ปลูกมะนาวในล้อรถยนต์ ประหยัดต้นทุนการปลูกมะนาวในท่อ

มีต้นทุนสูง เฉพาะค่าท่อซีเมนต์อย่างเดียวมีต้นทุนอยู่ที่ วงละ 120 บาท เมื่อรวมฝาท่อ จะมีต้นทุนเพิ่มเป็น 130 บาท หากวางท่อซีเมนต์สูง 2 ชั้น จะมีต้นทุนรวมอยู่ที่ 250 บาท คำนวณต้นทุนค่าท่อซีเมนต์ รวมกับค่าต้นพันธุ์ ค่าระบบน้ำ จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงถึงวงละ 500 บาท

อาจารย์ธีระพล พยายามหาวิธีลดต้นทุน โดยเลือกใช้ล้อยางรถยนต์เก่ามาดัดแปลงเป็นที่ปลูกมะนาว ปรากฏว่า วิธีนี้ช่วยให้ต้นมะนาวที่ปลูกให้ผลผลิตดี ไม่แตกต่างกับการปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ ที่สำคัญสามารถประหยัดต้นทุนได้ก้อนโต เพราะซื้อยางรถยนต์เก่า ในราคาเส้นละ 15-20 บาท หากต้องการใช้ยางล้อสัก 2 เส้น เพื่อปลูกต้นมะนาวจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 30-40 บาท เท่านั้น

ปลูก “หญ้าเม็ดแตง” คลุมบ่อมะนาว
ช่วงที่เดินชมสวนมะนาว สังเกตเห็นหญ้าต้นเล็กๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ใต้ต้นมะนาว อาจารย์ธีระพล บอกว่า วัชพืชชนิดนี้เรียกว่า “หญ้าเม็ดแตง” ปลูกเพื่อปกคลุมดิน ลดการระเหยของน้ำ หญ้าเม็ดแตงจะไม่แย่งปุ๋ยของต้นมะนาว เพราะระบบรากไม่ลึก เติบโตโดยอาศัยรากอากาศเล็กๆ

อาจารย์ธีระพล ได้ยินชื่อหญ้าเม็ดแตง จากการค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์กูเกิล พบว่า เป็นพืชคลุมดินต้นเล็กๆ ช่วยลดภาระการจัดการหญ้าและลดการระเหยของน้ำได้อีกทางด้วย จึงหาซื้อพันธุ์หญ้าเม็ดแตง ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท นำต้นหญ้าเม็ดแตงมาสับเป็นชิ้นๆ นำไปโรยในวงบ่อที่ปลูกมะนาว เมื่อต้นหญ้าโดนละอองน้ำก็จะแตกต้นขึ้นมาใหม่ ในช่วงหน้าฝน หญ้าเม็ดแตงจะมีลำต้นอวบใหญ่ ห้อยระย้าจนเต็มวงบ่อ ยามหน้าแล้งต้นหญ้าขาดน้ำจะแห้งฝ่อไปตามธรรมชาติ การปลูกหญ้าเม็ดแตงมีประโยชน์ ลดการระเหยของน้ำ ป้องกันผิวดินไม่ให้แห้ง จุลินทรีย์ในดินก็ไม่ตาย

ใช้เชื้อจุลินทรีย์จากป่าทำปุ๋ยหมัก
อาจารย์ธีระพล ทำปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยน้ำหมักโดยเก็บเชื้อจุลินทรีย์ที่แข็งแรงจากป่า โดยเลือกพื้นที่ที่มีเศษใบไม้ทับถมกัน ใช้จอบขุดพลิกหน้าดินที่ความลึก 5 เซนติเมตร เพื่อเก็บดินเนื้อซุยที่มีเชื้อจุลินทรีย์กลับบ้าน หลังจากนั้น ใช้รำละเอียดไปผสม และนำกากน้ำตาลผสมน้ำสกัดชีวภาพและน้ำสะอาดราดลงบนเชื้อจุลินทรีย์ ระวังไม่ให้แฉะหรือแห้งมาก หลังจากนั้น นำส่วนผสมไปหมักรวมกับเศษใบไม้ ใบหญ้า โดยขึ้นกองเป็นรูปกรวย หมักเชื้อนาน 3 วัน เชื้อจุลินทรีย์ป่าจะขึ้นเส้นใยขาวโพลนทั้งหมดและมีความร้อน จึงกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน และใช้เศษใบไม้คลุมทับกองปุ๋ยเหมือนเดิม หลังจากนั้นอีก 4 วัน จึงนำหัวเชื้อปุ๋ยเทใส่ถุง เพื่อเก็บไว้ใช้ต่อไป

อาจารย์ธีระพล บอกว่า หัวเชื้อปุ๋ยลักษณะนี้ เรียกว่า IMO เมื่อต้องการทำปุ๋ยหมัก จะเตรียมเศษใบไผ่ เศษฟางข้าวมาหมักผสมกับหัวเชื้อปุ๋ย และใช้ปุ๋ยคอกโรยก่อนเอาดินกลบ จึงค่อยใช้น้ำสกัดชีวภาพรดซ้ำอีกครั้ง ก่อนคลุมด้วยเศษฟางข้าว ซึ่งวิธีนี้ตรงกับทฤษฎีห่มดิน ของในหลวง รัชกาลที่ 9

แปรรูป กล้วยตาก เพิ่มรายได้
ที่นี่ปลูกกล้วยน้ำว้า แต่อาจารย์ธีระพลไม่ขายผลกล้วยสดออกสู่ตลาด เพราะนำผลกล้วยไปแปรรูปขายเป็นกล้วยตากแทน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วยังสามารถยืดอายุการจำหน่ายกล้วยได้นานอีกด้วย

อาจารย์ธีระพล เล่าว่า ผมตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู่ทุกวัน ประมาณช่วง ตี 3 ผมจะนำผลกล้วยสุกเนื้อเหลืองทอง มาปอกเปลือกกล้วยออก และนำผลกล้วยไปตากแดดก่อนไปโรงเรียน ตกเย็นมาก็เก็บกล้วยที่ตากไว้ ตากกล้วยจนครบ 4-5 แดด จึงค่อยนำกล้วยไปอบน้ำผึ้ง ประมาณ 9-10 ผล บรรจุกล่องติดแบรนด์ “กล้วยตากคุ้มจันทวงษ์” ขายในราคากล่องละ 25 บาท แต่ละครั้งจะผลิตกล้วยออกขายได้ประมาณ 40-50 กล่อง ปรากฏว่า ขายดีมาก จนผลิตไม่พอขาย

สาเหตุที่อาจารย์ธีระพลไม่ขายกล้วยสด เพราะมีระยะเวลาการขายสั้น ถูกบีบด้วยเงื่อนไข “เวลา” เมื่อนำกล้วยสดออกขายปลีก มักถูกลูกค้าบีบจับ ทำให้ผลกล้วยช้ำ เมื่อตัดกล้วยส่งขายตลาดก็เจอแม่ค้ากดราคารับซื้อ การขายผลกล้วยสด หากขายกล้วยไม่ทัน จะกลายเป็นกล้วยงอม ไม่มีใครอยากจะซื้อ และกลายเป็นของทิ้งในที่สุด

อาจารย์ธีระพล จึงตัดสินใจนำกล้วยไปผลิตเป็นกล้วยตากออกขายแทน กล้วยที่ผ่านการตากแดด สามารถยืดอายุการจำหน่ายโดยเก็บใส่ตู้เย็นได้นาน 2-3 เดือน เวลาลูกค้าสั่งซื้อ อาจารย์ธีระพล จะนำกล้วยตากไปอบน้ำผึ้ง บรรจุกล่องออกขาย กล้วยตากฝีมืออาจารย์ธีระพลมีรสชาติอร่อย เพราะมีเคล็ดลับสำคัญคือ เทน้ำผึ้งใส่ถ้วย วางลงในโหลก่อนเข้าตู้อบ เมื่อน้ำผึ้งโดนความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอ ค่อยๆ แทรกตัวเข้าไปในเนื้อกล้วยตาก ทำให้เนื้อกล้วยตากอบน้ำผึ้งมีเนื้อฉ่ำ รสชาติอร่อย กลมกล่อม และมีกลิ่นหอมน้ำผึ้งอ่อนๆ

ดินลูกรัง จัดเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ มีส่วนของหน้าดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร เท่านั้น ลึกจากนั้นลงไปจะเป็นชั้นของดินลูกรัง ชั้นกรวด และดินดาน ดินประเภทนี้จะมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เป็นที่สังเกตว่าในสภาพพื้นที่ดินลูกรังจะปลูกไม้ผลให้ประสบความสำเร็จได้ยาก

แต่สำหรับพื้นที่ในเขตตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินลูกรัง เกษตรกรส่วนใหญ่ได้ใช้พื้นที่นี้ปลูกมะม่วงเป็นหลัก มีเกษตรกรหลายรายของที่นี่ได้มีการปรับปรุงพื้นที่และใช้เทคโนโลยีจนประสบความสำเร็จในการปลูกมะม่วงได้คุณภาพดี และสามารถส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศได้

คุณจรัญ อยู่คำ อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร กิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง บนเนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ บนดินลูกรัง คุณจรัญบอกว่า ในการเตรียมหลุมปลูกมะม่วงจึงมีความจำเป็นจะต้องขุดหลุมขนาดใหญ่กว่าปกติ คือขุดให้มีความกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร โดยขุดดินทั้งหมดมากองไว้บริเวณปากหลุมและคลุกเคล้าด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ในอัตราหลุมละ 2-3 ปุ้งกี๋ และนำดินผสมเหล่านั้นใส่ลงไปในหลุมแล้วปลูกต้นมะม่วงลงไป

ประสบการณ์ในการเลือกซื้อ
กิ่งพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
ปัจจุบัน พันธุ์มะม่วงที่จะปลูกเพื่อการส่งออกและตลาดต่างประเทศมีความต้องการมากที่สุดคือ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง สำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่คิดจะปลูกมะม่วงสายพันธุ์นี้ควรเลือกซื้อกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการย้อมแมวขายพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 หรือน้ำดอกไม้ทั่วไป โดยอ้างว่าเป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

ถ้าดูจากลักษณะของใบแยกออกได้ยากมาก และแหล่งที่จะซื้อกิ่งพันธุ์จะต้องตรวจสอบประวัติต้นที่ใช้ขยายพันธุ์ด้วยว่า เคยมีประวัติการราดสารแพคโคลบิวทราโซลมาก่อนหรือไม่ เนื่องจากกิ่งพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากต้นที่เคยราดสารมาก่อนเมื่อนำมาปลูกต้นจะแคระแกร็นและเจริญเติบโตช้ามาก กิ่งพันธุ์ที่ดีควรจะชำลงในถุงดำมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ถ้าเป็นกิ่งใหญ่ที่ทาบ 2 ตุ้ม จะดีมาก (หลายคนสั่งทำพิเศษ) เพื่อให้ต้นมะม่วงเจริญเติบโตได้เร็ว

สำหรับฤดูกาลปลูกมะม่วงของพื้นที่ตำบลวังทับไทรนั้น ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ปลูกโดยอาศัยจากน้ำฝนไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำ เนื่องจากพื้นที่ในเขตตำบลวังทับไทรจะหาแหล่งน้ำค่อนข้างยาก

เทคนิคและวิธีการผลิต
มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก
คุณจรัญ ได้บอกถึงหลักการที่สำคัญในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกว่า “จะต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง” สารเคมีชนิดใดที่ห้ามใช้จะต้องไม่ใช้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเมื่อมีการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามเกินมาตรฐาน จะทำให้เสียชื่อเสียงและขาดความเชื่อถือ มะม่วงจะถูกตีกลับส่งไปขายไม่ได้ อีกประการหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือไม่ควรไปรับซื้อมะม่วงจากสวนอื่นที่ไม่รู้ประวัติการใช้สารเคมีมาขายอย่างเด็ดขาด

คุณจรัญ บอกว่า ต้นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ปลูกในสภาพดินลูกรังนั้น จะเริ่มให้ผลผลิตในเชิงพาณิชย์เมื่อต้นมีอายุเฉลี่ย 4-5 ปี (จะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อต้นมีอายุได้ 8 ปี ขึ้นไป) ดังนั้น ต้นมะม่วงที่จะราดสารแพคโคลบิวทราโซลเพื่อบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูจะต้องมีอายุต้นอย่างน้อย 4-5 ปี ถ้าราดให้กับต้นที่มีอายุน้อยกว่านี้จะส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างของต้น ต้นจะมีอาการเลื้อย แคระแกร็นและพบปัญหากิ่งแตกก่อนเวลาอันควร

การราดสารแพคโคลบิวทราโซลของการผลิตมะม่วงเขตตำบลวังทับไทร จะทำหลังจากที่มีฝนตกใหญ่ จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า นอกจากพื้นที่ปลูกมะม่วงเกือบทั้งหมดของตำบลวังทับไทรมีสภาพเป็นดินลูกรัง ปลูกในสภาพดอน คือปลูกเป็นไร่และหาแหล่งน้ำยากมาก ในการราดสารแพคโคลบิวทราโซล (เช่น แพนเที่ยม) จะราดหลังจากที่มีฝนตกใหญ่ลงมาอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ซึ่งจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี จะต้องจำไว้เสมอว่า ก่อนที่จะราดสารแพนเที่ยม สภาพดินจะต้องมีความชื้น ถ้าราดในสภาพดินแห้งจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

หลังจากราดสารแพนเที่ยมไปได้ประมาณ 20 วัน (ขณะที่ราดใบมะม่วงอยู่ในระยะใบเพสลาด) ใบมะม่วงเริ่มแก่ คุณจรัญจะเร่งการสะสมอาหารและสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้นมะม่วงด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 7 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร โดยผสมฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” อัตรา 500 ซีซี ลงไปด้วย จะฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 วัน และในช่วงก่อนกระตุ้นการออกดอก ประมาณ 15 วัน (2 สัปดาห์ โดยประมาณ) จะฉีดพ่นด้วยปุ๋ยซุปเปอร์เค อัตรา 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร โดยฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว จะพบว่าใบมะม่วงแก่จัดและมีความสมบูรณ์มากพร้อมที่จะออกดอก

พื้นที่ปลูกมะม่วงเขตตำบลทับไทร
ถ้าดึงช่อแบบ “ดึงผ่าฝน” มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ
จากประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของคุณจรัญพบว่า การดึงช่อดอกให้ออกในช่วงฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายนหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ดึงผ่าฝน” มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะกับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ ถึงแม้จะดึงให้ออกดอกและติดผลได้ก็ตาม ในช่วงที่ติดผลอ่อนและมีฝนตกลงมามากมักจะพบปัญหาเรื่องโรคแอนแทรกโนสเข้าทำลายจนควบคุมไม่อยู่ คุณจรัญบอกว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการดึงช่อดอกคือ ช่วงปลายฤดูฝนหรือปลายเดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเรื่องน่ายินดีที่มีการนำสารป้องกันและกำจัดเชื้อราชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า ฟริ้นท์+แอนทราโคลโกลด์ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันโรคแอนแทรกโนสในช่วงออกดอกขณะที่ฝนตกชุกได้ผลดี หรือฉีดผ่าฝนได้และมีประสิทธิภาพดีกว่ายาป้องกันและกำจัดราหลายชนิด

สูตรดึงดอกที่คุณจรัญใช้เป็นประจำ
การันตีว่า ไม่เคยพลาด
หลังจากต้นมะม่วงมีความพร้อมต่อการดึงช่อดอก คุณจรัญจะใช้โพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 8 กิโลกรัม ผสมไทโอยูเรีย (เช่น ไทเมอร์) อัตรา 3 กิโลกรัม และผสมสาหร่าย-สกัด อัตรา 2 ลิตร ผสมน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7 วัน หลังจากฉีดพ่นครบ 2 ครั้ง แล้วนับไปอีก 10-15 วัน จะเริ่มเห็นตามะม่วงเริ่มแทงออกมา

คุณจรัญบอกว่าเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับช่อดอกจะต้องบำรุงด้วยปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ อัตรา 2 กิโลกรัม และเฟตามิน อัตรา 500 ซีซี ผสมน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นอีก 1-2 ครั้ง ช่อดอกจะสมบูรณ์มาก ดอกจะสดนานวันและพบการขึ้นลูกเร็วมาก

ในช่วงต้นมะม่วงแทงช่อดอกจะพบแมลงศัตรูที่สำคัญมากคือ “เพลี้ยไฟ” คุณจรัญย้ำว่าในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกนั้น การเลือกใช้สารเคมีฉีดพ่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก การป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟให้ได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายต่อดอก แนะนำให้ฉีดพ่นสาร “โปรวาโด” อัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าพบการระบาดเพลี้ยไฟรุนแรงให้เพิ่มอัตราการใช้สาร “โปรวาโด” เพิ่มขึ้นเป็น 4-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงเลี้ยงผลจะต้องไม่ฉีดพ่นสารเคมีในกลุ่มคลอไพรีฟอสอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย มะม่วงน้ำดอกไม้ของไทยที่ส่งไปญี่ปุ่นเคยตรวจพบสารเคมีชนิดนี้ตกค้างบนผลมะม่วงเกินค่ามาตรฐานถูกตีกลับทั้งหมด

คุณจรัญ บอกว่า ในช่วงที่ดอกมะม่วงบานนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นตรวจดูเพลี้ยไฟทุกวัน และในการใช้สารเคมีฉีดพ่นนั้น คุณจรัญ บอกว่า เหมือนกับหมอรักษาคนไข้ ถ้าใช้ยาที่ไม่ถูกจะแก้ปัญหาไม่ได้ ในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกนอกจากจะควบคุมในเรื่องของการใช้สารเคมีแล้ว ยังต้องดูแลเรื่องของผิวมะม่วงจะต้องสวยงามและไม่มีร่องรอยของโรคและแมลง

กระดาษห่อน้ำดอกไม้สีทอง
ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น
คุณจรัญจะห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเมื่อมีขนาดของผลได้ 3 นิ้ว ขนาดผลใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย ก่อนห่อจะต้องคัดผลไม่สวย ผลกะเทย และผลที่ไม่ได้รูปทรงออก เลือกห่อเฉพาะผลที่ดีและสมบูรณ์ กระดาษที่ใช้ห่อจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น (เคยใช้กระดาษชั้นเดียว พบปัญหาแดดเผาทำให้สีของผลไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะด้านตะวันตกที่สัมผัสแดดสีจะออกแดงและด้าน ตลาดไม่ต้องการ)

เกษตรกรรายใด ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้คุณภาพตรงตามมาตรฐาน จะขายผลผลิตส่งออกได้ราคาสูงกว่าขายในประเทศ 2-3 เท่า คุณจรัญ บอกว่า ปัจจุบันที่สวนมะม่วงจะผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกเป็นหลัก และบอกว่ามีเกษตรกรมือใหม่หลายคนคิดว่าการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกเป็นเรื่องที่ยากเกินความสามารถ

แต่คุณจรัญกลับมองว่า “การทำงานทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจ” ถ้าตั้งใจแล้วจะทำได้แน่นอน เกษตรกรที่สามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานจะขายผลผลิตได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50 บาท ในขณะที่ราคาซื้อ-ขาย ภายในประเทศในช่วงมะม่วงออกชุกจะเหลือเพียง 10-15 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้น

คุณจรัญได้กล่าวส่งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า เกษตรกรที่ยังไม่เคยผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกเมื่อพบปัญหาแล้วอย่าท้อถอยอย่างเด็ดขาด ในปีแรกอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากคุณจรัญเคยมีประสบการณ์มาก่อนในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในช่วงแรกๆ เก็บผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมาเพื่อต้องการส่งออก จำนวน 1,000 กิโลกรัม แต่เมื่อพ่อค้ามาคัดเลือกผลผลิตเพื่อการส่งออกแล้ว คัดมะม่วงส่งออกได้เพียง 200 กิโลกรัม เท่านั้น

คุณจรัญได้นำปัญหาและอุปสรรคมาเป็นบทเรียนและแก้ปัญหาให้ถูกจุด โดยมองว่าสาเหตุที่ส่งขายไม่ได้เพราะอะไร และหาทางแก้ไขจนปัจจุบันนี้ คุณจรัญเก็บผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จำนวน 1,000 กิโลกรัม คัดเลือกส่งขายต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด

คุณจรัญ อยู่คำ นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรไทยพัฒนาพื้นที่ดินลูกรัง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกจนประสบผลสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองขณะนี้ ใครจะไปคาดคิดว่า จะยังคงพบเห็นมีเกษตรกรทำการเกษตร ท่ามกลางเมืองใหญ่ๆ อย่างจังหวัดปทุมธานี และอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่รายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า อาทิ ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ศูนย์กลางขนส่งสินค้าการเกษตรตลาดสี่มุมเมือง รังสิต และศูนย์กลางสินค้าเบ็ดเตล็ดตลาดพูนทรัพย์ และโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อีกมากมาย ที่อยู่รายล้อม

ผู้เขียนอาศัยอยู่คอนโดฯ เมืองทองธานี เมื่อถึงเวลาเข้าออกต่างจังหวัดขึ้นเหนือ ล่องไปอีสาน จะใช้เส้นทางนี้อยู่เป็นประจำ จากถนนติวานนท์ตัดออกถนนเลี่ยงเมืองรังสิต และมุ่งหน้าสู่ต่างจังหวัดต่อไป ทุกครั้งที่ขับรถผ่านทีไรก็จะเห็นแปลงผักร่องสวนเป็นทิวแถวแนวยาวเตะตาให้อยากเข้าไปสัมผัส

นึกอยู่ในใจว่า แปลงผักร่องสวนเกษตรที่ว่านี้คงจะต้องเป็นของมหาเศรษฐีที่มีใจรักวิถีการทำเกษตรอย่างแน่นอน เพราะที่ดินใจกลางเมืองเศรษฐกิจติดกับกรุงเทพฯ อย่างปากเกร็ด นนทบุรี และอำเภอเมืองปทุมธานี มีราคาที่สูงมากๆ สามารถนำไปให้เช่าทำโรงงาน ทำห้างสรรพสินค้า หรือว่าทำบ้านจัดสรร ซึ่งน่าจะทำเงินได้มากกว่าการปลูกพืชผักทำการเกษตรกรรม

เพื่อให้คลายข้อสงสัยหนนี้ผู้เขียนเลยแวะจอดรถลงไปดูแปลงเกษตรที่ว่านี้ เมื่อลงจากรถยืนมองจากถนน ปรากฏแปลงร่องผักหลายสิบร่องเรียงรายอยู่ในเวิ้งที่ลุ่มต่ำ จึงตัดสินใจย่างก้าวลงไปพบเจอคนงานเลยถามหาเจ้าของแปลงผักสวนครัว

คนงานชี้ไปยังร่องแปลงผักท่ามกลางแสงแดดเปรี้ยงๆ อากาศร้อนๆ เมื่อตอนใกล้ๆ เที่ยงวัน

ผู้เขียนเองไม่แน่ใจว่าเจ้าของแปลงสวนผักคือคนไหน เพราะแต่งตัวคล้ายกับคนงานจนแยกไม่ออก ว่าเจ้าของแปลงผักคนรวยมีกะตังไม่น่าจะมาตากแดดทำเกษตรด้วยตัวเอง เมื่อถามไถ่จนได้ความว่า คนๆ นี้ เขาไม่ใช้เจ้าของที่ดินตัวจริง แต่เป็นเพียงผู้เช่าที่ดินทำแปลงเกษตรปลูกผักสวนครัว สืบทอดมาจากรุ่นพ่อซึ่งมีความเกื้อกูลสนิทสนมกับเศรษฐีเจ้าของที่ดินมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นความผูกพันระหว่างกัน

คุณชาญ ผลไม้ คือบุคคลที่กล่าวถึงและเป็นผู้สืบทอดการเช่าที่ดินทำแปลงเกษตรสวนผักต่อเนื่องมาจากรุ่นพ่อ และตนเองก็เกิดและเติบโตอยู่กับแปลงสวนผักแห่งนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน อายุ 65 ปี และก็ยังคงเช่าที่ดินสืบต่อเนื่องทำแปลงสวนเกษตรมาในราคาถูกๆ เท่าที่จำความได้ที่ดินแห่งนี้เดิมเป็นทุ่งนาแล้วยกร่องขึ้นมาปลูกผักสวนครัว อย่างที่เห็น

“เขาให้เราเช่าอยู่ 17 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ ในราคาปีละ 4,000 บาท ซึ่งยึดถือราคานี้มาแต่เดิมเมื่อสมัย 50 ปีก่อน”

“เศรษฐีเจ้าของที่ดินคนนี้ เขาเป็นนายแพทย์ระดับต้นๆ ของเมืองไทย เขาร่ำรวยมาทั้งตระกูล คนรวยนี่ก็แปลกมีลูกชายเพียงคนเดียว มีที่ทางก็เยอะแยะดูแลไม่ทั่วถึง เจ้าของที่ดินเขาใจดี เขาขอเพียงให้เราดูแลเฝ้าที่ดินให้เขา อย่าให้หญ้าขึ้นรถ ทำที่ให้สะอาด และทุกๆ ปี ประมาณเดือนมกราคม ผมก็จะเอาเงินค่าเช่าไปให้เขา ไม่ขาดไม่เกิน” คุณชาญ ว่าอย่างนั้น และเล่าย้อนอดีตต่ออีกว่า

สมัยเมื่อ 50 ปีก่อน ผมไม่มีรถต้องเดินเท้าเวลาเข้าวัดไปเวียนเทียน สองข้างทางย่านนี้เป็นป่ารก ถนนเมื่อสมัยก่อนนั้นเป็นดินแดงลูกรัง เวลาไปตลาดรังสิตที หรือไปไหนไกลๆ จะต้องใช้เรือ ล่องไปตามคลองทะลุเชื่อมต่อถึงกันหมดไปจนถึงคลองรังสิต

ส่วนผืนดินที่เราทำร่องแปลงผักอยู่นี้ก็เป็นพื้นดินเดิมจากแปลงนาเมื่อ 50 ปีก่อนที่ไม่ได้ผ่านการถมดินแต่อย่างใด ซึ่งเราทำอาชีพนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ถ้าไม่ได้เช่าที่ในราคาถูกๆ จากเศรษฐีผู้ใจบุญก็คงจะไม่สามารถปลูกผักทำแปลงเกษตรอย่างนี้ได้

และการปลูกผักทำการเกษตรท่ามกลางแดดร้อนๆ เด็กๆ รุ่นใหม่ๆ คงจะไม่มีใครเขาทำกัน และที่เรายังวางมือไม่ได้เพราะแปลงสวนผักของเราอยู่ใกล้ตลาดขายส่ง ไม่ต้องลงทุนบรรทุกขนผักมาจากต่างจังหวัด

และผักสวนครัวที่ปลูกประกอบไปด้วย ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง ปลูกสลับกันไป แต่ละแปลง ปลูกหมุนเวียนตลอดทั้งปี สลับกันไปทุกๆ เดือน แต่ละร่องแปลง ครั้งแรกที่หว่านเมล็ดผัก 45-50 วันก็สามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้ ประมาณ 1 ตันต่อร่อง

ไม่ต้องกลัวว่าผักจะขายไม่ได้ เพราะพ่อค้าเร่และพ่อค้าประจำจะมารอรับซื้อผักถึงหน้าแปลง กระจายส่งขายตามตลาดของตัวเอง ที่ไกลๆ อย่างตลาดคลองเตย และบางครั้งตนเองก็จะไปส่งผักเองอย่างที่ตลาดสี่มุมเมืองรังสิต หรือที่ตลาดไท เป็นต้น ถ้าฤดูไหนพ่อค้าคนกลางมากดราคารับซื้อกันมากๆ ก็จะไม่ขาย ยอมบรรทุกวิ่งไปส่งเองตามตลาดต่างๆ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้เคยหว่านผักราคาแพงๆ UFABETSIX.COM เพื่อที่จะทำกำไรให้ได้สูงขึ้น เช่น ผักชี ผักตั้งโอ๋ ซึ่งผักพวกนี้จะชอบอากาศไม่ร้อนจัด สภาพอากาศดีๆ เย็นๆ แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง เพราะเคยเจอมาแล้ว เมื่อถึงเวลาจะเก็บเกี่ยวอีก 4-5 วัน ฝนตกลงมา แล้วก็มาเจอแดดแรงๆ ซ้ำ ทำให้ผักเหี่ยวเฉาเร็วเสียหายง่าย ผักเหล่านี้ไวต่อสภาพอากาศ เคยเสียหายมาแล้วหลายรอบ จึงไม่กล้าเสี่ยงอีก

ส่วนผักที่ปลูกเป็นประจำถึงแม้จะทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ก็จริง แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา อย่างช่วงหน้าแล้งแมลงลง เสียหายไปเกือบครึ่ง ส่วนดีก็มีอยู่มากและยังพอทำกำไรได้ในช่วงหน้าแล้งที่ผักจะขาดตลาดและราคาแพง เนื่องจากเป็นผักนอกฤดู

ผู้เขียนสงสัยและตั้งคำถามว่า แปลงสวนผักของคุณชาญ บนพื้นที่แห่งนี้มีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี คงจะมีออร์เดอร์ส่งขายห้างค้าปลีกรายใหญ่ๆ เป็นประจำอย่างแน่นอน

แต่หาไม่ คุณชาญให้เหตุผลว่า เพราะห้างค้าปลีกเรื่องมาก ติดปัญหาเรื่องขนาดและมาตรฐานซึ่งของเราปลูกตามธรรมชาติ ขนาดจึงไม่ได้ตรงตามที่เขากำหนด อีกทั้งมันจุกจิกหยุมหยิม และเราก็ไม่ต้องมาเครียดให้ปวดหัว เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว จะต้องมาแยกต้องคัดเกรด จึงสะดวกที่จะขายผักตามสภาพ เพราะเราไม่ได้ใช้สารเคมีควบคุม

ส่วนราคาพืชผักตามท้องตลาด มันก็ขึ้นๆ ลงๆ ตามกลไกของตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าฤดูไหนผักขาดตลาด ผลผลิตน้อย ก็จะเหมือนกันหมดทุกๆ ตลาด เช่น ช่วงหน้าหนาว ราคาผักจะถูก ผักจะสวยโตเร็ว แมลงไม่ค่อยมี ผลผลิตออกมาเยอะราคาก็จะถูก ช่วงฤดูฝนน้ำท่วมพื้นที่เกษตรเสียหาย ผักก็จะแพง เมื่อถึงหน้าแล้ง หน้าร้อน ทุกๆ ปี ราคาผักก็จะแพงเพราะผลผลิตออกน้อยผักโตช้า เป็นต้น

ชีวิตที่อยู่กับแปลงผักของคุณชาญในวัย 65 ปี ก็ยังคงหมุนเวียนอยู่กับการปลูกผักสวนครัวไม่มีวันหยุด กับผู้ช่วยแรงงานอีกหนึ่งคน ง่วนอยู่กับแปลงผัก เริ่มจากพรวนดิน แล้วคลุมดินด้วยฟาง จากนั้นหว่านเมล็ดผักและงอกขึ้นมา จากนั้นก็แยกต้นกล้า ปลูกรุ่นต่อรุ่น มีถี่มีห่างบ้าง ส่วนกล้าผัก ต้นเล็กๆ ก็ดึงทิ้งให้ปลากินเป็นอาหารในร่องน้ำ ทำหมุนเวียนไปอย่างนี้ทุกๆ เดือน ตลอดทั้งปี

และที่สำคัญน้ำต้องพร้อม เมื่อถึงหน้าแล้ง แดดจะแรง อากาศจะร้อน ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตทั้งคนและผัก ปรับเปลี่ยนการให้น้ำ 2 ช่วงเวลา คือช่วงสายๆ 4 โมงเช้า ลากเรือสูบน้ำไล่ตามร่อง และจะไปรดน้ำอีกครั้งช่วง ค่ำๆ 2 ทุ่ม เพื่อให้ความร้อนได้คลายตัว ผักจะได้ไม่ช็อกเมื่อเจอน้ำ ส่วนหน้าฝนจะรดเพียงครั้งเดียว

ผมทำงานอยู่คนเดียว กับแรงงานอีกหนึ่ง ทำกันมานานจนรู้ใจ ไม่มีลูกน้องไม่มีนาย เราจะพรวนดินกันคนละร่องต่อ 1 วัน โดยใช้จอบฟันดินด้วยมือเปล่า เครื่องจักรพรวนดินก็มีแต่ไม่ใช้ เพราะไม่ดีเท่าจอบจากมือเรา ส่วนเครื่องจักรรถพรวนดินมันพรวนแค่ผิวหน้าดิน เมื่อปลูกผักรากไม่ลงลึกอยู่ตื้นๆ ผักจึงไม่โตเต็มที่

นี่คือชีวิตเกษตรติดดินอย่าง คุณชาญ ผลไม้ ที่ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นเศรษฐี มาทำแปลงผักเกษตรพื้นบ้าน แต่เมื่อได้สัมผัสเขาคือบุคคลสาธารณะที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้เป็นสมาชิกสภาเทศบาล (สท.) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

มีอีก 10 ไร่ ที่เหลือเวลาอีก 10 วัน จะทำการตัดคะน้ายักษ์แล้ว

ตอนนี้ก็มีบรรดาชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงเตรียมตั้งหน้าตั้งตารอดูและจะขอถ่ายรูปเซลฟี่กับคะน้ายักษ์กันยกใหญ่ เพราะที่ผ่านมา เคยถ่ายลงเฟซบุ๊กส่วนตัว จนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ผมเคยผิดหวังและท้อแท้ชีวิต ในอาชีพเป็นเกษตรกรมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ไม่เคยคิดท้อแท้ เพราะคิดว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จต้องอยู่ที่นั่น อย่าขายแค่ความฝัน เราต้องเดินหน้าสานฝันให้เป็นจริงด้วย ขอแค่มีแรงใจลุกขึ้นมาต่อสู้เท่านั้น อาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ตั้งใจจะทำให้ดีที่สุด และหวังว่าจะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมั่นคงต่อไป” นายยอดชาย กล่าว

ความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรไทยไม่เป็นสองรองใคร การพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีเกิดจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าส่วนราชการ เอกชน หรือจากตัวเกษตรกรเอง ต่างก็มีส่วนร่วมทำให้การพัฒนาการเกษตรรุดหน้าก้าวไกล นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่กำเนิดนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในเครือมติชน

การเผยแพร่ข้อมูลทางด้านการเกษตรเป็นหน้าที่ของเราที่จะนำมาเสนอเพื่อเป็นแนวความคิดให้ต่อยอด หรือเป็นตัวอย่างให้ปฏิบัติตาม จากการยืนหยัดมาร่วม 32 ปีแล้ว ทำให้ข้อมูลต่างๆ เข้มข้นขึ้น และเห็นความเปลี่ยนแปลงในวิถีภาคเกษตรพัฒนาก้าวหน้าไปมากมาย ข้อเขียนบางครั้งผ่านไป 10-20 ปีแล้วยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่บางข้อเขียนผ่านไปแค่ปีเดียวกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน

เราคุ้นเคยกับเห็ดฟางกองเตี้ยที่เพาะกลางแจ้งเมื่อหลายสิบปีก่อน กาลเวลาผ่านไปกลายเป็นเห็ดฟางในโรงเรือนที่มีหลายๆ ชั้น เห็ดนางฟ้า เห็ดแครง เห็ดขอน ถูกบรรจุใส่ถุงอันมีส่วนผสมของขี้เลื่อยเป็นหลักนำมาเปิดดอกในโรงเรือนล้วนเป็นวิวัฒนาการทางความคิดของชาวเกษตรทั้งสิ้น ผู้เขียนมีโอกาสได้พบกับเทคโนโลยีระดับชาวบ้านแต่ซ่อนไว้ด้วยความไม่ธรรมดาที่จะนำเสนอ

