บังหมัดฉา หันมาทำสวนยางพาราแบบวนเกษตร เมื่อ ปี 2552

สำหรับพื้นที่ที่มีสภาพดินกร้านแข็ง เขาใช้วิธืปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้ที่ปลูกร่วมในแปลงสวนยาง วิธีนี้ช่วยรักษาความชี้น หลังจากต้นไม้เติบโตขึ้นจนมีร่มทึบไม่มีแสง ต้นหญ้าแฝกก็ตายไป เมื่อเวลาผ่านไป สภาพดินในสวนยางพาราค่อยๆ ปรับตัวมีความชุ่มชื้นขึ้น เมื่อดินดี ต้นยางก็ให้ผลผลิตดีขึ้น แตกต่างจากสวนยางพาราที่ปลูกเชิงเดี่ยวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง

เทคนิคการปลูกพืชร่วมยาง

ปัจจุบัน บังหมัดฉา เน้นปลูกพืชร่วมยางที่หลากหลายชนิดและเป็นประโยชน์ในการใช้สอย โดยปลูกต้นยางพาราร่วมกับไม้เศรษฐกิจ ประเภท ยางนา พะยอม ตะเคียนทอง ยางแดง เทพทาโร ต้นสัก ต้นพะยูง ฯลฯ สำหรับใช้สอยและจำหน่ายแล้ว เขายังปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้ เช่น สะละอินโดฯ ไผ่ตงลืมแล้ง (ไผ่กิมซุง) มะไฟ กล้วย ตะไคร้หอม กระชายดำ ชะพลู ฯลฯ ในพื้นที่ที่ว่างที่เหลือเพื่อเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนและขายเพื่อสร้างรายได้ นอกจากรายได้จากการกรีดยางแล้ว บังหมัดฉา ยังมีรายได้เสริมจากพืชร่วมยางตลอดทั้งปี เป็นทั้งรายได้ระยะสั้น ระยะปานกลาง และรายได้ในระยะยาวอยู่ภายในสวนแห่งนี้

ประโยชน์การปลูกพืชแบบวนเกษตรในสวนยางพารา สิ่งแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนคือ บรรยากาศที่ร่มรื่นเย็นสบาย คาดว่าอุณหภูมิภายในสวนยางพาราแห่งนี้ต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก ไม่ต่ำกว่า 2-3 องศาเซลเซียส เมื่อสังเกตบนผิวดิน จะเห็นสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ เพราะในสวนยางแห่งนี้มีการผลัดใบของพืชนานาชนิด ทำให้มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง วัชพืชในสวนเติบโตช้าลง ช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช ไม่ต่ำกว่า 300 บาท ต่อไร่

นอกจากนี้ บังหมัดฉา ยังใช้พื้นที่บางส่วนในแปลงสวนยางพาราแห่งที่ 2 ใช้เพาะปลูกและขยายพันธุ์ไม้ เช่น โกโก้ สมอ พะยอม รางจืด ผักหวานบ้าน ตะเคียนทอง รวมทั้งปลูกต้นไม้รอบสวนเพื่อใช้เป็นรั้วกั้นอาณาเขต เช่น มะกอก ขี้เหล็ก เป็นต้น

สินค้าเด่นของสวนแห่งนี้ที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไป คือ สะละอินโดฯ เพราะทุกวันนี้ปริมาณสินค้าสะละอินโดฯ ในตลาดยังมีน้อย ขายได้ราคาดี ทั้งผลผลิตและต้นพันธุ์ที่บังหมัดฉาปลูกขยายพันธุ์ไว้สำหรับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจโดยทั่วไป ต้นสะละอินโดฯ เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ร่ม อย่างเช่น สวนยางพารา

ประโยชน์ของการสร้างป่าในสวนยาง

บังหมัดฉา บอกว่า ข้อดีของการสร้างป่าในสวนยาง นอกจากมีรายได้เพิ่มจากพืชอื่นๆ แล้ว ยังพบว่า สวนยางใหม่ที่เปิดกรีดมีความเข้มข้นของน้ำยางสูงขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 32-35 และมีปริมาณน้ำยางสูงกว่าการทำสวนยางเชิงเดี่ยว ประมาณ ร้อยละ 6-7 เนื่องจากการสร้างป่าในสวนป่า ช่วยให้ดินมีคุณภาพดีขึ้นและมีความชุ่มชื้นมากกว่าเดิมนั่นเอง บังหมัดฉา ยังเลี้ยงผึ้งโพรงแบบพึ่งพาธรรมชาติ ในสวนวนเกษตร เก็บน้ำผึ้งออกขายได้เงินก้อนโต นอกจากนี้ เขายังมีรายได้เสริมจากการนำไม้ไผ่มาเผาเป็นถ่านชาร์โคลออกขายให้กับผู้บริโภคที่รักสุขภาพอีก ทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ากระเป๋าอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ การปลูกไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง รวมทั้งสะละอินโดฯ ร่วมยาง ยังมีส่วนช่วยในการยึดเกาะหน้าดินได้ดีกว่าการปลูกยางเป็นพืชเชิงเดี่ยว ระบบรากของพืชร่วมยางยังช่วยชะลอความแรงของน้ำ ทำให้น้ำไหลผ่านหน้าดินช้าลง ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน สวนไผ่ตงลืมแล้ง (ไผ่กิมซุง) ก็มีส่วนช่วยบำรุงดินเช่นกัน เพราะพืชตระกูลไผ่มีรากฝอยจำนวนมาก กระจายตัวช่วยยึดหน้าดินแล้ว ใบไผ่ยังทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์กว่าพืชชนิดอื่นๆ นอกจากมีแร่ธาตุจำนวนมากแล้ว ยังร่วงลงดินเป็นอินทรียวัตถุได้ตลอดปี

ประการต่อมา การสร้างป่าในสวนยาง จะมีการผลัดใบของพืชชนิดต่างๆ ร่วมด้วย ทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีสูง วัชพืชมีน้อย ประหยัดค่าตัดหญ้าและค่าปุ๋ย บังหมัดฉาคอยดูแลฉีดน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มแร่ธาตุ เร่งการย่อยสลายให้กับอินทรียวัตถุในสวนแห่งนี้ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพเหล่านี้ก็ต่ำเพราะทำได้เองในบ้าน คิดเป็นต้นทุนการผลิตแค่เพียงปีละ 600 กว่าบาทเท่านั้น

ข้อดีของการสร้างป่าในสวนยาง ที่เรียกว่า สวนยางแบบวนเกษตรนั้น ถือเป็นการช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศตามธรรมชาติไปด้วยในตัว เพราะการปลูกต้นไม้ เท่ากับเพิ่มปริมาณออกซิเจนและความชุ่มชื้นมากขึ้นด้วย ทำให้บังหมัดฉาเกิดความภาคภูมิใจในการทำสวนยางพาราแบบวนเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีว่า เป็นการตัดสินใจเลือกที่ถูกต้อง เพราะมีสุขภาพกายใจที่ดีขึ้น แถมยังมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าในอดีต

ดังนั้น บังหมัดฉา จึงชักชวนเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้หันมาสร้างป่าในสวนยางที่เรียกว่า ระบบวนเกษตรยางพารา เพราะเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความยั่งยืนในระยะยาว เพราะช่วยให้เกษตรกรมีคลังอาหาร คลังยาสมุนไพรสำหรับใช้ในครัวเรือน เป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้พึ่งพาตัวเองได้ สอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศาสตร์พระราชา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)

“ผมปลูกกระชายมานานกว่า 20 ปี แต่ครอบครัวผมปลูกมานานกว่านี้ ปลูกมาตั้งแต่รุ่นพ่อ-รุ่นแม่ การปลูกกระชายในเขตนี้น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของระบบเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเกษตรกรจะปลูกกระชายแซมในพืชหลัก เช่น ปลูกแซมในสวนผสม ขนุน กล้วย กระท้อน สะเดา มะม่วง ฯลฯ เป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เกษตรได้อย่างครบถ้วน” นี่คือคำพูดของ คุณวิโรจน์ เทียนขาว เกษตรกรนครสวรรค์ จัดเป็นเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการปลูกกระชาย หลายคนต่างก็ทราบดีว่า “กระชาย” เป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญเคียงคู่ครัวไทยมาทุกยุคทุกสมัย ในตำราอาหารคาว “กระชาย” จะใช้เพิ่มรสเผ็ดร้อนและช่วยดับกลิ่นคาวของอาหาร

ประชาชนในชนบทจะนิยมปลูกกระชายเป็นแบบพืชผักสวนครัวในบริเวณบ้านหรือใต้ร่มต้นไม้ผล เกษตรกรบางรายปลูกกระชายเป็นรายได้เสริม แต่สำหรับคุณวิโรจน์ปลูกกระชายในสวนผลไม้เก่าจากที่เคยเป็นรายได้เสริมมาสู่รายได้หลักในปัจจุบัน จากประสบการณ์ในการปลูกกระชายมานานกว่า 20 ปี ทำให้ทราบถึงวิธีการปลูกและบำรุงรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆ มากมาย

ในทางพฤกษศาสตร์ “กระชาย” จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนและเป็นพืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสง คือจะเจริญเติบโตทางลำต้นให้เห็นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (ต้นฤดูฝน) เรื่อยไปจนถึงเดือนธันวาคม (ฤดูหนาว) หลังจากนั้นใบจะเหลืองและต้นตาย โดยจะคงเหลือแต่เหง้าสดและรากติดอยู่ในดินได้นานถึง 4 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนเมษายน) ถ้าไม่มีการเก็บเกี่ยวเหง้าออกมา เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนของปีถัดไป ต้นกระชายก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ไม่ควรปลูกกระชายใต้ร่มเงา
ต้นมะปรางและมะขาม
จากประสบการณ์ของคุณวิโรจน์ เริ่มต้นก่อนปลูกกระชายจะต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ว่างใต้สวนผลไม้บางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกระชาย ตัวอย่าง เกษตรกรที่ทำสวนมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดี หรือทำสวนมะขามหวาน คุณวิโรจน์บอกว่า ไม่ควรปลูกกระชายใต้ร่มเงาของไม้ผลทั้ง 2 ชนิดนี้ เนื่องจากต้นกระชายจะยุบตายก่อนที่ลงหัว แต่ถ้าเป็นไม้ผลชนิดอื่น เช่น ขนุน สะเดา มะม่วงและกล้วย เป็นต้น เมื่อปลูกกระชายแซมในสวนผลไม้เหล่านี้ การเจริญเติบโตของต้นกระชายจะดีมาก มีการลงหัวที่ดี รากอวบใหญ่และได้น้ำหนัก

จะทำสวนกระชาย
ต้องเริ่มต้นอย่างไร
เกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้น การปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ถ้าเป็นสวนผลไม้เก่าจะดีมาก โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยจะดีมาก ในการเตรียมดินจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการปลูกพืชอื่น เพียงแต่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ออกบ้างให้มีพื้นที่ว่างปลูกกระชายได้ ตามปกติแล้วจะเริ่มขุดพรวนดินประมาณเดือนพฤษภาคม มีเกษตรกรบางรายได้ใช้รถไถเล็กเข้าไปพรวนดิน

สำหรับเคล็ดลับสำคัญในการเตรียมดินปลูกกระชายนั้น คุณวิโรจน์จะมีการขุดตากดินนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดส่องฆ่าเชื้อโรคและทำลายศัตรูของกระชายให้ลดลง และถ้าจะให้ต้นกระชายเจริญเติบโตลงรากใหญ่ คุณวิโรจน์แนะนำให้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ไปพร้อมกับการพรวนดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ คุณวิโรจน์ย้ำว่า “ปลูกกระชายถ้าใส่ขี้ไก่ ต้นจะเจริญเติบโตดีมาก ปริมาณรากมาก แต่ไม่แนะนำให้ใส่ขี้วัว เพราะหญ้าจะขึ้นมาก กำจัดยากและสิ้นเปลืองเวลา” โดยปกติแล้วสภาพดินที่จะปลูกกระชายควรจะดินร่วนซุย มีความลึกของหน้าดินอย่างน้อย 1 คืบ (กระชายไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง) นอกจากนั้น ยังมีเกษตรกรบางรายปลูกกระชายด้วยวิธีการยกร่อง ร่องที่ยกนั้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ไม่ควรยกร่องให้ต่ำกว่านี้ เพราะเมื่อฝนตกลงมาจะทำให้ร่องต่ำลงไปอีก

เกษตรกรจะต้องอย่าลืมว่า กระชายเป็นพืชที่มีตุ้มต่อจากหัว ส่วนหัวจะเป็นก้อนค่อนข้างกลมติดกับลำต้นเป็นก้อนไม่ใหญ่นัก ผู้ซื้อต้องการได้ตุ้มหรือส่วนที่เป็นรากยาวๆ ถ้าส่วนนี้สั้นๆ มักจะขายไม่ได้ราคา สาเหตุที่ตุ้มหรือรากสั้นนั้นเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ดินใต้ต้นกระชายแข็ง ทำให้ตุ้มเจริญเติบโตลงไปในดินไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือต้นกระชายได้ปุ๋ยไม่เพียงพอ

เลือกปลูกกระชายพันธุ์ไหนดี
คุณวิโรจน์ได้อธิบายถึงสายพันธุ์กระชายที่ปลูกอยู่ในบ้านเราในปัจจุบันนี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ “กระชายพื้นบ้าน” หรือบางคนเรียก “กระชายปุ้ม” กระชายพันธุ์นี้รากจะสั้นและเป็นปุ้มตรงปลายและเป็นพันธุ์ที่จะต้องปลูกใต้ร่มรำไรเท่านั้น แต่กระชายพันธุ์นี้แม่ค้าจะนิยมซื้อและให้ราคาค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นกระชายที่มีกลิ่นหอม เหมาะต่อการประกอบอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกง แต่มีข้อเสียตรงที่หั่นยาก ในขณะที่กระชายอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ “พันธุ์รากกล้วย” เป็นกระชายที่นิยมปลูกกันมากในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ฯลฯ เป็นสายพันธุ์กระชายที่สามารถปลูกได้ในสวนผลไม้เก่า ปลูกเป็นพืชแซมหรือจะนำมาปลูกในสภาพกลางแจ้งในเชิงพาณิชย์ก็ได้ ปลูกได้เหมือนกับการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ ลักษณะรากของกระชายพันธุ์รากกล้วยจะมีลักษณะยาวตรงและอวบ เหมือนกับรากกล้วย ให้ผลผลิตค่อนข้างดี น้ำหนักมาก

ปลูกกระชายได้ 2 วิธี คือปลูกโดยใช้ต้นและปลูกโดยใช้เหง้า วิธีการในการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย ควรคัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุเฉลี่ย 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์และไม่มีโรคแมลงทำลาย แบ่งหัวพันธุ์ด้วยการหั่น ขนาดของเหง้าควรจะมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม ต่อแง่ง ก่อนปลูกควรแช่หัวพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อราและสารฆ่าแมลงที่ป้องกันแมลงในดิน แช่ไว้นานประมาณ 30 นาที

การปลูกกระชายของคุณวิโรจน์ จะขุดหลุมให้มีระยะระหว่างแถวประมาณ 30 เซนติเมตร และระยะระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ปลูกต้นกระชายด้วยต้นหรือเหง้าลงไปในดินและกดดินให้แน่น ถ้าฝนไม่ตกอาจจะต้องให้น้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นกระชายตั้งตัวได้เร็วขึ้น เมื่อต้นกระชายตั้งตัวได้แล้วไม่ต้องทำอะไรอีก นอกจากคอยดูแลเรื่องวัชพืชอย่าให้ขึ้นคลุมต้นกระชายเท่านั้น

สำหรับคำแนะนำในการปลูกกระชายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะแนะนำให้ปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 30×30 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง ยาว และลึก 15 เซนติเมตร ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยขี้ไก่เก่า หลุมละ 200 กรัม (ประมาณ 1 กระป๋องนม) คลุมแปลงปลูกด้วยฟางข้าวหนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชและยังช่วยรักษาความชื้นในดิน หลังจากปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นกระชายงอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เกษตรกรควรรีบกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่

ป้องกันโรคเน่า
ในแปลงปลูกกระชายอย่างไร
คุณวิโรจน์บอกว่า ปัญหาที่สำคัญในการปลูกกระชายคือ ปัญหาโรคเน่า และได้แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกควรหมั่นตรวจแปลงปลูกกระชายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคเน่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เมื่อตรวจพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่างของดินมีสภาพความเป็นกรดสูงจะต้องรีบแก้ไขด้วยการใส่ปูนขาวในอัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยหว่านรอบโคนต้นหรือจะใส่ในช่วงของการเตรียมดินก็ได้ อีกประการหนึ่งที่เกษตรกรไม่ควรลืมก็คือ การจุ่มเหง้ากระชายด้วยสารป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อนปลูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคเน่าได้ นอกจากนั้น คุณวิโรจน์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นกระชายมากๆ จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นกระชายเน่าตายได้เช่นกัน

ปลูกกระชายไปได้ 8 เดือน
ขุดรากขึ้นมาขายได้
หลังจากปลูกกระชายไปได้นาน 8 เดือน คือเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมครบ 8 เดือนในเดือนธันวาคม ในช่วงเดือนมกราคมจะเริ่มขุดรากขึ้นมาขายได้ โดยวิธีการสังเกตที่ใบและต้นของกระชาย จะเริ่มมีสีเหลืองและยุบตัวลง จะขุดโดยใช้จอบ คุณวิโรจน์ย้ำว่า ในการขุดกระชายในแต่ละครั้งจะต้องขุดในขณะที่ดินมีความชื้น ก่อนขุดถ้าดินแห้งให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ดินนุ่ม วิธีการนี้จะช่วยลดความเสียหายของรากกระชายไม่ให้หักหรือขาดได้ ขณะที่ขุดรากกระชายขึ้นมานั้นมีเกษตรกรหลายรายจะใช้วิธีการฝังเหง้าเล็กๆ ลงไปพร้อมกับตอนขุดเลย เป็นการประหยัดแรงงานไม่ต้องเสียเวลาในการปลูกรุ่นต่อไป ทำงานไปพร้อมกัน แต่ถ้าเราขุดกระชายขึ้นมาพบว่ามีปริมาณของรากน้อยเกินไป ไม่ควรจะขุดขึ้นมา รอให้ถึงปีหน้าถึงจะขุดได้รากกระชายที่มีปริมาณมากขึ้น

กระชายเป็นพืชที่ได้เปรียบ
ตรงที่รอเวลาการขุดขายได้
หลังจากที่ขุดกระชายขึ้นมา เกษตรกรจะต้องนำไปล้างทำความสะอาดและตัดแต่งเหง้าหรือรากที่ฉีกขาดออกก่อนที่จะบรรจุลงถุงขาย แต่ถ้าเราขุดรากกระชายขึ้นมาแล้วปรากฏว่าราคาในขณะนั้นไม่เป็นที่พอใจ คุณวิโรจน์แนะนำให้เก็บรากกระชายที่ขุดขึ้นมาใส่กระสอบปุ๋ยเก็บไว้โดยไม่ต้องล้างทำความสะอาด รากกระชายจะยังคงความสดไม่เน่าเสีย อย่าลืมว่าอย่าล้างน้ำเด็ดขาด จะล้างก็ต่อเมื่อจะนำไปขายเท่านั้น ข้อดีอีกประการหนึ่งของการปลูกกระชายก็คือ กระชายเป็นพืชที่เราไม่ต้องรีบขุดมาขายเหมือนพืชอื่น ช่วงไหนราคาไม่ดีก็ปล่อยทิ้งไว้จนกว่าราคาจะอยู่ในระดับที่พอใจจึงขุดขึ้นมาขาย คุณวิโรจน์ย้ำว่า “การปลูกกระชายเหมือนกับการฝากธนาคาร เก็บไว้นานได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น” จากการสำรวจราคาซื้อ-ขายกระชายในแต่ละปีพบว่า กระชายจะมีราคาสูงสุดในช่วงแล้งก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์

กระชายจัดเป็นอีกพืชหนึ่งที่การบำรุงรักษาน้อย มีโรคและแมลงรบกวนไม่มาก มีความต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เก็บไว้ได้นาน ไม่เสียหาย ถ้าราคาไม่ดี ชะลอการขุดเพื่อรอราคาได้ เกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรไม่มากหรือมีสวนผลไม้เก่าควรปลูกกระชายเพื่อเป็นรายได้เสริมเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“กระชาย” จึงเป็นอีกพืชหนึ่งที่หมาะต่อการทำการเกษตรแบบพอเพียง แต่สำหรับคุณวิโรจน์ “กระชาย” จากพืชรอง กลับสร้างรายได้หลัก ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 เช่นนี้ เป็นปัญหาอย่างมากในเรื่องของการเดินทางไปยังที่ต่างๆ เพราะทุกคนต้องมีการระมัดระวังตัวมากขึ้น ในเรื่องของการไม่ให้ตัวเองไปสัมผัสเชื้อโควิด-19 จึงทำให้การอยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อ เพื่อลดการกระจายเชื้อหรือสัมผัสเชื้อมีความสำคัญ หลายๆ ท่านจึงมีกิจกรรมที่ทำในช่วงนี้ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์และการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นกิจกรรมยามว่าง รวมไปถึงบางท่านเห็นประโยชน์ของการปลูกพืชที่ให้ผลผลิต ที่สามารถสร้างรายได้เสริมนำมาใช้จ่ายได้อีกด้วย

คุณศิรินันท์ บุญอิ่ม อยู่บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ที่ 6 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการมีพืชที่ให้ผลผลิตที่สามารถเสริมรายได้นอกเหนือจากงานประจำ จึงได้มีการปลูกพืชและไม้ผลต่างๆ รอบบริเวณบ้าน ในเนื้อที่ 1 ไร่เศษ โดยดูแลบำรุงเป็นอย่างดี ส่งผลให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี

คุณศิรินันท์ เล่าให้ฟังว่า พื้นเพครอบครัวของเธอทำในเรื่องของการเกษตรมานานแล้ว เธอจึงได้มีแรงบันดาลใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเอกพืชสวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมื่อจบการศึกษาได้เข้าทำงานเป็นลูกจ้างในหน่วยงานราชการทันที ทำให้ยังไม่ได้มีโอกาสมาทำงานทางด้านการเกษตร แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 จึงได้มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น เพราะที่ทำงานเริ่มมีการจัดระบบการทำงานแบบ Work From Home ส่งผลให้เกิดการหารายได้เสริม จากนั้นเธอจึงเริ่มดูแลพืชที่ปลูกและไม้ผลรอบบ้านให้สมบูรณ์มากขึ้น

“หลังจากเรียนจบมา เรียกได้ว่ายังไม่ได้ทำงานทางด้านการเกษตรโดยตรงเหมือนที่จบการศึกษามา เพราะเข้าไปทำงานประจำก่อน พอช่วงโควิด เมื่อปี 2563 เรามีโอกาสได้ทำงานอยู่ที่บ้านบ้าง เพราะสถานการณ์โควิด-19 พอมาทำเราก็เห็นว่าช่วงนั้นพ่อปลูกพืชอย่าง มะนาว ไว้รอบบ้านเลย พร้อมกับมีมะม่วง กล้วย เราก็เริ่มมาคิดว่า เราค่อนข้างมีความรู้จากสิ่งที่เรียนมา และผลผลิตที่พ่อปลูก ยังไม่ได้ให้ผลผลิตดีเท่าที่ควร เราเห็นว่าควรมีการสร้างรายได้เสริมจากจุดนี้ จึงค่อยๆ ปลูกพืชเพิ่ม และดูแลที่มีอยู่ให้สมบูรณ์มากขึ้น” คุณศิรินันท์ บอก

ซึ่งเนื้อที่ดินประมาณ 1 ไร่เศษ คุณศิรินันท์ บอกว่า สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดในระยะห่างระหว่างต้นที่ไม่ได้กำหนดตายตัว โดยยึดหลักที่ว่ามีพื้นที่ว่างตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ซึ่งในพื้นที่บริเวณรอบบ้านของเธอจะมีมะนาวกับมะม่วงที่ปลูกสลับกันส่วนใหญ่ จากนั้นเสริมด้วยกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ให้เต็มพื้นที่ เพื่อให้มีผลผลิตเก็บสลับกันจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี

การดูแลพืชให้มีความสมบูรณ์และมีผลผลิตที่ดี หลังจากเก็บผลผลิตจำหน่ายจนหมดแล้ว จะเริ่มตัดแต่งกิ่งทันทีโดยเฉพาะมะม่วง จากนั้นนำปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีเข้ามาใส่เสริมบ้าง รดน้ำตามความเหมาะสมก็จะช่วยให้ต้นมะม่วงมีความสมบูรณ์ ส่วนมะนาวก็จะมีการบังคับให้ออกผลนอกฤดูบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเน้นให้ออกในฤดูกาล เพราะทุกคนในครอบครัวมีงานประจำ จึงไม่ได้มีเวลาดูแลมากนัก

เมื่อผลผลิตอย่าง มะม่วง หมดช่วงการเก็บเกี่ยว คุณศิรินันท์ บอกว่า ก็จะมีมะนาวกับกล้วยที่ออกผลผลิตมาในช่วงถัดไป จึงทำให้มีรายได้อยู่ตลอดทั้งปี ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ รายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิตรอบบ้านจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะอย่างน้อยนำมาเสริมค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ไม่น้อยทีเดียว

“พอเรามาเริ่มทำเกษตรแบบเสริมรายได้ มันรู้สึกสนุกมาก เพราะเราเริ่มเห็นความสำคัญของสิ่งที่มีมากขึ้น พอมองไปพื้นที่ที่อำเภอที่เราอยู่ บางคนตกงาน บางคนต้องกลับมาอยู่บ้านเวลานาน เพราะไม่สามารถทำงานได้ แต่เรามีพื้นที่รอบบ้านที่สามารถทำการเกษตรได้ อย่างน้อยเป็นรายได้เสริมในยามนี้ถือว่าดีมาก อีกอย่างพืชต่างๆ เราปลูกเอง เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช ก็ใช้วิธีทางธรรมชาติ จึงทำให้เรามั่นใจว่าไม่เกิดอันตรายแน่นอน คนซื้อก็มั่นใจผลผลิตของเรา” คุณศิรินันท์ บอก

สำหรับในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกรอบบ้านนั้น คุณศิรินันท์ บอกว่า จะติดต่อกับร้านค้าในพื้นที่ และบางส่วนจะมีเพื่อนบ้านที่ต้องการซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายต่อเข้ามาติดต่ออยู่เป็นระยะ โดยเธอจะเน้นโพสต์ลงทางเฟซบุ๊กส่วนตัวอยู่เสมอว่า ช่วงนี้มีผลผลิตอะไรบ้างที่กำลังจะเก็บจำหน่ายได้ ก็จะมีเพื่อนติดต่อเข้ามาแจ้งความประสงค์ว่าต้องการซื้ออะไรบ้าง

อย่างเช่น ราคามะนาวบางช่วงที่ราคาดี สามารถจำหน่ายได้ ผลละ 2-3 บาท แต่ถ้าช่วงฤดูกาลปกติ ก็อยู่ที่ ผลละ 1 บาท ส่วนมะม่วงอยู่ที่ กิโลกรัมละ 20-40 บาท แล้วแต่สายพันธุ์ และที่สามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ก็จะเป็นกล้วยสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีลูกค้าเข้ามาตัดเองภายในสวน สามารถจำหน่ายแบบยกเครือ อยู่ที่เครือละ 100-200 บาท

“พอเรามาทำอย่างจริงใจ เราเริ่มรู้สึกสนุก เพราะตลอดทั้งปีมีอะไรให้เราได้ทำอยู่เสมอ อย่างมะนาวหมดรุ่นเก็บขายได้ เราก็มีมะม่วงให้ผลผลิตมาขายช่วงถัดมา เราได้เจอลูกค้าที่เขามารับซื้อ เราได้มีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีความเครียดจากสถานการณ์โควิด และมีรายได้เสริมเข้ามาช่วยค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ก็ถือว่าค่อนข้างมีความสุขที่ได้ทำเกษตรในช่วงนี้ และอยากให้ทุกคนได้ลองทำดู หากมีพื้นที่บริเวณบ้านเหลือที่จะปลูกพืชได้” คุณศิรินันท์ บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตร ในพื้นที่น้อยรอบบริเวณบ้านในสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ ต้องการแนวคิดหรือแรงบันดาลใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ

คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว

มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม

“หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งพบ ทำให้ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับการแก้ปัญหาศัตรูพืชชนิดนี้มาก่อน”

ระยะที่พบการระบาด เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ สิ่งที่เกษตรกรทำได้คือ การทำตาม เพื่อแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่เมื่อภาวะระบาดผ่านพ้นไป การทบทวนถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึงมีขึ้น

ไม่เพียงแต่การป้องกันหรือกำจัด แต่มองไปถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบโจทย์เกษตรกรให้ได้รู้ว่า กำไรจากการทำสวนมีมากหรือน้อย

คุณวิชาญ มองว่า การใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและแมลงดำหนาม มีต้นทุนที่สูงมาก สารเคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ สามารถใช้ในมะพร้าว จำนวน 8 ต้น และควบคุมได้ในระยะเวลาเพียง 6-8 เดือน เมื่อคิดเป็นต้นทุนแล้ว เฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อต้นอยู่ที่ 150 บาท ต่อ 6-8 เดือน

“แตนเบียนบราคอน” เป็นแมลงตามธรรมชาติที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ตามทฤษฎีการใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว คือ การปล่อยแตนเบียน จำนวน 200 ตัว (1 กล่อง มี 200 ตัว) จะสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ในพื้นที่ 1 ไร่

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรหลายรายทำตาม หวังผลที่ดีขึ้น ทางเข้า SBOBET แต่การควบคุมและกำจัดก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะลดลง แต่ก็ยังพบการระบาดอยู่ และหากสวนใกล้เคียงไม่ทำไปพร้อมๆ กัน โอกาสควบคุมและกำจัดได้จะประสบความสำเร็จได้ก็ค่อนข้างยาก

แต่ถึงอย่างไร “แตนเบียน” ก็เป็นความหวัง

คุณวิชาญ ใช้ทฤษฎีการปล่อยแตนเบียนเป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์จากปัจจัยโดยรอบ พบว่า เมื่อสวนรอบข้างไม่ได้พร้อมใจกันปล่อยแตนเบียนไปกำจัดแมลงศัตรูพืชพร้อมกัน ก็เกิดช่องโหว่ เพราะพื้นที่จะกว้างมากขึ้น จำนวนแตนเบียนที่ปล่อยไปตามพื้นที่สวนของเกษตรกรแต่ละรายก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากเกษตรกรไม่พร้อมใจกัน เจ้าของสวนที่ปล่อยแตนเบียนก็จำเป็นต้องปล่อยแตนเบียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือปล่อยจำนวนเท่าเดิมแต่ระยะเวลาถี่ขึ้น และเริ่มใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

คุณวิชาญ ปล่อยแตนเบียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 10-20 กล่อง ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

“ถ้าจะให้ได้ผลดี สวนข้างเคียงต้องทำไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นแตนเบียนจากสวนเราก็กระจายไปสวนอื่นด้วย ยังไงก็ไม่ได้ผล”

เมื่อแตนเบียนจำเป็นต้องใช้จำนวนมากในการปล่อย คุณวิชาญจึงเป็นโต้โผในการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับปล่อยทุกสัปดาห์ ทุกสวน เพื่อให้การควบคุมและกำจัดได้ผล

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอบางละมุงจึงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะพื้นที่บางละมุงมีมากถึง 8 ตำบล ปัจจุบัน เกษตรกรสวนมะพร้าวที่พร้อมใจกันรวมกลุ่มผลิตแตนเบียนมีมากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลหนองปรือ และ ตำบลตะเคียนเตี้ย

การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแค่เห็นผลว่า แตนเบียนสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ แต่เพราะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีมาก

เดิมทีเขาปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ สำหรับกินสุกและมะละกอ

สำหรับทำส้มตำ จากนั้นก็เก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ แต่ปรากฏว่าผลผลิตที่ได้ไม่เหมือนทั้งฮอลแลนด์และแขกดำ เพราะมีผลขนาดใหญ่กว่า เนื้อแน่น กินได้ทั้งมะละกอสุกและสำหรับส้มตำ

มะละกอของคุณไพศาล เมื่อสุกเนื้อสีแดงส้มบางช่วงคุณไพศาลปลูกมะละกอมากถึง 10 ไร่ ส่วนหนึ่งปลูกเป็นพืชแซมปลูกขนุน ไม่ต้องพ่นสารเคมี

ขนุน เป็นไม้ผลที่ดูแลรักษาไม่ยาก มีบางช่วงที่ผลผลิตตกต่ำมากๆ ราคากิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่เนื่องจากทุกวันนี้ คนรู้จักคุณค่าของขนุน ประกอบกับต่างประเทศ อย่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซื้อผลสดไปบริโภค ทำให้ราคาของขนุนขยับขึ้น แหล่งใหญ่ขนุนส่งออกอยู่ที่จังหวัดระยอง และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คุณไพศาล ปลูกขนุน จำนวน 60 ต้น มีพันธุ์มาเลเซีย ทองสุดใจ และทองประเสริฐ

ขนุนมาเลเซีย รสชาติอาจจะไม่เด่น หากเก็บผลผลิตในช่วงฝนชุก แต่จุดเด่นอยู่ที่ผลมีขนาดยักษ์ใหญ่ แกะขายได้เงินดีมาก หากให้มีดอกช่วงกลางฝน ไปเก็บผลผลิตช่วงแล้ง จะได้รสชาติดี

ขนุนทองสุดใจ เป็นขนุนเก่าแก่ มีถิ่นกำเหนิดอยู่ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าของคือ คุณสมปอง ตวงทอง เมื่อก่อนมีขนุนพี่น้องของทองสุดใจ เรียกกันติดปากว่า “ฟ้าถล่ม ทองสุดใจ จำปากรอบ” หากเก็บแก่จัดและกินในเวลาที่เหมาะสม ขนุนทองสุดใจรสชาติดี

สำหรับ ขนุนทองประเสริฐ เป็นขนุนยอดนิยม ที่ระยองและประจวบคีรีขันธ์ ปลูกเพื่อส่งออกไปจีนและเวียดนาม

“ขนุนดูแลไม่ยาก ไม่ต้องฉีดยา ราคาขายโดยทั่วไป กิโลกรัมละ 8-10 บาท…สวนของผมพื้นที่ 28 ไร่ ค่อยๆ เก็บเงินสะสมซื้อมา แรงงานหลักก็มีผมกับภรรยา…พืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกแล้วทำรายได้ให้ไม่น้อยคือมะกอกน้ำครับ ปลูกไว้ตามริมสระ ผลผลิตดก และขายได้อย่างคาดไม่ถึง” คุณไพศาล บอก

ราคาขนุน กิโลกรัมละ 8-10 บาท บางผลน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ราคาขายตกผลละ 200 บาท ถือว่าไม่น้อย

เกษตรกรที่อำเภอน้ำยืน มีงานเด่นแตกต่างกันไป คุณไพศาล และภรรยา มีไม้ผลเก็บขายตลอดปี แนวทางการขายอย่างหนึ่งที่ช่วยได้มากนั้น คุณนิ่มนวลบอกว่า ทางเฟซบุ๊ก ยิ่งโตยิ่งหยุดพัฒนาไม่ได้ สำหรับงานปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของ คุณณัฐพล ทองร้อยยศ

ปัจจุบัน คุณณัฐพล ทองร้อยยศ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 และยังเป็นผู้รวบรวมผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คุณณัฐพล เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อและแม่ โตขึ้นมาจึงมารับสานต่อกิจการที่พ่อแม่เคยทำไว้ หากแต่ว่าแต่เดิมนั้นยังไม่ได้มีความหลากหลาย ทำเพียงแค่เก็บฝักมากรีด (ปอก) ส่งโรงงาน แต่เดิมส่งโรงงานเพียงแค่ 1-2 โรงงานเท่านั้น แต่เมื่อคุณณัฐพลมารับช่วงต่อแล้ว เขาเริ่มทำหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น มีการทำการตลาด การส่งโรงงาน บรรจุใส่ถาดเองและมีส่งออกไปต่างประเทศ

