วิธีทำอาหารจากเครือหมาน้อย ชาวไทลื้อ ในอำเภอเชียงคำ

จังหวัดพะเยาได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิม คือการทำอาหารจากใบเครือหมาน้อย หรือแองแทะ คนพื้นเมือง ทางภาคเหนือ เรียกว่า อ่อนหล้อน โดยเลือกใบเครือหมาน้อย (แองแทะ) ที่มีสีเขียวเข้มที่โตเต็มที่แล้วประมาณ 10-20 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด 1 ถ้วย เวลาขยี้ใบจะรู้สึกเป็นเมือกลื่นๆ เมื่อขยี้จนได้น้ำสีเขียวเข้มให้กรองเอากากใบเครือหมาน้อย (แองแทะ) ออก บางคนคั้นน้ำจากใบย่านางใส่ลงไปด้วยจะทำให้วุ้นแข็งตัวเร็ว

จากนั้นนำน้ำวุ้นที่ได้ปรุงรสตามชอบ หากต้องการรับประทานเป็นของคาวก็เติมพริกป่น ปลาป่น เนื้อปลาต้มสุก หัวหอม น้ำปลา ข้าวคั่ว ใบหอม และผักชีหั่น ถ้าอยากแซบก็ใส่น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาก็ได้ หรือถ้าต้องการรับประทานเป็นของหวาน อาจคั้นน้ำใบเตยใส่เพิ่มลงไป การใส่เกลือลงไปเล็กน้อยจะช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น แต่อย่าใส่มากจะออกรสเค็ม ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 ชั่วโมง น้ำคั้นจะจับตัวเป็นก้อนเหมือนวุ้น มักเรียกว่า วุ้นหมาน้อย แล้วเติมน้ำหวานหรือน้ำตาลลงไป รับประทานเป็นอาหารว่างที่ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ทางยา อีกด้วย

ชาวไทยพวนนิยมคั้นเครือหมาน้อยกับใบย่านาง จะทำให้วุ้นเครือหมาน้อยแข็งตัวได้ดีกว่า เพราะในใบย่านางจะมีเกลือแร่อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นวุ้นได้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับการใส่น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือเกลือ ช่วยทำให้เกิดวุ้นได้ดีเช่นกัน เครือหมาน้อยเป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในหมู่หมอยาพื้นบ้านในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือนานนับพันปีจนถึงปัจจุบันและเป็นที่น่าแปลกใจว่าแม้อยู่กันคนละทวีปกับบ้านเรา แต่ก็มีการใช้ในสรรพคุณที่เหมือนๆ กันเป็นส่วนใหญ่

“ดั้งเดิมนั้นผมเลี้ยงวัวพื้นเมือง โดยจะขายใน 2 แบบ คือ ขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อโดยทั่วไป และอีกส่วนขายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะนำไปเลี้ยงเป็นวัวลาน อันเป็นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมกันในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี”

“แต่ต่อมาต้องประสบปัญหาพื้นที่เลี้ยงวัวน้อยลง ทำให้เรามีปัญหาการขาดแคลนอาหาร ไม่สามารถไล่ต้อนให้ออกไปหากินหญ้าได้เหมือนเดิม จึงตัดสินใจเลิกเลี้ยง และเปลี่ยนมาเป็นเลี้ยงวัวพันธุ์แทน เพราะสามารถเลี้ยงอยู่กับบ้านได้ ไม่ต้องไปไล่ทุ่งเหมือนกับแต่ก่อน ทำมาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว”

คุณสุริยา พุ่มดอกไม้ หรือคุณไผ่ เป็นเจ้าของ ต้นไผ่ฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ตั้งอยู่เลขที่ 4/4 หมู่ 2 ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร. 084-008-6625 บอกเล่าเรื่องราวของการประกอบอาชีพในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงลักษณะโดยทั่วไปของฟาร์มแห่งนี้ไม่แตกต่างจากฟาร์มเลี้ยงวัวเนื้อของเกษตรกรรายย่อยที่มีอยู่กันโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศโดยเน้นการอาศัยพื้นที่บริเวณบ้านแหล่งที่ตั้งของคอกเลี้ยงที่มีลักษณะสร้างแบบง่ายๆ ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าอาหารสัตว์ที่มีอยู่รอบๆ เช่น ตามทุ่งหญ้าสาธารณะ หรือในไร่นาของเพื่อนเกษตรกร

แต่หากมองให้ลึกเข้าไป โดยเฉพาะในมุมมองต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของแล้ว ต้องถือว่า เป็นอีกหนึ่งฟาร์มที่มีความน่าสนใจ

ทั้งนี้เพราะผู้เป็นเจ้าของ ต้นไผ่ฟาร์ม ได้มุ่งมั่นที่จะเลือกเลี้ยงในรูปแบบของการทำให้เกิดมูลค่าของตัวสัตว์ที่มากขึ้นการทำให้เกิดมูลค่าของสัตว์ที่เลี้ยง เจ้าของฟาร์มบอกว่า ความหมายคือ สามารถขายได้ราคาสูงกว่าปกติของท้องตลาด

เป็นการสร้างตลาดที่อาศัย ความพึ่งพอใจของผู้ซื้อเป็นหลัก เรียกว่า หากถูกใจอยากได้แล้ว ราคาเท่าไรไม่เกี่ยง

หากผู้ซื้อเกิดความพึ่งพอใจ ก็พร้อมที่จะควักเงินออกมาจากกระเป๋า เพื่อจ่ายค่าตัววัว 1 ตัว ด้วยเงินในจำนวนหลักแสนบาท หรืออาจจะถึงหลักล้านบาทและนั่นคือสิ่งที่ไผ่ได้ทำในวันนี้ และต่อไปในอนาคต ด้วยการเลือกเลี้ยงสัตว์ที่เน้นความสวยงามของตัวสัตว์ ความแปลกประหลาดของตัวสัตว์

นับเป็นอีกหนึ่งมุมมองในการสร้างรายได้จากอาชีพที่แตกต่างจากสิ่งเป็นอยู่โดยทั่วไปในอาชีพการเลี้ยงสัตว์

“ที่เป็นหลักของผมตอนนี้คือ วัวเนื้อสายพันธุ์อินดูบราซิล และที่กำลังจะเริ่มต้น คือ การเลี้ยงม้าแคระและควายแคระ”

พันธุ์สัตว์ทั้ง 3 ชนิด เจ้าของต้นไผ่ฟาร์มบอกว่า ในเรื่องตลาดนั้น ไม่เป็นห่วงเพราะมีความต้องการสูงมาก

“อย่างควายแคระ ตอนนี้มีคนมาติดต่อขอซื้อตลอด บางคนบอกมาเลยว่า นายอยากได้ ให้ราคาควายแคระคู่นี้ถึง 5.5 แสนบาท” คุณไผ่ กล่าว

ทำไม ต้องฮินดูบราซิล

วันนี้ที่ต้นไผ่ฟาร์ม รายได้หลักจะมาจากการจำหน่าย วัวพันธุ์อินดูบราซิล จำนวนประมาณ 10 กว่าตัว

สำหรับวัวพันธุ์อินดูบราซิล เป็นโคเนื้อที่นำเข้าสายพันธุ์มาจากต่างประเทศ ประมาณปี พ.ศ. 2525 มีทั้งจากฟิลิปปินส์ อเมริกา คอสตาริกา เม็กซิโก และบราซิล โดยประเทศไทยมีการนำเข้าวัวพันธุ์นี้ครั้งแรกอยู่ในช่วงประมาณ ปี 2525

โดยนับตั้งแต่มีการนำเข้ามานั้น จะมีชื่อเรียกกันในกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจว่า วัวงามด้วยเป็นโคที่จัดอยู่ในกลุ่มวัวเนื้อที่เน้นถึงความสวยงาม ซึ่งแตกต่างจากวัวเนื้อสายพันธุ์ที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปในประเทศ เช่น พันธุ์บราห์มัน พันธุ์กำแพงแสน ที่จะเน้นถึงผลตอบแทนของอัตราการให้เนื้อเป็นหลัก

ด้วยลักษณะที่แตกต่างถึงเป้าหมายในการนำมาเลี้ยง จึงทำให้เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับและส่งเสริมให้เลี้ยงจากนักวิชาการและหน่วยข้าราชการที่เกี่ยวข้อง แต่ด้วยใจรักของผู้เลี้ยงที่มีต่อวัวสายพันธุ์นี้ จึงมีการเลี้ยงกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

“แต่ตอนนี้ไม่มีการนำเข้าแล้วครับ เพราะทางราชการไม่อนุญาต แต่ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เกษตรกรที่เลี้ยงวัวพันธุ์อินดูบราซิลก็มีการคัดและพัฒนาสายพันธุ์กันมาตลอด จนวันนี้กล่าวได้ว่าเป็นวัวอินดูบราซิลสายพันธุ์ไทยไปแล้ว และที่สำคัญมีความสวยงามมากกว่าพันธุ์ของต่างประเทศอีกด้วย”

“ในบ้านเรามีกลุ่มคนที่เลี้ยงอินดูบราซิลอยู่ โดยกระจายกันทั้งในภาคกลาง ภาคอีสาน และแต่ละปีจะมีการจัดประกวดโคอินดูบราซิลกันโดยตลอด”

จากคำบอกเล่าของคุณไผ่ จึงได้สรุปว่า เป็นการเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของคนที่ชอบเท่านั้น หากเปรียบเทียบก็เหมือนกับกลุ่มคนที่ชอบเลี้ยงม้า“ความสวยของวัวพันธุ์นี้เราจะดูกันที่ ลักษณะดี โครงสร้างต้องสูงใหญ่ ใบหูต้องยาว มีลักษณะกำบิดหยิกมีก้อย หน้าต้องโหนก เป็นหลัก”

“เดิมนั้นผมก็เลี้ยงวัวเนื้อพันธุ์ชาโรเล่ส์กับบราห์มัน แต่ประสบปัญหาว่า มีบางช่วงราคาตกต่ำ ไม่สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่เราต้องการ จึงเปลี่ยนมาเป็นวัวพันธุ์อินดูบราซิล เพราะผมดูในแง่ของผลตอบแทนแล้วดีกว่ามาก ยิ่งสามารถผสมพันธุ์แล้วได้ลูกที่สวยๆ มีลักษณะสวยตรงกับความต้องการ เราสามารถเรียกราคาได้ตามที่เราต้องการเลย อย่างที่ฟาร์มของผมจะขายในราคาตัวละ 50,000 บาท ขึ้นไป ต่ำกว่านี้ไม่ขาย”

“ในขณะที่หากเลี้ยงวัวเนื้อทั่วไป ราคาต้องขึ้นอยู่กับพ่อค้า จะให้เราเท่าไรก็ได้ ถ้าน้อยเราก็ไม่คุ้ม เหมือนกับเป็นการขาดทุน ผมคิดของผมแบบนี้”

“แต่สำหรับที่ฟาร์มผมทุกวันนี้วัวอินดูบราซิลที่เลี้ยงยังสามารถจำหน่ายเป็นเนื้อได้ด้วย โดยเฉพาะตัวที่ออกมาลักษณะไม่ได้ ความสวยไม่ถึง จะคัดออกมาเลี้ยงขุน พอได้ขนาดที่พ่อค้าต้องการก็จะขายให้กับพ่อค้าไป พ่อค้าก็จะตีราคาให้เหมือนกับการซื้อวัวเนื้อโดยทั่วไป ตัวหนึ่งไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป ในขณะที่ตัวสวยๆ คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และหากมีคนสนใจอยากได้ ผมก็จะแบ่งขายให้”

ดังนั้น ตอนนี้สำหรับต้นไผ่ฟาร์มแล้ว รายได้จึงเกิดขึ้นแบบกินรวบ 2 ต่อ คือ ขายได้ทั้งเป็นวัวเนื้อและขายในรูปแบบของวัวสวยงาม

เป็นแหล่งผลิตควายแคระและม้าแคระ“พอดีว่ามีคนมาบอกที่จังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ดมีควายแคระ เจ้าของจะขาย ผมเลยเดินทางไปซื้อ ซึ่งพ่อแม่ของควายแคระคู่นี้ก็มีลักษณะแคระเช่นกัน”

สำหรับควายแคระของต้นไผ่ฟาร์ม มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับควายปกติ เพียงแต่ย่อส่วนลงมาจนมีลักษณะแคระ ความสูงเต็มที่ตอนนี้ประมาณ 1 เมตร

“ปกติจะเห็นควายแคระที่มีลักษณะฟันเหยินและขาหน้าโกร่ง แต่ของผมไม่เป็นแบบนั้น มีลักษณะเหมือนควายปกติทุกอย่าง อีกทั้งยังมีนิสัยขี้เล่น และแข็งแรง” เจ้าของฟาร์มกล่าว

ควายแคระที่มีอยู่ในฟาร์มตอนนี้มีจำนวน 1 คู่ โดยเพศผู้ ซึ่งเป็นควายเผือก ชื่อฝอยทอง อายุประมาณ 2 ปีกว่า ในขณะที่เพศเมีย ชื่อเปียกปูน อายุ 3 ปีกว่า และพร้อมที่จะรับการผสมพันธุ์แล้ว

การเลี้ยงดูเจ้าของฟาร์มบอกว่า เลี้ยงง่าย โดยในช่วงกลางวันจะปล่อยให้ลงน้ำเล่นโคลน ส่วนกลางคืนจะนำเข้าคอกและให้หญ้าอัดแห้ง ฟาง เพิ่ม ส่วนการดูแลด้านสุขภาพ จะมีการให้วัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญในควายปีละ 2 ครั้ง

ทั้งนี้เป้าหมายที่ไผ่วางไว้ในอนาคตคือ การผสมพันธุ์ควายที่เลี้ยงให้มีจำนวนลูกเพิ่มมากขึ้น และจะเปิดจำหน่ายสายพันธุ์ควายแคระให้กับผู้สนใจได้นำไปเลี้ยง

ส่วนการเลี้ยงม้าแคระนั้น ไผ่บอกว่า เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญเพราะไปเจอคนที่จังหวัดสระบุรี สนใจอยากจะเลี้ยงควายแคระ และจะเอาม้าแคระที่เขามีอยู่มาแลก

“ก็คุยกัน ผมเองก็อยากจะได้ม้าแคระมาเลี้ยง เลยเอาควายแคระตัวเมียไปแลก ได้ม้าแคระพันธุ์ไทยมาเลี้ยงตัวหนึ่ง ซึ่งผมก็ตั้งเป้าหมายหมายเหมือนกับควายแคระที่จะเพิ่มจำนวนและผสมพันธุ์ ผลิตลูกม้าแคระจำหน่าย”ความแปลกและหายากของควายแคระและม้า จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ที่จะเกิดขึ้นในฟาร์มแห่งนี้

“ถ้าอยากจะเลี้ยงหรือทำฟาร์มแบบผม อยากแนะนำว่า ให้ถามตัวเองก่อนว่า ชอบไหม รักที่จะเลี้ยงไหม เพราะหลายคนโดดเข้ามาทำเพราะเห็นคนอื่นทำแล้วขายได้ราคา ได้เงินดีก็โดดเข้ามาทำ แต่ความจริงนั้นจะมีอุปสรรคอีกหลายอย่างที่ต้องสู้ต้องแก้ปัญหา ดังนั้นหากไม่รักไม่ชอบจริงอย่าเข้ามา” คุณไผ่ กล่าวในที่สุด

ถ้าถามเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเชิงพาณิชย์ทั่วไปว่า มะม่วงพันธุ์ไหนขายได้ราคาดีที่สุดเราจะได้คำตอบว่ามะม่วงพันธุ์ “น้ำดอกไม้” โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพราะเป็นที่นิยมทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศมีการส่งเสริมด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง นัยว่าถ้าพูดถึงมะม่วงไทยก็ต้องน้ำดอกไม้เท่านั้น

กลุ่มสระแก้วผลิตทั้งน้ำดอกไม้และเขียวเสวยส่งออก ซึ่งมี คุณเจริญ เขื่อนข่ายแก้ว เจ้าของสวนรุ่งเจริญ เลขที่ 21 หมู่ที่ 17 บ้านชัยมงคล ต.ทุ่งมหาเจริญ อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว โทร. 086-162-1835 กล่าวว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเกือบทุกรายจะเน้นแต่มะม่วงน้ำดอกไม้เพียงอย่างเดียวเพราะส่งออกได้ราคาดีกว่ามะม่วงพันธุ์อื่น แต่มองว่าเราน่าจะทำมะม่วงเขียวเสวยด้วย เพราะในเขต จ.สระแก้ว มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเขียวเสวยเป็นจำนวนมาก อีกอย่าง คือ ขณะนี้มะม่วงเขียวเสวยสามารถส่งขายต่างประเทศได้จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าเมื่อก่อน

“สวนรุ่งเจริญ” มีพื้นที่ปลูกมะม่วงประมาณ 500 ไร่ ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้และเขียวเสวยเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้มากกว่าเขียวเสวยอยู่เล็กน้อย คุณเจริญ บอกว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูกเขียวเสวยเพราะคิดว่าราคาขายสู้น้ำดอกไม้ไม่ได้ แต่คุณเจริญกลับมองว่า ถ้าเราเปรียบเทียบกันจริงๆ รายได้จะไม่ต่างกันนัก ยกตัวอย่างในปีที่ผ่านมาขายมะม่วงน้ำดอกไม้เกรดเอส่งออกขายได้ราคากิโลกรัมละ 80-90 บาท เกรดรองขายให้แม่ค้าในจังหวัดระยองและตลาดสี่มุมเมือง ได้ราคากิโลกรัมละ 60-65 บาท ส่วนที่เหลือ (ผิวไม่สวย)

ขายเข้าโรงงาน “ฟรีซดาย” ที่ จ.จันทบุรี ได้ราคากิโลกรัมละ 22 บาท ถ้าเราจัดการกับผลผลิตได้แบบนี้ก็จะมีกำไรสูง แต่บางครั้งเกษตรกรไม่สามารถหาตลาดส่งออกได้หรือเมื่อคัดมะม่วงเกรดเอส่งออก แล้วส่วนที่เหลือไม่สามารถหาตลาดมารองรับได้ เกษตรกรก็จะมีกำไรน้อย เนื่องจากการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้มีขั้นตอนในการผลิตหลายขั้นเริ่มตั้งแต่จะต้องดูแลผิวให้สวย ต้องห่อผล พอเก็บก็ต้องมาแกะถุง

ซึ่งจะทำให้เรามีต้นทุนการผลิตที่สูงถ้าขายไม่ได้ราคาเกษตรกรจะไม่มีกำไรต่างกับเขียวเสวยที่มีขั้นตอนไม่มาก ไม่ต้องห่อผล เพียงแค่เราดูแลผิวให้สวยก็สามารถเก็บขายได้ราคา ในปีที่ผ่านมามะม่วงเขียวเสวยราคาแพงสุดอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ขายจากสวนได้ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนในช่วงอื่นราคาจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 25 บาท และช่วงเดือนมีนาคมจะทำส่งประเทศเวียดนามได้ราคา กิโลกรัมละ 38 บาท

ตลาดเวียดนาม ถือเป็นตลาดที่มีอนาคต คนเวียดนามเริ่มนิยมบริโภคมะม่วงเขียวเสวยจากประเทศไทย เพราะรสชาติหวานอร่อยและเราจะเน้นเก็บมะม่วงที่แก่จัดเท่านั้นเพื่อรักษาคุณภาพให้คงที่จะไม่เก็บมะม่วงอ่อนออกขายโดยเด็ดขาด ที่สวนรุ่งเจริญสามารถผลิตมะม่วงเขียวเสวยส่งเวียดนามได้ปีละกว่า 300 ตัน (3 แสนกิโลกรัม)

เทคนิคการผลิตมะม่วงเขียวเสวยให้มีคุณภาพดี ที่สวนคุณเจริญ จะผลิตมะม่วงเขียวเสวยปีละ 3 รุ่น คือ รุ่นแรกจะเก็บประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน รุ่นสองเดือนกุมภาพันธ์และรุ่นที่สามเดือนพฤษภาคม เนื่องจากปีหนึ่งเก็บผลผลิตมากถึง 3 ครั้ง การดูแลจึงต้องดีเป็นพิเศษ คือหลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน คุณเจริญ จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม เมื่อมะม่วงแตกใบอ่อนใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ประมาณต้นละ 2-3 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยทำให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์ ใบเขียวเป็นมัน

หลังจากมะม่วงแตกใบอ่อนเสมอกันดีแล้วจะราดสารแพคโคลบิวทราโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ อัตราต้นละ 15 กรัม ต่อทรงพุ่ม 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทางดินเพื่อเร่งการสะสมอาหารโดยใช้สูตร 8-24-24 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม ทางใบจะฉีดพ่นปุ๋ย สูตร 0-42-56 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ( อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) ร่วมกับสาร “ไฮเฟต” อัตรา 1 ลิตร สารไฮเฟตจะช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อน เร่งการสะสมอาหารได้ดี ต่างจากคนอื่นที่จะนิยมใช้ปุ๋ย 0-52-34 ฉีดพ่นจุดนี้ คุณเจริญ แนะนำว่า ถ้าใช้ปุ๋ย 0-52-34 ในการสะสมอาหารต้องใช้ถึง 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การใช้ปุ๋ย สูตร 0-42-56 จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า ในขณะที่ผลผลิตออกมาเหมือนกัน จึงเลือกใช้เพราะเป็นการประหยัดต้นทุน

เมื่อสะสมอาหารได้ประมาณ 3-4 ครั้ง หรือนับจากวันราดสารแล้วประมาณ 60 วัน ขึ้นไปจะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 20 กิโลกรัม ร่วมกับไทโอยูเรีย (เช่น ไทเมอร์) อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่น จะทำให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ ในช่วงดอกจะต้องเน้นการดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฉีดพ่นสารโบร่า เพราะจะทำให้มะม่วงติดผลดกและผลมีคุณภาพดี เนื้อแน่นไม่เป็นโพรง ถ้าทำมะม่วงส่งออกต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะต่างประเทศเขาพิถีพิถันเรื่องเนื้อขาดเป็นโพรงมาก

ปัญหาดอกบานหน้าฝนกับโรคแอนแทรคโนส ในช่วงดอกบานปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ น้ำฝน ฝนจะพาโรคต่างๆ มาทำลายดอกมะม่วงของเรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส คุณเจริญ จะใช้วิธีฉีดยาเชื้อราป้องกัน ยาที่ใช้ประจำ ได้แก่ โวเฟ่น 500 ซีซี ผสมกับแอนทราโคล 1 กิโลกรัม ฉีดสลับกับอมิสตา 200 ซีซี ผสมกับแอนทราโคล 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดสลับกัน 5-6 วัน ต่อครั้ง ถ้าฝนตกบ่อย ให้ฉีด 3 วันครั้ง ในเรื่องการใช้สารโพคลอราชฉีดช่อดอกมะม่วงเขียวเสวย นักวิชาการมะม่วงหลายท่านห้ามใช้ เพราะจะทำให้ดอกมะม่วงเสียหาย แต่คุณเจริญใช้สูตรนี้มาตลอด ยืนยันว่าไม่เสียแน่นอน

“จะต้องจำไว้เสมอว่า หลังฝนตกต้องฉีดพ่นยาเชื้อราทันทีห้ ามปล่อยทิ้งไว้นานเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคจะเข้าทำลายช่อดอก”

การขายผลผลิตให้ได้ราคาต้องรวมกลุ่มกันขาย กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงส่งออก จ.สระแก้ว เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ทำสวนมะม่วงโดยมี คุณเจริญเป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบัน มีสมาชิกอยู่ 22 ราย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวม ประมาณ 10,000 ไร่ ผลิตมะม่วงคุณภาพดีส่งออกตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม ถือว่าเป็นกลุ่มที่ผลิตมะม่วงส่งออกมากที่สุดในประเทศ

คุณเจริญ ยังบอกด้วยว่า การจะทำสวนมะม่วงให้ประสบความสำเร็จสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือการหาตลาด เมื่อก่อนเกษตรกรไม่มีการรวมตัวกัน การขายผลผลิตก็ต่างคนต่างขาย แม่ค้าก็กดราคา ตลาดส่งออกก็ไม่มาติดต่อ เพราะไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของผลผลิต แต่เมื่อมีการรวมตัวกัน อำนาจการต่อรองก็สูงขึ้น ตลาดต่างๆ ก็มาหามากขึ้น กลุ่มสระแก้วเป็นกลุ่มที่มีการจัดการผลผลิตที่ออกมาอย่างดีเยี่ยม ทุกเดือนจะมีการประชุมของสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อให้ทราบว่าผลผลิตของใครจะออกช่วงไหน ปริมาณเท่าไร เพื่อที่จะวางแผนการขายให้มีประสิทธิภาพ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ จะวางแผนการเก็บให้สามารถคัดแยกเกรดได้หลายระดับ โดยจะคัดแยกเป็นการขายผลสดและเข้าโรงงานแปรรูป

การขายผลสด ก็จะแบ่งเป็นหลายตลาด เช่น ตลาดญี่ปุ่น ต้องการมะม่วงผิวสวย ขนาดผล 200-300 กรัม (ได้ราคาสูง 70-90 บาท) ส่วนผลขนาดใหญ่กว่า 300 กรัม ก็จะขายตลาดจีนและเกาหลีใต้ (60-70 บาท) สำหรับมะม่วงที่เกรดรองลงมาก็จะส่งขายตลาดภายในประเทศ มะม่วงที่เหลือจากการคัดขายผลสดก็สามารถส่งขายโรงงานแปรรูปได้ ที่ส่งขายมากที่สุด ได้แก่ โรงงานฟรีซดายที่ บริษัท จันทรบุรีโกลบอล-เทรด จำกัด จ.จันทบุรี ถือเป็นโรงงานที่รองรับผลผลิตของกลุ่มทั้งหมด เพราะใช้มะม่วงเกรดไม่สูงนัก

มาตรฐานมะม่วงที่จะส่งเข้าโรงงานฟรีซดาย 1.ความแก่ แก่จัด ประมาณ 90 ขึ้นไป (จมน้ำทุกลูก), 2. ผิว ไม่ต้องสวย เน้นคุณภาพเนื้อ ผิวสามารถมีร่องรอยการทำลายของแมลงได้ แต่ต้องไม่เข้าถึงเนื้อใน 3. ขนาดผล ผลมีขนาด 300 กรัมขึ้นไป รูปทรงมาตรฐาน, 4. ต้องไม่มีรอยโรคแอนแทรคโนส, 5. ต้องไม่มีการทำลายของแมลงวันทอง, 6. ความหวานไม่ต่ำกว่า 16 องศาบริกซ์ 7. ตัดผลติดขั้วยาวประมาณ 1 เซนติเมตร, 8. ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงห่อเกรดเอ อาจใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลกันการกระแทกและกันแมลงวันทองก็พอ, 9. จะต้องมีใบรับรองคุณภาพ GAP, 10. ต้องไม่พบสารเคมีตกค้าง ตามมาตรฐานส่งออก

ส่วนเรื่องแมลงศัตรู คุณเจริญ จะเน้นการป้องกันเป็นหลัก เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะรู้ว่าระยะไหนแมลงชนิดใดจะเข้าทำลาย ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อช่อดอกแทงยาวประมาณ 2 นิ้ว จะมีหนอนมาทำลายเราก็จะฉีดยาฆ่าหนอน อาจจะใช้ยากลุ่มเมทโทมิล หรือ ซฟวิน-85 ก็ได้ ฉีดพ่นประมาณ 1-2 ครั้ง หนอนก็จะไม่ทำลาย หรือในระยะดอกบานเพลี้ยไฟจะระบาด ทางราชการเขาให้งดการฉีดพ่นสารเคมีเพราะจะไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสร แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราไม่ฉีดเพลี้ยไฟกินดอกมะม่วงเราหมดก่อนแน่ก็ต้องฉีด แต่การฉีดจะต้องเน้นใช้ยาที่ไม่ทำลายดอก เช่น กลุ่มยาผงอย่างสารโปรวาโด ส่วนยาน้ำมันที่ลงท้ายด้วย EC ให้พยายามหลีกเลี่ยง เพราะเป็นยาร้อนจะทำให้ดอกแห้ง เวลาฉีดก็ควรฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ห้ามฉีดเวลากลางวันเพราะอากาศร้อนจัด

ส่วนระยะดูแลผล เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อนจะต้องฉีดปุ๋ยทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและลดปัญหาผลร่วงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเหลวสูตรเสมอ หรือสูตรตัวหน้าสูงร่วมกับน้ำตาลทางด่วน ข้อดีของการใช้ปุ๋ยเหลวคือจะช่วยทำให้ผลมะม่วงโตเร็วและลดปัญหาผลแตกสะเก็ด ซึ่งถ้าใช้ปุ๋ยเกล็ดบางครั้งจะพบปัญหาผลแตกสะเก็ดขายไม่ได้ราคา ส่วนเรื่องเชื้อราในระยะนี้จะใช้สารแอนทราโคลฉีดป้องกันไว้ตลอด จนผลใกล้แก่จึงหยุดใช้ยาเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก

อาการผิวแตกในมะม่วงเขียวเสวย (Bacterial Black Spot) เป็นโรคที่พบการทำลายมากโรคหนึ่งของมะม่วงสายพันธุ์นี้ อาการโดยทั่วไปจะพบรอยแตกของผิวเป็นรูปดาว แตกเป็นสะเก็ด และมักมีน้ำเยิ้มตรงขอบ มากน้อยแล้วแต่ความรุนแรงของเชื้อโรค สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas Campestris pv. Mangiferaeindicae โดยเชื้อสาเหตุดังกล่าวมักจะหลบอาศัยอยู่บริเวณกิ่งในทรงพุ่มของต้นมะม่วงเขียวเสวยนั่นเอง และเชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายเมื่อผิวมะม่วงเริ่มมีรอยแตกหรือเป็นแผลที่ผล

การป้องกัน ป้องกันผลมะม่วงกระแทกกับกิ่งเป็นรอย โดยการตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่มให้โปร่ง, ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ในช่วงอากาศร้อน ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด และยากลุ่มน้ำมัน เพราะจะทำให้ผิวแตกได้ง่าย ปลูกต้นไม้โตเร็ว เช่น กล้วย ไผ่เลี้ยง ฯลฯ เป็นแนวกันลมเพื่อไม่ให้ลมมีความแรงมากพอที่จะพัดผลมะม่วงเขียวเสวยกระแทกกับกิ่งหรือลำต้น

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สหกรณ์การเกษตรนาโยง จำกัด ถนนเพชรเกษม ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง นายชาย คงแก้ว สหกรณ์จังหวัดตรัง พร้อมด้วยคณะข้าราชการสหกรณ์จังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรนาโยง จำกัด สมาชิกสหกรณ์การเกษตรนาโยง จำกัด นักเรียนโรงเรียนวัดจอมไตร กว่า 150 คน ร่วมทำกิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือ ครั้งที่ 5 โดยใช้แกะ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้าวของทางภาคใต้ เป็นการอนุรักษ์การทำนาแบบดั้งเดิมของชาวปักษ์ใต้ บนพื้นที่จำนวน 28 ไร่ มีข้าวพันธุ์พื้นเมือง คือ ข้าวพันธุ์เล็บนกและพันธุ์เข็มทอง โดยตั้งเป้าการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งนี้ จำนวน 7 ตัน ซึ่งจะนำไปสีเป็นข้าวขาวและข้าวกล้องปลอดสารพิษ และยังมีวางจำหน่ายให้แก่สมาชิกสหกรณ์และผู้บริโภคทั่วไปอีกด้วย โดยจะวางจำหน่ายที่ร้านสหกรณ์การเกษตรนาโยง จำกัด

นายชาย คงแก้ว สหกรณ์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า กิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือ เป็นการเก็บเกี่ยวข้าวตามวิถีดั้งเดิมของชาวปักษ์ใต้ ซึ่งเราใช้แกะในการเก็บข้าว โดยเก็บเกี่ยวข้าวจากแปลงส่วนหนึ่งของนาแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นของสมาชิกการเกษตรนาโยงทั้งหมด ที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ และยังเป็นแปลงที่อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของเมืองตรัง ส่วนสหกรณ์ถือเป็นการรวมคนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงมีการบูรณาการกับส่วนราชการ ได้แก่ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ฯลฯ ทั้งนี้ข้าวที่นิยมบริโภค คือ ข้าวพันธุ์เล็บนก

ทั้งนี้เห็นได้ว่าพื้นที่นาของจังหวัดตรังจะหมุนเปลี่ยนไปเป็นปาล์มและยางพาราบ้าง แต่วันนี้อยากจะให้หันกลับมามองในประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร หากยังมีการปลูกข้าวอยู่ สามารถลดค่าครองชีพและสร้างความมั่นคงด้านอาหารได้ ส่วนวิธีการของสหกรณ์นั้น พื้นที่นี้เป็นแปลงใหญ่และให้สมาชิกแบ่งกันเพื่อที่จะทำร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันสมาชิกของสหกรณ์นาโยงมีประมาณ 4,000 กว่าราย แต่ที่มาทำนาร่วมกันในพื้นที่ 28 ไร่ มีประมาณ 12 ราย

โดยเกษตรกรจะต้องรวบรวมเก็บรวงข้าวนำมามัดเป็นเลียงข้าว นำไปตากก่อนนำไปเก็บลดความชื้น และนวด โดยสหกรณ์จะรับซื้อผลผลิตแล้วส่งต่อกระบวนการสีข้าว ซึ่งสหกรณ์จะเป็นผู้จำหน่ายด้วย ขณะเดียวกันสหกรณ์ได้รับงบประมาณยุทธศาสตร์จังหวัดมาดำเนินการโรงสีข้าว คาดว่าปีหน้าจะสามารถสีข้าวเองได้ ในส่วนของการจำหน่ายตอนนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตร ครั้งที่ 1/2562 เมื่อ วันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอนันต์ สุวรรณรัตน์) เป็นประธานการประชุม และ สศก. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ การประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฯ เพิ่มเติมจากชุดเดิม ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง เพื่อบูรณาการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์เกษตรให้สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น

ที่อเมริกามีตลาดที่ยังเป็นตลาดสด อายุร้อยกว่าปีเหลืออยู่แห่งหนึ่ง

ตลาด Pike Place ที่เมือง Seattle เขายังรักษาชีวิตจิตใจของตลาดสดไว้ และด้วยความเก่าแก่จึงกลายเป็นจุดสนใจของเมืองไปด้วย ใครไปใครมาเป็นต้องแวะดู เรียกเงินเรียกทองจากนักท่องเที่ยวได้มากมาย ที่ศรีลังกานี่ถ้าเขาทำแบบนั้นได้ด้วยจะดี

หนุ่มตาคมบอกว่า ถ้าย้ายไปตลาดใหม่ ไม่รู้เขาจะขึ้นค่าเช่าไหม กลัวจะแพง ถ้ามันแพงจัดก็จะไปหาขายที่ตลาดอื่น แต่ก็นั่นแหละ กลัวจะไม่มีคนซื้อ ว่าแล้วคลี่โสร่งให้ดูอีกทีอย่างถ่องแท้ว่า วันนี้ขายผักได้เงินแน่กี่รูปี

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ในฐานะหน่วยงานจัดทำงบประมาณในภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้เสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงินเสนอขอเบื้องต้นรวมทั้งสิ้น 246,998 ล้านบาท สามารถจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบุคลากรภาครัฐ จำนวน 26,656 ล้านบาท 2. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายของกระทรวง/หน่วยงาน (Function) จำนวน 82,838 ล้านบาท

3. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) ที่ กษ. เกี่ยวข้อง รวม 8 แผนงาน วงเงินรวม 135,135 ล้านบาท โดยมีแผนงาน/โครงการ และงบประมาณส่วนใหญ่อยู่ที่แผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วงเงิน 127,132 ล้านบาท และแผนบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก วงเงิน 7,117 ล้านบาท และ 4. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (Area) วงเงินรวม 2,368 ล้านบาท

จากคำของบประมาณดังกล่าว มีงบประมาณตามนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 175,563 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วงเงิน 154,790 ล้านบาท 2. การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน สับปะรด มะพร้าว กาแฟ ทุเรียน มังคุด ลองกอง หม่อนไหม ประมง ปศุสัตว์ และพืชอื่นๆ) วงเงิน 4,646 ล้านบาท 3. แผนการผลิตการตลาดข้าวครบวงจร วงเงิน 2,473 ล้านบาท 4. การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ วงเงิน 4,226 ล้านบาท

5. การยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร วงเงิน 3,272 ล้านบาท 6. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย วงเงิน 703 ล้านบาท 7. ประมงพื้นบ้าน วงเงิน 62 ล้านบาท 8. ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ วงเงิน 2,103 ล้านบาท 9. การส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยภาครัฐ วงเงิน 1,997 ล้านบาท 10. การพัฒนาอาชีพชาวสวนยาง/การปลูกพืชแซม วงเงิน 352 ล้านบาท 11. การส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร วงเงิน 543 ล้านบาท และ 12. การพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)/ Young Smart Farmer/ เกษตรกรรุ่นใหม่ วงเงิน 389 ล้านบาท

ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเน้นขับเคลื่อนภารกิจโครงการ/แผนงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายได้สุทธิทางการเกษตรเพิ่มขึ้น สถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ สินค้าเกษตรได้รับการยกระดับคุณภาพมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งทรัพยากรการเกษตรมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ได้รับการอนุรักษ์ปรับปรุงและฟื้นฟูให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน

สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในวัยทำงานเราไม่เคยนึกถึง เรามักทุ่มเทหามรุ่งหามค่ำไปกับงานหรือความบันเทิงเพื่อผ่อนคลายจนลืมเวลาพักผ่อน อาหารอะไรๆ ก็เอามาใส่ปาก คำนึงเพียงแค่ความสะดวกสบายและความอร่อย จนย่างเข้าอายุ 40 ปัญหาสุขภาพก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งตอนนี้เงินที่สะสมไว้ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีให้เราได้ ไม่เหมือนรถที่สามารถฟิตเครื่องและเปลี่ยนอะไหล่ได้

มนุษย์เงินเดือนเป็นอาชีพที่น่าสงสารสุด เพราะใช้เวลาในการไปกลับและเวลา 8 ชั่วโมงที่ทำงานจนเหลือเวลาให้ตัวเองและครอบครัวเพียงน้อยนิด ด้วยความที่ยังมีภาระอยู่ จึงจำเป็นต้องทำ และจากในวัยเรียนถูกปลูกฝังให้รังเกียจอาชีพเกษตรกรรมเพราะเป็นงานหนักที่เหนื่อยและไม่มีวันหยุด ไม่เหมือนอาชีพในเมืองที่แต่งตัวโก้และมีวันหยุดทุกๆ สัปดาห์ จนได้มาสัมผัสในวันนี้ก็พบว่าชีวิตค่อนข้างหลักลอย ไม่รู้จะถูกจ้างออกเมื่อไร สำหรับบางคนก็สายไปเสียแล้ว

มีเพียงไม่กี่คนนักที่ความฝันเป็นจริง คุณสุชีพ บุญวีระ เจ้าของไร่บุญฉลวย เล่าให้ฟังว่า “ชื่อไร่บุญฉลวย นำมาจากคุณพ่อบุญและคุณแม่ฉลวย ไร่บุญฉลวยเกิดจากการอยากปลูกผักกินเอง เพราะคุณแม่แฟนป่วยเป็นมะเร็งได้รับการรักษาจนหาย แต่ก็ต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน พืชผักในตลาดไม่สามารถรับรองได้ว่าปลอดจากสารเคมีจริงๆ จึงมีแนวคิดที่จะปลูกผักเพื่อกินกันเองในครอบครัว เพราะมีทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล็ก จึงค่อยปรับพื้นที่ 37 ไร่ ซึ่งมีหินค่อนข้างมาก ต้องใช้รถแบ๊กโฮ รถไถ เพื่อปรับที่ เดิมที่ดินผืนนี้ก่อนหน้านี้ได้ให้เช่าทำไร่ข้าวโพดและมันสำปะหลัง หลังจากปรับที่ให้เหมาะสมแล้ว ต่อมาจึงมาปลูกบ้านหลังเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัยและเพื่อปลูกผักไว้กินเอง ในคราวแรกๆ ก็หาความรู้จากมหาวิทยาลัย หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตามสื่อต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรปลอดภัย”

