คุณสัญญา เผยถึงต้นทุนการปลูกฟักข้าวว่า เป็นการลงทุน

อย่างค้างที่ใช้ปลูกในช่วงเริ่มแรก อาจใช้ต้นยูคาลิปตัส ที่มีในพื้นที่ หรือต้นไผ่ ครั้นพอมีรายได้ค่อยเปลี่ยนเป็นเสาปูน เพื่อให้เกิดความทนทาน แข็งแรง สามารถต้านทานกระแสลม ทั้งนี้ชาวบ้านมักปลูกกันบ้านละ 1-2 งาน ถ้าคิดเป็นพื้นที่รวมทั้งหมดแล้ว น่าจะมีเนื้อที่ประมาณ 100 กว่าไร่ โดยเฉพาะตอนนี้ได้รับความสนใจมาก มีการขยายพื้นที่ปลูกไปยังหลายอำเภอ หลายหมู่บ้านในจังหวัดสุรินทร์

กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปฟักข้าวบ้านตาเดาะ มีรายได้จากฟักข้าว 2 ด้าน คือ การขายเยื่อฟักข้าวแช่แข็งทั้งภายในและต่างประเทศ อีกด้านคือ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์แปรรูป อันได้แก่ น้ำฟักข้าวพร้อมดื่ม น้ำฟักข้าวเข้มข้น สบู่ฟักข้าว และเค้กฟักข้าว

คุณสุพจน์ ภูมิสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มแปรรูปฟักข้าว ได้กล่าวว่า กลุ่มนี้เป็นสมาชิกเครือข่าย Young Smart Farmer ของจังหวัดสุรินทร์ ถือเป็นคนรุ่นใหม่ มีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจ มุ่งมั่น จนประสบความสำเร็จดีมาก กระทั่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มอื่น

ความจริงแล้วชาวบ้านมีการปลูกฟักข้าวกันมายาวนานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการจัดรูปแบบที่ชัดเจน ภายหลังเมื่อนำเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง และมีการพัฒนาจนได้มาตรฐานก็เริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนในเรื่องตัวผลิตภัณฑ์และรายได้ อีกทั้งการปลูกฟักข้าวยังได้เปรียบกว่าแหล่งอื่น เพราะสามารถได้ผลผลิตตลอดทั้งปี ต่างจากที่อื่นที่ต้องหยุดในบางช่วง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาล

เจ้าหน้าที่เกษตรฯ ชี้ว่า นอกจากการได้เปรียบทางธรรมชาติแล้ว กลุ่มนี้ยังวางแผนการผลิตได้ตรงจุดตามความต้องการที่หลากหลายของตลาด เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการต่างกัน บางรายต้องการเยื่อไปเป็นส่วนผสมในสินค้าบางชนิด หรือบางรายต้องการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และบางรายอาจต้องการนำไปแปรรูปเป็นอาหาร/เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม เพื่อยืนยันว่าการปลูกฟักข้าวทำให้ชาวบ้านมีความสุข จากรายได้ที่เกิดขึ้น จึงได้ลงพื้นที่ไปพบกับคุณสวิง เติมสุข เจ้าของสวนฟักข้าว

คุณสวิง บอกว่า ปลูกฟักข้าวมาได้สัก 3 ปี ใช้พื้นที่ปลูก 1 ไร่ มีอาชีพหลัก คือ ปลูกข้าว ส่วนฟักข้าวที่ปลูกเป็นรายได้เสริม แต่ที่ผ่านมามีรายได้ดีมาก ปีละเกือบแสนบาท จนคิดว่าน่าจะเป็นรายได้หลักไปแล้ว

คุณสวิงเล่าให้ฟังว่าจำนวนผลฟักข้าวที่เก็บส่งเข้ากลุ่มใน 1 สัปดาห์ มี 3 ครั้ง ได้จำนวนกว่า 100 กิโลกรัม ฟักข้าวมีผลผลิตตลอด เก็บได้ทุกวัน นอกจากนั้น ยังระบุว่า ฟักข้าว เป็นพืชที่ปลูกไม่ยาก เพราะที่ผ่านมาปุ๋ยไม่เคยใช้เลย ปลูกแบบธรรมชาติ เพียงแค่ใช้น้ำหมัก และปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง จะใส่กระป๋องผสมน้ำราดที่ต้น

แล้วบอกต่ออีกว่า การปลูกฟักข้าวใช้ต้นทุนน้อย อีกทั้งยังเพาะเมล็ดต้นพันธุ์เอง เสาค้างที่ปลูกเดิมใช้ไม้ยูคาลิปตัส แต่ไม่ทน ต่อมาเมื่อสะสมรายได้จำนวนหนึ่งจึงเปลี่ยนมาเป็นเสาปูนแทน เพราะต้องการให้ทนทาน แข็งแรง สามารถใช้ได้นาน

ท่านที่สนใจแล้วมีบริเวณพื้นที่ในบ้านไม่มาก อาจปลูกไว้สัก 1-2 ต้น เพื่อเก็บผลผลิตมาไว้รับประทานกันในครอบครัว เพราะสามารถรับประทานได้ทั้งยอดและใบ นับเป็นพืชสมุนไพรชั้นยอด หรืออาจปลูกในกระถางเป็นร่มเงาได้ ดัดแปลงเป็นโรงจอดรถที่ปกคลุมด้วยต้นฟักข้าวได้ หรืออาจปลูกเป็นซุ้มเพื่อนั่งพักผ่อน พอมีผลฟักข้าวเกิดขึ้นก็ช่วยกันเก็บ ถือเป็นความสุขทางใจได้อีกด้ว

สนใจผลิตภัณฑ์ ฟักข้าว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปฟักข้าวบ้านตาเดาะ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (091) 862-8262, (087) 481-2527, (090) 836-8657

ในวงการเกษตรไส้เดือนถือเป็นสัตว์ที่ทำประโยชน์ให้มากมาย การคืบคลานชอนไชในดินของสัตว์ชนิดนี้ช่วยทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำและอากาศดี ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดินทำให้รากพืชหาอาหารได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้นไส้เดือนยังเหมือนเครื่องชี้วัดสารเคมีในดิน เพราะถ้าดินบริเวณนั้นมีสารเคมีตกค้าง จะไม่พบไส้เดือนสักตัว อาจกล่าวได้ว่าบริเวณใดมีไส้เดือน บริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์

สำหรับนักตกปลาแล้วไส้เดือนถือเป็นอาหารอันโอชะของบรรดาปลาทุกชนิด อีกทั้งยังพบว่าในตัวไส้เดือนมีปริมาณเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่สูงมากหากนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ จะช่วยลดค่าใช้จ่าย ถ้าใช้ไส้เดือนเป็นอาหารแก่นกแข่งเสียงแล้วจะทำให้มีเสียงไพเราะ มีขนสวย หรือถ้านำไปเลี้ยงหมูแล้วพบว่าคุณหมูทั้งหลายจะมีการผสมพันธุ์ที่ดี ไม่เพียงเท่านั้นมูลไส้เดือนยังเกิดประโยชน์ต่อวงการเกษตรด้วย

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงจึงเกิดมีอาชีพเพาะ-เลี้ยงไส้เดือนขึ้นเพราะต้องการนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ และนำมาใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอาหาร เช่น เศษผัก ผลไม้หรือมูลสัตว์ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์

“ฟาร์มไส้เดือนเดช” ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 11 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มี คุณตุลย์เดช เผดิมชิต หรือ คุณเดช เป็นเจ้าของ

เจ้าของฟาร์ม บอกว่า การเลี้ยงไส้เดือนมี 2 แบบ คือถ้าเลี้ยงแบบขนาดเล็กเพื่อใช้เองในวงจำกัดมักใช้ขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้ เช่น ผัก ผลไม้ เป็นอาหารไส้เดือนแล้วผสมใบไม้แห้ง หรือถ้าเลี้ยงในเชิงการค้าต้องทำให้เป็นระบบมาตรฐาน ซึ่งมักใช้มูลสัตว์เลี้ยงอย่างเดียว

คุณเดช เรียนจบปริญญาตรีทางด้านการโรงแรมและท่องเที่ยวจากประเทศออสเตรเลีย หลังจากเรียนจบกลับมาทำงานที่เมืองไทยสักพัก แต่ต้องไปช่วยธุรกิจโรงพิมพ์ที่บ้าน ขณะเดียวกัน จะใช้เวลาว่างปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ แล้วทดลองเพาะต้นกล้าจนประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดกำลังใจขยายต่อยอดออกไปอีกจำนวนมาก และทำเช่นนี้อยู่ 5 ปี เห็นว่าทำอย่างไรถึงจะสร้างคุณภาพพืชที่ปลูกอยู่ให้มีความสวยงามมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะเดียวกัน ในช่วงนั้นทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้เปิดอบรมการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ยขึ้นจึงไปเข้าอบรม หลังจากอบรมเสร็จได้ทดลองเลี้ยงไส้เดือนจำนวนหนึ่งแต่ไม่สำเร็จดีเท่าไรนัก จึงพยายามค้นคว้าเพิ่มเติมแล้วทำใหม่อีกกระทั่งเกิดความชำนาญสามารถจับแนวทางได้ จึงพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนทำได้สำเร็จอย่างถูกต้อง

เหตุผลที่คุณเดชสนใจการเลี้ยงไส้เดือนเพราะต้องการนำมูลมาใช้เป็นปุ๋ยให้แก่ไม้ดอก ไม้ประดับที่เขาปลูกให้มีความงอกงาม เจริญเติบโตแข็งแรง อีกทั้งเมื่อนำมาใช้กับการตอนกิ่ง การปักชำ จะช่วยทำให้ออกดอกเร็ว ดอกมีขนาดใหญ่ แข็งแรง

“แต่ภายหลังจำนวนไส้เดือนเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว พร้อมกับมูลที่เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน พอเป็นเช่นนั้นจึงมองเห็นลู่ทางธุรกิจด้วยการเพาะพันธุ์ไส้เดือนขาย พร้อมกับแปรรูปมูลไส้เดือนเป็นปุ๋ย”

ไส้เดือนที่คุณเดชใช้เป็นพันธุ์แอฟริกัน เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดเพราะมีคุณสมบัติโตเร็ว ขยายพันธุ์เร็ว มีขนาดใหญ่ เจ้าของฟาร์มชี้ว่าไส้เดือนของไทยก็มีคือ พันธุ์ขี้ตาแร่ มักมีจำนวนมากในจังหวัดแถบภาคเหนือ และไม่ค่อยพบในภาคกลาง กับอีกพันธุ์ในบ้านเราคือ สายพันธุ์สีน้ำเงิน แต่ไม่แพร่หลายเพราะมีขนาดเล็กเกินไป

ดังนั้น ในปัจจุบันธุรกิจของคุณเดชคือการทำฟาร์มไส้เดือน ซึ่งได้แก่ การขายพันธุ์ไส้เดือนแอฟริกัน กับการขายปุ๋ยมูลไส้เดือน นอกจากนั้น มีธุรกิจคู่ขนานคือการเพาะกล้าพันธุ์ไม้ในกลุ่มที่ใช้สำหรับจัดสวนหลายชนิด การเลี้ยงเพื่อขายพันธุ์

เจ้าของฟาร์มไส้เดือนให้รายละเอียดขั้นตอนการเพาะ-ขยายพันธุ์ว่า ควรเลือกสถานที่ให้เหมาะสม ซึ่งควรเป็นสถานที่ที่มีร่มเงาทั้งวัน มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อบอ้าว และมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-30 องศา จากนั้นจัดเตรียมภาชนะสำหรับเลี้ยง ซึ่งสามารถเลือกใช้วัสดุเลี้ยงได้หลายชนิดตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกะละมังพลาสติกที่ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร หรือในวงบ่อซีเมนต์ กระสอบปุ๋ย หรือแม้แต่ในกระถางมังกร

ให้เตรียมวัสดุที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ มูลสัตว์ อย่างมูลวัว แพะ กระต่าย ช้าง แต่ในกรณีที่เป็นมูลสัตว์ปีกควรปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นก่อน ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานจึงไม่ค่อยนิยม สำหรับสัดส่วนที่ผสมให้ใช้มูลสัตว์ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ กับใช้ดินผสมใบไม้แห้งหรือฟางหรือหญ้าแห้งประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ ดินที่ใช้ควรเป็นดินชีวภาพหรือดินอินทรีย์ ไม่ควรใช้ดินที่มีส่วนผสมของสารเคมี และอาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนอาจเป็นขยะอินทรีย์ อย่างผัก ผลไม้ นำมาฝังกลบให้เป็นอาหารของไส้เดือน

อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเลี้ยงไส้เดือนเชิงธุรกิจขนาดใหญ่มักใช้มูลสัตว์เป็นหลักอย่างเดียว ใช้มูลวัวนมที่ผสมกับขุยมะพร้าวหรืออาจใช้มูลวัวนมล้วน โดยมีวิธีทำคือนำมูลวัวมาทุบหรือป่นให้ละเอียด แล้วจึงนำไปใส่ในภาชนะอย่างกะละมังหรือวงซีเมนต์ จากนั้นรดน้ำเพื่อให้คลายความร้อน ให้รดทุกวัน วันละ 1 ครั้ง

ทิ้งไว้สัก 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขณะรดน้ำจะมีน้ำที่ผ่านมูลวัวไหลออกมาให้จัดหาภาชนะมารองเพื่อนำน้ำมูลวัวไปใช้รดต้นไม้ได้ ให้ลองใช้นิ้วจุ่มลงดินดูว่าเย็นหรือยัง ถ้าเย็นแล้วจึงค่อยปล่อยพันธุ์ไส้เดือนโดยมีอัตราการปล่อยพันธุ์ในกรณีที่มีพื้นที่สัก 1 ตารางเมตร ให้ปล่อยไส้เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นมือใหม่อาจน้อยกว่าก็ได้ประมาณครึ่งกิโลกรัม เพราะจะช่วยให้เลี้ยงง่าย แล้วค่อยปล่อยให้ไส้เดือนขยายพันธุ์เอง

ภายหลังปล่อยไส้เดือนลงในภาชนะเลี้ยงแล้วโดยธรรมชาติมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ไส้เดือนคุ้นเคยกับวัสดุเลี้ยงเสียก่อน จากนั้นไส้เดือนจะผสมพันธุ์กัน แล้วออกไข่ทุกสัปดาห์ละ 3 ฟอง ต่อตัว และในไข่ 1 ฟอง สามารถให้ลูกเฉลี่ย 2 ตัว สำหรับพันธุ์แอฟริกัน ทั้งนี้ ไข่ไส้เดือนจะมีทุกสัปดาห์

พันธุ์ไส้เดือนที่มีขนาดเล็กจะถูกเลี้ยงไปในระยะเวลาประมาณ 1 ถึง 1 เดือนครึ่ง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการจำหน่าย โดยไส้เดือนจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-6 นิ้ว มีขนาดใหญ่ประมาณดินสอ ทั้งนี้ วิธีการขายจะกำหนดเป็นตัวหรือเป็นน้ำหนักแล้วแต่การตกลงกัน ขายครึ่งกิโลกรัมในราคา 400 บาท และ 1 กิโลกรัม ราคา 800 บาท

ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีโปรตีนสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ มักนิยมนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงหลายชนิด โดยสัตว์ที่กินไส้เดือนเป็นอาหารจะมีสุขภาพแข็งแรง มีขนาดใหญ่ มีสีขนสวย นอกจากนั้น ถ้านำไปใช้เลี้ยงหมูจะพบว่าจะช่วยในเรื่องการผสมพันธุ์หมูได้อย่างดี

ในกรณีที่ลูกค้าอยู่ไกลแล้วต้องการให้จัดส่ง จะส่งเป็นไข่ไส้เดือนเป็นชุด ใน 1 ชุด มีจำนวนไข่ 150 ฟองไปให้ ซึ่งระหว่างเดินทางอาจมีการฟักตัว เหตุผลที่ต้องส่งเป็นไข่ไส้เดือนเพราะมิเช่นนั้นไส้เดือนอาจตายได้ระหว่างเดินทาง ทั้งนี้ มียอดการสั่งซื้อไส้เดือนในทุกสัปดาห์ โดยสัปดาห์ละ 3-4 ชุด โดยลูกค้าที่ซื้อมักนำไปเลี้ยงเพื่อทำปุ๋ยมูลไส้เดือน

ใครที่สนใจต้องการทำเป็นรายได้เสริมหรืองานอดิเรก คุณเดช แนะว่า ควรใช้พื้นที่เล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้างบ้านหรือระเบียงบ้านก็ได้ หรืออาจดัดแปลงชั้นวางของที่เป็นลิ้นชักใช้เลี้ยงไส้เดือนได้

สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนก็เป็นอาหารที่เหลือจากการกินประจำวัน ทั้งนี้ ถ้าเป็นกรณีของชาวสวน ชาวไร่ที่เลี้ยงตามต่างจังหวัดสามารถนำพืชผักที่เสียหายจากการเพาะปลูกนำมาใช้เป็นอาหารไส้เดือนได้ แต่เน้นว่าต้องฝังกลบในดินเพื่อป้องกันสัตว์อื่นมากิน

ระยะเวลาการให้อาหารไส้เดือนควรพิจารณาในทุก 7 วัน ว่าอาหารหมดหรือยังด้วยการใช้วิธีเขี่ยดู ถ้าอาหารหมดสามารถเติมลงไปได้ในจำนวนที่ไม่มาก และควรกระจายอาหารให้เป็นบริเวณกว้าง ไม่ควรให้เป็นกลุ่มหรือกระจุก สิ่งที่ไม่ควรนำมาเป็นอาหารไส้เดือนคือสิ่งที่มีรสเผ็ดร้อน หรือมีกลิ่นฉุน หรือรสเปรี้ยว

“ผู้เลี้ยงท่านใดที่คิดในเชิงการค้าควรเลี้ยงให้มีความชำนาญเสียก่อน แล้วเมื่อมั่นใจจึงลงทุนซื้อหาวัสดุมาเลี้ยง ที่สำคัญควรหาตลาดไว้ก่อนเพราะเมื่อไส้เดือนมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็วมาก”

การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน

หลังจากไส้เดือนกินอาหารหมดแล้ว (จากการสังเกตด้วยตาเปล่า) ก็จะเหลือเฉพาะมูลที่ถ่ายไว้เท่านั้น ให้แยกไส้เดือนออกมาจากภาชนะเลี้ยง (ไส้เดือนที่แยกสามารถนำไปเลี้ยงต่อ) แล้วนำมูลไส้เดือนไปตากแห้งสัก 2 วัน เพื่อให้สะดวกต่อการร่อนในตะแกรง เมื่อร่อนเสร็จจึงได้มูลไส้เดือนล้วนก็สามารถนำมาใส่ในต้นไม้หรือพืชต่างๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการทำขายด้วยการแพ็กใส่ถุงต้องให้ตากแดดต่อไปอีกสัก 1 สัปดาห์ หลังจากร่อนแล้วจึงนำไปแพ็กใส่ถุงสุญญากาศ

คุณเดช ระบุว่า มูลสัตว์จำนวน 100 กิโลกรัม จะได้มูลไส้เดือนจำนวน 70 กิโลกรัม ถึงแม้น้ำหนักจะลดลง แต่ได้ตัวไส้เดือนเพิ่มมากขึ้นแทน เพราะเพียง 1 เดือน ตัวไส้เดือนเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่า ยิ่งถ้าเลี้ยงนานถึง 2 เดือน โดยสภาพการเลี้ยงยังสมบูรณ์จะได้ตัวไส้เดือนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

นอกจากปุ๋ยมูลไส้เดือนแบบตากแห้งแล้ว น้ำมูลไส้เดือน ซึ่งเป็นน้ำที่ไหลออกมาจากภาชนะที่ใช้เลี้ยง นิยมใช้ฉีดพ่นทางใบหรือต้น โดยน้ำมูลไส้เดือนนี้จะต้องนำไปผสมกับน้ำเปล่าในอัตรา 1 ต่อ 50 หรืออีกวิธีอาจใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ตากแดดแล้วมาผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 10 แล้วทิ้งไว้สัก 1 สัปดาห์ จึงค่อยนำมาใช้

“วิธีหลังนี้จะได้ประโยชน์มาก เนื่องจากมาจากมูลไส้เดือนล้วน ทั้งนี้ ประโยชน์ของน้ำมูลไส้เดือนมักใช้ฉีดพ่นทางใบและต้นเช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดอกได้ผลอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชได้ด้วย”

การขายปุ๋ยมูลไส้เดือน โดยจะขายให้แก่เกษตรกรที่ทำสวนเกษตรหรือปลูกต้นไม้ดอก ไม้ประดับ เพราะจะช่วยให้ไม้เหล่านั้นเจริญเติบโต แข็งแรง ให้ดอกสวยงาม มีผลขนาดใหญ่ อีกทั้งถ้าเป็นไม้ผลจะช่วยเพิ่มความหวานด้วย “ธุรกิจไส้เดือนสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลายอย่าง ขณะเดียวกัน ยังสามารถผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนไปพร้อมกันอีก จึงถือเป็นการลงทุนที่ใช้เงินน้อย แต่นำไปต่อยอดได้มากมายในรายได้ที่เพิ่มมาก ทั้งยังไม่จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด”

สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณเดช โทรศัพท์ (081) 792-8277, (081) 147-8255 หรือ http://wormhut19.blogspot.com/ อากาศร้อนชื้นและมีฝนตกบางพื้นที่ อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกดาวเรือง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองเฝ้าระวังการระบาดของโรคดอกเน่า มักพบได้ในระยะติดดอกดาวเรือง โดยจะพบแสดงอาการเริ่มแรกที่กลีบดอกมีลักษณะฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจากปลายกลีบดอกไปหาโคนดอก จากนั้นจะเน่าลุกลามเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทั่วทั้งดอก ทำให้ดอกดาวเรืองเสียคุณภาพ หากเชื้อราเข้าทำลายในระยะดอกตูม ดอกจะไม่สามารถบานได้ กรณีเชื้อราเข้าทำลายรุนแรงในระยะที่ดอกบานแล้ว เชื้อราจะขยายลุกลามไปสู่ต้น ทำให้ต้นเน่าและยืนต้นตายในที่สุด

สำหรับในสภาพที่มีฝนตกชุกและอากาศมีความชื้นสูง ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากเริ่มพบอาการของโรคที่ดอก ให้เกษตรกรตัดดอกที่เป็นโรคหรือตัดส่วนที่เป็นโรคไปทำลายหรือฝังดินนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรค อีกทั้งควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งใบแก่ออก เพื่อให้ต้นโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งถือเป็นการลดความชื้นในดิน ทำให้ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค

กรณีที่พบโรคดอกเน่ายังคงระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้พ่นทุก 5-7 วัน

การสูญเสียชีวิตพะยูนมาเรียม จากขยะพลาสติก เป็นเรื่องสะเทือนใจคนไทยจำนวนมาก เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวในทุกภาคส่วน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการแถลงข่าว เรื่อง “พะยูนมาเรียม”, “ทะเลไทย” ต้อง “ไร้ขยะ”

ผู้ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ประกอบด้วย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงาน วช. รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย ทะเลไทยไร้ขยะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม วช.

ซึ่งสาระสำคัญของการแถลงข่าวในครัั้งนี้ มุ่งสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างครบวงจร ทังในเชิงนโยบายและปฏิบัติ บนฐานการวิจัยที่พร้อมใช้งาน และสามารถปรับไปตามสภาพปัญหาและพื้นที่ โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องและจริงใจของทุกภาคส่วน

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่าสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน จึงเป็นหน่วยงานกลางที่ประสาน เชื่อมโยงทุกภาคส่วนมาทำงานร่วมกันบนฐานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการลดปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติกในทะเล จากปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น วช. ได้ชูประเด็นในการแก้ปัญหาดังกล่าวผ่านการวิจัยและพัฒนาซึ่งต้องดำเนินการใน 5 ประเด็นหลัก คือ

1. ผู้ผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพลาสติกต้องผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการจัดการขยะและการนำกลับไปใช้ใหม่ สามารถตรวจสอบเส้นทางวงจรผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิตถึงวาระสุดท้ายของพลาสติก โดยร่วมมือกับภาคเอกชนที่ผลิตเม็ดพลาสติก ในปีนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ศึกษาแล้วมากกว่า 15 ผลิตภัณฑ์ รวมถึง บรรจุภัณฑ์ หลอด วัสดุก่อสร้าง วัสดุประกอบอาคาร และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

2.ชุมชนในพื้นที่ทุกจังหวัดที่ติดทะเล จะต้องรู้วิธีจัดการขยะพลาสติกได้ด้วยตนเองและเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ได้ดำเนินการใน 23 จังหวัด ในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน อาทิ ชายหาดบางแสน แสมสาร เกาะหลีเป๊ะ และเกาะภูเก็ต

3. ต้องมีกระบวนการเก็บและจัดการขยะในทะเลอย่างเป็นระบบในทุกพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่และชุมชน และรู้ตัวเลขขยะพลาสติกในทะเลที่ยังตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายลดปริมาณขยะในพื้นที่ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ภายในปีที่หนึ่ง และเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ในปีถัดไป

4. นำขยะพลาสติกมารีไซเคิลโดยไม่เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ โดยเฉพาะการตกค้างในสัตว์ทะเลและสิ่งมีชีวิต5. ลดการตกค้างของไมโครพลาสติกที่ตกค้างในทะเลและสิ่งมีชีวิตบนฐานจากการวิจัยที่สามารถเทียบมาตรฐานกับนานาชาติได้

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ 5 ประเด็น ดังกล่าวได้บรรจุไว้ในโครงการ ทะเลไทยไร้ขยะ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย โดยเริ่มการวิจัยมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ภายใต้โครงการวิจัยท้าทายไทยที่เน้นการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนในพื้นที่ มีการประยุกต์องค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้แก้ปัญหาจริงอย่างครบวงจรและยั่งยืน

ทั้งนี้ วช. เป็นผู้กำหนดหัวข้อวิจัยและให้การสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งมีแผนงานในภาพรวมประกอบด้วย การจัดการพลาสติกอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตในระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตในภาคเอกชนในการวางระบบติดตามผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิตเม็ดพลาสติกจนถึงปลายทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตผลิตภัณฑ์ การนำไปใช้ และการกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อกำจัดปัญหาขยะที่ทิ้งสู่ทะเลจากบนบกในระยะยาวและเป็นการกำจัดปัญหาขยะทะเลจากต้นทาง

องค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวตามมาในภายหลัง โดยการทำงานร่วมกับผู้ผลิตและภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและเชิงสังคม รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์จากขยะพลาสติก และรีไซเคิลพลาสติกที่การกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการนำมาใช้งานและกำจัด การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่เพื่อร่วมกันผลักดันนโยบายและสร้างความตระหนักรวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผ่านระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเพื่อจัดการขยะทะเลตกค้างที่มีขนาดใหญ่จนถึงไมโครพลาสติก โดยการทำงานร่วมกับ ภาคประชาสังคมในพื้นที่และหน่วยงานระดับท้องถิ่นเพื่อลดและป้องกันปัญหาขยะตกค้างอย่างยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและเชิงสังคม รวมถึงการสร้างเครือข่าย “นักรักทะเลไทย” เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมผ่านสื่อหลากหลายรวมถึงสื่อสังคมออนไลน์และกิจกรรมต่าง ๆ การนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมขยะตกค้าง การกำหนดมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ไมโครพลาสติก เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบของขยะพลาสติกตกค้างในทะเลในระยะยาวอย่างยั่งยืน

“ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถลดการสูญเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากขยะพลาสติก และสัตว์ทะเลจะได้รับการป้องกันจากอันตรายและผลกระทบจากขยะทะเลในระยะยาว” ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ กล่าวในที่สุด

โรงเรียนบ้านท่าส้ม อ.กันตัง จ.ตรัง ผุดไอเดียปลูกดาวเรืองตัดดอกขาย นำเงินรายได้มาแบ่งปันให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ป้องกันปัญหานักเรียนชั้นประถมลาออกกลางคัน และยังฝึกให้มีความรับผิดชอบ อดทน สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า นายวิเพลิน ชุมพล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าส้ม ต.บ่อน้ำร้อน อ.กันตัง จ.ตรัง ผุดไอเดียปลูกต้นดาวเรืองเพื่อตัดดอกขาย สร้างรายได้เข้าโรงเรียน และส่วนหนึ่งมอบให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 10 คน ๆ ละ 40 บาทต่อสัปดาห์ หลังมีโครงการออกเยี่ยมบ้านของนักเรียนแล้วพบว่า นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีฐานะยากจน ทำให้ขาดเรียนบ่อย และมีหลายรายต้องลาออกกลางคันเพราะไม่มีเงินเป็นค่ารถมาโรงเรียน จึงปรึกษากับคุณครูในโรงเรียนจัดทำโครงการปลูกดอกดาวเรืองขึ้น โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนทั่วไปตั้งแต่ชั้น ป.4-ป.6 ให้ความสนใจหันมาช่วยกันรดน้ำ บำรุงดิน กำจัดวัชพืชและแมลงต่าง ๆ เกินเป้าหมายที่กำหนด

ซึ่งดอกดาวเรืองที่ปลูกซื้อพันธุ์มาจากจ.สระบุรีเป็นพันธุ์ดอกใหญ่ โดยเริ่มปลูกมาตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาจำนวน 500 ต้น ใช้เวลาปลูก 45-50 วันเริ่มตัดดอกขายได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 450-500 ดอกราคาดอกละตั้งแต่ 80 สตางค์ถึง 1.80 บาท โดยมีพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสั่งจองทั้งหมด ทำให้นักเรียนมีรายได้ ไม่ขาดเรียนและขยันลงแปลงปลูก ซึ่งนอกจากจะได้ชมความสวยงามของดอกดาวเรืองแล้ว ยังสร้างความรับผิดชอบและความรักความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องระดับประถมศึกษาได้อีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปลูกที่บ้านหรือเป็นอาชีพเสริมต่อไปในอนาคต โดยทางโรงเรียนฯ ได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 2,000 ต้นเพื่อแบ่งปันรายได้ให้นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้อย่างทั่วถึง

ด้านนายวิเพลิน ชุมพล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าส้มกล่าวว่าทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหานักเรียนยากจนและมีความเสี่ยงต่อการลาออกกลางคัน เพื่อช่วยเหลือให้มาโรงเรียนทุกวัน โดยตัดดอกได้อาทิตย์ละ 400-500 ดอกแบ่งให้นักเรียนอาทิตย์ละ 40 บาทเพื่อเป็นค่าขนมในช่วงที่มาโรงเรียน ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับคือทักษะการประกอบอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพแทนการทำสวนยางหรือปาล์มน้ำมันในอนาคต โดยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกทดแทนได้ นอกเหนือจากนี้คือเด็กจะมีนิสัยความรับผิดชอบติดตัวไปด้วย

กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ คุณบุญมี แท่นงาม เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ ถึงสถานการณ์ทางด้านการเกษตรภายในจังหวัด จากบทสัมภาษณ์มีความน่าสนใจไม่น้อย ลองติดตามดู

นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของภาคกลางหรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ทางตอนล่างของภาคเหนือ ซึ่งถ้าเป็นภาคส่งเสริมการเกษตรนี้จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าอยู่ภาคเหนือแต่ถ้าเป็นของกรมอุตุนิยมวิทยาจะอยู่ภาคกลาง สรุปแล้วคือเป็นจังหวัดภาคกลางติดต่อทางเหนือ

นครสวรรค์ทำนา 2.3 ล้านไร่แต่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน

คุณบุญมี เล่าว่า จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ มีพืชเศรษฐกิจหลักอยู่ 3-4 ชนิดด้วยกัน พืชตัวแรกคือ “ข้าวนาปี” โดยนครสวรรค์มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมด 2.3 ล้านไร่ โดยเฉพาะในปีนี้ในช่วงนี้อยู่ในช่วงฤดูกาลทำนา เกษตรกรทำนาไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ ตกอยู่ประมาณ 2 ล้านไร่ ก็จะเหลืออีกบางส่วนนิดหน่อย ทีนี้พื้นที่ทำนาทั้งหมด 2.3 ล้านไร่นี้เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานจริงๆ ประมาณ 4 แสนไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ที่ใช้น้ำฝนอย่างเดียวในการทำนา ฉะนั้น เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ชลประทานกับพื้นที่ทำนาโดยอาศัยน้ำฝน…อาศัยน้ำฝนจะมากกว่า

