สำหรับโรงเรือนของสวนอากง จะมี 3 โรงเรือน โรงใหญ่ขนาด

ความกว้างโรงเรือนเล็ก 2 โรง มีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 24 เมตร โรงใหญ่จะวางกระถางมังกรได้ จำนวน 500 กระถาง ปลูกกระถางละ 2 ต้น ในหนึ่งโรงเรือนจึงจะได้ 1,000 ต้น เมื่อต้นมะเขือเทศตั้งตัวได้ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมีผ่านทางน้ำ โดยมากน้อยตามขนาดต้น แต่ให้เพียงเจือจางทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น ส่วนหน้าฝนอาจให้เพียงบางเวลา เพราะอากาศชื้นเพียงพอ

ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มเก็บผลได้ เก็บได้ 6 สัปดาห์ ก็จะหยุดเก็บเนื่องจากผลผลิตมีน้อยลง โดยจะรื้อต้นและวัสดุปลูกออกจากโรงเรือนทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นแปลงปลูกมะเขือเทศอื่นจะบำรุงต้นเพื่อรอผลผลิตรุ่นสอง แต่ทางสวนอากงเลือกที่จะหยุดการปลูก เนื่องจากศัตรูพืชและโรคพืชเริ่มเข้ามารบกวน โดยเลือกปลูกใหม่ดีกว่าการประคบประหงมต้นอีกครั้ง

เมื่อขนกระถางออกหมด ก็จะล้างทำความสะอาดโรงเรือนทั้งหมด ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน ก็จะฉีดยาฆ่าเชื้อโรคและพักโรงเรือนไว้ 7 วัน หลังจากนั้น ก็จะนำกระถางและดินปลูกเข้าในโรงเรือนและนำต้นกล้าที่เพาะไว้มาปลูกใหม่หมุนเวียนแบบนี้เรื่อยๆ

รสชาติของมะเขือเทศสายพันธุ์นี้จะมีกลิ่นน้อย และไม่มีเมล็ด เนื้อไม่เละ หวานติดเปรี้ยว ต่างกับมะเขือเทศทั่วไปที่มีกลิ่นไส้ในเละ มะเขือเทศองุ่นจะขายอยู่หน้าเพจ อากงฟาร์ม และที่กรูเมต์มาร์เก็ต ในสยามพารากอน เอ็มควอเทียร์ และ เอ็มโพเรียม 3 สาขา ราคาขายปลีก แพ็กละ 160 บาท มีน้ำหนัก 400 กรัม หรือกิโลกรัมละ 400 บาท ส่วนในเพจจะมีค่าส่ง กล่องละ 50 บาท 2 กล่องขึ้นไป 100 บาท ผลผลิตมะเขือเทศองุ่นจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันพฤหัสบดี ปัจจุบัน ผลผลิตยังน้อยอยู่ เฉลี่ยประมาณคราวละ 60 กิโลกรัม

สนใจติดต่อ คุณพรศักดิ์ ชัยศักดานุกูล อากงฟาร์ม หมู่ที่ 10 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอ ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ

คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว

มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม

“หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งพบ ทำให้ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับการแก้ปัญหาศัตรูพืชชนิดนี้มาก่อน”

ระยะที่พบการระบาด เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ สิ่งที่เกษตรกรทำได้คือ การทำตาม เพื่อแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่เมื่อภาวะระบาดผ่านพ้นไป การทบทวนถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึงมีขึ้น

ไม่เพียงแต่การป้องกันหรือกำจัด แต่มองไปถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบโจทย์เกษตรกรให้ได้รู้ว่า กำไรจากการทำสวนมีมากหรือน้อย

คุณวิชาญ มองว่า การใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและแมลงดำหนาม มีต้นทุนที่สูงมาก สารเคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ สามารถใช้ในมะพร้าว จำนวน 8 ต้น และควบคุมได้ในระยะเวลาเพียง 6-8 เดือน เมื่อคิดเป็นต้นทุนแล้ว เฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อต้นอยู่ที่ 150 บาท ต่อ 6-8 เดือน

“แตนเบียนบราคอน” เป็นแมลงตามธรรมชาติที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ตามทฤษฎีการใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว คือ การปล่อยแตนเบียน จำนวน 200 ตัว (1 กล่อง มี 200 ตัว) จะสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ในพื้นที่ 1 ไร่

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรหลายรายทำตาม หวังผลที่ดีขึ้น แต่การควบคุมและกำจัดก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะลดลง แต่ก็ยังพบการระบาดอยู่ และหากสวนใกล้เคียงไม่ทำไปพร้อมๆ กัน โอกาสควบคุมและกำจัดได้จะประสบความสำเร็จได้ก็ค่อนข้างยาก แต่ถึงอย่างไร “แตนเบียน” ก็เป็นความหวัง

คุณวิชาญ ใช้ทฤษฎีการปล่อยแตนเบียนเป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์จากปัจจัยโดยรอบ พบว่า เมื่อสวนรอบข้างไม่ได้พร้อมใจกันปล่อยแตนเบียนไปกำจัดแมลงศัตรูพืชพร้อมกัน ก็เกิดช่องโหว่ เพราะพื้นที่จะกว้างมากขึ้น จำนวนแตนเบียนที่ปล่อยไปตามพื้นที่สวนของเกษตรกรแต่ละรายก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากเกษตรกรไม่พร้อมใจกัน เจ้าของสวนที่ปล่อยแตนเบียนก็จำเป็นต้องปล่อยแตนเบียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือปล่อยจำนวนเท่าเดิมแต่ระยะเวลาถี่ขึ้น และเริ่มใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

คุณวิชาญ ปล่อยแตนเบียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 10-20 กล่อง ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ “ถ้าจะให้ได้ผลดี สวนข้างเคียงต้องทำไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นแตนเบียนจากสวนเราก็กระจายไปสวนอื่นด้วย ยังไงก็ไม่ได้ผล”

เมื่อแตนเบียนจำเป็นต้องใช้จำนวนมากในการปล่อย คุณวิชาญจึงเป็นโต้โผในการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับปล่อยทุกสัปดาห์ ทุกสวน เพื่อให้การควบคุมและกำจัดได้ผล

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอบางละมุงจึงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะพื้นที่บางละมุงมีมากถึง 8 ตำบล ปัจจุบัน เกษตรกรสวนมะพร้าวที่พร้อมใจกันรวมกลุ่มผลิตแตนเบียนมีมากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลหนองปรือ และ ตำบลตะเคียนเตี้ย

การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแค่เห็นผลว่า แตนเบียนสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ แต่เพราะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีมาก การผลิตแตนเบียน ควรเพาะหนอนข้าวสาร (แทนหนอนหัวดำ) สำหรับใช้เป็นอาหารของแตนเบียน การเพาะหนอนข้าวสาร จำเป็นต้องใช้รำ ปลายข้าว ไข่ผีเสื้อ หมักไว้รวมกัน จากนั้นเมื่อได้หนอนข้าวสาร ก็นำมาวางไว้ให้เป็นอาหารของแตนเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนแตนเบียน กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงได้แตนเบียนตามจำนวนที่ต้องการ ใช้ระยะเวลา 45 วัน

ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวตัวฉกาจ ยังไม่หมดไป แต่ก็พบได้น้อยมาก

เทคนิคการดูแลมะพร้าวอื่นๆ ปราชญ์มะพร้าวท่านนี้ แนะนำไว้ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน ขึ้นอยู่กับความสะดวก

ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสุกร นำไปพ่นที่ใบมะพร้าวทุกเดือน ช่วยป้องกันแมลงรบกวนได้ดีระดับหนึ่ง

เทคนิคที่คุณวิชาญใช้และเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย คือ การทำให้ต้นมะพร้าวแข็งแรง การป้องกันโรคจากการใช้สารชีวภาพ และการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ รวมถึงการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเกิดภาวะแล้ง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้มะพร้าวให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน

แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และมองข้ามการใช้แตนเบียนกำจัด คุณวิชาญ วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมในการหาอุปกรณ์ผลิตแตนเบียน รวมถึงการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในตำบลเดียวกันที่ยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะการผลิตแตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการกำหนดวันเวลาที่ทำไว้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจำนวนแตนเบียนที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอ รวมถึงขณะนั้นเกษตรกรเห็นว่ามีพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า จึงไม่ให้ความสำคัญกับการทำสวนมะพร้าว

นอกเหนือจากหนอนหัวดำแล้ว ศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ยังมีด้วงแรดและด้วงงวง ที่จัดว่าเป็นศัตรูพืชที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถกำจัดด้วงเหล่านี้ได้

คุณวิชาญ ไม่ได้เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกาจไปทุกสิ่ง ปัญหาด้วงแรดและด้วงงวงก็ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่เพราะการทำการเกษตรด้วยปัญญา ทำให้ปัญหาต่างๆ ทุเลาลง “ตัวร้ายจริงๆ คือ ด้วงงวง ที่เข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว แต่ถ้าไม่มีด้วงแรด ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ได้ เพราะด้วงแรดเป็นตัวกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดังนั้น หากกำจัดด้วงแรดได้ ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว ปัญหาด้วงก็หมดไป”

เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ซื้อสารฟีโรโมน เป็นตัวล่อ ผูกล่อไว้กับถังน้ำ เมื่อด้วงได้กลิ่นก็บินเข้ามาหาที่ถังน้ำ เมื่อบินลงไปก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ เป็นการกำจัดด้วงแรด แต่ประสิทธิภาพการกำจัดด้วงแรดด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายใช้ก้อนเหม็นแขวนไว้ตามยอดมะพร้าว ใช้กลิ่นไล่ด้วงแรด แต่ลูกเหม็นก็ไม่สามารถวางกระจายได้ครอบคลุมทั่วทั้งสวน

วิธีหนึ่งที่คุณวิชาญแนะนำ คือ การหมั่นบำรุงรักษาต้นมะพร้าว โดยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มะพร้าวแข็งแรง นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตต้นทุกระยะ โดยเฉพาะระยะ 3-4 ปี เป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชชอบมากที่สุด เพราะมะพร้าวกำลังแตกใบอ่อน หากพบให้ทำลายด้วยวิธีชีวภาพหรือกำจัดด้วยมือตามความสามารถที่ทำได้

ทุกวันนี้ เฉลี่ยมะพร้าวแกงที่เก็บจำหน่ายได้ในสวนของคุณวิชาญ อยู่ที่ 1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ไม่เคยน้อยไปกว่านี้ ซึ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวของคุณวิชาญและครอบครัวรวมกัน กว่า 100 ไร่ ผลมะพร้าวแกงที่เก็บได้ มีพ่อค้าเข้ามาเก็บถึงสวน ราคาขายหน้าสวน ลูกละ 17 บาท

ดูเหมือนการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีข้างต้น จะเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จดีในระดับหนึ่ง แต่คุณวิชาญก็ยังไม่วางใจ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบทิ้งขว้าง เพราะมีรายได้จากพืชชนิดอื่นในสวนมากกว่า และหากทำได้ คุณวิชาญ จะใช้เวลาว่างเท่าที่มีเข้าไปส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรที่ทำสวนมะพร้าวอย่างไม่กังวล ทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ปลอดภัยกับเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ปราชญ์มะพร้าว บางละมุง ท่านนี้พร้อมถ่ายทอดให้ข้อมูล หากเกษตรกรสวนมะพร้าวท่านใดต้องการ สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 062-956-3629 ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากเอ่ยถึง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้อ่านหลายท่านคงนึกถึง “กล้วยไข่” ขึ้นมาทันที เพราะเป็นผลไม้ที่เลื่องชื่อ ดังคำขวัญของจังหวัด “กรุพระเครื่องเมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ”

“กล้วยไข่” คือ ผลไม้พื้นเมืองที่ปลูกกันมาแต่ดั้งเดิมของจังหวัดกำแพงเพชร และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI : thai geographical indication) ที่มีคุณลักษณ์พิเศษด้านความหวาน เหนียวนุ่ม ละมุนลิ้น กินแล้วไม่เลี่ยน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกล้วยไข่โดยทั่วไป ฉะนั้น เรื่องราวต่อจากนี้ ผู้เขียนจึงหนีไม่พ้นที่จะนำเสนอเรื่อง กล้วยไข่ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูของการเก็บเกี่ยว และตรงกับการจัดงานประเพณีวันสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชร ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาวกำแพงเพชร ที่จัดต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกๆ ปี

หนึ่งในกิจกรรมของการจัดงานครั้งนี้ ที่เป็นหัวใจหลักคือ การประกวดกล้วยไข่ เพื่อเฟ้นหาความเป็นเลิศว่า เกษตรกรท่านใด จะปลูกกล้วยไข่ได้สมบูรณ์ สวยงาม ตรงตามพันธุ์กล้วยไข่พื้นเมืองของดีจังหวัดกำแพงเพชร และเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ได้ตื่นตัวพัฒนาคุณภาพกล้วยไข่ในแปลงของตัวเองให้ได้คงเส้นคงวา

คุณวุฒิ แตงดารา อีกหนึ่งตัวอย่างเกษตรกรผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดกล้วยไข่ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา และเคยผ่านการประกวดกล้วยไข่มาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เคยคว้ารางวัลชนะเลิศ มาแล้ว 7-8 ครั้ง นอกจากจะเป็นเกษตรกรระดับแชมป์การประกวดกล้วยไข่แล้ว เขายังเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ (อบต.) มาตั้งแต่ ปี 2551 จวบจนถึงปัจจุบัน

“ผมเริ่มเข้าสู่อาชีพผู้ปลูกกล้วยไข่ ตั้งแต่อายุ 30 ปี และปลูกต่อเนื่องยาวนานจน อายุ 62 ปี ถึงทุกวันนี้ บนพื้นที่ของตัวเอง 10 ไร่ แบ่งเป็นปลูกกล้วยไข่ 5 ไร่ สลับกับการปลูกมันสำปะหลัง 5 ไร่ และอีก 10 ไร่ เป็นการเช่าพื้นที่ของชาวบ้านเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สลับหมุนเวียนกับการปลูกกล้วยไข่ ทุกๆ 3 ปี ไม่ปลูกซ้ำที่เดิม”

เริ่มต้นสอบถามข้อมูล ก็ทำให้รับรู้ได้ว่าคุณวุฒิเป็นเกษตรกรอย่างแท้จริง…!

จากคุณวุฒิ ผู้เขียนพูดคุยจนเริ่มสนิทใจ และให้เกียรติของการเป็นสมาชิก อบต. จึงขอเรียกท่านว่า “อบต. วุฒิ” อบต. วุฒิ บอกว่า ไม่มีอะไรพิเศษมาก ดูแลเหมือนกันหมดทั้งแปลงที่ปลูกอยู่ 5 ไร่ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่เรื่องของดินและน้ำมากกว่า โดยเฉพาะที่ตำบลลานดอกไม้ มีพื้นที่ติดกับริมแม่น้ำปิง จึงมีความได้เปรียบมากกว่าใคร ถ้าเริ่มต้นฤดูการปลูกครั้งแรกหรือปีแรก ชาวสวนกล้วยไข่จะเริ่มปลูกกันในเดือนตุลาคม โดยขุดหลุมระยะห่าง 2×2 เมตร ที่ความลึก 40-50 เซนติเมตร ความกว้างสองหน้าจอบ หรือ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม สูตร 15-15-15 ครึ่งกำมือ ส่วนการให้น้ำ เมื่อฝนทิ้งช่วง หรือหมดหน้าฝน ให้ 10 วันครั้ง

ส่วนการใส่ปุ๋ย ยังคงใช้สูตรเดิม คือ สูตรเสมอ 15-15-15 หลังจากลงปลูก 3 เดือนผ่านไป จึงเริ่มให้ใหม่ ทุกๆ 15-20 วันครั้ง โดยโรยรอบๆ โคนต้น หนึ่งกำมือ เมื่อมีหญ้าขึ้นก็ควรกำจัดเป็นเรื่องปกติ และข้อสำคัญเลยสำหรับแปลงกล้วยไข่ระดับแชมป์ ที่ อบต. วุฒิ เน้นเป็นพิเศษคือ การเลี้ยงหน่อ กล้วยจะสมบูรณ์สวยงามอยู่ที่การเลี้ยงหน่อ ใน 1 กอ จะเลี้ยงหน่อไว้ไม่เกิน 2 หน่อ โดยเลือกหน่อที่อวบสมบูรณ์เพื่อเลี้ยงไว้ให้ผลผลิตในรุ่นที่สอง หรือปีที่ 2 เมื่อหน่อเจริญเติบโตที่ความสูง 50 เซนติเมตร ใช้มีดตัดปาดขนานกับพื้น ส่วนหน่ออื่นๆ ที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้ง หรือปาดแนวเฉลียงยาวๆ ทแยงให้สั้นเกือบติดพื้น แต่ไม่ควรใช้วิธีการขุดหน่อออก เพราะจะกระทบราก ทำให้กล้วยต้นแม่ชะงักการเจริญเติบโตได้

ส่วนใครจะเลี้ยงหน่อกล้วยไข่ มากกว่า 2 หน่อ ในกอเดียว เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเลยไปถึงปีที่ 3 ก็ไม่ผิดกติกา ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีเรื่องปุ๋ยเรื่องน้ำ และที่สำคัญคือ ดินต้องดี ซึ่งในปีที่ 3 นี้ คุณภาพกล้วยจะด้อยกว่าปีแรกๆ และต้องบำรุงดูแลมากเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นกล้วยก็จะออกมาไม่สมบูรณ์ คุณภาพก็จะด้อยลงไป

คราวนี้ก็มาถึงการจัดการดูแลบำรุงกล้วยไข่ ก่อนถึงวันประกวด ในระยะ 45 วัน อบต. วุฒิ เปิดเผยว่า ในแปลงกล้วยไข่ จำนวน 5 ไร่ ของตนเอง จะบำรุงดูแลได้คุณภาพเหมือนๆ กันหมด แต่จะคัดเลือกต้น หรือเครือที่สมบูรณ์ที่สุด ตามหลักเกณฑ์การประกวด โดยใน 1 เครือ จะต้องมีกล้วยไข่ไม่น้อยกว่า 8 หวี ก็จะได้ 10 คะแนนเต็ม ถ้าจำนวนหวีในเครือมีน้อยกว่านี้ คะแนนก็จะถูกหักลดหลั่นลงไป และที่สำคัญในจำนวน 8 หวี กล้วยจะต้องมีลูกสมบูรณ์สม่ำเสมอ เท่าๆ กันทุกหวี ตั้งแต่หวีแรกจนถึงหวีท้ายๆ และแต่ละหวีกล้วยจะต้องเรียงสวยเป็นระเบียบ ลูกกลมสมบูรณ์ ผิวเรียบไม่ลาย ลูกไม่แตก ไม่มีลูกแฝด และเครือต้องตรงไม่คด ไม่งอ

เมื่อกล้วยเริ่มออกปลี ในระยะ 45 วัน อบต. วุฒิ ก็จะออกเดินสำรวจต้นกล้วยไข่ในแปลงแต่ละต้นที่ทรงต้นสมบูรณ์แล้วคัดเลือกกล้วยที่ออกครบ 8 หวี ตามหลักเกณฑ์ จากนั้นตัดปลีกล้วย นำถุงมาคลุมห่อเครือกล้วยไข่ ซึ่งที่สวนจะใช้ถุงปุ๋ยตัดก้นถุงแล้วคลุมห่อมัดข้างบนเพื่อป้องกันแมลง และแสงแดดที่แผดเผาทำให้ผิวกล้วยลายไม่สวยงามสม่ำเสมอ ส่วนการให้น้ำใส่ปุ๋ยก็ตามรอบเป็นปกติ ทุกๆ 15-20 วัน

อบต. วุฒิ ให้ข้อมูลอีกว่า ผมจะคัดต้นกล้วยไข่เผื่อเลือกไว้ 10 เครือ หรือ 10 ต้น และจะคอยสอดส่องบำรุงดูแลเป็นพิเศษจนถึงวันตัด ก่อนส่งเข้าประกวด 4 วัน เมื่อเหลือเวลาอีก 4 วัน จึงมีตัวเลือกกล้วยไข่ 10 เครือ แล้วคัดเครือกล้วยที่ดีที่สุดแล้วตัดมาพักไว้ 1 คืน ตอนเช้าถึงเอามาบ่มทิ้งไว้ 30 ชั่วโมง กล้วยก็จะเหลืองพอดี ในรุ่งเช้าวันใหม่ถึงเอาไปส่งเข้าประกวด ในงานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชรได้เลยสำหรับกล้วยไข่สุก ส่วนกล้วยไข่ดิบไม่ต้องบ่มสามารถส่งเข้าประกวดได้เลย…

ส่วนรางวัล การประกวดในปีก่อนๆ หน้านี้ เขาให้เงินรางวัล ชนะเลิศ 5,000 บาท 3,500 บาท 2,500 และ 1,500 บาท ตามลำดับ แต่มาปีหลังๆ เงินรางวัลลดลงมา ชนะเลิศ ได้ 3,500 บาท 2,500 บาท และ 1,500 ส่วนรางวัลชมเชยได้ 1,000 บาท ซึ่ง อบต. วุฒิ ระบุว่า เงินรางวัลไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือ ถ้าเราสามารถบำรุงดูแลกล้วยไข่จนติดรางวัล 1 ใน 3 เท่านี้ ก็เป็นความภาคภูมิใจที่สุดแล้ว สำหรับเกษตรกรคนทำสวนกล้วยไข่ที่ได้คุณภาพ และยังเป็นเครื่องการันตีพันธุ์กล้วยไข่ที่ดีในแปลงของเราด้วย

อบต. วุฒิ นอกจากจะเป็นมือนักปั้นกล้วยไข่ส่งประกวดแล้ว เขายังเป็นพ่อค้ากล้วยไข่ รับซื้อกล้วยไข่จากแปลงอื่นๆ ของชาวบ้านมาทำตลาดส่งขายเอง เนื่องจากในแปลงกล้วยไข่ที่ปลูกอยู่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่มีปลูกอยู่เพียง 5 ไร่ เฉลี่ยผลผลิตที่เก็บได้ ไร่ละ 2 ตัน โดยไช้รถกระบะบรรทุกกล้วยไข่ขับส่งขายเอง ครั้งละ 1.5-2 ตัน ทุกๆ 5 วัน ในฤดูเก็บผลผลิต วิ่งส่งประจำที่จังหวัดพิจิตร และก็ที่ มอกล้วยไข่ ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร

ปีนี้ 2562 จะเป็นความโชคดี หรือโชคร้าย สมัคร Royal Online ไม่แน่ใจสำหรับชาวสวนกล้วยไข่ เนื่องจากราคากล้วยไข่ขยับมาที่กิโลกรัมละ 22 บาท แต่ก่อนหน้านี้ ในปี 2560-2561 ปีที่ผ่านมา ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท หากย้อนไปในปี 2559 ราคากล้วยไข่เคยขยับไปสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 27 บาท เนื่องด้วยสภาวะปัญหาภัยแล้งนั่นเอง จึงนับเป็นความผันผวนในเรื่องของพืชผลทางการเกษตร ตามดีมานด์ ซับพลาย (Demand Supply) และภัยธรรมชาติที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อบต. วุฒิ ว่าอย่างนั้น

จากข้อมูลสถิติ ในปี 2561 โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ระบุว่า พื้นที่เพาะปลูกกล้วยไข่ โดยรวมจาก 11 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 3,204 ไร่ โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีพื้นที่การปลูกกล้วยไข่มากสุดถึง 1,238 ไร่ และสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 2,634 ตัน ต่อปี (เฉพาะในเขตอำเภอเมือง) ฉะนั้น กล้วยไข่ จึงนับว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร ที่สร้างรายได้เฉลี่ย 70,400,000 บาท ในปี 2561 (เฉลี่ยผลผลิตที่เก็บได้ 22,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี)

ส่วนรายได้ของ อบต. วุฒิ จากการเก็บผลผลิตกล้วยไข่ ในแปลงของตัวเอง 5 ไร่ และรับซื้อกล้วยไข่แปลงข้างเคียงของชาวบ้าน ทำรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 500,000 บาท อีกหนึ่งความภาคภูมิใจสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้านพืชผลไม้ “กล้วยไข่” เมืองกำแพงเพชร หากนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนผ่านไปมาเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหน้าด่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเชื่อมต่อนครสวรรค์ลงสู่พระนคร ไม่ควรพลาดจัดคิวมาเที่ยวชมงานประเพณีวันสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชร ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2562 จึงขอเชิญชวน

อนึ่ง…หากท่านใด สนใจเข้าเยี่ยมชมสวนกล้วยไข่คุณภาพ ระดับแชมป์ประกวด คุณวุฒิ แตงดารา หมู่ที่ 4 ตำบลลานดอกไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองกำแพงเพชร หรือกริ๊งกร๊างสอบถามเพิ่มเติมได้

ณ วันนี้ มะม่วงหิมพานต์ มีปลูกกันแพร่หลายไปทั่ว กำลังจะเป็นพืช

เศรษฐกิจตัวใหม่ของบ้านเรา ถึงแม้จะต้องแข่งขันกับประเทศต้นกำเนิดและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ แต่เชื่อเหลือเกินว่าด้วยศักยภาพของพื้นที่ ของเกษตรกร ของระบบการพัฒนาผลิตผลการเกษตรของประเทศไทย เราสู้เขาได้สบายมาก โดยเฉพาะถ้าเกษตรกรเรามีแนวคิดเปลี่ยนปรับจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มักจะได้รับผลกระทบเชิงลบ มาปลูกพืชผสมดูบ้าง แล้วเราคงจะห่างไกล และหลุดพ้นจากคำว่า “ปัญหา” ไปได้อย่างยั่งยืน

นายสุธรรม ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษา เรื่อง การจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา มังคุดอินทรีย์ ปี 2561 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 (สศท.9) จังหวัดสงขลา ได้สำรวจข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ พื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา พัทลุง และสตูล ที่ได้รับตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) เพื่อศึกษาระบบโลจิสติกส์สินค้ามังคุดอินทรีย์ และแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ สำหรับให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานราชการต่างๆ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ส่งออก รวมถึงผู้สนใจ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ ส่งเสริมและวางแผนในด้านการจัดการโลจิสติกส์มังคุดอินทรีย์

จากการสำรวจพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด พบว่า มีเกษตรกรผลิตมังคุดอินทรีย์ที่ได้รับตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) รวม 8 ราย แบ่งเป็นเกษตรกรในจังหวัดสงขลา 3 ราย พัทลุง 2 ราย และสตูล 3 ราย โดยเกษตรกรมีเนื้อที่ผลิตมังคุดอินทรีย์ 3 จังหวัดรวม 24.62 ไร่ หรือเฉลี่ยรายละ 3.08 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,683 กิโลกรัม/ปี หรือ 546 กิโลกรัม/ไร่ โดยมี ผลผลิตสูงกว่ามังคุดทั่วไปที่ให้ผลผลิต 522 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ มีค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ประมาณ 9.77 บาท/กิโลกรัม/ปี แบ่งเป็น 1) ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ค่าสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.07 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าขนส่งปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.43 บาท/กิโลกรัม/ปี และค่าเสื่อมโรงเรือนเก็บปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.47 บาท/กิโลกรัม/ปี 2) ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการเคลื่อนย้ายมังคุดอินทรีย์ภายในแปลง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 2.04 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าใช้จ่ายแรงงานจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 3.55 บาท/กิโลกรัม/ปี

ค่าอาหารเครื่องดื่มสำหรับแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 0.21 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าใช้จ่ายติดต่อลูกค้าเฉลี่ย 0.29 บาท/กิโลกรัม/ปี และค่าความสูญเสียของมังคุดอินทรีย์ จากการเคลื่อนย้ายในแปลง เฉลี่ย 0.40 บาท/กิโลกรัม/ปี และ 3) ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการเคลื่อนย้ายขนส่งมังคุดอินทรีย์นอกแปลง ได้แก่ ค่าขนส่งผลผลิตเฉลี่ย 1.80 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าบรรจุภัณฑ์เฉลี่ย 0.26 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าทำตราสินค้าเฉลี่ย 0.25 บาท/กิโลกรัม/ปี ทั้งนี้ จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพื่อจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ ค่าขนส่งผลผลิตนอกแปลง ค่าเสื่อมโรงเรือน ซึ่งเป็นค่าเสื่อมโรงเรือนในการเก็บปัจจัยการผลิต และค่าขนส่งปัจจัยการผลิต เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจ้างในการขนส่ง ตามลำดับ

ปัจจุบัน เกษตรกรมีการตื่นตัวและสนใจทำการผลิตมังคุดอินทรีย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิตแบบอินทรีย์เป็นการให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคซึ่งแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ควรมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าในด้านสภาพอากาศ เพื่อการวางแผนในการจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิตและการควบคุมคุณภาพ ผลผลิต มีการศึกษา วิจัยด้านนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เคลื่อนย้ายผลผลิต และคัดเกรดผลผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าจ้างเก็บเกี่ยวที่มีค่าใช้จ่ายสูง

พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางตลาดออนไลน์ สร้างเครือข่าย และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างมังคุดอินทรีย์กับมังคุดทั่วไป ทั้งในเรื่องคุณภาพ รสชาติ และความปลอดภัย ตลอดจนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ดำเนินการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้มีสิทธิพิเศษที่แตกต่างจากการทำเกษตรทั่วไปเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาทำการผลิตแบบอินทรีย์มากขึ้น สำหรับท่านที่สนใจผลการศึกษาข้างต้น สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 โทร. (074) 312-996 หรือ อี-เมล zone9@oae.go.th และในส่วนของเกษตรกรที่อยากผลิตมังคุดอินทรีย์หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษารวมไปถึงการขอตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) ได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผมปลูกมะนาวไว้ที่สวนหลังบ้านในวงบ่อซีเมนต์ 3 ต้น ระยะแรกต้นมะนาวก็เติบโตดี แต่เมื่อเติบโตขึ้น ใบมีจำนวนมากขึ้น กลับพบว่าที่ใบมีรอยเหมือนทางรถคดเคี้ยวไปมา สอบถามเพื่อนๆ ได้รับคำตอบว่า นั่นคือหนอนชอนใบเริ่มอาละวาดแล้ว บางช่วงระบาดรุนแรงมากทำให้ใบเสียหาย ไม่ทราบว่าผมจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ

ตอบ คุณสันติ วงศ์วัฒนชัย

หนอนชอบใบ (Leaf miner, Leafy worm) เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก ตัวเต็มวัยเมื่อสยายปีกออก วัดความกว้างได้ 6.0-8.0 มิลลิเมตร ลำตัวสีหม่น ปีกสีขาวนวลมันวาว ปลายปีกมีจุดดำหลายจุด และมีแถบสีน้ำตาลเข้ม เพศเมียวางไข่ไว้ที่ใต้ใบมะนาวที่ผลิออกมาใหม่ คราวละ 1 ฟอง รูปร่างกลม สีเหลืองใส ขนาดเล็กมาก (ให้ดูภาพประกอบภายในวงหนังสติ๊ก) ตัวอ่อนฟักออกจากไข่ภายใน 3 วัน แล้วเจาะชอนเข้าในเนื้อใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงคดเคี้ยวเป็นทางคล้ายทางรถยนต์ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และจะดำรงเป็นตัวหนอนอยู่ได้ 7-10 วัน จากนั้นจึงเข้าดักแด้ การระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นในช่วงที่มะนาวผลิใบอ่อน ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนของทุกปี หรืออยู่ในช่วงฤดูฝน พอย่างเข้าฤดูหนาวการระบาดจะลดความรุนแรงลง การเข้าทำลายใบมะนาวนอกจากทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบมะนาวลดลงแล้ว ยังเปิดทางให้โรคแคงเกอร์เข้าร่วมทำลายได้ง่ายขึ้น

วิธีป้องกันกำจัด กรณีที่ปลูกต้นมะนาวไว้ใกล้บ้าน แนะนำให้ใช้สารกำจัดแมลงหมอเกษตร ทองกวาว ให้แช่ยาเส้น หรือยาฉุนครึ่งถุง ปัจจุบันราคาถุงละ 20 บาท มีจำหน่ายตามร้านขายของชำทั่วไป ในน้ำสะอาด 1 ลิตร อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ชั่วโมง หากแช่ค้างคืนได้จะยิ่งดี ได้เวลาตามกำหนดใช้มือบีบคั้นให้ได้น้ำสีชา กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเส้นยาออกใส่น้ำลงในอุปกรณ์ฉีดพ่นขนาดเล็ก หรือฟ็อกกี้ ใช้สเปรย์น้ำรีดเสื้อผ้าก็ใช้ได้ เติมเหล้าขาว หรือเหล้าโรง 2 ช้อนโต๊ะ และเสริมด้วยน้ำสบู่เจือจางเล็กน้อย เขย่าให้เข้ากัน แล้วฉีดพ่นที่ใบอ่อนผลิออกมาตั้งแต่วันแรก อย่าให้พลาดและพ่นต่อให้ทั่วทรงพุ่ม ผสมครั้งเดียวใช้ให้หมด สารผสมสูตรนี้ฉีดพ่นมะนาวที่ปลูกในกระถาง หรือปลูกในวงบ่อซีเมนต์ได้ 5-7 ต้น ฉีด 3 ครั้ง ทุกๆ วัน จนใบอ่อนมีอายุครบ 9-12 วัน จึงจะปลอดภัยจากหนอนชอนใบ

ในกรณีที่ปลูกมะนาวไว้เป็นสวนขนาดใหญ่ ให้ใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ ผสมให้เข้ากันดีก่อนฉีดพ่น และให้ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และควรทิ้งระยะไว้ 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

จากประสบการณ์ในการปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ของ คุณไพรัตน์ ไชยนอก เจ้าของสวนเทพพิทักษ์ บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 9 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบัน ปลูกทับทิมในพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ศรีปัญญา ในขณะที่เกษตรกรหลายรายปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือต้นทับทิมออกดอกติดผลไม่ดกเท่าที่ควร ประการสำคัญเกิดจากการได้รับแสงไม่ดี

คุณไพรัตน์ บอกว่า เริ่มแรกของการปลูกทับทิมจะต้องปลูกตามตะวัน ปลูกเป็นแถวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ถ้าปลูกขวางตะวัน คือปลูกเป็นแถวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้จะส่งผลให้ต้นทับทิมออกดอกติดผลเพียงข้างเดียว หรือให้ผลผลิตไม่ดก

ในเรื่องของระยะปลูกสรุปได้จากคุณไพรัตน์ ใช้ระยะระหว่างต้น 4 เมตร และระยะระหว่างแถว 7 เมตร จะเหมาะที่สุด เนื่องจากเครื่องจักรหรือรถไถเข้าไปทำงานได้สะดวก และยังช่วยลดปัญหาการสะสมของเชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปลูกทับทิม แปลงปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างส่องได้ทั่วถึง

ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
ด้วยการใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก
ในการปลูกทับทิมในพื้นที่ 500 ไร่ ของสวนเทพพิทักษ์ เรื่องการจัดการใช้ปุ๋ยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ปริมาณของการใช้ปุ๋ยทางดิน ประมาณ 80% ของปุ๋ยที่ใช้คือ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยคอกที่เลือกใช้ คุณไพรัตน์จะใช้ “ขี้หมู” ซึ่งมีการเลี้ยงหมูไว้เอง และนำขี้หมูที่ได้จากการล้างคอกในแต่ละครั้งนำมาตักราดบริเวณทรงพุ่มต้นทับทิมได้เลย

คุณไพรัตน์ได้เฝ้าสังเกตจากการใช้ขี้หมูพบว่า ต้นทับทิมแตกใบใหญ่และเขียวเป็นมัน เหตุผลที่ต้องเลี้ยงหมูเอง เนื่องจากถ้าซื้อขี้หมูจากฟาร์มที่ชาวบ้านหรือบริษัทเอกชนเลี้ยงมักจะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อดับกลิ่นเหม็นหรือฆ่าเชื้อราซึ่งมีสารโซดาไฟ เมื่อนำมาใส่ให้กับต้นทับทิมอาจจะเป็นพิษกับต้นทับทิมได้ จะต้องระวังเป็นพิเศษ สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้จะเน้นสูตร 8-24-24 โดยใช้ในปริมาณ 20% ของการใช้ปุ๋ยทั้งหมดจะใส่ในช่วงเตรียมต้นก่อนออกดอก และมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และปรับปรุงคุณภาพของผลบ้าง