ผักที่เริ่มปลูกก็คือผักที่มักนำมาทำอาหารในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป และส่วนหนึ่งเป็นผักที่คนปลูกชอบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักชี มะนาว กล้วย ผลผลิตที่ได้มีจำนวนมากเนื่องจากปลูกเกือบเต็มพื้นที่ นอกเหนือจากที่บริโภคในบ้านและญาติพี่น้อง ก็แจกไปบ้าง มีคนมาขอซื้อบ้าง จากกรณีนี้ทำให้เห็นว่าของสดที่ปลูกหากไม่มีตลาดรองรับจะเสียหายได้ง่าย จึงคิดเปลี่ยนบางพื้นที่เป็นปลูกสมุนไพร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างพื้น สบู่ แต่ผลผลิตที่ได้ก็ได้เปิดขายทางออนไลน์ในพื้นที่ปากช่องและโคราช มีบางส่วนมารับเองที่ไร่

ต่อมาเป็นที่รู้จักของผู้ที่นิยมพืชผักอินทรีย์จึงมีร้านค้าในห้างโมเดิลเทรดเข้ามาติดต่อขอซื้อเอาพืชผักไปใช้ในร้านอาหารสุขภาพสม่ำเสมอโดยร้านค้าดังกล่าวจะออเดอร์พืชผักต่างๆ ไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ที่ไร่ปลูกส่งตามฤดูกาลต่างๆ สมุนไพรที่ปลูกก็นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนหนึ่งทางไร่บุญฉลวยเห็นว่ามีโอกาสที่จะได้ช่วยเหลือสังคมทางการเกษตรโดยให้ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่คิดอยากจะปลูกพืชแบบไร้สารเคมีซึ่งจะมีประโยชน์กับเขาโดยการปลูกพืชแบบอินทรีย์สามารถลดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ชาวบ้านไม่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เลย จึงได้จัดอบรมมา 5 รุ่นแล้ว

ภาพที่อบรมคราวนี้เป็นการอบรมรุ่นที่ 5 ในวันที่ 21-23 ตุลาคม จำนวนผู้เข้ารับการอบรมประมาณ 60 ท่าน โดยทางไร่เป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งในรุ่นก่อนหน้านี้บางคนได้นำความรู้ไปปลูกเพื่อบริโภคในครอบครัว แต่บางคนสามารถต่อยอดนำไปจำหน่ายเป็นพืชปลอดภัยได้และส่วนหนึ่งได้นำมาฝากขายที่ไร่บุญฉลวย

การทำเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเน้นการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ต่างๆ มาใส่บำรุงดิน แต่ที่ไร่บุญฉลวยไม่เน้นที่มูลสัตว์แต่จะเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยพืชสดซึ่งเป็นวัชพืชในแปลงพร้อมกับใช้ฟางข้าวมาปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ อาจารย์น้ำ หรือ อาจารย์สุวิทย์ มากรุด นักเกษตรกรรมธรรมชาติที่ดูแลไร่บุญฉลวยอยู่ ปลูกพืชผักด้วยศาสตร์การเลี้ยงดิน ด้วยการห่มดินของศาสตร์ของพระราชา

“เชื่อว่าหลายท่านน่าจะเคยได้ยินคำนี้ “เลี้ยงดินเพื่อให้ดินเลี้ยงพืช” แต่เอ เราเลี้ยงดินได้ด้วยหรือ ถ้าเลี้ยงดินได้ก็แปลว่าดินมันมีชีวิตนะสิ แล้วเราจะต้องเลี้ยงมันอย่างไรต้องใช้อะไรบ้าง แล้วทำยากไหม คำถามเหล่านี้จะได้รับคำตอบหรือไม่อยู่ที่ผู้อ่านแล้วละครับ ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่า ดินที่ดินนั้นเป็นอย่างไรและสังเกตได้จากอะไรบ้าง” อาจารย์น้ำเล่าให้ฟังต่อว่า ดินที่ดีในธรรมชาติประกอบด้วยกัน 5 ส่วน คือ

อินทรียวัตถุ คือเศษซากพืชซากสัตว์ มูลสัตว์ที่ย่อยสลายแล้วมีอยู่ประมาณ 3-5%
ความชื้น ก็คือน้ำ ซึ่งน้ำเป็นหัวใจสำคัญของทุกชีวิต แน่นอนว่าถ้าพื้นที่ใดไม่มีน้ำหรือไม่มีความชื้นอยู่เลย ก็จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเติบโตอยู่ได้เช่นกัน ซึ่งความชื้นมีอยู่ในดิน 25%

อากาศ บางท่านอาจจะสงสัยว่า ดินต้องมีอากาศด้วยหรือ เล่าย้อนไปในช่วงที่ผมเรียนอยู่ประถมศึกษา ในการทดลองวิทยาศาสตร์ คุณครูให้นำดินมาโรยลงไปในน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลง ผมจำได้แม่นเลยว่าพยายามสังเกตหลายอย่างมากแต่ก็ตอบไม่ถูกสักที สุดท้ายคุณครูเฉลยว่า เราจะเห็นฟองอากาศลอยขึ้นมา เป็นอะไรที่เห็นได้ชัดเจนมาก นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์หนึ่งที่บ่งบอกว่าในดินก็มีอากาศอยู่ด้วยจำนวน 25%

สารอาหาร ต้องบอกก่อนว่าดินเป็นเพียงโครงสร้างที่เอาไว้ยึดเกาะ แต่ไม่ได้ทำให้ต้นไม้โต สิ่งที่จะทำให้ต้นไม้โตได้นั้นก็คือสารอาหาร ซึ่งมันก็มาจากอินทรียวัตถุ ปุ๋ย และจุลินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิก ต้นผักจะลอยอยู่ในน้ำโดยใช้โครงสร้างพลาสติกในการยึดเกาะและเติบโตด้วยสารอาหารจากปุ๋ยที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยที่ไม่ต้องใช้ดินแม้แต่น้อย สารอาหารนี้มีอยู่ 45%

สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น จุลินทรีย์ เชื้อรา ไส้เดือน แมงมุม และมด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะคอยเกื้อกูลผลประโยชน์ให้กับพืชโดย ไส้เดือนในธรรมชาติช่วยย่อยเศษขยะให้กลายเป็นปุ๋ย รวมถึงพรวนดินให้มีความร่วนซุยด้วย แมงมุมคอยดับจับแมลง หนอน และเพลี้ยอ่อน ที่จะเข้ามาทำลายพืช จุลินทรีย์ช่วยย่อยมูลสัตว์ให้กลายเป็นอาหารพืช สิ่งเหล่านี้มีอยู่ 1-2% ถ้าดินของเรามีครบ 5 อย่าง นั่นแปลว่าดินของเราเป็นดินที่ดีและมีชีวิตแล้ว

ธรรมชาติมีกฎระเบียบอยู่ในตัว พวกเรามีชีวิตในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ดังนั้น การใช้ชีวิตตามกฎแห่งธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญ เกษตรธรรมชาติไม่ได้เป็นเพียงแค่วิธีการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่จะช่วยให้มีอาหารซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสุขภาพของพวกเรา แต่ยังเป็นงานสำคัญซึ่งเป็นรากฐาน ในการช่วยค้ำจุนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและประเทศ โดยมีหลักพื้นฐานอยู่ที่ “การเคารพและคล้อยตามธรรมชาติ” โดยถือว่าทั้งดินและพืชต่างก็มีชีวิต หากเราให้ความรัก พืชก็จะสนองตอบด้วยการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และควรสำนึกขอบคุณต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรธรรมชาติและความปราณีของธรรมชาติ ในเวลาเดียวกันก็ปรารถนาที่อยากจะให้ร่วมมือกันส่งเสริม “การผลิตและบริโภคในพื้นที่” ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติเป็นจริงขึ้นในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

หลักของเกษตรธรรมชาติ 1. ดิน คือการทำให้ดินแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ดินที่ดีต้องมีแร่ธาตุครบถ้วน 2. สิ่งแปลกปลอม การรักษาดินให้สะอาดอย่างถึงที่สุด โดยไม่ใส่สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ อย่างเช่น ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นจากมนุษย์ ดินก็จะไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง ทำให้ดินแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างแท้จริง 3. การเคารพธรรมชาติ หลักการพื้นฐานของเกษตรกรรมธรรมชาติคือ การเคารพธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติจะสอนให้เราเข้าใจสิ่งนั้น

การหมักปุ๋ยสำหรับที่ไร่บุญฉลวยเน้นที่ใช้วัชพืช ใบไม้สด และเศษพืชที่เหลือ นำมาหมักรวมกับใบไม้แห้งและฟางข้าวเป็นชั้นๆ แล้วนำดินในไร่มากลบอีกที ราดด้วยจุลินทรีย์ที่หมักไว้ เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็ว โดยไม่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์เลย ไร่บุญฉลวยตั้งอยู่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา สนใจมาสัมผัสบรรยากาศสบายๆ มีอาหารที่ทำจากพืชผักอินทรีย์ 100% ติดต่อได้ที่ คุณพา นภาพร รักสุจริต และ คุณสุชีพ บุญวีระ เบอร์โทรศัพท์ (093) 536-9498

ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำการเกษตร เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดในการปลูกพืช ถ้าพืชขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน อันเนื่องมาจากขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง จะทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวเฉาถาวรและตายในที่สุด เกษตรกรจะไม่ได้รับผลผลิตและขาดรายได้

การป้องกันและแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ต้องวางแผนป้องกันทั้งระยะสั้นและระยะยาว และหาทางแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยมีมาตรการป้องกันและแก้ไขประกอบด้วย

1.การจัดการดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำหรือขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน โดย ไถพรวนดิน ตัดขวางทางเดินของน้ำใต้ดินลดการคายน้ำ และไถพรวนดินทำแนวกันไฟ และไม่เผาตอซังและคลุมดินด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ฟางข้าว แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย หรือพลาสติกคลุมดิน ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน แล้วสับกลบให้ย่อยเป็นอินทรีย์จะช่วยดูดซับน้ำในดินไว้ได้นาน เช่น นาข้าว หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรไถกลบหรือตัดตอซัง และใช้ฟางข้าวคลุมดิน หรือใส่แกลบคลุมดิน ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ

พืชไร่ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อกำจัดวัชพืชแล้วทิ้งให้เศษวัชพืชไว้ในแปลง หรือใช้ฟางและพลาสติกคลุมดิน ไม้ผล คลุมโคนต้นด้วยฟาง เปลือกถั่ว เศษใบไม้ใบหญ้า ปลูกพืชตระกูลถั่วรอบบริเวณโคนต้น โดยเริ่มคลุมในช่วงปลายฝนหรือช่วงหน้าแล้ง พืชผัก คลุมด้วยฟางข้าว แกลบสด พลาสติก

2.การจัดการน้ำ ให้เหมาะสมและเพียงพอตลอดฤดูการการเพาะปลูก โดยการขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ปลูกพืช การให้น้ำพืชแบบประหยัด เช่น การให้น้ำระบบหยดน้ำหยดในปริมาณที่เหมาะสม

3.การจัดการพืช โดยพิจารณาเลือกปลูกพืชที่มีอายุสั้น ใช้น้ำน้อย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว เช่นถั่วเขียว ถั่วเหลือง และผักชนิดต่างๆเกษตรกรสามารถปลูกและเก็บผลผลิตได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายเนื่องจากขาดน้ำ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกทุเรียนไทยในปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีราคาใกล้เคียงกับที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจของ 2 ประเทศ ผู้บริโภคหลักของทุเรียนไทย คือ จีน เวียดนาม ยังดีต่อเนื่อง จากปี 2561 มีการส่งออก 518,882 ตัน เพิ่มขึ้น 3.05% มูลค่า 35,333 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.21% ส่วนราคาที่เกษตรกรขายได้ใน ปี 2562 คาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2561 คือ ราคา 78.16 บาท/กิโลกรัม โดยราคาทุเรียนในปีนี้จะสูงกว่าต้นทุนการผลิต 5 เท่า จากต้นทุน 15.10 บาท ต่อกิโลกรัม

นายฉันทานนท์ กล่าวว่า อนาคตของทุเรียนไทย สศก. มองว่าเกษตรกรชาวสวนทุเรียนควรเน้นผลิตทุเรียนเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีมากกว่าเน้นปริมาณ เพื่อรองรับการแข่งขันของคู่ค้าในอนาคต จากปัจจุบันไทยเน้นส่งออก ทุเรียนหมอนทอง ควรเพิ่มสายพันธุ์ทุเรียนให้มีความหลากหลาย อาทิ ก้านยาว ชะนี พวงมณี เพื่อกระจายความเสี่ยง ยกระดับการขายเป็นขายทุเรียนพรีเมี่ยม และเพิ่มรูปแบบการแปรรูปทุเรียนเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ ทุเรียนอบกรอบ ทุเรียนฟรีซดราย เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่ชอบกลิ่นทุเรียน และเน้นตลาดในประเทศมากขึ้น

ที่จังหวัดตรัง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ นางสาวชิดชนก ชนะไพริน อายุ 32 ปี เจ้าของฟาร์ม ผักลุงจุ๋ม กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลวันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ทางฟาร์มได้ทำเกษตรผสมผสานด้วยการปลูกพืชผักและผลไม้ เป็นผักปลอดสารพิษและปลูกเมล่อน พันธุ์กาเลีย ซึ่งเป็นพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่นที่ให้ผลผลิตได้ดี ลูกโต มีผลสีเหลืองกับสีเขียว ทั้งนี้เทศกาลวันแห่งความรักในวันที่ 14กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ นอกจากจะมีการมอบดอกกุหลาบ หรือตุ๊กตา เพื่อเป็นสื่อแทนใจในการมอบความรักซึ่งกันและกันแล้ว ทางสวนจะมีการจำหน่ายผลเมล่อนให้คู่รักเลือกซื้อแสดงออกถึงการส่งความรักให้กันและกันด้วย

นางสาวชิดชนก กล่าวว่า ขณะนี้มีทั้งครอบครัวและคู่รักมาแกะสลักชื่อบนผลเมล่อนที่ฟาร์มมากกว่า 100 ลูกแล้ว โดยจะมีการแกะสลักชื่อบนผลเมล่อนตั้งแต่ลูกเมล่อนยังเป็นลูกเล็กๆ เมื่อเมล่อนมีผลใหญ่ก็จะมีความสวยงามเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะสลักชื่อของคนรัก ในขณะที่บางครอบครัวก็สลักชื่อเพื่อมอบให้กับบุตรหลานเช่นกัน นับเป็นการสื่อความรักไม่เฉพาะคู่หนุ่มสาวเท่านั้น โดยเมล่อนที่ฟาร์มนั้นจำหน่ายในราคา 190 บาท ต่อกิโลกรัม

“ส่วนตัวอักษรนั้น จะคิดตัวอักษรละ 10 บาท การมอบผลเมล่อนที่แกะสลักชื่อนั้นถือเป็นการสื่อความรักอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผลเมล่อนที่ฟาร์มบางลูกมีน้ำหนักถึง 2.9 กิโลกรัม และได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก สำหรับเมล่อนที่ไม่มีการแกะสลักชื่อทางฟาร์มก็จะตัดจำหน่ายเช่นกัน โดยจัดตัดจำหน่ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันแห่งความรักพอดี” นางสาวชิดชนก กล่าว

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดย นายวรวิทย์ เจนธนากุล อุปนายกคน ที่สอง และประธานกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีบริหาร และ นางสาวพัชรา ชาติบัญชาชัย ประธานกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการวางระบบบัญชี ในสภาวิชาชีพบัญชี ในฐานะที่ปรึกษาการจัดการแข่งขัน ให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 7 “Thailand Accounting Challenge 2019”

จัดโดยสภาวิชาชีพการบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยสำนักสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรบุคคล และสำนักนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านบัญชีการเงินของซีพีเอฟ จัดกิจกรรมแนะนำธุรกิจ พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันฯ สมัครฝึกงาน สมัครงาน หรือเข้าร่วมสหกิจศึกษากับบริษัท โดยได้รับการตอบรับจากนักศึกษาเป็นอย่างดี ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษรี ณรงค์เดช ชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี ถนนสุขุมวิทย์ 21 เมื่อเร็วๆ นี้

เดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นฐานที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่า คุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่)

ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือถูกกวาดต้อนออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย

ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม (เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย)

ในชุมชนไทลื้อมีการปลูกเครือหมาน้อยเพื่อทำวุ้นเครือหมาน้อย โดยชาวไทลื้อเรียกว่า แองแทะ เพื่อนำไปทำเป็นอาหารหวานและอาหารคาว มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ส่วนคนไทยเลยยังใช้น้ำคั้นจากรากและใบของเครือหมาน้อยใส่ในแกงหน่อไม้แทนใบย่านาง

ปัจจุบัน กลุ่มอินแปง จังหวัดสกลนคร มีการเพาะกล้าเครือหมาน้อยจำหน่าย และยังพบว่าในตลาดมหาชัยเมืองใหม่ พระราม 2 มีใบสดของเครือหมาน้อยวางขายอยู่ในตลาดด้วย เครือหมาน้อยทำเป็นวุ้นได้เพราะในใบมีสารเพคตินธรรมชาติถึงร้อยละ 30 สารเพคตินนี้ จะเป็นพวกเดียวกับวุ้นพุงทะลายหรือวุ้นในเม็ดแมงลัก เพคตินมีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำเป็นการเพิ่มกากอาหารให้ลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย ลดระยะเวลาของอุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ช่วยดูดซับสารพิษที่เกิดขึ้นจากการย่อยกากอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารพิษตกค้างอื่นๆ เป็นการลดปัจจัยหรือความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งยังลดการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยเบาหวานและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ดี

เครือหมาน้อย หมอยาพื้นบ้านทุกภาคนิยมใช้รากเครือหมาน้อย เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ไข้ออกตุ่ม โดยจะฝนกินหรือต้มกินก็ได้ จะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นหรือใส่ในยาชุม (ยาตำรับที่มีสมุนไพรหลายชนิดผสมกัน) ที่รักษาโรคและอาการเหล่านั้นได้ เช่นเดียวกับหมอยาพื้นบ้านชาวบราซิลที่ใช้เครือหมาน้อยในการแก้ไข้ แก้ปวด

และหมอยาพื้นบ้านชาวอินเดียแดงก็ใช้การต้มใบและเถาของเครือหมาน้อยกินเพื่อแก้ปวด การศึกษาสมัยใหม่พบว่าเครือหมาน้อยมีฤทธิ์แก้ปวด แก้อักเสบได้ดี ซึ่งสนับสนุนการใช้ของหมอยาพื้นบ้านเหล่านั้น ส่วนพ่อหมอประกาศ ใจทัศน์ ที่บ้านน้อมเกล้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ใช้รากเครือหมาน้อยฝนกับน้ำมะพร้าวให้กินแทนน้ำไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาประดงไฟ ซึ่งมีลักษณะอาการออกร้อนตามตัว ซึ่งภาษาทางการแพทย์เรียกว่า burning sensation

เครือหมาน้อย ยาของผู้หญิง หมอยาไทยพวนใช้หัวของเครือหมาน้อยฝนกินกับน้ำแก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู ปรับสมดุลของประจำเดือนให้เป็นปกติทั้งอาการที่มีประจำเดือนมากหรือน้อย ซึ่งคล้ายกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านประเทศในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ โดยหมอยาเหล่านั้นใช้เถา ราก ใบ เปลือก ของเครือหมาน้อยระงับอาการปวดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ทั้งใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด

โดยให้ฉายาเครือหมาน้อยว่า สมุนไพรของหมอตำแย (Midwives’s herb) ทั้งยังใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบประจำเดือนของผู้หญิง เช่น อาการปวดประจำเดือน มีประจำเดือนออกมามากเกินไป อาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome, PMS) รวมทั้งรักษาสิวที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยมีความเชื่อร่วมกันว่า เครือหมาน้อยเป็นยาปรับสมดุลฮอร์โมนของผู้หญิง การใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณนี้มีการใช้อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นพันๆ ปี

จนถึงปัจจุบันการใช้เครือหมาน้อยเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั้น หมอยาไทยใหญ่ก็มีการใช้เหมือนกัน โดยหมอยาไทยใหญ่บางท่านเรียกเครือหมาน้อยว่า “ยาไม่มีลูก” โดยใช้รากของเครือหมาน้อยต้มกินไปเรื่อยๆ แทนยาคุมกำเนิด (แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้เพราะมียาคุมกำเนิดที่ดีอยู่แล้ว)

เครือหมาน้อย ช่วยย่อย หมอยาสมุนไพรไทยใช้เครือหมาน้อยเป็นยารักษาระบบทางเดินอาหารในหลายๆ อาการ เช่น ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกท้อง แก้กินผิด (อาการวิงเวียนศีรษะ มืนหัวหลังกินอาหารบางชนิด) แก้ท้องบิด แก้ท้องเสีย แก้เจ็บท้อง (อาการปวดเกร็งที่ท้อง) แก้ถ่ายเป็นเลือด โดยใช้รากต้มกิน หมอยาพื้นบ้านในอเมริกาใต้ก็ใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณเดียวกัน คือใช้ต้านอาการปวดเกร็งทั่วไป และใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome, IBS) โรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น การศึกษาสมัยใหม่พบว่า เครือหมาน้อยมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องเสีย

เครือหมาน้อย ยาเย็น ข้อมูลจากการสัมมนาหมอยาพื้นบ้านเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว หมอยาในจังหวัดปราจีนบุรีแนะนำให้ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้นพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย นอกจากนั้นยังใช้พอกหน้าสำหรับผู้หญิงที่เป็นสิวผิวพรรณไม่ดีอีกด้วย

การเข้ามาส่งเสริมพัฒนาตลาดมอกล้วยไข่ของกรมการค้าภายใน

เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ช่วยให้เกิดกิจกรรมการค้าขายและการท่องเที่ยวควบคู่กันไป ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างโอกาส และช่องทางการกระจายสินค้าเกษตร และสินค้าอื่นๆ แก่ผู้ค้าของชุมชน และสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อสินค้าดีมีคุณภาพ มาตรฐาน ราคาเป็นธรรม

ตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ จ.กำแพงเพชร เป็น 1 ใน 5 ตลาดริมทาง บนถนนสายหลักของประเทศขึ้นภาคเหนือที่ผ่านแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งหลายจังหวัด นับเป็นจุดซื้อขายสินค้าที่น่าแวะ และยังสามารถเชื่อมโยงเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดกำแพงเพชรได้โดยง่าย

ตลาดมอกล้วยไข่ แต่เดิมมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินลูกรัง ชาวบ้านบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น ฟักทอง ข้าวโพด น้อยหน่า พริก เป็นต้น

กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2516-2520 กลุ่มชาวบ้านได้นำผลผลิตพืชไร่ที่เหลือจากการบริโภค มาตั้งแผงขายกันบริเวณริมทางเพียง 4-5 ร้าน และนำ ‘กล้วยไข่’ มาวางขายเป็นเครือก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มนำกล้วยมาแปรรูป

ปีพ.ศ.2527 จังหวัดกำแพงเพชร เริ่มจัดงานประเพณี “สารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง” ขึ้น โดยมีกิจกรรมการประกวดกล้วยไข่ และผลผลิตจากกล้วยไข่ จนกล้วยไข่กลายเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัด พลอยทำให้ตลาดมอกล้วยไข่ ได้รับความนิยมและมีร้านค้าเพิ่มขึ้นจนปัจจุบันมีกว่า 100 ร้านค้า

ปลายปี 2560 กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศว่ากล้วยไข่กำแพงเพชร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ที่สามารถเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้

สำหรับตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 1 สายกำแพงเพชร – นครสวรรค์ กิโลเมตรที่ 343 มีร้านขายวางเรียงรายยาวประมาณ 200 เมตร

จากตลาดมอกล้วยไข่สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ใน จ.กำแพงเพชร ได้ง่าย เช่นอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่องค์การยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ เมื่อปี 2534 หรือจะไปสักการะวัดพระบรมธาตุ เจดียาราม พระบรมธาตุนครชุม ที่อยู่คู่เมืองนครชุมมายาวนานกว่า 600 ปี

ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาทิ บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ห่างจากตัวเมืองเพียง 13 กิโลเมตร น้ำพุธรรมชาติสระตาพรหม อ.ขาณุวรลักษบุรี เป็นน้ำพุธรรมชาติพุ่งขึ้นจากผิวน้ำในสระสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนใครที่ไปกำแพงเพชรช่วงวันศุกร์–เสาร์–อาทิตย์ อยากรำลึกถึงยุคเก่าๆ ต้องแวะไปที่ตลาดย้อนยุคนครชุม อีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวในตัวเมืองกำแพงเพชร ที่จำลองบรรยากาศตลาดแบบย้อนยุค

หรือใครที่เดินทางขึ้นเหนืออย่าลืมแวะมาเช็กอิน ที่ ‘ตลาดริมทาง ตลาดมอกล้วยไข่’ จ.กำแพงเพชร “จะแวะก่อนเที่ยว หรือจะเที่ยวแล้วแวะ…ก็ได้” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ จ.แพร่ ผู้สื่อข่าวรายงานข่าว ส้มเขียวหวาน เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีพื้นที่ปลูกกว่า 13,000 ไร่ ในลุ่มน้ำยม สามารถทำรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกส้มอย่างต่อเนื่องในอดีตที่ผ่านมา สำหรับฤดูกาลผลิตส้มเขียวหวานปีนี้ เกษตรกรมีส้มจำหน่ายถึง 2 รุ่น คือในช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนกุมภาพันธ์เป็นส้ม รุ่นที่ 2 ซึ่งส้มรุ่นนี้จะตรงกับเทศกาลตรุษจีน ทำให้ส้มมีราคาดีเป็นพิเศษ รุ่นนี้จึงเป็นความหวังของเกษตรกรที่จะทำรายได้ ทุกปีสามารถจำหน่ายผลส้มในช่วงเทศกาลตรุษจีนขนาดคละกันได้ถึง กิโลกรัมละ 30-40 บาท จากสวน

แต่ปีนี้แม้ผ่านวันตรุษจีนมาหมาดๆ เป็นเทศกาลที่มีการใช้ส้มในเทศกาล แต่ไม่ทำให้ราคาส้มเขียวหวานของอำเภอวังชิ้นกระเตื้องขึ้น ยังคงราคา 15-20 บาท เท่านั้น ซึ่งต้องคัดส้มที่มีสีสวยและขนาดใหญ่ คือ เบอร์ 0 เท่านั้น จึงจะสามารถจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท

นายวีรชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดแพร่ กล่าวว่า เกษตรกรประสบปัญหาราคาส้มเขียวหวานตกต่ำ ไม่ใช่เรื่องคุณภาพส้ม แต่เกิดจากการปลูกและจำหน่ายของเกษตรกรที่ไม่รวมกลุ่มกัน ขาดการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้ส้มมีคุณภาพเท่ากัน ผลส้มของอำเภอวังชิ้นถ้านำไปจำหน่ายในตลาดใหญ่ กทม. เชื่อว่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 50 บาท ซึ่งในตลาดค้าปลีก ใน กทม. ผลส้มมีราคาสูงถึง กก.ละ 80 บาท แต่ทุกวันนี้ถูกกดราคา ตัดราคา อ้างถึงคุณภาพ เช่น สีผิว หรือแหล่งผลิตที่ไม่ใช่พื้นที่ผลิตหลักๆ ของประเทศ

แม้ที่ผ่านมา เกษตรจังหวัดแพร่ ได้ส่งเสริมการขายจัดเทศกาลส้มช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการรู้จักส้มเขียวหวานวังชิ้นมากขึ้น แต่ไม่สามารถยกระดับราคาได้ “ทางออกที่ดีหลังจากนี้ไป เกษตรกรควรใช้โอกาสที่รัฐส่งเสริม เข้ามารวมตัวเป็นเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อพัฒนาคุณภาพไปพร้อมๆ กัน และทำให้ผลส้มสวยเป็นที่ต้องการของตลาด พร้อมทั้งทำอย่างไรให้ผลผลิตส้มทั้ง 13,000 ไร่ เป็นผลผลิตส้มปลอดภัยไปจนถึงส้มอินทรีย์ ถ้าเกษตรกรสามารถรวมตัวกันได้ รับรองว่าการสร้างตลาดใหม่ให้ส้มวังชิ้น จะทำให้เกษตรกรทำรายได้อย่างงดงาม ปัจจุบัน ส้มเขียวหวานของอำเภอวังชิ้นสามารถผลิตได้ไร่ละ 2,000 กิโลกรัม ถ้าจำหน่ายในราคา กิโลกรัมละ 50 บาท จะทำให้มีรายได้เข้าจังหวัดไม่น้อยกว่า 1,300 ล้านบาท

ปีนี้ถือเป็นปีเริ่มต้นที่เกษตรกรเริ่มรวมตัวกันพัฒนาแปลงปลูกให้ได้มาตรฐาน ตามโครงการเกษตรแปลงใหญ่ นำไปสู่การสร้างคุณภาพผลผลิตในฤดูกาลต่อไป ภายใต้การค้าขายที่เหมาะสม ตัดพ่อค้าคนกลางออกไปจะทำให้ราคาส้มเขียวหวานกลับมามีราคาที่เกษตรกรพอใจอีกครั้ง” นายวีรชัย กล่าว

ที่ข้างองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา มีต้นเรือง (ในภาษาถิ่นพะเยา) ขึ้นอยู่ มีขนาดใหญ่หลายคนโอบ เนื่องจากมีผึ้งมาอาศัยทำรังอยู่มาก ในช่วงฤดูทำรัง ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงเรียกต้นเรืองว่า “ต้นผึ้ง” เป็นที่น่ายินดี ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น อนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ไว้เพื่อคนรุ่นหลัง

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การปลูกต้นไม้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการดักจับสารพิษในอากาศ และสามารถป้องกันฝุ่นละออง เพราะส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ โดยเฉพาะใบ สามารถช่วยดักฝุ่นได้ดี ซึ่งฝุ่นละอองที่ลอยอยู่บนอากาศจะผ่านต้นไม้ติดค้างอยู่บนผิวใบ โดยพืชตระกูลสนจะช่วยดักจับฝุ่นได้ เพราะโครงสร้างของใบมีความละเอียดซับซ้อน

แต่หากเป็นไม้เลื้อยจะดักจับฝุ่นได้มากกว่าไม้อื่น เพราะมีพื้นผิวใบมากกว่าต้นไม้อื่น ด้วยลักษณะใบที่เรียวเล็ก ชื้น หยาบ มีขน หรือผิวใบที่เหนียวจะทำให้ฝุ่นเกาะติดใบได้ดี ส่วนลำต้น กิ่ง ก้าน ที่มีโครงสร้างพันกันอย่างสลับซับซ้อนมีส่วนช่วยดักจับฝุ่นได้เช่นกัน อาทิ ไทรเกาหลี คริสตินา โมก ตะขบ การเวก พวงครามออสเตรเลีย อโศกอินเดีย และสนฉัตร แต่ไม่ควรปลูกไม้ผลัดใบ เพราะบางช่วงไม่มีใบดักจับฝุ่น ก่อนปลูกจึงต้องเลือกชนิดต้นไม้ให้เหมาะสมกับสภาพหรือบริเวณที่จะปลูก

“สำหรับไม้ประดับภายในอาคารหรือในบ้านให้เลือกที่สามารถปลูกได้ง่าย อาทิ พลูด่าง ลิ้นมังกร กล้วยไม้พันธุ์หวาย เบญจมาศ เยอร์บีร่า เสน่ห์จันทน์แดง ที่ช่วยดูดสารพิษได้มาก ซึ่งการปลูกต้นไม้ 1 ต้น ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 9-15 กิโลกรัม ต่อปี ดักฝุ่นและมลพิษทางอากาศได้ 1.4 กิโลกรัม ต่อปี ช่วยฟอกอากาศ ลดการเกิดภูมิแพ้และหอบหืดได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้สดชื่น ผ่อนคลาย ลดความเครียด รวมทั้งลดอุณหภูมิรอบบ้านได้ 2-4 องศาเซลเซียส เพราะช่วยให้ร่มเงาและป้องกันรังสี UV ได้เป็นอย่างดี” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ใครอยากกิน “อัลมอนด์” ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขอแนะนำให้กินแบบ “อัลมอนด์ – แช่น้ำ” ทั้งนี้ จากการศึกษาเรื่องการบริโภคอัลมอนด์แช่น้ำ ของ สุตานันท์ ธนาธันย์นิธิป นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการเสริมสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพจากนวัตกรรม (Pilot Plant) มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า หากแช่น้ำอัลมอนด์ก่อนนำมารับประทาน จะช่วยให้การบดเคี้ยวและการย่อยอัลมอนด์ได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนการทำ “อัลมอนด์ – แช่น้ำ” เริ่มจากคัดเลือกอัลมอนด์ที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ หลังจากนั้น จึงค่อยนำเมล็ดอัลมอนด์ไปแช่ตามขั้นตอนดังนี้ 1.ใส่อัลมอนด์ลงในภาชนะแก้วที่สะอาด 2.ใส่น้ำดื่มสะอาด 2 ถ้วย ต่ออัลมอนด์ครึ่งถ้วย 3.แช่ไว้ข้ามคืน 4.เช้าวันรุ่งขึ้นเทน้ำออก และเก็บในภาชนะปิดสนิท หรือถุงพลาสติก แล้วเอาเข้าตู้เย็นทันทีหากยังไม่บริโภค 5.การเก็บในภาชนะที่สะอาดและมิดชิดจะเก็บได้นาน 1 สัปดาห์

ขั้นตอนการทำ “อัลมอนด์ – แช่น้ำ” โดยแช่อัลมอนด์ข้ามคืน ประมาณ 10-12 ชั่วโมง จากนั้นเทน้ำออก ล้างให้สะอาดอีกครั้ง และเก็บในภาชนะดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นไว้อีก 1-3 วัน จะเห็นอัลมอนด์ต้นอ่อนงอกออกมา ซึ่งเป็นวิธีที่แน่ใจที่สุดว่าเอนไซม์ lipase ได้ออกมาเพื่อเตรียมย่อยไขมันกันแล้ว

อัลมอนด์ (Almond) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus amygdalus (Prunus dulcis) อยู่ในวงศ์ Rosaceae มีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลาง เอเชียตอนใต้ แอฟริกาเหนือ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงปานกลาง 13-33 ฟุต ผลยาว 3.5-6 เซนติเมตร ทั้งนี้ อัลมอนด์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มถั่วเปลือกแข็ง (nut) แต่มีผลเดี่ยวแบบพลัม เชอร์รี่ แอพริคอต มีเปลือกนอกหนา แข็ง ภายในมีเมล็ดอยู่ อัลมอนด์ที่ขายอยู่ทั่วไปมักเอาเปลือกออกแล้ว

อัลมอนด์ จัดว่ามีสารอาหารมากที่สุดหากเทียบกับถั่วเปลือกแข็งทั้งหมด การบริโภคอัลมอนด์ดีต่อสุขภาพอย่างมาก โดยเฉพาะการบริโภคอัลมอนด์ที่แช่น้ำ เต็มไปด้วยวิตามินอี โปรตีน แร่ธาตุแมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไนอะซิน และกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6

นอกจากนี้ อัลมอนด์แช่น้ำยังดีต่อสุขภาพในด้านต่างๆ คือ 1.ช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น เพราะเมื่อแช่อัลมอนด์ตัวยับยั้งเอนไซม์ซึ่งป้องกันการงอกของเมล็ดจะถูกทำลายไป ทำให้ร่างกายย่อยอัลมอนด์ได้ง่ายขึ้น การแช่น้ำอัลมอนด์ยังช่วยให้ปล่อยเอนไซม์ lipase ออกมาย่อยพวกไขมันด้วย 2.ช่วยลดน้ำหนัก ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในอัลมอนด์จะช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้การรับประทานอาหารลดลง ซึ่งมีผลต่อน้ำหนัก

3.ป้องกันการเกิดโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ โดยช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ดีเยี่ยม เพราะไปเพิ่มไขมันที่มีความหนาแน่นสูง high density lipoprotein (HDL) ที่มีสัดส่วนของโปรตีนประมาณ 50% ซึ่งเป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดง เพราะจะป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ คอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL (lower density lipoprotein) ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ถ้ามีระดับ HDL ในเลือดต่ำ ก็จะเพิ่มโอกาส เพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ และอัลมอนด์ที่แช่น้ำยังไปลด LDL อีกด้วย ทั้งยังลดการอักเสบของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ folic acid ในอัลมอนด์ช่วยสลายการอุดตันของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ และได้วิตามินอี สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย

4.ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง อัลมอนด์แช่น้ำประกอบไปด้วยวิตามินบี 17 ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการต่อสู้กับมะเร็ง ทั้งวิตามินอี และไขมันอิ่มตัวต่ำในอัลมอนด์ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ยิ่งไปกว่านั้นยังลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญ เพราะสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในอัลมอนด์แช่น้ำจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้

5.ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและช่วยลดความดันโลหิต โดยช่วยลดระดับน้ำตาลและเพิ่มความดันเลือด อัลมอนด์เป็นอาหารที่มีแคลอรีต่ำซึ่งจะช่วยลดปริมาณโซเดียม อินซูลิน และน้ำตาลในเลือด และยังไปเพิ่มการป้องกันจากสารอนุมูลอิสระและแมกนีเซียม ซึ่งทำให้ไม่เสี่ยงต่อเบาหวานและความดันโลหิตสูง และ 6.อัลมอนด์แช่น้ำดีสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะประกอบไปด้วย folic acid ที่จะไปลดอัตราการเกิดความผิดปกติของทารกแรกคลอด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชลเกียรติ ขอประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รับมอบหน้ากากอนามัย N95 จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) และคนงานของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำหรับป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ณ ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จับมือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าสหกรณ์ให้มีคุณภาพ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นสะท้อนวิถีชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและโดนใจผู้บริโภค แบ่งกลุ่มสินค้าหลัก ข้าว ผัก ผลไม้ ข้าวโพด นม เนื้อ สินค้าประมง เตรียมพัฒนาตัวสินค้าแยกแต่ละประเภท คาดภายใน 6 เดือน จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกจำหน่ายสู่ตลาด

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาสินค้าสหกรณ์สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิด การออกแบบ และการผลิตสินค้าสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีคุณภาพ

มีความโดดเด่น สะท้อนอัตลักษณ์ของวิถีชุมชนสหกรณ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นที่น่าจดจำของผู้บริโภค โดยจะเน้นสินค้าหลักของสหกรณ์ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ นม และยางพารา เบื้องต้นได้มีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปข้าว ให้กับตัวแทนสหกรณ์ผู้ผลิตข้าว 42 แห่ง เพื่อให้มีแนวคิดในการนำข้าวมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าทั้งอาหารแปรรูป เครื่องสำอาง น้ำนมข้าว ควบคู่กับการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าข้าวของสหกรณ์ให้มีความโดดเด่น และสามารถบอกเล่าเรื่องราวและแหล่งที่มาของข้าวแต่ละชนิดได้อย่างน่าสนใจ

“กิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับธุรกิจสหกรณ์ ตามโครงการ 1 อำเภอ 1 สหกรณ์การเกษตร เพื่อให้สหกรณ์การเกษตรสามารถบริหารจัดการผลผลิตของสมาชิกได้ ทั้งในด้านรวบรวม การแปรรูป การยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสินค้า ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ในแต่ละด้านเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสหกรณ์ ที่ผ่านมาได้เข้าไปหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเห็นว่าหน่วยงานเหล่านี้จะเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ได้ กรมฯ จึงได้แบ่งกลุ่มสินค้าหลักของสหกรณ์ เป็นสินค้าข้าว ผัก ผลไม้ ข้าวโพด มันสำปะหลัง นม เนื้อ สินค้าประมง และจะจัดอบรมเพื่อพัฒนาสินค้าสหกรณ์แต่ละชนิด คาดว่าไม่เกิน 5-6 เดือน น่าจะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาและจะมีการทดลองทำตลาด ถ้าเป็นที่สนใจของผู้บริโภค สหกรณ์ก็จะพัฒนาต่อ หากสหกรณ์ใดสนใจจะพัฒนาสามารถติดต่อแจ้งกับทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัดเพื่อจะได้ประสานหน่วยงานต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือ

ด้าน ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ทางวว. มีเทคโนโลยีพร้อมใช้หลายรูปแบบ ทั้งเรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การยืดอายุสินค้า โดยเฉพาะเทคโนโลยีในการแปรรูปข้าว ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งในระดับต้นน้ำ ต้องดูตั้งแต่เรื่องปุ๋ย ระดับกลางน้ำ พัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูป ส่วนปลายน้ำ ต้องพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยยืดอายุสินค้า เนื่องจากผลผลิตการเกษตร หากแปรรูปแล้วเก็บไว้ได้ไม่นานก็จะทำให้เกิดความสูญเสียมาก ซึ่งทางวว. มีเทคโนโลยีในเรื่องของการแปรรูปและยืดอายุสินค้าการเกษตร และพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยส่งเสริมการขายด้วย

“สิ่งที่ทางวว. ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ คือเรามีเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน สามารถนำไปประยุกต์และปรับเปลี่ยนโฉมของสินค้าของกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตร ปัจจุบัน วว. มีโรงงานและได้ขยายกำลังผลิต สามารถแปรรูปข้าวเป็นน้ำนมข้าว และสามารถขอการรับรองจาก อย. เรียบร้อยแล้ว ถ้าสหกรณ์สนใจนำข้าวมาแปรรูปมาเป็นน้ำนมข้าว ก็สามารถผลิตเป็นนมกล่องแล้วนำออกไปจำหน่ายวางขายในตลาดได้ทันที

ซึ่งโรงงานของทางวว.อยู่ในกลุ่มของ Food Innopolis หรือเมืองนวัตกรรมอาหาร ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเราเป็นหน่วยงานที่สามารถผลิตและนำออกไปจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้เลย ส่วนงานวิจัยที่เกี่ยวกับการแปรรูปข้าวนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะแปรรูปเป็นอาหาร เป็นข้าวที่เพิ่มมูลค่า เช่น Energy Bar หรือ เป็นสินค้าที่เป็นข้าวสำหรับผู้สูงอายุ หรือจะทำเป็นข้าวผง

มีการเติมวิตามินที่เพิ่มคุณค่ามากกว่าเป็นข้าวเปล่าๆ นอกจากนั้นแล้วยังทำเป็นเครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง นโยบายรัฐบาล คือ ทำอย่างไรให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพราะว่าสินค้าเกษตรทุกปีจะมีปัญหาเรื่องผลผลิตมากกว่าความต้องการของตลาด ดังนั้นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์และการแปรรูป ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้” ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เพื่อนรุ่นน้องสาวมาเลเซียน แต่ไปทำงานที่สิงคโปร์ของฉัน ชื่อ Ally หรือชื่อจริงคือ FangWoei Chan เป็นนักบัญชีชั้นเซียนที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ของสิงคโปร์วางใจ ทำงานอย่างมืออาชีพและไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง นางมีสายตาเหยี่ยวที่จะเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็นเสมอ จึงเป็นผู้ตรวจบัญชีมือหนึ่งจนทุกวันนี้

ชีวิตนอกจากเวลางาน Ally ชอบท่องเที่ยว และไม่ได้เที่ยวฉุยฉายธรรมดา เธอเคยเดินทางรอบโลกคนเดียวมาแล้ว บุกไปถึงถิ่นที่เขารบสู้กันก็ไปมา แม้ทุกวันนี้จะกลับมาทำงานเต็มตัว แต่ทุกครั้งที่มีเวลา เธอจะออกเดินทาง เลือกไปในที่ที่ทุกคนไม่ไป หรือไม่อยากไป

ล่าสุด Ally ไปศรีลังกา ประเทศในเอเชียใต้ที่ไม่ค่อยมีใครอยากไป ด้วยว่ายังพัฒนาได้ไม่มาก คนรู้จักศรีลังกาแบบขยาดๆ จากสงครามกลางเมือง ระหว่างกลุ่มพยัคทมิฬอีแลม กับรัฐบาลที่ยืดเยื้อกว่า 30 ปี คนล้มตายและประเทศถูกถีบไปอยู่ที่ขอบเหวแห่งหายนะ
ที่จริงศรีลังกานั้นงดงามนัก เป็นเกาะไม่ใหญ่นัก แขวนจากชมพูทวีป รูปร่างคล้ายหยดน้ำ หน้าตาเหมือนเกาะไต้หวัน อากาศร้อนแต่ชายทะเลก็งดงามเหลือกำลัง

และ Ally ก็ไปและมองเห็นแง่งามของบ้านเมืองที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนั้น เธอเล่าให้ฟังอย่างออกรสในการผูกมิตรกับหนุ่มพ่อค้าขายผักในตลาดแมนนิ่งที่เก่าแก่วุ่นวายสกปรก แต่ได้มิตรภาพแปลกใหม่ ขนาดไอ้หนุ่มขายผักคลี่โสร่งให้ดูความลับแสนวิเศษ ว่าเงินขายผัก บัญชีลูกค้า กระทั่งขนมยาอมประจำตัว ไอ้หนุ่มเอาสอดไว้ในโสร่งที่เหน็บไว้หว่างขาตลอดเวลาที่ยืนขายผักนั่นเอง

หนุ่มศรีลังกาตาคมผู้ไม่ประสงค์ออกนามแต่ยินดีคลี่โสร่งให้ดู บอกว่านี้ขายดี ขายผักที่รับมาจากเกษตรกรแถวบ้านอีกที วันนี้ได้กำไรเกือบร้อยบาท นับว่ามากโขสำหรับบ้านเมืองที่คนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้วันละ 40 บาท

ผักขายกิโลละ 10 บาท รับมา 6 บาท พอได้กำไรอยู่ กล้วยขายกันหวีละ 15 บาท สับปะรดนั่นขายส่ง เขาเอาขึ้นตุ๊กตุ๊กกลับบ้าน ไปขายกันที่เมืองอื่น ถ้าในตลาดนี้หัวละ 7 บาท ไปถึงปลายทางราคาจะขึ้นมาอีกเกือบเท่าตัว

เห็นการขนส่งผักเขาที่โยนกันโครมๆ หรือสับปะรดอัดตุ๊กตุ๊กแน่นจนอึดอัดแทน เราก็พอทำใจได้ว่าสภาพไปถึงปลายทางจะเป็นไฉน แต่ค่าขนส่งเขาแพง คนมีกำลังซื้อไม่สูง เขาจึงต้องประหยัดต้นทุนการขนส่งด้วยการอัดๆ กันเข้าไป พ่อค้าผักตาคมบอกว่า เขาเองก็หอบผักขึ้นรถเมล์มาจากบ้าน กองผักไว้กับพื้นรถแล้วปุเลงๆ กันมาแบบนั้น เพราะไม่มีทางอื่นที่ดีกว่า

เห็นแล้วฉันว่าเกษตรกรบ้านเราโชคดีกว่า ชีวิตยังไม่รันทดเท่า แต่รอยยิ้มของหนุ่มตาคมนี่ก็ยืนยันว่าเขาสู้ ไม่ว่าจะเกษตรกรที่ปลูกผักอยู่ไกลโพ้น หรือพ่อค้าที่หอบหิ้วผักขึ้นรถปุเลงๆ มาขายในเมืองอย่างนี้

ตลาดแมนนิ่งที่หนุ่มคลี่โสร่งยืนขายผักอยู่นี่ เป็นตลาดค้าส่งผักผลไม้ใหญ่สุด เก่าแก่สุดของเมืองโคลัมโบ เมืองหลวงทางเศรษฐกิจของศรีลังกา (เมืองหลวงอย่างเป็นทางการคือ โกฏเฏ ซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้จัก) มีมากว่าร้อยปีแล้ว เปิดมาตั้งแต่สมัยศรีลังกายังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และว่ากันตามจริงก็ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอะไรมาก ช่วงที่เขาสู้รบกันตลาดนี้ก็ไม่เคยปิด แต่ก็ซบเซา

อย่างที่บอกไปแล้วว่า ศรีลังกานั้นตกอยู่ภายใต้สงครามกลางเมืองยาวนานกว่าสามสิบปี และแม้จะหยุดไปแล้วเกินสิบปี แต่บาดแผลลึกนั้นยังเห็นชัดในทุกซอกมุม ประเทศหยุดอยู่กับที่ และที่สุดก็ถดถอยหนักในระยะหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนยากจน และปัญหาของประเทศก็อีนุงตุงนังไปหมด

ตลาดแมนนิ่งที่เรียกกันว่าเป็นตลาด เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศนี้ สะท้อนภาพความถดถอยนั้นได้ดีปิ 2559 รัฐบาลตัดสินใจย้ายตลาดแมนนิ่งจากย่านปัจจุบันคือ Pettah ออกไปอยู่ในย่าน Peliyagoda แต่การก่อสร้างตลาดใหม่ยังไม่เสร็จ แม้เวลาจะผ่านไป 2 ปีกว่าแล้ว ตอนนี้ก็ยังต้องใช้งานตลาดเก่าร้อยปีไปก่อน

หอยหวานของแท้จะมีริ้วลายห่างกัน เห็นสีขาวและสีน้ำตาล

แบ่งกันอย่างชัดเจน ตรงก้นหอยจะมีลักษณะกลมมน ส่วนหอยหวานเทียม หรือ “หอยหมาก” จะมีลวดลายบนเปลือกถี่ แทบไม่เห็นพื้นสีขาว ก้นหอยมีลักษณะเป็นเหลี่ยม มีสันคมๆ จุดเด่นที่แตกต่างกันอีกอย่างคือ หอยหวานของแท้ เนื้อมีสีขาวอมชมพู เนื้อหอยไม่เหนียวมาก มีรสชาติหอม หวาน กรอบ อร่อย ร้านอาหารต่างๆ จำหน่ายหอยหวานในราคาขายค่อนข้างแพง 700-800 บาท ส่วนหอยหมาก มีเนื้อหอยเป็นสีดำเป็นส่วนใหญ่ มีรสชาติแตกต่างจากหอยหวานแท้อยู่พอสมควร สามารถหาซื้อหอยหมากได้ตามตลาดสดและห้างสรรพสินค้าทั่วไป ราคาซื้อขายเริ่มต้น 150-300 บาท ต่อกิโลกรัม

ในวันนี้สำหรับไก่งวงแล้ว ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จากปัจจุบันได้มีฟาร์มเพาะเลี้ยงไก่งวงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด และเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนไก่งวงกันมาอย่างต่อเนื่อง

เบญจพรศิริฟาร์ม ที่มีคุณเบญจพร เบญจพรศิริ เป็นเจ้าของ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ 5 ต.โพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 08-0460-8969,08-6857-2747 เป็นหนึ่งในฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงไก่งวงรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีไก่งวงที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มมากว่า 1,000 ตัว

ด้วยความทุ่มเทของผู้เป็นเจ้าของและครอบครัว ในการพัฒนาการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม พัฒนาด้านสายพันธุ์ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกจากกรมปศุสัตว์ให้เข้ารับรางวัลชนะเลิศระดับเขต และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร

สำหรับกาเรลี้ยงไก่งวงนั้น เบญจพรศิริฟาร์ม ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เริ่มต้นการทำฟาร์มในปี 2524 ซึ่งขณะนั้นได้ทำฟาร์มในลักษณะของเกษตรผสมผสาน กอปรไปด้วยกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายชนิด

“ในช่วงแรกนั้นสัตว์ที่สร้างรายได้ให้มากที่สุดคือ การเลี้ยงหมู ซึ่งเราเลี้ยงจำหน่ายทั้งพ่อแม่พันธืและหมูขุน ขณะเดียวกันก็เลี้ยงสัตว์อื่นๆเสริมไปด้วย เช่น ไก่พื้นเมือง ไก่งวง หมูป่า ไก่ต๊อก เป็นต้น แต่ต่อมาเราประสบปัญหาภาวะตลาด รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้การเลี้ยงหมูไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงตัดสินใจที่จะเลิกเลี้ยง” คุณเบญจพรกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งอดีต

แม้จะต้องประสบปัญหามากมายในการประกอบอาชีพ แต่ด้วยใจที่สู้อย่างไม่ท้อ จึงทำให้คุณเบญจพรกลับมาเริ่มต้นคิดและมองหาสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนในการสร้างรายได้

“สำหรับไก่งวงนั้น เมื่อ 30 ปีก่อน เราเริ่มต้นเลี้ยงไก่งวงแค่ 5 ตัว เป็นตัวผู้ 2 ตัวและตัวเมีย 3 ตัว จุดประสงค์เพียงเพื่อเป็นสัตว์สวยงาม เลี้ยงแบบปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ คู่ไก่สัตว์ปีกอื่น ๆอย่าง ไก่ต๊อก ไก่ป่า ไก่พื้นเมือง เป็ด ไก่งวงที่เลี้ยงไว้ก็ขยายพันธุ์ออกลุูกหลานมาอย่างต่อเนื่อง”

แต่สิ่งที่คุณเบญจพรบอกว่าเป็นสิ่งเหนือความคาดหมายคือ ไก่งวงกลายเป็นสัตว์ปีกที่มีการเจริญเติบโตที่ดีมาก

“เลี้ยงแบบเดียวกัน อาหารเหมือนกัน แต่ไก่งวงกลับเจริญเติบโตกว่า ให้เนื้อมากกว่า “ คุณเบญจพรกล่าวถึงสิ่งที่พบจากไก่งวงที่เลี้ยงไว้

ด้วยข้อเด่นของไก่งวงที่พบ จึงทำให้คุณเบญจพรเกิดความสนใจที่จะเพาะเลี้ยงไก่งวงอย่างจริงจัง เธอจึงเริ่มต้นศึกษาข้อมูลของไก่งวงตั้งแต่การเลี้ยงไปจนถึงการตลาด และนั่นคือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้ในวันนี้ เบญจพรศิริฟาร์ม ไก้กลายเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่งวงรายใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภู

จุดสำคัญที่ทำให้เบญจพรศิริฟาร์ม สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้นั้น นอกเหนือจากเป็นคนหัวไวใจสู้ของผู้เป็นเจ้าของแล้ว การทุ่มเทศึกษาเรียนรู้อย่างเข้าถึงแก่นของการเลี้ยงไก่งวง นับตั้งแต่วิถีชีวิต สภาพความเป็นอยู่ การจัดการต่าง ๆแล้ว รวมถึงความต้องการของตลาด สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัจจัยที่เสริมส่งทำให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้

“สิ่งที่เราเน้นมากที่สุดในการเลี้ยงไก่งวงคือ การทำให้ไก่งวงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด หรือจะบอกว่าเป็นการปล่อยให้ธรรมชาติดูแลกันเองก็ได้ ข้อสีรุปที่ได้นี้เกิดขึ้นจากการที่เราศึกษาเรียนรู้ซ้กแล้วซ้ำอีกในฟาร์มจนได้ข้อสรุปดังกล่าว”

วันนี้การเลี้ยงไก่งวงในฟาร์มแห่งนี้ จึงเน้นการปล่อยให้หากินตามธรรมชาติเป็นสำคัญ ไก่งวงถูกปล่อยอย่างมีอิสระในอาณาเขตที่กำหนด สามารถดำรงชีวิตอยู่แบบที่ไก่งวงต้องการและชอบ สิ่งที่ตามมาคือ ได้ไก่งวงที่มีคุณภาพ อัตราการเจริญเติบโตดี น้ำหนักตัวมาก ไม่เครียด ไขมันน้อย สุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคง่าย

“ตั้งแต่ออกมาเป็นไข่ จนกระทั่งเติบโตพร้อมจำหน่าย ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ อย่างการฟักไข่เราก็เน้นให้แม่ไก่งวงจัดการเอง ออกไข่เองฟักเอง และเลี้ยงดูเองตามธรรมชาติ มีสัญชาติญาณการเอาตัวรอดได้เอง พอโตแล้วก็สามารถอยู่ได้อย่างธรรมชาติเช่นกัน ตรงนี้เลยกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของการเลี้ยงไก่งวงในฟาร์มเรา“

สำหรับสายพันธุ์ไก่งวงที่เลี้ยงในฟาร์มแห่งนี้ประกอบด้วย 9 สายพันธุ์ ได้แก่

พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ (American Beonze)

พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsville Smal White)

พันธุ์บอร์บอนเรด ( Bourbon Red )

พันธุ์รอยัลปาล์ม ( Royal Palm )

พันธุ์นาร์ราแกนเซทท์ (Narragansett)

พันธุ์บรอดเบรสท์ บรอนด์ ( Broad-breasted Bronze)

พันธุ์คาลิโก้ ( Calio )

พันธุ์แบล็ควิงบอร์น ( Black-winged Bronze )

พันธุ์เพ็นซิลปาล์ม ( Pencilled Plam )

นอกจาก 9 สายพันธุ์ดังกล่าวแล้ว ด้วยที่มีการเลี้ยงมามากว่า 30 ปี จึงทำให้ไก่งวงในฟาร์มเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ และทางฟาร์มได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นออกมา และดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ จนได้ไก่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากในฟาร์มของเบญจพรศิริฟาร์มเองอีกด้วย

สำหรับสายพันธุ์ไก่งวงนั้น ทางเจ้าของฟาร์มบอกว่า แต่ละสายพันธุ์จะมีข้อเด่นที่แตกต่างกันไป เช่น พันธุ์อเมริกันบรอนช์ จัดเป็นไก่งวงพันธุ์หนัก สามารถหาอาหารกินเองได้ตามธรรมชาติ เช่นเศษอาหาร หญ้าสด ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 70 ฟองต่อตัวต่อปี น้ำหนักมาตรฐานไก่งวงตัวผู้ 15 กิโลกรัม ตัวเมีย 9 กิโลกรัม ตัวผู้หนุ่ม 11 กิโลกรัม ตัวเมียสาว 7 กิโลกรัม

ขณะที่สายพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ มีการเจริญเติบโตในระยะเล็กจนกระทั่งถึงโตเต็มวัยเร็วมาก หน้าอกกว้าง รสชาติของเนื้อดีเป็นที่ยอมรับ สามารถหาอาหารกินเองได้ ตามธรรมชาติ ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 80 ฟองต่อตัวต่อปี น้ำหนักมาตรฐาน ไก่งวงตัวผู้ 7.7 กิโลกรัม ตัวเมีย 5 กิโลกรัม ตัวผู้หนุ่ม 6.7 กิโลกรัม ตัวเมียสาว 4 กิโลกรัม

ซึ่งการที่จะเลือกสายพันธุ์ไหนไปเลี้ยงเพื่อให้เหมาะสมกับตนเองนั้นทางเจ้าของฟาร์มบอกว่า พร้อมให้ข้อมูลข้อแนนำแก่ผู้สนใจอย่างเต็มที่ ในส่วนของการตลาดนั้น ปัจจุบันทางฟาร์มได้วางเป้าหมายการตลาด ทั้งการซื้อขายแลกเปลี่ยนไก่งวงในทุกขนาด

ทุกสายพันธุ์ตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางฟาร์มบอกว่า ไก่งวงได้รับความสนใจจากเกษตรกรมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายการเลี้ยงกันออกไปอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการขยายตลาดรองรับให้เพิ่มมากขึ้น ทางเบญจพรศิริฟาร์ม จึงวางเป้าหมายการตลาดที่เน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภค ด้ววยจัดพื้นที่ของฟาร์มจัดทำเป็นสวนอาหาร ที่เน้นนำเสนอเมนูอาหารที่เน้นการปรุงมาจากไก่งวงเป็นหลัก

การเปิดร้านจำหน่ายอาหารจากเนื้อไก่งวง ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธทางการตลาดที่น่าสนใจ เพราะจะเป็นทั้งการเปิดตลาดผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับไก่งวงที่เลี้ยงในฟาร์มด้วย

โดยเมนูอาหารที่น่าสนใจของเบญจพรศิริฟาร์มประกอบด้วย ลาบไก่งวง ลาบไก่งวงกรอบ ต้มแซบไก่งวง เมี่ยงไก่งวง ไก่งวงทอดกระเทียม บาร์บีคิวไก่งวงกระทะร้อน เป็นต้น

ดังนั้นหากสนใจทั้งจะเพาะเลี้ยงไก่งวงและชิมเมนูอาหารเด็ดๆจากไก่งวง ของเบญจพรศิริฟาร์ม คุณเบญจพร ผู้เป็นเจ้าของบอกว่า ยินดีต้อนรับและให้บริการอย่างเต็มที่ตลอดเวลา โดยสามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ข้างต้น

เชื่อว่า หลายคนคุ้นเคยกับชื่อ “ กำยาน ” เครื่องหอมชั้นดีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสปา อุตสาหกรรมยาสมุนไพรทั่วโลก ‘กำยาน’ มาจากภาษามลายูว่า ‘Kamyan’ คนไทยเรียกชื่อต้นกำยานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น สะด่าน, สาดสมิง, เขว้ เป็นต้น

กำยานที่ซื้อขายในตลาดแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กำยานสุมาตรา (Sumatra Benzoin) มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย และ กำยานญวน (Siam Benzoin)สมัยโบราณ กำยานชนิดนี้ ราชอาณาจักรสยามเป็นผู้ส่งออกไปขายตลาดโลก จนเรียกกันติดปากว่า “ Siam Benzoin ” นั่นเอง กำยานชนิดนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกำยานคุณภาพดีที่สุดในโลก กำยานญวนมีถิ่นกำเนิดบริเวณอ่าวตังเกี๋ยของเวียดนาม หรือบางครั้งเรียกว่า กำยานหลวงพระบาง เนื่องจากผลิตกำยานอย่างแพร่หลายในแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว

กำยาน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ STYRACACEAE สูงประมาณ 20-25 เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีเทา ใบ เป็นใบเดี่ยว ขึ้นเรียงสลับตามกิ่ง รูปทรงรี แกมรูปหอก ใบกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบ 7-9 คู่

ดอก ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบและที่ปลายกิ่งขนาดเล็ก ช่อดอกยาว 6-0 เซนติเมตร เวลาบานสีขาว มีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายดอกหยัก มี 5 กลีบ ยาวราว 1 เซนติเมตร มีเกสรตวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน

ผล ทรงกลมออกแป้น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เปลือกจะมีขนสีขาว ผลจะแห้งและแตกเป็น 3 ส่วน ด้านในมีเมล็ดกลม 1 เมล็ด นิยมการขยายพันธุ์กำยานด้วยวิธีเพาะเมล็ด ต้นกำยานเติบโตดีในสภาพดินร่วน ที่มีความชื้นมาก

ต้นกำยาน ถือกันเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลก เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าจะขึ้นได้ ต้นกำยานจะเริ่มออกยางเมื่ออายุราว 8-10 ปี การเก็บยางทำกัน 2-3 ครั้ง ต่อปี ครั้งหลังสุดจะเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะมีอัตรา terpene, sesquiterpene และ diterpene ที่สูงขึ้น ทำให้หอมแรงขึ้น โดยทั่วไปแล้วยางยิ่งมีสีขุ่นเท่าไหร่ จะมีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้น

ประเทศไทย กำลังก้าวข้ามการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก พัฒนาสู่การเกษตรยุคใหม่ ที่มีเทคโนโลยีการบริหารจัดการแบบ Smart Farming รวมทั้งนวัตกรรม เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เข้ามาช่วยพัฒนาการผลิตให้มีต้นทุนต่ำลงและได้ผลผลิตคุณภาพดีจำนวนมากขึ้น สอดคล้องกับโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

เครื่องทำความสะอาดใบกะเพรา“เครื่องทำความสะอาดใบกะเพรา” เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทยที่ช่วยแก้ปัญหาภาคการเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจได้อย่างน่าสนใจ เครื่องทำความสะอาดใบกะเพรา เป็นผลงานของ น.ส. พนิดา พวงบุบผา และ น.ส. ประภาภรณ์ ธรรมชาติ สาขาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานครสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เกิดจากนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจการทำงานของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกะเพราเพื่อการส่งออก ในพื้นที่อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี พบว่า มีปัญหาในการคัดสิ่งแปลกปลอม และใบที่ไม่ได้มาตรฐานออก และไม่ได้สวมแบบชุดยูนิฟอร์มที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้เส้นผมและสิ่งต่างๆ ตกลงไป และทำให้เกิดความล่าช้าในการทำความสะอาดใบกะเพรา ทำให้ได้ใบกะเพราที่น้อยและล่าช้า รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องจ้างแรงงานดูแลทำความสะอาดสินค้า

ทีมนักศึกษาจึงได้พัฒนาเครื่องทำความสะอาดใบกะเพรา ที่สามารถใส่ใบกะเพราได้ในปริมาณที่มากพอสมควร เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการทำความสะอาดใบกะเพรา ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน และเพิ่มผลผลิตใบกะเพราได้ในปริมาณมากขึ้น

วิธีการใช้เครื่องทำความสะอาดใบกะเพรา เริ่มจากเปิดฝาด้านบนตัวเครื่องอุปกรณ์ นำใบกะเพราลงไป หลังจากนั้นปิดฝาแล้วหมุนเพิ่มระดับความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เปิดฝานำใบกะเพราออกจากอุปกรณ์ แปรงในอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ จะทำความสะอาดใบกะเพรา เป็นตัวดักจับสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม จุดเด่นของนวัตกรรมชิ้นนี้คือ อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ไม่เป็นสนิม และไม่เป็นปัญหากับทุกสภาพอากาศ นวัตกรรมนี้ช่วยทำให้ใบกะเพรามีความสะอาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ช่วยลดเวลาในการทำความสะอาดใบกะเพรา ขณะเดียวกันสิ่งประดิษฐ์นี้สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้

เครื่องคัดแยกมะนาว โดยใช้โซล่าร์เซลล์

ปัจจุบัน เกษตรกรประเทศไทยประสบปัญหาในการคัดแยกมะนาวที่มีผลผลิตจำนวนมาก และเสียเวลาในการใช้คนคัดแยกมะนาวเป็นจำนวนมากๆ ในการคัดแยกมะนาวจะต้องคัดด้วยสายตาหรือความเคยชินในการคัดแยกมะนาว มะนาวเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการบริโภคในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก จึงมีเกษตรกรในหลายพื้นที่ยึดการปลูกมะนาวเป็นอาชีพหลัก และหากต้องการขายผลผลิตให้ได้ราคา เกษตรกรจำเป็นต้องคัดแยกขนาดของผลผลิต

เนื่องจากมะนาวแต่ละขนาดมีราคาไม่เท่ากัน มะนาวที่มีขนาดใหญ่จึงขายได้ในราคาสูง การคัดแยกขนาดผลมะนาวด้วยแรงงานคนจะต้องอาศัยพนักงานจำนวนมาก และใช้เวลาในการคัดแยกขนาดมะนาวเป็นเวลานาน จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน และได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงได้ผลกำไรน้อย

ถึงแม้ว่าการคัดด้วยแรงงานคนนั้นจะได้คุณภาพความสมบูรณ์ของผลมะนาว แต่ความแม่นยำในเรื่องขนาดของผลมะนาวนั้นยังค่อนข้างน้อย ปัจจุบัน จึงมีการใช้เครื่องคัดแยกขนาดมะนาว ทำให้ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน และยังเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคตามท้องตลาด แต่เครื่องคัดมะนาวที่มีขายอยู่ทั่วไป หาซื้อได้ยาก ราคา 30,000 บาท และใช้จำนวนพนักงานในการคัดแยกขนาดมะนาว 5-8 คน หากผลิตเครื่องคัดแยกขนาดมะนาว จะทำให้เครื่องคัดแยกขนาดมะนาวมีราคาใกล้เคียงกับที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม

ผศ. จุไรรัตน์จินดา อรรคนิตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (โทร. 042-211-040 ต่อ 3404) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องคัดแยกขนาดมะนาว โดยใช้โซล่าร์เซลล์ขึ้นมาเพื่อช่วยให้การคัดแยกขนาดมะนาวให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดต้นทุนในการจ้างพนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคัดแยกขนาดมะนาวจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เครื่องคัดแยกขนาดมะนาวโดยใช้โซล่าร์เซลล์ ประกอบด้วยตู้ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์
ระบบโซล่าร์เซลล์
ช่องใส่มะนาว
ตู้ควบคุมวงจรชาร์จ
เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ 6
ช่องแยกมะนาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 เซนติเมตร
ช่องแยกมะนาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร
ช่องแยกมะนาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร

เครื่องคัดแยกมะนาวสำหรับเกษตรกรโดยใช้โซล่าร์เซลล์ สามารถจะใช้งานได้จริงถูกสร้างมาเพื่อใช้ในการคัดแยกมะนาว มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการคัดแยกมะนาว อันเนื่องมาจากความต้องการที่เกษตรกรอยากจะได้เครื่องคัดแยกมะนาวและสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ การใช้งานได้ง่ายและให้เกษตรกรสามารถเข้าใจการทำงานของขั้นตอนในการคัดแยกมะนาว เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาของเครื่องคัดแยกมะนาวต่อไป

นวัตกรรมเครื่องกรีดยางพารา จาก “สิบสองปันนา”

ในปีนี้ สมาคมยางพาราแห่งสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้นำเสนอนวัตกรรมเครื่องกรีดยางรุ่นใหม่ เรียกว่า อุปกรณ์เครื่องมือกรีดยางพาราไฟฟ้า รุ่น WYD001F ภายในงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 โดยในอนาคตเอกชนจีนวางแผนนำอุปกรณ์เครื่องกรีดยางดังกล่าวเข้ามาขายที่เมืองไทย ในราคาประมาณ 4,000 บาท

อุปกรณ์เครื่องมือกรีดยางพาราไฟฟ้า รุ่น WYD001F ทำงานโดยอาศัยแรงคนกรีดยางตามปกติ แต่กรีดยางได้เร็วกว่าเดิม แถมได้หน้ายางเรียบ ช่วยยืดอายุการกรีดต้นยางได้ยาวนานขึ้น ใช้งานได้สะดวก เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้งานสะดวกสบาย ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ช่วยยกระดับการกรีดให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เกษตรกรสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน เพิ่มคุณภาพของน้ำยางพารา ช่วยถนอมรักษาต้นยางพาราได้

อุปกรณ์เครื่องมือกรีดยางพาราไฟฟ้า รุ่น WYD001F สามารถปรับระดับความแรงระดับความลึกของการกรีดยางได้ตามความต้องการและความเหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ดีที่สุด เครื่องกรีดยางรุ่นนี้สามารถเปลี่ยนใบมีดใหม่ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบตามความถนัดของผู้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องมีเทคนิคหรือประสบการณ์การกรีดยางมาก่อน

โดยทั่วไป แรงงานที่ใช้มีดกรีดยางทั่วไป จะกรีดยางได้ 700-800 ต้น/คน/วัน แต่นวัตกรรมชิ้นนี้ จะทำให้กรีดยางได้สูงสุดถึงวันละ 2,000 ต้น/คน/วัน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานกรีดยางได้ในระยะยาว ปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนยางของจีนนิยมใช้อุปกรณ์เครื่องกรีดยางชนิดนี้กันอย่างแพร่หลายในเขตปกครองตนเองชนชาติไทสิบสองปันนา

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ โรงพยาบาล (รพ.) เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดเสวนาวิชาการ ถอดบทเรียนหนานเฉาเหว่ย กินใช้อย่างไรห่างไกลตับไตวายŽ มีวิทยากรที่คลุกคลีกับสมุนไพรหนานเฉาเหว่ย และผู้ป่วยโรคไต รวมถึงผู้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรหนานเฉาเหว่ย เข้าร่วม

พญ.สุภินดา ศิริลักษณ์ หัวหน้าภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยไต พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังหรือไตเสื่อมมากขึ้น โดยมีตัวเลขถึง 8 ล้านคน ที่น่าตกใจคือ ประชาชนร้อยละ 98 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตเสื่อม จนกระทั่งโรคดำเนินเข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นเกือบระยะสุดท้ายที่ออกอาการ และก็ยากที่จะรักษาแล้ว

กลุ่มเสี่ยงโรคไตเสื่อม คือ กลุ่มคนไข้ความดันสูง เบาหวาน จึงอยากให้คนกลุ่มนี้ตรวจเช็กเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้มีข้อบ่งชี้อีกอย่างคือ ให้สังเกตจากการปัสสาวะกลางคืนบ่อย ก็เป็นภาวะเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมที่ชอบหาซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเอง ทั้งร้านขายยาและยาชุด โดยเฉพาะยากลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว หากรับประทานต่อเนื่องจะมีผลกระทบทั้งไตและตับŽ พญ.สุภินดากล่าว

พญ.สุภินดากล่าวว่า ขณะนี้มีรายงานจากประเทศเบลเยียมระบุว่า กลุ่มผู้ที่ใช้สมุนไพรลดน้ำหนักมีภาวะไตเสื่อม เนื่องจากใช้สมุนไพรผิดตัว จึงอยากแนะนำว่าการจะดูแลตับไตให้อยู่กับเราไปนานๆ มี 6 ข้อ คือ 1.อย่าซื้อยามารับประทานเอง 2.ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรกับผู้ป่วยโรคไต เพราะผลการวิจัยส่วนใหญ่จะส่งผลดีกับคนปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยยังไม่มีงานวิจัยที่รองรับการรักษา 3.งดรับประทานเค็ม และอาหารที่ใส่ผงชูรสมาก 4.ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วน เพราะคนอ้วนจะเสี่ยงกับโรคไตสูงกว่าคนผอม 5.หยุดสูบบุหรี่ และ 6.ควบคุมเบาหวานและความดันŽ พญ.สุภินดากล่าว และว่า หากสามารถทำได้ทั้ง 6 ข้อ โอกาสที่จะเป็นโรคไตเป็นไปได้ยาก

ด้าน ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า การจัดเสวนาวันนี้อยากชวนคิดว่ามีระบบอะไรที่จะช่วยประชาชนในการใช้สมุนไพรอย่างปลอดภัย และใช้ภูมิปัญญาปู่ย่าตายายมาต่อยอด

สำหรับสมุนไพรหนานเฉาเหว่ยนั้น มีชื่อเรียกหลายอย่าง ทั้ง ป่าเฮ่วหมองŽ ที่หมอไทยใหญ่เรียกขาน หรือ ป่าช้าเหงาŽ ป่าช้าร้างŽ ป่าช้าหมองŽ ทั้งนี้ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้เก็บข้อมูลและศึกษาร่วมกับแพทย์พื้นบ้านมานานนับสิบปี ซึ่งพบว่ามีการกิน ใช้ กันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในชนกลุ่มน้อยไทยใหญ่ที่ยังมีภาวะสงครามอยู่ก็ใช้กันอยู่แต่ไม่ได้แพร่หลาย

ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า สำหรับข้อบ่งใช้สมุนไพรหนานเฉาเหว่ยให้ปลอดภัย คือ ไม่ควรรับประทานเกิน 1-3 ใบ และไม่ควรรับประทานทุกวัน โดยอาจจะลวกก่อนเพื่อลดความขม ทั้งนี้ สาเหตุหรือปัจจัยที่หนานเฉาเหว่ยมีผลเสียต่อร่างกายคือ ใช้ขนาดสูงต่อเนื่อง ผู้ใช้มีค่าไตไม่ดีก่อนใช้สมุนไพร รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การหยุดใช้ยาแผนปัจจุบันกับโรคที่เป็นอยู่ และที่พบบ่อยคือกินผิดชนิด เนื่องจากสมุนไพรหลายชนิดลักษณะที่เหมือนกันจนแยกไม่ออก

ผู้ป่วยที่รับประทานหนานเฉาเหว่ยเชื่อว่า ช่วยรักษาโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ไขมัน และสามารถทำให้โรคหายขาด ช่วยคุมโรคได้ดีขึ้น ไม่ต้องกินยาแผนปัจจุบันมาก ในบางรายลดยาและหยุดยาเอง

นอกจากนี้ เรามักเจอคำว่า เขาเล่าว่าสมุนไพรนี้รักษาได้สารพัดโรค เช่น แก้ปวด รักษามะเร็ง ฯลฯ รวมทั้งรับประทานเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ไม่มีโรคไม่มีอาการ แต่ต้องการใช้ โดยหวังผลให้เป็นยาอายุวัฒนะŽ

ภญ.ผกากรองกล่าวว่า นอกจากนี้ยังพบการใช้สมุนไพรหนานเฉาเหว่ยในต่างประเทศ เช่น แอฟริกา เพื่อรักษาหลายโรค อาทิ โรคมาลาเรีย โรคกระเพาะ โรคดีซ่าน ภาวะมีบุตรยาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ริดสีดวง เป็นต้น

ด้าน นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ พิธีกรรายการชัวร์ก่อนแชร์ กล่าวว่า จากการดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์ มาเป็นพันตอน ได้รับข้อมูลที่ผ่านการแชร์มาก แต่เมื่อได้สืบค้นข้อมูลย้อนกลับไปยังต้นตอ ส่วนใหญ่ก็จะไม่เป็นความจริง และยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน การส่งต่อข้อมูลเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว การทำข้อมูลเท็จ ทำได้ง่ายทั้งแบบภาพนิ่งและวิดีโอ จึงอยากให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบและทวนข้อมูลที่แท้จริงก่อนจะแชร์ต่อเพราะบางครั้งการแชร์กันจนถูกเชื่อและนำไปใช้กันแบบผิดๆ ไปแล้ว เกิดผลเสียหาย นอกจากนี้ ยังพบว่าหลายครั้งมีการแชร์เพื่อหวังผลกับสินค้า เช่น ต้องการขายอาหารเสริม สมุนไพรของตัวเอง

ขณะที่ นางอำมร บรรจง ผู้จัดการส่วนผลิตรายการ FM 96.5 ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ได้แชร์ประสบการณ์ที่คลุกคลีกับผู้ฟังที่ใช้สมุนไพรว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะศัพท์ทางการแพทย์ และข้อบ่งใช้ของสมุนไพร สื่อสารด้วยภาษาที่ยากในทางวิชาการ โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลจากการบอกต่อ เมื่อได้รับข้อมูลการแชร์ในภาษาง่าย อาจทำให้หลงเชื่อและใช้กันอย่างผิดๆ ทั้งที่สมุนไพรมีประโยชน์ถ้าใช้เป็นและส่วนตัวแล้วสามีก็รับประทานหนานเฉาเหว่ยในการควบคุมน้ำตาลวันละ 1 ใบเท่านั้น และจะมีการตรวจร่างกายเพื่อติดตามผลอย่างเป็นระบบเช่นกัน

สำหรับผู้สนใจ สามารถร่วมเรียนรู้การใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องกันต่อได้ที่ งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม 2562 ที่ศูนย์การแสดงสินค้า อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 10-12

‘ตลาดมอกล้วยไข่’กำแพงเพชร – ตลาดริมทาง ‘ตลาดมอกล้วยไข่’ จ.กำแพงเพชร เป็นอีกหนึ่งตลาดสำคัญที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เลือกมาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาให้เป็น ‘ตลาดริมทาง’ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง จากชุมชนและท้องถิ่นฐานราก

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มอบนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมยกระดับพัฒนาตลาดชุมชนให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในจังหวัดนั้นๆ

การติดผลดกมากและผลมีขนาดใหญ่ เปลือกมีความหนาซนติเมตร

ซึ่งเป็นผลดีในการขนส่งระยะไกล เป็นมะละกอที่สามารถบริโภคได้ทั้งผลสุกและผลดิบ โดยเฉพาะผลสุก มะละกอมีรสชาติหวาน หอม เนื้อหนา 3-5 เซนติเมตร ทานอร่อยมาก ส่วนผลดิบใช้ตำส้มตำได้”

ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรนำเมล็ดมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ไปปลูกเพื่อส่งผลผลิตโรงงานแปรรูปผลไม้กระป๋อง เนื่องจากเป็นมะละกอที่มีสีสวย เนื้อหนามากและเนื้อละเอียดเนียน

ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร ได้คัดเลือกพันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” อย่างต่อเนื่องจนสายพันธุ์มีความนิ่งในระดับที่น่าพอใจ และจากการปลูกมะละกอยักษ์เรด แคลิเบียน พบว่าไม่เคยเจอต้นตัวผู้ (หรือเรียก “มะละกอสาย”) เลย จะพบเพียงต้นตัวเมียที่มีลักษณะผลกลมรีบ้างสัก 10-20 เปอร์เซ็นต์ในแปลงปลูกซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยหากเทียบกับมะละกอสายพันธุ์อื่น เช่น มะละกอพันธุ์แขกดำ และเรื่องการทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนนั้น เป็นประเด็นที่เราให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะบางต้นที่ปลูกในแปลงที่เป็นโรคจุดวงแหวน เมื่อมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ได้รับปุ๋ยและน้ำอุดมสมบูรณ์ ต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” เจริญเติบโตได้ดีและยังให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไปได้อีก

ส่วนในกรณีที่ต้นอายุเกิน 2 ปีไปแล้ว ต้นมะละกอมีความสูงที่ยากในการเก็บเกี่ยวผลลงจากต้นแล้วนั้น ทางชมรมเผยแพร่ฯ ก็จะใช้วิธีการตัดต้นทำสาวมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ให้ต้นเตี้ยเหมือนต้นที่ปลูกใหม่ และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ง่ายขึ้น การจัดการง่ายขึ้น เก็บผลผลิตง่าย และยังได้ต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี และช่วยเก็บรักษาต้นแม่เอาไว้ได้นานอีกหลายปี ยกตัวอย่างต้นแม่พันธุ์มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ที่ชมรมเผยแพร่ฯ ปลูกและตัดต้นทำสาวมีอายุยืน มีผลผลิตให้เก็บต่อเนื่องนานถึง 4 ปีทีเดียว หลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3-4 เดือน ยอดใหม่มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” จะเริ่มออกดอกติดผลต่อไป

การเตรียมดินและปลูก มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ถ้าสภาพดินปลูกมีค่า pH ต่ำกว่า 6.0 ให้หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ในอัตรา 200-300 กก./ไร่ คลุกดินโดยการไถพรวน แล้วตากทิ้งไว้ 10-15 วันเพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรค-แมลงศัตรู และกำจัดวัชพืชไปพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นไถยกร่องเป็นลอนลูกฟูก สูง 30-50 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3 เมตร

การยกร่องดังกล่าวเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงให้แปลงปลูกระบายน้ำดี ในการเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกลางร่องปลูกขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ควรจะพรวนดินเป็นหลังเต่า ตอนพรวนก็ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 3-5 กิโลกรัม ผสมดินในหลุมปลูก รดน้ำให้ชื้นและยุบตัวดี ระหว่างหลุม 2.5-3 เมตร คลุมบริเวณหลุมปลูกด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วันจึงปลูกได้ หรือจะปลูกก่อนแล้วคลุมฟางทีหลังก็ได้ แต่ในปัจจุบันบางสวนก็ใช้พลาสติกคลุมแปลง เพราะลดค่าแรงและเวลาการทำหญ้ากำจัดวัชพืช ที่สำคัญแปลงปลูกจะมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการเพาะต้นกล้ามะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” สำหรับเคล็ดลับเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีและสม่ำเสมอ รศ.ดร.กวิศร์ วานิชกุล ได้ให้ข้อมูลว่า

“การเพาะเมล็ดมะละกอให้งอกดีสม่ำเสมอนั้นให้นำมะละกอแช่น้ำ 1–2 วัน โดยในช่วงวันแรกให้เปลี่ยนน้ำอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นให้เปลี่ยนน้ำถี่ขึ้น เนื่องจากเมล็ดมะละกอมีการหายใจมากขึ้นทำให้ออกซิเจนในน้ำเหลือน้อยลง หากแช่น้ำแล้วไม่เปลี่ยนน้ำเลยก็จะเหลือออกซิเจนในน้ำน้อยเมล็ดมะละกอนั้นก็จะเกิดการหมักจนเน่าได้ ในวันที่ 3 ให้นำเมล็ดมะละกอนั้นห่อด้วยผ้าเปียกน้ำหมาดๆ นำผ้าใส่ไว้ในกล่องพลาสติกหรือกระติกน้ำเก่า และมีการพรมน้ำอยู่เรื่อยๆ ก็ได้ หากแช่เมล็ดมะละกอในน้ำดังกล่าวแล้วจะทำให้ได้ต้นกล้ามะละกอที่งอกได้ดีและโตสม่ำเสมอกัน”

หรือหากจะลดความยุ่งยากและยังไม่มีความชำนาญในการเพาะกล้า บางท่านก็อาจจะเลือกใช้วิธีของศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงจ.สุพรรณบุรีแนะนำว่า ให้แช่เมล็ดพันธุ์มะละกอในน้ำอุ่น (น้ำธรรมดา 1 ส่วนผสมกับน้ำร้อน 1 ส่วน = น้ำอุ่น) ทิ้งไว้ 1 คืน เช้าขึ้นมานำเมล็ดมะละกอ หยอดปลูกลงถุงดำขนาดเล็กที่เตรียมไว้ โดยอาจจะใช้วัสดุ เช่นขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมัก หรือ ดิน 1 ส่วน หยอดเมล็ดมะละกอ ถุงละ 3 เมล็ด จากนั้นรดน้ำที่ผสมยาป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลคซิล รดให้เพื่อช่วยป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า และผสมยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมดคาบเมล็ดมะละกอที่เพาะไว้ เช่น เซฟวิน-85 วางถุงดำไว้ใต้ซาแรนพรางแสง 60 % รดน้ำทุกเช้าวันละ 1 ครั้ง

จากนั้นอีก 7 – 10 วัน เมล็ดมะละกอจะเริ่มงอก เมื่อมีใบจริงได้ 2 ใบให้เอาซาแรนออก ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อเป็นการปรับตัว ในช่วงที่ต้นกล้าเริ่มงอกควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา พวกแมนโคเซบผสมกับยาแมลง เช่น เซฟวิน-85 และสารจับใบพรีมาตรอน จากนั้นฉีดพ่นให้ทุกๆ 7 วัน เป็นการป้องกันโรคและแมลงทำลาย จากนั้นประมาณ 2-3 อาทิตย์ ต้นกล้ามะละกอก็สามารถย้ายปลูกลงแปลงไว้ได้ หรือเมื่อต้นกล้าอายุ 45 วัน จึงย้ายลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ไม่ควรปลูกต้นกล้ามะละกอลึกจะทำให้รากเน่า

ในการใส่ปุ๋ยระยะก่อนติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 เดือนละครั้งๆ ละ 100-150 กรัม/หลุม หลังติดผล ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 150 กรัม/หลุม เดือนละครั้ง วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้หว่านลงดินบริเวณรัศมีทรงพุ่มของมะละกอแล้วรดน้ำตาม อย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้นมะละกอ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้

หลังจากปลูกต้นกล้ามะละกอไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ต้นมะละกอจะเริ่มออกดอก ให้เกษตรกรสังเกตดูการออกดอกของต้นมะละกอภายในหลุมทั้ง 3 ต้น ว่าต้นใดเป็นต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทย (ผลยาว) ให้คัดต้นสมบรูณ์เพศหรือต้นกะเทยไว้เพียงต้นเดียว สำหรับต้นตัวเมีย (ผลป้อม) ถ้าไม่ต้องการก็ตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ออกมาจะเป็นลูกป้อมและถ้าเป็นตัวผู้ให้ตัดทิ้งเลย โดยปกติแล้วต้นดอกสมบรูณ์เพศหรือดอกกะเทยนั้น ตลาดจะต้องการมากที่สุด โดยจากการสังเกตการณ์ออกดอกของมะละกอยักษ์ เรด แคลิเบียน พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การออกดอก เป็นต้น กระเทย (ผลยาว) ค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ มีการพบต้นที่ให้ดอกตัว(ผลกลม) เมียเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนต้นตัวผู้ยังไม่พบในแปลงปลูก

การบำรุงรักษา ยักษ์ “เรด แคลิเบียน” ในฤดูแล้งต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดอย่าให้ดินแห้งในฤดูฝน ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำ แต่ถ้าฝนตกหนักจะต้องดูแลการระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น โดยเสริมร่องปลูกให้สูงอยู่เสมอ ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังปลูกมักพบโรครากเน่าและโคนเน่าจึงควรราดโคนต้นมะละกอด้วยสารอาลีเอท ในช่วงฝนตกชุกก็เช่นเดียวกันจะมีโรครากเน่าโคนเน่าระบาดมาก แม้มะละกอจะออกดอกหรือติดผลแล้ว จำเป็นต้องราดโคนด้วย สารอาลีเอท ทุกๆ 15 วัน

เป็นที่สังเกตว่าการหว่านเชื้อไตรโคเดอร์มาก่อนปลูกและหว่านซ้ำทุกๆ 4 เดือน จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงกว่าครึ่ง การกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้จอบถางบริเวณโคนต้น เพราะรากจะถูกตัดขาด ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตหรือทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ แต่ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีวัชพืชขึ้น นอกทรงพุ่มต้องใช้เครื่องตัดหญ้าหรือมีดตัดให้สั้น การคลุมโคนต้นมะละกอ ใช้ฟางข้าวคลุมโคนต้นมะละกอให้หนาและหมั่นเติมฟางอยู่เสมอจะช่วยลดวัชพืช เพราะการคลุมฟางจะทำให้เมล็ดหญ้าไม่งอกและรักษาความชื้นในดิน หรือหากเป็นสวนมะละกอขนาดใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชในการใช้ต้องมีความระมัดระวัง มะละกออ่อนแอต่อยาฆ่าหญ้า

ปัจจุบันความนิยมปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็ว สามารถตัดทำเป็นไม้แปรรูปนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเป็นไม้สร้างบ้านที่ใช้ระยะเวลาการดูแลไม่ยาวนานนักอยู่ในช่วง 5 – 10 ปีนั้น กระแสตอบรับนับวันจะมีมากขึ้น ประการสำคัญของการปลูกไม้ยืนต้นที่โตเร็วนั้น วัตถุประสงค์หลักส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปลูกเพื่อเสริมพื้นที่ว่างตามที่ดินรกร้างว่างเปล่า หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงมีแนวความคิดหาไม้ยืนต้นที่โตเร็ว และมีประโยชน์ในการแปรรูปไม้นำมาปลูกในพื้นที่ว่างกัน

การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ว่างนั้น ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่หากิ่งพันธุ์ไม้มาลงปลูก ดูแลให้น้ำบ้างในระยะแรกๆ เพื่อให้ต้นตั้งตัวได้ พอดินรัดรากดีระบบรากสามารถแตกแขนงหากินช่วยตัวเองได้แล้ว ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ เพราะไม้ยืนต้นยิ่งเป็นประเภทไม้ป่าด้วยแล้วต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ในธรรมชาติภูมิอากาศบ้านเรา 3 ฤดู ร้อน / ฝน / หนาว ได้สบายๆ กรณีนี้ต้องยกเว้นการเกิดภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรโดนน้ำท่วมนานๆ มีสิทธิ์ตายได้ เหมือนกันหมด

คุณนนท์ สุขแก้ว เป็นเกษตรกรชาวสวนอยู่ที่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 6 บ้านวังขโมย ตำบลวัดแก้ว อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ทำสวนผลไม้ผสมผสานในเนื้อที่ 80 ไร่ คุณนนท์ ได้นำไม้แดงซึ่งเป็นไม้ป่ายืนต้นประเภทหนึ่งมาปลูกในพื้นที่รอบ ๆ สวนผลไม้ ปัจจุบันไม้แดงที่ปลูกมีอายุ 10 ปี สามารถตัดขายเป็นรายได้แล้ว

คุณนนท์ พบว่า การปลูกไม้แดงนั้นไม่ยุ่งยาก แต่กลับมีประโยชน์มากมายต่อระบบนิเวศน์ในสวนผลไม้ สามารถเป็นไม้ใหญ่รับแรงลมพายุฝนได้ เป็นร่มเงาให้สวนร่มรื่น และถ้าปลูกรอบๆ สวน จะเป็นแนวคันสวนได้เป็นอย่างดี

ไม้แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบ สีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้นเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม

ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ปลายใบแหลมมน ดอกสีเหลือง ขนาดเล็กขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่มๆ ดอกจะออกราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม แล้วเป็นฝัก ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอมีส่วนปลาย ฝักแข็งยาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา

ลักษณะเนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง เหนียว ทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี

ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ และมีการนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ไม้แดงมีความทนทานสูงมาก ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทำให้สามารถนำไปใช้งานกลางแจ้งได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมนำไม้แดงไปใช้ในการก่อสร้าง เป็นโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน ทำเป็นพื้นบ้านไม้แดง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องมือทางเกษตร และทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำไม้แดงไปใช้ในการทำปาร์เก้ได้รับความนิยมรองจากไม้สักปาร์เก้ ใช้ทำเสา รอดตง ขื่อ ฝา ทำกระดานข้างเรือ เรือใบ เรือสำเภา คราด ครก สาก กระเดื่อง ส่วนต่างๆ ของเกวียน ทำสะพาน หมอนรางรถไฟ ด้ามเครื่องมือต่างๆ แกะสลักก็ได้ ประโยชน์ของไม้แดงทางสมุนไพร เช่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิต และโรคกษัย แก้พิษ โลหิต และอาการปวดอักเสบของฝีต่างๆ เปลือกมีรสฝาดใช้สมานธาตุ ดอกผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ดรับประทานได้ เหล่านี้คือประโยชน์ของไม้แดง ซึ่งยังมีมากมายนัก

คุณนนท์ เล่าถึงที่มาที่ไปของการนำไม้แดงเข้ามาปลูกในพื้นที่สวนว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้วไปเที่ยวน้ำตกที่จังหวัดกาญจนบุรี ไปเห็นไม้แดงบริเวณน้ำตกสังเกตุลำต้นดูตรง ยิ่งต้นใหญ่ๆ ก็เหมาะที่จะนำลำต้นมาแปรรูปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้ จึงศึกษาเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ปรับให้เข้ากับสภาพสวน ที่สำคัญพบว่าไม้แดงโคนถูกน้ำท่วมก็ไม่ตาย

คุณนนท์ บอกว่า แรกๆ พยายามศึกษาหาข้อมูล แต่หาไม่ค่อยได้ จึงต้องทดลองปลูกเอง โดยซื้อกิ่งพันธุ์ไม้แดงมาปลูก ไปซื้อตามตลาดนัดต้นไม้บ้าง ที่ร้านขายพันธุ์ไม้แถวอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ ซื้อมากว่า 400 กว่าต้น ความสูงกิ่งพันธุ์ประมาณ 1 ฟุต

“จริงๆ แล้วไม้แดงนั้นมีการทดลองปลูกได้ผลมาแล้ว แต่ตอนนั้นองค์ความรู้ยังไม่มีการเผยแพร่กันออกมา ผมเลยต้องทดลองปลูกเอง”

เมื่อได้กิ่งพันธุ์ไม้แดงมาก็วางแผนลงปลูกรอบๆ สวนประมาณ 80 ไร่ ทำเป็นคันดินกว้างลงปลูกพร้อมกับพันธุ์ปาล์มด้านนอก ด้านในสลับกัน ใช้ระยะปลูกห่างประมาณ 4 เมตรต่อต้น เมื่อต้นโตจะเป็นแนวไม้ใหญ่ล้อมรอบสวนผลไม้ที่มีอยู่ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ไผ่ และไม้ผลอื่นๆ

คุณนนท์ บอกด้วยว่า หลังจากวางแผนการปลูกแล้ว ก็เริ่มต้นด้วยการขุดหลุมปลูกเหมือนกับปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป ไม่ต้องกำหนดอะไรให้ยุ่งยาก ขุดหลุมลึกพอสมควรก็เอากิ่งพันธุ์ออกจากถุงดำแล้วลงปลูกในหลุม กลบดินปากหลุมให้แน่นตามด้วยรดน้ำจนชุ่ม เรื่องปุ๋ยไม่ต้องกังวลเลยสบายใจได้ ไม้แดงลองระบบรากเจริญดีแล้วต้นไม่ตายง่ายๆ ทนร้อน ทนฝน ทนหนาว “ไม้แดงทนได้”

ช่วง 1 – 2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไรเลย “คุณนนท์ สุขแก้ว” บอกว่า ถ้าเราใส่ปุ่ยในช่วงต้นยังอ่อนอยู่จะทำให้ลำต้นอ่อน พอฝนตกลงมาดินชุ่มมาก ๆ ลำต้นจะเอียงได้ ทางที่ดีปลูกแล้วปล่อยไปก่อน จะมาเพิ่มปุ๋ยให้ตอนช่วงปีที่ 3 ช่วงนี้ไม้แดงโตเร็วมาก ปีแรกต้นสูงเมตรกว่าแล้ว พอปีที่ 3 ต้นสูงใหญ่

“ของผมใช้วิธีให้ปุ๋ยมะพร้าว ไม้ผลในสวนก็หว่านให้ไม้แดงไปด้วย พอปีที่ 4 ต้นจะพุ่งสูงขึ้น คราวนี้กลายเป็นแข่งกันพุ่งขึ้นที่สูง เขาจะหนีต้นมะพร้าวในสวนยอดจะพุ่งสูงกว่าไม้อื่นๆ ในส่วนช่วงนี้สูงราว 10 เมตรกว่าแล้ว”

คุณนนท์ ยังบอกด้วยว่า การจะให้ต้นไม้แดงพุ่งสูงขึ้น และลำต้นใหญ่ขึ้นจะต้องมีเทคนิคกันบ้าง กล่าวคือ ช่วงปีที่ 3 ต้นฝนจะต้องกรีดเปลือกที่ลำต้นออก การกรีดเปลือกก็ใช้มีดคมๆ กรีดที่เปลือกให้เป็นทางยาวจากที่สูงลงด้านล่าง กรีดเปลือก 3 – 4 แนวรอบต้น แนวหนึ่งกว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จะช่วยให้ต้นขยายออกจากเปลือก

ปีต่อไปต้นจะเบ่งเนื้อไม้ออกจากรอยกรีดที่เปลือก ทำให้ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขึ้น ในทางธรรมชาติเปลือกไม้แดงจะแตกออกจากลำต้นเอง เพื่อขยายเนื้อไม้ให้กว้างออกแต่จะช้ามาก สู้เราช่วยกรีดเปลือกให้ไม่ได้ ต้นจะโตเร็วมากในปีต่อ ๆ ไป

ไม้แดงอายุ 7 ปี ได้ขนาดหน้า 6 หน้า 7 แล้ว ไม้แดงอายุ 6 ปี สามารถตัดมาทำเสา ทำตอหม้อสะพานได้ แต่ถ้าให้ดีควรปลูกให้ได้อายุ 15 ปี จะได้ไม้หน้า 9 – 10 นิ้ว

“ที่สวนผมอายุ 7 ปี ได้หน้ากว้าง 82 เซนติเมตรแล้ว ที่บ้านผมเป็นสวนป่า นกมาอยู่อาศัยมากมาย ถือว่าที่นี่เป็นแหล่งออกซิเจนของตำบลก็ว่าได้ ปลูกต้นไม้ไว้ 5 พันกว่าต้น ทั้งไม้ป่ายืนต้นและไม้ผล มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้มีประมาณ 3 พันกว่าต้น ความหวานหอมหายห่วง ส่งประกวดได้รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดและระดับภาค”

การปลูกไม้แดงเสริมในพื้นที่สวนเหมาะมาก เพียงแค่ลงมือปลูก ไม่นานโตทันใจ ใช้เวลาปลูก 7 ปี ตัดขายได้ ไม้แผ่นยาว 4 วา หน้า 20 นิ้ว ราคา 2 – 3 หมื่นบาท อีก 10 ปีข้างหน้า ราคาไม้กระดานไม้ปลูกบ้านหลังหนึ่งราคาเป็นล้านบาท หากลงทุนปลูกไม้เองวันนี้ กว่าจะตัดเราก็ได้ประโยชน์จากธรรมชาติมหาศาล

คุณนนท์ บอกอีกว่า ไม้แดงในพื้นที่ดอนปลูกได้ดีแต่พื้นที่นาต้องทำคันยกร่องจะดีกว่า อย่าให้ไม้แช่น้ำแฉะเกินไปหอยแครงลวก หรือหอยแมลงภู่อบ เป็นอาหารเมนูยอดฮิตที่นักชิมนิยมสั่งมากินเวลาไปร้านอาหารซีฟู้ด หลายคนนิยมกิน หอยนางรมสดกับน้ำจิ้มซีฟู้ด กินเป็นยาโป๊วบำรุงกำลัง หรือสั่งเมนูหอยนางรมทอด หรือเมนูออส่วนก็อร่อยเลิศเช่นกัน “หอยตลับ” และ “หอยหลอด” ปรุงรสในเมนูต้มยำ ผัด หรือลวกก็อร่อยแซบเว่อร์ อีกหนึ่งเมนูที่ห้ามพลาดคือ “เมนูหอยหวาน” หรือที่บางท้องถิ่นเรียกว่า “หอยตุ๊กแก” เมื่อนำมาเผา เนื้อหอยจะมีรสหวาน อร่อยสุดยอด

“หอยหวาน” เป็นสินค้าขายดีประจำร้านซีฟู้ด เพราะหอยหวานมีรสชาติหวานล้ำ อร่อย จนต้องสั่งซ้ำเป็นจานที่สอง…สาม…สี่ แต่เมนูหอยหวานจะอร่อยเลิศได้ จะต้องใช้หอยหวานสดที่ยังมีชีวิตมาปรุงเป็นอาหารเท่านั้น หากปล่อยให้หอยหวานตาย เนื้อหอยจะเน่าทันทีภายในระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง เท่านั้น

ทุกวันนี้กระแสความต้องการบริโภคหอยหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณหอยหวานที่จับจากชายทะเลตามธรรมชาติกลับมีจำนวนลดลง เพราะหอยหวานเติบโตไม่ทันกับความต้องการของมนุษย์

โดยปกติชาวประมงจะจับหอยหวานออกขายปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงต้นฝน จึงมีหอยหวานจากธรรมชาติเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในระยะนี้ ช่วงปลายฤดูหนาว ชาวประมงจับหอยหวานส่งขายตลาดบ้างแต่มีปริมาณน้อย ทำให้หอยหวานในระยะนี้ขายได้ราคาสูง หลายคนจึงสนใจทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงการค้า แต่การทำฟาร์มหอยหวานให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยการเรียนรู้และเงินลงทุนที่มากพอสมควร

เทคนิคบริหารจัดการฟาร์ม

โรงเรือนเลี้ยงหอยหวาน ต้องมีสภาพโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เกษตรกรสามารถเลี้ยงหอยหวานบนบกในบ่อซีเมนต์ ขนาดประมาณ 3×4.5×0.8 เมตร ส่วนฐานสร้างด้วยอิฐบล็อกฉาบปูนซีเมนต์ สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร ติดตาข่ายรอบๆ บ่อเพื่อป้องกันไม่ให้หอยหวานปีนออกนอกบ่อได้ รองก้นบ่อด้วยทราย สูบน้ำทะเลขึ้นมาใช้เลี้ยงหอยในบ่อ โดยให้มีระดับความเค็มประมาณ 28-35 พีพีที ปล่อยน้ำด้วยหัวฉีดน้ำ มีท่อน้ำล้นให้น้ำหมุนเวียน และเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา

หากใครสนใจทำฟาร์มเลี้ยงหอยหวาน ควรเริ่มจากจัดหาพ่อแม่พันธุ์ กระตุ้นไข่ อนุบาล เลี้ยงตัวอ่อน และทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหอยหวานเชิงการค้า แนะนำให้สร้างบ่อปูนซีเมนต์เลี้ยงหอยหวานตามช่วงอายุ ตั้งแต่หอยตัวเล็กเท่าเม็ดทราย จนถึงหอยตัวโตที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปีจึงจับหอยหวานออกขายได้ โดยธรรมชาติ หอยหวานจะอยู่อาศัยเป็นกลุ่มใหญ่ ฝังตัวหลบอยู่ใต้พื้นทราย นับแสนตัวเพื่อความปลอดภัย ช่วยกันหาอาหาร และผสมพันธุ์ เมื่อเหยื่อประเภท ปู ปลา กุ้ง หลงว่ายเข้ามาในถิ่นที่อยู่ หอยหวานจะขึ้นมารุมกินจนเหยื่อไม่สามารถว่ายหนีได้ หอยหวานเป็นสัตว์น้ำที่มีอุปนิสัยเรียบง่าย กินตรงไหนจะนอนตรงนั้น จะโผล่ขึ้นมาผิวน้ำเฉพาะเวลากินอาหารเท่านั้น

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมใช้เนื้อปลาสด หัวกุ้ง ฯลฯ เป็นอาหารเลี้ยงหอยหวานในบ่อเลี้ยง ต้นทุนค่าอาหารถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของฟาร์ม เพราะปลาสดมีราคาค่อนข้างแพง เช่น ปลาข้างเหลือง โดยจะให้อาหารหอยหวานเฉลี่ย บ่อละ 1 กิโลกรัม ต่อวัน

และควรเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง หอยหวานจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 50,000 ตัว แต่อัตราการรอดตายเพียง 3% เท่านั้น

หอยหวานสามารถวางไข่ในโรงเพาะฟักได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูที่หอยหวานวางไข่มากที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม สำหรับบ่อขยาย ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยหวานประมาณ 1,400 ตัว ต่อบ่อ พื้นบ่อปกคลุมด้วยทรายหยาบหนา 5 เซนติเมตร และมีน้ำทะเลไหลผ่านตลอด อัตราการไหล ประมาณ 300 ลิตร ต่อชั่วโมง ระดับความลึกของน้ำในบ่อเลี้ยงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ปล่อยให้หอยหวานวางไข่เองในบ่อตามธรรมชาติ โดยสังเกตการวางไข่ในบ่อพ่อแม่พันธุ์เป็นประจำทุกวันในเวลาเช้า

ระยะการเติบโตของหอยหวาน

โดยทั่วไป แม่พันธุ์หอยหวานแต่ละตัวจะไข่ออกมาประมาณ 30-50 ฝัก แต่ละฝักก็จะมีไข่ใบเล็กๆ อยู่ข้างในประมาณ 1,000 ใบวงจรชีวิตหอยหวาน โดยคร่าวๆ ที่เห็นเป็นจุดสีน้ำตาล คือ ลูกหอยแต่ละตัว 1 จุด คือ 1 ชีวิต ไข่หอยหวานอายุ 3 วัน จะเริ่มแบ่งตัวออกเป็นหลายเซลล์ หลังจากแม่หอยวางไข่แล้วประมาณ 5-7 วัน

ลูกหอยระยะ Veliger จะออกจากฝักไข่ และดำรงชีวิตแบบแพลงตอนล่องลอยในน้ำ ลักษณะเด่นของลูกหอยระยะนี้คือ มีอวัยวะที่เรียกว่า Velum มองเห็นคล้ายปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่โบกพัดน้ำเพื่อการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ และโบกพัดอาหาร ลูกหอยระยะนี้จึงถูกเรียกว่า ระยะหอยบินตัวหอยบินอายุ 14 วัน จะกินแพลงตอนเป็นอาหาร หลังจากนั้นจะใช้เวลาแปลงกายจากตัวบินมาเป็นลูกหอยหวาน ในระยะเวลาเพียง 1 วัน พอเป็นลูกหอย ก็จะกินแต่เนื้อ เลี้ยงต่ออีก 2 เดือน ก็จะได้หอยขนาด 1 เซนต์ เรียกง่ายๆ ว่า “หอยเซนต์” ทางฟาร์มจะนำหอยเซนต์เลี้ยงในบ่อใหญ่ เรียกว่าขั้นตอนขุนหอย ใช้ระยะเวลาเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 10-12 เดือน จึงเริ่มจับหอยออกขายได้

หากใครสนใจอยากเลี้ยงหอยหวานเชิงพาณิชย์ สิ่งสำคัญประการแรกคือ ต้องมีที่ดินติดชายทะเลประมาณ 1-2 ไร่ เพราะต้องใช้น้ำทะเลในการเลี้ยงหอยหวาน ต้องใช้เงินลงทุนมากพอสมควร หากลงทุนสร้างบ่อซีเมนต์สำหรับเลี้ยงหอยจะใช้เงินลงทุนประมาณบ่อละ 30,000 บาท ต่อบ่อ หากเป็นบ่อผ้าใบ เฉลี่ยบ่อละ 5,000 บาท แต่ข้อเสียของบ่อผ้าใบ คือสภาพอุณหภูมิจะปรับเปลี่ยนตามสภาพฤดูกาล ทำให้หอยหวานเติบโตไม่คงที่ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงในสภาพบ่อปูน ที่มีสภาพอุณหภูมิคงที่ หอยหวานสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมากกว่า

“น้ำทะเล” เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในฟาร์มเลี้ยงหอยหวาน แต่คุณภาพน้ำทะเลเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุมคุณภาพ โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกชุก น้ำทะเลจะมีระดับความเค็มลดลง ไม่เพียงพอสำหรับการเพาะเลี้ยงหอยหวาน แถมบางครั้งเกิดปรากฏการ์ณแพลงตอนบูม หรือขี้ปลาวาฬ เป็นอุปสรรคต่อการเพาะขยายพันธุ์ และการเพาะอาหารสำหรับลูกหอยหวาน ทำให้หอยหวานเติบโตช้ากว่าปกติ ฟาร์มหลายแห่งเจอปัญหาอุปสรรคดังกล่าว ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงหอยหวานยาวนานถึง 15 เดือน จึงได้หอยหวานตัวโตท่ี่ตลาดต้องการ

ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ความสะอาดของบ่อเลี้ยง หากคนงานดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอ อาจทำให้หอยหวานป่วยเป็นโรคงวงบวม หอยหวานจะไม่กินอาหาร และตายในที่สุด หากเจอโรคงวงบวม แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพ บำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงหอย สำหรับน้ำหมักชีวภาพทำได้ไม่ยาก เริ่มจากเตรียมวัตถุดิบ คือ เปลือกสับปะรด กากน้ำตาล กล้วยน้ำว้า ลูกยอ ฟ้าทะลายโจร อย่างละ 20 กิโลกรัม กากน้ำตาล 30 กิโลกรัม และหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) ของกรมประมง จำนวน 2 ซอง นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ในถังหมัก เทน้ำใส่ให้ท่วม หมักนาน 1 เดือน จึงใช้เป็นหัวเชื้อน้ำหมักสำหรับป้องกันโรคดังกล่าว โดยทั่วไปโรคงวงบวม มักเกิดเฉพาะช่วงที่ดูแลบ่อเลี้ยงไม่สะอาดเพียงพอ แต่หลังใช้น้ำหมักชีวภาพสามารถแก้ไขปัญหาโรคงวงบวมได้อย่างเด็ดขาด

ระวังเจอ “หอยหวานปลอม”เนื่องจาก หอยหวาน ขายได้ราคาสูง ทำให้พ่อค้าหัวใสบางรายแอบขายหอยหวานปลอม โดยใช้ “หอยหมาก” ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหอยหวานมาหลอกขายลูกค้า หากใครไม่อยากถูกพ่อค้าหลอก ก่อนซื้อควรสังเกตลวดลายบนเปลือก

ครัวเป็นวิหารอันศักดิ์สิทธิ์มันบำบัดทุกความเจ็บป่วยในชีวิต

บรรณาการอาหารให้ท้องอิ่ม และเป็นลานประหารในเวลาเดียวกันเราอยู่ดีมีสุขด้วยความอิ่มเอมในรสชาติอาหารเราเจ็บป่วยอ่อนแอก็ด้วยสิ่งที่สรรหามาป้อนเข้าปากการอ่านเป็นเรื่องของรสนิยมโดยแท้ หนังสือทั้งโลกไม่ต่างจากอุทยานดอกไม้ มีให้เลือกชมดมดอมตามจริตของแต่ละคน มันเป็นบุปผางาม ถึงเวลาบานก็บาน…รอคอยให้คนผ่านทางมาชื่นชม

บางคนมอบหัวใจให้ดอกกุหลาบเพียงหนึ่งเดียว บางรายชอบดอกไม้สีม่วง บางคนชอบดอกไม้กลิ่นหอม แต่ละคนต่างเก็บเกี่ยวกำซาบความสุขในกลิ่นรสที่พึงใจเอาไว้ในพื้นที่เฉพาะที่ไม่เปิดให้ใครเข้าไปก้าวก่าย

อากาศเย็นฉ่ำที่มากับฝน ทำให้ไม่อยากขยับตัวทำอะไรนอกจากนอนอ่านหนังสือ เป็นอีกวันที่ฉันไม่อยากได้ยินเสียงอะไรในครัวไม่อยากให้มีเสียงเคาะตะหลิวหรือเสียงฉู่ฉี่ของน้ำมันในกระทะ ฉันอยากฟังเสียงฝนดังกระหน่ำอยู่อย่างนั้น นอนเอกเขนกอยู่บนโซฟานุ่มๆกับหนังสือเล่มโปรด แต่ความหิวโหยก็ทำงานของมันอย่างสัตย์ซื่อ

หลังจากบิดขี้เกียจอยู่หลายรอบ ในที่สุดก็ต้องวางหนังสือลุกขึ้นจากท่านอน ฝนขาดเม็ดพอดี นอกบ้านรายรอบตัวทุกอย่างแสนชุ่มฉ่ำ

ในตู้เย็นมีไข่ไก่และแฮมอยู่สองสามแผ่น เป็นเช้าประหลาดที่ไม่นึกอยากกินของร้อนเหมือนเคย

มีผักสลัดคอสเก่าเหลือค้างตู้เย็นอยู่หนึ่งต้น ใบนอกสองสามใบเริ่มช้ำ แต่ข้างในอีกกว่าครึ่งยังพอใช้ได้อยู่ ฉันนึกถึงสลัดรสเปรี้ยวอมหวานนิดๆที่จริงสลัดมื้อเช้าไม่ค่อยอยู่ท้อง นักโภชนาการมักแนะนำให้กินโปรตีนในปริมาณมาก หรือไม่ก็คาร์โบไฮเดรตมื้อใหญ่ตามเสียงเรียกร้องของร่างกายหลังจากพักผ่อนนอนหลับมาหลายชั่วโมงมากกว่า

สลัดเหมาะกับมื้อเย็นที่สุด เพราะร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานมากมายก่อนนอน ดังนั้นถ้างดแป้งได้ในมือนี้ก็จะวิเศษมากสำหรับทุกคน ส่วนมื้อเช้านั้นถ้าเน้นโปรตีนให้มาก ร่างกายก็จะอิ่มอยู่นาน เมื่อไม่หิวบ่อย เราก็จะไม่กินเยอะ

เปิดประตูบ้านออกสู่สวน ความฉ่ำเย็นวูบไหลผ่านเข้ามาไล่ความอบอ้าวในทันที รู้สึกได้ถึงมวลอากาศที่ถ่ายเทไปมา

เสียงโลกยามเช้าแสนเสนาะระเริงรัวอยู่รอบตัว เป็นเสียงแมลง เสียงใบไม้ส่ายในสายลม เสียงนก เสียงส่ำสัตว์ที่หลบซ่อนอยู่ตามซอกหลืบโพรงดินที่ฉันไม่รู้จัก

กุหลาบเถาสีชมพูอ่อนในซุ้มเลื้อยปีนบันไดเหล็กสูงมาถึงครึ่งทางแล้ว พวงกุหลาบบานฉ่ำเต็มที่เป็นพวงสวย บานมาสองวันเต็มแต่กลีบยังแข็ง คงอีกหลายวันกว่าจะโรย

ถัดขึ้นไปเป็นกระถางแขวนบีโกเนียสองชนิด แบบใบใหญ่เขียวสดดอกสีชมพูเล็กๆคล้ายพวงชมพู กับแบบใบเล็กสีแดงอมเขียวที่มีดอกขนาดใหญ่สีแดงเรื่อๆแนวรั้วเป็นกำแพงต้นคริสติน่า ไม้จัดสวนทนน้ำที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแรง ฉันเพิ่งมาทราบภายหลังว่าต้นคริสติน่าที่บรรดาร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ขายดิบขายดีกันอยู่ในตอนนี้ ที่แท้ก็คือพืชในกลุ่มเดียวกับต้นเสม็ด ที่เป็นผักกินได้และชาวบ้านนิยมกินกันมานาน รสฝาด มัน เวลาเคี้ยวหอมกรุ่นอยู่ในลมหายใจ เหมาะนักที่จะเป็นผักแนมอาหารรสจัดอย่างพวกลาบ ก้อย ยำ

ยอดสีแดงอ่อนของมันกำลังระบัดใบเป็นประกายระเรื่อในแสงเช้าและแล้วฉันก็นึกถึงสลัดดอกไม้

มันวูบขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจ หลายวันก่อนฉันยังเด็ดดอกบีโกเนียกับดอกเอื้องหมายนามาโรยหน้าข้าวยำ วันนี้ทำไมจะทำสลัดบีโกเนียไม่ได้

ที่จริงเรากินดอกไม้กันแทบทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้เรียกมันเป็นดอกไม้ เราจัดอยู่ในกลุ่มผักไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ดอกกุยช่าย ดอกบัวสาย ดอกผักกวางตุ้ง ดอกฟักทอง ดอกบวบ ดอกต้นหอม ดอกข่า ดอกขจร ดอกโสน ฯลฯ หรือแม้แต่ดอกของไม้ผลและไม้ยืนต้นหลายชนิด อย่างดอกทุเรียน ดอกชมพู่มะเหมี่ยว ดอกกล้วย (หัวปลี) ดอกงิ้ว ดอกนุ่น ดอกมะรุม ดอกแคป่า สะเดา ช่อมะกอก ดอกขี้เหล็ก ดอกกระโดน ดอกลำพู ฯลฯ เราก็กินกันมามากต่อมาก

รวมไปถึงดอกของพืชป่าบางชนิด เช่น ดอกกระเจียว ดอกกะลา หรือดอกดาหลา เป็นต้น

วันนี้ฉันมีบีโกเนียสดๆ ในกระถางก้านอวบอิ่ม รสเปรี้ยวของมันน่าจะไปได้ดีกับยอดอ่อนของคริสติน่าที่กำลังน่ากิน แล้วยังมีผักสวนครัวอย่างโหระพา กระเพรา ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ในกระถางปลูกให้เด็ดมาใช้ได้เต็มพิกัด

ไหนจะดอกสดสะพรั่งมีแดงอมส้มของเอื้องหมายนาอีก กวาดตามองคร่าวๆน่าจะเก็บได้สักหนึ่งกำมือ อ้อ…แล้วก็กลีบกุหลาบเลื้อยนั่นด้วย

ขอให้เป็นกุหลาบที่เราเลี้ยงมาเองกับมือเท่านั้นแหละ จะกุหลาบมอญพื้นบ้านหรือกุหลาบสายพันธุ์ฝรั่งชาติใดก็กินได้ทั้งสิ้น ถ้าหากเชื่อมั่นว่าเราไม่ได้ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงรือใส่สารกระตุ้นแปลกปลอมอันใดลงไปบนดอกไม้

กฎกติกามารยาทในการเอาไม้ดอกไม้ประดับมารับประทานไม่มีอะไรมาก นอกจากสิ่งที่เราควรรู้ว่าดอกไม้ชนิดไหนกินได้ ชนิดไหนกินไม่ได้แล้วฉันเคยอ่านเจอที่ อาจารย์ฤทัย เรืองธรรมสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ท่านแนะนำวิธีเลือกดอกไม้มาเป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารว่า