สถานการณ์ในการทำนาปีนี้โดยเฉพาะในเขตชลประทานจะมีปัญหาในเรื่องการบริการ ในเรื่องน้ำของทางชลประทาน น้ำไม่เพียงพอต่อการทำนาของเกษตรกร ซึ่งถามว่าเป็นวิกฤตหรือยังในการทำเขตพื้นที่ชลประทาน ก็ตอบว่ายังคงสามารถที่จะจุนเจือเกษตรกรได้อยู่ สามารถช่วยเกษตรในการทำนาได้ ส่วนนอกเขตชลประทานซึ่งมีพื้นที่ค่อนข้างมาก ปัจจุบันปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอต่อการทำนา นาข้าวยังคงต้องการน้ำฝนอยู่ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงตามที่เราติดตามพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาในปี 2562 ฤดูกาลผลิตการทำนาปีนี้กรม

อุตุนิยมวิทยาบอกว่าจะแล้ง ตั้งแต่กรกฎาคมอาจจะถึงสิงหาคม ฉะนั้น เมื่อแล้งถึงสิงหาคมเป็นวิกฤต เกษตรกรจะลำบากกว่านี้ เพราะถ้าแล้งไป 2 เดือนนี้ ผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรโดยตรงเลย คือข้าวขาดน้ำ การเจริญเติบโตของข้าวก็จะมีปัญหาและในพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้ทำนา

ผู้ซื้อขายรายใหญ่ในตลาดริมปิงประกอบอาชีพรับซื้อ

และขายมะระมานานกว่า 10 ปีแล้ว ถือว่าเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ สาเหตุที่เจ๊มารับซื้อมะระ แทนที่จะซื้อทุเรียน เพราะจังหวัดนครสวรรค์และบริเวณใกล้เคียง ปลูกมะระกันมาก

“วันหนึ่งรับซื้อราว 1,000 ถุง…ถุงหนึ่งมี 5 กิโลกรัม ที่มาของมะระมาจากนครสวรรค์ รวมทั้งรอยต่อใกล้เคียงจังหวัดนี้ อย่างพิจิตร อุทัยธานี ซื้อแล้วนำไปส่งที่ตลาดสี่มุมเมือง เช้ารับของมาเย็นก็ส่ง จะไม่ปล่อยค้างคืน ซื้อขายวันต่อวัน” เจ๊ทุเรียน บอก

เมื่อก่อน ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดไม่มากนัก แต่ทุกวันนี้เจ๊ทุเรียนบอกว่า ปริมาณมีมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นเพราะมะระจีนปลูกง่าย คนนิยมกินกัน

“มะระทำกินได้หลายอย่าง ผัดไข่ ตุ๋น แกง…รายใหญ่มีฉันแล้วก็เจ๊นึก ขายกันวันหนึ่งเป็นรถสิบล้อ รายอื่นซื้อน้อยกว่า” เจ๊ทุเรียน บอก ผู้ปลูกมะระ สร้างรายได้ยั่งยืน

คุณสมหวัง ชื่นจิตร อยู่หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ปลูกมะระมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูก 5 ไร่ ใช้พันธุ์วสันต์ TA255 ของบริษัทเพื่อเกษตรกร จำกัด

“เดิมทำงานบริษัท ลาออกมาปลูกผักใช้พื้นที่ 10 ไร่ มีพริกกับมะระ รายได้ดี จริงๆ แล้วมะระปลูกได้ทุกฤดู แต่ดีที่สุดคือช่วงนี้ ช่วงฝน หน้าหนาวก็ปลูกได้แต่ศัตรูจะมากหน่อย รอบปีก็หมุนเวียนปลูกไม่ให้ซ้ำที่ เพราะจะมีโรคและแมลงระบาดง่ายขึ้น ปีหนึ่งปลูกได้ 3 รุ่น” คุณสมหวัง บอก

คุณสมหวังเล่าถึงวิธีการปลูกว่า

เตรียมดิน…ไถพรวนธรรมดา ยกแปลงกว้างราว 1.50 เมตร

เพาะเมล็ด…เพาะในถาดหลุม จำนวนหลุมละ 1 ต้น เมื่ออายุได้ 7 วัน ย้ายลงปลูกในแปลง ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 1.5 คูณ 1.5 เมตร เมื่อปลูกเสร็จทำค้างให้เลย เพราะต้นอายุได้ 14 วัน ต้นมะระจะเริ่มไต่ค้าง

ระบบน้ำ…เป็นระบบน้ำหยด จะให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ ประหยัดแรงงาน ต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังปลูกได้ 15 วัน ใช้ยูเรีย (46-0-0) จำนวน 1 กระสอบ (50 กิโลกรัม) ละลายไปกับระบบน้ำหยด ซึ่งปุ๋ย 1 กระสอบใช้กับพื้นที่ปลูกมะระ 5 ไร่

จากนั้น 7 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครึ่งกระสอบ ผสมกับยูเรีย 1 กระสอบให้กับต้นมะระ โดยให้ไปกับระบบน้ำ

ช่วงออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 จำนวน 1 กระสอบ

เมื่อผลโต ใส่ปุ๋ยสลับกันระหว่างสูตร 13-13-21 สลับกับ 8-24-24

“ให้ปุ๋ยอาทิตย์ละครั้ง มะระต้องการปุ๋ยมาก ช่วงเก็บผลใช้สูตร 13-13-21 สลับกับ 8-24-24 ส่วนน้ำ 2 วันให้ครั้งหนึ่ง ที่ดินร่วนปนทราย แต่ก็ประหยัดแรงงาน เพราะใช้ระบบน้ำหยด”

ศัตรูมีแน่นอน…คุณสมหวัง บอกว่า ช่วงที่มีศัตรูระบาดมากและอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า งานปลูกมะระจะประสบความสำเร็จหรือไม่ คือช่วงลงแปลงใหม่จนถึงออกดอก ซึ่งต้องระวังหนอนและเพลี้ยไฟ หากมีระบาดต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ที่ผ่านมาสามารถป้องกันกำจัดได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตพื้นๆ หน้าฝนพบมีการระบาดของศัตรูมะระน้อยกว่าหน้าหนาว ดังนั้น ต้องระวังช่วงหน้าหนาวเป็นพิเศษ

ผลตอบแทนที่ได้…เจ้าของมะระบอกว่า หลังปลูกได้ 45-50 วันเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยเก็บอยู่นาน 2 เดือน จึงโละแปลงแล้วปลูกใหม่…ถามว่าได้ผลผลิตต่อไร่เท่าไร…เจ้าของบอกว่า ไม่ได้คิดคำนาณ แต่ดูจากการปลูก หากใช้เมล็ด 3 กระป๋อง (1,500 เมล็ด หรือ 1,500 ต้น) จะได้ผลผลิต 30 ตัน

ผลผลิตที่ได้เก็บใส่ถุง ถุงละ 5 กิโลกรัม มีมะระ 6-7 ผล ขนาดของผลครึ่งกิโลกรัมถึง 8 ขีด นำไปส่งขายตลาดริมปิง

คุณสมหวัง บอกว่า ราคาขายบางช่วงดีมาก อย่างหน้าหนาว แต่หน้าฝนราคาลดลง ที่ผ่านมาเคยขายได้ราคาสูงสุด 25 บาท ต่ำสุด 5-6 บาท

“ผลผลิตเรานำไปส่งเจ๊ทุเรียน ที่ตลาดริมปิง นครสวรรค์ จากแปลงปลูกนี่ 50 กิโลเมตร…ปลูกมะระดี เป็นอาชีพหลักได้ ทำงาน 3-4 คน มีญาติๆ ในครอบครัว ไม่ได้จ้างเอาแรงกัน นานๆ ถึงจะจ้างทีหนึ่ง …ที่บ้านก็กินกันนะมะระถึงจะปลูกเอง ทำต้มจืดหมู แกงกะทิ กินสด ที่อื่นอย่างในกรุงเทพฯ มีก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ” คุณสมหวัง บอก

สนใจปลูกมะระถามได้ที่ คุณสมหวัง ชื่นจิตร ตามที่อยู่หรือโทรศัพท์ (095) 904-0527

ซื้อเมล็ดพันธุ์ ถามได้ที่ คุณศศิวรรณ คุ้มกัน ต.ไพศาลการเกษตร โทร. (083) 531-1118

ปลูกแล้วขายไม่ได้ ถามได้ที่ เจ๊ทุเรียน (092) 693-3789

ขอบพระคุณ คุณสัมฤทธิ์ ทองดอนใหม่ ผู้แทนขาย บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ลักษณะประจำพันธุ์ มะระวสันต์ TA255

ผลทรงกระบอก ทรงผลสวย ผิวสีเขียวเป็นมัน ขนาดผลใหญ่ ไส้ไม่กรวง เนื้อแน่น ผลยาวประมาณ 33-35 เซนติเมตร น้ำหนักผล 550-700 กรัม อายุการเก็บเกี่ยว 45-50 วัน หลังหยอดเมล็ด ปลูกได้ตลอดปี

เจ้าของ…บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 211-773, (053) 211-810 และ (053) 217-180 ความนิยมบริโภคอินทผลัมในบ้านเราขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากได้รับความสนใจจากตลาดผู้บริโภคในทุกระดับ นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกเป็นอย่างดี ผู้ปลูกอินทผลัมในระยะแรกยังมีไม่มาก เป็นรุ่นบุกเบิกที่กล้าได้กล้าเสีย เพราะคิดว่าเป็นพืชตัวใหม่ที่ต้องเติบโตในอนาคต แต่ภายหลังตลาดมีความชัดเจนและมีราคาขายที่สู้ได้ จึงทำให้เกิดผู้ปลูกรายใหม่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ แล้วยังพัฒนาเป็นกลุ่มก้อนคนรุ่นใหม่ที่ศึกษาวิธีปลูกอย่างละเอียด พร้อมดึงสื่อโซเชียลนำการขาย ตลอดจนสร้างมูลค่าอินทผลัม จากเพียงบริโภคผลสดไปสู่ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคได้ทุกความต้องการ

“เทพสถิต สวนอินทผาลัม” ตั้งอยู่ เลขที่ 212 หมู่ที่ 12 ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ดูแลโดยคุณภีมพัฒน์ ภาณุพลเพชรรัตน์ หรือ คุณแจ็ค เป็นสวนอินทผลัมบนพื้นที่ จำนวน 15 ไร่ ปลูกอินทผลัมผลสดพันธุ์บาฮีเป็นหลัก นับเป็นสวนที่ดูแลบริหารจัดการได้อย่างมีระบบ ทั้งเรื่องปุ๋ย น้ำ การป้องกันศัตรูพืช จนทำให้สวนอินทผลัมน้องใหม่แห่งนี้สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างสมบูรณ์ มีคุณภาพ แม้สภาพอากาศในปีนี้จะแปรปรวน

คุณแจ็ค ทำธุรกิจทัวร์ที่นำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวเมืองไทย เหตุผลที่มาทำสวนอินทผลัมแห่งนี้เพราะมีความชอบงานเกษตร แม้ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก แต่ด้วยความมีใจรักและสนใจ พอมาซื้อที่ดินไว้จึงทดลองปลูกพืชไร่ตามอย่างชาวบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง หรือข้าวโพด ปรากฏผลได้ดี แต่มองว่าพืชดังกล่าวไม่ใช่แนวทางที่ชอบ

การเข้าสู่วงการอินทผลัมของคุณแจ็ค เริ่มต้นเมื่อได้รู้จักกับบุคคลที่ปลูกอินทผลัมแถบวิเชียรบุรี พูดคุยถูกคอกันเลยชักชวนให้ปลูกอินทผลัมเนื้อเยื่อ เพราะซื้อพันธุ์มาจากต่างประเทศ จากนั้นจึงซื้อมาปลูก จำนวน 20 สายพันธุ์อาทิ เนไมชิ (NEMEISHI) ซุคการี่ (SUKKARI) อัมเอดดาฮาน (UM ED DAHAN) อัจวะห์ (AJWAH) ฟาร์ด (FARD) ฯลฯ
โดยทุกสายพันธุ์ คุณแจ็ค จะทดลองปลูกเพื่อทดสอบหาความเหมาะสมในเรื่องปุ๋ย สภาพแวดล้อม อากาศ ปริมาณน้ำ ก่อนนำมาสรุป เพื่อใช้สำหรับการพิจารณาให้แน่ใจว่าพันธุ์ใดเหมาะรับประทานสด หรือบางพันธุ์เหมาะรับประทานแห้ง แล้วควรจะใช้ประโยชน์ทางการค้าต่อไป

เริ่มด้วยการเตรียมหลุมปลูกด้วยรถแบ๊คโฮขุดเพื่อลดการใช้แรงงาน อีกทั้งประหยัดเวลา พอขุดดินขึ้นมาแล้วปรุงกับวัตถุอินทรีย์หลายชนิด คลุกเคล้าให้ทั่ว จากนั้นนำต้นพันธุ์ที่อนุบาลไว้ก่อนประมาณ 6 เดือน ลงปลูกในหลุมแล้วใช้ดินที่ปรุงกลบลงไป ส่วนผสมดินปลูก จะเน้นในเรื่องอินทรีย์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นขี้วัว ขี้ไก่ แกลบ สำหรับอัตราส่วนที่แน่นอนยังไม่นิ่ง แต่จะดูความเหมาะสมของคุณภาพดิน โดยกำหนดระยะปลูกทั่วไป ประมาณ 8×8 เมตร แต่ถ้าเกรงว่าจะชิดไป ก็ขยับเป็นระยะ 10×10 เมตร

หลังจากปลูกแล้วต้องให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญ ควรคำนึงถึงปริมาณการให้น้ำที่เหมาะสมในแต่ละวัน อย่าขาดน้ำเด็ดขาด ขณะเดียวกันยังต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำว่าเพียงพอในระยะยาวหรือไม่ อย่างในสวนคุณแจ็คจะคำนวณปริมาณการให้น้ำตามอายุต้น หากอายุน้อยจะให้ประมาณ 30-40 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน แต่หากอายุมากขึ้นจึงปรับเพิ่มปริมาณน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสม ที่สำคัญในช่วงติดผลต้องให้น้ำทุกวัน ปริมาณ 150 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน

“เพราะถ้าขาดน้ำหรือปริมาณน้ำไม่เหมาะสม เกรงว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงต้องให้ความสำคัญกับการให้น้ำไว้ก่อน เคยพบว่า บางสวนรอน้ำฝนเพื่อต้องการประหยัด แต่ถ้าวันนั้นฝนไม่ตกแล้วรดน้ำภายหลังจะเกิดปัญหาขาดน้ำ คราวนี้เดือดร้อนไปถึงผลผลิต”

คุณแจ็ค บอกว่า การดูแลใส่ปุ๋ยจะต้องให้ครบทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ทุกส่วนของลำต้นมีความสมบูรณ์ มีดอกสมบูรณ์ และให้ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน โดยให้ความสำคัญกับขนาดผล สีผล ความหวาน ดังนั้น ในช่วง 1-2 ปีแรก ใช้ปุ๋ย สูตร 21-7-14 ใส่สัก 2 กำมือ ทุก 15 วัน พอเข้าสู่ช่วงออกดอก ใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 เมื่อเข้าปีที่ 3-4 ก่อนเก็บผล ใส่ปุ๋ย สูตร 15-5-25 ทุก 10 วัน

ภายหลังเก็บผลผลิตเสร็จสิ้นประมาณ 2 สัปดาห์ จึงเริ่มใส่ปุ๋ย สูตร 21-7-14 ทุก 10 วัน จำนวน 1 กิโลกรัม เพื่อเตรียมสร้างผลผลิตรอบต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเรื่องสูตรปุ๋ย คุณแจ็ค ชี้ว่ายังไม่นิ่ง แล้วอาจยังต้องปรับอีกครั้งเพราะยังไม่ลงตัวในตอนนี้

ผสมเกสร ตัดแต่ง ห่อผลสวนคุณแจ็ค มีต้นตัวผู้ จำนวน 7 ต้น และต้นตัวเมียกว่า 200 ต้น โดยทั้งหมดเป็นต้นเนื้อเยื่อ จึงมั่นใจในความสมบูรณ์ของเกสร และชี้ว่าในช่วงผสมเกสรต้องพยายามให้เสร็จวันต่อวัน โดยวิธีผสมจะสังเกตลักษณะความพร้อมและความสมบูรณ์ของดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ เนื่องจากสภาพความไม่แน่นอนของอากาศในแต่ละปีที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

“ดังนั้น ในแต่ละวันสำหรับการผสมเกสร ไม่มีกฎเกณฑ์หรือสูตรตายตัว ว่าตอนไหน เวลาไหน ถึงจะเหมาะสม เพราะเมื่อสังเกตว่าเกสรพร้อม จึงต้องรีบจัดการทันที จึงเห็นว่าการผสมเกสรถือเป็นความละเอียดอ่อนและต้องใช้ความพิถีพิถันอย่างมาก ผู้ปฏิบัติต้องใช้องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ อย่างแท้จริง”

หลังผสมเกสรเสร็จ จะใช้ถุงกระดาษครอบไว้ทันที แล้วจะครอบไปเป็นเวลา 30 วัน ระหว่างนั้นจะใส่ปุ๋ย สูตร 21-7-14 ก่อน เพื่อต้องการสร้างให้ก้านมีขนาดใหญ่ แข็งแรง ใช้สูตรนี้ประมาณ 1 เดือน แล้วเมื่อผลมีขนาดเท่าเม็ดมะเขือพวง จึงเปลี่ยนมาใช้สูตร 15-5-25 พร้อมกับตัดแต่งผล โดยจะเก็บไว้ประมาณ 20 ลูก ต่อก้าน ในแต่ละก้านเลือกเก็บผลที่สมบูรณ์ไว้มากที่สุด แล้วหุ้มด้วยถุงสบันหรือตาข่ายไว้ก่อนเพื่อป้องกันแมลงวันทอง เมื่อขั้นตอนตัดแต่งเรียบร้อย จึงนำถุงชุนฟงมาห่อหุ้มอีกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนเข้าไปในช่อ พร้อมกับโน้มช่อลงมาพร้อมกับมัดก้านแต่ละช่อให้รั้งกันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้หัก

ศัตรูที่เจอ ได้แก่ แมลงวันทอง และเพลี้ยแป้ง สำหรับเพลี้ยแป้งจะก่อกวนในช่วงเปลี่ยนสี เพราะเป็นจังหวะที่ผลเริ่มมีความหวาน อีกทั้งยังถือเป็นช่วงเปราะบางของการดูแลต้นอินทผลัม จึงควรต้องใส่ใจกับการใช้ถุงห่อ มิเช่นนั้นจะทำให้ผลผลิตเสียหาย ขณะเดียวกันยังพบว่ามีมดคันไฟเข้าไปกัดกินต้น วิธีป้องกันคือ ต้องพยายามรักษาความสะอาดบริเวณโคนต้น ให้ใช้สมุนไพรป้องกันหรือขับไล่

สภาพอากาศ …ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ

อินทผลัม เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อน และต้องปลูกกลางแจ้งที่ได้รับแสงตลอด สามารถทนแล้งได้ ขณะเดียวกันยังเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ในช่วงเวลาสั้น แม้จะเป็นพืชที่ชอบแดด แต่ก็ชอบน้ำมากด้วย เพราะปริมาณน้ำมีส่วนสำคัญอย่างมากกับจำนวนและคุณภาพของผลผลิต

คุณแจ็ค บอกว่า ตลอดเวลาที่ปลูกอินทผลัมมาต้องประสบกับสภาพอากาศแตกต่างกันในแต่ละปี ทั้งแดดจัด แดดหุบ ฟ้าครึ้มไม่มีแดด ฝนตกพรำ ฝนตกหนัก หรือหนาวเป็นช่วงยาวๆ โดยลักษณะทางธรรมชาติแบบนี้เกิดขึ้นเสมอ หรือบางวันเกิดขึ้นหลายแบบ สิ่งเหล่านี้กระทบกับประสิทธิภาพของปุ๋ยที่นำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและส่วนต่างๆ อาจกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือคุณภาพผลผลิตไม่สมบูรณ์ แล้วยังสร้างปัญหาต่อความสมบูรณ์ของการผสมเกสรด้วย

“อย่างใน ปี 2559 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีผลผลิต ใช้เวลาตั้งแต่ผสมเกสรไปจนเก็บผลผลิตรวม 135 วัน พอมาในปี 2560 เป็นปีที่มีฝนมาก อากาศปิด แดดน้อย ใช้เวลานานกว่าจะเก็บผลผลิตถึง 165 วัน ส่วนปี 2561 เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง แต่ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 130 วัน ล่าสุดในปี 2562 ฝนมาน้อยแล้วล่าช้าทิ้งช่วง แต่โชคดีที่ผลผลิตออกเต็มที่มาก่อนแล้ว กำลังทยอยเริ่มเก็บ คาดว่าจะเสร็จสิ้นทั้งสวนราวเดือนสิงหาคม ฉะนั้น สภาพอากาศจึงเป็นเรื่องที่คาดเดายาก”

แม้ “เทพสถิต สวนอินทผาลัม” ของคุณแจ็คจะเป็นสวนใหม่ที่มีอายุไม่กี่ปี แต่ด้วยประสิทธิภาพของการบริหารจัดการทั้งในด้านพื้นที่ปลูกภายในสวน ความเอาใจใส่ต่อการกำหนดสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมในแต่ละช่วง การผสมเกสรที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน รวมถึงการให้ความสำคัญกับปริมาณน้ำ ตลอดจนหาวิธีป้องกันโรค/แมลง แบบปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเคมี

จนทำให้อินทผลัมผลสดพันธุ์บาฮีที่ปลูกขายในช่วงที่ผ่านมา (2561) ให้ผลผลิต 150 กิโลกรัม ต่อต้น แล้วคาดว่าจะได้เพิ่มขึ้นอีก นอกจากนั้น พันธุ์อื่นๆ อีกนับสิบสายพันธุ์ที่ปลูกไว้รายรอบสวนเพื่อไว้ศึกษาเก็บข้อมูลยังมีคุณภาพ ความสมบูรณ์ เช่นเดียวกัน

“เทพสถิต สวนอินทผาลัม” จำหน่ายอินทผลัมพันธุ์บาฮี ผลสดราคา กิโลกรัมละ 400-500 บาท และรอบการผลิตที่ผ่านมา (2561) ได้ถึง 7 ตันกว่า ปริมาณผลผลิตในสวนตอนนี้ต้องจัดสรรสำหรับไปจำหน่ายตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในเขตจังหวัดชัยภูมิและกรุงเทพฯ รวมถึงตามงานสำคัญต่างๆ ทั้งนี้ รอบการผลิตต่อไปคงมีจำนวนผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการจัดการหลายอย่างลงตัว และผู้ปฏิบัติมีทักษะ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงความคล่องตัวแล้ว

ในขณะที่ต้องทำธุรกิจทัวร์ที่กรุงเทพฯ แล้วยังต้องดูแลสวนอินทผลัมที่ชัยภูมิด้วย มีวิธีหรือแนวทางการบริหารจัดการทั้งสองได้อย่างไร?

คุณแจ็ค บอกว่า งานทั้งสองอย่างมีความสำคัญ และชื่นชอบด้วย งานทัวร์มีคนดูแลรับผิดชอบ โดยเราจะเข้าไปแก้ปัญหาหรือแนะนำในบางเวลา แล้วบริหารจัดการผ่านโทรศัพท์และโน้ตบุ๊ก ส่วนงานทางสวนเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเราเท่านั้น มีผู้ช่วย 2 คน คือ พี่เวียน กับ ไผ่ ซึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติล้วนๆ ผ่านทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์

“สิ่งสำคัญคือ ต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน เพราะถ้าสื่อสารผิดพลาดจะเกิดความเสียหายตามมา เนื่องจากงานสวนมีความละเอียด ต้องอาศัยความรอบคอบ ขณะเดียวกันตัวเราต้องรู้ให้มากที่สุด รู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อนำไปผสมกับทักษะ และความชำนาญของผู้ปฏิบัติให้กลมกลืนไปแนวทางเดียวกัน จะช่วยให้การทำงานราบรื่น ได้ผลสำเร็จตามความคาดหวัง ไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะมีผลผลิตสวยๆ สมบูรณ์ออกมา เพราะจุดเด่นของ “เทพสถิต สวนอินทผาลัม” อยู่ที่การให้ความใกล้ชิด ดูแลใส่ใจกับปุ๋ยและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ” คุณแจ็ค กล่าว

สอบถามรายละเอียด สั่งซื้ออินทผลัมคุณภาพได้ที่ คุณภีมพัฒน์ ภาณุพลเพชรรัตน์ หรือ คุณแจ็ค โทรศัพท์ 081-874-5788 หรือดูกิจกรรมต่างๆ ในสวนได้ที่ fb:เทพสถิต สวนอินทผาลัม

“ฟักข้าว” เป็นไม้ประเภทล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยตามต้นไม้หรือตามรั้วบ้าน ฟักข้าวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดหลายประเทศ ได้แก่ จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์

ในประเทศไทยคนสมัยก่อนนำผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร เนื่องจากรสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ วิธีการนำมารับประทานโดยการนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่แกง ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาเป็นผักได้ ด้วยการนึ่งหรือลวกให้สุก หรือนำผลอ่อนไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค และจิ้มน้ำพริกได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน ผู้คนให้ความสนใจ ฟักข้าว ในฐานะพืชเป็นยา เนื่องจากงานวิจัยพบว่าการบริโภคเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก มีสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ

ดังนั้น ในเชิงพาณิชย์จึงมีการนำเยื่อฟักข้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด เพื่อทำให้เกิดความสะดวกต่อการบริโภค แล้วยังสามารถเข้าถึงประโยชน์จากคุณค่าของฟักข้าวได้อย่างง่าย

ที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ชาวบ้านหมู่ที่ 9 ตำบลโชคนาสาม ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปฟักข้าวบ้านตาเดาะ” เพื่อนำผลสดฟักข้าวที่ชาวบ้านในหมู่บ้านหลายครัวเรือนปลูกกัน แล้วนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ฟักข้าวชนิดต่างๆ ส่งขาย อีกทั้งยังเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ปลูกฟักข้าวรายใหญ่ ผสานมือกันเพื่อส่งออกเยื่อฟักข้าวแช่แข็งไปยังประเทศเพื่อนบ้าน สร้างรายได้เป็นจำนวนมาก

แนวทางนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเมื่อ คุณสัญญา ยอดเพ็ชร ชาวบ้านในหมู่บ้านตั้งใจจะปลูกฟักข้าวแล้วส่งขายให้แก่กลุ่มผู้ปลูกที่กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แต่เกิดความผิดพลาดไม่สามารถดำเนินการต่อได้ จึงทำให้เขาตัดสินใจชักชวนเพื่อนบ้านจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อปลูกและแปรรูปฟักข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ เมื่อ ปี 2556 โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์

คุณสัญญา เผยว่า ในตอนแรกที่ปลูกฟักข้าวยังไม่ดีนัก เพราะยังขาดความรู้ ทักษะ และความชำนาญ ก็ปลูกไปตามธรรมชาติ ตามความรู้เช่นเดียวกับไม้ชนิดอื่น แต่ถ้าติดขัดตรงไหนก็จะสอบถามกลับไปยังผู้รู้ที่กำแพงแสน

เขาให้รายละเอียดการปลูกฟักข้าวว่า มีการกำหนดระยะปลูก 4 คูณ 4 เมตร ส่วนค้างที่ต้นเลื้อย ควรทำให้มีระดับสูงเลยศีรษะเล็กน้อย เพื่อความสะดวกกับผู้ปลูก

ฟักข้าวใช้เมล็ดปลูก แต่ก่อนปลูกต้องบำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ไม่มีการใช้สารเคมีชนิดใดเลย ให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และภายในเวลา 5-6 เดือน จะได้ผลฟักข้าว หลังจากเริ่มมีผลผลิตแล้ว จากนั้นจะทยอยมีเรื่อยๆ และสามารถเก็บได้ทุก 1-2 วัน ยิ่งถ้าปลูกเก่งและใส่ใจมากสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอด แล้วมีขนาดมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการด้วยขนาดผลที่เหมาะสม จะอยู่ที่น้ำหนัก ประมาณ 7 ขีด ถึง 1.8 กิโลกรัม

คุณสัญญา ชี้ว่าคุณภาพฟักข้าวไม่ได้ดูจากผิวและความสวยงามของผลเหมือนไม้ผลชนิดอื่น เพราะสิ่งที่ต้องใช้ทำประโยชน์คือ เนื้อเยื่อด้านใน เพียงแต่จะต้องให้สุกแก่เต็มที่เท่านั้น ทั้งนี้ผลผลิตที่เก็บได้ให้สังเกตที่สีเปลือกจะมีสีแดงจัด แสดงว่าสุกแล้ว สามารถเก็บได้ แต่กรณีที่ต้องส่งผลสดไปขายที่อื่นจะต้องเผื่อการขนส่งด้วย

สำหรับชาวบ้านที่ปลูกฟักข้าวส่วนมากปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน โดยแต่ละครอบครัวจะปลูกไว้บ้านละ 1-2 งาน ถือว่าเป็นจำนวนเนื้อที่เหมาะสมและสะดวกกับการดูแล เพราะถ้ามากกว่านี้แล้วอาจดูแลไม่ทั่วถึง หรืออาจต้องลงทุนจ้างแรงงานเพิ่ม

ที่ผ่านมาอาชีพหลักของสมาชิกกลุ่มคือ ปลูกข้าวและพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง แล้วมีการปลูกฟักข้าวเป็นอาชีพเสริม แต่บางรายใส่ใจกับการดูแลเป็นอย่างดี จนทำให้รายได้ที่เกิดขึ้นกับฟักข้าวกลายเป็นรายได้หลักไปแล้ว

กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปฟักข้าวบ้านตาเดาะ มี คุณสัญญา ยอดเพ็ชร รับตำแหน่งประธานกลุ่ม คุณกนกรัตน์ เติมสุข เป็นรองประธานกลุ่ม คุณจำเนียร บำรุงมี เป็นเหรัญญิก คุณรัชดาภรณ์ เติมสุข เป็นเลขาฯ และมีสมาชิกกลุ่ม อาทิ คุณวรารัตน์ เก่านาน คุณเยาวเรศ สีหยดยอ คุณละออง ยอดเพ็ชร คุณธิติมา เติมสุข

มีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 47 คน ที่มาช่วยกันแปรรูป แต่สมาชิกอีกกลุ่ม จำนวน 200 กว่าคนจะปลูกและส่งผลสดขายเท่านั้น โดยทางกลุ่มจะรับซื้อผลสดในราคาประกัน กิโลกรัมละ 15 บาท ทั้งนี้จำนวนที่รับซื้อผลสดเฉลี่ยต่อรอบ(สัปดาห์ละ 3 วัน) จำนวน 3 ตันกว่า ส่วนชาวบ้านที่ปลูกจะมีรายได้จากการขายผลสด เดือนละ 12,000-15,000 บาท

โดยโรบอทแทรกเตอร์ที่ได้เห็นถือเป็นเครื่องเทคโนโลยีล่าสุด

มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งแทรกเตอร์คันนี้ยังคงได้รับรางวัลโรบอทยอดเยี่ยมครั้งที่ 7 ของประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงถือโอกาสการสาธิตรถโรบอทแทรกเตอร์ในวันนี้เพื่อการแสดงออกให้ทุกท่านได้เห็นว่ายันม่าร์มีความทุ่มเทเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด เป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์โรบอทแทรกเตอร์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้นำตัวโรบอทแทรกเตอร์ตัวนี้มาแสดง