การเลือกใช้ ‘สารปราบศัตรูพืช’
ในการปลูกทับทิม
คุณไพรัตน์ บอกว่า สารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารโปรฟีโนฟอส ซึ่งเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงชนิดครอบจักรวาลและเป็นที่นิยมใช้ในการปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด แต่สำหรับต้นทับทิมแล้วไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด ผลคือ จะทำให้ใบทับทิมไหม้และร่วงจนหมดต้น “เพลี้ยหอย” นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งในการทำผลทับทิม

ถ้าจะเลือกใช้สารในกลุ่ม “คลอไพรีฟอส” จะต้องใช้ในอัตราต่ำกว่าปกติ ถ้าใช้ในอัตราสูงจะทำให้ใบทับทิมร่วงเช่นกัน ทางเลือกในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยหอยของสวนเทพพิทักษ์ จะใช้สารไวท์ออยล์ผสมกับสารเมโทมิล (เช่น แบนโจ) จะดีกว่า

สำหรับปัญหาเรื่อง “เพลี้ยไฟ” ที่นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของการปลูกทับทิม คุณไพรัตน์ แนะนำให้เลือกใช้สารโปรวาโด ซึ่งเป็นสารที่มีความปลอดภัยและใช้ในอัตราต่ำมาก โดยใช้โปรวาโด อัตรา 1-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟได้ผลดี

ในขณะที่ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชในสวนทับทิม คุณไพรัตน์ บอกว่า ใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชได้ทั้งกลุ่มไกลไฟเสตและพาราควอต แต่ที่สวนเทพพิทักษ์จะประหยัดต้นทุนในการป้องกันและกำจัดวัชพืชด้วยการใช้เกลือแกงผสมร่วมกับสารพาราควอต โดยยกตัวอย่าง ถ้าใช้สารพาราควอต 7 ลิตร ที่สวนเทพพิทักษ์จะลดการใช้สารพาราควอตเหลือเพียง 5 ลิตร และผสมเกลือแกงลงไป อัตรา 2 กิโลกรัม เมื่อนำมาฉีดพ่นเพื่อฆ่าหญ้าได้ผลไม่แพ้กัน

เทคนิคในการแก้ปัญหา
‘ทับทิมผลแตก’
จากประสบการณ์ในการปลูกทับทิมมานานนับสิบปีของคุณไพรัตน์ได้สรุปปัญหาของทับทิมผลแตกจะเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ คือ ผลถูกทำลายด้วยโรคแอนแทรกโนส ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลทับทิมและมีเชื้อแอนแทรกโนสเข้าทำลายที่ผลอ่อนจนเกิดแผล ทำให้ผลไม่ขยายและแตกในที่สุด

คุณไพรัตน์ยังได้บอกว่าแอนแทรกโนสนับเป็นโรคที่สำคัญสำหรับการปลูกทับทิม และได้แนะนำให้มีการฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อราในกลุ่มคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แต่จะต้องฉีดในช่วงที่ต้นทับทิมยังไม่ออกดอก แต่ถ้าช่วงระยะทับทิมออกดอกและติดผลอ่อนแนะนำให้ใช้สารโวเฟ่น แต่การป้องกันโรคแอนแทรกโนสแบบยั่งยืนคือ เรื่อง “การจัดการแสงและทิศทางลม” เป็นที่สังเกตว่าเกษตรกรที่ปลูกทับทิมในระบบชิดจะเกิดปัญหาโรคแอนแทรกโนสระบาดง่ายและค่อนข้างรุนแรง

“ผลทับทิมโดนแดดเผา” หรือที่ภาษาทางวิชาการเรียกซันเบิร์น ผลทับทิมที่โดนแดดมากๆ จะทำให้ผิวเปลือกทับทิมด้าน ไม่สามารถขยายผลได้ เมื่อได้รับน้ำหรือมีฝนตกลงมาหรือมีการใส่ปุ๋ยจะทำให้ผลแตกได้

แต่สำหรับทับทิมพันธุ์ศรีปัญญามีข้อดีตรงที่ขนาดของผลใหญ่ ทำให้ผลมักจะห้อยตกอยู่ภายในทรงพุ่ม จึงไม่ได้สัมผัสแดดโดยตรง แต่ถ้าเป็นทับทิมสายพันธุ์อื่นๆ จะแก้ปัญหาด้วยการห่อผล โดยห่อในระยะผลมีอายุได้ประมาณ 40-45 วัน หลังจากติดผลอ่อนและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากห่อผลไป ประมาณ 1 เดือนครึ่ง หรือสังเกตง่ายๆ คือ ห่อในระยะที่ขนาดผลทับทิมใหญ่ใกล้เคียงกับผลส้มเขียวหวาน จะช่วยลดปัญหาเรื่องแดดเผาได้

น้ำทับทิมสด อนาคตไกล
ตลาดต้องการมาก
ปัจจุบัน รูปแบบการผลิตทับทิมของสวนเทพพิทักษ์เปลี่ยนไป แต่เดิมจะมุ่งเน้นผลิตเพื่อจำหน่ายผลสด จะต้องมีการจัดการในเรื่องการควบคุมคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะในเรื่องของผิวและขนาดของผล นอกจากจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในการห่อผล จะต้องมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างประณีต เพื่อไม่ให้ผลทับทิมร่วงหล่นตกพื้น ถ้าผลทับทิมตกลงมาจะทำให้เกิดรอยแผลและผลทับทิมจะเน่าบริเวณที่ตกกระแทก ถึงแม้จะมีข้อดีตรงที่ว่าผลทับทิมจะไม่เน่าทั้งผลก็ตาม แต่นำไปขายเป็นผลสดไม่ได้ แต่สามารถนำมาคั้นเป็นน้ำทับทิมสดได้

คุณไพรัตน์ ได้เล่าถึงขั้นตอนในการคั้นน้ำทับทิมพันธุ์ศรีปัญญาว่า เมื่อเก็บเกี่ยวผลทับทิมที่แก่จัดมาแล้ว จะนำผลทับทิมมาผ่าออกเป็น 4 ส่วน ล้างน้ำในอ่างขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำสะอาดและผสมเกลือแกงลงไป ในอัตรา 500 กรัม (ครึ่งกิโลกรัม) ต่อน้ำ 500 ลิตร

ในการล้างผลทับทิมแต่ละครั้งจะต้องล้างให้สะอาดที่สุด สังเกตจนน้ำใสและไม่มีสีชาเลย หลังจากนั้น ให้นำผลทับทิมมาพักเพื่อให้สะเด็ดน้ำ นำมาบีบคั้นด้วยเครื่องบีบคั้นน้ำ ที่สวนเทพพิทักษ์ซื้อมาในราคาเครื่องละ 60,000 บาท เครื่องคั้นเครื่องนี้มีประสิทธิภาพในการคั้นผลทับทิมได้ถึง 4-5 ตัน ต่อวัน (4,000-5,000 กิโลกรัม)

ในการบีบคั้นยังมีเทคนิคตรงที่จะต้องนำผลทับทิมที่ล้างสะอาดและสะเด็ดน้ำแล้วมาใส่ในถุงแรงดันที่มีคุณสมบัติเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ในการบีบคั้นน้ำทับทิมศรีปัญญาถ้าจำหน่ายภายในประเทศ คุณไพรัตน์จะบีบซ้ำเพียง 2 ครั้ง แต่ถ้าจะส่งขายตลาดต่างประเทศจะบีบซ้ำถึง 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความฝาดของเปลือกทับทิม (ในการบีบคั้นจะบีบทั้งเปลือก และส่วนของเปลือกจะมีปริมาณสารแทนนินมาก สารแทนนินมีส่วนช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร) ผลทับทิมสด จำนวน 100 กิโลกรัม จะบีบคั้นเป็นน้ำทับทิมได้ประมาณ 45 ลิตร

“ชาดอกทับทิม”
เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของสวนเทพพิทักษ์
เนื่องจากในช่วงที่ต้นทับทิมออกดอกนั้นจะมีปริมาณมาก ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะร่วงหล่นหรือปล่อยให้ติดผลอ่อน มีบางส่วนจะร่วงหล่นเอง เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ คุณไพรัตน์ จึงคิดว่าจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ดอกทับทิมเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ในช่วงที่ทับทิมศรีปัญญาออกดอกมากๆ จะใช้แรงงานเข้าไปเพื่อคัดเฉพาะดอกที่มีความสมบูรณ์ไว้

ส่วนดอกที่มีท่อน้ำเลี้ยงเล็กหรือก้านขั้วดอกเล็ก ให้ตัดเอามาผลิตเป็น “ชาดอกทับทิม” โดยนำมาหั่นเป็นฝอย โดยเครื่องสไลซ์ที่คุณไพรัตน์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเอง หลังจากนั้นนำมาตากแดดให้แห้งกรอบ นำไปชงหรือบรรจุซอง จึงเป็นชาดอกทับทิมพร้อมดื่ม

ในทางสมุนไพรพบว่า “ชาดอกทับทิม” จะมีส่วนช่วยลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ป้องกันการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ล้างไต ลดไขมัน และลดน้ำตาลในเลือดได้ ราคาขายชาดอกทับทิมของสวนเทพพิทักษ์จะขายในราคาขีดละ 50 บาท (จำนวน 100 กรัม) เมื่อนำไปชงผสมน้ำได้มากถึง 35 ลิตร หลังจากนั้น นำไปสเตอริไลซ์กรอกขวดขายจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำชาดอกทับทิมที่มีสีแดงสวยน่าดื่มและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

“ศรีสยาม” ทับทิมสายพันธุ์ใหม่
ของสวนเทพพิทักษ์
คุณไพรัตน์ ได้ประสบความสำเร็จในการนำพันธุ์ทับทิมศรีปัญญามาผสมพันธุ์กับทับทิมสเปน คัดเลือกพันธุ์จนได้ต้นที่ดีที่มีคุณสมบัติดี คือ “มีเมล็ดนิ่ม เนื้อมีสีแดง ขนาดผลใหญ่ (แต่ขนาดผลเล็กกว่าพันธุ์ศรีปัญญา) ต้นมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมในบ้านเราได้ดี”

ปัญหาของการปลูกทับทิมเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะพบปัญหาเรื่องเมล็ดในผลทับทิมไม่นิ่มเหมือนกับทับทิมสเปน ทับทิมอินเดีย ฯลฯ แล้ว ต้นพันธุ์จะต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและไม่อ่อนแอ โดยคุณไพรัตน์ได้ขยายความต้นทับทิมที่ไม่อ่อนแอจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ใบไม่ร่วงง่าย และทนทานต่อโรคแอนแทรกโนสได้ดี

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของทับทิมพันธุ์ศรีสยามคือ รสชาติของน้ำจะหวานมาก หวานมากกว่าน้ำทับทิมศรีปัญญา ปัจจุบันในการผลิตน้ำทับทิมของสวนเทพพิทักษ์ได้ปรับปรุงคุณภาพของน้ำทับทิมด้วยการผสมน้ำทับทิมพันธุ์ศรีสยามกับพันธุ์ศรีปัญญาใน อัตรา 1 : 5 (น้ำทับทิมศรีสยาม 1 แกลลอน ผสมกับน้ำทับทิมศรีปัญญา 5 แกลลอน) ผลปรากฏว่าตลาดยอมรับมากยิ่งขึ้น

สายพันธุ์มะพร้าว ที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์สวีลูกผสม 1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 2

ผลผลิตมะพร้าวแก่ ส่วนใหญ่ถูกใช้ทำน้ำตาล มะพร้าวกะทิ เป็นต้น มะพร้าวผลแห้งคละ 100 ผล แปลงเป็นเนื้อมะพร้าวแห้งได้ 25 กิโลกรัม หรือมะพร้าวผลแห้งคละ 100 กิโลกรัม แปลงเป็นนํ้ามันมะพร้าวดิบได้ 12.83 กิโลกรัม

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในประเทศปี 2562 ว่า มีปริมาณ 874,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.51 แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศ ที่มีความต้องการใช้มะพร้าวผลแก่ถึง 1.04 ล้านตัน

มะเขือเทศ เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกา ที่คนพื้นเมืองใช้เป็นอาหารมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็เข้ามาอยู่ในสังคมอาหารและผลไม้ของไทยมานานแล้ว บางครั้งนำเข้าครัวไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ขาดไม่ได้เลย เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน ส้มตำ บ้างก็นำมาแปรรูปเป็นซอสก็เป็นที่นิยม น้ำมะเขือมีบรรจุกล่องขายกันทั่วทุกแห่งหน บางคนก็นำมารับประทานสดๆ เป็นผลไม้ บ้างก็ใช้ประดับจานอาหารเพื่อความสวยงาม

ข้อมูลจาก คุณต้น หรือ คุณพรศักดิ์ ชัยศักดานุกูล จาก อากงฟาร์ม กล่าวไว้ว่า “เมื่อก่อนนั้น ปี พ.ศ. 2525 อากงฟาร์ม เป็นฟาร์มเลี้ยงหมูที่อากงกับคุณพ่อเริ่มต้นทำ มีทั้งหมูพ่อแม่พันธุ์และหมูขุน รวมกันประมาณ 2,000 กว่าตัว กิจการที่ทำก็ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี แต่เนื่องจากความเจริญและชุมชนอยู่อาศัยที่ขยายเข้ามาใกล้ฟาร์มเข้าทุกที ทำให้มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและกลิ่น จึงต้องลดปริมาณหมูที่เลี้ยงลง จนกระทั่งเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ในปี พ.ศ. 2558 หลังจากเลี้ยงหมูมายาวนานถึง 33 ปี”

เริ่มแรกปลูกเมล่อนในโรงเรือน

ก่อนที่จะเลิกเลี้ยงหมู พอดีคุณต้นได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ในช่วงจังหวะที่อยู่ฮอกไกโด ได้มีโอกาสชิมเมล่อนฮอกไกโด รู้สึกติดใจในรสชาติ ซึ่งไม่เคยได้กินที่เมืองไทย ในระหว่างการเที่ยวได้เห็นโรงเรือนเล็กๆ อยู่ข้างทางหลายโรงเรือน ไม่มีโอกาสเข้าไปดู ได้แต่ยืนดูรอบนอก แล้วก็จำเอามาดัดแปลงทำเป็นโรงเรือนของเราเอง

ต่อมาในปี 2559 จึงดัดแปลงเล้าหมูให้กลายเป็นโรงเรือนปิดที่มีหลังคาเป็นพลาสติกเพื่อรับแสงแดดตามปกติและสามารถกันฝนได้ ส่วนด้านข้างเป็นตาข่ายที่สามารถกันแมลงได้ โดยไม่คิดว่าจะทำเป็นธุรกิจ เพียงคิดว่าอยากกินเมล่อนที่อร่อยเหมือนกับกินที่ฮอกไกโด จากนั้นได้เข้ากลุ่มเพื่อนคนที่ชอบเมล่อนด้วยกัน ในเฟซบุ๊ก ชื่อ คนรักเมล่อน ได้ความรู้มามากมาย และได้ปรึกษากับอาจารย์เบส ซึ่งทำเมล่อนจนเชี่ยวชาญที่จังหวัดหนองคาย ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ นอกจากนี้ คุณต้น ยังเดินสายไปตามฟาร์มเมล่อนต่างๆ ในเมืองไทย เพื่อเรียนรู้และทดลองชิมมาแล้วเกือบทั่วทุกสวน เมื่อมั่นใจว่าสามารถทำได้ จึงสั่งเมล็ดพันธุ์เมล่อนมาจากญี่ปุ่นทดลองปลูกดู ครั้งแรกๆ ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะหลังจากชิมแล้วรสชาติยังไม่ถูกใจเหมือนที่ฮอกไกโด จึงเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ไป 4-5 รอบ จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ถูกใจ และได้ใช้เมล็ดพันธุ์นี้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน

นอกจากสายพันธุ์ที่ใช่แล้ว การจัดการปริมาณน้ำและแร่ธาตุที่พืชต้องการจะต้องเหมาะสมกับสายพันธุ์นั้นด้วย สายพันธุ์ที่สวนอากงใช้มี 2 สายพันธุ์ คือ ฟุระโนะ เปลือกตาข่ายสีเขียวเนื้อส้ม ฮอกไกโดฟูยุ เปลือกตาข่ายสีทองเนื้อสีเขียว แต่เป็นที่น่าเสียดายเนื่องจากภาวะอากาศของบ้านเราหนาวไม่เพียงพอ จึงปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น และแต่ละปีจะปลูกได้เพียงครั้งเดียว เพราะจะใช้เวลาถึงสองเดือนครึ่งต่อรอบการผลิต ผลผลิตที่ได้มีรสชาติใกล้เคียงกับของฮอกไกโดมาก แต่ผลผลิตที่ได้ยังมีจำนวนไม่มากเหมือนที่ญี่ปุ่น

คุณต้น บอกว่า เมล่อนที่คนไทยชอบจะมีความกรอบ สมัครเล่นสล็อต แต่ของญี่ปุ่นจะไม่กรอบมาก แต่จะละลายในปาก ความหวานหอมจะติดลิ้นอวลอยู่ในปากอยู่หลังจากกลืนไปแล้ว ความหวานที่ดีของเมล่อนจะต้องหวานใกล้เคียงกันทั้งลูก แต่ถ้าความหวานในลูกแตกต่างกัน เช่น หัวท้ายหวานน้อยกว่าช่วงกลางผล ก็จะถือว่าไม่ได้มาตรฐาน ปลูกครั้งแรกเอาไว้กินในบ้าน แจกเพื่อนฝูงบ้าง แต่เมื่อเพื่อนได้ชิมแล้วก็ติดใจในรสชาติ จึงสั่งซื้อไปฝากคนที่เคารพนับถือหรือผู้หลักผู้ใหญ่ จึงได้คิดปลูกเป็นการค้า ปัจจุบัน สวนอากงมีเมล่อนขายเฉพาะในฤดูหนาว ราคาขาย ผลละ 500-1,200 บาททีเดียว

ในเมื่อเมล่อนปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาว แล้วโรงเรือนก็ถูกปล่อยว่างไว้ จึงทำให้คุณต้นต้องคิดต่อว่าจะปลูกอะไรได้อีกบ้าง ก็มาจบที่มะเขือเทศ เนื่องจากคุณต้นคิดว่าทั้งโลกบริโภคมะเขือเทศเป็นอันดับหนึ่ง และมะเขือเทศมีหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็ใช้ประโยชน์ต่างกัน บ้างกินเป็นผลไม้ ทำซอส ทำน้ำผลไม้ ประกอบอาหารบ้าง แต่ด้วยความที่ตัวเองไม่ได้พิสมัยกับมะเขือเทศมากนัก เนื่องจากไม่ชอบกลิ่นและความนิ่มของไส้มะเขือเทศที่คนไม่ชอบมะเขือเทศรังเกียจ จึงต้องหามะเขือเทศสายพันธุ์ที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ จึงเริ่มศึกษาสายพันธุ์ในกลุ่มที่รู้จักก็ยังไม่ถูกใจ จนกระทั่งได้เมล็ดพันธุ์จากเพื่อนที่อเมริกา แต่เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มีราคาถึงเมล็ดละ 50 บาท ซึ่งมีราคาแพงมาก จึงจำเป็นต้องดูแลการปลูกอย่างพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว

วิธีการปลูกมะเขือเทศองุ่น

สวนอากง จะใช้วิธีการเพาะเมล็ดมะเขือเทศองุ่นด้วยการนำเมล็ดมาวางไว้บนทิชชูที่พรมน้ำ แล้ววางเมล็ดลงบนทิชชูที่วางในกล่องทึบแสง เมื่อเรียงเมล็ดเรียบร้อยแล้ว ก็จะฉีดพ่นฝอยด้วยฟ็อกกี้อีกครั้ง แล้วเทน้ำในกล่องออกให้หมด นำไปไว้ในที่มืด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก็จะนำมาใส่ถาดเพาะ โดยใช้พีชมอสส์ หลังจากนั้นรดน้ำด้วยฟ็อกกี้เช้าเย็น โดยระวังไม่ให้วัสดุปลูกแฉะ นำมาวางในโรงเรือนที่ไม่โดนฝนและมีแสงแดดรำไร ใช้เวลาประมาณ 14-15 วัน ต้นมะเขือเทศจะมีความสูงประมาณ 4-5 นิ้ว ก็สามารถนำมาปลูกในโรงเรือนได้แล้ว

โรงเรือนของสวนอากงจะมีหลังคาพลาสติกกันน้ำและตาข่ายกันแมลงรอบข้าง ส่วนในโรงเรือนจะเป็นพื้น 3 ระดับเพื่อให้เหมาะสมกับการระบายน้ำและการจัดการตามภาพที่เห็น (หน้า 34) โดยครั้งแรกจะใช้กระถางพลาสติกแต่ต่อมาเห็นว่าจังหวัดราชบุรีมีกระถางมังกรเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น จึงเปลี่ยนมาใช้กระถางมังกรแทน เพราะจะลดการใช้พลาสติกได้อีกด้วย

นอกจากนี้ กระถางมังกรยังใช้งานได้นานกว่า เทแกลบดำใส่กระถางเป็นวัสดุปลูก ซึ่งทางสวนอากงใช้เพียงอย่างเดียวเพราะเห็นว่าเป็นวัสดุที่ผ่านความร้อนมาเชื้อโรคที่ติดมาจึงไม่มี ส่วนธาตุอาหารทางสวนฯ ผสมมากับน้ำ ซึ่งรดทุกวันอยู่แล้ว เมื่อเทแกลบใส่กระถางก็จะเปิดน้ำเปล่าใส่น้ำให้เต็มจนล้นออกมา วันละหนึ่งรอบ ทำอย่างนี้อยู่ 3-4 ครั้ง ก็พร้อมที่จะปลูก ในช่วงหน้าร้อนถ้าจะพรางแสงตอนปลูก และเลือกการปลูกต้นกล้าในตอนเย็น เพราะแสงแดดไม่ร้อนมาก

หน่อไม้ฝรั่งไทย กระจายไกลไปทั่วโลก ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อ

เยื่อพืชหน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) เป็นพืชผักที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นผักที่มีราคาดี มีความต้องการในตลาดสูง เป็นผักอายุยืน เก็บผลผลิตได้ตลอดปี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดีประกอบกับผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ประเทศคู่ค้าสำคัญที่รับซื้อผลผลิตจากประเทศไทย คือ ประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และไต้หวัน ทำให้พื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน พื้นที่ปลูกที่สำคัญอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดเพชรบูรณ์

ประเทศไทยเริ่มทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2489 ที่สถานีกสิกรรมอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศออสเตรเลีย ในระยะต่อมาได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูก การดูแลรักษา รวมทั้งพัฒนาระบบการตลาดให้เข้มแข็งขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมากกว่า 10,000 ไร่

การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในประเทศไทยรูปแบบหนึ่ง จะใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้หลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์แมรีวอชิงตัน เป็นสายพันธุ์แรกที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 309 และ พันธุ์ยูซี 157 พันธุ์บร็อคอิมพรู๊ฟ และพันธุ์บร็อคอิมพีเรียล เป็นต้น

เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งมีราคาค่อนข้างแพง น้ำหนักประมาณ1 ปอนด์หรือประมาณ 0.45 กิโลกรัม ราคาประมาณ 10,000 บาท เพาะปลูกได้ประมาณ 2-3 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้วิธีเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติไปปลูก แต่ผลผลิตที่ได้จะมีมาตรฐานต่ำ คุณภาพไม่สม่ำเสมอ หรือแม้การใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมนำเข้าจากต่างประเทศก็ตาม ก็ให้ผลผลิตมาตรฐานต่ำกว่าการปลูกหน่อไม้ฝรั่งด้วยต้นพันธุ์ที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่า ต้นพืชที่ผลิตด้วยวิธีการดังกล่าวทุกๆ ต้นจะมีพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่พันธุ์ดีที่คัดเลือกมาผลิต และเมื่อนำไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นหน่อไม้ฝรั่ง จะทำให้ผลผลิตที่เก็บได้ในแต่ละวันหรือแต่ละช่วงเวลา มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้เกษตรกรบรรลุเป้าหมายที่สำคัญ คือ ได้หน่อไม้ฝรั่งคุณภาพดีจำนวนมากอยู่เสมอ เกษตรกรจึงมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่ที่ปลูกสูงกว่า และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์จากเมล็ดมาปลูก

ในระยะแรกความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งได้รับมาจากหน่วยงานวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้และผลงานวิชาการให้ศึกษาจำนวนมาก ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2540 ได้มีหน่วยงานนำเอาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรคือ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสามารถผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลียงเนื้อเยื่อพืชและนำไปทดลองปลูกในแปลงของเกษตรกร ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้เกิดการยอมรับในการใช้ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

พบเกษตรกรหัวไว ใจสู้

เกษตรกรรายหนึ่งที่ขอกล่าวถึงเนื่องจากเป็นผู้ที่ทำให้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ คุณโสภณ อารยธรรม ชาวดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี คุณโสภณได้รับต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกรมส่งเสริมการเกษตรไปทดลองปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ.2542 จำนวนประมาณ 5,000 ต้น (2 เบอร์) ช่วงเวลานั้นทั้งตัวนักวิชาการผู้ผลิตและเกษตรกรร่วมกันเฝ้ารอถึงผลที่จะเกิดในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นการปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแปลงแรกในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เรียกว่ารอลุ้นกันประมาณ 1 ปี ดูตั้งแต่ลักษณะการเจริญเติบโตจนถึงการให้ผลผลิตว่ามีผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่าพอใจอย่างมาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งก็ขยายตัวและได้รับการยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้

ยังมีเกษตรกรหัวก้าวหน้า

ประมาณปลายปี พ.ศ.2554 เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอีกรายหนึ่ง คือ คุณอนันทพงษ์ สารีคำ ชาวหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ชมรายการโทรทํศน์เกี่ยวกับการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จึงเกิดแรงบันดาลใจให้โทรไปหาคุณโสภณ และทำให้ตัดสินใจหันมาปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากต้นพันธุ์เนื้อเยื่อโดยไม่ลังเล คุณอนันทพงษ์ จึงเป็นผู้บุกเบิกนำต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยามมาปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นต้นแบบกระตุ้นให้เกษตรกรรายอื่นๆหันมาใช้ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกันอย่างมาก

การผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีกระบวนการทำงานพอสรุปเป็นขั้นตอนสำคัญได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ดี ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากที่สุดขั้นตอนหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการผลิตต้นพันธุ์วิธีนี้จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกหาต้นแม่พันธุ์ดีที่เป็นนางงามหรือเป็นแชมป์โลกที่สามารถให้ผลผลิตตรงตามมาตรฐานการผลิต ซึ่งวิธีการเสาะหาจำเป็นต้องได้รับการร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูก ต้องใช้เวลาหลายปี และต้องหมั่นสังเกตหาแม่พันธุ์ที่แข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตดีมีมาตรฐานสูง

2.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อคัดเลือกได้แม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ดีแล้ว ก็ต้องนำมาเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ให้ได้จำนวนมากโดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสูตรอาหารและการเลือกใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช รวมไปถึงการจัดการสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ และความชื้นอย่างเหมาะสม ขั้นตอนที่ยุ่งยากบ้างก็คือ การชักนำรากให้หน่อไม้ฝรั่งเกิดรากก่อนนำไปทำการอนุบาลให้เป็นต้นพันธุ์ที่แข็งแรง ซึ่งก็พบว่า พันธุกรรมของแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งก็เป็นปัจจัยต่อความยากง่ายในการเกิดรากของหน่อไม้ฝรั่ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของต้นแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง และการบริหารจัดการที่ดีมีมาตรฐานของระบบการผลิตงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

3.การปลูกต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ดีที่ผลิตได้เมื่อนำไปปลูกในแปลงปลูกที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่ง ก็จะมีการเจริญเติบโตที่ดี ให้ผลผลิตที่มีมาตรฐานสูงเหมือนต้นแม่พันธุ์ดีที่คัดเลือกมาทุกประการ

ท่านผู้อ่านหลายท่าน อาจเคยรู้จักศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยามว่าเป็นผู้ผลิตกุหลาบจิ๋วหรือเบบี้โรสด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาแล้ว ในเวลาเดียวกันทางศูนย์ฯ ก็มิได้หยุดนิ่งแต่เพียงไม้ดอก เช่น กุหลาบจิ๋ว หรือกล้วยไม้เท่านั้น ศูนย์ฯได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยไปควบคู่กันด้วย และโดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่งซึ่งเกษตรกรมีความต้องการใช้ต้นพันธุ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก จากการที่ศูนย์ฯมีประสบการณ์ทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนประมาณปีพ.ศ.2549 และ พ.ศ. 2551 ตามลำดับ

ข้อมูลการสังเกตเบื้องต้นพบว่า หน่อไม้ฝรั่งสามารถเจริญเติบโตและเก็บผลผลิตได้ตามปกติ ประมาณปลายปี พ.ศ. 2554 ศูนย์ฯจึงได้ผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และทำการปลูกทดสอบสายพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆของศูนย์ฯที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่งแปลงดังกล่าว 2 ประการ คือ

1.เป็นแปลงแม่พันธุ์สำหรับผลิตและคัดเลือกหน่อพันธุ์ดีส่งให้แก่ห้องแลปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อใช้ผลิตต้นพันธุ์การค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจปลูกเลี้ยงต่อไป

2.เป็นแปลงศึกษาและเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสบการณ์การปลูกหน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสายพันธุ์ต่างๆ ที่ศูนย์ได้ผลิตขึ้นมาทั้งในปัจจุบันและที่จะมีต่อไป

ในอนาคตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของศูนย์ฯมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับ เนื่องจาก

1.การคัดเลือกแม่พันธุ์ แม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งของศูนย์ฯ เป็นแม่พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกลักษณะดีเด่นทางการเกษตรมาเป็นเวลานานก่อนนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตต้นพันธุ์พืช ผ่านการเก็บผลผลิตส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นและไต้หวันเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรผู้ปลูกและผู้เยี่ยมชมดูงาน ศูนย์ฯจึงนำหน่อไม้ฝรั่งดังกล่าวมาผลิตเป็นต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพร้อมปลูก เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้สนใจปลูกในปัจจุบัน

2.การผลิตต้นพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื่องจากศูนย์ฯมีแปลงทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งเป็นของศูนย์ฯ เอง ทำให้สามารถคัดเลือกและนำหน่อพันธุ์ดีรุ่นใหม่ๆของแต่ละเบอร์ส่งเข้าผลิตเป็นต้นหน่อไม้ฝรั่งรุ่นลูกรุนหลานทยอยออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง มิได้ใช้หน่อต้นแม่พันธุ์จำนวนน้อยแล้วผลิตต้นพันธุ์เป็นจำนวนมากๆโดยมิได้มีการเปลี่ยนหน่อแม่พันธุ์ใหม่

3.ต้นพันธุ์ที่ผลิตได้ ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์ฯได้บุกเบิกไปในกลุ่มผู้ปลูกภาคเหนือเป็นกลุ่มแรก โดยเฉพาะได้ยอมรับจากเกษตรกรในพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ปลูกได้พบถึงความแตกต่างของปริมาณและคุณภาพของหน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตได้อย่างชัดเจน จึงหันมาใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกันมากขึ้น

เกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกหน่อไม้ฝรั่งท่านใดสามารถศึกษาดูตัวอย่างแปลงที่ปลูกด้วยต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือหากสนใจต้นพันธุ์ (Asparagus tissue culture) สามารถติดต่อมาที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยาม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจากในอดีตสู่ปัจจุบันสร้างปัญหาอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม เมื่อก่อนเกษตรกรลงมือปลูกอะไรล้วนประสบความสำเร็จทุกอย่าง เพราะน้ำ อากาศ และดินมีความสมบูรณ์เพียงพอ แต่ตอนนี้ทุกอย่างกลับตรงกันข้าม หากชาวบ้านต้องการปลูกอะไรต้องพิจารณาปัจจัยทุกอย่างให้รอบคอบ จะด่วนใจร้อนลงมือทันทีอย่างเช่นสมัยก่อนคงไม่ได้แล้ว ดังนั้น การคิดจะปลูกพืชเพียงชนิดเดียวที่เรียกว่าพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหารายได้คงเสี่ยงเกินไปกับยุคสมัยนี้

ครอบครัว “สตาล” ที่ประกอบด้วย คุณปากิ๊ด สตาล (พ่อ) คุณสุมาลี สตาล (แม่) คุณพัชรี สตาล (ลูก) และ คุณอภินันท์ ไชยเดชกำจร (เขย) พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 187 หมู่ที่ 2 ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

ความจริงครอบครัวนี้ไม่ได้เป็นคนกำแพงเพชร แต่ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานเพื่อยึดอาชีพเกษตรกรรมที่จังหวัดนี้เมื่อ 17 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเริ่มต้นปลูกส้มเขียวหวาน และด้วยความเป็นเกษตรกรมืออาชีพจึงมองถึงความเสี่ยงต่อการทำส้มเพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงนำมะละกอพันธุ์ดำเนินมาปลูกแซม ขณะเดียวกัน ได้นำกล้วยน้ำว้ามาปลูกคู่กับมะละกอจนทำให้มีรายได้ตลอดปีอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจากการทำสวนไม้ผลแบบผสมผสาน

คุณสุมาลี หรือ คุณไก่ เล่าว่า มีที่ดินเช่าอยู่ 2 แปลง โดยแปลงแรกมีพื้นที่จำนวนกว่า 50 ไร่ (กำลังจะหมดสัญญาสิ้นปี 2560) ส่วนแปลงใหม่มีพื้นที่จำนวนกว่า 30 ไร่ ทั้งสองแปลงปลูกพืชหลักเหมือนกันคือส้มเขียวหวาน มะละกอดิบ และกล้วยน้ำว้า ลักษณะสวนที่ปลูกเป็นแบบยกร่องขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก มีร่องน้ำ แต่น่าเสียดายส้มเขียวหวานเก็บผลผลิตเสร็จสิ้นไปแล้วและอยู่ระหว่างพักต้น สำหรับสวนแห่งใหม่ยังอยู่ระหว่างการดูแลบำรุงเพื่อให้มีผลผลิตได้ทันก่อนหมดสัญญาสวนแรก

คุณไก่ บอกว่า มะละกอที่ปลูกไว้ทั้งสองแห่งมีจำนวน 7,000 ต้น แต่ผลผลิตที่เก็บมีเฉพาะที่สวนแรกจำนวน 3,000 ต้น ปลูกมาแล้ว 2 รุ่น รุ่นละ 2 ปี พร้อมกับแจงรายละเอียดขั้นตอนปลูกมะละกอว่า ต้องเริ่มจากเลือกผลมะละกอที่มีลักษณะยาวเป็นกระโปรง เนื่องจากพบว่ารูปลักษณะผลดังกล่าวมีเมล็ดมาก แล้วเมื่อนำไปปลูกจะได้พันธุ์ที่มีผลยาวตามความต้องการของตลาด จากนั้นให้ผ่าออกแล้วตากลมทิ้งไว้

ให้นำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้สัก 2 คืน นำขึ้นมาผึ่งไว้กับผ้าขาวบางห่อไว้แล้วนำไปใส่กระติกปิดฝา ให้ตากแดดไว้สัก 3-4 วัน จากนั้นจึงเปิดฝาออก เมื่อเห็นว่างอกออกมาคล้ายกับเมล็ดข้าวเปลือกจึงนำไปเพาะลงถาดหลุมเพาะที่เตรียมดินไว้ โดยใส่หลุมละ 3 เมล็ด จนแตกใบอ่อนสัก 4 ใบ จึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง พอปลูกไว้สัก 1 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 โดย 15 วันแรก ใส่ 1 ครั้ง แล้วอีก 30 วัน ใส่อีกรอบ จากนั้น 45 วัน จึงใส่อีก 1 ครั้ง พอครบ 2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเตรียมสะสมตาดอก

“ปัญหาที่เกิดจากการปลูกมะละกอคือเพลี้ยไฟที่คุกคาม จึงจำเป็นต้องมีหาฉีดพ่นยาควบคุมและป้องกันไว้ล่วงหน้าตามอัตราที่เหมาะสมและไม่เกิดอันตราย รวมถึงยังต้องใส่ปุ๋ยคอกในช่วงหน้าแล้งเพื่อป้องกันไม่ให้ใบเหลือง”

คุณไก่ บอกว่า มะละกอสวนแรกจำนวน 3,000 กว่าต้น จะเก็บผลผลิตทุก 20 วัน ได้จำนวน 50 กว่าตัน จากนั้นนำมาคัดแบ่งขนาดจำนวน 4 ขนาด ได้แก่ 2 แถว, 3 แถว, ลูกกลม และลูกเสียบ (ลักษณะผอมแหลม) ทั้งนี้ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.2 กิโลกรัม เป็นขนาดที่ลูกค้าชอบมาก ส่วนผลรองลงมามีน้ำหนักประมาณ 8 ขีด โดยมีพ่อค้ามารับซื้อที่สวนด้วยรถ 6 ล้อบ้าง รถปิกอัพบ้าง แล้วนำไปขายส่งต่อที่ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และที่ขอนแก่น

ส่วนราคาขายหน้าสวน คุณไก่ชี้ว่าไม่แน่นอน ราคาผันผวนตลอดแล้วแต่สภาพเศรษฐกิจและปัจจัยต่างๆ อาทิ ความต้องการ ปริมาณมะละกอในตลาด ฯลฯ อย่างตอนนี้ (เมษายน 2560) ราคารับซื้อมะละกอดิบประมาณ 2 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เคยขายได้ราคาสูงสุดประมาณ 10 บาท ต่อกิโลกรัม แล้วยังเคยมีรายได้จากขายมะละกอดิบกว่า 5 แสนบาท (เก็บขาย 2 ครั้ง)

สำหรับกล้วยน้ำว้าซึ่งถือเป็นผลพลอยได้จากมะละกอ เนื่องจากในปีที่แล้งจัด น้ำที่ใช้จากเขื่อนภูมิพลมีปริมาณไม่พอ ทำให้ต้องระดมสูบน้ำจากบ่อมาช่วยหมดเงินเป็นแสนบาท ช่วงนั้นคุณไก่กังวลใจมากและเกรงว่ามะละกอคงต้องเสียหายอย่างมากแน่ จึงตัดสินใจนำหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นบ้านเกิด จำนวน 450 ต้น มาปลูกแซมต้นมะละกอเตรียมไว้ก่อน

แต่โชคช่วยได้น้ำฝนชุดใหญ่เลยทำให้มะละกอกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ จากนั้นจึงเร่งบำรุงต้นมะละกออย่างเต็มที่เพื่อรักษาผลผลิตให้สมบูรณ์ จึงกลายเป็นว่าได้กล้วยเพิ่มมาด้วย แล้วยังเป็นกล้วยน้ำว้าที่มีความความสมบูรณ์ทั้งขนาดและรสชาติ

การปลูกกล้วยในสวนผสมของคุณไก่ไม่ได้ต่างจากเกษตรกรคนอื่น เพราะกล้วยใช้เวลาปลูกจนได้ผลผลิตประมาณ 6 เดือน จึงตกปลี แล้วเก็บได้เมื่ออายุ 9 เดือน แต่สิ่งที่ทำให้กล้วยในสวนของเธอมีหวีและเครือขนาดใหญ่กว่าปกติคงไม่ใช่เพราะการได้รับปุ๋ยผ่านมะละกออย่างเดียว เนื่องจากคุณไก่มีการดูแลบริหารจัดการต้นกล้วยอย่างดีด้วยการแต่งหน่อกล้วยให้เหลือเพียง 3 หน่อเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้แย่งอาหารกันจนทำให้เครือเล็ก

ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเก็บผลผลิตได้จำนวนครั้งละ 16 เครือ น้ำหนักเกือบ 600 กิโลกรัม มีพ่อค้ามารับซื้อหน้าสวน ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท ชั่งเป็นเครือได้น้ำหนักเครือละประมาณ 50 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยมีราคาเครือละ 400-500 บาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นนำกล้วยไปส่งขายที่ตลาดไทและสี่มุมเมือง

คุณปากิ๊ด กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ต้องปลูกไม้ผลหลายชนิดเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนว่า การทำเกษตรเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงมาก พอเกิดปัญหาขายไม่ได้ก็หมดทางแก้ไข แล้วเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำวันก็ไม่มี ดังนั้น การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นวิธีใหม่ เป็นแนวคิดใหม่เพื่อเป็นการช่วยเกื้อกูลในเรื่องรายได้ของไม้ผลแต่ละชนิดที่สามารถทดแทนกัน แล้วยังไม่ต้องกังวลถ้าเกิดภัยธรรมชาติหรือปัญหาราคาตกต่ำอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถกำหนดรายได้ทันทีหากมีการปลูกด้วยความใส่ใจและได้มาตรฐานจนทำให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาด

“ถ้าทำเกษตรต้องมีใจรักและอดทน อย่าหวังเห็นคนอื่นทำแล้วมีรายได้มากก็อยากทำบ้างโดยไม่มีความรู้หรือรู้จักพืชผลชนิดนั้นมาก่อน เพราะคนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก ต้องผ่านปัญหา/อุปสรรคและความลำบากนานัปการกว่าจะมาถึงความสำเร็จ แล้วควรเพิ่มพูนความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอด เพราะภาคเกษตรกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลง” คุณปากิ๊ด กล่าวฝาก

เห็นจะเป็นจริงตามที่คุณปากิ๊ดฝาก เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปเร็วมาก ขณะเดียวกัน ยังมีผลโดยตรงกับภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เกษตรกรควรวางแผนการเกษตรของตัวเองอย่างรอบคอบควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อความอยู่รอดของทุกคน

ปี 2560 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีหลายชุมชนเกษตรที่พิจารณาจัดทำโครงการขยายพันธุ์พืช เพื่อจะได้มีพันธุ์พืชปลูกในพื้นที่ พืชหลักๆ ที่ขยายพันธุ์ โดยฝีมือเกษตรกรเอง แต่ตามหลักวิชาการเกษตร มีพืชที่เพาะขยายด้วยเมล็ด ลงถุงขนาดตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนนำไปดำเนินการต่อ เช่น นำไปปลูกในสวน นำไปตั้งประดับบ้านเรือน ผลผลิตที่ชุมชนเกษตรอำเภอน้ำปาดทำได้ รวมจำนวน 2,248,900 ต้น

ประกอบด้วย ต้นดาวเรือง กว่า 160,000 ต้น มะม่วง 374,600 ต้น มะขามเปรี้ยว 277,800 ต้น ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ซางหม่น กว่า 43,000 ต้น และที่มีความตั้งใจผลิตออกมาเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และวาดฝันให้พื้นที่เกษตรอำเภอน้ำปาด เป็นแดนพืชผลที่อนาคตไกล คือ มะม่วงหิมพานต์ ผลผลิตกว่า 1,364,000 ต้น ณ วันนี้ เริ่มทยอยจากเรือนเพาะชำทั้ง 23 โรงเรือน 4 ชุมชน สู่ชุมชน สู่ผืนดิน เพื่อนำมาซึ่งความยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

การเกษตรหลายพื้นที่ กำลังคิดจะเปลี่ยนแปลงปลูกพืชอื่น เพราะเหตุผลหลายๆ อย่าง อาทิ ด้านราคาตกต่ำ การระบาดของศัตรูพืช ความผันผวนของดินฟ้าอากาศ การขนส่งผลผลิต ครั้นจะรื้อไร่นาสวนผสม ปลูกพืชใหม่เลยก็ตัดสินใจยาก จึงอยากแนะนำให้ปลูก “มะม่วงหิมพานต์” แซมในไร่ในสวน สัก 2 ปี พอปีต่อไปจะทิ้งพืชเดิม หรือจะเอาไว้เป็นพืชแซมกันก็ได้

มะม่วงหิมพานต์ พืชตระกูลเดียวกับมะม่วงทั่วไป แต่มีความแปลกพิสดารที่ลักษณะผล เมล็ดโผล่อยู่นอกผลห้อยติดอยู่ตรงปลายลูก ดูแปลกประหลาดจากไม้ผลทั่วไปที่สุด ซึ่งที่จริงแล้วในทางพฤกษศาสตร์ ผลที่เห็นเป็นสีเขียวเหลืองหรือเมื่อแก่จะสุกแดงน่ากินนั้นคือ การพองตัวของก้านดอก เป็นผลปลอมหรือผลเทียม ส่วนผลจริงนั้นคือ เมล็ดที่ติดอยู่ส่วนปลาย สีเทาหรือดำ เมื่อกะเทาะเอาเนื้อในสีขาว เอามาตากแห้งทอดหรืออบให้สุก ก็คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เราๆท่านๆ ชอบใช้เป็นของขบเคี้ยวยามว่าง

เดิมทีนั้น มะม่วงหิมพานต์ มีอยู่แถวทวีปอเมริกาใต้ คือถิ่นกำเนิดเขาอยู่ที่โน่น แถบประเทศบราซิล มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักล่าขยายอาณานิคม นำเอามะม่วงหิมพานต์ จากโน่นไปแพร่ขยายไปทั่ว ในสมัยศตวรรษที่ 16 โดยเฉพาะถิ่นที่เป็นเขตอิทธิพล เช่น ทวีปแอฟริกา ประเทศโมซัมบิก แทนซาเนีย เคนยา มาดากัสการ์ เข้ามาถึงเอเชีย ประเทศอินเดีย แถบฝั่งมลายู เข้าพม่ามาสู่เขตประเทศไทยที่จังหวัดระนอง

เชื่อว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซัมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำมาแพร่ขยาย จนมีปลูกกันทั่วประเทศ และมีอีกหลายท่านที่นำมะม่วงหิมพานต์เข้ามาปลูกในไทย เช่น พ.ศ. 2504 นายเธท ซีน จากองค์การ เอฟ เอ โอ. นำพันธุ์มาให้กรมกสิกรรม (สมัยนั้น) จำนวน 80 เมล็ด ปลูกที่สถานีทดลองไหมจังหวัดศรีสะเกษ และปลูกที่สถานีโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี ปี 2511 นายมาซูโอ ชาวญี่ปุ่น นำพันธุ์มะม่วงหิมพานต์จากอินเดีย อีก 20 สายพันธุ์ มาปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนฉวี จังหวัดชุมพร ปี 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์มาจากบราซิล ทดลองปลูกที่สถานีทดลองยางกระบุรี จังหวัดระนอง ปัจจุบันขยายไปทั่วประเทศไทย

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ผลยืนต้นเขตร้อน ประเภทไม้ผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ANACADIACEAE ชื่อสามัญว่า Cashew หรือ Cashew Nut “แคชชู” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษาอินเดียนแดงเผ่าทาปิ ในประเทศบราซิล เรียกว่า อาคาฮู แต่ชาวโปรตุเกสเรียกสั้นลงว่า คาฮู เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CASHEW มีชื่อภาษาไทยว่า มะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเรียก ยาร่วง เล็ดล่อ กาหยู มะม่วงสิงหล ฯลฯ

เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว เพียงแค่ 2 ปี ให้ผลผลิตนานหลายสิบปี ไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษา ปลูกทิ้งปลูกขว้างก็ทำได้ บางทีปลูกทิ้งไว้หัวไร่ปลายนา ข้างรั้วก็เก็บเมล็ดขายได้ เดี๋ยวนี้มีปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ต้องปลูกกันแบบนักเกษตรกรรมเขาทำกัน ก็คือ ต้องอิงหลักวิชาการเกษตรเข้าช่วย ไม่ใช่ว่าจะปลูกปล่อยทิ้งขว้าง เหมือนเมื่อก่อนปลูกเล่นๆ ไม่หวังได้ขึ้นได้ขาย แต่ถ้าเราปลูกเพื่อเป็นรายได้ละก็ต้องเพิ่มทักษะเข้าไปด้วย

พันธุ์มะม่วงหิมพานต์ มีมากกว่า 400 พันธุ์ ถ้าแยกตามสีผลก็มี สีเหลือง สีแดง สีครั่ง และสีแดงปนชมพู พันธุ์ที่ปลูกต้องให้ผลผลิตเมล็ดสูง ขนาดเมล็ดต้องใหญ่ มีน้ำหนักไม่เกิน 200 เมล็ด ต่อกิโลกรัม คุณภาพเมล็ดดี สีสวย เปอร์เซ็นต์กะเทาะดี ไม่น้อยกว่า 25% ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชได้ดี ผลปลอมมีขนาดเล็ก ติดช่อมาก เมล็ดเนื้อในแน่นไม่เป็นโพรง เปลือกบาง น้ำมันน้อย กะเทาะง่าย ทรงต้นเตี้ย ปลูกได้จำนวนต้นต่อไร่มาก พันธุ์ที่มีส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ ศรีสะเกษ 60-1 (ศก 5.0), 60-2 (ศก 5.10) พันธุ์ศิริชัย 25 พันธุ์อินทร์สมิต เป็นต้น

การปลูกสามารถปลูกด้วยเมล็ดแก่ที่แช่น้ำแล้วนำลงหยอดหลุมได้เลย สมัครเว็บไฮโล หรือเพาะเมล็ดลงถุงดินก่อน 2 เดือน ย้ายปลูก เมล็ดนั้นต้องคัดเอามาจากต้นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง การปลูกด้วยกิ่งตอน ต้องเป็นกิ่งที่ตอนมาจากต้นอายุ 5-6 ปีแล้ว กิ่งต้องสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน ปกติการตอนจะใช้ฮอร์โมน ไอบีเอ ความเข้มข้น 500 ppm. หรือจะปลูกด้วยกิ่งที่ติดตา หรือเสียบยอดใหม่ ระยะปลูก ระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6-7 เมตร จะปลูกเป็นตารางสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม ในระยะปลูกนี้ก็ได้

ถ้าปลูกแซมพืชอื่น ควรเว้นช่องหลุมปลูกเพื่อเอาผลผลิตพืชนั้นออก หลุมปลูก 50 เซนติเมตร ลึกพอประมาณ ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับหน้าดินกลบต้น การให้ปุ๋ยเคมี ใช้สูตรคำนวณแบบวิชาการ วัดจากโคนต้นขึ้นมา 90 เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม แต่ถ้าจะให้ดีเจาะดินไปตรวจวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหารพืชก่อนจะดีมาก

มะม่วงหิมพานต์ มีประโยชน์ สารประกอบที่มีอยู่ในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้แก่ น้ำ 5.9% โปรตีน 21.0% ไขมัน 47.0% คาร์โบไฮเดรต 22.0% แร่ธาตุ 2.4% แคลเซียม 0.5% ฟอสฟอรัส 0.4% เหล็ก 5.0 มิลลิกรัม แคโรทีน 100 i.u/100 กรัม

แต่ที่เปลือกหุ้มเมล็ดจะมีน้ำมันออกฤทธิ์เป็นกรดอย่างแรง คือกรดอานาคาร์ดิก 90% และกรดคาดอล 10% ถ้าถูกผิวหนังจะพองเป็นแผลเปื่อย แต่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำสีย้อม และใช้ทาผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆป้องกันปลวก มอด แมลง ผสมน้ำมันก๊าด หรือพาราฟินเหลว ราดแอ่งน้ำกำจัดลูกน้ำยุง เปลือกใช้เผาสุมไฟป้องกัน หรือไล่ยุงได้ เป็นยารักษาโรคผิวหนัง อุตสาหกรรมพลาสติก สี ผ้าเบรกรถ แผ่นคลัตช์รถ กระเบื้องยางปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า สามารถทนต่อกรด ด่าง ความร้อน และแรงเสียดสีได้ดี

เจ้าของสวน พออยู่พอกินบ้านมายิ้ม บางท่านอาจทราบได้จากสื่อ

พี่ประทีป เป็นเจ้าของสูตรพื้นที่น้อยแต่สร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างไม่ให้เดือดร้อน ในทุกตารางนิ้วสามารถสร้างงานสร้างเงินได้ไม่ต่างกัน เริ่มมาจากเมื่อเรียนจบใหม่ๆ พี่ประทีปเดินทางไปทำงานที่ตะวันออกกลาง หนักเอาเบาสู้ เพราะเป้าหมายเพื่อเก็บเงินและเก็บเกี่ยวความรู้และเทคโนโลยีของบ้านเมืองเขา นำกลับมาปรับใช้ในพื้นที่ตัวเอง พื้นที่ 1 ไร่เศษๆ กับการเริ่มต้นด้วยเงิน 70,000 บาท เพื่อสร้างบ้านสักหลัง โดยวางแผนไว้ว่าบ้านหลังนี้จะมีเทคโนโลยีของตะวันออกกลางมาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่

เริ่มจากปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียง วางระบบน้ำทิ้ง น้ำดี ให้ไหลไปยังจุดกักเก็บด้านหลังบ้าน น้ำอาบน้ำใช้ก็ส่งตรงไปตามท่อเข้าสู่ต้นไม้ทุกต้นที่ปลูกรองรับไว้ด้วยระบบน้ำใต้ดิน ส่วนน้ำที่เกิดจากการขับถ่ายจะเข้าสู่บ่อบำบัดใช้จุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลายและนำไปใช้ต่อไป ส่วนระบบธนาคารน้ำใต้ดินมีการวางจุดดักและสร้างระบบกรองไว้ เพื่อเติมน้ำดีลงในชั้นบาดาล

เงิน 70,000 เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วได้บ้านหนึ่งหลังเล็กๆ พี่ประทีปวางแผนใช้หลังคาให้เกิดประโยชน์ โดยการปลูกไม้เลื้อยคลุมหลังคา ทั้งฟัก แฟง ฟักข้าว ฟักทอง แตงไทย ปล่อยให้เลื้อยอยู่บนหลังคา ผลที่ได้จากการกระทำแบบนี้คือ มีรายได้จากการขายผลผลิต และบ้านก็เย็นมากขึ้น เพราะแดดส่องไม่ถึงตัวหลังคาบ้าน พี่ประทีป บอกว่า ในปัจจุบัน รายได้ต่อปีต่อ 1 ตารางเมตร บนหลังคาคือ 10,000 บาท จากการขายผลผลิตที่ปลูกคลุม และเมื่อมีรายได้ก็เก็บสะสมและนำมาต่อเติมบ้านจนกลายเป็นหลังใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน พื้นที่รอบบ้านเต็มไปด้วยพืชผักสวนครัว ส่วนหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปลา เลี้ยงไก่ไข่ และที่ว่างทั้งในห้องนอน ห้องต่างๆ จะมีชั้นเป็นลิ้นชักเลี้ยงกุ้งอยู่เต็มไปหมด เรียกได้ว่าสร้างงานสร้างเงินได้เต็มพื้นที่จริงๆ

นั่นเป็นเรื่องราวที่คนส่วนมากได้รับรู้เรื่องของพี่ประทีป แต่สำหรับครั้งนี้ผมนัดคุยกับพี่ประทีปในแง่ของคนทำไม้ คนปลูกป่าเศรษฐกิจมาก่อน รู้กันไหมว่า ต้นสักที่ปลูกไว้ที่บ้านมายิ้ม อายุเพียง 12 ปี ก็สามารถตัดมาใช้ทำประโยชน์หรือขายได้แล้ว ด้วยเทคนิคของคนปลูกป่ามาก่อนนั่นเอง น่าสนไหมล่ะ ทำง่ายๆ ไม่ยากด้วยนะ

เริ่มจากการขยายพันธุ์สัก ที่สวนนี้จะปลูกเฉพาะสักทองเท่านั้น สักขี้ควาย สักขี้หมูไม่ปลูก ถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสักที่ปลูกเป็นสักทอง พี่ประทีปแนะนำว่า ให้เด็ดใบมาสักนิด ใช้นิ้วขยี้ๆ สักพักจะเห็นเป็นสีออกแดงแบบน้ำหมาก นั่นแหละสักทองของแท้ นำมาปลูกแล้วได้ของดีแน่นอน การขยายพันธุ์สักทองของพี่ประทีป จะใช้การแกะตาชำ เริ่มจากใช้สิ่ว ค้อน ไปแกะตาสักทองขนาดเพิ่งโผล่ตา ตอกสิ่วให้ลงไปถึงเนื้อไม้ แล้วนำมาชำในกระบะทรายชื้นๆ ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถนำเอาไปชำถุง หรือปลูกลงแปลงได้แล้ว คราวนี้ระยะปลูก พี่ประทีป บอกว่า 4×4 หรือ 4×5 ก็พอ เพราะเรากำหนดอายุตัดไม้ได้

“ทำแบบนี้ติดแน่หรือพี่” “แน่นอนครับ แล้วขยายได้มากด้วยนะ จากตาเดียวเราอาจจะได้ 4-8 ต้นใหม่เลยนะ มันขยายได้เรื่อยๆ”

“เพิ่งรู้จริงๆ นะเนี่ย แล้วทำกับไม้อื่นได้ไหมครับ”

“เอาไปลองกันดูนะครับ ผมเองขยายแต่พันธุ์สักทองเท่านั้น”

“อัตรารอดจนได้ปลูกเยอะไหมพี่” “หากตอบว่า 100% ก็จะหาว่าโม้ เอาเป็นว่าเกินกว่า 80% แน่นอน รับรองได้”

ในธรรมชาติต้นไม้ทุกต้นจะโคนใหญ่และปลายเล็ก สูตรของคนปลูกป่าเช่นพี่ประทีป บอกว่า เราสามารถทำให้ไม้สักทองของเรามีขนาดโคนและปลายเท่ากันได้ โดยการกำหนดความยาวของแผ่นไม้ที่เราต้องการ เช่น 4 เมตร, 6 เมตร เมื่อกำหนดขนาดความยาวของไม้ได้แล้วก็วัดจากพื้นสูง ประมาณ 50 เซนติเมตร และวัดขึ้นไปตามขนาดที่เราต้องการ แล้วจึงตัดยอด ต้นไม้ก็จะสร้างยอดใหม่ขึ้นมา แต่ขนาดของไม้ที่เราจะได้โคนถึงปลายมีขนาดเท่ากัน ข้อดีของไม้ที่มีพูพอน เช่น สักทอง กระบก เราสามารถเพิ่มเนื้อไม้ได้โดยการถากเปลือก ส่วนไหนที่โบ๋ไม่เต็มก็ถากเปลือกออก ให้ไม้สร้างเนื้อเพิ่มขึ้นมา ทำแบบนี้ทุกต้น โดยการถากสลับกัน ปีนี้ถากทางเหนือ ใต้ ปีหน้าก็ถากทางตะวันตก ตะวันออก สลับกันเช่นนี้ เราก็จะได้ไม้ที่เติบโตได้ดี มีขนาดเท่ากัน ได้ราคา

การทำป่าเศรษฐกิจ จะต้องไปแจ้งต่อเกษตรอำเภอประจำท้องที่ ต้องมีค้อนประจำสวน มีเอกสารเป็นหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.3) และต้องมีหนังสือแสดงบัญชีรายการไม้ที่ได้มาจากสวนป่า สมมติว่าเมื่อเราแจ้งตัด พอตัดแล้วก็เอาค้อนตีตราที่ตอไม้ และเมื่อเราเลื่อยไม้เป็นแผ่นแล้วก็ต้องใช้ค้อนตีตราและตีเลขทุกแผ่น แล้วจึงนำมากรอกข้อมูลลงในหนังสือแสดงบัญชีรายการ หากทำครบเช่นนี้แล้วก็สามารถขนส่งหรือนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยถูกต้องตามกฎหมาย

“ถามจริงๆ นะพี่ ยากไหมครับสำหรับการจดแจ้งทำสวนป่าเศรษฐกิจ” “ไม่ยากหรอกครับ มีอะไรเข้าไปปรึกษาเกษตรอำเภอ จะได้รับคำแนะนำและบริการอย่างดีเลยเชียว”

“หากมีผู้อ่านสนใจอยากมาเรียนรู้แบบนี้ พี่พอจะแนะนำได้ไหม”

“มาเลยครับ โทร.มาก่อนก็จะดี จะได้เช็คว่าผมติดธุระที่ไหนไหม เพราะช่วงนี้เดินสายอบรมให้สมาชิกทั่วประเทศ” นี่แหละครับ อีกหนึ่งความรู้ที่ผมเพิ่งทราบมาจากผู้รู้ ขอบคุณครับพี่ ขอเวลาสักนิด รอผลว่าการที่ผมนำตาไม้มาชำตามสูตรพี่จะได้ผลเพียงไหน แล้วจะมาเล่าให้ฟังครับ

“ลุงอุบล การะเวก” อดีตข้าราชการ ได้ตัดสินใจลาออกก่อนเกษียณเมื่ออายุ 56 ปี เพื่อทำสวนส้มโอ บนที่ดินมรดกเนื้อที่ 8 ไร่ ของคุณพ่อ ในพื้นที่ ต.บางเตย อ.สามพราน จ.นครปฐม ปัจจุบัน สวนแห่งนี้นับเป็นสวนส้มโออินทรีย์แห่งแรกและหนึ่งเดียวในพื้นที่ตำบลบางเตย

ครอบครัวของลุงอุบลทำสวนส้มโอมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อลาออกจากราชการมาดูแลรับผิดชอบสวนส้มโอแห่งนี้อย่างเต็มตัวเมื่อ 8 ปีก่อน ต้นส้มโอที่ปลูกมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อนั้น มีหลายช่วงอายุ ทั้งต้นส้มโออายุ 20 ปี ไปจนถึงต้นส้มโออายุ 40-50 ปี ที่ยังให้ผลผลิตที่ดี มีรายได้เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว

ต่อมาปี 2554 เกิดปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง ต้นส้มโอเจอน้ำท่วมขังนานประมาณ 45 วัน ทำให้ต้นส้มโอยืนต้นตายหมดทั้งสวน ลุงอุบลต้องมาลงทุนทำสวนส้มโอใหม่อีกรอบ โดยหาซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอขาวน้ำผึ้งและทองดี อย่างละ 150 ต้น จากแหล่งพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและเชื่อถือได้

การปลูกดูแล

ลุงอุบล วัย 64 ปี เล่าให้ฟังว่า ผมหาซื้อกิ่งส้มโอ จำนวน 300 ต้น มาปลูกในแปลงยกร่อง ในระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 7-8 ศอก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเล็กน้อย หลังปลูกก็ดูแลให้น้ำต้นส้มโอตามปกติ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกส้มโอได้ 40 ต้น ที่นี่ดูแลจัดการสวนแบบผสมผสาน ภายในสวนปลูกแซมด้วยกล้วยหลากหลายพันธุ์ รวมทั้งมะนาว เพื่อให้มีผลผลิตขายได้ทั้งปี

ลุงอุบล นำต้นส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มาปลูกสลับแปลงกับต้นส้มโอพันธุ์ทองดี จนเต็มพื้นที่ 8 ไร่ เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวสวนส้มโอจำนวนมากที่เชื่อว่า การปลูกส้มโอคนละพันธุ์แบบสลับแปลงกันจะช่วยให้ผลส้มโอไร้เมล็ด ซึ่งลุงอุบลได้ข้อสรุปว่า ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มร้อย เพราะทุกวันนี้ ผลผลิตที่ได้ยังมีเมล็ดอยู่ แต่เจอผลส้มโอที่ไร้เมล็ดอยู่บ้าง

“ช่วงแรกที่ลงกิ่งตอนต้องใช้ปุ๋ยเคมีประคองให้ต้นแตกกิ่งอ่อนประมาณ 5-6 เดือน จนต้นเป็นพุ่มจึงหยุดใช้ปุ๋ยเคมี จากนั้นหันมาใช้น้ำหมักมูลสุกรคอยรดโคนต้น เพราะน้ำหมักมีธาตุอาหารของดินครบถ้วน คือ NPK พอๆ กับปุ๋ยเคมีที่โฆษณากัน นอกจากนี้จะช่วยปรับสภาพให้ดินเป็นกรดเป็นด่างดีขึ้น” ลุงอุบล กล่าว

การบริหารจัดการสวนส้มโออินทรีย์

ลุงอุบล หัวหน้ากลุ่มเกษตรอินทรีย์หอมเกร็ด เครือข่ายสามพรานโมเดล เล่าให้ฟังว่า สมัยรุ่นคุณพ่อ ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการดูแลสวนส้มโอ แต่เนื่องจากผมไม่ชอบสารเคมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงค่อยๆ ปรับลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง หันมาศึกษาเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ต่อมาผมได้รู้จักกับ มูลนิธิสังคมสุขใจ ที่ขับเคลื่อนโครงการสามพรานโมเดล ทำให้ได้รับองค์ความรู้ในเรื่องมาตรฐานการทำเกษตรแบบอินทรีย์แบบครบวงจรทำให้มีพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการในเรื่องต่างๆ อีกทั้งยังแนะนำช่องทางการตลาดให้อีกด้วย

“สามพรานโมเดล ไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ แต่เข้ามาสอนให้เรารู้จักการทำธุรกิจ การบริหารจัดการ ให้เราคำนวณต้นทุนเป็น เน้นการจดบันทึก ซึ่งทำให้รู้ต้นทุนที่แท้จริง และสามารถกำหนดราคาขายเองได้ กระบวนการเหล่านี้ยังสามารถคำนวณรายได้ล่วงหน้าที่ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากสำหรับเกษตรกร” ลุงอุบล กล่าว

หลังจากลุงอุบลหันมาทำสวนส้มโอระบบอินทรีย์พบว่า ตั้งแต่เลิกใช้ปุ๋ยเคมีสามารถ ลดต้นทุนได้ราว 80- 90% เพราะรายได้ส่วนใหญ่หมดไปกับการซื้อปุ๋ยเคมี แต่เมื่อเข้าสู่ระบบอินทรีย์ ต้นทุนเราแค่ซื้อมูลสัตว์ (สุกร) เพื่อมาหมักทำปุ๋ยคอก ส่วนสมุนไพรที่ทำน้ำหมักชีวภาพต่างๆ เราหาเองได้ซื้อก็ราคาไม่สูงนัก นอกจากนี้ มีค่าน้ำมันสำหรับเครื่องตัดหญ้า ค่าไฟไปสำหรับการให้น้ำทางสปริงเกลอร์ และอื่นๆ บ้างเท่าที่จำเป็น ส่วนเงินที่เหลือนั่น คือ กำไร

อย่าง น้ำสกัดจากมูลสุกร สารสกัดจากสะเดา ไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย สามารถทำได้เอง เช่น น้ำหมักมูลสุกร ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากเลย โดยใช้มูลสุกรแห้ง 1 กก.ต่อน้ำ 7 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน แล้วตักตะกอนขึ้นมาเก็บไปใส่โคนต้นส้มโอต่อ หลังจากนั้น ทิ้งน้ำหมักไว้ 1 เดือน เพื่อให้หมดก๊าซ จากนั้นนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อใช้รดโคนต้น 15 วัน รดครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ ยังใช้สารชีวภาพฉีดป้องกันเพลี้ยไฟแดง ซึ่งผสมรวมกันกับน้ำหมักมูลสุกรฉีดพ่นเพื่อประหยัดแรงงาน

หรือการทำเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อใช้ป้องกันรากเน่าโคนเน่าก็ทำได้ไม่ยาก โดยนำมาเพาะเชื้อเองให้อาหารเป็นรำข้าว จากเชื้อราเพียงน้อยนิดเมื่อได้รำข้าวจะแพร่กระจายไปได้เร็ว นำมาผสมน้ำฉีดจะฉีดก่อนเข้าช่วงหน้าฝน ผสมกับน้ำมูลสุกรเช่นกันรดไปทีเดียว

สารชีวภาพเหล่านี้ไม่ได้ทำให้แมลงตาย แต่จะทำหน้าที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธุ์ ที่คุมได้อยู่คือเพลี้ยไฟ ไรแดง สวนที่ใช้เคมี บางครั้งใช้ยาแล้วยังเอาไม่อยู่ ต้องยอมให้เพลี้ยไฟลงทั้งสวน ส่วนปัญหาโรคหนอนชอนใบใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ที่สำคัญการเลือกใช้ธรรมชาติมาดูแลต้นส้มโอ ตั้งแต่ต้นจะช่วยทำให้อายุของต้นยืนยาว

ทั้งนี้ ในสวนของลุงอุบล นอกจากส้มโอ ยังปลูกกล้วยหลากหลายพันธุ์ รวมทั้งมะนาว แซมไว้ระหว่างต้นส้มโอ เพื่อให้มีผลผลิตเหล่านี้ขายได้ทั้งปี และที่สำคัญการทำสวนอินทรีย์ลดต้นทุนเห็นได้ชัด เพราะจากที่ลุงบอกเล่าถึงวิธีการใช้ปุ๋ย ใช้สารชีวภาพต่างๆ มีค่าใช้จ่ายน้อยมาก แต่ที่ลงทุนมากเห็นจะเป็นแรงกาย และความเพียรมากกว่า

ข้อดีของการปลูกส้มโออินทรีย์

ลุงอุบล แจกแจงคุณลักษณะพิเศษของส้มโอที่ผลผลิตระบบอินทรีย์ให้ฟังว่า ส้มโออินทรีย์ เนื้อจะแห้งไม่ฉ่ำน้ำ แม้จะเก็บไว้หลายวัน ส่วนความหวานนั้นอาจจะน้อยกว่าเคมี แต่ไม่ต่างกันมากหวานแบบธรรมชาติ ทั้งนี้ส้มโอที่ใช้เคมีก่อนเก็บจะใส่ปุ๋ยเพิ่มความหวาน เท่ากับว่ากินความหวานจากปุ๋ยเคมีเข้าไป

โดยทั่วไป พ่อค้ามักซื้อส้มโออินทรีย์ในราคาเท่ากับส้มโอที่ปลูกโดยใช้สารเคมี โดยรับซื้อส้มโอพันธุ์ทองดี ในราคาหน้าสวน ลูกละ 40 บาท ขาวน้ำผึ้ง 100-120 บาท แต่ลุงอุบลส่งส้มโออินทรีย์ขายให้กับโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ ผ่านโครงการสามพรานโมเดล ได้ในราคาที่สูงกว่า

สำหรับส้มโอพันธุ์ทองดี ขายได้ลูกละ 90 บาท ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ขายได้ลูกละ 150 บาท เนื่องจากทางโรงแรมเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามาารถกำหนดราคาขายได้เองตามความเหมาะสมที่ทั้งสองฝ่ายรับได้

“ผมยืนยันได้ว่า การทำส้มโออินทรีย์ไม่ยากเลย เพียงแต่เกษตรกรยึดติดกับเคมีมากเกินไป ถ้าใจยอมที่จะเปลี่ยนก็สามารถเอาชนะสิ่งต่างๆ ได้ไม่ยาก เพียงแค่อดทนในช่วงระยะปรับเปลี่ยน หนึ่งถึงสองปีแรกเท่านั้นเอง พอปีที่สามเริ่มเห็นผลความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระบบนิเวศที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ส่วนผลผลิตที่ได้รูปร่างไม่ได้ต่างจากเคมีมากนัก ผิวสวย ผลโต รสชาติก็ดี” ลุงอุบล กล่าว

ปัจจุบัน สวนของลุงอุบล มีพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและพันธุ์ทองดีมีอายุ 5 ปีแล้ว ให้ผลผลิตแล้วกว่า 20-30% จากจำนวน 800 ต้น ที่ปลูกไว้ทั้งหมดเนื่องจากเจอปัญหาโรคโคนเน่าคุกคาม

“ช่วงปีแรก ต้นส้มโออาจให้ผลผลิตได้ไม่เยอะ หากต้นส้มโอโตเต็มที่ ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งให้จะผลผลิตประมาณ 50-60 ลูก/ต้น/ปี ส่วนพันธุ์ทองดี จะได้ประมาณ 80-100 ลูก/ต้น/ปี ซึ่งปกติส้มโอจะออกลูกครั้งแรกตอนอายุประมาณ 6 ปี และถ้าไม่มีปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าสามารถให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 20-30 ปี เลยทีเดียว” ลุงอุบล บอก

