เตือนเกษตรกรระวังขี้ขาวในกุ้ง แนะเลี้ยงปลานิลในบ่อลงทุนน้อย

ลดการเกิดโรคสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ติดตามการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เผย เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงที่ดีขึ้น ส่งผลให้โรคตายด่วนลดลง เตือนอาจพบอาการ ขี้ขาว แนะ เลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้ง ช่วยลดการเกิดโรคได้ อีกทั้งเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมาก

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ติดตามสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 24 – 28 เมษายน 2560 พบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงได้ดีขึ้น ทำให้ความเสียหายจากโรคตายด่วนลดลง

จากการติดตาม กุ้งที่เลี้ยงในช่วงนี้ อาจมีอาการขี้ขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไมโครสปอร์ริเดีย (Enterocytozoon hepatopenaei) ที่พบอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ตะกอนดินที่หมักหมมก้นบ่อ ซึ่งแม้ลูกพันธุ์กุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยงจะมีคุณภาพดีแต่หากปล่อยในบ่อเลี้ยงที่ไม่สะอาดและมีการจัดการการเลี้ยงที่ไม่ดี กุ้งที่เลี้ยงอาจมีอาการขี้ขาวได้ ส่งผลให้กุ้งทยอยตายเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 50 วันขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่กุ้งที่จับในช่วงอายุนี้ จะมีขนาดประมาณ 100 ตัวต่อกิโลกรัม

หากเกษตรกรพบอาการดังกล่าว (มีขี้ขาวลอยขึ้นมา) สามารถจับกุ้งขายก่อนกำหนดได้ในราคากิโลกรัมละ 141.87 บาท แต่หากกุ้งไม่มีอาการ เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ครบ 90 วัน ซึ่งจะได้กุ้งที่โตขึ้นขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และขายได้ (เฉลี่ย ณ มกราคม – เมษายน 2560) ในราคากิโลกรัมละ 204.13 บาท

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้บางราย ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง โดยการปล่อยลูกพันธ์ปลานิลลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง และปล่อยกุ้งหนาแน่นน้อยลงเฉลี่ย 100,000 ตัวต่อไร่ หลังจากปล่อยลูกกุ้งไปได้ 15 – 20 วัน จึงปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลในอัตรา 250 – 300 ตัวต่อไร่ ซึ่งปลานิลจะเป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดบ่อเลี้ยง มีการกินเศษอาหารที่เหลือค้างก้นบ่อ ช่วยลดการหมักหมมของตะกอนก้นบ่อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ ส่งผลให้กุ้งมีอัตรารอดถึงร้อยละ 80 เกษตรกรได้ผลผลิตกุ้งไร่ละ 1.3 – 1.5 ตันต่อรุ่น

ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบ่อเลี้ยงให้มีความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการเลี้ยงปลานิล ในบ่อกุ้ง นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดโรคที่ทำได้ง่ายภายใต้การลงทุนที่ไม่สูงมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคได้ รองเลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เสนอผลการพิจารณาระบายข้าวกลุ่ม 3 หรือข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มิใช่คนและสัตว์บริโภค ซึ่งเปิดประมูลไปเมื่อวันที่ ให้กับประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาและได้อนุมัติขายให้กับเอกชนจำนวน 10 ราย ใน 81 คลัง ปริมาณ 5 แสนตัน จากทั้งหมดที่นำมาเปิดประมูล 1.03 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,523 ล้านบาท

ทั้งนี้ การอนุมัติขายข้าวเสื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรม เนื่องจากทางคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ซึ่งมีน.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาแล้ว และได้กำหนดเกณฑ์ราคาที่จะอนุมัติขายให้กับผู้เสนอซื้อในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 2,000 บาท เพราะการเสนอซื้อข้าวเสื่อมรอบนี้ มีการเสนอซื้อหลากหลายราคา โดยราคาต่ำสุดอยู่ที่ตันละ 500 บาท จึงต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา ส่วนที่เสนอต่ำกว่าก็ไม่อนุมัติขาย

อย่างไรก็ตาม หากนับรวมการอนุมัติขายข้าวเสื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรมรอบนี้ จะทำให้ตั้งแต่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศในช่วง 3 ปี สามารถระบายสต๊อกรัฐบาลออกไปได้แล้ว 12.74 ล้านตัน มูลค่า 1.14 แสนล้านบาท

สำหรับการเปิดประมูลข้าวสารเป็นการทั่วไปล็อตสุดท้าย ซึ่งเป็นข้าวกลุ่ม 1 ที่ใช้เพื่อการบริโภคปกติปริมาณ 1.82 ล้านตัน โดยในวันนี้ (24 พ.ค.) มีผู้ยื่นซองเสนอราคา 58 ราย จากที่ผ่านคุณสมบัติ 59 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดซองเสนอราคา หลังจากนั้นจะเสนอที่ประชุม คณะทำงานระบายในวันที่ 26 พฤษภาคม ก่อนที่จะสรุป เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ต่อไป

“ในการประชุมนบข.วันที่ 12 มิ.ย. กรมจะเสนอแนวทางการระบายข้าวที่เหลือค้างสต๊อก ซึ่งก่อนจะถึงวันนั้นจะทราบผลการประมูลข้าวทั่วไปว่าขายหมดหรือไม่ หากขายหมด จะเหลือข้าวกลุ่ม 2 หรือข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่อาหารคน 2 ล้านตัน ซึ่งจะเปิดระบายในเดือนมิ.ย.นี้ และข้าวกลุ่ม 3 อีก 5 แสนตันที่ยังเหลืออยู่จะระบายในเดือนก.ค.นี้”

สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค. 2560 ไทยส่งออกข้าวได้แล้ว 4.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 14.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาส่งออกได้ 3.8 ล้านตัน มูลค่า 6.65 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกมูลค่า 6.12 หมื่นล้านบาท หากคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐ จะมีมูลค่า 1,951 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 1,728 ล้านเหรียญสหรัฐ

“การส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดย 5 เดือน สามารถส่งออกได้แล้วสัดส่วน 48% ของเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 9.5 ล้านตัน ทำให้คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในปีนี้น่าจะไปได้ถึง 10 ล้านตันอย่างแน่นอน” นางดวงพร กล่าว

รศ.ดร. บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวในการแถลงข่าวการจัดงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2560 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคเหนือตอนบนกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ว่า งานวันสหกิจศึกษาไทยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของผู้ผลิตบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลผลิตของอุดมศึกษาไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่ร่วมจัดสหกิจศึกษา และภาคสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญรวมทั้งประโยชน์ของการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา

รศ.ดร. บัณฑิต กล่าวอีกว่า ทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้องค์กรและบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมดำเนินการสหกิจศึกษาได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาสหกิจศึกษาของประเทศไทยอย่างจริงจังต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยต่อไป

รองเลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คาดหวังให้การจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลเจริญก้าวหน้ามากว่า 20 ปี ด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนของประเทศ

“งานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 8 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไทยแลนด์ 4.0 : ความท้าทายสหกิจศึกษา” ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การเสวนาสหกิจศึกษากับไทยแลนด์ 4.0 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานดีเด่นด้านสหกิจศึกษาระดับชาติ และการประกาศเกียรติคุณสหกิจศึกษาดีเด่นระดับชาติและระดับโลกแก่สถาบันอุดมศึกษา องค์กร และบุคคลดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์ด้านสหกิจศึกษา ตลอดจนการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีและผลงานของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ ทั้งในประเทศและนานาชาติ” รองเลขาธิการ กกอ.กล่าว

วันนี้ (24 พฤษภาคม 2560) กยท. และ เหินฟง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายยาง ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ทั้ง 2 ฝ่ายจะซื้อขายยางประเภท ยางแท่ง STR 20 หรือยางคอมปาวด์ ตามมาตรฐานสากล ปริมาณเฉลี่ยเดือนละ 5,000 ตัน ส่งมอบล๊อตแรกช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ เปิดรับสมัครสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ เข้าร่วมโครงการฯ หวังดูดซับยางในฤดูกาลเปิดกรีดที่จะถึงเร็วๆนี้ ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค 1 ใน 3 บริษัทผู้ผลิตยางล้อยักษ์ใหญ่ของจีน

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากลงนามบันทึกช่วยจำ เมื่อครั้งที่ กยท.ไปดูงานที่ประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้มีโอกาสได้ไปดูศักยภาพการผลิตของบริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศจีน ที่มีกำลังการผลิตจำนวนมาก เพราะมีความต้องการใช้ยางวันละประมาณ 30,000 ตัน เราจึงนำความต้องการนี้มาพิจารณาว่ากำลังการผลิตที่สามารถหาได้จะตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท เหินฟง ได้มากน้อยเท่าไรได้บ้าง ณ วันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อขายยาง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ส่งผู้มีอำนาจลงนาม มาลงนามซื้อขายฉบับแรก โดยในสัญญาซื้อขายฉบับแรกนั้นได้แสดงความจำนงต้องการซื้อยางจากการยางแห่งประเทศไทยเดือนละ 5,040 ตัน ซึ่งจะเป็นยางประเภท STR 20 หรือยางคอมปาวน์ ตามมาตรฐานสากล โดย กยท. จะเป็นผู้รวบรวมยางจากพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางด้วยการซื้อผ่านทางสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. และคัดเลือกยางที่มีคุณภาพเหมาะสมตรงตามความต้องการ ทั้งนี้ จะเป็นการดูดซับเอายางจากฤดูกาลเปิดกรีดนี้ออกจากตลาดได้ประจำทุกเดือน ซึ่งเกษตรกรชาวสวนยาง หรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีศักยภาพจะมีส่วนร่วมในการจำหน่ายวัตถุดิบในโครงการนี้ด้วย

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ความต้องการใช้ยางของบริษัท เหินฟง นั้นมีมากกว่านี้มาก แต่ในจุดเริ่มต้นจะเริ่มที่ประมาณ 5,000 ตันต่อเดือน และหากผ่านไปแล้ว 6 เดือนถึง 8 เดือน ถ้าเราเห็นศักยภาพของคู่ค้าและศักยภาพของผู้ผลิตแล้ว กยท.ก็อาจจะปรับเพิ่มตามความต้องการใช้ เพราะในเครือบริษัทของกลุ่ม เหินฟง มีมากถึง 45 บริษัท ที่อยู่ในมลฑลชานตุง ซึ่งมีความต้องการใช้ยางปีละ 1.5 ล้านตัน

“สำหรับโครงการนี้ กยท. ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตรายเดียว แต่จะต้องรับซื้อยางไม่ว่าจะเป็นยางก้อนถ้วย หรือยางประเภทอื่นๆ จากเกษตรกร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นยาง STR 20 ผ่านโรงงานทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ กยท. แต่ถ้าปริมาณความต้องการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น จะเปิดรับจากสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว ซึ่งมีโรงงานที่จะมาเข้าร่วมโครงการและผลิตคุณภาพเดียวกัน ภายใต้การรับรองของ กยท.”

Mr.SHUO LU ประธานกรรมการ บริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด กล่าวว่า มีความยินดีมากที่มีการดำเนินการทำสัญญาซื้อขายยางอย่างเป็นทางการร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมาเป็นเวลายาวนาน ประเทศจีนถือว่ามีการใช้ยางในมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางมากที่สุดในโลก ซึ่งในปีที่ผ่านมาประเทศจีนนำเข้ายางจากประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนประมาณ 4.8 ล้านตัน โดยนำเข้ายางจากประเทศไทยในปริมาณมากที่สุด ทั้งนี้ ทางบริษัทได้นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยและมาเลเซียป้อนเข้าโรงงานเพื่อผลิตยางล้อ คิดเป็น 30,000 ตัน/วัน และในปีนี้โรงงานจะผลิตยางล้อ 800,000 เส้น และ ยางรถเล็ก 300,000 เส้น

“การร่วมธุรกิจซื้อขายยางครั้งนี้จะส่งผลดีในด้านราคาที่ยุติธรรม เนื่องจากเป็นการซื้อขายที่ไม่ผ่านคนกลางใดๆ ทั้งสิ้น และรู้สึกเชื่อมั่นในคุณภาพยางของประเทศไทย เชื่อมั่นใน กยท. และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางผู้ผลิตยางที่ กยท. ดูแล ซึ่ง กยท. จะสามารถนำยางที่มีคุณภาพส่งให้บริษัทตามที่ต้องการได้ ซึ่งนำไปสู่การร่วมดำเนินธุรกิจซื้อขายยางที่ดีต่อไปในอนาคต” Mr.SHUO LU กล่าวทิ้งท้าย

นายสังข์เวิน ทวดห้อย ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง กรรมการคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อขายยางระหว่าง กยท. และ บริษัท เหินฟง รับเบอร์ อินดัสเทรียล จำกัด จากประเทศจีน ในฐานะเกษตรกรชาวสวนยางมีความพึงพอใจมาก เพราะเรามีความมุ่งหวังในการเป็นผู้นำด้านการผลิตยาง ซึ่งในระดับต่างประเทศ เกษตรกรชาวสวนยางก็สามารถทำได้ และขณะนี้ กยท.ได้ทำหน้าที่ในการมองหาตลาด เป็นสื่อกลางให้กับพ่อค้า เพื่อรวบรวมวัตถุดิบที่มีคุณภาพขายให้ผู้บริโภคโดยตรง ฉะนั้นเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายวัตถุดิบจะต้องให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือ การดูแลและควบคุมเรื่องคุณภาพ อย่างเช่นยางก้อนถ้วย ควรให้ความระมัดระวังไม่ให้มีสิ่งปลอมปน ในส่วนของกลางน้ำ จะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพเช่นกัน เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของยางพาราไทย ซึ่งผู้บริโภค หรือผู้ซื้อจะได้เชื่อมั่นและพึงพอใจต่อสินค้า ก่อให้เกิดการซื้อขายและทำธุรกิจร่วมกันอย่างยาวนานที่สุด

(จังหวัดแพร่) ปศุสัตว์จังหวัดแพร่มอบตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” แก่ผู้ประกอบการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP จำนวน 10 รายนำร่อง ที่ร่วมกันพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัยตามมาตรฐานขอกรมปศุสัตว์ พร้อมชื่นชมที่ร่วมกันยกระดับความปลอดภัยในอาหารให้กับประชาชนชาวแพร่อย่างเป็นรูปธรรม

นายราชันย์ ภุมมะภูติปศุสัตว์จังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค จึงมุ่งดำเนินโครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค หรือ ปศุสัตว์ OK ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความอย่างยั่งยืน โดยกรมปศุสัตว์ได้ตั้งเป้ารับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปศุสัตว์ OK ให้ได้ 4,000 แห่งภายในสิ้นปี 2560 นี้ ปศุสัตว์จังหวัดแพร่รับนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการเร่งรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันระบบการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง พร้อมเชิญชวนให้ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์

ทั้งในตลาดสด และผู้จำหน่ายในลักษณะตู้หมูชุมชน ได้หันมาร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาสถานที่จัดจำหน่ายของตนเองให้มีมาตรฐาน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เก็บเนื้อสัตว์รอจำหน่ายในตู้แช่เย็น เพื่อคงคุณค่าและความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค เพราะจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะถือเป็นปลายน้ำก่อนไปสู่ผู้บริโภค เมื่อจุดจำหน่ายได้รับสัญลักษณ์ดังกล่าว เท่ากับเป็นการการันตีว่าตลอดการผลิตจนกระทั่งได้เนื้อสัตว์มาจำหน่ายนั้น มีการการเฝ้าระวังสารตกค้าง อาทิ สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งโต อย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบจุลินทรีย์ที่จุดจำหน่ายเป็นประจำ

“เนื้อสัตว์ปลอดภัยต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เลี้ยงในฟาร์มมาตรฐาน (GAP) ผ่านโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย และสถานที่จำหน่ายสะอาด ดังเช่นเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP ที่ซีพีเอฟส่งเสริมให้ผู้ประกอบรายย่อยได้มีอาชีพมั่นคงและเป็นต้นแบบของการสนับสนุนการส่งมอบอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอยู่แล้ว เมื่อเข้าร่วมโครงการปศุสัตว์ OK ก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าเมื่อเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่ได้รับการรับรอง จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน สด สะอาด ปลอดภัย ปลอดสาร ถือเป็นความร่วมมืออันดีของทุกฝ่ายเพื่อประชาชนชาวแพร่” นายราชันย์ กล่าว

ด้าน นายวิรัตน์ ตันหยงรองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจสุกรภาคเหนือตอนบน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวเสริมว่า โครงการปศุสัตว์ OK มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อตรวจสอบ และรับรองกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งตรงกับเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการสร้างผู้ประกอบการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP ด้วยการสนับสนุนให้คนในชุมชนได้ร่วมกันสร้างช่องทางการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย จากฟาร์มเลี้ยงที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ที่มีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด มีการดูแลสัตว์เลี้ยงให้อยู่สบายปลอดจากโรค และไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด จึงได้หมูที่มีคุณภาพเพื่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ส่วน นายพยุงเกียร์ติ ปันศิล อายุ 60 ปี เถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ กล่าวว่า เดิมประกอบกิจการร้านขายของชำและเถ้าแก่เล็กไก่ย่างห้าดาว เมื่อเห็นโครงการเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ก็มีความสนใจมากเพราะร้านมีมาตรฐาน ซึ่งตรงกับความต้องการของตนเองที่อยากขายสินค้าที่มีคุณภาพ จึงเข้าร่วมโครงการกับซีพีเอฟมาตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่ผ่านมาผู้บริโภคให้ความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมีความมั่นใจในสินค้า และสถานที่จำหน่ายและระบบการจัดจำหน่ายที่มีมาตรฐานทั้งของบริษัทและปศุสัตว์ OK ทำให้ผู้บริโภคยิ่งเข้ามาเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บเนื้อสัตว์ในตู้แช่เย็นตลอดเวลา ทำให้เนื้อสัตว์มีความใหม่ สด สะอาด ถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเพื่อนๆในชุมชนได้เลือกซื้อเนื้อสัตว์สะดวกขึ้นและสามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ตลอดเวลาไม่ต้องซื้อจำนวนมากไปเก็บไว้ที่บ้านให้ยุ่งยากเหมือนในอดีต

ขณะที่ นางบังอร พรินทรากูล อายุ 52 ปี เถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ บอกว่า ก่อนนี้เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอย และน้ำเงี้ยว รวมถึงเป็นเถ้าแก่เล็กไก่ย่างห้าดาวอยู่แล้ว แต่พบว่าในชุมชนที่มีประชากรอยู่หนาแน่นยังมีความต้องการเรื่องเนื้อสัตว์อีก เนื่องจากแหล่งจำหน่ายอยู่ห่างไกลจากชุมชน จึงมีแนวคิดหารายได้เสริมด้วยการจำหน่ายเนื้อสัตว์เพิ่มเติมเพราะยังมีพื้นที่ร้านที่ว่างอยู่ เมื่อได้รับคำแนะนำจากพนักงานของซีพีเอฟเรื่องตู้หมูชุมชน จึงตัดสินใจร่วมโครงการ จากการจำหน่ายมาประมาณ 5 เดือน สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น และร้านเป็นที่รู้จักว่า จำหน่ายเนื้อหมูชำแหละที่สด สะอาด ปลอดภัย และยังได้รับตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ด้วย ตนเองรู้สึกภูมิใจที่มีส่วนสนับสนุนให้ผู้บริโภคในชุมชนมีโอกาสเข้าถึงอาหารคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2560) “ ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2560

ในช่วงวันที่ 25-28 พฤษภาคม 2560 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือก่อน หลังจากนั้น ภาคตะวันออกและภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2560
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย mobiltarca.com หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธิ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ
– ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และ กำแพงเพชร
– ภาคกลาง บริเวณจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2560
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดชัยภูมิ นคราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
– ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และตาก
– ภาคกลาง บริเวณจังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ จะมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตจราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
– ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนาม และอ่าวตังเกี๋ย และในช่วงวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนขึ้นไปบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนและประเทศเมียนมาลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ทราบจากเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกสับปะรดว่าตอนนี้เดือดร้อน เนื่องจากต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ ทำให้โรงงานมีสต๊อคค้างเยอะสิ่งที่สภาฯจะเสนอเรียกร้องรัฐบาลคือการเรียกประชุมคณะกรรมการสับปะรดแห่งชาติโดยด่วน เพื่อที่จะพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาให้ทั้งระบบ ทั้งนี้ อยากเห็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างโรงงานและผู้ปลูกสับปะรด ซึ่งอาจจะใช้แผนพัฒนาสับปะรดอย่างยั่งยืนของคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อทำการวางแผนซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อกำหนดราคาได้

โรงงานก็จะมีหลักประกันเรื่องวัตถุดิบไม่ผันแปรมากนัก และทั้ง 2 ฝ่ายสามารถวางแผนการผลิตร่วมกันได้ นอกจากนั้น สภาเกษตรกรฯก็อยากเห็นการผลักดันตลาดใหม่ๆเพื่อผลักดันออกสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ที่มีกำลังซื้อมากและต้องการผลสด โดยเฉพาะพันธุ์ MD2 ซึ่งเก็บรักษาความสดได้นานกว่า หากรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์จริงจังแล้วคุยกับเครือข่ายเกษตรกรจะผลักดันเข้าสู่ตลาดประเทศจีนได้ล็อตใหญ่ ซึ่งต้องรีบดำเนินการหากให้เกษตรกรดำเนินการเองเวลานี้ก็เกินกำลัง อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติยังคงเดินหน้าผลักดันเรื่องของสับปะรดด้วยการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้งจากเกษตรกร ,ผู้ประกอบการ และส่วนราชการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุม 301 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี

กรมอุตุฯออกประกาศเตือนภัย ฉบับที่3 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก”

ช่วง 24-28 พ.ค.นี้ วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2560) “ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2560

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2560 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือในระยะแรก หลังจากนั้น ภาคกลางและภาคตะวันออกรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในวันถัดไปโดยมีรายละเอียดดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคเหนือ มีผลกระทบในวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2560

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

– ภาคเหนือ จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคเหนือ มีผลกระทบในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2560

– ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร และตาก

ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีผลกระทบในวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2560

– ภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

– ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

สำหรับภาคใต้ จะมีฝนตกต่อเนื่องในช่วงวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2560 โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

ในจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนาม และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สวนทุเรียนพิชญ์ธิดา ของนายพิสูจน์ ภูโท อายุ 45 ปี บ้านโนนสำเริง ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายเกริกชัย ผ่องแผ้ว นายอำเภอกันทรลักษ์ และคณะ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสวนทุเรียน ซึ่งปรากฏว่าสวนทุเรียนแห่งนี้ต้นทุเรียนทุกต้นกำลังมีผลผลิตเต็มต้น และคาดว่าอีกประมาณ 3 สัปดาห์ ทุเรียนของสวนแห่งนี้จะสุกสามารถกินได้แล้ว โดยทุเรียนทุกต้นเป็นทุเรียนภูเขาไฟเกรดพรีเมียมเปลือกบาง เนื่องจากว่า สวนทุเรียนแห่งนี้ปลูกบนพื้นดินที่อดีตเมื่อหลายร้อยปีมาก่อนบริเวณนี้เคยเป็นภูเขาไฟ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก ส่งผลให้ทุเรียนมีความอร่อย ไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนกับทุเรียนของจังหวัดอื่นๆ ที่มีการปลูกทุเรียนเช่นกัน จากนั้น ได้เดินทางไปเยี่ยมชมสวนทุเรียนลุงบุญรักษ์บ้านชำม่วง และสวนทุเรียนลุงบัวเรียนบ้านภูเงิน ซึ่งทุกสวนมีผลผลิตทุเรียนภูเขาไฟจำนวนมาก และทุเรียนส่วนมากกำลังใกล้ที่จะสุกแล้ว

นายอำเภอกันทรลักษ์เปิดเผยว่า เนื่องจากสวนทุเรียนทุกแห่งในเขตอำเภอกันทรลักษ์เป็นสวนทุเรียนที่มีคุณภาพดีมาก ดังนั้น จึงมีประชาชนชาวศรีสะเกษและชาวจังหวัดใกล้เคียงพากันมาหาซื้อทุเรียนไปกินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เจ้าของสวนทุเรียนขายทุเรียนได้หมดสวนไปในเวลาอันรวดเร็ว และจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากที่นิยมกินทุเรียนหมดโอกาสที่จะได้กินทุเรียนภูเขาไฟของอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อเป็นการรับประกันความผิดหวังว่าจะได้กินทุเรียนภูเขาไฟของอำเภอกันทรลักษ์อย่างแน่นอน ดังนั้น ตนจึงได้ร่วมกับเจ้าของสวนทุเรียนเปิดจองทุเรียนภูเขาไฟเป็นต้นเอาไว้กิน โดยทุเรียนทุกลูกที่จองเอาไว้นี้เจ้าของสวนจะไม่ขายให้คนอื่นอย่างเด็ดขาด การจองทุเรียนภูเขาไฟเป็นต้นจะทำให้คนจองเปรียบเสมือนกับเป็นเจ้าของสวนทุเรียน หากคนที่จองเอาทุเรียนเป็นต้นเอาไว้มีเวลาว่างก็แวะไปดูว่าต้นทุเรียนของตนที่จองไว้ใกล้ที่จะสุกหรือยัง

นายอำเภอกันทรลักษ์เปิดเผยด้วยว่า ซึ่งต้นทุเรียนที่จองเอาไว้นี้จะมีเจ้าของสวนทุเรียน คอยดูแลให้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เมื่อต้นทุเรียนที่จองเอาไว้สุกแล้ว เจ้าของสวนทุเรียนจะโทรมาบอกให้ไปเอาทุเรียน โดยการชั่งทุเรียนทั้งต้นขายให้คนจองในราคา กก.ละ 100 บาทเท่านั้น จะทำให้ผู้ที่จองทุเรียนเอาไว้เกิดความมั่นใจว่าปีนี้มีทุเรียนภูเขาไฟสามารถที่จะแจกจ่ายให้กับผู้มีพระคุณที่เคารพนับถือ รวมทั้งญาติสนิทมิตรสหายได้อย่างแน่นอน ซึ่งตนได้จองทุเรียนภูเขาไฟเอาไว้จำนวน 2 ต้น

ปรากฏว่า หลังจากที่ตนจองทุเรียนเป็นต้นเอาไว้แล้วได้มีคนมาจองตามอีกจำนวนมาก จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวศรีสะเกษและประชาชนชาวไทยทั่วประเทศไปจองทุเรียนภูเขาไฟเป็นต้นเอาไว้กินได้ โดยให้ติดต่อกับเจ้าของสวนทุเรียนทุกแห่งได้โดยตรง ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ตรวจดูต้นทุเรียนที่ต้องการจะจองเอาไว้ หากพอใจและชอบทุเรียนต้นใดก็สามารถจองต้นทุเรียนกับเจ้าของสวนทุเรียนได้โดยตรงทันที ซึ่งควรที่เข้าไปจะจองโดยด่วน เนื่องจากว่าขณะนี้มีการเข้ามาจองทุเรียนภูเขาไฟเป็นต้นเอาไว้แล้วจำนวนมาก เกรงว่าจะหมดสวนเสียก่อนนั่นเอง

พาณิชย์ผนึกเกษตรยกร่างคุมเข้ม ‘มาตรฐานข้าวสี’ ใหม่ เล็งประกาศเป็นมาตรฐานบังคับเร็วๆ นี้ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มด้านผู้ส่งออก เผยควรใช้มาตรฐานสมัครใจ ไม่ใช่บังคับ

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เตรียมยกร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรข้าวสีไทยขึ้นมาใหม่ โดยมีการหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องไปหลายครั้ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ได้ปรับปรุงให้ครอบคลุมพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Oryza sativa L. วงศ์ Gramineae หรือ Poaceae พันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้าที่เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีตามพันธุกรรม และเป็นข้าวที่ผลิตในประเทศไทยสำหรับบริโภค รวมทั้งข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ที่บรรจุหีบห่อ ยกเว้นข้าวเปลือกที่อาจไม่บรรจุหีบห่อได้ โดยยกเว้นไม่คลุมข้าวก. ที่ผ่านการแต่งสี เช่น ย้อมสีด้วยดอกอัญชัน และ ข. ข้าวเปลือกและข้าวกล้องที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.4000, มกษ.4001 มกษ. 4004

พร้อมกำหนดคำนิยามข้าวสี แบ่งตามสภาพ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวเปลือก แบ่งตามสีเยื่อหุ้มเมล็ด เป็นสีม่วง/สีดำ เช่น พันธุ์มะลินิลสุรินทร์ พันธุ์หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียวลืมผัว ข้าวเหนียวช่อไม้ไผ่ 49 ข้าวเหนียวดำ หมอ 37 และเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เช่น สังข์หยดพัทลุง พันธุ์ทับทิมชุมแพ หรือ กข.69 พันธุ์หอมกุหลาบแดง พันธุ์หอมแดง พันธุ์หอมกระดังงา 59 พันธุ์โกเมนสุรินทร์ ทั้งนี้ นิยามแบ่งตามปริมาณแอมิโรส เป็น 4 กลุ่ม ตั้งแต่พวกข้าวเหนียวไม่มีแอมิโรสเลย ไปจนถึงข้าวที่มีปริมาณแอมิโรสเกิน 25% พร้อมทั้งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพ การบรรจุหีบห่อ การแสดงฉลากและเครื่องหมาย สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง สุขลักษณะ วิธีการวิเคราะห์และซักตัวอย่างข้าวด้วย

นางสาวณมาพร อัตถวิโรจน์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า การยกร่างนี้เป็นผลจากที่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้เห็นชอบให้มีการทบทวนมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับสินค้าข้าว เมื่อปี 2558 ยังไม่ครอบคลุมข้าวสีที่ปัจจุบันมีการผลิตและส่งออกมากขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้ยกร่างมาตรฐานข้าวสีไทยขึ้นเพื่อยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวและกำหนดเกณฑ์อ้างอิงการค้า

โดย มกอช.ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ มีการสุ่มตัวอย่างกลุ่มข้าวสีแดง สีม่วง ต้องปลูกและผลิตในไทย ไม่มีกลิ่น ปลอดภัยต่อการบริโภค และได้นำร่องดังกล่าวหารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากต้องสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ส่งออกข้าว รวมถึงเกษตรกร ตอนนี้อยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงเกษตรฯ พิจารณาเห็นชอบและจะออกประกาศเป็นมาตรฐานบังคับเร็วๆ นี้

ร.ต.ท. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า มาตรฐานข้าวสีควรกำหนดเป็นมาตรฐานโดยสมัครใจก่อน เพื่อให้ผู้ซื้อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงสำหรับตัดสินใจ โดยกระบวนการใช้ควรต้องมีการนำเสนอขายพร้อมกับสินค้าตัวอย่างประกอบ เพราะขณะนี้มีสายพันธุ์ข้าวสีจำนวนมาก และการผลิตยังไม่ได้มาตรฐานเท่ากันในแต่ละฤดูกาลผลิตคือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีการสียังไม่สม่ำเสมอระหว่างฤดูนาปรัง และนาปี หากกำหนดมาตรฐานบังคับอาจกระทบการส่งออกได้

ทั้งนี้ การส่งออกข้าวสีมีสัดส่วนเพียง 0.01% เทียบกับการส่งออกข้าวทั้งประเทศ โดยปี 2559 มีการส่งออกข้าวกล้องแดง ปริมาณ 8,710 ตัน ข้าวเหนียวดำ 2,187 ตัน ข้าวกล้องดำ 1,324 ตัน จากปี 2558 ที่ทุกชนิดส่งออก รวม 10,130 ตัน

อุตรดิตถ์บูม ปลูกทุเรียนเกือบ 3 หมื่นไร่ จีนแห่เหมาพันธุ์หมอนทองกว่า 80% คาดปี’60 โกยรายได้กว่า 1,863 ล้านบาท พันธุ์หลินลับแล-หลงลับแล ราคาหน้าสวนยังสูง 300-450 บาท/กก.