จากสถานการณ์การผลิตอ้อยในปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมาก ผลผลิตออกมากเป็นเงาตามตัว ราคาค่อนข้างต่ำ ทำให้รายได้ต่อไร่ต่ำ มีเกษตรกรรายย่อยหลายรายปลูกอ้อยแล้ว เมื่อถึงระยะจะตัดอ้อยส่งโรงงานกลับไม่ตัดเอง เพราะไม่คุ้มค่าตัด แรงงานหายาก จึงขายเหมาให้พ่อค้ามาตัดส่งโรงงาน ในราคาไร่ละ4,000-5,000 บาท (เกษตรกรบางรายบอกขาย ไร่ละ 3,500 บาท ก็มี) และมีพ่อค้าจำนวนหนึ่งต้องเผาอ้อยเพื่อให้สะดวกต่อการตัด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการตัด เช่นเดียวกับเกษตรกรบางรายก็เผาก่อนตัด โดยไม่ได้รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงเกิดฝุ่นละออง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับในการปลูกอ้อยนั้นทำรายได้ปีละครั้ง และในระยะแรกเกษตรกรยังต้องใช้สารกำจัดวัชพืชค่อนข้างมาก ส่งผลให้ตกค้างในดิน บางส่วนถูกฝนชะล้างพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ และเกิดผลกระทบอื่นๆ มากมาย

คุณลักษณู หาริพงษ์ อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 4 บ้านฝั่งแดง ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 089-160-9889 เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกอ้อย ต่อมาลดพื้นที่การปลูกลงแล้วหันมาปลูกดาวเรือง ข้าวโพดข้าวเหนียว และพืชผัก เพียงไม่กี่ไร่ สร้างรายได้ตลอดปี ปีละกว่า 2 แสนบาท

คุณลักษณู ให้ข้อมูลว่า เมื่อหลายปีมาแล้ว ทำไร่อ้อย ประมาณ 10 ไร่ ระยะแรกรายได้ดี และใช้สารกำจัดวัชพืชค่อนข้างมาก ต่อมาราคาตกต่ำ จึงลดพื้นที่ปลูกลง ปัจจุบัน ทำนา 5 ไร่ เก็บผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน อ้อยโรงงาน 4 ไร่ แต่ที่ทำรายได้หลักคือ ดาวเรือง รุ่นละประมาณ 7,000 ต้น (ราว 1 ไร่) และข้าวโพดข้าวเหนียว รุ่นละประมาณ 1 งาน โดยพื้นที่ปลูกดาวเรืองและข้าวโพด ประมาณ 3 ไร่ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป

คุณลักษณู บอกว่า ปลูกดาวเรืองมา 3 ปี ปีละ 4 รุ่น รุ่นละ 7,000 ต้น พันธุ์มหาโชค สีเหลืองทองซื้อเมล็ดราคา เมล็ดละ 1 บาท ปลูกเพื่อร้อยมาลัย

ขั้นตอนการปลูกและดูแลรักษา เริ่มจากเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ เป็นเวลา 15 วัน แล้วนำลงปลูกในแปลงระยะระหว่างต้น ประมาณ 1 คืบ ระหว่างแถว ประมาณ 120 เซนติเมตร ให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

โรคแมลงศัตรู มีหนอนกินดอก เจาะดอก เจาะยอด ถ้าพบจะฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลง แต่ละรุ่น 2-3 ครั้ง

หลังจากปลูก 15 วัน ดาวเรืองจะเจริญเติบโตมีใบ 6 ใบ (3 คู่) ให้เด็ดยอด นับอีก 15 วัน จะเริ่มออกดอก (ตั้งแต่เพาะกล้าถึงออกดอกราว 45 วัน) ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 โดยโรยข้างหลุมแล้วใช้ดินกลบ ให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อีกประมาณ 15 วัน จะเริ่มเก็บดอกขายได้ (เมื่ออายุรวม 60 วัน) จากนั้นจะเก็บดอกได้ทุกๆ 3-4 วัน เป็นจำนวนร่วม 20 รุ่น

โดยรุ่นแรก ดอกจะโต ราคาขาย ดอกละ 70-80 สตางค์ จะเก็บดอกได้ราว 3,000-4,000 ดอก รุ่นที่ 2 ขนาดดอกจะลดลง ราคา ดอกละ 40-60 สตางค์ ได้ดอก 7,000-8,000 ดอก รุ่นที่ 3 เป็นต้นไป ราคา ดอกละ 25-30 สตางค์ ได้ดอก 11,000-12,000 ดอก แต่ละรุ่นจะให้ดอกเพิ่มประมาณ 5,000 ดอก โดยรุ่นท้ายๆ จะเก็บดอกได้ 60,000-70,000 ดอก โดยใช้เวลาในการเก็บดอกขายเดือนเศษ รายได้รุ่นละ 35,000-40,000 บาท โดยส่งขายให้พ่อค้าที่จังหวัดอุดรธานี ช่วงที่ราคาดีจะอยู่ในช่วงฤดูฝนต่อเนื่องถึงเดือนธันวาคม จากนั้นราคาจะลดลงบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว จะมีการปลูกดาวเรือง ทำให้ผลผลิตออกมากทำให้ราคาต่ำ

นอกจากนี้ ยังปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว รุ่นละประมาณ 1 งาน ใช้เวลา 2 เดือนเศษ นำมานึ่งขายที่หน้าสวน (ติดถนน) มีรายได้รุ่นละประมาณ 8,000-9,000 บาท ปีละ 4-5 รุ่น และยังปลูกผักขายภายในชุมชนอีกด้วย

คุณลักษณู บอกว่า ภายหลังจากลดการปลูกอ้อย หันมาปลูกดาวเรือง ข้าวโพดข้าวเหนียวและพืชผัก ปรากฏว่ามีรายได้หมุนเวียนทุกเดือน ปีละกว่า 2 แสนบาท (นอกเหนือจากข้าวและอ้อย)

คุณชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า จังหวัดหนองบัวลำภูมีพื้นที่ปลูกอ้อย 6 แสนไร่เศษ ในการผลิตมีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ประกอบกับส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว (อ้อย) ที่อายุยาวหลายเดือน รายได้ต่อไร่ก็ลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากอ้อยราคาตก ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เกษตรกรลดการปลูกอ้อยลง แล้วหันมาทำการเกษตรหลายอย่างในรูปแบบไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน และปลูกพืชหลากหลายชนิดหมุนเวียน ที่ทำให้มีการใช้แรงงานตลอดปี ทำให้มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และผลิตให้ปลอดภัยจากสารพิษ ลดละการใช้สารเคมี โดยใช้วิธีการอื่นทดแทน จะทำให้สินค้าปลอดสารพิษเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ดังนั้น หากเกษตรกรมีปัญหาในการทำการเกษตร หรือการควบคุมโรคแมลงศัตรูพืช ขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน!!!ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกโกโก้เป็นอย่างมาก เกษตรกรไทยหันกลับมาให้ความสนใจปลูกโกโก้มากขึ้นในช่วงนี้เนื่องจากผลตอบแทนดีกว่าพืชเศรษฐกิจหลายชนิด โดยพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ อยู่ที่ 5,464.39 ไร่ และพื้นที่เก็บเกี่ยว 4,090.66 ไร่

ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ คิดเป็นพื้นที่ 3,957.59 ไร่ ซึ่งจังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก ขณะที่ภาคตะวันออกก็ปลูกมากเช่นกันโดยมีพื้นที่เพาะปลูก 586.48 ไร่ จังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดจันทบุรี

ขณะที่ผู้ผลิตช็อกโกแลตในประเทศไทยยืนยันว่า ความต้องการบริโภคช็อกโกแลตของคนไทยอยู่ที่ 120 กรัม ต่อคน ต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศเบลเยียมอยู่ที่ 8 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี โกโก้สามารถป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมได้หลายผลิตภัณฑ์ ทั้งบริโภคเป็นอาหารทำเป็นช็อกโกแลตโอวัลติน หรือไมโล และยังใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเครื่องสำอาง

ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนรับซื้อเมล็ดตากแห้งในราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือว่าตลาดโกโก้ในไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก

ทั้งนี้ คุณอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า สำนักงานมีพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

“โดยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็น 1 ใน 8 จังหวัดภายใต้การรับผิดชอบที่มีการปลูกโกโก้แซมพืชหลัก เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้อำเภอบางสะพาน โดยมี คุณนิตย์ ตั่นอนุพันธ์ เป็นประธานกลุ่ม”

“คุณนิตย์ ตั่นอนุพันธ์ ปลูกโกโก้แซมมะพร้าว จำนวน 2,200 ต้น บนพื้นที่ 126 ไร่ แปลงโกโก้แซมปาล์มน้ำมัน จำนวน 350 ต้น ในพื้นที่ 28 ไร่ และแปลงโกโก้แซมยางพารา จำนวน 200 ต้น ในพื้นที่ 16 ไร่ ทั้ง 3 แปลง อยู่ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแปลงโกโก้อย่างเดียว จำนวน 16,000 ต้น ในพื้นที่ 104 ไร่ อยู่ในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี รวมมีต้นโกโก้ 23,700 ต้น ในพื้นที่ทั้งหมด 274 ไร่” คุณอาชว์ชัยชาญ กล่าว

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลผลิตโกโก้จะเริ่มออกปีที่ 3 และให้ผลผลิตสูงสุดปีที่ 6 โดยมีผลผลิตสูงสุด 24 กิโลกรัมแบบน้ำหนักสด ต่อต้น ต่อปี มีต้นทุนการปลูกการเก็บเกี่ยวรวมกองควักเมล็ดใส่ถุงหมัก ฯลฯ เป็นเงินประมาณ 15,500 บาท ต่อตัน มีรายได้เฉลี่ยที่ไร่ละ 46,500 บาท

ในอดีตมีการส่งเสริมการปลูกโกโก้ เพื่อส่งผลผลิตสดให้ผู้รับซื้อและรวบรวมส่งโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมการผลิตโกโก้ระดับโลก ทำให้การตลาดเป็นแบบผูกขาดตลาดรับซื้อผลผลิตจึงมีอำนาจในการกำหนดราคาเป็นหลัก หลังจากมีปัญหาด้านราคาจึงส่งผลให้ผู้ปลูกโกโก้ในอดีตเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน ถึงกระนั้นก็ยังมีบางคนที่เห็นโอกาสของอุตสาหกรรมโกโก้ในประเทศไทยเนื่องจากมีความต้องการสูง จึงได้สร้างโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นเพื่อผลิตผงโกโก้ป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ จึงมีความต้องการโกโก้เป็นจำนวนมาก

ในวันนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะปลูกโกโก้ และสามารถกำหนดราคาของผลผลิตเองได้ ด้วยมีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตจึงสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

ที่สำคัญในกระบวนการปลูกแทบไม่ต้องมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย สามารถปลูกเป็นพืชแซม
ก็ช่วยส่งเสริมพืชหลักได้ สามารถปลูกแซมกับพืชได้หลากหลาย เช่น มะพร้าว ลองกอง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และโกโก้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะสามารถอยู่กลางแจ้งได้

“ในการผลิตโกโก้เพื่อป้อนอุตสาหกรรม จะยึดราคาตลาดโลก โดยเฉลี่ยราคาที่เกษตรกรควรได้รับคือ ราคาผลสดที่กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ในบางพื้นที่ที่ราคาผลสดสูงกว่าราคาเป็นจริงในขณะนี้นั้นเนื่องจากว่ามีผู้ซื้อไปเพื่อเพาะกล้าจำหน่ายเนื่องจากมีเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจในการปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกแซมพืชหลัก ซึ่งจะเป็นรายได้สำรองหากราคาพืชหลักมีความผันผวน สำหรับราคาโกโก้ในตลาดโลก ณ ราคาปัจจุบันเกษตรกรสามารถดูได้จากเว็บไซต์ https://markets.businessinsider.com เป็นราคาโกโก้ ต่อ 1,000 กิโลกรัม (1 ตัน) ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นราคาอ้างอิงได้” คุณอาชว์ชัยชาญ กล่าว

ผักพื้นบ้านเป็นสิ่งที่ธรรมชาติประทานให้มาเป็นอาหารของมนุษย์ ผักพวกนี้จะมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคแมลงในถิ่นกำเนิดเนื่องจากเป็นผักที่แพร่พันธุ์เองในธรรมชาติ ในประเทศไทยเราแต่ละภาคมีผักส่วนหนึ่งที่แตกต่างกันทำให้มีความหลากหลายในการนำมาบริโภค ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านที่มีแหล่งกำเนิดในธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทยและในภูมิภาคนี้ ทำให้ผักกูดจึงเป็นผักพื้นบ้านที่นำมากินกันมานานแล้ว

ก่อนจะมาเข้าเรื่องผักกูด ผู้เขียนเห็นเพจหนึ่งในเฟซบุ๊กชื่อ ป๋าสนธิ์ ป๋าสนธิ์ ได้ลงรูปสวนผักกูดและมีเรื่องราวเกี่ยวผักกูดมากมาย จึงได้ติดข้อมูลความเป็นไปมานาน จนกระทั่งได้มีโอกาสคุยกับเจ้าของเพจ ที่ชื่อ คุณสนธิ์ นันตรี หรือให้เรียกนิคเนมว่า ป๋าสนธิ์ โดยได้เล่าให้ฟังเรื่องราวชีวิตนักสู้ให้ฟังว่า หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายก็ได้เข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทผลิตและบรรจุเมล็ดพันธุ์ยี่ห้อหนึ่งในกรุงเทพฯ ทำอยู่ได้ประมาณ 1 ปี ญาติทางฝั่งภรรยาได้ชักชวนให้ทำงานในบริษัทโฟมแห่งหนึ่ง ซึ่งกิจการของบริษัทคือทำชนวนกันความร้อนด้วยโฟมตามหลังคารอาคารต่างๆ อยู่หลายปีจนมีความชำนาญ จึงหันมาประกอบกิจการด้านนี้เสียเองโดยหุ้นกับญาติคนดังกล่าว ทำงานเกี่ยวกับโฟมอยู่หลายปี จนกระทั่งเริ่มถึงจุดอิ่มตัวจึงกลับมาบ้านของภรรยาที่จังหวัดพะเยาเพื่อดำรงชีวิตการเกษตรกรรมที่ตัวเองรัก

เปลี่ยนเป็นอาชีพเลี้ยงไก่สามสาย

เริ่มอาชีพเกษตรกรรมด้วยอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อสามสายเนื่องจากเป็นที่นิยมบริโภค จึงซื้อลูกไก่มาเลี้ยงไว้จำนวน 800 ตัว ต้องสร้างโรงเรือนขึ้นมาหนึ่งหลัง อยู่มาไม่นานไก่ยังไม่ทันจับ เกิดวิกฤติไข้หวัดนกทำให้ไก่ตายเกือบหมดเล้า เงินทุนที่สะสมมาแล้วนำมาลงทุนเลี้ยงไก่ก็หายไปในพริบตา ต้องกลับบ้านไปที่จังหวัดน่านเพื่อยืมเงินพ่อมา 3,500 บาท มาลงทุนขายลูกชิ้น ตับไก่ทอดขายในหมู่บ้าน ปรากฏว่าขายดิบขายดี จึงเพิ่มเป็นร้านขายของชำเล็กๆ ก็ประสบความสำเร็จ ต่อมาจึงทำเป็นตลาดสดมีการเชือดหมูและวัว วันละตัว ก็ขายดีอีก แต่ทำอยู่ 6-7 ปี กิจการขายเนื้อวัวและเนื้อหมูที่ต้องเชือดเองก็เลิกเพราะเหนื่อยมาก เหลือแต่ร้านขายของชำอย่างเดียว ส่วนร้านลูกชิ้นทอดก็โอนกิจการให้ญาติ

ในช่วงนั้นมีเวลาว่างจึงคิดทดลองปลูกผักสลัดขาย ทำได้ดี แต่มาเหนื่อยที่ต้องเตรียมแปลงปลูกทุกครั้งที่ถอนขายแล้ว จึงมาคิดว่าจะปลูกผักอะไรดีที่ปลูกครั้งเดียวแล้วสามารถเก็บขายได้เรื่อยๆ ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกรอบ นึกขึ้นได้ว่าตอนอยู่ที่จังหวัดน่านเห็นพ่อแม่ปลูกผักกูดข้างบ้านซึ่งสามารถเก็บมากินได้ตลอดปี จึงทดลองเอาพันธุ์มาจังหวัดน่านปลูกดูเพียงไม่กี่ต้น ก็เจริญงอกงามดี เลยคิดการที่จะปลูกผักกูดให้แปลงใหญ่ ทำไปสักระยะหนึ่ง มีใครมาหาที่บ้านก็ถ่ายรูปกับแปลงผักกูด จึงขยายไปเรื่อยๆ และเพิ่มซาแรนคลุมแปลง ก็สามารถเก็บยอดได้ทุกวัน

เนื่องจากผักกูดชอบความชื้น ควรเลือกที่ลุ่มสำหรับปลูกอย่าเลือกปลูกในที่ดอน แต่ต้องสามารถระบายน้ำได้ดี ไม่ใช่ที่น้ำขัง ถึงแม้ว่าเราจะเห็นว่าตามธรรมชาติผักกูดอยู่ในน้ำ แต่เมื่อพิจารณาจริงๆ แล้วผักกูดจะอยู่ริมๆ น้ำ เพราะผักกูดชอบความชื้นแต่ไม่ใช่ผักน้ำ เมื่อไถพรวนเสร็จก็สามารถนำพันธุ์ผักกูดมาปลูกได้เลย ที่ดีควรตัดยอดให้เหลือจากรากประมาณ 10-12 นิ้วก็เพียงพอ และต้นพันธุ์ควรจะมีรากสมบูรณ์ ขุดหลุมไม่กว้างมากพอให้ลงต้นกล้าผักกูดได้ ระยะต้นและระยะแถวอยู่ที่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร นำปุ๋ยมูลสัตว์ใส่ลงในหลุมประมาณ 1 กระป๋องนม แล้วเอาดินเก่าทับ นำผักกูดลงปลูกแล้วกดดินให้แน่น

ถ้าเอาฟางคลุมโคนได้จะช่วยรักษาความชื้นในช่วงแรกได้ดี ผักกูดสามารถตั้งตัวได้เร็ว การรดน้ำช่วงแรกวันละครั้งก็เพียงพอ และพื้นที่ที่ปลูกผักกูดควรจะมุงด้วยซาแรนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เพื่อบังแสงแดดให้ แสงที่ผักกูดชอบจะเป็นแสงรำไร ถ้าแสงแดดจ้าหรือแสงร่มเกินไปผักกูดจะไม่ค่อยงาม

ผักกูดเป็นพืชที่ไม่มีศัตรูพืชมากนัก แต่ในช่วงหน้าแล้งถ้าไม่ได้ให้น้ำสม่ำเสมอ จะมีหนอนเข้ามากินยอดอ่อน และถ้าผักกูดโดนแสงมากเกินไปเราจะเด็ดยอดได้แค่สั้นๆ ส่วนในฤดูที่ความชื้นและแสงเหมาะสมเราสามารถเด็ดผักกูดได้ก้านยาวมาก โดยปกติหลังจากเด็ดยอดแล้ว 2-3 วัน ยอดผักกูดจะแตกขึ้นมาใหม่ ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชจึงไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ในสวนของป๋าสนธิ์มักจะใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงซึ่งหมักไว้เองฉีดพ่นทุกๆ สัปดาห์ละครั้ง โดยใช้จุลินทรีย์ 1 แก้วกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ในช่วงกลางวันเพราะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงทนแดดได้ระดับหนึ่ง ยอดจะอวบเขียวน่ากิน ส่วนปุ๋ยจะใส่เฉพาะปุ๋ยมูลสัตว์เท่านั้น ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเด็ดขาด

ในช่วงแรกมีผักกูดแปลงเดียวพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ข้างบ้าน ผักกูดเจริญเติบได้ดี แต่ผลผลิตก็ไม่พอขาย จึงขยายเพิ่มเข้าไปปลูกในสวนยางอีก 1 ไร่ แต่ในสวนยางไม่มีน้ำรด จึงมีผลผลิตเฉพาะในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาวเท่านั้น ในสวนยางไม่สามารถคลุมซาแรนได้ในช่วงที่ยางผลัดใบ แสงที่ส่งลงมากระทบต้นผักกูดจ้าเกินไปจึงไม่ค่อยมีผลผลิตในช่วงดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ปลูกอีก 2 ไร่ ในแปลงนี้มีการมุงซาแรนอย่างดี แต่เมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา ลมพัดแรงทำให้เสาหักไปจำนวนหนึ่ง จึงเหลือพื้นที่จริงแค่ 1 ไร่เท่านั้น รวมพื้นที่ที่มีผลผลิตทั้งปีแค่ 2 ไร่ในปัจจุบัน

ผักกูดที่ปลูกใหม่จะใช้เวลาประมาณ 10 เดือนก็เริ่มเก็บยอดได้ แต่จะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อใช้เวลา 1 ปี ในฤดูฝนยอดผักกูดจะมีผลผลิตมากที่สุด ซึ่งในสวนจะเก็บได้ประมาณวันละ 20-30 กิโลกรัม สวนป๋าสนธิ์จะขายยอดผักกูดในราคากิโลกรัมละแค่ 40 บาท ค่าขนส่งผู้ซื้อเป็นคนออก เนื่องจากราคาไม่แพงทำให้มียอดสั่งซื้อจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะคนภาคเหนือที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ มักจะรวบรวมกันหลายคนแล้วสั่ง ยอมเสียค่าขนส่งเพราะส่งมาถึงกรุงเทพฯ ก็ยังถูกกว่าซื้อในกรุงเทพฯ อยู่ดี และอีกอย่างหนึ่งเขาบอกว่ากินอร่อยกว่าผักกูดอื่น ซึ่งอาจเป็นการคุ้นชินกับรสชาติผักของที่บ้าน วิธีการส่งเมื่อเด็ดยอดผักกูดมาแล้ว ก็จะห่อหนังสือพิมพ์ปิดหัวท้ายแล้วส่งทางเคอร์รี่ ให้ส่งของตลาดใกล้บ้านคือตลาดเชียงคำ ป๋าสนธิ์จะไปส่งถึงที่ ส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าที่สั่งไปขายเป็นประจำ

กรณีปลูกไปนานผักกูดจะเริ่มโทรม จะสังเกตเห็นว่ายอดมีขนาดเล็กลง ให้ใช้เครื่องตัดหญ้าตัดใบเก่าให้สูงกว่ายอดสุดท้ายขึ้นมาหน่อย หรือถ้าต้นมีขนาดใหญ่เกินให้ขุดต้นขึ้นมาแล้วตัดรากนำมาปลูกใหม่ ก็จะได้ผักกูดที่มียอดอวบใหม่อย่างเดิม

ขายทางออนไลน์

เนื่องจากป๋าสนธิ์ได้เผยแพร่รูปภาพของสวนทางสื่อออนไลน์ทำให้คนต้องการปลูกผักกูดมีเยอะมากจึงสั่งจากสวนไปปลูก โดยทางสวนจะขายต้นพันธุ์ผักกูดในราคาต้นละ 5 บาท ถ้าซื้อ 50 ต้น จะมีค่าขนส่ง 100 บาท ถ้าสั่ง 100 ต้นขึ้นไปค่าส่งฟรี แต่ถ้าสั่งจำนวนมากราคาไม่ถึงต้นละ 5 บาท ถ้าสั่ง 500 ต้นจะขายแค่ 2,000 บาทค่าส่งฟรี ถ้า 1,000 ต้นจะขาย 3,500 บาทฟรีค่าส่ง และในทุกการสั่ง 100 ต้นจะแถม 10 ต้น บางครั้งลูกค้าก็มาซื้อถึงบ้าน พร้อมกับซักถามรายละเอียดเรื่องการปลูก ในช่วงระยะเวลาที่ลงสื่อมา ป๋าสนธิ์ได้ขายต้นพันธุ์ผักกูดไปหลายหมื่นต้นแล้ว เพราะส่งมาแล้วแทบทุกจังหวัด เช่น สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อีสานส่งเกือบทุกจังหวัด กรุงเทพฯ ก็ยังมีคนสั่งไปปลูกไว้กิน

สนใจเกี่ยวกับเรื่องการปลูกผักกูด ไม่ว่าจะทำเป็นการค้าหรือปลูกไว้กินเอง ติดต่อที่ ป๋าสนธิ์ หมู่บ้านใหม่เจริญไพร ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (082) 183-9672 เฟซ ป๋าสนธิ์ ป๋าสนธิ์ เพจ สวนผักกูดภาคเหนือ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ แถลงหลังการประชุม 3 ฝ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนผู้ประกอบการและตัวแทนเกษตรกรโดยสมาคมชาวนา และผู้เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ว่า ที่ประชุมห็นชอบโครงการประกันรายได้ข้าว ในข้าว 5 ประเภทได้แก่

1) ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 หมื่นบาท ความชื้น 15% โดยประกันรายได้ให้ไม่เกินละ 30 ตัน/ครัวเรือน หรือไม่เกิน 40 ไร่

2) ข้าวเหนียว ประกันที่ตันละ12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน หรือไม่เกิน 40 ไร่

3)ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่ไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน

4) ข้าวหอมนอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 40ไร่ หรือไม่เกิน 16 ตัน

5)ข้าวหอมปทุม ไม่เกิน 11,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 25 ตัน

โดยหลังจากนี้จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม หารือ นบข. (คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ)

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนงบประมาณการเบื้องต้นจะหารือในที่ประชุม นบข. โดยให้เกษตรกรชาวนา ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรหลัง รายงานแจ้งว่า หลักเกณฑ์กลางในการอ้างอิงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงโดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน ส่วนการใช้สิทธิ์และการจ่ายเงินนั้นเกษตรกรทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์โดยโครงการจ่ายตรงผ่านบัญชีการกำกับดูแลมีการตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแก้ไขปัญหาและกรรมการนโยบายบริหารข้าวระดับจังหวัด

ทางด้านมาตรการคู่ขนานจะดำเนินการด้านการผลิตโดยลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเก็บเกี่ยว การส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่หรือนาแปลงใหญ่ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และโครงการประกันภัยพืชผล เช่นโครงการประกันภัยข้าวนาปี

มาตรการประหยัดตลาด คือ การตลาดนำการผลิตการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจ GAP หรือข้าวที่ผ่านมาตรฐานการเพาะปลูก และการส่งเสริมการผลิตข้าวตลาดเฉพาะ ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การพัฒนาชาวนาให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมการผลิตข้าว

ส่วนมาตรการด้านการตลาดนั้น งานเร่งด่วนคือการปรับสมดุลโดยการให้สินเชื่อชะลอการขาย การใช้สินเชื่อโดยสถาบันเกษตรกรหรือการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก การปรับปรุงทางด้านยุทธศาสตร์ข้าวไทย และการรักษาตลาดส่งออก ทั้งตลาดเดิม ตลาดเก่า (อิรัก) และขยายตลาดใหม่ พูดถึงมะระ เดิมคุ้นเคยกันดีคือมะระพันธุ์พื้นเมือง ที่เรียกกันว่ามะระพันธุ์ไทยหรือมะระขี้นก ต่อมามีปลูกมะระผลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่ามะระจีน ทำให้มะระไทยลดน้อยถอยลง หลังๆ เมื่อพูดถึงมะระ เป็นที่เข้าใจกันว่า คือมะระจีนนั่นเอง

ตลาดริมปิง ตั้งอยู่เลขที่ 117/1 หมู่ที่ 12 ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก ตำบลบางม่วง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ที่นี่เป็นแหล่งรวมสินค้าทางการเกษตรหลายชนิด ทั้งนี้ เป็นเพราะภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำสายใหญ่มาบรรจบกัน จนเรียกกันว่าเมืองสี่แคว ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ

ที่ตลาดริมปิง เป็นแหล่งรวมพืชที่มีรสขม แต่ผู้คนก็ชอบกินกัน นั่นก็คือมะระ ริมปิง ศูนย์กลางการรับซื้อ-ขายผลผลิตมะระ

ร้าน ต.ไพศาลการเกษตร เป็นร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ที่ตั้งอยู่ตลาดริมปิง เปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 10 ปี

คุณน้อง ศศิวรรณ คุ้มกัน ร้าน ต.ไพศาลการเกษตร เล่าว่า ปัจจัยการผลิตที่ทางร้านจำหน่ายอยู่นั้นมีหลายกลุ่มด้วยกัน สำหรับเมล็ดพันธุ์มะระปีหนึ่งจำหน่ายออกไปคิดเป็นพื้นที่ปลูกไม่น้อย เกษตรกรที่มาซื้อส่วนหนึ่งเป็นเกษตรกรในท้องถิ่น แต่ที่อยู่ห่างออกไปก็มาซื้อ เช่น อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยนาท เมื่อเกษตรกรปลูกแล้ว ก็นำผลผลิตมาจำหน่ายยังตลาดริมปิง เพื่อกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศไทย เกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำหน่าย คือเกษตรกรจังหวัดต่างๆ ที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ไปปลูกนั่นเอง

“ตลาดริมปิงรองรับผลผลิตของเกษตรกรได้ โดยเฉพาะมะระ ที่นี่เป็นศูนย์กลางการรับซื้อผลผลิตมะระ มีกระจายทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝนจะมีปริมาณมาก” คุณน้อง บอก

ปลูกกล้วยขายใบ ทำเงินให้ชาวบ้านเริ่มต้น 600-700

ที่หมู่ 4 บ้านสงาว ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นหมู่บ้านทำการเกษตร และประมงจับปลาตามลำแม่น้ำโขง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา และอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกกล้วยน้ำหว้า ปลูกตามเชิงเขา และที่ราบ ปลูกกล้วยแต่ไม่ขายกล้วย ตัดแต่ใบตองกล้วยขายกันทั้งหมู่บ้าน สร้างรายได้แต่ละครอบครัวถึงวันละ 600-700 บาท ส่งลูกเรียนจบถึงปริญญาตรี มีพ่อค้ามารับถึงในบ้าน

นางพัฒนรินทร์ แก้วเศรษฐี ชาวบ้าน หมู่ 4 บ้านสง่าว เผยว่า ตนมีอาชีพทำการเกษตร ถึงฤดูทำนาก็ทำนา แต่ว่างจากการทำนาก็ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวนหลายพันต้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านสง่าว จะหันมาปลูกกล้วยกันทั้งหมู่บ้าน และสร้างได้รายเข้าครอบครัวทุกวัน จากการขายใบกล้วย ซึ่งมีราคาแน่นอนกว่าตัดขายได้ทุกวัน ตลาดมีความต้องการมาก มีเท่าไรพ่อค้ารับซื้อหมด เนื่องจากว่า บ้านสงาว เป็นทางผ่านจากจังหวัดเลยไปจังหวัดหนองคาย และอุดรธานี ซึ่ง 2 จังหวัด มีคนทำอาชีพ ทำแหนม ทำหมูยอ และเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของภาคอีสาน จึงต้องการใบตองกล้วย เพื่อห่อแหนมและหมูยอ เป็นจำนวนมาก

“โชคดีของชาวบ้านสงาว ที่มีภูมิลำเนาเป็นที่ราบเชิงเขา ลมไม่แรง การปลูกกล้วยใบตองกล้วยจึงไม่ถูกลมพัดมากนัก ใบไม่แตก จนเป็นที่ต้องการของร้านทำแหนมทำหมูยอ ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจึงปลูกกล้วย เพื่อขายใบตองกล้วยกัน โดยจะเริ่มไปตัดใบกล้วยตั้งแต่เช้า บ่ายๆนำใบกล้วยมาบ้าน และใช้มีดเลาะเอาก้านออก เหลือแต่ในตองกล้วย นำมามัดกองไว้ และช่วงเย็นก็จะมีพ่อค้ามารับ ซึ่งทุกวันพ่อค้าจะสั่งต้องการใบกล้วยกี่มัด ทางชาวบ้านจะรวมกันและขายให้กับพ่อค้า ซึ่งราคาขายมัดละ 10 บาท โดยเฉลี่ยแต่ละบ้านจะขายได้วันละ 60-70 มัดต่อวัน สร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัว 600-700 บาท ต่อวัน บางบ้านขยันมีพื้นที่ปลูกต้นกล้วยมากขายได้วันละ 1,000 กว่าบาทก็มี จนบางบ้านส่งลูกเรียนจบถึงปริญญาตรี ทำงานดีๆเป็นเจ้าเป็นนายไปหลายคนแล้ว จากเงินที่ตัดใบกล้วยขาย” นางพัฒนรินทร์ กล่าว