เจอาร์ฟาร์ม Jr MushroomFarm เป็นฟาร์มเห็ด หมู่ที่ 5 ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มี คุณบี หรือ คุณจิราพร จันตะเภา และหุ้นส่วนที่จบมาทางด้านเทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำกิจการเพาะเห็ดฟางโดยทำเป็นแปลงกองเตี้ย และได้ศึกษาจนสามารถทำเชื้อเห็ดฟางเองได้

สมัยนั้นการทำเห็ดฟางจะทำเป็นกองเตี้ยในพื้นที่โล่ง ต้องมีไม้ตีกั้นเป็นบล็อกใส่ฟางรดน้ำย่ำแล้วจึงโรยเชื้อและโรยอาหาร เช่น เปลืองถั่ว เปลือกมันลงไป ทำเป็นชั้นๆ ทำอยู่หลายปีจึงได้เปลี่ยนเป็นทำก้อนเชื้อเห็ดมุ่งเน้นที่ทำเห็ดตระกูลนางฟ้า ที่ก้อนเชื้อจะต้องมีส่วนผสมของขี้เลื่อยเป็นหลัก และมีขี้ฝ้าย ไส้นุ่น เปลือกเมล็ดบัว และขี้ม้าผสมอยู่ด้วย ทำอยู่หลายปีเช่นกัน ตั้งแต่ขี้เลื่อยราคาคันรถละ 15,000 บาท จนขึ้นถึง 28,000 บาท เห็นท่าจะไม่ไหวจึงมาคิดว่ามีวัสดุทางธรรมชาติใดที่สามารถนำมาแทนขี้เลื่อยได้

สิ่งแรกที่มองเห็นคือ ฟางข้าว ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย จึงทดลองนำมาเป็นส่วนผสมแทนขี้เลื่อยในก้อนจำนวน 10% ปรากฏว่าได้ผลดี ต่อมาจึงทดลองใช้ฟางข้าวเพิ่มมากขึ้นจนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้ผลดีเหมือนกับใช้ขี้เลื่อย ฟางมีคุณสมบัติดีกว่าขี้เลื่อย

ฟางข้าวเป็นอินทรียวัตถุที่มีซิลิกาที่ไม่ละลายน้ำ ในรูปแบบเดียวกับทราย กระจกหรือแก้ว ซึ่งมีซิลิกาเป็นองค์ประกอบอยู่สูงถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอินทรียวัตถุอื่น ในฟางข้าวน้ำหนัก 1 ตันจะมีซิลิกาสูงถึง 40 กิโลกรัม โดยจะเคลือบอยู่ผิวด้านนอกของฟางที่เราเห็นเป็นมันวาว เราจึงจำเป็นต้องแช่น้ำให้ฟางนิ่มก่อนนำมาใช้หลายชั่วโมง ซึ่งทำให้ฟางชุ่มน้ำมากเกินไป เพราะถ้าฟางมีความชื้นมากเกินก็ทำให้เน่าเสียได้ง่าย แต่การสับด้วยเครื่องสับฟางที่ทางฟาร์มผลิตขึ้นมาจะได้ฟางที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการคือ เล็ก สั้น ร่วน ละเอียด และนุ่ม ทำให้ฟางนุ่มซึมซับน้ำได้ง่ายโดยไม่ต้องแช่น้ำ และมีขนาดสม่ำเสมอ การที่ฟางนุ่มและถูกตัดสับให้เล็กลงทำให้เชื้อเห็ดสามารถชอนไชเข้าไปกินอาหารในเนื้อฟางได้ง่ายขึ้น สรุปเหตุผลคือฟางเป็นเซลลูโลสที่ย่อยง่ายกว่าขี้เลื่อย ดอกเห็ดจึงออกถี่กว่าและใหญ่กว่า

จากขนาดถุงมาตรฐานของแบบที่ใส่ขี้เลื่อยจะใช้ถุงขนาด 6.5 คูณ 12.5 นิ้ว ทางฟาร์มได้ปรับเปลี่ยนให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมคือ ใช้ถุงขนาด 9 คูณ 14 นิ้ว ซึ่งมีปริมาตรเป็นหนึ่งเท่าของถุงขนาดเดิม และยังคงใช้วิธีการเขี่ยเชื้อไว้ด้านบนของถุงแบบเดิม ต่อมาได้เพิ่มขนาดถุงบรรจุให้ใหญ่กว่าเดิมคือขนาด 12 คูณ 18 นิ้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาตรเป็น 5 เท่าของถุงเก่า แต่มีปัญหาคือเรื่องเชื้อไม่สามารถเดินจากปากถุงให้กระจายตลอดทั้งถุงได้ในเวลาที่กำหนด

ด้านส่วนบนมีการออกดอกเห็ดแล้วแต่กลางถุงลงไปเชื้อยังกระจายไม่ถึง ทำให้ยากในการจัดการ ทางฟาร์มจึงใช้หลายวิธีในการนำเชื้อเข้าถุง เช่น การกรีดถุงใส่เชื้อ แต่ปรากฏว่าเชื้อราเข้าไปได้ง่ายและเปลืองเชื้อเห็ดมาก

ต่อมาจึงคิดกรรมวิธีนำเอาไม้เสียบลูกชิ้นนำมาทำขั้นตอนเดียวกับการเพาะและเขี่ยเชื้อในห้องแล็บ เนื่องจากเห็นว่าเห็ดในธรรมชาติบางชนิดเกิดบนขอนไม้ เพราะฉะนั้น ไม้ไผ่ก็อาจนำไปทำเป็นแท่งเชื้อได้เช่นกัน ปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จ เชื้อสามารถเกาะที่ไม้ไผ่แทนที่จะเกาะบนเมล็ดข้าวฟ่าง เพราะไม้ไผ่เมื่อผ่านกระบวนการย่อยของเอนไซม์ของเส้นใยเห็ด แล้วก็กลายเป็นแป้งซึ่งเป็นอาหารของเห็ดได้เหมือนกัน เมื่อทำแบบนี้เชื้อก็สามารถที่จะกระจายได้ทั่วทั้งก้อนเนื่องจากไม้เสียบลูกชิ้นได้เสียบลงไปจากปากถุงเกือบถึงก้นถุง

ปัจจุบันทางฟาร์มได้ใช้ถุงเห็ดขนาด 12 คูณ 18 นิ้ว ซึ่งมีปริมาตรมากกว่าเดิม 5 เท่า แต่เวลาที่เชื้อเห็ดเดินจนเต็มถุงก็ใช้เวลาเหมือนถุงเล็กคือ 30 วัน หลังจากนั้น จะเกิดตาดอกเห็ดใช้เวลาประมาณ 5 วันเห็ดจะสมบูรณ์เต็มที่ มีน้ำหนักตั้งแต่ 400 กรัมขึ้นไปต่อช่อ หลังจากเก็บแล้วจะใช้เวลาประมาณ 7 วันก็จะออกช่อใหม่ แต่น้ำหนักช่อดอกจะเหลือประมาณ 3 ขีด ก็จะเก็บถุงออก เพราะต้องการเนื้อที่ในการวางถุงใหม่ แต่ในกรณีที่มีเนื้อที่เพียงพอก็สามารถรอเก็บดอกรุ่นต่อๆ ไปได้อีก 2-3 เดือน แต่ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ

ความจริงแล้วการที่เห็ดออกมากน้อยไม่เกี่ยวกับปริมาณข้าวฟ่างที่มีเชื้อเห็ดที่เราหยอดเข้าไป เพียงแค่ข้างฟ่างเม็ดเดียวแต่มีเชื้อเห็ดอยู่ก็สามารถกระจายได้ทั้งก้อน แล้วแต่การหยอดจากปากถุงเชื้อเห็ดต้องใช้เวลาในการกระจายให้ทั่วถุงโดยเริ่มจากปากถุงจากบนลงล่าง ส่วนการทำเป็นเชื้อแท่งเสียบเข้าไปจนลึกเกือบถึงก้นถุงเป็นการกระจายจากจุดศูนย์กลางพร้อมๆ กันจึงทำให้เวลาการกระจายของเชื้อเท่ากันกับถุงเล็ก แม้ว่ามีขนาดใหญ่มากกว่าถึง 5 เท่า

รายได้หลักของฟาร์มคือการจำหน่ายผลผลิตเห็ดสดให้กับโรงงานแปรรูปเห็ดที่วังน้ำเขียวและแม่ค้าตลาดทั่วไป คุณบี บอกว่า เห็ดที่เพาะจากฟางข้าวจะมีคุณสมบัติกรุบกรอบและมีกลิ่นหอมกว่าเห็ดที่ผลิตจากขี้เลื่อย เห็ดที่ทางฟาร์มผลิตจะเป็นเห็ดตระกูลนางฟ้า คือ เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดนางรมฮังการี และเห็ดนางรมเทา ราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-70 บาท แล้วแต่ฤดูกาล

ปัจจุบันฟาร์มจะมีผลผลิตเห็ดวันละ 100-200 กิโลกรัม ส่วนการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำก้อนเชื้อเห็ดจะเปิดอบรมปีละหลายครั้ง เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้สามารถนำไปทำเป็นอาชีพได้ การอบรมในเดือนมีนาคมนี้ทางฟาร์มขอเลื่อนไปเนื่องจากเหตุผลไข้หวัดโควิด-19 ในรอบต่อไปจึงเป็นวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท ต่อ 1 ท่าน

เนื่องจากคุณบีจบทางด้านวิศวกรรมจึงสามารถออกแบบเครื่องจักรมาใช้ในการทำเชื้อเห็ดได้เป็นอย่างดี อุปกรณ์ที่ทางฟาร์มออกแบบไว้มี 3 อย่าง คือ เครื่องสับฟาง เครื่องอัดก้อน และเตานึ่ง เครื่องสับฟางจะมี 3 ขนาด คือ 1. เครื่องสับฟางแนวนอนให้กับมอเตอร์ 3 แรง หรือใช้เครื่องยนต์ 5.5 แรง ขายเฉพาะเครื่องเปล่า 21,500 บาท ถ้ามีเครื่องยนต์จะเพิ่มอีก 5,000 บาท เหมาะกับฟาร์มเห็ดที่ทำในครอบครัว 1 ชั่วโมงสับฟางได้ 20 ฟ่อน สามารถปรับความละเอียดได้ 1-5 นิ้ว 2. คือเครื่องสับฟางแนวตั้ง เหมาะกับฟาร์มขนาดกลาง เป็นชนิดติดมอเตอร์ 3 แรง ราคาเครื่องพร้อมมอเตอร์ 37,500 บาท สามารถสับฟางได้ชั่วโมงละ 30 ฟ่อน ส่วนเครื่องขนาดใหญ่ใช้กับเครื่องยนต์ 16 แรงขึ้นไป สามารถใส่ฟางได้ทั้งฟ่อน ราคาเครื่องละ 65,000 บาท

ส่วนเครื่องอัดก้อนมีขนาดเดียว สามารถเปลี่ยนหัวได้ 2 ขนาด คือ 8 คูณ 14 นิ้ว และ 12 คูณ 18 นิ้ว ใช้มอเตอร์ 1 แรง ราคา 27,500 บาท อัดได้ประมาณ 360 ก้อน ต่อชั่วโมง สำหรับเตานึ่งจะเป็นเตาที่ประหยัดพลังงานจะใช้ไม้ฟืน เป็นระบบเติมน้ำอัตโนมัติ เรียกว่าเตาล่องหน เพราะสามารถนำไปใช้ที่ไหนก็ได้ บรรจุได้ 432 ก้อน ราคา 19,500 บาท ซึ่งเครื่องทั้งหมดสร้างขึ้นเพื่อการทำเชื้อก้อนด้วยเห็ดฟางโดยเฉพาะ สนใจการทำก้อนเชื้อเห็ดเพื่อทำฟาร์มเห็ดขายดอกเป็นอาชีพ สามารถติดต่อเข้ารับการอบรม

มะละกอแขกนวลดำเนิน เป็นมะละกอที่ตลาดมีความต้องการสูง เนื่องด้วยเป็นมะละกอที่มีเนื้อสีขาว กรอบ เหมาะกับการนำไปตำส้มตำมากกว่าทุกสายพันธุ์ จึงเป็นมะละกอสายพันธุ์กินดิบที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้

คุณธงชัย ศิริโภคารัตนา หรือ คุณแบงค์ อยู่บ้านเลขที่ 172/1 หมู่ที่ 8 บ้านเกาะ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้ามาสานต่องานเกษตรของครอบครัว คุณแบงค์ เล่าว่า ตนเองเป็นลูกหลานเกษตรกรอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ทำสวนมะละกอมาก่อน แต่เลิกทำไปเพราะตนเองและพี่ชายให้เลิกทำ เพราะอยากให้พ่อกับแม่ได้พักแล้วตนเองจะมาสานต่อ โดยขอวิชาความรู้การปลูกมะละกอจากพ่อ คือ คุณนพพันธ์ ศิริโภคารัตนา หรือในวงการมะละกอรู้จักกันในชื่อ เฮียไล้ เซียนมะละกอ เนื่องจากสมัยก่อนพ่อเป็นผู้คิดค้นวิธีการตอนมะละกอส่งเข้าประกวดจนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีใครที่คิดวิธีการตอนแบบพ่อได้ พ่อเป็นคนแรกๆ ที่เริ่มทำเริ่มมีชื่อเสียงก็มีหนังสือมาขอสัมภาษณ์จึงกลายเป็นที่รู้จักและพูดต่อๆ กันไปว่าพ่อผมเป็นเซียนมะละกอ

พลิกที่ดิน 40 ไร่ ปลูกมะละกอเป็นอาชีพสร้างตัว
โชคดีมีพ่อเป็นที่ปรึกษา
คุณแบงค์ บอกว่า ผมโชคดีที่มีพ่อเป็นเซียนปลูกมะละกอ ถือว่าได้เปรียบกว่าเกษตรกรมือใหม่หลายๆ ท่าน แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องใช้ความพยายาม ความขยัน ความอดทนของตัวเราเองด้วย

“ทักษะการปลูกมะละกอของผมเริ่มต้นจากศูนย์ ผมเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่องการทำเกษตรเลย จะมีแค่ตอนเด็กได้ช่วยพ่อทำสวนมะละกออยู่บ้าง ทำงานตามที่พ่อสั่ง แต่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความรู้ว่าพ่อให้ทำแบบนั้นเพราะอะไร แต่พอจะเริ่มเข้ามาทำสวนอย่างจริงจังจึงต้องเริ่มเรียนรู้ขอวิชาการปลูกมะละกอจากพ่ออีกครั้ง…ผมเริ่มปลูกมะละกอบนพื้นที่มรดกของพ่อ เดิมทีตรงนี้เป็นที่นามาก่อน แต่ผมเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้สวยอยู่ติดแหล่งน้ำ จึงคิดว่าจะปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวลก่อนเพราะมีพ่อเป็นผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาได้ น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีในสายงานเกษตรของผม” คุณแบงค์ เล่า

คุณแบงค์ บอกต่อว่า ที่ดินทั้งหมดมี 47 ไร่ ถ้าคิดเฉพาะดินไม่รวมร่องน้ำจะมีพื้นที่ปลูกจริงๆ ประมาณเกือบ 30 ไร่ ปลูกเป็นอาชีพได้ 2 ปีกว่า ใช้วิธีปลูกไปด้วยเรียนรู้ไปด้วย ซึ่งพันธุ์ที่เลือกปลูกเป็นมะละกอพันธุ์แขกนวลดำเนิน เป็นเมล็ดพันธุ์เก่าที่พ่อเก็บไว้ ตอนนี้ต้นมะละกอเริ่มโทรม ใบเริ่มหงิก แต่ยังให้ผลผลิตดกอยู่ กำลังแซมรุ่นใหม่ไม่ให้ขาดคอ การที่จะทำให้มะละกอมีผลผลิตดก ไม่ควรปล่อยต้นนานเกิน 2 ปี ระยะ 2 ปี มะละกอยังเป็นมะละกอสาวให้ผลผลิตดก แต่ถ้าหลังจากนี้ไปแล้วต้นจะเริ่มโทรม ทางที่ดีคือไม่ควรปล่อยต้นไว้เกิน 2 ปี ครบ 2 ปีให้โค่นทิ้งแล้วปลูกแซมเลยจะดีกว่า

การปลูกมะละกอหัวใจสำคัญคือ ต้องคัดพันธุ์เอง แล้วคัดต้นที่มีลักษณะต้านทานโรคใบด่างวงแหวน…โรคนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการปลูกมะละกอ ถ้าเลี่ยงไม่ให้เกิดได้ถือว่าปีนั้นประสบผลสำเร็จ ทางรอดคือ 1. ต้องคัดพันธุ์เอง 2. หากคัดพันธุ์ปลูกเองแล้วแต่ไวรัสยังหลงอยู่ อาจมีตัวแปรอื่น จากประสบการณ์ที่ปลูกมา 2 ปี คิดว่าพาหะเป็นตัวสำคัญถ้าควบคุมไม่ได้ก็โดนไวรัส พิสูจน์จากที่สวนข้างๆ เขาปลูกมะละกอเหมือนกันแต่เขาปลูกทิ้งขว้าง แล้วพอมะละกอเกิดโรคเราไม่สามารถไปบอกเขาให้โค่นต้นทิ้งได้ ตัวการนี้แหละคือพาหะมาหาสวนเราซึ่งเราควบคุมไม่ได้เลย

วิธีการปลูกและดูแล
การปลูกมะละกอ ปุ๋ยถือเป็นเรื่องสำคัญและขาดไม่ได้ การดูแลเมื่อของเก่าหมดรุ่นให้เริ่มดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงต้นใหม่ช่วงแรกต้นอายุ 1-4 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรียก่อน 46-0-0 เร่งให้ต้นโต ต้นน้อยก็ใส่น้อยเป็นกำมือ เมื่อต้นอายุ 4-5 เดือน จะเริ่มใส่ 16-16-16 เพื่อให้สะสมอาหารและฉีดฮอร์โมนทางใบ และแคลเซียมโบรอนก็ขาดไม่ได้ ถ้าขาดแล้วลูกจะปูดบวม ผิวตะปุมตะป่ำ ปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกปูดบวมนอกจากแคลเซียมโบรอนยังมีตัวของไวรัสวงแหวนอีกอย่างที่ส่งผลให้ลูกปูดบวมผิวไม่สวย

ปุ๋ย…ที่ใช้อาจจะต้องเลือกปุ๋ยยี่ห้อที่เข้ากับพืชได้ดี เพราะที่สวนเคยมีการทดลองใช้ปุ๋ย 2 ยี่ห้อ ยี่ห้อที่ 1 พืชดูดซึมปุ๋ยได้ดีต้นเจริญเติบโต ส่วนยี่ห้อที่ 2 เป็นสูตรเสมอเหมือนกันแต่พืชไม่กิน อันนี้เป็นเรื่องที่แปลกมากถือว่าต้องใช้ประสบการณ์และการสังเกตของผู้ปลูกโดยเฉพาะ

น้ำ…มะละกอเป็นพืชใช้น้ำเยอะ จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน วันละ 1 รอบ ยิ่งถ้าวันไหนอากาศร้อนต้องให้ ที่สำคัญคือมะละกอต้องห้ามรดน้ำตอนกลางวันเพราะจะเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดน้ำในบ่อก็จะร้อน ถ้าเราใช้น้ำรดโดนดอก ดอกจะร่วงเยอะมาก แล้วผลจะไม่ติด เพราะฉะนั้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำคือช่วงตี 5-9 โมงเช้า อย่าให้เกินเที่ยง ปริมาณการรดน้ำดูตามความเหมาะสม ถ้าใส่ปุ๋ยไปเมื่อวาน รดน้ำแค่ 2 วันแรก วันที่ 3 ให้งด เพื่อให้ดินแห้ง เทคนิคของผมคือถ้าใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำซ้ำเยอะๆ ปุ๋ยจะไหลหนี

“เทคนิคการให้น้ำสูตรนี้ได้มาจากพ่อ คือที่เรือรดน้ำตรงหัวกะโหลกที่ดูดน้ำขึ้นจะมีรูดูดน้ำน้อยๆ พ่อผมใช้เทคนิคปุ๋ยยูเรียน้ำ 20 ลิตร ปุ๋ยยูเรียเกือบครึ่งกิโลเทลงไปแล้วคนในน้ำ ปุ๋ยยูเรียมันเย็น แล้วเอาสายที่ดีดูดน้ำหย่อนลงไปและพ่นออก ผมใช้เทคนิคนี้เดือนเมษายนที่ผ่านมาผมไม่ขาดคอเลย ต่างจากสวนข้างๆ ที่มะละกอขาดคอ อันนี้ถือเป็นวิธีของพ่อเลยครับ” คุณแบงค์ เล่า

ผลผลิตต่อรอบ 2 ปี ที่ผ่านมาผลผลิตได้ไม่เท่ากัน คำนวณเป็นเดือน 1 คันรถ ผลผลิต 3-3.5 ตัน 30 ไร่ เก็บแบบปูพรมทั้งหมดได้ 4 คันรถ ประมาณ 13 ตัน ใน 1 รอบการเก็บ 20-25 วัน…ที่นี้จะมีช่วงดกมากๆ พายเรือเข้าไปร่องเดียวก็ได้มะละกอมาแล้ว ลำเรือหนึ่งเท่ากับ 1 ตัน ซึ่งมะละกอดกไม่ดกจะเป็นช่วงอยู่ที่การบำรุง ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่มะละกอขาดตลาดเกษตรกรจะได้ราคาดี

สถานการณ์ราคามะละกอดิบ ผันผวนตลอดเวลา
เกษตรกรต้องเรียนรู้และใช้ไหวพริบ
“ตลาดมะละกอดิบราคาค่อนข้างผันผวนแบบวันต่อวันหรือชั่วโมงต่อชั่วโมง เกษตรกรที่จะอยู่ให้ได้คือต้องใช้ไหวพริบ หรือพยายามมีตลาดรับซื้อหลายที่ หากตลาดที่ 1 ราคาถูก ตลาดที่ 2 ราคาอาจจะแพงขึ้น ข้อนี้เกษตรกรต้องรู้เพื่อความอยู่รอด ข้อดีของเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างผมคือรู้เรื่องเทคโนโลยีและรู้จักต่อรอง เราสามารถเช็คราคาสินค้าได้ตลอดเวลาว่าตลาดที่นี่เป็นอย่างไรแล้วเทียบกับตลาดที่อื่นเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของเราด้วย” คุณแบงค์ แนะนำ

คุณแบงค์ บอกว่า การขายมะละกอไซซ์ที่ตลาดต้องการจะมีทั้งหมด 4 ไซซ์ คือ 1.ไซซ์ 2 แถว 2.ไซซ์ 3 แถว 3. กลม (ลูกกลมป้อม) 4.ลูกเสียบแหลม ราคาจะแตกต่างกัน ไซซ์ 2 แถว ราคาจะแพงที่สุด ไซซ์ 3 แถว ราคารองลงมา ส่วนลูกกลมลูกเสียบราคาจะไม่แตกต่างกันมากแต่ ณ เวลานี้ลูกกลมตลาดตาย ตลาดตายคือขายไม่ออกเพราะผลผลิตเยอะ ราคาจะเหลือ 2 บาท ซึ่งเวลานี้ที่เก็บ ตกลงราคากับแม่ค้าว่า ไซซ์ 2 แถว กิโลกรัมละ 14 บาท ไซซ์ 3 แถว กิโลกรัมละ 9 บาท ลูกกลมลูกเสียบ กิโลกรัมละ 4-5 บาท ราคามะละกอถือว่ามีความผันผวนมาก เช่น ตอนเช้าราคากิโลกรัมละ 14 บาท ตกเย็นราคาพุ่งมาเป็นกิโลกรัมละ 20 กว่าบาทก็มี

ตลาดมะละกอดิบอนาคตยังสดใส
คุณแบงค์ บอกว่า ณ ปัจจุบันราคามะละกอกินดิบยังผันผวน แต่ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกษตรกรต้องรับมือให้ได้ ถ้ารับได้ถือว่าอนาคตการตลาดของมะละกอดิบยังไปได้อีกไกล เพราะคนในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานส้มตำ จึงคิดว่าตลาดไม่มีวันตาย มะละกอดิบเป็นมะละกอที่เก็บง่าย ดูแลง่ายกว่ามะละกอสุก ตอนเก็บไม่ต้องทะนุถนอม ถ้าเป็นมะละกอสุกต้องถนอม ผิวเสียนิดเดียวราคาตก และมองว่าส่วนแบ่งตลาดมะละกอดิบกับสุก มะละกอดิบขายได้ง่ายกว่า เพราะคนไทยชอบกินส้มตำ

การตลาดมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ ตอนนี้มีทั้งหมด 4 ที่ด้วยกัน 1. ตลาดทางภาคอีสาน โคราช 2. ขอนแก่น 3. ตลาดสี่มุมเมือง 4. ตลาดไท ลักษณะการส่งขายจะเก็บผลผลิตมาแพ็กใส่ถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม ราคาส่วนใหญ่อิงจากพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเป็นคนกำหนด ถึงเวลาพ่อค้าจะมารับซื้อถึงที่แล้วเอาไปขายที่สี่มุมเมืองแล้วจึงค่อยโทร.ตกลงราคากันทีหลัง แต่สวนผมจะไม่ทำแบบนั้นคือต้องตกลงราคากันก่อน เพราะว่าผมรู้สึกว่าเอาของไปแล้วไม่รู้ราคาเราเสียเปรียบ เกษตรกรต้องรู้จักเจรจาให้เป็น ทำอย่างไรก็ได้ให้เราเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางให้น้อยที่สุด คุณแบงค์กล่าวทิ้งท้าย

อาชีพเกษตรหลังเกษียณ เป็นความใฝ่ฝันของคนวัยทำงานจำนวนมาก แต่งานเกษตรเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ ความอดทน และต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าพืชที่ปลูกจะให้ผลผลิตและมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ หากรอลงมือทำสวนเกษตรในวันที่เกษียณอายุ บางคนอาจไม่มีเรี่ยวแรงที่จะลุยทำสวนเสียแล้ว

หากใครไม่อยากพลาดความสนุก เพลิดเพลินใจกับการทำงานเกษตร ขอแนะนำให้เริ่มลงมือทำเกษตรก่อนเกษียณเหมือนกับ “อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์” ที่หันมาทำสวนเกษตรผสมผสาน ในชื่อ “คุ้มจันทวงษ์” เนื้อที่ 38 ไร่ ควบคู่กับอาชีพข้าราชการครู ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนินสูง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สวนเกษตรผสมผสาน
อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์ เล่าให้ฟังว่า น้องชายผมก็ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ยูคาลิปตัส ส่งขายโรงงาน แต่ถูกกดราคารับซื้อผลผลิต หักค่าใช้จ่ายแล้วแทบไม่เหลือผลกำไร ทำให้ผมไม่สนใจปลูกพืชส่งขายโรงงาน และตัดสินใจทำสวนเกษตรผสมผสานแทน โดยวางแผนทำสวนเกษตรล่วงหน้าก่อนเกษียณถึง 10 ปีเต็ม

อาจารย์ธีระพล เน้นลงทุนปลูกพืชอาหารเป็นหลัก เช่น ลำไย ไผ่ เพกาต้นเตี้ย กล้วย พลู มะนาว ปัจจุบันรายได้หลักมาจากสวนมะนาว ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ปลูกมะนาวพันธุ์ทะวาย เช่น มะนาวแป้นพิจิตร มะนาวสุขประเสริฐ มะนาวแป้นวโรชา และเพิ่งปลูกมะนาวปีที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด คือ มะนาวแป้นรำไพ โดยปลูกลงดิน แต่บังคับให้ต้นมะนาวมีผลผลิตออกนอกฤดู

ทุกวันนี้ อาจารย์ธีระพล ดูแลจัดการสวนด้วยตัวเองเป็นหลัก โดยใช้ช่วงเช้ามืด-ช่วงเวลาหลังเลิกงานแต่ละวัน รวมทั้งวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพื่อทำงานในสวนเกษตรแห่งนี้ และว่าจ้างแรงงานท้องถิ่น 1-2 คน ช่วยทำงานในสวนเป็นครั้งคราว จึงมีค่าใช้จ่ายด้านแรงงานไม่มากนัก

ปัจจุบัน เนื้อที่ 38 ไร่ ของคุ้มจันทวงษ์ ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยแบ่งเป็น นาข้าว 12 ไร่ ปลูกลำไย 5 ไร่ ปลูกไผ่เลี้ยงเบา ประมาณ 200 กอ ปลูกเพกาต้นเตี้ย 250 ต้น ปลูกมะนาว 900 กว่าต้น ใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 3-4 ไร่ ปลูกกล้วย 5 ไร่ และปลูกตะไคร้แซมอยู่ทั่วสวน

มะนาวนอกฤดู
ดกมากจนกิ่งหัก
อาจารย์ธีระพล บอกว่า การทำมะนาวนอกฤดู global-customer.com โดยปลูกใส่ท่อซีเมนต์ หรือใส่ถังรอง และใช้เทคนิคงดน้ำ และคลุมท่อ ผมลองมาหมด แต่ไม่ได้ความ ท้ายสุด ผมเลือกใช้วิธีบำรุงต้นมะนาวให้กินอิ่มเต็มที่ ก่อนตัดยอด นับวันเกี่ยวเก็บ ซึ่งการดูแลจัดการลักษณะนี้ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำกว่า การบังคับมะนาวนอกฤดูด้วยการอดน้ำเสียอีก เพราะการบังคับให้ต้นมะนาวอดน้ำ เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนในเรื่องการคลุมท่อ ค่าจ้างคนงานมัดพลาสติก แกะพลาสติก

ปัจจุบัน อาจารย์ธีระพล ลงมือทำมะนาวนอกฤดูตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เพื่อให้มีมะนาวนอกฤดูออกขาย ประมาณช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปีถัดไป ซึ่งตรงกับช่วงมะนาวขาดตลาด ทำให้สามารถขายมะนาวได้ในราคาแพง หากใครสนใจอยากนำเทคนิคนี้ไปทดลองใช้ อาจารย์ธีระพล แนะนำว่า หลังเก็บผลมะนาวเสร็จในเดือนพฤษภาคม ให้บำรุงต้นโดยใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 เมื่อมียอดอ่อนขึ้นมา ประมาณวันที่ 1 มิถุนายนจะตัดยอดต้นมะนาว หลังจากตัดยอด 7 วัน ต้องฉีดยากันหนอนชอนใบมากัดกินยอด หลังจากนั้น 15 วัน จะฉีดสารแพคโคลบิวทราโซลเพื่อไม่ให้แตกยอดอ่อนออกมาอีก นับไปอีก 45 วัน ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งเพื่อกดยอดเป็นครั้งที่ 2

“โดยทั่วไป นิสัยของต้นมะนาว จะมียอดอ่อนครบ 90 วัน จึงเริ่มผลิดอก ทั้งนี้ ทุกๆ 45 วัน ต้นมะนาวจะแตกยอดอ่อนครั้งหนึ่ง จึงต้องฉีดสารแพคโคลบิวทราโซลเพื่อกดยอดไว้” อาจารย์ธีระพล กล่าว หลังกดยอด ครั้งที่ 2 แล้ว นับจากวันที่ตัดยอดถึงขั้นตอนนี้ เป็นระยะเวลา 60 วัน พอดี เป็นระยะเวลาที่ยอดแก่พอที่จะทำดอกได้สมบูรณ์

อาจารย์ธีระพล จะใส่ปุ๋ยบำรุงต้น สูตร 25-7-7 ไปสักระยะ พอมีใบเพสลาด จะใส่ปุ๋ยเร่งดอก 12-24-12 ใส่เป็นระยะๆ จนต้นมะนาวติดลูก ต้องให้น้ำเช้า-เย็น เพื่อให้ต้นมะนาวมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับเลี้ยงผล และบำรุงผลด้วยปุ๋ย สูตร 8-24-24 เมื่อเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงหน้าแล้ง

“เทคนิคการตัดใบ เพื่อผลิตมะนาวนอกฤดู จะเน้นใช้ปุ๋ยอยู่ 3 ช่วง คือ ปุ๋ยบำรุงต้น สูตร 25-7-7 ช่วงบำรุงดอก 12-24-12 บำรุงผลด้วยปุ๋ย สูตร 8-24-24 ในระหว่างที่เร่งดอกนั้น จะเสริมด้วยฮอร์โมนไข่ที่ผสมขึ้นใช้เอง ฉีดพ่นต้นมะนาวทุกๆ 7 วัน เพื่อช่วยกระทุ้งดอก วิธีนี้ได้ผลดีเยี่ยม ช่วยให้ต้นมะนาวติดผลดกมากจนกิ่งแทบหัก ผมทดลองปลูกมะนาวนอกฤดูโดยใช้วิธีการตัดยอดเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2559 ปรากฏว่า ได้ผลผลิตที่ดี โกยรายได้ทะลุหลักแสน นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายกิ่งพันธุ์มะนาวคุณภาพดีให้แก่ผู้สนใจ ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลและกิ่งมะนาวตลอดทั้งปี” อาจารย์ธีระพล กล่าว

มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ลุงผลกล่าวไว้ว่า เป็นคนชอบศึกษาหาความรู้

ทั้งจากสื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ หากเห็นว่ามีพรรณไม้อะไรแปลกๆ ก็จะตระเวนหาซื้อมาปลูก “ก็ดูอย่างมะขามป้อมที่พาไปดูเมื่อสักครู่นี้ (พันธุ์อินเดีย) ลุงซื้อมา ต้นละ 1,000 บาท ลุงยังซื้อมาปลูกเลย”

ลุงผล ฝากบอกมายังเพื่อนๆ เกษตรกรว่า ลุงผลขอชักชวนให้ปลูกมะขามป้อมกันมากๆ เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างรายได้เพียงอย่างเดียว แต่มะขามป้อมเป็นผลไม้สมุนไพรมาแต่โบราณ ใช้เป็นส่วนผสมยารักษาโรคให้แก่มนุษยชาติได้ ส่งผลให้ประชากรมีสุขภาพดี และลดการซื้อยาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะยาแก้ไอ

ผู้เขียนได้นำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะของมะขามป้อมสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีการปลูกกันอยู่ การปลูกมะขามป้อมในเชิงการค้า จากกรณีของสวนลุงผล ที่จังหวัดแพร่ ก็มาถึงช่วงสุดท้าย จากประโยชน์ของมะขามป้อมโดยเฉพาะจากผลสด

มีแหล่งข้อมูลรายงานว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรยาที่มีส่วนผสมของมะขามป้อม ที่ระบุสรรพคุณที่ใช้ในการแก้หวัด วัณโรค ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอและแก้ไข้

บ่งบอกว่า แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกายังให้ความสำคัญกับมะขามป้อม ย่อมยืนยันได้ว่า มะขามป้อมมีประโยชน์ หรือแม้แต่ประเทศอินเดียก็ใช้เป็นสมุนไพรมาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะ ในประเทศไทยก็มีหลายหน่วยงานได้ศึกษาประโยชน์ของมะขามป้อมและได้เผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้สนใจโดยทั่วไป ได้แก่

– ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยสารโครเมียมในมะขามป้อม จะช่วยควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและทำให้ร่างกายสนองต่ออินซูลิน

– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยสารเพคตินจะช่วยป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือด และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ช่วยปรับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

– ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง

– สร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการภูมิแพ้ คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปากแห้ง

– รักษาสุขภาพช่องปาก โดยป้องกันแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุและกลิ่นปาก

– บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น สดใส ลดริ้วรอย

เมื่อประโยชน์ของมะขามป้อมมีหลายประการ จึงถูกนำไปใช้ทั้งทางอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง และเมื่อนำไปเป็นตัวยาร่วมกับผลไม้อื่นก็ยิ่งเพิ่มคุณค่า เพิ่มสรรพคุณมากขึ้นไปอีก ดังเราเคยรู้จักจากการแพทย์แผนไทยและตำรายาพื้นบ้านในบัญชียาหลักแห่งชาติ และในประเทศอินเดียก็ใช้เป็นยาโบราณ ใช้ผลของมะขามป้อม เป็นส่วนหนึ่งของ “ตรีผลา” ร่วมกับผลสมอพิเภกและผลสมอไทย นำมาผลิตเป็นตัวยา (คำว่า ตรี คือสาม ผลา คือผล รวมกันเรียกว่า ผลไม้ 3 ชนิด)

