราคา ลูกใหญ่ น้ำเยอะ เปลือกบาง กลิ่นหอมแม่กระทั่งใบ และเป็นที่ต้องการของประเทศลาว

ผู้ใหญ่สันต์ ปลูกมะนาวพันธุ์หอมแปดริ้วประมาณ 30 ไร่ มะนาวให้ผลผลิตดีมาก เก็บตรงโน้นตรงนี้เหลือง จึงต้องหาตลาดส่งออกที่ประเทศลาว ซึ่งทางประเทศลาวเขาชอบมากสั่งรอบละ 6-10 ตัน ราคาขายขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด แต่ที่เคยขายไปอยู่ที่ กก.ละ 35 บาท มีอย่างทุกวันนี้ได้เพราะมะนาว ซื้อรถเงินสดทุกคน เงินโผล่มาจากดินทั้งนั้นเลย ผู้ใหญ่สันต์กล่าว

วิธีการปลูกไม่ยาก ผู้ใหญ่สันต์ บอกว่า ตนปลูกลงดินไม่ต้องมีอะไรมาล้อม ขุดหลุมไม่ต้องกว้าง ปลูกมะนาวไม่ต้องขุดหลุมลึก มะนาวกินแค่รากผิวดิน ใช้กิ่งตอนปลูกวางลงหลุมลึกประมาณ 2 นิ้ว เมื่อปลูกเสร็จให้กักน้ำไว้ใช้ตอนหน้าแล้ง มะนาวจะไม่ตาย

ใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ไก่ปนแกลบ ส่วนสาเหตุว่าทำไมมะนาวถึงลูกใหญ่ขนาด 7-8 ลูกต่อกิโลกรัม ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแค่ปรับปรุงดินให้ดี ใส่ขี้วัว ขี้ไก่ ต้นละกระสอบ แล้วต้นจะโตสมบูรณ์ ลูกจะดกและใหญ่ที่ลูกใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้อยู่ที่สายพันธุ์ แต่อยู่ที่การปรับปรุงดิน

มะนาวพันธุ์หอมแปดริ้ว เป็นที่ต้องการของตลาดที่ประเทศลาว เพราะที่นั่นชอบมะนาวไซต์จัมโบ้ ตลาดของผู้ใหญ่สันต์มีทั้งในประเทศ และประเทศลาว ที่ประเทศไทยจะส่งเฉพาะที่อำเภอแปลงยาว และที่กรุงเทพฯ อีกนิดหน่อย

และนอกจากปลูกมะนาวขายผลแล้ว ผู้ใหญ่ยังมีการใช้ประโยชน์จากการที่มะนาวลูกใหญ่ น้ำเยอะ นำมาแปรรูปเป็นน้ำมะนาวใส่ขวดขาย รสชาติดี ไม่ใส่สารกันบูด ขายในราคา 1 โหล 100 บาท (ใหญ่สันต์บอกว่า น้ำมะนาวของตนอร่อย และได้คุณภาพแน่นอน เพราะวัตถุดิบที่ตนใช้เป็นของดีทั้งสิ้น

สำหรับท่านที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการปลูกมะนาว หรือสนใจกิ่งพันธุ์มะนาวพันธุ์หอมแปดริ้ว ติดต่อผู้ใหญ่สันต์ได้ที่เบอร์โทร . 085-2843002

ปัญหาการทำนาของเกษตรกรที่มักพบได้บ่อยๆ คือ ต้องซื้อปุ๋ยราคาแพง ราคาข้าวตกต่ำ การใช้ดินทำนามายาวนาน ดินเสื่อมไม่เหมาะสม และที่สำคัญการใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก ไม่ตรงสูตร ไม่ตรงตามอัตราส่วน และไม่ใส่ตามระยะเวลา จึงเป็นเงื่อนไขให้ต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง แต่การรู้ว่าในพื้นที่แปลงนามีธาตุอาหารใด? บ้าง ก็จะช่วยให้การจัดการใช้ปุ๋ยทำได้อย่างถูกต้องและรู้ค่า ได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน เป็นหนึ่งวิธีการที่น่าสนใจ วันนี้จึงได้นำเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนใส่ปุ๋ย ทำนา ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ มาเล่าสู่กัน

คุณชมพูนุช หน่อทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า ปัญหาการทำนาที่สำคัญของชาวนาคือ ถ้าน้ำไม่พอเพียงก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโต หรือใส่ปุ๋ยในนาข้าวที่ไม่คำนึงถึงสภาพดินในพื้นที่แปลงนาว่ามีธาตุอาหารอะไรบ้าง? ใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตรไม่ตรงกับความต้องการของต้นข้าว บางครั้งใส่ปุ๋ยน้อยไปก็ได้ผลผลิตน้อย หรือใส่มากไปก็ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงได้ผลตอบแทนไม่คุ้มทุน