นายอำนาจ ปาลาส เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จังหวัดอุตรดิตถ์มีผลไม้ขึ้นชื่อหลายชนิด โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมด 39,759 ไร่ เป็นพื้นที่เก็บเกี่ยว 32,038 ไร่ มีเกษตรกร 4,228 ราย โดยปลูกมากที่อำเภอลับแล เนื้อที่ 33,663 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอท่าปลา และอำเภอเมือง เนื้อที่ 4ฐ329 ไร่ และ 1,766 ไร่ ตามลำดับ โดยพันธุ์ทุเรียนที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง มีเนื้อที่ปลูก 29,819 ไร่ หลงลับแล 2,385 ไร่ หลินลับแล 397 ไร่ และพันธุ์พื้นเมือง เช่น ชะนี กระจิบ อีกจำนวน 7,156 ไร่

ในปี 2560 คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากกว่าปี 2559 เนื่องจากสภาพอากาศที่ดีเอื้อต่อการปลูกทุเรียน รวมถึงที่ผ่านมามีพายุฤดูร้อนกว่า 3 ระลอก ทำให้มีปริมาณฝนเพียงพอ ช่วยบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งไปได้ โดยประมาณการผลผลิตจะออกในช่วงเดือนพฤษภาคม 10% มิถุนายน 25% กรกฎาคม 50% และสิงหาคม 15% รวมผลผลิตทั้งหมด 29,244 ตัน แยกเป็นหมอนทอง 23,736 ตัน หลงลับแล 1,320 ตัน หลินลับแล 78 ตัน และพันธุ์พื้นเมือง 4,109 ตัน ทั้งนี้ผลผลิตเฉลี่ย 1 ไร่ ประมาณ 1,000 ตัน

ทั้งนี้ ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะส่งออกไปประเทศจีน ประมาณ 80% ซึ่งจะมีล้งและพ่อค้าคนกลางมารับซื้อตามจุดรับซื้อขนาดใหญ่ 10 กว่าจุดทั้งจังหวัด เนื่องจากผลผลิตทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์จะออกหลังจากผลผลิตทางภาคตะวันออก เมื่อผลผลิตของภาคตะวันออกลดน้อยลง พ่อค้าคนกลางก็จะมารับซื้อทางภาคเหนือ รวมทั้งบางส่วนส่งออกไปประเทศเวียดนาม และอีกประมาณ 20% จำหน่ายในประเทศ

ขณะที่พันธุ์พื้นเมือง หลงลับแล และหลินลับแล จำหน่ายในประเทศเท่านั้น เนื่องจากลักษณะของเปลือกทุเรียนจะบาง หากส่งไปต่างประเทศอาจจะทำให้เปลือกแตก นอกจากนี้ ยังส่งผลให้โมเดิร์นเทรดต่างๆ เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต บิ๊กซี และเทสโก้ โลตัส เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรจะตัดทุเรียนส่งออกที่ความสุกประมาณ 70% ถ้าจำหน่ายในประเทศจะตัดที่ความสุกประมาณ 80%

สำหรับราคาจำหน่ายหน้าสวน พันธุ์หมอนทองอยู่ที่ 60 บาท/กิโลกรัม (กก.) พันธุ์พื้นเมือง 20 บาท/กิโลกรัม พันธุ์หลงลับแล 300-350 บาท/กิโลกรัม พันธุ์หลินลับแล 450-500 บาท/กิโลกรัม (ราคาขายปลีกในกรุงเทพฯ ลูกละประมาณ 800-1,000 บาท) จึงคาดการณ์มูลค่าการจำหน่ายทุเรียนในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 1,863 ล้านบาท โดยมาจากทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 1,424 ล้านบาท พันธุ์หลงลับแล 330 ล้านบาท พันธุ์หลินลับแล 27 ล้านบาท และพันธุ์พื้นเมือง 82 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ ทุเรียนอ่อน แต่ยังพบไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ปลูกทุเรียนส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้การเดินทางเข้าไปดูแลหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตค่อนข้างลำบาก เกษตรกรหรือเจ้าของสวนมักจะเป็นผู้ดูแลเอง ไม่จ้างแรงงานมาเก็บจึงทำให้รู้รายละเอียดต่างๆ เลือกเก็บเฉพาะทุเรียนที่มีความสุกพอดีและมีคุณภาพดีมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคเท่านั้น ประกอบกับทางจังหวัดมีมาตรการที่เข้มงวด หากพบเกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้จำหน่ายมีการจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือซื้อขายทุเรียนอ่อน จะถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังมีการแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการเฉพาะกิจด้านการจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ พาณิชย์จังหวัด ดูแลด้านการตลาด รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ นายอำเภอหรือปลัดอำเภอของท้องที่นั้นๆ เพื่อกำกับดูแลการแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดตลอดฤดูการผลิต และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสร้างภาพลักษณ์ทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ให้เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ฟาร์มโคนม บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด ศึกษาแนวทางบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Farm ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ สามารถรีดนมพร้อมกันถึง 64 ตัว ใช้เวลาทั้งกระบวนการไม่เกิน 15 นาที ส่วนมูลโค นำมาใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ สู่การผลิตกระแสไฟฟ้าที่เทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ฟาร์มโคนม บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด ณ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นตัวอย่างฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่พัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับสากล มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผสมผสานกับการเลี้ยงและดูแลวัวนมตามพฤติกรรมและความเป็นธรรมชาติ โดยมีนักวิชาการด้านสัตวบาล นักวิจัย และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ใหญ่คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ระบบโรงเรือน ได้ออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดีเพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดจากตัวของวัวนม โดยออกแบบตามหลักวิศวกรรม มีชายคาสูง 4 เมตร มีพัดลมระบายอากาศโล่งโปร่งให้ลมเข้าออกได้สะดวก มีการออกแบบซองนอนพร้อมเบาะรองนอน เพื่อให้วัวนอนพักผ่อนและหลับอย่างสบาย และมีระบบ Happy Cow ซึ่งเป็นเครื่องนวดที่ช่วยทำความสะอาดวัวนมอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในโรงเรือนยังใช้เครื่องกวาดมูลแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ภายในโรงเรือนสะอาดตลอดเวลา และทำให้วัวนมมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น การให้อาหารของวัวนม เน้นตั้งแต่การปลูกหญ้าเอง ที่แปลงหญ้าอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีกระบวนการผสมอาหาร TMR (Total mixed ration) ซึ่งเป็นการนำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม จนถึงการให้อาหารตามคอกที่เป็นเวลาเพื่อให้วัวนมมีสุขลักษณะที่ดี มีระบบรีดนมอัตโนมัติที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย เป็นระบบปิดอัตโนมัติแบบพาราเรล ซึ่งสามารถรีดนมวัวได้พร้อมกันครั้งละ 64 ตัว ใช้เวลารีดตลอดทั้งกระบวนการเพียง 10-15 นาที

ด้านสิ่งแวดล้อม มีระบบเปลี่ยนน้ำเสียและมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทน ถือเป็น Green Farm ที่มีการจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วยการนำมูลโคทั้งหมดภายในโรงเรือน ผลิตก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอก๊าซ สู่ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถนำก๊าซไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบก๊าซไบโอเทนอัด หรือ compressed bio-methane gas (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับเติมรถยนต์ เครื่องจักรการเกษตร และปั่นไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ส่วนกากตะกอนที่ได้สมารถนำไปผลิตปุ๋ยอัดเม็ดอีกด้วย

ทั้งนี้ สินค้าโคนม นับเป็นหนึ่งในสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญ (Top 4) ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ ในครั้งนี้ทำให้เห็นต้นแบบความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเกษตรตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้น้ำนมมีคุณภาพ มาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยตลอดกระบวนการผลิตได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ตลาดที่อยู่อาศัยใต้มีโอกาสขยายตัว 3-5% หวังปัจจัยราคายางเพิ่มทะลุ 70 บาท/ก.ก. ช่วยดันความเชื่อมั่นฟื้นและกำลังซื้อ แต่แนะลงทุนตามความต้องการตลาดลดเสี่ยง

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ festivaladventures.com เปิดเผยในงานสัมมนาสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ จัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ว่า ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 3-5% แม้ว่าไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ทำให้มีดึงกำลังซื้อไปล่วงหน้า ส่งผลกระทบมาถึงช่วงต้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังตลาดมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคใต้ 4 จังหวัด คือ ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีโครงการอยู่ระหว่างขาย 56,488 ยูนิต แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 23,481 ยูนิต มียอดขายแล้ว 19,013 ยูนิต หรือ 80% เหลือขาย 4,468 ยูนิต และโครงการแนวราบ 33,007 ยูนิต มียอดขายแล้ว 22,778 ยูนิต หรือ 69% เหลือขาย 9,229 ยูนิต

“ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย เชื่อว่ายังเติบโตต่อเนื่อง แต่การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะต้องมีการก่อหนี้ระยะยาว รวมทั้งขณะนี้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รองรับความต้องการผู้บริโภคยังมีโอกาสและเป็นการกระตุ้นตลาด สำหรับการพัฒนาโครงการภาคใต้ ในส่วนภูเก็ตและหาดใหญ่ สงขลา สามารถลงทุนคอนโดฯ ได้ เพราะมีความต้องการซื้อ ส่วนตลาดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยังเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก คอนโดฯ ขายได้ช้า” นายวิชัย กล่าว

นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า แนวโน้วเศรษฐกิจภาคใต้ยังขยายได้ต่อเนื่อง จากการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยวเติบโต การส่งออกขยายตัวดี รวมทั้งรายได้เกษตรกรฟื้นตัว ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ภาคใต้ไตรมาสแรกผู้ประกอบการยังระมัดระวังเปิดโครงการใหม่ เนื่องจากกำลังซื้อไม่ฟื้นตัว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยในภาคใต้ติดลบ 30% การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยติดลบ 62.8% การขอจดทะเบียนอาคารชุดเพิ่มขึ้น 19.7% จากโครงการที่สร้างแล้วเสร็จ ด้านจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ก็ลดลง ทำให้เงินให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ภาคใต้มีมูลค่า 167,183 ล้านบาท ลดลง 0.8% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง 0.4% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยพบว่าสินเชื่อคอนโดฯ ยังมีแนวโน้มลดลง ขณะที่สินเชื่อแนบราบเริ่มฟื้นตัวแล้ว โดยสินเชื่อไตรมาสแรกมีมูลค่า 21,788 ล้านบาท ลดลง 17.6%

นางสุรีรัตน์ กล่าวว่า จากการสำรวจผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ภาคใต้ พบว่าความเชื่อมั่นผู้ประกอบการไตรมาสแรกดีขึ้น โดยจำนวนผู้เข้าชมโครงการเพิ่มขึ้นทำให้ยอดขายปรับตัวดีขึ้นจำนวนหน่วยคงเหลือลดลงจากไตรมาสก่อน ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มเปิดตัวโครงการใหม่ รวมทั้งราคายางที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น แต่สถานการณ์ 6 เดือนข้างหน้าผู้ประกอบการยังมีความกังวลอยู่เพราะดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 45.9

“ราคายางเพิ่มขึ้นคาดปีนี้อยู่ที่ 60-70 บาท ต่อกิโลกรัม จากปีก่อนเฉลี่ย 52 บาท/กิโลกรัม ทำให้ความมั่นใจผู้บริโภคภาคใต้เพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกณฑ์บ้านประชารัฐจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยรายย่อยช่วยเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อย ทำให้ภาระการผ่อนลดลง หากมีการใช้งบประมาณกลุ่มจังหวัด ซึ่งในส่วนของภาคใต้มีมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ คนมีงานทำ มีการบริโภคและใช้จ่าย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคใต้และภาคอสังหาริมทรัพย์” นางสุรีรัตน์ กล่าว

กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการ OPOAI ลงพื้นที่เยี่ยม

2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคกลาง เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMES ก้าวไปสู่ Industry 4.0 โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial หรือ OPOAI (โอ-ปอย) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่จะสร้างความมั่นคั่งยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการ OPOAI ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการภาคกลาง 2 แห่งประกอบด้วย

เข้าเยี่ยม บริษัท พงษ์-ศราแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 39/1 หมู่ 6 ต.สามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม ประกอบกิจการประเภทแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ เช่น ลูกชิ้นปิ้ง
เข้าเยี่ยม บริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) ตั้งอยู่เลขที่ 336 หมู่ 6 ถ.สุรศักดิ์ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ประกอบกิจการประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการโอ-ปอย ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนาที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.แผนงานการบริการจัดการโลจิสติกส์ 2.แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3.แผนการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4.แผนการลดต้นทุนพลังงาน 5.แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด 7.แผนการบริหารจัดการด้านการเงิน และ 8.แผนการจัดการสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อดูว่าสมควรที่เข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งคำปรึกษาเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยประมาณ 4-6 เดือนจึงจะเสร็จสิ้นโครงการ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2259 ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานประกอบการโดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 326 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา 31.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 10.32 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 135 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ยรายละ 2.41 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2559 สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 4,455 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 354.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.56 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,334 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 3.34 ล้านบาท

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไมว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเอง อาจจะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องนั้นเป็นการเฉพาะจุดจริงๆ

สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการ sMEs อุตสาหกรรมแปรรุปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการจำนวน 171 รายจำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างตรวจติดตามการดำเนินโครงการ โดยในวันนี้ได้มีการเยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ บริษัท พงษ์-ศราแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดนครปฐม และบรัษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด จังหวัดชลบุรี ทั้ง 2 รายเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองคืความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นศัตรูพืชต่างถิ่นที่เข้ามาระบาดในประเทศไทย พบการระบาดครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ที่สวนมะพร้าวเกษตรกรในตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะนั้นพบการระบาดประมาณ 500 ไร่ ต่อมาเมื่อปี 2551 พบการระบาดเพิ่มขึ้นในพื้นที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในปัจจุบันพบพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำกระจายอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด ประมาณ 78,954 ไร่ คิดเป็น 6.36% ของพื้นที่ที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมด จังหวัดที่มีพื้นที่การระบาดอันดับต้นๆ 5 จังหวัด ในขณะนี้ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประมาณ 62,410 ไร่, จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ประมาณ 5,536 ไร่, จังหวัดชลบุรี พื้นที่ประมาณ 4,024 ไร่, จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่ประมาณ 2,669 ไร่ และจังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ 953 ไร่ และในขณะนี้ในเขตภาคตะวันตกยังพบการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว กระจายไปยังพื้นที่จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม อีกด้วย

นายสมคิด เฉลิมเกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า หนอนหัวดำมะพร้าวจะเข้าทำลายมะพร้าวเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยเฉพาะกินผิวใบบริเวณใต้ใบย่อย จากนั้นจะถักใยแล้วนำเอามูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น สร้างเป็นอุโมงค์เป็นทางยาวตามทางใบเพื่อหุ้มลำตัวไว้ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ โดยทั่วๆ ไปหนอนหัวดำจะทำลายใบแก่ของต้นมะพร้าว แต่ถ้าหากมีการทำลายรุนแรงจะพบว่าหนอนหัวดำยังทำลายก้านทางใบ จั่น และผลมะพร้าวอีกด้วย และเมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง เพื่อเข้าดักแด้ในอุโมงค์

สำหรับวิธีการป้องกันกำจัด แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีเพิ่งเริ่มระบาด ต้องตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลาย มากกว่า 50% ของทางใบไปเผาทำลาย โดยสุมเป็นกองเล็กๆ ระหว่างต้นมะพร้าวให้กระจายไปทั่วทั้งสวน เน้นการเผาในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นเท่านั้น ถ้าสามารถทำได้เราจะได้ประโยชน์การเผาทางใบในครั้งนี้ถึง 6 อย่างด้วยกัน คือ 1. สามารถกำจัดไข่ ตัวหนอน และดักแด้ที่ติดอยู่กับทางใบ 2. ควันไฟเป็นตัวไล่แม่ผีเสื้อ หนอนหัวดำ 3. ควันไฟเป็นตัวกระตุ้นให้มะพร้าวออกจั่นได้ดี 4. ขี้เถ้าถ่านที่ได้จากการเผาจะเป็นการเพิ่มธาตุโพแทสเซียมในดิน 5. สามารถทำลายแหล่งวางไข่ของตัวแรดมะพร้าว 6. ลดการระบาดของด้วงไฟหรือด้วงงวง

ส่วนกรณีระบาดรุนแรง หากเป็นต้นมะพร้าวสูงน้อยกว่า 12 เมตร รวมทั้งมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล แนะนำให้ตัดทางใบและเผาทำลายเช่นเดียวกับกรณีแรก แนะนำให้ใช้สารเคมีฉีดพ่นทางใบ โดยเลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น ประกอบด้วย 1. สารฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 2. สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 3. สารสปินโนแชด 12% SC อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 4. สารลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้ การเลือกใช้สารเคมีพ่นทางใบ ควรเลือกใช้สารฟลูเบนไดอะไมด์ หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรลเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีพิษน้อยต่อผึ้ง ส่วนสารสปินโนแชด มีพิษสูงต่อผึ้งและสารลูเฟนนูรอน ไม่ควรใช้ในแหล่งที่มีการเลี้ยงกุ้งเนื่องจากมีพิษต่อกุ้ง สำหรับต้นมะพร้าวสูงกว่า 12 เมตร ให้ใช้สารเคมีอีมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92% EC ฉีดเข้าต้น อัตรา 30 ซีซี ต่อต้น

ขั้นตอนการฉีดสารเคมีเข้ามะพร้าว ใช้สว่าน ขนาด 5 หุน เจาะเหนือพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร เอียงทำมุม 45 องศา ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ให้อยู่ตรงข้ามกันและใช้หลอดฉีดยาดูดสารเคมีแบบเข้มข้นไม่ต้องผสมน้ำ ฉีดเข้าไปในรูที่เจาะไว้ รูละ 15 ซีซี แล้วปิดด้วยดินน้ำมันให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีไหลย้อนออกมา แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวที่ทำน้ำตาล

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนขึ้นในพื้นที่ที่พบการระบาดทั้ง 29 จังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนแล้ว สำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาหรือต้องการคำแนะนำ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (035) 481-126-7 หรือศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ที่อยู่ใกล้บ้านท่าน

“กล้วยน้ำว้า” ถือเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่สำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งหากย้อนดูสถิติราคาเฉลี่ยตลอดปี 2559 ที่ตลาดสี่มุมเมือง กล้วยน้ำว้าเบอร์เล็ก ราคาอยู่ที่ 16.80 บาท เบอร์กลาง 30.68 บาท และเบอร์ใหญ่ 48.22 บาท ต่อหวี โดยราคาพุ่งสูงสุดในเดือนสิงหาคม เท่ากับ 25.65 บาท 46.53 บาท และ 72.26 บาท ต่อหวี ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงผลกระทบจากโรคตายพรายและหนอนกอกล้วย ทั้งนี้ จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยตากที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ราคาสูงขึ้นเป็นหวีละ 10-15 บาท ต่อหวี ปัจจุบัน เกษตรกรมีความต้องการต้นพันธุ์กล้วยน้ำว้าสำหรับปลูกขยายเป็นจำนวนมาก แต่กลับให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคตายพรายก่อนปลูกค่อนข้างน้อย และจะเห็นความสำคัญเมื่อกล้วยแสดงอาการของโรคแล้วซึ่งไม่ทันการณ์และแก้ไขได้ยาก

นายเกษม ไตรพิจารณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สสก.9 พิษณุโลก ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพิษณุโลกดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก ปี 2560 ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 9 อำเภอ พื้นที่รวม 209 ไร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยน้ำว้าเชิงการค้า ผสมผสานตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ขับเคลื่อนในพื้นที่โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลายและพื้นที่ส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (กล้วย) โดยใช้พันธุ์กล้าน้ำว้ามะลิอ่องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อมุ่งหวังแก้ปัญหาโรคตายพรายและหนอนกอกล้วยได้ในที่สุด ผลผลิตที่ได้ประมาณ 8,000 บาท ต่อไร่ ซึ่งสามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

สำหรับการเตรียมการก่อนการปลูกกล้วยให้ได้ผลผลิตดีนั้น เกษตรกรจะต้องวางแผนการปลูกโดยต้องมีการคัดเลือกต้นพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากต้นพันธุ์กล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะเป็นต้นพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกเชิงการค้าและไม่มีโรคตายพรายและหนอนกอกล้วย จะได้ขนาดต้นและอายุที่สม่ำเสมอเจริญเติบโตเร็วให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับต้นพันธุ์ชนิดอื่น นอกจากนี้สามารถกำหนดช่วงเวลาการปลูกและกำหนดผลผลิตราคาได้ง่าย อย่างไรก็ดี เกษตรกรสามารถคัดเลือกหน่อพันธุ์ โดยขุดจากต้นแม่ที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป หรือช่วงต้นแม่กำลังตกเครือให้ผลผลิตเพราะเป็นระยะที่กล้วยแสดงอาการของโรคตายพรายชัดเจนมากที่สุด รวมถึงต้องเตรียมวัสดุปลูกและสารชีวภัณฑ์ โดยเตรียมผลิตปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว จำนวน 1 ตัน ต่อไร่ ผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma) ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบเชื้อสดผลิตโดยหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ชอ

กรมพัฒนาที่ดิน เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตแข่งขัน ยับยั้ง และทำลายเชื้อราสาเหตุตายพรายได้ และยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุช่วยปรับโครงสร้างดินและส่งผลให้พืชสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 4×4 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 100 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อหลุม ต่อต้น และแบ่งทยอยใส่เพิ่มหลังปลูก 2-3 เดือน ต่อครั้ง อีกประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อต้น

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องดูแลรักษาโดยการตัดแต่งหน่อและใบเพื่อป้องกันและลดการแพร่ระบาดของด้วงศัตรูกล้วยในฤดูฝน ไม่ควรนำเศษซากของหน่อและใบที่ตัดแต่งแล้วสุมไว้บริเวณโคนต้นเพราะจะอับชื้นและเหมาะต่อการวางไข่ของด้วงดังกล่าว ส่วนในฤดูแล้งสามารถทำได้เพื่ออนุรักษ์น้ำในดิน แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนควรเอาออกจากกอด้วย อุปกรณ์การเกษตรที่ใช้ในการตัดแต่งหน่อและใบสามารถกระจายเชื้อตายพรายจากต้นเป็นโรคสู่ต้นปกติได้ ส่วนการตัดแต่งใบนั้นในช่วงระยะเจริญเติบโตควรไว้ใบบนต้นอย่างน้อย 10-12 ใบ เพื่อให้กล้วยแทงปลีเร็วขึ้น เมื่อกล้วยตกเครือแล้วควรแต่งใบที่อาจเสียดสีกับผลกล้วยออกและเหลือไวเพียง 5-7 ใบก็พอ การกำจัดวัชพืช เลือกกำจัดวัชพืชโดยวิธีการพรวนดิน ควรทำภายใน 1-2 เดือนแรกหลังปลูกในขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อระบบรากเพราะจะทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโต ส่วนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชนั้น เกษตรกรต้องคำนึงถึงชนิด อัตราความเข้มข้น และช่วงเวลาการใช้ที่ต้องเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของสารเคมีและสารพิษตกค้างการให้ปุ๋ย หากต้องการกระตุ้นผลผลิตให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 100 กรัม ต่อต้น หลังปลูกติดต่อกันประมาณ 5 เดือน หรือจนกว่ากล้วยจะแทงหน่อลูก จากนั้นให้งดปุ๋ยไปจนกว่ากล้วยจะแทงปลีแล้วเปลี่ยนเป็นสูตรที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อกระตุ้นการสะสมแป้งและน้ำตาลในอัตราเดียวกัน คือ 100 กรัม ต่อต้น ต่อเดือน ไปจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต

“จากนโยบายการทำการเกษตรด้วยการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ผลิตกล้วยน้ำว้า ที่มุ่งเน้นตั้งแต่การเตรียมการก่อนปลูก ตลอดจนการดูแลรักษาและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตกล้วยน้ำว้า เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลดโรค-แมลง ที่ยั่งยืนตลอดไป” นายเกษม กล่าวทิ้งท้าย

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ค.60 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบอนุมัติร่างพระราชกำหนดการเดินเรือ พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติกำหนดเรือไทยพ.ศ. … เนื่องจากพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 และพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 บังคับใช้มานานและไม่สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการปรับปรุงในเรื่องการกำกับดูแลกองเรือไทย ระบบทะเบียนเรือไทย ตรวจสภาพเรือไทย การจัดการความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยของเรือและอุปกรณ์ประจำเรือ การจดทะเบียนจำนองและบุริมสิทธิเหนือเรือไทย รวมถึงคนประจำเรือทั้งระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินของสหภาพยุโรป (IUU) ในเดือน ก.ค.60 ให้สามารถแก้ปัญหาการทำประมงได้อย่างยั่งยืน

โดยร่างพระราชกำหนดเรือไทย พ.ศ. …มีทั้งหมด 14 หมวด ได้แก่ เรือไทยและการจดทะเบียนเรือไทย, หนังสือทะเบียนเรือไทย เมืองท่าจดทะเบียนและนายทะเบียน การตรวจสอบเรือไทย การจัดการความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยของเรือไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้ว การจดทะเบียนจำนองและบุริมสิทธิเหนือเรือไทย การจำนองเรือที่อยู่ระหว่างการต่อ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการต่างๆ เกี่ยวกับเรือไทย สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของเรือไทย คนประจำเรือ และการจัดคนเข้าทำการในเรือไทย อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน เบ็ดเตล็ด และบทลงโทษ

ขณะที่พระราชกำหนดการเดินเรือ พ.ศ. … มีทั้งหมด 11 หมวด ได้แก่ การเดินเรือ การจอดเรือเขตทางน้ำ สิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำทางน้ำ และการใช้ทางน้ำ การนำร่อง การลากจูงเรือ ความปลอดภัยของเรือ และท่าเรือ การสืบสวนอุบัติเหตุทางน้ำและการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล การป้องกันโรคติดต่อ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ซากทรัพย์สิน การประกอบการขนส่งคนโดยสารทางน้ำประจำเส้นทาง เบ็ดเตล็ด และบทลงโทษ หลังจากนี้จะนำร่างพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับเสนอกฤษฎีกาต่อไป

(จังหวัดแพร่) นักวิชาการของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ แนะนำวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงจากภาวะอากาศแปรปรวน เน้นดูแลสุขภาพสัตว์และโรงเรือน

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านสัตวแพทย์บริการวิชาการ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเป็นช่วงรอยต่อของฤดูกาลทำให้อากาศแปรปรวน ทั้งอากาศร้อนจัดสลับกับมีฝนฟ้าคะนองทั่วประเทศไทย บางพื้นที่ต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน และอากาศเย็นในวันเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงที่ไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้อัตราการกินอาหารและประสิทธิภาพการผลิตลดลง จึงมีคำแนะนำในการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรเพื่อเตรียมการป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

การเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือระบบอีแวป เกษตรกรต้องควบคุมการทำงานของพัดลมและเยื่อกระดาษหน้าโรงเรือนให้เหมาะสม อย่าให้ร้อน เย็น หรือชื้นเกินไป ซึ่งจะกระทบต่อสัตว์ทำให้เกิดความเครียด ควรปรับสภาพภายในโรงเรือนให้สัตว์อยู่สบาย รวมทั้งควรเตรียมเครื่องสำรองไฟและน้ำมันเชื้อเพลิงให้พร้อมสำหรับกรณีไฟดับ เพื่อให้พัดลมทำงานได้ตามปกติ และต้องซ่อมแซมหลังคาให้ดีเพื่อป้องกันน้ำฝนที่จะเข้าไปในโรงเรือนได้ ควรปรับปรุงและเสริมความแข็งแรงบริเวณชายคาเพื่อไม่ให้ลมพัดเสียหาย และต้องจัดเก็บอาหารสัตว์ให้มิดชิด ส่วนการดูแลสัตว์ในโรงเรือนแบบเปิด ต้องระมัดระวังน้ำฝนที่จะสาดเข้าไปในคอกเลี้ยงที่จะเป็นการเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ด้วยการทำกันสาดหรือปิดผ้าใบเพื่อป้องกันฝนรอบโรงเรือน อาจต้องเพิ่มพัดลมให้สัตว์โดยเฉพาะกรณีที่อากาศร้อนจัดก่อนเกิดฝนตกเพื่อช่วยระบายอากาศและความร้อนแก่สัตว์ ช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือน ต้องเตรียมน้ำสำหรับสัตว์ให้เพียงพอ และจัดเตรียมกล่องและไฟกกสำหรับลูกสุกรเพื่อป้องกันความหนาวเย็นในขณะฝนตก

“การดูแลสัตว์ในฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากอากาศที่แปรปรวนทำให้สัตว์ปรับตัวได้ยาก จึงต้องหมั่นตรวจสอบสุขภาพสัตว์เป็นประจำ คอยสังเกตการกินได้ของสัตว์ซึ่งช่วยบ่งชี้สุขภาพสัตว์ได้ หากการกินลดลงต้องปรับให้อาหารเท่าที่สัตว์กินได้ อาจแบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อและหลีกเลี่ยงการให้อาหารในช่วงที่อากาศร้อนจัด หากอากาศเปลี่ยนแปลงมากควรผสมวิตามินละลายน้ำให้สัตว์กิน 3-5 วันติดต่อกัน เพื่อลดความเครียดและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวสัตว์” น.สพ.ดำเนิน กล่าว

ด้าน น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการด้านมาตรฐานการผลิตสัตว์ปีก กล่าวเสริมว่า การเลี้ยงไก่เนื้อและไก่ไข่ในช่วงอากาศแปรปรวนเช่นนี้ นอกจากต้องดูแลทั้งเรื่องความร้อน ฝน และความชื้นที่จะสูงขึ้นซึ่งกระทบต่อตัวสัตว์โดยตรงแล้ว เกษตรกรต้องให้ความสำคัญกับปริมาณก๊าซแอมโมเนียที่เกิดขึ้นในโรงเรือนจะกระทบต่อทางเดินหายใจของไก่ ในโรงเรือนไก่เนื้อหากมีแกลบที่เปียกน้ำต้องนำออกทันทีเพื่อไม่ให้หมักหมมและเปลี่ยนแกลบใหม่ทันที และต้องหมั่นกลับแกลบถี่ขึ้นประมาณ 3 วันต่อครั้ง ส่วนไก่ไข่ต้องนำมูลไก่ออกจากโรงเรือนบ่อยครั้งขึ้น และต้องมีการระบายอากาศที่ดีด้วยการควบคุมความเร็วลมให้เหมาะสม ในโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่แบบเปิดต้องเพิ่มพัดลมด้วย และต้องจัดเตรียมน้ำและอาหารให้เพียงพอกับไก่ อาจเพิ่มวิตามินละลายน้ำเช่นเดียวกับสุกร

นอกจากนี้ เกษตรกรควรสำรวจพื้นที่รอบฟาร์มและทำการตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้หักโค่นมาโดนหลังคาโรงเรือนหรือสายไฟ หากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เป็นโรงเรือนเก่าและไม่แข็งแรง ต้องหาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันการพังเสียหายจากลมที่พัดแรง หากโรงเรือนพังจากพายุฝนต้องรีบย้ายสัตว์เข้าเลี้ยงในโรงเรือนหลังอื่นที่ไม่เสียหายโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

นายจอมศักดิ์ ภูติรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี เผยว่า ปีนี้ผลไม้ของจันทบุรีดีมาก คาดว่ามี 4 แสนตัน ขณะเดียวกันหอการค้าได้ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และผลักดันยุทธศาสตร์ จันทบุรีมหานครผลไม้ ตั้งแต่ปี 2558 ปีนี้ปีที่ 3 ทำให้ราคาผลไม้สูงขึ้นเป็นปรากฏการณ์ทั้ง 3 ปี อย่างปี 2558 ก่อนประกาศจัดงานมหานครผลไม้ ทุเรียน เฉลี่ยกิโลกรัมหนึ่ง 50 บาท พอประกาศเป็นมหานครผลไม้ เมื่อปี 2559 ขึ้นมาเป็นกิโลกรัมละ 100 บาท และปี 2560 ทุเรียนต้นฤดูกิโลกรัมละ 140-150 บาท ตอนนี้กิโลกรัมละ 120-130 บาท ซึ่งสูงกว่าทุกปี อีกทั้งผู้บริโภคทั่วโลกนิยม ทำให้กำลังซื้อมาก

“จริงๆ แล้วผลไม้ในภาคตะวันออกและทั้งประเทศส่งออกไปจีนยังไม่ถึง 40% ตลาดยังต้องการอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในเอเชีย ใน CLMV รวมถึงในยุโรปและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งในอดีตชาวสวนผลไม้ถูกกดราคาไม่มีอำนาจต่อรอง วันนี้หมดยุคผลไม้ราคาถูก หมดยุคการเอาเปรียบชาวสวนแล้ว”

“วันนี้เป็นการรณรงค์แค่ต้นทางเท่านั้น loquegustes.com ซึ่งในยุทธศาสตร์การเป็นมหานครผลไม้ ภายใน 5 ปี จากมูลค่าขายประมาณ 3 หมื่นกว่าล้าน จะขึ้นเป็น 1 แสนล้าน แต่ปรากฏว่าในปี 2559 แค่ปีเดียวจาก 3 หมื่นกว่าล้าน ขึ้นเป็น 7 หมื่นกว่าล้าน และจะถึง 1 แสนล้านบาทภายในปีนี้” นายจอมศักดิ์ กล่าว

ปัจจุบันจีนเป็นตลาดหลัก ผลผลิตเกือบ 80% ของทั้งระบบส่งออกไปจีน แต่คนจีนมีกว่า 1,300 ล้านคน จึงยังไปไม่ถึงชาวจีนทั้งระบบ ไปได้แค่ 40% ดังนั้น ตลาดจีนยังขยายได้ ช่วงที่ผ่านมานักธุรกิจจีนมาเมืองจันท์เยอะมาก แต่ก็มีสินค้าไม่พอส่งขาย ต่อไปหอการค้าจะผลักดันให้ชาวสวนเข้มแข็ง มีองค์ความรู้ในการค้า และการแปรรูป รวมทั้งเรื่องการตลาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งตรงนี้ เป็นการรณรงค์ทั้งกลางน้ำและปลายน้ำ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เรื่องที่ภาครัฐกำหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP)และเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรนั้น ต้องขอให้ภาคราชการทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ด้วยช่วงที่ผ่านมาหรือแม้แต่เวลานี้เกษตรกรมีวิกฤตการณ์ด้านพืชผลอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก และเกษตรกรจำนวนน้อยที่ทำการผลิตทางการเกษตรแบบ GAP และเกษตรอินทรีย์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นและดำเนินการผลิตทางการเกษตรในแบบที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างกว้างขวางก่อน

หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดำเนินการในเรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปด้าน GAP และเกษตรอินทรีย์ และต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยนั้นมีความหลากหลายมาก เกษตรกรผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่เชื่อว่ามีขีดความสามารถที่จะรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ด้วยกำไรจากการประกอบการทั้งจากการส่งออกและการค้าในประเทศก็ตาม แต่ควรจะผ่อนปรนหรือยกเว้นให้กับเกษตรกรรายย่อยที่มีการเพาะปลูกไม่มากนัก เพื่อที่จะได้มีกำลังใจและมีขีดความสามารถในการผลิตเชิงเกษตรอินทรีย์ต่อไปได้ รัฐบาลควรบริการและควรมีงบประมาณดูแลหรือควรใช้มาตรการให้มีระบบการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS ที่เกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ นักวิชาการ ผู้บริโภค ดำเนินการร่วมกัน เป็นมาตรการทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อย ควบคู่ไปกับระบบการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ทำหนังสือเสนอข้อคิดเห็นต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โดยจะติดตามความคืบหน้าต่อไป

เบื้องต้นที่ปรึกษาโครงการต้องจัดทำแผนพัฒนาศูนย์การค้าธนบุรี

โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้สามารถนำไปสร้างรายได้หลักให้กับ อคส.ให้ได้ ต้องเป็นพื้นที่ที่จะเชื่อมโยงสินค้าให้กับชุมชน โอท็อป สินค้าเกษตรกร พื้นที่จำหน่ายสินค้า และร้านอาหาร รวมทั้งจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

“การเดินหน้าศูนย์การค้าธนบุรีนี้ต้องการผลักดันให้เกิดโดยเร็ว ไม่ใช่จะไปแข่งขันกับเอกชน แต่ต้องการพัฒนาเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีความแตกต่าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาซื้อสินค้าเกษตร โอท็อป หรือเข้ามาร่วมทำกิจกรรมให้ความรู้ทางด้านการเกษตร และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าประกอบกิจการค้า ซึ่งอาจจะคล้ายตลาดกลางบ้างในบางส่วน”

อย่างไรก็ดี ที่ปรึกษาโครงการจะต้องศึกษาด้วยว่า สินค้าที่จะนำเข้าไปขายนั้นควรจะเป็นสินค้าแบบไหน รูปแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้าไปท่องเที่ยว หรือมาจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ที่ศูนย์การค้ากำหนดไว้ เพื่อให้สินค้าเกิดมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหลังจากนี้ อคส.จะติดตามความก้าวหน้าของโครงการทุกเดือน ก่อนที่จะเสนอรูปแบบที่สมบูรณ์กลับมาให้คณะกรรมการบอร์ดพิจารณา และคาดว่าจะเริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ภายในปลายปี 2560 พร้อมกันนี้ที่ปรึกษาจะต้องนำเสนอรูปแบบของการประกาศภายใต้ พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หรือ PPP เพื่อดึงดูดนักลงทุนด้วย

รายงานข่าวระบุว่า คลังสินค้า 1 ธนบุรี มีพื้นที่ 7,884 ตารางวา มูลค่าที่ดินประมาณ 1,206 ล้านบาท คิดจากราคาตลาดที่ดินอยู่ที่ 1.53 แสนบาท/ตารางวา ที่มีการประเมินไว้งบประมาณลงทุนคาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000-5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากสามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวสำเร็จจะช่วยสร้างรายได้ให้องค์กรถึง 20 ปี โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในคลองอู่ตะเภา ในพื้นที่หมู่ 7 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ร้องเรียนว่า ปลานิล ปลากด และปลาชะโอน ที่เลี้ยงไว้ ลอยตายเกลื่อนกระชังต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 วัน ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ประมาณ 40,000 ตัว ตายเกือบทั้งหมด โดยคาดว่ามีการลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองอู่ตะเภาในช่วงที่มีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก

นายพิชิต ประทุมทอง ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบ้านบางศาลา กล่าวว่า ปลาที่ตายมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผู้เลี้ยงปลา 20 ราย เดือดร้อนทั้งหมด อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้ปลาที่เหลืออยู่รอดชีวิต รวมถึงให้ผู้เลี้ยงปลาสามารถเลี้ยงปลาได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาการลอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง

สำหรับบริเวณดังกล่าวนั้นถือเป็นพื้นที่ตอนกลางของคลองอู่ตะเภา และมีการปิดประตูระบายน้ำคลองอู่ตะเภา ทำให้น้ำไม่มีการไหลเวียน หากมีสารพิษเข้ามาสมทบประกอบกับมีตะกอนดินอยู่จำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดต่ำลงจนทำให้ปลาขาดอ๊อกซิเจนและตายในที่สุด

อย่างไรก็ตาม นายวรรณนัฑ หิรัญชุฬหะ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 12 สงขลา กล่าวว่า ได้รับรายงานว่ามีปลาน้ำจืดที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในคลองอู่ตะเภาตายจำนวน 2 จุดด้วยกัน คือ ที่บ้านม่วงก็อง ต.พังลา อ.สะเดา และบ้านบางศาลา ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง โดยสภาพพื้นที่ของคลองทั้ง 2 จุดนั้น เป็นจุดอับ ซึ่งปกติจะเป็นน้ำนิ่ง ทั้งมีตะกอนดินสะสมเป็นเวลานาน และมีฝนตกลงมาในพื้นที่ ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดน้อย เบื้องต้นได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณจุดเกิดเหตุแล้ว พร้อมจัดหาพันธุ์ปลาไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร ได้เริ่มเลี้ยงปลารอบใหม่อีกครั้ง

เปิดตัว “สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม” ภายใต้กรมการค้าต่างประเทศ ประเดิมประชุมบอร์ดนัดแรก 22 พฤษภาคมนี้ ตั้งเป้าทำตลาดสินค้านวัตกรรมข้าว-มันสำปะหลัง หลังหมดยุคโครงการรับจำนำ

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม (Institute for Agricultural Product Innovation : API) ครั้งที่ 1/2560 โดยมี นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานของสถาบันฯ หลังจากได้มีคำสั่ง 177/2560 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ขึ้นเมื่อ 23 มีนาคม 2560

“เดือนกันยายนนี้คาดว่าจะเปิดระบายข้าวสารในสต๊อกหมด ตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในยุคของ คสช.จะไม่มีโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรแน่นอน ต่อไปการทำงานของกรมจะมุ่งส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรนวัตกรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกรรมที่ก้าวล้ำมากๆ เพียงให้เป็นการประยุกต์ พัฒนาและใช้ได้ในชีวิตประจำวันสร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมผู้ประกอบการไทยมักจะขายสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐาน ทำให้ขายได้ราคาไม่สูงนัก การพัฒนานวัตกรรมจะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน”

สำหรับการประชุมครั้งแรกจะหารือถึงบทบาทหน้าที่ของสถาบัน โดยหลักจะมุ่งเน้นอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ เช่น การขอใบอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งสถาบันนี้จะช่วยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการฯ นอกจากนี้ กรมจะเชื่อมโยงการทำตลาดสินค้าเกษตรนวัตกรรมกับโครงการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในอาเซียน (YEN-D) เพื่อขยายตลาดให้สินค้าไทย

“บทบาทของสถาบันไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นแน่นอน อย่างกรมการข้าวจะเน้นดูแลภาคการผลิต หรือหน่วยงานอื่นอีก 5 หน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะเน้นด้านการวิจัย แต่สถาบันจะเน้นด้านการทำตลาด และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ โดยสินค้าเป้าหมายกลุ่มแรกเน้นสินค้าข้าวและมันสำปะหลัง ขณะนี้มีผู้ประกอบการไทยพัฒนานวัตกรรมและมีการองค์การต่างๆ ที่ทำวิจัยไปบ้างแล้ว ทางสถาบันจะเข้าไปต่อยอดช่วยด้านการตลาด ส่วนงบประมาณสนับสนุนในปีแรกจะดึงจากกองทุนข้าว ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของกรมการค้าต่างประเทศ ประมาณ 10 ล้านบาท สำหรับใช้บริหารจัดการชั่วคราวก่อนจะทำแผนเสนอของบประมาณ ปี 2562”

ทั้งนี้ สถาบันฯ เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมการค้าต่างประเทศ มีฐานะเทียบเท่ากอง โดยมี นางสาวจารุมน วินิชสุวรรณ เป็นผู้อำนวยการสถาบันคนแรก สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ มี 13 คน โดยมี รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน และปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธาน โดยมีกรรมการ 4 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน ประกอบด้วย นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์, รศ.ดร. สิรี ชัยเสรี, ดร. พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์, นายวัชรพล บุญหลาย โดยมีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นกรรมการและเลขานุการ, มีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และมี นายวรวรรณ วรรณวิล นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ระดมสมองภาครัฐดันแผนน้ำ 20 ปี ต้องเร่งแก้การบุกรุกลำน้ำและสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมให้เสร็จภายในกลางปีนี้ “สมเกียรติ” เผย ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างมีปัญหามากที่สุด มีสิ่งกีดขวางปลูกสร้างรุกล้ำทางน้ำ 8,442 แห่ง และสาธารณูปโภค 221 แห่ง ชี้ต้องใช้ “ปทุมธานีโมเดล” ย้ายออก 50% ภายในปี 2564

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำและการบูรณาการแผนดำเนินการสิ่งกีดขวางทางน้ำ ว่า ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานมีแผนบริหารจัดการน้ำ แต่เนื่องจากแผนยังไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ 20 ปีขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จึงต้องทบทวนแผนบริหารฯ 12 ปี ของกรมชลประทานใหม่ทั้งหมด โดยให้มีแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำรวมอยู่ด้วย โดยสิ่งกีดขวางทางน้ำสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การบุกรุก และ 2. ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง ในกรณีผู้บุกรุกที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัยชุมชนนั้น จะต้องหารือกับกระทรวงมหาดไทย ว่าจะย้ายออกได้หรือไม่ อย่างไร กรณีที่ไม่สามารถย้ายออกได้ก็ต้องมีวิธีที่จะทะลวงน้ำผ่านไปให้ได้ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคที่ขวางกั้นอยู่จะต้องหารือถึงเทคนิควิธีการเจาะระบายน้ำให้ลอดออกไป ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งขวางกั้นทางน้ำขึ้นมาอีกในอนาคต โดยการวางแผนการก่อสร้างร่วมระหว่างหน่วยงานหลักอย่างชัดเจน โดยภายในเดือนมิถุนายนนี้ แผนแนวทางแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำนี้ต้องแล้วเสร็จเพื่อเสนอให้ กนช.และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

“ในระยะเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการคือ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ รวม 93 แห่ง ประกอบด้วย ระบบระบายน้ำ 38 แห่ง สถานีสูบน้ำ 15 แห่ง ประตูระบายน้ำ 40 แห่ง การทบทวนโครงการที่จะสามารถดำเนินการในระยะเร่งด่วนระหว่างปี 2560-2561 เช่น การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานทั้งตะวันออกและตะวันตก การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีน เป็นต้น”

ด้าน ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำเป็นต้องพิจารณาเป็นภาพรวมของประเทศ แต่จากการประเมินทุกครั้งเมื่อเกิดน้ำท่วมจะพบว่า สิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นอุปสรรคมากที่สุดคือ เขตภาคกลางหรือลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้กลุ่มที่เป็นสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตคลอง แยกเป็นชุมชนกว่า 8,442 ชุมชน และสาธารณูปโภค 221 แห่ง โดยที่ชุมชนแยกเป็นผู้รุกล้ำเขตตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 5,290 ชุมชน และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 3,152 ชุมชน มีเป้าหมายต้องย้ายออกอย่างน้อย 50% ภายในปี 2564 โดยยึดตามรูปแบบของปทุมธานีโมเดล ด้ายการสร้างที่อยู่ใหม่ให้ผ่อนจ่ายในอัตราที่เหมาะสม ส่วนงบประมาณนั้นต้องหารืออีกครั้ง

สอดคล้องกับ นายสมเกียรติ สิริพิทักษ์เดช ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมโยธา กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ในเขตภาคกลางมีการเปลี่ยนแปลงที่ดินจากกิจกรรมด้านการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัยที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และยังเป็นสาเหตุให้ท่วมมากขึ้น ดังนั้น กรมโยธาฯ มี 3 พ.ร.บ. ที่สามารถควบคุมได้ คือ พ.ร.บ. ผังเมือง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ. ขุดดินถมดิน แต่ต้องวางแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เพื่อผังจังหวัดอย่างลงตัวทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ซึ่งที่ผ่านมากรมโยธาฯ มีแผนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแล้ว 500 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เพื่อป้องกันแม่น้ำตามเขตแดนเพื่อลดการสูญเสียอาณาเขตประเทศ และตั้งแต่ปี ’61 มีแผนจะดำเนินการอีก 1,500 กิโลเมตร ภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 75 กิโลเมตร โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ออกแบบแล้ว 14 โครงการ 69 ชุมชน แผนที่อยู่ระหว่างออกแบบ 134 โครงการ แล้วเสร็จ 90 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 42 โครงการ

นายสมปอง อินทร์ทอง เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ส.ป.ก. เตรียมรายงานความก้าวหน้าการจัดที่ดินพื้นที่ยึดคืนด้วย มาตรา 44 ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน ซึ่งขณะนี้ ส.ป.ก.ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จกว่า 80% และเดือนมิถุนายน 2560 พร้อมจัดสรรให้ประชาชนที่ไม่มีที่ทำกิน โดย ส.ป.ก.จะเริ่มเบิกงบประมาณ ที่อนุมัติตามกรอบวงเงินไว้เพื่อนำไปพัฒนาปรับพื้นที่ ทำถนน ทำแหล่งน้ำ วงเงิน 960 ล้านบาท โดยจะมีการทยอยเบิกตามพื้นที่ที่แล้วเสร็จจนสามารถจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรได้ อาทิ สวนส้มธนาธร จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ยึดคืน 500-600 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนปรับพื้นที่เตรียมส่งมอบ โดยต้องใช้งบฯ 5 ล้านบาท ทั้งหมดนี้คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จส่งมอบ 100,000 ไร่ ได้ในเดือนกันยายนนี้

ขณะที่ผลยึดคืนที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาจัดสรรเป้าหมายแรก 100,000 ไร่ ที่จะส่งมอบภายในเดือนกันยายนนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1. เป้าหมาย 30,000 ไร่ 33 แปลง ใน 9 จังหวัด ดำเนินการแล้ว ดังนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ กรมชลประทาน ทหารช่าง ส.ป.ก. เป็นต้น ได้แก่ 1. งานสำรวจวางผังแม่บทการพัฒนา จำนวน 29 แปลง ผลการดำเนินการ วางผังแล้ว 26 แปลง อยู่ระหว่างการดำเนินการ 3 แปลง และยังไม่ดำเนินการ 4 แปลง เนื่องจากรอศาลยุติและรอจังหวัดเห็นชอบ

งานปรับพื้นที่ จำนวน 14 แปลง ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 แปลง อยู่ระหว่างดำเนินการ 10 แปลง และรอดำเนินการ 19 แปลง เนื่องจากรอจัดทำขออนุมัติเงินกองทุน 11 แปลง รอศาลยุติและรอจังหวัดเห็นชอบ 8 แปลง 3. งานพัฒนาโครงข่ายถนน จำนวน 9 แปลง ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 แปลง อยู่ระหว่างดำเนินการ 8 แปลง และรอดำเนินการ 24 แปลง เนื่องจากรอจัดทำขออนุมัติเงินกองทุน 61 แปลง รอศาลยุติและรอจังหวัดเห็นชอบ 8 แปลง 4. งานรังวัดปูผังแบ่งแปลน จำนวน 10 แปลง ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 แปลง อยู่ระหว่างดำเนินการ 9 แปลง และรอดำเนินการ 23 แปลง เนื่องจากรอจัดทำขออนุมัติเงินกองทุน และรอระยะงานปรับพื้นที่ งานถนน 15 แปลง รอศาลยุติและรอจังหวัดเห็นชอบ 8 แปลง 5. งานก่อสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำ มีการขุดเจาะและมีการจัดตั้งงบประมาณ จำนวน 7 แปลง 6. เข้าดำเนินการแล้ว จำนวน 2 แปลง โดยอยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 แปลง ดำเนินงานสำรวจด้านวิศวกรรม 1 แปลง และ 7. อยู่ระหว่างสำรวจ จำนวน 26 แปลง
ทั้งนี้ ปัจจุบันสามารถยึดคืนมาได้ 316,582 ไร่ คืนให้ผู้ครอบครองเดิม เนื่องจากมีหลักฐานการครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น น.ส.3, น.ส.3ก. เนื้อที่ 126,919 ไร่

สำหรับกลุ่มที่ 2 มีเป้าหมาย 70,000 ไร่ 71 แปลง ใน 14 จังหวัด มีการดำเนินการ ดังนี้ 1. คัดกรองพื้นที่เป้าหมาย 200,000 ไร่ ดำเนินการก่อนในแปลงเกษตรกรที่มีการครอบครองมากกว่า 50 ไร่ ผลการดำเนินการสามารถดำเนินการได้แล้ว 70,000 ไร่ 71 แปลง ใน 14 จังหวัด จากเป้าหมาย 2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย รับทราบการเข้ากระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล สามารถจัดทำแผนและลงพื้นที่แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2560 3. ส่งข้อมูลพื้นที่เป้าหมายให้อนุกรรมการจัดหาที่ดินภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 4. สำรวจจัดทำแบบผังการพัฒนา ขอใช้เงินกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างมิถุนายน-กรกฎาคม 2560 และ 5. ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาที่ดินให้มีความพร้อมในการทำการเกษตรส่งมอบให้ คทช.จังหวัด จัดสรรให้สถาบันเกษตรกร ระหว่างมิถุนายน-กรกฎาคม 2560

ปิดอ่าว 3 เดือน ให้ปลาวางไข่ได้ผล ปลาทูโผล่เต็มอ่าวไทย หลังเรือประมงพาณิชย์ขยายตาอวนทุกชนิดเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาไอยูยู ขณะที่อวนจม อวนลอยของเรือประมงพื้นบ้านที่ยังจับได้ช่วงฤดูวางไข่เพิ่มขนาดตาอวนเป็น 2 นิ้ว “อดิศร” เผยกำลังหารือปิดอ่าวตอนในรูปตัว ก. เป็น 2 ช่วง เพื่อฟื้นฟูปลาในทะเลแต่ละช่วงของวัยให้มากขึ้น

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงผลการฟื้นฟูทรัพยากรปลาทูในอ่าวไทย ว่า จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ เรื่องกำหนดการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560-15 พฤษภาคม 2560 รวม 3 เดือน ครอบคลุมพื้นที่ 26,400 ตารางกิโลเมตร พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขประกาศในบางข้อเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องมือจับปลาที่มีศักยภาพสูงขึ้นและทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำมากขึ้น ทั้งอวนลาก อวนล้อม การห้ามเครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมง ยกเว้นการใช้อวนติดตาจับปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 23 นิ้วขึ้นไป ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอสทำการประมง

รวมทั้งกำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งที่ห้ามใช้เครื่องมืออวนทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมง คือ เรือปั่นไฟจับปลา ห้ามเข้าจับปลาในระยะ 7 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนล่าง ชุมพร และสุราษฎร์ธานี และจะบังคับใช้ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2560-30 มิถุนายน 2560 ด้วยนั้น ปรากฏว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวที่ใช้มาตรการปิดอ่าวไทยของกรมประมงที่ออกตรวจสอบ 52 ครั้ง พบการกระทำผิด รวม 11 คดี แยกเป็นการใช้เครื่องมืออวนลากทำประมงตอนกลางวัน 2 คดี ใช้เรือไร้สัญชาติทำการประมง 2 คดี ใช้เรือซึ่งปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย 6 คดี และตรวจยึดเครื่องมืออวนรุน 1 คดี ซึ่งผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษทั้งในส่วนมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการปกครองและผลการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวเห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

จากการสำรวจติดตามสถานการณ์ในเขตปิดอ่าวและบริเวณใกล้เคียงตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่กรมประมงใช้เครื่องมือตรวจสอบฝูงปลา (Sounder) ตรวจพบพ่อแม่พันธุ์ปลา จำนวน 3,000 กิโลกรัม และฝูงลูกปลา 10,000 กิโลกรัม บริเวณเกาะพะงัน และยังพบว่า ชาวประมงพื้นบ้านจับปลาทูขนาดใหญ่ได้บริเวณอ่าวชุมพร โดยใช้เครื่องมืออวนติดตาขนาดไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว นอกจากนี้ในต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังได้รับรายงานว่าพบฝูงลูกปลาทูขนาดเล็กชุกชุมจำนวนมากบริเวณห่างฝั่ง 3-5 ไมล์ทะเล ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลบริเวณอ่าวไทยเริ่มฟื้นกลับมา

“เพื่อให้ลูกปลาทูว่ายขึ้นมาเจริญเติบโตบริเวณอ่าวตอนใน morepoweracing.com หรืออ่าวไทยรูปตัว ก. ได้ กรมจึงกำหนดเครื่องมือจับปลาและขนาดขอบเขตห้ามจับเพิ่มในส่วนบนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ช่วงวันที่ 16 พฤษภาคม 2560-30 มิถุนายน 2560 เพิ่มเติมด้วย” อธิบดีกรมประมงกล่าว

ส่วนมาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. หรืออ่าวไทยตอนในที่ดำเนินการมากว่า 3 ปี ในปีนี้ กรมกำลังหารือกับตัวแทนชาวประมงว่าจะเริ่มปิดได้เมื่อใด ควรจะเริ่มในวันที่ 15 มิถุนายน หรือ 30 มิถุนายนศกนี้หรือไม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปร่วมในเดือนนี้ ควรจะเริ่มในวันที่ 15 มิถุนายน หรือ 30 มิถุนายน ศกนี้หรือไม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปร่วมในเดือนนี้ ซึ่งอาจจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ เริ่มในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนหลังจากนั้นจะห้ามจับปลาในเขตสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ในระยะถัดไปอีกเป็นเวลา 2 เดือนแทนเพื่อให้ปลามีเวลาเติบโตเต็มวัยก่อนจะไปวางไข่ในปีถัดไปในเขตสุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ต่อไป

“ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. 3 ปีที่ผ่านมา ปีแรกปลาทูยังมีมาก แต่ปีที่ผ่านมาลดลงไปพอสมควร ซึ่งอาจจะเกิดจาก 2-3 ทฤษฎี คือ ปลาทูน้อยลงเพราะมีการใช้อวนจม เมื่อปลาว่ายเข้าฝั่งบริเวณหน้าดินจะถูกดักจับ แต่ปีนี้กำหนดให้อวนจมต้องมีตาข่าย ขนาด 2 นิ้วขึ้น การรุมจับปลาทันทีหลังเปิดอ่าว ทำให้ปลาทูที่ยังไม่ได้ขนาดที่จะว่ายเข้ามาหากินอ่าวไทยตอนในถูกจับ สภาวะอากาศร้อนแห้งแล้งน้ำไหลลงอ่าวไทยห่วงโซ่อาหารปลาทูที่จะเกิดขึ้นจึงมีน้อย ปลาทูจึงแพร่พันธุ์ได้น้อยและปัญหามลพิษในทะเลที่มีมากขึ้น”

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม จากที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนัก ทำให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อเวลา 07.00 น. ระดับน้ำเหนือเขื่อนวัดได้ 16.75 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเขื่อนเจ้าพระยาปรับเพิ่มการระบายน้ำขึ้นไปที่อัตรา 649 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้น 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับรับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้น 29 ซม. โดยวัดได้ 10.15 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตั้งแต่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ลงไปมีระดับน้ำสูงขึ้นได้อีก 10-20 ซม.