ปัจจุบัน พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ที่ปลูกอยู่ก็คือ พันธุ์แปซิฟิค 271 เป็นพันธุ์หลักที่เกษตรกรใช้ เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี เนื้อสวย ปลายเรียว เป็นที่ต้องการของตลาด

ปลูกข้าวโพดไม่ได้ยาก แค่ต้องดูแลเอาใจใส่ ขั้นตอนในการปลูกและเก็บผลผลิตนั้น ในการเก็บผลผลิต จะใช้เวลาในการเก็บทั้งหมดอยู่ที่ 7-10 วัน เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถตัดต้นเพื่อเอาต้นไปเลี้ยงวัวหรือนำไปขายได้ พักแปลงประมาณ 1 สับดาห์ ต่อมาให้ชักร่องแล้วเริ่มปลูกใหม่ได้เลย โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ใช้นั้น ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ในการให้ปุ๋ยระยะแรกใช้ 46-0-0 ในระยะเวลา 15 วันแรก

เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45 วัน ให้ถอดยอด ก่อนถอดยอดต้องใส่ปุ๋ย 21-0-0 แต่บางคนจะใช้สูตรเสมอ คือ 15-15-15 ต้องให้น้ำในทุก 7 วัน แต่ถ้าอยู่ในช่วงแล้งจะต้องให้น้ำทุก 5 วัน ในช่วงข้าวโพดอายุ 45-50 วัน คือช่วงที่ถอดยอด เว้นระยะห่าง 5 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้เลย 1 ต้น จะให้ฝักได้ทั้งหมด 4 ฝัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่ที่การดูแลของเกษตรกรด้วย โดยขั้นตอนการปลูกรวมเบ็ดเสร็จแล้วจะไม่เกิน 2 เดือน ข้าวโพดจะสามารถปลูกได้ทั้งปี ใน 1 ปี สามารถปลูกได้ขั้นต่ำ 5 รอบ

ปริมาณผลผลิตที่ได้ จะได้ 2-2.5 ตัน ต่อ 1 ไร่ ราคาขายจะอยู่ที่ 4.50 บาท ต่อกิโลกรัม (ทั้งเปลือก) แต่ถ้าช่วงไหนข้าวโพดราคาสูง จะขายอยู่ในราคา 8-10 บาท เลยทีเดียว

“เมื่อเก็บฝักมาแล้ว จะมีกลุ่มคนที่มากรีดฝักข้าวโพด บางคนกรีดเอาไปให้วัว บางคนกรีดเอาเปลือกไปขาย โดยส่วนนี้เราไม่ต้องจ้างเขา เขามาทำด้วยตัวของเขาเอง อย่างเก็บข้าวโพดอันนี้ ผมจ้างเขามาเก็บกิโลกรัมละ 1 บาท วันหนึ่งก็จะเก็บได้ 300-400 กิโลกรัม ก็เป็นรายได้ของพวกเขา ส่วนต้นจะขายได้ตันละ 500 บาท ยอดก็สามารถขายได้กิโลกรัมละ 1 บาท เหมือนกัน” คุณณัฐพล พูดถึงการสร้างรายได้ที่ได้ทั้งตนเองและกลุ่มคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกัน

ในเรื่องของศัตรูพืช คุณณัฐพล เล่าว่า ในปีนี้เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องหนอนเจาะยอด ดังนั้น จะต้องฉีดยาในช่วงที่ข้าวโพดมีอายุได้ประมาณ 10-15 วัน ขึ้นไป

เรื่องการตลาด ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ

“เรื่องการตลาด ต้องทำการบ้านตลอด ต้องดูแลในเรื่องของความต้องการของตลาดต่อจำนวนผลผลิตที่เรามี ว่าโรงงานสามารถรับผลผลิตทั้งหมดได้หรือเปล่า ถ้าไม่หมดต้องเตรียมหาพื้นที่สำรองไว้รองรับผลผลิตของเราเอาไว้ด้วย” คุณณัฐพล กล่าว

การส่งออกนั้น ช่วงที่มีข้าวโพดฝักอ่อนมาเยอะๆ จะมีส่งมาที่แหล่งรวบรวมที่นี่ ถึงวันละ 10 ตัน ต่อวัน ราคาขายก็ขายตามราคาท้องตลาด อย่างเช่น ช่วงนี้ราคาจะอยู่ที่ ประมาณ 25-26 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ในเรื่องของราคานั้นอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นมาเป็นตัวแปรด้วย เช่น เรื่องฤดูกาลต่างๆ ปัจจุบันแหล่งรวบรวมข้าวโพดฝักอ่อนแห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 100 ราย เฉลี่ยแล้วตกอยู่ที่ รายละ 3-4 ไร่ รวมทั้งหมดก็มีประมาณ 300-400 ไร่ ณ ตอนนี้

พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ที่มีหลักๆ ก็คือ พันธุ์แปซิฟิค 271 และ พันธุ์แปซิฟิค 371 แต่ว่าปริมาณของพันธุ์แปซิฟิค 271 จะมากที่สุด

ถ้านับตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ในเรื่องของการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวโพด คุณณัฐพล เล่าว่า “ก็มีเปลี่ยนบ้างนะครับ พอมีข้าวโพดพันธุ์ใหม่มา ลูกไร่ก็จะนำไปลองปลูกเรื่อยๆ แต่ว่าแต่ละพันธุ์มันก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป”

แหล่งรวบรวมผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน

ย้ายมาดูในฝั่งกระบวนการรวบรวมกันบ้าง คุณณัฐพล ให้รายละเอียดว่า “ที่นี่จะเป็นจุดรวบรวมให้โรงงาน ตลาด และลูกค้าประจำ โดยที่เราจะเป็นคนเข้าไปหาเขา แต่จะมีบางรายที่จะโทร.มาเมื่อต้องการสินค้าจากเรา แต่ส่วนมากเราจะเป็นฝ่ายติดต่อเขาไปเองมากกว่า ช่วงนี้ก็ส่งออก วันละ 5-6 ตัน หรือ 2,000 กว่าแพ็ก”

ลักษณะข้าวโพดฝักอ่อนที่ดี ต้องมีความสวยของฝัก ขนาดต้องไม่ยาวมาก ความยาวประมาณ 10-11 เซนติเมตร แต่ขนาดและความยาวของฝักจะขึ้นอยู่กับการควบคุมของการเก็บฝักของตัวเกษตรกรเองมากกว่า ถ้าข้าวโพดตกเกรดราคาจะอยู่ที่ 4 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาจะต่ำมากเมื่อเทียบกับข้าวโพดไซซ์มาตรฐานที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 25-26 บาท ต่อกิโลกรัม

การตลาด และการส่งออก

“ตลาดหลักที่ส่งออกจะอยู่ที่ไต้หวันและโรงงานกระป๋อง โดยที่ไต้หวันจะเป็นรถบริษัทมารับข้าวโพดถึงที่บ้าน ส่วนที่แพ็กสดจะส่งตลาดไท แต่ถ้าเป็นที่อื่นต้องดูเรื่องความคุ้มของภาระรายจ่ายต่อรายได้ที่ได้รับ ซึ่งส่วนมากจะไม่คุ้ม ก็เลยทำตลาดหลักคือ ส่งออกไต้หวัน และโรงงานกระป๋อง”

ราคาขายส่งออกกับขายในประเทศราคาจะใกล้เคียงกันมาก แต่ส่งออกต่างประเทศจะต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง เช่นการทำ GMP (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต) GHP (มาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร) และจำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญเรื่องของการตลาดควบคู่กันไปด้วย เรื่องภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ

หลักการบริหารการตลาด ส่วนมากจะเป็นไปในแนวทางของการคุยและเจรจากับคู่ค้าเสียมากกว่า
เวลา 2 เดือน ก็ทำเงินได้
“บางทีเขาก็มีความต้องการในเรื่องของขนาด เราก็ต้องเอาขนาดที่เขากำหนดไปต่อรองราคากับเขา…ในช่วงที่สินค้าล้นตลาด ส่วนมากแล้วจะส่งไปที่แกรนด์เอเชียและโรงงานที่ลำปาง ของขาดตลาดเองก็มีบ้าง แต่ช่วงนี้ปริมาณของจะอยู่ในจุดที่พอดี ช่วงที่ของจะล้นตลาดจะอยู่ในช่วงของเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ขณะที่ของล้นตลาดจะส่งไปที่โรงงานที่ลำปาง ส่งไปเที่ยวละ 6 ตัน ใน 1 สัปดาห์ จะส่ง 2 ครั้ง ก็ตกอาทิตย์ละ 12 ตัน” คุณณัฐพล เล่า

ถ้ามีเกษตรกรอยากจะลองเริ่มทำดูบ้าง คุณณัฐพล แนะนำว่า ให้มองหาตลาดหลักที่ส่งออกเยอะ ยิ่งช่วงเวลาของขาดราคาจะยิ่งดีขึ้นมาก แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะมีปัญหาในช่วงที่ของตายบ้าง ดังนั้น ผู้ที่จะเริ่มทำต้องดูเรื่องปริมาณความต้องการของตลาดกับจำนวนผลผลิตที่มีควบคู่กันไปด้วย

สนใจติดต่อซื้อขาย สามารถติดต่อ คุณณัฐพล ทองร้อยยศ ได้โดยตรง โทร. 085-297-5087 บ้านเลขที่ 33/1 หมู่ที่ 8 ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

หรือติดต่อได้ที่ เจ้าของพันธุ์…บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ถนนพหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อไม่นานมานี้ พบเห็นข่าวพืชยักษ์ เป็นพืชจำพวกพืชผัก ที่บ้านเรานิยมรับประทาน ทั้งนำมาทำขนมหวาน อาหารคาว และเป็นยาป้องกันรักษาอาการเจ็บป่วย ผิดปกติ ได้มากมายหลายอย่าง ที่สำคัญเป็นของที่คนไทยทั่วทุกภูมิภาครู้จัก และรักที่จะนำมาเป็นประโยชน์ มีขนาดที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ลูกเล็กๆ จนถึงผลยักษ์ ประมาณว่า ใช้คนตัวโต 2 คนอุ้ม หรือใส่คานหามกันเลยก็มี ผิวเรียบเกลี้ยงเกลาก็มี ผิวผลหยาบขรุขระ เป็นตะปุ่มปมน่าเกลียด ชนิดที่เคยเรียกขานเปรียบเปรยว่า นอกขรุขระในตะติงโหน่งก็มี เราๆ ท่านๆ คงรู้จัก “ฟักทอง” กันเป็นส่วนมากแล้ว

มีปลูกกันอยู่ 2 ตระกูล คือ ฟักทองตระกูลสคว็อซ (Squash) คือ ฟักทองไทย และฟักทองญี่ปุ่น ปลูกกันมาก เพื่อส่งตลาดผักในและต่างประเทศ ขนาดผลพอเหมาะ เนื้อแน่น เหมาะนำมาทำอาหารที่ต้องการเป็นชิ้น เป็นคำของผัก สะดวกในการขนส่งและการตลาด อีกตระกูลคือ ฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) เป็นฟักทองที่มีผลขนาดใหญ่ เนื้อยุ่ย เหมาะสำหรับนำมาทำขนม และปั่นเป็นอาหารเหลว แต่ฟักทองทั้ง 2 ตระกูล ดูเหมือนว่าจะมีการผสมปนพันธุ์กัน เป็นพันธุ์ที่แพร่หลายกันในชนบทขณะนี้

สายพันธุ์ที่มีการปลูกแพร่หลาย เป็นพันธุ์ลูกผสม มีการแสดงความเป็นเจ้าของ ตั้งชื่อเป็นกลุ่มพันธุ์ สายพันธุ์ฟักทอง ตามลักษณะผลฟักทอง เช่น สายพันธุ์คางคก ที่มีผิวขรุขระ ได้แก่ คางคกดำ คางคกลาย หรือตั้งชื่อให้เป็นมงคล เช่น พันธุ์ศรีเมือง พันธุ์ข้องปลา เป็นต้น ฟักทองส่วนใหญ่จะมีสีผิวเปลือกเมื่ออ่อนสีเขียว แก่จะสีเหลืองสลับเขียว ผิวขรุขระเล็กน้อย หรือมากก็มี เปลือกนอกแข็ง เนื้อในสีเหลือง มีเมล็ดมากพอสมควร ลักษณะเป็นเมล็ดแบนๆ สีขาว ติดเป็นตลับ หรือเป็นก้อนอยู่ช่องโพรงกลางในผล เรียกว่าไส้ฟักทอง เมล็ดนำมาคั่ว หรืออบเกลือ เป็นของขบเคี้ยว คล้ายเมล็ดแตงโม หรือเมล็ดทานตะวัน และเก็บคัดแยกเมล็ดที่สมบูรณ์ไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกต่อไป

การปลูกฟักทอง ขุดหลุม หยอดเมล็ดตามที่ว่างทั่วไป หรือปลูกแซมในแปลงพืชไร่อื่นๆ ได้ เท่าที่สังเกตเห็น ฟักทองที่ขึ้นได้ดีในบริเวณที่เป็นเนินดิน มีความชื้นพอประมาณ หรือจะปลูกเป็นแปลงใหญ่ ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น หรือหลุม 1.5 เมตร หรือห่าง 2.5 ถึง 5 เมตร ระหว่างแถว 1.8 ถึง 2 เมตร ขุดหลุมกว้าง หรือวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 25-30 เซนติเมตร ปรับพรวนดินใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หยอดเมล็ดฟักทองหลุมละ 3-5 เมล็ด กลบดินให้เมล็ดจม ลึก 2-4 เซนติเมตร กลบด้วยขี้เถ้าแกลบดำ หรือเศษหญ้าแห้ง เพื่อให้มีความชื้นพอที่จะทำให้เกิดการงอกงามเจริญเติบโต และที่ให้ทำหลุมปลูกห่างกัน ก็เพื่อให้ต้นฟักทองซึ่งเป็นพืชประเภทเถาเลื้อย จะยืดปล้องให้เถายาวๆ ซึ่งจะหมายถึง มีมากข้อปล้อง ก็จะให้ผลมาก แต่ว่าบนเถาหรือต้นหนึ่งควรไว้ผลเพื่อจะเอาผลโตและแก่เต็มที่ ไม่เกิน 4 ผล

นอกนั้นสามารถตัด ผลอ่อน ดอกที่มีรังไข่คล้ายผลติดอยู่ นำไปใช้เป็นผัก ต้มผัดแกงทอดอร่อยมาก เช่นเดียวกับยอดปลายเถาฟักทอง มักจะตัดเอาไปเป็นผักทำอาหารได้หลายอย่าง หั่นฝอยผัดไข่ ใส่แกงเลียง แกงหน่อไม้ แกงเห็ด ต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผลอ่อนฟักทองเป็นผักการค้า ตลาดผักสดต้องการมาก แต่แหล่งปลูกฟักทองเพื่อการค้า มักจะปลูกเลี้ยงจนฟักทองโต ดอกผลอ่อนที่เป็นส่วนเกินจะเด็ดทิ้ง อาจจะเป็นเพราะว่ากรรมวิธีการปลูก การดูแลรักษา ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ระหว่างการปลูกไว้กิน กับปลูกเพื่อการค้า มีกรรมวิธีต่างกัน ความเสี่ยงจากพิษภัยของสารเคมี ทำให้ต้องทิ้งในส่วนที่เป็นของชาวบ้านกินกันบ้าง คิดและทำถูกต้องแล้ว

อายุ 70-80 วัน หรือประมาณ 3 เดือน ต้นฟักทองหรือเถาฟักทองที่เลื้อยยาว จะแตกแขนง ขั้วที่ 5-6 จะออกดอกให้ผล ดอกตัวเมียจะมีรังไข่ติดอยู่ส่วนโคนเห็นได้ชัด ลักษณะเหมือนผลอ่อน และนั่นก็คือ ผลฟักทอง เมื่อได้รับการผสมเกสรแล้ว จะโตขึ้นเป็นผลอ่อน ผลแก่ ตามลำดับ ดอกฟักทองจะบานช่วงเช้ามืด ประมาณ 03.30 น. ถึง 06.00 น. ถ้าจะช่วยผสมเกสรช่วงเวลาที่เหมาะ ตอนที่ดอกฟักทองบานเต็มที่ 06.00-09.00 น.ช่วงเวลาออกล่าหาเกสรและน้ำหวานของแมลง แต่จะอาศัยแมลงพวกแมลงภู่ผึ้งคงไม่เพียงพอ ต้องช่วยผสมเกสรให้ด้วย ฟักทองจะได้ให้ลูกให้ผลเป็นรุ่นๆ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน แต่ถ้าจะทยอยเก็บ ปล่อยตามธรรมชาติก็พอที่จะทำได้ สภาพภูมิศาสตร์และบรรยากาศแบบบ้านเรานั้นเหมาะกับการเจริญพันธุ์ได้มากอยู่แล้ว

ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ให้พลังงานมากถึง 26 กิโลแคลอรี โดยเฉพาะวิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ มีมากถึง 476 ไมโครกรัม หรือ 0.476 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบีสาม 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบีห้า 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบีหก 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบีเก้า 16 มิลลิกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม แคลเซียม 21 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม โซเดียม 1.0 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม เส้นใยหรือไฟเบอร์ 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.0 กรัม และยังประกอบด้วยเบตาแคโรทีน ลูทีน ซีแซนทีน สารทั้ง 3 ชนิดหลังมีพบมากในฟักทอง เป็นสารที่สำคัญในการรักษา บำรุง ปรับปรุง ฟื้นฟูร่างกาย ได้อย่างยอดเยี่ยม

มีคุณสมบัติเป็นยา ต้านอนุมูลอิสระ ติดต่อ SBOBET ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ฟื้นบำรุงผิว บำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงประสาท อารมณ์ดี ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โรคผิวหนัง กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน บำรุงกล้ามเนื้อ รากต้มกินแก้ไอ ช่วยระบบย่อยอาหาร การขับถ่าย ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นิ่ว ลูกหมากโต ปรับฮอร์โมนเพศชายในลูกอัณฑะ บำรุงตับ และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ก็พึงระวังและระลึกอยู่เสมอว่า สิ่งใดมีคุณอนันต์ ก็มีโทษอย่างมหันต์ได้เช่นกัน ฟักทอง ถ้ากินมากๆ เป็นพืชมีฤทธิ์ร้อน ก่อให้เกิดโรคกระเพาะร้อน กรดไหลย้อน กระหายน้ำ ท้องผูก แผลช่องปาก เหงือกบวม ควรกินแต่พอดี เกิดประโยชน์มากมาย ฟักทองแก่ ต้ม บด จัดเป็นอาหารเหลวให้ผู้ป่วยทางสายยาง ทดแทนอาหารหนักได้ เพราะในตัวฟักทองมีคุณค่าทางอาหารมากมาย และสูงค่ามาก ควรค่าแก่การนำมาบอกกล่าวให้รับรู้โดยทั่วกัน

ชาวสวนยางพาราในอดีตปลูกทุกอย่างที่กินหรือใช้ในครอบครัว ทำงานอยู่ในสวนยางประมาณ 10-12 ชั่วโมง ต่อวัน สวนยางในอดีตจึงเปรียบเสมือนซูเปอร์มาร์เก็ตและตู้เย็นที่มีชีวิต มักพูดกันติดปากว่า อยากได้อะไรก็ไปหาจากป่ายาง แต่ระยะหลังเกษตรกรหันมาปลูกยางในลักษณะพืชเชิงเดี่ยว ทำให้วิถีชีวิตชาวสวนยางแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเจอวิกฤตยางพาราราคาตกต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย

ปี 2557 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงกำหนดนโยบายให้สงเคราะห์ปลูกยางพาราทดแทนแบบผสมผสาน โดยปลูกยางพันธุ์ดีไม่น้อยกว่า 40 ต้น ต่อไร่ ร่วมกับไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เกษตรกรหลายรายตัดสินใจลงทุนทำ “สวนวนเกษตรยางพารา” (Rubber Agroforestry) ซึ่งเป็นการปลูกยางพาราโดยมีพืชอื่นๆ ปลูกร่วมและปลูกแซม ทำให้ภายในสวนยางพารามีความหลากหลายของพืชและสัตว์เพิ่มมากขึ้น มีแมลงช่วยผสมเกสร ตัวเบียน ช่วยกินศัตรูพืช จุลินทรีย์ดินช่วยย่อยสลาย ไส้เดือนช่วยทำให้ดินร่วนซุย ฯลฯ

สวนวนเกษตรห้วยหาด

บังหมัดฉา หรือ คุณหมัดฉา หนูหมาน เจ้าของสวนวนเกษตรห้วยหาด เป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการสร้างป่าในสวนยางพารา บังหมัดฉา อาศัยอยู่ที่ บ้านเลขที่ 52/12 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยหาดสวนหลวง ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 089-596-6432 เฟซบุ๊ก “บังหมัดฉา สวนวนเกษตรห้วยหาด”

บังหมัดฉา มีพื้นที่สวนยางพาราแบบวนเกษตร จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ 19 ไร่ เขาปลูกยางพาราแปลงแรก เนื้อที่ 10 ไร่ เมื่อ ปี 2546 สวนยางพาราแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เนินเขา เป็นดินภูเขา ลักษณะดินเหนียวปนทราย หน้าดินตื้น ด้านล่างเป็นดินดาน ซึ่งลักษณะพื้นที่ดังกล่าว ทำให้สวนยางพาราแห่งนี้มีปริมาณน้ำยางน้อยกว่าสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทั่วไป

การให้น้ำ เพราะต้นไม้โตจนเริ่มให้ผลผลิตแล้ว จึงสูบน้ำ

จากแหล่งน้ำใกล้เคียงขึ้นไปให้ท่วมพื้นที่ เช่นเดียวกับการทำนา ความสูงของน้ำระดับหัวเข่า จากนั้นหยุดสูบปุ๋ยเคมี ยอมรับว่ามีบ้าง บางช่วงใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 5-6 ถุงต่อปีปุ๋ยขี้ไก่ กระสอบละ 25 บาท ต้นทุนเฉพาะปุ๋ยขี้ไก่ ประมาณ 10,000 บาทต่อปี ทั้งปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยเคมี หากเป็นฤดูแล้งให้หว่านเมื่อสูบน้ำเข้าสวน หากเป็นฤดูฝน ให้หว่านเมื่อฝนตก รวมต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าน้ำ (น้ำมันใช้สำหรับสูบน้ำ) รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนต่อปี ไม่เกิน 15,000 บาท

การตัดแต่งกิ่ง ก็ทำเมื่อมีเวลาว่าง แต่ไม่ปล่อยให้ต้นโทรม และไม่ได้ทำทุกครั้งหลังเก็บผลผลิตเหมือนรายอื่น คุณวิทยา ให้เหตุผลว่า ไม่ได้ตั้งใจไม่ดูแลต้นไม้ แต่เพราะต้องใช้เวลาไปกับการห่อ การเก็บผลผลิต และการนำไปขาย แต่จะตัดแต่งกิ่งไปพร้อมๆ กับการเก็บในแต่ละครั้ง เท่าที่ทำไหว

ปัญหาโรคและแมลง เจอบ้าง ทำให้ต้องใช้สารเคมีช่วย คุณวิทยา เล่าว่า ปัญหาโรคและแมลงพบไม่บ่อย แต่เมื่อพบก็จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงบ้าง ซึ่งน้อยมาก เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอยู่แล้ว

ฝรั่งกิมจู จำเป็นต้องห่อผล เริ่มห่อผลเมื่อฝรั่งติดผลขนาดเท่าลูกมะนาว จากนั้นนับไปอีกประมาณ 45 วัน ในฤดูฝนเก็บผลผลิตได้ หรือนับไปอีก 60 วัน ในฤดูร้อน จึงเก็บผลผลิต แต่สำหรับคุณวิทยาเธอใช้ความชำนาญจากการเทียบน้ำหนักผลกับมือ

ในแต่ละวันคุณวิทยาจะใช้เวลาตอนเช้าไปกับการเก็บผลฝรั่ง เงาะ และมะเขือพื้นบ้าน เมื่อเก็บและเตรียมเรียบร้อย จะใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 ชั่วโมง สำหรับห่อผลและดูแลความเรียบร้อยในสวน จากนั้นจึงไปตลาด

ตลาดนัด เปิดทุกวัน ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ คุณวิทยา จึงนำผลไม้และมะเขือพื้นบ้านออกไปขายเอง ทั้งขายส่งและขายปลีก กรณีขายส่งจะนำไปส่งให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดนัดด้วยตนเอง และการขายปลีกจะขายในราคาถูกกว่าท้องตลาด เช่น ฝรั่ง กิโลกรัมละ 35 บาท คุณวิทยาขายเพียง กิโลกรัมละ 25 บาท เพราะในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ผลผลิตไม่เหลือทิ้งกลับบ้านก็ถือว่าโชคดีแล้ว

คุณวิทยา เป็นทั้งคนปลูก คนดูแล คนเก็บ และคนขาย เธอนำผลผลิตที่ได้จากสวนไปจำหน่ายยังตลาดนัดทุกวัน ทำให้มีรายได้เข้ากระเป๋าทุกวัน ส่วนเงาะและฝรั่ง มีช่วงเวลาให้ผลผลิต ก็ถือเป็นรายได้รายเดือน ส่วนอ้อยและข้าวโพด ซึ่งคุณวิทยาไม่ทิ้งการทำไร่นั้น ก็ถือเป็นรายได้รายปี

หากคิดต้นทุนของการปลูกพืช 6 ไร่ อยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทต่อปี แต่รายได้มีมาก 300,000-400,000 บาทต่อปี ไม่นับรวมไร่อ้อยและไร่ข้าวโพด ที่ทำเงินประมาณปีละกว่า 200,000 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มจุนเจือครอบครัวและมีเงินเก็บเหลือมากพอ

คุณวิทยา เป็นเกษตรกรหญิงใจดี พร้อมแบ่งปันความรู้เท่าที่ประสบการณ์การปลูกพืชแบบผสมผสาน บนพื้นที่ 6 ไร่ ให้กับทุกคน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิทยา โพธิลำเนา ตำบลบ้านโคก อำเภอ

การปลูกกระชายในเขตนี้น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีของระบบเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเกษตรกรจะปลูกกระชายแซมในพืชหลัก เช่น ปลูกแซมในสวนผสม ขนุน กล้วย กระท้อน สะเดา มะม่วง ฯลฯ เป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เกษตรได้อย่างครบถ้วน” นี่คือคำพูดของ คุณวิโรจน์ เทียนขาว เกษตรกรนครสวรรค์ จัดเป็นเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการปลูกกระชาย หลายคนต่างก็ทราบดีว่า “กระชาย” เป็นพืชผักสมุนไพรที่มีความสำคัญเคียงคู่ครัวไทยมาทุกยุคทุกสมัย ในตำราอาหารคาว “กระชาย” จะใช้เพิ่มรสเผ็ดร้อนและช่วยดับกลิ่นคาวของอาหาร

ประชาชนในชนบทจะนิยมปลูกกระชายเป็นแบบพืชผักสวนครัวในบริเวณบ้านหรือใต้ร่มต้นไม้ผล เกษตรกรบางรายปลูกกระชายเป็นรายได้เสริม แต่สำหรับคุณวิโรจน์ปลูกกระชายในสวนผลไม้เก่าจากที่เคยเป็นรายได้เสริมมาสู่รายได้หลักในปัจจุบัน จากประสบการณ์ในการปลูกกระชายมานานกว่า 20 ปี ทำให้ทราบถึงวิธีการปลูกและบำรุงรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆ มากมาย

ในทางพฤกษศาสตร์ “กระชาย” จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนและเป็นพืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสง คือจะเจริญเติบโตทางลำต้นให้เห็นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (ต้นฤดูฝน) เรื่อยไปจนถึงเดือนธันวาคม (ฤดูหนาว) หลังจากนั้นใบจะเหลืองและต้นตาย โดยจะคงเหลือแต่เหง้าสดและรากติดอยู่ในดินได้นานถึง 4 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนเมษายน) ถ้าไม่มีการเก็บเกี่ยวเหง้าออกมา เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนของปีถัดไป ต้นกระชายก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ไม่ควรปลูกกระชายใต้ร่มเงา
ต้นมะปรางและมะขาม
จากประสบการณ์ของคุณวิโรจน์ เริ่มต้นก่อนปลูกกระชายจะต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ว่างใต้สวนผลไม้บางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกระชาย ตัวอย่าง เกษตรกรที่ทำสวนมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดี หรือทำสวนมะขามหวาน คุณวิโรจน์บอกว่า ไม่ควรปลูกกระชายใต้ร่มเงาของไม้ผลทั้ง 2 ชนิดนี้ เนื่องจากต้นกระชายจะยุบตายก่อนที่ลงหัว แต่ถ้าเป็นไม้ผลชนิดอื่น เช่น ขนุน สะเดา มะม่วงและกล้วย เป็นต้น เมื่อปลูกกระชายแซมในสวนผลไม้เหล่านี้ การเจริญเติบโตของต้นกระชายจะดีมาก มีการลงหัวที่ดี รากอวบใหญ่และได้น้ำหนัก

จะทำสวนกระชาย
ต้องเริ่มต้นอย่างไร
เกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้น การปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ถ้าเป็นสวนผลไม้เก่าจะดีมาก โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยจะดีมาก ในการเตรียมดินจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการปลูกพืชอื่น เพียงแต่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ออกบ้างให้มีพื้นที่ว่างปลูกกระชายได้ ตามปกติแล้วจะเริ่มขุดพรวนดินประมาณเดือนพฤษภาคม มีเกษตรกรบางรายได้ใช้รถไถเล็กเข้าไปพรวนดิน

สำหรับเคล็ดลับสำคัญในการเตรียมดินปลูกกระชายนั้น คุณวิโรจน์จะมีการขุดตากดินนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดดส่องฆ่าเชื้อโรคและทำลายศัตรูของกระชายให้ลดลง และถ้าจะให้ต้นกระชายเจริญเติบโตลงรากใหญ่ คุณวิโรจน์แนะนำให้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ไปพร้อมกับการพรวนดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ คุณวิโรจน์ย้ำว่า “ปลูกกระชายถ้าใส่ขี้ไก่ ต้นจะเจริญเติบโตดีมาก ปริมาณรากมาก แต่ไม่แนะนำให้ใส่ขี้วัว เพราะหญ้าจะขึ้นมาก กำจัดยากและสิ้นเปลืองเวลา” โดยปกติแล้วสภาพดินที่จะปลูกกระชายควรจะดินร่วนซุย มีความลึกของหน้าดินอย่างน้อย 1 คืบ (กระชายไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง) นอกจากนั้น ยังมีเกษตรกรบางรายปลูกกระชายด้วยวิธีการยกร่อง ร่องที่ยกนั้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ไม่ควรยกร่องให้ต่ำกว่านี้ เพราะเมื่อฝนตกลงมาจะทำให้ร่องต่ำลงไปอีก

เกษตรกรจะต้องอย่าลืมว่า กระชายเป็นพืชที่มีตุ้มต่อจากหัว ส่วนหัวจะเป็นก้อนค่อนข้างกลมติดกับลำต้นเป็นก้อนไม่ใหญ่นัก ผู้ซื้อต้องการได้ตุ้มหรือส่วนที่เป็นรากยาวๆ ถ้าส่วนนี้สั้นๆ มักจะขายไม่ได้ราคา สาเหตุที่ตุ้มหรือรากสั้นนั้นเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ดินใต้ต้นกระชายแข็ง ทำให้ตุ้มเจริญเติบโตลงไปในดินไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือต้นกระชายได้ปุ๋ยไม่เพียงพอ

เลือกปลูกกระชายพันธุ์ไหนดี
คุณวิโรจน์ได้อธิบายถึงสายพันธุ์กระชายที่ปลูกอยู่ในบ้านเราในปัจจุบันนี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ “กระชายพื้นบ้าน” หรือบางคนเรียก “กระชายปุ้ม” กระชายพันธุ์นี้รากจะสั้นและเป็นปุ้มตรงปลายและเป็นพันธุ์ที่จะต้องปลูกใต้ร่มรำไรเท่านั้น แต่กระชายพันธุ์นี้แม่ค้าจะนิยมซื้อและให้ราคาค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นกระชายที่มีกลิ่นหอม เหมาะต่อการประกอบอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกง แต่มีข้อเสียตรงที่หั่นยาก ในขณะที่กระชายอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ “พันธุ์รากกล้วย” เป็นกระชายที่นิยมปลูกกันมากในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ฯลฯ เป็นสายพันธุ์กระชายที่สามารถปลูกได้ในสวนผลไม้เก่า ปลูกเป็นพืชแซมหรือจะนำมาปลูกในสภาพกลางแจ้งในเชิงพาณิชย์ก็ได้ ปลูกได้เหมือนกับการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ ลักษณะรากของกระชายพันธุ์รากกล้วยจะมีลักษณะยาวตรงและอวบ เหมือนกับรากกล้วย ให้ผลผลิตค่อนข้างดี น้ำหนักมาก

ปลูกกระชายได้ 2 วิธี คือปลูกโดยใช้ต้นและปลูกโดยใช้เหง้า วิธีการในการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย ควรคัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุเฉลี่ย 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์และไม่มีโรคแมลงทำลาย แบ่งหัวพันธุ์ด้วยการหั่น ขนาดของเหง้าควรจะมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม ต่อแง่ง ก่อนปลูกควรแช่หัวพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อราและสารฆ่าแมลงที่ป้องกันแมลงในดิน แช่ไว้นานประมาณ 30 นาที

การปลูกกระชายของคุณวิโรจน์ จะขุดหลุมให้มีระยะระหว่างแถวประมาณ 30 เซนติเมตร และระยะระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ปลูกต้นกระชายด้วยต้นหรือเหง้าลงไปในดินและกดดินให้แน่น ถ้าฝนไม่ตกอาจจะต้องให้น้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นกระชายตั้งตัวได้เร็วขึ้น เมื่อต้นกระชายตั้งตัวได้แล้วไม่ต้องทำอะไรอีก นอกจากคอยดูแลเรื่องวัชพืชอย่าให้ขึ้นคลุมต้นกระชายเท่านั้น

สำหรับคำแนะนำในการปลูกกระชายของฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะแนะนำให้ปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 30×30 เซนติเมตร ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง ยาว และลึก 15 เซนติเมตร ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยขี้ไก่เก่า หลุมละ 200 กรัม (ประมาณ 1 กระป๋องนม) คลุมแปลงปลูกด้วยฟางข้าวหนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชและยังช่วยรักษาความชื้นในดิน หลังจากปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นกระชายงอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เกษตรกรควรรีบกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่

ป้องกันโรคเน่า
ในแปลงปลูกกระชายอย่างไร
คุณวิโรจน์บอกว่า ปัญหาที่สำคัญในการปลูกกระชายคือ ปัญหาโรคเน่า และได้แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกควรหมั่นตรวจแปลงปลูกกระชายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคเน่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เมื่อตรวจพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่างของดินมีสภาพความเป็นกรดสูงจะต้องรีบแก้ไขด้วยการใส่ปูนขาวในอัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยหว่านรอบโคนต้นหรือจะใส่ในช่วงของการเตรียมดินก็ได้ อีกประการหนึ่งที่เกษตรกรไม่ควรลืมก็คือ การจุ่มเหง้ากระชายด้วยสารป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อนปลูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคเน่าได้ นอกจากนั้น คุณวิโรจน์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นกระชายมากๆ จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นกระชายเน่าตายได้เช่นกัน