รายละเอียดเกี่ยวกับยาสมุนไพรตรีผลาขอให้สอบถามที่คลินิกร้านยาโพธิ์เงินโอสถอภัยภูเบศร โทรศัพท์ (037) 211-088 ต่อ 3333

ปัจจัยที่เป็นผลจากมะขามป้อมมีสรรพคุณมากมายหลายประการ ได้สอบถามผู้รู้ บอกว่ามาจากองค์ประกอบทางเคมีธรรมชาติของผลมะขามป้อมนั่นเอง คือ

– มีสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าง วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 3 โดยเฉพาะ วิตามินซี กรมอนามัยเคยรายงานไว้ว่า ผลมะขามป้อม 100 กรัม มีวิตามินซีถึง 276 มิลลิกรัม และหากนำผลสดมาคั้นน้ำ จะมีวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า

– มีธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร

– มีกรดอินทรีย์ มีสารฝาด สมานและอื่นๆ

– มีสารกลุ่มแทนนิน เบนซินอยด์ เทอร์ปิน ฟลาโวนอยด์ อัลคานอยค์ คูมาริน สารโครเมียม สารเพคติน

ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับมะขามป้อมโดยสถาบันต่างๆ

การศึกษาน้ำคั้นจากมะขามป้อม ในการปกป้องอันตรายจากสาร Doxorubicin ที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ พบว่า น้ำคั้นมะขามป้อมช่วยเพิ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้อยู่รอดได้

การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของมะขามป้อม พบว่า สารสกัดมะขามป้อมสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี

การศึกษาสารสกัดจากมะขามป้อม สำหรับป้องกันเซลล์ผิวจากรังสี UVB พบว่า สารสกัดมะขามป้อมสามารถป้องกันอันตรายจากรังสี UVB ที่มีต่อผิวหนังได้

การศึกษาสารสกัดมะขามป้อมสำหรับใช้ผสมในเครื่องสำอาง พบว่า ใช้สารสกัดมะขามป้อม ขนาด 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานินที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวหมองคล้ำ หรือเกิดฝ้าได้

“ชวนชม” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Adenium obesum เป็นไม้ที่จัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae ลักษณะของลำต้นเป็นสีเขียว มีความสูงมากไปถึง 6 ฟุต ในส่วนของใบมีลักษณะแข็ง ผิวใบมีลักษณะที่เงามีเส้นเดินกลางใบที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม้ชนิดนี้นอกจากจะปลูกเป็นไม้ประดับแล้ว ยังมีการจัดทรงต้นและรากที่มีเอกลักษณ์พิเศษ นอกจากตั้งโชว์ภายในบ้านเรือน ยังมีการจัดงานประกวดกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เวทีการประกวดเป็นช่องทางให้ผู้สนใจรายใหม่ได้เข้ามาศึกษาการปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

คุณเรณู แฝงสุธา อยู่บ้านเลขที่ 223/241 หมู่ที่ 1 ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกหนึ่งท่านที่ชื่นชอบการปลูกชวนชม โดยสายพันธุ์ที่เธอพัฒนาจะเป็นชวนชมเขาแกะเป็นหลัก โดยพัฒนาลูกไม้ใหม่อยู่เสมอ พร้อมมีการทำรากใหม่ให้กับไม้ จึงทำให้ชวนชมภายในสวนโดดเด่นมีเอกลักษณ์ จึงทำให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเข้ามาติดต่อซื้ออยู่เสมอ

จากพนักงานบริษัท ผันตัวเข้าสู่วงการชวนชม

คุณเรณู เล่าให้ฟังว่า ช่วงแรกทำงานบริษัท แต่ด้วยความชอบในชวนชม ในระหว่างนั้นจึงหาซื้อเข้ามาปลูกอยู่เป็นระยะ แต่เมื่อเวลาผ่านมาเรื่อยๆ ไม้ที่เก็บสะสมได้ทำการขยายพันธุ์อยู่เสมอ จึงทำให้มีจำนวนที่มากขึ้นและสามารถจำหน่ายได้ จากนั้นประมาณปี 2561 จึงได้ตัดสินใจที่จะทำสวนชวนชมเพื่อจำหน่ายไม้อย่างเต็มตัว ทำให้ลาออกจากงานประจำมาดำเนินธุรกิจทำสวนชวนชมแบบครบวงจร

“เนื่องจากเราไม่ได้จบทางการเกษตรมา การทำชวนชมแรกๆ มันเริ่มจากใจรักก่อน จากนั้นเราก็เรียนรู้ไป ปลูกบริเวณบ้านก่อน พอทำไปทำมาเต็มบริเวณบ้าน ก็ต้องขยายพื้นที่ออกมาทำเป็นสวน และลาออกจากงานมาทำแบบเต็มตัวเลย โดยช่วงแรกจะชอบชวนชมแบบสายพันธุ์ทั่วๆ ไปก่อน แต่หลังจากนั้นเราก็มาเน้นทำเป็นชวนชมเขาแกะอย่างเดียวเลย เพราะสายพันธุ์อื่นๆ มีทรงที่ใหญ่ เราทำไม่ไหว ก็เลยหันมาทำชวนชมเขาแกะ เพราะทรงต้นเล็กๆ ยกเคลื่อนย้ายง่าย ทำง่ายๆ ได้เอง” คุณเรณู บอก

จากเป็นเพียงนักสะสมพันธุ์ชวนชมในสมัยก่อน คุณเรณู บอกว่า ปัจจุบันรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำในสิ่งที่รัก กลายมาเป็นอาชีพสร้างเงินมาจนถึงทุกวันนี้ และสวนของเธอผลิตชวนชมได้อย่างครบวงจรเลยก็ว่าได้

การเลือกพ่อแม่พันธุ์ชวนชมที่จะมาทำการผสมพันธุ์ให้เกิดลูกไม้ใหม่นั้น คุณเรณู บอกว่า ต้องทำการคัดต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นจริงๆ เพราะบางต้นเมื่อนำมาผสมแล้วไม่ได้ลูกที่มีลักษณะเด่น 100 เปอร์เซ็นต์ก็มี เพราะฉะนั้นการเลือกพ่อแม่พันธุ์ชวนชมที่ดีต้องนำจุดเด่นของต้นนั้นๆ มาทำการผสมกัน เพื่อดึงลักษณะเด่นของกันและกันออกมาให้ได้มากที่สุด หรือบางครั้งหลังผสมแล้วไม่ดึงลักษณะเด่นของสายพันธุ์เขาแกะออกมาเลย

หลังจากผสมเกสรจนติดเป็นฝักจนได้เมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน นำเมล็ดชวนชมที่ได้มาเพาะลงในวัสดุเพาะดูแลจนกล้าใหม่ เมื่อโตได้อายุประมาณ 2 เดือนครึ่ง ความสูงของต้นจะอยู่ประมาณ 5 เซนติเมตร จึงทำการแยกออกมาปลูกลงในกระถาง 4 นิ้ว ปลูกใส่กระถางละ 1 ต้น วัสดุปลูกในช่วงนี้ประกอบไปด้วยใบก้ามปู กาบมะพร้าวสับ พร้อมทั้งใส่สารกันแมลงศัตรูพืชต่างๆ ผสมไปกับวัสดุปลูกด้วย

“หลังจากแยกปลูกใส่ลงกระถาง 4 นิ้วแล้ว ดูแลไปอีกประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นย้ายปลูกลงกระถาง 6 นิ้วต่อ ดูแลต่อไปสักระยะ เราก็จะเตรียมทำรากให้กับไม้ โดยก่อนที่จะตัดรากต้องดูก่อนว่า ถ้ารากธรรมชาติเขาสวยดีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องตัดปล่อยไว้แบบนั้น แต่ถ้าต้นไหนรากไม่สวย เราก็จะตัดทำรากได้เลย โดยต้นที่ผ่านการตัดรากใหม่ เราก็จะดูแลต่อไปอีกสักพัก จากนั้นก็จะหมั่นเช็กรากบ้าง ว่าต้นที่ทำรากใหม่เขามีรากอะไรเด่นบ้าง เราจะเอารากไหนไว้ก็จะคัดจะตัดแต่งช่วงนี้ไปด้วย รวมๆ แล้ว กว่าจะขายได้ก็ใช้เวลา 1 ปีครึ่งโดยประมาณ” คุณเรณู บอก

สำหรับการดูแลชวนชมจนกว่าจะโตและสามารถจำหน่ายได้นั้น คุณเรณู เล่าว่า จะมีการตัดแต่งบ้างสำหรับไม้บางต้นที่ไม่สวย ไม้ที่สวยอยู่แล้วและเป็นรากธรรมชาติสามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่อยู่ในกระถาง 6 นิ้ว ในเรื่องของการรดน้ำจะเน้นรดในช่วงเช้าเป็นส่วนใหญ่ทุกวัน ส่วนในเรื่องของการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช จะดูตามฤดูกาลเป็นหลัก หากมีการเข้าทำลายก็จะใช้ทั้งน้ำส้มควันไม้ และสารเคมีที่หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านเคมีภัณฑ์เข้ามาช่วยดูแลสลับกันไป

“ชวนชมเขาแกะ หน้าฝนต้องระวังเชื้อราเป็นอย่างมาก เพราะมันจะเกิดเชื้อรา เวลาเข้าทำลายก็จะเข้าไปทางกิ่งและราก แต่เราเป็นสวนที่ทำไม้ส่งออกไปต่างประเทศด้วย บางครั้งก่อนที่จะส่งออก ก็ต้องหยุดใช้สารเคมีต่างๆ เวลาที่เราเห็นไม้ต้นไหนที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย เราก็จะแยกไม้นั้นออกจากสวนทันที เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดไปยังไม้ต้นอื่นๆ ภายในสวนได้” คุณเรณู บอก

ส่งชวนชมเข้าประกวด เป็นตัวช่วยการทำตลาด

ในเรื่องของการทำตลาดเพื่อจำหน่ายชวนชมนั้น คุณเรณู เล่าว่า เริ่มแรกยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้ามากนัก แต่การจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนๆ เป็นหลัก ต่อมาเมื่อนำไม้ในสวนโพสต์ลงในกลุ่มคนรักชวนชมตามสื่อโซเชียลต่างๆ พร้อมทั้งนำไม้ส่งเขาประกวดอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ลูกค้าที่สนใจได้บอกกันไปปากต่อปาก เพราะการเข้างานประกวดนอกจากจะช่วยในเรื่องของการทำตลาดได้แล้ว ยังเป็นการสร้างตัวตนให้เกิดความน่าเชื่อถืออีกด้วย

สำหรับราคาจำหน่ายชวนชมกระถาง 6 นิ้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 200-250 บาท ต้นชวนชมที่ผ่านการทำรากอายุ 1 ปีครึ่ง ราคาอยู่ที่ต้นละ 3,000-4,000 บาท โดยไม้ไซซ์นี้จะมีทรงที่ชัดเจนลูกค้าซื้อไปแล้วสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ และชวนชมที่มีอายุ 5-6 ปีขึ้นไป ราคาจำหน่ายอยู่ที่หลักหมื่นบาท

“ตั้งแต่มาปลูกชวนชมเขาแกะ ถือว่าสายพันธุ์นี้ในเรื่องตลาดยังไปได้เรื่อยๆ เพราะที่สวนทำทั้งตลาดส่งออกด้วย ก็ยังมีลูกค้าจากต่างประเทศติดต่อเข้ามาซื้ออยู่เสมอ ประเทศหลักๆ ก็จะมี ประเทศจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ตลาดต่างประเทศเขาถือว่าชวนชมนี่เป็นไม้มงคล ทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาเรื่อยๆ ที่สวนเราผลิตไม้ออกมาก็ขายได้หมด ไม้ที่ทำเราค่อนข้างใส่ใจในเรื่องการผลิต เพราะชอบจึงทำออกมาด้วยความรัก ไม้ก็เลยออกมามีคุณภาพและตลาดต้องการ และที่สำคัญกลุ่มเพื่อนถือว่าสำคัญมาก เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้เราประสบผลสำเร็จ เพราะมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน” คุณเรณู บอก

สำหรับมือใหม่อยากปลูกชวนชมเขาแกะเป็นอาชีพสร้างรายได้ คุณเรณู แนะว่า อยากให้เริ่มต้นปลูกจากจำนวนที่น้อยๆ ก่อน หรือเรียกง่ายๆ ว่าลงทุนจากราคาน้อยๆ ให้รู้ใจตัวเองว่าชอบไม้ชนิดนี้จริงมากน้อยเพียงใด จากนั้นเมื่อเกิดใจรักและอยากที่จะทำในสิ่งที่ชอบ ชวนชมที่ตั้งใจทำก็จะตอบแทนกลับมาเป็นรายได้อย่างแน่นอน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณเรณู แฝงสุธา หมายเลขโทรศัพท์ 097-025-9241

แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมีน้อย หาซื้อได้ยาก ราคาค่อนข้างแพง เป็นปัญหาหนึ่งในการทำนา แต่ที่จังหวัดสุรินทร์ยังไม่สิ้นคนดี เมื่อมีผู้นำสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด ได้ริเริ่มและนำแนวคิดมาให้สมาชิกปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี โดยการสนับสนุนด้านวิชาการและเสริมทักษะทุกขั้นตอนการผลิตจากภาครัฐและเอกชน ผลคือทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีปลูกและขาย และได้ก้าวเปลี่ยนสู่วิถียังชีพที่มั่นคง

คุณธนาบูลย์ สุขปัญญา อดีตผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ ที่ปรึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสุรินทร์ (ด้านการเกษตร) เล่าให้ฟังว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนา แต่ละปีประเทศไทยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ในราว 670 ล้านกิโลกรัม แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตได้ก็ไม่เพียงพอ หาซื้อยาก ราคาค่อนข้างแพง จึงส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตรรวมกลุ่มปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว

การปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด จะได้รับความรู้วิชาการและเสริมทักษะในทุกขั้นตอนจากนักวิชาการเกษตรศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุรินทร์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีฝ่ายวิชาการตรวจสอบว่าต้องไม่มีสิ่งเจือปน มีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ หรือมีความชื้นไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์ จึงให้การรับรองว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี พร้อมที่จะนำไปปลูกหรือขาย

คุณณชณฆ์ ตรงใจ ผู้ริเริ่มปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำ เล่าให้ฟังว่า เป็นที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด และเป็นประธานกรรมการ บริษัท ไซนี่อินเตอร์ คอปเรชั่น จำกัด ทำนา 50 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้ข้าวเปลือก 24 ตัน หรือเฉลี่ย 500 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้ต้นทุน 35,000 บาท ต่อไร่ รวมเป็นเงิน 170,000 บาท การปลูกและปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาได้รับความรู้และเสริมทักษะจากนักวิชาการเกษตรภาครัฐ ได้ขายข้าวเปลือกให้กับสหกรณ์การเกษตร 20 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้มีรายได้เฉลี่ย 480,000 บาท ต่อฤดู

สหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด มีสมาชิก 675 คน มีพื้นที่ทำนา 10,101 ไร่ สมาชิกส่วนใหญ่ทำนาอาศัยน้ำฝนปีละครั้ง ปัญหาที่สมาชิกพบบ่อยก็คือ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ประสบกับภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้งขาดน้ำ หรือมีศัตรูทำลาย จึงมักทำให้ได้ผลผลิตข้าวน้อย ขายก็ได้ราคาต่ำกว่าทุน จึงไม่มั่นคงในการยังชีพ

รวมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ สมาชิกได้จัดการพื้นที่ปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำ 1 ไร่ ต่อราย หรือ 10% ของพื้นที่ทำนา และจะได้รับความรู้และเสริมทักษะในทุกขั้นตอนการปลูก ตรวจสอบและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจากนักวิชาการเกษตร

การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี จอบ พลั่ว เสียม ถุงพลาสติกดำพับข้าง ขนาด 9×18 นิ้ว

ดินร่วนซุย ขุยมะพร้าว แกลบหรือฟางข้าวแห้ง ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด ได้แก่ สูตรรองพื้น สูตรบำรุงต้นและใบ สูตรบำรุงเมล็ดข้าว อาหารเสริมพืช ปุ๋ยคอกแห้ง เช่น มูลวัว มูลควาย หรือจัดหาแหล่งน้ำให้พร้อม การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแช่ในอาหารเสริมพืชที่มีส่วนผสมของน้ำ 1 ลิตร กับอาหารเสริมพืช 4 ซีซี แช่ไว้ 1 คืน แล้วนำมาบ่ม 2 คืน เพื่อช่วยให้เมล็ดพันธุ์ข้าวมีอัตราการงอกเพิ่มและต้านทานโรค

การเตรียมวัสดุปลูก นำดินร่วนซุย 98% ปุ๋ยคอก 1% ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด 0.5% และขุยมะพร้าว 0.5% ใส่ภาชนะผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำอาหารเสริมพืชที่มีส่วนผสมของน้ำ 1 ลิตร กับอาหารเสริมพืช 1 ซีซี เทใส่ลงบนวัสดุปลูกแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นตักวัสดุปลูกใส่ในถุงพลาสติกดำ 18 กิโลกรัม ต่อถุง ยกไปจัดวางในแปลงปลูก การปลูก ได้รดน้ำบนวัสดุปลูกพอชุ่ม วางเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 มุม 3 เมล็ด เมล็ดพันธุ์ข้าวแต่ละจุดอยู่ห่างกัน 4-5 นิ้ว ใช้นิ้วมือกดให้ลึกลงไป 1-2 เซนติเมตร เกลี่ยวัสดุปลูกกลบเมล็ดพันธุ์ข้าว

การให้น้ำ หลังจากปลูกข้าว 15 วัน ได้ใส่น้ำลงในภาชนะปลูกแต่พอชุ่ม เพื่อเก็บรักษาความชื้นให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไปกระทั่งอายุ 1 เดือน เมื่อต้นข้าวเข้าสู่เดือนที่ 2 ได้รักษาระดับน้ำให้สูง 5 เซนติเมตร เหนือระดับผิววัสดุปลูก เมื่อมีฝนตกลงมาก็ให้รักษาระดับน้ำนี้ไว้เช่นเดิม และเมื่อต้นข้าวแตกรวงข้าวแก่สุก ประมาณ 70% ของพื้นที่ได้ระบายน้ำออกจากถุงพลาสติกดำให้หมด

การให้อาหารเสริมพืช หลังปลูก 30 วัน ได้ฉีดพ่นอาหารเสริมพืชที่มีส่วนผสมของน้ำ 1 ลิตร กับอาหารเสริมพืช 50 ซีซี ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง ในช่วงที่ต้นข้าวออกดอกได้หยุดให้อาหารเสริมพืชเพราะจะทำให้เกสรร่วง เมื่อต้นข้าวออกรวง 30% ได้ฉีดพ่นอาหารเสริมพืชที่มีส่วนผสมของน้ำ 1 ลิตร กับอาหารเสริมพืช 100 ซีซี ฉีดพ่น 15 วัน ต่อครั้ง รวม 2 ครั้ง และก่อนเก็บเกี่ยวข้าว 7-10 วัน ได้ฉีดพ่นอาหารเสริมพืชที่มีส่วนผสมของน้ำ 1 ลิตร กับอาหารเสริมพืช 20 ซีซี เพื่อทำให้เมล็ดข้าวเต็มเมล็ดและลดอัตราการลีบของเมล็ดข้าว

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด เมื่อต้นข้าวอายุ 25-30 วัน ได้ใส่ปุ๋ยเม็ดสูตรบำรุงต้นและใบ ในอัตรา 0.5 ช้อนโต๊ะ ต่อถุง และก่อนต้นข้าวตั้งท้อง 30 วัน ได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดสูตรบำรุงเมล็ดข้าว ในอัตรา 0.5 ช้อนโต๊ะ ต่อถุง

การตัดใบข้าว เมื่อต้นข้าวอายุ 45 วัน ได้ใช้กรรไกร หรือเคียว ตัดใบข้าวที่วัดจากเหนือระดับผิววัสดุปลูกสูงขึ้นมา 30 เซนติเมตร เพื่อช่วยเพิ่มการแตกกอ ไม่ให้ต้นข้าวสูงเกินไปหรือป้องกันศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลาย

คุณณชณฆ์ ตรงใจ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ได้เก็บเกี่ยวข้าวเมื่อต้นข้าวระยะพลับพลึงซึ่งเป็นระยะเหมาะสมที่ทำให้ได้ผลผลิตข้าวคุณภาพสูง โดยสังเกตเมล็ดข้าวที่โคนรวงข้าวจะยังมีเมล็ดข้าวเป็นสีเขียว 2-4 เมล็ด พื้นที่ปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตข้าวพันธุ์ดี 620-650 กิโลกรัม นำออกขายได้ 25-30 บาท ต่อกิโลกรัม

เป็นความสำเร็จที่สมาชิกสหกรณ์ได้ร่วมกันปลูกข้าวในถุงพลาสติกดำ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ปลูกและขาย ขอบคุณทุกคำแนะนำจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ อดีตอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอบคุณสหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด ที่เสริมสร้างโอกาสให้สมาชิกมีรายได้และมีความมั่นคงในการยังชีพ

ท่านที่ต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปปลูก หรือสอบถามเพิ่มได้ที่ คุณณชณฆ์ ตรงใจ สหกรณ์การเกษตรวัน วัน วัน จำกัด หมู่ที่ 6 ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 โทร. (061) 636-8591 ก็ได้ครับ

นายยอดชาย รังสีธนกุล วัย 35 ปี เกษตรกรชาวตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ตนเรียนจบปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ การปกครอง จากมหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง หลังจากเรียนจบก็ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรแบบเต็มตัว เพื่อสืบสานอาชีพของครอบครัวที่แม่ทำนากว่า 50 ไร่ มาหลายสิบปี

แต่ช่วงระยะหลังประสบปัญหาเรื่องน้ำ ศัตรูพืช และราคาข้าวตกต่ำ เลยคิดลองไปเรียนรู้ศึกษาการทำเกษตรกรในรูปแบบอื่นดูบ้าง เลยตัดสินใจเลิกทำนา และหันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน และตั้งใจเรียนรู้อย่างจริงจัง ใช้พื้นที่กว่า 50 ไร่ ปลูกคะน้า เป็นหลัก ส่วนรอบๆ ก็ปลูกผักชีและพริกเสริมรายได้ อีกทาง โดยลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วน

นายยอดชาย กล่าวอีกว่า ช่วงแรกที่เรียนจบปริญญาตรี catflux-forum.net แม่ขอให้มาช่วยกิจการของครอบครัว โดยเริ่มต้นจากการมาเป็นชาวนาก่อน แต่ตอนนั้นราคาข้าวก็ตกต่ำ และทำได้เพียงปีละ 2 ครั้ง อีกทั้งยังประสบปัญหาเรื่องน้ำอีก ตนจึงคิดว่าน่าจะลองหันไปปลูกผักชนิดอื่นดูบ้างที่ให้ราคาดี และลงทุนไม่มาก จึงได้ไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำราและดูงานจากเกษตรกรที่อื่นบ้าง จึงพบว่า การปลูกคะน้า ก็มีรายได้ดี จึงหันมาปลูกคะน้า ในเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ทำมากว่า 3 ปีแล้ว

โดยปีหนึ่งทำได้ 5-6 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ได้กำไรหลักแสน รวมปีหนึ่งมีกำไรถึงหลักล้านบาท ซึ่งตนก็คิดว่า การปลูกกคะน้า จึงนับว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี จึงหันมาสนใจและเรียนรู้กับมันอย่างเต็มที่ ด้วยการทดลองและหาเทคนิคมาปลูกให้มีคุณภาพ ทั้งปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี ให้น้อยที่สุด

หลังจากที่ตนได้ลองผิดลองถูกมาสักระยะ จึงพบว่า การปลูกคะน้า สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จึงตั้งหน้าตั้งหน้าทำอย่างจริงจัง ซึ่งการปลูกคะน้านั้นก็ต้องดูแลอย่างพิเศษ นอกจาก รดน้ำ ใส่ปุ๋ยหมัก พรวนดิน ตามสูตรที่ตัวเองใช้ ยังต้องมีเทคนิคพิเศษในการดูแล ด้วยการเอาใจใส่ ไม่ละเลย ตลอดระยะเวลาการเติบโต ตั้งแต่ขั้นตอนการหว่านเมล็ดพันธ์ุ จนเริ่มโตตามระยะ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 45-55 วัน จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งตนเองก็จะมาดูแลด้วยตัวเองพร้อมคนงานในไร่

ซึ่งคะน้าไร่ของตนนั้นก็จะมีความแข็งแรง ตัดขายได้ราคาดี มีลำต้นใหญ่ โดยไร่คะน้าของตนก็มีหลายขนาด หลายไซซ์ แล้วแต่พ่อค้าที่มารับซื้อจะชอบขนาดแบบไหน แต่ที่ขายดีที่สุด โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่ จนปลูกแทบไม่ทัน คือ ไซซ์คะน้ายักษ์ ซึ่งเป็นคะน้าที่ตนเองดูแลอย่างดี จนมีขนาดต้นใหญ่มหึมา ความยาวเกือบประมาณ 2 ฟุต น้ำหนักต่อต้น ก็ประมาณ 6-7 ขีด ร่วมกิโล เห็นจะได้

โดยที่ผ่านมา ก็สร้างความฮือฮาให้กับลูกค้าที่มาซื้อที่ไร่ เพราะชอบเรียกกันว่า คะน้ายักษ์ ซึ่งผักคะน้าที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ พ่อค้าที่ซื้อไป ก็มีหลากหลาย บางคนก็ชอบต้นเล็ก ต้นกลาง และต้นใหญ่ แต่ต้นใหญ่ก็ขายดีมาก พ่อค้าที่มารับซื้อ บอกว่าคะน้าต้นใหญ่ก็จะซื้อไปขายส่งตามร้านอาหาร ร้านข้าวต้ม ที่มีออเดอร์ไว้ แล้วนำไปทำเมนู คะน้าผัดน้ำมันหอย ซึ่งคะน้าจะมีรสชาติอร่อย หวาน กรอบ และราคาถูก ไม่แพง เป็นคะน้าผักสดๆ ตัดมากจากไร่

มะขามป้อม ผลไม้เพื่อสุขภาพและสมุนไพรพื้นบ้านงานวิจัย

เนื่องด้วยผู้เขียน มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยป้องกัน บรรเทา บำบัดรักษาโรคดังกล่าว ก็พบว่า มะขามป้อม มีสรรพคุณมากพอที่จะนำมาช่วยบรรเทารักษาโรคได้ โดยเฉพาะช่วยระบายพิษจากระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินโลหิต ทำหน้าที่ขับพิษตกค้าง เป็นต้น ได้ศึกษาจากเอกสาร บทความหลายฉบับ จากสื่อออนไลน์ จากงานวิจัยของบางมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลอภัยภูเบศร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จึงได้นำมาเสนอแบ่งปันข้อมูลยังท่านผู้อ่านด้วย

ในบทความนี้ นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะของมะขามป้อม ประโยชน์ของมะขามป้อม สายพันธุ์ต่างๆ การปลูก การดูแล จากแปลงเพาะปลูกจริงของเกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกเชิงการค้า เพื่อให้ท่านผู้อ่านเกิดความสนใจและมีความมั่นใจ หากจะนำกิ่งพันธุ์มาปลูก หรือเกษตรกรที่ปลูกมะขามป้อมอยู่แล้ว อาจวางแผนขยายพื้นที่และพัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด

มะขามป้อม พบมากในประเทศแถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ

ในประเทศไทย พบเห็นกันมานานในป่า จึงเป็นผลไม้ป่าชนิดหนึ่งเป็นพืชท้องถิ่นไทย พบมากในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการขยายพันธุ์พัฒนาพันธุ์กันมาก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี จันทบุรี พิจิตร กำแพงเพชร ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา ฯลฯ

และเป็นไม้ประจำจังหวัด ของจังหวัดสระแก้ว

ในบทความเรื่องกินอย่างไร…ไร้โรคภัย เรียบเรียงโดย Td-book.com ตอนเหนึ่งระบุว่า มะขามป้อม เรียกชื่อนี้ได้ทุกภาค แต่ยังมีชื่ออื่นๆ อีกตามท้องถิ่น ได้แก่ กำทวด (ราชบุรี) กันโตด กำทอด (กัมพูชา-จันทบุรี) มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่ว อำโบเหล็ก (จีน) หรือบางแหล่งระบุชื่อ หมากขามป้อม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะขามป้อม

ต้น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 7 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบเกลี้ยง

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว เรียงตัวอยู่ตรงข้ามกัน และอยู่ชิดกัน เรียงอยู่บนกิ่งย่อยขนาดเล็ก (มองดูคล้ายลักษณะเป็นใบประกอบ) รูปขอบขนาน เรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 เซนติเมตร ยาว 0.8-12 เซนติเมตร เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน ก้านใบสั้นมาก

ดอก ขนาดเล็ก แยกเพศ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ปะปนกันจำนวนมาก แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ดอกเพศผู้ มีเกสรตัวผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมีต่อม 6 ต่อม ดอกเพศเมียมีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน

ผล ทรงกลม เนื้อหนา 1.2-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว มี 6 เส้น เนื้อผลรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด สีน้ำตาลดำ

การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ

เปลือกจากลำต้น ใช้เปลือกที่แห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียดโรยแก้บาดแผลเลือดออก และแผลฟกช้ำ

ใบ ใช้ใบสดมาต้ม ดื่มแก้บวมน้ำ นำมาตำพอกหรือทาบริเวณแผลผื่นคัน มีน้ำหนอง น้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบ

ผล ใช้ผลสดกินเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟันและคอแห้ง

ซึ่งรายละเอียดยังมีอีก จะได้นำไปกล่าวไว้ในช่วงท้ายของบทความนี้

ผลแห้ง บดให้เป็นผง ชงดื่มแก้ตกเลือด ท้องเสีย โรคบิด แก้โรคดีซ่าน และโรคโลหิตจาง

ราก ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสีย แหล่งปลูกมะขามป้อมในประเทศไทย

พันธุกรรมของมะขามป้อมในประเทศไทย พบเห็นได้จากมะขามป้อมในป่า ในสวนวนเกษตรของผู้เขียนก็มีอยู่หลายต้น แต่ผลมีขนาดเล็ก

ปัจจุบัน มีเกษตรกรนำเมล็ดมาปลูกแล้วคัดเลือกต้นที่ดี และเพาะปลูกหลายๆ ครั้ง จนได้ต้นและผลเป็นที่พอใจ จึงตั้งชื่อเอง แล้วก็นำไปเผยแพร่ เป็นมะขามป้อมยักษ์บ้าง เป็นมะขามป้อมแป้นนั่นแป้นนี่บ้าง

แต่ก็ยังมีการนำเข้ากิ่งพันธุ์มะขามป้อมจากประเทศอินเดียมาปลูกและขยายพันธุ์ เนื่องจากมะขามป้อมอินเดียมีผลขนาดใหญ่มาก 18-20 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เลยทีเดียว

แหล่งปลูกมะขามป้อมในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี จันทบุรี พิจิตร กำแพงเพชร ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน และจังหวัดพะเยา ที่จังหวัดแพร่ ก็มีหลากหลายสายพันธุ์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามะขามป้อม “จากพืชป่า…เป็นพืชปลูก” และสนับสนุนให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูกขยายพันธุ์ด้วยตนเอง

ผู้เขียนได้เดินทางโดยรถยนต์ไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ โดยเริ่มจากตัวจังหวัดแพร่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 แพร่-ลอง ประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือขับรถไปตามถนนเลียบคลองชลประทาน ประมาณ 15 กิโลเมตร จะผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตแพร่ ทางขวามือ ขับรถเลยไป ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ จะอยู่ทางซ้ายมือ

ผู้เขียนได้พบกับเจ้าหน้าที่ตามที่ได้นัดหมายกันไว้ นั่งสนทนากันสักพักหนึ่ง ฟังคำแนะนำ อ่านเอกสารแล้วไปเยี่ยมชมแปลงรวบรวมพันธุ์และแปลงทดสอบมะขามป้อม ตามที่จะได้นำเสนอท่านผู้อ่าน

คุณวิภาดา แสงสร้อย ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ (081) 671-1102 และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามป้อมอย่างมีคุณภาพ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2554 ได้ให้ข้อมูลในเบื้องต้นว่า แนวนโยบายและแผนการวิจัยและพัฒนามะขามป้อมในระดับชาตินั้น ถือว่ามะขามป้อมเป็นหนึ่งพืชในร่างแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 โดยมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน มีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบด้านเป็นแหล่งทรัพยากรพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

สำหรับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ นั้นได้ดำเนินงานต่อในปี 2559-2563 ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะขามป้อม โดยการทดสอบสายต้น (ขอย้ำนะครับ ใช้คำว่า “สายต้น”) มะขามป้อมที่คัดเลือกไว้ในพื้นที่ภาคเหนือ ผลของการตัดแต่งกิ่งที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตมะขามป้อม อิทธิพลของต้นตอที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะขามป้อม ศึกษาวิธีการชักนำให้มะขามป้อมออกดอกและติดผล การพัฒนาเครื่องมือแปรรูปสำหรับผลิตภัณฑ์มะขามป้อม ได้แก่ เครื่องบีบผลมะขามป้อมและเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบแห้งมะขามป้อม

ผู้เขียนได้สอบถามถึงแรงจูงใจอะไร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ต้องศึกษาวิจัยและพัฒนามะขามป้อมส่งผลให้ในขณะนี้มีเกษตรกรในเขตอำเภอลอง กำลังตื่นตัวกับการปลูกมะขามป้อมกันหลายราย คุณวิภาดา กล่าวว่า ปัจจุบัน ความต้องการมะขามป้อมเพื่อทำสมุนไพรเป็นการค้ามีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หาซื้อยากและไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนใหญ่ชาวบ้านเก็บผลจากในป่า ซึ่งพื้นที่ป่านับวันจะลดลงเรื่อยๆ ที่สำคัญข้อมูลการผลิตต่างๆ ในประเทศไทยยังมีน้อย เช่น พันธุ์ การจัดการ การผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง รวมถึงต้นพันธุ์มะขามป้อม (พันธุ์ดี) ที่มีขายเชิงการค้าขณะนี้ราคาก็ยังค่อนข้างสูง

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรอย่างมีคุณภาพแบบครบวงจร ควรมีการร่วมมือกับคนในชุมชน กลุ่มแพทย์ เภสัชกร โรงพยาบาล เพื่อลดการซื้อยาจากต่างประเทศในการรักษาคนไข้ ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องวิจัยและพัฒนาให้เป็นระบบการผลิตมะขามป้อมอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ได้ดำเนินการทดสอบการปลูกและคัดเลือกสายต้นมะขามป้อม ในจำนวนพื้นที่ 6 ไร่

การปลูก ใช้ระยะปลูก 6×8 เมตร อาจปลูกพืชอื่นแซมในระยะ 3 ปีแรก เช่น สับปะรด เป็นต้น หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี มะขามป้อมจะเจริญเติบโตเร็วมาก และหากมีการจัดการที่ดี ตั้งแต่การเตรียมหลุมปลูก ตัดแต่งทรงพุ่มไว้กิ่งหลัก 3-4 กิ่ง และควบคุมทรงพุ่มให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ซึ่งการปลูกมะขามป้อมทำได้หลายวิธี ดังนี้