ลำดับแรกสุดต้องเป็นดอกไม้ไม่มีพิษ เป็นที่รู้จักและแน่ใจว่ารับประทานได้เท่านั้น ขอให้หลีกเลี่ยงดอกไม้ข้างทางสวยๆโดยเฉพาะดอกไม้ในเมืองใหญ่ ที่แม้จะขึ้นเองตามธรรมชาติแต่ก็อาจกักเก็บสารพิษ หรือสารเคมีไว้มากด้วยการดูดซึมผ่านอากาศ หรือปนเปื้อนอยู่ในดิน

และเพื่อป้องกันการแพ้เกสรดอกไม้ ก่อนนำมาปรุงอาหาร ควรแยกเอาเกสรออกเสียก่อน นำเฉพาะกลีบดอกมาใช้เท่านั้นปัญหาของฉันก็คือ จะเอาสารพัดพืชผักดอกไม้ที่มีอยู่มาปรุงอย่างไรให้ได้รสชาติถูกปาก

นึกขึ้นได้ว่ามีใบแป้งห่อเมี่ยงญวนที่มักติดบ้านไว้เสมอ เป็นใบเมี่ยงแผ่นใสๆที่ทำจากแป้งพิเศษสูตรอาหารเวียดนามโดยเฉพาะ คนละแบบกับแป้งห่อปอเปี๊ยะของคนจีนนะคะ

ใบเมี่ยงนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่อลูบด้วยน้ำจะคลายตัวนุ่มนิ่มและเหนียวหนึบห่อผักได้ดีมาก แถมยังมีรสเค็มหน่อยๆทำให้เพิ่มรสชาติอาหารได้ดีกว่าใบแป้งแบบอื่น

ฉันตัดสินใจทำเมี่ยงดอกไม้เดี๋ยวนั้น

เศษใบผักสลัดคอสที่เหลือล้างสะอาดแล้วเอามาเป็นแผ่นรอง ผักอื่นในสวนจัดเต็มมาทุกอย่าง เท่าที่มี สำหรับบีโกเนียนั้น เด็ดเอาแต่ก้าน หักเป็นท่อนยาวดึงใยหุ้มเปลือกออกให้เกลี้ยง

ลักษณะการห่อแบบเดียวกับเมี่ยงสดของอาหารเวียดนามเลย

เริ่มจากวางผักสลัดลงบนใบเมี่ยง ตามด้วยบีโกเนีย คริสติน่า ผักชีฝรั่ง ใบสะระแหน่ โหระพา และหมูแฮมหั่นเป็นริ้วยาว จากนั้นโรยด้วยดอกเอื้องหมายนา ราดมายองเนสลงไปบางๆตรงกลางแผ่น สุดท้ายวางกลีบดอกกุหลาบและกลีบดอกบีโกเนียไว้บนสุด เสร็จแล้วก็ม้วนแผ่นแป้ง

ทำกินเองที่บ้านไม่จำเป็นต้องสวยสะอะไร แต่ถ้าจะได้ห่อเมี่ยงสวยแจ่ม เมื่อม้วนใบเมี่ยงแน่นไปรอบหนึ่งแล้วก็ให้วางกลีบดอกไม้สีสดๆที่ด้านนอกอีกครั้งค่ะ เพื่อจะได้เห็นสีสันมากหน่อย

ฉันห่อเมี่ยงดอกไม้แบบปลายเปิดข้างหนึ่ง เพื่อโชว์ความน่ารักของดอกบีโกเนีย รู้สึกว่ารีบร้อนไปหน่อย ห่อไม่ค่อยสวยนักแต่ก็ให้อารมณ์เมี่ยงดอกไม้แบบบ้านๆ

ปกติแล้วอาหารจำพวกพวกเมี่ยงญวนมักจะทำน้ำจิ้มแยกต่างหาก ซึ่งก็ไม่ยากอะไรเลย ใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะขามเปียกก็ได้ผสมกับน้ำเชื่อมใส่เกลือนิดหน่อยคนให้เข้ากัน ตำพริกขี้หนูเพิ่มความจัดจ้านลงไปหน่อยก็ใช้ได้แล้ว แต่ถ้าชอบแครอทและหัวผักกาดซอยเป็นเส้นก็โรยลงไปได้เลย

บางคนอาจใส่ถั่วลิสงคั่วป่นลงไป ก็ตามใจชอบค่ะ

วันนี้ฉันตั้งใจไม่ทำน้ำจิ้ม แต่ต้องการให้รสหวานมันของมายองเนสออกมาตัดรสเปรี้ยวของเมี่ยงซึ่งมีส่วนผสมของผักรสเปรี้ยวแหลมนำอยู่แล้ว โดยเฉพาะบีโกเนียทั้งดอก-ใบ และเอื้องหมายนาที่เปรี้ยวนวลๆเช่นกัน ขณะที่รสเค็มอยู่ที่ใบเมี่ยงและหมูแฮมก็น่าจะเพียงพอแล้ว

กัดคำแรก รสเปรี้ยวแหลมนำขึ้นมาก่อน รสมินต์ของสะระแหน่ชุ่มอยู่ในปาก แต่ผักชีฝรั่งใบแก่ไปนิดก็เลยเหนียวเช่นเดียวกับผักสลัดคอสที่น่าจะกรอบกว่านี้ถ้าซื้อมาสดๆใหม่ๆ

อืมม์…กินได้ และอร่อยทีเดียวสำหรับตัวเอง เปรี้ยวนำ หวานตาม เค็มน้อยมาก ดีที่สุดสำหรับคนคุมปริมาณโซเดียมในกระแสเลือด แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ควรมีรสเผ็ดสักหน่อย

ฉันนึกถึงดิจองมัสตาร์ดที่เปรี้ยวอมเค็มนิดๆ นึกถึงพริกขี้หนูซอยละเอียดยัดไส้เมี่ยง และโรยงาคั่วอีกสักหน่อย มันน่าจะเจ๋งกว่านี้มาก

มันเป็นรสชาติที่ออกแบบขึ้นใหม่เดี๋ยวนั้น โดยมิได้ตั้งใจ แต่ก็จะลองดู…คราวหน้าเครื่องปรุงรส เป็นพื้นฐานการเข้าครัวของคนไทยและขาดไม่ได้สำหรับคนไทยในการปรุงรส แม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องปรุงรสหลายรูปแบบผลิตออกมาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แต่เครื่องปรุงรสที่ขาดไม่ได้จริงๆ สำหรับคนไทย คือ น้ำปลา

น้ำปลาตราหมึกหอม และ น้ำปลาตราหงษ์ทอง เป็นน้ำปลาที่ขึ้นแท่นอันดับ 2 ของจังหวัดที่ครองใจผู้บริโภคมากที่สุด รวมถึงซอสพริกและน้ำส้มสายชู ซึ่งผลิตโรงงานแห่งเดียวกัน ก็ครองตลาดอันดับ 2 ของจังหวัดเช่นเดียวกัน

คุณมั่นศักดิ์ หลักพิพัฒน์ ผู้สืบทอดกิจการโรงงานผลิตน้ำปลาจากบรรพบุรุษ และใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองรุกตลาดเครื่องปรุงรสจนครองพื้นที่การตลาดอันดับ 2 ของจังหวัด เล่าให้ฟังว่า เดิมครอบครัวขายสินค้าบริโภคในครัวเรือนตามรถเร่ และมีหน้าร้านเล็กๆ ขายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นในครัวเรือน ซึ่งธุรกิจก็ดำเนินไปด้วยดีอย่างต่อเนื่อง กระทั่งพ่อและแม่อายุมาก จึงเข้ามาสานต่อกิจการเดิมในปี 2550 อย่างเต็มตัว

“ตอนนั้นเรามีสินค้าหลัก คือ น้ำปลา และยังคงขายของเหมือนเดิม คือ นำสินค้าขึ้นรถเร่ไปตามหมู่บ้าน ชุมชน ผมเองก็อยากขยายกิจการหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงเห็นโอกาสของการเข้าหากลุ่มเป้าหมาย เมื่อนำรถเร่เข้าไปยังหมู่บ้านหรือชุมชน จะติดสินค้าอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งสินค้าที่นำเข้าไปขายกับน้ำปลา ก็เป็นเครื่องปรุงรสอย่างอื่น ได้แก่ น้ำส้มสายชู และ ซอสพริก”

แม้ว่าจะเพิ่มสินค้าในกลุ่มเครื่องปรุงรสมากขึ้น แต่กลุ่มลูกค้าก็ยังเป็นกลุ่มเดิม ในลักษณะชองการซื้อใช้ตามบ้านและร้านค้า คุณพิพัฒน์จึงหันมาเน้นการขายส่งมากขึ้น และคิดกลยุทธ์ในการทำการตลาดให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าของตน

ในอดีต โรงงานผลิตน้ำปลาและเครื่องปรุงรสในจังหวัดอุดรธานี มีมากถึง 17 แห่ง แต่ทยอยปิดตัวลง กระทั่งปัจจุบันเหลือเพียง 3 แห่ง เท่านั้น

“แรกๆ ผมเดินหน้าเข้าหาร้านค้าส่ง นำสินค้าใหม่เป็นน้ำปลาอีกยี่ห้อเข้าเสนอลูกค้า แต่ถูกปฏิเสธมาเกือบทุกร้าน เพราะคนส่วนใหญ่ติดแบรนด์ ผมจึงนำกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองมาใช้ โดยรุกตลาดอำเภอรอบนอกของจังหวัดก่อน จากนั้นก็ค่อยตีวงแคบเข้ามา ซึ่งได้ผล เพราะพฤติกรรมผู้บริโภครอบนอกจะตัดสินใจง่ายกว่า ซึ่งเราก็เน้นการขายส่ง ทำให้เพิ่มตลาดผู้บริโภคในจังหวัดได้รวดเร็วมาก และปัจจุบันทำให้ขยายตลาดจากในจังหวัดอุดรธานี ออกไปยังจังหวัดใกล้เคียงอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองบัวลำภู เลย และหนองคาย”

เมื่อน้ำปลาเข้าถึงผู้บริโภคก็ส่งผลให้ยอดสั่งน้ำปลาเพิ่มขึ้น คุณพิพัฒน์ บอกว่า การบริโภคที่เพิ่มยอดจำหน่ายมากขึ้น น่าจะเป็นเพราะน้ำปลาของโรงงานมีสูตรเฉพาะ ซึ่งผลิตจากปลาไส้ตันจากจังหวัดตราด และ จังหวัดชุมพร แล้วส่งเป็นหัวน้ำปลามายังโรงงาน จากนั้นโรงงานจึงปรุงรสให้ได้สูตรของตนเอง ก่อนบรรจุลงขวดออกจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันมีแพจเกจให้เลือกทั้งขวดแก้วและขวดพลาสติก

ปัจจุบันรายได้ต่อปีของโรงงานน้ำปลามหาไชย อยู่ที่ 10 ล้าน แต่คุณพิพัฒน์ ก็ยังไม่หยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังมองว่า ควรขยายตลาดออกนอกพื้นที่ที่ครองตลาดออกไปอีก ซึ่งอนาคตตั้งเป้าจะเพิ่มฐานการผลิตเพื่อรุกตลาดระดับภูมิภาคให้ได้

ปกติ ปลากัด เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยอยู่แล้ว แต่ด้วยสีสันที่แปลกแตกต่างไม่เหมือนกันในแต่ละตัว ทำให้ปลากัดกลายเป็นปลาที่ได้รับความนิยม นำขึ้นมาเลี้ยงตู้ โหล ขวด แล้วแต่ภาชนะที่ผู้เลี้ยงสะดวก และเป็นที่เข้าใจกันว่า ปลากัด เลี้ยงง่าย ตายยาก แต่ผู้เลี้ยงหลายรายประสบปัญหาเดียวกัน คือ ซื้อมาแล้วเลี้ยงไม่นานก็ตาย

คุณมนตรี สายศรี หรือคุณตั้ม หนุ่มวัยทำงาน ผู้ศึกษาการเพาะเลี้ยงปลากัดด้วยตนเอง กระทั่งก่อตั้งฟาร์มเล็กๆ เป็นที่ค้าปลีกและค้าส่งปลากัดที่รู้จักกันดีของจังหวัดอ่างทอง และเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม ซึ่งคุณมนตรีเองบอกว่า รายได้มากเทียบเท่ารายได้หลักทีเดียว

“ผมทำงานประจำอยู่ครับ เพาะเลี้ยงปลากัดขายนี่เป็นอาชีพเสริม แต่รายได้เกือบเท่ารายได้หลักของผมเลยทีเดียว ด้วยความชอบเลี้ยงปลาตั้งแต่เด็ก และเลือกปลากัด เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่เจริญเติบโตจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ฉะนั้นการเลี้ยงปลาให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ก็จะทำให้ปลากัดไม่ตายง่ายเหมือนที่หลายคนประสบปัญหา”

เริ่มต้นเลี้ยงปลากัด เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา คุณมนตรี อาศัยความชอบในการเลี้ยงปลา เลือกเลี้ยงปลากัดเป็นอาชีพเสริม เพราะเห็นว่าปลากัดเป็นปลาที่น่าจะเลี้ยงง่าย อาศัยธรรมชาติในการดูแล แต่ถึงอย่างนั้น คุณมนตรีก็ไม่ได้เลี้ยงแบบขอไปที แต่เริ่มด้วยการศึกษาให้ถ่องแท้ทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ และอื่นๆ เท่าที่จะทำได้

แรกเริ่มมือใหม่ คุณมนตรีก็เสียรู้ไปเหมือนกัน พ่อแม่พันธุ์ปลากัดที่ตระเวนซื้อมาจากตลาดนัดสวนจตุจักร 20 คู่ ตายหมด หลังจากซื้อมาเลี้ยงได้ไม่นาน ด้วยเหตุนี้ คุณมนตรีจึงหันกลับไปศึกษาอย่างจริงจังใหม่อีกครั้ง และพุ่งเป้าที่ไปฟาร์ม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตปลากัดโดยตรง โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีฟาร์มปลากัดชื่อดังหลายแห่ง

หลังจากมีประสบการณ์ คุณมนตรี เดินหน้าเข้าหาฟาร์มปลากัดหลายแห่ง เพื่อเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์และได้ตามต้องการมาเพาะ ในที่สุดก็เริ่มเพาะพันธุ์ปลากัดได้จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เทคนิคการเลี้ยงปลากัดให้รอดและตายน้อยที่สุด
คุณมนตรี บอกว่า ขึ้นอยู่กับน้ำที่ใช้เลี้ยงว่ามีความสะอาดมากพอหรือไม่ แม้ว่า ปลากัดจะเป็นปลาตามธรรมชาติ มีความอดทนสูง โอกาสตายน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถทนทานได้ทุกสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญที่สุดคือที่อยู่อาศัย และ น้ำที่ใช้

“ปลากัดเป็นปลาอิงธรรมชาติ จึงไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดโรคจากแหล่งน้ำ เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติมีพื้นที่กว้าง โอกาสเกิดน้ำเสียยาก ปลาจึงตายยากด้วยเช่นกัน”

ที่อยู่อาศัยสำหรับปลากัด คุณมนตรี เลือกใช้โหลที่มีพื้นที่กว้างมากพอ เพื่อให้ปลาไม่รู้สึกอึดอัด เมื่อปลาร่าเริงก็จะไม่ป่วยง่าย อีกทั้งการทำความสะอาดน้ำ โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ทำให้น้ำสะอาด โอกาสเกิดโรคกับปลาก็น้อย ซึ่งการถ่ายน้ำจะทำในตอนเย็นของทุกวันด้วยการดูดเอาสิ่งสกปรกที่ตกตะกอนในภาชนะเลี้ยงปลาออก แล้วเติมน้ำเข้าแทนที่ 2-3 วันจะเปลี่ยนน้ำทั้งหมดอีกครั้ง เมื่อถ่ายน้ำใหม่ ปลากัดจะร่าเริง โอกาสป่วยน้อยมากหรือไม่มีเลย

สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัด ไม่จำเป็นต้องวัดค่าพีเอชอย่างละเอียด แต่ควรเป็นน้ำที่มีสารคลอรีนตกค้างน้อยที่สุด หากอยู่ในชุมชนก็ควรพักน้ำไว้ก่อนเปลี่ยนถ่ายให้กับปลา และควรใส่ใบหูกวางแห้งหรือใบสีเสียดแห้งไว้ด้วย เพราะรักษาสมดุลน้ำและทำให้น้ำมีสีเข้มขึ้น เนื่องจากปลากัดเป็นปลาขี้กลัว ขี้ระแวง เมื่ออาศัยอยู่ในน้ำใส จะกังวลและขับเมือกตัวเองออกมา และเมือกทำให้น้ำขุ่น เมื่อน้ำขุ่นจะมีผลทำให้น้ำเสียและเกิดโรคที่ปลาในที่สุด

คุณมนตรี บอกว่า ความโดดเด่นของปลากัด อยู่ที่ สีสันสวยงาม ใช้พื้นที่น้อยในการเลี้ยง ไม่มีเสียงรบกวน อยู่ได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ในการเลี้ยงที่ยุ่งยาก

ในการผสมปลากัด อย่างที่บางคนเชื่อว่า ปลากัดแค่มองตาก็ตั้งท้อง แท้ที่จริงแล้ว การเทียบปลาให้มองตากันเป็นวิธีลดความก้าวร้าวระหว่างปลาทั้งคู่ และเมื่อเห็นว่าความก้าวร้าวระหว่างคู่ลดลงแล้ว จึงจับใส่ภาชนะเดียวกัน เพื่อให้ปลาได้ผสมพันธุ์กัน ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าปลากัดแค่มองตาแล้วตั้งท้องจึงเป็นความเชื่อที่ผิด

วิธีสังเกตความพร้อมของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากัด
อายุของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด ต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะผสมได้ ซึ่งการผสมพันธุ์มีหลายแบบ ขึ้นกับเทคนิคการผสมของแต่ละฟาร์มที่ไม่เหมือนกัน

สำหรับ ฟิน เบ็ตต้า จะให้ความสำคัญที่ความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยเลือกพ่อพันธุ์ที่มีหวอดสมบูรณ์ ส่วนแม่พันธุ์เลือกตัวที่มีไข่ สังเกตที่ท้องมีสีเหลืองๆ เต่งออกมา จากนั้นนำภาชนะพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เทียบกัน 1-2 วัน เพื่อลดความก้าวร้าวระหว่างปลาทั้งคู่ลง แล้วจึงนำแม่พันธุ์ใส่ลงไปในภาชนะพ่อพันธุ์ ปล่อยให้อยู่ด้วยกันนาน 4 วัน จากนั้นตักแม่พันธุ์ออก ปล่อยให้พ่อพันธุ์ดูแลไข่

เหตุที่ปล่อยให้พ่อพันธุ์ดูแลไข่ เนื่องจากเมื่อไข่เก็บอยู่ในหวอดแล้ว พ่อพันธุ์จะพ่นหวอดออกมาอีกเรื่อยๆ เพื่อพยุงไข่ไม่ให้ตกลงพื้นภาชนะ ยกเว้นกรณีที่พบว่า พ่อพันธุ์กินไข่ให้ตักพ่อพันธุ์ออก ปล่อยให้แม่พันธุ์อยู่กับไข่และหวอดแทน ทั้งนี้ควรให้อาหารพ่อพันธุ์อย่างเต็มที่ เพราะหากปล่อยให้พ่อพันธุ์หิว พ่อพันธุ์อาจกินไข่ที่มีก็ได้

ระหว่างที่พ่อพันธุ์เฝ้าหวอดและไข่ ควรให้ใบสีเสียดแห้งหรือใบหูกวางแห้ง ใส่ลงไปในภาชนะนั้นด้วย เพื่อให้ลูกปลาที่กำลังเริ่มโตได้มีที่เกาะ พยุงตัวลูกปลาไว้ อีกทั้งใบสีเสียดแห้งหรือใบหูกวางแห้ง จะช่วยให้น้ำมีความเป็นธรรมชาติ

เมื่อระยะเวลาผ่านไป 4-5 วัน ควรเริ่มให้อาหาร เป็นไข่แดงต้ม, ไรทะเล หรือ ไรจืด ในปริมาณน้อยมาก

จากนั้น ลูกปลาเริ่มเจริญเติบโตขึ้น อายุ 2 สัปดาห์ ขนาดลูกปลากัดเกือบเท่าปลาหางนกยูง ซึ่งไซซ์นี้อัตราการรอดของลูกปลากัดจะสูง

หลังจากนั้น ควรให้อาหารเสริมเป็นเต้าหู้ไข่ เพราะในเต้าหู้ไข่ มีไข่ แป้ง และวิตามินอื่นๆ ให้วันละครั้ง ปลากัดก็อยู่ได้ทั้งวัน อย่างไรก็ตาม การให้อาหารเม็ดนั้นก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะเมื่อเปลี่ยน

ในการออกไข่แต่ละครั้งของปลากัด จะมีมากกว่า 1,000 ฟอง เมื่อเจริญเติบโตเป็นลูกปลา จะลดจำนวนลง เพราะเกิดความเสียหายระหว่างฟัก แต่อัตราการรอดของลูกปลากัดที่ทำได้มากที่สุดคือ 300-500 ตัว ต่อ ปลากัดจำนวน 1,000 ตัวที่ฟักออกมา และในจำนวนที่รอด สามารถคัดเป็นปลากัดเกรดสวยได้เพียง 20 เปอร์เซ็น

ในจำนวนปลาที่รอดทั้งหมด ฟิน เบ็ตต้า จะเลือกตัวที่มีลักษณะดีไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ส่วนที่เหลือก็ดูตามลักษณะของปลา จำหน่ายตามลักษณะและสีของปลา ซึ่งขึ้นกับลูกค้าแต่ะละรายที่ชอบไม่เหมือนกัน และเริ่มขายปลาออกเมื่อปลาอายุประมาณ 2 เดือนครึ่ง โดยสีและลักษณะของปลาจะยังคงเปลี่ยนไปอีกเรื่อยๆ และสีจะนิ่งจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 4 เดือน

ส่วนอายุของปลากัด หากดูแลเอาใจใส่ดีๆ จะเจริญเติบโตได้นาน 1-2 ปีทีเดียว

สำหรับโรคที่พบบ่อย คือ หูด ที่มีลักษณะของเนื้อพองที่ตัวปลา ซึ่งไม่มีผลอะไร นอกจากทำให้ปลาไม่สวยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากดูแลให้น้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โอกาสเกิดโรคไม่มี

ปัจจุบัน คุณมนตรี มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กว่า 30 คู่ ในแต่ละเดือนผลิตลูกปลากัดออกสู่ท้องตลาดหลายร้อนตัวต่อเดือน ซึ่งคุณมนตรี บอกว่า ตลาดปลากัดในประเทศยังคงกว้างมาก ความต้องการปลากัดเลี้ยงในประเทศยังไม่เพียงพอ จึงตั้งใจทำตลาดในประเทศให้ดีมากกว่าก่อนจึงจะพัฒนาตลาดไปถึงต่างประเทศ

สนใจปลากัดที่เลี้ยงด้วยวิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด สอบถามเพิ่มเติมหรือติดต่อเข้าชมฟาร์ม ได้ที่ คุณมนตรี สายศรี 77/2 หมู่ 5 ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง หรือเปิดชมปลาสวยๆ ได้ที่ เพจ Finbetta หรือโทรศัพท์นัดแนะได้ที่ 081-0085380

วันที่ 25 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา เป็นการเปิดตัววางขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมันสำปะหลัง โดยเป็นการต่อยอดงานวิจัยของนักวิจัย คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ก่อนหน้านั้น คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร. อนุวัตร แจ้งชัด คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร. รวิพิมพ์ ฉวีสุข รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ และพัฒนาองค์กรคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร. ปรารถนา ปรารถนาดี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มันแปรรูป PRODUCT CHAMPIONS เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปมันสำปะหลังเป็นวาฟเฟิลกรอบ และมันอบกรอบ และสแน็กอีก 3 แบรนด์ คือ CASSA SWEET, Amade และ CASSY CHIPS โดยมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแปรรูปดังกล่าว จะช่วยแก้ปัญหาราคามันตกต่ำ และเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้

น.ส. พัชรี พยัควงษ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า นับเป็นผลสำเร็จของโครงการแปรรูปมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้โครงการประชารัฐของรัฐบาล เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่ผลิตมากเป็น อันดับ 2 ของโลก และส่งออกมากเป็น อันดับ 1 ของโลก แต่ราคาผันผวนตามสถานการณ์ตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง มันสำปะหลังราคา 2.50 บาท ถ้าเราแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้ 3-4 เท่าตัว

ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จึงมีนโยบายช่วยยกระดับราคามันสำปะหลังภายในประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมอบหมายให้คณะอุตสาหกรรมเกษตร และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันสำปะหลังสายพันธุ์ที่เหมาะสม คือ มันสำปะหลังพันธุ์หวาน ที่มีกรดไซยาไนด์ต่ำ ปลอดภัยต่อการนำมาบริโภค นำมาแปรรูปจนได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีต้นแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 4 ผลิตภัณฑ์ มีไอศกรีม มันสำปะหลังอบกรอบ วาฟเฟิล และมันสำปะหลังบอล

และเมื่อพัฒนาต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร จึงคัดเลือกเหลือ 2 โปรดักส์แชมเปี้ยน คือ วาฟเฟิลกรอบ และมันอบกรอบ ที่มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดขนมขบเคี้ยว มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 40,000 ล้านบาท ในปี 2561 และมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง

ด้าน รศ.ดร. อนุวัตร กล่าวว่า โครงการต่อเนื่องปีนี้ เป็นการคัดเลือกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแปรรูปต้นแบบ มาพัฒนาต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต และการบริโภคระดับประเทศ จนสามารถขยายสู่การส่งออก โดยมีกระบวนการด้านวิจัยพัฒนาในห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องมือทันสมัย ร่วมด้วยการผลิตจาก Mini Factory

ผศ.ดร. รวิพิมพ์ กล่าวเสริมว่า คณะอุตสาหกรรมเกษตร มียุทธศาสตร์งานวิจัยที่มุ่งก้าวเพื่อสร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมรวมถึงแก้ปัญหา เพื่อให้การกินดีอยู่ดีเกิดประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ เชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งต้องตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร. ปรารถนา ในฐานะหัวหน้าโครงการแปรรูปมันสำปะหลังฯ กล่าวว่า ได้ดำเนินโครงการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์มาเป็นปีที่ 2 โดย ปี 2559 ได้ส่งเสริมนำมันสำปะหลังพันธุ์หวานมาแปรรูปเองได้ มาในปีนี้อยากจะต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ อย่าง CASSY CHIPS มันสำปะหลังทอดกรอบ กรมการค้าภายในได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาต่อยอด เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง หรือผู้ผลิตสินค้าในวิสาหกิจชุมชน ในด้านการควบคุมและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำไปผลิตและจำหน่ายได้มาตรฐาน สร้างอาชีพได้จริงในระดับชุมชน ที่ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. บ้านฉาง จังหวัดระยอง และขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมผลิตภัณฑ์ทำเป็นเฟรนช์ฟราย

ซึ่งมีเกษตรกรหลายรายสนใจผลิตและแปรรูปเพื่อจำหน่ายทั้งในท้องถิ่น และแช่แข็งบรรจุถุงจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต โมเดิร์นเทรด รวมถึงการส่งออกไปต่างประเทศในอนาคตต่อไป

โดยปกติแล้วมะละกอสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีการระบายน้ำที่ดี เช่น ดินร่วนปนทราย ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวหรือดินทรายจัด เราควรปรับปรุงดินก่อนโดยการใส่อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดี การระบายน้ำของแปลงปลูกมะละกอจะต้องดี เพราะต้นมะละกอเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพน้ำขังแฉะโดยเฉพาะถ้าต้นมะละกอยังเล็ก ถ้ามีน้ำขังมากๆ ต้นมะละกออาจจะชะงักการเจริญเติบโตและอาจถึงตายได้

มะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” เป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร 2/395 ถ.ศรีมาลา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 056-613021, 081-8867398 ได้เมล็ดพันธุ์มาจากประเทศทางแถบอเมริกากลางและนำมาคัดเลือกพันธุ์นานกว่า 10 ปี ได้ผลผลิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

“ทรงผลคล้ายกับมะละกอเรดมาลาดอล์ (หรือบ้านเราเรียกมะละกอฮอลแลนด์ หรือ ปักไม้ลาย) แต่มีขนาดของผลใหญ่กว่ามากขนาดผลใหญ่กว่าเท่าตัว น้ำหนักผลเฉลี่ย 3-5 กิโลกรัม เนื้อหนามาก มีสีแดงส้มและรสชาติหวานเหมือนมะละกอแขกดำศรีสะเกษ จากการปลูกทดสอบในแปลงพบว่าต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” มีความทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดีกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกเปรียบเทียบกันในแปลง ลำต้นมะละกอยักษ์ “เรด แคลิเบียน” มีความแข็งแรงอย่างเห็นได้ชัด ลำต้นจะมีขนาดใหญ่ แข็งแรงสอดคล้องกับการรับน้ำหนักผลบนต้นที่มีจำนวนมากและผลมีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ

เจ้าของเผยถึงตัวเลขการขาย พร้อมกับอธิบายถึงการตลาดว่า

ส่งปลาคังขายสัปดาห์ละ 500-600 กิโลกรัม ส่วนปลาทับทิมและปลานิลประมาณ 100 กิโลกรัม ลักษณะการขายแบบชนิดตรงตัวลูกค้าตามเจ้าของร้านอาหาร ซึ่งบางเจ้าจำเป็นต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการทำปลาให้ลูกค้าด้วย ดังนั้นการบริหารจัดการด้วยตัวเองจึงทำให้มีต้นทุนถูกกว่า เมื่อนำไปส่งจึงปรับราคาที่ถูกใจลูกค้า ขณะเดียวลูกค้าเองก็ได้ราคาที่พอใจเช่นกัน คนซื้อได้ราคาดี ปลาสด

“ส่งเฉพาะตามร้านอาหารเท่านั้น เพราะมีปริมาณปลาพอดีครบทั้งปี ยังไม่ได้ส่งตามตลาดเพราะปลาไม่เพียงพอ แล้วอีกอย่างไม่กล้าเพิ่มจำนวน เกรงว่าถ้าตลาดไม่สั่งหรือสั่งน้อย ปริมาณที่เหลือจะกระทบและสร้างปัญหาตามมาทันที ที่สำคัญคือเรื่องค่าใช้จ่าย

ดังนั้นจึงส่งเฉพาะรายที่แน่นอนดีกว่า บางปีลูกค้าประจำเกิดต้องการเพิ่ม จำเป็นต้องไปหาซื้อจากแหล่งอื่นที่มีการเลี้ยงไว้ได้ขนาด เพื่อส่งให้ลูกค้าได้ทันที”

อาหาร ปัจจัยที่มีผล ต่อการเจริญเติบโตการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาที่ต้องมีการพัฒนา เพื่อให้ปลามีขนาด น้ำหนัก รูปร่างลักษณะที่สมบูรณ์ แข็งแรง ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องใส่ใจในเรื่องการให้อาหารในแต่ละช่วงวัย เพราะคุณค่าทางอาหารชนิดต่างๆในแต่ละวัย จะส่งผลต่อตัวปลาทันที

คุณสมชาย อธิบายถึงการให้อาหารปลาในกระชังที่เขาเลี้ยงในแต่ละวัยว่า สำหรับลูกปลากดขนาดเล็กที่นำมาอนุบาลไว้ที่ขนาด 1-4 นิ้วต้องใช้อาหารเม็ดที่มีโปรตีนสูงช่วยก่อน ปริมาณที่ให้สำหรับปลาเล็กดังกล่าวในจำนวน 3 หมื่นกว่าตัว ใช้อาหารเม็ดวันละเกือบ 10 กิโลกรัม แต่พอขนาดโตขึ้นมาเล็กน้อยพอเริ่มกินอาหารได้จะใช้อาหารแบบเนื้อโดยการหั่นให้ฝอยขนาดเล็ก

การให้อาหารปลาโตทำเพียงวันละครั้งเดียวช่วงเย็น เพราะปลาขนาดใหญ่ชอบกินอาหารในช่วงกลางคืน การให้ปริมาณอาหารสำหรับปลาใหญ่ไม่มีความแน่นอนทั้งนี้เนื่องจากเป็นธรรมชาติของปลา เช่นในช่วงฤดูหนาวปลากินน้อย แต่ช่วงฤดูฝนจะกินมาก

สำหรับปริมาณอาหารที่ใช้แก่ปลาที่มีขนาดใหญ่นำหนักตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไป ที่มีอยู่จำนวนหมื่นกว่าตัวใช้วันละตันหรือกว่าเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศหนาวมากปริมาณจะลดลงมา ดังนั้นข้อเสียในช่วงนี้จะทำให้น้ำหนักปลาลดตามไปด้วย

ส่วนต้นทุนอาหารปลาประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ มีกระชังรวมทั้งหมด 50 กว่ากระชัง ขนาดกระชังกว้าง 5 คูณ 8 เมตร และลึก 3 เมตรหมั่นดูแลกระชังให้สะอาด

ปัญหาโรคปลาดูจะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชัง คุณสมชายเผยว่าจากระยะเวลาที่ผ่านมามักพบปลาเป็นโรค ซึ่งจะเจอตั้งแต่รุ่นที่อนุบาล 2 อย่างคือปลาจะผิดน้ำกับเจอปลิงใสเข้าไปในเหงือก เคยนำไปให้นักวิชาการดูแล้วเห็นว่าน่าจะเกิดจากน้ำที่ใช้เลี้ยงนิ่งเกินไปทำให้มีปลิงใสเจริญเติบโต ใช้วิธีสาดปูนขาว เกลือลงไปในน้ำก็ช่วยได้บ้าง แต่ที่ต้องเอาใจใส่คือการทำความสะอาดกระชังบ่อยๆ เพื่อให้น้ำมีความใสสะอาด

“อีกอย่างคือช่วงที่ปลาจะครบปีมักเจอโรคหลังบวม แดงตามหลัง ครีบ ใต้ท้องหรืออวัยวะเพศจากการตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และมักจะตายช่วงต้นฤดูหนาว และตายอีกครั้งก่อนฝน วิธีแก้คือหากพบเห็นปลามีอาการผิดปกติต้องรีบใส่ยาทันที เพราะถึงแม้จะช่วยได้บ้าง แต่ดีกว่าปล่อยให้ตายทั้งกระชัง ซึ่งเท่าที่สังเกตหลังจากปลามีอายุเลยหนึ่งปีแล้วไม่ค่อยเป็นอะไร เพราะอาจมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น ดังนั้นหลายคนที่เจอปัญหาดังกล่าวรับสภาพไม่ได้ต้องเลิกทำไปเลย สรุปแล้วช่วงก่อนขวบปีของปลาควรหมั่นเอาใจใส่เป็นพิเศษ”

ด้านการจำหน่ายนั้น คุณสมชายถือหลักฉายเดี่ยว เพราะการทำงานคนเดียวจะมีความคล่องตัวมาก ที่สำคัญ “ส่งเอง รับเอง” ดังนั้นภาระหน้าที่งานประจำของเขาจึงเริ่มตั้งแต่เช้ามืด มีลูกน้องช่วยขึ้นปลา คัดขนาดปลา คัดจำนวน ทั้งนี้จะมีการติดต่อยอดจำนวนปลาจากลูกค้าล่วงหน้า 1 วัน เมื่อปลาขึ้นรถเรียบร้อยจะทยอยส่งไปตามจุดต่างๆ ที่เป็นร้านอาหารตั้งแต่ที่ ทองผาภูมิ, ไทรโยค, หนองขาว, ท่ามะกา แล้วยังในตัวเมืองกาญจนบุรี เป็นต้น จำนวน 10 กว่ารายตลอดทั้งวัน จนกระทั่งเสร็จประมาณ 3 โมงเย็น ทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จากเมื่อก่อนเพียงสัปดาห์ละครั้ง

เขาบอกว่า การทำงานในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ลูกค้าได้ปลาใหม่ สด ทุกวัน หากลูกค้าได้ของดี ขายได้มาก ก็จะสั่งเราเพิ่มอีก เราก็ขายได้มาก

และยังบอกต่ออีกว่าปริมาณและความต้องการปลาจากลูกค้าจะมีความพอดีกัน กล่าวคือในแต่ละสัปดาห์ใช้ปลาไม่เกิน 200 ตัว แต่ละตัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตกประมาณ 600 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 700-800 ตัว หรือเป็นปีละประมาณ 9 พันกว่าตัว และที่มีเลี้ยงไว้ในกระชังหมื่นกว่าตัว

“อันนี้เป็นแต่ละรุ่นที่ใช้แต่ละปี ซึ่งรุ่นต่อไปก็จะอนุบาลไว้แล้วเลี้ยงมาเรื่อยๆ โดยใช้เวลาที่เลี้ยงแต่ละรุ่นประมาณ 3 ปี ดังนั้นจึงกำหนดไว้ว่ามีปลาอยู่ 3 รุ่น ได้แก้ รุ่น 3-4 กิโลกรัม,รุ่น 1-2 กิดลกรัมและรุ่นเล็กขนาด 2-3 ขีด เป็นการเลี้ยงแบบสลับรุ่นไปเรื่อยๆ”

คุณสมชาย เผยว่า ถือว่าการเลี้ยงปลากระชังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีมาก มีการพัฒนาเจริญเติบโตมาตลอด เขาเล่าว่าจากตอนที่เริ่มครั้งแรกนับศูนย์ มีกระชังไม้อยู่ 4 ชุดด้วยการจ้างต่อ เลี้ยงปลาช่อนและปลาชะโดก่อน ช่วง 3-4 ปี แรกเหมือนคลำทาง แต่ทั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทางประมงทองผาภูมิเป็นอย่างดีมาตลอด พอสัก 3 ปีมีเงินก้อนจึงหาซื้อรถกระบะเก่าราคาแสนกว่าบาท ซื้อเงินสดเลยจะได้ไม่ต้องผ่อนเสียดายเงินดอกเบี้ย

“พอเริ่มมีเครื่องมือทำกินจึงเริ่มตระเวนหาลูกค้า ต่อจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาคังขาย ช่วงแรกที่มีลูกค้าสัปดาห์แรกขายได้เงิน 4-5 พันบาท ดีใจมาก เพราะช่วงนั้นยังไม่มีรายจ่าย เนื่องจากอาหารปลาได้มาจากการยกยอ ต่อจากนั้นรายได้เริ่มเข้ามาสัปดาห์ละหมื่นกว่าบาท เดือนละ 4-5 หมื่นบาท แต่พอมาช่วงหลังเริ่มมีรายจ่ายเพราะต้องซื้อปลาข่ายเข้ามาเสริม เพราะเราลี้ยงไม่ทัน

หลายปีผ่านไป อาหารปลาหายาก ต้องสั่งซื้อจากแหล่งอื่นเข้ามา ขณะเดียวกันจำนวนลูกค้าก็เพิ่มเป็นเงาตามตัว จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ส่งขายสัปดาห์ละเป็นแสนบาท ตก 500-600 กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 190 บาท แต่ทั้งนี้ต้องหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกด้วย” สร้างงาน ทำเงิน

ทางด้านความเป็นอยู่ของครอบครัวนั้น คุณสมชายมีแพจำนวน 6 หลัง อยู่กัน 4 ครอบครัวตั้งอยู่บนเลขที่ 98/10 หมู่ 6 บ้านไร่ ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

เขาบอกว่า การขออนุญาตตั้งแพอาศัยจะต้องขออนุญาตโดยตรงกับทางกรมเจ้าท่าเสียก่อน และบอกต่ออีกว่าพอช่วงระดับน้ำตามธรรมชาติลดลง จำเป็นต้องขยับแพตามลงไปเพื่อให้ได้ระดับความลึกของกระชัง ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนตำแหน่งที่อยู่เดิมจะมีระดับน้ำลึกถึง 7 เมตร แต่พอช่วงหน้าแล้งในตำแหน่งเดิมระดับน้ำเหลือเพียง 4 เมตร จึงทำให้ต้องขยับแพลงไปให้ลึก และจะอยู่ที่ตำแหน่งใหม่สัก 3 เดือน พอหลังจากฝนมาและระดับน้ำเริ่มสูงขึ้น จึงขยับแพไปยังตำแหน่งเดิม