ปลูกกระชายไปได้ 8 เดือน
ขุดรากขึ้นมาขายได้
หลังจากปลูกกระชายไปได้นาน 8 เดือน คือเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมครบ 8 เดือนในเดือนธันวาคม ในช่วงเดือนมกราคมจะเริ่มขุดรากขึ้นมาขายได้ โดยวิธีการสังเกตที่ใบและต้นของกระชาย จะเริ่มมีสีเหลืองและยุบตัวลง จะขุดโดยใช้จอบ คุณวิโรจน์ย้ำว่า ในการขุดกระชายในแต่ละครั้งจะต้องขุดในขณะที่ดินมีความชื้น ก่อนขุดถ้าดินแห้งให้รดน้ำก่อนเพื่อให้ดินนุ่ม วิธีการนี้จะช่วยลดความเสียหายของรากกระชายไม่ให้หักหรือขาดได้ ขณะที่ขุดรากกระชายขึ้นมานั้นมีเกษตรกรหลายรายจะใช้วิธีการฝังเหง้าเล็กๆ ลงไปพร้อมกับตอนขุดเลย เป็นการประหยัดแรงงานไม่ต้องเสียเวลาในการปลูกรุ่นต่อไป ทำงานไปพร้อมกัน แต่ถ้าเราขุดกระชายขึ้นมาพบว่ามีปริมาณของรากน้อยเกินไป ไม่ควรจะขุดขึ้นมา รอให้ถึงปีหน้าถึงจะขุดได้รากกระชายที่มีปริมาณมากขึ้น

กระชายเป็นพืชที่ได้เปรียบ
ตรงที่รอเวลาการขุดขายได้
หลังจากที่ขุดกระชายขึ้นมา เกษตรกรจะต้องนำไปล้างทำความสะอาดและตัดแต่งเหง้าหรือรากที่ฉีกขาดออกก่อนที่จะบรรจุลงถุงขาย แต่ถ้าเราขุดรากกระชายขึ้นมาแล้วปรากฏว่าราคาในขณะนั้นไม่เป็นที่พอใจ คุณวิโรจน์แนะนำให้เก็บรากกระชายที่ขุดขึ้นมาใส่กระสอบปุ๋ยเก็บไว้โดยไม่ต้องล้างทำความสะอาด รากกระชายจะยังคงความสดไม่เน่าเสีย อย่าลืมว่าอย่าล้างน้ำเด็ดขาด จะล้างก็ต่อเมื่อจะนำไปขายเท่านั้น ข้อดีอีกประการหนึ่งของการปลูกกระชายก็คือ กระชายเป็นพืชที่เราไม่ต้องรีบขุดมาขายเหมือนพืชอื่น ช่วงไหนราคาไม่ดีก็ปล่อยทิ้งไว้จนกว่าราคาจะอยู่ในระดับที่พอใจจึงขุดขึ้นมาขาย คุณวิโรจน์ย้ำว่า “การปลูกกระชายเหมือนกับการฝากธนาคาร เก็บไว้นานได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น” จากการสำรวจราคาซื้อ-ขายกระชายในแต่ละปีพบว่า กระชายจะมีราคาสูงสุดในช่วงแล้งก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์

กระชายจัดเป็นอีกพืชหนึ่งที่การบำรุงรักษาน้อย มีโรคและแมลงรบกวนไม่มาก มีความต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เก็บไว้ได้นาน ไม่เสียหาย ถ้าราคาไม่ดี ชะลอการขุดเพื่อรอราคาได้ เกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตรไม่มากหรือมีสวนผลไม้เก่าควรปลูกกระชายเพื่อเป็นรายได้เสริมเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“กระชาย” จึงเป็นอีกพืชหนึ่งที่หมาะต่อการทำการเกษตรแบบพอเพียง แต่สำหรับคุณวิโรจน์ “กระชาย” จากพืชรอง กลับสร้างรายได้หลัก หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ บางเบิด” เนื้อที่ 448 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านน้ำพุ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่ติดทะเล มีสภาพเป็นดินทรายชายทะเลที่ถูกคลื่นทับถมกันเป็นเวลานานจนกลายสภาพเป็นเนินทราย (Sand Dune) กระจายอยู่ทั่วไป

เดิมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการวิจัยปลูกต้นไม้โตเร็วชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมากเพื่อศึกษาผลกระทบที่ดินดังกล่าว ต่อมาสำนักงานจัดการทรัพยากรที่ดินส่วนพระองค์ ซึ่งดูแลรับผิดชอบดูแลที่ดินแปลงนี้อยู่ได้นำกลับมาเพื่อพัฒนา หลังจากที่พระบาทสมเด็จ​พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 ) เสด็จพระราชดำเนินกลับจากจังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีพระราชกระแสรับสั่งให้โครงการพัฒนาส่วนพระองค์รับผิดชอบ โครงการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ โดยให้อนุรักษ์สภาพแวดล้อมเดิมซึ่งมีสภาพเป็นสันทรายป่าชายหาด พัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตร โดยการปรับปรุงดินตามความเหมาะสม เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาส่งเสริมอาชีพและแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดชุมพร

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะสมทุกด้าน สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้ามาศึกษาหาความรู้ฝึกปฏิบัติงานจนนำไปประกอบอาชีพ เกษตรกรสามารถรู้จักวางแผนการทำงานตั้งแต่การผลิต การดูแลรักษา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการจัดทำบัญชีฟาร์ม ช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็สามารถขยายผลไปสู่การจัดจำหน่ายในประเทศ นับเป็นตัวอย่างที่ไม่ยากต่อการปฏิบัติ และทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติตามได้

หากใครสนใจศึกษาพันธุ์ไม้หายากและระบบนิเวศพื้นที่สันทรายชายทะเล สามารถร่วมกิจกรรมส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่สันทรายที่มีความสมบูรณ์และสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านเส้นทางเดินสำรวจธรรมชาติ และพันธุ์พืชสันทรายริมทะเล ซึ่งมีพืชแปลกตานานาชนิดพร้อมป้ายอธิบายข้อมูลของพันธุ์ไม้อย่างละเอียด ได้แก่ เสม็ดแดง เตยทะเล มังคุดป่า เป็นต้น

ตลอดเส้นทาง มีแปลงสาธิตการปลูกพืชผสมผสาน จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 22 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 4 แปลง ซึ่งได้แก่ แปลงมะม่วงหิมพานต์ โดยจะปลูกแซมด้วยมะขามเปรี้ยว มะม่วง ส่วนแปลงมะพร้าวนั้น จะถูกแซมด้วยส้มโอ ขนุน พุทรา น้อยหน่า มะม่วง กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น ส่วน 2 แปลงที่เหลือจะเป็นการปลูกมะพร้าวเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยแปลงๆ หนึ่งจะถูกแซมด้วย มะม่วง สับปะรด มะม่วง ส่วนอีกแปลงนั้นจะปลูกด้วยสนทะเล อีกทั้งยังมีแปลงสาธิตที่ปลูกดอกหน้าวัว โดยการเพาะชำกางมุ้งที่มีขนาดใหญ่ และที่สำคัญยังเป็นการปลูกโดยปราศจากสารเคมี หรือยาฆ่าแมลงอีกด้วย

สาธิตการปลูก ดอกหน้าวัว

ทางโครงการฯ มีเป้าหมายส่งเสริมอาชีพปลูกไม้ตัดดอกเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ราษฎร จึงจัดทำแปลงสาธิตการปลูกดอกหน้าวัวในโรงเพาะชำกางมุ้งขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมี เนื่องจากดินในพื้นที่แห่งนี้มีสภาพเป็นดินทราย ไม่มีอินทรียวัตถุ ทางโครงการฯ จึงปลูกดอกหน้าวัวในถ่านไม้ ที่ได้จากการเผาเพื่อเก็บน้ำส้มควันไม้ นำมาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบัน ผลผลิตของที่นี่ไม่มีขายในท้องตลาด เพราะทางสวนจิตรลดารับซื้อดอกหน้าวัวทั้งหมด

แหล่งผลิต กาแฟขี้ชะมด

ขณะเดียวกันที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการผลิตกาแฟขี้ชะมด โดยมุ่งศึกษาเก็บไขจากตัวชะมดและขยายพันธุ์ชะมดเช็ด เนื่องจากประชากรชะมดเช็ดในธรรมชาติมีจำนวนลดลงมาก เนื่องจากป่าถูกบุกรุก และการจับชะมดมาเป็นอาหาร ทางโครงการฯ จึงเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์และเก็บไขของชะมดอีก รวมทั้งผลิตกาแฟขี้ชะมดไปพร้อมๆ กัน โดยธรรมชาติแล้ว ชะมด มักผลิตไขออกมาจากต่อมบริเวณใกล้กับก้นแล้วเช็ดกับเสา จึงเรียกว่า “ชะมดเช็ด” ส่วนไขที่ชะมดเช็ดทิ้งไว้กับเสา มีสารบางชนิดที่ทำให้เกิดกลิ่นที่ติดทนนาน จึงนิยมนำชะมดเช็ดไปผลิตเป็นหัวน้ำหอม ที่นี่ยังให้ชะมดกินเม็ดกาแฟสุก เนื่องจากภายในกระเพาะของชะมดจะมีน้ำย่อยเอนไซม์ชนิดหนึ่งซึ่งทำให้โปรตีนแตกตัว เมื่อชะมดถ่ายออกมาจะได้ผลกาแฟที่มีกลิ่นหอม เม็ดกาแฟมีคุณภาพสูง มีรสชาติอร่อย กลมกล่อมเฉพาะตัว กลายเป็นกาแฟที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

ภายในโครงการ เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพดีติดมือกลับไปด้วย เช่น สเปรย์กันยุงสมุนไพร ถ่านผลไม้ น้ำส้มควันไม้ และน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ที่นี่นอกจากจำหน่ายสินค้าแก่ผู้สนใจแล้ว ยังเปิดสอนวิธีการทำให้กับชาวบ้านได้มีรายได้เสริมกันอีกด้วย

หากผู้อ่านสนใจที่จะเข้าชม หรือศึกษาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ณ บางเบิด ที่นี่มีห้องพักและสถานที่เหมาะแก่การอบรมในงานที่เกี่ยวกับโครงการ ภาพของภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาโล่งแจ้ง มีต้นไม้ขึ้นสลับบ้าง ฤดูฝนดูเขียวขจีสวยงาม ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวมีสีเหลืองอร่ามของทุ่งรวงทอง

ครั้นเข้าสู่หน้าแล้ง อากาศแห้ง แม้แต่น้ำในร่องริมถนนก็เหือดหายไปจนหมด ดูแตกต่างจากภาคอื่นโดยสิ้นเชิง นั่นเป็นภาพส่วนใหญ่มีผืนดินของอีสานบางแห่ง อุดมสมบูรณ์ ใกล้เคียงกับภาคตะวันออก ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชาและลาว สภาพของดินสีแดงคล้ายดินอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี แถบถิ่นนี้จึงปลูกไม้ผลเมืองร้อน จำพวกเงาะ ทุเรียนได้ผลดี

งานสวนของที่นี่พัฒนาอย่างช้าๆ มั่นคง มีผลผลิตตอบสนองคนในท้องถิ่นได้อย่างดี โอกาสต่อไปคงเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น คุณไพศาล ยงปัญญา เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 241 หมู่ที่ 7 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (094) 274-9931 เป็นเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จในการทำสวนผลไม้มากที่สุดคนหนึ่ง

เขาปลูกไม้ผล 4-5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชมพู่ ฝรั่ง มะกอกน้ำ ขนุน มะละกอ ด้วยเหตุนี้จึงมีผลผลิตเก็บจำหน่ายได้ทั้งปี

ชมพู่ทับทิมจันท์ มีปลูก 40 ต้น

ชมพู่ทับทิมจันท์ มีถิ่นกำเหนิดอยู่ประเทศอินโดนีเซีย คุณประเทือง อายุเจริญ นำเข้ามาปลูกอยู่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี จึงได้ชื่อว่า ทับทิมจันท์ ทั้งนี้ เพราะผิวผลมีสีออกไปทางทับทิม แต่พบว่า ปัจจุบันนี้ มีคนเขียนชื่อพันธุ์ผิดกันพอสมควร เช่น เขียนว่า “ทับทิมจันทร์” หากเป็นเมื่อก่อน การกระจายพันธุ์อาจจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่การสื่อสารยุคใหม่ พืชพันธุ์ดี กระจายไปยังแหล่งปลูกอย่างรวดเร็ว ที่อื่นมีปลูก ที่อำเภอน้ำยืนก็มีปลูกเช่นกัน

คุณไพศาล ปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ 2 ไร่ด้วยกัน จำนวน 40 ต้น ถือว่าชมพู่เป็นไม้ผลที่ซื้อง่าย-ขายคล่อง รสชาติดี ผู้ปลูกขายในราคาไม่สูงก็มีกำไรอยู่ได้ ขณะที่คนกินไม่ต้องควักเงินซื้อในราคาที่แพง

เจ้าของเล่าวิธีการผลิตให้ฟังว่า ปลายเดือนพฤษภาคม เก็บผลผลิต จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก จำพวกขี้วัว จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อต้น รวมทั้งใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัม โดยใส่ให้ 3 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน การใส่ปุ๋ยสูตรเสมอครั้งสุดท้าย เจ้าของจะใส่สูตร 8-24-24 รวมไปด้วย จำนวน 1 กิโลกรัม เพื่อเตรียมต้นสำหรับออกดอก

ราวเดือนสิงหาคม ชมพู่ทับทิมจันท์ก็จะมีดอกออกมาให้เห็น สล็อต SBOBET หลังดอกบาน 14 วัน จึงห่อผล เมื่อห่อได้ 23 จึงเก็บผลผลิต ราคาที่จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาท ผลผลิตชมพู่ มีออกมาเป็นชุดใหญ่ๆ 3 ชุดด้วยกัน ดังนั้น การใส่ปุ๋ย อาจจะมีขยับบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับผลผลิตที่อยู่บนต้น โดยที่ผลผลิตต่อต้น ต่อปี นั้น อยู่ที่ 100-200 กิโลกรัม

ศัตรูของชมพู่ คือแมลงวันทองผลไม้ ช่วงฝนมีระบาดมาก ดังนั้นอาจจะพ่นสารป้องกันกำจัดแล้วห่อ แต่บางฤดูกาลแทบไม่พบเห็นเลย

ปลูกฝรั่ง 3 พันธุ์

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่พบเห็นอยู่ทั่วไป สนนราคาสามารถซื้อหาได้ ผลสวยและขนาดใหญ่ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่โดยทั่วไปแล้วราคาไม่แพง

เป็นที่ยอมรับในหมู่เกษตรกรว่า หลังจากปลูกต้นลงดินฝรั่งให้ผลผลิตเร็ว ให้ผลผลิตต่อเนื่อง เรียกว่ามีเก็บขายทั้งปีก็ได้ หากพื้นที่ปลูกมาก พันธุ์ที่ปลูกมีดังนี้

แป้นสีทอง…มีปลูกมานาน ผลขนาดใหญ่ หากดูแลรักษาดีรสชาติจะดีมาก เจ้าของจะห่อเมื่อผลมีขนาดเท่ามะนาว จากนั้นนับไปอีก 60 วัน จึงเก็บผลผลิตได้

กิมจู…เป็นฝรั่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง หากปลูกแล้วน้ำดี ปุ๋ยถึง รสชาติจะเยี่ยมยอดมาก เมื่อห่อ 45 วัน สามารถเก็บผลผลิตได้

เย็น 2…เป็นพันธุ์ฝรั่งที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกันนัก จุดเด่นอยู่ที่ให้ผลดก รสชาติกรอบ หลังห่อ 50 วัน จึงเก็บผลผลิตได้ คุณไพศาลบอกว่า มีพันธุ์ฝรั่งแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนอ แต่เขาจะเก็บรักษาเย็น 2 คู่กับสวนตลอดไป รับรองไม่ทิ้งอย่างแน่นอน

การดูแลฝรั่ง เจ้าของใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ให้ ช่วงที่ต้นไม่มีผลผลิต เมื่อมีผลก่อนเก็บผลผลิตใช้สูตร 13-13-21 บางครั้งหากต้องการคุณภาพและความหวานสูงก็ใส่สูตร 0-0-60 ให้

“ราคาฝรั่งที่ขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20 บาท ปัญหาที่พบคือแรงงานห่อ ผมทำงานหลักๆ กับภรรยา 2 คน คุณนิ่มนวล ฝรั่งรายได้รายวัน” มะละกอ “ดกและใหญ่”

ภาคอีสานบริโภคมะละกอกันมาก โดยเฉพาะทำส้มตำ แหล่งผลิตมะละกอของอีสานที่เหมาะสมมีไม่มากนัก แต่ที่อำเภอน้ำยืน ปลูกมะละกอได้ดี คุณไพศาลคือเกษตรกรที่ปลูกมะละกอได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

หากใครสนใจอยากเยี่ยมชมกิจการสวนละมุดบางกล่ำ

หรือชมการเลี้ยงผึ้งชันโรงของชุมชนแห่งนี้ ติดต่อได้โดยตรงกับ คุณเดชา ศิริโชติ (คุณโอ) เจ้าของสวนแห่งนี้ โทร. 089-197-8192 คุณพัสณากรณ์ สุระกำแหง โทร. 087-418-9327 คุณธนพล พรหมวิสุทธิคุณ โทร. 083-190-9729 (จำหน่ายรังเลี้ยงผึ้งพร้อมแม่พันธุ์) คุณเอกวิวิชย์ ถนอมศรีมงคล โทร. 089-466-4919 หรือติดตามข่าวสารของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ ได้ทางเฟซบุ๊ก “กลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรงตำบลบางกล่ำ” ได้ตลอดเวลา

“ดาวเรือง” จัดเป็นไม้ดอกที่มีความผันผวนทางด้านราคาค่อนข้างสูง หากปีไหนความต้องการมากแต่ผลผลิตน้อยเกษตรกรก็ยังพอยิ้มออกหน่อย เพราะราคาจะดีดขึ้นไปสูงถึงดอกละ 2.50-3 บาท แต่หากช่วงไหนผลผลิตล้นตลาด ราคาจะร่วงลงมา ชนิดที่ว่าคนปลูกก็ร่วงลงมาตามกันเลยทีเดียว และยิ่งมาประจวบเหมาะกับสถานการณ์โควิด-19 เทศกาลงานต่างๆ ถูกยกเลิก ส่งผลให้ราคาดาวเรืองตกต่ำซ้ำเติมเกษตรกรเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรควรที่จะเริ่มหาทางออกให้ตัวเอง ด้วยการนำผลผลิตที่มีอยู่นำมาแปรรูป เนื่องจากได้มีงานวิจัยจากออกมาว่า “ดอกดาวเรือง” ไม่ได้มีดีแค่นำมาร้อยพวงมาลัยหรือจัดแจกันไหว้พระเพียงเท่านั้น แต่ยังมีสารสำคัญที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตาและบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย

คุณนฤดี ทองวัตร หรือ พี่อุ๋ย อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เกษตรกรนักสู้ ผิดหวังกับการปลูกดาวเรืองแบบขายดอกสด พลิกวิกฤตเปลี่ยนเส้นทางการตลาดหันทำชาดอกดาวเรืองขาย สร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมได้กว่าครึ่ง

พี่อุ๋ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการแปรรูปชาดอกดาวเรืองว่า ตนเองประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกดาวเรืองมานานกว่า 13 ปี แต่ช่วงหลายปีหลังมานี้ต้องประสบกับปัญหาด้านการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง เกิดความไม่แน่นอนในชีวิต เป็นเหตุให้ต้องตัดสินใจลองเปลี่ยนวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่เกิดขึ้น ด้วยการพยายามมองหาจุดเด่นสำคัญของดอกดาวเรือง จนได้ค้นพบว่าดอกดาวเรืองมีสารสำคัญที่ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณได้ และได้ต่อยอดจากจุดเด่นตรงนี้หันมาทดลองแปรรูปดาวเรืองทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะมองว่ากระแสรักสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงตัดสินใจเบนเข็มจากการขายดอกสดเปลี่ยนมาทำชาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี

ด้วยการทดลองปลูกดาวเรืองในโรงเรือน ซึ่งข้อแตกต่างของการปลูกดาวเรืองแบบนอกโรงเรือนกับในโรงเรือนนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สาเหตุที่ต้องแยกกันปลูกนั้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ของการนำดอกไปใช้ที่แตกต่างกัน

“เมื่อก่อนเราปลูกดอกดาวเรืองแบบนอกโรงเรือนเพื่อส่งให้แม่ค้าสำหรับร้อยพวงมาลัย แต่ช่วงหลายปีมานี้ดอกดาวเรืองราคาไม่ค่อยดีนัก เราจึงลองทดลองหันมาปลูกดาวเรืองในโรงเรือนเพื่อการนำไปบริโภค ทำเครื่องดื่ม ชาดอกดาวเรือง หรือทำสารสกัดจากดอกดาวเรืองเพื่อไว้ใช้ทำเวชสำอาง จึงต้องแยกปลูกในโรงเรือนเพื่อให้ปลอดภัยจากสารเคมีทุกชนิด และนอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มแสงสีแดงให้กับดาวเรือง เพื่อให้ได้สำคัญเพิ่มขึ้นอีกด้วย”

ปลูกดาวเรืองในโรงเรือน
ด้วยเทคนิคการเพิ่มแสง
เจ้าของบอกว่า เทคนิคการปลูกดาวเรืองเพื่อนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือปลูกเพื่อสกัดเอาสารสำคัญนั้น ขั้นตอนการปลูกไม่แตกต่างกันมากนัก สำคัญที่ความพิถีพิถันและความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก จำเป็นต้องปลูกในโรงเรือนเพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมีทุกชนิด เพราะว่าด้วยตัวของดอกดาวเรืองเอง เป็นพืชที่ค่อนข้างดูดซับสารพิษในดินเข้ามาไว้ในตัว อย่างเช่น ถ้าปลูกในดินที่ผ่านการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงแล้วตกค้างในดิน ตัวดอกดาวเรืองมีคุณสมบัติในดูดซับสารเหล่านี้เข้ามาในต้น โดยจะดูดซับไว้ที่ส่วนรากมากที่สุด และอาจจะกระจายสู่ดอกได้ด้วย ฉะนั้น การปลูกในโรงเรือนถือเป็นวิธีที่ช่วยหลีกเลี่ยงสารเคมีได้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนคือจะต้องปลูกในถุง และต้องเป็นดินที่ไม่ได้ผ่านการใช้สารเคมีใดๆ มาก่อน ซึ่งอาจจะดูยุ่งยากไปสักหน่อย แต่การปลูกดาวเรืองเพื่อทำเครื่องดื่มชา มีข้อดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องทำให้ดอกสวย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะต้องตัดเพื่อนำมาอบอยู่แล้ว มีแมลงกัดหรือนอนเจาะได้บ้าง

การรดน้ำ เหมือนกับการปลูกดาวเรืองนอกโรงเรือนทั่วไป ช่วงย้ายปลูก ประมาณ 7 วัน ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ดี รดน้ำวันละครั้งในช่วงเช้าและในช่วงที่ดอกบาน ไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ และน้ำท่วมขัง

เทคนิคสำคัญ “เปิดไฟให้พืช” โดยเทคนิคการเปิดไฟให้ดาวเรืองนี้เกิดขึ้นจากความอยากรู้ของตนเอง จึงได้มีการค้นคว้าข้อมูลงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช จนกระทั่งได้ไปเจอกับงานวิจัยของ ดร.เบญญา มะโนชัย ท่านเป็นอาจารย์สอนภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการวิจัยเทคนิคปลูกดาวเรืองสำหรับสกัดลูทีน แล้วเกิดความสนใจจึงได้มีการเรียนเชิญให้ท่านมาเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการทดลองใหม่ทั้งหมด ด้วยการเก็บดอกดาวเรืองที่ปลูกทั้งในและนอกโรงเรือน และการปลูกแบบเปิดไฟและไม่เปิดไฟ จะมีสารสำคัญต่างกันหรือไม่ ซึ่งผลการทดลองออกมาว่าการปลูกแบบเปิดไฟ ผลวิเคราะห์ออกมาว่ามีสารสำคัญในดอกสูงกว่าแบบอื่นอย่างมีนัยยะ

โดยเทคนิคการใช้แสงไฟเพื่อรักษาสารสำคัญในดาวเรืองนั้น จะเริ่มเปิดไฟตั้งแต่ช่วงที่ดาวเรืองมีตาดอกแล้ว ก็คือหลังจากปลูกได้ 45 วันขึ้นไป โดยช่วงระยะเวลาการเปิดจะแบ่งเปิดเป็น 2 ช่วง คือ 1. เปิดในช่วงเช้า ตี 4 ถึง 7 โมงเช้า และช่วงเย็น 5 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม เปิดไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ผลผลิต ปลูกในโรงเรือนจะให้ดอกดกกว่า และมีอายุการเก็บเกี่ยวได้นานกว่า เช่น ปลูกนอกโรงเรือนมีอายุเก็บเกี่ยวได้ 1 เดือน แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนสามารถยืดระยะเวลาออกไปได้เป็นเดือนครึ่ง และดอกจะมีความสมบูรณ์แข็งแรงกว่าด้วย

เทคนิคการแปรรูป
“ชาดอกดาวเรือง”
พี่อุ๋ม บอกว่า สำหรับการแปรรูปดอกดาวเรือง ตนเองทำมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปีแล้ว โดยในปีแรกจะเน้นการนำดอกที่ปลูกนอกโรงเรือนมาทำเป็นสีย้อมผ้าเพราะทำได้ง่าย แต่เมื่อทำไปได้สักพักก็ได้ทราบถึงปัญหาว่าด้วยความที่เป็นสีจากธรรมชาติ ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจว่าสีธรรมชาติสามารถตกได้ ซีดได้เมื่อซักบ่อยๆ ทำให้ตลาดแคบลง จึงได้เริ่มต้นที่จะแปรรูปสินค้าตัวใหม่ออกมาคือชาดอกดาวเรือง เมื่อทำออกมาแล้วถือว่าได้ผลตอบรับที่ดีมากๆ กระแสดีมาตลอดแม้จะเกิดวิกฤตโควิด-19 ชาก็ยังขายได้ดี เนื่องจากกระแสรักสุขภาพยังมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อะไรก็ช่างที่เป็นธรรมชาติ บริโภคเข้าไปแล้วเข้าไปช่วยฟื้นฟูและรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นก็ได้รับความสนใจของตลาด

ขั้นตอนการแปรรูป
จะเก็บเกี่ยวดอกดาวเรืองที่บานเต็มที่ นำมาตัดเอาเฉพาะกลีบดอก ไม่ให้ติดเกสรออกมา เนื่องจากตรงส่วนของเกสรจะทำให้มีกลิ่นฉุน เหมือนที่เวลาได้กลิ่นของดอกดาวเรือง จริงๆ แล้วได้กลิ่นจากเกสร ไม่ใช่กลีบ และนอกจากนี้ ยังมีผลทดสอบออกมาว่าในกรณีผู้ที่แพ้ดอกดาวเรืองส่วนใหญ่จะแพ้เกสร คือส่วนที่เห็นเป็นเม็ดดำๆ
เมื่อตัดกลีบดอกเสร็จ ให้นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี หรือจะใช้วิธีอบก็ได้ ในกรณีถ้าเป็นตู้อบลมร้อนทั่วไปควรจัดเรียงไม่ให้กลีบดอกทับกันหนาเกิน 3 เซนติเมตร และอบในอุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียส ไม่ให้เกินนี้
ใช้เวลาอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง
จากนั้นนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เตรียมจำหน่าย
หมายเหตุ ดอกดาวเรืองสดจำนวน 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาอบเป็นชาแล้วจะได้ประมาณ 100 กรัม

สรรพคุณ ดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี โดยทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา โดยการนำเอาสารบำรุงสายตาจากดอกดาวเรืองมาใช้ แนะนำให้ชงเป็นชาดื่ม 1 หยิบมือต่อน้ำร้อน 1 แก้วกาแฟ เท่านี้ก็จะได้รับสารบำรุงสายตาที่ซ่อนอยู่ในดอกดาวเรืองแล้ว

การสร้างมูลค่า
ในเรื่องของราคาแน่นอนว่ามีความแตกต่างกันอยู่แล้ว เพราะปริมาณชาดอกดาวเรือง 10 กิโลกรัม ขายในราคา 2,500-3,000 บาท ต่างจากการขายดอกสด 10 กิโลกรัม จะได้เงินประมาณ 300 บาท แต่ในแง่ของกระบวนการแปรรูปย่อมมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ยังไงรายได้ก็สูงอยู่ และอีกข้อดีของการแปรรูปทำชาคือสามารถเก็บไว้จำหน่ายได้นานเป็นปี ต่างจากลักษณะของดอกสด ถ้าผ่านไปสัก 3-5 วัน จะกลายเป็นขยะทันที

รายได้ ดีขึ้นกว่าตอนปลูกแบบเดิม และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกหากไม่เกิดสถานการณ์โควิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากกระแสของชาดอกไม้มาดีอยู่แล้ว และคนทำยังไม่มาก ยังถือเป็นสินค้าใหม่สำหรับประเทศไทย ชาดอกไม้ตลาดยังไม่ได้กว้าง แต่ทางกลับกันคู่แข่งทางการตลาดก็น้อยเช่นกัน ถือว่ามองว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับตนเองและเกษตรกรท่านอื่นๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

ตลาด ตอนนี้เป็นกลุ่มลูกค้าร้านชาต่างๆ 1. กลุ่ม “ชาเบลนด์” คือ การนำสมุนไพร ผลไม้ หรือดอกไม้อบแห้งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมลงไปในขั้นตอนการชงชา 2. กลุ่มชาเพื่อสุขภาพ และได้ลูกค้าเพิ่มจากการบอกกันปากต่อปาก ซึ่งร้านชาที่มีชื่อเสียงหลายๆ ร้าน ก็ใช้ชาของที่นี่เป็นวัตถุดิบหลัก มีทั้งลูกค้าจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือภาคใต้ก็มี ร้านเบนชาที่มีชื่อเสียงหลายๆ ร้านก็ใช้ชาของเราเป็นวัตถุดิบผสม มีทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภาคใต้ ก็มี 3. วางขายหน้าร้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวเรืองภูเรือ 4. ผ่านออนไลน์ “ช้อปปี้ (Shopee)” และ 5. เพจเฟซบุ๊ก ดีธรรมดา by ทุ่งดาวเรืองภูเรือ

ฝากถึงเกษตรกร
“ต้องบอกว่าเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำของพืชผลทางการเกษตรของไทยเป็นทุกอย่างอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจัยของเราคือเราทำตามกระแส ปลูกตามๆ กันไป เห็นพืชชนิดไหนมีราคาดีหน่อยก็แห่ปลูกตามกัน ฉะนั้น มันหนีไม่ได้เลยที่เราจะถูกกำหนดราคาจากปัจจัยภายนอก แต่สิ่งที่เราจะแก้ได้คือถ้าไม่อยากจะเปลี่ยนในสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว ทางเดียวจะช่วยเราได้คือ การแปรรูป เพราะสุดท้ายแล้วการแปรรูปจะทำให้เราสามารถเก็บของไว้ขายได้นาน ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปด้วยวิธีไหน อยากให้ทุกคนสู้ หากเจอปัญหาอย่ายอมแพ้ ปัญหาทุกอย่างแก้ได้จากการมีสติเรียนรู้เพื่อที่จะแก้ไข อยากให้เคสของพี่เป็นตัวอย่าง ถึงแม้พี่จะไม่ได้สำเร็จครบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่เรายังไม่หยุดคิด หยุดพยายาม พี่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่มันจะมีทางออกให้ เพียงแค่เราต้องเรียนรู้ และพัฒนาแก้ปัญหาต่อไป” พี่อุ๋ม กล่าวทิ้งท้าย

“ไผ่” คือ คำตอบสำหรับการจัดการทรัพยากรพื้นที่ให้กับชาวชุมชนผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกไผ่ของชุมชนผาปัง มีเกือบ 20,000 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ ที่ดินสิทธิทำกิน และพื้นที่ป่าชุมชน ไผ่ที่ปลูกเกือบทั้งหมดเป็นไผ่ซาง ได้แก่ ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล ไผ่ซางบ้าน มีบ้างที่เป็นไผ่รวก เพราะเป็นไผ่ชนิดเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว

แต่ไม่ว่าจะเป็นไผ่ชนิดใด คุณรังสฤษฏ์ คุณชัยมัง ที่ปรึกษาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผาปัง ก็ยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า ไผ่ทุกชนิดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งยังเป็นพืชพลังงานสูง และในเชิงเศรษฐกิจเป็นพืชที่ลงทุนในปีแรกเท่านั้น ปลายปี 2558 มีข่าวว่า วิสาหกิจชุมชนผาปังแห่งนี้ ได้ทดลองโดยการนำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นแก๊สรถยนต์จนประสบความสำเร็จ และเป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกในเอเชีย เป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นกับตา

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า มีการก่อตั้งขึ้น ภายใต้ชื่อ วิสาหกิจผลิตไฟฟ้าชีวมวลพลังงานทดแทนชุมชน เป็นวิสาหกิจต่อเนื่องที่นำเศษข้อไผ่ จำนวน 800-2,400 กิโลกรัมต่อวัน มาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตก๊าซซิฟิเคชั่น (Gasification) ขนาดกำลังการผลิต 70 กิโลวัตต์ เป็นระบบที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด โดยจับคู่ธุรกิจชุมชน (Business Matching) ในความร่วมมือสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มูลนิธิสร้างสุขชุมชน โดยชุมชนร่วมเป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของในลักษณะการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง

ที่น่าทึ่งและนับว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมจากไผ่คือ การทดลองนำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นพลังงานอเนกประสงค์ตามคำบอกของ คุณรังสฤษฏ์ ว่า เมื่อขับออกจากบ้าน คือรถยนต์ ไปถึงทุ่งนา สามารถแปลงกายเป็นเครื่องสูบน้ำ กลางวัน เมื่อกลับเข้าบ้านใช้เป็นแก๊สหุงต้ม กลางคืน แปรสภาพเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งหากทำได้ทั้งหมดนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมแน่นอน และชุมชนผาปังทำสำเร็จแล้ว

การประยุกต์ใช้พลังงานชุมชนในที่นี้ มีการศึกษาวิจัยระบบผลิตซินก๊าซ Syngas พลังงานทดแทนชุมชนจากถ่านไผ่ นำมาเป็นเชื้อเพลิงพลังงานสูบน้ำเพื่อการเกษตร และยานพาหนะขนส่ง เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายด้านพลังงาน ลดการนำเข้าพลังงาน ลดต้นทุนการผลิตเพื่อการเกษตร ลดสิ่งแวดล้อมและรักษาสุขภาพ

เทคโนโลยีผลิตซินก๊าซ Syngas ทดแทนการใช้ LPG ในครัวเรือน ร้านอาหาร และอบสมุนไพร ซึ่งถ่านไผ่ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อ 1 ชั่วโมง (4 บาท) = LPG 0.45 กิโลกรัมต่อ 1 ชั่วโมง (10 บาท)

เทคโนโลยีตัวนี้ ยังสามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน ตั้งแต่ 2-50 กิโลวัตต์ ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้อีกด้วย

คุณรังสฤษฏ์ อธิบายว่า การนำถ่านมาผลิตเป็นแก๊สนั้น เป็นทฤษฎีสากลทั่วไป ซึ่งเดิมวิถีชีวิตของคนเราก็ใช้ถ่านกันมานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องถ่านไม้ไผ่ตั้งแต่ที่มีองค์การแบตเตอรี่ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปองค์การแบตเตอรี่ก็ถูกยกเลิก การวิจัยเรื่องถ่านไม้ไผ่ก็หายไปด้วย เปลี่ยนมาเป็นแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากประเทศอื่น แต่ในเมื่อกลุ่มของเรามีวัตถุดิบที่เป็นถ่านไม้ไผ่ เปรียบคือ คาร์บอน และอากาศก็เปรียบคือ ออกซิเจน เมื่อรวมกันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแก๊สได้ และเห็นว่าแก๊ส LPG และ NGV ก็สามารถนำมาใช้ในรถยนต์ได้ จึงเริ่มทดลองนำถ่านไม้ไผ่ ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูงมาก มาประยุกต์ทำเป็นแก๊ส โดยเริ่มทดลองกับแก๊สหุงต้มก่อน จึงขยับมาทดลองกับเครื่องยนต์ และทดลองกับรถยนต์ ตามลำดับ จนประสบความสำเร็จใช้งานได้จริง