เมื่อตัวเองค้นพบความสุขที่แท้จริงในวัยเกษียณ ก็หวังอยากให้เพื่อนเกษตรกรที่ปลูกส้มโอ หันมาทำสวนส้มโอระบบอินทรีย์กันมากขึ้น อย่างน้อยช่วยลดต้นทุนในการผลิต อย่างมากคือเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเองและคนในครอบครัวรวมถึงผลพลอยได้ที่กระจายสู่ผู้บริโภคโดยไม่คิดหวงความรู้ หากใครสนใจอยากอยากเรียนรู้ เคล็ดลับความสำเร็จการทำสวนส้มโออินทรีย์ สามารถสอบถามและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ลุงอุบล การะเวก โทร. 089-134-8499 หรือ Facebook/สามพรานโมเดล

เมื่อก่อนเคยได้ยินว่า ที่ประเทศมาเลเซีย สามารถปลูกขนุนให้ออกผลภายในปีเดียวได้ แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อกันนัก

ต่อมาเรื่องนี้เกิดขึ้นกับบ้านเรา มีเกษตรกรนำขนุนจากประเทศมาเลเซียมาแกะกินเนื้อ จากนั้นนำเมล็ดลงเพาะที่จังหวัดจันทบุรี ให้น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก หลังปลูกได้ปีเดียวขนุนให้ผลผลิตกับเจ้าของได้ จึงมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งเผยแพร่ พร้อมกับตั้งชื่อว่า “ทองทวีโชค” ชื่ออื่นๆ ก็มีคือ “ปีเดียวทะวาย” และ “แปดเดือนทะวาย”

ขนุนปีเดียวทะวาย ออกดอกติดผลเร็ว บางครั้งขณะที่ต้นพันธุ์อยู่ในถุง ก็มีดอกให้เห็น

เมื่อนำปลูกลงดิน ดูแลพอสมควร ภายใน 1 ปี มีดอกแน่นอน แต่การไว้ผลนั้นควรดูทรงพุ่มเป็นสิ่งตัดสินใจด้วย หากต้นเล็กอยู่ แต่ไว้ผลน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม ต้นก็อาจจะโทรมได้ ขนุนปีเดียวทะวาย ออกผลผลิตต่อเนื่อง หากไว้ผลต่อต้นน้อย ผลมีขนาดใหญ่เหมือนกับขนุนพันธุ์อื่นๆ

เนื้อในขนุนปีเดียวทะวาย สีจำปา หากช่วงฝนอาจจะสีไม่เข้มนัก รสชาติหวาน แนวทางการผลิตขนุนปีเดียวทะวายให้ได้รสชาติดี เจ้าของควรไว้ผลช่วงปลายฝน คือเดือนกันยายน-ตุลาคม พอถึงเดือนธันวาคม ฝนหยุด ดินแห้ง เมื่อเก็บเกี่ยวขนุน เนื้อขนุนจะแห้ง รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม

ข้อควรระวังนั้น อย่าไว้ผลมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรม ทางที่ดีควรไว้ผลในตำแหน่งกิ่งใหญ่ หรือบริเวณลำต้น

ขนุนปีเดียวทะวาย เหมาะปลูกในพื้นที่ไม่กว้างนัก สามารถตัดแต่งทรงต้นให้อยู่ในระดับที่เจ้าของต้องการได้ การดูแลขนุนที่ปลูก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ส่วนปุ๋ยเพิ่มความหวาน ขนุนมีรสชาติหวานอยู่แล้ว

ต้นพันธุ์ขนุนปีเดียวทะวาย มีจำหน่ายตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป เช่น แถวถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตก เลยห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปทางบางใหญ่ อีกจุดหนึ่งฝั่งตะวันตกของถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เช่นกัน อยู่ตรงข้ามกับอู่รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ปัจจุบัน เรื่องของสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ การกำจัดขยะอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ เป็นต้น หากกำจัดไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น มลพิษทางน้ำและกลิ่น ปัญหาขยะล้นเมือง แหล่งเพาะเชื้อโรค แมลง ที่ส่งผลต่อมวลมนุษย์

วิธีการหนึ่งในการกำจัดขยะอินทรีย์คือ การใช้ไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะ ในทางตรงแล้ว ยังทำให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรหลายชนิด ได้เป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน และปุ๋ยน้ำหมักไส้เดือนดิน

ครูพิศมัย ลิ้มสมวงศ์ อดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการศึกษาด้านการเกษตรที่โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก หรือเกษตรบ้านกร่าง รุ่นที่ 8 ได้สอบบรรจุเป็นครูสอนในจังหวัดพิษณุโลกหลายปี ล่าสุดย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของตนเอง ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา

ในฐานะที่เป็นครูเกษตรจึงได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นจึงสร้างเรือนโรงเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดเล็กๆ ภายในโรงเรียน สอนเด็กนักเรียนตั้งแต่การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังน้ำสีดำ เลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก แบบ 4 ชั้น จนเด็กนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติและใช้ที่บ้านของตนเองได้

ในปี 2558 ครูพิศมัย เกษียณอายุราชการ จึงเริ่มเลี้ยงไส้เดือนบริเวณบ้าน และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนดินสำหรับนักเรียนและเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากบ้านและโรงเรียนที่เคยสอนนั้นอยู่ใกล้กัน

ครูพิศมัย เล่าต่อว่า ไส้เดือนดินมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรามี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์สีแดงออกม่วง ตัวขนาดเล็ก ชอบอาศัยผิวดินอยู่ในขยะอินทรีย์ มูลสัตว์ กินอาหารเก่ง ที่เรียกกันว่า “ขี้ตาแร่”

ไส้เดือนดินอีกชนิดหนึ่งลำตัวสีเทา มีขนาดใหญ่ ชอบอาศัยอยู่ใต้ดินค่อนข้างลึก พบได้ในสวนผลไม้ สนามหญ้า กินอาหารน้อย เมื่อเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ต้องการได้แล้วจึงจัดเตรียมสถานที่ ต้องไม่เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขัง อยู่ใกล้กับแหล่งขยะอินทรีย์ หรือใกล้แหล่งผลิตจำหน่ายผัก ผลไม้ หรือตลาดผักสด

“บ้านตนเองอยู่ใกล้ตลาดสดแม่โจ้ มีเศษผักที่แม่ค้าตัดและคัดใบผักออกทิ้ง จึงมีอาหารเลี้ยงไส้เดือนดินตลอดเวลา จากนั้นสร้างบ่อเลี้ยงด้วยปูนซีเมนต์แบบสี่เหลี่ยม ยาวตามขนาดของพื้นที่ นำดิน 4 ส่วน ผสมกับมูลวัว 1 ส่วน ผสมให้เข้ากัน เกลี่ยให้สม่ำเสมอ รดน้ำให้มีความชื้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน

จากนั้นจึงปล่อยไส้เดือนดิน พื้นที่ 1 ตารางเมตร สมัครแทงบอลสเต็ป จะใช้ไส้เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม ให้อาหารด้วยการนำเศษผักวาง หรือขุดหลุมไว้เป็นจุดๆ ไม่ควรเทกองรวมกันซึ่งจะเป็นสาเหตุให้แมลงวันมาวางไข่ได้ หรืออาจใช้ลวดตาข่าย ตะแกรงปิดด้านบนป้องกันแมลงวัน นก หนู เข้าไปกินอาหารในที่เลี้ยง” ครูพิศมัย กล่าว

ครูพิศมัย บอกว่า หลังจากที่ไส้เดือนดินขึ้นมากินอาหารแล้ว อาหารและดินบางส่วนจะถูกย่อยสลายภายในลำไส้ของไส้เดือน แล้วถ่ายออกมาเป็นมูล มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำปนน้ำตาล จะมีธาตุอาหารสูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก จึงเรียกว่า “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” จึงตักปุ๋ยที่อยู่บริเวณผิวหน้าดินเหล่านี้ออกไปตากแห้ง ร่อนให้แตก และเม็ดเท่าๆ กัน พร้อมที่จะนำไปใช้ได้

ในขณะเดียวกันภายในบ่อซีเมนต์หรือถังที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนดินก็จะเกิดน้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ที่เกิดจากการเน่าสลายของเศษขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน เรียกว่าน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลดำ ไม่มีกลิ่นเหม็น และมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืช ฮอร์โมนพืช และจุลินทรีย์หลายชนิด

ครูพิศมัย ให้คำแนะนำว่า การนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้ปลูกต้นไม้ ควรใช้ปุ๋ย 1 ส่วน ดินปลูก 3 ส่วน หากใช้บำรุงต้นไม้ ควรโรยรอบๆ โคนต้น ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้ หรือ 1-2 ช้อนโต๊ะ ในไม้กระถางทุก 15 วัน

หากนำไปใช้ในแปลงพืชผักพื้นที่ตารางเมตรละ 1 กิโลกรัม ใส่ในช่วงปรับปรุงดินก่อนปลูก จากนั้นใส่มูลไส้เดือนดินทุก 15 วัน จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

หากนำไปใช้กับไม้กระถาง ไม้ใบ ไม้ดอก ใช้ 2-4 ช้อนโต๊ะ ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของกระถาง ใส่ทุก 15 วัน อาจนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า เพาะเมล็ด โดยไม่ต้องผสมดินเลยก็ได้

ทั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์แสดงและจำหน่าย ได้แก่ พันธุ์ไส้เดือนดินทั้ง 2 สายพันธุ์ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน

พัฒนาการของผลเงาะตั้งแต่ดอกบาน ติดผล จนเก็บผลได้ ใช้เวลา

ช่วงระยะเวลา 3 เดือน ของการพัฒนาผล การดูแล นอกจากเรื่องน้ำแล้ว ก็จะให้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ครึ่งเดือนต่อครั้ง และสุดท้ายเป็นปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ผสมปุ๋ยยูเรีย เพื่อให้เงาะมีผลใหญ่

“โดยทั่วไป ปุ๋ยสูตร 8-24-24 จะใส่กันช่วงก่อนออกดอก แต่ผมปรับมาใช้ช่วงนี้ เพราะใส่ไปแล้วเห็นว่าเงาะให้ผลที่ใหญ่มาก” ส่วนฮอร์โมนทุกชนิดไม่ได้ใช้เลยแม้แต่น้อย

ทำเงาะช่อสั้นมากกว่าเงาะช่อยาว

คุณบรรจง กล่าวว่า ตนเองมีความตั้งใจที่จะทำเงาะช่อสั้นมากกว่าเงาะช่อยาว พยายามทำให้ดอกเงาะมีความสมบูรณ์ มีดอกใหญ่ ขาวใสเปล่งปลั่ง จะติดผลดี ผลสมบูรณ์ ผลใหญ่ เงาะช่อสั้นแต่ก็ไม่สั้นจนเกินไป ซึ่งแม้จะได้จำนวนผลต่อช่อน้อยกว่าเงาะช่อยาว แต่เงาะช่อสั้นติดผลเร็ว ติดผลง่าย ต้องการให้ติดผลที่โคนช่อดอกมากกว่าปลายช่อดอก ถ้าติดผลแล้ว ฟันธงว่าติดแน่นอน ก็รอดูการพัฒนาของผลจะเร็วมาก แม้ผลเงาะที่มีอายุ เดือนที่ 1, 2 จะมีร่วงบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะแต่ละช่อติดผลเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดแล้ว ต้องการให้เงาะติดผลเพียงช่อละ 7-8 ผล ก็เพียงพอแล้ว

“ผมใช้การบริหารจัดการน้ำเป็นหลักครับ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ ธรรมชาติของเงาะ ประสบการณ์ของเกษตรกรแต่ละคนนะครับ ว่าตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งเงาะ จนเงาะแตกใบอ่อน 2-3 ชุดใบ ช่วงเงาะออกดอก ติดผล พัฒนาการของผล จนถึงเก็บผล การให้น้ำเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ว่าจะให้น้ำแต่ละช่วงกี่มากน้อย ให้น้ำกันเป็นนาทีหรือชั่วโมงเลยทีเดียว ตามที่ต้นเงาะจำเป็นต้องนำน้ำไปใช้ ในการบำรุงต้น ใบ ดอก ต้องคอยสังเกตอาการการตอบสนองของต้นเงาะด้วย แต่บางปีก็มีตัวแปรในเรื่องของลมฟ้าอากาศ เพราะพื้นที่แห่งนี้ผลิตเงาะได้ยากกว่าแถบตะวันออก สภาพอากาศร้อนและแล้งที่ยาวนานกว่า”

อย่างที่ คุณบรรจง กล่าวครับ เท่าที่สนทนากัน บ่งบอกถึงว่า เกษตรกรอย่างคุณบรรจงได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมอย่างดีมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำ วางท่อใต้ดิน มีหัวสปริงเกลอร์เป็นจุดๆ อย่างเป็นระเบียบงามตา แผนผังของแปลงปลูกดูสะอาด แม้แต่การปลูกต้นเงาะตัวผู้สลับกับต้นเงาะสมบูรณ์เพศก็เป็นสัดส่วน อัตรา 1:10

เก็บผลเงาะ ต้องดูตลาดควบคู่กันไป

ผลเงาะที่สุกพร้อมเก็บได้ คุณบรรจง กล่าวว่า จากประสบการณ์จะใช้การสังเกตสีของผลและสีของขนเงาะ ผิวเปลือกเงาะจะออกสีแดงๆ ขณะที่โคนขนเงาะสีแดง ปลายขนสีเขียว จะได้เนื้อที่กรอบอร่อย หรือเรียกว่าเงาะ 3 สี เงาะที่นี่ผลกลม ผลคล้ายๆ กับเงาะนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี

จะเก็บเงาะช่วงเวลาใด ดูตลาดเงาะว่าจังหวัดใดจะมีเงาะออกมาสู่ตลาด จะติดตามตลาดจันทบุรีเป็นหลัก จะไม่ให้ผลผลิตออกพร้อมกับเงาะจันท์ ทุกๆ ปี ก็จะเก็บผลหลังจากเงาะจันท์หมดแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน จะทำให้ขายเงาะได้ราคาที่ดีขึ้น

คุณบรรจง กล่าวอีกว่า อย่างที่บอกตอนต้นว่า ปีนี้ทำเงาะยาก เพราะทุกปีเงาะติดผลดกมาตลอด ปีก่อนๆ เก็บผลได้ถึง 60 ตัน มาตลอด ได้ราคาดี อย่างน้อยก็เงินล้าน แต่ปีนี้คาดว่าผลผลิตเงาะจะลดลงมาก แต่ราคาปีนี้น่าจะดีกว่าปีก่อน ซึ่งราคาอยู่ที่ 25-30 บาท ต่อกิโลกรัม ผลผลิตที่นี่เก็บขายในท้องถิ่น และจะมีผู้ซื้อจากภายนอก เช่น จังหวัดพิษณุโลก แพร่ ติดต่อซื้อตั้งแต่ต้นฤดู ตนเองมีหน้าที่หาคนมาเก็บบรรจุลงลัง ผู้ซื้อจะมาชั่ง แล้วบรรทุกออกไปเอง

“การผลิตเงาะมีขั้นตอนย่อยๆ มากกว่าไม้ผลชนิดอื่น ที่นี่ ตลาดต้องการเงาะที่ลอนผลแล้วมากกว่าเงาะที่จัดเป็นช่อๆ จึงต้องใช้เวลาในการจัดการ”

ต้นทุนการผลิตเงาะ รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย
ทดแทนความเหนื่อยยาก

คุณบรรจง บอกว่า สวนเงาะของตนใช้เงินลงทุนสูงมาก ค่าใช้จ่ายหมดไปกับค่าปุ๋ยเคมีเสียเป็นส่วนใหญ่ ค่าแรงงานทั้งการจ้างและค่าแรงตนเอง ค่าบริหารจัดการน้ำ และค่าไฟฟ้า ค่าสารชีวภัณฑ์และสารเคมีเท่าที่จำเป็น รวมๆ กันแล้วหลายแสนบาท แต่เมื่อคำนวณรายได้ หักค่าใช้จ่าย ก็ยังพอมีเหลือ ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนลงแรง

“ผมต้องเดินดูภายในสวนเกือบทุกวัน คอยสังเกตพัฒนาการของเงาะตั้งแต่ปลายยอด ช่วงเริ่มผลิดอกเป็นกระเปาะไข่ปลาให้เห็น จนพัฒนาเป็นดอก ดอกบาน ติดผล จนเก็บผล ต้องใช้ความเพียร ความอดทนครับ แม้จะเหนื่อย เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แต่ก็ต้องทำครับ เพราะผมมีอาชีพเป็นเกษตรกร” คุณบรรจง กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

อ่านแล้วคงนึกภาพออกนะครับว่า ขั้นตอนการผลิตเงาะแต่ละฤดูกาลของเกษตรกรรายนี้ หรือรายอื่นๆ ต้องใช้ความขยัน อดทน ใช้สติปัญญาในการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้เงาะที่ดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในหนึ่งฤดูกาลที่ผลิตเงาะ ไม่ง่ายนะครับ ถ้าพวกเราผู้บริโภคต้องซื้อผลิตผลทางการเกษตร ถ้าไม่ต้องไปต่อรองราคาก็จะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรผู้ผลิตเป็นอย่างมากนะครับ

สนใจแวะชม ชิม ช็อปเงาะ ที่สวนของ คุณบรรจง สำราญรื่น บ้านปากจอก เดินทางไปไม่ยากครับ จากอำเภอเด่นชัยจะไปจังหวัดลำปาง ขับรถข้ามสะพานแม่น้ำยม เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร คุณบรรจง ยินดีต้อนรับ

มะม่วงลูกพลับทอง ชื่อฟังเป็นชื่อไทย ซึ่งก็น่าจะเป็นมะม่วงของไทย แต่มะม่วงลูกพลับทองไม่ใช่มะม่วงดั้งเดิมหรือมะม่วงโบราณ หรือเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่ของไทย มะม่วงลูกพลับทองเป็นมะม่วงสายพันธุ์ใหม่อีกสายพันธุ์หนึ่งของไต้หวันที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย

ปัจจุบัน มีมะม่วงจากไต้หวันอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 20 สายพันธุ์ บางสายพันธุ์ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมักเป็นสายพันธุ์ที่มีผลผิวสวยงามสะดุดตา (สีแดง) ผลมีขนาดใหญ่ และมีรสชาติดี แต่บางสายพันธุ์กลับไม่ได้รับความนิยม เพราะมีคุณสมบัติไม่ดีพอ ไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด เช่น ผิวสีไม่สวย รสชาติไม่ดี มีเสี้ยนมาก เปลือกบาง ผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นขี้ไต้ เก็บไม่ได้นาน เน่าเสียง่าย และไม่เหมาะที่จะปลูกเพื่อการค้า เป็นต้น

ดังนั้น สายพันธุ์เหล่านี้จึงไม่ค่อยมีการทำกิ่งออกมาจำหน่าย แต่สำหรับมะม่วงลูกพลับทองแม้ว่าขาดคุณสมบัติที่ดีของมะม่วงไปบางอย่าง แต่ก็มีคุณสมบัติอีกอย่างที่โดดเด่นคือ มีรูปทรงผลที่แตกต่างจากผลมะม่วงอื่นๆ จึงเป็นการขายความแปลกใหม่ให้กับผู้ชอบสะสมพันธุ์มะม่วงและนักสะสมพรรณไม้แปลกใหม่เสียมากกว่าที่จะหวังผลกับการปลูกเพื่อการค้า

ชื่อของมะม่วงลูกพลับทองนั้น ที่ต้องตั้งชื่อเป็นภาษาไทยก็เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก โดยยังคงความหมายเดิมไว้ไม่ได้ผิดไปจากชื่อเดิม มะม่วงลูกพลับทอง (Gold persimmon mango) แปลตรงมาจาก คำว่า “หวางจินซื่อจื่อ” (黃金柿子芒果 Huángjīnshìzi) ซึ่งออกเสียงเรียกยาก บางคนจึงอ่านเป็น “หวงจินซื่อจื่อ” คำว่า หวาง หมายถึง สีเหลือง ชื่อ “หวางจินซื่อจื่อ” ถ้าคงความหมายเดิมให้เต็ม น่าจะเป็น “มะม่วงลูกพลับสีเหลืองทอง” หรือ “มะม่วงลูกพลับสีเหลืองดั่งทอง” ทำนองนั้น

ถ้าให้คนไทยตั้งชื่อก็จะเปรียบมะม่วงนี้เหมือนกับลูกจันทน์ อาจตั้งชื่อเป็น มะม่วงลูกจันทน์ ก็ได้ แต่ที่ไต้หวันไม่มีลูกจันทน์ให้เปรียบเทียบ ที่นั่นมีแต่ลูกพลับ ลูกท้อ จึงตั้งชื่อให้สอดคล้องรูปพรรณสัณฐานของมัน เหมือนกับลูกพลับมากกว่าเป็น มะม่วงลูกพลับทอง

ส่วน คำว่า “ซื่อจื่อ” หมายถึง ลูกพลับ คนไทยชอบเรียกให้ง่ายปาก เมื่อเรียกสั้นๆ อาจจะเป็น “มะม่วงลูกพลับ” เหมือนกับ “มะม่วงมะพร้าว” มีชื่อเต็มของมันว่า “มะม่วงมะพร้าวปากีสถาน” (Pakistan coconut mango) คนเรียกกันแต่ “มะม่วงมะพร้าว” จนเป็นที่เข้าใจกัน เพราะมีผลใหญ่ป้อมยาว ขนาดเท่าๆ กับมะพร้าวน้ำหอม รับประทานดิบเนื้อกรอบ รสชาติมันหวาน มะม่วงมะพร้าวกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของชาวสวนมะม่วงบางกลุ่ม เนื่องจากมีผลใหญ่ รสชาติดี

มะม่วงลูกพลับทอง มะม่วงสายพันธุ์ใหม่ของไต้หวันนี้ ไม่ทราบแหล่งที่มาของสายพันธุ์ว่าได้มีการพัฒนาหรือการปรับปรุงพันธุ์มาจากมะม่วงพันธุ์ใดบ้าง หรือเป็นพันธุ์มะม่วงที่นำเข้ามาจากประเทศอื่น แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ เหมือนกับผลไม้บางชนิด มะม่วงลูกพลับทองนี้ชาวไต้หวันนิยมซื้อผลไปเป็นของฝากหรือใช้รับรองแขกที่มาเยือนที่บ้าน หรือแนะนำให้เพื่อนรู้จักในทางอินเตอร์เน็ต

ผลของมะม่วงลูกพลับทอง มันไม่ได้แบนเป็นจานแบนๆ เหมือนลูกพลับ ดังกับชื่อ มะม่วงลูกพลับทอง จัดเป็นมะม่วงที่มีผลขนาดเล็ก ผลป้อมกลม ที่ส่วนหัวใหญ่ ส่วนก้นปลายงอนเล็กน้อย ส่วนปลายสุดไม่แหลม มีผลขนาดพอเหมาะกับการรับประทานคนเดียวได้หมดผล ดูเผินๆ มีส่วนคล้ายกับมะม่วงแอปเปิ้ลหรือมะม่วงอาร์ทูอีทูหรือมะม่วงตลับนาค จะต่างกันที่ขนาด เพราะขนาดของมะม่วงลูกพลับทองเล็กกว่ามะม่วงดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีมะม่วงผลป้อมกลมในลักษณะเดียวกันมีอีกหลายพันธุ์ เช่น มะม่วงแอปเปิ้ลของอินโดนีเซีย (Apel mangga) ผลป้อมกลมแต่ใหญ่กว่า หรือ มะม่วงไข่ของเขมร (ซวายปวงเมือน) ที่มีผลเล็กกลมป้อมเนื้อเหลืองและรสชาติมัน มะม่วงส่วนใหญ่มีทรงผลส่วนมาก หรือมีรูปทรงผลแบนยาวหรือผลป้อม

ผลของมะม่วงลูกพลับทองเมื่อมองจากด้านบนลงมาผลป้อมค่อนข้างกลม เมื่อมองด้านข้างทั่วไปผลป้อมค่อนข้างกลมคล้ายลูกท้อและลูกเซียนท้อมากกว่าจะเหมือนลูกพลับหรือลูกจันทน์ ลำต้นมะม่วงลูกพลับทอง มีลำต้นตรง ทรงพุ่มต้นค่อนข้างโปร่ง กิ่งก้านแตกแผ่ไม่ทอดเลื้อย เปลือกลำต้นตอนอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา กิ่งก้านยอดที่ยังอ่อนอยู่เป็นสีชมพูเรื่อๆ เมื่อโน้มงอกิ่ง กิ่งไม่เปราะหักง่าย กิ่งที่ไม่แก่สามารถดัดงอโค้งได้มาก

ใบมะม่วงลูกพลับทองเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน ที่บริเวณปลายกิ่งมักจะมีใบเกิดถี่ โดยทั่วไปใบมีขนาดเล็ก ใบเล็ก ไม่มีหูใบ ใบอ่อนมีสีม่วงอ่อนๆ อมชมพู เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ใบเรียวยาวผิวใบเป็นมัน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นบ้าง ใบห่อขึ้นเล็กน้อย เมื่อแก่ใบจะห่อมากขึ้นและระหว่างเส้นใบย่อยเป็นร่องใบลึก เส้นกลางใบเด่นชัดและมีเส้นใบย่อยไม่เกิน 30 คู่ ใบเล็กจะมีจำนวนเส้นใบน้อยกว่า 10 คู่ ขึ้นไป ใบอยู่ที่ด้านบนและส่วนยอดจะมีขนาดเล็กกว่ามาก ใบยาวเฉลี่ย 16 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร ส่วนใบที่เจริญสมบูรณ์ดีอยู่ด้านล่างมักมีขนาดใหญ่กว่า แต่ปรากฏเป็นส่วนน้อย โดยมีความยาวประมาณ 24-26 เซนติเมตร และกว้าง 5-6 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบแก่จะไม่มีกลิ่นเปรี้ยว ส่วนใบอ่อนขยี้แล้วมีกลิ่นหอมคล้ายมะม่วงมัน ใบมะม่วงลูกพลับทองจึงมีส่วนคล้ายกับใบมะม่วงตลับนาค

ดอกและช่อดอก ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือตาตามกิ่งช่อ แต่ละช่อจะมีดอกจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว ก้านช่อดอกมีสีแดง ก้านดอกสั้นมาก ดอกมีกลิ่นหอม ขั้วผลที่ช่อสั้น ติดผลดกมาก ช่อหนึ่งติดเป็นพวงหลายผล เมื่อยังผลเล็กก็เริ่มปรากฏเป็นผลกลม

ผลมะม่วงลูกพลับทอง ผลมีผิวเรียบ น้ำหนักของผล 400-500 กรัม ความยาวของผล ประมาณ 9 เซนติเมตร (วัดตามแนวดิ่ง) ความกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร (วัดตามแนวราบ) ที่ส่วนหัว (มองจากด้านบนลงมาผลค่อนข้างเป็นวงรี) วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 8 เซนติเมตร ผลที่ยังไม่แก่หรือผลดิบ ก้านช่อดอกเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนๆ ยางจากขั้วผลไม่มีกลิ่นเปรี้ยว ผลดิบมีรสเปรี้ยวแต่ก็เปรี้ยวไม่มากติดรสมันบ้างเล็กน้อย เนื้อแน่นกรอบ

ผลจะแก่ภายใน 5-6 เดือน หลังจากดอกบานหรือประมาณต้นเดือนมิถุนายนผลจะแก่เต็มที่ เมื่อผลสุกมีผิวผลสีเหลืองเหมือนกับขมิ้นหรือไพล ผลมีผิวสีสวยงามยิ่งประกอบกับผลมีขนาดเล็ก เมื่อวางในอุ้งมือมองดูงดงามน่ารัก การใช้ถุงห่อมีผลต่อสีผิว ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ใช้ถุงห่อผิวผลจะมีสีเขียว เมื่อแก่จึงปรากฏสีเหลืองที่แก้มและส่วนหัว เมื่อบ่มสุกมีสีเหลืองไม่เข้มมาก แต่เมื่อใช้ถุงคาร์บอนห่อจะให้ผิวสีเหลืองอร่าม ใช้เวลาบ่มสุก 4-5 วัน บ่มธรรมชาติห่อด้วยกระดาษ บ่มสุกแล้วมีสีเหลืองทองสวยงามอร่ามตาไม่ค่อยเห็นจุดดำเล็กๆ หรือต่อมน้ำมัน (oil gland) เด่นชัด หากใช้ถุงขาวห่อจะให้ผิวสีเขียวเข้ม ตอนแก่แก้มและหัวมีสีเหลืองเรื่อๆ บ่มสุกแล้วมีสีเหลืองอมเขียว สีผิวไม่เสมอกันทั่วทั้งผล เห็นจุดดำเล็กๆ หรือต่อมน้ำมันกระจายเห็นชัดโดยเฉพาะด้านที่โดนแดดส่อง

หลังจากปล่อยให้สุกต่ออีกหลายวันไว้ในตู้เย็น 1 สัปดาห์ เมื่อนำออกมาสีผิวจะเหลืองเข้มยิ่งขึ้นหรือมีสีเหลืองส้มสวยงามมาก คล้ายกับผิวเหลืองของมะพูดสุก โดยผลไม่เกิดแผลเน่าเป็นจุดดำของโรคแอนแทรคโนส ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนส ดังนั้น ความสวยงามของผิวผลขึ้นอยู่กับชนิดของถุงที่ใช้ห่อด้วย

ผลมีผิวบาง เนื้อสีเหลืองเข้มจัด หรือเหลืองขมิ้นสีเนื้อจะเหลืองเข้มกว่าสีผิว กลิ่นหอมพอประมาณ มีกลิ่นหอมคล้ายมะม่วงไทยที่มีรสหวานหรือมีกลิ่นหอมคล้ายน้ำหวานอ้อย แต่ทางไต้หวันบอกว่ามันมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นของลำไยหรือน้ำผึ้งจากดอกลำไย ซึ่งไม่ติดกลิ่นขี้ไต้เหมือนกับมะม่วงไต้หวันบางสายพันธุ์ เนื้อละเอียดเนียนฉ่ำน้ำ บีบอาจจะเละได้ง่าย มีเสี้ยนบ้างเล็กน้อย รสชาติอร่อย จัดเป็นมะม่วงที่มีความหวานมากพันธุ์หนึ่ง วัดระดับความหวานได้ระหว่าง 18-20 องศาบริกซ์ (น้ำมะม่วง ทิ้งไว้ข้ามคืน วัดได้ 20 องศาบริกซ์)

เมล็ดเล็กแบนป้อมโค้งไปตามรูปทรงของผลเล็กน้อย เปลือกชั้นนอกหุ้มเมล็ดแข็งค่อนข้างหนา เปลือกเมล็ดชั้นในเป็นเยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม น้ำหนักของเมล็ดระหว่าง 20-30 กรัม

ในการโฆษณาขายระบุว่า เป็นมะม่วงที่มีความต้านทานโรคสูง อัตราการเจริญเติบโตดี ลำต้นเจริญเติบโตเร็วและลำต้นจะแข็งแรงขึ้นตามอายุ

การมองเห็นมะม่วงเป็นผลแบนเหมือนลูกพลับหรือแบนแบบลูกจันทน์ หรือแบนเป็นมะเขือจาน ดังภาพที่ปรากฏในเว็บไซต์ของไต้หวันนั้น จะเป็นมะม่วงที่มีผลค่อนข้างแบน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมกล้อง ถ้าถ่ายภาพจากด้านบนลงมา จะมองเห็นมะม่วงมีผลแบนจริง เมื่อถ่ายด้านข้างจะไม่แบนเป็นแบบนั้น ดังนั้น ภาพที่ปรากฏทางเว็บไซต์จึงเป็นเทคนิคในการถ่ายภาพ เพื่อใช้ในการโฆษณาที่หวังผลทางการค้า

แต่ภาพส่วนใหญ่ที่ปรากฎอยู่นี้เป็นมะม่วงลูกพลับทองที่ให้ผลแล้วในประเทศไทย จึงถ่ายภาพได้หลายมุม บางมุมจึงมองเห็นเป็นผลแบนจริง เมื่อถ่ายด้านข้างก็ไม่ได้แบนมาก แต่มะม่วงลูกพลับทองก็เป็นมะม่วงที่ผลและสีแปลกแตกต่างจากมะม่วงที่มีผลกลมป้อมทั่วไป

อนึ่ง ต้องสร้างความเข้าใจกับผู้อ่านหรือชาวสวนมะม่วงเสียก่อนว่า การตั้งชื่อ มะม่วงลูกพลับทอง ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นมะม่วงที่มีผลแบนเหมือนลูกพลับ แต่ตั้งชื่อแปลตามความหมายเดิม สรุปก็คือ ทั้งรูปทรงของผลและรสชาติไม่สร้างความผิดหวังอย่างแน่นอน อีกไม่นานคงมีกิ่งพันธุ์ออกมาจำหน่าย ราคาน่าจะแพงอยู่เพราะเป็นของใหม่ มะม่วงลูกพลับทอง จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับชาวสวนมะม่วงได้หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคเป็นผู้กำหนด

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม มีการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ จะอย่างไรก็ตาม การเกษตรของเรามักเผชิญปัญหาภาวะฝนแล้ง และน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ จึงเกิดปัญหาตามมาหลายประการ ผมอยากทราบว่า รัฐบาลไทยมีแนวทางจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ในมุมมองของคุณหมอเกษตร มองอย่างไรและจะหาทางออกให้กับภาคการเกษตรของเราอย่างไร ขอข้อเสนอแนะด้วยครับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวผมเอง และผู้อ่านอีกจำนวนมาก ผมจึงถือโอกาสขอบคุณคุณหมอเกษตรมาเป็นการล่วงหน้า แล้วผมจะติดตามอ่านคอลัมน์หมอเกษตรต่อไปครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
สุรเดช แสงสุขอุดม
นครสวรรค์ เรื่องเกี่ยวกับสภาวะทางภูมิอากาศ ผมขอนำข้อมูลจากผลงานวิจัยของ ดร. สมพร อิศรานุรักษ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพแวดล้อมพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า ประเทศไทยในทุกๆ รอบ 10 ปี จะเกิดสภาวะแห้งแล้ง 4 ปี แล้งรุนแรง 2 ปี แล้งไม่รุนแรง 2 ปี น้ำท่วม 3 ปี และฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลเป็นปกติเพียง 3 ปีเท่านั้น โดยใช้จำนวนลมพายุดีเปรสชั่นเป็นตัวชี้วัด ดังนี้

ปีใดที่พายุดีเปรสชั่นพัดเข้ามาในประเทศไทย 3 ลูก ฝนฟ้าจะเป็นปกติ หากน้อยกว่า 3 ลูก เกิดภาวะแห้งแล้ง แต่หากมากกว่า 3 ลูก จะเกิดภาวะน้ำท่วม ยิ่งพัดเข้ามาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ความรุนแรงจากน้ำท่วมย่อมเกิดขึ้นทันที ตัวอย่างเมื่อปี พ.ศ. 2554 พายุดีเปรสชั่นพัดเข้ามามากถึง 5 ลูก ความเสียหายเกิดขึ้นย่อมเป็นที่ประจักษ์ ปัญหาน้ำท่วมรุนแรงที่สุดเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2485 จนทำให้ข้าวในที่ลุ่มภาคกลางสูญพันธุ์ไปแล้วก็มี หากนับเป็นวงจรก็จะอยู่ในรอบ 69 ปีพอดี ปัจจุบันนี้อาจมีการเบี่ยงเบนไปบ้าง เนื่องจากภาวะโลกร้อน แต่ธรรมชาติก็ยังคงดำรง ตราบใดที่น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกที่กว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นแหล่งกักเก็บและปลดปล่อยพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอไม่เสื่อมคลาย

กลับมามองภาคการผลิตการเกษตรของไทยเราบ้าง การบริหารจัดการน้ำของประเทศ ต้องกลับมาทบทวนกันครั้งยิ่งใหญ่ โดยนำข้อมูลที่มีอยู่มากมาย (Big Data) มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาระดมสมองร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างใหญ่ อย่างนี้ไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแน่นอน

มองประเด็นปัญหาในภาพรวมให้ชัดเจน แล้วจัดลำดับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับสาขาอาชีพทางการเกษตร เพื่อหาวิธีการแก้ไข ผมขออนุญาตนำข้อมูลระดับครัวเรือนมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