การใช้เมล็ด มะขามป้อมมีเมล็ดสีน้ำตาลดำอยู่ในกะลาแข็งถัดจากส่วนของเนื้อผล วิธีนี้ต้นมะขามป้อมจะใช้เวลานานในการออกดอกติดผล อาจใช้เวลา 7-10 ปี ทรงต้นจะสูงชะลูด นิยมใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดมาผลิตเป็นต้นตอ
การทาบกิ่ง โดยการเตรียมต้นตอ อายุ 1 ปี ทาบบนต้นพันธุ์ดีที่ต้องการ ใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ในการออกดอกติดผล และได้ทรงพุ่มที่เตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย วิธีนี้จะเปลืองกิ่งพันธุ์ดี แต่จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง กิ่งมีขนาดใหญ่และโตเร็ว
การเสียบยอด โดยการเตรียมต้นตอ อายุ 1 ปี คัดเลือกยอดพันธุ์ดีมาเสียบยอด นิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม แล้วนำต้นตอที่เสียบยอดแล้วอบในถุงพลาสติก ขนาด 24×44 นิ้ว ใช้เวลาอบ ประมาณ 45 วัน รอยแผลจะเชื่อมติดกัน จากนั้นค่อยๆ เปิดปากถุงให้อากาศภายนอกเข้าไปในถุง เพื่อให้ต้นกล้าปรับตัวใช้เวลาอีก 7-10 วัน จึงนำออกจากถุง วิธีนี้จะไม่เปลืองกิ่งพันธุ์ดี และผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก

การคัดเลือกสายต้น คุณวิภาดา กล่าวว่า การคัดเลือกสายต้นมะขามป้อมในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ได้สายต้นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวนหนึ่ง จึงได้นำยอดพันธุ์เหล่านั้นมาเสียบยอดบนต้นตอมะขามป้อมพื้นเมืองในโรงเรือนที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และอีกวิธีหนึ่งคือ ทาบกิ่ง โดยใช้ต้นตอพันธุ์พื้นเมือง จากนั้นจึงนำลงปลูกในแปลงคัดเลือกสายต้น พื้นที่ 2 ไร่ เมื่อคัดเลือกสายต้นอีกครั้ง จึงได้สายต้นลักษณะเด่น โดยมีการบันทึกข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ การเจริญเติบโต ปริมาณและคุณภาพผลผลิต โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผลที่มีขนาดใหญ่ และกลุ่มที่มีสารสำคัญสูง (วิตามินซี สารประกอบฟินอลิก และค่าดัชนีการต้านสารอนุมูลอิสระ) ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม

สายต้นที่สำคัญ มีอยู่ 6 สายต้น ที่อยู่ระหว่างการทดสอบพันธุ์ ได้แก่

สายต้นวังหงส์ (พร. 01) ต้นแม่พันธุ์ได้มาจากบ้านวังหงส์ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ ลักษณะเด่นคือ ใบมันหนา ใบยาวมาก มีเกสรตัวเมียจำนวนมาก ติดผลดกมาก เป็นพันธุ์เบา
สายต้นปากกาง (พร. 02) ต้นแม่พันธุ์ได้มาจากสวนของเกษตรกรบ้านท่าเดื่อ ตำบลปากกาง อำเภอลอง นำมาเสียบยอด
สายต้นปางเคาะ (พร. 03) ต้นแม่พันธุ์ได้มาจากบ้านปางเคาะ ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย
สายต้นนาคูหา (พร. 06) ต้นแม่พันธุ์ได้มาจากโรงเรียนบ้านนาคูหา หมู่ที่ 5 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่
สายต้นห้วยลึก (พย. 02) พย. หมายถึง จังหวัดพะเยา ต้นแม่พันธุ์ได้มาจากบ้านหนองห้า ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ
สายต้นแป้นสยาม กิ่งทาบ (กจ. 01) กจ. หมายถึง จังหวัดกาญจนบุรี
คุณวิภาดา ได้กล่าวตอนท้ายว่า การพัฒนาพันธุ์มะขามป้อมยังคงต้องทำต่อไป เพื่อให้ได้สายต้นที่เหมาะสมกับแหล่งปลูกและแนะนำแก่เกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ และขณะนี้ได้นำไปปลูกทดสอบในสวนเกษตรกรพื้นที่อำเภอลอง ตำบลทุ่งแล้ง และแม่ปาน เมื่อปี 2557 พร้อมกับแนะนำให้ปลูกสับปะรดแซมในแปลงปลูก เพื่อจะให้มีรายได้ระหว่างรอเก็บผลมะขามป้อม

“ในอนาคต ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ มีแผนที่จะเป็นศูนย์สร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและแหล่งรับซื้อ รวมทั้งการสนับสนุนการแปรรูปผลมะขามป้อม เช่น การนำมาอบแห้ง แยม กวน ดองหวาน ดองเค็ม น้ำมะขามป้อมพร้อมดื่ม น้ำพริกมะขามป้อม เป็นต้น โดยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่จะเปิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับเกษตรกร สถานศึกษาและบุคคลทั่วไป ภายใต้วลี ผลิตได้ ขายเป็น เน้นคุณภาพ”

พื้นที่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ให้การสนับสนุน ที่ตำบลทุ่งแล้ง ผู้เขียนได้ไปศึกษาสนทนากับเจ้าของสวนเกี่ยวกับการปลูกเชิงการค้า การดูแลเอาใจใส่มะขามป้อมว่าดำเนินการอย่างไร

สวนมะขามป้อมที่ปลูกเชิงการค้า ที่ผู้เขียนขอนำมาเสนอเป็นสวนของ ลุงผล หรือ คุณสิทธิผล เดือนดาว อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 70/6 บ้านอ้ายลิ่ม หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง โทรศัพท์ (089) 955-6528

ลุงผล เป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรไม้ผล

เริ่มจากการปลูกส้มเขียวหวาน เนื้อที่ 14 ไร่ จำนวน 560 ต้น

ปลูกและผลิตลองกองนอกฤดู เนื้อที่ 10 ไร่ จำนวน 400 ต้น

ปลูกเงาะพันธุ์โรงเรียน เนื้อที่ 3 ไร่ จำนวน 75 ต้น

รายได้ปีๆ หนึ่ง หลักสองล้านบาทเลยทีเดียว

ถือว่าเป็นเกษตรกรมืออาชีพโดยแท้ ยากที่จะหาเกษตรกรรายอื่นทำเกษตรไม้ผลเทียบเคียงได้ ที่ว่าเป็นเกษตรกรมืออาชีพ เพราะลุงผลมีองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ทั้งทางวิชาการ อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ และชีววิทยาของพืชได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน ลุงผล ซื้อที่ดินแปลงใหม่อีก 10 ไร่ เพื่อปลูกมะขามป้อม จำนวน 200 ต้น ลุงผล บอกว่า ได้ปลูกมะขามป้อมมาตั้งแต่ ปี 2555 มี 22 ต้น และได้ปลูกเพิ่มมาเรื่อยๆ ปัจจุบัน จึงมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์วังหงส์ พันธุ์เพชรเมืองลอง (ปากกาง) พันธุ์อินเดีย และพันธุ์แป้นสยาม เป็นแปลงใหม่ อายุ 1 ปี ปลูกล่าสุด

แรงจูงใจที่ทำให้ลุงผลมาปลูกมะขามป้อม ลุงผล บอกว่า “ลุงเป็นเกษตรกรรายแรกที่ปลูกมะขามป้อม ลุงชอบดูโทรทัศน์ ดูสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการเกษตร เห็นเกษตรกรที่จังหวัดกาญจนบุรีเขาปลูกมะขามป้อม มีลูกดกมาก ลุงก็ปิ๊งไอเดียเลย นี่เลยที่ต้องการสมใจนึก คิดว่าถ้าปลูกบ้างน่าจะได้ผล พอดีขณะนั้นทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่กำลังมองหาพื้นที่ให้เกษตรกรปลูกมะขามป้อมเป็นพืชเสริมรายได้ ลุงจึงสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นคนแรก”

การปลูกของลุงผล

ลุงผล อธิบายว่า ก่อนปลูกควรไถพรวนดินเสียก่อน แล้วปรับพื้นที่กำจัดวัชพืชออกให้หมด ดูลักษณะพื้นที่ปลูกมะขามป้อมของสวนลุงผลเป็นเนินเขา มีกรวดหินอยู่ในพื้นดินจำนวนมาก แต่นั่นแหละ ลุงผล บอกว่า “มะขามป้อมชอบดินลักษณะนี้ ถ้าติดดอกเมื่อไรลูกจะดกมาก ดูอย่างมะขามป้อมในป่าซิ มักจะขึ้นตามป่าเนินเขาที่มีดิน หิน กรวด ลูกยังดกเลย”

ลุงผล อธิบายต่อว่า จากนั้นให้จัดผังแปลง กำหนดระยะห่างระหว่างต้น 6×8 เมตร ใช้ไม้ปักหลักไว้เป็นจุดที่จะขุดหลุม ขุดหลุมลึก 30 เซนติเมตร กว้างxยาว 30 เซนติเมตร เช่นกัน ใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ใช้ดินกลบเล็กน้อย นำต้นกิ่งพันธุ์ลงปลูก กลบดินให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นหลัก นำเชือกฟางมามัด ระหว่างต้นกับไม้ไผ่ กันโยกเมื่อโดนลมพัด ยังไม่ต้องรดน้ำ

กล่าวถึงกิ่งพันธุ์ที่ลุงผลนำมาปลูก เป็นกิ่งพันธุ์ที่ได้จากการเปลี่ยนยอด ไม่ใช่กิ่งพันธุ์จากการตอนหรือจากการเพาะเมล็ด ลุงผลให้เหตุผลว่า ต้นจะโตเร็ว แข็งแรง ขึ้นลูกเร็วกว่า

การดูแลเอาใจใส่ในแต่ละฤดูกาล

“ไม่ต้องจัดการอะไรกับมะขามป้อมมากมายนัก ปล่อยให้เขาดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติ เพียงแต่เอาใจเข้าใส่ คอยตรวจตราพวกแมลงไม่ให้มารบกวน ต้องเป็นคนช่างสังเกต ถ้าหญ้ามันรกมากไป ก็กำจัดเสีย ก็เท่านั้น” ลุงผล กล่าว

ให้สังเกตดีๆ ในช่วงฤดูร้อนหรือหน้าแล้ง มะขามป้อมจะผลัดใบหรือสลัดใบทิ้ง แล้วจะแตกยอดใหม่เป็นใบอ่อนเพียงชุดเดียวในเดือนมีนาคม ถ้าต้นมะขามป้อมที่อายุ 3 ปี ต้นสมบูรณ์ เมื่อแตกยอดก็จะเกิดดอกพร้อมกัน ออกเป็นช่อดอกขนาดเล็ก ลุงผล บอกว่า ดอก ผล มะขามป้อมจะไม่เหมือนไม้ผลอื่น ตรงที่ว่าเมื่อดอกบาน จนร่วงโรย ดูผิวเผินคล้ายจะไม่เกิดลูกแต่แท้จริงแล้วดอกมะขามป้อมกำลังจะขึ้นลูก แต่เล็กมากๆ ต้องรอไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จึงจะขึ้นลูกให้เห็น ลุงผลเน้นว่านานมาก

ช่วงระยะเวลานี้ ที่สวนลุงผลไม่ให้น้ำแก่มะขามป้อมเลย เป็นผลไม้ที่ทนแล้งมาก 1 ปี ไม่ต้องรดน้ำก็ยังไม่ตาย แต่ในฤดูฝนได้อาศัยน้ำจากน้ำฝนก็เพียงพอ

ผู้เขียนไม่เห็นการวางระบบน้ำในแปลงมะขามป้อมเลยเช่นกัน playminigamesnow.com ช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน มาดูคำอธิบายของลุงผลในการดูแลมะขามป้อม ว่าระหว่างนี้ต้องศึกษาพฤติกรรมของต้นมะขามป้อมว่า ชอบหรือไม่ชอบอะไร ศึกษาเรื่องการติดดอก ออกผล สังเกตการเจริญเติบโตแต่ละช่วงอายุว่ามีการพัฒนาไปเช่นไร ต้นที่โตช้าแต่เมื่อเกิดดอกออกผลแล้วจะติดผลดกมากนั่นเป็นเพราะธรรมชาติของมะขามป้อม ช่วงติดผลไม่ต้องกังวล อาจจะมีผลร่วงหล่นบ้างเป็นเรื่องปกติ เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง

หมั่นดูแลโรคและแมลง เรื่องโรคจะไม่ค่อยพบ แต่ถ้าเป็นแมลงก็มีบ้าง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟและหนอนเจาะลำต้น การป้องกันลุงผลใช้สารสกัดหรือน้ำหมักสมุนไพรจากสะเดาฉีดพ่น ส่วนหนอนเจาะลำต้นซึ่งเกิดจากผีเสื้อกลางคืนตัวขาวๆ ตัวไม่ใหญ่เท่าไร มาวางไข่แล้วฟักตัวเป็นหนอนเจาะเข้าไปในลำต้น ถ้าพบเห็นก็จะใช้สเปรย์ใส่ยาบวกกับน้ำส้มควันไม้ฉีดเข้าไปในรูให้โดนตัว แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูเท่านี้หนอนก็ตาย “ความจริงแล้ว มะขามป้อมโดยธรรมชาติเป็นพืชที่มีรสฝาด แมลงไม่ชอบ”

เรื่องปุ๋ย “ปุ๋ยก็ใส่บ้าง เน้นสูตร 15-15-15 ใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม ใส่ร่วมกับปุ๋ยหมัก ต้นละ 20 กิโลกรัม เพียงครั้งเดียว ช่วงเดือนกรกฎาคม”

เมื่อถามถึงกรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยหมัก ลุงผล ตอบอย่างไม่ลังเลว่า “ลุงใช้สูตร 1:2:3 คือ ใช้กากน้ำตาล 1 ส่วน โดยผสมคนเคล้ากับ พด.1 และน้ำหมักชีวภาพ ใช้ขี้ไก่ 2 ส่วน วัตถุดิบ 3 ส่วน จากซังข้าวโพด”

“ปุ๋ยไม่ใส่เลย มะขามป้อมก็ยังเติบโตให้ผลผลิต แต่ถ้าใส่ก็จะยิ่งเจริญเติบโต ให้ผลดี”

เดือนธันวาคม จะได้ช่วงเวลาเก็บผลผลิต ด้วยการใช้อุปกรณ์สอย ต้นที่มีอายุ 5 ปี ต้นอาจจะสูงสักหน่อย ลุงได้ขอให้ศูนย์วิจัยฯ สร้างเครื่องต้นแบบเครื่องเขย่าผลมะขามป้อมอยู่พอดี คาดว่าฤดูกาลผลิตนี้ลุงผลจะได้ใช้ ปีก่อนให้ผลผลิต ต้นละ 50 กิโลกรัม ขายได้ กิโลกรัมละ 20 บาท แต่ปีนี้มะขามป้อมติดดกมาก ดกจนกิ่งบางกิ่งหักเกือบทุกต้น

เคยนำผลมะขามป้อมมาชั่งน้ำหนักดู ได้สถิติว่า ถ้าเป็นพันธุ์เพชรเมืองลอง (ปากกาง) จะมีจำนวน 60 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม พันธุ์วังหงส์ 125 ผล ต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นพันธุ์อินเดีย 45 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม

“ปีนี้มีคนจองหมดแล้ว เขาจะนำไปแช่อิ่มอบแห้ง แล้วก็ทำน้ำมะขามป้อมบรรจุขวด” ลุงผล กล่าว

กล่าวถึงการตลาด ลุงผล กล่าวว่า ส่วนใหญ่แหล่งรับซื้ออยู่ในท้องถิ่น ขายได้หมดไม่มีปัญหา ซึ่งต่างจากตอนเริ่มปลูกใหม่ๆ คิดว่าปลูกมะขามป้อมแล้วจะขายผลได้หรือ เพราะไม่มีใครเขาปลูกกัน ลุงผลเป็นเกษตรกรรายแรกที่ปลูก ปลูกแล้วจะไปขายที่ไหน ขณะนั้นยังเป็นกังวลอยู่ ในที่สุดก็มีคนซื้อไปแปรรูป ไปทำเป็นมะขามป้อมแช่อิ่มบ้าง ทำน้ำคั้นจากมะขามป้อมบ้าง ไปทำสมุนไพรบ้าง

ลุงผล วางแผนในอนาคตว่า “จะก่อสร้างอาคารแปรรูปอบแห้งมะขามป้อม รอปรึกษากับทายาท ว่าจะให้รับช่วงไปดำเนินการต่อ”

ที่ผ่านมามักจะเจอคำถามเกี่ยวกับการปลูก การดูแลครับ

อย่างเช่น มะม่วงพันธุ์นี้ต้นสูงไหม สายพันธุ์ไหนดูแลยาก ดูแลง่าย ผมก็ตอบว่า ไม่มีความแตกต่าง มะม่วงถ้าปล่อยให้โต จะมีความสูงใกล้เคียงกันหมด ยกเว้นมะม่วงบางตัวที่มีข้อสั้น เช่น มะม่วงค่อมแคระ มะม่วงสายพันธุ์นี้จะโตช้า ก็จะมีอยู่บ้าง แต่ก็น้อยมากครับ ด้านโรคและแมลงมีความต้านทานโรคที่ไม่แตกต่างกันเท่าไร ถ้ามีโรคที่ร้ายแรง มันจะติดทุกสายพันธุ์ ยาก ง่าย แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ คุณสุรศักดิ์ ยังตอกย้ำความมั่นใจให้ฟังอีกว่า มะม่วงภายในสวนนั้น เป็นการปลูก แบบออร์แกนิก 100% ไม่มีการใช้สารเคมี ปุ๋ยและยาที่ใช้ภายในสวนจะเป็นแบบชีวภาพทั้งหมด

“ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยคอก ยาที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องโรคและแมลงเดี๋ยวนี้ดีมาก เราไม่ต้องปิดจมูก ใช้มือคนได้ เข้าปากก็ไม่เป็นอะไร พวกสารสะเดาสกัดเข้มข้น พวกหนอนตายอยาก อะไรแบบนี้ครับ แต่ถามว่าถ้าไม่ใช้เคมีเกิดปัญหาอะไรขึ้นไหม ก็มีเรื่องโรคครับ การที่เรารวบรวมมะม่วงต่างๆ จากภายในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามานั้น ผมก็มาเกือบทุกชนิด ทำให้มันก็นำโรคเข้ามาด้วย โรคบางอย่างเคมีก็เอาแทบไม่อยู่ ผมจะใช้วิธีตัดทำลาย และเผาไฟทิ้งครับ ถ้าเกิดเป็นและมีการติดต่ออย่างรุนแรงครับ”

ในด้านของราคาขาย จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ปลูกมะม่วง เพื่อทำกิ่งพันธุ์ขายอย่างเดียว
ปลูกมะมวง เพื่อขายผลผลิต แยกออกเป็นกลุ่มย่อยอีกจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตที่มีขั้นตอนยุ่งยากน้อยที่สุด คือการขายลูกอ่อน ผลตอบแทนไว และได้ผลตอบแทนไวที่สุด
“ปัจจุบันนี้นั้น มาตรฐานเหมือนกันหมดเลย ก็คือ กิ่งทาบ 50 บาท หากย้อนไปเมื่อช่วงที่ผมเริ่มทำมะม่วงใหม่ๆ นั้น ย้อนไปเกือบ 30 ปี ตอนนั้นมั้น 15 บาท ราคานี้เป็นราคากลางมาตรฐานครับ”

ในด้านของรายได้ คุณสุรศักดิ์ บอกว่า อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ มีกลุ่มลูกค้าทั้งในและนอกประเทศที่ให้การตอบรับผลผลิตและกิ่งพันธุ์มะม่วงหลากหลายสายพันธุ์

สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสุรศักดิ์ ศรีอำนวย เจ้าของสวนบ้านล้วนไม้ดี ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หรือเบอร์โทรศัพท์

“คุณเบิร์ด” หรือ คุณยุทธนา คามบุตร ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร ศวพ.เพชรบูรณ์ มาเป็นเกษตรกรทำไร่ทำสวนอย่างเต็มตัว ปลูกฝรั่งพันธุ์กิมจู และฝรั่งพันธุ์หงเป่าสือ บนที่ดิน 3 ไร่ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ภายใต้แบรนด์ “สวนลุงเบิร์ด” มีรายได้เดือนละ 7,000-8,000 บาทตลอดทั้งปี

“คุณเบิร์ด” วัย 33 ปี นับเป็นเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ที่กลับมาสานต่ออาชีพทำไร่ของครอบครัว ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาหลายปี แต่ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน เนื่องจากขาดการบริหารจัดการน้ำ จึงได้มีการนำความรู้ทางวิชาการ เทคนิควิธีการต่างๆ จากประสบการณ์ในการเรียน และการฝึกงานเกษตรที่ประเทศอิสราเอล ในโครงการจัดการเรียนการสอน พืชศาสตร์ ระบบทวิภาคี ไทย-อิสราเอล (ARAVA) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้บริหารจัดการฟาร์มได้ดีขึ้น สามารถเพิ่มรอบการผลิตได้มากกว่าเดิม จึงได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำไร่ ระดับจังหวัดชัยนาท ประจำปี 2565

นอกจากนี้ คุณเบิร์ด ยังเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer : YSF) ของจังหวัดชัยนาท ได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเกษตรกับเกษตรกรในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง มีเข้ารับการอบรมเรื่องการจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเกษตรของตนเอง และเครือข่าย

เนื่องจากการทำไร่มีความเสี่ยงเรื่องฟ้าฝน หลังหมดฤดูเก็บเกี่ยวพืชไร่ไม่มีรายได้เข้ามา คุณเบิร์ดจึงตัดสินใจปลูกฝรั่ง เพราะเป็นไม้ผลที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปี โดยศึกษาดูงานสวนฝรั่งของเพื่อน YSF ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำความรู้มาใช้ลงทุนทำสวนฝรั่งกิมจู ที่จังหวัดชัยนาท จนประสบความสำเร็จ สร้างอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ตลอดทั้งปี

คุณเบิร์ด ปลูกฝรั่งพันธุ์กิมจู บนเนื้อที่ 2 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว ข้างล่างเป็นทางน้ำไหลผ่าน จึงยกร่องลูกฟูก ไม่ให้น้ำขังในแปลงเพาะปลูก โดยปลูกต้นฝรั่งกิมจู 400 กว่าต้น ในระยะห่าง 3×3 เมตร คุณเบิร์ดทำการตัดแต่งกิ่งเป็น 3 รุ่นต่อปี โดยทำการตัดแต่งกิ่งแต่ละรุ่น ห่างกัน 3 สัปดาห์ หลังตัดยอดแล้วจะมียอดใหม่โผล่ขึ้นมา เริ่มติดดอก ดอกบาน และติดผลอ่อน หลังจากห่อผลประมาณ 2 เดือน จึงตัดผลออกมาขาย

กว่าจะมาเป็นฝรั่งที่แสนอร่อยให้ได้ทาน ตั้งแต่เริ่มเป็นดอกไปจนถึงเก็บผล ใช้เวลาเกือบ 4 เดือนเลยทีเดียว หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว ก็ทำความสะอาดแปลง ตัดแต่งกิ่ง เพื่อเตรียมห่อผลในรุ่นต่อไป เพื่อให้มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ผลิตฝรั่งกิมจู สด ใหม่ ปลอดภัย การันตีด้วยมาตรฐาน GAP ซึ่งใบรับรองมาตรฐาน GAP ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการต่อรองราคา แต่เป็นเครื่องการันตีว่า ทุกกระบวนการผลิตมีคุณภาพและปลอดภัย สำหรับผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตอีกด้วย

สำหรับการจัดการแปลงปลูกฝรั่งในช่วงฤดูแล้ง ใช้วิธีการห่มดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ซึ่งเทคนิคการห่มดินของคุณเบิร์ด ไม่ใช่แค่การนำใบไม้หรือเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตร มาคลุมที่โคนต้นไม้เพราะมีขั้นตอนมากกว่านั้น ขั้นแรก ตัดแต่งกิ่ง ก้านใบ กาบใบ ส่วนที่แห้งออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น

หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว ทำการถากหญ้ารอบๆ โคนต้น และทำคันดินล้อมโคนต้นไม้ ความกว้างประมาณ 1.5 เมตร รอบโคนต้น เพื่อเป็นคันดินกักเก็บน้ำไม่ให้ไหลออกไปข้างนอกทรงพุ่ม หลังจากนั้น นำใบไม้หรือเศษวัสดุที่เหลือจากการเกษตรมาคลุมรอบๆ โคนต้นไม้ และรดน้ำให้ชุ่ม ซึ่งการคลุมดินนั้นจะช่วยลดการระเหยของน้ำได้มาก

คุณเบิร์ด ตระหนักดีว่า การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีได้อีกทาง สวนฝรั่งแห่งนี้ จึงฉีดยาป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง แล้วเว้นไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนห่อผล เพื่อให้สารเคมีสลายตัวและไม่เกิดการตกค้างในผลฝรั่ง เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และก่อนฉีดยาจะทำการสำรวจในแปลงก่อน หากไม่เจอการระบาดของเพลี้ยต่างๆ ก็ไม่ฉีด เพื่อความประหยัดต้นทุน

คุณเบิร์ด บอกว่า การปลูกฝรั่งเพื่อทำผลนั้น มักพบปัญหาในฤดูฝนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากปัญหาลมและฝนที่ตกแรง ทำให้กิ่งหักหรือต้นล้มได้ แถมรสชาติฝรั่งหวานน้อยกว่าปกติ เพราะต้นฝรั่งดูดน้ำเข้าไปมากในช่วงฝนตก ปุ๋ยสูตรเดิม (20-8-20) ที่ใช้เพิ่มความหวานได้น้อย จึงต้องใช้ปุ๋ยสูตร 12-6-30 ที่ให้ธาตุอาหารสูง ช่วยให้ความหวานเพิ่มขึ้นต่างจากเดิมค่อนข้างมาก

“ปกติฝรั่งของเรามีค่าความหวานอยู่ที่ 13-15 บริกซ์ แต่ความหวานสูงสุดที่เคยทำได้ คือ 19 บริกซ์ ซึ่งเกิดจากปัจจัยเรื่องการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย และฤดูกาล ช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงที่ฝรั่งรสชาติดีที่สุด โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ผลฝรั่งจะมีค่าความหวานดีที่สุด” คุณเบิร์ด กล่าว

ปัจจุบัน สวนลุงเบิร์ดจำหน่ายผลฝรั่งสด, น้ำฝรั่ง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และกิ่งพันธุ์ฝรั่งผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ และตลาดในท้องถิ่น เช่น ตลาดนัดวัดเขาดิน อำเภอหนองมะโมง หน่วยงานราชการในจังหวัดชัยนาท เป็นต้น

ฝรั่งสวนลุงเบิร์ดไม่ได้มีแค่ความอร่อย แต่ใส่ใจในทุกกระบวนการผลิต คุณเบิร์ดมุ่งมั่น ตั้งใจผลิตฝรั่งดี มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฝรั่งกิมจูและฝรั่งหงเป่าสือ ที่ตั้งใจปลูกดูแลรักษาให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัยกับลูกค้า การันตีด้วยมาตรฐาน GAP พร้อมส่งทั่วไทย คิดค่าส่งตามจริง

เนื่องจากฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องตลอดทั้งปี คุณเบิร์ดจึงขยายพื้นที่เพาะปลูกฝรั่งพันธุ์หงเป่าสือ จาก 1 งาน ขยายเป็น 2 ไร่ ปลูกเพิ่มเป็น 210 ต้น หงเป่าสือ เป็นฝรั่งไต้หวันไส้แดง ที่โดดเด่นเรื่องรสชาติที่จัดจ้านมาก เนื้อเยอะ เมล็ดน้อยจนแทบไร้เมล็ด มีรสชาติกรอบ รสหวานซ่อนเปรี้ยวแบบลงตัวมาก และที่สำคัญขายได้ราคาดี 120 บาท ต่อกิโลกรัม และในปี 2566 คุณเบิร์ดเตรียมเปิดขายสินค้าตัวใหม่ พุทราน้ำอ้อย เบอร์ 12 ซึ่งเป็นพุทราสายพันธุ์ไต้หวัน ผลดก ลูกใหญ่ รสชาติหวาน กลิ่นหอมเหมือนน้ำอ้อย ให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยกัน

ในระยะยาว คุณเบิร์ดตั้งเป้าหมายพัฒนาสวนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพราะที่นี่ปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกไม้ผลแต่ละชนิดรวมทั้งการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจได้เข้ามาชมและเลือกซื้อสินค้าต่างๆ เป็นของขวัญของฝาก รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดธุรกิจให้แก่เกษตรกรทั่วไปได้ในอนาคต

หากใครสนใจสั่งซื้อสินค้า สวนลุงเบิร์ด หรืออยากเปลี่ยนข้อมูลเรื่องการปลูกฝรั่งและการบริหารจัดการฟาร์มเกษตร ติดต่อ คุณเบิร์ด หรือ คุณยุทธนา คามบุตร ได้ที่ สวนลุงเบิร์ด บ้านเลขที่ หมู่ที่ 5 บ้านพุน้อย ตำบลสะพานหิน อำเภอหนองมะโมง ชัยนาท โทร. 097-462-5498 หรือติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของสวนลุงเบิร์ด ได้ทาง Facebook : Yutthana Khambut และเพจ Facebook สวนลุงเบิร์ด

2 สามีภรรยา ส่งลูกเรียนจบปริญญาโท 2 คน ด้วยการทำไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ มีเหลือ “กิน แจก แลก ขาย” เป็นแปลงต้นแบบที่มีรายได้หลักแสนบาทต่อปี มีรายได้ รายวัย รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี

การเดินทางไปยังฟาร์มแห่งนี้ ถือว่าสะดวกสบาย จากปากทางข้างเทศบาลตำบลหินกอง มีซุ้มประตูบอกว่า “บ้านหนองสระ” ประมาณ 2 กิโลเมตร เข้าไปถึงไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล ชุมวัน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 9 บ้านหนองสระ ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 084-826-5759

บนพื้นที่ 6-2-0 ไร่ มีซุ้มทางเข้าเตรียมปลูก ฟัก แฟง ถั่วฝักยาว บวบ แตง ที่นี่บริหารจัดการตามรูปแบบไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 ขุดบ่อน้ำขนาด กว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 7 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี บ่อขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ลึก 7 เมตร อีก 5 บ่อ มีการเลี้ยงปลา นิล ไน ตะเพียน ปลาจะละเม็ด ปลาหมอ ปลากะโห้ ปลาดุก

นอกจากนี้ ยังเลี้ยงหมูป่า เป็ด ห่าน ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ไผ่ตงหวาน มะละกอ เพกา มะนาว มะกรูด มะขามเทศ ขนุน ข่า ตะไคร้ พลูกินหมาก พุทรา กล้วย มะม่วง ผักติ้ว ดอกกระเจียว แตงร้าน เครือหมาน้อย มะระขี้นก ไม้ป่าใช้สอยริมรั้ว ยมหอม ยางนา สามารถสร้างเงินได้แทบทุกตารางนิ้ว

ปี 2546 คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล เริ่มต้นขุดบ่อลึก 7-8 เมตร ตักดินล่างขึ้นมาด้านบน เพราะดินไม่ดี ต้องปรับปรุงดิน ด้วยอินทรียวัตถุ ที่นี่ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่กินได้ “กิน แจก แลก ขาย” หรือ ปลูกไว้กิน เหลือกินจั่งขายเจ้านายมาเก็บเป็นของฝากไผอยากให้เก็บไปกิน อยู่อย่างเอื้ออาทร จุนเจือกันไปตามแบบฉบับคนทุ่งกุลาร้องไห้

ครอบครัวนี้ มีลูก 4 คน มีรายได้จาก “ไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่” ส่งลูกเรียนหนังสือ จบปริญญาโท 2 คน ปริญญาตรี 2 คน รับราชการ 3 คน ทำงานบริษัทเอกชน 1 คน

คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล บอกว่า ที่นี่ คือขุมทรัพย์ที่มีอยู่มีกินตลอดชีวิต เป็นแหล่งอาหารของชุมชน วันจันทร์ วันศุกร์ วันเสาร์ เปิดตลาดนัด ชุมชนตำบลหินกอง นำสินค้าทางการเกษตร พืชผัก หน่อไม้ ปลา มะนาว ภายในสวน ไปขาย มีรายได้ ครั้งละ 1,800-2,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 8,000-10,000 บาท ปีละ 120,000 บาท บางวันไม่ได้ไปขายของที่ตลาด มีลูกค้าเข้ามาซื้อเป็ด ปลา พืชผักหน้าสวน เกิดรายได้ทุกวัน นอกจากนี้ ยังทำนาปลูกข้าวอีก 70-80 ไร่ ได้ข้าวหอมมะลิ 30-40 ตัน/ปี ขายข้าวได้ปีละ 4-5 แสนบาท มีอาหารจากไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลอดภัยจากสารพิษล้วนๆ คือ สินค้าเกษตรอินทรีย์ ครอบครัวมีความภาคภูมิใจที่เป็นคนทุ่งกุลาร้องไห้ ชนะความยากจนด้วย “ศาสตร์พระราชา”

ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลเฟิร์น สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และนอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน

นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อม ให้ได้รู้ว่าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้น ด้วยสรรพคุณและคุณค่าที่มีมากมาย จึงทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกผักกูดเชิงการค้ามากขึ้น

คุณชาญณรงค์ พวงสั้น อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เล่าถึงงานปลูกผักกูดว่า เกิดนึกสนใจและมองเห็นอนาคตของผักกูดว่าน่าจะไปได้ดี

ผักกูดเป็นผักที่หาได้จากธรรมชาติในสมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มหารับประทานยากขึ้นทุกวัน ตนจึงมองเห็นโอกาสจากตรงนี้ ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทำงานสวนปลูกผักกูดอินทรีย์แซมสวนสัก โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 คือปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ดังนั้น ในสวนของคุณชาญณรงค์จะเต็มไปด้วยการปลูกพืชที่เอื้ออำนวยกันไปเป็นลำดับ

พื้นที่ 21 ไร่ ยึดหลัก ปลูก 3 ประโยชน์ 4
คุณชาญณรงค์ เล่าว่าพื้นที่เดิมตรงนี้เป็นป่าละเมาะเล็กๆ ตนเริ่มปลูกมะนาวเป็นอย่างแรก ได้มีการใช้สารเคมีมากมาย เมื่อเวลาผ่านไปสักพักได้เล็งเห็นว่าความปลอดภัยน้อยลง ทั้งในเรื่องของสุขภาพ และสภาพพื้นดิน จึงหยุดปลูกมะนาว หันมาปลูกจันทน์ผาอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนนั้นจันทน์ผากำลังเป็นที่ฮือฮา ก็ขายได้บางส่วน พื้นที่อีกส่วนใช้ปลูกต้นสัก เพราะสักเป็นพืชที่มีอนาคต อายุต้นสักภายในสวนคุณชาญณรงค์อายุ 15 ปี คิดเป็นมูลค่ากว่าต้นละ 5,000 บาท ภายในสวนมี 1,000 ต้น ปลูกในระยะ 6×4 เมตร

สาเหตุที่ตนปลูกพืชหลายอย่างในสวนเดียวกัน เพราะได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ชั้นล่างสุดจะปลูกผักกูด ชั้นสองคือ จันทน์ผา ชั้นสาม ไม้สัก ตกกลางคืนจะมีหิ่งห้อยเข้ามาบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ในสวนแห่งนี้ สิ่งเหล่านี้ได้ประโยชน์กว่าที่คิด

ปลูกผักกูดอย่างไร ให้ได้กิน ได้ขาย
คุณชาญณรงค์ เล่าให้ฟังว่า ผักกูด เป็นพืชที่อยู่คู่กับริมแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณริมแม่น้ำจะมีผักกูดขึ้นอยู่เต็มไปหมด แต่การปลูกเป็นแปลงจะน้อย เกษตรกรจะใช้วิธีเก็บผักกูดตามริมน้ำ ซึ่งในฤดูแล้งจะขาดแคลน ผู้บริโภคที่ต้องการก็จะหายาก