ปุ๋ย เป็นปัจจัยสำคัญในการทำนา การตรวจวิเคราะห์ดินในแปลงนาก่อนแล้วนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดสูตรปุ๋ยเพื่อใส่ปุ๋ยให้ตรงสูตร ถูกอัตราส่วนและใส่ตามระยะเวลา หรือจะผสมผสานใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์สูตรปรับปรุงบำรุงดิน ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ที่สำคัญต้องจัดการวางแผนใช้น้ำที่เหมาะสมไม่ว่าจะทำนาอยู่ในเขตชลประทานหรือการใช้น้ำฝน ก็จะส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตและได้ผลผลิตข้าวคุ้มทุน

การตรวจวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยในการทำนา ได้รับการสนับสนุนวิธีการจากสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท หมอดินหมู่บ้าน หรือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้วยการขุดเก็บตัวอย่างดินตามหลักการส่งไปตรวจวิเคราะห์เพื่อจะได้รู้ว่าสภาพดินในพื้นที่แปลงปลูกมีธาตุอาหารอะไรบ้าง เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (N P K) และมีความเป็นกรดด่างในระดับใด แล้วนำผลการตรวจวิเคราะห์ดินมากำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ ซึ่งจากปฏิบัติการจริง ปรากฏว่าต้นทุนการผลิตลดลงมาก ได้ผลผลิตข้าวเพิ่ม เมื่อบวกลบคูณหารแล้วจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มและมีวิถีที่มั่นคง

คุณพิสมัย พิมพ์ขาว เกษตรกรทำนา เล่าว่า มีพื้นที่ 13 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกพืชแบบผสมผสาน และแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 5 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ กข 41 อายุการเก็บเกี่ยว 105 วัน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่

เมื่อก่อนหน้านี้ได้ทำนาด้วยวิธีการที่คล้ายกับเพื่อนบ้านคือ เตรียมดินแปลงนาไม่ละเอียด ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกกว่า 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเต็มที่เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวมากๆ แต่ปรากฏว่าได้ผลผลิตข้าวเพียง 50 ถัง ต่อไร่ หรือบางครั้งก็ได้ผลผลิตข้าว 35 ถัง ต่อไร่ หรือ 2-3 เกวียน ต่อ 5 ไร่ เมื่อบวกลบคูณหารแล้วไม่คุ้มทุน

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อได้รับคำแนะนำจากหมอดินหมู่บ้าน สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ให้ชาวนาขุดเก็บตัวอย่างดินส่งไปตรวจวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าคุณภาพดินในแปลงนามีธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปริมาณเท่าไร หรือมีค่าความเป็นกรดด่างระดับใด แล้วนำผลที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินมาจัดการใส่ปุ๋ยในการทำนาให้ถูกต้องจึงจะลดต้นทุนการผลิตและได้ผลตอบแทนคุ้มทุน

การเตรียมดินแปลงนา ได้เปิดน้ำเข้าแปลงนาหรือถ้าแปลงนามีน้ำอยู่แล้วก็กักน้ำไว้อย่างน้อย 2 วัน เพื่อหมักตอซังและฟางข้าวให้ย่อยสลายเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ จากนั้นจึงทำการไถ

เตรียมรถไถ นำถังพลาสติกกลมที่เจาะเป็นรูขนาดเล็กมีฝาเปิด-ปิดเพื่อให้น้ำจุลินทรีย์ไหลออกได้ ผูกมัดถังยึดกับตัวรถไถให้แน่น ใส่น้ำจุลินทรีย์ลงไปในถังพลาสติก นำรถไถลงแปลงนาทำการไถเตรียมดินพร้อมกับเปิดฝาให้น้ำจุลินทรีย์ไหลลงกระจายทั่วแปลงนา โดยเฉลี่ยใช้จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อไร่ หรือใช้วิธีเทน้ำจุลินทรีย์ลงไปให้กระจายทั่วแปลงนาก่อนก็ได้ จากนั้นจึงนำรถไถลงไปไถเตรียมดิน การใส่จุลินทรีย์จะช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ได้คุณภาพและลดปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นข้าวแตกกอดีขึ้น

หลังการหว่านข้าวปลูกไป 8 วัน เมล็ดข้าวก็เริ่มงอก ได้ปล่อยน้ำเข้าแปลงนา กักน้ำไว้ 20 วัน แล้วใส่จุลินทรีย์อีกครั้งในอัตรา 5 ลิตร ต่อไร่ หลังจากนั้น 20 วัน ได้นำจุลินทรีย์ในอัตรา 500 ซีซี ผสมลงไปในน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนาทุก 7 วัน เพื่อช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใส่ปุ๋ยสั่งตัด ได้จัดการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 อัตรา 9 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 18-46-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่