ไม่ว่าจะเดินทางไปภูมิภาคไหน มักเห็นชาวบ้านต้มข้าวโพดขายริมถนน ผู้คนก็นิยมซื้อกินกัน
ข้าวโพด เป็นที่นิยมของผู้ปลูกและผู้บริโภคมานานหลายปีแล้ว นอกจากปลูกแล้วซื้อขายกันในประเทศ ทราบว่า ยังปลูกแปรรูปส่งไปต่างประเทศอีกด้วย เมื่อไม่นานมานี้ มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณพิรุณ แสงดวง คุณอุไรพรรณ แสงดวง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดพันธุ์สวีทไวโอเล็ท ประสบผลสำเร็จ อยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 2 ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

คุณพิรุณ เล่าว่า “ปัจจุบัน ประกอบอาชีพทำนา หลังจากทำนาก็จะปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์สวีทไวโอเล็ทของศรแดง เป็นพันธุ์ต้านทานโรคได้ดี ทนแล้ง รสชาติอร่อย คนนิยม ลูกค้าเขาชอบพันธุ์สวีทไวโอเล็ทนี้มาก…ข้าวโพดพันธุ์นี้ มีรสชาติหวานเหนียวอยู่ในฝักเดียวกัน เวลาเรารับประทานเข้าไปจะหวานเหนียวอยู่ในปากเลย”

เทคนิคการปลูก
คุณพิรุณ เล่าว่า หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ล้มตอซัง จ้างรถไถมาไถ จากนั้นก็ยกร่องแปลง แล้วก็ขุดหลุม ความกว้างหลังแปลงประมาณ 75 เซนติเมตร ระหว่างต้นระหว่างแถวปลูกข้าวโพด 70 คูณ 70 เซนติเมตร หลุมหนึ่งหยอดเมล็ด 2 เมล็ด หยอดเมล็ดแห้งลงไป กลบดิน ใส่น้ำ ปล่อยน้ำซึมให้ไหลเข้าไปในแปลงให้ไหลไปตามร่อง

“การให้ปุ๋ยก่อนหยอดเมล็ดก็รองก้นหลุมก่อน ประมาณช้อนชาต่อหลุม ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ลงไป หลังจากเมล็ดข้าวโพดงอกแล้ว ประมาณ 10 กว่าวัน ให้น้ำครั้งแรก แล้วก็ใส่ปุ๋ยสูตรเสมออีกรอบหนึ่ง หลังจากนั้นประมาณ20 วัน ใส่ปุ๋ยอีกครั้ง ใส่ครั้งนี้เยอะหน่อย ใส่ 15-15-15 กับ 13-13-21 รวมกันเลย โยนเข้าไปในหลุมเลย แล้วก็ขุดดินกลบ” คุณพิรุณ กล่าว

คุณพิรุณ บอกถึงอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตว่า “อยู่ที่ดินฟ้าอากาศนะครับ รุ่นนี้จะไว ถ้าหน้าหนาวจะนาน โดยช่วงปกติหน้าร้อน ประมาณ 70 วัน ถ้าหน้าหนาว ประมาณ 3 เดือนกว่า 90 กว่าวัน โดยอันนี้ที่ปลูก ปลูก 24 เมษายนจะเก็บแล้วเนี่ย ได้ 2 เดือน กับ 4 วัน”

คุณพิรุณ บอกว่า สภาพอากาศและสภาพดินมีผลต่อขนาดฝัก

“ตอนนี้ที่มันอ่อนแอที่สุดคือ โรคใบลาย การป้องกันเราก็ป้องกันตั้งแต่แรก ใช้ยาพ่นไปประมาณ 2-3 ครั้ง ถ้าเจอโรคระบาดเราก็ต้องพ่นซ้ำ ถ้าโรคใบไหม้ต้องพ่นซ้ำเรื่อยๆ แต่รุ่นนี้ดี โรคใบไหม้ไม่ค่อยมี ลักษณะใบไหม้จะเป็นจุดๆ”

คุณพิรุณ บอก และเล่าต่ออีกว่า

“ปลูกเมล็ดพันธุ์ของศรแดงมา 13 ปีแล้วครับ ไม่เคยเปลี่ยนเลย ข้าวโพดข้าวเหนียวหมดเลย เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะอายุสั้น ขายง่าย ราคาดี ไม่ต้องจ้างคนเก็บด้วย เขามาเก็บเอง เราดูแลให้เขาอย่างเดียว”

คุณพิรุณ กล่าวถึงต้นทุนว่า “ค่ารถไถ ไร่ละ 700 บาท แรงงานจะจ้างช่วงหยอดเมล็ดกับกลบปุ๋ย ค่าแรง วันละ 300 บาท ค่าแรง ปุ๋ยอะไรประมาณ 4,000 บาท ประมาณนี้นะครับ กำไรต่อไร่หักเมล็ดพันธุ์อะไรแล้ว เหลือประมาณ 8,000 บาท ต่อไร่ 1 ปี ปลูกประมาณ 2 รอบ”

“ทางด้านผลผลิตต่อไร่ ไร่หนึ่งได้ผลผลิตประมาณ 2 ตันกว่า ปัจจุบัน ปลูก 3 ไร่ 2 งาน หมดเมล็ดพันธุ์ไปประมาณ5 กิโลกรัม แนวโน้มอนาคตคิดว่ามีการขยายเกิดขึ้น ผลผลิตที่ได้สม่ำเสมอ โดย 2 คน ทำได้ประมาณ 3-4 ไร่ ต่อรอบ” คุณพิรุณ บอก

ทางด้านการตลาด คุณพิรุณ บอก “ช่วงปลูกแรกๆ ก็ 5 บาท 50 สตางค์ แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็น 6 บาท เราจะรู้ราคาตั้งแต่ก่อนปลูก โบรคเกอร์เขาจะประกันราคาให้เลย ส่งขายในจังหวัดเชียงใหม่ กิโลกรัมละ 6 บาท ตลอดทั้งปี เป็นราคาประกัน เป็นราคาที่เราพอใจครับ ทางด้านความเสี่ยงในข้าวโพดแต่ละรุ่นไม่มีครับ”

คุยกับนักส่งเสริม ข้าวโพดข้าวเหนียว
ทางด้าน คุณฐิติพันธ์ จงจิระสวัสดิ์ หรือ คุณอุ๋ย ผู้ส่งเสริมการปลูก-ส่งเสริมการขาย กล่าวว่า “เดิมทีที่บ้านปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว ปลูกเองแล้วก็ไปขายเองตามตลาด เราเป็นพ่อค้า เราก็เห็นว่ามีเพื่อนในตลาดบางคนก็ขายของอันนั้นบ้าง อันนี้บ้าง เราก็ไปแนะนำให้เขาขาย และเราก็ปลูกเผื่อเขา ปลูกเผื่อเรื่อยๆ ณ วันหนึ่ง เราออกมาทำส่งเสริมเกษตรกรดีกว่า แล้วให้กลุ่มเพื่อนๆ หรือกลุ่มแม่ค้าที่เราแนะนำเขาเป็นคนขาย ส่งเสริมเกษตรกรปีนี้เป็นปีที่ 12 พอดีครับ พื้นที่ส่งเสริมอยู่ในอำเภอแม่แตงทั้งหมดครับ ขายที่ตัวเมืองเชียงใหม่

ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ครับ แล้วแต่ว่ากลุ่มแม่ค้าจะอยู่ที่ไหน มีต่างอำเภอบ้าง มีแม่ฮ่องสอนบ้าง มีเชียงรายบ้าง ถ้าเป็นแม่ค้าที่เป็นแม่ค้าประจำของเราเนี่ยอยู่ที่เชียงใหม่ เป็นแม่ค้าที่เราส่งเสริมไว้ เป็นแม่ค้ารายย่อยที่ขายนึ่ง มีแม่ค้าอยู่ประมาณ 60 ราย บางรายส่งสูงถึง 500 กิโลกรัม ต่อวัน แล้วแต่ราย บางรายก็แค่ 20 กิโลกรัม รวมแล้วส่งขายประมาณ วันละ 4-5 ตัน ต่อวัน เราวิ่งส่งตามจุดที่เรานัด ใกล้บ้านเขา เส้นหลักๆ มีสายส่งเพียงสายเดียวครับ รถ 1 คัน วิ่งให้สุด จุดที่เรานัดกันประมาณ 10 จุด จุดหนึ่งก็ประมาณ 5-6 ราย บางจุดใหญ่หน่อยก็ 10 กว่าราย อย่างนี้นะครับ”

คุณอุ๋ย เผยสิ่งที่เกษตรกรจะได้ “เราก็ให้เมล็ดพันธุ์แล้วก็รับซื้อ ส่วนเรื่องพวกยาทางเคมี พวกอะไรเนี่ย ร้านเกษตรเยอะ เราก็ให้บ้าง อย่างถ้าเมล็ด เราก็ให้ยืมก่อน แล้วก็ไปหักตอนเก็บผลผลิตครับ…ราคารับซื้อก็เข้ากระเป๋าเกษตรกรเลยครับ 6 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ไม่มีการขึ้นลงตามฤดูกาล เราประกันราคาซื้อ เพราะเราประกันราคาขาย ราคาก็จะไม่ขึ้นไม่ลง ราคาสม่ำเสมอตลอดทั้งปี แต่ว่า 6 บาทนี่ คือเกษตรกรเขาก็แค่ปลูกนะ ไม่มีคนงานอะไร คนงานเนี่ยเราก็เอาคนงานมาเก็บเอง เอาขึ้นรถเอง เขาก็แค่มาจดดูว่าน้ำหนักเท่าไร ตัวคนงานค่าแรงก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 บาท อยู่แล้ว เพราะว่าเราเก็บตอนเที่ยงคืน”

คุณอุ๋ย เผยว่า “การรับเกษตรกรเพิ่ม อันนี้เป็นส่วนของโบรคเกอร์ เราไม่สามารถตอบได้จริงๆ อันนี้เรารับซื้อผ่านโบรคเกอร์แต่ละหมู่บ้านอยู่ ผมจะจ่ายเงินผ่านโบรคเกอร์ แล้วโบรคเกอร์ก็จ่ายเงินให้เกษตรกร โบรคเกอร์จะเป็นตัวการันตีว่าลูกไร่คนนี้ทำงานดีนะ โบรคเกอร์ก็จะคัดสรรมา โบรคเกอร์จะเป็นตัวไปรับประกันกับลูกไร่อีกทีหนึ่งว่าพ่อค้าคนนี้ดีนะ ก็จะเป็นประมาณนี้ครับ รายได้ของโบรคเกอร์ก็จะมาจากเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเงินของเกษตรกร เกษตรกรก็เข้ากระเป๋า 6 บาท เต็มๆ”

“เราไปขายแม่ค้า ถ้าใกล้หน่อย แถวๆ บ้านเราก็ 8-9 บาท ถ้าไกลแล้วเป็นลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าเรา เราก็จะคิด 10 บาท ไม่คิดค่าขนส่ง แต่ต้องอยู่เชียงใหม่ เวลาเขาไปนึ่งขาย เขาก็จะขายที่ 3 ฝัก 20 บาท ต้นทุนซื้อของเขา 3 ฝัก อยู่ที่ประมาณ 7-8 บาท ก็ถ้าเขาซื้อเราไป 1 หน่วย หรือ 1 กระสอบ ราคา 180 บาท หรือ 200 บาท เขาก็จะขายได้ประมาณ 400-500 บาท ส่วนใหญ่ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ศรแดงแทบจะไม่มีอันเสียเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์เลย ยกตัวอย่าง แปลงนี้พูดได้เลยว่า 99 เปอร์เซ็นต์ครับ” คุณอุ๋ย กล่าว

ในส่วนของมุมมองของพ่อค้าคนกลาง พันธุ์นี้ที่นิยมขายมากกว่าพันธุ์อื่น “คุณภาพการกิน ก็คือ กินแล้วอร่อย คนชอบกิน เวลาขายแล้วเนี่ยได้กำไร เพราะว่าขนาดของฝักเขาแทบจะเท่ากัน ฉะนั้น มาตรฐานของฝักจะเท่ากัน ทำให้วันหนึ่งที่เขารับไป 100 กิโลกรัม ทำให้เขารู้ว่า 100 กิโลกรัม ที่เขารับไปเนี่ยจะได้กำไร 1,000 บาท นะเขารู้ คนซื้อเขาก็เน้นมาว่า เอาพันธุ์นี้นะ ลงพันธุ์นี้นะ” คุณอุ๋ย บอก

สำหรับโรคและแมลง คุณอุ๋ย บอกว่า พันธุ์นี้ถ้าเป็นโรคก็จะพบเจอราน้ำค้างครับ ใบไหม้แผลใหญ่ ราสนิมบ้าง ส่วนแมลงก็จะเป็นหนอนเจาะฝัก หนอนเจาะสมอฝ้าย แล้วก็หนอนกระทู้ วิธีการป้องกันและกำจัด โดยการใช้เคมีพ่นตอนต้นอ่อน ส่วนยาโรคพืชก็ใช้ยาโรคพืชแก้ สารเคมีที่ใช้กำจัดหนอนกระทู้เราใช้อะบาเม็กติน แต่ก็จะเป็นช่วงสั้นๆ นะครับ ถ้าติดฝักแล้วเขาก็จะไม่ขึ้นแล้วครับ ถ้าเป็นพวกราน้ำค้างใช้เป็นพวกแมนโคเซบ

มุมมองในอนาคต
“พันธุ์นี้ใช้ได้นะครับ พันธุ์นี้ผมใช้คำว่า ลอยตัว คือเขามีฐานคนกินของเขาอยู่แล้ว คือถ้ามีพันธุ์อื่นเข้ามาเนี่ยมันอาจจะเพิ่มความหวานหรืออาจจะเพิ่มขนาดของฝัก อันนั้นมันก็จะเป็นกลุ่มคนกินอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ตัวนี้ก็คือความอร่อย เขาได้เกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว ฉะนั้นคือเขาเติมเต็มสำหรับการกินแล้ว ก็อนาคตข้างหน้าก็เชื่อว่ายังอยู่ในตลาดตลอดไป ทาง EAST-WEST-SEED หรือ ศรแดง เขาเก่ง”

สำหรับผู้ที่สนใจปลูกหรือสนใจสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ หรือผลผลิตข้าวโพด สามารถติดต่อผ่าน คุณอุ๋ย ได้โดยตรง

“ถ้าเป็นเชียงใหม่ ก็ส่งฟรีครับ แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็จะมีค่าขนส่งครับ” คุณอุ๋ย บอก

คุณอุ๋ย ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว “ถ้าเกษตรกรอยากปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว…ข้าวโพดข้าวเหนียวเขาต้องการน้ำและปุ๋ยสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ก็ให้ปุ๋ยใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง ระยะก็ให้มีวินัยหน่อย ระยะการใส่ปุ่ยก็อย่าให้เกิน 15 วัน ครับ ไม่งั้นผลผลิตก็จะไม่ได้ 15 วันนี่ นับตั้งแต่ปลูกเลยครับ เพราะว่าเกษตรกรก่อนปลูกเขาจะมีการรองก้นหลุมอยู่แล้ว ปุ๋ยที่ให้เป็นปุ๋ยตลาดทั่วไปเลยครับ”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฐิติพันธ์ จงจิระสวัสดิ์ หรือ คุณอุ๋ย โทรศัพท์ 085-008-5885 หรือ Facebook : จงเจริญการเกษตร ข้าวโพดข้าวเหนียวเชียงใหม่ หรือการปลูก การดูแลรักษา คุณพิรุณ แสงดวง คุณอุไรวรรณ แสงดวง โทรศัพท์ 085-036-2791 และ 097-154-5527

บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และ บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือบริษัท ยันม่าร์า เข้าร่วมโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคม ในการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้กับโรบอทแทรกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

“SMARTPILOT” คือชื่อผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติของยันม่าร์หรือโรบอทแทรกเตอร์

โรบอทแทรกเตอร์ คือเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เพื่อเปลี่ยนอนาคตของเกษตรกรรมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแทรกเตอร์ที่มีคนขับกับโรบอทแทรกเตอร์ โรบอทแทรกเตอร์ ทำงานแบบไม่มีคนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บเล็ต

โรบอทแทรกเตอร์สามารถทำงานร่วมกับแทรกเตอร์ปกติ โดยแทรกเตอร์ปกติจะทำงานประสานกันพร้อมกับเฝ้าติดตามโรบอทแทรกเตอร์ สื่อสารผ่านการใช้แท็บเล็ตตั้งค่าขั้นตอนการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์ เช่น การสตาร์ตหรือหยุดได้จากระยะไกล

ตัวอย่างการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์
การใช้แทรกเตอร์ปกติร่วมกับโรบอทแทรกเตอร์ สามารถหว่านเมล็ดหลังไถพรวนได้ทันทีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศ จะทำงานประสานกันโดยแทรกเตอร์ไร้คนขับจะไถพรวนและแทรกเตอร์มีคนขับคอยหว่านเมล็ดตามหลัง

การทำงานปรับได้ 2 โหมด คือ

“โหมดเดินหน้า” สามารถทำงานได้จนถึงขอบแปลงนา โดยจะขับเคลื่อนอัตโนมัติเฉพาะเดินหน้าเท่านั้น เวลาเลี้ยวกลับจะเป็นระบบคนบังคับ สามารถทำงานได้จนสุดขอบแปลงเพาะปลูก ก่อนที่เครื่องจักรจะเลี้ยวกลับ
“โหมดอัตโนมัติ” ที่ทำงานด้วยตัวมันเอง จะทำงานอัตโนมัติในเส้นทางที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ได้แก่ สเตียร์ริง (เลี้ยวกลับ) ยกเครื่องจักรทางเกษตรขึ้นลงและเดินหน้า ถอยหลังหยุดเองได้ เปิด-ปิด PTO เองได้

“โรบอทแทรกเตอร์” มีเซ็นเซอร์ความปลอดภัยที่ตรวจจับคนหรือสิ่งกีดขวาง ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะวัดระยะของวัตถุด้วยเลเซอร์หรือคลื่นอัลตราโซนิก กรณีที่ตรวจเจอคนหรือสิ่งกีดขวางรอบข้าง จะหยุดการขับแบบอัตโนมัติ และมี Safety lamp ที่เห็นแล้วรู้สถานะได้ทันที การติดตั้งไฟเพื่อตรวจสอบสถานะการขับแบบอัตโนมัติได้จากทุกทิศทางจึงสามารถดูสถานะของแทรกเตอร์จากจุดที่ห่างจากตัวเครื่องได้

ตัวอย่างการแสดงสถานะ
สีฟ้า : กำลังขับแบบอัตโนมัติ

สีชมพู : เสร็จสิ้นการขับอัตโนมัติและหยุดฉุกเฉิน ไฟติด 3 สี (สีฟ้า สีชมพู และสีเขียว) : หยุดทำงานชั่วคราว (รอ)

ไฟดับหมด : กำลังขับแบบคนบังคับ

“เซฟตี้เบรก” เมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานระหว่างขับแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการเบรกอัตโนมัติ ข้อดีของแทรกเตอร์อัตโนมัติ/โรบอทแทรกเตอร์
บันทึกพื้นที่เพาะปลูกด้วยแท็บเล็ต (ใช้งานง่าย)
สามารถบันทึกพื้นที่เพาะปลูกหรือเครื่องจักรกลการเกษตรโดยใช้แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน จะสร้างเส้นทางโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ควบคุมแค่แตะปุ่มสั่งการ เครื่องก็สามารถทำงานตามเส้นทางที่ตั้งค่าไว้อย่างอัตโนมัติ ส่วนโรบอทแทรกเตอร์สามารถใช้รีโมตควบคุมหยุดการทำงานหรือหยุดชั่วคราวได้

วัดตำแหน่งด้วย RTK-GNSS (N-trip)
สามารถวัดระยะอย่างแม่นยำได้ในระดับเซนติเมตร ด้วยการตรวจหาตำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตจากดาวเทียมนำทาง GNSS และเสารับสัญญาณมาตรฐาน ทำให้สามารถตรวจหาข้อมูลตำแหน่งในรัศมีที่ใกล้กว่าเสารับสัญญาณมาตรฐานได้

คุณชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน ขออนุญาตแนะนำยันม่าร์ให้ทุกท่านได้รู้จัก เราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ปีนี้ก็เป็นปีที่ 108 และเราก็ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 41 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะครับว่าจากนี้ไปความต้องการทางด้านอาหารนั้นจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในขณะที่แรงงานทางภาคการเกษตรกรรมนั้นจะลดลง ซึ่งหากไม่มีนวัตกรรมทางด้านการเกษตรเราก็จะไม่มีการคงไว้ซึ่งอาหารที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้น คิดว่าภายในอนาคตอันใกล้นี้ การทำให้แทรกเตอร์มีความสามารถในการทำงานได้โดยอัตโนมัตินั้นจึงมีความจำเป็นขึ้นมา และทางยันม่าร์ของเราก็ได้มีการตระหนักถึงข้อนี้เลยได้มีการวิจัยออกมาเป็นรถแทรกเตอร์ไร้คนขับหรือที่เราเรียกว่าโรบอทแทรกเตอร์

โดยโรบอทแทรกเตอร์ที่ได้เห็นถือเป็นเครื่องเทคโนโลยีล่าสุด มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งแทรกเตอร์คันนี้ยังคงได้รับรางวัลโรบอทยอดเยี่ยมครั้งที่ 7 ของประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงถือโอกาสการสาธิตรถโรบอทแทรกเตอร์ในวันนี้เพื่อการแสดงออกให้ทุกท่านได้เห็นว่ายันม่าร์มีความทุ่มเทเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด เป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์โรบอทแทรกเตอร์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้นำตัวโรบอทแทรกเตอร์ตัวนี้มาแสดง บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และ บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือบริษัท ยันม่าร์า เข้าร่วมโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคม ในการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้กับโรบอทแทรกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

“SMARTPILOT” คือชื่อผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติของยันม่าร์หรือโรบอทแทรกเตอร์

โรบอทแทรกเตอร์ คือเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เพื่อเปลี่ยนอนาคตของเกษตรกรรมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแทรกเตอร์ที่มีคนขับกับโรบอทแทรกเตอร์ โรบอทแทรกเตอร์ ทำงานแบบไม่มีคนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บเล็ต

โรบอทแทรกเตอร์สามารถทำงานร่วมกับแทรกเตอร์ปกติ โดยแทรกเตอร์ปกติจะทำงานประสานกันพร้อมกับเฝ้าติดตามโรบอทแทรกเตอร์ สื่อสารผ่านการใช้แท็บเล็ตตั้งค่าขั้นตอนการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์ เช่น การสตาร์ตหรือหยุดได้จากระยะไกล

ตัวอย่างการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์
การใช้แทรกเตอร์ปกติร่วมกับโรบอทแทรกเตอร์ สามารถหว่านเมล็ดหลังไถพรวนได้ทันทีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศ จะทำงานประสานกันโดยแทรกเตอร์ไร้คนขับจะไถพรวนและแทรกเตอร์มีคนขับคอยหว่านเมล็ดตามหลัง

การทำงานปรับได้ 2 โหมด คือ

“โหมดเดินหน้า” สามารถทำงานได้จนถึงขอบแปลงนา โดยจะขับเคลื่อนอัตโนมัติเฉพาะเดินหน้าเท่านั้น เวลาเลี้ยวกลับจะเป็นระบบคนบังคับ สามารถทำงานได้จนสุดขอบแปลงเพาะปลูก ก่อนที่เครื่องจักรจะเลี้ยวกลับ
“โหมดอัตโนมัติ” ที่ทำงานด้วยตัวมันเอง จะทำงานอัตโนมัติในเส้นทางที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ได้แก่ สเตียร์ริง (เลี้ยวกลับ) ยกเครื่องจักรทางเกษตรขึ้นลงและเดินหน้า ถอยหลังหยุดเองได้ เปิด-ปิด PTO เองได้

“โรบอทแทรกเตอร์” มีเซ็นเซอร์ความปลอดภัยที่ตรวจจับคนหรือสิ่งกีดขวาง ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะวัดระยะของวัตถุด้วยเลเซอร์หรือคลื่นอัลตราโซนิก กรณีที่ตรวจเจอคนหรือสิ่งกีดขวางรอบข้าง จะหยุดการขับแบบอัตโนมัติ และมี Safety lamp ที่เห็นแล้วรู้สถานะได้ทันที การติดตั้งไฟเพื่อตรวจสอบสถานะการขับแบบอัตโนมัติได้จากทุกทิศทางจึงสามารถดูสถานะของแทรกเตอร์จากจุดที่ห่างจากตัวเครื่องได้

ตัวอย่างการแสดงสถานะ
สีฟ้า : กำลังขับแบบอัตโนมัติ

สีชมพู : เสร็จสิ้นการขับอัตโนมัติและหยุดฉุกเฉิน ไฟติด 3 สี (สีฟ้า สีชมพู และสีเขียว) : หยุดทำงานชั่วคราว (รอ)

ไฟดับหมด : กำลังขับแบบคนบังคับ

“เซฟตี้เบรก” เมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานระหว่างขับแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการเบรกอัตโนมัติ ข้อดีของแทรกเตอร์อัตโนมัติ/โรบอทแทรกเตอร์
บันทึกพื้นที่เพาะปลูกด้วยแท็บเล็ต (ใช้งานง่าย)
สามารถบันทึกพื้นที่เพาะปลูกหรือเครื่องจักรกลการเกษตรโดยใช้แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน จะสร้างเส้นทางโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ควบคุมแค่แตะปุ่มสั่งการ เครื่องก็สามารถทำงานตามเส้นทางที่ตั้งค่าไว้อย่างอัตโนมัติ ส่วนโรบอทแทรกเตอร์สามารถใช้รีโมตควบคุมหยุดการทำงานหรือหยุดชั่วคราวได้

วัดตำแหน่งด้วย RTK-GNSS (N-trip)
สามารถวัดระยะอย่างแม่นยำได้ในระดับเซนติเมตร ด้วยการตรวจหาตำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตจากดาวเทียมนำทาง GNSS และเสารับสัญญาณมาตรฐาน ทำให้สามารถตรวจหาข้อมูลตำแหน่งในรัศมีที่ใกล้กว่าเสารับสัญญาณมาตรฐานได้

คุณชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน ขออนุญาตแนะนำยันม่าร์ให้ทุกท่านได้รู้จัก เราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ปีนี้ก็เป็นปีที่ 108 และเราก็ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 41 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะครับว่าจากนี้ไปความต้องการทางด้านอาหารนั้นจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในขณะที่แรงงานทางภาคการเกษตรกรรมนั้นจะลดลง ซึ่งหากไม่มีนวัตกรรมทางด้านการเกษตรเราก็จะไม่มีการคงไว้ซึ่งอาหารที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้น คิดว่าภายในอนาคตอันใกล้นี้ การทำให้แทรกเตอร์มีความสามารถในการทำงานได้โดยอัตโนมัตินั้นจึงมีความจำเป็นขึ้นมา และทางยันม่าร์ของเราก็ได้มีการตระหนักถึงข้อนี้เลยได้มีการวิจัยออกมาเป็นรถแทรกเตอร์ไร้คนขับหรือที่เราเรียกว่าโรบอทแทรกเตอร์

สิ่งสำคัญที่อีกอย่างหนึ่ง คือ การปลูกฝังให้รุ่นลูกได้เรียนรู้

และซึมซับการทำฟาร์มโคนม ให้เป็นอาชีพที่มั่นคง และไปต่อได้ เพราะเป็นอาชีพที่พ่อให้” นายปฐมพร เม่งผ่อง กล่าวทิ้งท้ายด้วยความตั้งใจที่จะสานต่ออาชีพการทำฟาร์มโคนมจากรุ่นปู่ย่า และมีความหวังจะส่งต่อมรดกอาชีพพระราชทานสู่รุ่นลูกต่อไป

กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ จ.กระบี่ จัดพิธีปล่อยกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่คืนสู่ป่า 1,500 ต้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระพันปีหลวงฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา 12 สิงหาคม 2562 และสืบสานต่อยอดพระราชเสาวนีย์ด้านการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าท้องถิ่นภาคใต้ เร่งขยายพันธุ์-ปลูกเพิ่มไม่ให้สูญพันธุ์

นายสุรเดช ปัจฉิมกุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา 12 สิงหาคม 2562 ตลอดจนสนองพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ท้องถิ่นภาคใต้ ให้อยู่กับธรรมชาติแบบยั่งยืน

กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ จังหวัดกระบี่ ได้จัดพิธี “ปล่อยรองเท้านารีเหลืองกระบี่คืนสู่ป่า” จำนวน 1,500 ต้น ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยกิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อสนองแนวทางพระราชเสาวนีย์ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ดำเนินการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเพื่อเพิ่มจำนวนและปลูกคืนสู่ป่า รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญในด้านการสนับสนุน ฟื้นฟู และอนุรักษ์ เกิดจิตสำนึก มีความรัก และหวงแหนทรัพยากรพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ให้ยังคงอยู่คู่กับผืนป่าจังหวัดกระบี่และประเทศไทยต่อไป

​ด้าน นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ นับเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในภาคใต้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า กล้วยไม้รองเท้านารี เป็นพันธุ์กล้วยไม้ป่าท้องถิ่นภาคใต้ที่หายาก โดยเฉพาะพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ถือได้ว่าเป็นพันธุ์กล้วยไม้ประจำจังหวัดกระบี่ ในปัจจุบันมีจำนวนลดลงไปจากธรรมชาติ จนอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

สำหรับความเป็นมาของโครงการ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 21เมษายน พ.ศ. 2543 ครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี ซึ่งได้รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในภาคใต้ไว้ รวม 6 พันธุ์ ได้แก่ เหลืองกระบี่ เหลืองตรัง เหลืองพังงา ขาวสตูล ม่วงสงขลา และคางกบใต้ภายหลังทอดพระเนตรได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สถานีทดลองข้าวกระบี่ในขณะนั้น ดำเนินการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี เพื่อเพิ่มจำนวนและปลูกคืนสู่ป่าในพื้นที่ที่เหมาะสม

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ (ศวพ. กระบี่) ในปัจจุบัน ได้สนองพระราชเสาวนีย์โดยจัดทำเป็น “โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีในจังหวัดกระบี่มิให้สูญพันธุ์ ปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกหวงแหนทรัพยากรพันธุกรรมพืชของชาติ และเพื่อรวบรวมพันธุ์รองเท้านารีที่มีแหล่งกำเนิดในจังหวัดกระบี่ นำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ให้เพิ่มมากขึ้น

​ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการขยายพันธุ์รองเท้านารี โดยเฉพาะรองเท้านารีเหลืองกระบี่ ปีละ 2,000 กระถาง และปลูกคืนสู่ป่า ปีละ 1,500 กระถาง ส่วนที่เหลือ ได้มอบให้ส่วนราชการต่างๆ นำไปช่วยขยายพันธุ์ให้แพร่หลายมากขึ้น พร้อมกันนี้ ได้จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้รองเท้านารี สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ผู้สนใจทั่วไป

นายวิรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีจำนวน 17 ชนิด ล้วนอยู่ในสกุล Paphiopedilum เพียงสกุลเดียวเท่านั้นซึ่งได้รับความสนใจนำมาปลูกเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์เพื่อการค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บางประเทศในยุโรปและเอเชีย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งส่งออกกล้วยไม้รองเท้านารีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกไม่แพ้ไม้ดอกไม้ประดับประเภทอื่นๆ ทั้งในรูปแบบของไม้กระถางและไม้ตัดดอก ส่วนรองเท้านารีเหลืองกระบี่เป็นสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่พบในหลายจังหวัดที่ติดกับชายฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา ตรัง แต่พบมากในจังหวัดกระบี่ จึงเป็นที่มาของชื่อรองเท้านารีเหลืองกระบี่เป็นพันธุ์ที่หายาก และนับวันมีปริมาณที่ลดลง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เร่งขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณโดยการนำไปปล่อยในป่าอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 13 สิงหาคม 2562 – ฟอร์ด ประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดรถกระบะ นำเสนอรถกระบะพันธุ์แกร่ง ฟอร์ด เรนเจอร์ 4 รุ่นย่อย รองรับการใช้งานทุกรูปแบบของเกษตรกร ด้วยสมรรถนะและประสิทธิภาพการใช้งานเหนือชั้น พร้อมลุยทุกงานสมบุกสมบันและภารกิจอันท้าทาย