วิธีการปลูกผักกูดของคุณชาญณรงค์ เขาให้น้ำตลอด ดินต้องมีความชื้นตลอด และข้อดีของการปลูกผักกูดแซมในสวนสักคือ ผักกูดเป็นพืชที่ต้องการน้ำ ดังนั้น ให้น้ำผักกูดตลอด 12 เดือน ส่งผลไปถึงต้นสัก

ต้นสักโตเร็ว เท่านั้นไม่พอที่นี่กลางคืนมีหิ่งห้อย เพราะเป็นระบบธรรมชาติที่สมบูรณ์ไม่มีการใช้สารเคมีมาเกี่ยวข้อง

ผักกูดที่นี่ใช้วิธีขยายพันธุ์โดยสปอร์ ซึ่งจะพัฒนาเป็นหน่อเล็กๆ ปลูกในระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 30×50 เซนติเมตร 4 เดือน เริ่มเก็บผลผลิตได้

ผักกูด เป็นพืชที่ให้น้ำหนักดีมาก โดยยอดที่สมบูรณ์ โดยประมาณ 30 ยอด ได้น้ำหนักถึง 1 กิโลกรัม ถ้ายอดเล็ก ประมาณ 50 ยอด จะได้ 1 กิโลกรัม

ปุ๋ย ให้เป็นปุ๋ยคอกอย่างเดียว ปีละครั้ง ระบบน้ำ ดินชื้นไม่ต้องให้ ดินแห้งจึงให้

“ฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำ topgoo.net ผักกูดเป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดมากเกินไป ถ้าน้ำน้อยน้ำขาดจะแห้งเลย ถ้าอยากปลูกผักกูดสร้างรายได้ต้องคำนึงถึงน้ำและร่มเงา ปลูกกลางแจ้งไม่ได้ ข้อจำกัดเขามีอยู่ตรงนี้ อีกวิธีหนึ่งคือใช้ซาแรนคลุมเพื่อลดแสงแดด แต่จะเป็นการเพิ่มต้นทุน ใบไม้ก็สามารถทำเป็นปุ๋ยได้ เมื่อทิ้งไว้นานใบไม้เริ่มเปื่อยใช้ได้ดี ใช้ไม่มีหมด อย่าไปเผา อย่าไปทำลายฉีดยา สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ทั้งนั้น” คุณชาญณรงค์ บอก

ศัตรูพืช ของผักกูดคือ แมลงกินใบ แต่คุณชาญณรงค์บอกว่าไม่เป็นไร เพราะใบของผักกูดมีเยอะ ถ้าเราให้น้ำเยอะใบก็แตกเยอะ แมลงกินไม่ทัน คุณชาญณรงค์ยังพูดติดตลกอีกว่า ก็แบ่งๆ แมลงกินบ้างไม่เสียหาย ดีกว่าเสียเงินไปซื้อยาฆ่าแมลง ทั้งเพิ่มต้นทุนและทำลายระบบนิเวศที่สมบูรณ์อยู่แล้ว

ผักกูดนำมาประกอบอาหารอร่อยเลิศ
หากท่านใดเคยได้ลิ้มลองผักกูดในเมนูอาหารต่างๆ มาแล้ว มั่นใจว่าท่านจะต้องติดใจในรสชาติความหวานและความกรอบของยอดผักกูดอย่างแน่นอน สำหรับท่านที่ยังไม่เคยได้ลองเมนูผักกูดถือว่าพลาดมาก รีบไปหามารับประทานได้เลย ผักกูดสามารถประกอบอาหารได้หลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นยำ แกงส้มผักกูด ผัดผักกูดใส่หมูกรอบ หรือจะลวกจิ้มน้ำพริกอร่อยสุดยอด และยังมีคุณค่าทางสมุนไพรอีกด้วย

การตลาดหาไม่ยาก เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว
“แก่งกระจาน มีรีสอร์ตเยอะ ดังนั้น การตลาดของผมจึงไม่ต้องคิดมากเลย มุ่งหน้าทำตลาดกับรีสอร์ตก่อนเป็นอันดับแรก เหตุผลที่เลือกส่งรีสอร์ตจะเป็นในเรื่องของความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลานั่งขาย ได้รายได้แน่นอนกว่า แต่ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ผมก็จัดสินค้าบางส่วนส่งให้ตลาดในท้องถิ่นและตลาดที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่ค้านำสินค้าจากในพื้นที่เข้ากรุงเทพฯ ก็จะติดผักกูดไป กิโลกรัมละ 50 บาท ลองคิดดูเล่นๆ ตกยอดละบาทกว่าเลยนะ แปลงนี้เรายังไม่เน้นขาย เน้นทำพันธุ์และเก็บกิน แจก เหลือก็ขาย พอสร้างรายได้เลี้ยงคนงาน” คุณชาญณรงค์ บอก

แนะนำสำหรับคนที่อยากปลูก
สิ่งแรกที่ต้องดูคือ ตลาด ว่าผู้บริโภคต้องการไหม เพราะพืชบางตัวผู้บริโภคไม่ต้องการก็มี สองยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูก 3 ประโยชน์ 4 เพื่อลดความเสี่ยงในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แถมได้รายได้หลายทาง ไม่ต้องปลูกเยอะเริ่มจากน้อยๆ เพื่อรับรู้ลองถูกลองผิด เมื่อชำนาญแล้วจึงขยาย ถ้าทำแบบนี้ได้จะปลูกอะไรก็สำเร็จ และสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกส้มเขียวหวานได้ 50 ต้น รวม 750 ต้น

เพราะบริเวณระหว่างแถวค่อนข้างจะกว้าง เพื่อสะดวกในการทำงาน ลมผ่านได้ดี กันโรค/แมลง ได้ส่วนหนึ่ง และยังนำรถตัดหญ้าเข้าไปทำงานได้ทั่วทั้งแปลง กิ่งพันธุ์ มีคุณภาพ

คุณนพดลให้รายละเอียดว่า ส้มเขียวหวานที่ลงแปลงปลูกใหม่ เป็นกิ่งตอนที่ซื้อมาจากจังหวัดกำแพงเพชร (ส้มเขียวหวานบางมด) ส่วนแปลงที่อายุ 3 ปี ซื้อกิ่งตอนมาจากอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นส้มเขียวหวานบางมดเช่นกัน ที่ตัดสินใจใช้กิ่งตอนจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เพราะเป็นกิ่งตอนที่มีคุณภาพ กล่าวคือ รอยแผลรอบกิ่ง จะมีรากออกโดยรอบ ปราศจากโรค/แมลง หลังปลูกลงดิน เมื่อต้นโตจะไม่โยก เพราะรากขยายแผ่ไปทุกทิศทาง และเติบโตทุกต้น ไม่มีตายแม้แต่ต้นเดียว ทั้งๆ ที่ตัดจากต้นแม่พันธุ์มา ก็ลงดินปลูกได้เลย ซึ่งคนที่ตอนกิ่งพันธุ์ได้เช่นนี้ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ

การดูแลเอาใจใส่ที่ดี
ย่อมได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ
คุณนพดล บอกว่า ตนเองได้ให้การดูแลปฏิบัติกับแปลงส้มเขียวหวานด้วยดีมาตลอด ให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ทุกวันต้องเข้าสำรวจแปลง “การดูแลของผม ดูมาตั้งแต่ต้นส้มอายุ 1 ปี จนต้นอายุ 3 ปี ให้ผลผลิตแล้ว ทั้งการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ฮอร์โมน สำรวจโรค/แมลง”

น้ำ ตลอดช่วงอายุของต้นส้มเขียวหวานจากปีที่ 1- ปีที่ 3 โดยเฉลี่ยแล้วจะให้น้ำผ่านหัวสปริงเกลอร์ 3-5 วัน ต่อครั้ง เว้นแต่ช่วงก่อนออกดอก ติดผลแล้ว จนผลแก่ ส้มต้องการน้ำแตกต่างกัน แต่ในช่วงฤดูฝนก็งดการให้น้ำตลอดฤดูกาล

ปุ๋ย แต่ละช่วงอายุ ให้ปุ๋ยแตกต่างกัน ตามตารางเวลา ปุ๋ยที่ใช้มี 3 ชนิด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้อยู่ร้อยละ 30 ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ร้อยละ 60 และปุ๋ยเคมี เพียงร้อยละ 10 ใช้เฉพาะช่วงส้มเขียวหวานก่อนออกดอกถึงก่อนเก็บผล 1 เดือน เท่านั้น

ดิน น้ำ ปุ๋ย มีความสำคัญมาก ต้องรู้และเข้าใจว่าทั้งต้น ใบ ดอก แต่ละช่วงอายุหรือเวลา ต้องการอะไร ขาดอะไร ต้องเติมลงไป

วัชพืช ใช้วิธีการตัดด้วยเครื่องยนต์รอบๆ แปลงปลูก จะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะหญ้าก็มีประโยชน์ช่วยคลุมหน้าดิน ป้องกันแสงแดดจัดๆ และช่วยรักษาความชื้น

ยา/สารเคมี สำหรับ โรค/แมลง ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้ามีหรือเมื่อพบเห็นจะใช้เพียงเท่าที่จำเป็น

การปฏิบัติเพื่อให้ส้มออกดอกอย่างมีคุณภาพ
คุณนพดล บอกถึงวิธีการปฏิบัติว่า ส้มเขียวหวานที่สวนเมื่อปีที่แล้ว คืออายุต้นได้ปีที่ 2 ก็ออกดอกและติดผลแล้ว แต่เด็ดทิ้งไปบ้าง เหลือไว้ไม่มากเพื่อจะดูผลผลิตว่า ผิว เนื้อ รสชาติ จะมีคุณภาพเพียงใด จึงถือว่าส้มเขียวหวานแปลงที่มีอายุต้น 3 ปี จะเป็นส้ม รุ่นที่ 1 โดยช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมจากปลายฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ก็จะถึงช่วงการ “ขึ้นน้ำ” ไม่ให้น้ำเลย เพื่อให้ใบแสดงอาการเฉาจนต้นโศก จากนั้นจะให้ปุ๋ย แล้ว “ขึ้นน้ำ” ให้เต็มที่ รอเวลาสักพักก็จะออกดอก นอกจากปุ๋ยแล้วก็จะมีการให้ฮอร์โมน และป้องกันโรค/แมลง เช่น โรคราดำ เพลี้ยไฟ ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าได้ปฏิบัติตามตารางเวลา จะไม่มีอะไรมารบกวน และจะไม่พบผลส้มร่วงหล่น

“ส่วนเทคนิคหรือเคล็ดลับในการดูแลส้มเขียวหวานนั้น ไม่มีอะไรมาก ต้องขยันลงแปลง ดูแลรอบๆ แปลงปลูก โดยเฉพาะช่วงก่อน-หลังฝนตก ส่วนต่างๆ ของส้มทั้งดอก ใบ ผล แสดงอาการอะไรบ้าง ก็ต้องดูแลตั้งแต่ต้นส้มเขียวหวานยังเล็กๆ จนให้ผลผลิต เช่น เมื่อต้นส้มครบ 3 ปี จะทำผลต้องพร้อมในเรื่องการออกดอก การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน อย่างที่บอกตอนต้นว่า เราทำไม้ผลในลักษณะกงสี มีการปรึกษาหารือกับพี่น้องกันตลอด เรามีพี่เลี้ยง มีการเตือนภัย” คุณนพดล กล่าว

คุณนพดล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในช่วงระหว่างที่รอผลผลิตส้ม ใช้เวลา 3 ปี จะปลูกฟักทอง แฟง แซมเก็บขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และผลพลอยได้ก็คือ ทั้งเถาและใบ ช่วยคลุมหน้าดินด้วย แต่ช่วงนี้ไม่ได้ปลูกพืชแซมแล้ว เพราะต้นส้มมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างขึ้น ปล่อยให้หญ้าขึ้นแล้วใช้เครื่องยนต์เข้าไปตัดให้สั้น เพื่อให้คลุมหน้าดิน

ผลผลิตส้มเขียวหวาน รุ่นที่ 1
จะออกสู่ตลาดเดือนพฤศจิกายน คุณนพดล ให้ข้อมูลว่า ส้มเขียวหวาน ในเขตอำเภอลอง จะออกสู่ตลาด 3 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม รุ่นที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และรุ่นที่ 3 เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ส่วนส้มเขียวหวานของสวนแห่งนี้ ให้ผลผลิตปีที่ 1 รุ่นที่ 1 จะเริ่มเก็บผลได้ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นรุ่นที่ให้ผลดกที่สุด และอร่อยมาก อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนลดลง แต่ดูแลยาก ถ้าดูแลไม่ดีขั้วจะเหลือง ผลร่วงหล่น ที่สำคัญถ้าผลออกช่วงนี้คาดว่าจะได้ราคาดี หรือได้ราคาที่เป็นธรรม

การดูว่าผลสุกแก่เก็บได้ ดูจากสีของผลนวล สีขึ้นกระดังงา หรือกำลังเข้าสี (สีผิวเขียว-เหลือง) รสชาติเริ่มหวาน จึงต้องเร่งเก็บผล แต่ถ้าเราไม่เก็บผล หรือปล่อยไว้บนต้นเพื่อรอดูราคา จะเกิดผลกระทบ คือมันจะคืนต้น หรือดึงต้น จากรสชาติหวานก็จะจืดชืด ฝ่อ ผลจะร่วง ยิ่งเก็บช้ายิ่งทำลายต้น ซึ่งส้มเขียวหวานก็จะให้ผลผลิตเกือบตลอดทั้งปีอยู่แล้ว จึงต้องบำรุงต้นให้ได้รับธาตุอาหาร สะสมพลังงานตลอดเพื่อคุณภาพของผลส้มในรุ่นต่อๆ ไป มิฉะนั้นต้นจะโทรม

ลักษณะเด่นของ ส้มเขียวหวาน สวนคุณนพดล คุณนพดล แจงว่าได้ชิมรสชาติของส้มเขียวหวานเมื่อปีที่แล้ว เพื่อจะได้ชี้แจงหรือสื่อสารกับผู้ซื้อว่าส้มเขียวหวานที่นี่เป็นเช่นไร มีจุดเด่นอะไร จึงพอจะบอกได้ว่า

ผล – กลม แป้นเล็กน้อย ก้นผลเรียบถึงเว้าเล็กน้อย ผิวผลเรียบ และผิวสีเขียวอมเหลือง

เปลือก – ไม่หนา บางล่อน และแกะออกง่าย

เนื้อ – เนื้อในสีส้มอมทอง เนื้อกุ้งไม่แข็ง ฉ่ำน้ำ ซังนิ่ม กลีบแยกออกจากกันง่าย

รสชาติ – หวานเข้ม และหวานอมเปรี้ยว แล้วแต่ช่วงเวลาของแต่ละรุ่น

และที่สำคัญ เป็นส้มปลอดภัย

ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ ในรุ่นที่ 1 คุณนพดล บอกว่า ผลผลิตส้มเขียวหวานปีที่ 1 รุ่นที่ 1 อาจจะได้ผลผลิตไม่มาก แต่ก็ได้คำนวณผลผลิตไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ผลผลิตจะเป็น เบอร์ 0 ประมาณ ร้อยละ 30 เบอร์ 1 กับ 2 ประมาณ ร้อยละ 70 ปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ คำนวณจากผลบนต้น ต้นละ 50 กิโลกรัม มีต้นส้มเขียวหวาน 750 ต้น ผลผลิตรวมราวๆ 37,500 กิโลกรัม (น้ำหนัก เบอร์ 1 จำนวน 9 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม)

ผู้เขียนตั้งคำถามว่า การที่จะเป็นเกษตรกรหนึ่งในจำนวนผู้ปลูกส้มเขียวหวาน จะสร้างชื่อเสียงให้กับส้มเขียวหวานจังหวัดแพร่กลับมาลือเลื่องดั่งเดิม และให้เกิดความยั่งยืน จะมีวิธีการใด

คุณนพดล เสนอแนวทางว่า เราจะต้องเลิกวิธีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ต้องสร้างผลผลิตให้มีรายได้ตลอดปี ไม่ควรทำตามกระแส ต้องรู้ว่าตัวตนของเราคือเกษตรกร ที่มีความรู้ในเรื่องส้มเขียวหวานอย่างลึกซึ้งหรือไม่ พื้นที่ที่ปลูกส้มเขียวหวานมีความเหมาะสมหรือไม่ ดิน-น้ำ-ปุ๋ย เป็นปัจจัยที่สำคัญ ถ้าทำสวนส้มเขียวหวานแล้ว ต้องไม่ปลูกแบบทิ้งขว้าง ต้องกล้าลงทุน แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง จึงต้องดูแลเอาใจใส่ อย่ารอแต่รับผลผลิตอย่างเดียว ต้องดูแลเหมือนเขาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา และถ้าจะดูแลให้ต้นส้มเขียวหวานแข็งแรง มีอายุต้นที่ยืนยาว ปราศจากโรค ต้องใช้วิธีการฝังเข็มทุกต้น จากส้มที่เล (ใกล้ตาย) ไปแล้ว อาจฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้ เหมือนกับที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเขาปฏิบัติกัน

คุณนพดล เป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดในการผลิตส้มเขียวหวาน มีความตั้งใจที่จะนำจุดอ่อนปัญหาจากอดีตมาแก้ไข เพื่อให้ผลผลิตส้มเขียวหวานมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตั้งใจที่จะผลิตส้มเขียวหวานในจังหวัดแพร่ ให้มีชื่อเสียงไปยังทั่วทุกภาคที่ผู้ซื้อ ผู้บริโภค ได้รู้จักและยอมรับในคุณภาพ และจากการเป็นเกษตรกรที่มุ่งมั่น ทุ่มเทในการประกอบอาชีพมาตั้งแต่ต้น จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาพืชสวนของจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ.2559 และได้รับการคัดเลือก ลำดับที่ 3 ของระดับเขต

คุณฤทัยทิพย์ จุมพิต เกษตรอำเภอลอง ได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมแก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวาน ในพื้นที่อำเภอลองว่า ข้อมูลจากอดีตที่พบเห็น เกษตรกรต่างก็มีพื้นที่ปลูกของตนเองมากน้อยแตกต่างกันไป ผลผลิตที่ได้ก็มีปริมาณแตกต่างกัน ต่อพื้นที่ ต่อไร่ ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องคุณภาพ แน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่าง ผลผลิตก็ต่างคนต่างขาย หรือถ้ามีกลุ่มผู้ซื้อจากภายนอกเข้ามาสำรวจตรวจดูผลผลิตและคุณภาพเป็นแปลงๆ ไป ก็เลือกที่จะให้ราคาตามคุณภาพที่เขาเห็นว่าสามารถจะขายผลผลิตสู่ผู้บริโภคได้โดยไม่มีข้อตำหนิ เกษตรกรจึงได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านราคา และตลาดที่ไม่ต่อเนื่อง

เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายส่งเสริมเรื่องเกษตรแบบแปลงใหญ่ สำนักงานเกษตรอำเภอลอง ก็ได้กำหนดแนวทางในการลงไปดำเนินการ แนะนำให้มีการรวมกลุ่ม มีการถ่ายทอดความรู้ การผลิตส้มเขียวหวานให้ได้มาตรฐาน และได้ออกใบรับรอง GAP ให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการทุกแปลง เกษตรแบบแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานอำเภอลอง ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 ผลก็คือ เกษตรกรรับรู้ถึงทิศทางการตลาด จนเกิดการพัฒนาคุณภาพ และปริมาณการผลิตที่คำนึงถึงความต้องการของตลาด ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ส้มเขียวหวาน ที่ตำบลทุ่งแล้ง 1 จุด จำนวนสมาชิก 40 ราย พื้นที่ 440 ไร่

คุณฤทัยทิพย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่เฉพาะเกษตรกรที่เป็นสมาชิกแบบแปลงใหญ่เท่านั้น สำนักงานเกษตรอำเภอลอง ก็ได้เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยในด้านการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ และสามารถออกใบรับรอง GAP ได้ และเมื่อเขาเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ก็จะได้เข้ามาร่วมกับกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ในโอกาสต่อไป

ผู้เขียนขอสื่อสารฝากบอกถึงแหล่งรับซื้อ ที่ต้องการรับซื้อส้มเขียวหวาน ติดต่อสอบถามที่ ที่ทำการเกษตรแปลงใหญ่ส้มเขียวหวาน หรือผลไม้อื่นๆ อย่าง ลองกอง เงาะ มังคุด ส้มโอ พุทรา ติดต่อสอบถามได้ที่ ศพก. ลอง หรือสำนักงานเกษตรอำเภอลอง จะได้รับข้อมูลที่หลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร

พลับช็อกโกแลต Black Sapote ช็อกโกแลตพุดดิ้ง เป็นผลไม้มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามแนวชายฝั่งทั้งสองแห่งของเม็กซิโก จากเมืองฮาลิสโกไปจนถึงเชียปัสเวรากรูซ และยูคาทาน บนพื้นที่ราบลุ่มของอเมริกากลาง เป็นไม้โซนร้อน ต้นไม้มีการปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่กึ่งเขตร้อนและอบอุ่น ทนต่อพื้นที่ที่มีลมแรงปานกลาง และหากตัดแต่งเป็นประจำ เพื่อจำกัดขนาดต้นไม้ ให้มีความโปร่งแสงจะได้ส่องผ่านได้ทั่วถึง

ใบพลับช็อกโกแลต มีสีเขียวชอุ่มมันวาวตลอดปี ลักษณะสลับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 4-12 นิ้ว (10-30 เซนติเมตร) ลักษณะดอก เกิดขึ้นในซอกใบและอาจเป็นดอกกะเทย หรือตัวผู้

เนื่องจากพลับช็อกโกแลต เป็นไม้ผลโซนร้อน จึงปลูกและเติบโตได้ดีในประเทศไทย ผลของพลับช็อกโกแลต จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-6 นิ้ว (ประมาณ 5-15 เซนติเมตร) ผลคล้ายกับลูกมะเขือเทศลูกใหญ่ๆ มีเปลือกสีเขียว ผลที่ยังไม่สุกจะเป็นสีเขียวใส เมื่อสุกแล้วก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม และเมื่อสุกเต็มที่ เนื้อข้างในผลจะเป็นสีน้ำตาลเข้มจัดจนถึงสีดำ เมล็ดด้านในผล บางผลก็ไม่มีเมล็ด แต่บางผลก็อาจมี 1-5 เมล็ด

ในช่วงผลเริ่มสุกจะร่วงจากต้นค่อนข้างเร็ว ทำให้เกษตรกรมักจะเก็บผลผลิตก่อนที่จะสุกงอม 3-14 วัน แล้วนำมาวางในอุณหภูมิปกติ เพื่อให้สุกเอง เพื่อป้องกันการหล่นช้ำ หรือหากต้องการให้สุกช้าขึ้นเมื่อเก็บผลผลิตแล้วก็นำไปแช่ตู้เย็นสามารถยืดระยะเวลาให้สุกช้า

ผู้คนส่วนมากนิยมทานผลสด เช่น ทานคู่กับไอศกรีม นมสด ขนมเค้ก หรือราดน้ำผึ้งและวิปปิงครีม และยังสามารถนำไปเป็นส่วนผสมการทำขนมอย่างไส้ด้านในของพาย ก็ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังนิยมอย่างมากในเม็กซิโก ใช้เป็นส่วนผสมในไอศกรีม หรือผสมกับน้ำส้มหรือบรั่นดี เสิร์ฟพร้อมกับวิปปิงครีม เป็นต้น ถือว่าพลับช็อกโกแลตเป็นผลไม้ที่สามารถสร้างสรรค์เมนูของหวานได้อย่างหลากหลาย เปลือกและใบบดพลับช็อกโกแลต ถูกนำมาใช้เป็นยาพอกแผลพุพองในประเทศฟิลิปปินส์ นำใบพลับช็อกโกแลต มาต้มใช้เป็นยาสมานแผลและถูกนำมาใช้แก้โรคกลาก โรคเรื้อน และอาการคันผิวหนัง

ต้นพลับช็อกโกแลต เป็นไม้ขนาดกลาง เติบโตเร็ว มีความสูงประมาณ 7-9 เมตร เมื่อมีอายุครบ 1 ปีครึ่ง จะเริ่มให้ผลผลิตในครั้งแรก แต่ผลผลิตอาจไม่มากนัก และผลผลิตจะออกในช่วงเดือนมีนาคม-ธันวาคม

ในช่วง 2 ปีแรก ควรมีการตัดตกแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นของพลับช็อกโกแลตนั้นแตกแขนง และง่ายต่อการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ พลับช็อกโกแลตยังเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่อง เพื่อแสงแดดช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการออกผลได้เป็นอย่างดี

วัสดุในการใช้ปลูก ดินที่เหมาะสมในการปลูกมากที่สุด จะเป็นดินทรายร่วนผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1 และเพิ่มขุยมะพร้าวแบบละเอียด ต้นพลับช็อกโกแลตต้องการความชุ่มชื้น แต่ไม่อุ้มน้ำให้ขัง ต้นพลับช็อกโกแลตเจริญเติบโตได้ดีบนดินทรายที่มีการระบายน้ำดี ทนแล้ง แต่ก็ค่อนข้างทนต่อน้ำท่วม ค่า PH 5.5-7.0 ของดิน

หลุมปลูก มีความลึก 80 เซนติเมตร เมื่อนำต้นกล้าลงแปลงปลูกแล้ว นำดินที่ผสมแล้วกลบหลุมและโรยด้วยขุยมะพร้าวอีกครั้ง จากนั้นนำน้ำผสมกากน้ำตาลและยาเร่งราก ในอัตราส่วน น้ำ 90 เปอร์เซ็นต์ น้ำยาเร่งราก 5 เปอร์เซ็นต์ กากน้ำตาล 5 เปอร์เซ็นต์ รดให้ชุ่ม การรดน้ำ ควรรดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และทำให้ต้นโตไว้ได้ผลผลิตดี

ต้นพลับช็อกโกแลต มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีปกติตามธรรมชาติของต้นไม้ชนิดนี้ จะชอบดินทรายร่วน ระบายน้ำได้ดี สามารถทนในฤดูน้ำหลากหรือน้ำขังได้ (ถ้าหากต้นมีอายุ 3 ปี) เมื่อต้นพลับช็อกโกแลต อายุ 3 เดือน จะเจริญเติบโตได้ไวอย่างมากหากได้รับแสงแดดที่เพียงพอ

แมลงและศัตรูพืช จะมีแค่สองชนิดเท่านั้นคือ ตั๊กแตนปาทังก้าและแมลงวันทอง สามารถทำ น้ำหมักโดยนำกากน้ำตาลมาผสมกับเปลือกมะนาวที่ใช้แล้ว หมักไว้ 3 เดือน และเอามาผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้น ก็จะสามารถช่วยป้องกันได้ และในช่วงฤดูหนาวต้นจะโตช้า สามารถนำสปอตไลต์มาติดให้แสงในตอนเย็น เพื่อเพิ่มเวลาในการสังเคราะห์แสงได้

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ต้นพลับช็อกโกแลตด้วยวิธีเสียบยอด โดยใช้ตอพลับช็อกโกแลต เสียบยอดจากกิ่งที่ติดผลแล้ว ทำให้ปลูกไม่นาน 1 ปีครึ่ง ก็ออกผลผลิตแล้ว

พลับช็อกโกแลต ถือเป็นผลไม้แปลกที่หาทานได้ยาก ทำให้ราคาต่อ 1 ผล มีราคาสูงกว่าพลับทั่วไปหลายเท่าตัว ต้นกล้า 1 ต้น ราคาตามท้องตลาดเริ่มต้นที่ 600 บาท และราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดความสูง และอายุของต้นพลับช็อกโกแลต เนื่องจากท้องตลาดหาทานได้ยาก ต้องจองกันข้ามปี ยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย จึงเหมาะอย่างมาก ที่จะเป็นไม้ผลคู่บ้าน เพราะมีมูลค่าที่สูง

สำหรับท่านใดที่สนใจผลสุกพลับช็อกโกแลต ต้นพันธุ์พลับช็อกโกแลต ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ร้านเสริมทรัพย์พันธุ์ไม้ เลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 72130 โทรศัพท์ 081-279-7611 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก ร้านเสริมทรัพย์พันธุ์ไม้

“มะม่วงมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ มะม่วงในเมืองไทยมีหลายร้อยสายพันธุ์ มีรสชาติดีมากๆ ก็เยอะ ผมจะแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ 1. มะม่วงผิวอ่อน 2. มะม่วงมัน 3. มะม่วงสุก ครับ”

คุณสุรศักดิ์ ศรีอำนวย เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง yourme.net และเจ้าของ สวนบ้านล้วนไม้ดี ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หนุ่มใหญ่จากแดนใต้ ที่นำความชอบด้านการเกษตรมาสานต่อในพื้นที่ของภรรยา ด้วยการทดลองปลูกพืชชนิดต่างๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ต้องพบกับความผิดหวัง ผ่านการทดลองมาหลายครั้งหลายครา สุดท้ายก็เจอพืชที่ตอบโจทย์สภาพดิน ฟ้า อากาศ นั่นก็คือการปลูกมะม่วง จนกลายเป็นธุรกิจของครอบครัว และสร้างรายได้ได้ตลอดปีจากการการขายผลผลิตและกิ่งพันธุ์ของมะม่วง

คุณสุรศักดิ์ เล่าว่า ตนเป็นคนภาคใต้ เคยมีอาชีพวาดรูป หลังจากแต่งงานจึงย้ายมาอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ครอบครัวทางฝั่งภรรยามีพื้นที่สำหรับทำสวน จึงเห็นช่องทางการสร้างอาชีพจากการทำเกษตร จึงทดลองปลูกพืชกว่า 100 ชนิด แต่ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวัง เพราะด้วยพื้นที่ สภาพอากาศต่างๆ ของพื้นที่นั้นแล้งจัด ไม่ตอบโจทย์ชนิดของพืชที่ปลูก จากนั้นจึงเกิดไอเดียว่าเหลือพืชชนิดใดมากที่สุด จะลงมือปลูกพืชชนิดนั้น ปรากฏว่าเหลือมะม่วง จึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะม่วงอย่างจริงจังจนมาถึงปัจจุบัน ในพื้นที่กว่า 30 ไร่

“ผมคนภาคใต้ หลังจากนั้นมาแต่งงานอยู่ที่เมืองกาญจน์ ครอบครัวทางฝั่งภรรยามีสวนอยู่แล้ว จึงเห็นช่องทางในการทำสวน หลังจากที่ลงมือทำ ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด เพราะด้วยความรู้สึกหรือความเคยชินของคนใต้ เพราะที่ภาคใต้ ปลูกอะไรก็ขึ้นหมดเลย แม้กระทั่งเมล็ดทุเรียน โยนไปที่โคนต้นกล้วยก็ยังขึ้นเลย ความที่ดิน ฟ้า อากาศ มันอุดมสมบูรณ์ ตอนแรกก็นำไม้ผลทางภาคใต้มาปลูก ปรากฏว่าไม่มีอะไรรอด ปลูกแบบไม่ใช้ระบบน้ำ ผมก็ปลูกหลากหลาย ในเมื่อปลูกอะไรไม่รอด ผมจึงคิดว่าปลูกอะไร แล้วเหลือพืชชนิดนั้นมากที่สุด ผมก็ปลูกอันนั้น จาก 100 ชนิด ก็เหลือมะม่วง ขนุน น้อยหน่า นุ่น ที่ทนแล้งสุดขีด เพราะเมืองกาญจน์แล้งจัด ปรากฏว่ามะม่วงเป็นพืชที่เหลือเยอะมาก ทนแล้ง จากนั้นผมก็เริ่มศึกษาข้อมูลและปลูกมาจนถึงปัจจุบันครับ มะม่วงมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ มะม่วงในเมืองไทยมีหลายร้อยสายพันธุ์ มีรสชาติดีมากๆ ก็เยอะ ผมจะแบ่งมะม่วงออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ครับ 1. มะม่วงผิวอ่อน 2. มะม่วงมัน 3. มะม่วงสุก ความหลากหลายทางรสชาติและสายพันธุ์เยอะมากครับ”

ภายในสวนของคุณสุรศักดิ์ จะมีการปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ ตาม 3 กลุ่มหลักที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีพันธุ์ยอดนิยม ดังต่อไปนี้

มะม่วงผิวอ่อน เช่น สายพันธุ์สามฤดู โชคอนันต์ มันเดือนเก้า เป็นต้น
มะม่วงมัน เช่น สายพันธุ์เขียวเสวย มันขุนศรี มันศาลายา เป็นต้น
มะม่วงสุก เช่น สายพันธุ์พราหมณ์ขายเมียเป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงเรื่องการปลูก คุณสุรศักดิ์ เล่าให้เราฟังว่า ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การคัดสายพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด การเลือกกิ่งพันธุ์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ถัดมาในเรื่องของการดูแลมะม่วงทั้งหมดภายในสวนนั้น แทบไม่มีความแตกต่าง ถึงแม้จะมีความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ รวมถึงด้านโรคและแมลงต่างๆ ที่มักจะมารบกวนด้วยนั่นเอง

ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดทั้งนี้ คุณณรงค์ ยังได้เผยถึงระบบการ

ให้น้ำของสวนแห่งนี้ว่า“ผมมีระบบให้น้ำ เป็นระบบน้ำหยด เราจะให้ในช่วงหน้าแล้ง โดยอีกหนึ่งสาเหตุที่ผมจะชอบทำให้พื้นที่ตรงนี้ชื้นอยู่ตลอดก็เพราะ ณ ที่สวนแห่งนี้ มีหิ่งห้อยอยู่หนึ่งสายพันธุ์ ที่เจริญเติบโตอยู่ในป่าแห่งนี้ ก็คือ หิ่งห้อยป่าไม้ ลักษณะคือหัวส้มปีกดำ ตัวค่อนข้างใหญ่ ข้อดีของเขาคือสามารถอาศัยอยู่ในป่าไม้ได้โดยที่ไม่ต้องอยู่ในน้ำ ใช้ความชื้นที่อยู่ในป่าไผ่ เพื่อขยายพันธุ์ อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาเจริญเติบโตได้ดีคือ เราไม่ได้ใช้สารฆ่าแมลงเลยในสวนของเรา ซึ่งใน 1 ปี จะมีเพียงแค่ 2 อาทิตย์ ที่หิ่งห้อยจะโผล่ออกมาให้เห็น”

สาเหตุที่คุณณรงค์อยากจะเก็บรักษาหิ่งห้อยเหล่านี้ก็เป็นเพราะอยากให้ลูกหลานได้มาเห็น ได้มาศึกษา ว่าหิ่งห้อยเหล่านี้นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากด้วย เพราะการที่มีหิ่งห้อยอยู่ในพื้นที่ จะเป็นการบ่งชี้ว่า พื้นที่เหล่านั้นมีแหล่งน้ำที่สะอาดและยังแสดงให้เห็นว่าป่าแห่งนั้น ปลอดสารเคมีอีกด้วย ทั้งนี้ ที่สวนของคุณณรงค์นอกจากจะมีหิ่งห้อยป่าไม้แล้ว ยังมีหิ่งห้อยอีกหนึ่งสายพันธุ์ คือหิ่งห้อยน้ำจืด โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณสระที่อยู่ด้านล่างสวน ซึ่งถือได้ว่าเป็นหิ่งห้อยสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยอีกด้วย

คุณณรงค์ ยังมีคำแนะนำถึงผู้ที่มีความสนใจที่จะปลูกไผ่ต่ออีกว่า

“ก็ต้องขึ้นอยู่กับที่พื้นตรงนั้นด้วย ว่าเขาจะใช้สายพันธุ์อะไรได้บ้าง แต่ถ้าให้ผมแนะนำ ผมอยากให้เลือกปลูกที่สามารถใช้ได้ทั้งหน่อทั้งลำครับ ซึ่งไม่ต้องดูแลอะไรมาก และสามารถขายหน่อได้ ลำก็ขายได้”