ข้าว มีพื้นที่เพาะปลูก 60.9 ล้านไร่ เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา จำนวน 3.7 ล้านครัวเรือน ได้ผลผลิตข้าวเปลือกนาปี 27 ล้านตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ 11.50 ล้านตันข้าวสาร และส่งออก 9.8 ล้านตันข้าวสาร (ข้อมูล ปี 2560, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ภาวะฝนแล้ง อาชีพการทำนาจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ในทางกายภาพและชีวภาพ ข้าว เป็นพืชที่ใช้น้ำเปลืองที่สุด แต่ตัวข้าวเองบริโภคน้ำจำนวนไม่มาก ที่สิ้นเปลืองมากคือ ใช้ในการรักษาอุณหภูมิในแปลงนา และที่สำคัญช่วยควบคุมปัญหาวัชพืช

ข้าวโพด พื้นที่เพาะปลูก 7.1 ล้านไร่ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 4.4 แสนครัวเรือน ผลผลิตรวม 4.6 ล้านตัน

มันสำปะหลัง พื้นที่เพาะปลูก 8.5 ล้านไร่ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 5.5 แสนครัวเรือน ผลผลิตรวม 32 ล้านตัน

อ้อย พื้นที่เพาะปลูก 9.5 ล้านไร่ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 3.3 แสนครัวเรือน ผลิตผลรวม 11 ล้านตัน

ยาง พื้นที่เปิดกรีด 18.8 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 4.4 ล้านตัน เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 1.4 ล้านครัวเรือน ปริมาณการส่งออกเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ปาล์มน้ำมัน พื้นที่ให้ผลผลิต 4.2 ล้านไร่ ต้องนำเข้า 1.8 แสนตัน

มะพร้าว พื้นที่เก็บเกี่ยวได้ 1.1 ล้านไร่ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2.6 แสนครัวเรือน

ลำไย พื้นที่เก็บผลผลิตได้ 1.0 ล้านไร่ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2.3 แสนครัวเรือน

มะม่วง เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2.1 ล้านครัวเรือน ผลผลิตรวม 3.1 ล้านตัน ส่งออก 7.1 หมื่นตัน และ กล้วยไม้ เกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 2.2 หมื่นครัวเรือน ผลผลิตรวม 5.0 หมื่นตัน ส่งออก 2.7 พันล้านบาท เป็นตัวอย่าง

ดังนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัคร UFABET ต้องนำตัวเลขข้างต้นมาวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดจากภาวะภัยแล้ง แล้วหาแนวทางและวิธีการชดเชยให้กับเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเสียหายอย่างถูกต้อง และโปร่งใส อย่าให้เกิดเช่นเดียวกับในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนี้ ต้องมีการอบรมวิธีการฟื้นฟูเกษตรกรผู้เสียหายอย่างเหมาะสมกับเกษตรกรในแต่ละสาขา ทั้งข้าว พืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ การประมง และปศุสัตว์ หากร่วมมือกันทุกองค์กรอย่างจริงจังและจริงใจ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะภัยแล้งจะทุเลาเบาบางลง รัฐบาลได้เครดิตไปเต็มๆ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอกับภาวะการครองชีพ และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าและเรื่อยมาถึงช่วงนี้ ไม่กี่วันที่ผ่านมา เรากำลังท้อใจกับพี่น้องชาวนาและเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง นาข้าวยืนตายอย่างไม่มีทางช่วยเหลือ หรือแหล่งน้ำประปาที่แห้งกรัง จนภาครัฐต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยดังข่าวที่นำเสนอกันมา ข่าวที่น่าวิตกที่สุดก็คือปริมาณน้ำที่เหลือในเขื่อนไม่ถึง 10% เป็นส่วนมาก ผ่านมาไม่กี่วัน ข่าวพายุโพดุลแวะเวียนเข้ามาเติมน้ำให้จนเกินปริมาณความต้องการ ทำเอาพื้นที่ภาคอีสานและทางภาคเหนือกลายเป็นผืนน้ำเกือบทั้งหมด

ยังไม่จบสิ้น ข่าวพายุเหล่งเหลงก็ขย่มหัวใจกันอีกครั้ง ก่อนที่ท่านอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาจะมาให้ข่าวว่าไม่เข้าไทยหรอก แต่ที่จะเข้าก็คือพายุโซนร้อนคาจิกิ ฟังคราแรกก็ดีใจกัน แต่พอฟังจนจบก็ใจห่อเหี่ยวไปเยอะ นาข้าวที่ก่อนนั้นยืนต้นตายเพราะแล้งก็ถูกน้ำหลากท่วมจมมิดมองไม่เห็นผืนดิน เมื่อยังจะมีน้ำมาอีกระลอกก็คงท่วมจมมิดไม่เห็นกระทั่งความหวังในผลผลิตจากผืนนา ทำนายกันได้ว่าฤดูกาลเก็บเกี่ยวปลายปีนี้ ราคาข้าวคงดีดตัวขึ้นไม่น้อยแน่นอน แต่ในความโชคร้ายก็มีข่าวดีมาเยือน นั่นคือทุกเขื่อนมีน้ำเติมเข้ามามากพอที่จะนำมาใช้งานได้ในภาคเกษตรอย่างสบาย ก็เพียงหวังว่าพี่น้องเกษตรกรจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้นะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวครับ

นอกจากแปลงสาธิตแล้ว ที่สวนลำไยแห่งนี้ก็ยังเป็นแปลงเรียนรู้

ของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่ได้รับการส่งเสริมจากหลายหน่วยงาน ทั้งเกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ สถานีพัฒนาที่ดิน สหกรณ์ จึงมีแปลงสาธิตผสมผสานทั้งพืชและสัตว์ คือประมงเลี้ยงปลา กุ้งก้ามกราม เป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
คุณสุธรรม ได้ให้ข้อคิดว่า “คนเข้มแข็ง แบ่งปัน/ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิกที่อ่อนแอ และเสียสละบางอย่างเพื่อกลุ่ม… คนอ่อนแอ ปรับปรุง พัฒนาตนเอง ยอมรับเทคโนโลยี-นวัตกรรมใหม่ๆ แทนประสบการณ์เดิมๆ”

จากหนึ่งเกษตรกรที่เข้มแข็ง
สู่เกษตรแบบแปลงใหญ่ที่เข้มแข็ง
ระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร และระดับพื้นที่ คือ สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นหน่วยงานส่งเสริม ด้วยความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร และภาคเอกชน วัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการสนับสนุนให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการร่วมกัน นำไปสู่การลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต มีภาคเอกชนเข้ามาส่งเสริมด้านการตลาด การวิจัย พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการเกษตร ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรมีเสถียรภาพมากขึ้น

คุณสุธรรม เป็นเกษตรกรต้นแบบผู้ปลูกลำไยนอกฤดู ที่อำเภอจอมทอง ได้ให้ข้อมูลว่า การเกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดู ได้เริ่มดำเนินการจริง เมื่อปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบันมีพื้นที่รวมกันเป็นแปลงใหญ่ 2,200 ไร่ จำนวนสมาชิก 250 คน คาบเกี่ยวพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่สอย และตำบลบ้านแปะ รวม 6 หมู่บ้าน เมื่อทางราชการได้เข้ามาชี้แจง ทำความเข้าใจกับเกษตรกร ในเรื่องการรวมกลุ่ม และรวมพื้นที่เป็นเกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดู ตนและเพื่อนๆ เกษตรกรก็ได้เข้าร่วม เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ร่วมกันบริหารกลุ่ม การตลาดและคุณภาพผลผลิตลำไย คุณสุธรรมเป็นเกษตรกรต้นแบบการผลิตลำไยนอกฤดู และใช้สวนลำไยเป็นแปลงตัวอย่าง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานแปลงใหญ่ ทั้งยังเป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ด้วย

การบริหารจัดการเกษตรแบบแปลงใหญ่ คุณสุธรรมให้รายละเอียดว่า คณะกรรมการแปลงใหญ่ ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 9 คน แบ่งหน้าที่กัน กรรมการ 1 คน รับผิดชอบดูแล 1 กลุ่ม หรือ 1 หมู่บ้าน ถ้ากลุ่มใดมีสมาชิกจำนวนมาก ก็จะมีกรรมการรับผิดชอบ 2 คน และแบ่งหน้าที่กันตามความรู้ ความสามารถ ความถนัดของกรรมการแต่ละคน ในการเข้าไปแนะนำส่งเสริมสมาชิก หน้าที่ของคณะกรรมการแปลงใหญ่
1. ประชุม ปกติจะประชุมกัน 2 เดือน ต่อครั้ง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วน หรือมีประเด็นที่ต้องนำไปชี้แจงแก่สมาชิก กรรมการต้องมาประชุมกันก่อน
2. ออกพื้นที่ดูแล แนะนำสมาชิกแปลงใหญ่ เช่น เก็บข้อมูลการราดสารว่าจะมีสมาชิกกี่ราย ผลผลิตคาดว่าจะได้เท่าไร ผลผลิตลำไยจะออกมาต่อเนื่องถึงเดือนใด
3. การจัดอบรมและการสาธิตด้านต่างๆ ฯลฯ ผู้จัดการแปลงใหญ่ ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด รับหน้าที่เป็นผู้จัดการแปลงใหญ่ ทุน มีการรวมทุนในรูปของหุ้น จากสมาชิกแปลงใหญ่ หุ้นละ 10 บาท แต่ละคนลงเงินค่าหุ้นได้แต่ไม่ต่ำกว่า 10 หุ้น ปัจจุบันมีเงินทุนดำเนินงาน 40,000 บาท

การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มาบริการให้กับสมาชิกแปลงใหญ่
ด้านเทคโนโลยี เกษตรแบบแปลงใหญ่ ได้รับเครื่องวัดสภาพอากาศ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้มา 1 เครื่อง เมื่อปีที่แล้ว ติดตั้งไว้ที่ หน้าที่ทำการเกษตรแปลงใหญ่ ใช้ประโยชน์ในการประเมินสภาพอากาศว่ามีปริมาณน้ำฝนกี่มากน้อย มีความชื้นในอากาศเท่าไร อุณหภูมิในอากาศเท่าไร รู้ทิศทางลม ก่อนที่สมาชิกจะราดสาร สมาชิกจะได้รับข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาชิกต้องประเมินความพร้อมว่า จะราดสารช่วงนั้นหรือไม่ คุณสุธรรม บอกว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ามีผลดีมาก เพราะทำให้สมาชิกได้รับรู้สภาพอากาศ มีอุณหภูมิร้อน เย็น ชื้น ถ้าร้อนก็จะราดสารไม่ได้ผล เพราะสมาชิกจะผลิตลำไยนอกฤดูเพียงอย่างเดียว

ด้านนวัตกรรม ต้นลำไยของสมาชิกแปลงใหญ่เป็นต้นที่สูง ใช้นวัตกรรมการตัดแต่งทรงเปิดกลาง และทรงพุ่มเตี้ย ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี แสงแดดส่องทะลุผ่านทรงพุ่มถึงโคนต้น สามารถลดการระบาดของโรคและแมลงได้ ลดต้นทุนค่าแรง ค่าไม้ค้ำยันกิ่ง ลดค่าปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ ง่ายต่อการเก็บผลผลิต สะดวกต่อการดูแล ปฏิบัติงานก็สะดวก พ่นปุ๋ยทางใบหรือพ่นสารชีวภัณฑ์ก็ง่าย ช่วยทำให้ลำต้นตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตที่จะราดได้ดี ออกดอกติดผลดก ช่วยลดพื้นที่ออกดอก จะทำให้ผลใหญ่ น้ำหนักดี

การรวบรวมผลผลิต คุณสุธรรม ยอมรับว่าการรวบรวมผลผลิตลำไยเมื่อแรกเริ่มก็พบปัญหาบ้าง ผลผลิตของสมาชิกแต่ละคนมีคุณภาพที่แตกต่างกัน จึงได้นำข้อมูลนี้มาถกกันในที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา แต่ปัจจุบันการรวบรวมผลผลิตได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย เมื่อมีระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ก็มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก ไม่ต้องต่างคนต่างขนกันไปขาย อาจได้ราคาที่แตกต่างกันสูงต่ำตามปริมาณและคุณภาพ เกษตรแบบแปลงใหญ่จึงเป็นจุดรวมผลผลิต ผู้รับซื้อทั้งจากภายในหรือนอกประเทศก็จะมารับ ณ จุดๆ เดียว ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 2 จุด คือแปลงใหญ่หลัก และแปลงใหญ่เครือข่าย

เมื่อปี พ.ศ. 2561 สหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด ได้เข้ามาช่วยหนุนเสริมด้านการตลาด โดยมอบหมายให้เกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นทั้งผู้ผลิตและรวบรวมผลผลิตลำไยจากสมาชิกแปลงใหญ่ แล้วส่งมอบให้แก่สหกรณ์ ซึ่งรวบรวมได้ 150 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือ 12,000 ตัน ส่งไปขายทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งกระทำในนามของสหกรณ์ทั้งหมด
และจากการดำเนินงานอย่างจริงจัง ของคณะกรรมการแปลงใหญ่ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สมาชิกสามารถขายลำไยนอกฤดูได้ในราคาที่เป็นธรรม ก็ด้วยการสนับสนุนและการให้ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการตลาดมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิตลำไย สำนักงานอยู่ริมทางหลวงสายจอมทอง-ฮอด ชื่อว่า ศูนย์รวบรวมผลผลิตลำไย จังหวัดเชียงใหม่ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด ร่วมกับ เจษฎากร

สนับสนุนโดย -กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนง.สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
-ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ จำกัด
-สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส เชียงใหม่ จำกัด
คุณสุธรรม คาดการณ์ว่าผลผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรแปลงใหญ่ ปี 2563 จะมีปริมาณมากช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เนื่องจากสมาชิกกำหนดปฏิทินการราดสารในเดือนมิถุนายน 2562 เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาอากาศร้อนและแล้งมาก ถึงราดสารไปลำไยก็ไม่ออกช่อดอก ต้องปรับเปลี่ยนปฏิทินการราดสาร และเมื่อสภาพอากาศเข้าที่เข้าทาง จึงราดสารในเวลาใกล้เคียงกัน ผลผลิตก็จะออกมาพร้อมกัน ก็ต้องอาศัยความร่วมมือในด้านการตลาด เพื่อการระบายผลผลิตลำไยของสมาชิกเป็นไปด้วยดี

ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน
การเกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดู
เกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดู อำเภอจอมทอง เริ่มดำเนินงานเมื่อปี พ.ศ. 2559 ผลสำเร็จที่วัดได้ในด้านการลดต้นทุนการผลิต ของสมาชิกโดยรวมได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ลดลงได้มากกว่าเป้าหมายที่ทางราชการกำหนดไว้ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนที่ลดลงได้มากก็เรื่องปุ๋ยเคมี มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ใช้เอง ทั้งของแปลงใหญ่และของสมาชิกรายคน เมื่อมีเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่วนราชการต่างๆ เข้ามาให้ความรู้ สมาชิกก็ไม่ต้องเดินทางไปนอกพื้นที่หรือไปอบรมไกลๆ แต่ที่นี่ใกล้บ้านเรือนของสมาชิก เดินทางไปมาก็สะดวก ลดปัญหาด้านการตลาด เพราะมีภาคเอกชนเข้ามาหนุนเสริมในการรวบรวมผลผลิตลำไย ทำให้สมาชิกได้ระบายผลผลิต และได้รับราคาที่เป็นธรรม ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเกษตรแบบแปลงใหญ่ไม่ส่งเสริมให้มีการเผาในพื้นที่เกษตร แต่ให้นำเศษวัสดุทางการเกษตรมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์

เนื่องจากเกษตรกรแต่ละคนมีความคิด ประสบการณ์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่แตกต่างกัน การใช้ปัจจัยการผลิตที่หลากหลายที่ใส่ลงไปในสวนลำไย ทั้งพื้นที่การเกษตรก็มีมากน้อยต่างกันไป ผลผลิตที่ได้ย่อมแตกต่างกันทั้งปริมาณและคุณภาพ บวกกับปัจจัยด้านลมฟ้าอากาศ และเป็นปัญหาต่อรายได้ของเกษตรกร ระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่… ถ้าเกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วม และทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ดังเช่นเกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดูของอำเภอจอมทอง ซึ่งคุณสุธรรมเป็นประธานแปลงใหญ่ ที่ได้รับการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

“เกษตรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดูอำเภอจอมทอง เป็นผลสำเร็จในการบริหารจัดการภาคการเกษตร สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการตลาด การเรียนรู้การบริหารงานกลุ่มของเกษตรกร และสุดท้ายเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น” เกษตรกรดีเด่น GAP กล่าว
คุณสุธรรม อ๊อดต่อกัน บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 4 บ้านใหม่สารภี ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 095-234-5444 ท่านผู้อ่านสามารถติดต่อพูดคุยกันได้นะครับ คุณสุธรรมจะให้รายละเอียดนอกเหนือจากบทความนี้ครับ

จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 6,759,909 ไร่ แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน ครัวเรือนเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก มีจำนวน 101,314 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 29 ของครัวเรือนประชากรทั้งจังหวัด โดยอำเภอชาติตระการ มีสัดส่วนครัวเรือนเกษตรกรต่อครัวเรือนประชากรอำเภอสูงสุดที่ร้อยละ 52 และอำเภอเมืองพิษณุโลก มีสัดส่วนครัวเรือนเกษตรกรต่อครัวเรือนประชากรของอำเภอต่ำสุดที่ร้อยละ 8 แต่หากพิจารณาถึงอำเภอที่มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด อยู่ที่อำเภอวังทอง มีครัวเรือนเกษตรกร 16,457 ครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.24 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งจังหวัด ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวนครัวเรือนเกษตรกร ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัด

แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย ข้าวนาปีและนาปรัง ที่อำเภอพรหมพิราม บางระกำ เมือง วังทอง และบางกระทุ่ม อ้อยโรงงาน ที่อำเภอบางระกำ พรหมพิราม และบางกระทุ่ม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่อำเภอนครไทย วังทอง และชาติตระการ มะม่วง ที่อำเภอวังทอง เนินมะปราง และวัดโบสถ์ มันสำปะหลัง ที่อำเภอวัดโบสถ์ และวังทอง สับปะรด ที่อำเภอนครไทย และวังทอง ยางพารา ที่อำเภอนครไทย วังทอง ชาติตระการ และวัดโบสถ์ ปาล์มน้ำมัน ที่อำเภอนครไทย ชาติตระการ พรหมพิราม และวังทอง

คุณธวัชชัย สิทธิวีระกุล เกษตรจังหวัดพิษณุโลก ให้ข้อมูลว่า การทำเกษตรภายในจังหวัดพิษณุโลกมีน้ำที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ทำทั้งพืชไร่และพืชสวน มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการทำเกษตร ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรในจังหวัดจะเน้นเรื่องการรวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี 2559 โดยผลิตสินค้าแบบให้นำตลาด เพื่อให้สินค้าทางการเกษตรทั้งหมดเมื่อเกษตรกรผลิตออกมาแล้วสามารถจำหน่ายได้ทั้งหมด และได้ราคาดี ตลอดไปจนถึงการผลิตที่มีความปลอดภัยโดยลดการใช้สารเคมี ให้ตรงกับเทรนด์ที่ลูกค้าต้องการ คือบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย ส่วนตัวเกษตรกรก็สามารถพัฒนาการทำเกษตรของตนเองก้าวไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ได้ในอนาคต

“ตอนนี้จังหวัดของเราไม่ได้แต่เน้นการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายอย่างเดียว อย่างที่เราทราบกันว่า จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือน ในภาคเกษตรของเราก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรรองรับไว้ด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมวิถีการทำเกษตรในแบบต่างๆ เพื่อสัมผัสชีวิตของการเป็นเกษตรกรในรูปแบบที่เขาสนใจ ทางเกษตรกรในบางพื้นที่ก็ได้ทำสวนของตนเอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย จึงทำให้เรามีครบถ้วนทุกด้าน” คุณธวัชชัย กล่าว

นอกจากนี้ สินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิษณุโลก คุณธวัชชัย บอกว่า มีผลผลิตจากข้าว กข 43 ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตได้อย่างมีคุณภาพปลอดภัยจากสารเคมี โดยเกษตรกรใช้วิธีการรวมกลุ่มจึงทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของการผลิตได้ ทำให้ข้าวที่ผลิตในระบบอินทรีย์ไม่ไปปะปนกับข้าวที่ไม่ใช่อินทรีย์ ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าได้รับประทานข้าวที่ปลอดภัยอย่างแน่นอน

ปัจจุบันผลผลิตที่ได้รับความนิยมและเป็นของดีของจังหวัดคือแปลงปลูกกล้วย เพราะจังหวัดพิษณุโลกมีของดีอย่างการแปรรูปกล้วยต่างๆ เช่น กล้วยตาก สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้ไม่น้อยทีเดียว และกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงแปลงใหญ่สามารถผลิตมะม่วงคุณภาพ จึงทำให้เวลานี้จังหวัดพิษณุโลกมีสินค้าทางการเกษตรหลากหลายและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

“การผลิตสินค้าเกษตรของเราทั้งหมด เราก็จะเน้นย้ำและส่งเสริมอยู่เสมอว่า สินค้าทุกอย่างต้องได้มาตรฐานและปลอดภัย โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพต้องใส่ใจเป็นอันดับต้นๆ เพราะการตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้น สิ่งเหล่านี้เราเองก็จะย้ำให้กับเกษตรกรอยู่เสมอ เพื่อให้สินค้าติดตลาดและทำเป็นอาชีพที่ยั่งยืนส่งต่อไปยังลูกหลานของตนเองได้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ไม่ต้องเดินทางไปทำงานในเมืองใหญ่ๆ แต่สามารถอยู่กับบ้านเกิดและมีอาชีพและเกิดรายได้จากการทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง” คุณธวัชชัย กล่าว

สำหรับท่านใดหรือหน่วยงานใดที่สนใจในเรื่องของการทำการเกษตรในด้านต่างๆ ของจังหวัดพิษณุโลก สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัด ทางหน่วยงานจะติดต่อและประสานงานกับกลุ่มของงานเกษตรนั้นๆ ให้ผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้อย่างครบถ้วนในแบบที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

กรมการค้าภายในได้จัดทำ “ปฏิทินฤดูกาลสินค้าเกษตร” เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้แก่เกษตรกรผู้ประกอบการ ส่วนราชการ และผู้สนใจ ได้นำไปใช้ในการติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการผลิตการเตรียมพร้อมในการบริหารจัดการค้นปัจจัยการผลิตเงินทุนการตลาด ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารจัดการสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพ สามารถกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ทันต่อเหตุการณ์ โดยข้อมูลประกอบด้วย ช่วงฤดูกาลผลิต แหล่งผลิตสำคัญ ปริมาณผลผลิต ความต้องการใช้ การนำเข้า การส่งออก ราคาสินค้ากราฟแสดงความคลื่อนไหวของผลผลิตและราดโครงสร้างสินค้และมาตรการในการดูแลของภาครัฐ

กรมการค้าภายใน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ปฏิทินฤดูกาลสินค้าเกษตร ปี 2562” ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ข้อมูล โดยผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทาง ww.ditgo.t (คลังความรู้/E-book) สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ทาง wwwditgo.th (บริการ/กระดานข่าว) หรือกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการค้าภายใน โทร 0-2547-5616-7

ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง เป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่มีพื้นที่เป็นจำนวนมากของจังหวัดแพร่ ทั้งเงาะ ลองกอง มังคุด ฯลฯ และสมุนไพร รวมทั้งพริกไทย ไม้ผลส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่มีถิ่นฐานทางภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ที่ตำบลทุ่งแล้งมีเกษตรกรจากจังหวัดจันทบุรี ถึง 7 ครอบครัว มาทำเกษตร ปลูกไม้ผลได้คุณภาพดี

ครอบครัวของ คุณบรรจง สำราญรื่น อายุ 59 ปี ภูมิลำเนาเดิม จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบัน ตั้งหลักปักฐานอยู่ บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 4 บ้านปากจอกตะวันตก ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โทร. 081-862-6948 ภรรยา คุณสมบูรณ์ สำราญรื่น

มีความเป็นมาอย่างไร? จึงมาปักหมุดให้ครอบครัวปลูกเงาะที่บ้านปากจอก : ผู้เขียนตั้งคำถาม

คุณบรรจง เพ่งสายตาออกนอกบ้านมองไปที่สวนเงาะ นิ่งสักพัก แล้วเอ่ยปากเล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อ 20 ปีที่แล้ว น้องเขยได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว ตนได้พาครอบครัวมาเที่ยว ช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูหนาว อากาศดี เห็นมีพื้นที่ว่าง จึงติดต่อขอซื้อไว้ 26 ไร่ ลักษณะที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย เป็นที่ดอน ทำเลดี อยู่ติดแม่น้ำยม เริ่มปลูกเงาะเมื่อปี พ.ศ. 2542 จำนวน 470 ต้น ตั้งแต่นั้นจนบัดนี้พื้นที่ปลูกเงาะ และจำนวนต้นเงาะก็ยังเท่าเดิม เงาะทุกต้นจึงมีอายุ 18 ปีแล้ว

คุณบรรจง บอกว่า เงาะที่ตนเองปลูกเป็นเงาะสายพันธุ์โรงเรียน นำต้นพันธุ์มาจากจังหวัดจันทบุรีทั้งหมด แต่ด้วยลักษณะดิน ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่นี่แตกต่างจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี การดูแลตลอดช่วงฤดูกาลไม่สามารถนำวิธีการที่ใช้ในสวนเงาะจันท์มาใช้ที่นี่ได้ทั้งหมด ต้องปรับเปลี่ยนบางเรื่องให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ ผลที่ได้ลักษณะคุณภาพเงาะจึงแตกต่างกัน ผลผลิตเงาะที่นี่ต่อไร่ได้น้อยกว่าที่จังหวัดจันทบุรีอย่างแน่นอน แต่ลักษณะของผล รสชาติ เนื้อ

ผล – กลม เปลือกบาง ออกสีแดงปนเขียว สีของขนแตกต่างกัน ตามอายุของผล

เนื้อ – กรอบ แห้ง ล่อน เนื้อแห้งและหนา ถ้าเก็บผลช่วงที่เปลือกแดงอมเขียวจะได้เนื้อที่กรอบ อร่อย “ผลผลิตเงาะที่นี่จะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ขณะที่เงาะจันท์เดือนกรกฎาคมก็หมดทุกสวนแล้ว จากนั้นก็จะเป็นเงาะจากชุมพรออกตามมา ในเดือนสิงหาคม-กันยายน โน่น” คุณบรรจง กล่าว

การดูแลเงาะตลอดช่วงฤดูกาล

คุณบรรจง มีประสบการณ์ในการผลิตเงาะมายาวนาน แต่ละฤดูกาล วางแผนปฏิบัติการไม่ได้แตกต่างกัน เป็นคนช่างสังเกตจนรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของต้นเงาะ ดอก ผล เป็นอย่างดี

คุณบรรจง บอกว่า ขอเริ่มจากหลังเก็บผลเงาะบนต้นจนหมดแล้ว ก็ราวๆ เดือนสิงหาคม จะใส่ปุ๋ยเคมี ฉีดพ่นยาแต่ไม่มากนัก จากนั้นจะตัดแต่งกิ่งซึ่งมีความสำคัญมาก ตัดแต่งกิ่งพร้อมกันทั้งสวน กิ่งที่ต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่แห้ง กิ่งกระโดง กิ่งทับซ้อนออกให้หมดเพื่อให้โล่ง โปร่ง แดดส่องถึงโคนต้น จากนั้นตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม “การตัดแต่งกิ่งก็เป็นเรื่องสำคัญ เงาะที่สวนนี้ แม้จะมีอายุ 18 ปีแล้ว แต่ทรงพุ่มของเงาะก็ไม่สูง เฉลี่ยความสูงของแต่ละต้น 4 เมตร ซึ่งง่ายต่อการดูแล ดูพัฒนาการของใบ ดอก ผล และที่สำคัญเก็บผลเงาะก็ง่าย”

หลังการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม ช่วงเวลานั้นเป็นฤดูฝน จึงไม่ได้ให้น้ำ ปล่อยให้กิ่งก้านแตกใบอ่อน 3 ชุดใบ แต่ละชุดใบใช้เวลาราวๆ 1 เดือนเศษ เมื่อใบแก่ ชุดใบที่ 3 ก็จะให้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 เพื่อการเร่งต้น เร่งใบ ทำให้ใบใหญ่ และเกิดการสะสมพลังงาน เพราะเงาะที่มีความสมบูรณ์ให้ดูที่ปลายยอด จะมีความเปล่งปลั่ง อวบใหญ่

ส่วนบริเวณรอบโคนต้นเงาะนั้น เว็บ SBOBET พื้นดินต้องสะอาดอยู่เสมอ เห็นหน้าดินชัดเจน จากนั้นทิ้งช่วงให้เงาะเกิดสภาวะเครียด ดูจากอาการใบเหี่ยว เหลือง ร่วงหล่นเล็กน้อย ช่วงเวลานี้อยู่ราวๆ เดือนมกราคม ธรรมชาติของเงาะเมื่อมีสภาวะเครียด จะต้องแสดงอาการของการผลิดอกเพื่อการสืบพันธุ์ สังเกตที่ปลายยอดว่าจะเป็นใบหรือน่าจะเป็นดอก จะให้น้ำแต่น้อยๆไปก่อน รอดูผล 7 วัน ถ้าเห็นดอกชัดเจน จะกระทุ้งน้ำแล้วทิ้งระยะไปช่วงหนึ่งจึงเริ่มให้น้ำ นาน 30 นาที ต่อครั้ง ช่วงนี้ต้องบริหารจัดการน้ำให้ดี จะปรับการให้น้ำจากน้อยไปหามาก ถ้าให้น้ำมากจะกลายเป็นใบ แต่ช่วงดอกบานจะให้น้ำในปริมาณที่มาก เพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์ หากดอกเริ่มโรย จะลดการให้น้ำลงมาเหลือ 20 นาที จนถึงขณะกำลังขึ้นผล จนแน่ใจว่าติดผล และเป็นผลแล้ว จะเพิ่มการให้น้ำเป็น 50 นาที

หลังจากนั้น ก็จะให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการงดน้ำ แม้วันเก็บผลเงาะก็ยังให้น้ำอยู่ เนื่องจากจำนวนต้นเงาะมีถึง 470 ต้น ต้องใช้เวลาให้น้ำถึง 2 วัน จึงจะครบทุกต้น เปิดน้ำตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงฤดูร้อน

“ปีนี้ทำเงาะยากมากครับ พอติดดอก ดอกก็แห้ง เงาะ…ปกติจะปรับสภาพกับพื้นที่ ที่ปลูกอยู่ได้ทนที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส แต่ปีนี้อุณหภูมิสูง ร้อนจัดถึง 40 องศาเซลเซียส จึงต้องบริหารจัดการด้วยน้ำ เพื่อให้ผ่านพ้นความกดดันจากธรรมชาติให้ได้” คุณบรรจง ปรารภด้วยความกังวล

โรคและแมลงศัตรูของเงาะช่วงออกดอก

คุณบรรจง บอกว่า โรคแมลงที่ชาวสวนเงาะกลัวกันมากก็จะมีจำพวกหนอนคืบกินใบ เพลี้ยแป้ง ด้วงเจาะลำต้นและกิ่ง เจ้าตัวนี้พบบ่อย ต้องจ้างคนงานมากำจัด ส่วนโรคต่างๆ ทั้งโรคราแป้ง ราสีชมพู ที่นี่ไม่พบ เพราะมีการเตรียมต้นไว้อย่างดีตั้งแต่ต้นฤดู ทำให้ต้น กิ่ง สมบูรณ์ ใบเขียวมัน โรคก็จะไม่มารบกวน

เงาะที่ติดผลจะเป็นต้นเงาะดอกสมบูรณ์เพศ แต่เกสรตัวผู้มักจะไม่ค่อยแข็งแรงนัก

“ผมไม่ได้ใช้สาร NAA ในการผสมเกสร แต่ผมปลูกเงาะต้นตัวผู้ จำนวน 40 ต้น ปลูกสลับต้นเงาะ ต้นดอกสมบูรณ์เพศ ต้นเงาะตัวผู้จะถูกตัดแต่งกิ่งให้ต้นสูงชะลูดขึ้นไปเหนือต้นเงาะดอกสมบูรณ์เพศ ช่วงดอกบานจะมีผึ้ง ผมไม่ได้เลี้ยงผึ้ง แต่ไม่รู้มาจากแหล่งใด ถ้าเข้าไปใกล้ๆ ต้นเงาะ จะได้ยินเสียงผึ้งอื้ออึงเห็นมาตอมดอกเงาะ นี่แหละอาศัยผึ้งช่วยผสมเกสร เงาะจึงติดผลเล็กๆ เป็นจำนวนมาก” คุณบรรจงกล่าวว่านี่เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่ง

ช่วงแรกที่เริ่มปลูกกล้วยหอม ยังไม่มีประสบการณ์มากผลผลิต

ที่สวนจะออกช้ากว่าที่อื่นไป 3 เดือน กล้วยหอมของที่อื่นใช้เวลา 9 เดือน จะตกหวี แต่ที่สวนจะใช้เวลากว่าหนึ่งปีกล้วยถึงจะตกหวี ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะเธอไม่ได้มีเวลาเข้าไปดูสวนทุกวัน ปล่อยแบบตามมีตามเกิด แต่ช่วงหลังๆ เริ่มจริงจังมากขึ้น เริ่มมีการวางระบบน้ำที่สวน เป็นระบบน้ำอัตโนมัติ สามารถควบคุมการรดน้ำให้เป็นเวลาได้

ที่สวนจะตั้งเวลารดน้ำ วันละ 2 ครั้ง คือช่วงเช้ามืด ประมาณ ตี 4 และบ่าย 3 เพื่อที่ไม่ให้ไปเบียดเบียนการใช้น้ำของเกษตรกรในสวนอื่นๆ ช่วง ตี 4 สวนอื่นเขายังไม่ตื่น ก็ตั้งไว้ครึ่งชั่วโมง บ่าย 3 เปิดรดอีกครึ่งชั่วโมง ระบบจะทำงานแบบนี้ไปทุกวัน พอถึงวันเสาร์จะเข้าไปดูความเรียบร้อยว่าระบบยังใช้ได้อยู่ไหม มันก็เลยทำให้ควบคุมได้ดีขึ้น ผลผลิตจากเคยออกช้ากว่าที่อื่น ก็กลายเป็นออกเท่ากับที่อื่น นี่คือ การค่อยๆ ปรับเรียนรู้และพัฒนาจากคนที่ไม่มีพื้นฐานงานเกษตรเลย” พี่ปุ้ย พูดถึงประสบการณ์ปลูกกล้วย

การปลูกพืชแบบมือสมัครเล่น
แต่ผลลัพธ์ไม่เล่น
เจ้าของบอกว่า การปลูกกล้วยหอมที่สวนจะใช้วิธีการแยกหน่อจากต้นเดิม คือจะเสียเงินซื้อต้นพันธุ์แค่ครั้งแรกเท่านั้น หน่อพันธุ์กล้วยจะซื้อจากสวนข้างๆ หน่อละ 10 บาท ไม่ต้องมีค่าขนส่ง การปลูกกล้วยสำหรับพี่ปุ้ยจะเสียเงินลงทุนแค่ครั้งเดียว ปีต่อไปจะใช้วิธีแยกหน่อจากต้นเดิมมาปลูก โดยพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 300 ต้น

ระบบน้ำสปริงเกลอร์วางร่องกลางและติดตั้งการรดน้ำแบบอัตโนมัติ ต้นทุนการปลูกคือถูกมาก คิดเป็นตัวเลขกลมๆ 1 ไร่ ปลูกได้ 300 ต้น ลงทุนประมาณ 6,000 บาท ต่อไร่ ราคานี้คิดเผื่อคนที่ต้องซื้อต้นพันธุ์แพงกว่าต้นละ 10 บาทแล้ว ระบบน้ำถ้ามีเวลาเข้าสวนทุกวันก็ไม่ต้องทำ ใช้แรงงานตัวเองเดินรดได้ ทางที่ดีหากกำลังเริ่มทำ ไม่ควรจ้างแรงงาน เพราะรายรับจะไม่คุ้มรายจ่าย