ด้านนายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 ชัยนาท กล่าวว่า จากปริมาณน้ำเหนือที่เข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยามากขึ้น ทำให้จะมีแนวโน้มที่จะต้องมีการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนสูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะสงผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะบริเวณ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล และ ต.บ้านกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

กับกระทรวงมหาดไทย ว่าจะย้ายออกได้หรือไม่ อย่างไร

กรณีที่ไม่สามารถย้ายออกได้ก็ต้องมีวิธีที่จะทะลวงน้ำผ่านไปให้ได้ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เช่นเดียวกับระบบสาธารณูปโภคที่ขวางกั้นอยู่จะต้องหารือถึงเทคนิควิธีการเจาะระบายน้ำให้ลอดออกไป ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งขวางกั้นทางน้ำขึ้นมาอีกในอนาคต โดยการวางแผนงานก่อสร้างร่วมระหว่างหน่วยงานหลักอย่างชัดเจน โดยภายในเดือน มิ.ย.นี้ แผนแนวทางแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำนี้ต้องแล้วเสร็จเพื่อเสนอให้ กนช.และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

“ในระยะเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ คือ การแก้ไขปัญหาการระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่รวม 93 แห่ง ประกอบด้วย ระบบระบายน้ำ 38 แห่ง สถานีสูบน้ำ 15 แห่ง ประตูระบายน้ำ 40 แห่ง การทบทวนโครงการที่จะสามารถดำเนินการในระยะเร่งด่วนระหว่างปี 2560-2561 เช่น การปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานทั้งตะวันออกและตะวันตก การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีน เป็นต้น”

ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำเป็นต้องพิจารณาเป็นภาพรวมของประเทศ แต่จากการประเมินทุกครั้งเมื่อเกิดน้ำท่วมจะพบว่า สิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือเขตภาคกลางหรือลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้กลุ่มที่เป็นสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตคลอง แยกเป็นชุมชนกว่า 8,442 ชุมชน และสาธารณูปโภค221 แห่ง โดยที่ชุมชน แยกเป็นผู้รุกล้ำเขตตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 5,290 ชุมชน และฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 3,152 ชุมชน มีเป้าหมายต้องย้ายออกอย่างน้อย 50% ภายในปี 2564 โดยยึดตามรูปแบบของปทุมธานีโมเดล ด้วยการสร้างที่อยู่ใหม่ให้ผ่อนจ่ายในอัตราที่เหมาะสม ส่วนงบประมาณนั้นต้องหารืออีกครั้ง

สอดคล้องกับนายสมเกียรติ สิริพิทักษ์เดช ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมโยธา กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ในเขตภาคกลางมีการเปลี่ยนแปลงที่ดินจากกิจกรรมด้านการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัยที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และยังเป็นสาเหตุให้ท่วมมากขึ้น ดังนั้น กรมโยธาฯมี 3 พ.ร.บ.ที่สามารถควบคุมได้ คือ พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ.ขุดดินถมดิน แต่ต้องวางแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เพื่อผังจังหวัดอย่างลงตัวทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ซึ่งที่ผ่านมากรมโยธาฯมีแผนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแล้ว 500 กม. ส่วนใหญ่เพื่อป้องกันแม่น้ำตามเขตแดนเพื่อลดการสูญเสียอาณาเขตประเทศ และตั้งแต่ปี”61 มีแผนจะดำเนินการอีก 1,500 กม. ภายใต้แผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 75 กม. โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน ออกแบบแล้ว 14 โครงการ 69 ชุมชน แผนที่อยู่ระหว่างออกแบบ 134 โครงการ แล้วเสร็จ 90 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 42 โครงการ

เกษตรฯดึงมหาดไทยแก้ประมง IUU หลัง EU ให้ตรวจสอบสถานะเรือประมงที่ถูกเพิกถอนทะเบียน-แจ้งงดใช้-ไม่มีใบอนุญาตทำประมง 3.5 พันลำ สแกนยิบ 54 จังหวัด กรมเจ้าท่าสั่งล็อกเรือทันที เผยเจ้าของเรือที่ถูกแบล็กลิสต์มีทั้งประมง-บิ๊กเอกชน-คนดัง

แหล่งข่าวจากกรมประมง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ตามข้อเสนอแนะของสหภาพยุโรป (EU) จากที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาคืบหน้าไปมาก และ EU พอใจการดำเนินการของฝ่ายไทย ครั้งนี้ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย ให้สำรวจสถานะเรือประมงที่ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือ เรือที่แจ้งงดการใช้ และเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำประมงใน 54 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร

จากการหารือร่วมกันได้ข้อสรุปว่า กระทรวงมหาดไทยจะสั่งการให้ 54 จังหวัดสำรวจตรวจสอบเรือ 3,535 ลำ ตั้งแต่ 18-25 พ.ค. 2560 จากนั้นจะแจ้งผลการสำรวจสถานะเรือให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ตั้งทีมลุยสำรวจ 18-25 พ.ค.นี้

ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือสั่งการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 54 จังหวัดแล้ว โดยให้แต่งตั้งคณะทำงานทำการสำรวจและตรวจสอบสถานะความมีอยู่จริงของเรือประมง ที่ถูกเพิกถอนทะเบียนเรือที่แจ้งงดการใช้เรือ และเรือที่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงโดยเร่งด่วน โดยให้ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบลเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่มีเรือประมงที่อยู่ในข่ายต้องสำรวจ เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ

หากพื้นที่ใดมีเรือประมงอยู่ในบัญชีที่ต้องสำรวจตั้งแต่ 50 ลำขึ้นไป จะแต่งตั้งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่แต่ละตำบล เป็นหัวหน้าคณะทำงานเพิ่มเติม พร้อมประสานผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่รับผิดชอบในพื้นที่ ส่งเจ้าหน้าที่ชุดตรวจเรือเป็นคณะทำงานด้วย โดยจะสำรวจต่อเนื่องระหว่างวันที่ 18-25 พ.ค.นี้ ไม่เว้นวันหยุดราชการ

เปิดรายชื่อ 54 จังหวัดเป้าหมาย

สำหรับพื้นที่ 54 จังหวัดเป้าหมายในการสำรวจติดตามสถานะ ประกอบด้วยกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นนทบุรี นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา

พะเยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย อ่างทอง อุดรธานี อุทัยธานี ตามกฎหมายเรือเหล่านี้บางส่วนเป็นซากเรือ บางส่วนต้องจอดลอยลำไม่สามารถนำมาใช้ทำการประมงได้ เนื่องจากถูกเพิกถอนทะเบียนเรือ แจ้งงดใช้ และไม่มีใบอนุญาตทำการประมง

พบเรือพร้อมใช้งานสั่งล็อกตาย

ในการสำรวจหากคณะทำงานพบว่า เรือที่อยู่ในข่ายต้องสำรวจสถานะทั้ง 3,535 ลำ จอดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คณะทำงานจะประสานกับผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดำเนินการทางกฎหมายโดยล็อกเรือไม่ให้สามารถนำมาใช้งานได้อีก ทั้งนี้ แต่ละอำเภอจะมอบหมายให้ปลัดอำเภอ 1 คนเป็นผู้รับผิดชอบการรายงานผลสำรวจ จะให้แจ้งผลต่อกรมการปกครองก่อนเสนอเรื่องให้ รมว.เกษตรฯพิจารณา

ตรวจยิบซากเรือ-เรือพร้อมใช้งาน

แนวทางการสำรวจจะมีการกรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ และเจ้าของเรือ ไม่ว่าจะเป็นเรือจอดเทียบท่าพร้อมใช้งาน รวมทั้งซากเรือ จากนั้นทีมสำรวจบันทึกถ้อยคำโดยละเอียดตามแบบบันทึกถ้อยคำ พร้อมให้ถ่ายภาพเรือ หรือซากเรือ หัวเรือทั้งซ้าย-ขวา ภาพเต็มลำเรือทั้งซ้าย-ขวาพร้อมรูปเจ้าของเรือ และรูปบ้านเจ้าของเรือ

โดยให้ปรากฏภาพเจ้าของเรือหรือผู้ให้ถ้อยคำในภาพไม่น้อยกว่า 1 ภาพ ขณะเดียวกัน ให้ถ่ายรายละเอียดชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ และให้เจ้าของเรือ ผู้ให้ถ้อยคำ ผู้บันทึกถ้อยคำ ลงลายมือชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วย โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้เป็นข้อมูลจากในการตรวจสอบสถานะครั้งต่อไปตามช่วงเวลาที่กำหนด

เจ้าของมีทั้งธุรกิจประมง-คนดัง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือที่ถูกขึ้นบัญชีรายชื่อโดยเจ้าของเรือต้องให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ จำนวนเรือ สภาพเรือ การใช้งาน ฯลฯ เพื่อให้รู้สถานะว่าจอดลอยลำอยู่จริง และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ด้านการประมงและกิจกรรมอย่างอื่น มีทั้งผู้ประกอบการประมง บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการประมงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มธุรกิจ อดีตรัฐมนตรี บุคคลมีชื่อเสียง อาทิ เรือรุ่งศิริชัย 7 ของ บจ.อาร์เอ็นจี แอนด์

แอสโซซิเอทส์ เรือ ท.ธารสมบัติ ของนายภูมิ ธาวนพงษ์ เรือ พ.พรานทะเล 11 ของ น.ส.วริยา ธาวนพงษ์ เรือ พรานทะเล 10 ของนายธงชัย ธาวนพงษ์ เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและสำเร็จรูป แบรนด์พรานทะเล

เรือ ส.ฮับ 15 ของ บจ.เมอชานท์ ฮับ (ประเทศไทย) เรือคุณทวี และเรือธนโชค 9 ของนายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เรือนาวีโชติ 2 ของ บจ.นาวี ทวีโชติ เรือสุทัศนีย์ ของ บจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เรือนารายณ์ ของ บจ.นารายณ์ขนส่ง เรือศุภโชค 6 ของ บจ.ศุภโชคการประมง เรือโชควรรณา 2 ของ Mr.Allexsandr Trunov เรือทิพวรรณ 1 ของ บจ.เดิะโคโค่ แบร์ เรือ ส.พรชัยนาวี ของ หจก.ว.สุภาพรกันตัง เรือชัยพฤกษ์ 2 ของ บจ.เจ ดี พี

เรือรุ่งรัชนีพร 39 ของ บจ.พีพี บารากูดา ไดรฟวิ่ง เซ็นเตอร์ เรือ ท.ล่องนาวา ของนายสาฮารี่ ท่องเที่ยว เรือสี่ไถ่ชัยนาวี 8 ของ บจ.สมิหลา ดีเวลลอปเมนท์ เรือ ก.โชคดีมงคลชัย 21 ของ บจ.แมน เอ ฟิชเชอร์รี่ เรือ ก.โชคดีมงคล ของ บจ.สงขลามารีนโปรดักส์ เรือ ซี คิงส์ 2 ของ บมจ.สุราษฎร์แคนนิ่ง เรืออินโด มินา 01 ของ บจ.เมธาพัฒน์ เรือ ฮ.ลาภเจริญทรัพย์ 99 ของนายกัมปนาท อมาตยกุลเรือวาสนานาวา 17 ของนางสุภาภรณ์ ราศีวิสุทธิ์ เป็นต้น

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ได้มีประชาชน นักท่องเที่ยว รวมถึงชมรมรถยนต์ออฟโรด และผู้ที่ชื่นชอบท่องเที่ยวชมความสวยงามธรรมชาติ ต่างทยอยเดินทางปีนเขาเข้าไปท่องเที่ยวชม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ หลังจากทางอุทยานแห่งชาติภูผายล ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ได้มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ จุดชมวิวผาเป้า ภูผาแดง บนยอดเขาภูพานน้อย

อุทยานแห่งชาติภูผายล ในเขตพื้นที่ บ้านโพนงาม หมู่ 6 ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความสวยงามไม่แพ้ภูกระดึง และยังเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ ที่เคยเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มสหาย พรรคคอมมิวนิสต์ในอดีต ซึ่งมีความสวยงามที่สามารถชมวิวบนหน้าผา ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 500 เมตร สามารถมองเห็นเทือกเขาภูพาน และธรรมชาติป่าเขาที่สวยงาม ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และกาฬสินธุ์

อุทยานแห่งชาติภูผายลมีเนื้อที่รวมกว่า 5 แสนไร่ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจาก ถนนสกลนคร – อ.นาแก เข้าไปยัง ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม เข้าไปยังสถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากนั้นจะต้องเดินทางในเส้นทางปีนเขา ที่สามารถเดินทาง หรือใช้รถยนต์ออฟโรด เข้าไป ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงจุดชมวิวผาเป้า ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติภูผายล กำลังเร่งพัฒนาเส้นทาง ให้สามารถขึ้นไปท่องเที่ยวได้สะดวก

นายสมโภชน์ เที่ยงจิตต์ อายุ 52 ปี หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล อ.นาแก จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับจุดชมวิว ผาเป้า ภูผาแดง บนยอดเขาภูพานน้อย อุทยานแห่งชาติภูผายล ในเขตพื้นที่ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของ จ.นครพนม และถือว่ามีความสวยงามอันดับต้นๆ ของภาคอีสาน ไม่แพ้ภูกระดึง เพราะมีความสูง ที่สามารถมองเห็นทิวเขาภูพานน้อย ที่เชื่อมไปยัง 4 จังหวัด รวมถึงมีป่าเขาอุดมสมบูรณ์

ส่วนจุดเด่น ในช่วงเช้าบางวันที่สภาพอากาศเย็น หรือฤดูหนาว จะเกิดทะเลหมอกที่สวยงาม หาชมได้ยาก รวมถึงมีลานหินภูเขาสวยงาม เหมาะแก่การแคมปิ้ง พักผ่อน นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบว่า มีถ้ำหินหลายจุด มีน้ำตกตาดโตนที่มีความสวยงาม มีน้ำใสสะอาด และยังมีหินภูเขาธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่มีรูปร่างประแปลก อาทิ หินรูปหัวใจ หินรูขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าไปถ่ายภาพได้

โดยทางอุทยานกำลังเร่งพัฒนาสำรวจ ร่วมกับผู้นำชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรองรับประชาชน นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของ จ.นครพนม กระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ส่วนประชาชน นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม ประสานงานอำนวยความสะดวกมายัง สถานีควบคุมไฟป่าอุทยานแห่งชาติภูผายล อ.นาแก จ.นครพนม เพื่อนำท่องเที่ยว ได้ที่ โทร.08-9896-3488

การท่าเรือฯ เล็งประมูลบริหารสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 3 แห่ง ประกอบด้วย ขอนแก่น หนองคาย และสงขลา เม็ดเงินลงทุน รวม 4.53 พันล้านบาท หวังเพิ่มศักยภาพส่งสินค้าไปอาเซียน พร้อมตั้งบริษัทลูกมาบริหารทรัพย์สิน

ร.อ. สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท. จะเข้าร่วมประมูลบริหารสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่เตรียมเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล โดยเฉพาะสถานีขนส่งสินค้าตามแนวชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน จำนวน 3 แห่ง วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4.53 พันล้านบาท

สำหรับศูนย์ขนส่ง 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ขนส่งสินค้าจังหวัดขอนแก่น วงเงิน 1,351 ล้านบาท เชื่อมต่อการขนส่งทั้งระบบรางและทางถนนช่วงขอนแก่น-สระบุรี-ท่าเรือแหลมฉบัง 2. ศูนย์ขนส่งสินค้าจังหวัดหนองคาย วง

เงิน 1,220 ล้านบาท สร้างประชิดชายแดน สปป.ลาว เชื่อมต่อการค้าและเศรษฐกิจผ่านมายังหนองคาย-ท่าเรือแหลมฉบัง

และ 3. ศูนย์ขนส่งสินค้าแนวชายแดนด่านสะเดา จังหวัดสงขลา วงเงิน 1,960 ล้านบาท รองรับการรวบรวมกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านเส้นทางประเทศมาเลเซีย-ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย วงเงิน 2,369 ล้านบาท อีกด้วย

“ภายในปีนี้ กทท.จะเร่งตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำหน้าที่บริหารทรัพย์สิน เพื่อจัดทำแผนการลงทุนศูนย์ขนส่งสินค้าภูมิภาคตามเป้าหมาย เบื้องต้นสนใจทั้งรูปแบบเข้าไปร่วมลงทุนกับเอกชนและลงทุนเองทั้ง 100%”

ร.อ. สุทธินันท์ กล่าวอีกว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ต้องการให้ กทท.เข้าร่วมพัฒนาท่าเรือภูมิภาคและศูนย์ขนส่งสินค้าในจังหวัดต่างๆ กทท.จึงเตรียมนำท่าเรือภูมิภาค 3 แห่ง เปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล เพื่อบริหารหวังยกระดับกิจการขนส่งสินค้าพื้นที่ชายแดนตลอดจนพัฒนาการใช้สอยพื้นที่เชิงพาณิชย์

เนื่องจากเอกชนมีความคล่องตัวด้านแนวทางบริหารและงานบริการด้านสินค้ามากกว่าภาครัฐบาล ประกอบด้วย ท่าเรือเชียงของ ท่าเรือเชียงแสน และท่าเรือระนอง อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้หน่วยงานไปทำแผนหารายได้เพิ่มเติม คาดว่าจะได้ข้อสรุปแนวทางการเปิดให้เอกชนลงทุนภายในเดือนมิถุนายนนี้

อ.ส.ค. เปิดแผนรุกแคมเปญCSR – การตลาด จัดทำโครงการ “แบ่งฝัน ปันรักกับนมไทย-เดนมาร์ค 2017” รณรงค์เด็กไทยดื่มนมสดโคแท้ 100% เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีจากคุณค่าทางโภชนาการสูง พร้อมเดินหน้าตอกย้ำจุดแข็งการเป็นผู้นำในการใช้นมโคสดแท้100% ไม่ผสมนมผงดันแคมเปญต่อเนื่องตลอดปี 60

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
กล่าวว่า ปัจจุบันอ.ส.ค.ได้ให้ความสำคัญในรณรงค์ส่งเสริมให้เด็กไทยหันมาบริโภคนมโคสดแท้100%ไม่ผสมนมผงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กไทยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและได้ดื่มนมที่มีคุณภาพ นำไปสู่พัฒนาการที่แข็งแรงสมวัยช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคประกอบกับ อ.ส.ค. มีนโยบายในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการ “แบ่งฝันปันรักกับนมไทย-เดนมาร์ค 2017” ขึ้นภายใต้แคมเปญการรณรงค์เด็กไทยดื่มนมโคสดแท้100% ไม่ผสมนมผง เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของนมโคสดแท้ ไม่ผสมนมผงและต้องการมอบสุขภาพที่ดีให้กับเยาวชนไทย โดยจัดโครงการนำร่องที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลเด็กเป็นแห่งแรก

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนับเป็นการต่อยอดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดปี 60 ที่สำคัญของ อ.ส.ค.
ด้านการชูจุดแข็งนมโคสดจากธรรมชาติไม่ผสมนมผงหลังจากก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุด
“มิลค์บ็อก” (Milk Box) เพื่อกระตุ้นการมองหาสัญลักษณ์ “นมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง” ในช่วงต้นปี 60ที่ผ่านมา ซึ่งโฆษณาชุดดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถสร้างกระแสให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์และหันมาดื่มนมสดโค 100% อย่างกว้างขวางมากขึ้น

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวย้ำถึงประโยชน์ของการดื่มนมโคสดแท้ 100% ด้วยว่าจะผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการไม่มีการเติมแต่ง สารสังเคราะห์ใดๆ ยกเว้นการเติมสารอาหารหรือแต่งกลิ่นและสี โดยผ่านกระบวนการความร้อนตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยในน้ำนมมีสารอาหารครบ 5 หมู่จึงช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ทุกเพศทุกวัย

โดยปัจจุบันคนไทยยังดื่มนมน้อยมากต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล littlekeylime.com ซึ่งตามสัดส่วนแล้ว เด็ก (อายุ 1-12 ปี) ควรดื่มนม 3 แก้วต่อวัน แต่ถ้าเป็นวัยหนุ่มสาว (13-25 ปี) ควรดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวัยละ 2 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วทุกคนควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว ที่สำคัญการดื่มนมไม่ได้ทำให้อ้วนอย่างที่หลายๆคนเข้าใจเนื่องจากมีไขมันเพียง 3.8% ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ หรือหากใครกังวลเรื่องความอ้วนก็สามารถดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมไม่มีไขมันที่มีแคลเซียมสูงๆแทนได้

“ปัจจุบัน อ.ส.ค. เป็นผู้ผลิตนมไทย-เดนมาร์คที่ผลิตจากนมโคสดแท้ 100% โดยใช้น้ำนมโคสดจากฟาร์มเกษตรไทยในประเทศทั้งหมด มาผลิตด้วยระบบมาตรฐานที่ผ่านการรับรองในระดับสากลและถือเป็นเจ้าแรกที่ไม่ใช้นมผงทั้งนี้ การดื่มโคสดแท้ 100% นอกจากได้สารอาหารครบถ้วนที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายแล้ว ยังเป็นการช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและสานต่อโคนมอาชีพพระราชทานในประเทศให้มีอาชีพที่ยั่งยืนอีกทางหนึ่งด้วย ” ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าว

ประธานบอร์ด อคส. แง้มไอเดียพัฒนาคลังสินค้าต่างจังหวัด 3 แห่ง ต่อยอดธุรกิจชูคลังสระบุรีถอดแบบฟาร์มโชคชัย-คลังขอนแก่น เป็นศูนย์กลางสินค้ารับ เออีซี-คลังบัวใหญ่ เป็นศูนย์บริการด้านการเกษตร หลังตั้งไข่โครงการเอเชียทีค 2 คาดก่อสร้างปลายปี’60

พล.ต.ต. ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (บอร์ด อคส.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อคส.มีแผนจะพัฒนาพื้นที่คลังสินค้าในต่างจังหวัดอีก 3 แปลง เพื่อต่อยอดทำธุรกิจ โดยแห่งแรกคลังสินค้าทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ 5.97 ไร่ อยู่ระหว่างพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของเกษตรกร ภายใต้โครงการประชารัฐคล้ายกับฟาร์มโชคชัย เพื่อส่งเสริมในการจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากปัจจุบันพื้นที่นี้เปิดให้เอกชนเช่าเหมาเป็นสถานที่จอดรถบรรทุกปูนซีเมนต์

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่คลังสินค้าบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ 30.8 ไร่ อยู่ระหว่างการศึกษาพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนเป็นพื้นที่ให้บริการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เช่น ลานตาก, เครื่องนวด, เครื่องเก็บเกี่ยว คาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท และการพัฒนาที่ดินในคลังสินค้าที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ 18.25 ไร่ ให้เป็นคลังสินค้ารองรับการค้าการลงทุนในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพราะสามารถเชื่อมโยงการค้ากับ สปป.ลาว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เก็บข้าวสารของรัฐบาล ทั้งหมดนี้จะเห็นความชัดเจนหลังจากพัฒนาโครงการคลังสินค้า 1 ธนบุรี เป็นศูนย์การค้าคล้ายเอเชียทีค 2 สำเร็จแล้ว

พล.ต.ต. ไกรบุญ กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการเอเชียทีค 2 ว่า เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ทาง อคส.ได้ทำหนังสือว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาที่ดินผืนดังกล่าวแล้ว และมีกำหนดให้ที่ปรึกษาจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์การค้าในพื้นที่ธนบุรี และส่งกลับให้ อคส.ภายใน 60 วัน นับจากทำสัญญา เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด อคส. ก่อนที่จะเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ย้ำมาตรการกำจัดหนอนหัวดำ

มะพร้าวให้สิ้นซากนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาดของศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในมะพร้าวอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่ที่พบการระบาด 29 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม เพชรบุรี สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด อุดรธานี สงขลา สตูล นราธิวาส บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และปัตตานี รวมพื้นที่ดำเนินการ 78,954 ไร่

สำหรับมาตรการในการแก้ไขปัญหาศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในครั้งนี้ จะใช้วิธีการแบบผสมผสาน คือ การรณรงค์ตัดทางใบมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำทำลายแล้วนำมาเผา เพื่อทำลายแหล่งอาศัยของศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ร่วมกับการปล่อยแตนเบียนบราคอนในสวนมะพร้าวเพื่อลดปริมาณศัตรูพืชและรักษาสมดุลในธรรมชาติ

จากนั้นใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นในมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร หรือพ่นสารเคมีทางใบในมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร ซึ่งการดำเนินมาตรการต่างๆ เหล่านี้ต้องดำเนินการแบบครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างพร้อมเพรียงกันและทำอย่างต่อเนื่อง

ฉะนั้นจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สำคัญคือตัวเกษตรกร และเจ้าของที่ดินที่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูมะพร้าว นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบให้ใช้มาตรการทางกฎหมายในการประกาศเขตควบคุมพื้นที่ระบาดในกรณีที่เจ้าของไม่ยินยอมหรือมีปัญหาในการดำเนินการ เพื่อให้ภาครัฐสามารถเข้าไปจัดการกับศัตรูพืชได้

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในมะพร้าว ต้องกำจัดให้สิ้นซากเพื่อตัดวงจรและลดจำนวนประชากรศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ให้หมดไป ตามเจตนารมณ์ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า

…หนอนหัวดำต้องไม่มีที่ยืนในประเทศไทย เนื่องจากการทำลายของหนอนหัวดำ ทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลง ส่งผลถึงรายได้ของเกษตรกร และกระทบต่อเศรษฐกิจในภาครวมของประเทศด้วย ทั้งยังต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการจำนวนมาก จึงต้องจัดการให้เด็ดขาด เพื่อแก้ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างยั่งยืน…

จากเหตุการณ์สลดที่ต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่อาคารอัลม่าลิ้งค์บริเวณถนนชิดลมล้มพาดเข้าใส่สายสื่อสารทำให้เสาไฟฟ้าในบริเวณดังกล่าวล้มลงจำนวน 8 ตัน และล้มทับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รายหนึ่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา และยังมีผู้บาดเจ็บอีก 2 ราย

โดยเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ระบุว่า ต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นไม้ในตระกูลต้นไทร มีความสูง 4 เมตร และรากแก้วที่ใช้ยึดลำต้นตายทั้งรากไปจนถึงโคนต้น มีเพียงรากแขนงที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2-4 เซนติเมตร ลึกจากพื้นดิน 50-60 เซนติเมตรเท่านั้น ประกอบกับดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินเหียวปนทราย จึงอุ้มน้ำไว้เยอะ เมื่อเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน จึงมีความชื้นสูงมาก ส่งผลให้การยึดตัวของรากไม่แข็งแรง รากไม่ขยายออก เมื่อลำต้นโยกและเกิดฝนตกทำให้รากรับน้ำหนักไม่ไหวจนต้นล้มลงมา

เหตุการณ์ “ต้นไม้ล้ม” กลางเมืองนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หลายคนคงต้องเคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว แม้กระทั่งในต่างประเทศเอง ก็มักมีข่าวมาอยู่บ่อยๆ ว่าเกิดต้นไม้ล้มเข้าใส่ถนนหรือบ้านคน เนื่องจากฝนตกหนักและลมแรง จนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต

อย่างเช่นเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ชาวเทลฟอร์ด อังกฤษ กว่า 900 หลังคาเรือนต้องไม่มีไฟฟ้าใช้ไปชั่วขณะ เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มและพาดไปโดนสายไฟฟ้า ทำให้การไฟฟ้าต้องระงับการจ่ายไฟเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งถึงแม้จะโชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่รถและบ้านเรือนที่อยู่บริเวณนั้นก็ยังได้รับความเสียหายไปด้วย