นอกจากจะใส่ใจในสายพันธุ์ที่จะใช้ปลูกแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เรื่องของน้ำ เพราะในระยะการปลูกช่วง 2 ปีแรกนั้น ต้นไผ่ต้องการน้ำค่อนข้างเยอะ

ในส่วนของผลผลิตที่ได้จากไผ่โดยตรง ก็คงจะหนีไม่พ้นหน่อไม้ที่ได้จากต้นไผ่

“ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่หน่อไม้ออกผลออกหน่อมาก ในสวนของผมจะไม่เน้นไปทางขายหน่อไม้นะครับ เพราะหน่อจะมีราคาถูก 1 กิโลกรัม ขายได้เพียง 10 บาท แต่ถ้าผมเลี้ยงลำเอาไว้ ผมก็จะได้ประมาณ 20 บาท ราคาจะต่างกัน เพราะในพื้นที่จังหวัดลพบุรีมีเลี้ยงปศุสัตว์เยอะ ผมเลยเน้นไปทำหลักวัว-รั้วไฟฟ้าขายเป็นส่วนใหญ่” คุณณรงค์ กล่าว

ถ่านไม้ไผ่จากเศษไม้
สู่การสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
ทั้งนี้ คุณณรงค์ ก็ยังมีแผนที่จะสร้างรายได้เสริม โดยการนำเศษท่อนเล็กๆ ที่ได้จากการทำรั้วไฟฟ้าด้วยไม้ไผ่ นำไปเผาเป็นถ่านไม้ไผ่ ซึ่งประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่ชนิดนี้คือ จะให้พลังงานเยอะกว่าถ่านทั่วไป สามารถซับกลิ่น ดูดสารพิษต่างๆ ได้ดี ดีกว่าถ่านไม้ทั่วไป

ถ่านไม้ไผ่เป็นถ่านเพียงชนิดเดียวที่นำไปต่อยอดในเรื่องของอุตสาหกรรมได้ หรือแม้กระทั่งนำไปทำเป็นสินค้าโอท็อปได้มากมาย เช่น สบู่ และสินค้าอื่นๆ อีกหลายอย่าง อีกทั้งยังสามารถนำไปแปรรูปบดเป็นผง นำไปผสมกับเครื่องดื่ม ก็จะมีฤทธิ์ดูดซับสารพิษในร่างกายได้ และช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ดีอีกด้วย

ส่วนวิธีการเผา สามารถปฏิบัติหรือจะหาอุปกรณ์มาทำได้ง่ายๆ โดยนำถังน้ำมัน ขนาดบรรจุ 200 ลิตร มาเจาะรูที่ก้นถัง ประมาณ 20 รู และขุดหลุมในพื้นที่สำหรับการเผาให้ลึกพอประมาณ แล้วจึงนำถังที่เตรียมเผาไปวางไว้บนหลุม ต่อจากนั้นนำไม้ที่เหลือจากการทำหลักวัว ที่มีลักษณะเป็นข้อๆ หรือเศษไม้ไผ่ชิ้นเล็ก มาใส่ในถังให้พอประมาณ แล้วจึงปิดผา ใช้ดินจำนวนหนึ่งมาวางลงบนฝาถัง พร้อมก่อไฟในหลุมที่ขุดเพื่อเผาได้ทันที ซึ่งการเผาจะใช้เวลาวันต่อวัน เมื่อเผาเสร็จก็จะได้ถ่านไม้ไผ่ประมาณ 1 กระสอบ

“ตอนนี้ยังไม่ได้มีการตั้งราคาแต่อย่างใด เพราะเราเพิ่งผลิตสำเร็จได้ไม่นาน ที่ผ่านมาเผาแล้วเป็นขี้เถ้าหมด ตอนนี้ที่คิดไว้คือ จะเผาแล้วเก็บไปเรื่อยๆ แล้วค่อยทยอยออกจำหน่ายทีหลัง เนื่องจากถ่านไม้ไผ่มีคนต้องการเยอะเหมือนกัน” คุณณรงค์ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแบบง่ายๆ ด้วยการปลูกไผ่ให้ได้คุณภาพปราศจากสารเคมี สามารถติดต่อมาได้ที่ คุณณรงค์ ไชยเจริญ เบอร์โทรศัพท์หมายเลข (081) 946-3318

“ไส้เดือน” สัตว์มหัศจรรย์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรีย์สารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนได้ สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ส่งผลทำให้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างเงินให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย

คุณศิวภรณ์ นภาวรานนท์ หรือ พี่แต้ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 53/5 หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี สาวนักเรียนนอก จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก University of La Verne ; California ; USA คณะ MBA บริหารธุรกิจ สาขาวิชา Supply chain management สู่วิถีชีวิตการเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไส้เดือน และปัจจัยพื้นฐานในการทำการเกษตร เช่น มูลไส้เดือนสด ดินพร้อมปลูก น้ำสกัดมูลไส้เดือน สร้างรายได้มากถึงหลักแสนต่อเดือน

พี่แต้ เล่าถึงสาเหตุของการผันตัวเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1. เกิดจากความเบื่อหน่ายสังคมในเมืองที่มีการแข่งขันสูง จนได้มีโอกาสไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ กลับมาได้ทำงานดีๆ เงินเดือนสูงๆ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ชีวิตสักเท่าไหร่ เพราะยิ่งอยู่สูง สังคมก็ยิ่งผลักให้เราเป็นคนโลภคือมีอยู่แล้วก็ต้องมีมากเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่จบไม่สิ้น จนรู้สึกเหนื่อยกับสิ่งที่ทำอยู่ และ 2. เกิดจากความสงสัย และอยากหาคำตอบว่าทำไมเกษตรกรของไทยยังคงลำบาก ซึ่งในตอนนั้นทำได้เพียงเป็นเพียงผู้ดู และผู้วิจารณ์ แต่จะไม่มีทางเข้าใจถ้าไม่ได้เป็นเกษตรกร ซึ่งด้วยแรงบันดาลใจทั้ง 2 ข้อนี้ ทำให้ตนมีความคิดที่อยากจะเข้ามาทำงานด้านการเกษตร ให้เข้าใจที่มาของปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และเป็นที่พึ่งให้กับพี่น้องในภาคเกษตรกรรมได้บ้าง ไม่มากก็น้อย จึงตัดสินใจมาทำเกษตร และมุ่งเน้นไปที่การทำเกษตรอินทรีย์

เบื่อชีวิตเมืองกรุง อยากทำเกษตร
ผ่านประสบการณ์ “เจ็บ จน เจ๊ง”
พี่แต้ บอกว่า สำหรับสาวเมืองกรุงอย่างตน ในชีวิตไม่เคยจับจอบจับเสียมมาก่อน ต้องมาลงมือขุดดินปลูกผัก ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเส้นทางที่เลือกแล้ว โดยในช่วงแรกของการทำเกษตรจะมุ่งไปที่การปลูกผัก การปลูกมันม่วง และการเพาะถั่วงอก แต่พอได้ลงมือปลูกผักจริงๆ แล้วทำให้รู้ว่าปัจจัยที่ทำให้ผักเจริญเติบโตได้คือ ดิน น้ำ และปุ๋ย ในส่วนของดินกับน้ำเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ปุ๋ยเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ แล้วมีอะไรบ้างที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

“ในตอนนั้นที่ฟาร์มได้มีการทำแปลงทดลองปลูกผักโดยการนำปุ๋ยคอก ไม่ว่าจะเป็นขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว และมูลไส้เดือน มาทดลองเพื่อดูประสิทธิภาพของผักที่โตว่าจะเป็นอย่างไรในแต่ละแปลง และก็ได้เห็นว่าผักแปลงที่ปลูกโดยใช้มูลไส้เดือนมีการเจริญเติบโตที่ดี เห็นผลเร็ว ต้นแข็งแรง และอีกอย่างคือปุ๋ยไส้เดือนเป็นปุ๋ยที่มีฤทธิ์เย็น สามารถนำมาปลูกผักได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคายความร้อน ทำให้เป็นจุดประกายในการนำไส้เดือนมาเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตปุ๋ยปลูกผักอินทรีย์ไว้ใช้เอง พอทำไปเรื่อยๆ ก็เริ่มเกิดความชำนาญ

จนได้มีการขยายพื้นที่การเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น นำไปสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงไส้เดือน ทำเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แล้วก็แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำหมักมูลไส้เดือน ดินพร้อมปลูก ปุ๋ยมูลไส้เดือน ไว้สำหรับใช้ในครัวเรือนและจัดจำหน่าย แต่กว่าจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้หนทางไม่ง่ายเลย เนื่องจากที่ตนมีความรู้ด้านการเกษตรเท่ากับศูนย์ ก็ต้องผ่านประสบการณ์ล้มลุกคลุกคลาน เสียน้ำตา เสียเงิน และเวลาที่ทุ่มเทไป ทำให้ต้องหยุดพักกับการเลี้ยงไส้เดือนไปเป็นปีกว่าจะมีกำลังใจกลับมาสู้และทำต่อจนประสบความสำเร็จอีกครั้ง”

การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตมูลขาย ทำได้ไม่ยาก
การเลี้ยงไส้เดือนที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงเพียง 5 กะละมัง จนถึงปัจจุบันสามารถพัฒนาขยายพื้นที่การเลี้ยงได้มากถึง 2,000 กะละมัง พี่แต้บอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ไม่ยาก เพียงแต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับภูมิภาคและสถานที่ตั้งของฟาร์ม โดยที่ฟาร์มจะเลือกเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ หรือไส้เดือน AF เพราะเป็นไส้เดือนเขตร้อน เหมาะกับการเลี้ยงในประเทศไทย ขยายพันธุ์ไว เลี้ยงง่าย เหมาะกับการเลี้ยงเชิงพาณิชย์

และถัดมาคือวิธีการเพาะเลี้ยง โดยที่ฟาร์มได้มีการทดลองเลี้ยงไส้เดือนมาแล้วเกือบทุกวิธี ทั้งทดลองเลี้ยงในบ่อวงซีเมนต์ บ่อปูนที่ก่อบล็อกขึ้นมาเอง แต่ต้องประสบกับศัตรูของไส้เดือน เช่น ไรแดง มด นก และแมลงต่างๆ ที่เข้ามารบกวนและเข้ามากัดกินไส้เดือนที่เลี้ยงไว้ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้ไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีทำให้แมลงศัตรูเหล่านี้ยังมาอยู่เยอะและจะชอบแทรกขึ้นมาตามรอยปูนแตก จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงไส้เดือนในกะละมัง เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการดูแล

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูง
ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง สภาพแวดล้อมบริเวณภายนอกที่อยู่อาศัยจะต้องมีลักษณะ “ร่ม เย็น ชื้น” อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแสงแดดโดยตรง ห่างไกลจากศัตรูธรรมชาติ และห่างไกลจากทิศทางของสารเคมี

ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายใน หรือภาษาไส้เดือนเรียกว่า เบดดิ้ง ก็คือที่นอนที่อาศัยของไส้เดือนนั่นเอง โดยการเตรียมเบดดิ้งสิ่งสำคัญที่สุดคือ “มูลวัวนม” ของที่ฟาร์มจะเลือกใช้เฉพาะมูลวัวนมที่ผ่านการคายความร้อนมาแล้ว ประกอบกับจะต้องมีการวัดค่าความเป็น กรด-ด่าง ของมูลวัวทุกครั้งก่อนนำมาทำเบดดิ้ง และในลำดับถัดมาคือวัตถุดิบส่วนอื่นๆ ที่นำมาผสมลงไปพร้อมกับมูลวัว ซึ่งถือเป็นอาหารให้กับไส้เดือนไปในตัว และเพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างทางอากาศให้กับบ้านของไส้เดือน เพราะถ้าหากใส่มูลวัวเป็นที่นอนให้กับไส้เดือนเพียงอย่างเดียวก็เปรียบเสมือนกับบ้านที่ไม่มีหน้าต่าง บ้านจะแน่นทึบไปหมด ขัดกับธรรมชาติของไส้เดือนที่เป็นสัตว์หายใจทางผิวหนัง เพราะฉะนั้นยิ่งถ้าปล่อยให้บ้านแน่นทึบเท่าไหร่ความสุขของไส้เดือนก็จะยิ่งลดน้อยลง ส่งผลทำให้ไม่เจริญอาหาร กินช้า ถ่ายช้า ลำตัวไม่แข็งแรง

แต่ในทางกลับกัน ถ้าผู้เลี้ยงมีการจัดการบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้ปลอดโปร่ง ไส้เดือนก็จะมีความสุข เจริญอาหาร ลำตัวแข็งแรง โตไว ดังนั้น ขั้นตอนการเบดดิ้ง การเลือกอาหารก็ต้องเลือกหาวัตถุดิบที่ดีลงไป และเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือ 1. ต้นกล้วยสับ 2. ผักตบชวา ที่เป็นวัชพืชที่ไม่มีใครต้องการ ทางฟาร์มจะนำมาทำให้เกิดประโยชน์ โดยการนำมาสับใส่ลงไปพร้อมกับมูลวัวและต้นกล้วยสับเป็นอาหารให้กับไส้เดือน เพราะที่รากของผักตบชวามีสารอาหารค่อนข้างมากและเป็นประโยชน์ต่อไส้เดือน 3. ขุยมะพร้าวที่ผ่านการหมักแล้ว นำมาผสมเป็นตัวช่วยในการปรับความชื้น หรือจะใช้กากกาแฟ เปลือกไข่บด กากถั่วเหลือง ผสมลงไปด้วยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการบำรุงสารอาหารในแต่ละช่วง และได้สารอาหารที่หลากหลาย จะส่งผลทำให้มูลไส้เดือนที่ได้ออกมามีประสิทธิภาพสูง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือน
“เปรียบเทียบง่ายๆ จะคล้ายกับคนที่เมื่อเจออากาศร้อนมากๆ จะไม่สบายได้ง่าย หรือถ้าเดินตากฝนบ่อยๆ จะทำให้เป็นหวัด ไส้เดือนก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจธรรมชาติของไส้เดือน ก็จะส่งผลให้การเลี้ยงไม่ประสบความสำเร็จ ไส้เดือนค่อยๆ ทยอยตายลง หรือมีปัญหาเชื้อรา ไรแดง ที่เป็นปัญหามาพร้อมกับหน้าฝน ก็ต้องมีวิธีป้องกันไว้ก่อน”

อัตราการเลี้ยง นำตัวพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในเบดดิ้ง หรือภาชนะที่เตรียมไว้ ในกรณีที่เลี้ยงในกะละมังจะปล่อยตัวไส้เดือนในอัตรา 1-2 ขีด ต่อกะละมัง ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการ
“สมมุติว่าถ้าหากอยากได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนเร็วหน่อยก็ให้ใส่ไส้เดือนลงไปเยอะหน่อย แต่ถ้ากลัวบริหารจัดการไม่ทัน ก็ให้ใส่ไส้เดือนลงไปแค่ 1 ขีดพอ ไส้เดือนก็จะกินช้าขึ้น และทำให้เรามีเวลาในการบริหารจัดการได้มากขึ้น”

การดูแล เทคนิคของที่ฟาร์มจะไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน นอกจากการสังเกตดูว่าไส้เดือนมีความสุขหรือไม่ โดยมีวิธีการสังเกตง่ายๆ สำหรับไส้เดือนสายพันธุ์ AF คือ ถ้าไส้เดือนมีความสุขเวลานำไปออกแดดลำตัวจะเหลือบเป็นสีรุ้ง และจะดิ้นเก่ง มุดดินเก่ง แต่ถ้าเมื่อใดที่ไส้เดือนมีการเคลื่อนไหวช้า ไม่ค่อยมุดดิน ลำตัวมีสีน้ำตาล ตัวเล็ก แปลว่ากำลังมีปัญหา ผู้เลี้ยงก็ต้องกลับมาดูสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีปัญหามาจากมูลวัว

“ปัญหาหลักๆ ของคนที่เลี้ยงไส้เดือนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจาก ขี้วัว รวมถึงตัวเราก็พลาดตรงขั้นตอนนี้เช่นกัน เพราะเลือกขี้วัวไม่เป็น ไม่รู้จักการทดลสอบขี้วัวก่อนนำมาใช้ และส่วนใหญ่คิดแค่ว่าขี้วัวก็เป็นเหมือนๆ กันหมด แต่ไม่ได้ไปสืบสาวราวเรื่องว่าเราเอามาจากฟาร์มนั้นมา วัวกินอะไรเข้าไป เพราะอย่างที่ฟาร์มทำไมไม่ซื้อขี้วัวมาจากฟาร์มวัวนมใกล้ๆ ได้ราคาถูกกระสอบละ 25 บาท แต่ทำไมเราถึงต้องทำคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับฟาร์มวัวนมที่ราชบุรี ก็เป็นเพราะว่าเราเคยพลาดมาก่อน อย่างครั้งแรกที่เจ๊งคือ เราไปเอาขี้วัวมาจากนครสวรรค์ เพราะคิดว่าขี้วัวเหมือนกันหมด แต่ปรากฏว่าขี้วัวที่เราได้มามีลักษณะที่แข็งมากๆ จนต้องเอามีดอีโต้มาสับเสียเวลาไปเป็นวันๆ แล้วพอเอามาเลี้ยงก็ไม่สำเร็จ ไส้เดือนตายบ้าง ไม่กินอาหารบ้าง ก็ต้องหยุดเลี้ยง และเก็บปัญหานี้ไว้ในใจแล้วไปทำอย่างอื่น ไปปลูกถั่วงอกบ้าง ปลูกผักบ้าง แต่สุดท้ายก็เจ๊งทุกอย่างที่ทำ จนได้กลับมานั่งพิจารณา และหยุดทำทุกอย่างแล้วหันกลับมาเลี้ยงไส้เดือนให้มีความสุขให้ได้”

หลังจากมีความมุ่งมั่นและมีความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยม พี่แต้บอกว่า ตนเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับการเตรียมเบดดิ้งเป็นอย่างแรก ซึ่งได้ใช้เวลาปรับเปลี่ยนสูตรอยู่นานเป็นปี จนได้สูตรที่ลงตัว และได้รู้จักวิธีทดสอบขี้วัวที่รัดกุมมากขึ้น รวมถึงมีการสืบค้นแหล่งที่มาของมูลวัวก่อนนำมาใช้เลี้ยงไส้เดือน ว่ามีวิธีการเลี้ยงแบบไหน ให้อะไรเป็นอาหาร เพราะบางฟาร์มจะเลี้ยงวัวด้วยเปลือกสับปะรด ซึ่งเปลือกสับปะรดมีฤทธิ์เป็นกรด หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวและเผ็ด เมื่อนำมาเลี้ยงไส้เดือนก็ส่งผลทำให้มีปัญหา ตรงนี้ถือเป็นขั้นตอนปราบเซียน ทำให้หลายคนล้มเลิกความตั้งใจในการเลี้ยงไส้เดือนมาแล้วนักต่อนัก

การเก็บมูลไส้เดือน เนื่องจากที่ฟาร์มเลี้ยงจำนวนเยอะ จึงต้องมีการจัดการแบ่งโซนการเลี้ยงเพื่อได้มูลไส้เดือนออกมาจำหน่ายได้ทุกวัน กับการบริหารจัดการที่ใช้แรงงานหลักในการดูแลเพียง 2 คน ไม่นับรวมกับฝ่ายเตรียมเบดดิ้ง แพ็กถุงและอื่นๆ

Mr. Hope ผลิตภัณฑ์จากไส้เดือนคุณภาพ
เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างยอดขายหลักแสน
หลายคนสงสัยว่าการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตมูลขายจะสามารถสร้างรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือนได้จริงหรือไม่ในท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน พี่แต้อธิบายว่า ปัจจุบัน การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนขายมีการแข่งขันทางการตลาดที่สูงก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราขายได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ซึ่งถ้าหากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอก็ไม่ต้องกลัวคู่แข่ง หรือต้องไปแข่งกับใครให้เสียเวลา เพราะเดี๋ยวลูกค้าจะวิ่งเข้ามาเราเอง ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์มูลไส้เดือนของแบรนด์ Mr Hope ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงเพื่อไว้ใช้เอง จนช่วงหลังได้มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อจำหน่ายและสามารถตีตลาดได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ด้วยการคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีความสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาแพ็กเกจจิ้งให้ทันสมัย และตรงความต้องการของผู้ใช้ทุกประเภท โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากมูลไส้เดือน แบรนด์ Mr Hope มีจำหน่ายอยู่ที่ ตลาด อ.ต.ก. แม็กแวลู ลาซาด้า และช้อปปี้

“เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์จากมูลไส้เดือนคนก็ทำเยอะเพิ่มขึ้นทุกปี พอยิ่งเห็นหลายคนทำสำเร็จ ก็อยากจะทำตามเขาบ้าง นี่ก็เป็นที่มาของการขายตัดราคากันเต็มไปหมด แต่พอขายตัดราคากันนั่นก็เป็นที่มาของการลดคุณภาพ เพราะไม่อย่างนั้นเขาจะไม่สามารถขายตัดราคาคนอื่นได้ แต่มูลไส้เดือนของเราไม่เคยลดคุณภาพ และก็ไม่เคยขึ้นราคา ขายราคาเดิมมาตลอด ควบคู่กับการรักษาคุณภาพของสินค้าให้ได้เท่าเดิมมาตลอด ทำให้มีลูกค้าประจำค่อนข้างเยอะ และมูลไส้เดือนของเราจะมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่ตลอด ซึ่งพอเรารักษามาตรฐานลูกค้าเกิดความไว้วางใจในสินค้าทุกตัว และเรายินดีเคลมสินค้าให้ทุกตัว เราอาศัยความจริงใจในการเป็นผู้ผลิต แล้วเราก็รับผิดชอบทุกออเดอร์ที่มีปัญหาเพราะฉะนั้นต่อให้ลูกค้าไม่พอใจสินค้าเราในวันนั้น

แต่พอเขาได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างสุดความสามารถของเราเขาก็จะกลับมาอุดหนุนเราเหมือนเดิม บวกกับที่เราพยายามเสิร์ฟความต้องการของลูกค้าให้ได้ทุกกลุ่ม อยากได้ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน เราก็ทำทุกอย่างตามความต้องการลูกค้า ทำให้เราเก็บลูกค้าได้หลายกลุ่ม เช่น ลูกค้าที่พักอาศัยอยู่คอนโดฯ เราก็มีถุงเล็กขาย หรือคนที่มีบ้านต้องการปริมาณที่เยอะขึ้นมาหน่อยเราก็มีกระสอบให้ หรือกลุ่มที่อยากซื้อเพื่อนำไปขายต่อ เราก็ทำเพื่อสนองความต้องการของเขา ทำให้ในแต่ละเดือนเราสามารถทำรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากไส้เดือนได้เป็นเงินหลักแสนต่อเดือน” พี่แต้ กล่าวทิ้งท้าย

ส้มเขียวหวานเมืองลอง เมื่อครั้งอดีตมีชื่อเสียงอันลือเลื่องในรสชาติ ความอร่อย ผลผลิตมีการส่งออกไปทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ย้อนไปเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2525 ผู้เขียนได้ไปเยือนเมืองลอง (อำเภอลอง จังหวัดแพร่) เห็นรถบรรทุกสิบล้อจอดเรียงรายริมถนนหน้าโรงพยาบาลลอง คนงานกำลังขนถ่ายส้มเขียวหวานจากรถบรรทุกสี่ล้อ ทราบว่ากำลังจะขนส่งไปยังปลายทาง ณ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย จึงได้เข้าไปดูแหล่งผลิตต้นทางสวนส้มเขียวหวานแถบริมฝั่งแม่น้ำยม ซึ่งมีสวนส้มเขียวหวานเต็มพื้นที่ บนต้นกำลังติดผลดก มีทั้งผลเล็ก ผลใหญ่ ทั้งสีเขียวและสีทอง ถัดจากนั้นมา 25 ปี ให้หลัง หลายพื้นที่กลายเป็นสวนส้มร้าง ทราบว่าสภาพดินเป็นกรด ดินขาดอินทรียวัตถุ ต้นส้มเขียวหวานอายุมากแล้ว ต้นโทรม ผลผลิตตกต่ำจากโรคและแมลง จึงไม่สามารถคัดเกรดของผลส้มได้ เกษตรกรที่สู้ต่อไปไม่ไหว ก็วางมือ

แต่ปัจจุบันเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณผลผลิตส้มเขียวหวานในตลาดมีน้อยลง ราคาสูงขึ้น และหาซื้อได้ยาก จึงมีเกษตรกรรุ่นต่อๆ มา ได้หันมาปรับพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานมากรายขึ้น และได้นำบทเรียน ปัญหาจากอดีตมาปรับเปลี่ยนทั้งในเรื่องกิ่งพันธุ์และวิธีการจัดการเสียใหม่

คุณนพดล วงษ์แก้ว ตั้งบ้านเรือนอยู่เลขที่ 50/1 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งแล้ง อําเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทร.085-434-6022 เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรสวนส้มเขียวหวาน สืบทอดมาจากคุณพ่อ คือ ลุงดำเนิน วงษ์แก้ว ผู้คร่ำหวอดในวงการเกษตรไม้ผลและตลาดค้าผลไม้ เเละเป็นตัวอย่างของแปลงส้มเขียวหวานให้อีกหลายรายที่มีการขยายพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานมากขึ้น ในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้เขียนตั้งคำถามว่า ก็ในเมื่อในอดีตสวนส้มทั้งอำเภอเคยประสบปัญหา แล้วเมื่อคุณนพดลมาเริ่มต้นปลูกส้มเขียวหวานอีกครั้ง ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยเดิมหรือ

คุณนพดล บอกว่า ปัญหาเดิมๆ นั้น mo-rpg.com เกิดจากต้นส้มอายุมากเกิน เกิดโรค เกษตรกรจะเอาแต่ผลผลิตไม่ได้ ต้องมีการฟื้นฟูต้น ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ส้มเปลือกแข็ง เนื้อกุ้งแห้ง ฟ่าม ซังขมและแข็ง ถ้าจะฟื้นฟูต้องใช้เงินลงทุนมาก เงินก็ไม่พอ ลงทุนไปมากๆ ก็จะไม่เหลืออะไร แต่ถ้าผมทำสวนส้มต้องทําให้แตกต่างจากเดิมก็อยู่ได้ พ่อให้ข้อคิดว่าถ้าปลูกส้มเขียวหวานแล้ว ในระยะ 10 ปี ถ้าไม่มีปัญหาเขามีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ก็ถือว่ามาถูกทางแล้ว การลงทุนนั้นมีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ถ้าเรารู้วิธีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเมื่อลงทุนเงินไปแล้ว บวก ลบ คูณ หาร ก็ต้องอยู่ได้ เพื่อเป้าหมายที่รออยู่ข้างหน้า

คุณนพดล เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า สมัยยังเป็นเด็กก็เห็นพ่อแม่ทำเกษตรปลูกไม้ผลหลากหลายชนิดอยู่ก่อนแล้ว พอโตขึ้นก็เป็นกำลังให้กับครอบครัว ช่วยพ่อแม่ดูแลต้นไม้ ไม้ผลที่พ่อแม่ปลูกไว้ก็ได้แก่ เงาะ ลองกอง มังคุด ส้มเขียวหวาน พริกไทย เมื่อกล่าวถึงส้มเขียวหวาน ขณะนั้นต้นมีอายุ 25 ปี มีโรคขั้วเหลืองเกิดการร่วงหล่น ก็ไม่เข้าใจใช้ยา เคมีก็เยอะ เริ่มท้อ ต่อมาเมื่อยางพาราเริ่มเข้ามาเพิ่มแรงจูงใจก็ล้มส้มเขียวหวานออก ปลูกยางพารา เพราะน้ำยางราคาดี

พ่อมีลูกหลายคน ก็ให้ทุกคนร่วมกันทำร่วมกันดูแลรับผิดชอบพื้นที่ซึ่งมีอยู่หลายสิบไร่ในลักษณะเป็นกงสี หมายความว่า กิจการงานของทุกคนในครอบครัว อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี แบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน

พื้นที่ที่คุณนพดลดูแลก็ได้พิจารณาว่า ขณะนั้นต้นยางพารา อายุได้ 13 ปี กรีดน้ำยางมาได้ระยะหนึ่ง แต่ราคาน้ำยางตกต่ำ เมื่อมาคำนวณรายได้-ค่าใช้จ่ายแล้วไม่คุ้มค่า ถ้าปลูกส้มเขียวหวาน จะมีรายได้ดีกว่า จึงตัดสินใจโค่นต้นยางพารา แล้วปรับพื้นที่มาปลูกส้มเขียวหวานอีกครั้ง มีจํานวน 4 แปลง เนื้อที่ 10, 15, 15 และ 16 ไร่ มีแปลงที่เพิ่งนำกิ่งพันธุ์ลงปลูกได้เพียง 1 สัปดาห์ ก็มี แปลงที่ต้นมีอายุ 3 ปี กําลังติดผลก็มี

ในส่วนของคุณนพดลดูแลสวนส้มเขียวหวาน เนื้อที่ 25 ไร่ คุณนพดล ได้ให้รายละเอียด การปลูก การดูแลแปลงที่มีอายุ 3 ปี ซึ่งกำลังจะเก็บผลผลิตได้รุ่นที่ 1 ของปีที่ 1 แปลงนี้มีส้มเขียวหวานอยู่ 15 ไร่

คุณนพดล กล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อน เห็นพ่อปลูกส้มเขียวหวาน ก็ช่วยพ่อดูแล พ่อก็คอยบอกว่าต้องคอยหมั่นสังเกต ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นหรือมีอะไรมารบกวนแล้วจะต้องปฏิบัติอย่างไร พ่อสอนตั้งแต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ดูโรค/แมลง การพ่นยาตามกําหนดระยะเวลา

เริ่มปลูก ส้มเขียวหวาน เมื่อปี พ.ศ. 2559 หลังจากโค่นต้นยางพารา ขุดรากถอนโคนแล้ว ก็ปรับพื้นที่ เตรียมดิน สภาพดินในพื้นที่เป็นดินร่วน และดินร่วนปนทราย มีธาตุอาหารเพียงพอ อยู่ติดแม่น้ำยม ที่มีดินตะกอนค่อนข้างสมบูรณ์อยู่แล้ว จากนั้นวางผังเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมตามทิศทางของแสงแดด วัดระยะ 6×5 เมตร วางระบบน้ำใต้ดินก่อน ใช้หัวสปริงเกลอร์ ทั่วทั้งสวน ต้นละ 1 หัว ทำดินให้ร่วนซุยตรงบริเวณที่จะลงกิ่งพันธุ์ ขุดหลุมลึกเพียง 20 เซนติเมตร ไม่ได้ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมแต่อย่างใด นำกิ่งพันธุ์ลงปลูก พูนดินบริเวณโคนต้น ใช้ไม้ปัก ผูกเชือกกันโยก แล้วให้น้ำพอเหมาะ ไม่ต้องแฉะ เป็นอันเสร็จการ

มฟล. ร่วมพัฒนาอาชีพ ชาวสวนกาแฟเชียงรายเบื้องหลัง

ความสำเร็จของ “เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม” เกิดจากโครงการการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ที่มี ดร.ชลิดา ธนินกุลภรณ์ หัวหน้าส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม มฟล. เป็นหัวหน้าโครงการและคณะนักวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.สิทธิ ดวงเพชร ดร.กิติพงษ์ คงพินิจบรรจง อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์

โครงการฯ ของ มฟล.มุ่งพัฒนาเกษตรกรให้มีองค์ความรู้ในการยกระดับผลผลิตกาแฟอาราบิก้าที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านธุรกิจของผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายให้ดีขึ้นกว่าเดิม คุณวริศ มันตาวลี เจ้าของเฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

คุณวริศได้เรียนรู้ข้อมูลวิชาการและภาคปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของเมล็ดกาแฟอาราบิก้า โดยใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพของเมล็ดกาแฟตามมาตรฐานโลก รวมถึงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการฟาร์มในเชิงธุรกิจ วางแผนการผลิตและการจัดการด้านการเงินอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการ Coaching จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

ขณะเดียวกัน คุณวริศได้เรียนรู้การเพิ่มช่องทางการตลาดในรูปแบบใหม่ เพื่อกระจายผลผลิตกาแฟอาราบิก้าสู่วงกว้างในระดับสากลมากขึ้น ทำให้เกิดการซื้อขายเมล็ดกาแฟคุณภาพที่มีความยั่งยืน ทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 10% และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 15% โครงการฯ ของ มฟล.สร้างประโยชน์แก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงรายในวงกว้าง ส่งผลให้ มฟล. ได้รับรางวัล Bronze Award ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ที่ผ่านมา

คุณวริศ เล่าว่า กว่าจะประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลังเรียนจบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย เขาตัดสินใจไปทำงานที่กรุงเทพฯ ได้ 1 ปี รู้สึกว่าการทำงานในเมืองวุ่นวาย ไม่มีความสุข จึงตัดสินใจกลับมาสืบทอดอาชีพทำสวนกาแฟ เนื้อที่ 5 ไร่ ของครอบครัว ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ปัจจุบัน เขาขยายพื้นที่ฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ มีรายได้หลักล้านจากการขายกาแฟภายใต้แบรนด์ “เฮราโมน” ซึ่งในภาษาอาข่า หมายถึง การแบ่งปัน

นอกจากนี้ คุณวริศยังทำสวนชา ปลูกไม้ผลเมืองหนาว เช่น มะคาเดเมีย พลัม อะโวกาโด และปลูกต้นเลือดมังกร ต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาเลือดมังกร” ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนรักสุขภาพอย่างแพร่หลาย “เลือดมังกร” เป็นสมุนไพรจีนที่ลำต้นและใบเป็นสีเขียว เมื่อนำมาชงดื่มเป็นน้ำชากลับมีสีแดงสด มีสรรพคุณด้านการบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา ช่วยในการนอนหลับดีขึ้น

ผลผลิตกาแฟคุณภาพดี รสชาติอร่อย กลมกล่อม ถูกใจผู้บริโภค ของ “เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม” เกิดจากต้นกาแฟอาราบิกาและกาแฟโรบัสต้า อายุกว่า 20 ปี ปลูกที่ระดับความสูง 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้วยความสมบูรณ์ของภูมิประเทศและเอกลักษณ์ของแหล่งปลูกกาแฟดอยช้าง

คุณวริศ ซึ่งทีมนักวิจัย มฟล. ยกย่องว่าเป็น “เกษตรกรนักวิจัย” ไม่หยุดที่จะเรียนรู้พัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น “พันธุ์กาแฟ” เป็นหนึ่งในหัวข้อที่เขาสนใจศึกษาเรียนรู้ เพราะเชื่อว่า การจะเป็นกาแฟพิเศษนั้นใช่อยู่ที่คุณภาพเมล็ดกาแฟอย่างเดียว ต้องมีสายพันธุ์กาแฟที่ดีด้วย คุณวริศ บอกว่า ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลกาแฟเป็นช่วงที่เหมาะแก่การคัดเลือกพันธุ์ที่ดีนำมาเพาะขยายพันธุ์พัฒนาต่อยอด เขาปลูกกาแฟพันธุ์ดีต่างๆ มากมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่สินค้า เช่น กาแฟพันธุ์จาวา พันธุ์บลูเมาท์เทน พันธุ์ Tipica พันธุ์ Longberry และพันธุ์เกอิชา ซึ่งเป็นกาแฟตระกูลอาราบิก้า นิยมปลูกในพื้นที่สูง สามารถให้ผลผลิตได้ใน 3 ปี

คุณวริศประกาศตัวขอเป็นต้นน้ำที่ดีมีคุณภาพ สนับสนุนการปลูกป่าสร้างร่มเงาให้กาแฟ ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพปลูกกาแฟ คุณวริศใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิตกาแฟเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี เริ่มจาก “คุณภาพดิน” โดยเก็บตัวอย่างดินส่งตรวจกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อบำรุงดินได้ถูกต้อง และใช้ชุดตรวจสอบดินเค็มภาคสนาม (Saline Soil Test Kit) ตรวจสอบปริมาณ N, P, K ของดินในสวนกาแฟ ว่ามีสารอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟหรือไม่