ปัจจุบัน คุณสมชาย มีลูก 2 คน คนโตอายุ 22 ปี เรียนอยู่ในระดับปริญญาโทที่จุฬาฯ ส่วนคนเล็กเรียน ป. 4 ที่ทองผาภูมิ เขาเผยว่าหากไม่ได้เลี้ยงปลาเป็นอาชีพคงไม่คิดว่าจะมีปัญญาส่งลูกเรียนได้ขนาดนี้ เพราะตอนแรกอาชีพยังลุ่มๆดอนๆ พอจังหวะที่ลูกคนโตต้องใช้เงินเรียนในระดับมัธยมก็เป็นช่วงเวลาที่อาชีพเลี้ยงปลากระชังเข้าที่พอดี จึงเป็นความโชคดีที่สามารถหาเงินส่งให้ลูกเรียนได้สูงจากอาชีพนี้

“แผนในอนาคตเขาคิดว่าจะเลี้ยงปลาประเภทปลาเนื้ออ่อน แต่ยังหาพันธุ์ที่เหมาะสมไม่ได้ เหตุผลที่ต้องการเลี้ยงเพราะปลาชนิดนี้เพราะราคาดีมากมีราคากิโลกรัมละกว่า 300 บาท ดังนั้นในขณะที่เรามีตลาดแล้ว และสินค้าของเรามีคุณภาพแล้ว การแนะนำสินค้าชนิดใหม่ที่มีคุณภาพกว่าคงไม่ยากสำหรับลูกค้า”

คุณสมชาย กล่าวว่า เรื่องคุณภาพปลารับประกันความสดได้แน่ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านมีโอกาสเดินทางมาเที่ยวพักผ่อนที่ทองผาภูมิและต้องการนำปลาไปบริโภค ก็เชิญชวนให้แวะมาหาได้ที่แพหรือท่านใดสนใจกำลังหาแหล่งซื้อปลากระชัง ก็สามารถติดต่อได้ที่โทรศัพท์ 089-0334174

คุณปรีชา นาจรูญ เกษตรอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ในส่วนของโครงการปลูกผักปลอดภัยปลอดสารพิษ ก็ได้มีการดำเนินการมาหลายปีแล้ว แต่ที่หลักๆ มีการจัดเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีกลุ่มวิสาหกิจรวมทั้งหมดภายในอำเภอ 360 กว่ากลุ่มที่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ส่วนเรื่องผักปลอดภัยไร้สารพิษนั้นมีอยู่ทุกตำบลที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอได้ส่งเสริมอยู่ในเวลานี้ ส่วนหนึ่งก็ได้พลังงานทางเลือกอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งน้ำทั่วไปนั้น ก็ยังคงต้องพึ่งแหล่งน้ำจากธรรมชาติ

“สำหรับไร่เพื่อนคุณได้คิดริเริ่มเรื่องการปลูกพืชที่ปลอดภัยจากสารพิษ โดยมี คุณสุระเทพ สุระสัจจะ เป็นผู้ดูแลกิจการและยังเป็น Young smart farmer ของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นตัวแทนระดับประเทศที่ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถนำนวัตกรรมจากต่างประเทศมาบริหารภายในโรงเรือง ถือเป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงที่กล้านำเทคโนโลยีด้านการเกษตร นวัตกรรม ที่เกี่ยวกับการให้น้ำ และการพิสูจน์โรคแมลงต่างๆ

เพราะฉะนั้นในส่วนตรงนี้ก็เชื่อได้ว่า การทำงานของ Young smart farmer ซึ่งมีเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 10 ราย แต่ก่อนที่จะผ่านเข้ามาสู่ตรงนี้ เขาทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จนได้รับมาตรฐานต่างๆ จากนั้นการรับสมาชิกเข้ากลุ่ม ผู้เป็นสมาชิกต้องทำให้ได้ตามข้อกำหนด ถึงจะเข้าเป็นสมาชิกได้ ทำให้การันตีได้ว่าพืชผักและผลผลิตมีความปลอดภัย ทั้งนี้ เรื่องของการตลาดก็ไม่เป็นปัญหา เพราะว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และศูนย์กลางแห่งการตลาด” คุณปรีชา กล่าว

คุณสุระเทพ สุระสัจจะ เจ้าของสวนเม่ล่อนไร้สารพิษ ไร่เพื่อนคุณ ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำอาชีพนี้ ซึ่งเริ่มต้นมาจากคุณพ่อที่เห็นถึงความทุกข์ยากของเกษตรกรในเรื่องของการใช้ยาฆ่าแมลง การให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ การโดนกดราคาจากกลไกการตลาด และเมื่อคุณพ่อเกษียณ ก็เลยเกิดความคิดที่อยากจะสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้กับเกษตรกร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพและให้ความรู้ในการเพาะปลูกที่ถูกต้อง ซึ่งจะถ่ายทอดความรู้ผ่านทางศูนย์การเรียนรู้ โดยเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่จะเน้นในด้านความปลอดภัยของเกษตรกรสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค

“สำหรับการเริ่มต้นการปลูกเมล่อน ก็เริ่มจากความชอบของคุณพ่อที่ชอบทานเมล่อน และแตงโม แต่ไม่มีความมั่นใจที่จะไปทานที่อื่น เมื่อถึงเวลาเกษียณจึงออกมาปลูกเมล่อนและแตงโม ทั้งนี้ก็มีครูมาสอนเพิ่มเติมในเรื่องการปลูก ก็ได้มีการลองผิดลองถูก ล้มบ้าง เสียหายบ้าง จนสามารถพัฒนามาได้จนถึงทุกวันนี้ ได้ศึกษาวิธีการต่างๆ จาก 3 อาจารย์ ซึ่งอาจารย์ท่านแรกนั้นก็คือผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ที่ผ่านการปลูกเมล่อนมาก่อน ต่อด้วยอาจารย์ที่ชื่อว่า Google และสุดท้ายก็เป็นตัวของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่โดยส่วนใหญ่แล้วมีการทำไร่ทำนามาก่อน บางครั้งเกษตรกรจะเอาปูนเคี้ยวหมากมายับยั้งแบคทีเรียตอนที่ตัดกิ่งเมล่อนในช่วงหน้าฝน แต่ก็มีการบอกเกษตรกรว่าถ้าเกษตรกรผสมไตรโคเดอร์ม่าไปด้วย จะได้มีการยับยั้งแบคทีเรีย เห็นได้เลยว่าที่ผ่านมาเรามีการทำงานร่วมกันกับเกษตรกรถือว่าเป็นเรื่องที่ดี” คุณสุระเทพ กล่าว

ในส่วนของการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ มีการนำระบบโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำจากบ่อพักน้ำของทางสวน ใช้เนื้อที่สำหรับพักน้ำประมาณ 2 ไร่ ลึก 8 เมตร ซึ่งจะใช้โซล่าเซลล์ในการสูบน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร ทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ ยังสามารถสกัดสารพิษที่ปนเปื้อนจากแหล่งน้ำอื่นอีกด้วย ในส่วนของเทคโนโลยีตัวที่สองนั้นก็คือ ตู้ควบคุมน้ำอัตโนมัติที่เข้ามาดูแลการให้น้ำ ซึ่งจะมีระบบน้ำหมอกที่จะนำมาใช้ในช่วงที่อากาศร้อนและระบบตั้งเวลาที่จะให้น้ำกับพืชแบบอัตโนมัติ

ในการเพาะปลูกภายในโรงเรือนจะไม่มีการปลูกพืชซ้ำ แต่จะสลับหมุนเวียนปลูกเมล่อนควบคู่ไปกับการปลูกผัก ตัวอย่างเช่น รอบนี้ปลูกเมล่อน รอบต่อไปจะปลูกถั่วฝักยาวสลับกันไปเพื่อหลอกโรคหลอกแมลง ถือเป็นเรื่องที่ดีมีผลผลิตที่หลากหลาย ที่มีถึง 10 กว่าชนิดในเรื่องการทำตลาด ต่อมาทางสวนได้มีการร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป ทั้งนี้ ก็มีหน่วยงานจากทางภาครัฐอย่างเกษตรอำเภอ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งห้องแล็บไว้ตรวจสอบพืชผักปลอดสารพิษ

“ต้องบอกก่อนว่าเมล็ดเมล่อนมีมูลค่าที่แพงมาก จึงไม่สามารถที่จะหยอดลงปลูกได้เลย ซึ่งต้องใช้วิธีการเพาะลงถาดในโรงเพาะ โดยการหยอด 1 เมล็ดต่อ 1 หลุม ข้อดีในการทำวิธีนี้คือจะสามารถคัดเลือกต้นที่สมบูรณ์ได้ ใช้เวลาไม่เกิน 10 วัน จากนั้นก็เอาลงดินในช่วงเวลาเย็นเพราะว่าช่วงเช้ารากจะไม่เดิน เนื่องจากต้องเจอกับแดดเที่ยงทำให้ต้นตายได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นช่วงเย็นรากก็จะฟื้นตัว” คุณสุระเทพ กล่าว

ในช่วงแรกที่เตรียมแปลงจะใส่ปุ๋ยคอกลงไปผสมด้วย จากนั้นเมื่อปลูกกล้ายืนต้นได้สักระยะ จะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ต่อด้วยรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้า 5 นาที ประมาณ 08.00 น. และช่วงเที่ยง 5 นาที และเมื่ออายุต้นเมล่อนถึง 10 วันขึ้นไป จะทำวิธีการพันยอดเพราะเมล่อนเป็นพืชที่โตไว หลังจากที่พันยอดเสร็จก็ถึงเวลาตัดแต่งแขนง ตัดแต่งใบ พร้อมกับนับเวลาผสมเกสรประมาณ 30 วัน ก็จะเริ่มใช้น้ำหมักกล้วยมาฉีดเพื่อเร่งฮอร์โมน ก่อนที่จะมีการติดดอก

ซึ่งต่อมาก็จะเป็นขั้นตอนในการผสมเกสรก็จะนับวันผสมเกสรออกเป็น 5 รอบ เมื่อทำตรงนี้เรียบร้อยแล้ว ควรให้ปุ๋ยสูตร 15-15-21 จากนั้นก็ทิ้งระยะเวลาไว้สักพักก่อนที่จะกลับมาเน้นที่ทำความหวานใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูง

“ต้องยอมรับว่าเมล่อนยังไม่สามารถที่จะปลูกแบบอินทรีย์ แต่จะปลูกแบบไร้สารพิษได้ พยายามจะหาปุ๋ยหลายๆ แบบมาใช้แต่ต้องให้เหมาะสม ต่อมาระยะผสมเกสรจนถึงเก็บเกี่ยวได้ติดผลนั้นประมาณ 60-75 วัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือฤดูกาล เพราะว่าเมล่อนช่วงหน้าร้อนจะสุกไวช่วงหน้าหนาวจะสุกช้าและผลเล็ก เมล่อนต่อต้นสามารถไว้ได้แค่ 1 ผล และ 1 โรงเรือน ปลูกอยู่ที่ 320 ต้น สำหรับขนาดโรงเรือน 6×20 เมตร ส่วนโรงเรือนขนาด 8×20 เมตร จะมีประมาณ 500 กว่าต้น นอกจากนี้ทางไร่จะมีกระบวนการสุ่มเช็ค โดยการตัดออกมาลองก่อนเพื่อความชัวร์ในเรื่องของความหวานก่อนที่จะนำไปจัดจำหน่าย” คุณสุระเทพ กล่าว

ในเรื่องของตลาดสำหรับจำหน่ายเมล่อน คุณสุระเทพ บอกว่า จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตลาดที่วางจำหน่ายซึ่งราคาของแต่ละตลาดก็จะมีความแตกต่างกันไป ตลาดแรกจะเป็นตลาดที่จะจัดจำหน่ายอยู่หน้าร้าน สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ผ่านไปผ่านมาสามารถแวะซื้อได้ และไม่เพียงเท่านี้ยังมีตลาดโมเดิร์นเทรดที่จำหน่ายอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ต่อมาตลาดที่สามจะอยู่ในส่วนของโรงพยาบาล เนื่องจากว่ามีการเน้นปลูกแบบไม่ใช้ยาฆ่าแมลงร้อยเปอร์เซ็นต์ การที่เอาผลผลิตไปจำหน่ายในโรงพยาบาลเพื่อให้คนป่วยได้รับประทานอันนี้คือตอบโจทย์ในเรื่องของอาหารปลอดภัย และตลาดสุดท้ายก็เป็นตลาดที่ขายผ่านออนไลน์

“อย่างในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลูกค้าก็จะสั่งจองเข้ามา และทางสวนก็จะส่งผ่านทางขนส่งไปให้ได้ทานถึงที่ ซึ่งเมล่อนก็มีทั้งเกรด A B C ราคาก็จะแตกต่างกันไปอย่างหน้าร้านก็จะตกอยู่ที่ 110-120 ต่อกิโลกรัม และถ้าราคาตามห้างราคาจะอยู่ที่ 139-189 ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ความต้องการของผู้บริโภคก็ถือว่ายังให้ความสนใจที่จะรับประทานพืชผลไม้เมล่อน เนื่องจากเป็นผลไม้ปลอดสารพิษจึงสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทุกเพศและทุกวัย” คุณสุระเทพ กล่าว

ไม่น่าเป็นเรื่องแปลก หากโรงเรียนหลายแห่งเปิดหลักสูตรเกษตรกรรม เพื่อสอนนักเรียน โดยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งในทางเลือกของอาชีพ ไว้รองรับนักเรียนที่มีโอกาสศึกษาต่อไม่มากนัก

ที่โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง หมู่ 9 บ้านโคกสวาสดิ์ ตำบลนาผือ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ มีหลักสูตรที่ได้รับการรับรองและเขียนขึ้นโดยความเห็นจากครูหลายท่านของโรงเรียน เป็นหลักสูตรการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งมั่นใจได้ว่ามีเพียงไม่กี่โรงเรียนในประเทศที่มีหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งสอน

เท่าที่ทราบ โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง มีหลักสูตรนี้ขึ้น ก็เพราะดร.สมพงษ์ สุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งที่ผ่านมาดร.สมพงษ์ เคยริเริ่มหลักสูตรนี้ เมื่อครั้งยังสอนอยู่สถานศึกษาแห่งอื่น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2528 เพื่อหวังให้เป็นต้นแบบและสานต่อเจตนารมย์ให้เด็กนักเรียนมีทางเลือกในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น

เมื่อดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ในปีพ.ศ.2548 จึงนำแนวคิดนี้มาดำเนินการอีกครั้ง โดยดร.สมพงษ์ บอกว่า แม้จะเคยเริ่มดำเนินการในโรงเรียนแห่งอื่นมาก่อน แต่เมื่อย้ายไปยังโรงเรียนอื่น ก็จะถ่ายทอดให้กับครูที่โรงเรียนเดิมสานต่อ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน

แท้ที่จริง โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง มีกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจหลายชนิดนอกเหนือจากการเลี้ยงผึ้ง เช่น การเพาะเห็ดนางฟ้า การปลูกผักสวนครัวปลอดสาร การปลูกไม้ผล โดยตั้งเป้าเพิ่มกิจกรรมทางการเกษตรอีก 3 ชนิด คือ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงจิ้งหรีดหรือกุ้ง

สำหรับการเลี้ยงผึ้ง เมื่อผู้อำนวยการโรงเรียน นำเข้ามาริเริ่มในปี พ.ศ.2548 โดยศึกษาข้อมูลนานเกือบ 1 ปี จึงเริ่มลงมือเลี้ยงผึ้งจริงจังในปีพ.ศ. 2549 โดยดร.สมพงษ์ บอกว่า พื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องศึกษาสภาพพื้นที่ให้ดีก่อน โดยเฉพาะแหล่งอาหารของผึ้ง เพราะหากไม่มีแหล่งอาหาร การดูแลผึ้งค่อนข้างยุ่งยาก อาจต้องเคลื่อนย้ายผึ้งไปที่ที่ใกล้แหล่งอาหาร หรือ ต้องทำอาหารให้กับผึ้งเอง

“สภาพพื้นที่เท่าที่ศึกษา พบว่า พื้นที่ในจังหวัดอำนาจเจริญ เหมาะกับการเลี้ยงผึ้ง เพราะมีแหล่งพืชอาหารที่สำคัญของผึ้ง เช่น ดอกกระถินทุ่ง ดอกหญ้า ดอกข้าว และดอกไม้นานาชนิด ซึ่งให้เกสรที่เป็นอาหารสำคัญของตัวอ่อนผึ้ง มีดอกสาบเสือ ดอกนุ่น ดอกมะม่วง ดอกลำไย และดอกไม้ป่าอีกหลายชนิดที่สามารถให้น้ำหวาน หรือ น้ำผึ้ง ได้”

ใน โครงการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ได้จัดทำเป็นหลักสูตรสาระเพิ่มเติม ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง มีการสอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ โดยประยุกต์ใช้คุณธรรมจากการปฎิบัติงานของนักเรียน และสังคมชีวิตภายในรังผึ้ง ให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน และเน้นให้สัมพันธ์กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นตอนและเทคนิคในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์

1.ซื้อพันธุ์ผึ้งและกล่องเลี้ยง ราคาประมาณ 2,500 บาท ต่อ 1 กล่อง (รัง)

2.ดำเนินการเลี้ยงผึ้ง เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งงานให้มีจำนวนมากๆ เพื่อพร้อมเก็บน้ำหวาน 3.ย้ายผึ้ง เพื่อเก็บน้ำหวานตามหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ของปีถัดไป โดยเก็บน้ำหวานจากดอกสาบเสือ ดอกนุ่น และดอกมะม่วง (ระยะนี้จะทำการสลัดน้ำผึ้ง โดยใช้ถังสลัดน้ำผึ้ง 3-4 ครั้ง)

4.ย้ายผึ้ง เพื่อเก็บน้ำหวานดอกลำไยที่จังหวัดลำพูน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์เป็นตัวแทนเดินทางไปพัก เพื่อสลัดน้ำผึ้งที่จังหวัดลำพูน ประมาณ 40-45 วัน

5.ย้ายผึ้งและนำผึ้งกลับจังหวัดอำนาจเจริญ และนำผึ้งเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ป่านานพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน ภายในจังหวัดอำนาจเจริญ

6.เตรียมเลี้ยงผึ้ง เพื่อเพิ่มประชากรและขยายพันธุ์ เพื่อเลี้ยงในรอบปีต่อไป

ขั้นตอนการสลัดน้ำผึ้ง การกรอง การบ่ม และการบรรจุน้ำผึ้ง

1.การเตรียมสลัดน้ำผึ้ง-ตรวจสภาพคอนน้ำผึ้งภายในรังที่ปิดฝาหลอดรวงมาตรฐาน (มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์)

-เตรียมอุปกรณ์สลัดน้ำผึ้ง เช่น ถังสลัดน้ำผึ้ง แปรงปัดผึ้ง มีดปาดรวงผึ้ง ถังบรรจุน้ำผึ้ง เป็นต้น

2.ขั้นตอนการสลัดน้ำผึ้ง การกรอง การบ่ม และการบรรจุน้ำผึ้ง

-นำคอนน้ำผึ้งมาตรฐานออกจากรัง

-ใช้มีดปาดไขเปิดรวงน้ำผึ้งออก

-นำคอนน้ำผึ้งเข้าถังสลัด และหมุนเหวี่ยงเพื่อสลัดน้ำผึ้ง

-กรองน้ำผึ้ง โดยใช้ถังกรองที่สะอาด

-บ่มน้ำผึ้ง เพื่อไล่ความชื้นโดยใช้หลอดไฟ ประมาณ 7 วัน

-บรรจุน้ำผึ้ง ติดสลาก คิดคำนวนต้นทุน และจำหน่าย ในการจำหน่าย ดร.สมพงษ์ บอกว่า เพราะความจริงจังในการเลี้ยงผึ้ง เพื่อเก็บน้ำผึ้งขาย ทำให้น้ำผึ้งบริสุทธิ์ที่ได้จากการเลี้ยงผึ้ง ได้รับเลือกเป็น “หนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์” และของฝากที่มีคุณค่าจากจังหวัดอำนาจเจริญ จัดหน่ายที่โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดอำนาจเจริญ ราคาจำหน่ายน้ำผึ้ง ประมาณ 250-300 บาท ต่อ 1 ขวด หรือ 1 กิโลกรัม

“โครงการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นักเรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถคิดวิเคราะห์ มีความสุขในการร่วมกิจกรรม มีรายได้ระหว่างเรียน นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีการขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนต่างๆ กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์ และกลุ่มเกษตรกรกว้างขวาง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของชุมชน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนต่างๆ”

เด็กชายชิติพัทธ์ ปัสสา หรือน้องเสก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่าว่า เริ่มเลี้ยงผึ้งตอนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เริ่มแรกกลัวผึ้งต่อย แต่ตอนนี้ไม่กังวลแล้ว เพราะรู้จักวิธีป้องกันไม่ให้ผึ้งมาต่อย โดยการให้น้ำหวานกับผึ้ง จากนั้นนำที่พ่นควันมาพ่นใส่ผึ้ง เพื่อให้ผึ้งดุน้อยลง และกรณีที่อาหารของผึ้งไม่เพียงพอ ก็สามารถทำขึ้นเองได้ โดยการนำน้ำผสมน้ำตาลให้กลายเป็นน้ำหวาน เทลงไปในถาด ควรมีกิ่งไม้วางพาดไว้ เพื่อให้ผึ้งเกาะกิ่งไว้กินน้ำหวาน ไม่อย่างนั้นผึ้งอาจจะจมลงไปที่น้ำหวานก็ได้

เด็กหญิงอรสา สุขปลั่ง หรือน้องแพน นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 บอกว่า จากการเลี้ยงผึ้ง ทำให้เราได้รู้หลายอย่าง เช่น รู้จักนางพญาผึ้ง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเพียง 1 ตัวต่อรัง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝูง ในแต่ละวันจะต้องดูแลผึ้ง โดยการเช็คว่าไข่ผึ้งอยู่ดีหรือไม่ โดยสังเกตจากไข่ที่อยู่ในคอนสีขาวๆ ซึ่งระยะจากไข่ก็จะเติบโตเป็นตัวหนอน จากนั้นจึงเติบโตเป็นผึ้ง นอกจากนี้ยังต้องสังเกตอาหารของผึ้ง เช่น ดอกไม้ ว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ ต้องผสมน้ำหวานให้ โดยเฉพาะฤดูฝนที่ออกไปหาอาหารเองได้น้อยครั้งมาก จึงต้องหมั่นสังเกตให้มาก โดยทั้งหมดที่ทำได้และเป็นความรู้ ก็ได้มาจากตำราที่ครูเขียนขึ้นเป็นตำราเรียน

ด้านเด็กชายนฤเทพ เรืองวงศ์ หรือน้อยเต้ย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กล่าวว่า ครอบครัวทำการเกษตร ได้แก่ ทำนา ปลูกผัก ในเวลาว่างจะออกไปช่วยพ่อแม่ดำกล้าในนา และเกี่ยวข้าวด้วยตัวเอง แม้ว่าจะร้อนหรือเหนื่อย แต่ก็พร้อมช่วยเหลือพ่อแม่ให้งานเสร็จสมบูรณ์ และคิดว่า หากไม่ได้มีความรู้ทางด้านการเกษตรติดตัวไว้เลย อนาคตอาจลำบากได้

สำหรับ การเลี้ยงผึ้งของโรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ผึ้งโคกสวาสดิ์ และ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงผึ้งอำนาจเจริญ เพื่อพัฒนาเทคนิคการเลี้ยง การขยายพันธุ์ผึ้ง และการเก็บน้ำผึ้ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับประเทศ มีเครือข่ายการจำหน่ายน้ำผึ้งบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผึ้งส่งจำหน่ายออกไปยังต่างประเทศ

ในปีพ.ศ.2560 ได้น้ำผึ้งรวมประมาณ 150 ถัง ถังละ 300 ขวด (กิโลกรัม) มีการจำหน่ายพันธุ์ผึ้งให้เกษตรกรและโรงเรียนต่างๆ ปีละ 150-200 กล่อง (ราคา 2,500-3,000 บาทต่อกล่อง) และน้ำผึ้งบริสุทธิ์ของโรงเรียนและเครือข่าย ได้รับการคัดเลือกเป็น “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นของฝากที่มีคุณค่าจากจังหวัดอำนาจเจริญ

หากสนใจเข้าเยี่ยมชมหรือศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง ยินดีต้อนรับ ติดต่อได้ที่ ดร.สมพงษ์ สุรารักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง โทรศัพท์ 081-760-4604 หรือประสานงานไปที่ โรงเรียนบ้านโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง หมู่ 9 บ้านโคกสวาสดิ์ ตำบลนาผือ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้ในวันเวลาราชการ

หม้อดินเผาก้นกลมหม้อเราชาวบ้านใช้กันมาแต่บรรพกาล

นักโบราณคดีขุดค้นโบราณสถานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เมืองโบราณอู่ทอง บ้านเก่าเมืองกาญจน์ หรือบ้านเชียง แต่ละแห่งมักพบหม้อโบราณ เพราะว่าหม้อเป็นเครื่องมือของใช้สำคัญในการดำรงชีพประจำวัน หม้อโบราณส่วนใหญ่เป็นหม้อดินเผา

รูปแบบมีหลากหลาย เป็นต้นว่า หม้อก้นกลม ปากกว้าง ก้นลึก และหม้อก้นกลม ปากแคบก้นลึก และยังมีหม้อก้นตื้นมีสันปากกว้างก็มีให้เห็น

หม้อดินเผาก้นกลม เป็นหม้อโบราณชนิดหนึ่ง มีการขุดค้นพบในวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมทวารวดีเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 ศูนย์กลางวัฒนธรรมนักโบราณคดีชี้ว่าอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

และยังมีการค้นพบโบราณวัตถุ ตามโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดใกล้เคียงอีก คือที่คูบัว จังหวัดราชบุรี และที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี น่าแปลกใจว่าเมืองโบราณอู่ทอง นอกจากพบโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือของใช้สมัยทวารวดีมากมายแล้ว ยังพบรูปเคารพ และหลักฐานทางพุทธศาสนาหนาแน่นอีกด้วย

หม้อโบราณวัสดุดินเผาก้นกลม นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า น่าจะใช้สำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์พืชหรือใส่น้ำมากกว่าจะใช้หุงต้มเหมือนหม้อทั่วไป

เรื่องนี้ เป็นเรื่องสันนิษฐาน คนสมัยก่อนเก่าอาจจะใช้หุงต้มเป็นหลักก็ได้ เพราะสมัยก่อนการหุงอาหารต้องใช้ฟืนเป็นหลัก การใช้หม้อดินก้นกลม ลึก เหมาะสำหรับการตั้ง การวางบนก้อนเส้า

คำว่า ก่อนเส้า คนสมัยใหม่อาจไม่เข้าใจ

ก้อนเส้า หมายถึง ก้อนหิน 3 ก้อน ขนาดความสูงและใหญ่พอๆ กัน ตั้งวาง 3 มุม ระยะห่างกันประมาณ 1 คืบเศษๆ ใช้สำหรับเป็นเตาไฟในครัวเรือน หรือไม่ก็ในดงในป่าก็ได้ เมื่อถึงคราวต้องใช้ก็นำเอาฟืนไม้แห้งๆ มาก่อไฟ แล้วเอาหม้อ กระทะ หรือภาชนะหุงต้ม ปิ้ง ย่าง อื่นๆ ไปวางเพื่อทำอาหารตามต้องการ

การใช้ประโยชน์ของหม้อก้นกลม ถ้ามองในแง่ของความเป็นอยู่ของชาวบ้านเก่าก่อนแล้ว อาจใช้ทั้งสองกรณีก็ได้ คือใช้ทั้งหุงต้ม เก็บเมล็ดพืชพันธุ์ และใส่น้ำไว้ดื่ม

หม้อที่ใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ อาจจะเป็นหม้อที่รั่ว ซึม ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว จะทิ้งก็เสียดายเพราะรูปทรงยังดีอยู่ จึงนำมาใส่เมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ ไว้ เมื่อถึงหน้าฝนโปรยปรายเม็ด ก็นำเอาเมล็ดพันธุ์ออกมาหยอด หรือหว่านตามพื้นดินใกล้ที่อยู่อาศัย ย่อมมีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน

หม้อดินโบราณ ที่นักโบราณคดีพบ มีทั้งเป็นรูปหม้อกลม เกลี้ยง ปราศจากลวดลายๆ ใด และมีลวดลายประดับประดาสวยงาม

ลวดลายนอกจากบ่งบอกอายุแล้ว ยังอาจบ่งบอกถึงสถานภาพของผู้เป็นเจ้าของหม้อได้ด้วยเหมือนกัน ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ น่าจะใช้หม้อที่กลมเกลี้ยง เพราะคงไม่สนใจเรื่องความสวยงามอะไรมาก อีกทั้งถ้าซื้อก็คงไม่ต้องการลวดลายอะไรมากมาย

ส่วนคนมีฐานะทางสังคม พอมีกำลังทรัพย์หรืออำนาจอยู่บ้าง การประกาศตัวตนด้วยเครื่องมือของใช้ถือเป็นเรื่องสำคัญแต่ไหนแต่ไรมา จึงต้องมีลวดลายแต้มแต่งให้ดูดีเป็นเรื่องธรรมดา

การมีลวดลายประดับหม้อ แสดงความเป็นคนมีฐานทางสังคมดี แต่ถ้าการออกลาย ชนิดออกลายมาเลย ออกลายให้เห็นอย่างที่นักร้องเขย่าลูกคอร้องนั้นคนละเรื่องกันเพราะคนออกลาย ความหมายออกไปในทางลบมากกว่าจะเป็นทางบวก ไม่เชื่อก็ลองออกลายดูก็แล้วกัน

ในตู้ปลานอกจากปลาที่เลี้ยงเป็นพระเอกนางเอกแหวกว่ายสยายครีบกันงามสง่าแล้ว หลายคนยังนิยมเอาสัตว์น้ำอื่นๆ มาเลี้ยงปะปนไปด้วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตู้ใบโปรด อย่างเช่นกุ้งแคระ กุ้งเครฟิช ปูตัวจิ๋ว และหอยเปลือกสวยชนิดต่างๆ สัตว์น้ำพวกนี้นอกจากเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้วยังช่วยทำหน้าที่ด้านความสะอาด อาทิ กินเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกกรวดพื้นตู้ กินตะไคร่น้ำบนใบไม้หรือก้อนหิน บางทีก็มีหน้าที่เป็นสัปเหร่อคอยจัดการกับซากปลาตายที่อาจไปแอบตายซุกซ่อนตามซอกหลืบที่เรามองไม่เห็น เป็นการช่วยไม่ให้น้ำเน่าเสียเร็วเกินไป

สมัยผมยังเด็กเมื่อสักสามสิบปีก่อนเคยซื้อหอยชนิดหนึ่งมาเลี้ยง ชื่อว่าหอยเชอรี่ เปลือกของมันมีสีหวานจับใจดูคล้ายผลไม้สดฉ่ำ ปล่อยให้มันคืบคลานไปตามพื้นตู้เพื่อกินเศษอาหารตกหล่นที่ปลากินไม่หมด ดูเพลินเสียยิ่งกว่าปลาเสียอีกในตอนนั้น ผ่านมาอีกไม่เท่าไหร่หอยเชอรี่กลายเป็นหอยปิศาจรุกรานไปทั่วแหล่งน้ำเมืองไทย ไปไหนก็เจอหอยเชอรี่ไข่เกาะเป็นพวงสีชมพูสด ชาวบ้านรำคาญหนักเข้าเลยจับมาทำเป็นเมนูอาหารสำราญกันไปถ้วนหน้าเพราะมีเหลือเฟือ

หอยในธรรมชาติเป็นสัตว์กินซาก คล้ายกับหนอนในระบบนิเวศบนบก ทำให้เกิดสภาวะสมดุล ไม่ทำให้น้ำเน่าเสียเนื่องมาจากการตายของสัตว์และพืช หอยยังช่วยควบคุมปริมาณตะไคร่น้ำไม่ให้เติบโตเร็วเกินไป และในห่วงโซ่อาหาร หอยก็เป็นแหล่งพลังงานชั้นดีให้กับสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่กว่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือมนุษย์

หอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวของมันอ่อนนิ่ม สามารถปกป้องตัวเองได้ด้วยเปลือกแข็งๆ ตัวเปลือกนี้เองที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนทำให้หอยหลายชนิดที่มีเปลือกสวยกลายมาเป็นอุปกรณ์ตกแต่งตู้ปลา ทั้งแบบตายแล้วคือเปลือกเปล่าๆ และแบบยังมีชีวิตที่คลานไปมาเก็บทำความสะอาดเป็นแม่บ้านประจำตู้ ดูสวยงามแถมยังทำประโยชน์ได้อีกโสดหนึ่ง เดี๋ยวนี้ไปตามร้านขายปลามักเห็นมีหอยขายด้วย ที่ยอดนิยมก็ได้แก่ หอยเขา (Horn Snail) หอยแอปเปิ้ล หอยกินหอย (เอาไว้กำจัดหอยที่ไม่พึงประสงค์) หอยเขาแกะ ฯลฯ และอีกหนึ่งชนิดที่อยากจะขอกล่าวต่อไปนี้ เนื่องจากมีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจมาก นั่นคือหอยกระต่าย หรือแรบบิทสเนล

หน้าตาของแรบบิทสเนลดูคล้ายกระต่ายสมชื่อ มันมีอวัยวะที่คล้ายเขาเป็นก้านอ่อน ๆ ยื่นยาวออกมาเหนือตา ดูคล้ายหูของกระต่าย ตาของมันเล็กๆ กลมๆ ส่วนปากเป็นอวัยวะยืดหดได้ดูหนาๆ ย่นๆ ที่สำคัญจุดเด่นของเจ้าหอยชนิดนี้แทนที่จะอยู่ตรงสีสันลวดลายของเปลือกอย่างหอยทั่วๆ ไป กลับไปโดดเด่นอยู่ที่สีของเนื้อที่มีทั้งชนิดสีเหลืองสด ชนิดสีส้ม ชนิดสีดำลายจุดเหลือง ชนิดสีดำลายจุดขาว ฯลฯ รูปร่างของเปลือกก็ดูแปลก คล้ายไอติมโคน มีทั้งสีดำ สีน้ำตาลเข้ม สีเทา พื้นผิวมีลวดลายคล้ายลายประดับนูนต่ำของสถาปัตยกรรมบาหลี บางสายพันธุ์ดูคล้ายมีฟองน้ำหุ้มซึ่งเกิดจากหินปูนเคลือบเกาะเอาไว้

แรบบิทสเนลหรือหอยกระต่าย มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลสาบต่างๆ บนเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย เกาะนี้มีความสำคัญต่อนักธรรมชาติวิทยา นักธรณีวิทยา นักชีววิทยา และอีกหลายๆ วิทยารวมทั้งนักมีนวิทยาด้วย เนื่องจากเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งธรรมชาติ มีสิ่งมีชีวิตที่รูปแบบแตกต่างไปจากดินแดนอื่น จัดได้ว่าเกาะสุลาเวสีเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปออสเตรเลีย สัตว์น้ำขึ้นชื่อที่กล่าวถึงกันอย่างมากมายได้แก่ปลาสวยงาม กุ้งแคระสุลาเวสี และหอยสุลาเวสี ซึ่งก็รวมถึงเจ้ากระต่ายน้อยตัวนี้ไปด้วยครับ

หอยแรบบิทสเนลกระจายพันธุ์ไปตามแหล่งน้ำตื้นของทะเลสาบต่าง ๆ บนเกาะสุลาเวสี โดยเฉพาะทะเลสาบมาตาโน จัดอยู่ในสกุล Tylomenia มีชนิดพันธุ์มากมายทั้งที่ค้นพบและถูกบันทึกในอนุกรมวิธานกับสายพันธุ์แปลกใหม่ที่ยังตกสำรวจอีกนับไม่ถ้วน วงการสัตว์น้ำสวยงามเพิ่งเข้าถึงโลกลี้ลับแห่งเกาะสุลาเวสีได้ไม่ถึงสิบปี มันจึงยังใหม่มาก มีอะไรให้เรียนรู้อย่างสนุกสนานตื่นเต้นอีกมากมายมหาศาล

หอยแรบบิทสเนลเมื่อเทียบกับหอยสวยงามชนิดอื่นที่นิยมเลี้ยงกันจะดูใหญ่กว่า มันสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 นิ้ว เปลือกไอติมโคนที่ดูใหญ่และหนักทำให้การเคลื่อนตัวของเจ้ากระต่ายน้อยอืดอาดยืดยาด ไม่สมชื่อกระต่ายก็ตรงนี้แหละ นิสัยรักสงบของมันบางทีก็ดูซุกซนบ้าง เช่นชอบปีนป่ายไปตามขอนไม้หรือข้างตู้กระจก แต่ด้วยเปลือกเจ้ากรรมอันหนักหน่วงเราจึงมักเห็นมันไปได้ไม่สูงนัก คอยจะร่วงตกลงมาบนพื้นเสียทุกครั้ง

การเลี้ยงหอยแรบบิทสเนลนั้นง่ายมาก มันรักสงบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครยกเว้นต้นไม้บางอย่าง เช่นต้นเฟินรากดำ เจ้ากระต่ายน้อยจะออกอาการลิงโลดเมื่อเห็นต้นไม้ชนิดนี้และจะตรงเข้าไปกัดแทะอย่างเมามัน ส่วนต้นไม้ชนิดอื่นดูมันไม่ค่อยให้ความสนใจมากเท่าไหร่ อาหารที่มันชอบก็มักเป็นเศษอาหารตกหล่นตามพื้น ตะไคร่น้ำ และซากสัตว์ตาย หากมีตัวอะไรสักอย่างตายในตู้ ไม่กี่นาทีหอยกระต่ายน้อยของเราก็จะคลานกระดุบๆ มาแทะกินเป็นเจ้าแรก

บางท่านนิยมเสริมอาหารด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดจม ซึ่งมันก็ไม่ปฏิเสธ ทว่าปริมาณการให้ต้องระมัดระวัง เนื่องจากหอยนั้นกินอาหารช้า ค่อยเป็นค่อยไป กินได้เรื่อยๆ ทั้งวัน เพราะฉะนั้นการให้อาหารที่มากเกินไปในคราวเดียวอาจทำให้น้ำเสีย และเมื่อน้ำเสียเกิดก๊าซแอมโมเนีย ไนไตรท์ในระดับค่อนข้างสูง สิ่งมีชีวิตที่เราเลี้ยงไว้แม้กระทั่งหอยจอมอึดก็อาจตายได้ภายในเวลาไม่นานเช่นกัน

สภาพน้ำที่จะเลี้ยงหอยแรบบิทไม่ควรเป็นกรด ค่าpHควรจะอยู่ประมาณ 7.0-8.5 หากเอาไปเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำหรือตู้ที่ต้องคุมค่าpHไม่ให้เกิน 6.5 จะสังเกตเห็นเปลือกหอยนั้นเริ่มกร่อน ผุเป็นหลุม ดูแล้วเหวอ อุณหภูมิไม่ควรสูงเกิน 28 องศาเซลเซียส และหากเลี้ยงรวมกับปลาอื่นก็ไม่ควรเป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าย หรือชอบจิกแทะด้วยจะงอยปากคมๆ