ประเด็นดังกล่าวเป็นที่พูดถึงไปทั่วโดยเฉพาะเรื่องของการปลูกต้นไม้ในเมืองว่าจะทำอย่างไรให้ไม่ล้มและสามารถอยู่ไปได้อย่างยาวนานโดยบทความจากต่างประเทศพูดถึงการปลูกต้นไม้นิมถนนไว้ว่า”น่าเสียดายที่ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ริมถนนนั้นถูกปลูกในพื้นที่จำกัดของการแผ่ขยายของรากทำให้พวกมันมักจะมีสุขภาพดีน้อยกว่าต้นไม้ที่ปลูกในภูมิทัศน์อื่นๆเนื่องจากความเครียดด้านสิ่งแวดล้อม (อย่างเช่น ปริมาณดินน้อย, ดินคุณภาพต่ำ เป็นต้น) ซึ่งทำให้รากไม่สามารถแพร่กระจายได้อย่างสมดุล จนนำไปสู่การสูญเสียรากและต้นไม้ล้มในที่สุด”

คราวนี้เราลองมาดูคำแนะนำจากต่างประเทศสำหรับการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน,ถนน,ทางเดินแบบไม่ให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุ

เริ่มต้นจากบริเวณของสถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆที่แต่ละบริเวณก็จะมีลักษณะของดินแตกต่างกันออกไปดังนั้นในการปลูกต้นไม้อาจจะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือรุกขกรก่อนว่าต้นไม้ดังกล่าวเหมาะสมกับดินที่จะปลูกหรือไม่ หรือมีรูปทรงอย่างไรเมื่อมีขนาดใหญ่ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ “ราก” เพราะเรียกได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของต้นไม้ รากมีหน้าที่ในการดูดน้ำและสารอาหาร และสำหรับ “รากแก้ว” แล้ว จะเกิดขึ้นเมื่อเมล็ดงอก ทอดลงดิน และช่วยยึดให้ต้นอ่อนตั้งอยู่ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่รากอื่นๆ จะแตกออกมาภายหลัง ซึ่งเมื่อต้นไม้เริ่มโตขึ้น รากก็เริ่มแผ่ออกด้านข้าง ส่วนความลึกนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในดิน และส่วนประกอบของดิน รากที่แผ่ออกไปด้านข้างจึงเข้ามามีบทบาทในการยึดเกาะดินไม่ให้ต้นไม้ล้ม

โดยในบทความจากต่างประเทศได้แนะนำวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ระบบรากสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างหรือเป็นแนวปลอดภัยของการปลูกต้นไม้ให้ต้นไม้มีสุขภาพดีเรียกว่า “โซนป้องกันราก” Protected RootZone (PRZ) หนึ่งในวิธีที่เป็นที่รู้กันดีคือการแผ่กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ซึ่งบริเวณที่โซนป้องกันราก ก็คือแนวกิ่งก้านสาขาที่แผ่ออกไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม รากบางส่วนก็ยังยาวออกไปมากกว่ากิ่งที่ยาวที่สุดเสียอีก ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีขยายพื้นที่โซนป้องกันรากออกไปอีก ด้วยการคำนวณโซนป้องกันรากจากค่า critical root radius โดยคูณเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นที่ความสูงระดับอก (ในหน่วยนิ้ว) เข้ากับ 1 หรือ 1.5 (ใช้ 1.5 เมื่อเป็นต้นไม้แก่มาก หรือต้นไม้ป่วย) นำผลลัพธ์ที่ได้คูณสอง ก็จะออกมาเป็นระยะของโซนป้องกันราก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลต้นไม้ขนาดใหญ่ให้อยู่ไปได้นานๆเท่านั้นแต่ยังมีวิธีอื่นๆที่จะช่วยดูแลต้นไม้ใหญ่เหล่านี้จึงขึ้นอยู่กับผู้ปลูกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ควรจะต้องหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียขึ้นอีก

ธนาคารกลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1 ขยายตัว 5.6% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออก รวมทั้งการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่แข็งแกร่งขึ้น

พบแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใหม่ “คลองบ้านด่านโลด” จัดว่าเป็นเพชรเม็ดงาม ปราศจากการเจียระไน เนรมิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์เชิงนิเวศ ลำคลองสัตว์น้ำสมบูรณ์ 2 ฝั่งคลองมีพืชผักกินได้ มีต้นไม้หายาก เรียงรายด้วย มัสยิด วัด จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวฮาลาล พร้อมศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

คุณทวีศักดิ์ ทักษิณาวานิชย์ อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลควนเสาธง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ในฐานะประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติบ้านด่านโลด ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า กลุ่มเยาวชนจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติขึ้น และศึกษาแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางน้ำคลองสายบ้านด่านโลด หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์จากต้นน้ำเทือกเขาบรรทัด เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

คลองบ้านด่านโลด มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ต้นทางจากบริเวณบ้านควนอินนอโม หมู่ที่ 7 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด สุดปลายน้ำที่บ้านแม่ขรี ตำบลแม่ขรี มีความกว้าง 60 เมตร น้ำลึกประมาณ 1-2 เมตร มีน้ำไหลและลึกตลอดทั้งปี จึงมีการศึกษาค้นหา และได้จัดตั้งขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางน้ำ ทั้งฝั่งคลองมีต้นไม้หายาก เช่น ต้นคล้าย หรือดอกซากุระเมืองไทย ยามออกดอกงดงามอย่างยิ่ง ต้นจิก ต้นข่อย และกล้วยไม้ ฯลฯ และยังมีพืชผักเป็นอาหารสวนครัว เช่น ผักกูด ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีสัตว์น้ำที่สมบูรณ์ กุ้ง หอย ปู ปลา เช่น ปลากด ปลาโสด ปลาหลวน และกุ้งก้ามกราม ล้วนแต่เป็นสัตว์น้ำราคาสูง มีราคาตามฤดูกาล

คุณทวีศักดิ์ เล่าอีกว่า ทางชมรมได้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและอนุรักษ์ไว้ พร้อมไว้ศึกษาเรียนรู้ โดยได้จัดเรือแคนนูไว้รองรับ ประมาณ 20 ลำ ไว้บริการ ซึ่งล่องแก่งผ่านชุมชนบ้านด่านโลด บ้านทุ่งเหรียง บ้านควนปาบ จรดปลายทางที่บ้านแม่ขรี ระหว่างริมคลองมีมัสยิดและวัด สามารถทำพิธีทางศสานาได้

“ยังมีศูนย์เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ทางด้านประมง ปศุสัตว์ และการเกษตร เช่น กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงวัวพื้นบ้าน โคขุน และวัวชน กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มปลูกผัก สวนผลไม้ และสวนยาง กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองปด กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง สายใยรักแห่งครอบครัว” คุณทวีศักดิ์ กล่าว

คลองบ้านด่านโลด อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม ถนนยาวหลักที่การคมนาคมผ่านสู่ทุกจุดทั่วประเทศไทย ห่างจากถนนประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 30 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมือง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประมาณ 50 กิโลเมตร ส่วนสถานที่พักมีความพร้อม ทั้งโฮมสเตย์ รีสอร์ต โรงแรม ทั้งของประชาชน และในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ทั้งนี้ ยังความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงศาสนา วัฒนธรรม 2 ศาสนา มีมัสยิดและวัด สามารถทำพิธีทางศาสนาได้ สำหรับชาวมุสลิมมีความพร้อมที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวฮาลาล ความพร้อมของอาหารทั้งอาหารพื้นบ้าน ความพร้อมเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

“คลองบ้านด่านโลด เป็นเพชรเม็ดงาม ที่ปราศจากการเจียระไน ขณะอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และอนุรักษ์ เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ การทำมาหากิน ทั้งด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ของกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเป็นจำนวนมาก ให้การตอบรับเกินความคาดหมาย แต่ทางชมรมจะทยอยดำเนินการอย่างรอบคอบมั่งคงและยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์สืบทอดกันไปถึงคนรุ่นหลัง แนวโน้มเมื่อเกิดความเข้มแข็ง ความพร้อม ที่จะสามารถรับและบริการนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ที่สามารถบริการ เช่น อาหารพื้นบ้าน โฮมสเตย์ รีสอร์ต สินค้าพื้นเมือง พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ จะก่อให้เกิดแรงงานและรายได้เข้าสู่ชุมชนและจังหวัด” คุณทวีศักดิ์ กล่าวในที่สุด

ยังคง…แชร์วนไป และเวียนกลับมาให้อ่านกันอยู่ทุกปี

ประเด็นที่อยู่ในตำนานของการแชร์มั่ว คือ “มะนาวโซดา” ที่ยิ่งส่งต่อเท่าไหร่ก็ยิ่งมีอิทธิฤทธิ์มากขึ้นเท่านั้น กล่าวอ้างกันว่าสามารถ “ฆ่าเซลล์มะเร็ง” ได้ผลดีกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า ไม่มีผลข้างเคียงอีกต่างหาก

และยังมโนต่อไปถึงขนาดบอกว่า ความวิเศษนี้ถูกปิดลับจากหน่วยงานระดับชาติเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน อาจทำให้บริษัทยาสูญเสียรายได้มหาศาล นอกจากยังมีการอวดอ้างว่า กรดซิตริกและโพลีฟีนในน้ำมะนาวช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดดำ ปรับสมดุลของการหมุนเวียนของเลือด

แม้กระทั่ง มะนาวเมื่อมาผนึกกำลังกับเกลือ ใช้ถูหน้าผาก ยังบันดาลให้โรคไมเกรนบรรเทาเบาบางลงได้อีก

เป็นความเชื่อผิดๆ ที่มีการแชร์ไปโดยที่ไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

ล่าสุดไม่เพียงการขยายแนวร่วมเข้าไปกระจายกันอยู่ในไลน์กลุ่มผู้สูงอายุ ความมหัศจรรย์ของมะนาวในการรักษาสารพัดโรคยังระบาดข้ามฝั่งโขงไปยังประเทศลาว

ทำไม “มะนาว” จึงกลายเป็นพืชวิเศษ สามารถดลบันดาลให้โรคร้ายของคนพอศอนี้หายได้ราวกับเนรมิต ผศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ รองผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมะนาวโซดารักษาโรคมะเร็งได้ มาจากการจับแพะชนแกะ โดยก่อนหน้านี้มีงานวิจัยจากต่างประเทศพูดถึง “เบคกิ้งโซดา” หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ใช้รักษาคนไข้มะเร็งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน คือการทำคีโม

“โซเดียมไบคาร์บอเนต ไม่ได้ช่วยให้หายจากมะเร็งแต่อย่างใด”

ผศ.ดร.เอกราช บอกและอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าจะมีงานวิจัยกล่าวถึงสภาวะความเป็นด่างทำให้ขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง แต่การหยิบเอามะนาว ซึ่งมีฤทธิ์ในการปรับสมดุลร่างกายให้เป็นด่างนั้น เมื่อนำมาผสมกับโซดา ที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไม่ได้ทำให้เกิดสภาวะด่าง และไม่ได้ช่วยรักษามะเร็ง

“มะนาว ถ้าใช้ปกติ เช่น ผสมน้ำอุ่น-ดื่ม เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีวิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ฯลฯ แต่ถ้าดื่มเพียวๆ ไม่แนะนำ เพราะมีความเป็นกรดสูง ยิ่งถ้าทำเป็นประจำจะทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือเป็นกรดไหลย้อน เป็นอันตรายได้”

ส่วนในกรณีที่นำมะนาวและเกลือถูหน้าผากบรรเทาอาการปวดไมเกรนนั้น รอง ผอ.สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล อมยิ้มแล้วอธิบายว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ไมเกรนเป็นเรื่องของความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ถ้าถูๆ แล้วได้กลิ่นหอมจากมะนาวแล้วคลายเครียดก็พอเป็นได้

“เวลารับข่าวสารควรเช็กความถูกต้องก่อนแชร์ เพราะจากความปรารถนาดีอาจให้ผลร้ายตามมา เช่น กรณีที่มีการแชร์กันว่า ดื่มน้ำมะนาวมากๆ ทำให้กระเพาะอาหารเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด ก็ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะในกระเพาะอาหารมีเยื่อเมือกที่ป้องกันความเป็นกรดได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าดื่มอย่างเข้มข้นทุกวันอาจเกิดการระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้กระเพาะทะลุ”

และว่า ประเด็นชวนเชื่อเช่นนี้มีเข้ามาเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 2 เรื่อง เป็นเรื่องที่แชร์กันโดยไม่มีการตรวจสอบ บ้างมีการแปลงสาร จึงอยากให้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความพินิจพิจารณา

ให้ความรู้ต้นทาง ลดเหยื่อโซเชียล

จากนักวิชาการ มาฟังความเห็นของผู้ที่เป็นหนึ่งแรงในการขับเคลื่อนให้มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างลุ่มลึก สร้างเป็นหลักสูตรสอนในสถาบันการศึกษา รวมทั้งผลักดันให้เกิดเภสัชกรทางด้านสมุนไพร เพื่อให้ความรู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรในทางการรักษาและดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง รศ. (พิเศษ) กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ที่ปรึกษาสภาเภสัชกรรม ซึ่งรับผิดชอบการพัฒนาสมรรถนะของเภสัชกรในด้านสมุนไพร ให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจุบันด้วยโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญ มีการโฆษณาชวนเชื่อมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุนไพร การสร้างองค์ความรู้ด้านสมุนไพรที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็น

“จริงๆ เกี่ยวกับสมุนไพรเรามีภูมิปัญญาอยู่แล้วว่าใช้รักษาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่หลายตัวยังไม่มีการพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงแค่ไหน และถ้าจะให้ได้ผลต้องใช้ในปริมาณเท่าไร ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะสามารถนำความรู้นี้ไปเผยแพร่ได้ เราจึงอยากให้มีเภสัชกรเพื่อพัฒนาตำรับเหล่านี้ในการใช้อย่างมีคุณภาพ” ด้วยเหตุนี้เมื่อ มูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เปิดให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านเภสัชกรรม เพื่อสืบสานปณิธานต่อจากอาจารย์เกษม ผู้ได้สร้างคุณูปการต่อวิชาชีพเภสัชศาสตร์ ทางสภาเภสัชกรรมจึงเสนอขอรับการสนับสนุนโครงการงานประชุมวิชาการด้านสมุนไพร 1 ทุน จำนวน 200,000 บาท (จากทั้งหมดที่มีการมอบทุนในปีนี้รวม 6 ทุน)

“ทุนที่ได้เรานำไปอบรมเภสัชกรที่ทำงานอยู่ ซึ่งหลายคนทำงานอยู่ในโรงพยาบาลก็ทำเรื่องสมุนไพรเพื่อจะนำมาพัฒนาในเชิงองค์ความรู้ให้ชัดเจน เพราะตอนนี้สิ่งสำคัญคือ แพทย์ทั่วไปก็ยังไม่ค่อยให้ความสนใจด้านสมุนไพร การใช้สมุนไพรจึงไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร ซึ่งถ้าเภสัชกรมีความรู้จะได้ไปกระตุ้นแพทย์ แล้วทำงานร่วมกันสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มาทดแทนยาแผนปัจจุบันได้บ้าง” รศ. (พิเศษ) กิตติ บอกและว่า

แม้ว่าปัจจุบันจะมีสมุนไพรที่ได้รับการจดทะเบียนอยู่ในบัญชียาหลักมากกว่า 20 ชนิด แต่พูดถึงการศึกษาวิจัยสมุนไพรโดยตรง ยังไม่มี ทางด้านเภสัชศาสตร์เกี่ยวข้องอยู่บ้าง แต่ประเมินแล้วยังไม่เพียงพอ เพราะมีทั้งที่เป็นแผนโบราณ และส่วนที่เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบัน เราจึงคิดว่าจะต้องสร้าง “เภสัชกร” ขึ้นมาช่วยดูแล เพื่อพัฒนาส่วนที่เป็นแผนปัจจุบันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

“ปัจจุบันมีเภสัชกรที่ดูแลตรงนี้ แต่เรายังไม่มีที่ศึกษาด้านสมุนไพรเพื่อมารองรับโดยตรง เป็นการศึกษาเพิ่มเติมเหมือนโรงพยาบาลอภัยภูเบศรที่ศึกษาไปเรื่อยๆ เราต้องการสร้างเภสัชกรด้านสมุนไพรเพื่อเป็นมาตรฐานของคนที่สนใจด้านสมุนไพร โดยสร้างเป็นหลักสูตร เราต้องการในเรื่องของการพัฒนาเชิงนวัตกรรมของยาใหม่ๆ”

สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือเอาสมุนไพรมาทดแทนแผนปัจจุบัน เอาไปรักษาเอาไปดูแลผู้ป่วย ในสถาบันการศึกษาก็เป็นเรื่องของการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างองค์ความรู้สำหรับใช้อบรมที่โรงพยาบาล อบรมเภสัชกรที่เกี่ยวข้องที่ทำงานในโรงพยาบาล ซึ่งเราอบรมมา 2 หลักสูตรแล้ว รวมทั้งเภสัชสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ต้องดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย เพราะตอนนั้นสมุนไพรก็มีเรื่องของการโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก

จากทางเลือก สู่ทางรอด

รศ. (พิเศษ) กิตติ บอกอีกว่า ถ้าให้ประเมินการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ยอมรับว่ามีไม่มาก

แม้เรามีตัวยาหลายตัวที่ชัดเจน แต่ยังไม่มีการสรุปอะไรชัดเจน อย่าง ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ การใช้ยังไม่ชัดเจน เพราะบางทีแพทย์ยังไม่เข้าใจก็ยังไม่กล้าสั่งใช้ แพทย์แผนไทยก็มีน้อยมาก

การที่มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพราะเป็นพืชจากธรรมชาติ อันตรายน้อยกว่าสารเคมี และไม่มีผลข้างเคียง อย่าง ขมิ้นชัน แทนยาลดกรดได้ ฟ้าทะลายโจร ใช้เวลาเป็นหวัดเมื่อเราต้องใช้ยาแอนตี้ไบโอติก ไม่ทำให้เชื้อดื้อยา ฯลฯ

และที่น่าสนใจคือ สมุนไพรหลายชนิดช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่เสียหาย แต่ยาแผนปัจจุบันแค่รักษา อย่างยาฆ่ามะเร็งก็แค่ทำลายเซลล์ แต่สมุนไพรทำให้เซลล์ดีขึ้นได้

“ถ้าเราทำเอง เราลดการนำเข้าซึ่งปัจจุบันนำเข้ายาแผนปัจจุบันประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้าล้วนๆ แม้เราบอกว่าเรามีโรงงานผลิต แต่เอาก็นำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด แต่ถ้าสมุนไพร เราผลิตในบ้านเราเอง ถ้าเราทำได้เอง ก็ช่วยลดการนำเข้าได้แน่นอน แต่อยู่ที่ว่าเราจะทำได้มากแค่ไหน”

หลายโรงพยาบาลก็มีการปลูกสมุนไพรอยู่แล้ว เพราะอย่างกรมการแพทย์สมุนไพร ก็มีนโยบายให้ทั่วประเทศมีโรงพยาบาลผลิตสมุนไพรเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลอื่น มี 40-50 แห่ง ซึ่งเภสัชกรก็เข้าไปช่วยดู ช่วยกระตุ้นชาวบ้านให้ปลูก รวมทั้งควบคุมคุณภาพให้ชัดเจน

“ตอนนี้เรากำลังทำมาตรฐาน เพราะสมุนไพรมีปัญหาประการหนึ่งคือ สมุนไพรชนิดเดียวกัน ถ้าปลูกคนละที่ จะได้สารสมุนไพรที่ต่างกัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังจะวางมาตรฐานว่าการปลูกจะต้องมีสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพ” ที่ปรึกษาสภาเภสัชกรรม บอกและว่า สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดข้อมูลด้านสมุนไพร สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกรมแพทย์แผนไทย หรือศูนย์ข้อมูลสมุนไพร ม.มหิดล ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะมีการเชื่อมข้อมูลข่าวสารเป็นเครือข่ายเดียวกัน

มอบทุนด้านเภสัชศาสตร์
สานปณิธาน’อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์’

อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ อดีตนายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันคนแรก

เป็นเภสัชกรไทยคนแรกที่สำเร็จปริญญาโทเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศ

ในปี 2479 รับเชิญจากขุนเภสัชการโกวิท shareitforpcfreedownloads.com ให้ช่วยสอนนิสิตเภสัชฯ แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นเป็นห้องเล็กๆ 2 ห้องอยู่ติดกับห้องผสมยาและจ่ายยาของโรงพยาบาลศิริราช มีนิสิตเพียง 4 คน

เพื่อให้นิสิตมีสถานที่ฝึกงาน และเภสัชกรก็เป็นมืออาชีพในการผลิตยาที่เป็นอุตสาหกรรมแผนปัจจุบัน จึงตกลงใจร่วมทุนกับบริษัท เมิร์ค ชาร์พ แอนด์ โดห์ม แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทยาแห่งแรกที่ได้รับบีโอไอ และเป็นโรงงานแรกที่เมิร์คฯ ร่วมก่อตั้งในเอเชีย เมื่อปี 2502

10 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีบริษัทยาเกิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง แต่ทำอย่างไรจะให้อุตสาหกรรมยาเข้มแข็ง จึงร่วมกับ พิชัย รัตตกุล ก่อตั้งสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันมองว่าเภสัชกรยังไม่เป็นที่รู้จักมากในวงการสาธารณสุข จึงมีความคิดว่าควรขยายบทบาทของเภสัชกร โดยเป็นกรรมการในมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ นพ.ประสพ รัตนากร

เป็นอุปนายกสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งขณะนั้นมีอุบัติการของวัณโรคดื้อยา รวมทั้งเป็นคนริเริ่มเรื่องการอบรมให้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการเภสัชศาสตร์ อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เสียชีวิตเมื่อ 2519

40 ปีให้หลัง ชัยพงษ์ ปังศรีวงศ์ บุตรชาย จึงมีดำริก่อตั้งมูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เพื่่อสืบสานปณิธาน สนับสนุนโครงการด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา งานประชุมวิชาการระดับประเทศ ทุนการศึกษา ทุนอบรมระยะสั้นในต่างประเทศ ทุนเชิญอาจารย์เภสัชศาสตร์จากต่างประเทศมาอบรมให้ความรู้ และทุนวิจัยพัฒนา ภายใต้เงินกองทุนทั้งสิ้น 100,000,000 บาท ในระยะเวา 20 ปี
ที่มา : ประชาชื่น มติชนรายวัน ผู้เขียน : พนิดา สงวนเสรีวานิช ระดมสมองภาครัฐดันแผนน้ำ 20 ปี ต้องเร่งแก้การบุกรุกลำน้ำและสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมให้เสร็จภายในกลางปีนี้ “สมเกียรติ” เผยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างมีปัญหามากที่สุด มีสิ่งกีดขวางปลูกสร้างรุกล้ำทางน้ำ 8,442 แห่ง และสาธารณูปโภค 221 แห่ง ชี้ต้องใช้ “ปทุมธานีโมเดล” ย้ายออก 50% ภายในปี 2564

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำและการบูรณาการแผนดำเนินการสิ่งกีดขวางทางน้ำว่า ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานมีแผนบริหารจัดการน้ำ แต่เนื่องจากแผนยังไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ 20 ปีขึ้น กระทรวงเกษตรฯจึงต้องทบทวนแผนบริหารฯ 12 ปีของกรมชลประทานใหม่ทั้งหมด โดยให้มีแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำรวมอยู่ด้วย โดยสิ่งกีดขวางทางน้ำสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.การบุกรุก และ 2.ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง ในกรณีผู้บุกรุกที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัยชุมชนนั้น จะต้องหารือ

กรมการค้าภายในยังจัดงานจำหน่ายข้าวสารและสินค้าอุปโภค

ขึ้น ระหว่างวันที่ 16-19 พฤษภาคมนี้ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชั้น 3 กระทรวงพาณิชย์ โดยภายในงานจะมีการจำหน่ายข้าวสาร และสินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้ผลิตโดยตรง และให้เกษตรกรนำผลผลิตคุณภาพดีมาจำหน่าย เช่น ผลไม้ไทย ทุเรียน ลิ้นจี่ มังคุด

ท่องเที่ยวเปิด 4 ยุทธศาสตร์รับท่องเที่ยวโต ทั้งดึงการลงทุน พัฒนาแรงงาน แก้ปัญหาอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม จับมือเพื่อนบ้านเชื่อมโยงเส้นทางช่วยดันรายได้

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมแผนยุทธศาสตร์รองรับการท่องเที่ยวระยะยาวที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายเติบโตเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 2.5% เพราะรายได้จากภาคการท่องเที่ยวไทยขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ หากตั้งเป้าหมายเติบโตสูงมากคงไม่ได้ เนื่องจากต้องบริหารความเสี่ยงไปพร้อมกัน โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย 1. แผนภาคการลงทุน โดยเตรียมโรดโชว์ดึงนักลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว เช่น พัฒนาท่าเรือสำราญ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงพื้นที่อื่นๆ

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า โดยกระทรวงจะผลักดันการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลสร้างไทยเป็น Thailand Plus One และเป็นฐานสำคัญในเข้าสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งมีผู้บริโภคกว่า 620 ล้านคน รวมถึงยกระดับภูมิภาคนี้เป็น Single Tourist Destination จุดหมายปลายทางเดียวกัน โดยคาดว่าปีนี้จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่อาเซียนได้กว่า 121 ล้านคน และสร้างรายได้กว่า 29 ล้านล้านบาท 2. จะสร้างแรงงานคุณภาพรองรับการเติบโตโดยเร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาแรงงานภาคบริการยังขาดแคลน เพื่อให้สอดคล้องเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการคัดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมาเที่ยวไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความถี่ในการมาเที่ยวซ้ำมากขึ้น แต่ละครั้งที่มาอยู่นานขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้น

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า 3. เร่งหาทางแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้สถิติการเกิดปัญหาลดลง รวมถึงแนวทางป้องกัน ซึ่งจะมีรูปแบบวิธีใหม่ๆ เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาระบบคมนาคมขนส่งที่ยังไม่เพียงพอ และกระจายไปยังแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เหล่านี้ต่างต้องเร่งเดินหน้า ทั้งแผนการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และกระจายไปยังแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ การพัฒนาระบบขนส่งทั้งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ

“จะต้องมองทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว ต้องทำงานแบบบูรณาการเร่งหาทางออกให้เร็วที่สุด ซึ่งหากมีแผนบริหารจัดการที่ดีจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา เพราะในอนาคต 10 ปีข้างหน้าไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 60 ล้านคน อย่างที่สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) คาดการณ์ไว้ ดังนั้น หากวางระบบรองรับไว้ดีก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะอย่างฝรั่งเศสทั้งประเทศมีประชากร ราว 60 ล้านคน แต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวแต่ละปีมากถึง 70-80 ล้านคน มากกว่าประชากรทั้งประเทศเขายังทำได้” นางกอบกาญจน์ กล่าว

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่ 4 คือ การร่วมมือกับอาเซียนผลักดันรายได้ทั้งภูมิภาค โดยอาศัยความได้เปรียบที่ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบินของอาเซียน และย้อนมองไปว่า หากเพื่อนบ้านมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากเท่าใด ไทยเองก็จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น เพราะอย่างน้อยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวอาเซียนก็จะแวะมาเที่ยวไทย ทั้งความตั้งใจโดยตรง หรืออาจจะมาเปลี่ยนเครื่องและแวะเที่ยวไทยด้วยก็ตาม การทำตลาดแบบเชื่อมโยงเส้นทางจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากเร่งทำการตลาดแบบบูรณาการได้มากเท่าใดก็จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ทั้งต่อไทยเองและเพื่อนบ้าน

บึงกาฬฝนแรกทำเห็ดเผาะราคาพุ่งกิโลละ 500 บาท

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้เห็ดป่าหลากหลายชนิดเริ่มออก ชาวบ้านจึงเข้าป่าเพื่อหาเห็ดมาจำหน่าย เนื่องจากเห็ดป่าที่ออกในช่วงฝนแรกจะมีรสชาติอร่อย อ่อนนุ่ม ประกอบกับช่วงต้นฤดู เห็ดยังหายาก ทำให้ราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ “เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ” ซึ่งถือว่าเป็นเห็ดที่อร่อยและราคาแพงที่สุด สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี

ซึ่งในเช้าวันนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงฝนที่เริ่มต้นปีนี้มีชาวบ้านใน จ.บึงกาฬ เริ่มออกหาของป่ามาวางจำหน่ายตามตลาดสดต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บริเวณตลาดนัดไทย-ลาว ในตำบลบึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ได้มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งชาวไทยและชาว สปป.ลาว นำ “เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ” มาขายกันอย่างคึกคัก ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงต้นฤดูกาลทำให้เห็ดเผาะท้องถิ่นมีราคาสูงมากถึงขีดละ 50 บาท หรือกิโลกรัมละ 500 บาท สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี ส่วนที่เหลือก็นำกับไปเป็นอาหาร

สำหรับเห็นเผาะ หรือเห็ดถอบ ลักษณะเด่นของเห็ดเผาะคือ สีขาว เปลือกบาง กรุบกรอบ ไม่เหนียว เป็นเห็ดลูกกลม ๆ ขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีลำต้น ไม่มีราก ทำให้มีราคาสูงกว่าเห็ดป่าชนิดอื่นๆขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ พบมากในภาคเหนือและอีสาน ออกมาช่วงอากาศร้อนอบอ้าวก่อนฝนตก นิยมทำอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงกับหน่อไม้ ต้มยำ และเมนูอื่น ๆ อีกมากมาย