ฟอร์ด เรนเจอร์ รุ่น XL มีให้เลือกทั้งแบบกระบะตอนเดียวและกระบะแบบมีแค็บ ทำให้ฟอร์ด เรนเจอร์ รุ่นนี้สามารถรองรับทุกการใช้งานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการบรรทุกผลผลิตทางการเกษตร ด้วยกระบะขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับการบรรทุกได้เต็มประสิทธิภาพ มาพร้อมขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร พร้อม VG Turbo Intercooler กำลังสูงสุด 160 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 385 นิวตันเมตร ติดตั้งพวงมาลัยพาวเวอร์ผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า และอุปกรณ์ความปลอดภัยในการขับขี่ ทั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบกุญแจนิรภัย Immobilizer และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายอีกมากมาย มอบทั้งความคุ้มค่าคุ้มราคาและสมรรถนะที่เหนือกว่าให้แก่รถกระบะพันธุ์แกร่ง ให้พร้อมรับมือทุกงานหนักในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านขนส่ง งานเกษตรกรรมทั่วประเทศ หรือใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีรายละเอียดแต่ละรุ่น ดังนี้

ฟอร์ด เรนเจอร์ สแตนดาร์ดแค็บ 2.2L XL เกียร์ธรรมดา 6 สปีด รถกระบะที่แข็งแกร่งเหมาะกับงานเกษตรทั่วไป ด้วยพละกำลังและความทนทานของเครื่องยนต์ พื้นที่กระบะท้ายกว้างถึง 1.8 ตารางเมตร ตอบโจทย์งานเกษตรที่ต้องการบรรทุกผลิตผลจำนวนมาก ด้วยราคาเพียง 559,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ สแตนดาร์ดแค็บ 2.2L XL 4×4 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด รถกระบะพันธุ์แกร่ง ได้รับการพัฒนาให้พร้อมรับมือกับงานสุดหนักหน่วง ไม่ว่าจะเป็นการลากจูง การบรรทุก หรือขับตะลุยเส้นทางออฟโรด ด้วยเฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิป พร้อมแผ่นกันกระแทกใต้ท้องรถเฉพาะรุ่น 4×4 เหมาะกับงานเกษตรที่เน้นใช้ยานพาหนะในการขนส่งผลิตผลในปริมาณมาก และวิ่งบนพื้นที่สมบุกสมบัน ในราคา 649,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ่นแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด กระบะพันธุ์แกร่งสมรรถนะดีเด่น อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาด อย่างหน้าต่างปรับไฟฟ้าพร้อมระบบเปิด-ปิดแบบสัมผัสเดียวด้านคนขับ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเพื่อตอบโจทย์ทุกความท้าทายทั้งการทำงานที่อาศัยความคล่องตัว และในชีวิตประจำวัน ในราคา 599,000 บาท

ฟอร์ด เรนเจอร์ ดับเบิ้ลแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด กระบะรุ่นใหม่ที่เหนือชั้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดและฟีเจอร์ความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบป้องกันการหนีบที่ด้านคนขับ และจุดยึดสำหรับเบาะนั่งเด็ก ISOFIX ตอบโจทย์งานเกษตรที่ต้องใช้ความรวดเร็ว แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังในการทำงาน และยังสามารถนำไปใช้เป็นรถสำหรับครอบครัวในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ทั้งหมดมาในราคาสุดคุ้มเพียง 689,000 บาท

ฟอร์ดตระหนักถึงความท้าทายในการทำงานของเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการรถที่สามารถบรรทุกของหนักเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและผลิตผล รวมทั้ง ยังต้องรองรับการขับขี่แบบสมบุกสมบันจากการทำงานในพื้นที่การเกษตรซึ่งมีเส้นทางและพื้นผิวถนนที่หลากหลาย ทำให้ต้องการรถที่มีเครื่องยนต์ทรงพลัง สามารถยึดเกาะถนนได้ดี มีอุปกรณ์ปกป้องความปลอดภัยสูงสุด ฟอร์ด เรนเจอร์ จึงถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ทำเกษตรกรรมระดับอุตสาหกรรมใหญ่ ที่ไม่เพียงต้องการรถที่สมรรถนะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ยังต้องการความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย ด้วยการผสมผสานสมรรถนะอันแข็งแกร่งต่อการทำงานทุกรูปแบบทุกพื้นที่การเกษตร พร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะที่เหนือชั้น และมาตรฐานความแกร่งสมบุกสมบันของกระบะนิยาม ‘เกิดมาแกร่ง’

“ฟอร์ดเล็งเห็นถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะผู้ทำการเกษตรระดับอุตสาหกรรม มีความจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน และมีความแกร่งทนทานมากพอที่จะทำให้งานเกษตรกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ ฟอร์ดจึงนำเสนอ ฟอร์ด เรนเจอร์ ทั้ง 4 รุ่นย่อย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร และตอกย้ำนิยาม ‘เกิดมาแกร่ง’ เพื่อสะท้อนถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยที่แกร่งไม่แพ้กัน” นายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว

รถกระบะพันธุ์แกร่ง ฟอร์ด เรนเจอร์ 4 รุ่นย่อย ฟอร์ด เรนเจอร์ สแตนดาร์ดแค็บ 2.2L XL 4×2 และ 4×4 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ่นแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด และฟอร์ด เรนเจอร์ ดับเบิ้ลแค็บ XL 2.2L 4×2 เกียร์ธรรมดา 6 สปีด พร้อมให้เป็นเจ้าของแล้ว ณ โชว์รูมฟอร์ด ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดโครงการสัมมนาความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความร่วมมือยางพาราระหว่างประเทศ (Seminar on Update and Exchange Knowledge from International Rubber Forum) ของการยางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2562 เปิดพื้นที่เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรียนรู้เพิ่มประสบการณ์งานวิจัย เสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนา เตรียมความพร้อมผู้เข้าอบรมสู่เวทีวิจัยยางพาราระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2562 ณ เดอะไพน์ รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี

นางสาวมยุรี ลงสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานเปิดโครงการสัมมนาฯ กล่าวว่า กยท. เป็นองค์กรกลางที่ดูแลและบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ มีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านยางพาราทั้งงานวิชาการ งานวิจัย การค้า การลงทุน ตลอดจนบุคลากร ให้ก้าวสู่ความมีมาตรฐานในระดับสากลกับองค์กร สถาบัน หรือสมาคมระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ “การพัฒนา” “ความยั่งยืน” และ “การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ” ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กยท. มีหลายๆ กิจกรรม หลายๆ โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการและบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางภาคเอกชน ด้วยความพยายามที่จะผลักดันพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยการคิดค้น การพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ และที่สำคัญ ได้มีการแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติจากทั่วโลก หันมาให้ความสำคัญและบูรณาการพัฒนายางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีคุณภาพ สร้างประโยชน์และเพิ่มมูลค่าตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงสินค้าแปรรูปร่วมกัน

นางสาวมยุรี กล่าวเพิ่มว่า การจัดโครงการจัดสัมมนาความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความร่วมมือยางพาราระหว่างประเทศ ของ กยท. ซึ่งปีนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกของ กยท. จะเป็นโครงการหนึ่งที่เป็นพื้นที่และเวทีสำหรับผู้แทนประเทศไทยทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความร่วมมือยางพาราระหว่างประเทศ และเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานวิจัย การมีส่วนร่วมระดับนานาชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยผู้ที่เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้จะได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปตามฐานต่างๆ เพื่อเป็นการละลายพฤติกรรม สร้างความสัมพันธ์ และให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเหมาะสม และช่วยกันสร้างเครือข่ายนักวิจัยให้มีความรู้ ความสามารถในการก้าวสู่เวทีเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง กยท. กับองค์กรความร่วมมือยางพาราระหว่างประเทศต่อไป และท้ายที่สุดผู้เข้าสัมมนา

ในครั้งนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อวงการยางพาราทั้งต่อองค์กร ประเทศชาติ และนานาชาติต่อไปหลายคนรู้จักการหมักดองอาหาร กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นกรรมวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่งที่อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่ในสมัยนี้ คิดว่า “ผักดอง” เป็นอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขอนามัย หรือเป็น ของแสลง

ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายว่า คนไทยสมัยก่อนมักรู้จักการหมักและการดองควบคู่กันไป โดยในหลักการถนอมอาหาร การหมัก (fermentation) และการดอง (pickling) นั้นมีกรรมวิธีที่ต่างกัน คือ

“การหมัก” หมายถึง การถนอมอาหาร โดยอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางชนิด เป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย อาจเติมเกลือหรือไม่ก็ได้ และอาจเติมส่วนประกอบอย่างอื่น เช่น ข้าวคั่ว เพื่อเสริมให้จุลินทรีย์มีบทบาทในการหมัก ทำให้เกิดรสชาติที่ต้องการ ซึ่งอาจต้องหมักทิ้งไว้ ประมาณ 2 – 3 วัน หรือหลายเดือน แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำปลา ปลาร้า ปลาเจ่า หม่ำ ไส้กรอก (เปรี้ยว) ผักกาดดอง หรือหน่อไม้ดอง เป็นต้น

ส่วน “การดอง” หมายถึง การถนอมอาหารในน้ำเกลือ และมีน้ำส้มเล็กน้อย อาจเติมเครื่องเทศ น้ำตาล หรือน้ำมันด้วยก็ได้ การดองอาจอาศัยเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปช่วย ถ้าดองในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น แตงกวาดอง กระเทียมดอง ขิงดอง เป็นต้น หรืออาจดองโดยไม่ต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์เลย ซึ่งมักใช้กับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือที่มีความเป็นกรดสูง และใช้น้ำเกลือที่เค็มจัด เช่น มะม่วงดอง

ที่ผ่านมาหลายคนคงเคยคิดว่า ผักดองเป็นของต้องห้าม แต่ถ้าได้อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับผักดองและภูมิปัญญาการใช้ผักดองของไทยและต่างชาติแล้วจะต้องเปลี่ยนใจ โดยเฉพาะ “ผักเสี้ยนดอง” ซึ่งคนไทยโบราณบอกว่าเป็นยาร้อน กินแล้วเลือดลมดี มีกำลัง แก้ปวดเมื่อย ตาจะดี ผิวจะสวย

คล้ายกับความเชื่อของชาวเคนยาที่ว่า ผักเสี้ยน คือ อาหารเป็นยา ช่วยบำรุงและให้พลังงาน ซึ่งในด้านคุณค่าทางโภชนาการพบว่า ผักเสี้ยนมีวิตามินเอและวิตามินซีสูงมาก รวมทั้งแคลเซียม และเหล็ก โดยเฉพาะการดองเร็ว พอผักเริ่มมีรสเปรี้ยวพอดีๆ ก็ทานจะได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ หรือโปรไบโอติกส์ มากที่สุดเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นๆ การดองจึงเป็นความรู้พื้นบ้านในการถนอมสารอาหารได้อย่างดี

สำหรับ โปรไบโอติกส์ คือ เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ ช่วยต่อต้านเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก ซึ่งมักพบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยในการดูดซึมของสารอาหาร คอเลสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เช่น วิตามินบี 12 ไบโอติน และวิตามินเค ส่วนอาหารที่แบคทีเรียกลุ่มโปรไบโอติกส์นำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติกส์ เช่น ใยอาหาร

โปรไบโอติกส์ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ ช่วยทำลาย สารพิษในลำไส้ ช่วยย่อยอาหารพวกเส้นใยให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้นโมเลกุลเล็กๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน และช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ซึ่งนับเป็นกลไกของร่างกายที่ช่วยให้กองกำลังแบคทีเรียดีควบคุมแบคทีเรียร้ายเอาไว้ นอกจากนี้ โปรไบโอติกส์ยังช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยสร้างและปรับระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ จึงช่วยลดปฏิกิริยาภูมิแพ้นั่นเอง

ด้วยคุณค่าทางอาหารข้างต้น ผักเสี้ยนดองจึงน่าจะเหมาะกับผู้ที่ขาดสารอาหาร เช่น ขาดวิตามินเอ โลหิตจาง คนที่มีปัญหา เลือดออกตามไรฟัน หรือมีปัญหาระบบทางท้องไส้ เพราะนอกจากจะมีกากใยอาหารสูงช่วยขจัดของที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ได้ดีแล้วยังมีโปรไบโอติกส์มากที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า “ผักเสี้ยน” มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ดี มีฤทธิ์แก้ปวด ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ เรียกว่าเป็นทั้งอาหารและยา ที่คนสมัยก่อนคุ้นเคย อย่างไรก็ตาม การทานผักดองนั้น ควรระมัดระวังและให้ความสำคัญในเรื่อง รสชาติ กลิ่น สี และความสะอาด คือ ผักดองที่ดีนั้นไม่ควรมีรสเค็มจัด ควรมีกลิ่นหอมกรดอ่อนๆ น้ำที่หมักควรมีสีออกขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสีอื่นปน และไม่มีเชื้อก่อโรคอื่นๆ ปนเปื้อนนั่นเอง

ร้าน PAUL จับมือ แบรนด์ยูฟาร์ม นำผลิตภัณฑ์ไก่เบญจา ธรรมชาติ 100% รังสรรค์ 3 เมนูเพื่อสุขภาพให้แก่ลูกค้า ตอกย้ำ แนวคิดการคัดสรรอาหารคุณภาพดี ระดับพรีเมี่ยม สอดคล้องตามแนวคิดของร้าน PAUL ที่มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มคุณภาพ มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) พร้อมเสิร์ฟในร้านอาหาร PAUL 9 สาขา เริ่มวันที่ 23 สิงหาคม นี้

ดร. ปพนธ์ รัตนชัยกานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอาหาร และคอฟฟี่เฮ้าส์ บริษัท เบคเฮาส์ จำกัด กล่าวว่า ร้านอาหาร PAUL เปิดตัว 3 เมนูอาหารใหม่สำหรับลูกค้าที่ใส่ใจในสุขภาพ โดยนำเนื้อไก่เบญจา เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% ปลอดสาร ปลอดยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นไปตามปรัชญาของร้าน PAUL ที่ยึดมั่นในการบริโภคที่ดี เป็นกุญแจสำคัญของการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ จึงใส่ใจในการคัดสรรส่วนผสมและวัตถุดิบของอาหาร เพื่อให้ลูกค้าทุกคนได้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เปี่ยมด้วยคุณภาพทั้งด้านรสชาติและปลอดภัย

“นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว PAUL ยังให้ความสำคัญกับความโดดเด่นของวัตถุดิบ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่าง ไก่เบญจา คุณภาพระดับซูเปอร์พรีเมียม นอกจากผลิตหรือเลี้ยงแบบธรรมชาติ ปลอดสารเคมีแล้ว ยังเลี้ยงด้วยข้าวกล้อง ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นไทย และมีคุณสมบัติพิเศษเรื่องความหอม นุ่ม ฉ่ำ ทำให้เมนูอาหารของร้าน PAUL ลงตัวและตอบโจทย์ลูกค้าทั้งโภชนาการและรสชาติ” ดร. ปพนธ์ กล่าว

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ร้านอาหารในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพ มาประกอบอาหารให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะร้านอาหารระดับพรีเมียม โดย ไก่เบญจา เป็นผลิตภัณฑ์แรกและหนึ่งเดียวของ “ยู-ฟาร์ม” (U-Farm) แบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์กลุ่มเพื่อสุขภาพระดับซูเปอร์พรีเมียม เสริมด้วยนวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติพิเศษที่ให้ประโยชน์นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน ไก่เบญจา เป็นเนื้อไก่สด จากการเลี้ยงไก่ด้วยข้าวกล้องคัดพิเศษ ให้รสชาติ ความหอม ความนุ่ม และความฉ่ำของเนื้อไก่มากกว่าปกติถึง 55% เนื้อไก่ออกสีชมพู ที่สำคัญยังปลอดสาร ปลอดภัย ไม่ใช้ฮอร์โมน และไม่เคยได้รับยาปฏิชีวะนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู โดยได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกจาก NSF และเป็นผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับปรัชญาของร้าน PAUL ที่มุ่งมั่นในการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ

สำหรับเมนูไก่เบญจาปรุงเสิร์ฟให้แก่ลูกค้าผู้รักสุขภาพของร้าน PAUL เบื้องต้น มี 3 เมนู ประกอบด้วย เมนูแรก Pasta Pesto Benja Chicken and Fresh Avocado เป็นเมนูพาสต้า กับอโวคาโดสด และอกไก่เบญจา พร้อมกับซอสที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้านพอล เมนูที่ 2 Seared Benja Chicken breast เป็นอกไก่เบญจา บนซอสมะเขือเทศ เสิร์ฟพร้อม อะโวกาโด และ เห็ด และเมนูที่ 3 คือ Benja Chicken, Multigrain croissant sandwich หรือ ครัวซองค์มัลติเกรนไก่เบญจา ทั้งสามเมนูนำเนื้อไก่ที่มีความหอม นุ่ม และฉ่ำ เมื่อนำมาปรุงตามแบบฉบับของเชฟที่ร้าน PAUL ได้รสชาติที่ลงตัวช่วยให้ลูกค้ามีเมนูอาหารที่ดูแลสุขภาพให้เลือกเพิ่มมากขึ้น

ผู้ที่ดูแลและใส่ใจสุขภาพสามารถพบกับเมนูที่รังสรรค์ด้วยไก่เบญจา ได้ที่ร้าน PAUL 9 สาขา ได้แก่ Siam Paragon, Central Embassy, Tops Central Chidlom, Central World, Ei8ht Thonglor, The Emporium, ICONSIAM, Mega Bangna และ Empire Tower ได้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม – 30 กันยายน 2562 นี้

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อน จากการทำนา

เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ โครงการ Thai Rice NAMA เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 14.9 ล้านยูโร จาก NAMA Facility

ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (2561-2566) เพื่อดำเนินงานพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกร 100,000 ครัวเรือน ในเขต 6 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.8 ล้านไร่ โดยมีวัตถุประสงค์…เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมแก่เกษตรกรทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการทำนาแบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน (GAP++), เพื่อพัฒนาและขยายธุรกิจการให้บริการเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, เพื่อให้มีมาตรการจูงใจที่สนับสนุนให้ภาคการผลิตข้าวทั้งระบบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในการนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตข้าวในประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน โดยช่วงต้นปี 2560 กรมการข้าว ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้เสนอแนวคิดโครงการ Thai Rice NAMA ต่อ NAMA Facility (กองทุนที่ก่อตั้งโดยอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 7 โครงการ จากทั้งหมด 77 โครงการ เพื่อรับเงินสนับสนุนในการจัดเตรียมข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full proposal) โดยกรมการข้าวได้ส่งจัดข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ให้ทาง NAMA Facility เพื่อพิจารณา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และได้รับการอนุมัติโครงการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561

การบริหารโครงการ Thai Rice NAMA ได้วางแผนการบริหารโครงการแบบบูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานภาคี โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการระดับจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคี

การดำเนินงานภายใต้โครงการ Thai Rice NAMA ที่มีวัตถุประสงค์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ประกอบด้วย เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Leveling)
การปรับพื้นที่ให้เรียบเสมอกันเป็นพื้นฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ทำให้การใช้ทรัพยากรการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อน้ำครอบคลุมได้เท่ากันทั่วแปลงนา ผลคือ ลดปริมาณการใช้น้ำได้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ลดต้นทุน การใช้สารปราบวัชพืช น้ำมัน ค่าแรงงาน รวมทั้งต้นข้าวมีความสม่ำเสมอ ส่งผลให้ได้ผลผลิตเท่ากันทั่วทั้งแปลง

การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง (Alternate Wetting and Drying : AWD) เทคโนโลยีการปลูกข้าวด้วยการควบคุมระดับน้ำ โดยให้น้ำเป็นรอบเวรในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ จนกระทั่งข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก หรือเรียกว่า “การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และลดปริมาณน้ำที่ใช้กับการปลูกข้าวในเขตชลประทาน ได้ร้อยละ 20-50 และสามารถลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้กว่า ร้อยละ 30

การจัดการธาตุอาหารพืชและการใช้ปุ๋ย (Site Specific Nutrient Management) วัตถุประสงค์ของการจัดการธาตุอาหารพืช หรือนาข้าว คือการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ข้าวขาดแคลน ให้ข้าวได้รับทุกธาตุอย่างเพียงพอและสมดุล ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น โดยมีหลักการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง 4 ประการ ดังนี้

การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง ทั้ง 4 ประการ จะส่งผลดีด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจ ชาวนาจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อทำกันอย่างกว้างขวางย่อมทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น อันเป็นผลต่อเนื่องด้านสังคม ที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกๆ ด้าน เกษตรกรมีกำลังทรัพย์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต สำหรับผลดีด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการลดความสูญเสียธาตุอาหารจากฟาร์มไปสู่สิ่งแวดล้อม และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสม ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การจัดการฟางและตอซัง (Straw and Stubble Management)
การเผาฟางในนาข้าว ก่อให้เกิดความเสียหายหลายประการ ทั้งสภาพแวดล้อม และภาวะเรือนกระจกควันจากการเผาฟางเป็นสาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุบนท้องถนน ความร้อน และฝุ่นละอองจากขี้เถ้าที่พัดมากับลมเป็นมลพิษเช่นเดียวกับควัน และที่สำคัญที่สุดคือ ฟางข้าว ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุที่มีธาตุอาหารพืช เป็นองค์ประกอบโดยมีธาตุอาหารพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เมื่อฟางข้าวถูกเผา ธาตุอาหารเหล่านี้จะสูญเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนสูญหายไป 93 เปอร์เซ็นต์ และฟอสฟอรัส สูญหายไป 20 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้ดินเสื่อมโทรมลงไปจากการทำนาและการเผาฟางต่อเนื่อง นอกจากนี้ การทำนาแบบไม่เผาตอซังยังช่วยในการอนุรักษ์ดินไม่ทำให้ดินเสื่อม และทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นจากเศษตอซังข้าวและวัชพืชที่อยู่ในแปลงนาอีกด้วย

การไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 15 วัน ในสภาพดินแห้งถึงชื้น จึงเตรียมดินปลูกข้าว สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวลงได้ในฤดูที่ 2 และฤดูต่อๆ ไป โดยข้าวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน

มาตรฐานข้าวยั่งยืน GAP++
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยเป็นการผลิตข้าวตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน หรือกระบวนการผลิตข้าวที่ก่อให้เกิดความสมดุลในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกษตรกรที่ผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP++ จะใช้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มีการเพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรดินและน้ำอย่างถูกต้อง การรักษาสุขอนามัยผู้ผลิต การปฏิบัติต่อแรงงานในการทำนาอย่างเป็นธรรมและถูกกฎหมาย และการมีรายได้จากการทำนาอย่างเหมาะสม โดยมีข้อกำหนดการผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรและสังคมโดยรวม

โครงการไทยไรซ์นามา ได้รับเงินทุนจาก กองทุน NAMA facility ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับเงินสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศเดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานทางเทคนิคและสนับสนุนกลไกทางการเงิน โครงการได้รับทุนสนับสนุน จำนวน 8.4 ล้านยูโร เพื่อใช้ในการสนับสนุนตลาด ให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีการปรับหน้าดินด้วยเลเซอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเงินทุนจำนวนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดด้านการลงทุนของเกษตรกร และให้เกิดการกระตุ้นตลาดของเทคโนโลยีใหม่

เงินทุนสนับสนุนดังกล่าวจะถูกนำมาจัดตั้งเป็นเงินหมุนเวียน โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้รับเงินและเป็นผู้จัดการเงินทุน

คุณดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “โครงการชาวนารักโลก เป็นโครงการที่มุ่งและส่งเสริมให้มีการผลิตข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีลักษณะของการปรับเทคโนโลยีในการผลิตข้าว 4 ป

ป แรก…คือการปรับพื้นที่ ทำพื้นที่ให้เสมอในลักษณะที่มีการใช้เลเซอร์

ป ที่สอง…คือ เปียกสลับแห้ง ค่อนข้างส่งเสริมกันในพื้นที่ทั้งหมด เป้าหมายที่เกือบ 3 ล้านไร่ และส่วน

ป ที่สาม…ส่วนของปุ๋ย จะเน้นเรื่องของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ของดิน ที่เราเรียกกันว่า ปุ๋ยสั่งตัด เพื่อให้เกิดการประหยัดในการใช้ปุ๋ย ไม่ให้ปุ๋ยเกิดการเหลือ เกิดการหมัก หรือเกิดก๊าซขึ้นมา

ป ที่สี่…พูดถึงการแปรรูป ทำอย่างไร จะนำตอซังไปผลิตแปรรูปเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ก่อเกิดรายได้ให้แก่เกษตรกร นอกเหนือจากการเผาซึ่งนำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีทั้งสี่ถ้าเกิดชาวนาใช้จะก่อเกิดการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับชาวนา ในขณะเดียวกันก็ทำให้การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการกระทำนี้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและชาวนาผู้ปลูกข้าว”

อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี

และจังหวัดสุพรรณบุรี 6 จังหวัดนี้

เป็นพื้นที่นำร่อง

คุณดุจเดือน กล่าวว่า “เราดูจากจังหวัดที่มีพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วก็มีเกษตรกรรายย่อยด้วย เกษตรจังหวัดที่มีพื้นที่ชลประทาน มีการใช้น้ำเป็นพฤติกรรมที่เหมาะต่อการทำนาเปียกสลับแห้ง เพื่อก่อเกิดการใช้น้ำที่ประหยัดมากยิ่งขึ้น เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการ โดยในระยะยาวเราก็หวังที่จะให้มีการขยายในพื้นที่อื่นทั่วไป แต่เราก็มองแล้วว่า ถ้าหากเลือกพื้นที่มุ่งเป้าเป็นเพียงบางจังหวัด การทำงานจะสะดวกในแง่ของการส่งเสริมและแง่ของการตลาดมากกว่าการเลือกทุกจังหวัดและทำทุกจังหวัดพร้อมๆ กันค่ะ”

ระหว่างการปรับเปลี่ยน ถ้ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมา

ทางโครงการมีการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไร?

“ก็มีกองทุนนะคะ ในเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ 590 ล้านบาท เป็นเงินจ่ายขาดทั้งหมด ครึ่งหนึ่งเป็นการจัดตั้งกองทุน ซึ่งเราก็ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้บริหาร กองทุนนี้เป็นกองทุนที่เกษตรกรสามารถกู้ยืมเพื่อที่จะนำไปปรับเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีที่พูดเรื่อง 4 ป นี้นะคะ โดยกองทุนนี้ก็จะมีดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ (0%) นะคะ” คุณดุจเดือน กล่าว

“เปียกสลับแห้ง เป็นการใช้พื้นที่ประหยัดน้ำ น้ำขังในช่วงที่ต้องการน้ำ ในขณะที่ถ้าช่วงไหนไม่ต้องการน้ำ ก็ไม่ต้องใช้น้ำ เดิมก็จะเป็นการปลูกลักษณะแบบใช้น้ำขังตลอดช่วง ซึ่งการที่ใช้น้ำขังตลอดช่วง ก็จะทำให้เกิดการหมักหมมและทำให้เกิดก๊าซได้ ซึ่งก็จะเหมาะกับยุคปัจจุบัน ในส่วนของปุ๋ย การใส่ปุ๋ยตามความเชื่อบางทีก็อาจจะคิดว่าต้องใส่เยอะตามคำแนะนำของคนขาย ซึ่งบางทีเขาก็อยากขายของ เราเลยอยากให้มีการทำการวิเคราะห์ดินว่าในแปลงนี้ที่ทำการวิเคราะห์ จริงๆ แล้วขาดอะไร เพราะฉะนั้นก็จะได้ใส่ตามที่ขาด เกษตรกรก็จะประหยัดต้นทุนการซื้อปุ๋ยตรงที่เกษตรกรก็ใส่เท่าที่ขาด แทนที่จะใส่สิบกิโลยี่สิบกิโล เขาอาจจะใส่แค่สามกิโลก็ได้ เท่าที่ขาด ราคาในการให้บริการปรับหน้าดินของเทคโนโลยีแบบใหม่ใกล้เคียงกับการปรับหน้าดินแบบเดิม เพียงแต่ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนเทคนิคค่ะ” คุณดุจเดือน กล่าว

คุณศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า “ในส่วนของธ.ก.ส. จะมาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้อยู่ 2 ส่วนหลักๆ ส่วนแรก คือเงินกองทุนสำหรับให้ยืมแบบไม่มีดอกเบี้ยสำหรับเกษตรกรที่จะนำไปใช้ในการปรับพื้นที่แบบเลเซอร์ ตรงนี้เราจะช่วยอำนวยสินเชื่อให้ จะช่วยดูแลให้สำหรับเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ ในส่วนที่สอง เป็นส่วนของสินเชื่อกรีนเครดิต เป็นสินเชื่อปนดอกเบี้ยต่ำให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย หมายความว่า ก็ปรับพื้นที่แต่ใช้เงินที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเป็นเงินยืม จากโครงการของ GIZ ส่วนหนึ่งแล้ว แต่ว่าเขาจะต้องลงทุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการผลิต อันนี้ ธ.ก.ส. จะเป็นคนดูแลให้ดอกเบี้ยลดต่ำกว่าเกษตรกรทั่วไปอีกร้อยละ 1% ต่อปี ครับ”

คุณนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า “โครงการ Thai Rice NAMA เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งมาสอนเทคนิคการทำนาเพื่อปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำลง จะแบ่งเทคโนโลยีการผลิตออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ชาวนาเรียนรู้

กลุ่มแรก เป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีพื้นฐานโดยทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับพื้นที่ให้เสมอกัน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การจัดการกับตอซังก่อนที่จะเพาะปลูก

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มเทคโนโลยีการผลิตเฉพาะพื้นที่ อันนี้จะเริ่มลงถึงพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในแปลงนา พื้นที่การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เพราะพื้นที่ในการทำนาในแต่ละที่พื้นที่การใช้น้ำนั้นแตกต่างกัน และ

กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มเทคโนโลยีการผลิตแบบมาตรฐานการผลิตข้าวแบบยั่งยืน หรือที่เราเรียกว่า GAP++ จะต้องมีองค์ประกอบทั้งเรื่องของมาตรฐานข้าวกับเรื่องของข้าวที่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ณ วันนี้ ก็จะให้ภาพรวมกับชาวนาว่าการทำการเกษตรแบบลดภาวะโลกร้อน โดยจะมีการทำฐานเรียนรู้ให้กับชาวนาให้ได้รู้ หัวใจหลักของโครงการ ทั้งเทคโนโลยีกับการทำงานตามหลักวิชาการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยมาก ไม่จำเป็นต้องให้น้ำมาก พิถีพิถันตั้งแต่การปรับพื้นที่ ตั้งแต่การให้ปุ๋ย ไปจนถึงการให้น้ำ รวมทั้งการเก็บรักษาระหว่างที่ข้าวอยู่ในแปลงนา จนกระทั่งการเก็บเกี่ยว อันนี้มีผลต่อเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น

เรื่องของการปรับพื้นที่จะเป็นเรื่องที่เราเห็นได้โดยชัด เป็นการใช้เลเซอร์ปรับพื้นที่ให้เสมอ ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลในเรื่องของการใช้น้ำ และจะมีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนในนา เรื่องของการดูแลรักษาก็จะง่าย เพราะข้าวจะขึ้นต้นเสมอกัน การใส่ปุ๋ยก็จะลดลง การเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะง่ายขึ้น เนื่องจากพื้นที่เสมอ”