“รถยนต์ที่นำมาทดลองติดตั้งแก๊สจากถ่านไม้ไผ่นั้น เป็นรถกระบะ มีถังสำหรับใส่ถ่านไม้ไผ่ ความจุ 25 กิโลกรัม ใช้วิธีการติดไฟให้ถ่านมีความร้อนอยู่ตลอดเวลา ใช้เครื่องยนต์ดูดแก๊สเข้าไปให้เครื่องยนต์ทำงานลักษณะเดียวกับแก๊ส LPG และ NGV ซึ่งถ่านไม้ไผ่ 5 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เพราะฉะนั้น หากบรรจุถ่านเต็มถัง 25 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทาง 500 กิโลเมตร และราคายังถูกกว่าแก๊สรถยนต์อื่นๆ เนื่องจากถ่านที่ใช้หากเผาเองจะราคากิโลกรัมละ 6 บาท ถังหนึ่งอยู่ที่ราคา 150 บาท เท่านั้น หากซื้อถ่านจากร้านค้าทั่วไป อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เท่ากับถังละ 250 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 0.50 บาท เท่านั้น ถูกกว่าแก๊ส LPG และ NGV มาก เชื่อว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกของประเทศไทย และถือว่าเป็นคันแรกของเอเชียเลยก็ว่าได้”

Mr. Koen Uan Looken วิศวกรหนุ่มชาวเบลเยียม ผู้ที่ให้ความสนใจในการผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปัง อาสาตัวเข้ามาช่วยในเรื่องของการดำเนินการวิจัยและการทดลอง รวมถึงการพัฒนาให้การผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปังก้าวไปข้างหน้า โดย Mr. Koen Uan Looken กล่าวว่า ชิ้นส่วนของไผ่ที่เหลือจากอุตสาหกรรมทั้งระบบ นำไปเข้าเตาเผา นาน 3-6 ชั่วโมง เมื่อได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ก็นำเข้าเครื่องบดหยาบ หากต้องการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต้นทางของพลังงาน เมื่อนำไปใส่ยังเครื่องผลิตพลังงานจากไม้ไผ่มีลักษณะเป็นถัง มีท่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งกำเนิดพลังงาน ไม่ได้มีระบบซับซ้อนแต่อย่างใด เป็นการแปรรูปพลังงานอย่างง่าย ไม่มีระบบออโตเมติกแม้แต่ชิ้นเดียว

“เราเรียกว่า พลังงานไฟฟ้า ใช้ถ่านไผ่เป็นเชื้อเพลิง เวลาใส่ถ่านไผ่เข้าไปที่เครื่องก็ควรใส่ให้เต็ม เป็นการเผาไหม้ที่ 1,500 องศาเซลเซียส เริ่มจากการจุดไฟที่ด้านล่างของอุปกรณ์บรรจุถ่านไผ่ 3-4 วินาที จากนั้นปิดฝา การจุดไฟที่ด้านล่างของอุปกรณ์ตามช่องที่มี เป็นการไล่ความชื้นจากถ่านออก เมื่อความชื้นหายไปจะทำให้ติดไฟ หากใช้แทนก๊าซหุงต้มก็สามารถเชื่อมต่อท่อจากเครื่องไปยังเตาแก๊ส แล้วจุดไฟตามปกติ ก็ได้แก๊สสำหรับหุงต้ม”

Mr. Koen Uan Looken อธิบายว่า การเผาไหม้ของถ่านเมื่อใช้กับแก๊สหุงต้มจะไม่เกิดเขม่าหรือขี้เถ้า แต่จะหลงเหลือซิลิกาขนาดเล็กไว้แทน ซึ่งส่วนนี้ทางวิสาหกิจชุมชนผาปังก็นำไปจำหน่ายให้กับโรงงานทำกระจก เป็นรายได้จากไผ่อีกทอดหนึ่ง เมื่อถ่านไผ่ปริมาณลดลงตามการใช้งานก็สามารถเติมถ่านไผ่เข้าไปได้อีก

เมื่อมีโอกาสได้เห็นกับตา และพูดคุยกับคุณรังสฤษฏ์ และ Mr. Koen Uan Looken แล้ว เชื่อว่า ถ่านไม้ไผ่ให้พลังงานที่สะอาด และสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายมากกว่าที่คิด ซึ่งคุณรังสฤษฏ์ ยืนยันว่า หากท่านใดมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมถึงชุมชนผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง แล้ว จะสามารถกลับไปทำด้วยตนเองได้อย่างแน่นอน

พื้นที่ที่เกือบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และเป็นเกาะแก่งกลางน้ำ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ถูกทิ้งไว้มาหลายปี เพราะเจ้าของต้องไปทำไร่อ้อยและไร่ข้าวโพดอีกที่หนึ่ง ไม่มีเวลาดูแล กระทั่งเมื่อ 6 ปีก่อน พื้นที่นี้ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง

คุณวิทยา โพธิลำเนา เกษตรกรชาวตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ 6 ไร่ แต่เพราะพื้นที่นี้ถูกน้ำท่วมหลากเป็นประจำทุกปี ทำให้คุณวิทยาไม่คิดปลูกพืชอะไรไว้ เพราะเกรงว่าจะไม่รอด แต่มีตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ปลูกไม้ผลจนประสบความสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณวิทยาคิดทำตามแบบอย่าง

เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกเงาะ ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คุณวิทยาจึงเอาแบบอย่าง ซื้อกิ่งพันธุ์เงาะมาบ้าง ลงปลูกเต็มพื้นที่ 6 ไร่ จำนวน 160 ต้น แต่เห็นพื้นที่ระหว่างต้นเงาะยังว่าง จึงนำกิ่งพันธุ์ฝรั่งกิมจูมาลงปลูกระหว่างเงาะแต่ละต้น ทำให้ได้จำนวนฝรั่งอีก 400 ต้น หลังปลูกก็ปล่อยไว้อย่างนั้น แล้วออกไปทำไร่ตามปกติ แต่หลังจากนั้น 6 เดือน เข้ามาดูเห็นฝรั่งเริ่มติดดอก หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เข้ามาดู ก็พบว่า ฝรั่งให้ผลผลิตแล้ว

“พอเข้ามาดูก็เห็นฝรั่งดกเต็มต้น แต่ห่อไม่ทัน ผลฝรั่งเน่าคาต้นเยอะมาก เห็นผลผลิตดีขนาดนี้ ทำให้ตั้งใจว่า จะดูแลให้ดี เพราะทุกผลที่ห่อคือเงิน ส่วนเงาะปีแรกให้ผลผลิตพอได้กิน ปีที่ 2 ผลผลิตที่ได้กินอิ่ม ผลผลิตปีที่ 3 เก็บผลผลิตขายได้พร้อมๆ กับฝรั่งกิมจู”

เพราะคลุกคลีกับพืชไร่ที่ต้องใช้สารเคมีมาโดยตลอด วิธีแทงบอล SBOBET ทำให้การปลูกไม้ผลบนพื้นที่ 6 ไร่นี้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีให้มากที่สุด คุณวิทยา เล่าว่า ปีแรก เราไม่รู้อะไรก็ใส่ปุ๋ยเคมีลงไป แต่สังเกตเห็นต้นไม้โทรม จึงลองสั่งขี้ไก่มาใส่แทนเคมี ปรากฏว่าต้นไม้งาม เจริญเติบโตดี แตกยอดไม่หยุด ทำให้รู้ว่าเคมีไม่ได้ช่วยอะไรมาก

พื้นที่เหลือจากลงปลูกเงาะและฝรั่งอีกไม่มาก เมื่อเห็นต้นไม้เจริญเติบโตและงอกงามดี จึงตัดสินใจซื้อไม้ผลชนิดอื่น เช่น ลองกอง ทุเรียน มาลงปลูกเพิ่ม แม้ยังไม่ได้ผลผลิต แต่การเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์ที่ลงไว้งอกงามดี

นอกเหนือจากไม้ผลที่กล่าวมาแล้ว พื้นที่อีกนิดหน่อย คุณวิทยาไม่ต้องการให้สูญเปล่า จึงนำมะเขือหลากหลายชนิดมาปลูก โดยเน้นไปที่มะเขือพื้นบ้าน ซึ่งหาซื้อได้ยากไปลงปลูกไว้ เมล็ดพันธุ์ คุณวิทยาบอกว่า ไม่ซื้อ เก็บและเพาะเมล็ดเอง เพราะพืชพื้นบ้านเหล่านี้เจริญเติบโตและมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศบ้านเราอยู่แล้ว การเพาะเมล็ดเองก็ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

ปัญหาของพื้นที่ตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา ส่วนใหญ่คือ ความแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร และดินไม่ดี พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย

อำเภอสุวรรณคูหาส่วนใหญ่จะห่างไกลแหล่งน้ำทำการเกษตรและดินไม่สมบูรณ์ แต่พื้นที่ 6 ไร่ ของคุณวิทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ลึก แต่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ถึง 2 แหล่ง และน้ำไม่เคยแห้ง แม้จะอยู่ในฤดูแล้ง แต่หลายคนมองว่าข้อเสียของพื้นที่นี้คือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม ปลูกพืชอาจไม่ได้ผล แท้ที่จริงแล้วฤดูน้ำหลากที่ว่า จะพัดพาเอาตะกอนและแร่ธาตุที่ดีมาทับถมที่พื้นที่แห่งนี้ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และน้ำหลากที่ท่วมระยะหนึ่งไม่ได้นานจนทำให้พืชเกิดปัญหา อีกทั้งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งน้ำถึง 2 แหล่ง จึงทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำเหมือนพื้นที่อื่น

เมื่อถามคุณวิทยาว่า ทราบหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดพื้นที่แห่งนี้จึงปลูกพืชอุดมสมบูรณ์ดี คุณวิทยา บอกว่า ไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุมาทับถมตามน้ำที่หลากมาในฤดูน้ำหลาก แต่พื้นที่ด้านท้ายของไร่ ประมาณ 2 งาน เห็นว่า ดินดีกว่าบริเวณอื่น จึงสังเกตรอบข้าง พบว่า มีต้นยางนาอยู่ 2 ต้น ใบยางนาร่วงปกคลุมดินบริเวณดังกล่าว ทับถม เมื่อขุดดินที่ใบยางนาทับถม ก็พบว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงคิดว่าเป็นเพราะใบยางนาที่ช่วยสร้างแร่ธาตุในดินให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และพืชที่นำไปปลูกบริเวณนั้น เช่น มะเขือพื้นบ้านหลายชนิด เจริญงอกงามและให้ผลผลิตดีมาก

ส่วนการดูแลไม้ผลในแปลง 6 ไร่ ที่ลงปลูกไว้ คุณวิทยา อธิบาย ดังนี้

แห่งสวนธวัชชัย 092-602-8973 ตั้งอยู่ที่ตำบลนพรัตน์หนองเสือ

จังหวัดปทุมธานี ก่อนนั้นก็ปลูกกล้วยน้ำว้าขายส่งพ่อค้าที่ตลาดไท ราคาก็ขึ้น-ลงตามปกติ วันหนึ่งมีพ่อค้าที่รู้จักกันนำกล้วยน้ำว้ายักษ์มาขาย เห็นครั้งแรกก็สนใจทันที เลยขอตามพ่อค้าคนนั้นกลับไปที่แหล่งปลูกที่บ้านห้วยเสือ จังหวัดกาญจนบุรี สอบถามชาวบ้านทราบว่า เป็นกล้วยสายพันธุ์ที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทานให้ชาวบ้านปลูกกัน และมีอยู่บ้านละไม่กี่ต้น ประกอบกับเป็นหมู่บ้านที่ห่างไกลและปลูกบนเขา ซึ่งสภาพแวดล้อมมีกล้วยป่าอยู่จำนวนมาก ทำให้กล้วยน้ำว้าสายพันธุ์นี้มีเมล็ดเยอะ ไม่มีพ่อค้ารับซื้อผลผลิต ชาวบ้านจึงปล่อยทิ้งไม่ได้ดูแลแต่อย่างใด ทำให้การตามหาหน่อกล้วยมาปลูกใช้เวลาอยู่หลายวัน

“สรุปคือ กล้วยที่ปลูกร่วมกับกล้วยป่าจะมีเมล็ดเหรอครับ”
“ส่วนมากจะเป็นแบบนั้นค่ะ เพราะเกสรกล้วยจะมาผสมกัน”
“ถ้าเป็นแบบนั้นก็แสดงว่า แม้สายพันธุ์จะดีขนาดไหน หากมาปลูกในป่าเขา หากมีกล้วยป่าอยู่ด้วย ก็จะมีเมล็ดเหมือนกันใช่ไหมครับ”
“ใช่ค่ะ แต่เราเชื่อในเรื่องสายพันธุ์ดี จึงขอแบ่งซื้อหน่อมาปลูกขยายค่ะ”
“ในตอนนั้นคิดอะไรอยู่ครับ”
“สายพันธุ์น่าปลูกค่ะ ผลโต หวีใหญ่ เครือใหญ่ ต้นใหญ่มาก หากขายเป็นกล้วยไหว้ก็น่าจะมีคนสนใจไม่น้อย”

เมื่อนำหน่อมาปลูกที่สวนของตัวเองแล้ว ในปีแรกๆ ก็ยังต้องลุ้นกันว่า ผลกล้วยจะมีเมล็ดเหมือนแม่พันธุ์ไหม เมื่อได้คำตอบที่แน่นอนแล้วว่า ไม่มีเมล็ด จึงขุดหน่อขยายพื้นที่ปลูกจนเต็มสวน ใช้เวลา 7 ปี จนแน่ใจว่าสายพันธุ์นิ่งแน่นอนแล้ว ปลูกรวมกับกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ปกติต่างๆ ได้โดยไม่กลายพันธุ์ เรียกว่าเป็นสวนกล้วยน้ำว้าผสมผสานได้เลย

ลักษณะเด่นของกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์นี้คือ ขนาดโคนต้นใหญ่ มีเส้นรอบวงประมาณ 80-100 เซนติเมตร ทรงต้นสูง 4-5 เมตร ใบตองมีขนาดใหญ่และแข็ง ไม่เหมาะจะนำมาใช้งาน หัวปลีมีทรงตุ้มไม่ยาวเหมือนกล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ปกติ รสชาติหัวปลีไม่ฝาด สามารถนำมารับประทานโดยปรุงอาหารได้เหมือนหัวปลีปกติ เครือใหญ่มาก หนึ่งเครือมีสูงสุดได้ 15 หวี แต่โดยมากจะไว้ประมาณ 12 หวี เท่านั้น ใน 1 หวี ที่สมบูรณ์จะมีน้ำหนักประมาณ 4-6 กิโลกรัม เรียกว่าหากจะตัดกล้วยสักเครือ ต้องมีผู้ช่วยไปด้วยกันแน่ๆ เพราะคนเดียวคงขนกล้วยกลับไม่ไหวแน่ๆ

ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับกล้วยน้ำว้ายักษ์สายพันธุ์นี้คือ 4×4 เมตร จะยกร่องหรือปลูกลงแปลงไปเลยก็ตามสะดวก เพราะในแต่ละพื้นที่มีลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ที่สวนธวัชชัยเองสภาพดินเป็นร่องสวนที่ขุดหลุมได้ไม่ลึกนัก อาศัยพอกล้วยโตก็กลบเลนที่โคน เพื่อช่วยให้โคนไม่ลอยและลำต้นเติบโตแข็งแรง ที่สวนนี้ใช้ปุ๋ยขี้หมูตากแห้งเท่านั้น จะไม่ใช้ขี้หมูที่ผ่านบ่อหมักแก๊ส เพราะมีผลในเรื่องของสารอาหารที่กล้วยจะได้รับต่อไป ส่วนเรื่องโรคก็ระวังแค่เรื่องหนอนกอเพียงอย่างเดียว ตัดหญ้า แต่งใบแห้งใบหักออก ให้โคนโล่งแดดส่องถึง กล้วยจะชอบแดดจ้าทั้งวัน การให้น้ำที่นี่เป็นร่องสวน จึงใช้เรือรดน้ำวิ่ง วันละ 2 รอบ ส่วนระยะการให้น้ำนั้นจะดูสภาพดินและจำนวนน้ำที่จะรด การดูสภาพดินก็คือให้ดูดินบนร่องเป็นหลัก อย่าให้ดินแห้ง เพราะรากจะไม่ขึ้นมาหาอาหารที่ด้านบน ทำให้รากแห้งและต้นไม่สมบูรณ์

“ตอนนี้รายได้จากการขายผลผลิตพออยู่ได้ไหมครับ”
“ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะฤดูกาลไหน กล้วยน้ำว้าก็ยังไปได้เรื่อยๆ”
“ราคาตอนนี้เป็นยังไงครับ”
“หวีละ 50-80 บาท ค่ะ”
“โห! ราคาดีมากเลยครับ รสชาติดีไหมครับ”
“ดีมากๆ ค่ะ ผลสุกรสหวาน ไม่เปรี้ยว ไม่ฝาด เนื้อเหนียว ไส้เหลืองสวยงามมากค่ะ”
“ลูกค้าส่วนมากซื้อไปทำอะไรครับ”
“ส่วนหนึ่งแปรรูป แต่มีไม่น้อยที่ซื้อไปเป็นกล้วยไหว้ค่ะ”
“ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกจนได้ผลผลิต เท่ากับสายพันธุ์อื่นไหมครับ”
“มากกว่า 1 เดือนค่ะ พันธุ์นี้ใช้เวลา 13 เดือน”
“กระซิบนะ หากมีท่านผู้อ่านสนใจอยากปลูกบ้าง พอจะแบ่งจำหน่ายหน่อไหมครับ”
“ยินดีค่ะ โทร.มาได้เลย 092-602-8973 รับรองว่าทางสวนเราจัดให้เป็นพิเศษ สำหรับผู้อ่านที่สนใจทุกท่านเลยค่ะ”
“ขอบคุณครับ”

ปลูกมะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน 2 ไร่ สร้างรายได้งาม
มะเขือเทศสีดา พันธุ์เทพประทาน มีจุดเด่นคือทนทานต่อโรคไวรัสใบหงิกเหลือง ต้นแข็งแรง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน ทรงผลยาวรี สีชมพูสวย น้ำหนักดี ผลมีเนื้อแน่นแข็งไม่แตกง่าย เมื่อปลูกในฤดูฝน ทนทานต่อการขนส่งทางไกล อายุเก็บเกี่ยวเพียง 65-70 วัน หลังย้ายกล้า มะเขือเทศสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ปลูกครั้งนึงสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน ในการเก็บแต่ละครั้งสามารถสร้างมีรายได้เข้ามาประมาณ 30,000-40,000 บาท แล้วแต่ช่วงถ้าช่วงไหนราคาดีก็ได้เงินเยอะ บางครั้งมะเขือเทศราคาขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 40-50 บาท แต่คุณกิ๊ฟบอกว่าเมื่อมีราคาสูงก็มีราคาต่ำลงมาเหลือแค่กิโลกรัมละ 8-10 บาท อยู่ที่เราวางแผนการปลูกอย่าให้ชนกับป่าใหญ่

การเตรียมดิน เริ่มแรกไถตากดินแปรดิน ยกร่องห่างประมาณ 1.20 เมตร แล้วแต่บางคนชอบห่าง ชอบถี่ แต่ถ้ายกร่องห่างไว้จะดีกว่า เพื่อที่ระบายอากาศได้ง่าย โอกาสของการเกิดเชื้อราก็จะน้อยลง

ความห่างระยะต้นลงหลุม 30 เซนติเมตร ต่อต้นต่อหลุม วางท่อสายน้ำหยด วางเสร็จคลุมผ้ายาง ก่อนปลูกเปิดน้ำใส่เพื่อให้ดินอ่อน แล้วใช่ไม้ในการเจาะหลุม ก่อนลงกล้าใส่ฟูราดานลองหลุม เพื่อกันแมลงกินราก

ระบบการให้น้ำ เป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำวันละสองเวลา เช้า-เย็น เปิดรดประมาณ 5 -10 นาที

ปุ๋ย 5 – 7 วันฉีดครั้งหนึ่ง ปุ๋ยปล่อยไปทางน้ำจะใช้สูตรเสมอ 16-16-16 ใส่แคลเซียมทางน้ำ ครึ่งเดือนใส่ 1 ครั้ง ส่วนปุ๋ยทางใบก็ต้องฉีดใบจะได้งาม ใส่แต่ทางน้ำอย่างเดียวไม่ถึง ดูแลไปเรื่อยๆ ประมาณ 2เดือน 20 วัน มะเขือเทศจะเริ่มให้ผลผลิต

เทคนิคให้ลูกสวย มันวาว มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ เพียงใส่น้ำยาล้างจานกับปุ๋ยผสมน้ำฉีด ผ่น ผิวของมะเขือเทศจะสวย ใส นวล ให้ฉีดตอนลูกออก ประโยชน์อีกอย่างของน้ำยาล้างจานก็คือช่วยให้ยาที่พ่นจับที่ใบได้ดี เพราะน้ำยาล้างจานจะมีความหนืด ปลูก 2 ไร่ ใช้น้ำยาล้างจานประมาณ 2 ถุง ต่อน้ำ 200 ลิตร

ช่วงฤดูที่เหมาะกับการปลูก

เริ่มปลูกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตได้เดือนเมษายน นับไปอีกหกเดือน ก็ปลูกได้ใหม่อีกรอบ ไม่ต้องพักดินปลูกหน้าไหนก็ได้ แต่ไม่แนะนำหน้าฝน เชื้อราจะลง ช่วงหน้าฝนก็เก็บผลผลิตไป มีหน้าที่คือดูแล หน้าฝนมะเขือเทศจะแตก แมลงลงเยอะ แต่มะเขือเทศจะราคาดีช่วงนี้เพราะดูแลยาก

เกษตรกรมือใหม่อยากลงทุนปลูกมะเขือเทศ

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ต้องมีเงินลงทุนประมาณ 30,000 – 40,000 บาท ต่อ 2 ไร่ เมล็ดพันธุ์ซองละ 800 อย่างแพง แล้วแต่ช่วง ช่วงหายากก็จะแพงหน่อย ประมาณ 750-800 ซองนึงได้ 2,000 ต้น

หากเอ่ยชื่อ “ฟิก” (FIG) คิดว่าคงมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักว่าคือพืชชนิดใด แต่หากเอ่ยชื่อ “มะเดื่อฝรั่ง” ก็คิดว่าคงมีบางคนที่เคยได้ยินชื่อมาบ้างแล้ว มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เนื่องจากมีรสชาติดีและอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เชื่อกันว่า การกินมะเดื่อฝรั่งอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน บรรเทาอาการท้องผูก หูด และอาจมีประโยชน์ต่อผิวหนังด้วย

มะเดื่อฝรั่ง เป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำและปราศจากไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักและผู้ที่อยากกินอาหารอื่นที่ยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย โดยมะเดื่อฝรั่งตากแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วยกากใยอาหาร 9.8 กรัม ซึ่งจะช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้นและยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ทั้งการกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะมะเดื่อฝรั่งอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ หลายชนิด คือ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค โพแทสเซียม สังกะสี เหล็ก และอื่นๆ อีกมากมาย

ใครที่เคยเข้าไปกินขนมจีนสารพัดน้ำยา ที่ร้าน “บ้านคุณย่า” อยู่เลขที่ 60 หมู่ที่ 11 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร คงได้เห็นแปลงปลูกพืชกางมุ้งที่ตั้งอยู่ติดลานจอดรถของร้าน เป็นแปลงขนาด 12×8 เมตร สร้างด้วยโครงเหล็กขึงผ้าพลาสติกสีขาวโปร่งแสง เพื่อป้องกันแมลงรบกวน ส่วนภายในเรือนเพาะชำมีการปลูก “มะเดื่อฝรั่ง” หรือ “FIG” นับร้อยต้น

เมื่อสอบถาม คุณนงเยาว์ ชาญนคร หรือ ป้าเยาว์ อายุ 64 ปี เจ้าของร้านขนมจีน “บ้านคุณย่า” ก็ทราบว่า แปลงปลูกมะเดื่อฝรั่งดังกล่าว เป็นของบุตรเขย ชื่อ คุณธวัชชัย บุญสุข หรือ คุณโต อายุ 37 ปี ซึ่งมีอาชีพหลักคือเป็นวิศวกรไบโอก๊าซ บริษัท กลุ่มปาล์มธรรมชาติ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชตราผึ้ง ในวันหยุดและหลังเลิกงานประจำ คุณธวัชชัยก็จะปลูกมะเดื่อฝรั่งขายเป็นรายได้เสริม ยิ่งในช่วงที่สังคมโลกรวมทั้งสังคมไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การหารายได้เสริมถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก

คุณธวัชชัย กล่าวว่า ตนเองเริ่มปลูกมะเดื่อฝรั่ง หรือ FIG ได้ประมาณ 1 ปี โดยใช้ที่ว่างข้างลานจอดรถของร้านขนมจีนเป็นแปลงปลูกพืชกางมุ้ง ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น ประมาณ 80,000 บาท แบ่งเป็นเงินสร้างตัวเรือนเพาะชำกางมุ้งจำนวน 50,000 บาท อีก 30,000 บาท ก็ใช้ในการสั่งซื้อพันธุ์มะเดื่อฝรั่งและอุปกรณ์ต่างๆ

หลังจากปลูกแล้วต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ ลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือลูกค้าทางสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนราคาจำหน่ายมะเดื่อฝรั่งก็อยู่ กิโลกรัมละ 300-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเดื่อฝรั่ง หากเป็นสายพันธุ์ Brown Turkey หรือ Black Jack ก็กิโลกรัมละ 300 บาท แต่ถ้าเป็นพวกพันธุ์ Black Maderia พันธุ์ White Israel ก็ราคากิโลกรัมละ 800 บาท

คุณธวัชชัย กล่าวว่า สรรพคุณของมะเดื่อฝรั่งนั้น สามารถนำไปทำสลัดหรือนำมาแปรรูปเป็นแยมทาขนมปัง ส่วนใบก็นำไปต้มเป็นชา FIG จะมีกลิ่นหอม ถ้ากินสดๆ จะมีรสหวานอมเปรี้ยว แก้โรคเบาหวาน ปรับสภาพร่างกายของคนที่ระบบลำไส้ไม่ดี เช่น ท้องเสียบ่อยๆ หรือท้องผูก จริงๆ แล้ว FIG หรือมะเดื่อฝรั่งไม่ใช่ผลไม้ แต่เป็นดอกไม้ มีเกสรอยู่ด้านใน พวกแมลงจึงมักเข้าไปในรูด้านล่างของมะเดื่อฝรั่ง หากไม่สร้างโรงเรือนกางมุ้ง ก็จะมีแมลงมารบกวน ทำให้เกิดหนอนอยู่ด้านในมะเดื่อฝรั่ง และยังต้องหากิ้งก่ามาปล่อยในโรงเรือนให้ช่วยกำจัดแมลงด้วย ส่วนการปลูกก็ไม่ยุ่งยากอะไร แค่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์พวกปุ๋ยหมัก ลงไปในกาบมะพร้าวสับและตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำเสียแล้วใส่เมล็ดมะเดื่อฝรั่งลงไป รดน้ำวันละครั้ง หรืออาจใช้วิธีตัดกิ่งชำก็ได้

“หากต้องการให้ได้มะเดื่อฝรั่งลูกใหญ่ หนักประมาณ 200 กรัม ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการเก็บเกี่ยว การขนส่งมะเดื่อฝรั่งออกจากเรือนเพาะชำ ต้องใช้การขนส่งระบบแช่เย็นเท่านั้น มะเดื่อฝรั่งจึงจะอยู่ได้จนถึงปลายทาง ปัจจุบัน มีคนสนใจหันมาบริโภคมะเดื่อฝรั่งมากขึ้น นอกจากการปลูกมะเดื่อฝรั่งขายแล้ว ยังมีในส่วนของกิ่งตอนและกิ่งชำมะเดื่อฝรั่งที่อนุบาลแล้วจำหน่ายให้ผู้สนใจปลูก ในราคาต้นละ 100 บาทด้วย” คุณธวัชชัย กล่าว

สำหรับผู้สนใจจะปลูกมะเดื่อฝรั่ง หรือ FIG เป็นรายได้เสริม คุณธวัชชัยก็พร้อมให้คำแนะนำ เพราะเป็นพืชที่ใช้พื้นที่ปลูกน้อยและผลผลิตให้ราคาดี ซึ่งคุณธวัชชัยอยากให้ชาวชุมพรปลูกมะเดื่อฝรั่งกันเยอะๆ เนื่องจากตลาดของมะเดื่อฝรั่งในเมืองไทยกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากมีสิ่งใดที่สามารถแบ่งปันกันได้ ก็พร้อมและยินดี โดยติดต่อได้ที่ ร้านขนมจีน

ผู้คนส่วนใหญ่ รู้จัก “จังหวัดสงขลา” ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลางการค้าสำคัญของภาคใต้ ความจริง จังหวัดสงขลา เป็นแผ่นดินทองทางการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน นาข้าว พืชผักผลไม้และสินค้าประมง สร้างอาชีพและทำรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรจำนวนมากมาอย่างยาวนาน

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและอนุรักษ์พืชประจำถิ่น หรือพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลามากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีแนวทางส่งเสริมการปลูกพืชในประเทศ ซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์และพืชทางเลือกใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

พืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา

สำหรับพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าขายดี เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป ได้แก่
1. จำปาดะสะบ้าย้อย
2. ละมุดเกาะยอ, ละมุดบางกล่ำ
3. กาแฟสะบ้าย้อย
4. ทุเรียนพื้นบ้านนาหม่อม
5. ส้มโอหอมหาดใหญ่
6. ส้มจุกจะนะ
7. มะม่วงเบาสิงหนคร

ส่วนพืชเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกใหม่ ได้แก่
1. มะละกอฮอลแลนด์
2. กล้วยหอมทอง
3. พุทรานมสด
4. ชมพู่ทับทิมจันทร์
5. เมล่อน
6. มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
7. มันเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

สวา (ละมุด) สงขลา อร่อยมาก

ชาวสงขลา เรียกละมุดในภาษาถิ่นว่า “สวา” ที่นี่ปลูกต้นละมุดหรือสวา ในลักษณะสวนผสมผสานร่วมกับไม้ผลและไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ต้นละมุดที่พบเห็นมีลักษณะลำต้นสูง 5-15 เมตร ลำต้นมีกิ่งและใบมาก จนแลดูเป็นทรงหนาทึบ การออกดอกแต่ละช่วงจะใช้ระยะเวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากดอกบานจนกระทั่งผลแก่เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน ขณะผลอ่อน มีสีเหลืองอมขาว และมียางสีขาว ผลสุกมีสีน้ำตาลปนแดง หากยังไม่สุกมากจะมีความกรอบ หวาน เมื่อผลสุกมากเนื้อจะนุ่ม และให้รสหวานจัดและมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นดอกมะลิ

ปัจจุบัน จังหวัดสงขลา มีแหล่งผลิตละมุดที่มีชื่อเสียงอยู่ 2 แห่ง คือ ละมุดเกาะยอ และ ละมุดบางกล่ำ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ชาวเกาะยอปลูกละมุดกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ละมุดบางต้นมีอายุเป็นร้อยปี ทุกวันนี้ เกาะยอมีเนื้อที่ปลูกละมุดราว 375 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นละมุดสายพันธุ์ไข่ห่าน ผลใหญ่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ละมุดเกาะยอมีจุดเด่นเรื่องรสชาติหวาน อร่อย เพราะได้ไอน้ำเค็มจากทะเล ทำให้ละมุดเกาะยอขายได้ราคาดี ประมาณ 50 บาท/กิโลกรัม น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 9 ลูก/กิโลกรัม ละมุดเกาะยอ จะมีผลผลิตออกมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ส่วน ละมุดบางกล่ำ สันนิษฐานว่า สมัยรัชกาลที่ 5 มีชาวจีนบางส่วนมาเป็นคนงานสร้างทางรถไฟ และยึดอาชีพปลูกพลู และละมุด (สวา) ชาวจีนได้นำต้นละมุดพันธุ์ไข่ห่าน ซึ่งเป็นละมุดลูกใหญ่ หอม หวาน เนื้อละเอียด จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เข้ามาปลูกในพื้นที่บางกล่ำนับถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาประมาณ 100 กว่าปีแล้ว ละมุดพันธุ์ไข่ห่านที่นำมาปลูกในพื้นที่บางกล่ำที่มีลักษณะดินสามน้ำ ทำให้ละมุดบางกล่ำมีรสชาติอร่อย เป็นที่รู้จักกันทั่วไป จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญประจำอำเภอบางกล่ำ ว่า “สวาลือนาม” มาจนถึงทุกวันนี้

ละมุดบางกล่ำ จะให้ผลผลิตออกมากที่สุดประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ละมุดบางกล่ำ จะให้ผลผลิตต่อต้น ประมาณ 100 กว่ากิโลกรัม เนื่องจากละมุดบางกล่ำเป็นผลไม้รสชาติอร่อย ที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่น ทำให้ทุกวันนี้ เกษตรกรไม่ต้องลำบากในการหาตลาด เพราะมีแม่ค้ามารับซื้อผลผลิตถึงที่บ้าน

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลาให้ข้อมูลว่า ละมุดบางกล่ำ มีลักษณะเด่นกว่าที่อื่น เพราะปลูกดูแลแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก เป็นหลัก เพราะหากใช้ปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินแข็ง เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายเมื่อผลสุกแล้ว ก่อนจะนำผลที่เก็บได้มาบ่มแก๊สเพื่อให้ละมุดสุกทั่วกันทั้งลูก

กศน. อำเภอบางกล่ำ
อาสาพาไปชมสวน

“บ้านบางกล่ำ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบสงขลา มีคลองบางกล่ำพาดผ่านและเชื่อมออกไปยังทะเลสาบสงขลา เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอหาดใหญ่ ต่อมาได้ถูกแยกออกมาเป็นอำเภอบางกล่ำ เมื่อ ปี 2538 ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก แต่ในช่วงหน้าแล้งจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และน้ำที่มีอยู่ก็ประสบปัญหาน้ำเปรี้ยว ไม่สามารถใช้ในการเกษตรได้ ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ และหมู่บ้านผักเหนาะ

นางสาวอังสิญาภรณ์ อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการ กศน. วิธีสมัคร SBOBET อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา นางลำพึง สุวรรณชาตรี ครู กศน. ตำบล และ นายวิโรจน์ แก้วชูเชิด ครูอาสาสมัครฯ พาผู้เขียนไปเยี่ยมชมสวนละมุดบางกล่ำ ที่เลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นรายได้เสริมในสวนละมุด พร้อมชมกิจกรรมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตร การตลาดและบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งชันโรง ณ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านบางกล่ำกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

เนื่องจากตำบลบางกล่ำเป็นชุมชนเกษตรกรรม ครู กศน. ตำบลบางกล่ำ จึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการอบรมอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชาวบ้าน เช่น กิจกรรมอบรมถอดบทเรียนความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ การผลิตปุ๋ยหมัก การเพิ่มมูลค่าผลผลิตสินค้าเกษตร กระตุ้นให้ชาวบ้านในชุมชนเกิดการรวมกลุ่มผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าในตลาดสด และจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ เช่น Line Facebook Instagram ฯลฯ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามนโยบาย “ไทยนิยมยั่งยืน” ของรัฐบาล