ชาวนาอุตรดิตถ์ น้ำตาไหล หลังน้ำท่วมนาข้าวรอบ 6 ปีเสียหายหลายพันไร่

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นายศมณัฏฐ์ สุขก้อน ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเมืองตรอน อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ออกสำรวจความเสียหายในนาข้าวของตัวเองราว 60 ไร่ บ้านใหม่เยาวชน หมู่ 5 ต.วังแดง อ.ตรอน พบว่าข้าวที่กำลังสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 5 วัน ถูกน้ำท่วมหลากตั้งแต่ช่วงสายๆ วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา และน้ำจะท่วมขังเช่นนี้ไปอีกราว 7 วัน นอกจากนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าวอายุข้าวเท่ากันในพื้นที่ 5 ตำบลคือ ต.วังแดง ต.น้ำอ่าง ต.บ้านแก่ง ต.หาดสองแคว และ ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน อีกหลายพันไร่ก็ถูกน้ำท่วมหลากและเน่าเสียหายเช่นเดียวกัน ชาวนาหลายคนถึงกับร้องไห้ที่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ทัน หลายคนเอาแต่นั่งดูและปลงกับการสูญเสียครั้งนี้

“ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านใน 5 ตำบลเร่งทำการสำรวจนาข้าว เพื่อเร่งส่งรายงานไปยัง อ.ตรอน และยังไม่ทราบว่า จะไปร้องขอเงินชดเชยความเสียหายจากหน่วยงานใด และยังไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่ เนื่องจากต้นทุนการเพาะปลูกข้าวไร่ละราว 4,000 บาทหากไม่ได้รับการชดเชยก็คงต้องยอมสูญไป หากอีก 7 วัน ระดับน้ำลดลงสู่ภาวะปกติก็คงต้องเริ่มทำการเพาะปลูกใหม่ หากไม่ทำก็ไม่รู้ว่าจะมีรายได้จากการทำอาชีพอะไร อย่างไรก็ตามน้ำที่ท่วมนาข้าวครั้งนี้ถือว่าหนักสุดรอบ 6 ปี สาเหตุเนื่องจากน้ำที่มาจาก อ.ลับแลและ อ.เมืองอุตรดิตถ์ มีปริมาณมาก ไหลมารวมกันที่ทุ่ง 3 ขา อ.ตรอนซึ่งรอบทุ่งมีการเพาะปลูกข้าวกันมาก น้ำระบายออกไม่ทันจึงเกิดท่วมขังในนาข้าวเสียหายดังกล่าว” นายศมณัฏฐ์ กล่าว

กว่า 2 เดือนกับการแข่งขัน “ My Little Farm ปฏิบัติการค้นหาสุดยอดเด็กไทยหัวใจเกษตร ปี 8” ภายใต้แนวคิด “คิดจริง ทำจริง บนพื้นที่จริง และได้ผลผลิตจริง” เพื่อสร้างความรู้ทางการเกษตรอย่างครบวงจร สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันแก่เยาวชนรุ่นใหม่ๆ ของไทย ล่าสุดก็ได้ผู้ชนะของปีนี้นั่นก็คือ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครองได้สำเร็จ

โดยปฏิบัติการบนพื้นที่จริง ในพื้นที่ 1 ไร่ ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมจะได้รับเมล็ดพันธุ์นำไปเพาะปลูกตามที่แต่ละทีมวางแผนในการปลูกพืชการเกษตร อาทิ ผักบุ้งจีน ผักชี แตงกวา เป็นต้น ภายในระยะเวลา 60 วัน คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ดร.สุพจน์ กาเซ็ม รองหัวหน้าภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , ดร.ปกรณ์ สุจเร ที่ปรึกษาด้านวิชาการ บริษัท ฟาร์ม แชนเนล (ประเทศไทย) จำกัด และคุณสมเกียรติ วิจิตรประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนายุวเกษตร ได้ให้คำแนะนำและวิธีการแก้ไขให้กับน้องๆ ทั้ง 9 ทีมตลอดทั้งการแข่งขัน โดยเกณฑ์การตัดสินแบ่งเป็น คะแนนตรวจแปลง 40% , คะแนนโหวตจากผู้ชมทางบ้าน 20% , คะแนนบัญชี 25% และคะแนนการตอบปัญหาในรอบสุดท้าย 15% ซึ่งในพิธีปิดการแข่งขัน คุณสุรศักดิ์ ซิมตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์ม แชนเนล (ประเทศไทย) จำกัด ประธานในพิธีปิดการแข่งขัน โดยทีมชนะได้แก่

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน โดยตัวแทนขึ้นรับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทั้งรับใบประกาศนียบัตรจาก ผศ.ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว รองคณบดีคณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณสุรศักดิ์ ซิมตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์ม แชนเนล (ประเทศไทย) จำกัด มอบเงินรางวัลชนะเลิศมูลค่า 100,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับเกียรติจากคุณศศิกร ฉันท์เศรษฐ์ ประธานบริหารสายธุรกิจรายการโทรทัศน์ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มอบโล่ห์รางวัล และใบประกาศนียบัตร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนเขาน้อยวิทยาคม จังหวัดตราด คุณชาญยุทธ์ ภานุทัตผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ผู้แทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้มอบโล่ห์รางวัล และใบประกาศนียบัตร
ในการนี้ คุณเกตแก้ว พูนวงศ์ ผู้บริหารทีมกลุ่มงานโฆษณาธุรกิจ สำนักสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ ตัวแทนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขันครั้งนี้ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาแก่ทีมที่ชนะเลิศ พร้อมรองชนะเลิศอันดับ 1และ 2 อีกด้วย

หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นสัญญาณในการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกปีการผลิต 60/61 ความสำคัญพระราชพิธีทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา สำหรับปีนี้ผลพยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี นอกจากพระราชพิธีดังกล่าวแล้ว ยังยึดประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยุเป็นในการเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดน้ำเพาะปลูกอีกทางหนึ่งด้วย

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2560/61 กระทรวงเกษตรฯได้พร้อมตั้งแต่จะถึงฤดูการผลิต โดยเน้นนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ ด้านการเกษตรมาใช้เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ลดแรงงาน ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงการผลิตมากขึ้น ประกอบด้วย 4 มาตรการหลัก ได้แก่ 1. การเตรียมความพร้อมองค์ความรู้เพื่อวางแผนการผลิต ได้แก่ การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day) การให้ความรู้และบริการทางการผลิต การบริหารการตลาด ความรู้เรื่องแหล่งเงินทุนและการทำบัญชี และการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเป้าหมายการจัดงาน Field Day คือให้ ศพก. หลัก หรือ ศพก. เครือข่าย จำนวน 882 ศูนย์ ดำเนินการ โดยให้พิจารณาเลือกชนิดสินค้าให้สอดคล้องกับสินค้าแปลงใหญ่ ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น ผัก/สมุนไพร ไม้ผล หม่อน กล้วยไม้ ปศุสัตว์ และประมง เป็นลำดับแรก

การเข้าถึงปัจจัยการผลิต โดยขณะนี้กรมการข้าวได้เตรียมข้าวเมล็ดพันธุ์ดีไว้แล้ว จำนวน 420,200 ตัน ในทุกศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว รวมทั้งศูนย์ข้าวชุมชน โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สปก. เป็นผู้ประสานงาน และมีพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ต้นพันธุ์อ้อยสะอาด 736,000 ต้น และถั่วเหลือง/ถั่วเขียว/ถั่วลิสง ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืช โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดูแล อีกทั้งมีเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 100,000 กก. และท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 5,000,000 กก.
นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งมีสารปรับปรุงอยู่ประมาณ 44,000 ตัน การทำปุ๋ยอินทรีย์ 223,419 ตัน การไถกลบตอซัง 535,262 ไร่ การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และให้สหกรณ์ที่มีความพร้อมจำหน่ายปุ๋ย 181 แห่ง การควบคุมคุณภาพปัจจัยการผลิต การให้บริการน้ำชลประทาน การบริการทางด้านหม่อน/ไหม แมลงเศรษฐกิจ เครื่องจักกลเกษตร และแหล่งทุน/สินเชื่อ อาทิ สินเชื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนในแปลงใหญ่ (กสก) 20,000 ล้านบาท การเก็บรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา (ยุ้งฉาง/สหกรณ์) (กสส) 14,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อเกษตรกรในเขต สปก. จากกองทุนปฏิรูปที่ดิน (สปก) 351.60 ล้านบาท

การบริหารจัดการความเสี่ยง ได้แก่ การสำรวจ/เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ฯ/สัตว์ ประมง โดย ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) 1,764 แห่ง การเตรียมการป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สัตว์/ประมง รวมทั้งเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและการแจ้งเตือน และการประกันภัยพืชผล (ข้าว) 4. การสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ได้แก่ พัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพเกษตรกร ซึ่งขณะนี้ได้ขับเคลื่อน Smart Farmer/Young Smart Farmer ไปแล้ว จำนวน 11,130 ราย และให้ความรู้การจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) มากกว่า 300 ราย รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทั้งวิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงการตลาดและส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่

สำหรับแผนในการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้เตรียมจัดสรรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยจัดเรียงตามลำดับความจำเป็นดังนี้ อันดับแรก จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี อันดับสอง เน้นการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ใช้น้ำชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วงเท่านั้น และอันดับสาม เน้นการบริหารจัดการน้ำท่าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยระบบและอาคารชลประทาน และดำเนินการเก็บกักน้ำในเขื่อนให้มากที่สุด ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดตามช่วงเวลา เพื่อความมั่นคงด้านการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ

“แผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 1 พ.ค. 60 ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การได้ รวม 17,196 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 วางแผนจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน รวม 27,331 ล้านลบ.ม. สามารถสนับสนุนการทำนาปีในเขตชลประทานได้ 15.95 ล้านไร่ ส่วนใน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การ ณ 1 พ.ค. 60 รวม 4,400 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 วางแผนจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน รวม 10,878 ล้าน ลบ.ม.” พลเอกฉัตรชัย กล่าว

ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรจะเน้นผลักดันศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นวงจรในการขับเคลื่อนการผลิตในภาคเกษตรในปีนี้ วันนี้การทำการเกษตร ต้องมีการการจัดการอย่างเป็นระบบ จะทำแบบดั้งเดิมคงไม่ได้แล้ว องค์ความรู้ ข้อมูลทางการตลาด ลักษณะสินค้า คุณภาพมาตรฐานที่ตลาดต้องการเป็นสิ่งที่เกษตรยุคใหม่ต้องเรียนรู้ โดยให้มีการจัดงานฟิลเดย์ (Field Day)ขึ้นพร้อมๆกันทั่วประเทศโดยเริ่มจัดงานตั้งแต่วันนี้-ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนถึงมิ.ย.เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อม สามารถเรียนรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งหวังให้เกษตรกรได้ทำการเกษตรแบบมีคุณภาพ

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวย้ำว่า เกษตรกรและผู้ประกอบการยุคใหม่จะต้องทำเกษตรอย่างชาญฉาด ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อทำการเกษตรต้องพัฒนาชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ให้ชีวิตดี เกษตรกรต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง การทำการเกษตรมีแผนมีเป้าหมาย ขณะนี้มีโลกการเปลี่ยนแปลงมากมาย สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบแทบทั้งสิ้นเกษตรกรต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่สำคัญต้องทำการเกษตรอย่างชาญฉลาดมีองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เกิดความเข้มแข็งในทุกด้าน

เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านซำต้อง หมู่ที่ 7 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ซึ่งมีเกษตรกรปลูกทุเรียนหลงรักไทย ซึ่งมีรสชาติ หอม กรอบ อร่อย เป็นสวนทุเรียนแห่งแรกและแห่งเดียวของพิษณุโลก โดยนายวันชัย กาญจนเพ็ญ เกษตกรที่ปลูกทุเรียนกว่า 300 ต้นบนที่ดินกว่า 45 ไร่ กล่าวว่า ได้นำพันธุ์ทุเรียนหลงลับแลมาปลูกในพื้นที่ อ.เนินมะปรางนานกว่า 20 ปีแล้ว ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาสามารถสร้างผลผลิตออกสู่ตลาดได้กว่าปีละ 30 ตัน สามารถสร้างรายได้จำหน่าย กิโลกรัมละ 150-300 บาท

ส่วนเอกลักษณ์และจุดเด่นของทุเรียนพันธุ์หลงรักไทยนั้น คือ เนื้อทุเรียนจะมีลักษณะเนื้อละเอียดแน่น ไม่เละจนเกินไป สีเหลืองทอง รสชาติหวานและหอม อร่อยไม่แพ้ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลหลงลับแล ทั้งที่ต้นพันธุ์มาจากพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลหลงลับแล อาจเป็นเพราะบ้านรักไทยสภาพอากาศเย็น แร่ธาตุในดินดีทำให้เนื้อทุเรียนที่นี่อร่อยกว่าที่อื่น เป็นที่ต้องการของท้องตลาด จึงได้เปลี่ยนชื่อจากพันธุ์หลงลับแลเป็น “พันธุ์หลงรักไทย” เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ปัจจุบันทุเรียนพันธุ์หลงรักไทยเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก

นายวันชัย กล่าวอีกว่า ในปีที่ผ่านมา สวนทุเรียนของตนต้องประสบปัญหาสภาพอากาศที่แล้งก่อนหน้า ทำให้ผลทุเรียนไม่ออก แต่ปีนี้ผลผลิตได้ออกตามที่กำหนด และได้ผลที่สามารถส่งขายแบบเต็มที่ มาเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา และขณะนี้มียอดสั่งจองทุเรียนหลงรักไทย แล้วประมาณ 10 ตัน ซึ่งทางสวน ต้องทยอยส่งให้ลูกค้า เนื่องจากผลทุเรียนที่ออกมายังแก่พอที่จะส่งขายได้ทุกผล จึงต้องเก็บตามขนาดที่ต้องการ แต่ในปีนี้คาดว่าจะมีทุเรียนส่งขายมากกว่า 30 ตัน และสามารถจำหน่ายได้ประมาณปลายเดือนมิถุนายนนี้

เช้าวันนี้ “บิ๊กเจี๊ยบ” พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เล่าถึงความคืบหน้าการรวบรวม ผลงานของ คสช. 3 ปี

…หรือที่ผ่านมา 1,095 วัน เพื่อเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. อนุมัติให้มีการชี้แจงผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทย พร้อมด้วยการบอกว่า “ผมว่าผลงาน คสช.อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ประชาชนยอมรับ”

มีการอธิบายต่อว่า withme.us แม้เรื่องการจัดระเบียบสังคมบางส่วนอาจมีผู้ที่มีผลกระทบไม่พอใจบ้าง ส่วนการดูแลประชาชนทุกเรื่อง เช่น เรื่องภัยพิบัติทหารจะออกไปดูแลก่อนและกลับทีหลังทุกครั้ง รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนที่เข้ามาร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมที่มีปัญหาเป็นแสนๆ ล้านๆ เรื่องก็มาแก้ไขในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจนเป็นรูปธรรม และ คสช.ยังสนับสนุนงานโครงการต่างๆ ของรัฐบาล

“ในภาพรวมผมพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการฟังเสียงสะท้อนของประชาชนในสังคม” ส่วนตอนนี้หนึ่งในปัญหาหลักที่ทุกคนมองว่ารัฐบาลคสช.จะเดินหน้าประเทศไทยด้วยวาระเศรษฐกิจคืบหน้าหรือไม่

“บิ๊กเจี๊ยบ” บอกเลยว่าที่มองว่ายังไม่ดีขึ้นนั้น จากการที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านก็คุยเหมือนกันหมดว่าปัญหาของเขาคือปัญหาเศรษฐกิจ

“จากการที่ได้พบผบ.ทบ.มาเลเซียเขาก็บอกว่าเศรษฐกิจเขาแย่กว่าเราอีก สิ่งเหล่านี้สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เราต้องประคับประคอง”บิ๊กเจี๊ยบระบุ

แล้วเศรษฐกิจมาเลย์แย่กว่าเราจริงหรือ?

คำตอบที่ดูง่ายสุดก็ต้องดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)

ย้อนมาดูตัวเลขรายงานจีดีพีของประเทศไทยที่มีรายงานตัวเลขไตรมาสแรกของปีนี้หรือ Q1/60 ไว้ที่ 3.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่รายงานมาเมื่อต้นสัปดาห์ ขณะที่เพื่อนบ้านมาเลเซีย ธนาคารกลางมาเลเซีย เพิ่งจะรายงาน ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ในวันนี้ (19 พ.ค.) ขยายตัว 5.6% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 4.8% โดยทางการมาเลย์ฯ ยังบอกด้วยว่า เป็นอัตราการขยายตัวที่เร็วที่สุดในรอบ 2 ปี โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออก รวมทั้งการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่แข็งแกร่งขึ้น

เมื่อพิจารณา จีดีพีมาเลย์ เปรียบเทียบไตรมาส 1 ของปี 2560 กับ ไตรมาส 4 ของปี 2559 ที่ขยายตัว 4.5%

ส่วนจีดีพีของประเทศไทยก็ถือว่ากระเตื้องขึ้นบ้าง จากไตรมาส 4 ปี 2559 ที่จีดีพีอยู่ที่ 3.0% มาไตรมาสแรกของปี 2560 ขยายมาที่ 3.3 % ส่วนเพื่อนบ้านอื่นๆ อาทิ สิงคโปร์ จีดีพีไตรมาส 1/2560 อยู่ที่ 2.5% ลดลงจากระดับ 2.9% ในไตรมาส 4/2559

เช่นเดียวกับเวียดนาม ที่จีดีพีไตรมาส 1/2560 อยู่่ในระดับ 5.1% ลดลงจากระดับ 6.7% ในไตรมาส 4/2559

สำหรับเงื่อนไขโครงการนั้น ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครง

การจะต้องเต็มใจไม่ก่อหนี้เพิ่มในระยะเวลา 5 ปี และพร้อมเรียนรู้การสร้างวินัยทางการเงินที่ดี โดยจะมีการติดตามประเมินผล โครงการนี้เป็นระยะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“จากข้อมูลล่าสุดหนี้ภาคครัวเรือน ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ 79.9% ของจีดีพี ประเด็นที่น่ากังวลคือคนไทยเป็นหนี้เร็ว และเป็นหนี้นาน โดยเฉพาะคนอายุ 29-30 ปี คิดเป็น 50% หรือ 1 ใน 5 ของลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย และระดับหนี้ไม่ลดลงมากแม้จะเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ รวมทั้งมีหนี้มูลค่ามากขึ้น โดยค่ากลางของหนี้ต่อหัว ณ สิ้นปี 2559 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนบาท” นายวิรไท กล่าว

ดีเดย์รุกล้ำลำน้ำให้แจ้งขออนุญาตเจ้าท่าภายใน 22 มิ.ย. 60 นายกสมาคมประมงฯชี้วิถีริมน้ำป่วนทั่วไทย ร่อนหนังสือถึงนายกฯ เรียกร้องใช้ ม.44 เลื่อนใช้กฎหมาย จี้ตั้งคณะทำงานแก้ พ.ร.บ.การเดินเรือฯใหม่ให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ขณะที่หมู่บ้านชาวประมงตราดแจ็กพอตเข้าข่าย 5 พันหลังคาเรือน คาดค่าปรับทะลุ 200 ล้านบาท เจ้าท่าตราดห่วงชาวบ้านเดือดร้อนหนัก แนะจังหวัดระดมหน่วยงานหาทางออกร่วมกัน

ทันทีที่ พ.ร.บ.การเดินเรือน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งอื่นใดลงไปในแม่น้ำลำคลอง ทะเล ชายหาดสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการรักษาลำน้ำสำหรับการพาณิชยนาวี การเกษตรกรรม และการป้องกันอุทกภัย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา มีผลให้เจ้าของที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำทั้งที่เคยได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต ต้องไปแจ้งขออนุญาตกรมเจ้าท่าภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 หากไม่มาแจ้งตามกำหนดจะมีโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารอัตราตารางเมตรละไม่น้อยกว่า 500 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ไม่มีโทษจำคุก และต้องรื้อถอนภายใน 1 ปี

นายมงคล สุขเจริญคณา นายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประกาศใช้กฎหมายการเดินเรือฯ ขณะนี้สร้างความปั่นป่วนอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลอง หรือชายทะเล เข้าข่ายรุกล้ำลำน้ำทั้งสิ้น เท่าที่สำรวจไม่ว่าจะแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน หรืออัมพวา หลายหมู่บ้านริมน้ำสร้างขึ้นมาโดยมีโฉนด แต่เมื่อเวลาผ่านไปน้ำกัดเซาะจนที่ดินหาย ถามว่ากรณีนี้จะทำอย่างไร แม้กระทั่งหมู่บ้านชายทะเลที่ไม่มีโฉนด แต่เป็นท่าเทียบเรือที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ไม่ว่าจะเป็นที่ระนองหรือระยอง หากมีการรื้อถอนคาดว่าจะเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

“ผมได้ยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 เลื่อนการใช้ พ.ร.บ.การเดินเรือฯ มาตรา 18 ที่กำหนดระยะเวลาการแจ้งเจ้าท่า และการเสียค่าปรับออกไปก่อน 1 ปี จากนั้นขอให้ตั้งคณะทำงานแก้กฎหมาย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยยื่นผ่านเลขานุการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว อยู่ระหว่างรอคำตอบ ถ้ารัฐบาลไม่แสดงท่าทีอะไร รับรองว่าหน้าทำเนียบรัฐบาลไม่พอจุพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนในครั้งนี้อย่างแน่นอน”

ด้านนางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า ได้รวบรวมข้อมูลบ้านที่รุกล้ำลำน้ำมีความผิดตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย เบื้องต้นได้สำรวจพื้นที่ อ.เมืองตราด อ.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ ได้ประมาณ 80-90% โดยพื้นที่ อ.คลองใหญ่ มีการรุกล้ำมากที่สุด พื้นที่ทั้งหมด 111,871 ตารางเมตร ถ้าเสียค่าปรับอัตรา 500 บาท/ตร.ม. จะเป็นจำนวนเงินกว่า 55,901,995 บาท อ.เมืองตราด พื้นที่ 39,707 ตารางเมตร ค่าปรับ 19,853,912 บาท อ.แหลมงอบ พื้นที่ 13,360 ตารางเมตร ค่าปรับ 6,680,000 บาท ส่วน อ.เกาะช้าง อ.เกาะกูด อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล และปลายเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการประชุมหารือกับตัวแทนเครือข่ายจังหวัดชายทะเลทั้ง 23 จังหวัด ที่มีปัญหาร่วมกัน เพื่อนำเสนอปัญหาแนวทางแก้ไขกับหน่วยงานภาครัฐ

“สิ่งที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ ขอขยายเวลาขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่า จากวันที่ 22 มิถุนายนนี้ออกไปก่อน และหน่วยงานภาครัฐควรเป็นแกนหลักจัดเวทีเสวนาสาธารณะ มีนักวิชาการ นักกฎหมาย องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหาข้อสรุปเพื่อแก้ไขกฎหมายในสภาพที่สามารถนำไปใช้ได้จริง จากนี้จะมีการทำหนังสือถึงหน่วยงานต่าง ๆ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กระทรวงคมนาคม ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” นางเรวดีกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระบุอีกว่า สภาพบ้านเรือนที่ปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำใน จ.ตราด มีจำนวนมากกว่า 5,000 หลังคาเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 350,000-400,000 ตารางเมตร ซึ่งหากมีต้องเสียค่าปรับอัตราตารางเมตรละ 500 บาท จะเป็นจำนวนเงินถึงกว่า 200 ล้านบาท

ด้านนายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า บ้านริมน้ำลำคลองที่ตราดเป็นประมงพื้นบ้าน อยู่อาศัยมาเกือบ 60 ปี เป็นทั้งบ้านและที่จอดเรือ เมื่อปี 2535 กรมเจ้าท่าเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ไปแจ้งขออนุญาต แต่ชาวบ้านไม่ได้ไป เนื่องจากการสื่อสารช่วงนั้นไม่สะดวก ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.การเดินเรือฉบับใหม่ประกาศใช้ ทำให้ชาวบ้าน ต.ไม้รูด 765 หลังคาเรือนเดือดร้อน เป็นพื้นที่ทั้งหมด 75,106 ตารางเมตร ค่าปรับ 37.5 ล้านบาท ชาวบ้านไม่มีแน่นอน อีกทั้งต้องเสียค่าเช่ารายปีอัตราตารางเมตรละ 50 บาท ถือว่ายังสูงมาก ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอเสนอให้ลดค่าเช่าเหลือตารางเมตรละ 5 บาท

นายจักรกฤชณ์ สลักเพชร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ กล่าวว่า การออกกฎหมายออกมาบังคับรวดเร็ว สร้างความตกใจให้กับชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวประมงต้องทำมาหากินอยู่กับทะเล บางคนอยู่มาเป็น 100 ปี การแก้ปัญหาควรมีการสำรวจความเดือดร้อนก่อน เช่น ชาวบ้านหลายรายอยู่มาก่อนปี 2525 ที่ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ควรได้สิทธิอยู่ต่อ จากนั้นจำกัดเขตไม่ให้มีผู้รุกล้ำรายใหม่ ๆ

นายอำนาจ สอนหมวก ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้มายื่นเอกสารบ้างแล้ว ส่วนมากเป็นประเภทสิ่งที่ล่วงล้ำพึงอนุญาตได้ ขณะที่ปัญหาสภาพบ้านเรือนของชาวบ้านที่อพยพมาอยู่ตามชายฝั่ง หรือเกาะ และบางพื้นที่ เช่น เกาะช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ ไม่ได้อยู่ในลักษณะอาคารที่พึงอนุญาตได้ ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายของกรมเจ้าท่า หากมีการรื้อถอนชาวบ้านจะเดือดร้อนกันมาก จังหวัดควรหาทางออก โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแลไกล่เกลี่ยเพราะมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทั้งนี้มองว่าทางออกภาครัฐกับภาคเอกชนต้องคุยกัน เช่น การยกที่ดินให้กรมธนารักษ์ดูแลให้ชาวบ้านที่ปลูกสร้างบ้านไปแล้วเช่า เพื่อควบคุมพื้นที่ถูกรุกล้ำ เป็นต้น

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้จะหารือกับ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงความร่วมมือการทำตลาดออนไลน์ขายข้าวให้นักท่องเที่ยว เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ มีโครงการสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ซึ่งเป็นเกษตรกรยุคใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถหันกลับไปปลูกข้าว ทำอาชีพการเกษตรมากขึ้น ซึ่งกระทรวงเห็นว่ารัฐบาลควรเข้าไปสนับสนุน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการขายข้าวให้เกษตรกรมากยิ่งขึ้น

กระแสปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมทานข้าวไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากอาเซียนและจีน ซึ่งกระทรวงเห็นว่านอกจากมาทานที่เมืองไทยแล้ว ก็ควรให้นักท่องเที่ยวมีตัวเลือก โดยการใช้ออนไลน์ซื้อข้าวไทยได้ นอกจากนี้ยังเตรียมร่วมกับโครงการประชารัฐจัดทำโครงการอเมซิ่ง ไทยเทสต์ ดึงโรงแรมและร้านอาหารในประเทศไทย จัดทำลิสต์รายชื่อข้าว 6 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ชั้นเยี่ยมในไทย ประกอบด้วย 1. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ 2. สินเหล็ก 3. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 4. ข้าวมะลินิลสุรินทร์ 5. ข้าวทับทิมชุมแพ และ 6. ข้าวสังข์หยด ปัจจุบันได้เริ่มนำร่องในกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาว คือ โรงแรมดุสิตธานี ซึ่งใช้ข้าวมาเป็นอาหารจานหลักในส่วนเมนูบุฟเฟ่ต์

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องที่ต่างชาติชื่นชมสตรีตฟู้ด จึงต้องยกระดับคุณภาพให้ดีมากขึ้น และไม่ใช่กระจุกตัวเฉพาะกรุงเทพฯ แต่ควรมีเมืองอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ทั้งนี้ ตั้งแต่มกราคม-15 พฤษภาคม มีนักท่องเที่ยวสะสม 13.12 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.33% ก่อให้เกิดรายได้ 6.74 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1%

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ลุยสำรวจข้อมูลบัญชีสมดุลสินค้าเกษตร ปี 2560 เจาะสินค้าสำคัญ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ในจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ปูแนวทางกำหนดนโยบาย และบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบัญชีสมดุลสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2560 ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) ดำเนินการสำรวจสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสถานการณ์การผลิต วิถีการตลาด อุปสงค์ อุปทาน เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณาการจัดทำบัญชีสมดุลระดับจังหวัด ปี 2560 ที่จะส่งผลให้การผลิตสินค้าเกษตรดังกล่าวเกิดความสมดุลด้าน Demand-Supply เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคายุติธรรม ซึ่งผลสำรวจตัวอย่างแต่ละจังหวัด พบว่า

ข้าวเหนียว จังหวัดชัยภูมิ ผลผลิตภายในจังหวัด มีปริมาณ 251,153 ตันข้าวเปลือก นำเข้าจากต่างจังหวัด 87,903 ตันข้าวเปลือก รวมผลผลิตทั้งหมด 339,056 ตันข้าวเปลือก ซึ่งผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ในขณะที่ความต้องการใช้ข้าวเปลือกเหนียวของจังหวัดมีปริมาณทั้งหมด 295,678 ตันข้าวเปลือก เก็บไว้ทำพันธุ์ 25,689 ตันข้าวเปลือก ส่งเข้าโรงสีเพื่อสีแปรรูปเป็นข้าวสาร 100,461 ตันข้าวเปลือก และส่งออกข้าวเปลือกเหนียวไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์ ขอนแก่น นครราชสีมา ปริมาณ 169,528 ตันข้าวเปลือก ทั้งนี้ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการใช้ในจังหวัด มีปริมาณ 43,377 ตันข้าวเปลือก หากไม่มีการนำเข้าข้าวเปลือกจากจังหวัดอื่น จึงส่งผลให้ปริมาณข้าวเปลือกเหนียวที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในจังหวัด

หัวมันสำปะหลังสด จังหวัดบุรีรัมย์ มีผลผลิต ทั้งสิ้น 829,069 ตัน ไม่มีการนำเข้าจากจังหวัดอื่น เนื่องจากภายในจังหวัดไม่มีโรงงานประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง ปริมาณความต้องการใช้ของโรงงานภายในจังหวัด จำนวน 660 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่สหกรณ์การเกษตรมีพันธะสัญญาส่งผลผลิตมันเส้นให้กับ สหกรณ์โคนม เพื่อนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ และที่เหลือจำนวน 828,409 ตันหัวมันสด เป็นการส่งให้กับเป็นโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังนอกจังหวัด หากพิจารณาถึงความต้องการของตลาดรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด สามารถรับซื้อได้อย่างต่อเนื่อง

อ้อยโรงงาน จังหวัดสุรินทร์ มีปริมาณ ทั้งสิ้น 2,224,161 ตัน เป็นอ้อยที่ผลิตได้ภายในจังหวัด 1,024,161 ตัน และเป็นอ้อยโรงงานที่นำเข้าจากจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จำนวน 1,200,000 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงาน มีปริมาณ 2,224,161 ตัน โดยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในจังหวัด 2,174,161 ตัน และส่งออกไปยังโรงงานในจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียง 50,000 ตัน ซึ่งหากพิจารณาถึงกำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ภายในจังหวัด สามารถรองรับผลผลิตอ้อยโรงงานได้ประมาณ 3,840,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ การวิเคราะห์บัญชีสมดุลสินค้าเกษตรนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลากหลายด้านจึงจะสามารถนำมากำหนดเป็นนโยบาย และแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรทั้งในด้านอุปทาน (Supply) และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ (Utilization) ต่อไปได้ โดยเกษตรกรและผู้ที่สนใจในพื้นที่สามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 โทร.044-465079 , 044-465120ในวันและเวลาราชการ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย ผลติดตามโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร ระบุ มีช่างเกษตรท้องถิ่นได้รับการอบรมแล้วจนถึงมีนาคม จำนวน 2,275 ราย โดยเกษตรกรในหลักสูตรช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 สามารถลดรายจ่ายค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรฯ ได้ 304 บาท/เครื่อง พร้อมนำความรู้ไปใช้และขยายต่อไปยังเพื่อนเกษตรกรในชุมชน

นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร ซึ่งมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการหลัก โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามผล 3 กิจกรรม พบว่า

กิจกรรมสร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ปี 2560 กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรในหลักสูตรช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 2 และ 3 แล้ว (ณ เดือน มีนาคม 2560) จำนวน 2,275 ราย โดยเกษตรกรในหลักสูตรระดับ 1 (40 ราย) และระดับ 2 (24 ราย) จำนวนร้อยละ 70 มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรมาก่อน และมีการเปลี่ยนแปลงหลังนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ โดยช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 จำนวนร้อยละ 95 นำความรู้ไปใช้และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรได้เฉลี่ย 304 บาท/เครื่อง มีการขยายผลความรู้ไปยังเกษตรกรใกล้เคียงในสัดส่วน 1 : 5 ราย ส่วนช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 2 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นจากการอบรม ร้อยละ 100 คาดว่าจะนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริมและถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชน

กิจกรรมบริการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปี 2560 มีการจัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ในจังหวัดร้อยเอ็ด (22 ธ.ค.59) และจังหวัดมหาสารคาม (17 ม.ค. 60) รวมเกษตรกรเข้าร่วมทั้งสองแห่ง 231 คน ซึ่งพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 97 ที่เข้าร่วมงาน เห็นว่ากิจกรรมการสาธิตเป็นประโยชน์และตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร (การไถกลบตอซังฟางข้าว) การสาธิตการเตรียมดิน และการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรชนิดต่างๆ และได้รับการสนับสุนนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เช่น สารปรับปรุงบำรุงดิน ปูนขาว และน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการไถกลบตอซังในพื้นที่ของเกษตรกร ตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 210 ไร่ รวม 49 ราย และพื้นที่ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 116 ไร่ รวม 23 ราย

กิจกรรมบริการการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2559 พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกร ร้อยละ 76 ใช้วิธีเตรียมดินด้วยวิธีจ้างรถเตรียมดินของเอกชน และร้อยละ 24 ใช้รถเตรียมของตนเอง แต่หลังเข้าร่วมโครงการในปี 2559 เกษตรกรร้อยละ 71 มีการใช้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรของศูนย์ฯ ส่วนร้อยละ 29 ยังไม่ได้ใช้บริการ เนื่องจากบางราย ไถระเบิดดินดานในพื้นที่ของตนเองไปแล้วก่อนเข้าโครงการ และยังไม่ได้ทำการผลิตมันสำปะหลัง ทั้งนี้ ภาพรวมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจต่อตัวโครงการในระดับมาก ทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์โครงการ ด้านการถ่ายทอดความรู้ และด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเห็นว่าความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาปรับใช้และลดค่าใช้จ่ายได้จริง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กิจกรรมสร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ควรเพิ่มระยะเวลาการอบรมในแต่ละหลักสูตร สถานที่จัดฝึกอบรมควรอยู่ในหมู่บ้านเพื่อสะดวกในการเดินทาง และเพิ่มเนื้อหาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ส่วนกิจกรรมบริการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ควรเพิ่มพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการสาธิตการไถกลบตอซังให้มากขึ้น เพิ่มความรู้ในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ และในส่วนของศูนย์บริการการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ควรพัฒนาบริการได้ทันต่อความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ เชื่อมโยงการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรสมาชิก และร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงให้มีส่วนร่วมในโครงการให้มากขึ้น รองเลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี พร้อมด้วยคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างฝายบ้านเขาแดงพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านเขาแดงพัฒนา ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 ด้วยทรงห่วงใยราษฎรบ้านเขาแดงพัฒนา ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร อาทิ ปลูกมันสำปะหลัง ลำไย ข้าวโพด และเลี้ยงโคนม เมื่อถึงฤดูแล้งราษฎรจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเป็นต้นทุนที่เพียงพอเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันโครงการดังกล่าว เริ่มขุดลอกหน้าฝายพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ และขุดลอกคลองตาโนดระยะทางประมาณ 1 พัน 400 เมตร ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณความจุน้ำได้ 8 หมื่นลูกบาศก์เมตรและช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ประมาณกว่า 2 พันไร่

ต่อจากนั้น คณะได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทำนบดินบ้านไทรนอง 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ โครงการนี้เป็นโครงการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่บนพื้นที่สูง เกษตรกรพยายามสร้างสระเก็บกักน้ำ แต่ยังไม่พอ ปัจจุบันสำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และจ.จันทบุรี ตลอดจนผู้นำชุมชนและราษฎรในพื้นได้ร่วมกันดำเนินงาน จัดสร้างทำนบดินบ้านไทรนอง ความจุ 6 หมื่น ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่น 4 พันลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรได้ประมาณ 55 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ทำสวนผลไม้ ปลูกทุเรียน เงาะ และมังคุด

ทั้งสองโครงการนี้ เป็นโครงการทางด้านแหล่งน้ำที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการชุดแรกๆที่ทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 นายนิพนธ์ วิชัยรัตน์ lebron-james-shoes.us ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามการตั้งท้องของแพนด้าเพศเมีย ‘หลินฮุ่ย’ ว่า หลังจากทีมวิจัยทำการฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมหลินฮุ่ยในรอบปี 2560 ไปแล้ว และมีการติดตามเฝ้าดูการตั้งท้องของหลินฮุ่ยอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากมีการนำตัวหลินฮุ่ยตรวจอัลตราซาวด์ไปแล้ว 1 ครั้ง ผ่านมาจนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือนแล้ว ทางทีมวิจัยแพนด้ายังคงติดตามดูอาการของแพนด้าหลินฮุ่ยอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดพบว่าหลินฮุ่ยยังมีอาการคล้ายกับแพนด้าตั้งท้อง คือกินอาหารน้อยลงและนอนตลอดเวลา ในด้านการตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนของการตั้งท้อง ทีมพี่เลี้ยงรายงานว่าตัวเลขเริ่มสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งต้องจับตาดูว่าจะขึ้นสูงถึงขีดสุดในรอบนี้หรือยัง ล่าสุดวันนี้พบว่าฮอร์โมนอยู่ที่ 527.43 นาโนกรัม/มิลลิกรัมครีตินีน หากขึ้นถึงจุดสูงสุดเต็มที่แล้ว จะเป็นจุดที่แสดงถึงจุดที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนแล้วจะมีการตกลูกต่อไป

ทางพี่เลี้ยงและทีมวิจัยฯเราทำงานกันอย่างเต็มที่ ซึ่งใน 2-3 วันนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเทพฯจะเดินทางมาดำเนินการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อตรวจหาตัวอ่อน เพื่อยืนยันการตั้งท้องต่อไป พาณิชย์มั่นใจราคาข้าวปีนี้ดีขึ้นแน่นอน ส่วนจะถึง 1 หมื่นบาท/ตัน หรือไม่ต้องดูหลายปัจจัย แต่เชื่อว่าดีกว่าปีที่แล้วแน่นอน พาณิชย์พร้อมช่วยหาตลาดและคุยกับกระทรวงเกษตรฯ หาทางลดต้นทุนทั้งเรื่องปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวนาอีกทาง

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ กล่าวในงาน “ตัดสินและมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศ การประกวดข้าวตราคุณภาพดีเด่น ประจำปี 2560 และการประกาศเกียรติคุณข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ” ว่า ทิศทางราคาข้าวในปีนี้พาณิชย์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่จะถึง 10,000 บาท ต่อตัน หรือไม่นั้นต้องดูจากหลายปัจจัย แต่เชื่อว่าแนวโน้มและทิศทางน่าจะดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

พร้อมกันนี้พาณิชย์หารือกับกระทรวงเกษตรฯ และสหกรณ์หาช่องทางในการลดต้นทุนการปลูกข้าว ทั้งเรื่องปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ หรือผู้ประกอบการต่างๆ ลดราคาสินค้าเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้ ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ก็จะหาแนวทางหรือมาตรการผลักดันราคาข้าวให้ปรับสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ดูเรื่องของตลาด หรือความต้องการของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ต้องหามาตรการที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

“จากปัจจัยการสนับสนุนเรื่องของการลดต้นทุนแล้ว ตัวเกษตรกรเองก็ต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองด้วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมไปถึงให้ตัวสินค้าข้าวมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนกรณีปัญหาการวัดความชื้น หรือเครื่องชั่ง มอบหมายให้กรมการค้าภายในติดตามอย่างใกล้ชิด หากเกษตรกรพบปัญหาก็แจ้งสายด่วน 1569 ได้” นายสนธิรัตน์ กล่าว

รมช.พาณิชย์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การมอบรางวัลข้าวหอมมะลิเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับตลาดและผู้ซื้อเอง อีกทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าข้าวหอมมะลิไทยด้วย ทั้งในการแข่งขันในตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่เกษตรกร โรงสี ผู้ผลิต มีผู้เข้าร่วมรับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 99 ราย

เนื้อบราซิล 11 วัน ตัดสินชะตาชาติอื้อฉาวใหญ่หลวงกรณี

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ของบราซิลถูกกล่าวหาว่า มีสินค้าปนเปื้อน เน่าเสีย ไร้คุณภาพ เพราะมีการติดสินบาทคาดสินบนเจ้าหน้าที่ นำมาซึ่งการระงับการสั่งซื้อจากลูกค้าทั่วโลก ขณะที่อุตสาหกรรมเนื้อเป็นรายได้หลักของบราซิล

เจองานนี้ ชัวร์ว่าบราซิลซึ่งกำลังอยู่ในสภาพย่ำแย่อยู่แล้ว ต้องตายแน่ จอดไม่ต้องแจว แต่แล้วเรื่องอื้อฉาวปานนี้จบลงในเวลา 11 วัน ลูกค้าทยอยกลับมาสั่งซื้อสินค้าของบราซิลใหม่ จนใกล้จะเข้าสู่ภาวะปกติ

บราซิลทำยังไง มาเรียนรู้กันไว้เป็นตัวอย่าง เพราะเวลามันเกิดขึ้นกับไทย ฉันไม่เห็นคราวไหนจะจบลงง่ายดายรวดเร็วปานนี้ ต่างใช้เวลา ใช้น้ำตาและชีวิตของเกษตรกร หรือผู้เกี่ยวข้องไปสังเวยมากต่อมาก โดยที่รัฐบาลที่มีสรรพกำลัง มีนักเจรจาเป็นกองทัพ ไม่อาจช่วยได้อย่างที่เราหวัง

บราซิล เป็นประเทศใหญ่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ขนาดใหญ่กว่าไทยกว่าสิบเท่า ประชากรเกือบ 200 ล้านคน รายได้ประชากรต่อหัวสูงกว่าไทยนิดหน่อย บราซิล มีที่ดินกว้างใหญ่สำหรับการเพาะปลูก ส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ในอันดับต้นของโลก ทั้งยังมีน้ำมัน มีแร่ธาตุจำนวนมาก จึงควรจะร่ำรวย และทำท่าจะร่ำรวยมาหลายครั้ง แต่ก็มีปัญหาความแตกต่างเรื่องรายได้ภายในประเทศ การคอร์รัปชั่น แรงงานมีฝีมือมีน้อย และโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง จึงทรงๆ เซๆ อยู่เรื่อยมา ครั้งล่าสุดนี่ก็กำลังเซทีเดียว คนว่างงานพุ่งขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน รัฐบาลปวดหัวหนักกับการพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ดิ่ง

แล้วดันมาเจอปัญหาสินค้าหลักขายไม่ออกอีก อย่างนี้ควรจะจอดไม่ต้องแจวใช่ไหม? บริษัทในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ที่ถูกระบุว่าทำผิด ไล่กันมาตั้งแต่ยักษ์ใหญ่ อย่าง JBS SA และ BRF SA บริษัทแรกนั่นส่งเนื้อวัวและหมูออกมากที่สุดในโลก ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขาใน 150 ประเทศ ไล่ซื้อกิจการไปทั่วโลก มีบริษัทลูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก

บริษัทสองส่งออกไก่มากที่สุดในโลก ใหญ่ไม่แพ้กัน

ทั้งสองบริษัทส่งออกเกินครึ่งของที่ส่งจากบราซิลทั้งหมด แล้วยังบริษัทกลางๆ ไล่ลงไปแทบหมดประเทศแหละ ถูกรื้อหมด

การสอบสวนพบว่า มี 21 บริษัท พัวพันกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ผ่านการตรวจสอบก่อนการส่งออก แม้ว่าเนื้อนั้นจะไม่ได้มาตรฐานส่งออกก็ตาม มีเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายสิบคนในกระทรวงเกษตรถูกสอบสวน นักการเมืองที่เอี่ยวก็เจอปลด เข้าตารางกันรัวๆ

ผู้บริหารของ BRF ถูกจับ โรงงานหลายแห่งถูกสั่งปิด ถูกระงับใบอนุญาต แต่บริษัทก็เถียงว่าทำตามมาตรฐานแล้วทุกอย่าง แต่กระนั้นก็ยอมให้ตรวจใหม่ทุกอย่าง บราซิล ส่งออกเนื้อเป็น 20% ของที่ขายกันในตลาดโลก และส่งเนื้อไก่เกือบครึ่งของที่ขายกันในตลาดโลก รายได้จากอุตสาหกรรมนี้เป็น 10% ของรายได้ของประเทศ

ถ้าเอาเฉพาะไก่นะ บราซิลส่งไก่ไปซาอุดีอาระเบียปีละเกือบแปดแสนตัน เนื้อเกือบสามหมื่นตัน ส่งไก่ไป อียู สี่แสนตัน ส่งไก่ไปจีนห้าแสนตัน ส่งไก่ไปสิงคโปร์หนึ่งแสนตัน และฮ่องกงเกือบสามแสนตัน พิจารณาดูจะเห็นว่านั่นตลาดบนแทบทั้งสิ้น

ตลาดทั้งหมดนั่น หรืออย่างน้อย 45 ประเทศ ยกเลิกการสั่งซื้อทันทีที่มีข่าวออกมา แต่ก็นั่นแหละทั้งหมดกลับมาสั่งซื้อใหม่ในเวลา 11 วัน แม้จะมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้น แต่เขาไม่เลิกซื้อ

เพราะอะไร

เพราะเขาแสดงให้ทุกคนในโลกนี้เห็นว่าเขาแก้ปัญหาจริงจัง และอย่างฉับพลัน

คนที่ถูกกล่าวหา ไม่ว่าจะข้าราชการ นักการเมือง เอกชน ถูกจับเกลี้ยง ฝ่ายบริษัทก็ดิ้นสุดฤทธิ์ ออกโฆษณาเพื่อชี้แจงให้ผู้บริโภคเข้าใจ รัฐบาลก็พยายามจัดการกับเรื่องคอร์รัปชั่นไปโดยไม่ให้เข้ามาเกี่ยวกับการเดินหน้าของอุตสาหกรรมนี้

คือพอแยกคนที่ต้องการจับตัวหรือสอบสวนได้ ก็เอาตัวออกมา ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ปลดออกจากหน้าที่ชั่วคราว ถ้าเป็นเอกชนก็ให้บริษัทไล่ออก แล้วเอามาจัดการแยกออกไป ส่วนอุตสาหกรรมก็ให้ไปปรับมาตรฐานแล้วเดินหน้าต่อ ไม่ให้คาราคาซังกัน

เพราะประเทศลูกค้าเขาไม่ได้สนว่าคุณจะเอาใครติดคุกบ้าง เขาแค่สนใจว่าเมื่อไรเขาจะวางใจได้ว่าสินค้าคุณมันปลอดภัย

บราซิลทำให้กลุ่มประเทศที่ระมัดระวังเรื่องสุขภาวะได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวด ยอมรับในการแก้ปัญหาของเขา กลับมาสั่งซื้อในเวลา 11 วัน ถ้าไม่ทำครบเครื่องขนาดนี้ทำไม่ได้ ถ้ามัวแต่ลูบหน้าปะจมูก ซุกนั่นซ่อนนี่ ไม่มีทางจะจัดการปัญหาได้ในเวลารวดเร็วขนาดนี้

บราซิล ไม่ใช่ประเทศที่พระเจ้าส่งมาให้สวยงามอะไรนักหนา เขามีประวัติการคอร์รัปชั่นยาวเฟื้อยเหมือนกัน แต่ที่เขาต้องหันมาจัดการกับเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพราะมันเป็นหม้อข้าวหม้อแกงของเขา ถ้าเขาปล่อยให้เรื้อรัง เขาจะไม่มีข้าวกิน

เศรษฐกิจที่ย่ำแย่มากของเขา ทำให้เขาต้องหันหลังกัดฟันสู้ เขารู้ว่าเขาเหยาะแหยะ สะง่อนสะแง่นดีดสะดิ้งไม่ได้ เพราะประเทศกำลังปริ่มน้ำ คนยากจนและคนตกงานค่อนประเทศ

ถ้าไม่ประคองอุตสาหกรรมนี้ไว้ เขาจะได้เห็นประเทศเขาจมน้ำต่อหน้าต่อตา

เมาท์กันว่า ถ้ามันเข้าที่เข้าทาง พวกที่เจอข้อหาเจอคุกตอนนี้ก็อาจถูกปล่อยหรือบรรเทาโทษกันไป แต่ก็นั่นแหละ อันนั้นค่อยไปว่ากันทีหลัง

ลองกลับมาดูอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งที่เราเผชิญปัญหาบ้าง ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่ เราแก้ปัญหาได้รวดเร็วทันใจ พอรักษาชีวิตพวกเดียวกันไว้ได้แค่ไหน

กว่าจะแก้ปัญหาสินค้าประมงโดนระงับ เราใช้เวลาหลายปี หลายชีวิตพลีเปล่าๆ ไปเสียมากมาย

คือฉันไม่ได้บอกว่าการแก้ปัญหาของบราซิลเป็นการแก้ไขปัญหาที่เปี่ยมจริยธรรม แต่ฉันบอกว่าเมื่อถึงตาจนคนเราสู้ได้ทุกอย่าง เพื่อไม่ให้ตัวเองกับเพื่อนร่วมชาติจมน้ำ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่พบ 7 อำเภอ 24 หมู่บ้าน ประสบภัยแล้ง จึงลงไปแก้ปัญหาด้วยตัวเอง พร้อมมอบหมายรองผู้ว่าราชการจังหวัดแก้ปัญหาร่วมกับอำเภอและหน่วยงานต่างๆ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเข้าไปเก็บกักในแหล่งน้ำสำหรับประชาชนใช้อุปโภคบริโภค จนสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้

“ระยะนี้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาภัยแล้งดีขึ้น แต่ได้เฝ้าระวังปัญหาอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าภายในเดือนมิถุนายน 2560 ฝนทิ้งช่วง ภัยแล้งจะกลับมาอีก แต่สำหรับชุมชนใหญ่ๆ เช่น เทศบาลนครนครราชสีมา และตำบลใกล้เคียงที่ใช้น้ำประปาจากเขื่อนลำตะคอง และเขื่อนลำแซะ รวมทั้งประปาส่วนภูมิภาคที่มีแหล่งเก็บน้ำในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ยืนยันว่าอีก 3-4 เดือนข้างหน้าจะไม่ขาดแคลนน้ำอย่างแน่นอน เพราะได้วางแผนบริหารจัดการน้ำร่วมกันไว้แล้ว ขอประชาชนอย่าวิตกกังวล ถ้าฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ภัยแล้งปีนี้จะหมดไป” นายวิเชียร กล่าว

นายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนทั้ง 5 แห่ง ยังต้องเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว ซึ่งเป็นเขื่อนหลักที่ใช้อุปโภคบริโภคในพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น อำเภอเมือง, สีคิ้ว, ขามทะเลสอ และสูงเนิน เหลือน้ำเพียง 71 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 22 ซึ่งต้องเปิดประตูระบายน้ำให้ประชาชนใช้อุปโภคบริโภคและหล่อเลี้ยงระบบนิเวศ 346,000 ลบ.ม. จึงขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำให้มากเพื่อมีน้ำใช้จนพ้นหน้าแล้ง

“เขื่อนมูลบน เหลือน้ำ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 เขื่อนลำแซะ เหลือน้ำ 76 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 27 เขื่อนลำพระเพลิง เหลือน้ำ 62 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 และเขื่อนลำปลายมาศ เหลือน้ำ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 47 ในภาพรวมยังเพียงพอบริหารจัดการได้จนพ้นหน้าแล้งนี้ แต่ถ้ามีฝนตกเหนือเขื่อนอย่างต่อเนื่องจะทำให้การบริหารจัดการน้ำง่ายขึ้น” นายชิตชนก กล่าว

นายณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ ผู้บริหารโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว) เปิดเผยว่า ปีนี้ สสว. ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เดินหน้าโครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด เพื่อสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีศักยภาพให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับจังหวัด สามารถถ่ายทอดการจัดการองค์ความรู้ธุรกิจสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในภูมิภาคได้

นายณัฐพล กล่าวว่า จะรับสมัครเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการถึงวันที่ 31 พฤษภาคม นี้ กลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศในภาคการผลิตและบริการ ทั้งกลุ่มเพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจ (สตาร์ตอัพ) กลุ่มที่มีศักยภาพในตลาด (ไรซิ่ง สตาร์) และกลุ่มอยู่ในช่วงฟื้นตัว (เทิร์นอะราวด์) โดยจะดึงเอสเอ็มอีเข้าสู่กระบวนการเพื่อพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน คือ การตลาดการจัดการ การขาย บรรจุภัณฑ์ และการเงินตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 300 ราย ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ คือให้เกิดการสร้างเครือข่ายในกลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เอสเอ็มอีเติบโตอย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาล

รศ. ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี จัดงาน “ซีเนียร์ โปรเจ็กต์#3” แสดงนวัตกรรมวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ฝีมือเยาวชน ครั้งที่ 3 เพื่อแสดงศักยภาพนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. และนักเรียนจากโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีสู่ต้นแบบนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนกว่า 300 ต้นแบบนวัตกรรม

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวอีกว่า ผลงานนวัตกรรมงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดเป็นฝีมือของเยาวชน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. และนักเรียนในโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) มธ. ผลงานวิจัยที่จัดแสดงมี อาทิ แอพฯ ผู้ช่วยหมอ ตามติดพฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยโรคไต เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมแพทย์ผู้รักษาทำการวินิจฉัยพร้อมทั้งวางแผนปรับชนิดยา ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร รวมถึงปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดภาวะวิกฤตของผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังมีโดรนเตือนภัย รับหมอกควัน-ไฟป่า พัฒนาขึ้นมาเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยเหตุเพลิงไหม้ ไฟป่า และหมอกควันที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและเอื้อประโยชน์แก่หน่วยที่เกี่ยวข้องในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ และแอพฯ ติดตามพฤติกรรมเด็กออทิสติก สนับสนุนการสร้างพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด เป็นต้น

“คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งด้านวิทย์และบริหารตามยุทธศาสตร์ ซายส์+บิสสิเนส เพื่อพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมการบริการ รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ในหลากรูปแบบ กิจกรรมซีเนียร์โปรเจ็กต์#3 ถือเป็นงานที่แสดงศักยภาพของเยาวชน นักศึกษาที่สามารถพัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ มีศักยภาพพร้อมต่อการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งเยาวชนและนักศึกษาดังกล่าวถือเป็นกำลังสำคัญหนึ่งในการอัพสปีดเศรษฐกิจไทยรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0” คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าว

กรมส่งเสริมสหกรณ์เตรียมตั้งโต๊ะถก พ.ร.บ.กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์-เครดิตยูเนี่ยน พร้อมสมาชิกสหกรณ์ 200 แห่ง ร่วมกับที่ปรึกษาองค์กรอิสระให้คำแนะนำตามมติ ครม. ก่อนคลอดเกณฑ์ 1 มิ.ย. นี้

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 18 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นสมาชิกสหกรณ์ 200 แห่ง เกี่ยวกับ “ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ว่าด้วยการกำกับดูแลกิจการทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน” ก่อนมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 เพื่อยกระดับการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มีเสถียรภาพทางการเงินที่มั่นคงและป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของสหกรณ์ ซึ่งที่ผ่านมากรมส่งเสริมสหกรณ์ได้หารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เพื่อร่างหลักเกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนในระยะเร่งด่วน โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่

การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทไม่เกิน ร้อยละ 3.5 ต่อปี กำหนดอัตราเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วของสมาชิก ไม่เกิน ร้อยละ 6 ต่อปี และจ่ายเงินปันผลไม่เกิน ร้อยละ 80 ของกำไรสุทธิ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 6 ของเงินรับฝากและเงินกู้ยืม เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสหกรณ์และกำหนดความสามารถในการก่อหนี้ไม่เกิน 1.5 เท่าของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรอง เพื่อไม่ให้ก่อหนี้เกินตัว

นอกจากนี้ การกำกับลูกหนี้รายใหญ่กำหนดสหกรณ์ให้กู้กับสหกรณ์หนึ่งได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้นรวมกับทุนสำรอง และไม่เกิน 15 ล้านบาท ในกรณีที่ไม่มีหลักประกัน เพื่อไม่ให้สินเชื่อกระจุกตัวที่ลูกหนี้รายใดรายหนึ่ง พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการลงทุนของสหกรณ์ในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและต้องไม่เกิน ร้อยละ 10 ของทุนเรือนหุ้น รวมกับทุนสำรอง เพื่อไม่ให้การลงทุนของสหกรณ์มีความเสี่ยงสูง สำหรับคุณสมบัติของสมาชิกสมทบ กำหนดให้รับได้เฉพาะ บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือบุตรของสมาชิกสหกรณ์นั้น หรือบุคคลในหน่วยงานที่ขาดคุณสมบัติจะเป็นสมาชิกเท่านั้น เพื่อป้องกันการระดมทุนจากภายนอก และสหกรณ์จะต้องรายงานธุรกรรมทางการเงินต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ทุกเดือน เพื่อให้สามารถติดตามการดำเนินงานของสหกรณ์ได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงกำหนดมาตรฐานการสอบบัญชีให้ใช้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของงบการเงินด้วย

“ตามมติ ครม. ท่านนายกฯ ให้กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงการคลัง นำข้อกำหนดมาพิจารณาหลักเกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์มองใน 2 ส่วนที่นายทะเบียนของกรมสามารถทำได้ คือการให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกเพื่อให้สหกรณ์มีต้นทุนในการดำเนินการที่เหมาะสม เพราะบางครั้งเวลามองในเรื่องกำไรของสหกรณ์มากเกินไปนั้นทำให้เกิดปัญหา เลยต้องกำหนดประเด็นสำคัญที่จะให้สหกรณ์มีการลงทุนเหมาะสม ส่วนปันผลไม่เกิน ร้อยละ 6 ต่อปี ไม่เกินร้อยละ 80 ของกำไรสุทธิ และจำเป็นจะต้องมีเงินทุนสำรองในการใช้ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วต้องบังคับใช้อย่างเข้มข้น และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั่วประเทศเป็นตุ๊กตา ร้อยละ 3.5 นี้ เราวางไว้เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งในการเชิญสมาชิกมาระดมความเห็นจะได้แลกเปลี่ยนประเด็นนี้อีกครั้ง”