ต้นทุนการทำนา 5 ไร่ ได้แบ่งเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 2,050 บาท ค่าเตรียมดิน 3,250 บาท ค่าปุ๋ย 2,050 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,600 บาท รวมเป็นต้นทุน 9,950 บาท บวกลบแล้วต้นทุนการผลิตลดลงและได้ผลตอบแทนคุ้มทุน

คุณพิสมัย เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า การใช้จุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินด้วยการใส่ปุ๋ยได้ถูกสูตร ตามอัตราส่วนและระยะเวลา จัดการแปลงนาให้ได้รับน้ำพอเพียง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ที่สำคัญคือ ได้ผลผลิตข้าว 80 ถัง ต่อไร่ หรือได้ผลผลิตข้าว 1 เกวียน ต่อไร่ หรือได้ผลผลิตข้าวเพิ่มมากกว่าเดิม

หลังการเก็บเกี่ยวข้าวได้ปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยเป็นพืชหมุนเวียน เช่น ปลูกถั่วเขียว ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อพืชเจริญเติบโตสมบูรณ์ได้ไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งจากการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้จุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีรายได้เพิ่มและยังชีพได้แบบพอเพียงและมั่นคง

จากแนวทางการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ย ทำนา ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เป็นการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาปรับใช้ในการทำนาเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ยังชีพได้แบบพอเพียง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิสมัย พิมพ์ขาว เลขที่ 19/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โทร. (083) 760-3028 หรือที่ คุณชมพูนุช หน่อทอง สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท โทร. (056) 476-720 ก็ได้เช่นกันครับ

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดทำเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ตลาดแมทชิ่งออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ทำการตลาดให้เป็นเรื่องง่าย

นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรไทย ที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์ออกมาให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ขายและกระจายสินค้าเกษตรและแปรรูปแก่ผู้บริโภคได้สะดวก รวดเร็ว ขยายฐานลูกค้าได้เป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องด้วยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ได้มีการจัดทำเว็บไซต์ ตลาดแมทชิ่งออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยใช้ชื่อ www.dgtfarm.com ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบ ในการซื้อขายสินค้าต่อไป

ทางนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้รับเกียรติเชิญให้สัมภาษณ์ คุณกฤษ อุตตมะเวทิน เลขานุการกรม เป็นที่แรกเกี่ยวกับการเปิดตัวเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยเกษตรกรไทยโดยเฉพาะ

บทบาทหน้าที่ของ มกอช. หรือสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. เป็นหน่วยงานกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานระดับกรม ทำหน้าที่แทนกระทรวงเกี่ยวกับกระบวนการมาตรฐานสินค้าเกษตร Food safety อาหารปลอดภัยทั้งหมด

ความเป็นมาของการสร้างเว็บไซต์ www.dgtfarm.com

สืบเนื่องจากที่เราพัฒนาภาคการเกษตรมาตลอดระยะเวลาหลาย 10 ปีที่ผ่านมา โดยมากแล้วกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเน้นไปที่ภาคการผลิตเราสามารถเพิ่มคุณภาพการผลิต เราสามารถเพิ่มเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการผลิตได้มากแล้ว แต่ปัญหาที่เป็นเหมือนปัญหาอมตะของเราเลยคือ เรื่องของการตลาด ดังนั้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีมันก้าวล้ำนำสมัยมากขึ้นก็เลยเป็นช่องทาง เป็นโอกาสที่เราจะเริ่มเข้าไปสู่ด้านการตลาดมากขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการทำงานด้านการผลิตต่อไป เช่น เมื่อก่อนเราอาจจะพูดถึงแค่การผลิตให้มีคุณภาพ แต่เราไม่รู้จะไปขายที่ไหน แต่ตอนนี้เราใช้เทคโนโลยี ยุคไทยแลนด์ 4.0 ให้เป็นประโยชน์ด้วยการทำระบบการตลาดออนไลน์ขึ้นมา ในเรื่องของการจับคู่ระหว่างผู้อยากขายและผู้อยากซื้อ ในชื่อของเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ซึ่งมาจากคำว่า ดิจิตอลฟาร์ม