เลี้ยงชันโรง เป็นรายได้เสริม
ในสวนละมุดบางกล่ำ

ครู กศน. ตำบลบางกล่ำ ได้จัดเวทีประชาคม ประชุมกับชาวบ้าน พบว่า ชาวบ้านส่วนหนึ่งทำสวนยางพารา และอยากมีรายได้เสริมในช่วงยางพาราราคาตกต่ำ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรอินทรีย์ จึงสนใจเลี้ยงผึ้งเป็นรายได้เสริม กศน. ตำบลบางกล่ำ จึงพาชาวบ้านไปศึกษาดูงานในแหล่งผลิตที่เลี้ยงผึ้งชันโรงในพื้นที่ต่างๆ จนชาวบ้านมีความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งชันโรง หรือ “อุง” บนโรงเรือน เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยชาวบ้านรวมกลุ่มดำเนินธุรกิจร่วมกัน ในชื่อ “วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ” นอกจากนี้ ทาง กศน. ได้ส่งเสริมชาวบ้านแปรรูปน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์โลชั่น และสบู่ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง

คุณเดชา ศิริโชติ (คุณโอ) เกษตรกรเจ้าของสวนละมุด และเป็นแกนนำวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 2 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เล่าให้ฟังว่า ข้อดีของการเลี้ยงอุง (ผึ้งชันโรง) ช่วยผสมเกสรไม้ผลในสวนให้มีผลผลิตคุณภาพดีจำนวนมาก ถือเป็นการพึ่งพิงกันเองของธรรมชาติ เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เจ้าของสวนผลไม้ที่เลี้ยงผึ้งชันโรงได้อีกแนวทางหนึ่ง

ทุกวันนี้ ช่วงเช้าชาวบ้านจะออกไปกรีดยาง และใช้เวลาว่างไปเลี้ยงผึ้งชันโรง การเลี้ยงผึ้งชันโรง (อุง) โดยทั่วไป ชาวบ้านจะใช้เวลาเลี้ยงชันโรง ประมาณ 1 ปี จะได้น้ำผึ้งคุณภาพดี ออกขายได้ ขวดขนาด 150 ซีซี ขวดละ 300 บาท ข้อดีของการเลี้ยงชันโรง ใช้เงินลงทุนครั้งเดียว หลังจากรีดน้ำผึ้งจากรังแล้ว เกษตรกรสามารถแยกชันโรงได้เพิ่มขึ้นอีก 1 รัง เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แค่เลี้ยงผึ้งชันโรงในสวนผลไม้ และปลูกดอกไม้หลายชนิด ชันโรงจะออกหากินเอง

พลิกปัญหาสู่โอกาสปัญหาในการแปรรูปค่อนข้างจะเยอะพอควร

เพราะมีเรื่องของความสดและความหอมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และน้ำมะพร้าว 100% อาจจะติดเชื้อได้ง่าย จึงเริ่มมีการคิดแก้ปัญหากันเกิดขึ้น อย่างเช่น มะพร้าวแช่แข็งตอนแรกใช้เพียงแค่น้ำธรรมดาล้างก็คิดว่าสะอาดแล้ว แต่ที่จริงแล้วเมื่อล้างน้ำเสร็จแล้วต้องนำมาล้างน้ำมะพร้าวเป็นน้ำสุดท้ายเพื่อให้เนื้อมะพร้าวคงความสด

น้ำมะพร้าวสด 100% จะเจาะก่อนจะนำไปกรองแล้วนำไปใส่ขวด มีกระบวนการฆ่าเชื้อโดยการน็อกเย็น ส่งขายตลาดในกรุงเทพฯ หรือรับออเดอร์จากที่ลูกค้าสั่ง นอกจากเจาะน้ำแล้ว ยังสามารถนำทั้งน้ำและเนื้อมะพร้าวมาแช่แข็งได้อีกด้วย โดยการแช่แข็งในอุณหภูมิถึง 5 องศา สามารถเก็บได้เป็นปี เมื่อละลายน้ำออกมาความสดของเนื้อและน้ำก็ยังคงเดิม เนื้อมะพร้าวแช่แข็งจะส่งโรงงานใหญ่ที่ทำเบเกอรี่ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ถุงละ 80 บาท

ไอศกรีม เริ่มแรกได้สูตรมาจากที่พัฒนาชุมชนแนะนำ อาจารย์ที่ทำอาหารมาสอนสูตรให้ เคยลองทำเองแต่ว่ารสชาติไม่นิ่ง จนได้อาจารย์มาสอน แรกๆ ทำ ชาวบ้านชิมก่อน หลังจากที่รสชาติมันนิ่งก็รับคำติชมจากชาวบ้านมาแก้ไข และเมื่อชาวบ้านมากกว่า 80% ยอมรับก็นำสูตรนี้มาใช้เลย

ทางด้านการตลาด คุณจรัญ ได้กล่าวไว้ว่า “ผมเป็นคนชอบคิดทางตาย เมื่อมีอะไรที่รุ่งมากๆ ไม่นานก็จะตาย ในขณะที่เกษตรกรบอกว่าช่วงนี้กำลังแย่ ผมกำลังมองว่าตอนนี้กำลังปรับตัวน่าจะดี ในขณะที่กำลังรุ่งเรืองเรื่องมะพร้าว ผมว่าอนาคตดับ มันจะมีขั้นตอนให้คิด แล้วถึงเวลาดับเราก็จะสู้ได้ พอเวลามันดับปุ๊บเราก็ดึงมาใช้เลยไอเดียที่เราเก็บไว้เนี่ยว่าเราจะใช้มันตอนไหน เราต้องคิดในตอนที่มันเฟื่องฟู แต่ถ้าไปคิดในตอนที่มันดับ ผมว่ามันไม่ทันแล้ว”

คุณจรัญ ยังบอกอีกว่า มะพร้าวน่าจะไปแปรรูปหรือสร้างมูลค่าได้มากกว่านี้อีกเยอะ สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีคือความรู้ที่เราจะต้องเรียนรู้ไปตลอด และยังทิ้งท้ายไว้ด้วยอีกว่า “จริงๆ ที่ผมฉุกคิดขึ้นได้ ที่เริ่มทำการเกษตรที่พัฒนาใหม่ ผมใช้รูปเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ตอนที่ผมทำเกษตรแล้วผมยังจน ผมคงไปเป็นโจรไปแล้ว ถ้าผมไม่หยุดคิดแล้วทำแบบพอเพียง แต่ในศาสตร์ของพระองค์ท่าน มันพอเพียงแล้วก็พอใจ มันหาสุขในทุกข์ให้ได้ ทุกข์มันทุกข์อยู่แล้วแหละ แต่มันต้องหาสุขให้ได้”

สนใจมะพร้าวและผลผลิตแปรรูปจากมะพร้าวติดต่อ คุณจรัญ เจริญทรัพย์ บ้านเลขที่ 196 หมู่ที่ 6 ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ลบภาพจำการปลูกส้มที่เคยมีมา จากที่เมื่อก่อนหลายท่านคิดว่า ส้มจะปลูกให้ดีได้ต้องปลูกที่ภาคเหนือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีเกษตรกรรุ่นใหม่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ส้ม” สามารถปลูกบนพื้นที่ใดก็ได้ แม้แต่สภาพพื้นที่เป็นดินทรายอย่างทางภาคอีสานก็สามารถปลูกส้มให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพได้แล้ว เพียงต้องอาศัยเทคนิคและความขยันในการปรับปรุงบำรุงดินสักหน่อย

คุณสมยศ บ่อหิน อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 2 ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรคนเก่งผู้พลิกผืนดินทรายมาปลูกส้มสายน้ำผึ้ง แถมยังได้ส้มคุณภาพดี อย่างที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย

คุณสมยศ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนส้ม ตนประกอบอาชีพวิ่งรถขายเคมีเกษตรมาก่อน ซึ่งในขณะนั้นได้พบเจอกับเกษตรกรมากหน้าหลายตา จนวันหนึ่งมีโอกาสเข้าไปขายเคมีเกษตรในสวนส้มที่อำเภอฝาง ได้ไปเจอกับเกษตรกรผู้ที่คร่ำหวอดในวงการส้ม เขาให้ความรู้เรื่องการปลูกส้มมามากมาย ก็ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตรงนั้นมาวันละเล็กวันละน้อย จนสามารถชวนพี่ที่สนิทกันหาเช่าพื้นที่ทดลองทำสวนส้มที่อำเภอฝางแล้วค่อนข้างได้ผลดี จึงได้ทดลองนำมาปลูกที่บ้านจังหวัดบึงกาฬบ้าง ปลูกไปปลูกมาเริ่มติดใจและประกอบกับที่ช่วงนั้นอาชีพค้าขายเคมีเกษตรเริ่มทำได้ยากขึ้นในเรื่องของการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงตัดสินใจเลิกขาย แล้วกลับมาบ้านเพื่อทำสวนส้มอย่างเต็มตัว

มือใหม่หัดปลูกส้มสายน้ำผึ้ง 5 ไร่ ที่บึงกาฬ
สร้างรายได้เฉียดล้าน
คุณสมยศ บอกว่า หลังจากที่ทดลองนำส้มมาปลูกที่บ้านจังหวัดบึงกาฬ ถือว่าตนเองเป็นคนโชคดีที่ไม่ต้องใช้เวลาลองผิดนาน เพราะมีผู้เชี่ยวชาญที่สะสมประสบการณ์มาหลายสิบปีคอยแนะนำทางลัดให้ นับเวลามาถึงปัจจุบันก็ปลูกส้มมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มีพื้นที่ปลูกส้มทั้งหมด 5 ไร่ หรือประมาณ 535 ต้น โดยส้มที่เลือกปลูกเป็นส้มสายน้ำผึ้ง ได้ผลดีมาเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากเน้นการป้องกันมากกว่าให้เกิดก่อนแล้วค่อยแก้ปัญหา แบบนี้จะยับยั้งโรคได้ยากกว่า

ถ้าถามถึงสาเหตุว่า ทำไม ถึงมาเลือกปลูกส้มที่ภาคอีสาน ก็ต้องบอกว่า ใช้ความเสี่ยงผสมกับความน่าจะเป็นด้วย เพราะจากที่สังเกตมาแล้วว่าสภาพอากาศที่ภาคเหนือก็คล้ายๆ กับอากาศทางภาคอีสาน มีร้อน มีฝน มีหนาว เหมือนกัน จึงเริ่มนำมาปลูก เลยไม่คิดมาก ปลูกครั้งแรกก็เริ่มปลูกแบบเต็มพื้นที่เลย คือ 5 ไร่ ปลูกทั้งที่สภาพพื้นดินเป็นดินทราย แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะสภาพดินสามารถปรับปรุงเติมธาตุอาหารเข้าไปได้เรื่อยๆ หลักๆ จะเป็นปุ๋ยคอก ขี้วัว มีใส่ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อย

เทคนิคการปลูกส้มบนพื้นที่ดินทรายให้ได้ผลผลิตดี
การเตรียมดิน… พื้นที่ปลูกตรงนี้เคยเป็นพื้นที่ทำนามาก่อน จึงจำเป็นต้องมีการยกร่องเพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ไม่ให้มีน้ำท่วมขัง ขุดเตรียมดินโดยการใช้ปุ๋ยคอกคลุกกับโดโลไมท์ไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยนำต้นกล้ามาลงปลูก

ขุดหลุม… ถ้าเป็นกิ่งตอนไม่ต้องขุดลึกมากเอาแค่พอถมรากได้แล้วเสียบหลักเลย แต่ถ้าเป็นกิ่งชำจะต้องขุดลึกกว่าเดิมอีกหน่อย เผื่อไว้สำหรับถุงดำ หลังจากนั้นประมาณสัก 3-4 เดือน ค่อยใส่ปุ๋ย ใส่ครั้งแรกจะไม่ใช้วิธีการหว่าน แต่จะใช้วิธีการฝัง ใช้ไม้เสียบแล้วหยอดปุ๋ยลงไป

ระยะห่างระหว่างต้น… ที่สวนจะปลูกถี่หน่อย คือระยะ 3×4 เมตร แต่ถ้าจะให้ดีต้องเป็นระยะ 4×4 เมตร หรือ 4×5 เมตร เพื่อไม่ให้ต้นชนกัน แสงจะเข้าถึงจะช่วยลดการเกิดเชื้อรา และช่วยการออกดอกของส้มได้ดีอีกด้วย

ระบบน้ำ… สายพีอี ปล่อยน้ำพุ่งไปที่ต้น แต่ส่วนมากจะเริ่มปลูกส้มกันในช่วงฤดูฝน หรือช่วงก่อนฤดูฝนสักนิดอยู่แล้ว ช่วงนี้ก็ยังไม่ต้องดูแลรดน้ำอะไรมาก แต่ถ้าหมดหน้าฝนไปแล้วน้ำถือเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกส้มเลย ถ้าไม่มีน้ำก็ปลูกส้มไม่สำเร็จ ถ้าส้มขาดน้ำจะเกิดปัญหา ใบสลด ลูกร่วง ลูกเป็นมะกรูด ผิวไม่สม่ำเสมอ ซังขม และถ้าเป็นช่วงดอกก็จะร่วง ส่งผลไปถึงส้มในฤดู คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทางที่ดีควรรดน้ำทุกวัน หรือรดแบบวันเว้นวัน และการให้น้ำต้องดูอาการของใบเป็นหลักด้วย ถ้าใบเริ่มสลดก็ให้รดได้เลย ถ้าเป็นส้มเล็กไม่มีพืชพี่เลี้ยงต้องให้วันเว้นวัน หรือถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งจริงๆ ก็ให้ใช้ฟางหรือเศษหญ้ามาคลุมเพื่อรักษาความชื้นให้อยู่ได้นาน

ปุ๋ย… ถ้าเป็นส้มเล็ก จะใส่ช่วงก่อนฝน และช่วงหลังฝน สูตร 25-7-7 หรือสูตรเสมอ ปริมาณการใช้ไม่มาก ประมาณ 1 กำมือ การใส่ไม่ต้องโรยตรงโคนต้น แต่ให้โรยรอบๆ และต้องคอยสังเกตอาการของใบด้วย ถ้าเริ่มรู้สึกว่าใบมีอาการหิวปุ๋ยก็ต้องใส่เพิ่มเข้าไป ส่วนมากใบจะฟ้องถึงค่อยใส่ แต่บางคนใส่ปุ๋ยทุกเดือนก็มี เพื่อเร่งให้โตเร็วๆ

หลังจากนั้น เมื่อเริ่มมีดอก มีลูก เริ่มจะไว้ผล ก็เริ่มใส่ปุ๋ย 15-0-0 แคลเซียม บวกกับสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณนี้

การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็นช่วง เมษายน-พฤษภาคม ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 มิถุนายน-สิงหาคม ไม่ต้องใส่ เพราะเป็นหน้าฝน และจะทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ หลังจากนั้นเริ่มใส่ปุ๋ยอีกครั้งเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต… ขึ้นอยู่ที่การดูแล ตัวอย่างที่สวนเริ่มเก็บผลผลิตได้ตอนอายุ 3 ปี เก็บได้นิดหน่อย ปีที่ 4 พอได้เพิ่มขึ้นมาอีกนิด มาเข้าสู่ปีที่ 5 ก็คือปีนี้ ผลผลิตเริ่มออกตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถือว่าผลผลิตดก แต่ทรงพุ่มยังไม่โต เก็บผลผลิตได้ประมาณ 10 ตัน ต่อ 5 ไร่ ผลผลิตต่อต้น 1-2 ตะกร้า ถ้าทรงพุ่มใหญ่หน่อย จะได้ผลผลิตประมาณ 3-4 ตะกร้า ต่อต้น 1 ตะกร้า น้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม คูณ 500 ต้น ก็ประมาณ 20 ตัน ผลผลิตออกมาค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ

โรคแมลง… หลักๆ มีเพลี้ยไฟไรแดง หนอนชอนใบ เชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแคงเกอร์ และโรคราสีชมพู วิธีแก้คือ ต้องพึ่งสารเคมี นำประสบการณ์ตอนที่ขายเคมีภัณฑ์มาใช้ ก็จะพอรู้ว่าใช้ตัวไหนแล้วได้ผลดี คือต้องใช้สลับไปเรื่อย

รายได้จากการขายผลผลิต
ต่อปีถ้าผลผลิตออกมาดี ไม่เจอภัยธรรมชาติ ไม่เจอพายุลูกเห็บ ก็สามารถสร้างรายได้เกือบ 1 ล้านบาท วิธีคิดคำนวณแบบง่ายๆ คือ ปลูกส้ม 5 ไร่ เก็บได้ ต้นละ 2 ตะกร้า ปลูกอยู่ 500 ต้น น้ำหนักตะกร้าละ 22 กิโลกรัม คิดราคากิโลกรัมละ 40 บาท เป็นเงิน 800,000 บาท แต่ถ้าโชคดีขายได้กิโกรัมละ 50 บาท ทั้งหมด คิดเป็นเงิน 1 ล้านบาทพอดี เมื่อหักต้นทุนออกมาแล้วยังเหลือกำไรอยู่มาก เพราะทำเองทุกอย่าง ไม่มีคนงาน จะมีแค่ ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายา รวมๆ แล้วประมาณ 200,000 บาท ต่อปี ถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีกว่าการทำนามากๆ

ลูกค้ากลุ่มหลักๆ มีทั้งลูกค้าออนไลน์ขายผ่านเฟซบุ๊ก และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าทั้งในจังหวัดและใกล้เคียง ที่เริ่มรู้ข่าวว่าที่บึงกาฬมีสวนส้มสายน้ำผึ้งแล้ว หรือคนในพื้นที่จะเรียกว่า ส้มเซกา ราคาขายเองหน้าสวน ขายตามไซซ์ กิโลกรัมละ 50-60 บาท ยึดราคานี้เป็นหลัก ตลาดจะขายกิโลกรัมละ 80 บาท ที่สวนก็ยังขายราคาเดิม แต่ถ้าส้มออกมาดกมากขายในจังหวัดไม่หมด ก็จะมีตลาดรองรับ คือโทร.ให้แม่ค้าทางเหนือมารับ ราคาซื้อขายขึ้นอยู่กับตลาด ปีที่แล้วจะได้ราคาดี กิโลกรัมละ 30 กว่าบาท เพราะส้มที่สวนจะผิวสวย ลูกโต รสชาติจะหวานอมเปรี้ยว แม่ค้าจะชอบ เขาเลยให้ราคาดี

ฝากถึงเกษตรกร
“สำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่ไม่มีความรู้ในการทำเกษตรมาก่อนก็อยากให้ค่อยเป็นค่อยไป หมั่นศึกษาหาความรู้และทำให้เต็มที่ อย่าเอาผมเป็นตัวอย่าง ที่ปลูกทีเดียว 5 ไร่ เพราะคุณอาจจะไม่ได้โชคดีเหมือนผม ที่มีคนคอยให้คำปรึกษา และในความคิดผม ทำอะไรไม่ต้องทำหลายอย่าง แต่ทำอย่างเดียวแล้วทำให้ดีที่สุด เอาให้แตกฉาน ไปเรียนรู้ไปสัมผัส ไม่ต้องฟังคนอื่นมาก แต่ต้องเรียนรู้กับคนที่เขารู้จริง ถ้าทำได้ประสบความสำเร็จ อาชีพเกษตรกรรมจะเป็นอาชีพที่ให้ความสุขกับชีวิตได้มากที่สุด ได้ทำงานอยู่ที่บ้าน อยู่กับครอบครัว อยู่กับลูก อยู่กับภรรยา” คุณสมยศ กล่าวทิ้งท้าย

ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่ดอกเข้าพรรษากำลังจะออกดอกมาให้ได้เชยชมกัน ซึ่งก็เป็นช่วงที่จะเข้ากับเทศกาลเข้าพรรษาในทางพระพุทธศาสนา จึงทำให้เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ทุกคนจะนำดอกไม้ชนิดนี้ตัดดอกรวมช่ออย่างสวยงามเพื่อนำไปบูชาในการทำบุญ ซึ่งดอกเข้าพรรษาไม่เพียงแต่ตัดดอกขายได้เท่านั้น แต่ปัจจุบันเริ่มมีการปลูกและขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายเป็นพันธุ์ไม้ปลูกประดับมากขึ้น จนสามารถสร้างเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้ไม่น้อยทีเดียว

คุณธวิยา พาป้อง อยู่บ้านเลขที่ 79/1 หมู่ที่ 12 ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้เห็นความสวยงามของดอกเข้าพรรษา จึงทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจและเรียนรู้ที่จะปลูกให้ได้ดอกที่สวยงาม เธอจึงได้เรียนรู้และนำไม้เข้ามาปลูกอย่างจริงจังจนประสบผลสำเร็จ และสามารถต่อยอดทำไม้ชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเธอได้อีกด้วย

คุณธวิยา เล่าว่า ก่อนที่จะมาเริ่มเป็นเกษตรกรเต็มตัวเหมือนเช่นทุกวันนี้นั้น สมัยก่อนเป็นพนักงานขายอยู่ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งในขณะนั้นตัวเธอเองกำลังตั้งท้องและมีกำหนดใกล้คลอด พร้อมกับโควิด-19 กำลังเริ่มระบาดจึงได้ตัดสินใจลาออกมาอยู่บ้านอย่างเต็มตัว ในช่วงนั้นได้ไปเห็นญาติปลูกดอกเข้าพรรษาส่งจำหน่ายเป็นรายได้ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่เธอได้สัมผัสกับดอกเข้าพรรษา และได้นำมาทดลองปลูกอย่างจริงจังในพื้นที่บ้านของเธอ

“ช่วงนั้นเราก็อยู่บ้านยังไม่ได้ทำไร พอหลังคลอดก็ได้มีโอกาสไปเห็นว่าคุณลุงที่เป็นญาติกัน แกเพาะพันธุ์ดอกเข้าพรรษาอย่างจริงจัง และสามารถเกิดรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ทีนี้พอเราได้ไปดูบ่อยๆ ก็เห็นว่าดอกมีหลายสี มีความสวยงามมาก เราก็เลยค่อยๆ หาแหล่งซื้อสายพันธุ์เข้ามาเรื่อยๆ พอมีจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็มาปลูกดูแลจนประสบผลสำเร็จ มาสร้างตลาดขายแบบออนไลน์เป็นหลัก” คุณธวิยา บอก

ดอกเข้าพรรษา เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ดูแลไม่ยาก คุณธวิยา บอกว่า จะนำมาปลูกให้โตจนไม้แตกหน่อใหม่ที่สมบูรณ์สักระยะหนึ่ง เมื่อเห็นหัวของต้นดอกเข้าพรรษามีลักษณะการโตที่จะแบ่งเป็นต้นใหม่ได้แล้ว จากนั้นก็จะแยกมาปลูกลงในวัสดุเพาะจำพวกขี้เถ้าในถุงดำใหม่ได้ทันที ดูแลต่อไปประมาณ 2 เดือน ต้นดอกเข้าพรรษาก็จะเริ่มโตพอที่จะส่งจำหน่ายได้ โดยก่อนที่จะส่งให้กับลูกค้าใน 2 สัปดาห์ถัดไป เราก็จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอบำรุงต้นลงไปด้วย เพื่อให้ไม้มีความแข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้น

สำหรับในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชดอกเข้าพรรษานั้น จะมีการใช้น้ำส้มควันไม้ในเบื้องต้นก่อน ถ้าเห็นว่ากำจัดไม่อยู่ก็จะเปลี่ยนเป็นสารเคมีเข้ามาช่วยตามความเหมาะสมของการระบาดในช่วงนั้นๆ

การทำตลาดเพื่อจำหน่ายดอกเข้าพรรษานั้น คุณธวิยา เล่าว่า ในยุคปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์ค่อนข้างตอบโจทย์ ก็จะมีกลุ่มในเพจต่างๆ ให้ได้เข้าไปโพสต์ภาพไม้ที่ปลูกในสวนให้ลูกค้าได้เห็น จากนั้นไม่นานก็จะมีลูกค้าติดต่อเข้ามาขอซื้อเป็นระยะ ทางตัวเธอเองก็จะส่งไปแพ็กให้ไม้มีความปลอดภัยมากที่สุด เมื่อไม้ไปถึงมือลูกค้าแล้วก็จะลดความเสียหายลงไป

โดยราคาดอกเข้าพรรษาที่มีอายุ 2 เดือน ราคาจะอยู่ที่ต้นละ 50 บาท โดยจำหน่ายอยู่ราคาเดียว ต่อมาเพื่อให้ไม้ดูน่าซื้อมากขึ้น เธอก็จะนำมาใส่กระถางแบบรวมกอกัน ก็จะช่วยให้สามารถอัพราคาการขายได้เพิ่มขึ้นไปอีกราคาหนึ่ง

“พอเราเริ่มมาทำตรงนี้ ต้องบอกเลยว่ามีความสุขมาก เพราะเรายิ่งทำเราก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น ได้นำไม้ชนิดอื่นเข้ามาขายด้วย ยิ่งเป็นสถานการณ์โควิด-19 ต้นไม้ค่อนข้างที่จะขายดี เลยทำให้เรารู้สึกว่าเราจะทำตรงนี้ให้ดีที่สุด และจะเรียนรู้พัฒนาการปลูกให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป” คุณธวิยา บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการปลูกดอกเข้าพรรษา และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ชื่ออื่นๆ ม่อนไข่ ละมุดเขมร ละมุดอินเดีย โตมา หมากป่วน เลกีมา (ลูกท้อเวียดนาม) ท้อเขมร (ปราจีน) ทิสซ่า (เพชรบูรณ์)

หนูไม่ได้เกิดเมืองไทยนะคะ เคยสืบสาวบรรพบุรุษพบว่าถิ่นกำเนิดอยู่ที่เม็กซิโกตอนใต้ อเมริกาใต้ กระจายอยู่ตั้งแต่กัวเตมาลา คอสตาริกา ปานามา แม้กระทั่งนิการากัว แต่แปลกไหมคะ ใครได้ยินชื่อหนูแล้วจะถามว่าหนูมาจากประเทศจีน หรือสิบสองปันนาตอนเหนือประเทศไทย ก็แหม พอเอ่ยชื่อ “เซียน” ก็นึกถึง โป๊ยเซียน แปดเซียน พอเอ่ยคำว่า “ท้อ” ก็ไปหมายถึงลูกท้อ ที่เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว และเกษตรกรภาคเหนือของไทยก็มีปลูกต้นท้อ ยังนำผลเล็กๆ ใส่ขวดดองขายนักท่องเที่ยวเลย จึงทำให้สับสนในการเรียกชื่อ

สรุปว่า ถ้ากล่าวถึงลูกท้อ นั้น ภาษาอังกฤษเรียก Peach เมื่อออกดอก ก็จะทิ้งใบหมด เรียกว่า Peach Blossoms ดอกมีทั้งสีขาว สีแดง หรือสีชมพู ใครเห็นก็ไปเปรียบแก้มสาวงามว่า แก้มนวลเนียนเหมือนดอกท้อ หนูพยายามทำความเข้าใจว่า ต้นท้อ ลูกท้อ ดอกท้อ นั้น ไม่ใช่หนู แต่ชื่อ “เซียนท้อ” ของหนูก็ยังมีคนข้องใจเรื่องทำไมต้องเป็น “เซียน” หนูจึงต้องหาข้อมูลตอบคนถามคำว่า เซียน อีก เพราะมีคนพูดว่า “เซียน” นี่หมายถึงสุดๆ เลย เคยได้ยินมาว่า เซียนเหยียบเมฆ โค้งปราบเซียน โจรชั้นเซียน เซียนผู้หญิง เซียนหุ้น ความหมายของเซียนเป็นเรื่องระดับเทพ เซียน แปลว่า ผู้วิเศษ ผู้สำเร็จ หากจะขยายความก็คือผู้เชี่ยวชาญ เก่งกาจด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนพระ แต่หนูคุ้นกับคำว่า โป๊ยเซียน หรือ แปดเซียน ถือว่าเป็นเทพเจ้าจีน หมายถึง นักสิทธิ์ในลัทธิเต๋า เป็นผู้บรรลุถึงอมตะภาพแห่งร่างกายและวิญญาณ ในเรื่องปรัมปราจีน มีชื่อเสียงมานานตั้งแต่ราชวงศ์ถัง แต่เวลาที่เกี่ยวข้องกับชื่อของหนูมีพวกชอบดราม่ากันอีกว่าทำไมเซียนถึงท้อ จะให้อธิบายคำว่า “ท้อ” อีกก็เรื่องมากเกินไปแล้ว แม้จะท้อแท้แต่ก็ไม่ถอย มาพูดกันตรงๆ เรื่องหนูดีกว่า

ว่ากันว่า หนูเป็นผลไม้ชื่อแปลกที่เข้ามาเมืองไทยเชิงเกษตรไม่เกิน 20 ปี จึงยังไม่เป็นที่รู้จักเพาะปลูกแพร่หลายนัก ผลผลิตส่วนใหญ่มากที่สุดก็จากทางภาคเหนือ แต่เดี๋ยวนี้ก็มีจากภาคอีสานบ้างแล้ว ส่วนใหญ่วางขายตามสถานที่ท่องเที่ยว นิยมเรียกกันว่า ม่อนไข่ ซึ่งแปลว่า ไข่แดง จากผลไม้ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก หนูจึงมีคนนำไปตั้งเป็นคำถามในสื่อทีวีสื่อออนไลน์บ่อยๆ หนูเคยออกรายการช่อง 8 กลายเป็นตัวปริศนาในรายการ Infinity เกมไม่รู้จบ เป็นการตอบคำถามสุดอึ้ง ตอบถูกได้รวย คุณหนุ่มกรรชัย เป็นพิธีกรนำเซียนท้อมาวาง แล้วให้เลือกว่าชื่ออะไร มีลูกชิด ลูกจันทร์ ลูกท้อ มะกอกน้ำ ผู้ตอบตอบว่าเป็นลูกจันทร์ รายการเฉลยว่าผิด ที่ถูกต้องตอบว่า ลูกท้อ หนูเองยิ่งงง งงไปใหญ่ จึงมีคนคอมเม้นต์คำตอบว่าเฉลยก็ผิดเช่นกัน ที่ถูกต้องคำตอบว่า ลูกเซียนท้อ มีคนแสดงความคิดเห็นเยอะเลยว่า เรียกลูกท้อก็ผิด ไม่ใช่ลูกท้อจีน เห็นไหมคะแม้ว่าจะมีคนเริ่มรู้จัก แต่ก็ยังเรียกชื่อปนกันสับสนไปหมด

เรื่องของหนูเชิงวิชาการเกษตรมีไม่มาก ทางเข้าเว็บ UFABET แต่เชิงโภชนาการมีวิจารณ์มากมาย เพราะจัดเป็นไม้สมุนไพรด้วย หนูเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งไม่ผลัดใบ ใบเรียวแหลมรูปหอก ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้าง 4-7 เซนติเมตร ใบบางเป็นมัน ดอกสีครีม มี 5-6 กลีบ กลิ่นหอม คล้ายละมุด มีผลคล้ายหัวใจทั้งกลม และรี ปลายผลแหลม มีจงอย สุกงอมแล้วเปลือกและเนื้อมีสีเหลืองเข้ม รับประทานได้ เนื้อเหนียวคล้ายฟักทอง หรือไข่แดงสุก มีรสอมหวานคล้ายๆ มันเทศนึ่ง มีเมล็ดขนาดใหญ่ในผล เพาะขยายพันธุ์ได้ดี หากตัดผลสุกแก่มาบ่มไว้ให้สุกงอมจะเพิ่มรสชาติหวานขึ้น จะไม่มีรสฝาดปน เนื้อผลสุกเหลืองสด เหนียวคล้ายแป้งทำขนม ใช้ทำแยม คัสตาร์ด แพนเค้กก็ได้ หรืออบให้สุกจิ้มเกลือ พริกไทย กินเป็นสมุนไพรรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เมล็ดรักษาแผลเน่าเปื่อย เปลือกต้นรักษาอาการไข้ตัวร้อน ผื่นคัน แต่เนื้อไม้แข็งละเอียดแปรรูปเป็นไม้กระดานในงานก่อสร้างได้ดี ปลูก 3 ปีก็ให้ผล เมื่อผลสุกจัดจะได้ขนาด 3 ลูก 1 กิโลกรัม โดยใช้พื้นที่เพียง 1 ไร่ ปลูกได้ถึง 36 ต้น

จึงมีสโลแกนว่า ปลูก 1 ไร่ หายยากจน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีคนรู้จักหนูมากขึ้น เพราะโลกออนไลน์ หรืออาจจะหาซื้อ หรือซื้อหาเป็นของฝากเพราะเห็นแปลกทั้งรูปร่างผลและชื่อแปลก บางคนฟังเพี้ยนเรียกเป็น “เทียนท้อ” ถ้าไม่ใช่ผลสีเหลืองผิวเกลี้ยงแล้ว ก็คงจะคล้ายๆ กับอะโวกาโด คือต่างกันที่ผิวขรุขระและสีเขียวอมดำ แต่เซียนท้อเป็นเหมือนผิวสาวชาวพม่าเหลืองเกลี้ยง มีคนไปเที่ยวที่ “ม่อนแจ่ม” เชียงใหม่ ทุกคนมักซื้อ “ม่อนไข่” แล้วถ่ายรูปลงออนไลน์แชร์กันจนกลายเป็นที่รู้จักทั่วไป นำมาปลูกกันเป็นไม้ประดับในรั้วบ้านกันแล้ว

ผลของเซียนท้อ มีคุณค่าอาหารสูง มีไนอะซีน วิตามินมาก ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สาวใดรับประทานเป็นประจำ ผิวแก้มจะผ่องนวลเป็นสาวแก้มเนียน จนเซียนผู้หญิง…ก็ต้องง้อ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน ขึ้นต้นมาเหมือนทุกครั้ง แต่ในช่วงนี้ต้องบอกว่าแอบเหงาเล็กๆ ทำงานแบบเวิร์กฟรอมโฮมมาเป็นเดือนแล้ว เริ่มคิดถึงออฟฟิศ คิดถึงบรรยากาศการทำงาน ผู้คนที่อยู่ร่วมกัน แต่ในวันเช่นนี้เราต้องดูแล ป้องกันตัวเอง รักษาระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ไม่อยู่ในที่ชุมชนคนหมู่มาก ใช้เครื่องใช้ของใครของมัน ชาม ช้อน แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้แม้จะอยู่บ้านเดียวกันก็ต้องช่วยกันทำในสิ่งเหล่านี้ ทำให้ในแต่ละวันกว่าจะผ่านไปได้ก็เหน็ดเหนื่อยไม่น้อย แอบอิจฉาพี่น้องเกษตรกรที่อยู่ตามไร่นาสวนหรือแปลงเกษตรของตัวเอง ห่างไกลผู้คน ห่างไกลสิ่งที่เรียกว่าเชื้อแปลกปลอมที่จะมาก่อเชื้อ มาเป็นเกษตรกรกันดีไหมครับ

วันนี้อยากพูดเรื่องกล้วยๆ ให้ได้ทราบกันครับ เราประคองชีวิตกันด้วยความยากลำบากมากแล้ว เรามาหาเรื่องที่ง่ายๆ บ้าง ก็น่าจะดี โบราณว่า “ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก” กระนั้น เรื่องของเรื่องก็คือ ผมได้รู้จักกับชาวสวนผู้ปลูกกล้วยขายอยู่รายหนึ่ง ว่ากันว่าหวีละ 30-40 บาท ก็ดูจะแพงแล้วสำหรับกล้วยน้ำว้า แต่เกษตรกรรายนี้สามารถส่งขายกล้วยน้ำว้าได้ราคา หวีละกว่า 50 บาทเลยเชียว เขามีอะไรดี กล้วยเขาต่างจากกล้วยสวนอื่นอย่างไร และรายได้เฉพาะทำสวนกล้วยสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้จริงๆ หรือ ลองมาติดตามนะครับ