คุณสมบัติของชาวนาที่สนใจเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

“เริ่มจากความสมัครใจ ซึ่งเราเริ่มเจาะจากโครงการที่ กรมการข้าว มีพวกนาแปลงใหญ่ เป็นต้น ก็จะง่ายต่อการเข้าไปดูแลและให้ข้อมูลตามหลักวิชาการ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เป็นเครือข่ายของกรมการข้าวอยู่แล้ว หลังจากเราลงพื้นที่นำร่องเสร็จ พื้นที่ข้างเคียงไม่ว่าจะอยู่ในนาแปลงใหญ่หรือไม่ก็ตาม ก็จะเห็นความสำเร็จของชาวนาที่ใช้การทำนาด้วยระบบแบบนี้ เขาก็จะหันมาร่วมมือกับภาครัฐเองโดยอัตโนมัติ พอเขาเห็นนาข้าวดี ผลผลิตสูง

ในขณะเดียวกันเขาก็ห่วงใยสิ่งแวดล้อมว่า โครงการนี้ก็ช่วยลดโลกร้อนได้ เดี๋ยวเขาก็จะมาร่วมช่วยด้วยเอง ระบบตรงนี้ที่เข้ามาจะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กลับจะทำให้ลดลง ยกตัวอย่าง การปรับระดับพื้นที่ด้วยระบบเลเซอร์ พอพื้นที่เสมอ การรดน้ำก็จะน้อยลง จะได้อย่างชัดๆ ลดค่าน้ำมันสูบน้ำเข้านา ไม่ว่าจะทำการหว่านหรือการปักดำก็จะลดจำนวนเมล็ดข้าวลง เพราะพื้นที่เสมอ การให้ความรู้เรื่องของปุ๋ยสั่งตัด การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยก็จะได้ค่าตามที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องให้เยอะ

ทุกวันนี้เกษตรกรมีรายจ่ายอยู่สองเรื่อง คือ ค่าน้ำมัน ที่ใช้สูบน้ำเข้าแปลงนา และค่าปุ๋ย ค่ายา ถ้าเราลดตรงนี้ได้ แน่นอนลดต้นทุนแล้วเพิ่มผลผลิตด้วย ค่าใช้จ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อไร่ลดลง ขายข้าวได้เพิ่มขึ้น ผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อรายได้ของชาวนาแน่นอน” คุณนนทิชา กล่าว

คุณสุริยัน วิจิตรเลขการ รองผู้อำนวยการเกษตรกรรมและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เผยว่า “เราพยายามที่จะหาวิธีทำให้การปลูกข้าวลดโลกร้อนและคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกร ถึงสื่อสารออกไปว่าเพิ่มประสิทธิภาพลดโลกร้อนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน”

“โครงการมองถึงปัญหาอยู่ 2 ปัญหา หลักๆ ปัญหาแรกคือ ปัญหาที่เกษตรกรมักจะเจอก็คือเรื่องของต้นทุนการผลิตสูง ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ประกอบกับว่ามีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้ง โรคแมลง อีกแนวทางที่เราได้เห็นในช่วงระยะเวลา 3-4 ปี ที่ผ่านมา มีทิศทางการพัฒนาไปสู่ในเรื่องของความยั่งยืน สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการเน้นเรื่องของการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ มีอยู่ 3 ชุด

ชุดแรก เป็นชุดของเทคโนโลยีพื้นฐาน ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 4 อย่าง (4 ป) ซึ่งเทคโนโลยี 4 อย่าง เป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลในเรื่องลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดโลกร้อนโดยตรง

ชุดเทคโนโลยีที่สอง เป็นชุดเทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่

ชุดที่สาม เป็นเรื่องของเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งจะทำให้การทำนานั้นเป็นไปตามการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยชุดเทคโนโลยีพื้นฐานมีอยู่ 4 ตัว ตัวแรก การปรับพื้นที่ตัวเลเซอร์ พื้นที่นาส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นลุ่มเป็นดอน เป็นพื้นที่ไม่ได้ระดับ ส่งผลให้เกษตรกรต้องสูบน้ำในปริมาณมาก ใช้ปุ๋ยหรือยารักษา ส่วนที่หนึ่งจะช่วยให้การใช้ปัจจัยการผลิตลดน้อยลง ลดต้นทุนโดยตรง ส่วนที่สอง คือการทำนาเปียกสลับแห้ง เพราะว่าพืชไม่ได้ต้องการน้ำตลอดเวลา ในระยะเวลาปลูกไม่ว่าจะเป็น 90 วัน หรือ 120 วัน เรารู้ว่าพืชนั้นต้องการน้ำในช่วง 40 วันแรก

หลังจากนั้น พืชไม่ต้องการน้ำ ถ้าเราสามารถจะใช้น้ำเพื่อช่วยในเรื่องของการกำจัดศัตรูพืช โรคพืช ในขณะเดียวกันก็ลดการปั๊มน้ำเข้านาเกษตรกร ก็มีผลทำให้ไม่เกิดการหมัก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้พืชเกิดความแข็งแรง มีภูมิต้านต่อโรคพืชด้วย ส่วนที่สาม คือเรื่องของการจัดการดินและปุ๋ย โดยที่เน้นในเรื่องของการวัดค่าวิเคราะห์ดิน การใส่ปุ๋ยมากเกินไปมีผลทำให้พืชบางครั้งไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร อาจจะเป็นโรคด้วยซ้ำ การส่งเสริมให้เกษตรกรวิเคราะห์ค่าดินจะได้รู้ถึงแร่ธาตุสำคัญต่างๆ ว่ามีปริมาณที่ขาดอยู่เท่าไร เกษตรกรควรจะให้ปุ๋ยปริมาณเท่าไร ซึ่งนี่จะมีส่วนเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของการใช้ปุ๋ย

สุดท้าย เป็นเรื่องของการจัดการฟางและตอซัง เกษตรกรมักจะมีปัญหาในส่วนนี้ ทำให้บางครั้งต้องใช้ในส่วนของเครื่องจักรยนต์และแรงงานในเรื่องของการเผา ซึ่งการเผาก็จะมีผลในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นในเรื่องของฝุ่นละอองขนาดเล็ก ความสมบูรณ์ของดิน เป็นเพราะว่าเมื่อดินถูกความร้อนก็ส่งผลในเรื่องของความสมบูรณ์ แร่ธาตุ แล้วก็สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน การจัดการฟางและตอซังจะช่วยสร้างในส่วนของแรงจูงใจให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นในเรื่องของการนำเอาฟางข้าวและตอซังออก โดยใช้เครื่องจักรยนต์ เก็บอัดเป็นก้อนนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือปรับปรุงความสมบูรณ์ของดินในเรื่องของการเก็บแร่ธาตุในครั้งต่อไป ถือเป็น 4 เทคโนโลยีสำคัญซึ่งเราเชื่อว่าเมื่อเกษตรกรทำนั้นจะมีส่วนสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และก็ลดโลกร้อนด้วยครับ” คุณสุริยัน กล่าว

คุณสมใจ คำแผง ตัวแทนเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ เกษตรสมัยใหม่ บอกว่า “การวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตที่ดีกว่าเนื่องจากเป็นการลดต้นทุน ข้าวที่ได้มีลักษณะต้นแข็ง ใบตั้ง ต้านทานโรค ทางด้านผลผลิตที่ได้ก็ไม่แตกต่างจากทั่วไปเท่าไร แต่เราลดต้นทุนเยอะกว่าการให้แบบทั่วไป หมอดินจะมีการแนะนำว่า ดินเรามีลักษณะเป็นอย่างไรควรจะใช้ปุ๋ยแบบไหนยังไง และเราก็จดไว้ เวลาเราจะไปซื้อปุ๋ย เราก็เอาเอกสารเราไป เพื่อช่วยในส่วนของการจดจำ”

ข้อแตกต่าง ระหว่างการทำนาธรรมดา กับทำนาแบบลดโลกร้อน

“ตอนแรกเราทำนาแบบธรรมดา เราใช้ต้นทุนเยอะค่ะ เพราะเราใช้ปุ๋ย โดยที่เราไม่รู้ว่า ต้นข้าวหรือพื้นดินเราต้องการขนาดไหน ต้นทุนเราก็เลยสูงขึ้น แต่เราทำการพาดินไปหาหมอ เราก็เลยลดต้นทุนได้เยอะขึ้น เพราะเราใช้ปุ๋ยสั่งตัด ข้าวที่ได้จะต้นแข็ง ใบตั้ง แมลงไม่กวน จุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากทางกรมการข้าวมีการแนะนำถึงเรื่องของการลดต้นทุน ตอนแรกที่จะเปลี่ยนไม่ยากเลย เนื่องจากใจชอบอยู่แล้ว ชอบธรรมชาติ ใช้ยาหมักเองทำเอง ตอนนี้ทำมาได้นาน 3 ปีกว่า

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องของการลดต้นทุน มีการแนะนำเพื่อนๆ ปัจจุบันนี้ ในหมู่บ้านยังมีการรณรงค์ไม่ใช้สารเคมี การตอบรับดี ตอนนี้มาเข้ากลุ่มร้อยกว่าแล้ว” คุณสมใจ กล่าว

จากการที่กลุ่มเกษตรกรโคนมในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม ประสบปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด ในปี พ.ศ. 2512 จึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา จากพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้น นำมาซึ่งการก่อตั้งโรงงานนมผงและศูนย์รวมนมหนองโพ เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก และเติบโต ก้าวหน้า จนกลายเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ผู้ผลิตสินค้า แบรนด์หนองโพ ที่มาพร้อมสโลแกน “นมสดหนองโพ นมโคแท้แท้” ในปัจจุบัน

ระยะเวลาเกือบ 50 ปี นับแต่ปีก่อตั้งสหกรณ์ เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัวเม่งผ่อง เป็นหนึ่งในครอบครัวสมาชิกเกษตรกรโคนมที่รับมรดกตกทอดทางอาชีพมาจากรุ่นปู่ ย่า จนปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นหลานและดำเนินกิจการฟาร์มโคนมเข้าปีที่ 7 แล้ว

นายปฐมพร เม่งผ่อง สมาชิกสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นว่า คุณปู่กับคุณย่าเป็นเกษตรกรฟาร์มโคนมรุ่นแรกของสหกรณ์ แต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ไม่ได้สืบสานต่อ พอมาถึงรุ่นตน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในวัยมัธยมศึกษาตอนปลาย ปู่กับย่าได้ตัดสินใจเลิกทำฟาร์ม เพราะอายุมาก ทำไม่ไหว ด้วยความที่ได้ใกล้ชิด เรียนรู้ และช่วยปู่ย่าทำฟาร์มมาตั้งแต่เด็ก ตนจึงเกิดความมุ่งมั่นที่จะสืบสาน ต่อยอดอาชีพโคนมจากปู่กับย่า นับจากวันนั้นตนจึงได้ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเตรียมพร้อมเป็นเกษตรกรฟาร์มโคนมรุ่นต่อไป หลังจากเรียนจบตนก็ได้เข้าทำงานในโรงงานอาหารสัตว์ หนึ่งปีต่อมาก็ได้เข้ามาทำงานเป็นเป็นนักวิชาการสัตวบาลที่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ภารกิจหลัก คือ ออกผสมพันธุ์เทียมโค แนะนำ ส่งเสริม เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพโค พัฒนาคุณภาพน้ำนม และมาตรฐานโรงเรือน ให้แก่สมาชิก เมื่อได้กลับมาทำงานในบ้านเกิด ได้อยู่กับครอบครัว ตนจึงเริ่มสานฝันทำฟาร์มโคนมตามที่เคยบอกปู่กับย่าไว้ โดยทำการซื้อโครุ่น พันธุ์ โฮลสไตน์ ฟรีเซียน (Holstein-Friesian) มาหนึ่งตัว ผสมเทียมเอง ด้วยน้ำเชื้อจากสหกรณ์ เมื่อโคท้อง ก็รีดน้ำนมนำไปขายที่สหกรณ์ เก็บเล็กผสมน้อย ค่อยๆ ซื้อโคเข้ามาเพิ่มเติมในฟาร์ม

การรีดน้ำนมดิบเพื่อจัดส่งไปยังสหกรณ์ฯ นั้น ตนจะรีดน้ำนมวันละ 2 ครั้ง คือ ช่วง 04.00 น. และ 16.00 น. ได้น้ำนมดิบวันละประมาณ 180-190 กิโลกรัม ต้นทุนน้ำนมดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 11 บาท สหกรณ์มีราคากลางรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท และจะบวกเพิ่มให้ตามคุณภาพน้ำนมและมาตรฐานต่างๆ ที่ฟาร์มทำได้ ถ้าสามารถผ่านมาตรฐานได้ทุกข้อ ก็จะสามารถขายน้ำนมดิบได้ราคาถึงกิโลกรัมละ 21 บาท สามารถสร้างรายได้ราว 50,000-60,000 บาท ต่อเดือน

นอกจากการส่งน้ำนมดิบให้แก่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เป็นหลักแล้ว นายปฐมพร เม่งผ่อง และภรรยา ยังได้แปรรูปน้ำนมดิบจากฟาร์มของตนเป็นผลิตภัฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ ภายใต้แบรนด์ “คีตะ มิลค์” บรรจุในขวดแก้ว 250 มิลลิลิตร ขายขวดละ 35 บาท (3 ขวด 100 บาท) ผลิตครั้งละ 100 กว่าขวด (เดือนหนึ่งผลิต 4 ครั้ง) วางขายที่ตลาดนัดมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ทุกวันพุธ และยังรับทำตามออเดอร์บ้างเล็กน้อย ซึ่งการแปรรูปนมเองสามารถขายได้ถึงราคากิโลกรัมละประมาณ 100 กว่าบาท สร้างรายได้ราวเดือนละ 15,000-16,000 บาท แม้จะเทียบเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าการขายน้ำนมโคดิบให้สหกรณ์ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกทาง

การเป็นสมาชิกสหกรณ์ และการขายน้ำนมดิบให้สหกรณ์ฯ ถือเป็นความมั่นคงของครอบครัว เพราะสหกรณ์ฯ เป็นตลาดรองรับน้ำนมดิบที่แน่นอน ทั้งยังได้โอกาสซื้อปัจจัยการผลิตในราคายุติธรรม สามารถขอสินเชื่อเพื่อปรับปรุงพัฒนาฟาร์ม และได้รับความช่วยเหลือ แนะนำ ในเรื่องต่างๆ รวมถึงสหกรณ์ยังส่งเสริมให้สมาชิกได้เข้าอบรม เรียนรู้เพิ่มเติมในหลักสูตรเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม การจัดการฟาร์ม การผลิตน้ำนมให้ได้มาตรฐาน และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ในอนาคตอาจมีการขยายกำลังผลิต ถ้าสามารถหาตลาดรองรับได้ และมีเวลามากพอ รวมถึงเล็งผลิตโยเกิร์ต ที่ได้หัวเชื้อมาจากการจัดการอบรมของสหกรณ์ด้วย

ปลาทูทุกตัวที่นำขึ้นฝั่งมาแล้วเป็นปลาที่ตายแล้วทั้งสิ้น

เพราะหลังจากที่ชาวประมงจับปลาทูขึ้นมาได้ราว 5-10 นาที ปลาก็จะสิ้นชีพ ปลาทูที่ตายใหม่ๆ นี้ถ้ารีบนำไปประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด เนื้อจะนุ่มหวานอร่อย กลิ่นหอม ถ้านำไปต้ม มันปลาทูสีเหลืองจะลอยฟ่องขึ้นหม้อ เห็นแค่นี้ก็รู้เลยว่าปลาสดจริงๆ ซึ่งโอกาสที่จะได้ปลาแบบนี้ต้องไปที่ท่าขึ้นปลาเท่านั้น

สำหรับปลาทูสดที่เห็นขายกันอยู่ตามตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นปลาที่ต้องผ่านหลายกระบวนการมากมายกว่าจะมาวางขายตามท้องตลาด ความสดของปลาลดลงเหลือ 60-80% เท่านั้น ยิ่งถ้าเป็นปลาทูที่ขายตามจังหวัดที่ห่างไกลทะเลแล้วให้หลีกเลี่ยงปลาทูสด กินปลาทูนึ่งไปเลยจะดีกว่า

ส่วนการทอดปลาทูให้อร่อยหนังไม่ติดกระทะ ถ้าเป็นปลาทูสดให้เอาปลาแช่น้ำเกลือก่อนค่อยทอด (ปลาทูนึ่งไม่ต้อง) ทอดปลาน้ำมันต้องเยอะ ห้ามขี้เหนียวน้ำมัน ข้อสำคัญน้ำมันห้ามร้อนจัด ใช้ไฟกลางใจเย็นๆ ทอดจนด้านข้างเหลืองแล้วค่อยๆ พลิก อย่าใจร้อนเดี๋ยวหนังจะลอกไม่สวย ทอดปลาต้องให้หัวมันกรอบ เพื่อเราจะได้กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว

ด้วยความที่ปลาทูแม่กลองเป็นราชาแห่งปลาทูและเป็นหนึ่งในของดีเมืองแม่กลองนี่เอง ทางจังหวัดสมุทรสงครามจึงได้จัดงาน “เทศกาลกินปลาทู” ขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ปลาทูแม่กลองเป็นที่รู้จักมากขึ้น บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม โดยไฮไลต์ของงานก็คงจะหนีไม่พ้นยอดปลาทูเมืองแม่กลองที่น่าลิ้มลองในรสชาติเป็นอย่างยิ่ง

แต่…ระวังสักหน่อยนะคะ

กินปลาทูนึ่งอย่ากินมาก เพราะกรรมวิธีทำปลาทูนึ่งตามที่ได้เล่าให้ฟังนั้น เขานำไปต้มในน้ำเกลือเข้มข้นพอสมควร ดังนั้น ความเค็มของเกลือก็จะซึมเข้าเนื้อปลาทู ยิ่งต้มนานยิ่งเค็มมาก

ใครที่ชอบกินปลาทูจะเห็นได้ว่าปลาทูนึ่งทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปลาทูแม่กลองหรือที่ไหนก็ตามจะมีรสเค็มจัดขึ้นกว่าที่เคยกินมาก เพราะในการต้มนั้นยิ่งใส่เกลือมากยิ่งจะถนอมปลาทูไว้ได้นานมากขึ้น สะดวกต่อการส่งขายตามพื้นที่ห่างไกล

ดังนั้น จงอย่าได้แปลกใจเลยที่กรมอนามัยบอกตัวเลขปริมาณโซเดียมในปลาทูเอาไว้ว่า

ปลาทูทอด ครึ่งตัวขนาดประมาณ 100 กรัม มีโซเดียมหรือเกลือมากถึง 1,018มิลลิกรัม ในขณะที่ปริมาณโซเดียมในอาหารที่ควรบริโภคใน 1 วันนั้น ควรรับได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม

ปริมาณโซเดียมขนาด 2,000 มิลลิกรัม เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา

เมื่อนึกถึงเรื่องนี้จึงต้องกินปลาทูให้เป็นด้วยจึงจะมีสุขภาพดี ไม่ใช่ว่าเห็นปลาทูมีโอเมก้า 3เยอะ ก็จัดหนักกันไปคราวละหลายตัวเลย

ที่บ้านมีวิธีจัดการปลาทูนึ่งด้วยการเอาไปต้มในน้ำเดือดจัด ละลายเกลือออกไปจากตัวปลาก่อน จากนั้นค่อยนำมาผึ่งสะเด็ดน้ำให้แห้งก่อนจะเอาไปทอด วิธีนี้จะช่วยลดความเค็มของปลาทูนึ่งลงไปได้ระดับหนึ่ง แม้จะไม่มากนัก แต่ก็ยังดีกว่าสวาปามเกลือเข้าไปมากๆ

อย่าลืมว่าในน้ำพริกที่เรากินแนมกับปลาทูทอดนั้น ยังมีโซเดียมปนอยู่ในกะปิ น้ำปลา ที่นำมาปรุงน้ำพริกอีกเยอะเลย สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดอบรมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดวางแผนรับมือหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ในฤดูกาลปลูกข้าวโพดรอบต่อไปโดยเน้นจัดการแบบองค์รวมใช้ชีวภัณฑ์ สารเคมี ถูกชนิด ถูกเวลา ถูกวิธีเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ผลและควบคุมได้

ดร.วรณิกา นาควัชระ บีดิงเฮาส์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า “จากรายงานของกรมวิชาการเกษตรที่ประมาณการพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในประเทศไทยไว้มากกว่า 6.87 ล้านไร่ คาดว่าจะมีผลผลิตกว่า 4.62 ล้านตันในปีนี้ หากไม่เร่งกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด อาจสูญเสียผลผลิตมากถึง 25 – 40% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 4 – 8 พันล้านบาท ซึ่งประมาณการค่าใช้จ่ายในการกำจัดต่อไร่ อยู่ที่ 200 – 400 บาท ฉะนั้น ต้นทุนการผลิตโดยรวมของผลผลิตก็อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 800 – 1,602 ล้านบาท ต่อปี ดังนั้น สมาคมจึงเร่งจัดการอบรม ติดอาวุธทางความรู้แบบยั่งยืนให้แก่เกษตรกร เพื่อป้องกันและลดการสูญเสียแก่เกษตรกรในการประกอบอาชีพ และแบ่งเบาภาระภาครัฐ ซึ่งเราตั้งเป้าเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกรโดยตรงและผ่านภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กว่า 5,000 คน ภายในฤดูกาลนี้”

นับตั้งแต่ปลายปี 2561 ที่เกิดปัญหาการระบาดของหนอนกระทู้ลายจุดครั้งแรกในประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 8 เดือน ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดกว่า 80% ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวโพดกว่า 50 จังหวัด ในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อป้องกัน และจัดการกับหนอนกระทู้ลายจุดอย่างยั่งยืน สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย จึงต้องนำองค์ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าและงานวิจัยต่างๆ มาเผยแพร่ และจัดการอบรม

“ทั้งนี้ พฤติกรรมเกษตรกรในบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดไหนดีก็จะใช้ตลอด ใช้ซ้ำๆ อยู่ชนิดเดียว ด้วยความมั่นใจ ใช้แล้วได้ผลดี หรือขาดความรู้ เกี่ยวกับปัญหาการดื้อยาของแมลงศัตรูพืช ทำให้เกิดความล้มเหลวในการจัดปัญหาหนอนกระทู้ลายจุดโดยมีสาเหตุหลักคือ การจัดการที่ผิดวิธี ผิดที่ และผิดเวลา ทำให้หนอนดื้อยาเร็ว จึงต้องจัดการปัญหาหลายวิธีร่วมกัน สมาคมถูกจัดตั้งขึ้นด้วยปณิธานในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรก้าวหน้า มายกระดับเกษตรกรรมไทยให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ที่ก้าวล้ำและถูกต้องให้เกษตรกรไทยและผู้เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องร่วมผนึกกำลังกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อจัดการปัญหาศัตรูพืชอย่างหนอนกระทู้ข้าวโพดอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยรักษาแชมป์ส่งออกข้าวโพดหวานอันดับหนึ่งของโลกได้ต่อไป และส่งเสริมให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยในระยะยาว” ดร.วรณิกา สรุป

ด้าน นางทองสุก วงค์นารัตน์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เนื้อที่ 100 ไร่ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี นางทองสุกกล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งปีนี้ ประสบปัญหาหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดระบาด ทำให้มีรายได้ลดลง โดยขายผลผลิตได้เพียง 4.8 – 5.50 บาท ต่อ กก. จากเดิมที่เคยขายได้ราคาดีกว่า เฉลี่ย 8 – 10 บาท ต่อ กก.

แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของนางทองสุกเจอปัญหาแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในฤดูเพาะปลูกรอบแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน ภายใน 2 – 3 วันแรกของการแพร่ระบาด หนอนทำลายข้าวโพดหมดทั้งแปลงเนื้อที่ 20 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียงแค่ 5 ตัน เท่านั้น แปลงปลูกอีกแห่งเนื้อที่ 20 ไร่ ไม่ได้รับผลกระทบมาก เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 30 ตัน

นางทองสุก จัดการหนอนทำลายข้าวโพด โดยใช้สารเคมี อีมาแมคตันเมน และลูเฟนนูรอนผสมในสัดส่วนเท่ากัน ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดและเย็น ในช่วงที่แมลงออกมาหากินบนยอดใบ ซึ่งเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะช่วงเวลากลางวัน หนอนมักหลบอยู่ใต้ใบซึ่งไม่ควรฉีดพ่นยา มีค่าใช้จ่ายในการจัดการ แบ่งเป็นค่าสารเคมีประมาณ 187 บาท ต่อไร่ ค่าแรงพ่น 100 บาท ต่อไร่ ในหนึ่งฤดูปลูก ควรฉีดพ่นยา 3 ครั้ง ไม่ควรพ่นยามากเพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย พ่นยาไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลาก็ไม่ได้ผล เฉลี่ยต้นทุนค่ากำจัดแมลงเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 661 บาท ต่อไร่

ปัญหาที่พบคือ หากแปลงข้างเคียงไม่พ่นสารกำจัดแมลง ก็จะไม่ได้ผลเช่นกัน ดังนั้น จึงควรพ่นยาในแปลงใกล้เคียงอีก 3 – 4 ร่อง เพื่อกันไม่ให้แมลงเข้ามาแปลงเรา หากต้องการควบคุมหนอนข้าวโพดให้ได้ผล ควรเลือกใช้ตัวยาสารเคมีที่ถูกต้อง มีความสำคัญ 50% ฉีดยาในช่วงเวลาที่เหมาะสม 10% และมีระบบการจัดการทีี่ถูกต้องอีก 40% การจัดการหมายถึง คนฉีดพ่น ความตั้งใจในการพ่น ความชำนาญ พ่นถูกจุด เครื่องมือที่กระจายยาได้ดี เข้าถึงจุดที่ต้องการ และเกษตรกรควรศึกษาพฤติกรรมแมลง เพราะแมลงเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับตัวเข้ากับอากาศร้อน เมืองไทยร้อนมาก แมลงก็จะหลบอยู่ใต้ดิน กัดกินโคนต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สูตรประกันราคายางไม่ลงตัว การันตีไม่ต่ำกว่า 60 บาท/ก.ก.แน่ แต่ตีกลับข้อมูล กยท. คำนวณอีกรอบ หวั่นรัฐบาลอัดงบเกินจำเป็นกว่า 30,000 ล้านบาท ขีดเส้น 21 ส.ค. ไฟเขียวก่อนชง ครม.

นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือโครงการประกันราคาเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปแนวทางดำเนินโครงการประกันราคายางพารา เพราะต้องการรับฟังความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหลักเกณฑ์และข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และแหล่งเงินทุน โดยได้ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สรุปแผนอีกครั้งเพื่อพิจารณาภายในวันที่ 21 ส.ค. ร่วมกับคณะกรรมการบอร์ดการยาง (บอร์ด กยท.)

สำหรับข้อตกลงรายละเอียดโครงการประกันราคาเกษตรกรสวนยาง ที่ประชุมสรุปเบื้องต้น เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับการชดเชยรายได้จากการจำหน่ายยางพาราแผ่นรมควัน ชั้น 3 ไม่ต่ำกว่า กิโลกรัม (ก.ก.) ละ 60 บาท รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยมีพื้นที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ส่วนยางแผ่นดิบคุณภาพดี 58 บาท/ก.ก. น้ำยางสด 56.50 บาท/ก.ก. ซึ่งมาตรการประกันราคาดังกล่าวจะเป็นเพียงมาตรการเสริมเท่านั้น

ทั้งนี้ รมว. เกษตรฯ ได้สั่งการให้ กยท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหามาตรการอื่นๆ อีก เพื่อสร้างเสถียรภาพราคายางในระยะยาวได้ โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลให้น้อยที่สุด ขอภาครัฐในการเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ อาทิ กระทรวงคมนาคม มีการใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมของอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ เช่น แผงกั้นจราจร (Barrier) ทำให้สามารถผลักดันยางพารา จำนวน 800,000 ตัน ออกตลาดได้ และกรมชลประทานจะนำผลผลิตยางพารามาพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทาน อาทิ บล็อกผักตบชวา ฝายยางพารา โดยจะมุ่งเน้นแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการระบายยางออกจากตลาดให้ได้มากที่สุด โดยตั้งเป้านำยางออกมาใช้ในภาครัฐ 1 ล้านตัน

“มาตรการที่ได้หารือวันนี้ ที่ชัดเจนจะมียางออกจากตลาดเกินกว่า 1 ล้านตัน และยางในประเทศจะขยับสูงขึ้นอย่างแน่นอน โดยคมนาคมใช้ 8 แสนตัน ซึ่งแนวทางเช่นนี้อาจไม่จำเป็นต้องนำมาตรการประกันรายได้มาเสริมอีก ส่วนประกันราคาเราตั้งเป้าที่ 60 บาท อยู่แล้ว เป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทำแน่นอน แต่ต้องมีการประชุมอีกครั้งก่อน”

แหล่งข่าว กยท. ระบุว่า หากรัฐบาลจะอนุมัติมาตรการดังกล่าว จะต้องใช้งบถึง 3.7 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ ได้เน้นย้ำนโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรไว้ 3 พืช ได้แก่ ข้าว ยาง ปาล์ม ประมาณ 1.69 หมื่นล้านบาท ดังนั้น การที่จะประกันราคายางที่ 60 บาท/ก.ก. รายละไม่เกิน 25 ไร่ อาจเป็นงบประมาณที่สูงเกินไป จึงให้ กยท. ไปคิดสูตรการชดเชยราคายางพารามาระหว่าง 10-25 ไร่/ราย ประกอบกับยังไม่สามารถระบุแหล่งเงินทุน และเเนวทางนำเงินการบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพาราออกนอกราชอาณาจักร (CESS) เพื่อนำมาประกันราคายางได้ หรือไม่ รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิและข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จึงยังต้องมีการสรุปอีกครั้ง โดยให้ กยท. รวบรวมแล้วนำมาเสนอบอร์ด กยท. โดยมี นายเฉลิมชัย เป็นประธาน ในวันพุธที่ 21 ส.ค. เเล้วจึงจะสามารถเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 27 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ว่า งานเกษตรภาคใต้เป็นงานที่คณะทรัพยากรธรรมชาติได้จัดเป็นประจำทุกปีเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ เป็นเวทีซื้อขายสินค้าและผลผลิตการเกษตร เป็นเวทีให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการทำงานด้วยการปฏิบัติงานจริง และเป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดสงขลาและภาคใต้ จากผลการประเมินงานในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานประมาณ 5 แสนคน มีเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน

โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการร้านค้า ประมาณ 700 ราย ร่วมกันจัดงาน ในหัวข้อ “เกษตรประณีต เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” เพื่อนำเสนอการทำการเกษตรตามศาสตร์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยอาศัยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ผสมผสานวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างสมดุล และสามารถสร้างมูลค่าแก่ภาคการผลิตทางการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย คืนความสุขให้แก่สังคมเกษตร ชุมชน และประชาชนทั่วไปได้อย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การฝึกอบรม ประชุม สัมมนาทางวิชาการ การแสดงนิทรรศการทางด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ การประกวดแข่งขัน การสาธิต การให้บริการวิชาการ การแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลผลิตเกษตรเครื่องจักรกลการเกษตรและสินค้าอื่นๆ รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรม

“อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พื้นฐานหลักที่สำคัญของประเทศไทยยังคงหนีไม่พ้นภาคการเกษตร เพราะการเกษตรเป็นต้นน้ำที่สำคัญของภาคการผลิตอื่นๆ การที่คณะทรัพยากรธรรมชาติในฐานะสถาบันการศึกษาทางการเกษตรและทรัพยากรได้จัดงานเกษตรภาคใต้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งให้การบริการชุมชน เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ เกษตรกร และภาคเอกชน เป็นเวทีแห่งการฝึกฝนประสบการณ์การทำงานแก่นักศึกษา สร้างภาพลักษณ์ความมั่นคงให้แก่พื้นที่ กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในจังหวัดและภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งดีที่สามารถสร้างขึ้นท่ามกลางปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จึงเห็นว่านี่เป็นส่วนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยได้บริการชุมชนในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมและมีคุณค่าอย่างยิ่ง” นายเฉลิมชัย กล่าว