การดูแล
เริ่มตั้งแต่การตัดหญ้าในสวน 8 ไร่ ตัดเดือนเว้นเดือน เพราะต้องการให้หน้าดินยังชุ่มชื้น ถ้าตัดเตียนแดดจะแรงทำให้ต้นไม่โต การใส่ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยคอก ดูตามช่วงเวลา ถ้าฝนตกจะเริ่มใส่ต้นไม้ ถ้าได้น้ำได้ปุ๋ยจะโตเร็ว เรื่องโรคแมลงมีเวลาดูน้อย แต่ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะที่สวนมีการป้องกันโดยการใช้ถุงห่อ ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ลงทุนครั้งเดียวสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ช่วยป้องกันแมลงวันทองป้องกันฝุ่นและยังทำให้ผิวของกล้วยสวยไม่มีรอยดำ ขายได้ราคาอีกด้วย

ทดลองทำกล้วยให้มีกลิ่นขนม

ทำแล้วแต่ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เคยใช้เทคนิคทำให้กล้วยมีกลิ่นเป็นช็อกโกแลต กลิ่นใบเตย และกลิ่นมะลิ โดยการรอช่วงจังหวะกล้วยออกหัวปลี แล้วกรีดที่ข้างต้น นำสำลีชุบกลิ่นที่ต้องการยัดเข้าไปเพื่อให้ต้นดูดซึมกลิ่น

ผลที่ได้คือ กล้วยมีกลิ่นตามที่ชุบสำลี แต่ยังมีความรู้สึกว่ากลิ่นยังไม่ออกมาชัดเจนเท่าที่ควรเนื่องจากเรามีการให้น้ำกล้วยตลอด น้ำอาจจะเข้าไปเจือจางกลิ่น แต่ถ้ามีเวลาจะทดลองทำอีกแน่นอน เพราะคิดว่านี่น่าจะเป็นจุดขายของสวนได้ในอนาคต

ผลผลิตที่ได้ เป็นที่น่าพอใจถ้าเทียบกับการดูแลแค่ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ผิวสวย ผลผลิตต่อต้น 1 เครือ มี 8 หวี น้ำหนัก 1.2-1.5 กิโลกรัม ต่อหวี ตัดแบ่งขายราคาถูก เพราะเก็บไว้ก็กินไม่หมด เราจะทำตามแนวคิดทีแรกว่า ปลูกไว้กินเมื่อเหลือจึงขาย พอเหลือจริงๆ เราก็นำมาขาย แต่ขายในราคาที่ถูก เพราะอยากให้เพื่อนบ้าน เพื่อนที่ทำงาน ได้กินผลไม้ปลอดสารในราคาที่ไม่แพง ส่วนกำไรได้ตั้งแต่เริ่มทำแล้ว ได้กินและได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวตามที่ตั้งใจไว้

อาชีพเป็นเกษตรกรบนวิถีชีวิตมนุษย์เงินเดือน
ให้ประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด
พี่ปุ้ย บอกว่า เธอมองว่าอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ยั่งยืน เกษตรเป็นอะไรที่ยั่งยืน ไม่เหมือนกับงานประจำที่วันหนึ่งอาจจะเจอปัญหาทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อบริษัท แต่ถ้าทำเกษตรอย่างน้อยทำให้มีกิน ถึงแม้จะไม่ทำเงินให้มหาศาล แต่ทำให้มีกินมีใช้ และแน่นอนว่าเมื่อไรที่ทำเต็มที่ จะมีเงินเหลือเก็บแน่นอน

ที่สำคัญเรากินอะไร เราก็ปลูกอันนั้น มันเป็นอะไรที่มั่นคงและทำให้เธอกับครอบครัวได้อยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เวลาแต่ละนาทีมีค่ามาก ลูกสนุกไปกับการปลูกต้นไม้ วิ่งเล่นในสวน พ่อกับแม่แค่ได้เดินดูสวนก็สบาย หน้าตาสดชื่นเมื่อครอบครัวมีความสุข เราก็มีความสุขตามไปด้วย

แนะนำสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อยากจะทำงานเกษตรควบคู่กับงานประจำไปด้วย ก็ทำได้ไม่ยากคือ

1. ห้ามอ้างเรื่องเวลา เพราะเวลาทุกคนมีเท่ากัน ถ้าอยากทำอย่าไปคิดว่าเวลาคืออุปสรรค อยากทำให้เริ่มทำเลย ถ้าทำแล้วสำเร็จ จะรู้สึกภูมิใจในตัวเองมาก

2. เริ่มจากทำอาชีพประจำให้มั่นคงก่อน อย่าสร้างหนี้สินเยอะ เพราะถ้ามีหนี้สินเยอะจะไปทำอย่างอื่นยาก เราจะถูกยึดติดว่าต้องทำงานใช้หนี้ไปก่อน แต่อย่างตัวเธอเองจริงๆ ก็มีหนี้ค่าบ้านที่ต้องผ่อนที่กรุงเทพฯ แต่คิดว่าทุกวันงานประจำที่ทำยังไปได้ดีและมั่นคง

ส่วนงานเกษตรวันหนึ่งที่คิดว่าจะเกษียณตัวเองไปดูแลแม่ ไปดูแลคนในครอบครัว ตรงนั้นเราถึงจะไปทำเต็มตัว แต่ระหว่างนั้นเราก็ต้องเจียดเงินเก็บเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินด้วย หรือเพื่อใช้ในการที่อยากซื้อที่ทำการเกษตรเพิ่ม เราจะมีพร้อม ถือว่ามีอาชีพเป็นเกษตรกรหลังเกษียนเจอกันแน่นอน พี่ปุ้ย กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับมนุษย์เงินเดือนอยากใช้เวลาว่างมาทำงานเกษตร สามารถโทร. แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ คุณอารีย์ นิลวดี (พี่ปุ้ย) ได้ที่เบอร์ 061-589-6446

ผักหวาน มีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่มขนาดกลาง ความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร ขึ้นไป เปลือกต้นมีลักษณะขรุขระ กิ่งที่ยังอ่อนจะมีลักษณะเป็นสีเขียวผิวเรียบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ผิวใบเกลี้ยงเรียบทั้งสองด้าน โดยนิยมนำใบอ่อนมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ซึ่งการขยายพันธุ์ของไม้ชนิดนี้นั้น นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง

จากความนิยมของตลาดที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ตลาดยังมีความต้องการไม้ชนิดนี้อย่างมาก เพราะบางฤดูกาลผลผลิตมีน้อย จึงส่งผลให้ราคาแพงตามไปด้วย เป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี

คุณนิมิตร อุ่นหลำ อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 4 ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ได้ปลูกผักหวานเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้มาหลายสิบปี โดยชาวบ้านในพื้นที่นี้ปลูกผักหวานเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสินค้าประจำอำเภอเลยก็ว่าได้ โดยในทุกปีจะมีเทศกาลผักหวานที่จัดขึ้น ให้ผู้ที่สนใจได้มาซื้อหาและชิมผักหวานของชุมชนในย่านนี้ได้ จึงเกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

คุณนิมิตร เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นเขาจบการศึกษาใหม่ๆ ได้ไปสมัครงานหลายบริษัท เพื่อรอเรียกตัวเข้าไปทำงานในช่วงนั้น โดยในระหว่างนั้นคุณนิมิตรก็ไม่ได้ปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงได้นำผักหวานมาทดลองปลูกกับคุณแม่ เพราะช่วงนั้นครอบครัวก็มีการทำเกษตรอยู่บ้าง จึงมองเห็นถึงโอกาสที่จะได้นำผักหวานมาปลูกอีกหนึ่งชนิด เพื่อเป็นสินค้าสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวในขณะนั้น

“อำเภอบ้านหมอนี่ ส่วนใหญ่จะมีการปลูกผักหวานกันมาก เพราะผักหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี จะสังเกตได้จากดินที่นี่จะค่อนข้างดำ ใครมาเห็นก็อิจฉา เพราะมันทำให้เห็นว่าที่นี่ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อนำผักหวานมาปลูกแล้ว จึงสามารถให้ผลผลิตที่ดี โดยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกเลย” คุณนิมิตร บอก

ต้นผักหวาน เน้นใช้แบบเพาะเมล็ด

ในขั้นตอนแรกก่อนที่จะนำต้นผักหวานมาลงปลูกภายในแปลงนั้น คุณนิมิตร บอกว่า จะเพาะเมล็ดผักหวานตามวิธีการให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะเมล็ดผักหวานเป็นพืชที่ค่อนข้างเพาะยาก หากทำไม่ถูกกรรมวิธี เมล็ดก็จะเน่าและไม่เกิดต้นอ่อนให้เห็น โดยส่วนใหญ่แล้วการเพาะจะต้องกะเทาะเปลือกออก และนำมาล้างทำความสะอาด จากนั้นผึ่งเมล็ดพันธุ์ให้แห้งในที่ร่ม 1-2 วัน

จากนั้นนำผ้าชุบน้ำให้เปียกมาคลุมลงบริเวณเมล็ดพันธุ์ 7-9 วัน พอผ่านเวลาช่วงนี้ไปเมล็ดจะเริ่มแตกออก แต่ก็ยังไม่มีต้นอ่อนให้เห็น จากนั้นนำเมล็ดที่แตกออกไปเพาะลงในถุงดำอีกครั้งหนึ่ง ผ่านไปไม่นานก็จะเริ่มเห็นต้นอ่อนงอกออกมาให้เห็นและนำไปเตรียมปลูกลงในแปลงปลูกต่อไป

โดยก้นหลุมที่จะนำต้นผักหวานปลูกนั้น คุณนิมิตร บอกว่า จะนำปุ๋ยคอกจำพวกขี้หมูมารองที่ก้นหลุมก่อน เพื่อให้บริเวณที่ปลูกมีความสมบูรณ์ โดยระยะก็ไม่ได้ตายตัว เน้นให้อยู่แบบป่าและมีร่มรำไร จากนั้นดูแลต่อไปประมาณ 2-3 ปี ต้นผักหวานก็จะสามารถให้ผลผลิตเก็บยอดขายได้

“ที่บ้านจะมีคอกหมูอยู่ ก็จะเอามูลตรงนั้นที่ปล่อยให้เก่า อย่างน้อยประมาณ 1 ปี มาใส่ปรับปรุงบำรุงดิน ปีละ 2 ครั้ง การปลูกผักหวานของที่นี่จะไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลย จะเน้นใส่แต่ปุ๋ยขี้หมูที่เราเลี้ยงเอง ส่วนเรื่องน้ำก็ไม่ต้องรดบ่อย อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือถ้าช่วงไหนร้อนมาก อาจจะรดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ก็ได้ เพราะผักหวานไม่ต้องการพื้นที่ให้แฉะมากจนเกินไป ดังนั้น พื้นที่ปลูกควรระบายในเรื่องน้ำให้ดี” คุณนิมิตร บอก

ในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชที่จะทำลายต้นผักหวาน คุณนิมิตร บอกว่า ตั้งแต่ปลูกมา 20 กว่าปี ยังไม่พบโรคระบาดหรือแมลงที่เข้ากัดกินจนเกิดความเสียหาย ถึงมีแมลงศัตรูพืชมากินยอดอ่อนบ้าง แต่ก็เป็นอัตราส่วนที่น้อย จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารกำจัดในการฉีดพ่น แต่ต้นผักหวานจะตายได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการโยกต้นมากเกินไป จะทำให้รากได้รับการกระทบกระเทือน ส่งผลให้ต้นตายได้

แต่ละช่วงฤดูกาล ผลผลิตมีมากน้อยไม่เท่ากัน

เนื่องจาก ผักหวาน เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตตามฤดูกาล ดังนั้น ใน 1 ปี ผลผลิตที่ได้จะมีไม่มากเท่ากับช่วงฤดูฝน จึงส่งผลให้ราคาที่ขายแต่ละช่วงฤดูกาลแตกต่างกันไปด้วย โดยในช่วงที่มีผลผลิตออกมาก ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50 บาท และช่วงที่ผลผลิตมีน้อย ส่งผลให้ราคาผักหวานสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 200 บาท เลยทีเดียว

“เนื่องจากที่บ้านปลูกมานานแล้ว ก็จะมีแม่ค้าที่รู้จักกัน มารับซื้อถึงที่สวน โดยเราจะเริ่มเก็บยอดผักหวานตั้งแต่ 6 โมงเช้า พอสายๆ ได้เวลาแม่ค้าเขาก็จะมารับซื้อ แต่ช่วงที่ผลผลิตมีน้อย บางครั้งการเก็บขายก็ไม่คุ้ม เราก็จะเอายอดบางส่วนที่พอมีอยู่ในแปลง มาแปรรูปเป็นส่วนผสมในขนม โดยผู้ที่คิดค้นขึ้นมาก็คือ น้องสาว นำยอดผักหวานมาผสมกับแป้ง ทำเป็นขนมเปี๊ยะแป้งเหนียวนุ่ม ในสูตรหวานน้อย ให้กับผู้ที่รักสุขภาพได้ทาน และมากด้วยคุณประโยชน์จากผักหวานเข้ามาเสริมด้วย” คุณนิมิตร บอกถึงเรื่องการตลาดและการแปรรูป

โดยขนมเปี๊ยะแป้งเหนียวนุ่ม ราคาขายส่งอยู่ที่ กล่องละ 70 บาท ซึ่งใน 1 กล่อง บรรจุประมาณ 10 ลูก ซึ่งผู้ที่สนใจอยากสั่งไปลองชิม ก็สามารถบริการส่งตรงถึงบ้านให้กับลูกค้าได้เช่นกัน ด้วยระบบการขนส่งในปัจจุบันที่สะดวกและง่ายในการจัดการ

ซึ่งการปลูกผักหวานจึงเป็นงานที่สามารถสร้างเงินเป็นอาชีพเสริมได้ จนคุณนิมิตร บอกว่า ถึงจะมีงานประจำที่ทำอยู่ก็ไม่เป็นอุปสรรค เพราะเขารักการทำเกษตรถึงจะมีงานประจำที่ต้องไปทำ ก็จะแบ่งเวลาให้ลงเพื่อมาทำการเกษตรอยู่เสมอๆ

“ผมมองว่าการเกษตรนี้ เป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือดผมมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะตั้งแต่จำความได้ ผมก็ชอบการอยู่ในป่าในดง ตามแบบเด็กต่างจังหวัดที่ชอบเล่นซน เลยทำให้ชินและมีความคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ ส่วนผู้ที่สนใจ แต่ยังไม่ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง สิ่งแรกที่จะบอก ว่าให้ทำการศึกษาก่อน โดยเรียนรู้จากผู้ที่เขาประสบผลสำเร็จแล้ว ว่าเขามีการทำอะไรบ้างที่ทำให้เขาได้ผลผลิตที่ดี ยิ่งเดี๋ยวนี้สิ่งเรียนรู้มีมากมาย หาได้ง่ายทั้งหนังสือและข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวช่วยที่ให้การทำเกษตรประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้นตามไปด้วย” คุณนิมิตร แนะนำ

ท่านใดที่สนใจเรื่องการปลูกผักหวาน หรืออยากจะลองชิมขนมเปี๊ยะแป้งเหนียวนุ่ม ก็สามารถติดต่อสอบถามกันได้ที่ คุณนิมิตร อุ่นหลำ หมายเลขโทรศัพท์ “ลำไย” เป็นไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจของอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อเกิดรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนลำไย เพียงเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติ จากเกษตรกรรายคนที่ต่างคนต่างผลิต ต่างคนต่างขาย และพื้นที่ปลูกลำไยมากน้อยรวมเป็นกลุ่มและร่วมกันทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร ต้องตามไปดู

ผู้เขียนได้เดินทางพร้อมกับ คุณวิลาศ กล่อมสุนทร อดีตประมงอำเภอจอมทอง ไปดูเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อนำเนื้อหาสาระดีๆ ของเกษตรกรแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดูมาให้ผู้อ่านได้รู้เรื่องราวการผลิตลำไยของเกษตรกรคนหนึ่ง ที่มีความเพียรและพัฒนาตนเองจนมีความเข้มแข็ง ประสบผลสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรม ได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเข้มแข็งแล้วก็ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ สู่เกษตรกรคนอื่นๆ ได้เกี่ยวก้อยร้อยพวงไปด้วยกันเป็นกลุ่ม และทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ น่าศึกษาว่ากลุ่มมีกระบวนการในการขับเคลื่อนงานกันอย่างไร

ความเข้มแข็งของเกษตรกรแบบแปลงใหญ่ ดูที่ความรู้ ความสามารถของสมาชิกรายคน : กรณีตัวอย่าง คุณสุธรรม อ๊อดต่อกัน

คุณสุธรรม เป็นเกษตรกรผู้ผลิตลำไยมาตั้งแต่เริ่มแรกของอาชีพเกษตรกรรม แต่ด้วยเป็นเกษตรกรที่ขยัน อดทน มีความเพียร ผ่านการอบรมมาหลายหลักสูตร ทั้งก่อนและเข้าร่วมเป็นสมาชิกเกษตรแบบแปลงใหญ่ ได้นำข้อมูล-ความรู้ มาพัฒนา เปลี่ยนแปลงระบบเกษตรของตนอย่างจริงจัง และประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ทั้งได้นำประสบการณ์ ความรู้ ถ่ายทอดสู่เพื่อนเกษตรกรในวงกว้าง จนหลายหน่วยงานทางภาคเกษตรทั้งภาครัฐ และเอกชน ยอมรับในความรู้ ความสามารถของคุณสุธรรม

ขอถ่ายทอดข้อมูลการผลิตลำไยนอกฤดูของคุณสุธรรมในเบื้องต้นว่า ถ้ามีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะผลิตแล้วผลที่ได้จะส่งผลต่อระบบกลุ่มอย่างไร คุณสุธรรม ให้ข้อมูลว่า ตนเองเป็นเกษตรกรปลูกลำไย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 พื้นที่ 30 ไร่ อายุต้นราวๆ 11-15 ปี เป็นลำไยพันธุ์อีดอทั้งหมด ผลผลิตปีละประมาณ 30-40 ตัน และได้เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่าการผลิตลำไยเมื่อหลายปีก่อน ก่อนเข้าร่วมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ก็ได้ปฏิบัติเหมือนๆ กันกับเพื่อนๆ เกษตรกรทั่วไป ที่ผลผลิตลำไยตามฤดูกาล แต่ทำไปแล้วรู้เลยว่าต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง จากการใช้ปัจจัยการผลิต ผลผลิตออกมาก็ไม่ได้คุณภาพ เวลาขายก็ไม่ค่อยได้ราคา ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลางอยู่ตลอด บางปีก็หาแรงงานเก็บผลลำไยยาก ซ้ำบางปีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีความเสี่ยง เพราะได้ลงทุนไปแล้ว ผลผลิตจะได้หรือไม่ หรือได้แล้วจะมีคุณภาพหรือไม่ ล้วนสร้างความปริวิตกให้แก่เกษตรกรรวมทั้งตนเองด้วย

เมื่อพบเจอกับปัญหา-อุปสรรค ก็กลับมานึกทบทวนตรึกตรองดูว่า เราจะทำอย่างนี้ต่อไปหรือ… ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่… ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติเสียใหม่…แล้วจะเริ่มอย่างไร? หาความรู้ เข้าหาแหล่งข้อมูล ขอไปเข้าอบรมนำความรู้มาปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตลำไยเสียใหม่ ผลิตลำไยนอกฤดู คือทางออกเริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตัดแต่งกิ่งเสียใหม่ ตัดแต่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เป็นทรงพุ่มเตี้ย โดยนำหลักการตัดแต่งทรงพุ่มที่ตนเองผ่านการอบรมมาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาดัดแปลง เพราะต้นลำไยมีอายุหลายปี ต้นสูง ทำให้ลดแรงงานและต้นทุนค่าจ้างในการเก็บผล ทั้งยังลดการซื้อไม้ไผ่มาค้ำยันกิ่งอีกด้วย

คุณสุธรรม ได้ใช้สมุดบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ หรือบัญชีฟาร์ม บันทึกข้อมูลตัวเลข ทำให้รับรู้รายได้-ค่าใช้จ่าย และกำไรของแต่ละปี ที่สำคัญได้นำข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในสมุดบันทึกนั้น มาทำเป็นปฏิทินการปฏิบัติงานในสวนลำไยได้อีกด้วย ว่าหลังการเก็บเกี่ยวผลลำไยไปแล้ว จะต้องทำอะไร 1…2…3…

คุณสุธรรม ได้เล่าให้ฟังดังนี้ หลังการตัดแต่งกิ่ง ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้ใบชุดแรกแตกออกมา ซึ่งใบชุดแรกสำคัญที่สุด และรอให้ต้นลำไยแตกใบใหม่ได้ 3 ชุดใบ จะราดสาร แต่ก่อนหน้านั้น… ดูระบบรากก่อน… ระบบรากต้องมีการฟื้นฟู เพราะการผลิตลำไยนอกฤดูมีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต หากราดสารดังกล่าวไป 1 ครั้ง ก็จะเสียรากไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ฟื้นฟูรากต้นก็จะตาย

วิธีการฟื้นฟูราก ก็ทำโดยการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบทรงพุ่ม ต้องคอยดูแลการพัฒนาของระบบรากด้วย ถ้าไม่ดูแลหรือดูแลไม่ทั่วถึง ลำไยก็จะไม่ออกดอกติดผล การให้น้ำก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่สวนนี้จัดวางระบบน้ำไว้อย่างดี มีทั้งใช้สปริงเกลอร์ และเปิดวาล์วท่อน้ำ กรณีต้องอัดน้ำเข้าโคนต้นในปริมาณมาก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝน การผลิตลำไยนอกฤดูก็จะมีต้นทุนต่ำ เพราะเป็นการประหยัดค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แต่ถ้าไปผลิตนอกฤดูในเดือนสิงหาคม กันยายน หรือตุลาคม เมื่อผลลำไยออกมาแล้วไม่มีฝนก็ต้องให้น้ำ ทำให้เพิ่มต้นทุนเข้าไปอีก

คุณสุธรรม บอกว่า ตนเริ่มผลิตลำไยนอกฤดู ในเดือนเมษายน โดยดูจากปฏิทินการผลิตลำไยนอกฤดู จากที่ได้บันทึกข้อมูลไว้ในบัญชีฟาร์ม ก่อนจะราดสาร 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ต้นละ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าต้นลำไยที่มีอายุ 15 ปี ก็จะใส่เพิ่มอีกต้นละครึ่งกิโลกรัม และก่อนจะราดสาร 15 วัน ต้องตรวจดูสภาพดินว่ามีความชุ่มชื้นพอหรือไม่ ทั้งหลายทั้งปวงก่อนเริ่มต้นต้องประเมินความพร้อมของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากเครื่องวัดอากาศที่ติดตั้งไว้ที่หน้าที่ทำการแปลงใหญ่ ส่วนทางใบก็จะมีการพ่นปุ๋ย สูตร 0-52-34

กับน้ำตาลทางด่วน พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน จากนั้นก็จะราดสาร การราดสารจะส่งเสริมให้ลำไยเกิดการออกดอกมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้น เมื่อราดสารแล้วก็ต้องคอยดูแลไม่ให้มีโรคและแมลงมารบกวน โดยใช้สารชีวภัณฑ์และน้ำหมักชีวภาพเป็นตัวช่วย จากนั้น 30-45 วัน ลำไยก็จะแตกช่อดอก ดอกจะมีความสมบูรณ์มาก ช่วงที่ลำไยดอกบานถึงติดผลจะหยุดการให้ปุ๋ย ต้องรอดูว่าติดผลแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 เมื่อผลมีเมล็ดเริ่มมีสีดำก็จะใส่ปุ๋ยเคมีต่อเนื่อง แต่เป็นปุ๋ยสั่งตัดตามค่าการวิเคราะห์ กล่าวถึงเรื่องปุ๋ย คุณสุธรรม บอกว่า แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมเกษตรแบบแปลงใหญ่นั้น ค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยเป็นเงินมากทีเดียว แต่เมื่อผ่านการอบรมเริ่มผสมปุ๋ยใช้เอง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ก็ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงไปมาก แต่… ปุ๋ยเคมีนั้น คุณสุธรรม บอกว่า ขาดไม่ได้ เพราะหากใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้สีของลำไยไม่สวย ผลจะไม่เป็นสีทอง คุณภาพไม่ดี ลำพังจะผลิตแต่ลำไยอินทรีย์นั้นต้องเป็นลำไยในฤดูจะดีกว่า

เมื่อเมล็ดในผลลำไยเป็นสีดำก็จะดูแลเป็นพิเศษ ก็คือ เรื่องเชื้อรา เพราะมีผลต่อการส่งไปขาย หรือหากนำส่งต่างประเทศ ราคาก็จะแตกต่างกัน อย่างถ้าลำไยไม่สวยส่งไปขายที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ ราคาจะประมาณกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ถ้าเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผิวต้องสวย ราคาจะเป็น 40 บาท ต่อกิโลกรัม การใช้ฮอร์โมนหรือสาร NAA ก็มีผลต่อผลผลิต หากใช้ปริมาณมากไป เนื้อในขยาย แต่เปลือกไม่ขยาย หรือขยายไม่ทันก็จะทำให้ผลแตก แล้วก็ได้รับความเสียหาย จึงต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้เปลือกมันขยาย แล้วใส่ปุ๋ยเคมีตามเพื่อเพิ่มเนื้อ เปลือกจะไม่แตก
การปฏิบัติการต่อไปก็คือ การตัดแต่งช่อผล เก็บผลไว้ไม่ให้เกิน 60 ผล ต่อช่อ มิฉะนั้นแล้วผลจะไม่โต ไม่ได้น้ำหนัก

เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามปฏิทินที่จะต้องเก็บผลผลิต คุณสุธรรมจะเก็บผลส่งให้กับแปลงใหญ่ และส่งต่อให้ล้งในพื้นที่ แต่เขาก็จะคัดแต่ผลดีๆ ส่วนที่มีปัญหาก็ต้องขายเอง แต่ปัจจุบันวิธีการรวบรวมผลผลิตลำไย ได้มีตลาดเข้ามารองรับ เมื่อมีเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ผลผลิตลำไยนอกฤดูของคุณสุธรรม Royal Online และสมาชิกแปลงใหญ่จะมีผลผลิตที่ดี มีคุณภาพพอๆ กัน อันเป็นผลานิสงส์จากการเข้าร่วมแปลงใหญ่ ที่ว่าลำไยคุณภาพนั้น คุณสุธรรม ได้ขยายความไว้ว่า ต้องเป็นลำไยที่มีผลใหญ่เกรด AA หรือ A ซึ่งผลผลิตของตนในน้ำหนัก 100 กิโลกรัม จะเป็นเกรด AA 40 เปอร์เซ็นต์ เกรด A 30 เปอร์เซ็นต์ สีผิวเหลืองหรือสีเหลืองทอง สีนี้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นที่นิยมมาก กับต้องมีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอมของลำไย เนื้อหนา เมล็ดในเล็ก ไม่แฉะหรือไม่ฉ่ำน้ำ ถ้านำไปแปรรูป หรือทำลำไยอบแห้งเนื้อจะแห้งเร็ว คุณสุธรรม ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ลำไยคุณภาพนั้นมีปัจจัยที่ช่วยเกื้อหนุนอย่างมาก ก็คือ สภาพลมฟ้าอากาศ ที่เอื้ออำนวยให้มีความเหมาะสมกับธรรมชาติของลำไย

กรณีตัวอย่างของคุณสุธรรม ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มามากมาย ทั้งจากการปฏิบัติจริง และจากการเข้ารับการอบรม แล้วนำมาใช้กับสวนลำไย โดยมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูการผลิต แล้วแก้ไขปรับปรุง พัฒนา ผลของความสำเร็จจึงได้ผลผลิตลำไยที่มีคุณภาพ “การได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเกษตรแบบแปลงใหญ่ ก็ดีมีประโยชน์นะครับ อย่างผมนี่ได้มีโอกาสไปเข้าอบรมหลายเรื่อง จากหลายหน่วยงาน ได้นำความรู้มาใช้หลายเรื่องเลยครับ” คุณสุธรรม กล่าว

ผลผลิตและต้นทุนการผลิตลำไยนอกฤดู
คุณสุธรรม บอกว่า หลังการเข้าร่วมกลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่ ก็ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และตามที่ผ่านการอบรมมา ผลก็คือ ผลผลิตลำไยต่อไร่เพิ่มขึ้นและต้นทุนก็ลดลงไปมาก ต้นทุนที่ลดลงไปก็ได้จากการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าการวิเคราะห์ดิน การผลิตสารชีวภัณฑ์ น้ำหมักชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้ การปรับปรุงดิน การตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม และการตัดแต่งช่อผล

คุณสุธรรม ให้ข้อมูลต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 3 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2559-2561 เป็นดังนี้
-ผลผลิตต่อไร่ 1,700 กิโลกรัม
-ราคาขายเฉลี่ยต่อกิโลกรัม 30 บาท
-รวมรายได้ต่อไร่ 51,000 บาท
-รวมค่าใช้จ่ายต่อไร่ 14,440 บาท หรือคิดเป็นต้นทุน กิโลกรัมละ 5-8 บาท
-กำไรสุทธิต่อไร่ 36,560 บาท

เมื่อตนเองเข้มแข็งอย่างพอเพียงแล้ว
เกี่ยวก้อยร้อยพวงไปด้วยกันกับเพื่อนเกษตรกร
ผลผลิตลำไยนอกฤดูของคุณสุธรรม นับว่าเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ สามารถผลิตลำไยได้ตลอดปี ได้รับการ ยกย่องให้เป็นเกษตรกร GAP ดีเด่น ปี พ.ศ. 2562 จากกรมวิชาการเกษตร ทั้งยังเป็นเกษตรกรที่มีองค์ความรู้ นำไปแบ่งปันให้แก่เพื่อนสมาชิกแปลงใหญ่ เสียสละเป็นวิทยากรเชี่ยวชาญในด้านการตัดแต่งกิ่งลำไย ทรงพุ่มแบบต่างๆ ให้แก่หลายหน่วยงาน เป็นวิทยากรประจำของศูนย์ปราชญ์สวนออมโชค อำเภอจอมทอง สวนลำไยของคุณสุธรรมยังได้รับการออกแบบให้เป็นแปลงสาธิตถ่ายทอดความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้แก่สถาบันการศึกษา และเป็นจุดแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร-เทคโนโลยี-นวัตกรรม ในการผลิตลำไย การชักนำลำไยให้ออกดอก การตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มลำไยรูปทรงต่างๆ โดยจัดแบ่งพื้นที่ภายในแปลงเป็นแปลงย่อยเพื่อวางแผนการผลิตลำไยออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี

ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ จังหวัดกระบี่ ได้จัดพิธี

“ปล่อยรองเท้านารีเหลืองกระบี่คืนสู่ป่า” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อสนองแนวทางพระราชเสาวนีย์ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ดำเนินการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเพื่อเพิ่มจำนวนและปลูกคืนสู่ป่าอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาพืชสกุลรองเท้านารีต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547-2553 ครอบคลุมงานวิจัยหลายสาขา ทั้งการพัฒนาพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมใหม่ การขยายพันธุ์ วัสดุปลูกการพัฒนาเทคโนโลยีโรงเรือน การอารักขาพืช (โครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร 2549-2552) ซึ่งผลงานวิจัยสามารถเผยแพร่เทคโนโลยีให้ภาคเอกชน และเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้การส่งออกและการตลาดขยายตัวมากขึ้น

“รองเท้านารีเหลืองกระบี่” เป็นกล้วยไม้ป่าสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่พบในหลายจังหวัดที่ติดกับชายฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา ตรัง แต่พบมากในจังหวัดกระบี่ จึงเป็นที่มาของชื่อ “รองเท้านารีเหลืองกระบี่” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หายากและมีปริมาณลดลง กรมวิชาการเกษตร จึงได้เร่งขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณโดยการนำไปปล่อยในป่าอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์

จังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี เพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า และเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารีให้อยู่คู่จังหวัดกระบี่ต่อไป พร้อมจัดงาน “วันเหลืองกระบี่บาน” เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในฐานะทรงเป็นผู้ริเริ่มในการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่

ขณะเดียวกันกิจกรรมดังกล่าวช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ไปพร้อมๆ กัน งานวันเหลืองกระบี่บาน จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ภายในงานจัดแสดงนิทรรศการสายพันธุ์กล้วยไม้ป่า การประกวดกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่และกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ การประกวดการจัดสวนหย่อมกล้วยไม้ การออกร้านจำหน่ายกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่
ส่งเสริมอาชีพเพาะพันธุ์กล้วยไม้ป่า

สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งเห็นว่า ปัจจุบัน กล้วยไม้ป่าในจังหวัดกระบี่สูญพันธุ์ไปจากป่าแล้ว แต่ยังมีชุมชนที่ปลูกเลี้ยงขยายพันธุ์และจำหน่ายกล้วยไม้ให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ทำได้ปริมาณน้อย ต้นกล้าไม่เพียงพอแก่ความต้องการของตลาด

ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่จึงได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย ให้แก่วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เลขที่ 2/1 หมู่ที่ 2 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

คุณนพรัตน์ ถวิลเวทิน นักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ โทร. 091-826-7373 กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการดำเนินโครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชุมในจังหวัดกระบี่ อนุรักษ์กล้วยไม้ท้องถิ่นด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่นภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คุณสมศักดิ์ ปานบุญ (บังหมาด)

วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น ได้เรียนรู้วิธีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าเชิงการค้า โดยใช้เทคนิคการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยหม้อนึ่งไอน้ำทดแทนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์หม้อนึ่งแรงดันไอน้ำ และเรียนรู้เรื่องสูตรอาหารสังเคราะห์ ร่วมกับการใช้สารเพิ่มผลผลิตชีวภาพสำหรับกล้วยไม้ O-80 เพื่อเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดและร่นระยะเวลาจากการเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า

“การดำเนินโครงการ ในช่วงปีแรก เกษตรกรยังไม่สามารถจำหน่ายต้นกล้ากล้วยไม้ได้ จะต้องรอให้กล้วยไม้มีอายุอย่างน้อย 2 ปี จึงสามารถจำหน่ายได้ ราคาขายต่อต้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 100-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับฟอร์มดอกและต้น สำหรับต้นที่มีลักษณะสวยงาม เกษตรกรจะเก็บไว้ขายเป็นไม้ประดับให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เมื่อขยายพันธุ์ได้มาก ก็จะไปปลูกคืนสู่ป่า เป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน” คุณนพรัตน์ กล่าว

ทุกวันนี้ วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้ากล้วยไม้ป่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กล้วยไม้เหลืองกระบี่ กล้วยไม้รองเท้านารีคางกบ กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล กล้วยไม้สิงโตใบพัด ฯลฯ โดยให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมการปลูกกล้วยไม้ในพื้นที่หรือป่าชุมชน เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน และเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืน

โครงการดังกล่าว ช่วยให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้ เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืนแล้ว เกษตรกรสามารถผลิตและจำหน่ายกล้วยไม้ได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่ต้องลักลอบหาของป่า คาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อต้นกล้ากล้วยไม้โตขึ้น สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 10-20%

โครงการถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์กล้วยไม้สู่ชุมชนของสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ สร้างอาชีพและรายได้ยั่งยืนสู่ชุมชน ขณะเดียวกันยังช่วยอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ไม่ให้สูญพันธุ์ และมีส่วนร่วมปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวทั่วไป ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้สึกหวงแหนกล้วยไม้รองเท้านารีของจังหวัดกระบี่ได้อีกทางหนึ่ง

หนุ่มรัฐศาสตร์ลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ กลับบ้านเกิดที่ จ.ตรังและใช้พื้นที่ว่างหลังบ้านปลูกเมล่อนจนอิ่มตัว ก่อนจะหันมาปลูกมะเขือเทศกินผลสดขายกิโลกรัมละ 300 บาท ลูกค้าออนไลน์สั่งซื้อจนสุกไม่ทัน