นอกจากจะจำหน่ายพันธุ์กล้วยแล้ว คุณสมบัติยังแปรรูปกล้วย

เป็นกล้วยตากนำกล้วยเล็บมือนางจากสวนชาวบ้านในละแวกและสวนของตนเอง มาร่วมกันแปรรูปสร้างรายได้อีกทาง“ผมแปรรูปเองแล้วจึงไปสอนให้ชาวบ้านทำ เพื่อเป็นรายได้อีกทาง เพราะบางทีชาวบ้านมักโดนพ่อค้ากดราคากล้วย” ถามถึงรายได้จากการขายพันธุ์กล้วย คุณสมบัติ บอกว่า แล้วแต่งาน บางงานได้ถึงหลักแสนบาท หรือบางงานหลักหมื่นบาทก็มี

“รายได้ขึ้นอยู่กับงาน งานไหนโปรโมตดี คนมาเยอะก็ขายได้เยอะ อย่างทางอีสานเคยขายได้แตะหลักล้านบาท”

ซึ่งในการขายแต่ละครั้ง ไม่ได้นำทุกพันธุ์ไปขาย คัดๆ เอาพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่และดูจากความต้องการของลูกค้า ขนไปแต่ละครั้ง ก็ 2-3 คันรถ คุณสมบัติ ทิ้งท้าย ตำบลตะเคียนเลื่อน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาชีพหลักส่วนใหญ่ของประชาชนในตำบลคือ การทำไร่ ทำสวนผลไม้ ซึ่งมีหลากหลายชนิดตามฤดูกาล ต่อมามีการนำพันธุ์กล้วยไข่จากจังหวัดกำแพงเพชรมาปลูก และมีการขยายพื้นที่ปลูกออกไป จึงเกิดการเรียนรู้ การปรับปรุง การพัฒนาคุณภาพการผลิตขึ้น จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วประเทศ

ต่อมาได้รับคำแนะนำ รวมทั้งเงินทุนในด้านการบริหารจัดการจากทางราชการ จึงมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ และกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารจากผลไม้ตามฤดูกาลขึ้น รวมถึงการผลิตและการจำหน่ายผลไม้สดตามฤดูกาลทั้งในพื้นที่อำเภอ จังหวัด จังหวัดใกล้เคียง และต่างประเทศ

ปัจจุบัน กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน นับเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นผลไม้ที่หายากตลาดมีความต้องการสูง ด้วยจุดเด่นที่กล้วยไข่ของที่ตำบลตะเคียนเลื่อนมีขนาดผลที่ใหญ่ ผิวสวย รสชาติดี เพราะมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และสภาพพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยไข่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเคยมีการทดลองนำกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนไปปลูกที่อื่นก็ไม่ได้ผลดีเหมือนปลูกที่ตะเคียนเลื่อน เพราะฉะนั้นกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนจึงกลายเป็นงานเกษตรสร้างรายได้ และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของพี่น้องเกษตรกรชาวนครสวรรค์อย่างไม่ต้องสงสัย

คุณสุเทพ ธาระนาม อยู่บ้านเลขที่ 118 หมู่ที่ 12 ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนเป็นอาชีพ เล่าว่า ครอบครัวของตนมีอาชีพเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษปู่ ย่า ตา ยาย สืบมาถึงรุ่นพ่อ รุ่นแม่ และตกมาถึงรุ่นลูก ถือว่าตนเองมีความผูกพันได้ซึมซับวิถีชีวิตของการเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่เกิด เมื่อโตมาจึงคิดว่าอาชีพเกษตรกรรมน่าจะเป็นอาชีพที่ถนัดและเหมาะกับตนมากที่สุด จึงยึดเป็นอาชีพมาเรื่อยๆ

ส่วนพืชหลักที่ปลูกเลี้ยงครอบครัว มีอยู่ 2 ชนิด คือ กล้วยไข่ และผักชีฝรั่ง ปลูกสลับกันไป เพราะต้องบอกตามตรงว่า ราคาพืชผลทางการเกษตรไม่แน่นอน กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนตลาดต้องการมากก็จริง แต่ราคาก็มีความผันผวนสูง บวกกับภัยธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ จึงจำเป็นต้องหาปลูกพืชอายุสั้นอย่าง ผักชีฝรั่ง เสริม เพื่อป้องกันการผิดพลาด

ปลูกกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน ให้ได้คุณภาพ
เทคนิคสำคัญประกอบด้วยหลายปัจจัย
เจ้าของบอกว่า การปลูกกล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ลูกใหญ่ ผิวสวย รสชาติดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ตนก็เคยปลูกกล้วยไข่มาก่อน แต่ต้องหยุดไป เนื่องด้วยสภาพพื้นที่ปลูกไม่เหมาะสม พื้นที่ต่ำเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ปลูกแล้วไม่เห็นทุน เห็นกำไร จึงหยุดปลูกไปสักพัก เพิ่งจะมาเริ่มฟื้นฟูการปลูกกล้วยไข่ใหม่อีกครั้ง นับปีนี้เป็นปีที่สอง เนื่องจากหาพื้นที่การปลูกที่เหมาะสมได้แล้ว

ดังนั้น การปลูกกล้วยไข่จึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน
1. พื้นที่ปลูกต้องมีความเหมาะสม ดินต้องเป็นดินร่วนซุย จะเหมาะกับการปลูกกล้วยไข่เป็นที่สุด
2. ต้องมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ที่จังหวัดนครสวรรค์นับว่าโชคดีที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประธานไม่ขาด
3. ปุ๋ยอย่าให้ขาด พยายามเลือกใช้สูตรให้ตรงต่อความต้องการของพืช
4. กล้วยไข่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินแรก พูดง่ายๆ คือ ต้องขยันเปลี่ยนแปลงปลูกทุกๆ 2 ปี เปลี่ยน 1 ครั้ง เพื่อคุณภาพและผลผลิตที่เท่าเดิม และถ้าสงสัยว่าไม่เปลี่ยนพื้นที่ได้ไหม แต่ใช้เป็นวีธีการบำรุงดินแทนก็ได้ แต่ด้วยที่เรามีข้อจำกัดเรื่องเงินทุน เรามีพื้นที่ปลูกเยอะจึงไม่คุ้ม ถ้าเปลี่ยนพื้นที่ปลูกจะง่ายและประหยัดต้นทุนมากกว่า

“ปัจจุบัน ผมปลูกกล้วยไข่บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ นับเป็นต้นก็ประมาณเกือบ 10,000 ต้น พันธุ์กล้วยที่ปลูกสืบเนื่องจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ได้พันธุ์กล้วยมาจากกำแพงเพชร แล้วนำมาปลูกต่อที่บริเวณหลังบ้าน และนำมาขยายพันธุ์เพิ่ม แต่ที่ของเราผลใหญ่ ผิวสวย และรสชาติดี คงเป็นเพราะสภาพพื้นที่ของเรามีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูกกล้วยไข่ที่สุด”เจ้าของบอก

กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน มีจุดเด่นที่ ผลใหญ่ น้ำหนักดี ผิวสวย รสชาติอร่อย พิสูจน์ได้จากสมัยก่อนมีบริษัทส่งออกเคยมาทำและเขาบอกว่าผลผลิตที่นี่ดีกว่าจังหวัดอื่น ผลใหญ่กว่าที่อื่น ผิวสวย รสชาติอร่อย ตลาดส่วนใหญ่ต้องการผลผลิตจากที่นี่

การปลูกกล้วยไข่หลักๆ คือ ดินดี น้ำดี ปุ๋ยอย่าขาด ถ้าพื้นที่ใครมีองค์ประกอบที่กล่าวมาครบก็ทำได้

การเตรียมดิน… โดยการใช้รถไถดะไถแปร ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เสร็จแล้วจ้างแรงงานขุดหลุม หลุมละ 2 บาท ขุดกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ก่อนลงหน่อกล้วยสำคัญที่สุดคือ ต้องชุบน้ำยาเรียกรากและน้ำยากันปลวกก่อนลงหลุม หลังจากนั้นให้รดน้ำ

การให้น้ำ…ถ้าตอนปลูกใหม่ๆ ให้รดน้ำทุกวัน วิธีการรด เริ่มรดตั้งแต่ปลูก สมมุติเริ่มปลูกเดือนมกราคม ก็รดน้ำยาวมาถึงช่วงหน้าฝน ถ้าฝนไม่ตกก็ใช้คนเข้าช่วยรด

ระยะการปลูก…เมื่อต้นกล้วยเริ่มแทงหน่อ มีอายุ 5-6 เดือน กล้วยจะเริ่มให้ปลี เมื่อมีอายุ 8 เดือน สังเกตการออกปลี ก้านปลีเริ่มยื่นยาวออก น้ำหนักมากขึ้นจึงโน้มห้อยลง ปลีจะเริ่มบานให้เห็นดอก เมื่อได้รับการผสมเกสรดอกจะพัฒนาเป็นกล้วย จากนั้นให้ตัดปลีที่ยังไม่บานออก นับไปอีก 45 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ 1 ต้น ให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6 กิโลกรัม 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น เท่ากับ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 2,400 กิโลกรัม

ปุ๋ย…เดือนแรกยังไม่ต้องใส่ จะเริ่มใส่ปุ๋ยเดือนที่สอง เป็นปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยสูตรเย็น 46-0-0 อัตราการใส่ 1 เดือน ใส่ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ จะช่วยเร่งความเจริญเติบโตทั้งต้นทั้งลูกอย่างชัดเจน การห่อผล…คือเทคนิคทำให้ผิวสวย แต่ไม่ใช่แค่นำถุงมาห่ออย่างเดียวแล้วผิวของกล้วยจะสวยได้ เราจะต้องมีฮอร์โมนและยาฆ่าแมลงอ่อนๆ ไม่ให้แมลงรบกวน และไม่ให้เกิดเชื้อรา โดยจะฉีดยา 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ฉีดตอนปลีจะเริ่มออกหัวปลีจะแดงๆ ขึ้นมา

ครั้งที่ 2 ฉีดตอนปลีโน้มห้อยลงมาจนคายปลีแล้วเห็นหวีทั้งหมด จะเริ่มใช้ถุงพลาสติกกัน ยูวี มาห่อ ตั้งแต่ตัดหัวปลีไปแล้ว

ต้นทุนการผลิต…คิดรวมค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน แล้วต้นทุนตกต้นละ 30 บาท ปัญหา และอุปสรรค
ในการปลูกกล้วยไข่ ต้องรับมือให้ได้
การปลูกกล้วยไข่ ศัตรูตัวสำคัญคือ หนอนกอ ถ้าดูแลป้องกันไม่ดี หน่อกล้วยที่ปลูกจะตาย วิธีรับมือ ดังนี้
1. จุ่มสารเพื่อป้องกัน วิธีนี้ป้องกันได้ประมาณ 70% ยังไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด แต่ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย อย่างปีนี้ของผมปลูกเกือบ 10,000 ต้น ต้นตาย เพราะหนอนกอไป 1,200 ต้น ถือว่าเยอะมาก

2. ภัยธรรมชาติ คือ ลม ถ้าสมมุติกล้วยเป็นสาว บางปีคือกำลังจะตกเครือลมมาช่วงกำลังตกเครือ ต้นจะหักเรียบเลยนั้นคือปัญหา ต้องอาศัยดวง ถ้าจะแก้ด้วยการปลูกต้นไม้กันลม ถือว่ายังไม่คุ้ม เพราะการปลูกกล้วยไข่ยังต้องย้ายพื้นที่ปลูก ทิศทางลมมาไม่ตรงและแต่ละปีมาไม่เท่ากัน

3. ตรงนี้เป็นพื้นที่ต่ำ แต่มีความจำเป็น ถ้าจะเลือกพื้นที่สูง ดินไม่ดี พื้นที่ต่ำดินจะร่วนซุย ปลูกอะไรก็งาม ทำให้เราต้องเลือกที่ต่ำ แต่ว่าต้องลุ้นว่าปีนี้น้ำจะท่วมไหม ถ้าไม่เจอภัยธรรมชาติเลย ปีนั้นถือว่าโชคดีมีกำไรเต็มๆ

4. ให้ท่องไว้เสมอว่า ทุกอาชีพมีความเสี่ยง ถึงตอนนี้พืชผลที่เรากำลังปลูกอยู่ราคากำลังไปได้ดี แต่ก็ต้องมีแผนสำรองกันพลาดไว้ด้วย อย่างผมตอนนี้ไม่ได้ปลูกกล้วยไข่อย่างเดียว แต่ปลูกผักชีฝรั่งด้วย ทุก 4 เดือน ก็ได้ถอนขายมีเงินใช้หมุนเวียนในการทำเกษตรต่อไป

ปัจจุบันและอนาคต กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อน
ยังเป็นของดีหายากและตลาดมีความต้องการสูง
คุณสุเทพ บอกว่า ถ้าถามหาเหตุผลว่า ทำไม กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมาตลอด
1. เราได้เปรียบในเรื่องของพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูก

2. ประสบการณ์ของเกษตรกรที่ปลูกกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมีการถ่ายทอดเทคนิคการปลูกจากรุ่นสู่รุ่น

3. มีเพียงไม่กี่พื้นที่ปลูกแล้วจะได้ผลดี ทั้งประเทศไทยมี 77 จังหวัด แต่พื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกกล้วยไข่ มีแค่ 2-3 จังหวัด จึงทำให้กล้วยไข่ตะเคียนเลื่อนยังเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดมา ไม่เคยประสบปัญหาเรื่องผลผลิตล้นตลาด แต่อาจต้องมีเคล็ดลับสำคัญสักนิดคือ ต้องปลูกให้ตรงกับฤดูกาลที่ตลาดต้องการด้วย ถ้าไปปลูกชนกับผลไม้อย่างอื่นของเราจะขายยาก ควรวางแผนปลูกให้ผลผลิตออกช่วงที่เงาะหมด ทุเรียนหมด เราแค่เลือกปลูกไม่ให้ตรงกับพืชชนิดอื่น ช่วงที่ตลาดต้องการกล้วยไข่มากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

ส่วนเรื่องของการตลาดจะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงสวนทุกปี เกษตรกรที่นี่ไม่ต้องไปหาตลาดเอง แค่ปลูกให้รอด มีผลผลิตขายให้พ่อค้าก็พอ ราคาก็ค่อนข้างมีความผันผวนบ้าง อย่างปีที่แล้วราคาแพงที่สุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท แต่ปีนี้ปัญหาคือ แล้งกล้วยเหลือน้อย จากเคยปลูกกัน 10,000 ต้น ปีนี้เหลือ 5,000 ต้นก็มี ดังนั้น เมื่อผลผลิตมีน้อยพ่อค้าแม่ค้าต่างแย่งกันซื้อ ปีนี้ราคาขึ้นมาเป็น กิโลกรัมละ 15 บาทแล้ว และตลาดในต่างประเทศตอนนี้ก็มีติดต่อเข้ามาบ้าง เรากำลังอยู่ในช่วงเตรียมการ เพราะเมื่ออดีตที่ตำบลตะเคียนเลื่อนเคยมีนายทุนมาผลิตกล้วยไข่ส่งออกนอกและได้ผลดีจริงๆ แต่ต้องหยุดไป เพราะผลผลิตไม่พอต่อการส่งออก และตอนนี้เริ่มมีบริษัทมาติดต่อให้ทำส่งออกนอกอีกครั้ง เพราะตลาดต้องการผลผลิตกันมากขึ้น เขาจึงวิ่งมาหาเรา ผมจึงเริ่มคุยกับเขาว่าจะเริ่มทำส่งให้ปีนี้ ซึ่งสถานการณ์ตรงนี้ก็ส่งผลไปถึงตลาดในประเทศด้วย พ่อค้าแม่ค้าในประเทศมีการปรับราคารับซื้อให้สูงขึ้น ถือเป็นของหายาก

ฝากถึงเกษตรกร
ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ใจต้องมาก่อน
การเป็นเกษตรกรถือเป็นอาชีพที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน
1. ใครจะเดินทางสายนี้ใจต้องมาก่อน ถ้าใจไม่รัก ก็ทำไม่ได้ เพราะการทำการเกษตรต้องตากแดดตลอด
2. ต้องมีความรู้มากพอ ผมก็ไม่ได้เก่งทุกเรื่อง เก่งเฉพาะเรื่องกล้วยกับผักชีฝรั่ง ถ้ามือใหม่คิดอยากจะทำก็ทำได้ เพียงแค่ต้องหมั่นหาความรู้อยู่ตลอด เรียนรู้กระบวนการทุกอย่าง ถือว่าไม่ยาก เพราะไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของคน และที่ผ่านมาถือว่ากล้วยไข่เลี้ยงผมและครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรชั้นดี สรรพคุณทางยามากมาย ทั้งช่วยรักษาแผล หรือสมานแผล ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนของแผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ว่านหางจระเข้ก็ช่วยได้ และนอกจากเป็นสมุนไพรรักษาแผลที่ดีแล้ว ด้วยในปัจจุบันนวัตกรรมที่ก้าวไกล มีผู้คิดค้นวิจัยนำว่านหางจระเข้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผิวกาย มากมาย ทำให้ปริมาณความต้องการว่านหางจระเข้มีมากขึ้น ส่งผลดีต่อรายได้ของเกษตรกรในประเทศไทยเป็นอย่างดี ซึ่งแหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันตกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปลูกว่านหางจระเข้ส่งโรงงาน ถือเป็นอาชีพสร้างรายได้ดีให้กับเกษตรกรแถวนั้นมานานกว่า 30 ปี และปัจจุบันนี้ได้สืบทอดมาถึงรุ่นลูก ตลาดก็ยังสดใสอยู่

ว่านหางจระเข้ ปลูกไม่ยาก
ปลูกครั้งเดียว เก็บขายได้นาน 10 ปี
การปลูกว่านหางจระเข้ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย พันธุ์ที่ปลูกคือ พันธุ์บาบาเดนซิส ลักษณะเด่นคือ กาบใหญ่ เนื้อเยอะ มีสรรพคุณทางยามากมาย ปลูกโดยการใช้หน่อ หากเป็นมือใหม่อาจต้องมีต้นทุนในการซื้อหน่อมาปลูก หน่อก็มีหลายราคาให้เลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อ เริ่มต้นตั้งแต่ 10-100 บาท ถ้าหน่อใหญ่ระยะเวลาการปลูกให้ผลผลิตก็จะเร็วขึ้น

ตอนนี้ที่ไร่ปลูกว่านหางจระเข้ ประมาณ 25-30 ไร่ การปลูกไม่ยาก มีการไถดินสองรอบ รอบแรกไถดะ รอบที่สองไถแปร หากพื้นที่ตรงไหนมีน้ำขังให้ชักร่องปลูกให้น้ำไหลออก เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังรากจะเน่า

ควรเว้นระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร ระหว่างต้น 1 ศอก ระยะนี้ถือเป็นระยะที่เหมาะสม เพราะถ้าปลูกถี่เกินไปเมื่อต้นโตกาบจะชนกัน ส่งผลทำให้การเจริญเติบไม่ดีเท่าที่ควร และหมั่นทำความสะอาดแปลง กำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นสูง

ระบบน้ำ… ว่านหางจระเข้ เป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องการน้ำมาก 1 สัปดาห์ รดน้ำสัก 1 ครั้ง โดยการติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์เปิดรดช่วงตอนเย็น เพราะอากาศเย็นว่านหางจระเข้จะรับน้ำได้อย่างเต็มที่ หากรดช่วงที่อากาศร้อนจะทำให้ว่านหางจระเข้รากเน่า ระยะเวลาในการรดน้ำ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

ปุ๋ย… ไม่ต้องใส่มาก ในระยะ 1-2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะว่าช่วงปีแรกๆ ว่านหางจระเข้จะสมบูรณ์มาก ถ้าใส่ไปอาจทำให้เน่า แนะนำให้เริ่มใส่ปุ๋ยช่วงปีที่ 3 ใส่เพียงปีละครั้ง ใส่สูตร 21-0-0 แมลงศัตรูพืช…มีบ้าง แต่ไม่มีผลกับว่านหางจระเข้ อาจมีรอยที่ใบบ้าง แต่ไม่มีผลต่อเนื้อข้างใน

ระยะเวลานาน ในการให้ผลผลิต
ว่านหางจระเข้ ถือเป็นพืชที่ลงทุนน้อยแต่ผลตอบแทนมาก เพราะปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกเดือน นานถึง 10 ปี แต่การปลูกครั้งแรกต้องรอนาน 8-9 เดือน และหลังจากนั้นสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ทุกเดือน ระยะในการปลูกครั้งแรก ประมาณ 8-9 เดือน หลังจากนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ทุกเดือน ในสมัยรุ่นพ่อปลูกครั้งหนึ่งเก็บได้นานเป็น 10 ปี แต่พอมาถึงรุ่น คุณจูน ลดลงมาเหลือแค่ 5-6 ปี แล้วไถทิ้งปลูกใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าเอาไว้นานมากกาบจะเล็ก แต่ถ้าหากตลาดรับซื้อไม่เกี่ยงขนาด ก็สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี

ผลผลิตต่อไร่… ระยะเวลาการตัดแล้วแต่เกษตรกรบางรายนะ ตัดแบบ 20 วัน ตัดครั้งหนึ่ง หรือ 1 เดือน ตัดครั้ง ถ้าทิ้งไว้ 1 เดือน จะได้กาบที่ใหญ่และน้ำหนักดี ผลผลิต 3.5-4 ตัน ต่อไร่ ต่อเดือน ส่งขายได้ กิโลกรัมละ 2.5-3 บาท ถือว่าสร้างรายได้ดีมาก

คุณจรัญ เจริญทรัพย์ เกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เจ้าของกิจการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมทั้งลูกสดและแปรรูป ใครจะรู้ว่ากว่าที่จะมาเป็นเจ้าของสวนมะพร้าว กว่า 120 ไร่ เมื่อก่อนเคยติดหนี้สินจนเกือบจะเสียที่นาที่มีอยู่เพียง 1 ไร่ ไปแล้ว

ปัจจุบัน เขาดำรงตำแหน่งประธานสภายุวเกษตรจังหวัดราชบุรี และประธานวิสาหกิจชุมชนอำเภอดำเนินสะดวก ทำธุรกิจส่วนตัวในฐานะผู้ประกอบการส่งออกผักและผลไม้ อยู่บ้านเลขที่ 196 หมู่ที่ 2 ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เคยได้รับรางวัล A Model Farmer From The Kingdom of Thailand โดย Food and Agriculture Organization of The United Nations จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานวันอาหารโลกประจำปี 2556 ที่จัดขึ้น ณ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ หรือ (FAO) ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

ประวัติของคุณจรัญนั้น เดิมทีพ่อแม่ทำสวนปลูกพืชล้มลุกจำพวก พริก ต้นหอม แตงกวา เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ยังเยาว์วัยมีความฝันอยากเป็นข้าราชการ แต่ไม่ได้เรียน เพราะฐานะทางบ้านยากจน มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน พ่อกับแม่ได้รับมรดกจากคุณตามา 1 ไร่ ตอนทำสวนใหม่ๆ ที่ดินที่มีอยู่นั้นเกือบหลุดไปเป็นของนายทุน เพราะกู้เงินมาทำไร่ ต้องเช่าที่ 7 ไร่ มาทำสวน เพราะที่เพียง 1 ไร่ นั้นไม่พอกิน มีขาดทุนบ้าง ได้กำไรบ้าง สลับกันไป ช่วงที่ทำแล้วได้กำไรก็จะเก็บเงินที่ได้เอาไว้ลงทุนในรอบต่อไป แต่ถ้าขาดทุนก็จะไปยืมเงินมาลงทุนวนอยู่แบบนี้ประมาณ 6-7 ปี จนมีความรู้สึกว่าไม่อยากที่จะทำเกษตรแล้ว เพราะทำแล้วยิ่งเป็นหนี้ พ่อกับแม่ก็เหนื่อยมาก

ตัดสินใจเลิกทำเกษตรเพราะเป็นหนี้
จุดเปลี่ยนของชีวิตก็มาถึงเมื่อเขาตัดสินใจเลิกทำเกษตร เพราะเป็นหนี้และไม่มีเงินไปใช้ เขาจึงตัดสินใจหยุดและยอมไปเป็นลูกจ้าง ทำงานรับจ้างทำสวนทั่วๆ ไป แต่ในขณะที่ทำสวนก็ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ทำไมคนทำสวนบางคนเขาถึงรวย จึงตัดสินใจไปลงแขกกับคนที่ทำการเกษตรแล้วประสบความสำเร็จ จึงทำไปด้วยศึกษาไปด้วย สุดท้าย จึงรู้ว่าพืชมีระยะเวลาการกินอาหาร มีระยะเวลาการพักผ่อน ทำให้เริ่มเข้าใจพืชและเริ่มเข้าใจการปลูกพืชมากกว่าเดิม เริ่มรู้ว่าฤดูกาลสามารถวางแผนให้ได้ราคาว่าปลูกแล้วขายได้ราคาดีกว่าเมื่อก่อน เช่น มีการพักดินและปลูกในช่วงจังหวะที่พืชได้ราคา

เขาใช้เวลาในอาชีพรับจ้างประมาณ 2 ปี เก็บเงินที่รับจ้างไปใช้หนี้ ซึ่งขณะนั้นเป็นหนี้เกือบหนึ่งแสนบาท เมื่อใช้หนี้หมดแล้วจึงมีความคิดที่อยากจะกลับมาทำสวนอีกครั้ง เริ่มต้นสู่การพัฒนา
เริ่มแรกคุณจรัญนำความรู้ที่ได้จากการเป็นลูกจ้างมาปลูกข้าวโพดฝักอ่อน เพราะข้าวโพดฝักอ่อนเป็นพืชระยะสั้น 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ และสามารถขายได้ในตลาดทั่วไป ลงทุนน้อย ไม่ต้องฉีดยาใส่ปุ๋ยมากมาย เพราะว่าเมื่อก่อนปลูกพริก ปลูกหัวหอม หวังพึ่งแต่ยาเคมี ใครบอกว่าอันไหนดี ก็ไปซื้อตามมาใช้ ไม่มีเงินซื้อก็ไปหายืมเขามา แต่พอได้ทำใหม่การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่ต้องใช้ยาหรือสารเคมี เงินที่รับจ้างมาก็เอามาเป็นเงินทุน

พอถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มแรกก็ส่งเข้าโรงงาน ติดต่อเว็บ UFABET ต่อมาได้เรียนรู้ว่า ถ้าไม่ขายให้โรงงานก็สามารถที่จะแปรรูปเองได้ จึงเริ่มนำข้าวโพดฝักอ่อนมาปอกแล้วใส่ถุงขายในตลาดศรีเมืองบ้าง ฝากรถขายในตลาดในกรุงเทพฯ บ้าง ตลาดสี่มุมเมืองบ้าง พอมาทำแล้วเลยได้เรียนรู้การตลาด การแปรรูป แล้วก็นำความรู้ที่มีมาพัฒนากับหน่อไม้ฝรั่ง

ตอนทำข้าวโพดฝักอ่อน ทำอยู่ในพื้นที่ 5 ไร่ ที่ก็เช่าเขามาทั้งหมด ต่อมาเช่าเพิ่มอีก 25 ไร่ ขณะที่ขายข้าวโพดอยู่ที่ตลาดศรีเมืองก็โชคดีที่มีพ่อค้าชาวสิงคโปร์ พ่อค้าชาวมาเลเซียมาเจอ ข้าวโพดฝักอ่อนมีข้อดีคือเก็บอ่อน ฝักสั้น ไซซ์เสมอ ซึ่งแตกต่างจากของคนอื่นที่ไซซ์ไม่เท่ากัน พ่อค้าต่างประเทศมาเห็นก็เลยสนใจ เลยตามมาดูที่สวน

“เขามีล่ามมาด้วย ถามว่าสามารถส่งออกได้ไหม? ผมก็บอกว่าไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะส่งยังไง ภาษาก็ไม่ได้ เขาบอกเขาอยากซื้อ ผมก็บอกว่าผมอยากขาย” คุณจรัญเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้น ซึ่งเขามีอายุเพียง 20 ปี

“หลังจากนั้น ชาวมาเลเซียก็กลับไปและหาวิธีการให้ทางเราส่งออก เขาก็สอนเรา ทั้งเรื่องเอกสารการส่งและเรื่องการแพ็ก ก็เลยเริ่มส่งไปต่างประเทศได้” คุณจรัญ บอก

ตอนนั้นเขาเน้นพืชส่งออก เน้นพืชเศรษฐกิจ รายได้ช่วงนั้นได้เป็นแสนจึงเริ่มเก็บเงินมาเรื่อยๆ เพื่อไปซื้อไร่ แรกๆ ซื้อ 5 ไร่ ต่อมาก็ซื้อ 7 ไร่ แล้วก็ไปซื้อแปลงใหญ่ 10 ไร่ 35 ไร่ เรื่อยมา เก็บเงินได้ก็ซื้อที่ดินอย่างเดียว ขณะนั้นราคาที่ดินไร่ละประมาณ 100,000 บาท แต่ตอนนี้ราคาไร่ละ 500,000 บาท รวมแล้วทั้งหมดก็มีที่ดินทั้งหมด 100 กว่าไร่ และได้เริ่มปลูกมะพร้าวหลังจากจับจุดของการปลูกพืชได้ ตอนนี้ปลูกมะพร้าวมาประมาณ 10 ปี เริ่มต้นกระบวนการแปรรูปมาแล้ว 8 ปี และเริ่มต้นส่งออกมะพร้าวมาได้ 5 ปี จากกลุ่มพ่อค้ากลุ่มเดิมที่มาแนะนำ

ในมะพร้าวที่มี ถ้าตัดมะพร้าวทั้งหมด 32 ไร่ ก็จะได้มะพร้าวประมาณ 14,000 ลูก โดยจะหมุนเวียนการตัด ขณะนี้ขายลูกสดไปต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ส่งไป 3,000 ผล ต่อวัน เข้าโรงงาน 8,000 ผล ต่อวันเช่นกัน ส่วนลูกที่ตกไซซ์ก็จะนำมาแปรรูปเป็นน้ำมะพร้าว 100%, ไอศกรีม, เนื้อและน้ำแช่แข็ง

การค้นพบพืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลกทั้ง 8 ชนิดนี้ เป็นสัญญาณ

ประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะพืชวงศ์ขิงนี้ ถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งสรรพคุณของสมุนไพรไทย เป็นพืชผักพื้นบ้าน เป็นไม้ดอกไม้ประดับ และยังมีความสวยงามของต้นและดอกสีสันสดใส ควรค่าแก่การอนุรักษ์ รักษา โดยคณะผู้วิจัยกำลังมีแนวทางในการขยายพันธุ์จากเหง้าและขยายพันธุ์โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ที่เกิดจากงานวิจัย ถ่ายทอดลงสู่ชุมชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป เพื่อทำการอนุรักษ์สายพันธุ์ต่างๆ ในระยะยาวต่อไป

นับเป็นข่าวดีต้อนรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ International Day of Biological Diversity ซึ่งตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity : CDB) เริ่มมีผลบังคับใช้คือวันที่ 22 พฤษภาคม 2535 เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

ทั้งนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรมและสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์ หากถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใดก็ยิ่งมีสิ่งชีวิตหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น

“อินทผลัม” เป็นหนึ่งในผลไม้ทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ราคาขายผลสด 400-500 บาท ต่อกิโลกรัม อินทผลัมแม้เป็นไม้ผลต่างถิ่นที่นำเข้ามาปลูกในไทย แต่เกษตรกรไทยมีฝีมือด้านการปลูก สามารถปรับการปลูกให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพได้ไม่ยาก ซึ่ง “คุณครองจักร งามมีศรี” เป็นหนึ่งในเกษตรกรคนเก่ง ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการผลผลิตอินทผลัมได้เป็นอย่างดี และสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรีคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2564 ของจังหวัดลพบุรี

คุณครองจักร งามมีศรี เป็นอดีตข้าราชการครู ที่เกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากมีนิสัยรักการปลูกต้นไม้ จึงสนใจปลูกไม้ยืนต้นเพื่อสร้างป่าให้กับชุมชน บนพื้นที่ 58 ไร่ แต่ด้วยประสบการณ์ด้านการปลูกต้นไม้มีน้อย ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกตายไปประมาณ 50% ต่อมาปี พ.ศ. 2556 ลูกชายซื้ออินทผลัมผลสดจากประเทศบาห์เรนมาให้ลองรับประทาน ก็รู้สึกติดใจในรสชาติและประโยชน์ของอินทผลัม คุณครูครองจักรจึงได้ทดลองนำเมล็ดไปเพาะในกระถาง ปรากฏว่าเมล็ดสามารถงอกได้ จึงสนใจศึกษาการปลูกอินทผลัมอย่างจริงจัง

ปี พ.ศ. 2557 คุณครูครองจักร ได้สั่งซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต่างประเทศเข้ามาปลูก ได้แก่ สายพันธุ์บาร์ฮี สายพันธุ์อัมเอ็ดดาฮาน สายพันธุ์โคไนซี่ สายพันธุ์อัจวะห์ สายพันธุ์คาลาส ปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง จึงได้จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกอินทผลัมให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

แม้ คุณครูครองจักร จะเป็นเกษตรกรมือใหม่ที่เพิ่งปลูกอินผลัมได้แค่ 9 ปี (เริ่มปี 2556) แต่ปัจจุบัน “สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” แห่งนี้ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร ประชาชนจำนวนมาก รวมทั้งสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปลูกอินทผลัมตลอดทั้งปี เนื่องจากสวนแห่งนี้ เป็นสวนแรกในจังหวัดลพบุรี ที่ใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการปลูกอินทผลัมของอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี มีฝีมือในการผลิตอินทผลัมที่มีคุณภาพ ไร้สารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันได้รับการรับรองมาตรฐานเป็นแหล่งผลิตพืชปลอดภัยสารเคมี

สวนแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการผลิตอินทผลัม ที่โดดเด่นเรื่องการผลิตอินทผลัมปลอดสารพิษ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โดรนเพื่อการเกษตร มาใช้ในการบริหารจัดการสวนเพื่อลดการใช้แรงงาน การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคและแมลง 100% ที่นี่นอกจากจำหน่ายอินทผลัมผลสดและแช่แข็งแล้ว ยังแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มอินทผลัมในรูปแบบต่างๆ เช่น นมสดอินทผลัม ชาดอกอินทผลัม น้ำเชื่อมอินทผลัม เป็นต้น “สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” ภายใต้การบริหารงานของคุณครูครองจักร ยืนยันได้ทั้งปริมาณ คุณภาพ ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินกิจการมา ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในด้านรายได้และมีความยั่งยืนในอาชีพอย่างชัดเจน

ในปี 2557 คุณครูครองจักร เริ่มเตรียมดิน เตรียมพื้นที่ปลูกอินทผลัม เนื้อที่ 20 ไร่ เนื่องจากอินทผลัมเป็นพืชที่ลงทุนค่อนข้างสูง คิดเป็นค่าต้นพันธุ์ซึ่งเป็นต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั้งหมด ที่ความสูง 20 เซนติเมตร ราคา 2,000-2,500 บาท/ต้น ใช้ต้นพันธุ์ 25-30 ต้น/ไร่ ค่าวางระบบน้ำ 40,000 บาท/ไร่ รวมต้นทุน 62,955บาท/ไร่ หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท

การปลูกอินทผลัมถือว่าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะผลสดอินทผลัมเป็นพืชที่ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย สามารถขายได้ราคาสูงกว่าไม้ผลชนิดอื่น ประกอบกับแต่ละต้นให้ผลผลิตสูง และเป็นพืชที่มีอายุยืนยาว ถึงแม้การลงทุนจะค่อนข้างสูงแต่ก็คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้รับ เปรียบเทียบได้จากผลประกอบการในช่วง 3 ปีหลังที่ผ่านมา (ปี 2561-2563) โดยปี 2561 ได้ผลผลิต 12,000 กิโลกรัม มีรายได้ 4.2 ล้านบาท ปี 2562 ได้ผลผลิต 900 กิโลกรัม มีรายได้ 6.3 ล้านบาท ปี 2563 มีผลผลิตออกจำหน่ายทั้งสิ้น 20 ตัน ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละประมาณ 500-1,000 บาท มีรายได้ 7 ล้านบาท สำหรับปีนี้ คุณครูครองจักรประมาณการผลผลิตอยู่ที่ 22-25 ตัน และคาดว่าจะได้ผลผลิต 28-30 ตัน ในปี 2565