ช่วงฤดูฝนต้องตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นร่มเงาให้กับต้นกาแฟในหน้าร้อน เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าถึงต้นกาแฟ ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังตัดแต่งกิ่งกาแฟอย่างถูกต้องและเหมาะสมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ลำต้นกาแฟแข็งแรง มีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มคุณภาพ รสชาติ ไม่เป็นที่ซ่อนของแมลง ทำให้ต้นกาแฟมีอายุยืนให้ผลผลิตยาวนานขึ้น ต้นกาแฟที่ตัดแต่งกิ่งอย่างเหมาะสม จะให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ดังนั้น เพื่อให้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพที่ดีควรตัดแต่งอยู่เสมอ เอากิ่งที่ไม่ติดผลออก เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับผลที่ติดอยู่สูงสุด

“หลังปรับเปลี่ยนจากการปลูกโดยใช้สารเคมีมาเป็นสวนกาแฟออร์แกนิก ต้องทำใจและยอมรับสภาพผลที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาเพลี้ย มอดรบกวน ต้องหาวิธีอื่นมาใช้ป้องกัน เช่น ตัดหญ้าทุกๆ 2 เดือน ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย บาสเซียน่า สายพันธุ์ดีโอเอ บีสี่ กำจัดมอดและแมลงศัตรูของกาแฟโดยวิธีธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนระยะแรกหลังไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ผลผลิตกาแฟน้อยลง แต่มั่นใจว่า คุณภาพผลผลิตและผลตอบแทนได้ขึ้นในระยะยาวอย่างแน่นอน การปลูกกาแฟต้องใส่ใจในคุณภาพมากๆ เพราะมันคือชีวิตและลมหายใจ การทำสวนกาแฟออร์แกนิกได้กาแฟคุณภาพดี รวมทั้งปลอดภัยทั้งผู้ปลูกกาแฟและผู้บริโภคด้วย” คุณวริศ กล่าว

ประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ก้าวสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว คุณวริศจะทำงานยุ่งกับกระบวนการโม่ หมัก ล้าง ตากกาแฟเพื่อทำกาแฟคุณภาพสูง คุณวริศเน้นเก็บผลกาแฟลูกสุกสีแดงหรือสีเหลืองเท่านั้น หลังตากได้ 3 วัน จะเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างลูกที่สุกฉ่ำกับสุกไม่ฉ่ำ จึงต้องคัดออกเพื่อให้ได้กาแฟคุณภาพตามที่ต้องการ สำหรับผลผลิตกาแฟในปีนี้ คาดว่ามีประมาณ 10 ตัน สีเป็นกะลาสารได้ประมาณ 1 ตันกว่าๆ

ส่วนกระบวนการ wash process เริ่มจากเก็บผลกาแฟที่สุกแล้วจากต้นมาล้างทำความสะอาดและคัดแยกคุณภาพของผลกาเเฟ จากนั้นทำการกะเทาะเปลือกกาเเฟออกจนเหลือเเต่เมล็ดกาเเฟกะลาที่ยังมีเมือกติดอยู่ และนำไปหมักในถัง ให้ได้ค่าความเป็น “กรด-ด่าง” หรือค่า pH ที่กำหนด หลังผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว นำเมล็ดกาแฟกะลาไปล้างเมือกให้สะอาด นำเข้าไปในโรงตากที่มีอากาศไหลเวียนอย่างดี

สำหรับขั้นตอนการทำ Honey Process เริ่มจากการล้างทำความสะอาดผลกาเเฟเชอร์รี่ เเละทำการคัดเเยกคุณภาพ จากนั้นจะปอกเปลือกกาเเฟเชอร์รี่ออกให้เหลือเเต่เมล็ดที่ยังมีเมือกติดอยู่ แล้วจึงนำไปตากในโรงเรือนที่มีอากาศหมุนเวียน ซึ่งกาเเฟกะลามีเมือกแห้ง ที่ได้จากกระบวนการนี้จะมีสีน้ำตาลเข้มคล้ายกับเคลือบด้วยคาราเมล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะมีวิธีทำที่แตกต่างกันไปในกระบวนการผลิต

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าว จาก FB : Heqlaqmoq Coffee Farm เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม สำนักงาน กศน. ร่วมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ราชการ รวมถึงการส่งเสริมความรู้เรื่องการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรที่สนใจปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งกำหนดแนวทางส่งเสริมการตลาดในด้านดังกล่าวไปพร้อมๆ กัน

สำนักงาน กศน. ภายใต้การนำของ นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการ กศน. จึงได้มอบนโยบายให้สถานศึกษาทุกแห่ง จัดกิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนที่มีความสนใจในการฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรมเกิดกระบวนการเรียนรู้ การเพาะพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ไม้พื้นถิ่นอันเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีช่องทางในการประกอบอาชีพจากการเพาะพันธุ์และการปลูกไม้พื้นถิ่น ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565

ทั้งนี้ พบว่ามีสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จัดกิจกรรมหลักสูตรฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จำนวน 813 แห่ง โดยมีหลักสูตรฝึกอาชีพเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่นระดับจังหวัด รุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น 831 หลักสูตร เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ส้มโอทับทิบสยาม เห็ดฟางในตะกร้า ไผ่ซางนวล มะขามเทศเพชรโนนไทย บอนสี มะค่าโมง จำปาดะมังกรทอง และทองอุไร เป็นต้น

โดยมีประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว จำนวน 18,398 คน ผู้เข้ารับการอบรมอาชีพในโครงการนี้ต่างมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดถึง 58.53% กิจกรรมฝึกอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” นอกจากเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นถิ่น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนการลดคาร์บอนในอากาศแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสในการฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนอีกด้วย

ในยามนี้ หากใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงดูครอบครัว ขอแนะนำให้เดินเข้าไปสมัครเรียนโครงการอบรมอาชีพระยะสั้น กับครู กศน. ใกล้บ้าน โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีพ “เพาะพันธุ์ไม้พื้นถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้” แนะนำให้เรียนรู้การเพาะพันธุ์พืช 6 ชนิด คือ ไผ่ตงลืมแล้ง ส้มโอทับทิบสยาม เห็ดฟางในตะกร้า ไผ่ซางนวล มะขามเทศเพชรโนนไทย บอนสี เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกดูแลง่าย สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงได้ไม่ยาก

ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ แถมยังให้หน่อโต คุณภาพดีกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี ให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัมต่อกอต่อปี นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นคือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมาก สามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ด้านตลาดต้องการหน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าหน่อไผ่ตงลืมแล้งได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาทต่อกิโลกรัม ทุกวันนี้การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือภาคเหนือ

เกษตรกรนิยมปลูกไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่ แค่ 1-2 ลำเท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล

ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัมต่อ 1 นอกฤดูกาล ราคาที่ขายได้ 40-70 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาทต่อกอ มีรายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมรายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ส้มโอทับทิบสยาม

ส้มโอทับทิมสยาม เป็นไม้ผลขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในประเทศและส่งออก เพราะส้มโอทับทิมสยามมีรสชาติหวาน เนื้อสีชมพูคล้ายสีทับทิม จนถึงสีแดง ผิวของผลอ่อนนุ่ม เนื้อส้มโอไม่แฉะน้ำ เนื้อแห้งกรอบ ขนาดผล 1.5-2 กิโลกรัม ขายได้ราคา 200 บาทต่อผล

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมเมืองที่มีค่าครองชีพสูง และบริเวณที่พักอาศัยมีพื้นที่ว่างไม่มาก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 35-37 องศาเซลเซียส เนื่องจากเห็ดฟางชอบอากาศร้อน เจริญเติบโตได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดี ช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้ามีต้นทุนต่ำ เหมาะกับทุกบ้านเรือน เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ให้ผลผลิตทุกฤดูกาล ที่สำคัญเป็นพืชปลอดสารพิษ นอกจากนำผลผลิตมารับประทานในบ้านเรือนแล้ว ผลผลิตที่เหลือยังสามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมอย่างดี

เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง ฯลฯ เห็ดฟางยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เพราะเห็ดฟางมีสาร Vovatoxin ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้

ไผ่ซางนวล (ภาคเหนือ), ไผ่ซางดอย, ไผ่ซาง, ไผ่ไล่ลอ (น่าน), ไผ่นวล (กาญจนบุรี) เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 6-16 เซนติเมตร ลำมีสีเขียวนวล เนื้อไม้หนา 1-3 เซนติเมตร หน่อมีขนาดกลาง 2-4 กิโลกรัม ปลูกได้ในสภาพดินที่เป็นหิน เพราะเป็นไม้ภูเขา ทนแล้งได้ดี กอไผ่ซางนวลดูแลง่าย ไม่ยุ่งยากในการตัดแต่งกิ่ง การขยายพันธุ์จะทำโดยการตอนกิ่งแขนงข้างเหมือนกับไผ่อื่นทั่วไป

ลำไผ่ซางนวลนิยมใช้ในอุตสาหกรรมไม้เส้น ไม้ตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร งานจักสาน งานหัตถกรรม โครงนั่งร้านงานก่อสร้าง ไม้ไผ่เสริมคอนกรีตแทนเหล็ก หน่อนำมาปรุงอาหาร นิยมตัดหน่อใต้ดิน เพราะมีรสหวานดีกว่าในบรรดาหน่อไม้ด้วยกัน นอกจากนี้ ไผ่ซางนวลยังเป็นที่อยู่อาศัยของหนอนรถด่วน สามารถจับมาขายได้ราคาดี

มะขามเทศเพชรโนนไทย

มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย เป็นพืชทางเลือกที่เหมาะสำหรับเพาะปลูกในแหล่งดินเค็มและสภาพแห้งแล้ง เพราะต้นมะขามเทศเติบโตได้ดีในสภาพดินเค็ม และให้ผลผลิตดีมาก เกษตรกรจำนวนมากในพื้นที่อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา จึงเลิกอาชีพปลูกข้าว หันมาปลูกมะขามเทศเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 60 ล้านบาท

เกษตรกรนิยมปลูกมะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย โดยมีต้นทุนการผลิต 24,395 บาทต่อไร่ (1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 25 ต้น) มะขามเทศเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 700 กิโลกรัมต่อไร่ มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทยมีรสหวาน กรอบ อร่อย เริ่มติดดอกช่วงปลายเดือนธันวาคม และเริ่มเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ราคาดีมาก จำหน่ายหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาท ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 25,605 บาทต่อไร่

บอนสี เป็นไม้ประดับขายดีติดตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะบอนสีสามารถพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ หรือมีลูกไม้ใหม่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ ราคาบอนสี เริ่มต้นตั้งแต่ 35 บาทขึ้นไป จนถึงหลักพันต่อกระถาง หลายรายขายบอนสีได้ราคาแพงเพราะสินค้ามีจำนวนน้อย เป็นสายพันธุ์ที่หายาก หรือเป็นสายพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาใหม่ จึงตั้งราคาขายได้ค่อนข้างแพง ตลาดส่วนใหญ่นิยมบอนสีที่มีใบสีแดง สีสดสวยงาม

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจาก กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย มีไผ่หลายพันธุ์หลายชนิด ไผ่จัดอยู่ในประเภทพืชยืนต้น โดยต้นไผ่จะมีลักษณะที่โดดเด่นเป็นที่จดจำได้ง่าย ตรงที่ตัวลำต้นจะแตกออกเป็นกอไม้พุ่มเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งในกอหนึ่งมีประมาณ 20-25 ต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้องตลอดลำ เนื้อผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว

ไผ่หม่าจู พระเอกของสวน
คุณณรงค์ ไทยเจริญ เจ้าของสวนไผ่ อยู่บ้านเลขที่ 73/3-4 หมู่ที่ 1 ตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่มีความชื่นชอบในเรื่องของต้นไผ่เป็นอย่างมาก โดยเขาใช้ที่ดิน จำนวน 22 ไร่ ในการปลูกไผ่เกือบทั้งหมด ซึ่งจะมีไผ่ จำนวน 3 พันธุ์ ที่คุณณรงค์เลือกปลูกคือ ไผ่หม่าจู ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง

คุณณรงค์ ได้ให้เหตุผลถึงการเลือกปลูกไผ่หม่าจูว่า เป็นไผ่สายพันธุ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งจากหน่อและลำต้น โดยลำต้นสามารถนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง หรืออื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆ

ในส่วนของหน่อไม้พันธุ์หม่าจูก็นำมาประกอบอาหารได้ เพราะจะมีรสชาติที่หวานกรอบอร่อย ไม่มีขม เพราะถูกจัดอยู่ในตระกูลไผ่หวาน มีสีเนื้อที่ขาวปราศจากสารฟอกสี นำไปรับประทานได้โดยที่ไม่ต้องต้มน้ำเพื่อลวกหน่อไม้ เพราะล้างน้ำธรรมดาหรือล้างน้ำซาวข้าว แล้วนำมาปรุงอาหารได้เลย เพราะถ้าเป็นไผ่จากที่อื่นจะขมมาก ทำให้ต้องต้มน้ำก่อนนำไปปรุงอาหาร และยังเป็นที่นิยมในท้องตลาดทั่วไปด้วย

ซึ่งพันธุ์หม่าจู ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี ก็คือ การตอนกิ่งแขนง และการชำเหง้า

โดยการตอนกิ่งแขนง freeshopmanual.com จะไม่สามารถนำกิ่งที่มีความอ่อนมาใช้ได้ กิ่งที่นำมาใช้จะต้องอยู่ในช่วงกลางๆ ไปจนถึงระดับที่เรียกว่าแก่เลยทีเดียว ส่วนการขยายพันธุ์วิธีที่ 2 คือการเพาะด้วยการชำเหง้า ถ้าหากช่วงนั้นพื้นดินอยู่ในระหว่างที่มีความชื้นสูงๆ ก็สามารถนำลำต้นปักลงหลุมได้ทันที ไผ่รวก อเนกประสงค์
ส่วนไผ่รวก จะปลูกเป็นแถวๆ เพื่อใช้เป็นแนวบังลม เนื่องจากพื้นที่ในสวนแห่งนี้มีลมค่อนข้างแรงในบางฤดู

ไผ่รวกเป็นไผ่ที่ปลูกได้ง่าย แต่จะใช้เวลานานถึง 4 ปีเลยทีเดียว กว่าที่ไผ่รวกจะเติบโตโดยสมบูรณ์แบบ และในส่วนของหน่อจะเก็บได้ตั้งแต่ปีที่ 3 แต่คุณณรงค์ก็ได้บอกว่า ถ้าอยากได้หน่อไม้ที่อยู่ในช่วงที่ดี แนะนำให้เก็บในปีที่ 4 ขึ้นไป เพราะนอกจากจะได้รสชาติที่ดี มอดก็ยังน้อยอีกด้วย

ทางด้านลำต้นของไผ่รวก คุณณรงค์ บอกว่า

“ไม้ไผ่รวกของเรา เราจะมีการนำไปตัดเพื่อทำเป็นหลักวัว หรือแผงกั้นที่มีลวดเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำเป็นรั้วไฟฟ้า เพราะพื้นที่ในอำเภอพัฒนานิคม ส่วนใหญ่ทำอาชีพเลี้ยงวัว ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เราก็เลยนำไม้มาแปรรูปเป็นหลัก ขายได้ 1 ท่อน (1 เมตร 20 เซนติเมตร) ประมาณ 4 บาท โดยลำหนึ่งสามารถตัดได้ 4-5 ท่อน ลำต้นหนึ่งมีค่าประมาณ 20 บาท ส่วนเศษไม้ที่ตัดเป็นข้อๆ เราก็ไม่ได้ทิ้ง แต่เราจะนำไปเผาถ่าน เพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง”

ส่วนไผ่เลี้ยง ถึงจะไม่ใช่ไม้หลักที่เลือกปลูก แต่จะมีประโยชน์และการเจริญเติบโตที่คล้ายกับไผ่รวก และคุณณรงค์จึงเลือกใช้หน่อกับลำต้นเหมือนไผ่รวกเกือบทุกอย่าง

นอกจากไผ่ที่คุณณรงค์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว เขาก็ยังปลูกสมุนไพรต่างๆ อีกหลายชนิดไว้ในสวนแห่งนี้อีกด้วย

“ผมทำเรื่องสมุนไพรอยู่ เป็นสมุนไพรปรับสมดุลร่างกาย คือการใช้รักษาโรคแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องใช้เงินในการรักษา ซึ่งสมุนไพรในนี้มีมากกว่า 30-40 ชนิด จะมีสมุนไพรที่เป็นไม้ยืนต้น-สมุนไพรที่เป็นไม้ล้มลุก แล้วก็สมุนไพรที่เป็นพืชข้ามปี ก็เลยกลายเป็นป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” คุณณรงค์ กล่าว ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือหนึ่งในปรัชญาของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรหรือประชาชนที่มีที่อยู่ว่างเปล่าได้มีป่าไม้ มีอาหารกิน มีไม้ใช้สอย

โดยคุณณรงค์ บอกว่า เขาได้นำปรัชญาเหล่านี้มาใช้กับสวนแห่งนี้ด้วย ซึ่งเขาได้อธิบายว่า ประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้กินได้ และป่าไม้เศรษฐกิจ

ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือสามารถนำมาเป็นอาหารได้ ซึ่งที่สวนแห่งนี้จะมีเพกา มะขามป้อม กล้วย ขี้เหล็ก มะละกอ ฯลฯ แล้วก็ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดที่อยู่ในสวน ส่วนใหญ่ล้วนจะเป็นสมุนไพรที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่รู้จักกับประโยชน์อย่างเด่นชัด

ประโยชน์ที่สอง นำสิ่งที่มีอยู่ในสวนไผ่มาใช้สอย เพื่อสร้างเป็นที่พักอาศัย หรือทำเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้

ประโยชน์ที่สาม สามารถใช้ในการนำไปจำหน่ายได้ หรือจะนำมาเป็นพลังงาน เช่น การเผาถ่านก็ได้ ส่วนประโยชน์ข้อสุดท้าย พันธุ์ไม้เหล่านี้เมื่อปลูกแล้ว จะไม่มีการไปรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย มีแต่จะรักษาเกื้อหนุนป่าไม้และสิ่งมีชีวิตตัวน้อยๆ แถมยังเป็นการสร้างสมดุลของระบบนิเวศภายในสวนได้อีกด้วย

คุณบัญชา บอกต่อว่า ตอนนี้ตนมีพื้นที่การทำเกษตรทั้งหมด

60 ไร่ แบ่งปลูกกุยช่าย 40 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง ที่เหลือแบ่งปลูกพืชอย่างอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยงบ้าง เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรไม่มีอะไรแน่นอน การทำการเกษตรความยากง่ายของแต่ละคนต่างกัน พืชแต่ละอย่างขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน สำหรับตนเองการที่จะทำอะไรสักอย่าง ต้องมีการศึกษาวิธีการอย่างถ่องแท้ก่อนลงมือทำ ก่อนที่จะมาปลูกกุยช่ายได้ ต้องมีการเดินทางไปดูสถานที่ปลูกจริงมาหลายๆ ที่ เพราะแต่ละที่จะมีเทคนิคการปลูกที่แตกต่างกันไป ผู้ปลูกจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้

เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสวนตัวเองมากที่สุด ดังคำที่ว่า “ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำพูดเสมอ” เพราะฉะนั้นเกษตรกรมือใหม่จำเป็นมากๆ ที่จะต้องตั้งคำถามกับตัวเองหลายๆ ข้อ ว่าปลูกอย่างไร ทำแบบไหน เพราะอะไรถึงทำ ผลผลิตออกช่วงไหน ผลผลิตทำได้กี่กิโลกรัมต่อไร่ ตลาดอยู่ที่ไหน ราคาขายเท่าไร ช่วงไหนคนต้องการมาก ถ้ามีคำตอบให้ตัวเองหมดทุกข้อแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ

เมื่อตอบคำถามตัวเองได้หมดทุกข้อ ก็มาลงมือปลูก การจัดการปลูกเน้นปลูกเฉพาะฤดู เรียกว่าการทำเกษตรแบบแจ๊คพ็อต เพราะถ้าทำให้ผลผลิตออกตลอดทั้งปี ราคาจะตก เพราะต้องไปเจอกับผักที่ออกตามฤดูกาล ปริมาณจะล้น ทำให้ราคาตก

“ตัวอย่าง การวางแผนปลูก ของที่สวนจะวางแผนปลูกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม และนับไปอีก 4 เดือนผลผลิตจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายคือ ปลูกเดือนมีนาคม ผลผลิตจะเริ่มออกให้เก็บช่วงเดือนกรกฎาคม จะตรงกับช่วงก่อนสารทจีนพอดี ตลาดจะต้องการกุยช่ายเป็นพิเศษ แต่ถ้าปลูกหลังจากนั้น เช่น ปลูกเดือนมิถุนายนเข้าฤดูฝน ของใครๆ ก็ออกต้นสมบูรณ์แข็งแรงกันหมด เมื่อถึงเวลาตัดได้เข้าฤดูหนาวพอดี ซึ่งโดยธรรมชาติของผักก็ออกช่วงนี้อยู่แล้ว ใครก็ทำได้ ราคาจะถูก แต่ถ้าปลูกเดือนกุมภาพันธ์จะผ่านช่วงหน้าร้อนมา ถ้าดูแลบริหารจัดการให้ผ่านหน้าร้อนมาได้ ช่วงนี้ของจะขาด แล้วผักจะราคาดี” คุณบัญชา บอกถึงเคล็ดลับวางแผนการปลูก

วิธีการปลูกกุยช่าย
กุยช่าย สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ในประเทศไทย เป็นพืชที่ชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ

การเตรียมดิน… ไถตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน แล้วปรับปรุงคุณภาพดิน เติมอินทรียวัตถุ และปรับค่า pH ของดินให้อยู่ประมาณ 7.1-7.2 เมื่อเตรียมดินเสร็จ ให้นำต้นกล้ามาปักดำ ซึ่งต้นกล้าที่นำมาปักดำ ต้องเพาะให้มีอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป ถึงจะย้ายมาลงแปลงปลูกได้ หากปลูกแบบยกร่อง ใช้ระยะห่าง 25×25 เซนติเมตร จำนวนต้น ต่อหลุม ประมาณ 6-8 ต้น หรือจะปลูก 4,6,8 ต้น ต่อหลุมก็ได้ ขึ้นอยู่ที่ความสะดวกของแต่ละพื้นที่ ระยะห่างต่อหลุมขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย หากดินดีก็ปลูกให้ระยะห่างหน่อย เพราะถ้าดินดีพืชจะแข่งกันโต เบียดหาแสง จะทำให้โครงสร้างใบบาง

หลังจากปักดำเสร็จแล้ว คอยดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช

วิธีการปักดำกล้า…เมื่อนำต้นกล้าที่มีอายุ 4 เดือน มาเตรียมปักดำ ให้ตัดใบ ตัดรากออก ให้สั้นเหมือนที่ใช้เสิร์ฟคู่กับผัดไทย “กุยช่าย ปลูกนานหลังจากปักดำกล้านับอีก 4 เดือน เริ่มตัดขายได้ หลังจากตัดขายมีดแรกจะต้องคลุมฟาง กำจัดวัชพืช หลังจากตัด 15 วัน ดอกจะเริ่มออกให้เก็บ เก็บดอกไปอีก 45 วัน รวมเป็น 60 วัน เมื่อครบ 60 วัน เริ่มตัดมีดสองได้ ก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ตัดใบทุก 2 เดือน ก็จะมีรายได้ทั้งเป็นรายวันและเป็นรายเดือน ผมชอบตรงนี้แหละ”

น้ำ… การให้น้ำตอบไม่ได้ว่า 1 วัน จะให้กี่ครั้ง แต่ให้สังเกตดินต้องมีความชุ่มชื้นเสมอ จะให้วันละ 3-5 ครั้ง ก็สามารถเป็นไปได้ ให้ดูอากาศและสภาพดินประกอบกันไป ถ้าดินที่ปลูกเป็นดินทรายแล้วให้น้ำเท่ากับดินเหนียวก็ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นดินเหนียวแต่ให้น้ำเยอะเหมือนดินทรายพืชก็แฉะตาย เพราะฉะนั้นต้องดูตามความเหมาะสมควบคู่กันไป ของที่สวนเป็นดินร่วนปนเหนียวออกไปทางเหนียวเยอะ จะรดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง

ปุ๋ย… ใส่อินทรีย์กับเคมีสลับกัน ดูตามความเหมาะสม ระยะการใส่หลังจากปักดำประมาณ 7 วัน เพราะพืชเริ่มแตกรากใหม่ก็ใส่ปุ๋ยได้เลย ช่วงแรกพืชกำลังตั้งตัวต้องเน้นสูตรเร่งต้น ปุ๋ยที่ใส่เป็นปุ๋ยยูเรีย สูตร 25-7-7 สลับกับ สูตร 21-7-14 ปริมาณ 4-6 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าใส่เยอะกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์ อีกทั้งทำให้ต้นทุนสูงและผลลัพธ์ที่ได้ก็สูญเปล่า

โรคแมลง…ใช้สารเคมีและสารชีวภัณฑ์สลับกันตามความรุนแรง ช่วงที่แมลงเยอะจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างฤดู เช่น ฝนต่อหนาวแมลงจะเยอะที่สุด รองลงมาเป็นช่วงร้อนต่อฝน แต่ถ้าหนาวต่อร้อนจะไม่เท่าไร จะหนักไปทางเชื้อรามากกว่า ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอ เพียงแค่ป้องกันไว้ก่อนก็จะช่วยบรรเทาการระบาดได้ การทำเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว สภาพอากาศเป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ แค่ต้องมีสติรับมือให้ได้

“กุยช่าย” ปลูกมานานกว่า 20 ปี
ราคาดี ไม่มีตก
เจ้าของบอกว่า ตั้งแต่ปลูกกุยช่ายมา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ราคาถือว่าดีมาตลอด เพราะคนนิยมบริโภคกันมากขึ้น แต่คนทำน้อยลง ถือว่าไม่ผิดหวังที่เปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดนี้

ลักษณะการขาย ขายได้ทั้งดอก ใบ และทำเป็นกุยช่ายขาวได้ ราคาดอกจะดีกว่าใบเขียว ดอกราคาต่ำสุด กิโลกรัมละ 20 บาท สูงสุด กิโลกรัมละ 80 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกด้วย ถ้าตัดมีด 2 มีด 3 ดอกจะใหญ่ ยาว แต่หากบำรุงรักษาต้นดี บางครั้งตัด มีด 3 ดอกก็ยังใหญ่ได้อีก

ราคาใบเขียว กิโลกรัมละ 30-40 บาท ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาด ถ้าตัดมีดแรกราคาจะสูง แต่ถ้ามีดแรกเป็นช่วงหน้าหนาว ราคาจะถูก ผลผลิตที่ได้ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล หากเป็นฤดูหนาวดอกจะมีน้อย ราคาจะสูง แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนดอกจะมีมาก ราคาจะถูก ผลผลิตของที่สวนถือว่าอยู่ในระดับที่พึงพอใจ ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวล่วงหน้า

“การเตรียมต้นล่วงหน้ามีผลต่อความสมบูรณ์ของดอก พยายามให้พืชสะสมอาหารก่อนฤดูหนาว เพราะฤดูหนาว พืชจะออกดอกน้อย ก็ต้องมีการเตรียมต้นให้พืชสะสมอาหารก่อน แล้วค่อยกระตุ้นการเปิดตาดอก”

ตลาด…ส่งขายที่ตลาดศรีเมือง สี่มุมเมือง และปากคลองตลาด เก็บส่งตามความต้องการของแม่ค้า ครั้งละ 300-500 กิโลกรัม หรือสองตันก็แล้วแต่ คุณบัญชา กล่าวถึงการตลาดทิ้งท้าย

สนใจสอบถามรายละเอียดวิธีการปลูกกุยช่ายสร้างรายได้ ติดต่อ คุณบัญชา หนูเล็ก ได้ที่เบอร์โทร. 089-220-8438 ระยะนี้อยู่ในช่วงของ “ข้าวยากหมากแพง” สินค้าทุกชนิดขึ้นราคาเป็นว่าเล่น หรือเพราะราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นราคาแทบทุกวัน แต่ราคาสินค้าด้านการเกษตรยังคงที่ บางชนิดเท่านั้นที่ขึ้นราคา เพราะการเก็งกำไรของนักธุรกิจ จากคำขวัญของเทคโนโลยีชาวบ้านที่ว่า “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” จึงใช้ได้กับทุกวาระทุกสมัย ฉบับนี้มูลนิธิโครงการหลวงใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านปลูกพืชผักรับประทานกันเองในบ้าน ไม่ต้องไปหาซื้อของแพงในตลาด ปลูกได้ง่าย ใช้เวลาสั้นแต่เก็บกินได้นาน สะอาดปลอดภัยไร้สารพิษ นั่นคือ ฟักแม้ว

บางท่านที่ชอบรับประทานข้าวต้ม มักจะสั่งอาหารประเภทนี้ จนพูดติดปากกันว่าถ้าสั่งฟักแม้วผัดน้ำมันหอย ราคาจานละ 30 บาท หากสั่งซาโยเต้ผัดน้ำมันหอย จะราคาเพิ่มเป็น 50 บาท ฟักแม้ว เป็นชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านภาคเหนือ หรือจะเรียกให้โก้หรูแบบภาษาญี่ปุ่นและได้ราคาสูงต้องเรียกว่า ซาโยเต้ ฟักแม้วเป็นพืชข้ามปี ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะที่เจริญจากข้อใบ ขยายพันธุ์ด้วยผลแก่ สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกฟักแม้วจะต้องสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 500-1,400 เมตร เป็นที่ราบหรือที่ราบเชิงเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 15-28 องศาเซลเซียส

การปลูกง่ายมาก เริ่มจากคัดเลือกหัวพันธุ์ที่ปลอดเชื้อไวรัสและแก่เต็มที่ นำไปปักชำในขี้เถ้าแกลบและทรายในที่ร่มที่มีความชื้น รอจนแตกรากและเริ่มแตกใบอ่อนจึงย้ายไปปลูกในหลุม ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ห่างกันประมาณ 1 เมตร ทำค้างด้วยไม้ไผ่เพื่อให้เถาฟักแม้วเลื้อยเกาะ หลังปลูก 15 วัน จึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ทุก 15 วัน

ศัตรูพืชของฟักแม้ว ได้แก่ โรคราน้ำค้าง ราแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงหวี่ขาว การป้องกันกำจัด ควรใช้น้ำมันปิโตรเลียม หรือผงฟู 70 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร อาจจะใช้สารเคมีกำจัดแมลงบ้างบางครั้งหากจำเป็นเมื่อเกิดศัตรูพืชระบาดมาก แต่ไม่ขอแนะนำเนื่องจากเราจะต้องรับประทานยอดอ่อนและผลอ่อน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหรือปรึกษาเจ้าหน้าที่พืชผักของมูลนิธิโครงการหลวง

ฟักแม้วสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่หลังจากปลูก 50-60 วัน และเก็บเกี่ยวยอดและผลอ่อนรับประทานหรือจำหน่ายได้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จึงรื้อออกแล้วปลูกใหม่ เนื่องจากต้นฟักแม้วที่แก่จะให้ยอดอ่อนน้อย ในขณะเดียวกัน เกษตรกรสามารถเก็บผลแก่ไว้ทำพันธุ์ได้เอง

คุณประโยชน์ของฟักแม้ว ด้วยการนำมาประกอบอาหาร เช่น ต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงเลียง ยำ ที่ชื่นชอบมากคือ นำไปผัดน้ำมันหอย ฟักแม้วมีคุณค่าทางอาหารคือ ให้วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ (053) 318-304 หรือที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. (053) 810-765 ต่อ 108

แตงโม มีวิตามินและแร่ธาตุที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นไม้เถาเลื้อย ขอบใบหยัก ลำต้นมีขน ดอกสีเหลือง ผลกลมและกลมรี เกษตรกรแขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก ได้ปลูกแตงโมพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นพืชหมุนเวียนหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือฤดูแล้ง ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรังช่วยทำให้โครงสร้างดินดีมีคุณภาพ หรือเพื่อการยกระดับรายได้ นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความมั่นคง

คุณจันทิรา บวรรัตนสุภา เกษตรกรุงเทพมหานคร สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร เล่าให้ฟังว่า สภาพพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่การเกษตร 120,450 ไร่ เกษตรกร 7,032 ครัวเรือน พืชที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ทำนา 87,397 ไร่ เกษตรกร 3,328 ครัวเรือน กล้วยไม้ 1,514 ไร่ เกษตรกร 243 ครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับรวมสนามหญ้า 488 ไร่ เกษตรกร 94 ครัวเรือน พืชผัก 2,188 ไร่ เกษตรกร 658 ราย และอื่นๆ

สถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใช้วิธีการแบบเดิมๆ มีความเสี่ยงกับดินฟ้าอากาศผันแปร ผลผลิตที่ได้รับไม่คุ้มทุนหรือมีความเสี่ยงด้านการตลาด จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ทำให้ไม่มั่นคงต่อการยังชีพ

ก้าวสู่วิถีใหม่ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียน ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ภายใต้นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำหรือจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูกมาใช้ เป็นศูนย์รวมรองรับข้อมูลวิชาการ ในด้านสังคมจะเกิดบูรณาการในการทำงานในพื้นที่ระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และเอกชน

ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งการลดรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มในครัวเรือนเกษตรกร ด้วยการดำเนินการตามศาสตร์พระราชา ที่มุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่แบบพึ่งพาตนเองก่อนแล้วจึงเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันกับภายนอก ตามแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทางสายกลางคือ : พอประมาณ : มีเหตุผล : มีภูมิคุ้มกันในตัวดี

คุณลุงบุญเรือน ปรางทอง เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมหมุนเวียนกับการทำนา เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ทำการเกษตร 50 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่ทำนาตลอดปีและทำนาติดต่อกันมานานโดยที่ไม่ได้ปลูกพืชหรือทำกิจกรรมอื่นแต่อย่างใด ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 60-85 ถัง ต่อไร่ ขายได้ 6,500 บาท ต่อเกวียนขึ้นไป ซึ่งราคาขายข้าวก็เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดูกาล

ในปี 2561 ได้รับคำแนะนำจาก สำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 กรุงเทพมหานคร ให้เข้าร่วมปลูกพืชในโครงการส่งเสริม-การปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง เพื่อให้มีการใช้พื้นที่ปลูกพืชหมุนเวียนสลับกับการทำนา มีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง การปลูกพืชหมุนเวียนจะทำให้ดินได้คุณภาพดี ได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน จึงได้ปรับพื้นที่นามาปลูกแตงโม 15 ไร่ และเพื่อนเกษตรกรใกล้เคียงปลูก 11 ไร่ รวมมีพื้นที่ปลูกแตงโม 26 ไร่

การเตรียมดินและปลูก ได้ไถดะ ไถแปร จัดการไถพลิกดินให้พื้นที่เป็นสันร่องสูง 1 คืบ หรือ 30 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ระหว่างสันร่องห่างกัน 3 เมตร ตากแดด 7-10 วัน แล้วหว่านปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วไถตีฝุ่น จัดวางระบบน้ำหยด วางผ้าพลาสติกดำที่เจาะรูไว้แล้ว คลุมให้อยู่กลางร่องแปลง ผ้าพลาสติกดำจะช่วยเก็บรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช การปลูกได้ขุดดินเป็นหลุมปลูกกว้างและลึกพอประมาณ นำต้นกล้าพันธุ์แตงโมลงปลูกเกลี่ยดินกลบ แต่ละหลุมปลูก จะมีระยะห่างกัน 30 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 850-900 ต้น

หลังปลูก 2 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งแรกเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของต้นแตงโม นำปุ๋ย สูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยด เว้นระยะการใส่ปุ๋ย 15 วัน ต่อครั้ง