หอยเป็นสัตว์น้ำที่แพร่พันธุ์เร็วมากถ้ามีอาหารสมบูรณ์ ตู้ปลาที่ไม่ได้เลี้ยงหอย แต่ชอบให้อาหารปริมาณมากๆ หลายๆ มื้อ ปลากินไม่หมด ไม่นานเท่าไหร่จะพบว่าเกิดหอยขึ้นเป็นสิบๆ ร้อยๆ ตัว พวกมันมาในรูปของไข่ที่ติดมาพร้อมกับวัสดุตกแต่งตู้ปลาบางอย่าง เช่น ขอนไม้ ต้นไม้น้ำ เมื่อเจออาหารตกค้างในตู้อย่างอุดมสมบูรณ์จึงปรีเปรมออกลูกออกหลานกันจ้าละหวั่น

หอยที่เอามาเลี้ยงเพื่อทำประโยชน์หลายชนิดก็สามารถแพร่พันธุ์ได้ทีละมากๆ แม้ไม่เท่าหอยกลุ่มแรก แต่กับหอยแรบบิทสเนลนี่คนละเรื่องเลยครับ มันเพาะพันธุ์ช้าและค่อนข้างยาก ให้ลูกน้อยมากแค่ครั้งละเพียงตัวเดียว ลูกหอยที่ออกมาจากท้องแม่จะมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่ ไม่กี่นาทีต่อมามันก็จะเจาะเยื่อนั้นออกมาดูโลกภายนอก ลูกหอยแรบบิทสเนลเกิดใหม่น่ารักมาก ตัวเล็กไม่ถึงเซ็นแต่มีรูปร่างและสีของเนื้อเหมือนพ่อแม่ทุกอย่าง ยกเว้นแต่ส่วนเปลือกรูปไอติมโคนที่ดูป้อมสั้นกว่าเท่านั้น ผมเคยลองเพาะพันธุ์หอยชนิดนี้เล่นๆ ได้ลูกมาสองตัวดีใจแทบตาย

เห็นร้านขายปลาสวยงามหลายร้านนิยมเอาหอยแรบบิทสเนลมาขายมากขึ้นในระยะนี้ ใช้ชื่อว่า “หอยสุลาเวสี” โดยมากจะเห็นเป็นชนิดเนื้อเหลืองกับเนื้อส้ม ซึ่งดูสวยอ่อนหวานมากที่สุด นานๆ ครั้งจะเจอชนิดเนื้อลาย คือตัวสีดำมีจุดขาวหรือจุดเหลืองกระจาย ถ้าเจอก็รีบซื้อทันที เพราะเป็นของแปลกหายาก ใครสนใจหาอะไรมาเลี้ยงในตู้นอกจากปลาและกุ้ง จะลองดูหอยกระต่ายน้อยสักตัวสองตัวก็ไม่เลวนะครับ น่ารักดี

ขึ้นชื่อว่า “หงส์” ความรู้สึกสง่างาม ทรงพลัง มีอำนาจในการต่อรอง ยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับความเชื่อของชาวจีนด้วยแล้ว หงส์ จัดเป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญญลักษณ์แห่งดวงอาทิตย์และความอบอุ่นสำหรับฤดูร้อน และฤดูเก็บเกี่ยวพืชไร่ ทั้งยังเป็นเครื่องหมายแห่งคุณงามความดี

แต่หงส์ที่กำลังจะกล่าวถึงในที่นี้ อาจต้องพิเคราะห์อีกครั้งว่า จะมีนัยหรือความหมายตามความเชื่อของชาวจีนหรือไม่เพราะสีขนของหงส์แปรเปลี่ยนเป็นสีดำ จึงเรียกกันว่า “หงส์ดำ”

บางท่านอาจเคยเห็นแต่หงส์ขาว หงส์ที่มีขนสีขาวตลอดทั้งตัว คราวนี้ หงส์ขาวละไว้ก่อน ขอยกหงส์ดำ หงส์ที่มีขนสีดำตลอดทั้งตัวขึ้นมาแทนอันที่จริง มีหงส์ที่ขนตลอดลำตัวสีขาว ส่วนขนช่วงลำคอกลับเป็นสีดำ ด้วย แต่ก็ขอกล่าวถึงเฉพาะ “หงส์ดำ” เพียงชนิดเดียวก่อน

หงส์ดำ (Black Swan) เป็นสัตว์สวยงามชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Cygnus atratus” เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย เป็นสัตว์ปีกที่มีความสง่างาม เวลาว่ายน้ำลำคอจะโค้งเป็นรูปตัวเอส มีลำคอที่ยาวระหง มีขนสีดำตลอดลำตัว มีขนสีขาวแซมอยู่เล็กน้อยบริเวณปีก ลูกตามีสีแดง ที่ปากจะมีสีแดงสดและมีแถบขาวตรงปลายปาก

ธรรมชาติของหงส์ดำรักการอยู่รวมเป็นฝูง อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาป แม่น้ำ หนอง บึง ลำน้ำ ที่ไม่ลึกนัก เพราะหงส์ดำจะดำน้ำลงไปจับสัตว์น้ำหรือพืชน้ำกินเป็นอาหาร

แม้หงส์ดำ จะมีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย คนไทยก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าเครื่องบินลัดฟ้าไปชมถึงถิ่นแล้ว เพราะหงส์ดำ มีฟาร์มที่มีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐาน เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์หงส์ดำอยู่ในประเทศไทยแล้ว

หนองจอก เขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้จะไม่ทั้งหมดของพื้นที่ แต่ก็ยังคงเหมาะกับการทำเกษตรกรรมอยู่

คุณถาวร สมานตระกูล เจ้าของลำไทรฟาร์ม ฟาร์มที่เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ปีกหลายชนิด “หงส์ดำ” เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่ดึงดูดและเรียกความสนใจให้กับฟาร์มได้ดีทีเดียว คุณถาวร เล่าว่า กลุ่มสัตว์ปีกเป็นกลุ่มสัตว์ที่รักและนิยมเลี้ยงมานาน นับแต่วัยรุ่น ถึงปัจจุบันเข้าสู่งวัยชรา แต่ก็ยังไม่คิดละทิ้งหรือเลิกเลี้ยง แม้จะเริ่มต้นจากสัตว์ปีกทั่วไปที่คนนิยมเลี้ยงในประเทศ เช่น ไก่ นก เป็ด ห่าน หงส์ขาว และเป็นต้นตำรับของผู้ค้าส่งสัตว์ปีกให้กับแหล่งจำหน่ายสัตว์ปีกสวยงามให้กับตลาดนัดสนามหลวง ตลาดนัดสวนจตุจักร ก็ตาม

เมื่อมีสัตว์ปีกตามจำนวนที่ต้องการเกือบครบทุกชนิดแล้ว คุณถาวร มองว่า ความแตกต่างของสัตว์ที่เพาะเลี้ยง น่าจะสร้างประสบการณ์เพิ่มขึ้น จึงมองหาสัตว์ปีกต่างประเทศที่ไม่พบในประเทศไทย และตัดสินใจซื้อ เมื่อพบ “หงส์ดำ” ขายที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) คู่แรก

“เลี้ยงหงส์ดำคู่แรกก็หวังจะได้ลูก เลี้ยงมานาน 2 ปี เพิ่งรู้ว่า คู่แรกที่ซื้อมาเป็นเพศผู้ทั้งคู่”

ด้วยเหตุนี้ ทำให้คุณถาวร แสวงหาแหล่งเพาะเลี้ยงหงส์ดำ และซื้อเพศเมียมาอีก 2 ตัว เพื่อให้เข้าคู่กับหงส์ดำเพศผู้ 2 ตัวที่มีอยู่

ไม่นานนัก ธรรมชาติของสัตว์ก็ส่งผลให้ลูกหงส์ดำครอกแรกเกิดขึ้น

คุณถาวร ขายพ่อและแม่หงส์ดำ พร้อมลูกอีกจำนวน 5 ตัว วัย 2 เดือน ให้กับลูกค้าที่มาติดต่อขอซื้อ รวมเม็ดเงินที่ได้รับครั้งนั้นเกือบ 1 แสนบาทคุณถาวร บอกว่า ในยุคนั้น ไม่เคยคิดว่าจะจับเงินแสน และการขายหงส์ดำครั้งนี้จุดประกายให้ตัดสินใจขยายพันธุ์หงส์ดำเพื่อการพาณิชย์

“การสั่งซื้อจากแหล่งเพาะขยายพันธุ์ในต่างประเทศ น่าจะได้หงส์ดำสายพันธุ์ที่ดี จึงสั่งซื้อจากเนเธอร์แลนด์ แม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศต้นกำเนิดหงส์ดำ แต่ก็เป็นประเทศที่มีนักวิจัย ทำงานวิจัยและรวบรวมพันธุ์สัตว์เข้ามาเพาะขยายพันธุ์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก”

หงส์ดำ จำนวน 10 ตัว ถูกส่งมาจากเนเธอร์แลนด์มายังลำไทรฟาร์ม ทำให้ลำไทรฟาร์มเป็นสถานที่ที่เพาะเลี้ยงหงส์ดำมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย

“ความพิเศษของหงส์ดำ คือ การใช้ชีวิตเป็นคู่ เมื่อได้รักแล้วจะไม่เปลี่ยนคู่รักเด็ดขาด ยกเว้นคู่ของมันจะตาย ซึ่งถ้าตายจะนำคู่ใหม่มาทดแทนให้ได้ แต่ถ้ายังไม่เคยมีคู่มาก่อน จับให้คู่กัน หงส์ดำก็จะรักกันไปเอง ” คุณถาวร บอก

ตลอดทุกเย็น หงส์ดำ จะลอยตัวในน้ำ พร้อมกับส่งเสียงร้องไพเราะก้องหู สำเนียงเสียงร้องดังคล้ายเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ชื่อ “ทรัมเป็ต” หากเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนหนึ่ง มีเครื่องดนตรีประโคมให้ฟังในเวลาเย็น

พื้นที่ทั้งหมดของลำไทรฟาร์ม ราว 10 ไร่ แบ่งออกเป็นพื้นที่บ้านพักของปลูกต้นไม้ ส่วนที่เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ปีกราว 7 ไร่ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ 5 ไร่ ถูกกั้นด้วยตาข่ายเป็นล็อค ขนาดล็อคละ 30-40 ตารางเมตรต่อหงส์ดำ 1 คู่

พื้นที่เลี้ยงหงส์ดำ ควรเป็นน้ำ 80 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่บก 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะธรรมชาติของหงส์ดำจะอาศัยอยู่ในน้ำช่วงเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ จะขึ้นบกเมื่อต้องการกินอาหารหรือพักผ่อนเท่านั้น

คุณถาวรใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับไก่ เลี้ยงหงส์ดำด้วย ให้อาหารเสริมเป็นผัก เช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง ซึ่งผักที่หงส์กินเข้าไปจะช่วยระบบขับถ่าย ทั้งนี้ การให้อาหารจะให้วันละ 2 รอบ เช้าและเย็น ปริมาณอาหารต่อรอบ 1 กิโลกรัม แม้หงส์จะเป็นสัตว์สวยงาม แต่เวลากินจะเลอะเทอะไปทั่วบริเวณเลี้ยง เพราะเป็นสัตว์ปากแบน เวลากินจะใช้ปากคีบอาหารเม็ดจุ่มลงในน้ำก่อนกลืน ทำให้อาหารละลายไปกับน้ำบ้าง ดังนั้น อาหารเม็ดที่ให้ไว้ 1 กิโลกรัมต่อรอบ หงส์จะกินเข้าไปไม่ถึงตามจำนวน

การให้วิตามินสำหรับสัตว์ปีก คุณถาวร เลือกให้เฉพาะหงส์เกิดใหม่ หลังออกจากไข่ในวันที่ 3 ส่วนวิตามินบำรุงขนเลือกให้ได้ทุกฤดู ยกเว้นฤดูร้อนที่หงส์จะผลัดขน

วัยเจริญพันธุ์ของหงส์อยู่ที่อายุ 2 ปีขึ้นไป

“การดูเพศในหงส์ เป็นเรื่องยาก” คุณถาวร บอกการดูเพศที่แน่ชัด ต้องขึ้นกับความชำนาญของผู้เลี้ยง แต่การสังเกตเบื้องต้นดูได้จาก หงส์เพศผู้จะคอยาวกว่าเพศเมีย ส่วนเพศเมียนอกจากจะคอสั้นกว่าแล้ว ลำตัวยังป้อมกว่าอีกด้วย นอกจากนี้ พฤติกรรมของหงส์ยังบ่งบอกเพศได้ เช่น เพศเมียจะดูเรียบร้อย อ่อนแอและนุ่มนวลกว่า ส่วนเพศผู้ มักแสดงอาการก้าวร้าว เป็นต้น
การผสมพันธุ์ของหงส์ เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อหงส์จับคู่แล้วจะผสมพันธุ์กัน เมื่อหงส์เพศเมียตั้งท้อง ทั้งคู่จะช่วยกันทำรัง โดยเก็บหญ้าแห้ง เศษฟาง ใบไม้แห้งมาทำรัง และออกไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ขนาดของไข่หงส์จะใหญ่กว่าไข่เป็ดประมาณ 2 เท่า

ในแต่ละปี หงส์ดำจะผสมพันธุ์และตั้งท้อง 4 รอบ

การฟักไข่ พ่อแม่หงส์จะพลัดเวรยามกันกกไข่ หงส์เป็นสัตว์ที่หวงไข่มาก ไม่เหมือนสัตว์ปีกบางชนิดที่ออกไปหาอาหารและทิ้งไข่ไว้ในรัง โดยไม่มีพ่อหรือแม่กก

คุณถาวร อธิบายว่า อัตราการรอดของลูกหงส์มีน้อย หากให้พ่อและแม่หงส์ฟักไข่เอง บางครั้งจากจำนวน 5-6 ฟอง อาจไม่เหลือลูกหงส์รอกสักตัว ดังนั้น เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกหงส์ จึงใช้วิธีให้พ่อและแม่หงส์ดำกกไข่เองประมาณ 7 วัน จากนั้นนำมาตรวจหาเชื้อ หากพบว่ามีเชื้อก็จะเจาะรูเล็กๆ ที่ไข่ นำกลับไปให้พ่อแม่หงส์กกไข่เองต่ออีก 20 วัน จากนั้นนำเข้าตู้ฟัก 5-7 วัน ใช้อุณหภูมิภายในตู้ 105 องศาฟาเรนไฮต์ หมั่นกลับไข่ภายในตู้ฟักเรื่อยๆ

การดูเชื้อภายในไข่หงส์ ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณถาวร บอกว่า จำเป็นต้องใช้ความชำนาญ เพราะเปลือกไข่หงส์หนากว่าเปลือกไข่ไก่หรือไข่เป็ดปกติ การส่องไฟในบางครั้งก็ไม่ได้ประโยชน์

“อัตราการรอดของลูกหงส์มีน้อยมาก แม้จะนำเข้าตู้ฟักแล้วก็ตาม หากจะปล่อยให้พ่อแม่หงส์ฟักเอง โอกาสเหยียบลูกตายมีสูง และลูกหงส์อาจถูกมดเข้าไปกับก่อนฟักเป็นตัวด้วย”

คุณถาวร เล่าว่า ลูกหงส์เกิดใหม่จะขี้เหร่ ไม่สวย สีเทาหม่น ไม่น่ารักเหมือนพ่อแม่ แต่เมื่อลูกหงส์มีอายุประมาณ 2 เดือน เริ่มถ่ายขน ขนใหม่ขึ้นมา ทางฟาร์มจะตัดปลายปีก เพื่อไม่ให้บิน จะแยกลูกหงส์ไว้ นำไปอนุบาล และเริ่มจำหน่ายเมื่ออายุ 3 เดือน ในราคาคู่ละประมาณ 20,000 บาท

การตัดปีก ไม่มีผลใดๆ ต่อหงส์ ยกเว้นทำให้หงส์บินไม่ได้เท่านั้น และลูกค้าที่ซื้อไปเลี้ยงจะสังเกตว่าหงส์ถูกตัดปีกก็ต่อเมื่อ หงส์กางปีก จึงจะทราบว่าปีกทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

คุณถาวร ย้ำชัดเจนว่า การเลี้ยงหงส์ดำ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นสัตว์ที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ เลี้ยงไว้สวยงาม ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ลูกค้าจำนวนหนึ่งอยู่ในกลุ่มมีฐานะ เพราะหงส์เป็นสัตว์ที่อยู่ในตระกูลสูง จะเสริมบารมีให้กับผู้เลี้ยง

สำหรับ ลำไทรฟาร์ม คุณถาวร บอกว่า ไม่ได้มีขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อจำหน่ายเท่านั้น แต่พร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับผู้สนใจ เพราะนอกเหนือจากหงส์ดำที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสัตว์ปีกหาชมได้ยากอีกหลากชนิด อาทิ นกมาคอว์บลูแอนโกล์ด นกแอฟริกันเกรย์ นกเลิฟเบิร์ด เป็นต้นการเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไปตามธรรมชาติ อีกทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้

บริเวณริมเขื่อนวชิราลงกรณ หรือชื่อเดิมคือเขื่อนเขาแหลม ตั้งอยู่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีมีชาวบ้านตั้งรกรากเพื่อทำมาหากินด้วยการจับสัตว์น้ำ บางรายมีที่ดินก็ปลูกบ้าน บางรายไม่มีที่ดินก็สร้างแพ

คุณสมชาย ศาลาคำ อายุ 51 ปี เป็นอีกคนที่มีชีวิตครอบครัวพักอาศัยในแพและยึดอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมเขื่อนเขาแหลมมากว่า 17 ปี ด้วยการซื้อพันธุ์ปลาแล้วมาเลี้ยงส่งขายเองตามร้านอาหารเรียกว่าเป็นทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขายตรงในเวลาเดียว ถือว่าทำงานแบบครบวงจรเลย และด้วยความเพียร ความอดทน การเป็นผู้เรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง จนกระทั่งเขาสามารถสร้างฐานลูกค้าได้อย่างมั่นคง สร้างรายได้นับหลายแสนในแต่ละเดือน สามารถส่งบุตรสาวเรียนได้ถึงระดับปริญญาโท จนทุกวันนี้เขามีความสุขกับครอบครัวแล้วยังมีแผนที่จะต่อยอดอาชีพนี้อีก

กว่าจะมาถึงจุดสำเร็จแห่งอาชีพนี้ คุณสมชายต้องฝ่าฟันปัญหานานับประการ ถูกมองจากชาวบ้านด้วยความคิดแปลกๆ แต่ด้วยความมุ่งมั่น อดทน ประหยัด รู้จักคิด จึงทำให้เขาเดินฝ่าปัญหาเหล่านั้นจนมายืนในแถวหน้าในฐานะผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชังในทองผาภูมิได้อย่างภาคภูมิใจ

คุณสมชาย ย้อนอดีตว่าด้วยความที่พ่อ-แม่ทำงานเป็นพนักงานอยู่ที่เขื่อนวชิราลงกรณ จึงทำให้ตัวเขาต้องย้ายตามมาด้วยวัยเพียงสิบกว่าขวบ พอจบม. 6 ที่กาญจนบุรี ย้ายกลับไปที่ระยองไปประกอบอาชีพที่ต้องหาเงินเองด้วยการค้าขาย และขายของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ ผลไม้ แต่แล้วไม่ประสบความสำเร็จจึงกลับมาทองผาภูมิอีกครั้งเมื่ออายุเกือบ 30 ปี แล้วมาแต่งงานมีครอบครัวที่นี่

เจ้าของกระชังปลา บอกอีกว่า ตอนมาอยู่ใหม่ๆยังคงยึดอาชีพค้าขายต่อไปอีก พอมาเมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไม่ดีจึงต้องเลิก ประจวบกับจังหวะนั้นทางหัวหน้าประมงอำเภอทองผาภูมิคนเดิมแนะให้ทำอาชีพยกยอและเลี้ยงปลาในกระชัง จึงเกิดความสนใจและเริ่มทดลองทำดู

“จากจุดเริ่มต้นที่ไม่เป็นอะไรสักอย่าง ลูกปลายังไม่รู้จัก แม้กระทั่งว่ายน้ำยังไม่เป็น พายเรือก็ไม่เป็น จึงขอให้คนที่มีความสามารถมาช่วยสอนให้ยกยอ สำหรับการยกยอในช่วงนั้นมีพวกปลาซิวแก้ว ปลาแป้น แล้วนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลาคัง ปลากด ปลาช่อน และปลาชะโดที่มีอยู่ในกระชังที่มีอยู่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารให้ปลา”

ต่อมาอีก 3-4 ปี ปลาที่ยกยอเพื่อนำมาเป็นอาหารปลาในกระชัง เริ่มน้อยลงทำให้ต้องเลิกยกยอเพราะไม่คุ้ม จึงทำให้ต้องหาซื้ออาหารเป็นปลานิลจากทางบางเลน จากนั้นไม่นานปลาจากแหล่งที่เคยซื้อกลับมีราคาแพงและน้อยลง จึงจำเป็นต้องหันมาใช้ไส้ไก่จากสุพรรณบุรีแทนในราคากิโลกรัมละ 10 บาท ส่วนปลาหาได้บ้างในบางช่วงถ้ามีราคาถูกและต้องไม่เกิน 9-10 บาทต่อกิโลกรัม

คุณสมชาย บอกว่า ครั้งแรกปลากระชังที่เลี้ยงไว้ได้แก่ปลาช่อน และปลาชะโด เพราะสามารถหาอาหารในเขื่อนเลี้ยงได้ง่าย จะได้ทุ่นค่าใช้จ่าย ช่วงนั้นมีอย่างละ 2 กระชัง แต่ประสบปัญหาการตักปลาที่ไม่ชำนาญจนทำให้ล่าช้ากว่ารายอื่น จึงต้องหยุดเลี้ยง แล้วเปลี่ยนมาเป็นการลองไปซื้อลูกปลาคังมาเลี้ยง เพราะเมื่อประเมินรายรับแล้วน่าจะดีกว่า ตอนนั้นปลาช่อนขายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท แต่หากเป็นปลาคังต้องมีราคาร้อยกว่าบาทขึ้นไป แต่ติดปัญหาตรงที่ลูกปลาคังหาค่อนข้างยาก ซึ่งคนละแวกนี้เขาหาโดยใช้วิธีดักลอบ หรือดำน้ำไปตามหน้าผาหรือรูหิน แต่เราทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะว่ายน้ำไม่เป็นจึงต้องไปหาซื้อ

“ลองเปิดหนังสือหาแหล่งที่เพาะลูกปลาเพื่อซื้อมาเลี้ยง แต่กลับมีชาวบ้านดูแคลนว่าปลาที่เพาะเลี้ยงมีอายุสั้น เดี๋ยวก็ตาย แต่เราไม่เชื่อและต้องลองเลี้ยงดู สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่ถึง 2 ปี ก็สามารถทำในสิ่งที่หลายคนคิดว่าไม่ แต่ผมกลับทำได้สำเร็จ เมื่อเลี้ยงปลาเพาะได้น้ำหนักขนาดถึงเกือบ 4 กิโลกรัมต่อตัว หลังจากนั้นชาวบ้านก็ได้ลองทำแบบเดียวกับผม ทั้งนี้เพราะปลาตามธรรมชาติหาไม่ได้แล้วหากต้องการจำนวนมากขนาดนั้น มัวแต่ไปจับคงไม่ทันขายแน่”

ปลาคังขายดี ลูกค้านิยมเปิดขายตรง กับร้านอาหารคุณสมชาย บอกว่า ปลาที่นิยมเลี้ยงมากคือปลากดคัง เพราะตลาดรับซื้อมีรองรับมากกว่า รองลงมาคือปลากลดเหลือง ส่วนปลาทับทิมและปลานิลเลี้ยงกันน้อย เพราะความต้องการมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น อีกประการคือต้นทุนสูง ไม่คุ้มกับการเลี้ยง

เกษตร 1 ไร่ ได้กินได้ใช้ได้ความสุขการได้กิน คือ มีการเลี้ยงสัตว์

ได้แก่ ปลา กบ เป็ด ไก่ สุกร พืชเกือบทุกต้นที่ปลูกสามารถใช้ทำเป็นอาหารได้ ไม่ว่าจะใช้กินใบ กินดอก กินผล กินหัว กินต้น ซึ่งตอนนี้ปลูกไปแล้วหลายชนิด ตัวอย่าง เช่น มะรุม มะพร้าว ฝรั่ง กล้วย อ้อย ไผ่ มะขามป้อม มะไฟ ขนุน มะม่วง ทับทิม มะนาว ชมพู่ ดอกแค เพกา มะเขือ ขิง ข่า ตะไคร้ ผักบุ้ง บัวบก ผักกูด ฯลฯ สามารถใช้ทำเป็นอาหารได้เกือบทุกชนิด ได้ใช้ คือ พืชจำพวกไผ่ ได้แก่ ไผ่จีนเขียวเขาสมิง ไผ่รวก ไผ่ซางคำ สามารถใช้ทำรั้ว จักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ กิ่งไม้ ใบไม้ ที่ได้จาการตัดแต่งกิ่ง สามารถใช้ทำฟืน ทำปุ๋ยหมัก ใช้คลุมดิน ได้ความสุข คือ ได้ปลูกบ้านหลังเล็กๆ ไว้สำหรับพักผ่อน คลายร้อน คลายเครียด การเลี้ยงสัตว์การให้อาหารสัตว์ การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เกิดความสวยงามทำให้เกิดความสุขทางใจ การได้มีกิจกรรมการทำงานกับครอบครัว เป็นการสร้างครอบครัวให้อบอุ่น”

คุณบูรณาการ ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า นี่คือแนวคิด ได้คิดและได้ทำ ตามรูปแบบที่คิดว่าน่าจะมั่นคงและยั่งยืน และยังคงต้องทำต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่อันจำกัด สนใจเชิญเยี่ยมชมสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ ที่บ้านสันกลาง ตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา หรือโทรศัพท์ 08-1784-3816

นายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จ.ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น พบว่า สินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดของจังหวัด ได้แก่ ข้าวเหนียวนาปี ข้าวหอมมะลิ และอ้อยโรงงาน โดยข้อมูลสำรวจสินค้า ทั้ง 3 ชนิดพบว่า

จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสม (S1, S2) จำนวน 2.39 ล้านไร่ และพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) จำนวน 3.28 ล้านไร่ โดยผลตอบแทนสุทธิจากการผลิต ข้าวเหนียวนาปี ในพื้นที่เหมาะสม (S1, S2) เกษตรกรได้กำไร 1,743 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) เกษตรกรขาดทุน 1,735 บาท/ไร่ ส่วนข้าวหอมมะลิ พื้นที่เหมาะสม (S1, S2) เกษตรกรได้กำไร 1,822 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) เกษตรกรขาดทุน 1,791 บาท/ไร่

อ้อยโรงงาน มีพื้นที่เหมาะสม (S1, S2) สำหรับการปลูก 2.36 ล้านไร่ และพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) 3.38 ล้านไร่ ผลตอบแทนสุทธิในพื้นที่เหมาะสม (S1, S2) เกษตรกรได้กำไร 3,729 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ได้กำไร 2,785 บาท/ไร่

หากพิจารณาสินค้าทางเลือกให้แก่เกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรแทนการทำนาข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม ตามแผนที่ Agri-Map จังหวัดขอนแก่น พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 สามารถให้ผลตอบแทนสุทธิที่สูงกว่าข้าวเหนียวนาปี โดยมีต้นทุน 4,076 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ เกษตรกรได้กำไร 452 บาท/ไร่ ถั่วลิสงรุ่น 2 (ฤดูแล้ง) มีต้นทุน 7,454 บาท/ไร่ เกษตรกรได้กำไร 1,841 บาท/ไร่ และถั่วเหลืองรุ่น 2 (ฤดูแล้ง) ต้นทุน 2,107 บาท/ไร่ เกษตรกรได้กำไร 1,622 บาท/ไร่

ทั้งนี้ ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ ข้าวโพดต้นสด ไม้ดอก พืชผัก หญ้าเนเปียร์ การเลี้ยงหมูหลุม และโคเนื้อ ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจะต้องมีการศึกษาข้อมูลรอบด้าน ทั้งต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตสินค้านั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตพืช/เลี้ยงสัตว์ชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยดำเนินการ ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับศึกษาข้อมูลเรื่องการตลาดให้รอบคอบ หากท่านที่สนใจต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สศท.4 โทร. 043 261 513 หรืออีเมล

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) พัฒนาแอปพลิเคชั่นปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution ภายใต้ชื่อ “KAS Crop Calendar application” เพื่อเป็นคลังความรู้ที่สำคัญของเกษตรกรไทย ในการทำการเกษตรได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน พร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครอบคลุม ทั้งการแจ้งเตือนสิ่งที่เกษตรกรต้องทำในแต่ละขั้นตอนของปฏิทินการเพาะปลูก การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตลอดจนรายงานสรุปภาพรวมการเพาะปลูก เพื่อการทำเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด พร้อมเปิดตัวให้เกษตรกรไทยใช้แล้ววันนี้

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กล่าวว่า “เนคเทค เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากหลากหลายสาขา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของเนคเทค คือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการเกษตร

เพื่อสร้างเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ หรือ Precision Farming รวมไปถึงเทคโนโลยีเกษตรกรรมอัจฉริยะ หรือ Smart Agriculture เนื่องจากเทคโนโลยีด้านการเกษตรมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเกษตรกรไทยและผลักดันให้แบรนด์ไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งในปีนี้ เนคเทค-สวทช. ตั้งเป้าที่จะขยายแผนงานด้านเกษตรกรรรมอัจฉริยะให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศ โดยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และล่าสุด เนคเทค-สวทช. ได้ร่วมมือกับสยามคูโบต้าในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น KAS Crop Calendar ปฏิทินการเพาะปลูกสำหรับเกษตรกรไทยขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด”

คุณสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงรายละเอียดของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น KAS Crop Calendar ว่า เมื่อปีที่ผ่านมาสยามคูโบต้าได้พัฒนาเว็บไซต์ www.kubotasolutions.com เพื่อเป็นคลังความรู้ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาสืบค้น และนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

รวมทั้งเป็นช่องทางสำคัญในการนำเสนอเทคนิคต่างๆ ในด้านการจัดการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ซึ่งภายในเว็บไซต์ประกอบด้วยข้อมูลด้านการเพาะปลูกข้าว ที่อยู่ในรูปแบบของปฏิทินเพาะปลูกข้าว เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้เข้าใจและเห็นภาพการทำเกษตรได้อย่างชัดเจน รวมถึงการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้ในพื้นที่การทำเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกขั้นตอน และข้อมูลเรื่องพืช ซึ่งได้รวบรวมความรู้และเทคนิคต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐที่เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกและการวิจัย รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ

“เพื่อตอกย้ำถึงการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต สยามคูโบต้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปฏิทินเพาะปลูกข้าว หรือ Crop Calendar ที่เป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่สำคัญในการทำการเกษตร โดยพัฒนาการแสดงผลปฏิทินการเพาะปลูกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อเพิ่มช่องทางการใช้ปฏิทินเพาะปลูกให้เกษตรกรได้เข้าถึงง่ายทุกที่ทุกเวลา

จึงได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. ในการเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้น ในชื่อ KAS Crop Calendar application ซึ่งได้มีการพัฒนาในส่วนของฟังก์ชั่นการใช้งาน อาทิ การแจ้งเตือนสิ่งที่เกษตรกรต้องทำในแต่ละขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูก ซึ่งแอปพลิเคชั่นจะแจ้งเตือนตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถเพิ่มหรือปรับขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือเทคนิคส่วนตัวได้

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถทำรายรับ-รายจ่าย ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มรายรับให้มากขึ้นในการเพาะปลูกครั้งต่อไป การรายงานสรุป ซึ่งเกษตรกรสามารถดึงรายงานสรุปได้จากแอปพลิเคชั่น ที่จะแสดงถึงภาพรวมของการเพาะปลูก เช่น วันที่เริ่มเพาะปลูกถึงวันสิ้นสุดการเพาะปลูก สรุปขั้นตอนปฏิทินเพาะปลูกทั้งหมด สรุปรายรับ-รายจ่าย ที่เกิดขึ้น และสรุปผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำรายงานสรุปไปพัฒนาการเกษตรของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างดีที่สุด” คุณสมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับ KAS Crop Calendar application พร้อมเปิดให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ในมือถือสมาร์ทโฟนทุกรุ่น ทั้งระบบ IOS และระบบแอนดรอยด์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด คุณรัชวรรณ ธีรนรเศรษฐ์ 08-5185-8811 ratchawan.t@kubota.com บริษัท นิโอ ทาร์เก็ต จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ คุณสุดา ศรีบุศยดี 08-9068-4345 suda@neotarget.com

ที่ตำบลซานซิง เมืองยี่หลาน ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกต้นหอมที่ใหญ่ที่สุดและต้นหอมที่นี่มีคุณภาพดีและรสชาติดีที่สุดของเกาะไต้หวัน ตำบลซานซิง ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไต้หวัน ทาง ต.ซานซิง ได้ปรับปรุงพัฒนาให้โรงเก็บข้าวเก่ามาเป็นพิพิธภัณฑ์ต้นหอมขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตรของเมืองและเปิดพิพิธภัณฑ์ต้นหอมอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อปี 2548 ทุกๆ ปีทาง ต.ซานซิง จะจัดงานเทศกาลต้นหอมและกระเทียม ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่จนเป็นที่รู้จักและคนไต้หวันจะรู้ว่า เมื่อถึงเดือนมกราคมของทุกปีจะมี “เทศกาลต้นหอมและกระเทียม” ขึ้นที่นี่

คนไต้หวันนิยมบริโภคผักตามฤดูกาล เพราะเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพแข็งแรง และปัจจุบันคนไต้หวันเปลี่ยนพฤติกรรมกินข้าวในแต่ละมื้อน้อยลงแต่จะเน้นการกินผักและผลไม้มากขึ้น (จากอดีตบริโภคข้าว 70%, ผักและผลไม้ 30% ปัจจุบันกลับกันบริโภคข้าว 30% และบริโภคผักและผลไม้ 70%)

ต.ซานซิง นั้นมีชื่อเสียงมากเรื่องของการปลูกต้นหอมที่มีคุณภาพดีที่สุดในไต้หวัน ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสม ดินมีลักษณะร่วนปนทราย ทำให้การระบายน้ำดี มีน้ำดี (ซึ่งทางภาครัฐของไต้หวันค่อนข้างเอาใจใส่และดูแลเรื่องของระบบชลประทานค่อนข้างดีมาก) โดยต้นหอมของที่นี่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดคือ “ส่วนของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาว จะมีความยาวมากเป็นพิเศษ คือยาว 15-20 เซนติเมตรเลยทีเดียว ลำต้นยาวและรสหวาน มีกลิ่นหอม มีรสไม่เผ็ดมากเกินไป ยังมีคุณสมบัติที่มีคุณภาพเผ็ดอ่อน ลำต้นมีความยาวมากยาวเฉลี่ย 40 เซนติเมตร” (ต้นหอมของไต้หวัน จะเป็นคนละชนิดกับต้นหอมของไทย ซึ่งต้นหอมไทยต้นจะเล็กและสั้นกว่ามาก

ส่วนที่เป็นหัวจะกลมโตกว่า รสชาติเผ็ด และกลิ่นฉุน ต้นหอมไต้หวันจะมีลักษณะเหมือนกับต้นหอมญี่ปุ่นมากกว่า แต่อาจจะด้วยการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ต้นหอมให้มีลักษณะเป็นที่ต้องการของคนไต้หวัน จึงมองดูว่าต้นหอมไต้หวันต้นจะดูเล็กกว่าต้นหอมญี่ปุ่น)

ราคาของต้นหอมก็ขึ้นกับความยาวของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาว โดยจะแบ่งเป็นสองประเภทคือ “ต้นหอมเกรดเอ” คือมีส่วนของลำต้นสีขาวยาว 15 เซนติเมตรขึ้นไป ถือว่าเป็นต้นหอมได้คุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และรู้จักต้นหอมของ ต.ซานซิง ลำต้นสีขาวจะต้องยาวนั้นเกษตรกรจะได้ราคาค่อนข้างสูง ส่วน “ต้นหอมเกรดรอง” คือความยาวของลำต้นส่วนที่เป็นสีขาวมีความยาวไม่ถึง 15 เซนติเมตร และความยาวรวมของลำต้นและใบสั้นตามที่กำหนด ต้นหอมเหล่านี้จะถูกขายตามท้องตลาดทั่วไป ตลาดนัด ร้านอาหาร และนำไปแปรรูปเป็นขนมชนิดต่างๆ หรือนำไปแปรรูปทำเป็นผง เป็นต้น

ต้นหอมเกรดรองที่ลำต้นสั้นจะมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องเอาใจใส่ในการปลูกต้นหอมของตนเองให้มากขึ้น จึงจะได้ราคาดี ในการรับซื้อที่นี่จะมีสหกรณ์เป็นคนกำหนดราคาโดยจะประกันราคาให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิก (ไต้หวันจะใช้ระบบของสหกรณ์ดำเนินงานด้านการเกษตรทั้งหมดและมีประสิทธิภาพสูงมากทั้งเรื่องราคาที่เกษตรกรที่ควรจะได้รับ, การบริหารจัดการผลผลิต และการกระจายสินค้า โดยแต่ละสหกรณ์ในไต้หวันจะมีการแข่งขันกันเองเพื่อให้เกษตรกรของตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด)

ระบบการปลูกต้นหอมของไต้หวัน จะใช้วิธีการเพาะเมล็ดก่อนเมื่อได้ต้นกล้าต้นหอมแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงการเตรียมแปลงของไต้หวันก็คล้ายกับบ้านเรา แต่ที่ไต้หวันจะใช้รถเตรียมแปลงขนาดเล็ก (ไม่ได้ใช้รถไถเหมือนบ้านเรา) ซึ่งการเตรียมแปลงค่อนข้างมีความประณีตมาก เครื่องขึ้นแปลงสามารถพรวนและตีดินได้ละเอียด ประกอบกับสภาพดินที่ออกจะเป็นดินร่วนปนทราย และการเตรียมแปลงที่ดีทำให้แปลงมีการระบายน้ำที่ดีซึ่งเกษตรกรไต้หวันจำเป็นต้องพิถีพิถันเรื่องการเตรียมแปลงมากเป็นพิเศษเนื่องจากไต้หวันฝนตกบ่อย

เมื่อแปลงปลูกพร้อม เกษตรกรก็จะนำ “ฟางข้าว” (ไต้หวันไม่เผาฟางข้าวและตอซังเหมือนบ้านเรา) มาคลุมแปลงให้ทั่วทั้งแปลงเขาบอกว่าการคลุมแปลงด้วยฟางข้าวมีประโยชน์มาก คือ ฟางข้าวจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับแปลงปลูกเพราะสภาพอากาศของไต้หวันในช่วงกลางวันอากาศค่อนข้างร้อนมาก

การย้ายกล้าปลูกในช่วงแรกต้องระวังอย่าให้แปลงปลูกต้นหอมขาดน้ำ แปลงต้องมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอด ฟางข้าวยังช่วยลดปัญหาเรื่องของวัชพืชที่ขึ้นบนแปลงได้เป็นอย่างดี ลดเวลาและแรงงานมากำจัดวัชพืชไปได้เป็นอย่างมาก และอีกประการเมื่อฟางข้าวผุเปื่อยก็จะถูกไถกลบในแปลงปลูกทำให้โครงสร้างดินดี นี่เป็นประโยชน์ของฟางข้าว ดังนั้นเกษตรกรที่ทำนาถ้าไม่ไถกลบ ก็จะเก็บฟางข้าวไว้ใช้คลุมแปลงปลูกผัก หลังจากคลุมแปลงด้วยฟางเรียบร้อยแล้ว และกล้าต้นหอมที่เพาะเอาไว้พร้อมคือ มีใบจริง 2-3 ใบ และมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ก็สามารถย้ายปลูกได้ การย้ายกล้าปลูก เกษตรกรจะมีเหล็กรูปตัวที (T) ซึ่งเหล็กรูปตัวทีนี้ จะเป็นตัวที่เกษตรกรจะใช้แทงดินนำร่องให้ดินเป็นรูลึกประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วเสียบกล้าลงไปในรูดังกล่าวแล้วใช้มือบีบดินให้แน่นเพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการปลูก

ส่วนการให้น้ำเท่าที่สังเกตจะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ในเรื่องของการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในแปลงปลูก จะมีการวางกับดักล่อแมลงโดยเฉพาะแมลงวันทอง จะเป็นแบบกล่องล่อให้แมลงวันทองเข้าไปแล้วตกไปตายในกล่องล่อแมลงที่มีน้ำบรรจุอยู่ (น้ำผสมกับฟีโรโมนช่วยดึงดูดแมลงวันทองเข้ามาในกับดัก) โดยไต้หวันให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำการเกษตรมาก มีการตรวจสอบสารตกค้าง

อย่างการปลูกต้นหอมเองก็จะยึดหลัก TGAP (Taiwan Good Agriculture Practices) หรือ การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมของไต้หวัน และแนวโน้มการบริโภคคนไต้หวันมีความต้องการสินค้าอินทรีย์มากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐบาลไต้หวันก็พยายามผลักดันไม่ให้เกษตรกรใช้สารเคมีและผลิตสินค้าอินทรีย์

ในการปลูกต้นหอม จนเก็บเกี่ยวได้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 100 วัน เกษตรกรก็จะถอนต้นหอมออกจากแปลงปลูกและนำไปล้างทำความสะอาดในบ่อน้ำ ลอกใบที่ไม่ดีออก จากนั้นมัดเข้ากำ และบรรจุลงกล่องส่งจำหน่ายสหกรณ์ ราคาต้นหอมนั้น ถ้าในฤดูหนาวที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก จะเฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50-100 บาท แต่ถ้าในช่วงฤดูร้อนหรือพายุเข้า ต้นหอมจะมีราคาสูงมาก คือสูงสุดอาจจะกิโลกรัมละ 500-600 บาท ทีเดียว

คนไต้หวันเวลาทำอาหารมักจะนิยมใส่ต้นหอมด้วย เพราะนอกจะช่วยเรื่องของความหอมและรสชาติแล้ว คนไต้หวันมีความเชื่อว่า “ต้นหอม” เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง, โชคดี, และสติปัญญาดีอีกด้วย

เลี้ยงวัวขุนเป็นคนแรกของหมู่บ้าน

พาท่านไปพบกับ คุณสังวน ดาปาน ที่บ้านเลขที่ 6 หมู่ 2 ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี“สมัยแรกๆ ที่ผมเริ่มเลี้ยงวัวขุนผมซื้อวัวตัวละ 3,000-4,000 บาท มาเข้าขุน ตอนนั้น วัวยังราคาถูกมาก ไม่เหมือนตอนนี้ ที่ราคาตัวละเกือบ 20,000 บาท สมัยก่อนผมขุนครั้งละประมาณ 30 ตัว เพราะยังมีเรี่ยวแรง มีช่องทางหาทุนก็ขุนได้ครั้งละหลายตัว” คุณสังวน เริ่มเล่า

จากวันนั้นจนวันนี้ที่คุณสังวนเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำวัวขุนมาค่อนชีวิตวันนี้ คุณสังวนจึงมีวัวเลี้ยงเอาไว้แค่ 8 ตัว

“ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัว เป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี ที่ผ่านมาไม่ว่าจะอย่างไรก็ไม่เคยเลิกเลี้ยงวัวแม้ว่าแม่บ้านผมจะขอให้เลิกเลี้ยงหลายครั้งผมก็ยังดื้อ” คุณสังวน เล่าไปยิ้มไป

ทุนน้อยขุนวัวเล็กเน้นชาโรเลส์
มาดูในส่วนของวัวขุนกันก่อน ตอนนี้คุณสังวนมีวัวขุนอยู่ 4 ตัวที่เน้นวัวลูกผสมชาโรเลส์เป็นหลัก คุณสังวนเล่าว่า เขาเลือกวัวลูกผสมชาโรเลส์มาเข้าขุน และเลือกเฉพาะวัวไซซ์เล็ก สายเลือดไม่สูงมากนักมาเข้าขุน เพราะวัวลูกผสมสายเลือดไม่สูงจะสู้เรื่องราคาได้ หากเป็นวัวลูกผสมสายเลือดสูงราคาก็สูง ต้นทุนยิ่งสูงตามไปด้วย

“วัวที่ผมจะเอามาเข้าขุนส่วนใหญ่ใช้วัวในพื้นที่เป็นหลักเพราะไม่ต้องเสียค่าขนส่งไม่เพิ่มต้นทุน ส่วนพันธุ์วัวถ้าลูกผสมชาโรเลส์หาไม่ได้จริงๆ ผมก็เลือกลูกผสมบราห์มัน แต่วัวหูยาวผมไม่เอาเลย เพราะมันขุนไม่ขึ้น”

หลักการเลือกวัวมาเข้าขุนของคุณสังวน คือ จับวัวเล็ก วัวรุ่น มาเข้าขุนโดยดูที่ราคาด้วย หากราคาอยู่ในช่วง 10,000 ต้นๆ ไม่เกิน 20,000 บาท ก็พิจารณาไว้ก่อน หลังจากนั้นก็มาดูในเรื่องของโครงร่างประกอบกัน เลือกวัวที่มีสันหลังยาว กล้ามเนื้อคอยาว สะโพกใหญ่ เป็นหลักเพราะวัวโครงร่างแบบนี้สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ดีเมื่อนำมาเข้าขุน

เทคนิคการขุนวัว
เมื่อวัวที่ซื้อไว้เดินทางมาถึงคอก คุณสังวนจะถ่ายพยาธิ ฉีดยาบำรุง และฉีดยาคุมกำเนิด หลังจากนั้นจะนำไปแยกขุนคอก

“ประสบการณ์ที่ผ่านมาบอกผมว่า ถ้าเราขังรวมทั้งหมดวัวจะอ้วนแค่บางตัว บางตัวที่ไม่ได้เป็นใหญ่ในคอกมักไม่ค่อยได้กิน เลยทำให้วัวน้ำหนักขึ้นไม่เท่ากันยุ่งยากเวลาที่จะจับขาย ผมจึงขุนแบบเลือกดูว่าตัวไหนตัวใหญ่ใกล้เคียงกันความดุใกล้กันก็จะขังรวมกัน 2 ตัว ส่วนตัวไหนดุมากหรือตัวเล็กตัวใหญ่มากก็ขังเดี่ยวดีกว่า ส่วนอาหารที่ใช้ขุนวัว เป็นอาหารข้น โปรตีน 16% เป็นอาหารข้นที่หาได้ในพื้นที่โดยจะให้วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น”

หากวันไหนมีหญ้าสดหรือต้นข้าวโพด ก็จะให้หญ้าสดหรือต้นข้าวโพดสับในช่วงบ่าย ประมาณตัวละ 20 กิโลกรัม แล้วงดอาหารข้นในตอนเย็น บางวันมีต้นกล้วยหั่นเป็นอาหารเสริม แต่ที่ให้ตลอด คือ ฟางราดกากน้ำตาล และน้ำเกลือ ใส่แยกไว้ต่างหากอีกรางโดยจะให้ฟางติดรางไว้ตลอดเวลา เพื่อให้วัวมีอาหารกินหลากหลาย

การขุนวัวแต่ละคอก คุณสังวนใช้เวลาขุนประมาณ 6 เดือน เพื่อให้มีน้ำหนัก 400 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนใหญ่คุณสังวนจะขุนวัวไม่ถึง 6 เดือน เพราะเมื่อวัวเริ่มอ้วนเริ่มสะสมไขมันก็จะมีคนมาซื้อไปขุนต่อ โดยอัดอาหารเต็มที่ ขุนต่ออีกประมาณ 1 เดือน ก็ขายได้

เลี้ยงแม่พันธุ์ สร้างฝูงลูกผสมชาโรเลส์
ตัวผู้เข้าขุน
เท่าที่ผมตระเวนจรร่อนไปในวงการวัวขุนรายย่อยในบ้านเรา มักจะได้ยินเสียงบ่นว่า วัวลูกผสมยุโรป ลูกผสมชาโรเลส์มีไม่พอกับความต้องการ ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกผสมชาโรเลส์ราคาดั่งทองเป็นที่ต้องการไปทั่ว คุณสังวนคิดเรื่องนี้มาก่อนหน้านั้น จึงได้สร้างฝูงแม่พันธุ์ลูกผสมชาโรเลส์เอาไว้แล้ว

“ผมมีวัวแม่พันธุ์อยู่ 4 ตัว คัดเลือกเก็บเอาไว้ขยายพันธุ์โดยเป็นแม่พันธุ์ลูกผสมชาโรเลส์เป็นหลัก และมีแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มันรวมอยู่ด้วย เรื่องสายเลือดชาโรเลส์ผมว่าเกือบๆ 50% แล้วใส่น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ชาโรเลส์เลือด 100 ไปผสมลูกที่ออกมาถ้าเป็นตัวเมียเราก็เก็บไว้ใช้ทำแม่พันธุ์ ขยายฝูงแต่หากออกมาเป็นตัวผู้เราก็เอาเข้าขุน”

แม่พันธุ์ที่ให้ลูกถี่
เลี้ยงลูกดี มีน้ำนมมาก
“ที่ผมเลือกใช้แม่พันธุ์ลูกผสมสายเลือดไม่สูงมาก เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมสังเกตว่าแม่พันธุ์ที่มีสายเลือดสูงๆ จะให้ลูกห่าง ทำให้เราเสียเวลาคอย” คุณสังวนเล่าต่อ หลักการเลือกวัวมาใช้เป็นแม่พันธุ์ของคุณสังวนน่าสนใจมากครับ “ผมเลือกวัวที่จะเก็บเอาไว้ใช้ทำแม่พันธุ์โดยดูจากการให้ลูกเป็นหลัก ผมไม่ได้เน้นว่าวัวแม่พันธุ์ของผมจะต้องให้ลูกตัวใหญ่ ให้ลูกลักษณะดีเด่นสวยงาม แต่ผมเน้นวัวแม่พันธุ์ที่ให้ลูกถี่ เลี้ยงลูกดี มีน้ำนมมาก วัวแบบนี้จึงน่าจะใช้เป็นแม่พันธุ์ แม่พันธุ์ที่ผมเก็บเอาไว้ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวังให้ลูกได้เข้าขุนแล้วและให้ลูกตัวเมียมาขยายฝูงให้ผมแล้วหลายตัว”

ปลูกหญ้า ทำหญ้าหมัก อย่างง่าย
คุณสังวน สร้างแปลงหญ้าเอาไว้ในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ และกำลังขยายพื้นที่ปลูกออกไปอีกเพื่อรองรับการขยายฝูงแม่พันธุ์

“ผมปลูกหญ้าพันธุ์จัมโบเอาไว้ 1 ไร่ โดยปลูกเป็นแถวยาวประมาณ 40 เมตร ระหว่างแถวห่างกันประมาณ 1.5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 6 แถว”

ในส่วนของหญ้าจัมโบ เป็นหญ้าในกลุ่มหญ้าซอกัม (Sorghum almum) เป็นหญ้าอายุสองปี แหล่งดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เรานำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา เป็นหญ้ากอสูง ต้นสูงประมาณ 1.6 เมตร ลักษณะใบคล้ายต้นอ้อ ชอบที่ดอน ดินสมบูรณ์ ติดเมล็ดดีมาก แต่ไม่ทนต่อการแทะเล็ม หญ้าที่ปลูกเอาไว้ในพื้นที่ 1 ไร่ของคุณสังวนจะนำมาทำเป็นหญ้าหมักโดยคุณสังวนอธิบายวิธีทำหญ้าหมักอย่างง่ายแบบนี้ครับ

นำหญ้ามาหั่นโดยเครื่องสับ ให้มีขนาด 1 – 2 นิ้ว อัดหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติกที่อยู่ในกล่องไม้ที่ทำเป็นแบบ อัดหญ้าให้แน่นโดยใช้เท้าย่ำ
2.เมื่ออัดหญ้าสดเต็มแบบกล่องไม้แล้ว ให้รวบปากถุงถอดแบบออก แล้วใช้เชื่อกฟางรัดปากถุงให้แน่น

3.เก็บไว้ในที่ร่มหลังจากนั้น 21 วัน หญ้าสดจะเปลี่ยนเป็นหญ้าหมัก

คุณสังวน บอกว่า หญ้าที่ปลูกเอาไว้ 1 ไร่ จะสามารถตัดมาทำหญ้าหมักได้ประมาณ 60 ถุงดำ หลังหมักหญ้าจนได้ที่จะสามารถนำมาเลี้ยงวัวที่มีรวม 8 ตัว ได้ประมาณ 8-10 วัน ส่วนวิธีการดูหญ้าหมักที่ดีสังเกตได้จาก มีกลิ่นหอมเปรี้ยว ไม่เน่าเหม็น หญ้าไม่เป็นเมือก ไม่เละ มีสีเขียวอมเหลือง ไม่มีเชื้อรา

ก่อนจาก ฝากถึงมือใหม่
สำหรับใครที่สนใจในการเลี้ยงวัว คุณสังวนมีคำแนะนำฝาก

“ผมคิดว่าราคาวัวในบ้านเราน่าจะดีไปอีกหลายปี เพราะวัวหมดจริงๆ ที่ผ่านมาแม่พันธุ์ก็ถูกนำมาขุน เอามาเชือดจนใกล้จะหมด ผลิตลูกไม่ทัน และเมื่อวัวราคาดีก็จะมีคนหน้าใหม่สนใจในอาชีพนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมจะแนะนำก็คือ คนเลี้ยงวัวจะต้องเป็นคนขยันและมีใจรักจึงจะเลี้ยงวัวได้ตลอดรอดฝั่ง หากเลี้ยงวัวตามกระแสเดี๋ยวเหนื่อยก็จะเบื่อหน่ายเลิกไป นอกจากนั้น เรายังต้องวางแผนการเลี้ยงวัวของเราให้ดี หากใครที่คิดจะทำวัวขุนแนะนำว่าทางที่ดีควรสร้างฝูงวัวแม่พันธุ์ของเราเอง ไม่ต้องรอหาซื้อวัวจากตลาด ทำต้นทุนของเราให้ต่ำเราถึงจะไปรอดได้”

ร่วมกับสถานทูตไทย ช่วยเหลือชาวฟิลิปปินส์ประสบอัคคีภัย

ผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ในหมู่บ้านชาวประมง จังหวัด บาตาอาน ประเทศฟิลิปปินส์

นายสุนทร ตันทนะเทวินทร์ รองประธานกรรมการธุรกิจสัตว์น้ำ พร้อมคณะผู้บริหารและชาวซีพีเอฟ จิตอาสา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร คอร์ปอร์เรชั่น ฟิลิปปินส์ หรือ ซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา ได้จัดทำถุงยังชีพและนำไปมอบให้แก่ ผู้ประสบอัคคีภัยในหมู่บ้านชาวประมงเขตตำบลคาปูนิตัน โดยมี นายโฮเซ่ เอ็นริเกส การ์เซียที่สาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเขตจังหวัดบาตาอาน และ นายอันโทนิโอ เรย์มุนโด จูเนียร์ นายอำเภอโอริออน จังหวัดบาตาอาน เป็นตัวแทนรับมอบเพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยต่อไป

ซีพีเอฟจิตอาสา ได้ร่วมกันบรรจุถุงยังชีพด้วย อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค และของใช้ที่จำเป็น จำนวน 1,020 ชุด โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจาก นาวาอากาศเอก พลวัตร อินทรวิเศษ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศและรักษาการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมะนิลา

“เหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย บ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่ซีพีเอฟมีฐานการผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นสมาชิกของสังคมจึงได้ร่วมส่งสิ่งของเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านเหตุการณ์ครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว” นายสุนทร กล่าว

หมู่บ้านชาวประมงในเขตตำบลคาปูนิตัน อำเภอโอริออน จังหวัดบาตาอาน เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 1,000 คน และสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนกว่า 900 หลังคาเรือน ส่งผลให้ทางการฟิลิปปินส์ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน และอพยพผู้ประสบภัยพักพักอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวที่โรงเรียนการประมงบาตาอาน ในอำเภอโอริออน พร้อมระดมความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนจัดการให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว

เมื่อกล่าวถึง ข. เอย ข. ไข่ …ไข่นับว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และประชาชนทั่วไปมักรู้จักไข่ดีเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง

ไข่ เป็นแหล่งสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในไข่แดงมีสาร Lutein และ Zeaxa เป็นสารจำพวกแคโรทีน จากงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า สารอาหารทั้ง 2 ชนิด สามารถป้องกันการเสื่อมของจอรับภาพที่ตาได้ ในขณะที่ไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ร่างกายสามารถนำไปใช้ทดแทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพได้

เมื่อเทียบคุณค่าสารอาหารระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่แล้ว จะมีส่วนแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ ไข่ไก่จะให้สารอาหารด้านโปรตีน แคลเซียม และเหล็ก แต่ในด้านพลังงานไข่เป็ดจะเป็นแหล่งให้พลังงาน ไขมัน วิตามินบี 1 บี 2 ได้ดีกว่าไข่ไก่

แม้ว่าไข่เป็ดจะมีคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานมากมายเพียงใดแต่คนไทยกลับบริโภคไข่เป็ดน้อยลงนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์คุณสายใจและ คุณเสถียร ตระกูลพรายงาม ผู้ค้าไข่เป็ดระดับกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี

คุณเสถียร เล่าว่า ทางบ้านเลี้ยงเป็ดมานานแล้ว ไม่ต่ำกว่า 50 ปี ทำมาตั้งแต่สมัยเตี่ย เลยยึดอาชีพนี้ทำมาหากิน ในสมัยก่อนไข่เป็ดราคา ฟองละ 50 สตางค์ แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดราคาสูงถึงฟองละ 3.50 บาท ปัจจุบันเลี้ยงเป็ดทั้งหมด 20,000 ตัว เมื่อก่อนเคยใช้หอยโข่งเลี้ยงเป็ด ซื้อมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เขามาส่ง แต่ตอนนี้ใช้หอยโข่งเลี้ยงไม่ไหวแล้ว เพราะประสบปัญหาด้านต้นทุนบวกกับค่าแรงงานที่สูงขึ้น ตอนนี้จึงเปลี่ยนมาใช้หัวอาหารผสมกับปลาป่นแทน เพราะทนแบกรับกับราคาวัตถุดิบไม่ไหวจริงๆ ปัจจุบัน คุณเสถียร ส่งไข่ไปขายในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงอย่าง นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร โดยลูกค้ามารับซื้อด้วยเอง ปริมาณไข่เป็ดของคุณเสถียรเองมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 60% ของที่ส่งขาย นอกนั้นรับจากฟาร์มใกล้บ้าน

เจ้าของ ขายส่งไข่เป็ดครั้งละ 60,000-70,000 ฟอง ต่อการส่งหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังขายเป็ดสาวรุ่นอีกด้วย เรื่องราคา ถ้าพ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อ ราคาไข่เป็ดจะตกอยู่ราวๆ 4-5 บาท/ฟอง แพงกว่าไข่ไก่ 20 สตางค์

คุณเสถียร ยังเล่าให้ฟังต่ออีกว่า ในสมัยที่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาด ที่ฟาร์ม ฝังเป็ดไปทั้งหมด ประมาณ 80,000 ตัว ขาดทุนไปหลายแสนบาท จึงหยุดทำไป 2-3 เดือน ตอนนี้เลี้ยงเป็ดในฟาร์มตัวเอง 40% และเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งอีก 60% ข้อดีของการเลี้ยงเป็ดแบบปล่อยทุ่งคือ เป็ดจะสามารถแทะเล็มหญ้าได้อย่างสบายใจ เป็ดจะอารมณ์ดี ซึ่งเป็ดที่เลี้ยงในระบบปล่อยทุ่งนี้ผลผลิตไข่จะมีวิตามินบี เบต้าแคโรทีนสูง และเนื้อไข่จะมีสีแดงมันวาว เพราะโดยธรรมชาติของเป็ดไม่สามารถเลี้ยงในระบบปิดแบบไก่ได้

สำหรับธุรกิจนี้ คุณเสถียร บอกว่า ได้กำไรไม่มากถ้าลูกค้ารับไปขาย 1,000 ฟอง ก็อยู่ไม่รอด เพราะกำไรตกอยู่ 20-30 สตางค์ข้อดีของไข่เป็ด… ไข่เป็ดจะอยู่ได้นานกว่าไข่ไก่ ประมาณ 10 วัน ไข่ขาวจะแข็งกรอบ ส่วนไข่ไก่หากปล่อยไว้นานจะเละ

ไข่เป็ดให้พลังงานสูงกว่าไข่ไก่ทั้งไขมันและวิตามิน ตลอดจนนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง อีกทั้งไข่เป็ดต้มยังแกะได้ง่ายกว่าไข่ไก่ ไม่ว่าจะนำไปทำพะโล้ ทำไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ซึ่งไข่เค็มไชยา ก็มารับไข่เป็ดจากสุพรรณบุรีไปทำ

สำหรับสาเหตุที่คนไทยนิยมบริโภคไข่ไก่มากกว่าไข่เป็ด คุณเสถียร กล่าวว่า เพราะการทำตลาดและการของโปรโมทของบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งไข่ไก่จะได้ส่วนแบ่งตลาด 90% ส่วนไข่เป็ดจะได้ส่วนแบ่งการตลาดแค่ 10% เท่านั้น สำหรับผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจไข่เป็ด คุณเสถียรให้ข้อคิดว่า แนวโน้มของตลาดไข่เป็ดทั้งปีนี้ไม่ดีนัก คาดว่าจะโตขึ้นอีกครั้งในโอกาสต่อไป ซึ่งตอนนี้มีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมาก อาจส่งปัญหาในด้านการตลาด แต่หากท่านใดสนใจธุรกิจนี้ หรือต้องการเป็นตัวแทนจำหน่ายไข่เป็ดก็สามารถปรึกษาได้ ร้านตั้งอยู่ที่ เลขที่ 282 หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 081-880-7704

เมื่อนึกถึงเรื่องการประกอบอาชีพแล้ว มีให้เลือกอยู่มากมาย งานขายปลาริมถนนของ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ ก็น่าสนใจไม่น้อยเมื่อไม่นานมานี้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสเดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ร่วมพูดคุยกับ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ เจ้าของวาทะเด็ด “อาชีพของเราทำมาค้าขาย ไม่ได้ปล้นได้ฆ่าใคร ไม่จำเป็นต้องอายใคร” เขาเป็นพ่อค้าปลาเค็มข้างทาง ผู้ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต และความยากจน เราไปทำความรู้จักกับพ่อค้าคนนี้กัน

คุณประเชิญ ปัจจุบันอายุ 51 ปี มีบุตรสาว 2 คน เล่าให้ฟังถึงอาชีพขายปลาข้างทางว่า เริ่มทำอาชีพแผงปลามากว่า 20 ปี โดยถูกพ่อตาชักชวน ปลาที่ขายจะเป็นพวกปลาเค็มตากแห้ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน ปลาสลิด

ปลาที่นำมาแปรรูปจะเป็นปลาเลี้ยงรับมาจากฟาร์มที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของปลา โดยปลาช่อนตัวใหญ่ จะขายอยูที่ 180-200 บาท ปลาช่อนตัวเล็ก 150-160 บาท ส่วนปลาสลิด จะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 บาท “ปลาเค็มที่ร้านส่วนมากจะขายหมดเกือบทุกวัน และจะขายดีในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันหยุดยาวหลายวัน” พ่อค้าประเชิญ เล่า

วิธีการในการทำปลาเค็ม คุณประเชิญ เล่าว่า จะใช้ปลา 100 กิโลกรัม ใส่เกลือลงไป 5 กิโลกรัม น้ำตาล 1 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้ 2 คืน นำเข้าช่องแช่แข็ง แล้วค่อยนำมาตากแดด ปกติจะขายปลาได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 กิโลกรัม

ปลาที่นำมาขายจะไม่มีการเน่าเสีย แต่จะมีการสูญเสียน้ำหนักของปลาไปจากลมและสภาพอากาศ ทำให้ปลามีน้ำหนักน้อยลงสูญเสียคุณค่าอาหารและทำให้ลูกค้าเสียเปรียบ แต่ที่ร้านของคุณประเชิญจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแน่นอน เพราะปลาที่ขายไม่เกิน 2 วัน ก็ขายหมด 100 กิโลกรัม ประกอบกับเจ้าของใส่ใจคุณภาพสินค้า

สำหรับเทคนิคขายดี คุณประเชิญ กล่าวว่า หากตื่นแต่เช้าไม่อายทำกินจะขายปลาได้หมดไว โดยเริ่มขายตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 1 ทุ่ม
คุณประเชิญ กล่าวทิ้งท้ายว่า อาชีพขายปลานี้เลี้ยงตัวได้ แต่ต้องมีความอดทนบวกกับความพยายามจึงจะประสบความสำเร็จ ที่ร้านเปิดขายปลาตั้งแต่เช้า

หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากซื้อปลาเค็มไปลองรับประทาน แต่ไปไม่ถูก สามารถติดต่อคุณประเชิญได้ที่ โทร.085-186-2514 ร้านของคุณประเชิญ อยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่บริเวณนั้นเป็นริมถนนสายบางใหญ่, บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ไปจากบางใหญ่อยู่ขวามือ หากมาจากสุพรรณบุรีอยู่ซ้ายมือ

เปิดราชกิจจานุเบกษา เผยเหตุ ทูลกระหม่อม ลาออกจากฐานันดรศักดิ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2515 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 112 ฉบับพิเศษหน้า 1 ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่องลาออกจากฐานันดรศักดิ์

ระบุว่า ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ได้ทรงพระดำริเห็นถ่องแท้ด้วยพระองค์เองแล้วว่า การดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ในฐานะสมเด็จเจ้าฟ้าเป็นกิจพิเศษ กอปรด้วยความรับผิดชอบอย่างสูงหลายด้าน ไม่ทรงสามารถจะปฏิบัติให้สมบูรณ์โดยตลอดได้

จึงขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ และขอรับสนองพระเดชพระคุณในฐานะเป็นสามัญชน ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงขออัญเชิญพระบรมราชโองการมาให้ทราบโดยทั่วกัน

ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ 15 ตำบล 198 หมู่บ้าน เป็นกลุ่มตำบลที่ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยนายช่วย สาสุข อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 12 บ้านโพนละมั่ง ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวมะลิดั้งเดิม ข้าวโสมมาลี และข้าวหอมมะลิ 105 เป็นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค เราดำเนินการตามกระบวนการผลิตที่ถูกต้องปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ (ORGANIC PRODUCT) ของทุ่งกุลาร้องไห้

นายช่วย เล่าว่า ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ เป็นอาหารมีคุณประโยชน์ ด้านวิตามิน และเกลือแร่ ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวที่มีเนื้อเยื่อหุ้มเปลือกสีแดงจารสารแอนโทไชยานิน ใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ป้องกันโรคเกี่ยวกับลำไส้ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด รวมทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ข้าวหอมมะลิสีนิล มีธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพแทสเซียม แคลเชียม และวิตามินหลายชนิด ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการบำรุงสุขภาพ ชะลอการแก่ บำรุงสมอง บำรุงผิว กลุ่มเกษตรกร “บุญช่วยข้าวอินทรีย์” นำมาวางจำหน่ายตามงานหรือทำตามจำนวนที่ท่านต้องการ ราคาถุงละ 70 บาท ขนาดบรรจุ 1 กิโลกรัม

วิธีการหุงข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ให้อร่อย อันดับแรก ตวงข้าวสาร 1 ส่วน : น้ำ 1.5 ส่วน หุงข้าวสุกแล้วอุ่นทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ได้ข้าวสวยที่หอมนุ่ม มีกลิ่นโดยธรรมชาติ

ข้าวกล้อง 3 สี 6 สายพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ของชาวทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวคุณภาพ เพื่อสุขภาพ จังหวัดร้อยเอ็ด สั่งจองกันได้ที่ โทร. 086-128-6819 และ 089-084-6494 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ และส่งขายในตลาดปลาใหญ่ในเขตเมือง

แม้จะมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายฟาร์ม แต่การไม่เอ่ยถึง “มณฑา ฟาร์ม” คงไม่ได้ เพราะเจ้าของฟาร์มปลาสวยงามแห่งนี้ มีดีกรีถึงเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2555 ในสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ

เพราะการเริ่มต้นบุกเบิกสร้างฟาร์มปลาจากเล็กไปใหญ่อย่างมีระบบและได้คุณภาพมาตรฐานฟาร์ม จึงทำให้ มณฑา ฟาร์ม ติดอันดับต้นๆ ของฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามส่งออกรายใหญ่

ชื่อฟาร์มตรงตามชื่อเจ้าของคุณมณฑา สร้อยแสง เจ้าของฟาร์ม เริ่มต้นทำฟาร์มปลาจากประสบการณ์แบบครูพักลักจำในวัย 20 ตอนปลาย หลังหน่ายจากอาชีพสาวโรงงาน และเก็บงำความรู้ที่ได้จากการช่วยพี่สะใภ้ทำฟาร์มปลาสวยงามมานาน

ด้วยเงินเพียง 15,000 บาท ที่ติดลบ เพราะเป็นเงินกู้ที่นำมาเป็นต้นทุนก้อนแรก คุณมณฑา ใช้สร้างล็อกได้ถึง 10 ล็อก และเงินอีกจำนวน 1 ใน 3 หมดไปกับการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงปลา

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลา คุณมณฑาหาซื้อในละแวกไม่ไกลบ้าน เพราะราคาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาในกรุงเทพฯ ราคาสูง เริ่มสะสมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาเพิ่ม จากจำนวนไม่มาก กระทั่งพอมีเงินก้อนก็นำไปซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่ตลาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ให้ได้ตัวที่สวยถูกใจ

“เริ่มเลี้ยงปลาลักเล่ห์ดำอย่างเดียว เพราะเห็นว่าปลาลักเล่ห์ดำซื้อง่ายขายคล่อง หมดก่อนปลาสวยงามพันธุ์อื่น เมื่อฟาร์มเลี้ยงปลาเริ่มอยู่ตัว จึงให้สามีลาออกจากงานมาช่วย และเพิ่มพันธุ์ปลาขึ้นเป็น ปลาทองฮอลันดา ปลาทองเกล็ดแก้ว ปลาทองลูกโป่ง ปลาลักเล่ห์ 5 สี และริวกิ้น เป็นต้น จนถึงปัจจุบันมีบริษัทรับซื้อปลาทองส่งไปขายต่างประเทศเป็นลูกค้าประจำ 9 แห่ง มีแผงค้าส่งและปลีกในตลาดนัดจตุจักร ทำให้ต้องมีลูกฟาร์มอีกหลายแห่งรับปลาเล็กไปเลี้ยงลงบ่อดิน ไม่อย่างนั้นจะผลิตปลาส่งจำหน่ายไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า”

“การทำฟาร์มปลาสวยงาม ไม่ใช่เรื่องยาก” คุณมณฑา บอก

คุณมณฑา อธิบายว่า การจัดโซนเลี้ยงปลามีความสำคัญสำหรับการทำฟาร์ม เพราะช่วยให้การบริหารจัดการง่าย มีระบบ เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วยหรือเป็นโรคก็สามารถรักษาหรือป้องกันไม่ให้ลุกลามไปสู่สัตว์เลี้ยงตัวอื่นในฟาร์ม แม้ว่าพื้นที่เลี้ยงมีจำกัดก็สามารถทำได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการวางผังทุกวันเป็นวันทำงานของ มณฑา ฟาร์ม คุณมณฑาและครอบครัวไม่เคยมีวันหยุด เพราะปลาเจริญเติบโตทุกวัน บริษัทรับซื้อปลาส่งจำหน่ายต่างประเทศสั่งซื้อปลาสลับวัน และแต่ละครั้งของการสั่งซื้อปลาเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000-30,000 ตัว โดยรวมแล้วต่อเดือนมีลูกปลาจำหน่ายออกไปต่างประเทศ ประมาณ 200,000 ตัว ปลาทองฮอลันดา และปลาลักเล่ห์เป็นปลาที่ต่างประเทศต้องการเป็นอันดับต้นๆ

การผสมพันธุ์ทำได้เมื่อปลาอายุ 4 เดือนขึ้นไป ก่อนเพาะควรแยกปลาเพศผู้และเมียออกจากกัน สำรวจดูความพร้อมของเพศเมียโดยกดใต้ท้องเบาๆ หากท้องนุ่ม แสดงว่าพร้อมผสมพันธุ์ ส่วนเพศผู้ให้กดที่ใต้ท้อง หากมีน้ำสีขาวไหลออกมา แสดงว่าพร้อมผสมพันธุ์

บ่อผสมพันธุ์ ต้องเตรียมน้ำก่อนผสม 12 ชั่วโมง นำเชือกฟางฉีกฝอยมัดจุก (ลักษณะคล้ายพู่) ไปวางภายในบ่อและใช้หินทับไว้หลังจากบ่อผสมพันธุ์พร้อม นำปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ อัตราส่วนระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมีย 10:15 ตัว ปล่อยรวมกันในบ่อผสมพันธุ์ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วตักพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกทั้งหมด ให้สังเกตเชือกฟางจะมีไข่ปลาเกาะอยู่

หลังจากนั้น 3-5 วัน ไข่ปลาจะเริ่มเห็นเป็นจุดสีดำที่ไข่ หมายถึง ชีวิตใหม่กำลังจะเริ่มขึ้น

คุณมณฑา แนะว่า การใช้เชือกฟางฉีกฝอยแทนพืชน้ำ เป็นการช่วยลดโอกาสเกิดโรคในปลาได้มาก เพราะรากพืชเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจากไข่ปลาจะเจริญเติบโตเป็นลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุ 4-5 วัน เริ่มให้อาหารได้ โดยอาหารที่เร่งให้ลูกปลาโตเร็วที่สุด คือ ลูกไรเป็น ควรให้ลูกไรเป็นในตอนเช้า วันละครั้ง ส่วนลูกไรตายควรให้ในปลาอายุมาก เพราะปลาเด็กและปลารุ่นจะไม่กินลูกไรตาย และอาจทำให้น้ำเสีย ซึ่งจะยากต่อการเปลี่ยนน้ำในปลาเล็ก

เมื่อลูกปลาอายุ 14 วัน ฟาร์มจะเริ่มคัดปลา โดยดูจากหาง

หางแหลม คล้ายหางปลาทู คัดทิ้ง นำไปขายเป็นปลาเหยื่อหรือปล่อยทิ้งลงคลอง

หางพา ลักษณะหางบานออก นำไปเลี้ยงลงบ่อดิน เพื่อคัดไปจำหน่ายตามขนาดไซซ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรผสมไม่เกิน 10 คอก เพราะลูกปลาที่ได้จะไม่แข็งแรง

ลูกปลาอายุ 45 วัน ให้นำไปเลี้ยงในบ่อดิน ขนาด 200 ตารางเมตร ความลึก 1 เมตร จุลูกปลาได้ 5,000 ตัว“หลังจากนำลูกปลาลงบ่อดิน เริ่มให้อาหารสำเร็จรูปได้ทันที ควรให้อาหารสำเร็จรูปวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ยกเว้นอากาศปิด ไม่ควรให้อาหารปลา เพราะจะทำให้ปลาตาย หลังจากเลี้ยงในบ่อดินได้ 3 เดือน ก็จับส่งขายได้”

คุณมณฑา เล่าว่า การจับปลาจากบ่อดินขึ้นมาคัด เพื่อแพ็กส่งจำหน่าย ใช้เนื้ออวนตาถี่ลาก เมื่อลากถึงฝั่งต้องใช้มือจับปลาขึ้น ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ปลาบอบช้ำ จากนั้นเป็นขั้นตอนของการคัดไซซ์ แยกใส่ถุงแพ็ก ขณะคัดปลาต้องสังเกตลวดลายบนตัวปลา สี และหัวปลา (วุ้น) แยกออกต่างหาก เพราะปลาเหล่านี้จะขายได้ราคาสูงกว่า

แม้ มณฑา ฟาร์ม จะทำงานไม่มีวันหยุด แต่คุณมณฑาก็ไม่ได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เธอบอกว่า เธอมีความสุขกับการเลี้ยงปลาสวยงามจำหน่าย และการนำความรู้ที่มีมาก่อให้เกิดอาชีพ สร้างหลักประกันให้กับครอบครัวปัจจุบัน มณฑา ฟาร์ม มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ แม้จะเป็นอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแบบครอบครัว แต่ก็จัดอยู่ในฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามระดับแนวหน้า ซึ่งหากไม่นัดหมาย คงหาตัวคุณมณฑาได้ยาก

ใครที่ชื่นชอบปลาสวยงามหรือปลาตู้ จะแวะเวียนไปเยี่ยมชมฟาร์มของคุณมณฑาได้ ไม่มีปัญหา แต่ขอให้นัดแนะก่อนล่วงหน้า ที่โทร. 081-763-2487 มณฑา ฟาร์ม เลขที่ 167/2 หมู่ที่ 4 ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นี่เอง

ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะกับ คุณบูรณาการ ตาคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอส่ง ท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้ที่ได้เรียนจบระดับปริญญาถึง 3 สาขา คือ สาธารณสุขศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มีความสามารถในด้านการเป็นวิทยากร พิธีกรในงานต่างๆ และมีประสบการณ์ในการทำงานสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

คุณบูรณาการ หรือ หมอส่ง เล่าให้ฟังว่า จากประสบการณ์ที่ทำงานกับชุมชน ชาวบ้าน และเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวไว้เพื่อจำหน่าย นำเงินที่ได้จากการขายผลผลิตหรือจากการรับจ้างนำไปซื้อพืช ผัก ผลไม้ มาบริโภคในครัวเรือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกษตรกรมีรายได้น้อยอยู่แล้ว และมีภาระค่าใช้จ่ายทั้งในการประกอบอาชีพ การศึกษาของลูกหลาน ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งยังต้องมาใช้จ่ายในเรื่องของการซื้อพืชผักผลไม้อีก ทั้งที่พืชผักผลไม้หลายชนิดเราสามารถปลูกไว้กินเองได้ ไม่ว่าจะปลูกไว้ในบริเวณหัวไร่ปลายนา บริเวณบ้าน ในกระถาง ในยางรถยนต์ ในกระบอกไม้ ฯลฯ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ยอมทำ จึงเป็นที่มาของภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ จึงเกิดเป็นภาระหนี้สิน

คุณบูรณาการ บอกด้วยว่า จากที่เขาเองเป็นลูกหลานเกษตรกร รู้ถึงสภาพปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี เมื่อได้มีโอกาสเรียนถึงระดับปริญญา มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ มีโอกาสเป็นวิทยากรในการอบรมหลายเวที ประกอบกับความชอบอ่านหนังสือเป็นการส่วนตัว โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเกษตร จึงนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับครอบครัว ด้วยการปลูกผักไว้กินในครัวเรือน สร้างเรือนเพาะชำไว้หน้าบ้าน ปลูกผักในกระถาง และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ จึงได้รวบรวมแนวความคิดต่างๆ ส่งเสริมให้เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และเกษตรกร นำไปปรับใช้ในครอบครัว ซึ่งการพูดอย่างเดียวอาจจะไม่พอ จึงต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เห็นได้ชัดเจนด้วย

ที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE” มาจากชื่อของคุณบูรณาการเอง จากเดิมที่ดินใช้ทำนา ซึ่งคุณแม่ได้แบ่งให้กับลูก 6 คน คนละ 1 ไร่ ตัวคุณบูรณาการเป็นลูกคนสุดท้องเพียงคนเดียว ที่ทำงานราชการ แต่มีความเป็นลูกเกษตรในสายเลือด จึงอยากทำเป็นแบบอย่างให้กับบุคคลโดยทั่วไป ในการจัดสรรและสรรค์สร้างที่ดินที่มีเพียง 1 ไร่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยวางแนวทางให้เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเอง ที่ต้องทำงานราชการ ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงานและงานกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุด จึงเป็นที่มาของบ้านสวนเกษตรผสมผสานแบบบูรณาการ “BURANAKARN MODE”