สำหรับต้นอินทผลัมที่ยังไม่ให้ผลผลิต นอกจากปุ๋ยคอกและใบก้ามปูแล้ว หากเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์เน้นตัวหน้าคือไนโตรเจน ก่อนออกดอกสะสมอาหาร ด้วยสูตร 8-24-24 ก่อนเก็บผลผลิต เพิ่มความหวาน ด้วยสูตร 13-13-21 เน้นตัวท้ายสูง

การจัดการศัตรูพืช

ต้นอินทผลัม มีแมลงศัตรูพืชกลุ่มเดียวกับมะพร้าว คือ ด้วงเจาะลำต้น ด้วงแรดเจาะลำต้น ไม่ทำให้ต้นอินทผลัมตาย แต่หลังจากนั้น หากมีด้วงงวงเจาะตามเข้าไป ด้วงงวงจะเข้าไปวางไข่ เกิดตัวอ่อนมากมาย เข้าทำลายลำต้น ทางป้องกันคือ ทำแปลงปลูกให้สะอาด ไม่ให้มีกองขยะ กองมูลสัตว์ เพราะจะเป็นที่อาศัยวางไข่ของด้วง

วิธีการเก็บเกสรและการผสมเกสร

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกสรคือ เครื่องดูดฝุ่น ที่ใช้ดูดฝุ่นตามบ้านก็จะนำมาดูดเกสร พอดูดมาแล้วนำมาใส่ขวดที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วนำเข้าตู้เย็น อุณหภูมิก็จะเป็นอุณหภูมิปกติที่ใช้แช่ผัก แล้วจึงนำไปใส่ตัวบีบนำไปพ่นใส่ดอกตัวเมีย ดอกที่จะพ่นต้องเป็นดอกที่แตกออกในวันแรกหรือวันที่ 2 เท่านั้น ที่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด

การจัดการหลังติดผล

หลังติดผลควรมีการเด็ดผลทิ้งบ้าง โดยเส้นย่อยหนึ่งเส้นควรไว้ 8-12 ผล ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผลและความยาวของช่อ ที่สำคัญคือ ไม่ควรให้ผลเบียดกัน

การห่อผล

การห่อผล ควรใช้มุ้งตาข่ายไนลอน (ลี่) ที่มีตาถี่เพื่อป้องกันแมลงทุกชนิดที่จะเข้าไปทำลายผลผลิต และชั้นในควรคลุมด้วยถุงกระดาษเพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่องกระทบผลโดยตรง ที่จะทำให้ผิวของผลไม่สวยงาม

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

เมื่อเก็บผลจากต้น นำอินทผลัมมาแขวนไว้ หลังจากนั้นก็นำไปล้างทำความสะอาด โดยใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงฉีดพ่นทำความสะอาดผลอินทผลัม หลังจากนั้นนำไปเป่าลมให้แห้ง จึงบรรจุใส่ภาชนะหีบห่อเพื่อเตรียมส่งจำหน่าย การตลาด

ปัจจุบัน คุณครูครองจักร จำหน่ายต้นพันธุ์อินทผลัม อินทผลัมผลสด หน่ออินทผลัม ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอินทผลัมผ่านช่องทางตลาดออนไลน์เป็นหลัก ในชื่อ “Facebook สวนอินทผาลัมชอนสารเดช”

ทั้งนี้ เกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจ สามารถแวะเยี่ยมชมกิจการได้ที่ บ้านเลขที่ 96/1 หมู่ที่ 4 บ้านชอนสารเดช ตำบลชอนสารเดช อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ขอขอบคุณ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ที่สนับสนุนข้อมูลและภาพประกอบข่าว มา ณ ที่นี้

ในอดีตหากใครอยากได้มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ดีไปปลูก มักนึกถึง “ฟาร์มอ่างทอง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร” เป็นที่แรก เพราะที่นี่เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมเชิงการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรทั่วไป เพราะมั่นใจได้ว่าพันธุ์มะพร้าวที่ซื้อจากฟาร์มอ่างทอง เป็นมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ที่มีคุณภาพดีทุกต้น กระแสความนิยมดังกล่าวทำให้พื้นที่แถบลุ่มน้ำท่าจีนและลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม ราชบุรี กลายเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมแหล่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้

คุณชาญชัย ทรัพย์มา หรือ พี่หมู อยู่บ้านเลขที่ 56/1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เกษตรกรผู้สืบทอดสวนมะพร้าวบุญลอย รุ่นที่ 3 บอกเล่าประวัติความเป็นมาของสวนมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว สวนบุญลอย ว่า เมื่อ 46 ปีก่อน “คุณสำอางค์ ทรัพย์มา” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ลุงแกละ ทรัพย์มา” ซึ่งเป็นก๋งของตน เป็นเกษตรกรรายแรกที่บุกเบิกปลูกมะพร้าวน้ำหอม หลีเบ็ญ หรือ มะพร้าวก้นจีบ ในย่านตำบลหนองบัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทสาคร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 “ลุงแกละ” ได้ซื้อพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมมาจากฟาร์มอ่างทอง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในราคาต้นละ 6 บาท เพื่อนำมาปลูกบนที่ดิน 36 ไร่

“ลุงแกละ” นับเป็นเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่นำมะพร้าวน้ำหอมไปวางขายที่ ตลาด อ.ต.ก. ช่วงแรกนั้น ลุงแกละและลูกๆ ปอกมะพร้าวไม่ค่อยเป็น อาศัยใช้วิธีขายมะพร้าวน้ำหอมยกทะลาย ส่วนมะพร้าวตกเกรด ขนาดผลเล็ก ขายไม่ได้ ลุงแกละจะแก้ปัญหาโดยวิธีการเฉาะผลมะพร้าวและคว้านเนื้อและน้ำบรรจุใส่แก้วแช่ในตู้เย็นขาย ในราคาแก้วละ 4 บาท ปรากฏว่า น้ำมะพร้าวขายดีมาก ทำเท่าไรก็ไม่พอขาย แต่ละวันลุงแกละขายมะพร้าวน้ำหอมได้นับพันลูก

หลังจากสวนมะพร้าวของลุงแกละมีชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของพ่อค้ามากขึ้น และเมื่อตลาดมะพร้าวน้ำหอมเติบโตมากขึ้น ลุงแกละได้คัดต้นมะพร้าวพันธุ์ดีออกจำหน่ายให้แก่เพื่อนเกษตรกรที่สนใจ รวมทั้งขยายพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมโดยเช่าสวนในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วอีก 4-5 แห่ง สืบทอดทำจากรุ่นสู่รุ่น จากรุ่นที่ 1 คุณสำอาง ทรัพย์มา (ก๋ง) คุณเล็ก ทรัพย์มา (ย่า) รุ่นที่ 2 คุณบุญลอย ทรัพย์มา (พ่อ) คุณชำนาญ ทรัพย์มา (แม่) จนมาถึงปัจจุบันเป็น รุ่นที่ 3 คือตนเข้ามารับหน้าที่สานต่อและพัฒนาการตลาดให้ทันสมัยและสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน และยังมีการอนุรักษ์พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว ให้คงอยู่ด้วยเทคโนโลยีการตรวจ DNA

จุดเด่นของมะพร้าวน้ำหอม ที่สวนบุญลอย
เจ้าของบอกว่า จุดเด่นของมะพร้าวที่สวนคือ ลักษณะผลขนาดกลาง สีเขียว รูปทรงค่อนข้างรี ด้านท้ายผล จะเป็นลักษณะ 3 พู ชัดเจน (ก้นจีบ) หรือคล้ายหัวลิง น้ำมีกลิ่นหอม (คล้ายใบเตย) ซึ่งการปลูกต้นเตยหอม ที่โคนต้นมะพร้าว หรือร่องสวนนั้น ไม่ได้ช่วยให้มะพร้าวมีความหอมขึ้น แต่ความหอมนั้นเกิดจากยีนที่อยู่ในต้นมะพร้าว ที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยีนด้อย (ซึ่งเป็นผลดี) จึงเรียกกันว่า มะพร้าวน้ำหอมนั่นเอง ส่วนรสชาติของน้ำนั้นอยู่ที่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่ง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ใกล้กับทะเล มีการทับถมของดินตะกอน และแหล่งน้ำธรรมชาติ มีความหลากหลายคือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม จึงทำให้การปลูกพืชหลายประเภทมีรสชาติที่อร่อย จนเป็นที่ติดใจของผู้บริโภค

เทคนิคการปลูกมะพร้าว
“ปลูกอย่างไร ให้ได้คุณภาพ”
พี่หมู อธิบายถึงเทคนิคการปลูกมะพร้าวให้ได้คุณภาพให้ฟังว่า ที่สวนจะปลูกแบบยกร่องสวน เพื่อความสะดวกในการดูแล เช่น การรดน้ำ การบำรุงดิน และการจัดเก็บมะพร้าวน้ำหอม ได้ง่ายขึ้น

การเตรียมดิน …ที่สวนจะมีการเก็บตัวอย่าง ดิน และน้ำ เพื่อนำไปให้กับศูนย์พัฒนาที่ดินตรวจสอบทุกปี

การปลูก …ระยะของการปลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ ประมาณ 6×6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 40 ต้น ปุ๋ย …ใช้แบบผสมผสาน ปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ และปุ๋ยเคมี (ขึ้นอยู่กับสภาพของต้นและดิน)

การกำจัดวัชพืช …ใช้คนเก็บ หรือบางครั้งอาจมีการใช้เคมีบ้างในสถานการณ์ที่ใช้ธรรมชาติควบคุมไม่อยู่ แต่จะใช้ในปริมาณที่ควบคุม

ปริมาณผลผลิตต่อไร่ …มะพร้าวน้ำหอม 1 ต้น ผลผลิตอยู่ที่ 120-150 ผล ต่อปี ที่มาของการคัดพันธุ์มะพร้าว
โดยใช้เทคโนโลยี DNA
และประโยชน์ที่ได้รับ
เจ้าของบอกว่า ปัจจุบัน มะพร้าวน้ำหอม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ผู้บริโภคส่วนมากยังไม่เข้าใจถึงคุณลักษณะของมะพร้าวน้ำหอม และปัจจุบันผู้ขายได้มีการประชาสัมพันธ์กันอย่างมากมาย มะพร้าวน้ำหอม 100 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากระบบการปลูกเป็นแบบเปิด คือ ไร่ และสวน ไม่มีการควบคุมอย่างถูกต้อง พื้นที่หลายๆ พื้นที่ มีการปลูกมะพร้าว หลากหลายประเภท หลายสายพันธุ์ ในพื้นที่เดียวกันทำให้แมลงและผึ้งที่ทำหน้าที่ผสมเกสร นำพาเกสรจากต้นอื่นๆ มาผสมกัน ซึ่งทำให้ผลมะพร้าวที่ได้เป็นลูกผสมนั่นเอง

การตรวจ DNA เป็นเพียงการตรวจเช็กว่า มะพร้าว ที่ปลูกอยู่ในสวนนั้นๆ ต้นไหนเป็นมะพร้าวน้ำหอม ต้นไหนเป็นลูกผสม หรือไม่ใช่มะพร้าวน้ำหอม โดยใช้หลักการตรวจวัดค่าความหอม เหมือนกับ ข้าวหอมมะลิ โดยการตรวจ สามารถใช้ได้ทุกส่วนของมะพร้าว แต่ที่ดีที่สุดคือ ใบ แต่สิ่งที่สำคัญคือ การควบคุมแหล่งปลูกว่าให้มีแต่ มะพร้าวน้ำหอม ส่วนต้นที่ไม่ใช่ต้องตัดทำลาย จึงจะถือได้ว่าควบคุมได้ดี

การคัดพันธุ์มะพร้าว …เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ จำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูล หรือติดต่อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อย่าเชื่อแต่การโฆษณา เพราะเกษตรกรจะไม่มีทางรู้เลยว่า ผู้ที่เพาะพันธุ์ขายนั้น เขานำลูกแห้งมาจากไหน ต้นแม่พันธุ์เป็นอย่างไร อายุของต้นพันธุ์มีอายุกี่ปี สภาพแวดล้อมพื้นที่การปลูกมีมะพร้าวอื่นๆ อยู่ด้วยหรือไม่ ดังนั้น ควรที่จะซื้อกับสวนที่ไว้ใจ และมีความซื่อสัตย์ หรือสอบถามกับ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดก็ได้

การตลาดส่งขายที่ไหน …ปัจจุบันที่สวนมีพื้นที่ปลูกอยู่ 20 ไร่ (แบ่งออกเป็น 2 โซน) โดยมีการจัดทำมาตรฐาน GAP และขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI หรือเรียกว่า “มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว GI”

โซนที่ 1 โซนตัดผลอ่อน มะพร้าวน้ำหอมอ่อน (โรงงานเป็นผู้มารับซื้อ) และขายออนไลน์

โซนที่ 2 โซนเก็บผลแก่ เพาะต้นพันธุ์ (แก่ผู้สนใจปลูกมะพร้าวน้ำหอม) ในอนาคต หากวิธีคัดพันธุ์มะพร้าว
โดยใช้เทคโนโลยี DNA แพร่หลาย
จะเป็นประโยชน์อย่างไรกับเกษตรกร
พี่หมู บอกว่า ในปัจจุบัน วิธีการทดสอบค่าความหอมของมะพร้าวน้ำหอมนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประกอบกับค่าใช้จ่าย และวิธีการในการเก็บตัวอย่างนั้น ต้องได้รับการอบรมเบื้องต้น เพื่อให้ประสิทธิผลสูงสุด สำหรับเกษตรกรคงไม่ได้มีความสนใจ เนื่องจาก มะพร้าว ที่ปลูกนั้นขายได้ทั้งหมด และไม่เพียงพออยู่แล้ว แต่เป้าหมายที่ตนนำมาใช้ที่สวนก็เพื่ออยากทราบว่า มะพร้าว ของที่สวนปลูกอยู่นั้น เป็นมะพร้าวน้ำหอมทั้งหมดหรือไม่ และมีค่าความหอมอยู่ที่เท่าไร ซึ่งหลังจากที่ได้ตรวจพบว่า มะพร้าวน้ำหอม ที่ปลูกอยู่มีค่าความหอมอยู่ที่ 87.60 เปอร์เซ็นต์ เบื้องต้นตรวจไปแล้ว 300 ต้น และกำลังที่จะพัฒนาทำโครงการอนุรักษ์สายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว เพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ ความหอม ของมะพร้าวน้ำหอม ให้คงอยู่กับประเทศไทยตลอดไป

ดังนั้น หากมะพร้าวน้ำหอมที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีคุณภาพ ผ่านการรับรองจากสถาบันที่ได้มาตรฐาน และมีการควบคุมอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมนั้น มีรายได้ที่ดีขึ้น สร้างเศรษฐกิจและชื่อเสียงให้กับประเทศไทยต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจศึกษาข้อมูลและเทคนิคการปลูกมะพร้าว สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. 095-235-4266 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วสวนบุญลอย

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 นายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง มอบหมายให้ นางกันยารัตน์ ก้านจันทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ นายธนาคม พรหมเพ็ญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอนาโยง ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทุเรียนพื้นบ้านที่มีลักษณะดีเด่น จาก สวนตาจัน ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพันธุ์พืชตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพทั้งภายนอกผล เนื้อผล และเมล็ด เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของทุเรียนพื้นบ้านแต่ละต้น ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้เก็บผลทุเรียนจากต้นทุเรียน จำนวน 5 ต้น ได้แก่ หัวล้าน สีหมอก ร้านไก่ ไอ้เขียว และไอ้เหรียง ซึ่งทุเรียนทั้ง 5 ต้น เป็นทุเรียนพื้นบ้านที่มีลักษณะเนื้อดี รสชาติดี สี ความละเอียดของเนื้อทุเรียนและรสชาติแตกต่างกัน และมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะต้น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไว้ต่อไป

กล้วยยังเป็นสินค้าเกษตรยอดนิยม เว็บแทงบอลสเต็ป สร้างรายได้ให้กับคนไทยอยู่ ณ ปัจจุบัน ด้วยเพราะปลูกง่าย ขายได้ทั้งแบบเป็นลูก นำไปแปรรูป หรือเพาะพันธุ์ขายก็ได้ทั้งนั้น คุณสมบัติ สุขนันท์ อายุ 52 ปี หนึ่งในเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกล้วย และเป็นเจ้าของสวน “สมบัติอาณาจักรกล้วย” เล่าว่า เป็นคนชอบสะสม เมื่อเห็นกล้วยสายพันธุ์แปลกๆ ก็เริ่มหลงใหล ตนจึงสะสมเรื่อยมานับเวลาแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งกล้วยที่สะสมเป็นสายพันธุ์กล้วยหายากจากทั่วประเทศ ซื้อพันธุ์มาแล้วเพาะพันธุ์เพิ่ม ขยายไปเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 220 กว่าสายพันธุ์ และนำออกจำหน่ายได้ 10 กว่าปีแล้ว

“ผมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ จะไม่ใช้การเพาะเนื้อเยื่อ”

คุณสมบัติ เล่าอีกว่า กล้วยทั้งหมดปลูกในพื้นที่กว่า 1 พันไร่ โดยกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ทั้งนนทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี พิษณุโลก เชียงใหม่ เป็นต้น

“ที่ผมกระจายพื้นที่ปลูกไว้หลายจุดแบบนี้เพราะเคยปลูกไว้ที่เดียวกันปรากฏว่าน้ำท่วม กล้วยเสียหายหมด 3 หมื่นกว่ากอ” โดยก่อนหน้านี้คุณสมบัติไม่ได้คิดนำพันธุ์กล้วยออกจำหน่าย แต่ด้วยธุรกิจโรงงานทำนั่งร้านก่อสร้าง ประสบปัญหาโดนโกงจนหมดตัว เป็นหนี้สิบกว่าล้าน จึงหันมาจำหน่ายพันธุ์กล้วย ปัจจุบันหนี้สินทั้งหมดถูกชำระหมดแล้วด้วยเงินจากอาชีพนี้

ส่วนเส้นทางการจำหน่าย คุณสมบัติจะออกตามงานเกษตรทั่วๆ ไป ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีจำหน่ายที่สวนในจังหวัดนนทบุรีอีกด้วยหากลูกค้าสนใจ “อย่างลูกค้าบางรายมาเจอแต่ซื้อกลับไม่ได้ ก็ให้เบอร์ติดต่อ นัดแนะมาซื้อที่บ้านที่จังหวัดนนทบุรีก็มี”

ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อ มีหลายกลุ่ม บางคนซื้อเก็บสะสม บางคนเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ชอบ รสชาติอร่อยไปปลูกกินเอง หรือปลูกเพื่อขายต่อไป

ราคาแต่ละสายพันธุ์ไม่เท่ากัน อย่างพันธุ์หายากจะมีราคาสูง เช่น กล้วยขนุน ราคา 800 บาท เป็นพันธุ์จากจังหวัดยะลาที่เกือบสูญพันธุ์แล้ว เวลาสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนขนุน เนื้อจะกรอบเหมือนขนุน ลูกมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยหอมทอง

อีกชนิดที่ราคาสูงไม่แพ้กันคือกล้วยร้อยปลี ซึ่งกล้วยชนิดนี้มีแต่หัวปลี ทานอร่อย และอีกชนิดที่ราคารองลงมา คือกล้วยเทพพนม ราคา 500 บาท เป็นกล้วยมงคลปลูกไว้เสริมบารมี ทานอร่อยรสชาติคล้ายกล้วยน้ำว้า

คุณสมเกียรติ เป็นชาวสวนผลไม้สามพรานที่ย้ายถิ่นฐาน

มาทำกินในพื้นที่อำเภอปากช่องตั้งแต่เมื่อ 36 ปีก่อน โดยปลูกไม้ผลนานาชนิด เช่น ฝรั่ง มะม่วง ฯลฯ ท้ายสุด ก็ตัดสินใจปลูกน้อยหน่า พันธุ์เพชรปากช่อง บนเนื้อที่ 50 ไร่ แต่หลังจากเจอน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 คุณสมเกียรติวางแผนโค่นต้นน้อยหน่าเพชรปากช่องทิ้ง เพื่อปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นหลัก เพราะปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตดก รสชาติตรงกับความต้องการของตลาด ให้ผลตอบแทนดี คุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่าน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ

“ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ติดผลง่ายสุดในบรรดาน้อยหน่าที่ผมเคยปลูกมา หลังปลูก 6 เดือน ก็เริ่มไว้ลูก จัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะปลูกแค่ปีเดียวก็มีผลผลิตให้เก็บกินได้” คุณ สมเกียรติ กล่าว

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีลักษณะลำต้น ใบ ดอก และผลใหญ่กว่าน้อยหน่าฝ้ายที่เป็นพันธุ์แม่ แต่เล็กกว่าเพชรปากช่องซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อร่วนไม่ติดกัน แยกเป็นพู เหมือนน้อยหน่าฝ้าย ลักษณะเด่นคือ ติดผลดก ผลปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 302.50 กรัม ต่อผล เนื้อมาก เมล็ดน้อย สุกช้า เฉลี่ย 4.50 วัน และอายุหลังการสุกยาวนาน ลักษณะพิเศษของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 คือ ผลสุกช้า เปลือกไม่เละ ไม่แตกง่าย เหมาะสำหรับการขนส่ง

นอกจากนี้ ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอายุหลังการสุกยาวนาน สามารถยืดอายุการขายได้นานเป็นสัปดาห์ ถือเป็นเสน่ห์สำคัญที่ผูกมัดใจแม่ค้าได้มากที่สุด เพราะช่วยให้แม่ค้ามีช่วงระยะเวลาการขายที่ยาวนานกว่าน้อยหน่าพันธุ์ทั่วไป ทุกวันนี้ คุณสมเกียรติปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 มากเท่าไร ก็มีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ลักษณะเด่นของ น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2

คุณสมเกียรติ แยกแยะลักษณะเด่นของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่แตกต่างจากน้อยหน่าทั่วไป ได้แก่

มีเเกนไส้ในเป็นสามเหลี่ยม แกะออกได้ง่าย แตกต่างจากน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ ที่มีแกนไส้กลม
ผลอ่อนมีกลิ่นเหม็นเขียว ส่วนผลสุกมีเปลือกสีเขียว ร่องลึก ผลสุกไม่มีสีเหลืองเหมือนกับน้อยหน่าพันธุ์อื่นๆ
ในอดีต เวลาซื้อน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายดั้งเดิมไปฝากใคร ต้องคัดเลือกผลสุกพอประมาณ ผู้รับก็ต้องรีบกินน้อยหน่าฝ้ายในทันที เพราะน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเนื้อสุกเร็วและเปลือกเละได้ง่าย แต่น้อยหน่าลูกผสม “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” ถูกปรับปรุงพันธุ์ให้มีเปลือกเหนียวมาก ทนทานต่อการทำลายของแมลงวันทองได้สบาย ข้อดีอีกอย่างคือ เวลาบริโภคสามารถใช้ช้อนตักเนื้อน้อยหน่าเข้าปากได้ง่าย เพราะเปลือกไม่ทะลุเหมือนกับน้อยหน่าสายพันธุ์อื่น

“น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงวันทอง เพราะน้อยหน่าพันธุ์นี้มีเปลือกหนา ทำให้แมลงวันทองวางไข่ได้ยากมาก ยกเว้นกรณีที่เกษตรกรปล่อยน้อยหน่าผลแก่ไว้คาต้น อายุประมาณ 120 วัน หลังติดดอก เมื่อผลน้อยหน่าสะสมแป้งไว้มาก ทำให้ผลแตก ขั้วแตก เปิดโอกาสให้แมลงวันทองเข้าไปวางไข่ ทำให้ผลผลิตเสียหายในที่สุด” คุณสมเกียรติ กล่าว

การเก็บเกี่ยว

น้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอายุการเก็บเกี่ยว 100-120 วัน นับจากวันที่ติดดอก เกษตรกรนิยมเก็บผลสุกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หากยังไม่สะดวก สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปได้อีกเป็นสัปดาห์ แต่การเก็บผลแก่ในระยะดังกล่าว มักได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดี สังเกตได้จากร่องผลมีรอยตื้น เจอปัญหาผิวแตกลายงา ขั้วมีอาการแตกร้าว เนื้อน้อยหน่าจะหนาขึ้น และมีเนื้อแป้งเยอะขึ้น ชิมแล้วจะรู้สึกว่ามีรสมันมากขึ้น มีรสอร่อยน้อยลง

หากต้องการบริโภคน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่มีรสชาติอร่อย คุณสมเกียรติ แนะนำว่า ควรเลือกซื้อน้อยหน่าที่เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 100 วัน นับจากวันที่ติดดอก เรียกว่าเก็บผลผลิตได้ไวกว่าน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง ที่มักเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 120 วัน นับจากวันที่ติดดอก

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 อร่อยสุดยอด

คุณสมเกียรติ บอกว่า น้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เมื่อเปรียบเทียบรสชาติกับน้อยหน่าสายพันธุ์อื่นๆ ถือว่า กินขาด แต่หากเปรียบเทียบขนาดผลแล้ว ถือว่ามีขนาดผลเล็กกว่าน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง เพราะน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อผลเพียงแค่ 1.8 กิโลกรัม เท่านั้น ขณะที่น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องมีขนาดผลใหญ่ยักษ์กว่า โดยมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล ประมาณ 2.4 กิโลกรัม

“น้อยหน่าไซซ์ยักษ์เหมาะสำหรับทำโชว์ผลหรือประกวดผลผลิตเป็นหลัก เพราะโดยทั่วไปแม่ค้านิยมซื้อขายน้อยหน่าที่มีขนาดผลไม่ใหญ่มาก น้ำหนักเฉลี่ยผลละครึ่งกิโลกรัมเท่านั้น รสชาติความหวานของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 สูงกว่า 10 บริกซ์ เรียกว่ารสหวานกว่าน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายดั้งเดิม แต่ระดับความหวานใกล้เคียงกับเพชรปากช่อง” คุณสมเกียรติ บอก

หากใครผ่านไปทางปากช่องก็สามารถแวะเข้าเยี่ยมชมสวนน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ของคุณ สมเกียรติได้ทุกวัน หากมีข้อสงสัยเรื่องการปลูกดูแล หรือสนใจอยากได้พันธุ์น้อยหน่าฝ้ายเขียว เกษตร 2 ไปลองปลูก ก็ติดต่อสอบถามจาก

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้มะพร้าวของไทย ปี 2564 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2564) ซึ่งคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตมะพร้าวรวม 0.876 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิต 0.827 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) โดยผลผลิตปีนี้ ทยอยออกสู่ตลาดมาตั้งแต่เดือนมกราคม และจะออกมากไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 คิดเป็นปริมาณรวม 0.644 ล้านตัน (ร้อยละ 73 ของผลผลิตทั้งประเทศ) ในขณะที่ความต้องการใช้ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ประมาณ 1.269 ล้านตัน จึงคาดว่า ในปีนี้จะมีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์ 0.418 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ความต้องการใช้ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลง โดยพบว่า ราคามะพร้าวที่เกษตรกรขายได้ในเดือนมิถุนายน 2564 เฉลี่ย 10.67 บาท/ผล ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีราคาผลละ 12.98 บาท หรือลดลงร้อยละ 18

สำหรับการบริหารจัดการนำเข้ามะพร้าว คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เห็นชอบการกำหนดช่วงเวลานำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ในช่วงที่ 1 เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และ ช่วงที่ 2 เดือนกันยายน – ธันวาคม (รวม 6 เดือน) ทั้งนี้ เพื่อให้สัดส่วนการนำเข้าและการรับซื้อผลผลิตในประเทศมีความสมดุลกับปริมาณผลผลิต และไม่กระทบต่อราคามะพร้าวผลที่เกษตรกรขายได้ ซึ่งต่อมา คณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้มีการพิจารณาช่วงเวลานำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ช่วงที่ 2 คือ ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 โดยจะใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าว ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2564 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้า

“ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีความต้องการนำเข้ามะพร้าว ภายใต้ความตกลง AFTA ช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 ควรรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศให้มากขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านราคาและปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดกระจุกตัวในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม โดยผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมทั้งขอให้จัดส่งเอกสารเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา มายัง สศก. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าว ภายในวันที่ 13 สิงหาคมนี้

ทั้งนี้ ท่านสามารถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร โทร. (02) 579-0611 ได้ตลอดในวันและเวลาราชการ” รองเลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย

“ทฤษฎีใหม่” ทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้วางรากฐานและพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน

หลายชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ปรับใช้กับอาชีพเพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กับครอบครัว ดังเช่น คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล ที่วันนี้เขาหันหลังให้กับเงิน เดินกลับมารับหน้าที่เป็นหมอดินอาสาประจำตำบลทุ่งบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พัฒนาสานอาชีพเกษตรกรรมต่อ

คุณณรงค์ หรือ คุณป๊อป เรียนจบด้านศิลปะ เคยทำงานออกแบบดิสเพลย์สินค้าให้บริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ก่อนเป็นทหารรับใช้ชาติ 2 ปี เมื่อหมดหน้าที่ตั้งใจกลับไปหางานทำใหม่อีกครั้งในกรุงเทพฯ แต่จังหวะนั้นทางบ้านมีหนี้สินจากการลงทุนทำนา

“หนี้สินที่เกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ หมดไปกับปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนพืช และสารเคมีต่างๆ เพราะครอบครัวมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีน้อย จะฉีดพ่นสารเคมีหรือใส่ปุ๋ยจะกำหนดตามระยะเวลา ตามรอบที่เคยทำมา ซึ่งบางช่วงเวลาต้นข้าวไม่ได้ต้องการสารเคมีบางตัว ส่งผลต่อต้นทุนเพิ่มขึ้นโดยที่ปริมาณข้าวกลับได้เท่าเดิม บางปีลดลง” คุณป๊อป เล่าถึงการผันตัวมาทำการเกษตร

คุณป๊อป หันหลังจากเมืองกรุง กลับบ้านเกิดที่ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาช่วยพ่อแม่ทำการเกษตร ภายใต้แนวคิด “เงินดิน” แทน “เงินเดือน” ทั้งๆ ที่ตัวเองขณะนั้นมีความรู้การทำนาไม่มาก แม้ครอบครัวจะทำนามายาวนาน แต่ตนเองไม่เคยทำมาก่อน แต่การเข้ามารับช่วงต่อ เขากลับมีหลักคิดว่านาของเขาจะต้องไม่ทำลายธรรมชาติและไม่ทำร้ายผู้คนเด็ดขาด

“ผมย้อนกลับไปคิดถึงรุ่น ปู่ ย่า ตา ยา ว่าที่ผ่านมาพวกเขาทำการเกษตรกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ผลผลิตยังออกมาดีและมีคุณภาพได้ ถึงแม้ยุคจะเปลี่ยนผ่านมาถึงปัจจุบันที่ความต้องการด้านอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหลายคนเพิ่มปริมาณโดยที่ไม่คิดถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค”

บทเรียนที่ผ่านมาผลักดันให้คุณป๊อปสนใจทำเกษตรอินทรีย์ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทุกประเภท โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีบทบาทให้ความรู้อบรม การบริหารจัดการพื้นที่ทำการเกษตร การทำนาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการวิเคราะห์ดิน ตรวจแร่ธาตุในดิน รวมถึงการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เกื้อกูลกันอย่างลงตัว พื้นที่นากว่า 60 ไร่ คุณป๊อป ปรับแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ นาข้าว 40 ไร่ อีก 20 ไร่ ประยุกต์มาปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โรงสีข้าว ถมดินสร้างทางเดิน ปลูกผัก ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และขุดสระทำประมง กักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง เพื่อสร้างห่วงโซ่อาหารที่ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

“ปัจจุบันเราทำรูปแบบผสมผสาน กระบวนการทุกอย่างภายในฟาร์มที่ผลิตออกมาสามารถใช้วนอยู่ในฟาร์มได้ ทุกอย่างเน้นทำเป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รอบแปลงนาข้าวขุดร่องน้ำ ปลูกไม้ขนาดกลางและใหญ่ เป็นแนวป้องกันลม คันบ่อปลูกหญ้าแฝกเพิ่มความชุ่มชื้น ผสมกับปลูกกล้วยหอม มะละกอ และพืชผักสวนครัวอื่นๆ ซึ่งการปลูกผสมผสานนี้ ทำให้เรามีรายได้เข้ามาตลอด ทั้งสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติอีกทางหนึ่ง”

คุณป๊อป นำแนวทางที่อบรมมาประยุกต์ใช้ในแปลงนา หยุดใช้สารเคมี ไม่เผาตอซังข้าว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลวัว หมู ไก่ เป็ด ที่เลี้ยงไว้ นำวัสดุเหลือใช้ในไร่นามาใช้เป็นอาหารสัตว์ ส่วนหนึ่งนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และใช้น้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ทำให้ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น

พูดถึงรายได้ คุณป๊อป บอกว่า มีรายได้เข้ามาทุกวัน พืชผัก อย่างชะอม ไข่จากเป็ดและไก่ คือรายได้รายวัน รายเดือนเป็นกล้วยหอม มะละกอ ส่วนรายปีคือข้าว ที่แม้ปริมาณผลผลิตน้อยกว่าแปลงนาทั่วไป แต่มีคุณค่าทางอาหารและความปลอดภัยสูง ข้าวที่ผลิตจากแปลงนาที่ลด ละ เลิกสารเคมีแห่งนี้ สร้างทั้งกำไรชีวิตให้กับเขาและครอบครัว

วันนี้บนพื้นที่ 60 ไร่ ได้พัฒนากลายเป็นโรงเรียนชาวนาของเยาวชน ตำบลทุ่งบัว เป็นแปลงนาสาธิตเกษตรกรรมธรรมชาติ ที่ใช้คัดเลือกและอนุรักษ์ข้าวสายพันธุ์ “นครชัยศรี” ที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ การปลูก การสี จนไปถึงการตลาดที่เริ่มต้นจากตลาดในชุมชน เพื่อให้คนในพื้นที่ได้บริโภคของที่ดีและปลอดภัย

“การทำงานทุกอาชีพมีความสำคัญหมดทุกอาชีพ มีเกียรติ การได้รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของอาชีพตนเอง มันย่อมนำมาถึงความภาคภูมิใจของตนเอง ในการที่เราเลือกแล้วในอาชีพนั้น ผมภูมิใจในอาชีพชาวนา ได้รักษาเกียรติของชาวนา ก็คือการได้ทำข้าวที่ปลอดภัย”

“จากอาชีพคนเมือง พลิกตัวเองจนกลายเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่ผ่านการเรียนรู้ ลงมือทำ ผ่านช่วงเวลาท้อแท้ ผิดหวัง ท้อใจ เหมือนคนทั่วไป ถึงอย่างนั้นก็ไม่เคยท้อถอย จนสามารถลุกขึ้นยืนหยัดอย่างสง่างาม ด้วยการสานต่ออาชีพของบรรพบุรุษ” คุณป๊อป ฝากทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูล หรือเข้าศึกษาดูงาน ได้ที่ คุณป๊อป หรือ คุณณรงค์ กลิ่นถือศีล ประธาน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอนครชัยศรี บ้านเลขที่ 108/1 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ข่าวดีต้อนรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (22 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา) นักวิชาการไทยค้นพบพืชวงศ์ขิง 8 ชนิดใหม่ของโลก อาทิ “กระเจียวจรัญ”, “กระเจียวรังสิมา”, “ขมิ้นน้อย”, “ขมิ้นพวงเพ็ญ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิงและนักพฤกษศาสตร์ของไทย นอกจากนี้ ยังพบพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทยอีก 1 ชนิด เตรียมศึกษาอนุรักษ์ระยะยาว