ที่คอปเตอร์ฟาร์ม ฟาร์มอารมณ์ดี เลขที่ 1 หมู่ 7 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งเป็นของนายจิตพงษ์ พีรพัฒนกัมพล อายุ 46 ปี ได้ใช้พื้นที่ว่างหลังบ้านหันมาปลูกมะเขือเทศกินผลสด พันธุ์โซราริโน่ (Solarino) ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์

โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว นายจิตพงษ์ ได้ลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านเกิดที่ จ.ตรัง มาดูแลพ่อแม่ที่แก่ชรา และปลูกเมล่อนมาตั้งแต่ปี 2555 ต่อมาตลาดเมล่อนเริ่มอิ่มตัว จึงหันมาทดลองปลูกมะเขือเทศกินผลสดในโรงเรือนเมื่อปีที่แล้ว รวม 2 รุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จอีก

กระทั่งมาทดลองปลูกรุ่นที่ 3 จำนวน 96 ต้น แล้วอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมา มาปรับใช้และให้ปลอดภัยจากสารเคมี จนประสบความสำเร็จในที่สุด ทำให้รุ่นนี้ได้ผลผลิตประมาณ 3-4 กิโลกรัม/ต้น โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 60 วัน ก็สามารถทยอยเก็บขายได้ทุกวัน ๆ ละ 2-4 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท และจะเก็บขายไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้

สำหรับช่องทางการตลาดนั้น ขายทางเฟซบุ๊กคอปเตอร์ฟาร์ม ฟาร์มอารมณ์ดีตรังเท่านั้น แต่ก็มีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อจนมะเขือเทศในแปลงสุกไม่ทันกันเลยทีเดียว

นายจิตพงษ์ กล่าวว่า นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวชมและเลือกเก็บกินได้สดๆ เมื่อมะเขือเทศสุกเต็มที่จะเป็นสีแดงเข้มยาวเรียงต่อกันเป็นแถว เหมาะสำหรับการถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ลองชิมแล้วค่อยซื้อกลับบ้านได้ ไม่หวงแต่อย่างใด

อย่างที่ทราบกันอยู่ว่า ในอนาคตสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคำนวณจากสำนักงานสถิติแห่งชาติว่าจำนวนผู้สูงอายุของไทยจะมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุไม่น้อยกลัวว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ จะส่งผลให้เป็นภาระของลูกหลาน จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่น้อยได้หากิจกรรมยามว่างทำ

ซึ่งงานทางการเกษตรถ้าหากทำในช่วงที่เกษียณแล้ว พืชบางชนิดอาจจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ไม่ทัน อาจต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อเป็นอาชีพรองรับเมื่อต้องเกษียณจากงานอย่างเต็มตัว เมื่อออกจากงาน พืชที่ปลูกสามารถให้ผลผลิตได้ทันที จึงเป็นเสมือนกิจกรรมยามว่างที่สร้างเงินและความสุขไปพร้อมกัน

ดร. ชวัลวิทย์ แจ่มขำ อยู่บ้าน เลขที่ 289 หมู่ที่ 10 ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นผู้ที่ได้เริ่มทำการเกษตร คือ สวนมะพร้าวน้ำหอม โดยเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกษียณอายุราชการจะมาถึง ได้ปลูกและหาแหล่งพันธุ์เรื่อยๆ จนเมื่อเกษียณเต็มตัว ทำให้ ดร. ชวัลวิทย์ มีผลผลิตอย่างมะพร้าวน้ำหอมพร้อมจำหน่าย เกิดรายได้แม้ไม่ได้ทำงานประจำ

ดร. ชวัลวิทย์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจบการศึกษาทางด้านการเกษตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่บ้านกร่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก) และศึกษาต่อไปถึงจบปริญญาเอก ในช่วงแรกทำงานรับราชการเป็นเกษตรตำบล ต่อมาจึงได้ย้ายมาทำงานเป็นรองปลัดอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งด้วยจบการศึกษาทางด้านการเกษตร และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ จึงมีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วว่า อยากจะมีสวนเป็นของตนเอง เพื่อเป็นอาชีพยามว่างหลังวัยเกษียณ

“เราจะรู้เลยว่า คนที่จบเกษตร ก็จะมีความตั้งใจอยู่แล้วว่า เมื่อเกษียณจากงานแล้ว จะทำอาชีพอะไรรองรับเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งผมก็ได้มาเลือกสร้างสวนมะพร้าวอยู่ที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เหตุที่เลือกที่นี่เพราะภรรยาผมเป็นคนพื้นที่นี้ โดยได้ซื้อที่ดินบางส่วนเอาไว้ด้วย ก็เลยคิดที่จะสร้างสวนมะพร้าวให้เติบโตก่อนที่เราจะเกษียณออกมา ก็เลยได้ที่นี่ทำสวนเก็บเกี่ยวผลผลิต” ดร. ชวัลวิทย์ เล่าถึงที่มา

เลือกสายพันธุ์มะพร้าว
ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้
ก่อนที่จะลงมือปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ดร. ชวัลวิทย์ เล่าว่า จะต้องไปหาซื้อสายพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งต้นกล้ามะพร้าวที่ดีต้องได้จากต้นแม่พันธุ์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจะทำให้มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ค่อนข้างดี โดยในพื้นที่ที่ปลูกจะเน้นในเขตน้ำชลประทาน จึงทำให้มีน้ำดูแลต้นมะพร้าวตลอดทั้งปี

“วิธีการปลูก ในขั้นตอนแรกก็จะทำพื้นที่แปลงให้มีถนนเป็น 4 แปลง โดยปลูกมะพร้าวอยู่บริเวณริมถนนก่อน จากนั้นจึงนำไปปลูกลงในพื้นที่แปลง โดยให้มีระยะห่าง ประมาณ 6×7 เมตร จะได้ประมาณ 40 ต้น ต่อไร่ รองก้นหลุมปลูกด้วยขี้ไก่ จากนั้นก็รดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้อายุให้ผลผลิตได้” ดร. ชวัลวิทย์ บอกถึงวิธีการปลูก ซึ่งระยะเวลาการเจริญเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมภายในสวน ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า ใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ต้นจะเริ่มเติบโตเต็มที่พร้อมให้ผลผลิตได้ โดยการติดผลผลิตภายในสวนใหญ่จะมีผึ้งและแมลงเป็นตัวช่วยในเรื่องการผสมเกสร จึงทำให้ต้นมะพร้าวแต่ละต้นค่อนข้างติดผลผลิตดี

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนเป็นปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับ สูตร 21-0-0 ส่วนการป้องกันโรคและแมลง ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ยังไม่ออกผลผลิต มีการใช้ยากำจัดเพื่อช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ กันจากศัตรูจำพวกหนอนหัวดำและด้วง เมื่อมะพร้าวเริ่มออกจั่นเพื่อติดผลก็จะหยุดใช้สารเคมีทันที

“มะพร้าวต่อต้นจะให้จั่นอยู่ที่ 15-18 จั่น ต่อปี ซึ่งใน 1 ปี สำหรับที่สวนออกประมาณ 12 ทะลาย ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งที่สวน 1 ทะลาย จะมีประมาณ 10 ผล ที่สวนก็มีผลผลิตออกขายต่อเดือนก็ประมาณ 2,000 ผล โดยนำเงินที่ขายได้มาเลี้ยงภายในสวนก่อน พอเริ่มมีผลผลิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะเป็นผลผลิตที่เลี้ยงดูเราในอนาคต” ดร. ชวัลวิทย์ อธิบาย

เน้นขายผลผลิตในพื้นที่
และส่งขายตลาด ในเรื่องหลักการทำตลาดมะพร้าวน้ำหอม ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะเน้นทำการตลาดหลากหลายแบบ เช่น ให้พ่อค้ามาติดต่อซื้อผลผลิตที่สวน และบางส่วนจะส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่แถวตลาดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เก็บอาทิตย์ละ 400-500 ผล มีพ่อค้าเข้ามาตัดถึงสวน ให้ผลละ 8 บาท

“ที่สวนตอนนี้ราคามะพร้าวขายอยู่ในราคาที่หลากหลาย ตั้งแต่ 8-20 บาท ทำตลาดแบบทั้งขายส่งและขายปลีก เพื่อที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเขาไปทำการตลาดได้ ซึ่งตอนนี้ในอำเภออรัญประเทศเองก็สามารถขายได้เรื่อยๆ ซึ่งผลตอบรับก็ถือว่าดีมาก เพราะภายในตลาดโรงเกลือมีร้านค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น แม่ค้าที่ขายของในตลาดเขาก็ต้องใช้มะพร้าวอย่างน้อย ร้านละ 1 ผล เพราะเซ่นไหว้เจ้าที่ก่อนเปิดร้าน จึงทำให้มะพร้าวสามารถขายได้ตลอดที่อรัญประเทศ” ดร. ชวัลวิทย์ บอก

“หัวไชเท้า” หรือ “ผักกาดหัว” เป็นชื่อของพืชล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก ขนาดค่อนข้างอวบ ทั้งยังมีเนื้อในที่แน่นและฉ่ำน้ำด้วย โดยจะมีทั้งสีขาว สีม่วง สีชมพู และสีแดง ซึ่งสีและขนาดนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ นอกจากนี้ หัวไชเท้า ยังนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงจืดหัวไชเท้า หัวไชเท้านึ่ง ต้มจับฉ่าย ขนมผักกาด และเมนูอื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นผักที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว

คุณอภิสิทธิ์ ญาณประสิทธิ์เวทย์ มีสวนอยู่ที่บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ปลูกหัวไชเท้าเพื่อส่งขาย บนพื้นที่กว่า 76 ไร่ โดยสามารถส่งผลผลิตออกขายได้วันละ 5-6 ตัน เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ได้รับผลตอบรับและสร้างรายได้ให้กับคุณอภิสิทธิ์เป็นอย่างดี เจ้าของปลูกหมุนเวียนทุกวัน วันละ 1-2 ไร่ บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ ทำให้มีผลผลิตเก็บขายทุกวัน

จากการปลูกผักกินใบ
สู่สวนหัวไชเท้า ระดับอุตสาหกรรม
คุณอภิสิทธิ์ เล่าถึงการทำสวนว่า เริ่มทำสวนมาตั้งแต่ปี 2546 โดยในระยะแรกจะเน้นการปลูกพืชประเภทผักกินใบ อย่าง กะหล่ำดอก และผักสลัด โดยจะปลูกหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ก่อนที่จะหันมาเริ่มต้นทำสวนหัวไชเท้า บนพื้นที่กว่า 76 ไร่ เพื่อส่งขายอย่างเต็มตัว ส่วนผลผลิตที่เก็บได้นั้น โดยปกติจะสามารถส่งขายได้ในราคาประมาณ กิโลกรัมละ 10 บาท ซึ่งทางสวนสามารถส่งออกขายได้ วันละ 5-6 ตัน เลยทีเดียว

อย่างที่ทราบดีว่า หัวไชเท้านั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มยุโรป ที่มีลักษณะเด่นคือ รากขนาดเล็ก เนื้อภายในที่มีทั้งสีขาวและสีแดง นิยมปลูกและบริโภคในแถบยุโรปและอเมริกา มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวเพียง 18-25 วัน

และหัวไชเท้ากลุ่มเอเชียที่มีจุดเด่นที่เนื้อสีขาวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยาวนาน 40-65 วัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ก็มีทั้ง พันธุ์แม่โจ้ 1 พันธุ์ เคยู 1 นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ซากาตา และเอฟเวอเรส ไฮบริด อีกด้วย

“สำหรับหัวไชเท้าที่สวนเลือกปลูกคือ พันธุ์เอฟเวอเรส ไฮบริด เนื่องจากถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สายพันธุ์อื่นๆ ทั้งยังมีจุดเด่นที่ขนาดของหัวที่โตสม่ำเสมอ โดยจะมีความยาว 30-35 เซนติเมตร และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวนานถึง 50 วัน

หลังจากหยอดเมล็ด ทำให้สามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้นานกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะมีระยะเวลาในการเก็บผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 42-45 วัน จึงถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งผลผลิตออกขายได้เป็นอย่างดี” เจ้าของบอก

ขั้นตอนการเตรียมดิน
และการดูแลหลังปลูก
สำหรับการปลูกและการดูแลนั้น การเตรียมดินและแปลงก็ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญ โดยในส่วนของแปลงนั้นจะต้องขุดเอาไว้ ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการนำเมล็ดลงปลูก ส่วนระหว่างการเตรียมดินก็จะมีการใช้ปุ๋ย โดยจะใช้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์

ใสส่วนของการปลูกนั้น ที่สวนเลือกใช้วิธีการหยอด โดยจะหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 จุด และต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 20×20 เซนติเมตร ซึ่งจะมีการนำตะแกรงเหล็กที่วัดระยะห่างเอาไว้แล้ว มาใช้ในขั้นตอนการหยอดเมล็ดด้วย เพื่อให้ได้ระยะห่างที่แน่นอน

นอกจากนี้ เรื่องของการให้น้ำก็ถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน โดยจะให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์วางขนาบไปด้านข้างทั้งสองด้านยาวไปตลอดทั้งแปลง เพื่อให้หัวไชเท้าได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

“หลังจากที่หยอดเมล็ดลงดินแล้ว ก็ต้องคลุมฟางเพื่อรักษาความชื้นในดินด้วย โดยความหนาของฟางที่คลุมนั้นก็จะแตกต่างกันตามสภาพอากาศและฤดูกาล คือถ้าอากาศหนาว ก็ไม่ต้องคลุมฟางหนามากนัก เนื่องจากอากาศมีความชื้นที่สูงอยู่แล้ว

และหลังจากคลุมฟางทิ้งเอาไว้ประมาณ 3 วัน หัวไชเท้าก็จะเริ่มงอก ซึ่งเมื่องอกแล้วก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากมีโอกาสรอดสูงถึง 90%

หลังจากที่งอกแล้วก็ดูแลและให้น้ำตามปกติ ส่วนปุ๋ยที่ให้ก็จะเปลี่ยนมาให้เป็นปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ และในช่วงอายุ 25-28 วัน จะเน้นการให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่านแทน โดยจะใช้ในปริมาณ 50 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ สำหรับเรื่องของโรคและแมลงที่พบส่วนมากก็จะเป็นหมัดกระโดด ซึ่งก็จะใช้วิธีการกำจัดด้วยสารเคมีทั่วไป จึงไม่ถือว่าเป็นปัญหามากนัก” เจ้าของเล่าถึงการดูแล

“หัวไชเท้า” สร้างรายได้
ปลูกส่งขายตลอดปี
ในส่วนของผลผลิตนั้น ต้องยอมรับว่าสภาพอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ผลผลิตของหัวไชเท้า ทำให้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกจึงเป็นช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

แต่เนื่องจากหัวไชเท้านั้นสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และแม้ว่าปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่อาจจะไม่เท่ากับการปลูกในช่วงเดือนที่มีสภาพอากาศเหมาะสม แต่ก็ถือว่ายังคงให้ผลผลิตดีพอสมควร สำหรับการเก็บผลผลิตเพื่อส่งขายนั้น จะเริ่มเก็บหลังจากที่นำเมล็ดลงปลูกได้ประมาณ 50 วัน

ซึ่งก่อนที่จะนำหัวไชเท้าส่งขายนั้น จะต้องนำมาผ่านขั้นตอนการทำความสะอาดที่บ่อล้างก่อน โดยจะใช้น้ำที่ปั๊มขึ้นมาและปล่อยให้น้ำไหลอยู่ตลอดเวลา

นอกจากการทำความสะอาดแล้ว การคัดไซซ์ก็ถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งจะมีวิธีการคัดโดยการแบ่งขนาดของหัวไชเท้า โดย เบอร์ 1 จะมีขนาด ประมาณ 10-12 นิ้ว เบอร์ 2 ขนาด 8-10 นิ้ว และ เบอร์ 3 ขนาดจะอยู่ที่ 5-6 นิ้ว ซึ่งราคาที่ขายก็จะแตกต่างกันไปตามขนาด

และหลังจากคัดไซซ์แล้วจะต้องนำหัวไชเท้าไปผึ่งหรือตากให้แห้ง ก่อนจะบรรจุใส่ถุงพลาสติก ถุงละ 10 กิโลกรัม เพื่อเตรียมส่งขายที่ตลาดสี่มุมเมือง “ราคาของผลผลิตก็จะขึ้นและลงตามราคาของตลาดกลางเป็นหลัก ซึ่งเรื่องของราคาก็ต้องยอมรับว่าเป็นโจทย์ที่ยากที่สุดของเกษตรกร เพราะไม่สามารถควบคุมราคาได้ สำหรับราคาตอนนี้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10 บาท ถือว่าเป็นราคามาตรฐาน แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือหน้าแล้งจะเป็นช่วงที่สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงมาก เนื่องจากมีผลผลิตน้อย ทำให้ราคาจะพุ่งสูงได้ถึง 30 บาท เลยทีเดียว”

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม ซื้อผลผลิต หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณอภิสิทธิ์ คำพูดที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ ที่เคยได้ยินมา เห็นทีจะจริง พิสูจน์ได้จาก คุณอารีย์ พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานในตำแหน่งที่ดีและมั่นคง แต่สุดท้ายก็ยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย และได้อยู่กับครอบครัวที่รัก

คุณอารีย์ นิลวดี (พี่ปุ้ย) เจ้าของสวนสวัสดี ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อีกหนึ่งสาวออฟฟิศที่หลงใหลวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ถึงแม้ว่าเธอจะมีอาชีพการงานที่มั่นคง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์เธอทั้งหมด เธอยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย โหยหาเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้า จึงเลือกที่จะเป็นเกษตรกรวันหยุดแบบเต็มขั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตัวเอง

พี่ปุ้ย เล่าว่า ตอนนี้ทำงานเป็นผู้จัดการอยู่ที่ เว็บแทงบอลออนไลน์ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ยา บริษัทตั้งอยู่ใจกลางเมือง เจอแต่ความศิวิไลซ์แต่เธอไม่เคยหลงใหลความศิวิไลซ์เหล่านี้เลย เธอโหยหาความเรียบง่าย และต้องการใช้วันหยุดที่มีน้อยนิดได้อยู่กับลูกและครอบครัวให้คุ้มที่สุด เพราะทุกวันนี้ด้วยรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างต้องใช้ความคิดเยอะ จันทร์ถึงศุกร์คือทำงาน กลับบ้านมาก็เหนื่อย จำเป็นต้องให้ลูกอยู่กับตายายที่โคราช ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนว่า ทำไมถึงอยากเป็นเกษตรกร ทั้งๆ ที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว

“จุดเริ่มต้นทำเกษตรมาจากที่ต้องมาทำงานที่กรุงเทพฯ แต่ลูกต้องอยู่กับตายายที่โคราช ส่วนเรากับแฟนทำงานที่กรุงเทพฯ คือไม่อยากให้ห่างกับลูก ชีวิตในกรุงเทพฯ คือทำงานหาเงิน เพราะฉะนั้นทุกเย็นวันศุกร์เราจะกลับบ้านไปหาลูก ไปสอนการบ้านลูก หลังๆ จึงมีแนวคิดว่าเรากลับบ้านทุกอาทิตย์ อยากหากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว จึงตัดสินใจซื้อที่แถวปักธงชัยเพื่องานเกษตร คิดว่าการทำเกษตรน่าจะตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนในครอบครัว ได้ปลูกต้นไม้ร่วมกัน ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และถือเป็นการสร้างรายได้เพิ่มจากงานประจำไปด้วย” พี่ปุ้ย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรวันหยุด

เริ่มทำงานเกษตร บนพื้นที่ 8 ไร่
รายได้ยังไม่มาก แต่ความสุขล้นใจ
หลังจากที่พี่ปุ้ยจัดการซื้อที่ทำเกษตรเพื่อหากิจกรรมได้ทำร่วมกับครอบครัวได้ พี่ปุ้ย เล่าว่า เธอซื้อที่ต่อจากเจ้าของเดิมจำนวน 8 ไร่ เดิมทีที่ตรงนี้เคยปลูกละมุดมาก่อน แต่เนื่องจากละมุดไม่ได้เป็นผลไม้ตลาด เธอจึงเลือกปลูกกล้วยหอมแซมกับละมุด เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่คนทั่วไปนิยมกิน และเมื่อปีล่าสุดกำลังทดลองปลูกอะโวกาโด้ และฝรั่งกิมจูเพิ่มขึ้นมาในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เพราะแนวคิดเริ่มจากอยากมีกิจกรรมทำกันในครอบครัว ปลูกกินเองถ้าเหลือจึงขาย จะยังไม่เน้นที่ตัวรายได้ แต่จะเน้นความสุขและสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นหลัก

พี่ปุ้ย เล่าต่อว่า การเป็นเกษตรกรวันหยุดไม่ยากอย่างที่คิด หลายคนชอบหาข้ออ้างให้ตัวเองว่า ทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็เหนื่อยแล้ว แต่ถ้าเราอยากทำและคิดว่าสิ่งที่ทำเพิ่มขึ้นมาเป็นสิ่งที่รัก เราจะไม่รู้สึกเหนื่อยเลย อย่างตัวเธอเอง

โดยเธอเลือกที่จะแบ่งเวลาที่ว่างจากงานประจำ คือวันเสาร์กับอาทิตย์มาทำเกษตร การทำเกษตรของเธอเริ่มต้นจากศูนย์เพราะเธอเรียนมาทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับการทำเกษตรเลย เธออาศัยความมีใจรัก ความตั้งใจ และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่า ทำไปเพื่ออะไร ทุกวันนี้ถ้าถามทุกความรู้ก็หาง่ายมาก ดูจากเฟซบุ๊ก ดูจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่เขามาให้ความรู้ กูเกิ้ลถือเป็นอาจารย์ตัวยง รู้ทุกอย่าง เราก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ

จากการศึกษาในแปลงปลูก พบว่า มะละกอพันธุ์ครั่งมีความทน

มะละกอพันธุ์ครั่ง จะมีลักษณะเหมือนกับว่ามีมะละกอ 2 สายพันธุ์ อยู่ในต้นเดียวกันคือ ในระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วงตามก้านใบและจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์ โกโก้ และเมื่อต้นโตขึ้นสีเหล่านั้นจะหายไป ในขณะที่พันธุ์โกโก้สีและจุดยังคงเดิม เมื่อผลสุกเนื้อของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับพันธุ์สายน้ำผึ้ง

ถึงแม้มะละกอพันธุ์ครั่งจะเหมาะสำหรับการบริโภคดิบคือ ใช้ทำส้มตำ เมื่อผลสุกจะมีรสชาติหวาน ความหวานเฉลี่ย 12.7 องศาบริกซ์ แต่จะเก็บเกี่ยวให้มีรสชาติอร่อยจะต้องเก็บที่ความแก่ 50 เปอร์เซ็นต์ คือผลมีสีเหลืองประมาณครึ่งผล หลังจากที่เก็บผลลงมาแล้ว ทิ้งไว้เพียง 1 คืน ควรจะนำมาบริโภค หากทิ้งไว้เกิน 3 วัน เนื้อจะเละ

6. มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดเลือกพันธุ์ขึ้นมาใหม่จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีผลใหญ่และยาว ลักษณะของผลมีร่องข้างผลยาวตลอดหัวท้ายผล

7. มะละกอพันธุ์ครั่งสามารถเก็บผลดิบเพื่อบริโภคเป็นมะละกอส้มตำได้หลังจากปลูกไปได้เพียง 6 เดือน “มะละกอขอนแก่น 80” ผลเล็ก รับประทานสุกอร่อย มะละกอเป็นผลไม้ยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนทั่วโลก สามารถขึ้นได้ดีในเขตร้อนและกึ่งร้อน รวมทั้งประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม สามารถปลูกมะละกอคุณภาพดีส่งไปขายต่างประเทศได้ แต่ปริมาณการส่งออกในปัจจุบันไม่มากนัก ส่วนใหญ่ 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ แต่ในอนาคตมะละกอน่าจะเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้

การปลูกมะละกอของไทย ที่ผ่านมาประสบปัญหาการระบาดของโรคจุดวงแหวน เช่น เดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังขาดแคลนมะละกอพันธุ์ดี ประกอบกับมะละกอมีความแปรปรวนทางสายพันธุ์สูง และพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า เช่น แขกดำ แขกนวล ฯลฯ เป็นมะละกอผลขนาดกลางเหมาะสำหรับบริโภคดิบ (ทำส้มตำ) และส่งโรงงานแปรรูป รสชาติอร่อย แต่มีจุดอ่อนที่อ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน

พันธุ์มะละกอที่เป็นฐานพันธุกรรมซึ่งนำมาปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์ขอนแก่น 80 นี้ได้มาจากมะละกอ 2 พันธุ์ คือ Florida Tolerant (Florida Tolerant เป็นมะละกอที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น มีผลขนาดเล็กกลม น้ำหนัก 400-700 กรัม เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม ผลสุกเก็บเกี่ยวได้ภายใน 5-6 เดือน มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีมาก)

ลักษณะเด่นมะละกอ “ขอนแก่น 80” จากผลการศึกษาศักยภาพการปลูกมะละกอขอนแก่น 80 พบว่า มีการเจริญเติบโตทั่วไปดีและสม่ำเสมอ ดอกแรกบานเมื่ออายุ 74 วัน และติดผลแรกเมื่ออายุ 81 วัน ความสูงเมื่ออายุ 7 เดือน เฉลี่ย 132 เซนติเมตร

ผลแรกเริ่มสุก เมื่ออายุ 7 เดือน หลังย้ายปลูก มีรูปร่างผลสม่ำเสมอเป็นรูปรี ส่วนหัวเล็ก ก้นปล่อง น้ำหนักผลเฉลี่ย 800 กรัม ผลสุกเนื้อสีแดงส้ม รสชาติหวานหอม ความหวานเฉลี่ย 13-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตเท่ากับ 6,000 กิโลกรัม ต่อไร่ และที่สำคัญมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนได้ดี ถึงแม้จะแสดงอาการเหลืองด่างที่ใบ แต่ไม่มีอาการที่ผล

นอกจากนี้ ผลมีผิวเป็นมัน เปลือกหนา จึงทนทานต่อการขนส่งได้ดี เนื้อแน่น และหลังการเก็บเกี่ยวสุกช้ากว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ผลมีขนาดเล็ก รสชาติหวานจัด รับประทานอร่อยมาก มีกลิ่นหอม เป็นมะละกอเหมาะที่จะผ่าและใช้ช้อนตักรับประทาน เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีมาก มีศักยภาพที่จะเป็นพันธุ์แนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าทางเลือก หนึ่งได้

จากการทดสอบ พบว่า สายพันธุ์ขอนแก่น 80 มีคุณภาพดีเด่นใกล้เคียงกับพันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าในปัจจุบัน แต่เป็นพันธุ์ผลขนาดกลาง และปัจจุบันทั้งคนไทยและต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอสุกผลเล็ก เนื้อสีแดง

ดังนั้น มะละกอสายพันธุ์ขอนแก่น 80 ที่มีความดีเด่นในแง่ความหวานและขนาดของผลที่เล็กกว่า อาจใช้เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับบริโภคสุก สมควรใช้เป็นพันธุ์แนะนำแก่เกษตรกรปลูกเป็นการค้า ขายในประเทศ และเพื่อการส่งออก

มะละกอยักษ์ “เรดแคริเบียน” มะละกอสายพันธุ์ใหม่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (081) 886-7398 ได้เมล็ดพันธุ์มาจากประเทศทางแถบอเมริกากลางและนำมาคัดเลือกพันธุ์นานกว่า 10 ปี ได้ผลผลิต

มะละกอที่มีคุณลักษณะดังนี้ “ขนาดผลคล้ายกับมะละกอเรดมาราดอล์ หรือมะละกอฮอลแลนด์แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามาก (ขนาดผลใหญ่กว่าเท่าตัว) น้ำหนักผลเฉลี่ย 3-5 กิโลกรัม เนื้อหนามาก ผลสุกมีสีแดงส้มและรสชาติหวาน กลิ่นหอม

จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่าต้นมะละกอยักษ์ “เรดแคริเบี้ยน” มีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่าพันธุ์อื่น มีโรงงานแปรรูปติดต่อเข้ามาบอกว่ามะละกอ “เรดแคริเบี้ยน” มีเนื้อหนา สีสวย เหมาะแก่นำไปแปรรูปบรรจุกระป๋อง

โดยปกติแล้ว มะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมากๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

การเตรียมดินและปลูกมะละกอ ถ้าสภาพดินปลูกมีค่า pH ต่ำกว่า 6.0 ให้หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ ในอัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุกดินโดยการไถพรวน แล้วตากทิ้งไว้ 10-15 วัน หลังจากนั้นไถยกร่อง สูง 20-30 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณหลุมปลูก

ในการเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกลางร่องปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 2.0-2.5 เมตร ใส่แกลบดิบและแกลบเผาอย่างละครึ่งปี๊บ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 5 กิโลกรัม หินฟอสเฟตบด 1 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 150 กรัม ผสมดินในหลุมปลูกกับวัสดุปรับปรุงดิน รดน้ำให้ชื้นและยุบตัวดี หว่านเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 50-100 กรัม ต่อหลุม เพื่อลดการสูญเสียจากโรครากเน่าโคนเน่า คลุมบริเวณหลุมปลูกด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงปลูกได้

ในการเพาะกล้าและย้ายกล้าปลูก คลุกเมล็ดพันธุ์มะละกอด้วยสารกำจัดเชื้อราเมตาแลกซิล เพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ขนาด 4×6 นิ้ว จำนวน 3 เมล็ด ต่อถุง เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วัน จึงย้ายลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ไม่ควรปลูกลึกจะทำให้รากเน่า การคัดเพศ เมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยกให้เหลือต้นกะเทยผลยาวไว้หลุมละ 1 ต้น

ในการใส่ปุ๋ยระยะก่อนติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม ต่อหลุม และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 เดือนละครั้ง ครั้งละ 100-150 กรัม/หลุม หลังติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 150 กรัม/หลุม เดือนละครั้ง

หลังจากปลูกต้นกล้ามะละกอไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ต้นมะละกอจะเริ่มออกดอก ให้เกษตรกรสังเกตดูการออกดอกของต้นมะละกอภายในหลุมทั้ง 3 ต้น ว่าต้นใดเป็นต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ให้คัดต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทยไว้เพียงต้นเดียว สำหรับต้นตัวเมีย (ผลป้อม) ถ้าไม่ต้องการก็ตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ออกมาจะเป็นลูกป้อม และถ้าเป็นตัวผู้ให้ตัดทิ้งเลย โดยปกติแล้วต้นดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกกะเทยนั้น ตลาดจะต้องการมากที่สุด

การบำรุงรักษามะละกอ ในฤดูแล้งต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอด อย่าให้ดินแห้ง ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำ แต่ถ้าฝนตกหนักจะต้องดูแลการระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น โดยเสริมร่องปลูกให้สูงอยู่เสมอ ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังปลูก มักพบโรครากเน่าและโคนเน่าจึงควรราดโคนต้นมะละกอด้วยสารเทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์-เอ็กซ์ ในช่วงฝนตกชุกก็เช่นเดียวกันจะมีโรครากเน่าโคนเน่าระบาดมาก แม้มะละกอจะออกดอกหรือติดผลแล้ว จึงต้องราดโคนด้วยสาร ทุกๆ 15 วัน

เป็นที่สังเกตว่าการหว่านเชื้อไตรโคเดอร์ม่าก่อนปลูกและหว่านซ้ำทุกๆ 4 เดือน จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงกว่าครึ่ง ไม่ควรใช้จอบถางบริเวณโคนต้น เพราะรากจะถูกตัดขาดโรคเข้าทำลายได้ แต่ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีวัชพืชขึ้น นอกทรงพุ่มต้องใช้เครื่องตัดหญ้าหรือมีดตัดให้สั้น การคลุมโคนต้น ใช้ฟางข้าวคลุมโคนต้นและหมั่นเติมฟางอยู่เสมอจะช่วยลดวัชพืชและรักษาความ ชื้นในดิน

“คุณออน” หรือ คุณนวลลออ เทอดเกียรติกุล อดีตมนุษย์เงินเดือน ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อก้าวเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมตามความใฝ่ฝัน แม้เธอไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องการทำเกษตรมาก่อน แต่เธอตั้งใจเรียนรู้การทำเกษตรจากหนังสือตำรา สืบค้นข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ต และเข้าร่วมกิจกรรมด้านเกษตรต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

คุณออน หรือ คุณนวลลออ เทอดเกียรติกุล ในฐานะผู้ก่อตั้งแบรนด์ “Aromatic Farm” ผู้ผลิตมะพร้าวน้ำหอมปลอดสารพิษ ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเกษตรแบบครบวงจร บริหารจัดการสวนมะพร้าวด้วยผังการปลูกอัจฉริยะจัดสรรพื้นที่ 24 แปลง รวมเป็น 469 ต้น โดยแบ่งเป็น Zoning สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง เพื่อความสะดวกในการดูแลจัดการ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตแต่ละต้น ในแต่ละแปลง หากพบปัญหาสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ง่าย

1. ติดเครื่องหมาย QR CODE บนมะพร้าวทุกต้นในสวน เก็บข้อมูลมะพร้าวทุกต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลต้นมะพร้าวอย่างเหมาะสม

2. ทำวิจัย ร่วมกับ Food Innopolis (เมืองนวัตกรรมอาหาร) ในโครงการ Future Food Lab

3. วางแผนการใช้น้ำ โดยควบคุมผ่านระบบ Smart Farming

4. ใช้โปรแกรมของ มกอช. เพื่อตรวจสอบย้อนกลับสินค้า

5. ใช้ App Meal Fiction เก็บข้อมูลสินค้าในแต่ละช่วงการผลิต

6. มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์ Aromatic Farm ตกแต่งด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ฉีกภาพลักษณ์แบบเดิมอย่างสร้างสรรค์ สร้างจุดขายที่แตกต่างจากมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป

คุณออน นำความรู้ด้านเกษตรที่ได้รับนำมาใช้ผสมผสานกับประสบการณ์เก่าจากการทำงานบริษัทเอกชน และนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้บริหารจัดการสวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” อย่างเป็นระบบ ทำให้มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์คุณภาพดีของสวนแห่งนี้ผ่านการรับรองมาตรฐานอินทรีย์และมาตรฐาน GAP มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับวางแผนการขาย ประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางต่างๆ อย่างมืออาชีพ ส่งผลให้กิจการสวนมะพร้าวน้ำหอม“Aromatic Farm” ประสบความสำเร็จทางการตลาดได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

ทุกวันนี้ สวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” สามารถผลิตมะพร้าวคุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยม ที่มีรสชาติหวานหอมถูกใจตลาดแล้ว คุณออนยังได้ฐานลูกค้ารายใหญ่ เป็นโรงแรมระดับแนวหน้าของประเทศ สั่งซื้อสินค้ามะพร้าวน้ำหอมจากสวนแห่งนี้ ในราคา ผลละ 50 บาท ตลอดทั้งปี โดยมีสัญญาสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว เชื่อว่า สวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานการผลิตที่ดี ผลิตสินค้าเกรดพรีเมี่ยมป้อนตลาดได้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความประทับใจในคุณภาพสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ซื้อรายนี้สมัครใจเป็นลูกค้าขาประจำกันต่อไปยาวๆ แน่นอน

ผลงานที่ผ่านมาของสวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทำให้คุณออนได้รับการยกย่องว่า เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงของวงการค้ามะพร้าวน้ำหอมที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพได้อย่างน่าชื่นชม และทำให้คุณออนได้รับการคัดเลือกให้เป็น เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2560

การเพาะพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม

“พันธุ์พืชดี” เป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะปลูก หากใช้พันธุ์พืชที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลให้ผลผลิตดีตามไปด้วย ซึ่งสวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” ก็ใส่ใจกับคุณภาพของพันธุ์พืชเป็นอันดับแรกเช่นกัน ที่นี่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมก้นจีบพันธุ์แท้คุณภาพดีเป็นหลัก นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมสวนแห่งนี้จะได้เรียนรู้เรื่องการเพาะพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมด้วย

การเพาะพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม เริ่มจากเลือกต้นแม่พันธุ์แท้ อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีความแข็งแรง เจริญเติบโตดี ให้ผลดกตลอดปี ใบดก ผลใหญ่ ลำต้นมีปล้องถี่ เมื่อคัดเลือกต้นพันธุ์ดีได้แล้วจะปล่อยให้ผลแก่คาต้น ผลจะมีสีก้ามปู (สีน้ำตาลอ่อน) จะใช้วิธีสอยผลมะพร้าวแก่ลงมาจากต้นด้วยความระมัดระวัง สอยให้ตกลงในร่องน้ำ เพื่อกันกระแทก ผลไม่ช้ำ จาวไม่แตก

ขั้นตอนต่อมา นำผลแก่มาพักไว้ให้แห้ง ประมาณ 14 วัน เปลือกจะแห้งแตกลายงา ผลแก่ต้องมีน้ำอยู่ภายใน “คลอนน้ำ” นำผลมาตั้งดูทรงแล้วปาดด้านขั้วผล ไม่ควรปาดถึงกะลา (ปาดเพื่อให้ต้นอ่อนงอก และทำให้ผลเกิดความชุ่มชื้น) นำผลมะพร้าวไปแช่น้ำในร่องสวน ประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้น นำมาเพาะไว้ในโรงเพาะพันธุ์ (เนิร์สเซอรี่) ที่มีแสงรำไร นำขุยมะพร้าวมาโรยไว้บนผลมะพร้าว และรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้แฉะจนเกินไป ผลจะงอกภายใน 2-3 เดือนพร้อมลงปลูกได้

“ชันโรง” ช่วยเพิ่มผลผลิตมะพร้าว

ภายในร่องสวนมะพร้าว มองไปเห็นต้นเตยหอมปลูกอยู่ริมตลิ่ง คุณออนเชื่อว่าการปลูกต้นเตยหอมเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยเพิ่มความหอมให้แก่น้ำมะพร้าวอ่อน อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยเพิ่มความดกให้สวนมะพร้าวแห่งนี้ คือ ชันโรง เป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรคล้ายผึ้ง เกษตรกรทั่วไปจึงนิยมเลี้ยงชันโรงในสวนไม้ผล สวนมะพร้าว ฯลฯ ภายในสวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” ตั้งกรงไม้เลี้ยงชันโรงไว้รอบสวนมะพร้าวเช่นกัน

การเลี้ยงชันโรง ทำได้ไม่ยาก หากพื้นที่ดังกล่าวปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชผัก หรือสภาพป่าธรรมชาติ ชุมชนปลอดสารเคมี มีอาหารเพียงพอ โดยชันโรงหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ เกสรผลไม้ และมีอุณหภูมิโดยรอบ ประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส เพราะตัวชันโรงชอบอากาศเย็น แต่ไม่ชื้น

ทั้งนี้ เกษตรกรควรเลือกสายพันธุ์ชันโรงที่เหมาะกับการใช้ประโยชน์ของผู้เลี้ยงในท้องถิ่นนั้นๆ โดยหาซื้อพ่อแม่พันธุ์ชันโรงจากฟาร์มผู้เลี้ยงชันโรงโดยตรง ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การเลี้ยงชันโรง ตามระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (M.R.C.F) ส่วนรังที่ใช้เลี้ยงชันโรง สามารถซื้อรังสำเร็จจากผู้ผลิตรังเลี้ยงในชุมชนหรือสร้างรังขึ้นมาเอง โดยเรียนรู้จากรังธรรมชาติ และนำไปประยุกต์เป็นรังเลี้ยงชันโรง ส่วนการแยกขยายพันธุ์ชันโรง เกษตรกรสามารถแยกขยายรังจากรังธรรมชาติ เช่น ขอนไม้ผุ หรือภาชนะการเกษตรที่มีตัวชันโรงอาศัยอยู่ หรือแยกขยายพันธุ์จากรังจากฟาร์มที่เลี้ยงชันโรงก็ได้

แหล่งเรียนรู้ มะพร้าวน้ำหอมอินทรีย์

สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินสะดวก สนับสนุนให้สวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” ตั้งอยู่เลขที่ 91 หมู่ที่ 2 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (มะพร้าว ปี 2560) ขณะเดียวกัน คุณออน ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ D-HOPE ของกรมพัฒนาชุมชน ที่บูรณาการกับโครงการ OTOP Village ของสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน

ทั้งนี้ โครงการ D-HOPE มุ่งส่งเสริมการให้สมาชิกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นประโยชน์ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และสร้างกิจกรรมในชุมชน เปิดประสบการณ์ใหม่ให้นักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมชุมชนได้เกิดความประทับใจ คุณออน กำหนดจุดขายให้สวนแห่งนี้เป็น “แหล่งเรียนรู้มะพร้าวน้ำหอม มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย”

สวนมะพร้าวแห่งนี้ เปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้สนใจแวะเวียนเข้าเยี่ยมชมกิจการทุกวัน (กรุณานัดหมายล่วงหน้า) ค่าบริการ 400-600 บาท/คน ตามกิจกรรม เช่น กระบวนการปลูกดูแลมะพร้าวอินทรีย์ การแปรรูปมะพร้าวน้ำหอม การควั่นมะพร้าว การบรรจุหีบห่อ เรียนรู้การปลูก การรดน้ำ การเพาะพันธุ์มะพร้าว ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถรองรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ต่อรอบ ประมาณ 20-60 คน ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 081-909-0226 หรือติดตามข้อมูลได้ทางเฟซบุ๊ก Aromatic Farm

ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีจำนวน 17 ชนิด ล้วนอยู่ในสกุล Paphiopedilum เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ซึ่งได้รับความสนใจนำมาปลูกเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์เพื่อการค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรปและเอเชีย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งส่งออกกล้วยไม้รองเท้านารีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทั้งในรูปแบบของไม้กระถางและไม้ตัดดอก

ในอดีต ประเทศไทย ส่งออกกล้วยไม้พันธุ์แท้ในช่วงปี 2535-2540 กว่า 2 ล้านต้น และหยุดไปหลังจากกำหนดให้กล้วยไม้เป็นพันธุ์พืชในกลุ่มพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ (ไซเตส) ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 มีชนิดพืชอนุรักษ์หรือพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสมากกว่า 28,000 ชนิด

กล้วยไม้ เป็นพืชอนุรักษ์กลุ่มใหญ่ที่สุด สมัครแทงบอลออนไลน์ และมีการทำการค้าระหว่างประเทศเป็นปริมาณสูง อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ทั้งการบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำการเพาะปลูกพืช การเก็บกล้วยไม้ป่าเพื่อการค้า และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ที่รุนแรง เช่น เกิดน้ำท่วม อากาศร้อน ฝนแล้ง ฯลฯ ล้วนส่งผลทำให้ประชากรกล้วยไม้ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูง เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี เอื้องปากนกแก้ว และฟ้ามุ่ย ที่แทบจะหมดไปจากป่าธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว คาดว่ากล้วยไม้ทุกชนิดลดจำนวนลงถึงขั้นสูญพันธุ์ในที่สุด โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ที่มีการกระจายตัวน้อย มีประชากรขนาดเล็ก และอยู่เฉพาะเจาะจง ต่อพื้นที่ ยิ่งมีโอกาสที่จะลดจำนวนและสูญพันธุ์มากขึ้น

กรมวิชาการเกษตร คืนกล้วยไม้สู่ป่า

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2543 ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี ซึ่งได้รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในภาคใต้ไว้ รวม 6 พันธุ์ ได้แก่ เหลืองกระบี่ เหลืองตรัง เหลืองพังงา ขาวสตูล ม่วงสงขลา และคางกบใต้ ภายหลังทอดพระเนตรได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สถานีทดลองข้าวกระบี่ในขณะนั้น ดำเนินการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี เพื่อเพิ่มจำนวนและปลูกคืนสู่ป่าในพื้นที่ที่เหมาะสม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนองพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าท้องถิ่นภาคใต้ให้อยู่กับธรรมชาติแบบยั่งยืน โดยกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ (ศวพ. กระบี่) ดำเนิน “โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีในจังหวัดกระบี่มิให้สูญพันธุ์ ปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรพันธุกรรมพืชของชาติ และเพื่อรวบรวมพันธุ์รองเท้านารีที่มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดกระบี่ นำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ นับเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในภาคใต้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า กล้วยไม้รองเท้านารี เป็นพันธุ์กล้วยไม้ป่าท้องถิ่นภาคใต้ที่หายาก โดยเฉพาะพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ถือได้ว่าเป็นพันธุ์กล้วยไม้ประจำจังหวัดกระบี่ในปัจจุบันมีจำนวนลดลงไปจากธรรมชาติ จนอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการขยายพันธุ์รองเท้านารี โดยเฉพาะรองเท้านารีเหลืองกระบี่ ปีละ 2,000 กระถาง และปลูกคืนสู่ป่า ปีละ 1,500 กระถาง ส่วนที่เหลือได้มอบให้ส่วนราชการต่างๆ นำไปช่วยขยายพันธุ์ให้แพร่หลายมากขึ้น

พร้อมกันนี้ได้จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้รองเท้านารี สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ผู้สนใจทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญในด้านการสนับสนุน ฟื้นฟู และอนุรักษ์ เกิดจิตสำนึก มีความรักและหวงแหนทรัพยากรพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ให้ยังคงอยู่คู่กับผืนป่าจังหวัดกระบี่และประเทศไทยต่อไป

ยี่หุบ…เด่นตรงออกดอกเก่ง ยี่หุบเป็นไม้ไทยอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ

ด้วยจัดอยู่ในประเภทไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมคล้ายคลึงกับจำปีและมณฑา ออกดอกให้ผู้ปลูกได้ตลอดทั้งปี ในบริเวณรอบบ้านหากได้ต้นยี่หุบไปปลูก จะช่วยสร้างความสวยงามให้กับสวนหย่อมหน้าบ้านได้เป็นอย่างมาก รวมถึงกลิ่นของยี่หุบก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หอมหวลชวนให้หลง

ดอกยี่หุบนี้จะมีกลิ่นหอมมากในชช่วงเย็น พลบค่ำไปจนถึงช่วงเช้ามืด แม้ดอกจะออกได้ตลอดทั้งปี แต่ดอกยี่หุบหากบานแล้วจะหุบในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงได้รับฉายาว่า “ยี่หุบ” ยี่หุบเป็นไม้ดอกที่มีกลิ่นหอมสามารถนำไปปลูกประดับทำให้ผู้ปลูกรู้สึกสบายตาพร้อมกับสบายใจไปกับกลิ่นอันหอมของไม้ดอกชนิดนี้ได้

ยี่หุบมีชื่อทางวิทยาสาสตร์ว่า Magnolia coco (Lour.) DC จัดอยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ จำปี จำปา

มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ยี่หุบหนู , ยี่หุบน้อย (เชียงใหม่) ยี่หุบถูกจัดให้เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลปนสีเทา แตกกิ่งเป็นพุ่มแหลม ก้านปลายกิ่งสีเขียวเข้ม

ใบของต้นยี่หุบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับใบหอก ส่วนปลายใบแหลมเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดความกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร ยางประมาณ 10-15 เซนติเมตร

ดอกยี่หุบจะออกเป็นช่อสั้นๆ ช่อละประมาณ 5-8 ดอก โดยดอกที่ออกนั้นจะออกตามซอกใบใกล้กับบริเวณปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกยี่หุบมีสีขาวนวลหรือในบางครั้งเป็นสีเหลืองอ่อนนวล

กลีบดอกยี่หุบนั้นใน 1 ดอกมีประมาณ 6-12 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ลักษณะดอกเป็นรูปกลมรี กลีบดอกหนาอวบน้ำ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร

ยี่หุบออกผลเป็นกลุ่มมีลักษณะกลมรี ขนาดความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร ผิวของผลยี่หุบขรุขระ เปลือกแข็งหนา เมื่อแก่ผลจะแตกออก โดยภายในมีเมล็ดสีแดงสด

ยี่หุบสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง สำหรับต้นยี่หุบนี้ไม่ชอบที่มีแสงแดดมากนัก ชอบแต่เพียงแสงแดดรำไร สามารถอยู่ในพื้นที่แฉะได้ การปลูกต้นยี่หุบนี้สามารถนำเมล็ดมาเพาะกับดินร่วนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้

หากต้องการปลูกยี่หุบภายในกระถางไม่ควรตั้งกระถางไว้กลางแดดแต่ให้โดดแดดเพียงรำไรเท่านั้น เนื่องจากใบของยี่หุบจะไหม้และดอกที่ออกจะบานไม่สมบูรณ์ ควรปลูกไว้ใต้ต้นไม้อื่นหรือที่มีร่มเงา

ด้วยข้อดีของยี่หุบที่สามารถออกดอกให้ชมได้ตลอดปี จึงสมควรที่ไม้ชนิดนี้ จะเป็น 1 ในสมาชิกของพรรณไม้น่าปลูก คุณแดง บุญมี หรือ ลุงแดง เจ้าของไร่พริกไทยสดพันธุ์ซีลอน “ไร่ลุงแดง บ้านเผ่าไทย” บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 8 บ้านเผ่าไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทร. (084) 906-0967 เกษตรกรที่ผันตัวเองจากเดิมที่เคยทำไร่ข้าวโพด ทำนา มาปลูกพริกไทย เพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด สร้างรายได้นับแสนบาทต่อปี

ลุงแดง ย้อนกลับไปว่า เดิมก็เหมือนเพื่อนเกษตรกรทั่วไปในแถบนี้ที่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำนาข้าว ได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ต้องทำทุกปี ซึ่งทำมานานมาก แต่ก็ได้เพียงพอใช้จ่าย เมื่ออายุมากขึ้นก็มองหาพืชชนิดใหม่ที่ทำงานหนักน้อยลง ปลูกครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวได้นาน

ลุงแดง เล่าว่า เมื่อ 3 ปีก่อนได้เจอเพื่อนเกษตรกรปลูกพริกไทยอยู่ จึงได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องการปลูกพริกไทย และทราบว่าเป็นพืชที่ปลูกเพียงครั้งเดียว แต่เก็บเกี่ยวได้นานนับ 10 ปี แล้วยังให้ผลผลิตเป็นอย่างดีในพื้นที่โซนนี้ ที่สำคัญราคาพริกไทยสดมีราคาค่อนข้างดีและมีความต้องการมากพอสมควร
การลงทุนปลูกในครั้งแรก ลุงแดงได้ขอซื้อพันธุ์กลับมาทดลองปลูกเพียงไม่กี่ต้นเพื่อนำมาทดลอง แต่ผลพบว่าพริกไทยที่นำมาปลูกให้ผลผลิตเป็นอย่างดี ติดผลดก ใช้กินในครัวเรือน แบ่งเพื่อนบ้าน จากนั้นจึงตัดสินใจปลูกแบบจริงจัง จำนวน 360 หลัก โดยใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 2 เมตรxระหว่างแถว 2.5 เมตร และในปีที่ผ่านมาได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 200 หลัก ซึ่งขยายพื้นที่เพิ่มออกไปอีก ประมาณ 1,000 หลัก

ลุงแดง เล่าย้อนกลับไปว่า ตอนที่ปลูกพริกไทยครั้งแรกนั้น กว่าจะเตรียมแปลงและระบบน้ำเสร็จราวปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกำลังเข้าสู่ช่วงหน้าแล้งและอากาศหนาว แต่ลุงแดงก็ลองปลูกดู เพราะดูแล้วว่าพริกไทยค่อนข้างทนแล้งได้ แต่ขอให้มีน้ำช่วยก็ปลูกเลย พอปลูกไป

แม้อากาศจะแล้งแต่เมื่อต้นพริกไทยได้น้ำอย่างสม่ำเสมอพบว่า ต้นพริกไทยอยู่ได้ แตกยอดมาใหม่ใบเขียว จับมัดขึ้นเสาไปเรื่อยๆ จนสูงท่วมหลัก ซึ่งหลักในตอนนั้น ใช้เสาสูง 2.50 เมตร ฝังเสาลงดินไป 50 เซนติเมตร ประมาณ 9 เดือน หลังปลูก ต้นพริกไทยก็ออกดอกเต็มไร่เลย ผลผลิตดีและสูงขึ้นเรื่อยๆ หลังปีที่ 2 ขึ้นมา
ต่อมาก็ลองขยายพันธุ์ดูบ้าง ก็มีปักชำ โดยตัดกิ่งมาเป็นท่อนๆ ชำในถุงดำแล้วทำกระโจมมุงหลังคาพลาสติกอบไว้สัก 1 เดือน แต่เปอร์เซ็นต์การรอดไม่ค่อยดีนัก จะได้ต้นพันธุ์แค่ 50% เท่านั้น ก็มาเปลี่ยนวิธีการขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
ซึ่งนำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้สัก 1 คืน บีบน้ำให้พอหมาด แล้วยัดใส่ถุงขนาดเล็ก ใช้มีดกรีดถุงผ่าครึ่งถุง นำไปประกบตามข้อพริกไทย เพราะส่วนข้อจะเป็นส่วนที่จะออกราก เพียง 30-45 วัน รากพริกไทยก็จะเดินเต็มถุง พอรากเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลก็จะเหมาะสมในการตัดส่งขายหรือมาอนุบาลชำลงถุง แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถตอนได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น จึงจะได้ผลดีเกือบ 100% ลุงแดง กล่าว
พื้นที่ปลูก และการลงเสา

ขั้นตอนแรก คือการไถแปรหน้าดิน และปรับสภาพความร่วนซุยของหน้าดิน โดยการไถพรวน เนื่องจากบริเวณแปลงปลูกมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน บางส่วนเป็นดิน บางส่วนเป็นดินปนหินกรวด ก็ได้มีการไถพรวน และกำจัดสิ่งกีดขวางออกไปก่อน ประเด็นสำคัญคือ ควรจะมีการไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุยก่อนเริ่มปลูก เนื่องจากรากของพริกไทยจะขยายออกไปในดิน
ถ้าหากดินมีความร่วนซุย รากก็จะขยายออกไปรอบข้างได้ดี ทำให้ต้นโตไว

ขั้นตอนต่อไปคือ การขุดหลุมลงเสา โดยระยะห่างระหว่างเสา คือ 2.5×2.5 เมตร (สาเหตุที่เว้นระยะห่างค่อนข้างมาก เนื่องจากเมื่อต้นโตเต็มที่ จะได้มีพื้นที่สำหรับเข้าไปเก็บผลผลิต หรือตัดหญ้าใส่ปุ๋ย) โดยหลุมที่ขุดมีขนาด กว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ผสมกับสารป้องกันปลวกแมลง (ฟูราดาน)
หลังจากลงเสาเสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือ วางระบบน้ำ ทางไร่เลือกใช้ท่อ PE สาเหตุที่ใช้ท่อ PE เนื่องจากทนแดด ทนฝนได้ดี เหยียบได้ไม่แตกหัก อายุการใช้งานนานกว่าท่อ PVC โดยท่อใหญ่ที่ต่อจากปั๊มสำหรับจ่ายน้ำแต่ละแถว ใช้ท่อ PE ขนาด 60 มิลลิเมตร และต่อเข้าแถวด้วยท่อ PE ขนาด 20 mm. 2 bar. จากนั้นส่วนที่ต่อเข้าเสาแต่ละเสา ใช้ท่อ PE mini เมื่อเตรียมเสร็จเรียบร้อย ก็จัดการนำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้มาลงปลูกได้เลย โดยปลูกเสาละ 4 ต้น มัดลำต้นพริกไทยติดกับหลักไว้ เพื่อให้ต้นโตเกาะหลักขึ้นไปเรื่อยๆ

วิธีปลูกและดูแลรักษา
การเตรียมการก่อนปลูก เริ่มจากการเตรียมดิน แปลงปลูกจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ปรับพื้นที่ไม่ให้มีสภาพน้ำขัง ไม่ชื้นแฉะหรือเป็นแอ่งน้ำ ไถพรวนดินลึก 40-60 เซนติเมตร ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2-3 ตันต่อไร่ เพื่อให้ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดี หากดินเป็นกรด ควรปรับด้วยปูนขาว หรือปูนโดโลไมต์ เพื่อให้ความเป็นกรดน้อยลง ตากดิน 15 วัน ยกแปลงเป็นลอนลูกฟูก

วิธีปลูก ปลูกค้างละ 1 หลุม ปลูกห่างจากโคนค้าง ประมาณ 15 เซนติเมตร ขุดหลุมพรวนรอบเสา ผสมดินกับปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกเก่า นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ ขุดหลุมปลูกแค่เท่าถุงดินเดิม ปลูกหลุมละ 1 ต้น รอบเสา 4 ด้าน ก็จะใช้ทั้งหมด 4 ต้น ต่อเสา ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง หันด้านที่มีราก (ตีนตุ๊กแก) ออกด้านนอกค้าง กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม

เทคนิคนำกิ่งลงชำถุง
ลุงแดง แนะนำว่า ถ้าได้รับกิ่งพันธุ์แบบตุ้มตอน แกะถุงพลาสติกที่ห่อหุ้มรากออกก่อนอย่างเบามือ พยายามอย่าให้ขุยมะพร้าวที่รากยึดไว้แตก ตัดตุ้มโดยใช้กรรไกรหรือมีดคัตเตอร์ตัดเชือกปอที่รัดตุ้มไว้หัวท้ายออกทั้งหมด
เมื่อแกะตุ้มเสร็จก็นำกิ่งพันธุ์ลงถุงดำโดยใส่ดินไปก่อน ประมาณครึ่งถุงแล้วค่อยเอากิ่งพันธุ์ส่วนที่เป็นรากวางลงไปกลางถุง เอามืออีกข้างจับยอดไว้ไม่ให้ต้นพันธุ์เอนไปมา แล้วเอามืออีกข้างตักดินใส่ให้เต็มถุง กดดินบริเวณรอบๆ กิ่งพันธุ์ให้แน่น
จากนั้นรดน้ำ รออีกประมาณ 45 วัน จึงค่อยนำลงปลูกในแปลงปลูก อย่ารดน้ำมากเกิน เอาแค่ชื้นพอดี และควรพักต้นพันธุ์ไว้ในที่ร่มรำไร อากาศถ่ายเทได้ดี ขั้นตอนก็มีเพียงเท่านี้ พื้นที่วางต้นชำ ควรวางบนพื้นดินที่มีความชื้นตลอด แต่น้ำไม่ขัง
ข้อควรระวังการชำกิ่ง
ข้อควรระวังที่สำคัญคือ ห้ามนำถุงกล้าพริกไทยวางบนปูนหรือแผ่นพลาสติกใดๆ เพราะพริกไทยจะแตกยอดสวยงามให้เห็นในระยะแรกเท่านั้น แต่ต่อมารากจะค่อยๆ ถูกทำลายด้วยเชื้อรา เช่น เชื้อราไฟทอปทอร่าที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าและจะยืนต้นตายในที่สุด เพราะการระบายน้ำที่ก้นถุงไม่ดี รวมถึงอุณหภูมิบนพื้นผิววัสดุด้วย
การดูแลรักษา
เริ่มจากการใส่ปุ๋ย จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ปุ๋ยดังกล่าวจะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพริกไทย และช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย สามารถดูดซับความชื้นและเพิ่มแร่ธาตุ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15, 8-24-24 และ 12-12-17+Mg ให้พิจารณาเลือกใส่สูตรใดสูตรหนึ่งตามความเหมาะสม เช่น
ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 300-500 กรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง ต่อปี หรือตามความเหมาะสม
ปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
ปีที่ 3 และปีถัดไป ใส่ปุ๋ยเคมี 1.5 กิโลกรัม ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
ครั้งที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หลังจากเก็บเกี่ยวพริกไทย เพื่อฟื้นความสมบูรณ์ของต้นพริกไทย
ครั้งที่ 2 ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เพื่อเร่งการออกดอกและติดผล
ครั้งที่ 3 ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-17+Mg ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อบำรุงผล
ส่วนปุ๋ยทางใบและฮอร์โมนบำรุง สามารถใช้ได้ตามความสะดวก ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้น
ลุงแดง อธิบายว่า การใส่ปุ๋ยไม่มีสูตรตายตัว คงขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตและระยะของการให้ผลผลิตบนต้นและการสังเกตของเจ้าของไร่
การให้น้ำ
เลือกระบบน้ำตามสภาพแวดล้อมที่ให้พริกไทยได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง การให้น้ำแบบร่อง ต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเท การใช้มินิสปริงเกลอร์ เป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน ต่อครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ 3-4 วัน ต่อครั้ง ตามสภาพดินฟ้าอากาศ
ในฤดูแล้งอาจประหยัดการให้น้ำโดยการคลุมดินในแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แต่ในฤดูฝนไม่ควรคลุมดินจนชิดโคนต้น ควรเว้นห่างเพื่อไม่ให้โคนต้นชื้นแฉะเกินไป และเกิดโรค เตรียมให้น้ำระบายออกจากแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว และขณะดินชื้นแฉะไม่ควรเหยียบย่ำในแปลง จะทำให้ดินแน่นทึบ รากเสียหายได้
การขึ้นค้าง
หลังจากปลูกพริกไทยได้ประมาณ 30-50 วัน พริกไทยจะเริ่มแตกยอดอ่อน ให้เลือกยอดอ่อนที่สมบูรณ์ไว้ต้นละประมาณ 3 ยอด ที่เหลือตัดทิ้งไป จัดยอดให้เรียงขนานขึ้นรอบค้าง อย่าให้ยอดทับกัน เพราะจะทำให้ได้ทรงพุ่มที่ไม่ดี ใช้เชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้าง โดยผูกข้อเว้นข้อ ผูกยอดจนกระทั่งยอดท่วมค้าง ใช้เวลาประมาณ 10-12 เดือน
กรณีที่ต้องการเลี้ยงเถาเพื่อใช้ทำพันธุ์ขยายพื้นที่ปลูกในปีต่อไป หรือเพื่อจำหน่ายยอดคืนทุน เมื่อพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน เมื่อพริกไทยแตกยอด จัดยอดขึ้นค้างเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง

ลุงแดงมุงซาแรนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ให้แปลงปลูกพริกไทยใน 1 ปีแรก โดยอธิบายว่า ปัจจุบันอากาศบ้านเราร้อนมาก การปลูกพริกไทยจึงมีต้นทุนเพิ่ม คือต้องมุงซาแรน เพื่อช่วยพรางแสงให้ เพื่อลดความร้อนจากแสงแดดให้ต้นพริกไทยและรักษาความชื้นแต่หลังจากที่ต้นพริกไทยปลูกไปได้สัก 1 ปี ก็จะรื้อซาแรนพรางแสงออกไป เพราะพริกไทยสามารถปรับสภาพได้ และทรงพุ่มสูงถึงยอดเสาปูนซึ่งจะมีร่มเงาขึ้นมาทดแทน

การขายผลผลิต
ลุงแดง เล่าว่า ตอนนี้พริกไทยสดไม่พอขาย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่สั่งเข้ามา ยังมารวมถึงออเดอร์จากบริษัทที่เข้ามาติดต่อที่ต้องการให้จัดส่งวันละหลายๆ ตัน ให้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 95 บาท
“แต่เราคือ ที่ไร่กับเพื่อนเกษตรกรที่เริ่มปลูกยังไม่สามารถรวบรวมจำนวนได้มากขนาดนั้น ตอนนี้ขายแค่พ่อค้าหลายๆ เจ้า ก็ไม่เพียงพอ เราต้องจัดสรรแบ่งให้พ่อค้า โดยพยายามไม่ผูกมัดผูกขาดกับพ่อค้าเพียงเจ้าเดียว พ่อค้าบางเจ้าถึงกับช่วยออกค่าเก็บให้เจ้าของไร่เลยทีเดียว อย่างเช่น ให้ค่าเก็บ กิโลกรัมละ 10 บาท ก็เงินค่าเก็บทั้งเจ้าของไร่และคนงานทีเดียว”
“ราคาก็มีขึ้นลง อย่างหน้าแล้งหรือหน้าร้อนที่ราคาแพง กิโลกรัมละ 250-280 บาท หรือช่วงเวลาถูก คือราวๆ ช่วงหลังเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ที่พริกไทยออกเยอะ เป็นช่วงฤดูของพริกไทย ก็เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50-80 บาท แล้วราคาจะมาขยับสูงขึ้นอีกก็หลักร้อยบาทขึ้นไปในช่วงหน้าหนาว คือราวเดือนธันวาคมเป็นต้นไป”

ลุงแดง อธิบายเพิ่มว่า พริกไทยเป็นพืชที่ออกดอกติดผลแบบทะวายออกเกือบทั้งปี เฉลี่ยจะออกดอกติดผลราวๆ 5-6 รุ่น จะออกดอกต่อเมื่อมีการแตกยอดใหม่ แล้วหลังออกดอกได้สัก 1 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าราคาไม่ดี เกษตรกรก็สามารถดึงเวลาไม่เก็บออกจากต้นก็ได้ พริกไทยสามารถอยู่บนต้นได้ 2-3 เดือน ทีเดียว แถมยิ่งเก็บช้าน้ำหนักก็ยิ่งดีด้วย
ถือเป็นข้อดีอีกอย่างของการปลูกพริกไทย เกษตรกรรอราคาที่พอใจก็จะเก็บได้ การขายลุงแดงจะขายแบบรวม ไม่คัดแยกเกรด ซึ่งพ่อค้าก็จะเอาไปคัดแยกเกรด เช่น ช่อยาว ช่อตรง เม็ดเต็มช่อ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
แต่สำหรับเกษตรกรจะขายแบบคละรวมจะดีกว่า หนึ่งลดขั้นตอน ผลผลิตถูกรับซื้อไปทั้งหมด

ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรเฝ้าระวังการระบาดของโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า มักพบโรคในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต จะพบแสดงอาการเริ่มแรกที่กิ่งอ่อนหรือผลอ่อนมีจุดสีเหลือง จากนั้นพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กสีน้ำตาล คล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ำ หากอาการรุนแรงแผลจะเน่า ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรูหรือเว้าแหว่ง สำหรับผลที่มีอาการรุนแรง จะทำให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำ และผลเน่าในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า ให้เกษตรกรเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค และควรลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้ำ อาจทำให้พืชอ่อนแอเกิดการระบาดมากขึ้น จากนั้น ให้หมั่นสำรวจทำความสะอาดกำจัดวัชพืชโคนต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรคใต้ต้นออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

หลีกเลี่ยงการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคของพืชทำให้เกิดแผลน้อยที่สุด ซึ่งแผลจะเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุของโรคเข้าทำลายพืชได้ง่าย อีกทั้งเกษตรกรควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด และผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ เกษตรกรควรให้น้ำแก้วมังกรเฉพาะในช่วงเช้า หลีกเลี่ยงการให้น้ำในช่วงบ่ายหรือเย็น เพื่อช่วยลดการสะสมความชื้นในทรงต้นไม่ให้มีมากเกินไป กรณีระบาดมาก หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล 20% + 12.5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วต้น 2 ครั้ง ทุก 5-7 วัน ในระยะติดดอกพ่นอีก 2 ครั้ง ทุก 7 วัน และให้หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตแก้วมังกรอย่างน้อย 15 วัน

“มะละกอ” จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่สูงมากนัก แต่เดิมคนไทยจะคุ้นเคยกับ “มะละกอพันธุ์แขกดำ” และ “พันธุ์แขกนวล” โดยพันธุ์แขกดำนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก ในขณะที่พันธุ์แขกนวลนิยมนำมาทำเป็นส้มตำ

ด้วยความที่ “ส้มตำ” นั้นเป็นที่นิยมของทั่วทุกภาพ ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มขยายพื้นที่ปลูกมะละกอพันธุ์ทานดิบอย่าง “ครั่ง” กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์มะละกอไทยที่พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาเพื่อบริโภคดิบ เพื่อนำมาทำส้มตำโดยเฉพาะ เนื้อกรอบและรสชาติอร่อยมาก

นอกจากนั้น ยังมีมะละกออีกหลายๆ สายพันธุ์ที่น่าจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกและบริโภค เช่น มะละกอ “ขอนแก่น 80” และมะละกอยักษ์ “เรดแคริเบี้ยน” เป็นต้น “มะละกอแขกดำศรีสะเกษ” สายพันธุ์มะละกอที่ดีพันธุ์หนึ่งของไทย เป็นมะละกอไทยอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร ได้รวบรวมพันธุ์มะละกอแขกดำจากจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครราชสีมา โดยได้นำเมล็ดมาปลูกในระหว่างปี พ.ศ. 2527-2533 เพื่อศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์แขกดำที่ให้ผลผลิตสูงและได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า “แขกดำศรีสะเกษ” ปัจจุบันมะละกอสายพันธุ์นี้มีการขยายพื้นที่ปลูกกันทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก

ลักษณะ ดีเด่นของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ สมัคร Royal Online เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตดกและติดผลไว ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดีพอประมาณจะให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ประมาณ 50 กิโลกรัม/ปี และให้ผลผลิตสูงกว่ามะละกอแขกดำที่มีปลูกอยู่ทั่วไป (มีรายงานผลผลิตจากแปลงศึกษาและรวบรวมพันธุ์มะละกอแขกดำอื่นๆ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ผลผลิตได้เฉลี่ยเพียง 6-12 กิโลกรัม ต่อต้น/ปี เท่านั้น) นอกจากนั้น ยังพบว่ามะละกอแขกดำศรีสะเกษมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่า

สำหรับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ จะเริ่มออกดอกเฉลี่ย 130 วัน หลังจากลงหลุมปลูก เมื่อมะละกอเริ่มติดผลแรกต้นจะมีความสูงประมาณ 1.50 เมตร และเก็บเกี่ยวผลดิบเมื่อผลมีอายุ ประมาณ 3-4 เดือน หลังจากดอกบาน และเก็บเกี่ยวผลสุกเมื่อผลมีอายุได้ 5-6 เดือน น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.28 กิโลกรัม

เมื่อผ่าดูลักษณะภายในผลสุกจะมีเนื้อสีแดงอมส้ม ความหนาของเนื้อ 2.5 เซนติเมตร มีความหวานเฉลี่ย 10-13 องศาบริกซ์ คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งของมะละกอ “แขกดำศรีสะเกษ” คือสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งดิบและสุก นอกจากนั้น ยังปลูกเพื่อส่งขายโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋อง

“ครั่ง” มะละกอเพื่อใช้ทำส้มตำโดยเฉพาะ ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่งมีดังนี้ “เมื่อต้นมะละกอมีอายุ 1-3 เดือน จะมีสีแดงอมม่วงอ่อนตามก้านใบและเป็นจุดๆ ตามลำต้น เมื่อต้นมีอายุได้ 5 เดือน สีที่ก้านและจุดประตามต้นจะหายไป เมื่อผลผลิตแก่จะมีความยาวของผลเฉลี่ย 47 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ย 9 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม และมีจำนวนผลเฉลี่ย 38 ผล ต่อต้น

ลักษณะเด่นของมะละกอพันธุ์ครั่งเหมาะที่จะใช้เป็นมะละกอเพื่อการทำส้มตำ เนื่องจากเนื้อมีสีขาวขุ่น กรอบและหวาน ถ้าปล่อยให้ผลสุกเนื้อจะมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน (เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ย 12.7 องศาบริกซ์)

สรุป ลักษณะโดยภาพรวมของมะละกอพันธุ์ครั่งที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตร จังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ได้คัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ดังนี้

1. เนื้อของผลหนาประมาณ 2.15 เซนติเมตร มีความกรอบ เนื้อดิบสีขาวขุ่น (เนื้อไม่แข็งกระด้าง) รสชาติหวานเล็กน้อยแต่หวานกว่าพันธุ์แขกนวลซึ่งมีรสชาติจืด แม้จะมีการปลิดผลลงจากต้นแล้ว นานเป็นเวลา 5-7 วัน รสชาติของมะละกอยังคงสภาพความกรอบได้ดี

2. มะละกอพันธุ์ “ครั่ง” ยังคงมี 3 เพศ คือ ต้นกะเทย ต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย เกษตรกรที่นำเมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง แต่สำหรับผลผลิตมะละกอที่ได้จากต้นตัวเมียยังคงมีลักษณะของผลที่เป็นทรง ยาวอยู่ ไม่เหมือนกับมะละกอสายพันธุ์อื่นที่มีผลเป็นทรงกลม