นายวิณะโรจน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่อง ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 6 ของเงินฝากและเงินกู้ยืม การกำหนดคุณสมบัติสมาชิกสมทบ ปัจจุบันปัญหาคือกว้างเกินไป หลายๆ สหกรณ์มักประสบปัญหาแล้วถอนเงินออกไป ทำให้สหกรณ์มีปัญหาเรื่องเงินสภาพคล่อง จากนี้ไปสมาชิกสมทบจะต้องอยู่ในสมาชิกครอบครัวเท่านั้น เพื่อป้องกันเงินลงทุนภายนอก หาก พ.ร.บ. นี้มีผลบังคับใช้จะกันตรงนี้ไม่ให้เกิดขึ้น ส่วนความสามารถในการถอนหนี้ของสหกรณ์จะต้องไม่เกินความสามารถของเงินทุนเกินหุ้นทุนสำรอง เพราะบางที่ก่อหนี้ทำให้เกิดความเสี่ยง ที่สำคัญคือการก่อหนี้ของรายใหญ่ต้องให้กู้กับสหกรณ์หนึ่งได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของสหกรณ์ที่เป็นลูกหนี้

อย่างไรก็ดี การกำหนดมาตรฐานต่างๆ ได้ปรับให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมองเรื่องของ ก.ล.ต. เข้ามาเป็นมาตรวัดและการกู้ภายในของสมาชิกต้องสามารถเปิดเผยข้อมูล ผลประโยชน์และค่าตอบแทนของกรรมการ ผู้จัดการ ในที่ประชุมใหญ่ได้ทุกข้อ รวมถึงธุรกรรมทางการเงินจะต้องมีการรายงานทุกเดือน ทั้งนี้ การปรับปรุง พ.ร.บ. นี้ จะต้องนำหลักเกณฑ์มาหารือกันอีกครั้งก่อนประกาศใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งทีมเพื่อวิเคราะห์ รวมถึงตามมติ ครม. ได้มีมติให้จัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบและเป็นที่ปรึกษาในช่วงการปรับตัวให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. กำกับดูแลฯ ให้กับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนด้วย

กรมชลประทานวางแผนเดินสายระดมมันสมองจากหน่วยงานภาครัฐ 6 ภาค พื้นที่กว่า 1,200 คน ร่วมบูรณาการแก้ปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ หวังเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำหลาก และเจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหาและการเกิดอุทกภัยในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการทบทวนยุทธศาสตร์น้ำของประเทศในครั้งนี้ว่า เป็นการบูรณาการร่วมกันคิดและร่วมกันแก้ไขเรื่องน้ำในภาพรวม โดยจะต้องปรับให้สอดคล้องกับปัญหาน้ำที่เกิดขึ้น จากแผน 12 ปี เป็นแผนงาน 20 ปี โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 2 น้ำสนับสนุนภาคการผลิต (น้ำเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและบรรเทาอุทกภัย โดยในยุทธศาสตร์นี้จะต้องทบทวนในประเด็นเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นถนน สะพาน รวมทั้งพื้นที่ชุมชนที่มีการขยายตัว ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้จัดทำแผนอย่างเป็นระบบและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาตามบทบาทของแต่ละหน่วยงาน

ด้าน ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานวางแผนจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ การเสริมสร้างความมั่นคงน้ำภาคการผลิตและการป้องกันอุทกภัยทั้งระบบ รวมถึงการบูรณาการแผนการดำเนินการสิ่งกัดขวางทางน้ำ ในเขตพื้นที่ 6 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง ระหว่างวันที่ 9-30 พฤษภาคม 2560 เพื่อบูรณาการแผนปฏิบัติงานของภาครัฐ พร้อมกับทบทวนเป้าหมายและมาตรการที่สอดคล้องกันก่อนส่งต่อให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ไปจัดทำการรับฟังความคิดเห็นกับภาคประชาชนทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ต่อไป รวมถึงระดมสมองแก้ไขและปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงปัญหาและสาเหตุการเกิดอุทกภัยในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนาไม่น้อยกว่าเขตพื้นที่ละ 200 คน

ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2558 นั้น กรมชลประทานได้ตระหนักถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทานตามที่ได้รับมอบหมายจาก กนช. เพื่อการดำเนินการที่ถูกต้อง ครบถ้วนและทันท่วงทีตามสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งการแก้ไขและปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นมาตรการหนึ่งที่กรมชลประทานเห็นว่าควรดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง เป็นอันดับต้นๆ เพื่อการระบายน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในเขตพื้นที่ 6 ภาคดังกล่าว จะเริ่มเปิดสัมมนาครั้งแรก ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยจัดสัมมนาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน จากนั้นจะไปสัมมนาที่ภาคกลาง วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ที่กรุงเทพฯ ภาคตะวันออก วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ตอนบน วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ และปิดการสัมมนาที่ภาคเหนือ วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ส่วนข้าราชการและเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนจากหน่วยงานราชการที่เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำ โดยเฉพาะน้ำท่วม ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรน้ำ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

นายประเสริฐ โมรา เกษตรอำเภอปะเหลียน handjobtw.org จังหวัดตรัง กล่าวว่า พริกไทยที่มีชื่อของตรังคือ พันธุ์ปะเหลียน ซึ่งในอดีตปลูกกันเยอะ จนเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูงและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มตลาดยุโรปว่า มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่ต่อมาเหลือกิโลกรัมละไม่กี่สิบบาท เกษตรกรจึงหันไปปลูกยางพาราแทนทำให้สวนพริกไทยหาย เมื่อมาถึงยุคที่ยางพาราราคาตกต่ำ กลุ่มเกษตรกร 20 คน ในนามศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลสุโสะ จึงได้นำพริกไทยพันธุ์นี้ที่มีต้นกำเนิดดั้งเดิมบนเทือกเขาบรรทัดมาปลูกกันในพื้นที่ 25 ไร่ หรือประมาณ 2,500 ต้น

ด้าน นายจรัส บวชชุม ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยน้ำตก กล่าวว่า ปลูกมาได้ 2 ปี พริกไทยเริ่มให้ผลผลิต และส่งไปขายทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด แต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศซึ่งต่างเชื่อมั่นในพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน และให้ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น เนื่องจากมีลักษณะเด่นตรงที่กลิ่นหอม เผ็ดร้อนจัดจ้าน ผลแก่สีเขียวเข้ม และผลสุกสีแดงเข้ม โดยพริกไทยดำ อยู่ที่กิโลกรัมละ 500-600 บาท ส่วนพริกไทยขาว กิโลกรัมละ 1,100-1,200 บาท

ธปท. ผุดคลินิกแก้หนี้ ดึงสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท และ 16 ธนาคารพาณิชย์ ร่วมมือหวังสางปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล ช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ แต่มีเงื่อนไขห้ามก่อหนี้เพิ่มภายใน 5 ปี

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้) ว่า ธปท. สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) วางโครงสร้างพื้นฐานการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ เน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย

ธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง และ SAM จึงร่วมกันจัดตั้งโครงการคลินิกแก้หนี้ขึ้น เพื่อช่วยลูกหนี้ที่สุจริตและมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหา โดย SAM จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่แทนเจ้าหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ตามศักยภาพที่แท้จริง

“โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มิถุนายน นี้ ครอบคลุมเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันของธนาคารไทยและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีเจ้าหนี้หลายราย และมีสถานะเป็นหนี้เสีย (ค้างชำระมากกว่า 90 วัน) ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2560” นายวิรไท กล่าว

ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวอีกว่า ประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีเงินเดือนประจำ อายุไม่เกิน 65 ปี มีหนี้บัตรเครดิต หนี้กดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันค้างเกินกว่า 3 เดือน กับธนาคารตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และมียอดหนี้เงินต้นค้างชำระรวมไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยจากข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตลูกหนี้ในกลุ่มนี้หลายแสนราย ยอดเงินรวมกันมากกว่า 1 แสนล้านบาท

ก.เกษตรฯจับมือกลุ่มมิตรผล ต่อยอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

นำร่อง3โครงการ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และต่อยอดเทคโนโลยีการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. กับ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด ว่า เป็นการร่วมมือแบบประชารัฐเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ สภาพสังคม โดยที่ผ่านมางบประมาณด้านการวิจัยพัฒนาน้อยมากๆเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความพร้อม โดยเฉพาะต้องใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยี เป็นการทำงานในลักษณะประชารัฐ กระทรวงเกษตรฯคาดหวังว่าจะเป็นแบบอย่างให้กับงานอื่นๆในอนาคตด้วย

สำหรับโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ช่วงแรกระยะ 5 ปี ในงานวิจัย 3 โครงการ คือ 1. โครงการวิจัยการปลูกพืชหลังนาเพื่อเป็นพืชหมุนเวียน และ บำรุงรักษาดิน งบ 5.4 ล้านบาท พืชที่เลือกใช้ คือ ถั่วเหลือง เพราะตลาดต้องการสูง แต่ผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอ โดยปัจจุบันมีความต้องการถั่วเหลืองปีละ 2 ล้านตัน ไทยผลิตได้ปีละ 50,000 ตันที่เหลือต้องนำเข้า ทั้งนี้ เป็นการทดลองปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ สจ.5 นำร่องในพื้นที่ 150 ไร่ ของ อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น

2. โครงการวิจัยการป้องกันศัตรูพืชด้วยสารควบคุมศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติ เป็นการส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะต้องไม่ใช้สารเคมีทำการเกษตร จึงต้องการวิจัยพัฒนาการป้องกันควบคุมแมลงศัตรูพืชที่ไม่ใช้สารเคมี โดยใช้วิธีธรรมชาติ และ นวัตกรรมอื่นๆ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจะส่งผลให้มีสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และลดการนำเข้าสารเคมี

3. โครงการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน เป็นการศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรในพื้นที่มีผลผลิตต่ำ โดยเน้นเป็นพื้นที่เฉพาะบริเวณ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ย และ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กรมการข้าว และ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการ KUBOTA Farmer Academy 2017 ขึ้นเป็นปีที่ 2 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Real Smart Farmer” ลงมือจริง บนพื้นที่จริง กับเกษตรกรตัวจริง สานต่อความสำเร็จจากการจัดโครงการในปีแรก ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยปีนี้เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้าร่วมเรียนรู้การทำนาที่มีประสิทธิภาพแบบเข้มข้นครบวงจร และลงแปลงนาปฏิบัติการเพาะปลูกจริงทุกกระบวนการ พร้อมบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสัมผัสวิถีชีวิตชาวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ “ลุงบุญมี” เกษตรกรตัวจริง ผู้ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2554 ในวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2017 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-เกษตรทิพย์ จ.ศรีสะเกษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นายโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Smart Farmer อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผล พร้อมกับขยายฐานการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการทำนาแบบถูกวิธีที่จะต่อยอดให้กลายเป็นชาวนายุคใหม่ได้ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้ภาคเกษตรเข้าสู่ยุคเกษตร 4.0

ในปีนี้ บริษัทจึงได้จัดโครงการ KUBOTA Farmer Academy 2017 ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด “Real Smart Farmer : ลงมือจริง บนพื้นที่จริง กับเกษตรกรตัวจริง” เรียนจากผู้รู้จริง สร้างประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำ เสริมสร้างความสัมพันธ์ แบ่งปันความรู้จากเพื่อนเครือข่าย ตลอดจนการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในการหาช่องทางการจัดจำหน่าย อันจะต่อยอดธุรกิจในอนาคต”

โครงการ KUBOTA Farmer Academy 2017 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2017 รวมระยะเวลาการเข้าร่วมทำกิจกรรม 5 วัน 4 คืน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุข สยามคูโบต้า-เกษตรทิพย์ จ.ศรีสะเกษ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้พบกับกิจกรรมต่างๆ อาทิ เรียนรู้ของการทำนาแบบครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว สอดแทรกด้วยวิธีการ KUBOTA (Agri) Solutions ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต อย่างมีประสิทธิผล พร้อมร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากมนุษย์เงินเดือนผู้ที่พลิกชีวิตมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างเต็มตัวจนประสบความสำเร็จ

พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาหลักสูตรการทำนาแบบยุคใหม่จากลุงบุญมี สุระโครต เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2554 และเรียนรู้เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ข้าว ตลอดจนการบริหารจัดการการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างครบครัน
บริษัท ฯ จึงขอเชิญชวน คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 45 ปี และมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 20 มิถุนายน 2560 ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: KubotaFarmerAcademy หรือโทร. 063-204-1340 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น รับจำนวนจำกัด 30 ท่านเท่านั้น

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะประธานภาคีเครือข่ายกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการฟื้นฟูและบำรุงรักษาทะเลกรุงเทพฯ เป็นประธานเปิด “โครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา” และเปิดเส้นทางศึกษาและชมธรรมชาติป่าชายเลนชายทะเลบางขุนเทียน พร้อมนำคณะผู้บริหาร กทม. ภาคีเครือข่าย ประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่นำร่อง 10 ไร่

พล.ต.อ.อัศวินเปิดเผยว่า กทม.ได้เริ่มปลูกป่าชายเลนและปักไม้ไผ่เพื่อทำหลักกันคลื่นลมทะเลกัดเซาะมาเป็นระยะเวลา 5 เดือนแล้ว โดยปักไม้ไผ่ในลักษณะสลับสับหว่างคล้ายฟันปลา เพื่อให้น้ำทะเลพัดทรายเข้าไปอยู่ในแนวไม้ไผ่ ตามวิธีการที่เรียกว่า “ที-กรอยน์ธรรมชาติ” ต่อมาพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน บริเวณดังกล่าวมีพื้นดินหรือทรายสูงขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร (ซม.) และเชื่อว่าในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า จะมีพื้นดินเพิ่มขึ้นอีก 50 ซม. และในส่วนของการปลูกป่าชายเลนก็จะขยายบริเวณการปลูกต้นไม้ให้ได้ 1,000 ไร่ ในปีนี้

“ที่ผ่านมา ได้รับบริจาคต้นไม้จากทุกภาคส่วน ทั้งภาคีเครือข่ายรัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่ง กทม.ไม่ได้บังคับว่าต้องบริจาคเป็นจำนวนมาก เพียงคนละ 2-3 ต้นก็ได้ และต่อมาในเรื่องของเงินบริจาค กทม.ได้ตั้งคณะกรรมการ 5 คน เป็นตัวแทนจากชุมชน 2 คน ที่เหลือคือ อาจารย์ ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน และหัวหน้าฝ่ายรายได้ของเขต เพื่อทำให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างโปร่งใส” พล.ต.อ.อัศวินกล่าว และว่า โครงการนี้ นอกจากช่วยให้ กทม.ได้พื้นดินเพิ่มแล้ว ในกระบวนการการอนุรักษ์ยังเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ด้วย โดย กทม.จะจ้างงานปลูกต้นไม้ สร้างแนวไม้ไผ่กันน้ำทะเลกัดเซาะ ขูดเพรียงที่กัดกินต้นไม้ ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ยังสามารถเรียกคืนระบบนิเวศกลับมา ห่วงโซ่อาหารในชายทะเลบางขุนเทียนสมบูรณ์ขึ้นด้วย

พล.ต.อ.อัศวินกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของเส้นทางธรรมชาติ กทม.มีแผนให้ก่อสร้างเส้นทางขึ้นมาอีกหนึ่งเส้น เพื่อกำหนดให้เป็นทางเข้าแบบวันเวย์ ซึ่งในส่วนนี้จะขอความร่วมมือไปยังภาคเอกชนต่างๆ ให้ร่วมช่วยกันสร้าง เชื่อว่าในอนาคตอีก 1-2 ปีนับจากนี้ บางขุนเทียนจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน พบว่า ในทุกปีจะเสียผืนดินจากการถูกน้ำทะเลกัดเซาะปีละ 10 เมตร จากข้อมูลปี 2518-2556 พื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียนถูกกัดเซาะมีความยาวรวม 4.7 กิโลเมตร สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนว่าแนวฝั่งเริ่มหายไปตามแรงคลื่นลมทะเลคือ บริเวณหลักเขตกรุงเทพมหานคร หลักที่ 28 ที่แบ่งพื้นที่ระหว่างเขตบางขุนเทียน กทม.กับ จ.สมุทรปราการ และหลักเขตที่ 29 ที่แบ่งพื้นที่ระหว่างเขตบางขุนเทียน กทม. กับ จ.สมุทรสาคร ทั้งนี้ พื้นที่ที่ถูกชายทะเลกัดเซาะอดีตเคยเป็นบ่อกุ้งของชาวบ้าน ประชาชนบางส่วนเปิดเป็นร้านอาหาร และประตูระบายน้ำของเขตบางขุนเทียน

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ระบุ แรงงานเกษตรพื้นที่ภาคกลาง ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ปลูกข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการวางแผน และนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทน จึงไม่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานคน โดยอัตราค่าจ้างทั้งส่วนของแรงงานคนและเครื่องจักร ระหว่างปี 58 และ 59 ยังไม่แตกต่างกันมากนัก

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย “ความต้องการแรงงานของครัวเรือนภาคการเกษตร ตามชนิดสินค้าและขนาดฟาร์ม” ซึ่งเป็นงานบูรณาการร่วมกันของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 – 12 โดยศึกษาถึงสถานการณ์และประสิทธิภาพของแรงงานแต่ละประเภทการผลิตแยกตามขนาดฟาร์ม และเชื่อมโยงถึงความต้องการแรงงานภาคการเกษตรตามประเภทและขนาดฟาร์ม

จากการลงพื้นที่ ได้ทำการศึกษาเกษตรกรสาขาพืช ประกอบด้วย ข้าว มันสำปะหลังโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และลำไย ตามขนาดฟาร์ม ในแต่ละกิจกรรมและกระบวนการผลิต ในการนี้ ขอยกตัวอย่างการศึกษาในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 (สศท.7) ซึ่งทำการศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลังโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ภาคกลางของแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ดำเนินการเก็บข้อมูลในจังหวัดลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ส่วนมันสำปะหลังโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เก็บข้อมูลในจังหวัดลพบุรี ชัยนาท สระบุรี สุพรรณบุรี

ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า แรงงานภาคเกษตรในพื้นที่ภาคกลางไม่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากเกษตรกรนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก ดูแลรักษา จนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งมีทั้งส่วนที่ว่าจ้าง และจัดหาเครื่องจักรมาไว้เป็นของตนเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพื้นที่มากๆ ซึ่งนอกจากจะใช้สำหรับในฟาร์มของตนเองแล้ว ยังนำไปรับจ้างให้บริการเกษตรกรรายอื่นด้วย

สำหรับการจ้าง เกษตรกรจะมีการวางแผนการเพาะปลูก และนัดหมายล่วงหน้ากับผู้ว่าจ้างไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ตรงกับรายอื่นๆ โดยค่าจ้างจะคิดเหมาเป็นไร่ และอัตราค่าจ้างจะมีตั้งแต่ไร่ละ 200 – 600 บาท ในส่วนของแรงงานคน ส่วนใหญ่จะทำการว่าจ้างสำหรับงานด้านการดูแลรักษา ซึ่งค่าจ้างจะคิดใน 2 แบบ คือ เป็นรายวัน วันละ 300 บาท หรือเหมาเป็นไร่ อยู่ที่ไร่ละ 50 – 60 บาท

อย่างไรก็ตาม พบว่า แรงงานภาคเกษตรทั้งของข้าว มันสำปะหลังโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชั่วคราว มีทั้งเกษตรกรที่ว่างจากการทำการเกษตรของตนแล้วมารับจ้าง และที่เป็นแรงงานรับจ้างทางการเกษตรโดยเฉพาะ ทั้งในรูปแบบทำเองคนเดียว และทำเป็นทีมงาน และหากกรณีผลผลิตเกษตรกรไม่ดี เสียหายจากภัยธรรมชาติ ผู้รับจ้างจะปรับลดค่าจ้างเครื่องจักรลง เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ค่าจ้างแรงงานคนค่อนข้างคงที่ไม่ปรับลด

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างช่วงปี 2559 และ ปี 2558 พบว่า อัตราค่าจ้างทั้งส่วนของแรงงานคน และเครื่องจักรของทั้งสองปีไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเกษตรกรและท่านที่สนใจสามารถสอบถามผลการศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท โทร. 056 405 005 – 6 หรือ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นำเทคโนโลยี Big Data วางแผนเศรษฐกิจการเกษตร บูรณาการร่วมหน่วยงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และเศรษฐกิจการเกษตรทุกด้าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ หรือ Big Data Analytics ให้อยู่ในระบบฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ มั่นใจ ช่วยการวางแผนการผลิตทางการเกษตรได้มีประสิทธิภาพ ทุกหน่วยงานนำไปใช้ได้ทันที

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลายมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. ได้ดำเนินจัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer ONE) ร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) ซึ่งให้ความร่วมมือทางโครงสร้างพื้นฐานทางระบบคอมพิวเตอร์ มีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้คำแนะนำในการตรวจสอบชำระข้อมูลทะเบียนเกษตรกร จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลเกษตรกรกลางที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับผิดชอบในการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลเกษตรกรกลางดังกล่าวมาใช้ร่วมกับคลังข้อมูลสถิติการเกษตรและการวิเคราะห์นำเสนอด้วยระบบ Business Intelligence ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วในปี ที่ผ่านมา และในปี 2560 ได้ขยายฐานข้อมูลด้วยการนำข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น ข้อมูลเกษตรกรจากกรมหม่อนไหม กรมการข้าว และกรมอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมทุกสาขาการเกษตร ซึ่งจะได้ฐานข้อมูลเกษตรกรกลางที่สมบูรณ์ นำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอัจฉริยะ (Big Data Analytics) ซึ่งจะทำให้การวางแผนการผลิตทางการเกษตรได้มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่หลากหลายเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและนำมาใช้ในเชิงนโยบายด้านการเกษตร ทำให้การคาดการณ์ล่วงหน้าและการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร การเชื่อมโยงข้อมูล ทั้งฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตร สถิติการเกษตร ฐานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กยท. ร่วมกับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางไทย ลุยขยายตลาดยางในต่างประเทศ จับมือบริษัทผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของจีนลงนามในบันทึกข้อตกลง เตรียมซื้อขายยางแท่ง STR 20 จากไทย

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนสถาบันเกษตรกรสวนยาง เข้าร่วมงานนิทรรศการ China International Rubber Tire & Auto Accessory Exhibition ครั้งที่ 8 ณ เมืองกว่างเล่า ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2560

ในโอกาสนี้ ได้ลงนามในบันทึกความสนใจสั่งซื้อยางแท่ง STR 20 กับกลุ่มบริษัท เหินฟง ผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของประเทศจีน ที่มีกำลังผลิตกว่า 30 ล้านเส้นต่อปี โดย กยท. จะดำเนินการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงเพื่อนำมาผลิตตามปริมาณ และคุณภาพที่ผู้ซื้อกำหนด

“โดยในปีนี้ กยท. จะเพิ่มกำลังการผลิตในโรงงาน 4, 5 และ 6 ทางภาคอีสาน อีกเท่าตัว เพื่อให้เพิ่มสัดส่วนทางการตลาด และเจาะตลาดใหม่ของจีนที่ยังมีความต้องการใช้ยางในพื้นที่กว่า 1.5 ล้านตันต่อปี” ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย

นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว ประธานสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ว่ามีเห็บน้ำระบาดหนักในทะเลสาบสงขลา อันเนื่องมาจากน้ำในทะเลสาบสงขลาจืดกว่าปกติ เพราะมีน้ำจืดจากฝนตกน้ำท่วมไหลลงทะเลสาบปริมาณมาก ทำให้เห็บน้ำเติบโตได้ดีและเกาะกินเลือดปลากะพงขาวที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบ พื้นที่ตำบลปากรอ และป่าขาด อำเภอสิงหนคร ทำให้ปลากะพงขาวตายกว่า 100 กระชัง เกษตรกรขาดทุน

“การแก้ปัญหาทำได้ยาก เนื่องจากเป็นการเลี้ยงปลาในระบบเปิด การจะนำสารเคมีฆ่าเห็บน้ำจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงต้องรอธรรมชาติช่วยเหลือ โดยให้น้ำเค็มเข้ามาตามสภาวะปกติ จะทำให้เห็บน้ำตายไป แต่ปัญหาคือเกษตรกรไม่มีเงินลงทุนรอบใหม่ จึงอยากให้ทางการช่วยเหลือ สมาพันธ์อยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอความช่วยเหลือ” นายชัยวุฒิ กล่าว

นายเดชาธร ไทยสนธิ แกนนำวิสาหกิจชุมชนเดชาธรผลิตมะพร้าว อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า เมื่อหลายปีก่อนตนผู้บุกเบิกตลาดมะพร้าวน้ำหอมและน้ำหวานในประเทศจีนเป็นรายแรก ยอมรับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้ราคามะพร้าวน้ำหอมในประเทศสูงขึ้น มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ทำให้เมื่อ 5 ปีก่อน มี “ล้ง” มะพร้าวส่งออกเกิดขึ้นจำนวนมากในจังหวัดราชบุรี แต่ปัจจุบันมี “ล้ง” เหลือเพียง 50 รายเท่านั้น ส่วนใหญ่เปลี่ยนตลาดไปสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย โดยส่งออกเฉพาะน้ำมะพร้าว ขณะที่ในอดีตเคยส่งไปจำหน่ายทั้งผลเดือนละมากกว่า 1 แสนผล ต่อมาตลาดส่งออกมีปัญหา เนื่องจากพ่อค้าจีนส่งตัวแทนเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทย เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายเองทั้งระบบ เหมือนการเข้ามาแทรกแซงตลาดทุเรียนและลำไย โดยรับซื้อผลผลิตถึงสวนทำให้ราคามะพร้าวลดลงในช่วงแรก

“ก่อนหน้านี้มะพร้าวน้ำหอมมีราคาผลละประมาณ 21 บาท นำไปขายในจีนราคาผลละ 70 บาท ซึ่งชาวจีนจะนิยมกินน้ำกะทิสด ขณะนี้ราคารับซื้อในสวน พ่อค้าจีนจะซื้อผลละ 15 บาท จากนั้นนำไปใส่กล่องจำหน่าย 9 ผล ต่อกล่อง ราคากล่องละ 60 หยวน ดังนั้น หน่วยงานราชการควรให้ความสนใจการประกอบกิจการของล้งเถื่อนจากจีน โดยควบคุมคุณภาพสินค้าตามมาตรฐาน GAP สำหรับความนิยมในจีนตลาดส่วนใหญ่ยังยอมรับผลผลิตจากไทย ทำให้แต่ละเดือนมียอดการส่งออกกว่า 1 แสนผล และมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง ดังนั้น การปลูกมะพร้าวน้ำหอมและน้ำหวานในประเทศยังมีอนาคตที่ดีจากการบริโภคเพื่อสุขภาพ ขณะที่มะพร้าวจากประเทศเวียดนามยังเป็นคู่แข่งสำคัญ” นายเดชาธร กล่าว

โรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เป็นปัญหาของทั่วโลกมาเป็นเวลานาน

ล่าสุด ผศ.นพ. ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ weareorganizedchaos.com อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยมีผู้ใหญ่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ใหญ่ ร้อยละ 3 แต่ในช่วง 30 ปีก่อนนี้ มีการให้วัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวในเด็กไทยทุกคนทำให้อัตราการติดเชื้อในเด็กลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 0.20 โดยรวมแล้ว ปัจจุบันมีผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้น มีอยู่ประมาณร้อยละ 2 หรือ 800,000-900,000 คน อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีเชื้อไวรัสนี้ ไม่รู้ตัวเอง ทำให้ไม่ได้เข้าสู่ระบบติดตามรักษา

ผศ.นพ. ปิยะวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เรื่องนี้มีการติดตามมานานจนรู้ว่า ไวรัสเหล่านี้เข้าไปแบ่งเซลล์อย่างไรบ้างในเนื้อตับ ทำให้มีการผลิตยาออกมารักษา ยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ล่าสุดมีการพัฒนายากินรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีให้หายขาดได้ ร้อยละ 90-100 โดยกินวันละ 1-2 เม็ด ต่อเนื่อง 3 เดือน แต่ยังไม่ได้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งอยู่ที่นโยบายรัฐบาลว่าจะบรรจุเข้าไว้ในชุดสิทธิประโยชน์หรือไม่ ทั้งนี้ อาจจะต้องดูความคุ้มค่า ความจำเป็นของผู้ป่วย ส่วนไวรัสตับอักเสบบีนั้น เบื้องต้นมียาฉีด ยากิน ที่ช่วยให้ลดปริมาณไวรัสลงจนไม่ก่อปัญหาต่อเนื้อตับ แต่ก็ต้องกินยาว 5-10 ปี หรือตลอดชีวิต ยังไม่ถือเป็นที่พอใจของแพทย์และผู้ป่วย ดังนั้น จึงมีการพัฒนายาใหม่เช่นกัน คาดว่า 5-10 ปีนี้ จะเริ่มมียาตัวใหม่ออกมา ดังนั้น ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์เหล่านี้องค์การอนามัยโลกจึงประกาศกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ให้หมดไปจากโลกได้ภายในปี 2030 หรืออีก 13 ปีข้างหน้า และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องทำให้คนที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ รู้ตัวเองให้ได้

“เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซีนั้น จะติดต่อผ่านทางเลือด เช่น มีการเจาะหู ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนที่มีเชื้อ และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน แต่การติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอดนั้น มีเพียงไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้นไม่ติดต่อทางน้ำลาย การกินอาหารร่วมกัน ส่วนการสัมผัสกันนั้น ยืนยันว่าไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อเมื่อโต 100 คน จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลันทั้งหมด แต่ 99 คน หายได้เองและมีภูมิคุ้มกันโรคขึ้นมา มี 1 คน ที่มีเชื้อต่อเนื่องในร่างกายที่ต้องรับการตรวจและรักษาจากแพทย์” ผศ.นพ. ปิยะวัฒน์ กล่าวและว่า ในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ รพ.จุฬาฯ จะจัดเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ตั้งแต่เวลา 07.00-16.30 น. ที่หอประชุมจุฬาฯ ค่าลงทะเบียน คนละ 300 บาท