เว็บไซต์นี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้พัฒนาแล้วเสร็จในเฟสที่ 1 เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว ขณะนี้กำลังพัฒนาเฟส 2 เพื่อให้ครอบคลุมฟังก์ชั่นของการใช้งานให้มากขึ้น เฟสที่ 1 เหมือนการก่อสร้างขึ้นโครง เพื่อให้เกิดโครงสร้างในการพัฒนาจึงไม่ได้เปิดตัวในการใช้งาน แต่ในเฟสที่ 2 กำลังจะเสร็จในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ เว็บไซต์จะเริ่มเปิดตัว ซึ่งเว็บไซต์นี้ใครก็สามารถใช้ได้ขอให้เป็นเกษตรกรที่สนใจในระบบคุณภาพก็ถือเป็นบันไดขั้นแรก อันนี้นับว่าจากตัวโปรแกรมเราใช้มาหลายปีแล้ว เราพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้ฟรี เป็นการบริหารของภาครัฐที่สนับสนุนพี่น้องเกษตรกร และเรายังมีระบบอนุญาตนำเข้าและส่งออก ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกอช. เป็นตัวกลางเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งสำหรับสินค้าที่กฎหมายกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ การนำเข้าส่งออกก็ต้องยอมรับกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บริการนำเข้าส่งออกทางออนไลน์เลย นอกจากนั้น เราก็ยังมีศูนย์บริการไอที พัฒนาเพื่อรองรับกระบวนการให้ทันสมัยมากขึ้น

คิดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเว็บไซต์มากน้อยขนาดไหน

ถ้าเปิดตัวคิดว่าน่าจะได้รับความสนใจมากทีเดียว ณ ปัจจุบันพื้นฐานของลูกค้าในเว็บไซต์ คือกลุ่มเกษตรกร กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ใช้ระบบ QR Trace อยู่แล้ว ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ราย ที่เป็นสมาชิกของระบบ มกอช. อยู่ นอกจากนั้น ก็ยังมีเครือข่ายผู้ผลิตรวมแล้วเป็น 10,000 ราย ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ถ้าหากว่าเราเปิดตัวแล้วทุกคนได้ร่วมกันมาใช้ ระบบบก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุณกฤษยังอธิบายเพิ่มอีกว่า นอกจากฐานที่จะมาใช้ระบบเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ยังมีฐานของผู้ประกอบการซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบริหาร เชิงบริหารภาครัฐ ในลักษณะประชารัฐ เช่น โมเดิร์นเทรด ผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเครือข่ายของ มกอช. เหมือนกัน ก็สามารถมาใช้บริการเว็บไซต์แห่งนี้ได้ฟรี

ภาพรวมขององค์การเกษตรถ้ามีเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว คาดหวังว่าจะพัฒนาไปได้ในระดับใด

ตัวเว็บไซต์ถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้คนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่ผู้ผลิต ถึงผู้บริโภคที่สนใจจะเข้าสู่กระบวนการการค้าในสินค้ามาตรฐาน เพราะว่าสินค้ามาตรฐานก็มีการผลิตอย่างกว้างขวาง แต่ผู้บริโภคอาจจะยังไม่รู้ ถ้าผู้บริโภคไม่รู้ ผู้ค้า ผู้ประกอบการอาจจะไม่ทำธุรกิจเสาะหาสินค้ามาจำหน่าย ดังนั้น เมื่อเราเอาสินค้าเหล่านั้นมารวมไว้ใน ลักษณะการทำงานคือท่านใดสนใจที่จะบริโภค

ซื้อสินค้าไปจำหน่าย หรือใช้ ท่านก็สามารถระบุความสนใจ ความต้องการ ปริมาณ และระดับราคาที่สนใจลงไว้ในระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไปจับคู่กับข้อมูลการผลิต ข้อมูลการขาย ที่มีอยู่ในระบบจากเครือข่ายเกษตรกรของเรา ซึ่งมาจากแหล่งผลิตที่เรารับรองมาตรฐาน เมื่อระบบค้นเจอว่าใครตรงกับใครก็จะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่มีความต้องการเหมือนกัน ก็จะสามารถติดต่อค้าขายระหว่างกันได้ โดยที่ มกอช.

มีทางเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลในชื่อของพนักงานเกษตรดิจิตอล ไว้คอยอำนวยความสะดวกในระยะต้นๆ ด้วย เพราะว่าอาจยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย อาจจะต้องช่วยกันหน่อย แต่ถ้าทุกคนรู้จักต่างเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกก็จะค่อยๆ ทำฐานข้อมูลนั้นใหญ่ขึ้น ระบบการทำงานก็จะครอบคลุมและแม่นยำขึ้นไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ก็ช่วยให้เกษตรกรมีความหวัง จากที่ต้องรอลูกค้าเจ้าเดิมๆ

ก็อาจจะมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน พ่อค้าที่หาสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศหรือในประเทศ จากที่ไม่เคยรู้ว่าแหล่งผลิตอยู่ไหนก็จะกล้ารับจากตลาดเพราะจะมั่นใจว่าตัวเองหาสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็ย่อมดีกว่าถ้าหากท่านรู้ว่าผลไม้ถุงนี้มาจากที่ไหน ฟาร์มใด ท่านอาจจะไปเยี่ยมชมที่สวนยังได้ ถ้าเข้าเปิดให้เยี่ยมชมก็ยิ่งดี นี่คือประโยชน์ข้อกลาง ประโยชน์ข้อสุดท้ายที่คาดหวังเป็นจริงเป็นจังเลยคือลูกหลานของเกษตรกรที่เราพี่น้องเกษตรกรส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือแต่ลูกหลานก็ไม่ได้กลับมาช่วยที่บ้าน