ภาคการเกษตรถือเป็นฐานรากที่สำคัญอย่างยิ่งของเศรษฐกิจไทย โดยเมื่อพิจารณาในมิติมหภาค ภาคเกษตรสร้างรายได้ต่อระบบเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัวเลขที่สูง ไทยจึงเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็นครัวที่สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับทั้งคนทั่วโลก อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นจากประเทศต่างๆ ทำให้ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการเกษตรโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต เพื่อสร้างความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาใช้ และสร้างความเข้าใจว่าเกษตรกรไม่ใช่อาชีพที่งานหนัก เหนื่อย และรายได้น้อยอีกต่อไป

จากความจำเป็นดังกล่าว บริษัท ยันม่าร์ เอส. พี. จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น จึงได้ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ขึ้นที่ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาด้านเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากยันม่าร์คอยเป็นพี่เลี้ยงและให้ความรู้แก่น้องๆ โดยแบ่ง นักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อเข้าอบรมความรู้ในการจัดการแปลงพืชสวนในฐานต่างๆ ประกอบด้วย ในการผานบุกเบิก ผานพรวน การโรตารี และการโซนรถเกี่ยวนวดข้าว โดยใช้แทรกเตอร์รุ่น EF393 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน สร้างรายได้เพิ่มด้วยผลผลิตที่สูงขึ้น และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยน้องๆ จะได้รับทราบข้อมูล ชมการสาธิต และทดลองใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรด้วยตนเอง เพื่อเรียนรู้ว่าการบริหารจัดการด้านการเกษตรไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากอย่างที่คิด

นายชินจิ ซุเอนางะ ประธาน บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า “ยันม่าร์ ไม่เพียงให้ความสำคัญกับการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรเท่านั้น แต่เรายังเล็งเห็นถึงการพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตรของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสานต่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก เราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้เยาวชนได้เข้าใจถึงการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรยุคใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การทำเกษตรเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”

กรมประมง ขับเคลื่อน “โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิตและการบริหารจัดการร่วมกัน เปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยได้รวมกลุ่มในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างครบวงจร พร้อมเชื่อมโยงสู่การตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพ

คุณวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันการผลิตสินค้าประมงมีการแข่งขันสูงทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องประสบปัญหาในการจัดการผลผลิตและช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลแหล่งทุนซึ่งเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ยังดำเนินการผลิตสินค้าแบบต่างคนต่างผลิต ทำให้ยากต่อการจัดการผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด และขาดอำนาจการต่อรอง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดดังกล่าว

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาของกระทรวง (Road map) โดยมีโครงการที่สำคัญคือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตด้วยการรวมแปลงเป็นแปลงใหญ่ เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมลดต้นทุนการผลิต สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ในการเพิ่มศักยภาพและเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยได้รวมกลุ่มกันในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างครบวงจร พร้อมเชื่อมโยงสู่การตลาดเพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพได้

ในปัจจุบัน มีเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่ด้านการประมง ทั้งด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง รวมจำนวน 111 แปลง มีเกษตรกรภายใต้โครงการ จำนวน 6,171 ราย พื้นที่ประมาณ 59,000 ไร่ ซึ่งมีชนิดสัตว์น้ำที่หลากหลายตามความเหมาะสมของพื้นที่และศักยภาพของเกษตรกร อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลากะพงขาว ปลาดุก กบ ปลาหมอ ปลาแรด ปลาสลิด ปลาสวาย ปลาช่อน ปูทะเล กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล เป็นต้น โดยจำแนกเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2559 จำนวน 11 แปลง กลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2560 จำนวน 16 แปลง กลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2561 จำนวน 50 แปลง และกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2562 จำนวน 34 แปลง ซึ่งกรมประมงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแปลงใหญ่ด้านประมง ปี 2560-2564 ระยะเวลา 5 ปี มีเป้าหมายพัฒนาแปลงให้ได้จำนวน 300 แปลง

สำหรับการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้การดำเนินโครงการของสำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์ ซึ่งเริ่มต้นโครงการในส่วนของปลานิลกระชัง ในปี 2559 ต่อมา ปี 2560 ได้ดำเนินการต่อในส่วนของกุ้งก้ามกราม โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การรวมกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในรูปวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาเป็นสหกรณ์ ฝึกอบรมให้ความรู้ทั้งในด้านการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรวมกลุ่ม การแปรรูป การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม GAP และการตลาด

ซึ่งจากผลการดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 มาจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 4 แปลง ประกอบด้วย ปี 2559 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชังท่าเรือภูสิงห์ พื้นที่ 67 ไร่ เกษตรกร 230 ราย ปี 2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตำบลลำคลอง พื้นที่ 318 ไร่ เกษตรกร 30 ราย ปี 2561 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน พื้นที่ 370 ไร่ เกษตรกร 50 ราย และ ปี 2561 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชังท่าเรือภูสิงห์ พื้นที่ 370 ไร่ เกษตรกร 155 ราย

ในส่วนของกุ้งก้ามกรามจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมาตั้งแต่ ปี 2520 และถือว่าเป็นแหล่งผลิตกุ้งก้ามกรามแห่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีต้นทุนแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2560 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้กำหนดให้สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์เสนอพื้นที่เพิ่มเติมในการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเข้าสู่ระบบแบบแปลงใหญ่โดยได้นำเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลลำคลอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์

เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในปี 2560 เกษตรกรจำนวน 30 ราย และ ในปี 2561 ได้นำเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในระบบแปลงใหญ่ทั้ง 2 กลุ่ม รวม 80 ราย เนื้อที่รวม 688 ไร่ ผลการดำเนินการ ในปี 2561 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 187.55 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็น 203.88 กิโลกรัม ต่อไร่ เพิ่มขึ้น 8.71% ในขณะที่ ต้นทุนการเลี้ยงต่อกิโลกรัมลดลงจาก 137.61 บาท เหลือเพียง 126.20 บาท ลดลง 8.29%

สำหรับตัวอย่างความสำเร็จของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด เกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งและการขายกุ้ง รวมทั้งมีการจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์กุ้ง อาหารกุ้ง จำหน่ายแก่สมาชิก รวมทั้งได้มีการเชื่อมโยงกับตลาดโดยตรง และจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์แปลงใหญ่ พ่อค้าที่เข้ามารับซื้อจะต้องติดต่อซื้อขายผ่านกลุ่มเท่านั้น โดยกลุ่มจะทำตารางการเลี้ยงกุ้งของสมาชิกแต่ละราย เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกในช่วงเดียวกันมากเกินไป และจะมีการจัดเรียงลำดับการจับกุ้งหมุนเวียนกันไปในแต่ละฟาร์ม การบริหารจัดการด้วยวิธีนี้ พบว่า เกษตรกรได้ราคาหน้าฟาร์มสูงขึ้น ขายกุ้งคละไซซ์ได้ราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 250 บาท ซึ่งจุดเด่นของกุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์คือ เนื้อแน่น รสหวาน ได้มาตรฐาน GAP หากใครอยากกินกุ้งก้ามกรามที่เนื้อแน่น รสหวาน ต้องมากินที่กาฬสินธุ์ เพราะจะมีทั้งปีในราคาที่จับต้องได้

ส่วนการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังในเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างแห่งความสำเร็จจากการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี 2560 ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอยางตลาด อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอเมือง อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอหนองกุงศรี โดยปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังในเขื่อนลำปาว 522 ราย จำนวน 13,587 กระชัง ปริมาณการผลิต ปีละ 17,504 ตัน มูลค่าประมาณ 1,050 ล้านบาท ต่อปี โดยการเลี้ยงปลานิลในกระชังเขื่อนลำปาว ได้มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงปลาในกระชังอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และกรมประมงยังได้ให้คำแนะนำและตรวจรับรองผลผลิตปลานิลให้เป็นไปตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (GAP) อีกด้วย

ในปัจจุบัน เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลแปลงใหญ่ในกระชังเขื่อนลำปาว ยังได้ต่อยอดสร้างความเข้มแข็งด้วยการร่วมบริหารจัดการในรูปของสหกรณ์ เพื่อบริหารจัดการภายในกลุ่มแปลงใหญ่ตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง ซึ่งใน 1 ปี เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาได้ 2 ครั้ง มีตลาดรองรับที่ชัดเจน เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 200,000 บาท ถือเป็นความสำเร็จของการรวมกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ที่ในอนาคตมีโอกาสพัฒนาไปสู่การผลิตปลานิลที่มีคุณภาพป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ

วว.จับมือพันธมิตรจัดงานสัมมนา Sustainable Packaging

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา Sustainable Packaging for Circular Economy ฟรี! ในวันที่ 18 กันยายน 2562 ณ ห้อง MR210 ไบเทค บางนา (บรรยายภาษาอังกฤษ)

ทั้งนี้ มีเงื่อนไขในการเข้าร่วมสัมมนา ดังนี้ รับจำนวนจำกัด 100 ที่นั่ง
จำกัด 2 ที่นั่ง/องค์กร หรือบริษัท (ให้สิทธิ์ท่านที่สำรองที่นั่งก่อน)
ผู้จัดงานจะส่งหนังสือยืนยันการตอบรับเข้าร่วมงานไปยัง E-mail ของท่านภายในวันที่ 4 กันยายน 2562 (กรณีหากท่านไม่ได้รับ หมายถึง การสำรองที่นั่งไม่สำเร็จ/ไม่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมงาน)
งดรับลงทะเบียนหน้างาน (งดรับ Walk-in)

รมช.เกษตรและสหกรณ์ประชุมมอบนโยบายกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมรับฟังสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ 12,858 แห่ง สมาชิกรวมกว่า 12.117 ล้านครอบครัว แต่ละปีสหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจรวบรวมสินค้าเกษตรที่สำคัญ อาทิ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ ปริมาณไม่น้อยกว่า 5.530 ล้านตัน/ปี และสหกรณ์อีกจำนวน 718 แห่ง ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการพืชผลการเกษตรและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ปริมาณไม่น้อยกว่า 1.103 ล้านตัน/ปี

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาประชุมเพื่อมอบนโยบายการพัฒนาระบบสหกรณ์และการขับงเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลให้กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมคณะผู้บริหารกรมฯ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เบื้องต้นทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้นำเสนอถึงภารกิจและหน้าที่ในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งต้องดูแลและ สนับสนุนการดำเนินงานให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ 12,858 แห่ง สมาชิกรวม 12.117 ล้านครอบครัว ทุนดำเนินงานรวม 3.13 ล้านล้านบาท ปริมาณธุรกิจรวม 2.52 ล้านล้านบาท ซึ่งสัดส่วนจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร 4,547 แห่ง สมาชิก 6.677 ล้านคน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก 4.958 ล้านคน และกลุ่มเกษตรกร 4,761 แห่งสมาชิกกลุ่มเกษตรกร 0.481 ล้านคน

กรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งเน้นพัฒนาการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อให้ทำหน้าที่ในการดูแลอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับสมาชิก โดยเฉพาะสหกรณ์ในภาคการเกษตร ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลเกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิต เริ่มจากการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับนำไปลงทุนประกอบอาชีพทำการเกษตร การส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ การดูแลบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุน

การรวบรวมผลผลิตเพื่อนำมาสู่กระบวนการแปรรูปหรือปรับปรุงคุณภาพ และการจัดหาตลาดรองรับผลผลิตให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอนและสามารถกำหนดราคาขายได้อย่างเป็นธรรม ซึ่งที่ผ่านมา มีสหกรณ์การเกษตร 1,573 แห่ง ดำเนินธุรกิจรวบรวมและรับซื้อ ผลผลิตการเกษตรจากสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ อาทิ ข้าว ข้าวโพดยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลังและผลไม้ ปริมาณไม่น้อยกว่า 5.530 ล้านตัน/ปี และสหกรณ์อีกจำนวน 718 แห่ง ดำเนินธุรกิจบริหารจัดการพืชผลการเกษตรและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต ปริมาณไม่น้อยกว่า 1.103 ล้านตัน/ปี

สำหรับในปีงบประมาณ 2563 กรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งเน้นการพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ โดยส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในแต่ละอำเภอจะมีประชากรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรไม่น้อยกว่า 40-50% ดังนั้น สหกรณ์จะต้องปรับบทบาทในการดำเนินงาน มุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เบื้องต้น จะมีการพัฒนาการผลิตพืชผลการเกษตรให้ได้มาตรฐาน GAP พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร 10 ชนิด จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ผลิตภัณฑ์

เพื่อให้สินค้าของสหกรณ์เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ยังเดินหน้าโครงการเพิ่มศักยภาพสหกรณ์ในการรวบรวมและเก็บชะลอสินค้าเกษตร เพื่อดึงปริมาณผลผลิตการเกษตรที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพิ่มมูลค่าก่อนส่งจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้สินค้าไม่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันจำนวนมาก และป้องกันปัญหาการกระจุกตัวของสินค้า เพื่อใช้กลไกสหกรณ์เข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าการเกษตรให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยขอให้ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตรให้มากขึ้น และชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ และส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพของเกษตรกรอย่างไร นอกจากนี้ ให้เร่งแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ ไม่ให้มีหนี้สินพอกพูน ซึ่งจะต้องไปดูเรื่องของการประกอบอาชีพและรายได้ที่เพียงพอหรือไม่ ต้องเน้นการสร้างอาชีพ สำหรับการผลิตสินค้าการเกษตร สหกรณ์ต้องเข้าไปส่งเสริมสมาชิกผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐไปใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตการเกษตร และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกับเกษตรกรด้วย เนื่องจากสหกรณ์นั้นมีความสำคัญและเป็นกลไกที่ช่วยดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

“สหกรณ์มีศักยภาพในการผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญหลายชนิด ทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลังและยางพาราโดยเฉพาะยางพารา สหกรณ์สามารถรวบรวมน้ำยางดิบจากสมาชิกนำมาผลิตเป็นน้ำยางข้น ยางแผ่น และยางแท่งได้บางส่วนได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่น หมอน ที่นอน แผ่นรองปูพื้นสนาม ถุงมือและรองเท้า ดังนั้น จะสนับสนุนให้สหกรณ์รับซื้อน้ำยางดิบจากเกษตรกรแล้วนำมาแปรรูปตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมต้องการนำผลิตภัณฑ์ยางพารามาแปรรูปเป็นกรวยยาง

แท่งแบริเออร์และอุปกรณ์ความปลอดภัยทางถนน ซึ่งจะมีการหารือกับกระทรวงคมนาคม ขอให้สหกรณ์เป็นผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้และขอให้กระทรวงคมนาคมประสานและสั่งซื้อจากสหกรณ์โดยตรง เบื้องต้นทราบว่า มีสหกรณ์ทางภาคใต้ เช่น สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด จังหวัดสงขลาและชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูล จำกัด จังหวัดสตูล มีศักยภาพในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราได้หลากหลายชนิด ที่พร้อมสำหรับการผลิตเป็นกรวยและแท่งแบริเออร์ได้ตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการ นอกจากนี้ยังได้วางแผนลงไปตรวจเยี่ยมการก่อสร้างโรงงานรวบรวมน้ำยางของสหกรณ์สวนยางในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้เร่งดำเนินการได้ทันรองรับปริมาณผลผลิตยางพาราจากเกษตรกรในพื้นที่โดยเร็วที่สุด” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของพื้นที่จังหวัดนครนายก ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง กุ้งขาวแวน นาไม มะยงชิด โดยการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2)

เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) เฉลี่ย 538 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 69 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง พื้นที่ S1/S2 เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,433 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 552 บาท/ไร่ สำหรับกุ้งขาวแวนนาไม และมะยงชิด ไม่ได้กำหนดพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) โดย กุ้งขาวแวนนาไม เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 76,179 บาท/ไร่ และมะยงชิด ซึ่งเป็นสินค้า GI ของจังหวัดนครนายก เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 13,429 บาท/ไร่

หากพิจารณาสินค้าทางเลือกเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรในจังหวัดนครนายก ตาม Agri – Map เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวมาทำไม้ดอกไม้ประดับ (ขนาดถุงดำ 2 นิ้ว) เช่น ต้นพุดศุภโชค เข็ม ชา มะลิ มีต้นทุนการผลิต 90,395 บาท/ไร่/รุ่น มีอายุเก็บเกี่ยว 3 เดือน เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 51,335 บาท/ไร่/รุ่น และไม้ดอกไม้ประดับ (ถุงดำขนาด 8 นิ้ว) เช่น ต้นไทรเกาหลี ต้นทุนการผลิต 47,215 บาท/ไร่/รุ่น มีอายุเก็บเกี่ยว 6 เดือน เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ 69,415 บาท/ไร่/รุ่น ซึ่งไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดนครนายกมีชื่อเสียงและตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับที่ตั้งอยู่ที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งขายส่งกระจายไปทั่วประเทศและต่างประเทศจึงเป็นสินค้าทางเลือกที่ดีมีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังมีสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจด้านประมง ได้แก่ กุ้งก้ามกราม มีต้นทุนการผลิต 24,284 บาท/ไร่/รุ่น ให้ผลผลิตใน 90 วัน ผลตอบแทนสุทธิ 26,296 บาท/ไร่/รุ่น และปลานิล มีต้นทุนการผลิต 20,973 บาท/ไร่/รุ่น ให้ผลผลิตใน 330 วัน ผลตอบแทนสุทธิ 9,052 บาท/ไร่/รุ่น ซึ่งปัจจุบันผลผลิตด้านประมงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องเพราะจังหวัดนครนายกเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจใกล้กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะมีน้ำตกที่มีชื่อเสียงหลายแห่งจึงมีนักท่องเที่ยวมาจำนวนมากและต้องการอาหารสด ที่ปลอดภัย เกษตรกรสามารถผลิตร่วมกับการทำนาเสริมรายได้ในสระน้ำในไร่นา สามารถสร้างจุดแข็งและขยายผลต่อยอดเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปได้

จะเห็นได้ว่าสินค้าทางเลือกมีหลากหลายชนิดและตลาดมีความต้องการสามารถสร้างรายได้เพิ่มและมีกำไร อย่างไรก็ตาม ควรสนับสนุนการปล่อยลูงกุ้งก้ามกรามลงในแม่น้ำนครนายกเพื่อเกิดสินค้ากุ้งแม่น้ำธรรมชาติสร้างรายได้ให้กับวิถีชีวิตชุมชนริมแม่น้ำนครนายก และควรสนับสนุนการส่งเสริมการบริโภคกุ้งก้ามกราม ปลานิล แก่กลุ่มนักท่องเที่ยว โรงแรม และรีสอร์ต ส่งเสริมการทำจุด Landmark ไม้ดอกไม้ประดับพร้อมติดป้ายหรือสร้างสื่อ social แบบหลายภาษาเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาทิ สวนผลไม้ สวนผสมผสาน และสวนไม้ดอกไม้ประดับ

สำหรับแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri – Map) ควรวางแผนการส่งเสริมในการแบ่งเขตพื้นที่เกษตรตามลักษณะศักยภาพของจังหวัดนครนายก โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน ได้แก่ โซนพื้นที่ดอน ส่งเสริมให้ทำการเลี้ยงสัตว์ ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ ทำสวนผลไม้ และโซนพื้นที่ลุ่ม ส่งเสริมทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และปลูกข้าว ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคตะวันออก สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร. (038) 351-261 หรืออี-เมล zone6@oae.go.th

มกอช. ติวเข้มผู้ประกอบการ ใช้และแสดงเครื่องหมายบรองมาตรฐานบังคับได้อย่างถูกต้อง พร้อมชูศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ สหกรณ์โคนมแม่ออน จำกัด ต้นแบบผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ

นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา มกอช. ได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนด ให้สินค้าเกษตรจำนวน 6 รายการเป็นมาตรฐานบังคับ ได้แก่ 1.เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน 2.หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค 4.การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 5.หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด และ6.การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็ง ซึ่งตามมาตรา 55 แห่งพ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ ต้องแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ลักษณะของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร พ.ศ.2553

ทั้งนี้ เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า สินค้าหรือกระบวนการในการผลิตมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ผู้ที่จะนำเครื่องหมายรับรองมาตรฐานไปใช้ได้ก็จะต้องมีคุณสมบัติและผ่านหลักเกณฑ์ ตามข้อกำหนดของหน่วยงานนั้น ดังนั้น มกอช. ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลการใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานตามกฎหมายจึงต้องสร้างการรับรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จึงได้จัด “โครงการแนวทางการใช้และแสดงเครื่องหมายบรองมาตรฐานบังคับ”

เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตและได้รับการรับรองตามมาตรฐานบังคับ ใช้และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับได้อย่างถูกต้อง อาทิ มาตรฐานบังคับ เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ มาตรฐานบังคับ เรื่อง หลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด และมาตรฐานบังคับ เรื่อง หลักปฏิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเกษตรที่ผลิตจากสถานประกอบการที่มีระบบการผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล

นอกจากนี้ ได้เยี่ยมศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ของสหกรณ์โคนมแม่ออน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ และมอบป้ายเครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ โดยศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบแห่งนี้ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร มกษ.6401-2558 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ จาก มกอช. และได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ (มกษ.6401-2558) GMP จากกรมปศุสัตว์ ปัจจุบัน สหกรณ์ฯ มีสมาชิก 135 ราย ได้รับรองมาตรฐาน GAP 67 ราย รับน้ำนมดิบจากสมาชิกเช้า-เย็น 26.86 ตัน/วัน หรือรวมประมาณ 837.77 ตัน/เดือน โดยส่งให้โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ บริษัท ซีพี เมจิก และ อ.ส.ค.สุโขทัย

“ปัจจุบันมีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ที่ได้รับใบอนุญาตจาก มกอช. จำนวน 194 ราย โดยพื้นที่ภาคเหนือ มีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 33 ราย แบ่งเป็น เชียงใหม่ 16 ราย ลำพูน 9 ราย เชียงราย 5 ราย ลำปาง 2 ราย และแพร่ 1 ราย”เลขาธิการ มกอช. กล่าว

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยต่อเนื่อง ดันผลผลิตชาวไร่สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียสู่มาตรฐานปลอดภัย Thai GAP พร้อมคัดสรรคุณภาพเนื้อหนึ่งขายต่อเนื่องชูของดีประจำท้องถิ่นภาคตะวันออก ขายผ่านแม็คโครทั่วประเทศ เฉพาะช่วงเทศกาลสารทจีนปีนี้ ความต้องการเพิ่ม ยอดโตกว่า 3 เท่า เกษตรกรปลื้มคุณภาพชีวิตดี มีรายได้มั่นคง ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยาม แม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม็คโคร ให้ความสำคัญกับการสรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ มาตรฐานปลอดภัย โดยช่วยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในท้องถิ่นและกระจายสินค้าไปยังสาขาต่างๆ รวมถึงการนำสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียของดีประจำภาค จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภาคตะวันออก วางจำหน่ายในสาขาทั่วประเทศ ซึ่งแม็คโครได้ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร ด้วยการส่งพนักงานติวเข้มการบริหารจัดการเพาะปลูก ย้ำความสำคัญมาตรฐานปลอดภัย Thai GAP ทำให้มีผลผลิตที่ได้คุณภาพ มีตลาดที่แน่นอน ที่สำคัญในช่วงเทศกาลสารทจีนนี้ สับปะรดปัตตาเวีย ได้รับการตอบรับดีมาก คนไทยเชื้อสายจีนใช้เป็นผลไม้ในการไหว้เจ้าที่มีความหมายดีและขาดไม่ได้

“สับปะรดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่สำคัญในการไหว้เจ้าของชาวไทยเชื้อสายจีน เฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเทศกาลสารทจีน ตลาดมีความต้องการสูง ช่วงนี้จึงรับซื้อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมากกว่าปกติถึง 3 เท่า หรือราว 30,000 ลูก ส่งตรงยังสาขาแม็คโคร 13 จังหวัดทั่วภาคตะวันออก และส่งคลังสินค้าเพื่อกระจายสู่ทั่วประเทศ”

ด้าน นายประสาท พันธุนาคิน กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดภาคตะวันออก กล่าวว่า “ปกติแล้วชาวไร่สับปะรดที่ปลูกพันธุ์ปัตตาเวียจะนิยมขายผลผลิตผ่านตลาดสด แต่เมื่อมีการชักชวนลูกไร่มาพัฒนาคุณภาพส่งขายให้แม็คโคร แรกๆ เขาไม่สนใจเรื่องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยอย่าง GAP หรือ Thai GAP กันเลย จนกระทั่งเห็นว่าเมื่อผมพัฒนาคุณภาพมาตรฐานแล้ว ขายได้ราคาดี เขาจึงเข้ามาเป็นลูกไร่กับเรา ตอนนี้มีลูกไร่อยู่ราว 20 ราย ส่งผลผลิตคุณภาพดีขนาด 1.5 กิโลกรัม ทั้งแบบเนื้อหนึ่งและเนื้อสอง ขายให้กับแม็คโครประมาณ 10 ตันต่อสัปดาห์”

ว่ากันว่า สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัดชลบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี โดยในช่วงเทศกาลสารทจีน ถือเป็นผลไม้ไหว้เจ้าสำคัญที่ขาดไม่ได้ มีความหมายว่า โชคลาภที่กำลังจะมา ความรอบคอบ รอบรู้ เฉลียว ฉลาด มองการณ์กว้างไกล ที่สำคัญยังมีใยอาหารสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด ขณะที่ความนิยมในการบริโภค สำหรับคนไทยจะนิยมบริโภคเนื้อหนึ่ง หวาน ฉ่ำเนื้อแก้ว ส่วนต่างชาติจะชอบเนื้อสอง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปประกอบอาหาร

นางศิริพร กล่าวอีกว่า “ข้อดีของการซื้อสับปะรดในแม็คโครก็คือ สามารถเลือกเองได้ตามใจชอบไม่ว่าจะเป็นเนื้อหนึ่ง สำหรับผู้ที่ชอบทานแบบเนื้อแก้ว หวาน ฉ่ำ หรือเนื้อสอง หวานอมเปรี้ยว ที่นิยมนำไปประกอบอาหาร ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้และความชื่นชอบ โดยแม็คโครได้มีแผนการพัฒนาผลผลิตสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภาคตะวันออกให้มีคุณภาพเนื้อหนึ่งตามความต้องการของตลาดและการนิยมบริโภคที่มากขึ้นด้วย”

คุยเรื่องปลาทูแม่กลองมาหลายตอนจนหน้าคนเขียนจะเป็นปลาทูอยู่แล้ว ฉบับนี้คงจะมาถึงตอนสุดท้ายว่าด้วย “ปลาทูนึ่ง”

คอปลาทูคงรู้กันดีว่า ปลาทูนึ่งสมัยนี้นั้นเราเรียกกันตามใจปากต่อๆ กันมา เพราะมันเรียงใส่เข่งมาเหมือนกับเพิ่งยกออกจากลังถึง นึ่งเสร็จมาใหม่ๆ แต่ความเป็นจริงแล้วหมายถึง ”ปลาทูต้มต้มน้ำเกลือ”

ส่วนเรื่องที่ว่าในอดีตคนทำปลาทูนึ่งเขานึ่งกันจริงหรือเปล่า? จนบัดนี้ก็ยังเถียงกันไม่จบว่านึ่งหรือไม่นึ่ง เพราะหลักฐานการบันทึกและภาพถ่ายไม่มีให้เห็น ได้ยินแต่คนนั้นคนนี้พูดตามความทรงจำ แต่ก็มีคนหาเหตุผลมาอธิบายจนได้ว่าทำไมปลาทูนึ่งกลายมาเป็นปลาทูต้ม นั่นก็เพราะเวลานึ่งแล้วผิวปลาจะไม่ตึงสวยเท่ากับนำไปต้มในน้ำเกลือเจือจาง พอเอาขึ้นมาร้อนๆ ก็ราดด้วยน้ำเย็นจัดอีกทีให้ผิวมันวาว และดึงรั้งให้หนังตึงน่ากิน

เอาเป็นว่าจะนึ่งหรือจะต้ม ผลผลิตปลายทางก็เหมือนกันทั้ง 2 แบบ คือ หมายถึงปลาทูที่ผ่านกระบวนการทำให้สุกแล้วและมีรสเค็มอยู่ในตัว สามารถเอามาปรุงอาหารต่อได้มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกปลาทู ปลาทูทอด ปลาทูต้มยำ ปลาทูต้มส้ม ปลาทูฉู่ฉี่ ปลาทูผัดฉ่า ปลาทูต้มมะดัน ข้าวผัดน้ำพริกปลาทู ฯลฯ

“ปลาทูแม่กลอง” ของดีเลื่องชื่อลือชานั้น จุดเริ่มต้นการผลิตมาจากท่าเรือหน้าวัดปทุมคณาวาส ซึ่งเป็นท่าขึ้นปลาทูขนาดใหญ่ มีพ่อค้า แม่ค้า และชาวประมง มาทำการซื้อขายปลาทูกันอย่างคึกคัก เพื่อนำไปทำเป็นปลาทูนึ่งใส่เข่ง

เอกลักษณ์ของปลาทูแม่กลองคือ “หน้างอ คอหัก” ถ้าหน้าไม่งอ คอไม่หัก ดูเป็นหน้าเริดเชิดหยิ่ง ถือว่าเป็นปลาจากที่อื่น

ในบรรดาแม่ค้าปลาทูนึ่งเมืองแม่กลองคงไม่มีใครเด่นดังไปกว่า ป้าทองอยู่ หะรินสวัสดิ์ หรือ “ป้าอยู่” ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการนึ่งปลาทูขายมายาวนานหลายสิบปีอีกแล้ว ป้าอยู่จึงเป็นดาราไปออกรายการต่างๆ มามากมายเกี่ยวกับเรื่องการทำปลาทูนึ่ง

ทุกวันแกจะไปรับปลาจากหน้าวัดปทุมฯ มานึ่งตั้งแต่ตี 3 มาหยุดนึ่งเอาตอน 7 โมงเช้า แกบอกว่าที่ปลาทูแม่กลองโด่งดังก็ตรงที่มีเนื้อปลาอร่อยกว่าที่อื่น เพราะทะเลแม่กลองพื้นเป็นดินโคลน อาหารปลาอุดมสมบูรณ์กว่าดินทราย และถ้าจะกินปลาทูให้อร่อยเลิศต้องเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน ปลาจะมันและมีเยอะกว่าช่วงอื่น

พอได้ปลามาก็จะทำการควักไส้ออก ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า แล้วนำปลาทูวางลงเข่ง ถ้าตัวใหญ่หน่อยก็จะใส่เข่งละ 2 ตัว แต่ถ้าตัวเล็กหน่อยก็จะใส่เข่งละ 3 ตัว แล้วแต่ขนาดของปลา ซึ่งก่อนที่จะนำปลาทูลงเข่งนั้น คนทำก็จะหักคอปลาทูให้งอลง เพื่อที่จะให้เข่งล็อกตัวปลาทูไว้อย่างสวยงาม ทำให้ปลาทูแม่กลองดูแตกต่างจากปลาที่อื่น

ป้าอยู่ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ก็จัดปลาทูใส่เข่งเหมือนทั่วไป คือเรียงปลาทูเอาหัวและหางตรงลงเข่ง ปรากฏว่าพอนึ่งมาแล้วหางหักบ้างอะไรบ้าง ก็เลยจับปลาทูหักคอให้งอพอดีเข่ง กลายเป็นที่มาของปลาทูหน้างอ คอหัก ของแม่กลองนับแต่นั้น