ช่วงที่ต้นแตงโมเริ่มออกดอก ได้นำปุ๋ย สูตร 8-24-24 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้กับต้นแตงโมติดดอกที่สมบูรณ์

ในช่วงเริ่มติดผล ได้ใส่ปุ๋ยบำรุงผลด้วยการนำปุ๋ย สูตร 8-24-24 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้ต้นแตงโมติดผลได้ดีไม่หลุดร่วง

ก่อนเก็บผลแตงโม 7-10 วัน ได้นำปุ๋ย สูตร 0-5-12-34 อัตรา 1 กระสอบ หรือน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ผสมกับน้ำในถังแล้วส่งปุ๋ยไปทางระบบท่อส่งน้ำหยดเพื่อช่วยให้ผลแตงโมมีความหวานหอมอร่อย ใส่ปุ๋ยวันละครั้ง

การให้น้ำ ได้ติดตั้งการให้น้ำต้นแตงโมด้วยระบบน้ำหยด ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บผล ต้นแตงโมต้องได้รับน้ำอย่างพอเพียง ต้นแตงโมขนาดเล็กได้ให้น้ำวันละครั้งนาน 30 นาที และระยะก่อนเก็บผล 7-10 วัน ได้ให้น้ำทุกวัน แต่ละครั้งนาน 2 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลแตงโมคุณภาพ การเก็บผลแตงโม ได้เลือกเก็บผลที่แก่สุกเหมาะสม วิธีเก็บได้นำมีดคมตัดที่ก้านขั้วผล หรือใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับจิกที่ก้านขั้วผลบิดให้ขาด นำผลแตงโมไปเก็บรวบรวมในโรงเรือนพร้อมขายให้กับพ่อค้า พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 4 ตัน หรือถ้าไม่กระทบกับปัญหาจากสิ่งแวดล้อม จะได้ผลผลิต 5-6 ตัน

ตลาด การขายผลแตงโมจะมีพ่อค้ารายใหญ่ติดต่อเข้ามาซื้อแตงโม ครั้งละ 1.5 ตัน จึงได้กำหนดราคาขายที่หน้าสวน 10-30 บาท ต่อกิโลกรัม ลดหลั่นกันไปตามขนาดของผลแตงโม เป็นราคาคุ้มทุนที่พอจะทำให้มีรายได้เงินแสนบาทนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการผลิตและเพื่อยังชีพได้อย่างพอเพียงมั่นคง

แตงโม…พืชเศรษฐกิจสำคัญ ปลูกหมุนเวียนกับการทำนา ในโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ช่วยทำให้โครงสร้างดินดีมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต เป็นการยกระดับรายได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความมั่นคง

สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณลุงบุญเรือน ปรางทอง บ้านเลขที่ 42/4 หมู่ที่ 14 แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โทร. 085-220-7346 หรือที่ คุณกัลยา เจริญทรัพย์ สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร โทร. 086-335-3272 ก็ได้ครับ

นายบุญคอย สำราญรส อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หมู่ที่ 5 บ้านนาน้อย ตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำเกษตรในลักษณะไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่สร้างรายได้ทุกวัน โดดเด่น เรื่องการอนุรักษ์ควายด่อน

ไร่นาสวนผสมแห่งนี้ มีพื้นที่ทำนาข้าว 60 ไร่ ได้ผลผลิตปีละ 30,000 กิโลกรัม แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ 10 ไร่ ไก่พื้นเมือง รุ่นละ 100-150 ตัว สุกรพ่อแม่พันธุ์ 10 ตัว สุกรป่าเลี้ยงแบบปล่อย รุ่นละ 20-30 ตัว ไว้เก็บเศษพืช ต้นกล้วย ไก่ไข่ 10 ตัว

พื้นที่หนองน้ำเลี้ยงปลากินพืช หลากหลายชนิด ไว้บริโภคในครัวเรือน กิจกรรมที่มีอยู่ ทำให้เกิดรายได้รายวัน 200-500 บาท รายสัปดาห์ 3,000-5,000 บาท รายเดือน 15,000-20,000 บาท

นายบุญคอย บอกว่า เขาได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน เกษตรอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลม่วงนา ให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาแบบเดิมเข้าสู่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มีนาข้าว แหล่งน้ำ พื้นที่ปศุสัตว์ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

ฟาร์มแห่งนี้ เลี้ยงกระบือเผือกจำนวนมาก daddyuploads.com เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์กระบือเผือก ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง เป็นไร่นาสวนผสมแบบเปิด “เพื่อเกษตรกร” ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคต เป็นศูนย์เครือข่าย “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลม่วงนา หรือศูนย์เครือข่าย โดยประสานงานกับเกษตรกรแกนนำ ปราชญ์เกษตร ด้านการเกษตรอินทรีย์ ด้านดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ด้านการตลาด เป็นระบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง สู่ความยั่งยืน ของครัวเรือนเกษตรกร

สาเหตุที่นายบุญคอยสนใจเลี้ยงกระบือเผือกหรือควายด่อน เกิดจากแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ควายไทยในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ธนาคารโคกระบือ ข้อดีของการเลี้ยงควายคือ ได้โรงงานปุ๋ยคอกเคลื่อนที่ ฟาร์มแห่งนี้ได้ปุ๋ยมูลกระบือหลายพันกิโลกรัมต่อปี

ควายเผือกหรือกระบือเผือกของฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงเพื่อความสวยงามส่วนหนึ่ง เพื่อการค้าด้วย สมัยก่อนเกษตรกรอีสานจำนวนมาก มีความเชื่อว่า ควายเผือก “เป็นควายยีนส์ด้อย หรือสายเลือดด้อย” ไม่นิยมเลี้ยงกัน คนไม่นิยมรับประทานเนื้อ เพราะจะทำให้ผิดกระบูน เจ็บป่วยถึงตายได้ โดยเฉพาะคนคลอดลูกใหม่ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ผิดแม่ลูกอ่อน”

หากไม่มีการเลี้ยงอนุรักษ์สายพันธุ์ควายเผือกไว้ ก็เสี่ยงสูญพันธุ์ได้ ปัจจุบันคนหันมานิยมเลี้ยงควายเผือกเพิ่มมากขึ้น แถมขายได้ราคาดี นิยมเลี้ยงควายเผือกโชว์ในสถานที่ท่องเที่ยว ตามฟาร์มใหญ่ นักท่องเที่ยวถ่ายรูปกับควายเผือก ผู้สนใจสามารถแวะชมกิจการเกษตรผสมผสาน และฟาร์มควายเผือกได้ตามที่อยู่ หรือ โทรศัพท์ 093-567-8801 อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) กรมส่งเสริมการเกษตร แห่งบ้านนาน้อย ยินดีต้อนรับทุกท่าน

“วริศ มันตาวลี” หนุ่มอาข่า วัย 39 ปี เจ้าของธุรกิจ “เฮราโมน คอฟฟี่ ฟาร์ม” หมู่บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด “สุดยอดกาแฟไทย” ถึง 2 ปีซ้อน ในประเภทกาแฟอาราบิก้า Semi-Dry กระบวนการแปรรูป Honey Process ปี 2564 และประเภทกาแฟโรบัสต้า ปี 2565

นอกจากนี้ ยังพบว่าการใส่ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วันทั้งสองแบบ

ทำให้ผลผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 ของทั้งสองแปลงทดลองมีความหวานได้มาตรฐาน ตามมาตรฐาน มกษ. 1512-2554 (8-18 °brix) และยังช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียทั้งสามสกุลที่อยู่ในปุ๋ยชีวภาพทั้งสองแบบ ซึ่งแบคทีเรียทั้งสามสกุลมีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สามารถช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนลงได้ และยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดได้อีกด้วย และเพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนมากขึ้นจึงมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวรวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมในข้าวโพดหวานสายพันธุ์อื่นด้วย ดร.กัลยกร กล่าว

ศึกษาวิจัยการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ในพื้นที่ สวพ. 1-8

ดร. กัลยกร บอกว่า กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน ยังได้ทำการศึกษาวิจัยการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ทั้ง 3 ชนิด คือ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู และปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ในพื้นที่ สวพ. เขตที่ 1-6 ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกหลักส่วนใหญ่จะเป็นพืชไร่หรือพืชล้มลุก เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง พืชผักและพืชสมุนไพร จึงสามารถทำการศึกษาวิจัยการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทั้ง 3 ชนิด

ส่วนในพื้นที่ สวพ .7-8 ซึ่งเป็นพื้นที่ภาคใต้นั้น เกษตรกรมีการเพาะปลูกพืชไร่และทำนาน้อย จึงศึกษาเฉพาะปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน สำหรับข้าวโพด พืชผักและพืชสมุนไพร และศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู สำหรับผลิตข้าวเท่านั้น

ความแตกต่างของปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ทั้ง 3 ชนิด

ดร.กัลยกร อธิบายว่า ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน ประกอบด้วย แบคทีเรีย 3 สกุล แยกมาจากรากหญ้าแฝกและข้าวโพด เหมาะสำหรับข้าวโพด ข้าวฟ่าง พืชผัก พืชสมุนไพร ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู ประกอบด้วย แบคทีเรีย 2 สกุล แยกมาจากรากข้าวหอมมะลิ 105 เหมาะสำหรับข้าวทุกสายพันธุ์ ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ประกอบด้วย แบคทีเรีย 2 สกุล แยกมาจากรากอ้อยสายพันธุ์บราซิล เหมาะสำหรับอ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด

ดร.กัลยกร บอกว่า การที่กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน ทำการศึกษาวิจัย การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเท่ากับเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร รวมถึงการแนะนำให้เกษตรกรรู้จักการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชแต่ละชนิด

การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ให้ประโยชน์แก่เกษตรกร ดังนี้

ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับเป็นการลดต้นทุนการผลิตลง
ช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร วิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ให้ตรงกับพืช การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน

1. คลุกเมล็ดก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน จำนวน 1 ถุง (500 กรัม) ผสมน้ำให้ข้นแล้วนำเมล็ดข้าวโพด 3-4 กิโลกรัม หรือเมล็ดข้าวฟ่าง 2-3 กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเนื้อปุ๋ยเคลือบติดเมล็ด แล้วนำไปปลูกทันที

2. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน จำนวน 1 ถุง (500 กรัม) ละลายน้ำสะอาด 20 ลิตร ราดกองปุ๋ยที่หมักสมบูรณ์แล้วประมาณ 250 กิโลกรัม ปรับความชื้นในกองปุ๋ยหมักให้ได้ประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน บ่มไว้ 1 สัปดาห์ ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่

การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู

1. คลุกเมล็ดก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู จำนวน 1 ถุง (500 กรัม) ใส่น้ำสะอาดผสมให้ข้นเหนียว ใส่เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 10-15 กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเนื้อปุ๋ยเป็นสีดำเคลือบติดผิวเปลือกเมล็ดแล้วจึงนำไปปลูก

2. ใช้ร่วมกับปุ๋ยหมัก นำปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทู จำนวน 1 ถุง (500 กรัม) ผสมกับปุ๋ยหมักประมาณ 250 กิโลกรัม หว่านลงไปในแปลงปลูกข้าว อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่

การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ในอ้อย

1. พ่นลงบนท่อนพันธุ์ ใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ละลายกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี 1 กิโลกรัม (2 ถุง) ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นเป็นฝอยลงบนท่อนพันธุ์อ้อยให้ทั่วนำไปปลูกแล้วกลบทับด้วยดินทันที

2. ใช้ร่วมกับปุ๋ยหมัก นำปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี จำนวน 1 ถุง (500 กรัม) ผสมกับปุ๋ยหมัก 250 กิโลกรัม หว่านลงในแปลงอ้อยก่อนปลูกอัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่

การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ในมันสำปะหลัง

1. แช่ท่อนพันธุ์ โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี ละลายน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 : 20 หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี 1 กิโลกรัม (2 ถุง) ต่อน้ำ 20 ลิตร นำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังลงไปแช่ 5-30 นาที แล้วนำไปปลูกทันที

2. ใช้ร่วมกับปุ๋ยหมัก นำปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี 1 ถุง (500 กรัม) ผสมกับปุ๋ยหมัก 250 กิโลกรัม หว่านลงในแปลงมันสำปะหลังก่อนปลูก อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่

เกษตรกรสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ ประโยชน์และวิธีการใช้ได้ในส่วนภูมิภาค ได้ที่ ศวพ.ลำปาง สวพ.2 พิษณุโลก ศวพ.กาฬสินธุ์ สวพ.4 อุบลราชธานี สวพ.5 ชัยนาท ศวพ.ระยอง ศปผ.ขอนแก่น และกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โทร. 02-579-7522

พนักงานบริษัทหนุ่มวัย 34 ปี ในพื้นที่บ้านสันขะเจ๊าะ หมู่ที่ 14 ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ใช้เวลาว่างหลังเลิกงานประจำปลูกขึ้นฉ่ายลอยฟ้าไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำไหล ซึ่งเป็นผักสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารเพิ่มความหอมของน้ำซุป สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว 8,000-10,000 บาท ต่อเดือน โดยผักที่ปลูกนั้นจะเน้นใช้สารชีวภาพ จนเป็นที่ต้องการของตลาด ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำน้ำซุป แกงจืด

คุณพรชัย คำมี หนุ่มวัย 34 ปี อยู่บ้านสันขะเจ๊าะ หมู่ที่ 14 ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา นำผู้สื่อข่าวเข้าดูแปลงปลูกขึ้นฉ่ายลอยฟ้าไฮโดรโปนิกแบบน้ำไหลที่ปลูกไว้ในพื้นที่หน้าบ้านของตนเอง โดยเริ่มต้นขั้นตอนจากการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด นำมาเพาะเมล็ดพันธุ์ในที่ร่ม

และอนุบาลผักจนถึงนำมาปลูกในขั้นตอนระบบน้ำไหลวนบนท่อพีวีซีกว่า 2,000 หลุม โดยทำการบริหารจัดการตามขั้นตอนการปลูกการบำรุงรักษา จนสามารถทำให้ขึ้นฉ่ายที่ปลูกไว้โตได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม รวมทั้งเป็นที่ต้องการของตลาด

แต่ละวันก็จะสามารถผลัดเปลี่ยนเก็บผลผลิตได้ทุกวันจนสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี มีพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่หมุนเวียนกันมาซื้อ โดยตนเองจะขายกำละ 10 บาท ถ้าชั่งขายในราคากิโลกรัมละ 35-40 บาท ซึ่งสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ตนเองได้ทำการปลูกขึ้นฉ่ายเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปีแล้ว เนื่องจากขึ้นฉ่ายของตนเองนั้นจะมีความสวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาด และตนเองก็จะขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันเป็นที่ต้องการของลูกค้าเนื่องจากผักมีความสวยงาม สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวตกเดือนละ 8,000-10,000 บาทเลยทีเดียว “น้ำ” เป็นปัญหาปวดหัวตลอดกาลของชาวนา ราคาข้าวที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ใครๆ ก็อยากทำนาปรังในฤดูแล้งนี้ แต่น้ำชลประทานที่มีจำกัดไม่พอแบ่งปันให้ทั่วถึง พอถึงนาปีชาวนาส่วนใหญ่ที่ทำนาน้ำฝน (พื้นที่ 3 ใน 4 ของพื้นที่นาทั้งประเทศ) ก็มักจะประสบปัญหาขาดน้ำเมื่อฝนทิ้งช่วง

การปลูกข้าวโดยไม่ขังน้ำ (ฝรั่งเรียกว่า ข้าวแอโรบิก ไทยขอเรียกว่า ข้าวไร่ทันสมัย หรือข้าวไร่ไฮเทค) น่าจะเป็นทางออกได้ทางหนึ่ง สำหรับชาวนาที่มีปัญหาเรื่องน้ำ และจะช่วยให้ประเทศไทยผลิตข้าวได้มากขึ้นจากน้ำที่มีอยู่จำกัด โดยการใช้น้ำน้อยลง สำหรับการผลิตข้าวแต่ละไร่และแต่ละกิโลกรัม ข้าวไร่ ไม่ใช่ของใหม่สำหรับคนไทย การทำไร่โดยการถางและเผา ปลูกข้าวไร่ ปลูกถั่ว และปลูกงา พริก มะเขือ ฟัก แฟง ไปด้วย ฯลฯ เป็นระบบการเพาะปลูกเพื่อยังชีพที่สำคัญระบบหนึ่งในอดีต

แต่ได้ลดความสำคัญลงเมื่อมีการปลูกพืชไร่เชิงการค้า เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย เพิ่มมากขึ้น มาถึงในปัจจุบันการปลูกข้าวไร่ด้วยระบบดั้งเดิมนี้ ยังพอมีเหลืออยู่ในที่สูง และที่ยังให้ผลผลิตดีต้องการระยะเวลาหมุนเวียนอย่างน้อยถึง 7 ปี แต่การปลูกข้าวไร่ทันสมัยที่กล่าวถึงนี้ มีความแตกต่างตรงที่เป็นระบบเพาะปลูกสมัยใหม่ ที่มีการดูแลรักษาและให้ปัจจัยการผลิต อาทิ ปุ๋ย น้ำ อย่างพอเพียงทั่วถึง มีการกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะวัชพืชเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นระบบที่มีการเพาะปลูกเชิงการค้าอย่างได้ผลมาแล้วนับสิบๆ ล้านไร่ ในประเทศบราซิลและจีนทางเหนือ และแตกต่างจากการทำนาสวนตรงที่ไม่มีการทำเทือก ไม่มีความพยายามขังน้ำในกระทงนา แต่ให้น้ำพอดินชุ่มเหมือนพืชไร่อื่นที่ไม่ใช่ข้าว

ผลผลิตต่อไร่ของข้าวไร่ทันสมัยเทียบกับข้าวนาสวนที่มีน้ำขังตลอดเวลา มีรายงานจากการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ว่า ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ข้าวไร่ทันสมัย ให้ผลผลิต 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ในขณะที่เมื่อปลูกเป็นข้าวนาสวน ข้าวพันธุ์เดียวกันให้ผลผลิต 1,000-1,300 กิโลกรัม ต่อไร่

แต่ข้อได้เปรียบของข้าวไร่ทันสมัยอยู่ที่น้ำ ที่ประหยัดได้ต่อไร่ ทำให้ปลูกข้าวได้ในพื้นที่มากกว่า

ฤดูฝนปีไหนฝนดี ข้าวไร่ทันสมัย อาจต้องการน้ำชลประทานเสริมเพียง 1-2 ครั้ง ในช่วงวิกฤติ น้ำชลประทานที่ต้องใช้ในการขังน้ำในกระทงนาเพื่อปลูกข้าวนาสวน 1 ไร่ ในฤดูนาปี อาจพอเพียงปลูกข้าวไร่ทันสมัยได้ 5-10 ไร่

แม้ในฤดูแล้งที่ฝนตกเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีฝนเลย น้ำที่ใช้ทำนาปรัง 1 ไร่ จะพอเพียงปลูกข้าวไร่ทันสมัย ได้ 3-4 ไร่

ชาวนาที่มีค่าน้ำมันหรือค่าไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำเข้านาสวนได้เพียงไร่เดียว ก็จะปลูกข้าวไร่ทันสมัยได้ 5-10 ไร่ ในฤดูนาปี และได้ 3-4 ไร่ ในฤดูนาปรัง น้ำที่ประหยัดได้จริงจะแตกต่างกันตามพื้นที่และฤดูกาล ขึ้นอยู่กับปริมาณฝน ชนิดดินที่อุ้มน้ำได้มากน้อยต่างกัน ลักษณะสภาพแวดล้อมทางอุณหภูมิและความชื้นที่กำหนดควบคุมการใช้น้ำของต้นข้าว

การปลูกข้าวไร่ทันสมัย มีศักยภาพที่เด่นชัดสำหรับชาวนาในเขตนาน้ำฝน แต่แม้ในเขตชลประทาน การปลูกข้าวไร่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มพื้นที่รับน้ำเพื่อปลูกข้าวได้เป็นอีกหลายเท่าตัว จากการทำนาสวน

ข้อควรระวัง-ปัญหา ในการปลูกข้าวไร่ทันสมัย
อย่าลืมว่าการทำนาสวนด้วยการขังน้ำไว้ในกระทงนา เป็นระบบที่มีการพัฒนาระบบนิเวศมาเพื่อแก้ปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับการเพาะปลูก เมื่อเปลี่ยนไปเป็นการปลูกข้าวโดยไม่ขังน้ำ ปัญหาเหล่านั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยอีกทางหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวนี้มี 3 กลุ่ม คือ

ศัตรูพืช
ธาตุอาหารในดินและการดูดธาตุอาหาร
พันธุ์ข้าว และวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสม ซึ่งกลุ่มวิจัย “ทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหารพืช” ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ได้รับทุนสนับสนุนการสร้างกลุ่มวิจัยเพื่อมุ่งสร้างความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับข้าวไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำนี้ต่อไป
1. ศัตรูพืช ทั้งการทำเทือกและการขังน้ำ เป็นวิธีการกำจัดควบคุมวัชพืช ไส้เดือนฝอย และแมลงศัตรูในดินที่ได้ผล ศัตรูพืชเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ของข้าวไร่ทันสมัย มีรายงานจากประเทศบราซิลว่า ข้าวไร่ทันสมัยที่ปลูกซ้ำที่ทุกปีเป็นเวลา 5 ปี ให้ผลผลิตเพียง 186 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้าปลูกสลับกับถั่วเหลืองปีเว้นปี ได้ผลผลิต 412 กิโลกรัม ต่อไร่ และเมื่อปลูกเป็นปีที่ 4 หลังจากปลูกถั่วเหลืองมาแล้ว 3 ปี เว้นปี ข้าวไร่ทันสมัย ให้ผลผลิตถึง 692 กิโลกรัม ต่อไร่ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ได้ผลสำหรับหลายคนอาจเลือกใช้ และมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้โตเร็วกว่าวัชพืช และทนทานต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย กลุ่มวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ค้นพบพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ในระดับหนึ่ง และกำลังทำการศึกษา ระบบการปลูกพืช และการใช้พืชคลุมดิน/ปุ๋ยพืชสด เพื่อลดการสะสมของศัตรูพืชในแปลงข้าวไร่ทันสมัย

2. ธาตุอาหาร และการจัดการปุ๋ย ในสภาพทางเคมีและกายภาพของดินที่แตกต่าง ดินที่ไม่ขังน้ำจะมีธาตุอาหารสำคัญ โดยเฉพาะฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้น้อยลง ต้นข้าวดูดไปใช้ได้ยากขึ้น การจัดการปุ๋ยในระบบข้าวไร่ทันสมัย จึงจำเป็นต้องประณีตแม่นยำกว่าการทำนาสวน การศึกษากลไกควบคุมระบบการปรับตัวของรากข้าวและสมรรถนะในการดูดธาตุอาหารของข้าวต่างพันธุ์โดยกลุ่มวิจัยฯ จะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพดินไม่ขังน้ำได้ดีขึ้น และจัดระเบียบการใส่ปุ๋ยให้ได้ประโยชน์มากที่สุดและมีการสูญเสียน้อยที่สุด ในยามที่ปุ๋ยแพงอย่างนี้ ฝ่ายพืชคลุมดินของกลุ่มวิจัยฯ จึงให้ความสนใจพืชตระกูลถั่วเป็นพิเศษ นอกจากจะช่วยควบคุมศัตรูพืชดังกล่าวข้างต้นแล้ว พืชคลุมดินตระกูลถั่วยังจะช่วยประหยัดค่าปุ๋ยได้ด้วยไนโตรเจนที่ตรึงจากอากาศ (เท่ากับปุ๋ยยูเรีย 1 ลูก-50 กิโลกรัม-หรือมากกว่า ในพื้นที่ 1 ไร่)

3. พันธุ์ข้าวและวิธีการเพาะปลูก เป็นต้นว่า จะใช้ข้าวพันธุ์ใดปลูก จะหยอดเมล็ดอย่างไร อัตราเมล็ดที่ปลูกกี่กิโลกรัม ต่อไร่ เตรียมดินอย่างไร จะไถหรือไม่ไถ ฯลฯ คงต้องมีการพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่และโอกาส และไม่อาจนำเทคโนโลยีที่มีอยู่สำหรับข้าวนาสวนไปใช้กับข้าวไร่ทันสมัยได้เลยในทันที ในประเทศอื่น เช่น จีน และบราซิล มีความพยายามปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่ทันสมัยขึ้นมาโดยเฉพาะ แต่การศึกษาในเบื้องต้นของกลุ่มวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พบว่า ข้าวพันธุ์หลัก เช่น ขาวดอกมะลิ 105 กข 6 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 สามารถสร้างราก ดูดธาตุอาหาร และเจริญเติบโตได้ในสภาพ “แอโรบิก” ดีไม่แพ้ข้าวไร่พันธุ์แนะนำ เช่น พันธุ์ อาร์ 258 น้ำรู ซิวแม่จัน

และพบว่าข้าวนาสวนบางพันธุ์เมื่อปลูกในดินไม่ขังน้ำสลับกับขังน้ำยังจะให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อขังน้ำตลอดเวลาเสียอีก ดังนั้น ในขั้นต้นจึงน่าจะใช้ข้าวนาสวนพันธุ์มาตรฐานเหล่านี้ทดลองปลูกแบบข้าวไร่ทันสมัยได้ และเมื่อระบบมีการพัฒนามากขึ้นก็คงจะมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่ทันสมัยโดยเฉพาะ ในยุคที่การทำนามีพัฒนาการใช้เครื่องจักรมากขึ้น การปลูกข้าวไร่ทันสมัยนับว่ามีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกสมัยใหม่เป็นอย่างยิ่ง ในประเทศบราซิลเกษตรกรรายหนึ่งอาจจะปลูกข้าวไร่นับหมื่นถึงแสนไร่ ด้วยเครื่องจักรตลอดทุกขั้นตอนของการดำเนินการ ซึ่งดูไม่ต่างไปจากการทำนาปัจจุบัน ในบางท้องที่ของภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ต้นจนจบ การปลูกข้าวไร่ทันสมัยก็น่าจะพัฒนาระบบการเพาะปลูกที่ประหยัดแรงงานและใช้เครื่องจักรได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

ข้าวแอโรบิก-ข้าวไร่ทันสมัย หรือข้าวไร่ไฮเทค เป็นโอกาสดีสำหรับชาวนาไทยที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากขึ้น และเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวเพื่อบริโภคและส่งออก โดยไม่ต้องรอการลงทุนมหาศาลเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำหรือระบบชลประทาน

กลุ่มวิจัยฯ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นการศึกษาทางวิชาการที่จะเป็นพื้นฐานสนับสนุนพัฒนาระบบการปลูกข้าวไร่ทันสมัย และกำลังจะเริ่มนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาประกอบเป็นแปลงทดลองเชิงสาธิตเพื่อเป็นต้นแบบของการปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำและพลังงาน และคงต้องอาศัยชาวนาผู้เชี่ยวชาญ (Expert rice farmers) ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่จะดัดแปลงวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับดิน น้ำ ศัตรู เฉพาะท้องถิ่น

หลายคนเชื่อว่า หากต้องการปลูกพืชไร่ ไม้ผลให้ประสบความสำเร็จ ต้องเช็กสภาพดิน น้ำ ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนลงมือปลูกหรือไม่ สำหรับการปลูกองุ่นเชิงการค้า แค่เช็กสภาพดินและน้ำ อาจยังไม่เพียงพอ แนะนำว่า ควรเช็กกระแสลมด้วยว่า เป็นอุปสรรคต่อการปลูกองุ่นหรือไม่

ก่อนหน้านี้ องุ่นเขียวพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เคยปลูกมากในพื้นที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แต่ระยะหลังเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นเกือบหมด เพราะเจอปัญหาโรคแมลงรุมเร้า รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะ “กระแสลม” ที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตของต้นองุ่น พื้นที่ปลูกองุ่นในอำเภอดำเนินสะดวก มักเจอปัญหา “ลมไซฮวง” ซึ่งเป็นลมร้อนที่พัดมาจากทะเลทางตะวันตกในช่วงฤดูร้อนของทุกปี ทำให้ดอกองุ่นที่กำลังบาน ร่วงลงหมด หรือต้นองุ่นมีลูกอ่อน ก็จะมีอาการผลร่วงเกลี้ยงต้น ทำให้ต้นองุ่นโทรม

ปัจจุบัน พื้นที่อำเภอมวกเหล็ก ได้เปรียบในเรื่องสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี แต่มีจุดอ่อนสำคัญคือ ปัญหาลมแรง ต้องลงทุนสร้างเสาร้านองุ่นให้มีความแข็งแรงคงทน โดยใช้เสาปูน เหล็กแป๊บ เป็นโครงสร้างหลักในการก่อสร้าง หลังทำเสาร้านองุ่นเสร็จก็ต้องขึงเชือกเหมือนกับสวนองุ่นทั่วไป ที่นี่ปลูกองุ่นในระยะห่าง ต้นละ 1.20 เมตร ดูแลจัดการผลผลิตอย่างใกล้ชิด ทำให้ผลผลิตส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ตลาดเป็นสินค้าเกรดเอ ขายได้ราคาดี

ภายหลังการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้ง จะปล่อยให้ต้นองุ่นพักตัวระยะหนึ่ง ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นองุ่นได้สร้างอาหารสะสมไว้ในต้น เพื่อใช้สำหรับออกดอกในครั้งต่อไป ในช่วงที่ต้นองุ่นพักตัว ไม่ต้องดูแลมากนัก แค่ให้น้ำเป็นครั้งคราวเพื่อไม่ให้ดินแห้งจนเกินไป จากนั้นจึงค่อยตัดแต่งกิ่งรอบใหม่

เนื่องจากอำเภอมวกเหล็ก มีสภาพอากาศดีมาก ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง จะใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น โดยพิจารณาจากภาวะอากาศเป็นหลัก เมื่อสภาพอากาศเย็น เสี่ยงต่อการเกิดเพลี้ยไฟ และราน้ำค้าง ก็จะเริ่มใช้ยา หากเจอปัญหาเพลี้ยไฟจะฉีดพ่นยาฟอรั่ม น้ำหนัก 15 กรัม/น้ำ 1 ปี๊บ ส่วนปัญหา ราน้ำค้างมักเจอในช่วงที่ดอกองุ่นกำลังบาน และมีปัญหาราเข้าช่อ จะใช้วิธีฉีดยากันราน้ำค้างล่วงหน้า ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

สวนองุ่นโดยทั่วไปจะนิยมให้ปุ๋ย-ฮอร์โมน 2 ตัว เพื่อเร่งการเติบโตของผลองุ่น แต่คุณแจ๊สทุ่มทุนใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถึง 5 ตัว พร้อมกัน โดยเริ่มจาก ให้ปุ๋ย สูตร 16-16-16 เพื่อช่วยขยายลูกองุ่นให้มีผลโต และเติมปุ๋ย สูตร 13-13-21 เพื่อช่วยเพิ่มความหวาน โดยเติมปุ๋ยทุกๆ 15 วัน ให้อาหารเสริมที่ผลิตจากสาหร่าย เพื่อช่วยสร้างเปลือก พร้อมเติมแคลเซียม เพื่อช่วยสร้างเนื้อองุ่น และให้อาโทนิค เพื่อช่วยให้ผลองุ่นมีขั้วแข็งแรง และสุดท้ายให้จิบเบอเรลลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้องุ่นมีผลยาว

ช่วงที่ผลองุ่นเริ่มเข้าสี คุณแจ๊ส จะคอยดูแลให้น้ำวันเว้น 3 วัน/ครั้ง เพื่อให้ต้นองุ่นสร้างน้ำตาล น้ำหนักดี และมีสีสวย องุ่นของที่นี่มีคุณภาพดี เกรดเอ ขายได้ราคาดี โดยมีราคาขายส่งกิโลกรัมละ 100 บาท เมื่อพ่อค้ารับผลองุ่นจากสวนแห่งนี้ไปวางขายในตลาดสด องุ่นจะยังคงความสด กรอบ อร่อย นานถึง 5 วัน โดยผลไม่เหี่ยวเฉา หากเก็บไว้ในตู้เย็น จะยังคงคุณภาพดียาวนานนับเดือนเลยทีเดียว

“การปลูกองุ่นให้ประสบความสำเร็จ gfxtr.net มีเคล็ดลับสำคัญ 3 ประการ คือ การตัดแต่งกิ่ง จังหวะตลาด และอากาศ สำหรับการตัดแต่งกิ่งครั้งแรกหรือมีดแรก หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะได้เงินทุนคืนทั้งหมด การเก็บเกี่ยวครั้งต่อมาที่เรียกว่า มีด 2-4 ก็ถือว่าเป็นผลกำไรแล้ว เกษตรกรที่เป็นมือเซียนจริงๆ จะต้องคำนวณมีดหนึ่งให้ออก หากโกยทุนในมีดแรกไม่ได้ ไม่ต้องหวังกำไรแล้ว”

กุยช่าย พืชมากประโยชน์ ช่วยเกษตรกรสร้างรายได้สามเด้ง ด้วยเหตุผลที่ลงทุนปลูกเพียงครั้งเดียว เก็บเกี่ยวได้นานกว่าผักใบชนิดอื่นๆ และยังสามารถช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน เก็บขายได้ทั้งดอก ใบ หรือแม้กระทั่งเมื่อต้นโทรมยังสามารถนำมาทำกุยช่ายขาว เก็บขายแบบสร้างรายได้ไม่รู้จบอีกด้วย

คุณบัญชา หนูเล็ก เกษตรกรผู้ปลูกกุยช่ายจังหวัดราชบุรี อยู่บ้านเลขที่ 9/5 หมู่ที่ 7 ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เล่าว่า ตนเองประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรมานานกว่า 20 ปี มีการปลูกพืชล้มลุก ผักกินใบ คะน้า ต้นหอม กวางตุ้ง ขึ้นฉ่าย มาก่อน แต่เมื่อปี 2542 มีการปรับเปลี่ยนชนิดผักที่ปลูก จากคะน้า กวางตุ้ง มาปลูกกุยช่ายเป็นพืชหลัก สร้างรายได้แทน ด้วยเหตุผลที่ว่า กุยช่าย เป็นพืชที่คุ้มค่าแก่การลงทุน ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน ถ้าดูแลบริหารจัดการแปลงปลูกดี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปได้อีกนาน ไม่ต้องเสียเวลาไถดินเตรียมหยอดเมล็ดใหม่บ่อยๆ เหมือนผักใบอีกหลายชนิด

กุยช่าย พืชราคาดี ปลูกไม่ยาก
เก็บขายได้ทั้งดอก ใบ และทำกุยช่ายขาวขายได้อีก
คุณบัญชา เริ่มปลูกกุยช่ายเป็นอาชีพสร้างรายได้มาตั้งแต่ ปี 2542 นับเวลามาจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลานานพอสมควร ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณบัญชาได้สะสมประสบการณ์มาครบทุกด้าน ตั้งแต่เรื่องสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตดีเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย รวมถึงเทคนิคการปลูกและการขายก็มีการวางแผนจัดการได้ไม่แพ้ใคร

คุณบัญชา บอกว่า กุยช่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ไต้หวัน แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนิยมปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมือง เพราะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในเมืองไทย

“พันธุ์ไต้หวัน ถ้านำมาปลูกในเมืองไทยจะไม่ค่อยทนแดด เพราะแดดเมืองไทยร้อนจัด และไม่ทนต่อการขนส่ง ซึ่งจุดเด่นของทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความแตกต่างกัน พันธุ์ไต้หวันจะมีกลิ่นไม่ฉุน ใบจะบาง สีจะไม่เข้ม แต่ถ้าเป็นพันธุ์พื้นเมืองดอกจะดกและมีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ และทนทานต่อสภาพอากาศร้อนและทนต่อการขนส่ง” คุณบัญชา บอก