และเกิดหวั่นเกรงว่าอีกหน่อยใครจะมาปลูกข้าวให้เรากินทำผลไม้ให้เราซื้อหา เพราะลูกหลานเกษตรกรไม่มาเป็นเกษตรกร จะเป็นเกษตรกรทำไมงานก็เหนื่อย ไม่โก้ด้วย ค้าขายก็ลำบาก แต่ถ้าวันหนึ่งมีเครื่องมือนี้ช่วยทำการค้าลูกหลานที่ถูกส่งไปเรียนหนังสือมีความรู้ความสามารถมากขึ้นแล้วพบว่าตลาดมีอยู่ตรงนั้น มีความน่าสนใจ เขาก็นึกถึงแหล่งผลิตที่บ้านเขาได้ เราจะสร้างผู้ประกอบการเกษตรรายใหม่ จะเกิดธุรกิจใหม่ให้เกษตรกรในอนาคตได้นับจากยุค 4.0 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นความพยายามในจุดเริ่มต้นที่เราสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

สำหรับผู้ผลิตหรือผู้ซื้อถ้าอยากเข้ามาตรงนี้ สามารถเข้ามาได้อย่างไร

เบื้องต้นวิธีการเข้ามาเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ ขณะนี้เน้นเรื่องของการตรวจสอบแหล่งที่มาของผู้ผลิตที่จะเข้าสู่ระบบ คือต้องมีความเชื่อมโยงกับการตรวจสอบของภาครัฐได้ เช่น เป็นเกษตรกรซึ่งได้รับรองมาตรฐานใดๆ ไว้ เช่น ได้มาตรฐาน GAP หรือเป็นเกษตรกรอยู่ในโครงการเกษตรอินทรีย์ เป็นสมาชิกของโครงการเกษตรแปลงใหญ่ หรือใช้ระบบ QR Trace ของ มกอช. ก็มีสิทธ์เป็นสมาชิก แต่ยังไม่ได้เปิดกว้างให้กับใครก็ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นบริการทางภาครัฐ กรมการเกษตร และ มกอช. พัฒนา ผู้ซื้อพ่อค้าและผู้บริโภคท่านสามารถเป็นสมาชิกได้เลย เพียงแต่ต้องลงทะเบียนในระบบ แจ้งข้อมูล ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ไหม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งสองฝ่าย

มีโครงการใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยียุค 4.0 อย่างไรบ้าง

เทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้นการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รัฐบาลเองก็มีนโยบายที่จะให้ใช้ไอทีมากขึ้น เป็นองค์ประกอบของไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งอาจจะหมายความถึงหลายๆ อย่างที่ทันสมัยขึ้น แต่เรื่องไอทีก็ไม่ใช่ทั้งหมด เรื่องของการทำงานของเทคโนโลยีดิจิตอลในปัจจุบัน มกอช. เองก็พัฒนาและจัดระบบ เรียกว่าระบบ Traceability หรือระบบตามสอบย้อนกลับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับตรวจสอบคุณภาพ แหล่งกำเนิด ที่มาของการผลิต เราเรียกว่าระบบ QR Trace ระบบนี้ผู้บริโภคสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกนไปที่คิวอาร์โค้ดที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ แล้วทราบได้เลยว่าผลิตมาจากฟาร์มใด ได้รับเครื่องหมายรับรองใด มีมาตรฐานคุณภาพการผลิตแบบใด มีสตอรี่ในการผลิตมาอย่างไร รวมถึงข้อมูลหลากหลายอย่าง แม้กระทั่งโลเคชั่น แหล่งผลิตอยู่ตรงไหนก็สามารถตรวจสอบได้ ทีนี้ภาพที่แสดงออกมาจาก QR code อาจจะเหมือนที่ใช้กันทั่วไป แต่จริงๆ เบื้องหลังที่อยู่คือผู้ผลิตได้บันทึกข้อมูล แหล่งผลิต คุณสมบัติของสินค้านั้นๆ เอาไว้หากเกิดปัญหาขึ้นกับสินค้าในล็อตนั้นๆ ผู้บริโภคสามารถป้องกันได้ ผู้ผลิตก็ป้องกันขีดความเสียหายได้ ภาคราชการเองก็สามารถขีดวงปัญหา ตรวจสอบจนเจอต้นตอของปัญหาได้รวดเร็วขึ้น