รศ.ดร.สุรพล แสนสุข นักวิจัยสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และ ผศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อดำเนินโครงการองค์ความรู้พื้นฐานโครโมโซมของพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย โดยในช่วง ปี 2563 ที่ผ่านมา ได้สำรวจและเก็บข้อมูลพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย เพื่อนำตัวอย่างพืชมาศึกษาโครโมโซม และได้ตรวจสอบลักษณะพืชเพื่อจำแนกพืชให้ได้ชื่อวิทยาศาสตร์พืชแต่ละชนิด แบ่งเป็นสกุลขมิ้นหรือสกุลกระเจียว (Curcuma) 6 ชนิด และสกุลเปราะ (Kaempferia) 2 ชนิด มีลักษณะพืชที่แตกต่างและไม่ตรงกับพืชชนิดอื่นๆ ถือพืชชนิดใหม่ของโลก โดยผู้วิจัยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช และได้ตีพิมพ์ในวารสาร Biodiversitas เรียบร้อยแล้ว

ชนิดที่ 1 ขมิ้นน้อย หรือ “Khamin-Noi” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma chantaranothaii Boonma & Saensouk พบทางเป็นพืชป่าจากจังหวัดนครนายก ที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศไทย ชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร. ประนอม จันทรโณทัย ซึ่งท่านเป็นนักพฤกษศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงในแวดวงพฤกษศาสตร์ของประเทศไทยและของโลก

ชนิดที่ 2 กระเจียวรังสิมา หรือ “Krachiao Rangsima” หรืออีกชื่อคือ “บุษราคัม หรือ Bussarakham” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma rangsimae Boonma & Saensouk พบในจังหวัดนครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา ชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตั้งเป็นเกียรติแก่ คุณรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส โปรแกรมการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติบุคคลที่อยู่เบื้องหลังและสนับสนุนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

ชนิดที่ 3 ขมิ้นพวงเพ็ญ หรือ “Khamin-Puangpen” เว็บบาคาร่า UFABET มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma puangpeniae Boonma & Saensouk พืชชนิดนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พืชชนิดนี้พบที่จังหวัดราชบุรี ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้เป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย

ชนิดที่ 4 กระเจียวจรัญ หรือ “Krachiao Charan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma charanii Boonma & Saensouk อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พืชชนิดนี้พบที่จังหวัดลพบุรี ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้เป็นเกียรติแก่ ดร. จรัญ มากน้อย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ขิง โดยเฉพาะสกุล Curcuma ในประเทศไทย

ชนิดที่ 5 พญาว่าน หรือ “Phraya Wan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma phrayawan Boonma & Saensouk พบที่จังหวัดนครนายก และปลูกเป็นพืชสมุนไพรทั่วไทย ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตามชื่อพื้นเมืองที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ “พญาว่าน”

ชนิดที่ 6 กระเจียวม่วง หรือ “อเมทิสต์” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma purpurata Boonma & Saensouk พบที่จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์พืชชนิดนี้ตามสีม่วงของดอกพืช

รศ.ดร. สุรพล กล่าวต่อว่า สำหรับพืชวงศ์ขิงที่พบเพิ่มเติมแต่อยู่ในสกุลเปราะ (Kaempferia) 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 7 นิลกาฬ หรือ “Nillakan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia nigrifolia Boonma & Saensouk พืชชนิดใหม่ของโลกนิลกาฬนี้ได้ตั้งขึ้นตามลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีสีดำ พบทางภาคกลางของประเทศไทย ได้ศึกษาโดย รศ.ดร. สุรพล แสนสุข คุณธวัชพงศ์ บุญมา และ ผศ.ดร. ปิยะพร แสนสุข ชื่อพื้นเมือง คือ นิลกาฬ หรือ Nillakan ตั้งขึ้นตามลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีสีดำ ดังนั้น ลักษณะเด่นคือ ใบสีดำ ดอกสีม่วง

ชนิดที่ 8 ว่านกระชายดำเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia pseudoparviflora Saensouk and P. Saensouk ลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีใบเดียว ก้านช่อดอกสั้น และช่อดอกอัดแน่น พบทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ศึกษาโดย รศ.ดร. สุรพล แสนสุข และ ผศ.ดร. ปิยะพร แสนสุข ชื่อพื้นเมืองคือ ว่านกระชายดำเทียม

และ ชนิดสุดท้าย เป็นพืชวงศ์ขิงที่มีการรายงานใหม่ในประเทศไทย 1 ชนิด คือ ว่านหัวน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma peramoena Souvann. & Maknoi. พบครั้งแรกที่ สปป. ลาว และมีการพบในประเทศไทยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะเด่น ช่อดอกอัดแน่น ดอกสีขาวปนสีชมพูอ่อน กลีบปากมีแถบสีเหลือง

ช่วงที่หยอดเมล็ดลงถุง หยอด 4-5 เมล็ดต่อถุงต้นจะงอกอย่างต่ำ

เมื่อนำลงปลูก ยามที่มีดอก ให้เลือกต้นกระเทยไว้เพียง 1 ต้นต่อหลุมเท่านั้น งานปลูกมะละกอเรื่องน้ำมีความสำคัญมาก น้ำดีมะละกอให้ผลผลิตดีปลูกใหม่ๆเจ้าของให้น้ำทุกวันๆละ 30-45 นาที สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือความชื้น หากฝนตก เวลาการให้น้ำก็ลดลง

ปลูกได้ 14 วัน ให้ปุ๋ย จากนั้นก็ให้ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน เป็นสูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 16-16-16 จำนวนครึ่งช้อนกินข้าว หว่านใต้ทรงพุ่ม เมื่อขณะที่เก็บผลผลิตอยู่ เห็นว่า มะละกอยอดยืดเกินไปก็ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 บ้าง ให้ยอดสั้นลง

ปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่เนื้อหรือมูลสัตว์อย่างอื่น อาจจะใส่ให้ให้ทุก 3 เดือนหลังปลูก 40 วัน มะละกอเริ่มมีดอก นับจากปลูก 7 เดือนก็เริ่มเก็บผลผลิตได้อาจจะเก็บเป็นมะละกอส้มตำหรือมะละกอสุก

ราคาขายได้ราคาสูงสุด 15 บาท ต่ำสุด 4 บาท แต่เฉลี่ยแล้ว 8-10 บาท อายุการเก็บเกี่ยวมะละกอแขกดำหนองแหวนมีระยะเวลา 12 เดือน จากนั้นปริมาณผลผลิตที่ได้ จะไม่คุ้มกับปัจจัยการผลิต รวมระยะเวลาที่เจ้าของต้องดูแลมะละกอเป็นเวลา 20 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เพาะกล้า มะละกอแขกดำหนองแหวนให้ผลผลิตดก รายได้ต่อต้นในช่วงที่เขาให้ผลผลิต อยู่ที่ 1,000 บาท พื้นที่ 1 ไร่ มี 250 ต้น เจ้าของจะมีรายได้ 250,000 บาท ต่อระยะเวลา 20 เดือน ดูตัวเลขแล้วสูง แต่การลงทุนไม่ใช่น้อย ปัจจัยการผลิตต้องเต็มที่อย่างปุ๋ยให้ทุก 15 วัน น้ำต้องดี การตลาดต้องชัดเจน

มีผู้ปลูกมะละกอแขกดำหนองแหวน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ข้อมูลที่แนะนำมา เป็นการปลูกมะละกอแขดำหนองแหวนในหลายพื้นที่ ชาวบ้านตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่รู้จักกันว่า บ้านคีรีวง มีอาชีพหลัก คือการทำสวนผลไม้ผสม รวมกันหลายชนิดที่เรียกว่า “สวนสมรม” เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน สะตอ ฯลฯ อยู่บนพื้นที่ภูเขาหลวงที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งดิน น้ำ และอากาศ จึงทำให้ผลไม้ที่จากแหล่งนี้มีคุณภาพทั้งรสชาติและขนาด โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุน และเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีตลาดรองรับแน่นอนตลอดทั้งปี

นอกจากคุณภาพไม้ผลที่เป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาชิมกันอย่างคับคั่งในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูผลไม้เมืองใต้แล้ว การลำเลียงผลไม้จากบนภูเขาผ่านเส้นทางลัดเลาะ ขรุขระด้วยพาหนะอย่างมอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาใช้บรรทุกผลไม้ ถือเป็นเสน่ห์ของวิถีการทำสวนผลไม้ที่หาดูได้ยาก

คุณสมชาย ชำนิ อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ (084) 845-1634 มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้หลายชนิด ปลูกในพื้นที่เดียวกัน อาทิ ทุเรียนหมอนทอง มังคุด และลางสาดเล็กน้อย ใช้พื้นที่ 20 ไร่

คุณสมชายให้ข้อมูลว่า ไม้ผลที่ตัวเองและชาวบ้านแถวนี้ปลูกมีวิธีคิดเหมือนกัน คือไม่ได้เน้นขายเชิงพาณิชย์ พื้นที่ปลูกมีลักษณะเป็นภูเขาที่มีป่าล้อมรอบ อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ดังนั้น ความจำเป็นเรื่องการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์จึงน้อยลง เพราะธรรมชาติดูแลกันเอง ศัตรูทางธรรมชาติแทบจะไม่มี จึงเห็นได้ว่าคุณภาพของผลไม้จากแหล่งนี้มีความสมบูรณ์อย่างมากทั้งรสชาติและขนาด

คุณสมชายปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีจำนวน 20 ต้น มีอายุต้นไม่เท่ากัน เพราะต้องปลูกทดแทน แต่ส่วนมากอายุเฉลี่ย 10-25 ปี ต้นพันธุ์มีทั้งซื้อมาจากสุราษฎร์ธานี หรืออาจขยายพันธุ์เองด้วยต้นพันธุ์เป็นทุเรียนพื้นบ้านแล้วใช้ยอดหมอนทองมาเสียบ เนื่องจากทุเรียนพื้นบ้านแข็งแรง ทนทาน

“ควรสำรวจพื้นที่บริเวณที่จะขุดหลุมปลูกก่อนว่าเป็นเส้นทางของมด ปลวก หรือแมลงอะไรที่มารบกวนหรือไม่ เพราะดินที่ติดมากับต้นพันธุ์เป็นขุยมะพร้าว ขี้แกลบ ซึ่งมดชอบแล้วจึงขุดหลุมปลูกขนาด 30 หรือ 50 เซนติเมตร ลึกเล็กน้อยเพราะต้องการให้โคนต้นโผล่พ้นปากหลุมเพื่อจะใช้ดินกลบโคนคล้ายหลังเต่าป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ส่วนระยะต้น 9 คูณ 9 เมตร แล้วใช้พื้นที่ระหว่างต้นทุเรียนแซมด้วยมังคุด เพราะเป็นระยะที่ทรงพุ่มไม่เบียดกัน”

ช่วงที่รอใบอ่อนแตกระยะ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพียงช้อนกาแฟต่อต้น ให้ใส่ 2-3 เดือน ต่อครั้ง โดยในช่วงใบอ่อนแตกถือว่าสำคัญเพราะจะเกิดเพลี้ยไก่แจ้ที่มีจุดขาวเป็นกลุ่ม ให้ใช้ยาฉีดพ่นเล็กน้อย อีกทั้งยังอาจเจอเพลี้ยไฟหรือโรคราน้ำค้างเข้าทำลายใบจึงควรเด็ดใบทิ้งไม่ต้องใช้ยา

ในช่วงทุเรียนมีอายุ 2-3 ปี ก็ยังใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพียงแต่ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็น 2 กิโลกรัม ต่อต้น แต่ถ้าใช้อินทรียวัตถุใส่ 3-4 กิโลกรัม ต่อต้น โดยใส่ปีละ 1-2 ครั้ง สำหรับคุณสมชายเลือกใส่อินทรียวัตถุ เพราะต้องการปรับค่าความเป็นกรด/ด่างในดินเพื่อให้ดินมีความสมดุลของแร่ธาตุแล้วยังตัดเศษใบไม้หรือหญ้าหมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดด้วย

คุณสมชาย บอกว่า ถ้าใส่ใจให้ปุ๋ยเต็มที่ ดูแลเรื่องน้ำและวัชพืชต่างๆ อย่างดีจะให้ผลผลิตในเวลา 5 ปีจากเริ่มมีดอก แต่ยังไม่เก็บเพราะต้นยังอายุน้อยไป แต่จะปล่อยให้ทุเรียนสะสมอาหารให้เต็มที่เสียก่อนจนถึงเวลาประมาณ 8 ปี จึงเริ่มทำผล โดยรุ่นแรกๆ มักจะเก็บไว้ไม่เกิน 15 ผล ต่อต้น น้ำหนักต่อผลประมาณ 4 กิโลกรัม

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีดอกจนเก็บผลผลิตประมาณ 120 วัน คุณสมชายชี้ว่า ตอนผลอ่อนต้องระวังหนอนเจาะกินเมล็ดใน แล้วยังมาวางไข่ หรือหนอนที่ชอบชอนไชผิวทุเรียนหรือผีเสื้อกลางคืน อาจป้องกันด้วยสารเคมีจางๆ ผสมน้ำในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดที่ทรงพุ่ม ผสมไปกับปุ๋ยเกล็ดเพื่อบำรุงใบ

ส่วนแหล่งน้ำมาจากน้ำตกแล้วต่อท่อเข้ามาใช้ในสวน ที่ผ่านมาไม่เคยประสบปัญหาขาดน้ำ แต่ถ้าเป็นช่วงกำลังเปลี่ยนจากดอกเป็นผลหรือช่วงหางแย้จะต้องรดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ขาด มิเช่นนั้นผลอ่อนจะลีบแห้งเสียหาย

ทุเรียนหมอนทองมีน้ำหนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อผล จะตัดขายประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เปลือกบาง หวานมัน ขนาดเมล็ดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับรูปทรงและขนาด หนามสีน้ำตาลไม่เขียวเหมือนแถวชุมพร เพราะเติมแคลเซียมโบรอน จึงเป็นจุดเด่นของทุเรียนหมอนทองคีรีวง

ที่ผ่านมา ได้ผลผลิตทุเรียนรวมกว่า 1 ตัน ราคาขายส่งหน้าสวนกิโลกรัมละ 70 บาท โดยมีพ่อค้ามาตีราคาที่สวนก่อน ขณะเดียวกัน เจ้าของสวนจะเลือกพ่อค้ารายที่ให้ราคาพอใจที่สุดจึงตกลง ทั้งนี้ การขายจะคละขนาดเหมาสวน แล้วตกลงให้ผู้ซื้อทำหน้าที่เก็บจากต้น ส่วนเจ้าของสวนมีหน้าที่ลำเลียงทุเรียนบรรทุกใส่รถมอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาลงไปที่ลาน ส่งให้พ่อค้านำไปขายที่ตลาดกลางชุมพร

ปลูกมังคุด

มังคุดเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ใช้วิธีขยายพันธุ์จากเมล็ด หรือถ้าเป็นต้นอ่อนที่เกิดจากเมล็ดร่วงจะแซะมาปลูก จำนวนต้นมังคุดประมาณ 200 ต้น มีหลายรุ่นอายุเฉลี่ย 30 ปี การปลูกมังคุดจะดูความเหมาะสมว่าบริเวณใดควรปลูก ถ้ามีพื้นที่ว่างก็จะปลูกแซม อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้ผลแต่ละชนิดของคุณสมชายเป็นแนวทางแบบชาวบ้านที่มักดูความเหมาะสมของไม้ผลแต่ละชนิดว่าสมควรปลูกตรงไหน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแสงแดดและน้ำ อีกทั้งยังเพื่อช่วยให้การดูแลจัดการเป็นไปได้ง่าย ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

เมล็ดปลูกใช้เวลาประมาณ 4 ปี จึงเริ่มแตกกิ่ง ใบ จากนั้นนำลงดิน โดยต้องปลูกให้เสมอผิวดิน ส่วนวิธีปลูกมังคุดทั้งเรื่องใส่ปุ๋ย ดูแลเหมือนกับทุเรียน อย่างไรก็ตาม มังคุดเป็นไม้ผลที่มีความแข็งแรง ทนทานกว่าทุเรียน ไม่ค่อยพบโรค ไม่จำเป็นต้องใส่ยาประเภทใดทั้งสิ้น มังคุดใช้เวลา 6 ปีจึงเก็บผลได้

ช่วงที่มังคุดแถบคีรีวงออกพร้อมกันคือเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงตุลาคม ช่วงเริ่มมีผลผลิตใหม่ๆ ราคาสูง ผ่านไปเล็กน้อยราคาลดลงอย่างรวดเร็วเพราะทุกสวนได้ผลผลิตพร้อมกัน สวนคุณสมชายเก็บผลมังคุดเมื่อปี 2561ได้ปริมาณตันกว่า มีรายได้จากการขายมังคุดแสนกว่าบาท

“จำนวนมังคุด 7-8 ผล ต่อกิโลกรัม อันนี้คละขนาด แต่ถ้าคัดเฉพาะผลใหญ่ได้ 5 ผล ต่อกิโลกรัม เป็นมังคุดท้องถิ่นของคีรีวงที่มีชื่อว่า มังคุดภูเขา ที่มีลักษณะผลใหญ่กว่ามังคุดที่อื่น สีชมพู เปลือกหนา เพราะเกิดจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา มีความชื้น ปลูกร่วมกับป่าตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารเคมีเร่งหรือกระตุ้น”

อาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างบรรทุกผลไม้ เอกลักษณ์ที่หาดูยาก

จุดเด่นที่คีรีวงคงไม่เพียงคุณภาพผลไม้ แต่ที่เลื่องชื่อแล้วดูน่าสนใจคงเป็นเรื่องวิธีเก็บผลไม้ของชาวบ้านที่ปลูกบนเขา มีเส้นทางคดเคี้ยวแคบ บางจุดสูงชัน มีระยะทางไกล ทำให้รถกระบะไม่สามารถสัญจรได้ จึงมักว่าจ้างคนในหมู่บ้านบรรทุกผลไม้ชนิดต่างๆ ลงมาจากภูเขาด้วยการใช้มอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาใช้บรรทุกผลไม้ เกิดอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างเฉพาะกิจ โดยใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนดราคา ถ้าสวนอยู่ลึกไกลมากจะมีค่าใช้จ่ายมากหน่อย ทั้งนี้ แต่ละสวนจะมีทีมงานที่เคยว่าจ้างกันเป็นประจำ

หมู่บ้านคีรีวงถือเป็นแหล่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ป่าไม้และสายน้ำ จนเป็นที่ขึ้นชื่อว่า “หมู่บ้านที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทย” ชาวบ้านทุกครัวเรือนมีวิถีชีวิตที่สงบช่วยเหลือพึ่งพากันจนเกิดเป็นสังคมแบบเครือญาติ ทั้งยังเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบชาวสวนอยู่กับธรรมชาติ

ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ถือเป็นช่วงหน้าผลไม้กำลังออกชุก ทั้งทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด จำปาดะ สะตอ แถมยังได้ชมวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ชิมอาหารและขนมพื้นบ้านแสนอร่อย พร้อมกับที่พักในแบบธรรมชาติ จึงเป็นที่ถูกใจของนักท่องเที่ยวแนวนิยมไพรต่างปักหมุดไปที่หมู่บ้านคีรีวงกันอย่างคึกคัก…แล้วท่านจะมัวรอทำไม

เห็ด เป็นอาหารโปรตีนพื้นบ้านที่นิยมกินกันมาก โดยเฉพาะบริเวณที่มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ พอเริ่มเข้าหน้าฝนเห็ดนานาชนิดมีให้กินกันอย่างสำราญ บางชนิดก็เหลือเฟือขนาดเก็บมาขายจนเป็นอาชีพเสริมได้ในหน้าฝน ได้เงินกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะสนนราคาสิ่งจูงใจ เห็ดที่เก็บจากป่าเกือบทุกชนิดมีราคาแพงกว่าหมูกว่าไก่ ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในท้องตลาด

เห็ดเยื่อไผ่ เกิดในธรรมชาติ ชาวจีนนิยมบริโภคเห็ดเยื่อไผ่ตั้งแต่ก่อนสร้างกำแพงเมืองจีน เพราะเห็ดเยื่อไผ่เป็นหนึ่งในยาบำรุงร่างกายของจิ๋นซีฮ่องเต้และบรรดาขุนนางชั้นสูงของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลอเมริกาได้ส่ง นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาไปเจรจาการค้าที่ประเทศจีน จึงมีโอกาสกินเห็ดเยื่อไผ่กับประธานเหมาและนายโจเอินไหล นายเฮนรี่ พูดถึงความอร่อยของเห็ดเยื่อไผ่ ต่อมาอีกไม่นานนายเฮนรี่ได้ไปเยือนจีนอีกครั้ง ก็ได้รับการต้อนรับด้วยเมนูเห็ดเยื่อไผ่ที่ปรุงขึ้นเป็นพิเศษตามความชอบของท่าน เห็ดเยื่อไผ่จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

คนไทยเพิ่งจะรู้จักกินเห็ดเยื่อไผ่เมื่อไม่กี่สิบปีนี้ ในตอนแรกๆ เห็ดเยื่อไผ่มีราคาแพง เป็นเมนูอาหารขายในภัตตาคารหรือเสิร์ฟบนโต๊ะจีนในราคาค่อนข้างแพง ต่อมาเมนูอาหารเห็ดเยื่อไผ่จึงแพร่หลายไปตามร้านขายอาหารต่างๆ สนนราคาถ้วยละประมาณ 50 บาท ในร้านขายติ่มซำอาหารเช้ามักจะมีเมนูเห็ดเยื่อไผ่ตุ๋นยาจีน และเห็ดเยื่อไผ่น้ำแดงขายให้แก่ผู้สนใจ

สรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ ที่คนทั่วไปรู้จักคือ เป็นยาโด๊ป เพราะเห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโปรตีน 15-18 เปอร์เซ็นต์ มีกรดอะมิโนถึง 16 ชนิด จากกรดอะมิโนทั้งหมด 20 ชนิด ที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโนทั้ง 16 ชนิดที่ว่านี้ เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ถึง 7 ชนิด

จากการสกัดสารจากเห็ดเยื่อไผ่พบสารสำคัญ 2 ชนิดที่เป็นตัวช่วยปกป้องระบบประสาทไม่ให้เกิดการทำลายของสารพิษ ทั้งกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทและสมองได้ นอกจากนี้ ยังมีสารอัลลันโทอินที่มักพบในเมือกหอยทาก ซึ่งเห็ดเยื่อไผ่มีสารอัลลันโทอินมากกว่าเมือกหอยทากหลายเท่าตัว ซึ่งสารชนิดนี้ ออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบและการระคายเคืองของผิว ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ลดริ้วรอยและเร่งการผลิตเซลล์ผิวใหม่ สารอัลลันโทอินจึงถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางหลากหลายชนิด

คุณปราณี เพชรสวัสดิ์ เจ้าของกิจการ “ปราณีฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 119 หมู่ที่ 14 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (095) 462-8982 เล่าให้ฟังว่า ฟาร์มแห่งนี้เพาะเห็ดเยื่อไผ่มาหลายปีแล้ว โดยศึกษาหาความรู้จาก ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ปรมาจารย์ด้านเห็ด

การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ขั้นแรกต้องทำเชื้อก่อน สูตรที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อ เป็นสูตร RDA คือ ใช้มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กลูโคส 20 กรัม ผสมกันแล้วต้มให้มันฝรั่งเปื่อย ใส่ขวดแก้วทิ้งไว้ให้เย็น นำหมวกเห็ดมาเขี่ยสปอร์เชื้อเห็ดใส่ วางไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 วัน หากอากาศหนาว เชื้อเดินค่อนข้างช้ากว่าปกติ เมื่อเชื้อเดินดีแล้ว ให้นำมาเขี่ยใส่ขวดเพาะเชื้อ โดยใช้สูตร ข้าวฟ่างนึ่ง จนสุกดีแล้วนำมาผึ่งให้คลายร้อน แล้วบรรจุขวดเพียงครึ่งขวด รอให้เชื้อเดินจนเต็มที่

คุณปราณีใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 94 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์ ปูนขาว 0.8 เปอร์เซ็นต์ ดีเกลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาบรรจุถุง ขนาดของถุงที่บรรจุเชื้อเห็ดปกติแต่ใส่ในปริมาณแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 500-600 กรัม ซึ่งถ้าใส่วัสดุจนเต็ม เชื้อเห็ดจะเดินช้ากว่าปกติ และมีโอกาสเป็นเชื้อราดำได้มาก เมื่อบรรจุถุงเสร็จแล้ว นำมาเก็บในอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เพราะก้อนเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วจะไม่มีรารบกวน

วัสดุที่เตรียมเพาะเห็ดคือ มะพร้าวสับแช่น้ำให้ชุ่ม อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โรยชั้นล่างสุดของตะกร้า ขนาด 40 คูณ 50 เซนติเมตร โรยสูงประมาณ 1 นิ้ว ส่วนชั้นที่สอง โรยด้วยไม้ไผ่สับชิ้นเล็กๆ หรือเป็นขี้เลื้อยไม้เก่าก็ได้ แต่ก่อนนำมาใช้ต้องแช่ด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจาวปลวก 7 วัน นำมาโรยเป็นชั้นที่สอง หนาประมาณ 1 นิ้ว

ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นหน้าดินหมัก โรยหนาประมาณ 2 นิ้ว หน้าดินหมักมีส่วนผสมตามสูตรคือ หน้าดินทั่วไป จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการตากแดดจัด อย่างน้อย 5 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงหรือสัตว์ที่กัดกินเห็ดให้ตายให้หมด ขุยมะพร้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ขี้วัว 20 เปอร์เซ็นต์ หมักน้ำจุลินทรีย์หรือใส่จุลินทรีย์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน หมั่นกลับกองทุกวันจนไม่มีความร้อนจึงนำมาใช้ได้

เมื่อโรยวัสดุในการเพาะเห็ดครบหมดแล้วก็รดน้ำให้ชุ่ม เอาเชื้อเห็ดตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง วางบนตะกร้า ตะกร้าละ 6 แว่น นำผ้าพลาสติกคลุม หรือถ้าเป็นตะกร้าก็ให้สวมด้วยถุงขยะดำ วางไว้ในที่ร่ม หรือใต้ซาแรน 80 เปอร์เซ็นต์ และควรอยู่ในหลังคา ในระหว่างนี้ไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นที่รดไว้มีเพียงพอ ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ เส้นใยเห็ดจะเริ่มเดินกระจายไปทั่วตะกร้า เอาถุงดำหรือพลาสติกที่คลุมออก วางไว้ในที่ร่ม ในตอนนี้รดน้ำเช้า-เย็น ด้วยหัวพ่นฝอยจะดีกว่ารดด้วยมือหรือสปริงเกลอร์ ในช่วงนี้อาจโรยแกลบดิบหรือฟางข้าวเพื่อรักษาความชื้นบนหน้าดิน ในหน้าฝนให้โรยแค่บางๆ ส่วนหน้าร้อน ควรใส่มากหน่อย

ในอุณหภูมิปกติจะใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากนี้ จะเกิดเป็นตุ่มเห็ดขนาดเท่าไข่จิ้งจก ผ่านไปอีก 15 วัน มีขนาดโตเท่าไข่ไก่ เนื้อข้างในจะเป็นชั้นๆ เหมือนเห็ดตูมทั่วไป เห็ดที่มีขนาดเท่าไข่ไก่นี้สามารถทำเป็นอาหารได้หลายอย่างเหมือนกับเห็ดฟาง เก็บในตู้เย็นได้ไม่กี่วัน แต่เห็ดเยื่อไผ่ในขั้นตอนนี้ไม่มีการจำหน่ายโดยทั่วไป เนื่องจากยากแก่การขนส่ง แต่สรรพคุณในช่วงนี้เยอะมาก เป็นที่น่าเสียดายที่ปกติจะไม่มีโอกาสลิ้มรส

ขั้นตอนการทำเห็ดเยื่อไผ่ไม่ได้จบแค่นี้ เพราะต้องรออีกประมาณ 7-12 วัน เห็ดจะเจริญเติบโตไปเรื่อย จนหัวเห็ดดันหมวกเห็ดออกมาและโผล่ลำต้นที่เป็นร่างแหออกมา จึงเด็ดออกมาจากตะกร้า ในช่วงเวลานี้ เห็ดสดสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดเช่นกัน เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้วก็ นำไปตากแดดธรรมดา 1 แดด เพื่อลดความชื้นลง ก่อนนำไปใส่ตู้อบอีกครั้ง เพื่อให้เห็ดแห้งเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ขั้นตอนการอบ ทางฟาร์มเห็ดไม่ได้ใช้กำมะถันรมเพื่อให้มีสีขาวเหมือนสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ เพราะการรมกำมะถันเป็นอันตรายต่อการบริโภค ยกเว้นต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง เห็ดเยื่อไผ่ของฟาร์มแห่งนี้ จึงมีสีคล้ำกว่าเห็ดที่นำเข้าจากต่างประเทศ คุณปราณีบอกว่า ถึงเห็ดเยื่อไผ่จะมีสีคล้ำ เมื่อล้างและแช่น้ำแล้วก็จะขาวเหมือนปกติ

การเก็บเอาวุ้นของเห็ด ต้องเก็บจากเห็ดก่อนที่เห็ดจะดันขึ้นมาจนเปลือกนอกแตก เพราะวุ้นจะเกิดระหว่างเปลือกชั้นแรกกับตัวดอก มีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของน้ำหนักดอกสด ในธรรมชาติวุ้นจะทำหน้าที่เก็บความชื้นและป้องกันไม่ให้แมลงมากินดอก การเก็บ แนะนำให้เอามือค่อยๆ แกะเปลือกออก แล้วเอาช้อนขูดจนถึงเนื้อสีเหลืองก่อนนำไปแช่ช่องแช่แข็งรวบรวมไว้ วุ้นนี้แหละจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะมีสรรพคุณทางยามากมาย ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากวุ้นของเยื่อไผ่ เช่น เซรั่มเห็ดเยื่อไผ่ มีสรรพคุณป้องกันสิวฝ้า ผิวหน้าใสกระชับ สบู่ น้ำแร่เห็ดเยื่อไผ่ เจลทำความสะอาดเครื่องสำอาง เป็นต้น

คุณสมบัติของเห็ดเยื่อไผ่มีมากมายเหมาะสมกับราคา ปัจจุบันนี้มีเห็ดแห้งที่เราสามารถนำมาทำเองได้หรือไม่ก็สั่งเป็นเมนูตามร้านอาหารทั่วไปด้วยสนนราคาไม่แพงแล้ว ถ้ายังไม่เคยชิมก็ลองดูได้ครับ

“น้อยหน่า” เป็นไม้ผลที่มีรสชาติอร่อย ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตไว ที่สำคัญไม่กลัวแล้ง เกษตรกรไทยจึงนิยมปลูกไม้ผลชนิดนี้แพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ ปัจจุบัน “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก เพราะให้ผลดก อร่อยถูกปากคนซื้อ ผลสุกเก็บได้นาน ถูกใจแม่ค้า “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นน้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม ที่เกิดจากพ่อแม่คือ น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องกับฝ้ายเขียวเกษตร 1 ประชาชนทั่วไปเริ่มรู้จัก น้อยหน่า “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นครั้งแรก ในงานเกษตรแฟร์ 2558 “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นผลงานของ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด รศ. ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ คุณกวิศร์ วานิชกุล นักวิจัยของสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นไม้ผลที่มีศักยภาพทางการค้า UFA SLOT เพราะเป็นพันธุ์น้อยหน่าที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว บังคับให้ออกดอกติดผลได้ง่าย และต้นทุนการผลิตต่ำ กล่าวได้ว่า ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นดี ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะเด่นแตกต่างจากพันธุ์การค้าเดิม เพราะฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีกลิ่นหอม หวาน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย มีเนื้อเนียนนุ่ม ติดผลง่าย ให้ผลดก ขนาดผลปานกลาง ซึ่งเป็นไซซ์ที่ตลาดต้องการ เปลือกหนาติดกันเป็นแผ่นไม่แยกตา ปริมาณเนื้อมากเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

การปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ใช้หลักการเดียวกับการปลูกน้อยหน่าทั่วไป เริ่มจากไถพรวนดินก่อน ปล่อยให้ดินแห้งสัก 1 สัปดาห์ จากนั้นไถเพื่อให้ดินร่วนซุย ตอนปลูกควรเว้นระยะห่างตามสภาพดิน หากปลูกในแหล่งดินดี ควรปลูกในระยะห่าง 4×4 เมตร หากปลูกในแหล่งดินไม่สู้ดีนัก ควรปลูกในระยะห่าง 3×3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวก็ใช้หลักเดียวกัน เพื่อให้ลำต้นกิ่งก้านของต้นน้อยหน่าได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

อย่างที่เกริ่นตอนแรก น้อยหน่าเป็นไม้ผลที่ทนแล้ง ปลูกได้ทุกฤดู แต่หากเป็นไปได้ขอแนะนำให้ปลูกต้นน้อยหน่าในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม เพื่อความสะดวกในการดูแลเรื่องน้ำ ทั้งนี้ เกษตรกรหลายรายนิยมปลูกต้นสนทะเล ไผ่รวก ยูคาลิปตัส ขนุน มะม่วง เป็นกำแพงบังลมแรงในสวนน้อยหน่า อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยให้พืชเหล่านั้น แผ่ร่มเงากว้างปกคลุมแปลงปลูกน้อยหน่า เพราะอาจแย่งอาหาร ทำให้ต้นน้อยหน่าไม่งอกงามได้

เนื่องจากน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ติดผลง่าย ให้ผลดกมาก มักติดผลเป็นพวง หากไม่คอยตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ออกไป จะทำให้มีผลดกมากจนกิ่งหักได้ ควรดูแลตัดแต่งกิ่งต้นน้อยหน่าเป็นระยะ เพื่อไม่ให้กิ่งก้านรกทึบ กิ่งก้านเบียดกันระหว่างต้น ทำให้รากแย่งอาหารกันเอง และทำให้เก็บเกี่ยวได้ลำบาก นับจากวันที่ต้นน้อยหน่าผลิดอกถึงวันเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 110-120 วัน ควรเก็บผลด้วยมือ ถ้าสูงก็ใช้ไม้ง่ามสอย หรือทำเป็นตะกร้อเก็บใส่เข่งที่กรุด้วยใบตอง แล้วคัดแยกผลใหญ่เล็กออกจากกัน

ตลาดต้องการสูง ทั้งในประเทศและส่งออก

คุณสมเกียรติ บุตรบำรุง โทร. (081) 494-0823 ประธานชมรมผู้ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร อำเภอปากช่อง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 98/1 หมู่ที่ 4 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณ สมเกียรติเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่บุกเบิกการปลูกน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 หลังจากสถานีวิจัยปากช่องได้เปิดตัวน้อยหน่าพันธุ์นี้ เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ปัจจุบันคุณสมเกียรติมีพื้นที่ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ในเชิงการค้ามากที่สุดในขณะนี้

หลังจากคุณสมเกียรติได้ชิมรสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่ปลูกภายในสถานีวิจัยปากช่อง เมื่อ 2 ปีก่อน ก็รู้สึกประทับใจในรสชาติความอร่อยของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ซึ่งเป็นน้อยหน่าเนื้อร่วน ที่รักษารสชาติความอร่อยของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร และเพชรปากช่องได้อย่างครบถ้วน คุณสมเกียรติจึงขอซื้อกิ่งพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 จำนวน 300 กิ่ง ที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อ และนำมาเสียบยอดของสถานีวิจัยปากช่อง ในราคากิ่งละ 500 บาท