เชิญชวนสำหรับเกษตรกรที่สนใจเข้ามาดูเว็บไซต์

ฝากถึงพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่สนใจ เข้ามาทดลองใช้ อาจจะเจอข้อบกพร่องบ้าง สามารถแจ้งเข้ามาได้ เรายินดีพัฒนาปรับปรุง ขั้นแรกขอเชิญพี่น้องเกษตรกรท่านเข้ามาสมัครเถอะครับถ้าท่านมีคุณสมบัติตรงคือ อยู่ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ อยู่ในโครงการเกษตรอินทรีย์ มีการผลิตคุณภาพมาตรฐานหรือใช้ระบบรับรอง QR Trace มกอช. เปรียบเสมือนท่านมาเปิดแผงเตรียมตัวค้าขาย ร้านนี้เปิดเมื่อไร ถ้าผู้บริโภค ผู้ประกอบการมาเดินซื้อเยอะในระบบ ท่านก็จะมีโอกาสเปิดตลาดได้มากขึ้น โฆษณาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็สามารถทำได้ ส่วนผู้ประกอบการ ผู้ค้าเมื่อก่อนอาจจะต้องไปวิ่งหาตามสวน ตอนนี้ไม่ต้องไปแล้ว ถูกใจก็ติดต่อกันผ่านเว็บไซต์ สะดวก ง่าย ลดต้นทุน หรือรายเล็กเมื่อก่อนอาจไปแย่งซื้อของรายใหญ่ไม่ทัน เดี๋ยวนี้ไม่ต้องกลัวแล้ว ท่านสามารถเจอแหล่งผลิตของท่านได้ง่ายขึ้น ส่วนรายใหญ่ถ้าท่านยังค้าขายแบบเดิมไม่พัฒนาอันนี้ท่านก็ลำบากล่ะ เพราะรายเล็กเขาก็จะมาช่วยกันซื้อ อาจจะฟังดูแล้วคนโน้นได้คนนี้เสีย แต่รวมๆ แล้วประเทศได้

การสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า” ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน ในหลายตอนที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดจะได้รับสาระความรู้จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ทั้งเรื่องการปลูก การดูแล การผลิตกล้วยเพื่อส่งออกขายต่างประเทศ ซึ่งแต่ละท่านต่างมีมุมมองกันคนละแบบ แล้วในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทุกท่าน

การนำเสนอเนื้อหาการสัมมนากล้วยในตอนนี้ เป็นตอนที่ 5 และเป็นตอนสุดท้ายของท่านวิทยากรในภาคเช้า โดยวิทยากรท่านนี้นับว่ามีความสามารถแล้วประสบความสำเร็จจากการปลูกกล้วยหอมแบบครบวงจร เพราะท่านได้เริ่มต้นบนเส้นทางกล้วยหอมด้วยการปลูกอย่างเดียว

จากนั้นต่อยอดด้วยการตัดขาย แล้วพัฒนามาถึงการเป็นผู้จัดส่งเอง แถมท้ายด้วยการมีแผงขายกล้วยอยู่ที่ตลาดไทอีก ดังนั้น บทบาทของท่านบนเส้นทางกล้วยที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี น่าจะมีหลักคิดที่เกิดประโยชน์กับท่านผู้อ่านอย่างมาก

สำหรับวิทยากรท่านนี้คือ คุณวิไล ประกอบบุญกุล เป็นเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีมานานกว่า 30 ปี อีกทั้งในปัจจุบันยังยึดอาชีพแบบครบวงจร ทั้งปลูกเอง ติดต่อขายเองแล้วจัดส่งลูกค้า นอกจากนั้น ยังมีแผงขายกล้วยหอมอยู่ที่ตลาดไท

คุณวิไล กล่าวว่า ก่อนอื่นมาเริ่มที่การปลูกกล้วยหอมกันก่อน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีนิยมปลูกกล้วยหอมแบบระบบร่อง เพราะสมัยก่อนเคยเป็นสวนส้มมาก่อน แต่พอเลิกทำส้มจึงปรับสวนเดิมมาปลูกกล้วยหอมแทน ทั้งนี้ ได้นำเทคนิคหลายวิธีมาใช้ อย่างแรกใช้หน่อจากต้นกล้วยที่ตัดเครือไปแล้วซึ่งจะได้ผลดีและมีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกล้วยได้จำนวน 300 หน่อ ใช้ระยะปลูก 1.50 เมตร แต่ละร่องปลูก 3 แถว

กล้วยหอมสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ควรเลือกพื้นที่ให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เพราะต้องใช้น้ำรดตลอด ขณะเดียวกัน ควรวางแผนปลูกให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีนควรเริ่มปลูกในเดือนมีนาคม-เมษายน โดยใช้เวลาประมาณ 9 เดือน สามารถเก็บผลขายได้ตรงเวลา กับอีกเทศกาลสำคัญคือสารทจีน ซึ่งควรลงมือปลูกในราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

วิธีปลูกกล้วยหอมจะต้องรองก้นหลุมด้วยมูลวัวและกระดูกป่น จากนั้น 1 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือยูเรีย ประมาณครึ่งกำมือ ใส่บริเวณรอบโคนแต่อย่าให้ชิดต้น จากนั้น 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 จำนวน 1 กำมือ รอบโคนเช่นกัน พอเข้าเดือนที่ 3 จะตักเลนจากร่องขึ้นมาใส่ที่โคนต้นเพื่อเรียกรากและป้องกันต้นโค่นล้ม

หลังจากเห็นว่าเลนที่ตักใส่เริ่มแห้งสนิท จึงกลับมาใส่ปุ๋ยเช่นเดิม แล้วให้ใส่ทุกเดือน พอเข้าเดือนที่ 5 ให้ตัดเลนในร่องใส่อีกรอบ แล้วพอเลนแห้งจึงใส่ปุ๋ยเช่นเดิมอีก ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้กล้วยจะออกใบสั้นและแทงปลี จึงต้องจัดการล้างคอกล้วยเพื่อเตรียมความพร้อมกับการสร้างคุณภาพผลผลิต อย่างไรก็ตาม วิธีการล้างคอกล้วยจะเป็นการช่วยกำจัดโรคแมลงที่อาศัยอยู่บริเวณรอบคอกล้วย พร้อมกับใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 จำนวน 2 กำมือ พร้อมกับการตัดแต่งใบ

อย่าปล่อยให้บริเวณโคนต้นรก เพราะจะส่งผลต่อการเกิดโรค/แมลง เนื่องจากแสงแดดส่องไม่ถึงผิวหน้าดิน ควรตัดใบกล้วยออกประมาณ 10-12 ใบ ต่อต้น ทั้งนี้ เพราะในช่วงที่ตกเครือจะไม่มีการแทงใบใหม่ออกมา ดังนั้น ใบที่มีความสมบูรณ์จะช่วยในเรื่องการปรุงอาหารได้อย่างดี

ในช่วงเข้าเดือนที่ 6 จะต้องเริ่มค้ำต้นกล้วย เพราะเป็นช่วงที่กล้วยออกปลีจึงต้องค้ำต้นล่วงหน้าเสียก่อนมิเช่นนั้นอาจทำให้ต้นกล้วยล้มแล้วเสียหายได้ โดยเฉพาะถ้าในช่วงนั้นมีลมพัดแรง สำหรับไม้ที่ใช้ค้ำต้นนั้นเป็นไม้รวกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 5 เมตร โดยตำแหน่งค้ำยันควรอยู่บริเวณคอกล้วยใบสุดท้าย

ส่วนอีกด้านของไม้ค้ำให้ปักลงดินลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกมัดบริเวณกลางกล้วย ในช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อเป็นการเร่งผลผลิตให้โต พร้อมกับการสร้างรสชาติ ขณะเดียวกัน ช่วงเวลานี้จะต้องใช้ถุงห่อกล้วยด้วยเพื่อป้องกันแสงแดดที่จะทำให้ผิวเปลือกเสีย ทั้งนี้ ข้อดีของการห่อจะช่วยทำให้ผลกล้วยมีสีสวยเท่ากัน มีผิวสวยโดยการห่อผลจะเริ่มห่อตั้งแต่ผลกล้วยมีขนาดเท่านิ้วโป้ง และควรใช้ถุงห่อสีฟ้าเพราะทดสอบแล้วว่าดีที่สุด

พอถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะตัดเครือกล้วยใส่บรรทุกลงในเรือที่อยู่ตามร่อง แล้วนำไปหั่นเป็นหวีล้างทำความสะอาด ขณะเดียวกัน จะมีการคัดแบ่งเกรดเป็นไซซ์ขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก สำหรับการขายให้ลูกค้าที่สั่งไว้จะใส่กล้วยไว้ในเข่ง จำนวนเข่งละ 7 หวี สำหรับกล้วยที่คัดตกเกรดจะมีคนมารับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปเป็นขนมชนิดต่างๆ ส่วนสถานที่ขายจะมีแผงร้านขายอยู่ที่ตลาดไท ใช้ชื่อว่า “พรวิไลกล้วยหอม” จะขายทุกวัน

คุณวิไล มีสวนกล้วยหอมที่จังหวัดปทุมธานีจำนวนเนื้อที่ 100 ไร่ นอกจากผลผลิตกล้วยในสวนตัวเองแล้วยังรับซื้อกล้วยจากลูกไร่ที่ปลูกอยู่อีกหลายรายนับเป็นพันไร่ โดยจะรับซื้อ-ขายกล้วยแบบเป็นเครือโดยเป็นการซื้อแบบเหมาสวน จะตีราคาเป็นเครือตามความสมบูรณ์ ทั้งนี้ เครือที่ความสมบูรณ์มากราคาประมาณ 200 บาท ส่วนความสมบูรณ์น้อยราคาก็จะลดต่ำลงมา และการเข้าซื้อแต่ละสวนเจ้าของสวนจะขอมัดจำไว้ล่วงหน้า หรือบางรายอาจต่อรองเป็นค่าไม้ค้ำยันแทนเงินมัดจำ

อย่างไรก็ตาม ราคาไม้รวกต่อเที่ยวรถบรรทุกประมาณ 10,000-20,000 บาท และมีราคาต่อลำประมาณ 16 บาท เป็นไม้รวกทางปราจีนบุรี ซึ่งถ้าเป็นไม้เลี้ยงราคาจะแพงหน่อยแต่มีคุณภาพเนื้อไม้และอยู่ได้นาน แต่ถ้าเป็นไม้รวกธรรมดาที่ราคาไม่แพงจะอยู่ได้ราวปีเศษเท่านั้น

คุณวิไล บอกว่า อาชีพของตัวเองจะต้องมีสวนกล้วยด้วยเนื่องจากเราสามารถปลูกอย่างมีคุณภาพได้ กำหนดได้ แต่ความเป็นจริงคงไม่ทันเพราะเรามีแผงขายและมีลูกค้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหาเครือข่ายที่ปลูกกล้วยแบบมีคุณภาพเพื่อช่วยบรรเทาความต้องการของลูกค้าในกรณีที่ไม่พอ

“ในปัจจุบันตลาดกล้วยมีความต้องการทั้งในและต่างประเทศ สมัครแทงบอลสเต็ป ที่ผ่านมาแม้จะมีพื้นที่ปลูกกล้วยเพิ่มขึ้น แต่ในบางคราวยังมีสภาพขาดแคลนอยู่ ถ้าตลาดในประเทศยังมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง แล้วมีการส่งเข้าห้างใหญ่หรือร้านสะดวกซื้อด้วย แต่ถ้าปลูกแบบเน้นคุณภาพเพื่อส่งออกก็ยังเป็นตลาดที่สนใจ แต่ต้องคุณภาพจริงๆ ดังนั้น ขอสรุปว่าตอนนี้ตลาดกล้วยยังไปได้ เพียงแต่ขอให้เกษตรกรรักษามาตรฐานการปลูกควบคู่ไปด้วย” คุณวิไล กล่าว

สำหรับเนื้อหาการบรรยายในช่วงแรกของการสัมมนากล้วยคงมีเท่านี้ ในครั้งต่อไปอยากเชิญชวนท่านให้ติดตามอ่านประเด็นคำถามที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสงสัย ทั้งในเรื่องการปลูก ปัญหาจากการปลูก พื้นที่แบบใดเหมาะสม หรือกล้วยประเภทใดเหมาะปลูกในพื้นที่แบบใด ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้จะมีคำตอบจากวิทยากรในครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำกัด หมู่ 12 ต.ค้อเหนือ อ.เมือง จ.ยโสธร โดยสมาชิกสหกรณ์กำลังเร่งผลิตเห็ดโคนและไข่มดแดงด้วยวิธีแช่น้ำเกลือ มีทั้งแบบบรรจุขวดแก้วกับแบบบรรจุกระป๋อง ส่งขายในราคา 160-350 บาท สามารถสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มรายละ 300-400 บาทต่อวัน

นางโสม สายโรจน์ อายุ 67 ปี สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสหกรณ์จะรับซื้อเห็ดโคนและไข่มดแดงจากชาวบ้านในพื้นที่ป่าดงมันราคากิโลกรัมละ 350 บาท โดยวันหนึ่งจะมีคนนำมาขายให้ประมาณ 30-40 กิโลกรัม จากนั้นจะนำเห็ดมาล้างทำความสะอาด ก่อนนำไปลวกในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที นำขึ้นไปแช่ในน้ำเย็นจัด พักเห็ดไว้แล้วนำมาบรรจุใส่ขวดแก้วและกระป๋องตามปริมาณ จากนั้นเติมน้ำเกลือเพื่อให้เห็ดเก็บไว้ได้นาน ก่อนจะนำเข้าหม้อนึ่งเพื่อไล่อากาศ ต่อมานำกระป๋องและขวดแก้วเข้าเครื่องนึ่งความดันเพื่อไล่อากาศและฆ่าเชื้อ ทำให้สามารถเก็บไว้นาน นำออกจำหน่ายในราคากระป๋องละ 180 บาท ส่วนราคาขวดแก้วอยู่ที่ขวดละ 350 บาท และในหนึ่งปีสหกรณ์จะสามารถจำหน่ายสินค้าแปรรูปต่างๆ ได้ประมาณ 7 แสน-1ล้านบาท