พอนำปลาลงเข่งเรียบร้อยแล้วก็จะนำเข่งปลามาเรียงลง “เต๊า” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโครงเหล็กทรงกลมใช้เรียงเข่งปลาเพื่อนำลงไปต้ม แต่ละเต๊าใส่เข่งปลาทูได้ 70-80 เข่ง เอาไปต้มในหม้อขนาดใหญ่ด้วยน้ำเกลือประมาณ 15 นาที จากนั้นจึงนำปลาขึ้นมา เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำปลาทูนึ่ง พร้อมที่ส่งขายให้กับพ่อค้า แม่ค้าที่มารอรับถึงหน้าบ้าน

ป้าอยู่ยังให้ความรู้กับทุกคนว่าเวลานี้ปลาโป๊ะไม่มีแล้ว มีแต่ปลาเรืออวนลาก ที่ร้องขายกันว่า “ปลาโป๊ะๆ…โกหกทั้งนั้น ถ้าปลาใกล้โป๊ะละไม่เถียง” ปลาทูนึ่งคุณภาพดีระดับปลาโป๊ะต้องเป็นปลาทูอวนดำที่ออกเรือตอนเย็นและกลับมาตอนเช้าทุกวัน ซึ่งจะทำให้ได้ปลาสดๆ มานึ่ง

หลักง่ายๆ เกี่ยวกับการกินปลาก็คือ ปลาอะไรก็ตามถ้าไม่สดจะคาว เอาไปทำอะไรกินก็ไม่อร่อย ปลาทูนึ่งก็เช่นกัน ถ้าเริ่มต้นจากปลาไม่สด อย่าหวังเลยว่าเนื้อจะอร่อย ถ้าได้ปลาทูสดจริงๆ ทำอะไรก็อร่อยแน่นอน ไม่จำเป็นต้องเป็นปลาโป๊ะก็ได้

แต่ปลาทูนึ่งแม่กลองส่วนใหญ่อร่อยจริง ไม่ใช่เฉพาะของป้าอยู่ นั่นก็เพราะชาวประมงออกเรือไปล่าปลาทูมาขายแบบวันต่อวันนั่นเอง ไม่มีการเก็บปลาไว้ค้างคืน ปลาทูแม่กลองจึงสดใหม่กว่าปลาทูที่ถูกแช่แข็งค้างคืนหลายวัน

แต่ในความสดใหม่นั้นก็อาจมีความผิดพลาดได้ถ้าหากกรรมวิธีในการนึ่งปลาทูไม่ถูกต้อง คนซื้อปลาทูนึ่งไปแล้วตกบ่ายมีกลิ่นเหม็นเน่า นั่นก็เพราะตอนต้ม อ่อนเกลือ อ่อนไฟ นึ่งไม่สุก ถ้านึ่งไม่ค่อยสุกลองสังเกตดูหนังปลาจะเต่ง จะใส สวย ปลาที่สุกมากตัวจะเหี่ยวหน่อย ไม่สวยนักแต่อร่อยแน่นอน

ดังนั้น ก็เลยต้องเอาวิธีเลือกปลาทูนึ่งมาฝากกันหน่อย ปลาทูที่นึ่งใหม่จะมีกลิ่นหอมชวนกิน ตัวอวบอ้วน เนื้อนุ่มแน่นและไม่เละยุ่ย ท้องและผิวไม่ถลอก ถ้าขอบตาแดง ผิวเหลือง แสดงว่าเป็นปลาที่มีคุณภาพไม่ดี เป็นปลาที่ได้จากอวนลาก ความอร่อยของปลาทูนึ่งยังขึ้นอยู่กับปลาทูที่สดที่นำมาต้มด้วย

ปลาทูนึ่งจะมีความสดมากหรือน้อยนั้นจะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการดมกลิ่น ชิมรสเนื้อปลา ปลาที่มีความสดมากจะมีกลิ่นหอมของเนื้อปลาชวนกิน รสชาติอร่อย เนื้อนุ่มไม่กระด้าง ไม่เปื่อยยุ่ย โดยเฉพาะปลาทูที่จับได้ที่ก้นอ่าวไทยตามทะเลที่พื้นดินเป็นเลน เนื้อจะอร่อยกว่าปลาทูที่จับได้ตามทะเลที่เป็นพื้นทราย

วิธีเลือกปลาทูสดให้ดูที่ลูกตา ปลาทูสดลูกตาจะนูน ตาดำมีสีสดใส ส่วนหลังของลำตัวจะมีสีเขียวเป็นพื้น ส่วนท้องจะมีสีขาว หรือสีเงิน หางปลายังมีสีเหลือง ตามลำตัวมีเมือกลื่นๆ เหงือกมีสีแดงออกชมพู ปลาไม่มีกลิ่น เนื้อแน่น เมื่อใช้นิ้วกดที่กลางลำตัวแล้วปล่อยนิ้วออก รอยยุบจะกลับคืนสภาพเดิมได้หมดหรือเกือบหมด

ส่วนปลาทูที่ไม่สด ลูกตาจะยุบ ตาดำจะขุ่น บริเวณลูกตาอาจมีเลือดคั่ง สีพื้นของลำตัวซีด เหงือกมีสีแดงซีด ปลามีกลิ่นคาวหรือคาวจัด ลำตัวอ่อนเหลว และไม่มีเมือกจับ

พันธุ์งาขี้ม้อนมีพันธุ์ใบสีเขียวและพันธุ์ใบสีม่วงใบสีเขียวเป็นพันธุ์

ที่พบมากในประเทศไทย จากการสำรวจการปลูกงาขี้ม้อนในภาคเหนือตอนบนพบว่า มีการปลูกกระจายทั่วไปบนพื้นที่ดอนตามไหล่เขาเชิงเขา จากแหล่งปลูกใน 10 พื้นที่ มีงาขี้ม้อนทั้งหมด 130 สายพันธุ์ และมีอยู่ 10 สายพันธุ์ ที่ทางศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยคัดเลือกไว้ โดยแบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่

ต้นงาขี้ม้อน ลำต้นตั้งตรง ความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นสี่เหลี่ยมมน ต้นมีกลิ่นน้ำมัน มีขนยาวละเอียดสีขาว ระหว่างเหลี่ยมที่ต้นมีร่องตามยาว เมื่อโตเต็มที่ลำต้นเคยเป็นเหลี่ยมที่โคนต้นจะหาย แต่ละข้อตามลำต้นที่จะแตกเป็นใบห่างกัน 4-11 เซนติเมตร ส่วนโคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง รากแข็งเหนียว

ใบงาขี้ม้อน ใบใหญ่คล้ายกับใบยี่หร่าอย่างมาก แต่มีสีอ่อนกว่าใบยี่หร่า หรือคล้ายใบฤๅษีผสม ใบเป็นใบเดี่ยว ใบออกเป็นคู่อยู่ตรงข้าม คู่ใบในข้อถัดไปใบจะออกเป็นมุมฉากกับใบคู่ก่อนสลับกันตลอดทั้งต้น ลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์หรือรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งยาว โคนใบกลมป้าน หรือโคนตัด ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ความกว้างของใบประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ แผ่นใบมีขนสั้นๆ นุ่มสีขาวทั้งสองด้าน เมื่อไปสัมผัสจะไม่รู้สึกระคายเคืองหรือคัน ตามเส้นใบมีขน ท้องใบมีต่อมน้ำมัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร และมีขนยาวขึ้นแน่น เส้นใบ 7-8 คู่ แตกเป็นคู่ตรงข้ามกันจากเส้นกลางใบ ใบเหี่ยวเร็วมากเมื่อเด็ดจากต้น และไม่ควรนำใบให้วัวควายกินจะเกิดพิษได้

ดอกงาขี้ม้อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบแต่ละข้อและที่ยอด ช่อดอกมีดอกย่อยเต็มก้านดอก ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากเป็นกลุ่ม ช่อดอกตั้งเป็นช่อรูปสี่เหลี่ยม ดอกย่อยเชื่อมติดกันรอบก้านดอกไม่เป็นระเบียบชูช่อดอกขึ้นไป ช่อดอกยาว 1.5-15 เซนติเมตร ช่อดอกคล้ายช่อดอกโหระพา ช่อดอกแมงลัก ดอกย่อยคล้ายรูปไข่เล็กๆ ไม่มีก้าน ดอกย่อยมีริ้วใบประดับอยู่ แต่ละดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีขาว สีขาวอมม่วงถึงสีม่วง มีขนสีขาวขึ้นปกคลุม

ผลงาขี้ม้อน ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลมขนาดเล็ก ผลอ่อนสีขาวหรือเขียวอ่อน ผลแก่เป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาเมล็ดงาขี้ม้อนในดอกย่อยแต่ละดอกมีเมล็ดอยู่ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็กลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีสีที่ต่างกัน เป็นลายตั้งแต่สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม สีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาว และมีลายเป็นรูปตาข่าย น้ำหนักเมล็ดประมาณ 4 กรัม ต่อ 1,000 เมล็ด

การเก็บเกี่ยว เมื่องาขี้ม้อนมีอายุได้ 4-5 เดือน งาจะเริ่มแก่ สังเกตช่อดอกส่วนล่างเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบ้างจึงเก็บเกี่ยวได้ เกี่ยวด้วยเคียวขณะที่ต้นยังเขียว ลำต้นที่ยังอ่อนซึ่งทำให้ง่ายต่อการเกี่ยว วางต้นงาที่เกี่ยวแล้วเพื่อตากแดดทิ้งไว้บนตอซังที่เกี่ยวหรือวางบนร้านไม้ไผ่ ตากแดด 3-4 วัน ต้นงาที่แห้งแล้วนำมาตีด้วยไม้ให้เมล็ดหลุดออกลงในภาชนะรองรับ ฝัดทำความสะอาดตากแดดอีกครั้งแล้วเก็บใส่กระสอบ เพื่อรอการจำหน่ายหรือเก็บไว้บริโภคเอง

พบการระบาดของโรคและแมลงในงาขี้ม้อนมีน้อย ไม่ถึงกับทำความเสียหายเป็นวงกว้าง พบหนอนห่อใบโหระพากัดกิน มีเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยแป้งรบกวนบ้าง

ประโยชน์ของงาขี้ม้อนเมล็ดและใบงาขี้ม้อนใช้เป็นอาหารได้หลายอย่าง คนภาคเหนือใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาขี้ม้อนมาช้านาน โดยนำเมล็ดมาบริโภคทำเป็นอาหารว่างหรือของหวานชนิดหนึ่งที่ทำได้อย่างง่ายๆ ใช้เมล็ดงาตำกับเกลือคลุกกับข้าวเหนียวขณะที่ยังร้อนๆ ตำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับงา หรือคั่วงาให้สุกแล้วตำงากับเกลือในครกจนเข้ากันดีและคลุกกับข้าวเหนียวร้อนๆ จะได้กลิ่นหอมของข้าวสุกใหม่และกลิ่นของงา หากต้องการขบเมล็ดปนอยู่บ้างก็ไม่ต้องตำจนละเอียด แต่ถ้าไม่ชอบให้เป็นเมล็ดก็ตำให้ละเอียดได้ ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆ ลงตำคลุกเคล้ากับงาในครก ถ้าทำครั้งละมากๆ จะตำในครกกระเดื่อง หรือจะคลุกเคล้าข้าวเหนียวอุ่นๆ กับงาให้เข้ากันดีก่อนแล้วเติมเกลือและตำให้เข้ากันอีกทีก็ได้

อาหารชนิดนี้คนภาคเหนือเรียกว่า ข้าวหนุกงา หรือ ข้าวนุกงา รับประทานเป็นอาหารว่างหรือของหวาน บางคนจะเติมหัวกะทิลงไปด้วย เพิ่มความมันจากกะทิรสชาติต่างออกไป ข้าวหนุกงาที่เติมกะทิจะเก็บไว้ไม่ได้นาน จะบูดง่ายควรรีบรับประทานขณะยังอุ่นๆ เชียงใหม่เรียก ข้าวหนุกงา คำว่า “หนุก” หมายถึง คลุกหรือนวด ลำปางบางพื้นที่เรียกว่า “ข้าวนึกงา หรือ ข้าวหนึกงา คำว่า “หนึก” หมายถึง การคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยังมีชื่อเรียกอาหารชนิดนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ข้าวงา, ข้าวคลุกงา, ข้าวแดกงา ข้าวหนุกงา จะได้รสชาติดีถ้าใช้งาที่เก็บมาใหม่ๆ ถ้าใช้ข้าวเหนียวดำมาตำผสมกับงาขี้ม่อนให้เหนียวและทับรีดเป็นแผ่นบนใบตอง รับประทานขณะอุ่นๆ หรือนำไปย่างไฟใส่น้ำตาลอ้อยลงไปก่อนรับประทาน เรียกว่า “ข้าวปุกงา” หรือ “ข้าวปุ๊กงา”

การทำข้าวหนุกงาของชาวลัวะในภาคเหนือ นำงาไปคั่วกับเกลือและตำให้แตกน้ำมันและใส่ข้าวเหนียวสุกใหม่ตำไปพร้อมกัน จะใส่น้ำอ้อยเพิ่มความหวานก็ได้ หรือนำเมล็ดงามาคั่วใส่ในน้ำพริก การทำข้าวหนุกงาของชาวไทยใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนจะตำจนข้าวเหนียวและงาเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ถ้าชอบหวานจะจิ้มกับน้ำอ้อยหรือน้ำผึ้งก็ได้เช่นกัน ข้าวหนุกงา หรือข้าวหนึกงามีรสมันและเค็มควรรับประทานขณะข้าวยังอุ่น เมื่อก่อนคนเมืองเหนือนิยมบริโภคข้าวหนุกงากันในช่วงฤดูหนาวตรงกับช่วงเก็บเกี่ยวข้าวใหม่พอดี และจะได้รับประทานกันปีละครั้ง เดี๋ยวนี้ข้าวหนุกงาพบว่ามีขายตามตลาดสดตอนเช้าในภาคเหนือ ขายเป็นห่อ ห่อด้วยใบตองเป็นห่อใหญ่ มีให้รับประทานได้ตลอดปี ไม่ต้องรอถึงฤดูหนาว

การใช้ประโยชน์จากเมล็ดงาขี้ม้อนยังใช้แปรรูปหรือเป็นส่วนผสมในอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผสมในข้าวหลาม ใส่ในขนมรังผึ้ง ใส่ในข้าวต้มมัด ใส่ในขนมเทียน ขนมงา งาคั่ว งาแผ่นคล้ายขนมถั่วตัด คุกกี้งา น้ำมันงาอัดเม็ด น้ำมันงาสกัดเย็น ใช้น้ำมันมาทำเนยเทียมงาขี้ม้อน ชางาขี้ม้อนป่น ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว เป็นต้น

คนเอเชียรู้จักใช้ใบงาขี้ม้อนมานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะคนจีนจะใช้ใบและยอดอ่อนเพื่อแต่งรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร ใบงาขี้ม้อนใช้รับประทานสดได้ ใบมีกลิ่นหอม ใช้แทนผักสด ใช้ใบห่อข้าว ใช้ห่อขนมเทียน ชุบแป้งทอด ใส่กับสลัด เนื้อย่าง หมูย่าง ห่ออาหารประเภทเมี่ยงปลา หรือใช้เป็นผักแนม รับประทานร่วมกับอาหารรสจัดประเภทยำต่างๆ ชาวญี่ปุ่นและชาวเกาหลีนิยมรับประทานใบงาขี้ม้อนเป็นผักเคียงคู่กับซาซิมิหรือเนื้อปลาดิบ เนื่องจากใบงาขี้ม้อนมีสรรพคุณดับกลิ่นคาวและต้านการแพ้อาหารทะเลได้ ดังนั้น ใบงาขี้ม้อน จึงมีราคาสูงในญี่ปุ่น เกาหลี ใบงาขี้ม้อนพบว่ามีสารที่ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

น้ำมันงาขี้ม้อน

น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม้อนเริ่มได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในเมล็ดมีน้ำมันสูง ประมาณ 31-51% เป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) พบว่า น้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อนมีประโยชน์หลายอย่าง งาขี้ม้อนเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่ดีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม้อนนำมาใช้เป็นอาหารและใช้ทำยาได้ ช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค เมล็ดงาขี้ม้อนมีโปรตีน 18-25 เปอร์เซ็นต์ วิตามินบีและแคลเซียมสูงกว่าพืชผัก 40 เท่า โดยมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักทั่วไป 20 เท่า งาขี้ม้อนเป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมก้า 3, 6 และ 9 ซึ่งมีมากกว่าน้ำมันปลา 2 เท่า เนยเทียมที่ผลิตจากน้ำมันงาขี้ม้อนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารใหม่สุดที่มีความปลอดภัยสูง เพราะปราศจากไขมันทรานส์

ปัจจุบัน ได้มีการนำเมล็ดงาขี้ม้อนมาสกัดน้ำมันในรูปแบบของน้ำมันบริสุทธิ์ (virgin oil) และใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพป้องกันโรคหลายโรค ส่วนใบของงาขี้ม้อนมีปริมาณน้ำมันค่อนข้างต่ำ ประมาณ 0.2% ใบสดงาขี้ม้อนสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) ได้ มีราคาถูกกว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกไม้หอมชนิดอื่น จึงนำมาใช้แทนในอุตสาหกรรมเครื่องหอมได้

งาขี้ม้อน พืชเก่าแก่มีมาแต่ดั้งเดิม ได้รับความสนใจในสถานะพืชน้ำมันชนิดใหม่น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธุรกิจสุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักดีถึงอันตรายของโรค ASF ในสุกร ที่มีต่อเกษตรกร ต่อภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร และต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงวางมาตรการป้องกันโรคดังกล่าวอย่างเข้มงวด แม้จะมีระบบ Biosecurity ที่สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม

“แม้โดยปกติหมูที่อยู่ในฟาร์มระบบปิดและมีระบบการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด จะไม่พบการระบาดของ ASF แต่บริษัทก็ไม่ประมาทที่จะยกระดับการป้องกันฟาร์มของบริษัทให้เข้มข้นยิ่งขึ้น รวมถึงฟาร์มของเกษตรกรคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ที่ขณะนี้สัตวแพทย์ของบริษัทได้ออกให้ความรู้ในการป้องกัน ASF ครบถ้วนแล้ว 100% นอกจากนี้ ยังเพิ่มการซ้อมแผนฉุกเฉินในฟาร์มที่มีฟาร์มอื่นๆ อยู่ในรัศมีใกล้เคียง เพื่อเตรียมความพร้อมหากพบการระบาด”

ทั้งนี้ ซีพีเอฟมีการแบ่งฟาร์มมาตรฐานของบริษัทและเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือฟาร์มที่ไม่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมี 5 กิโลเมตร 2. กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง หรือฟาร์มที่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมี 1-5 กิโลเมตร 3. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ฟาร์มของบริษัทที่มีฟาร์มอื่นอยู่ใกล้เคียงในรัศมีน้อยกว่า 1 กิโลเมตร

การซักซ้อมแผนฉุกเฉินดังกล่าวทำในกลุ่มฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูง โดยจำลองสถานการณ์การเกิดโรคภายในฟาร์ม ฝึกซ้อมขั้นตอนการจัดการโรค ASF อย่างละเอียดทุกขั้นตอน เช่น การสวมชุดของเจ้าหน้าที่ที่รัดกุม การเคลื่อนย้ายสุกรที่เป็นโรคโดยป้องกันสารคัดแหล่งจากตัวสุกรไม่ให้ตกตามรายทางภายในฟาร์ม การจัดการเส้นทางขนย้ายสัตว์ไปยังบ่อฝัง การเผาทำลายเสื้อผ้าของเจ้าหน้าที่หลังเสร็จสิ้นภารกิจ รวมถึงการจัดเตรียมที่พักสำรองสำหรับเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เห็นภาพจริงในการปฏิบัติ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือ ASF ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังส่งทีมสัตวแพทย์ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งของบริษัททั่วทุกภูมิภาคครบทั้ง 100% สร้างความมั่นใจในกลุ่มเกษตรกรของบริษัทอย่างเต็มที่ โดยเน้นย้ำในการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติทั้ง 10 ข้อของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการส่งทีมงานร่วมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นๆ ทั่วประเทศ ผ่านการสัมมนา “เกาะติดสถานการณ์ ASF” เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ASF ที่ถูกต้อง ตลอดจนให้ความรู้ด้านมาตรการเฝ้าระวังและการป้องกันโรค เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสกัดกั้นโรคนี้ไม่ให้เข้ามากระทบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย

นอกเหนือจากการป้องกัน ASF ในระดับฟาร์มแล้ว ซีพีเอฟยังวางมาตรการเข้มที่โรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิต และที่โรงงานชำแหละมาตรฐานซึ่งเป็นปลายน้ำด้วย โดยที่โรงงานอาหารสัตว์ จะลงรายละเอียดการป้องกัน ตั้งแต่ด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ รถขนส่ง ระบบฆ่าเชื้อรถและบุคลากรก่อนเข้าโรงงาน การแยกพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบออกจากส่วนผลิตและส่วนคลังสินค้า มีโปรแกรมทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อทุกสัปดาห์ รวมถึงการจัดการสัตว์พาหะและป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ ซึ่งมีการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในโรงชำแหละมาตรฐานที่บริษัทดำเนินการ 100% จะวางมาตรการเพื่อป้องกันการติดเชื้อย้อนกลับไปที่ฟาร์ม และป้องกันเนื้อสุกรไม่ให้มีการปนเปื้อนเชื้อ ASF มีการตรวจโรคก่อนเข้าโรงชำแหละ รถขนส่งที่มาส่งสุกรจะมีระบบล้างฆ่าเชื้อและพักโรคก่อนนำกลับไปใช้ มีพนักงานตรวจโรคที่ตรวจสอบทั้งสุกรมีชีวิตก่อนชำแหละและรอยโรคสุกรหลังชำแหละอย่างละเอียด เป็นต้น

นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาเพาะปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยบางส่วนได้หันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากวิธีการทำนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้งมากขึ้น เนื่องจากขาดแรงงานในการปักดำ อีกทั้งยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่จากสถานการณ์ที่มีปริมาณฝนตกน้อยหลายพื้นที่ในระยะนี้

ปัญหาที่จะตามมาจากวิธีการหว่านข้าวแห้งคือ จะทำให้การกระจายและความลึกของเมล็ดข้าวที่ถูกฝังกลบลงดินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดข้าวและอาจมีวัชพืชขึ้นแซมในนาข้าวด้วย ทำให้ผลผลิตและคุณภาพข้าวต่ำ หรือหากฝนทิ้งช่วงนานเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวที่หว่านไม่งอกเลย ซึ่งการเกิดความเสียหายในกรณีนี้จะไม่ได้รับการช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

สำหรับข้อแนะนำการปลูกข้าวในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เกษตรกรควรวางแผนช่วงเวลาการเพาะปลูกข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศในปัจจุบัน โตยติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร หรือปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ให้สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อประเมินน้ำที่จะใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง การเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหาแหล่งน้ำสำรอง โดยประสานกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนการขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อแจ้งข้อมูลการเพาะปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิตกับกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถแจ้งข้อมูลได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือปรับปรุงผ่าน Mobile Application Farmbook เพื่อให้ภาครัฐทราบข้อมูลสถานการณ์การผลิตและเกษตรกรจะได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเสียหาย หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ถูกถามเข้ามาบ่อย โดยเฉพาะประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก ทางเราจึงได้เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดไว้ที่นี่แล้ว ในทุกปัญหาที่เคยถามเข้ามาเกี่ยวกับเพชรสังฆาต

1. สรรพคุณของเพชรสังฆาต รักษาอะไรได้บ้าง
รักษาริดสีดวง (วิจัยพบว่าประสิทธิภาพไม่ต่างกับยารักษาแผนปัจจุบัน (Daflon) แต่ราคาถูกกว่า) และยังดีในริดสีดวงที่มีการปวดและอักเสบ เพราะเพชรสังฆาตสามารถลดอักเสบ ลดปวดได้ และยังทำให้หลอดเลือดแข็งแรง จากสารฟลาโวนอยด์ที่พบในเพชรสังฆาต ปัจจุบันใช้เป็นยารักษาหลัก ในผู้ป่วยริดสีดวงทวารหนักที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

บำรุงกระดูก ใช้แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวท
– เพิ่มมวลกระดูก
– สมานกระดูกที่หัก โดยกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก และลดอาการบวมและอักเสบได้ ในระบบของกระดูก มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก จากการที่มีฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้เพิ่มขึ้น และเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในเซลล์สร้างกระดูก และยังป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกในหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ เพื่อจำลองให้เกิดสภาวะเหมือนหญิงวัยทอง โดยมีผลเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน คือ raloxifene โดยน่าจะเป็นผลจากการที่ในเพชรสังฆาตพบสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมาก เนื่องจากในหนูที่ได้รับเพชรสังฆาต พบการเพิ่มขึ้นของระดับเอสโตรเจน และวิตามินดีในเลือด ข้อดีของเพชรสังฆาต เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน พบว่าเพชรสังฆาตให้ผลดีทั้งในเรื่องของความหนา ความแข็งแรง และความหนาแน่นมวลกระดูก ขณะที่เอสโตรเจนจะไม่มีผลในเรื่องความหนาแน่นของมวลกระดูก เพชรสังฆาตยังมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้อีกด้วย

3. เหมือน “แคลเซียม” หรือไม่ กินแคลเซียมอยู่แล้ว
จากข้อสองจะเห็นได้ว่า เพชรสังฆาตไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมเป็นแร่ธาตุตัวหนึ่ง ดังนั้น สามารถกินเพชรสังฆาตร่วมกับแคลเซียมได้

4. ขนาดยา ใช้อย่างไร
– กินเพื่อรักษาริดสีดวงทวาร กินครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หากขนาดที่แนะนำกินแล้วระบายมากเกิน ให้ลดขนาดการกินลงมาค่ะ เนื่องจากมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ

5. หากมีต้นสดปลูกอยู่ที่บ้านทำอย่างไร
– หั่นตากแห้ง บดเป็นผง คลุกน้ำมะขามเปียก ปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 5 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

– เถาแห้ง 1 กำมือ แช่น้ำมะขามเปียกเพื่อลดแคลเซียมออกซาเลตก่อนนำมาต้ม ต้มดื่มกับน้ำ 1 ลิตร ดื่มครั้งละ 1 แก้วกาแฟ เช้า เย็น

– ใช้เถาสด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นยัดใส่ในกล้วยน้ำว้าสุก กลืนทั้งคำลงไปเลย ไม่ต้องเคี้ยว

– ใช้เถาเพชรสังฆาตโขลกจนแหลกและเนียน พอกกระดูกที่หัก

6. กินกี่เดือนเห็นผล กินได้นานเท่าไร
สามารถกินได้จนกว่าอาการจะดีขึ้น ส่วนใหญ่กินต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือนสำหรับการรักษาริดสีดวงทวาร และกินต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับรักษาอาการกระดูกพรุน เสื่อม แตกหัก หากกินเพื่อบำรุงกระดูก อาจกิน 3 เดือน พัก 1 เดือน

7. ผลข้างเคียงจากการกินเพชรสังฆาต หรือข้อควรระวัง
– ไม่เคี้ยวสด เพราะจะระคายปาก คันคอ เนื่องจากมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

– ยังไม่มีข้อมูลการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

– ไม่กัดกระเพาะ (มีข้อมูลว่ารักษากระเพาะได้อีกด้วย โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ด้วยกลไกเดียวกันกับยา omeprazole) แต่อาจเกิดอาการไซ้ท้อง ไม่สบายท้องได้ หากกินตอนท้องว่าง จึงแนะนำให้กินหลังอาหาร

– อาจทำให้ช่วยระบายได้เล็กน้อย หากระบายมากไป ให้ลดขนาดการกินลง และฤทธิ์ระบายของเพชรสังฆาต เป็นฤทธิ์อ่อนๆ ไม่ได้ทำให้ติดยาระบาย หยุดกินแล้วไม่ได้ทำให้ท้องผูก

– บางรายกินแล้วแพ้ มีอาการคันยุบยิบๆ ทั้งตัว แต่ไม่มีผื่น ซึ่งพบคนแพ้น้อยมาก หากแพ้ควรหยุดกิน 8. เพชรสังฆาตลดน้ำหนัก ได้ด้วยหรือ?
ผลดีของเพชรสังฆาตในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีการศึกษาหนึ่งทดลองในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยคัดคนที่มีดัชนีมวลกาย หรือ BMI มากกว่า 26 กิโลกรัม/ตารางเมตร ให้กินเพชรสังฆาตรมื้อละ 150 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร วันละ 2 มื้อ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนการกินและการออกกำลังกาย พบว่าน้ำหนักลดลง 8.8% (จากเดิมน้ำหนักเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนกินเพชรสังฆาต 98.92 กิโลกรัม ลดเหลือ 90.19 กิโลกรัม) ไขมันในร่างกายลด 14.6% เส้นรอบเอวลดลง 8.6% (จากเดิมเส้นรอบเอวเฉลี่ยของผู้ทดลองก่อนกินเพชรสังฆาต 40 นิ้ว ลดเหลือ 36 นิ้ว) และยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันตัวร้าย LDL และระดับน้ำตาลในเลือด ได้ 26.69%, 20.16% และ 14.85% ตามลำดับ

ซึ่งผลในการลดน้ำหนักของเพชรสังฆาต มาจากการที่เพชรสังฆาตมีเส้นใย ทำให้ลดเนื้อที่ของกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็วขึ้น และมีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยแป้ง น้ำตาล และไขมัน (alpha amylase, glucosidase and lipase) ทำให้ลดการดูดซึมอาหาร และยังมีผลเพิ่มระดับซีโรโทนนิน ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม ช่วยลดสารอักเสบ คือ C-reactive protein ที่พบในเลือดของผู้ที่มีภาวะ metabolic syndrome (กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล) ซึ่งผลดีของเพชรสังฆาตดังกล่าว น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหา metabolic syndrome

สำหรับผู้ที่อยากคุมน้ำหนัก ยังคงแนะนำว่าต้องคุมอาหารเป็นหลัก โดยอาจกินเพชรสังฆาตรวันละ 1-2 แคปซูล หลังอาหารเช้า ต่อเนื่องสัก 10 สัปดาห์ ร่วมกับการคุมอาหาร

ในงานวิจัยให้กินก่อนอาหาร แต่บางรายที่กินอาจเกิดอาการไม่สบายท้อง จึงแนะนำให้กินหลังอาหารค่ะ ทั้งนี้ แล้วแต่คนด้วยค่ะ ถ้ากินก่อนอาหารได้ ก็กินได้นะคะ ยาไม่ได้กัดกระเพาะ แต่อาจไซ้ท้อง ทำให้ไม่สบายท้อง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดโรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก โชว์นวัตกรรมการผลิตไส้กรอกที่ทันสมัย ปลอดจากสารทาร์ และสารอันตรายต่อสุขภาพ ยืนยันการใช้โซเดียมไนไตรต์ และส่วนผสมตามมาตรฐาน อย. ตรวจสอบย้อนกลับได้

นายเกริกพันธุ์ ดีประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ยึดมั่นในการผลิตอาหาร ตามนโยบายคุณภาพและนโยบายความปลอดภัยอาหาร (CPF Quality Policy) ด้วยการพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย คำนึงถึงคุณค่าโภชนาการ และใส่ใจสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค รวมถึง ไส้กรอก “CP” ที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาด มาจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการตรวจวัดปริมาณส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการอย่างเข้มงวด และสร้างความมั่นในความปลอดภัย ทุกล็อตการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงแหล่งผลิตวัตถุดิบ

บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัยและนวัตกรรม มาใช้ในกระบวนการผลิตไส้กรอก CP ตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะ นวัตกรรม “ระบบรมควัน” ที่สามารถดักแยกสารทาร์ (TARS) ซึ่งมีองค์ประกอบของสารก่อมะเร็งออกจากไส้กรอก โดยระบบดังกล่าวมีกลไกควบคุมอุณหภูมิและระบบเผาไหม้ที่ดี ให้ควันคุณภาพที่ดี ส่งผลต่อกลิ่น สี และรสชาติของไส้กรอกน่ารับประทาน และสามารถยืนยันได้ว่า ไส้กรอก CP ไม่มีสารทาร์ และสารตกค้างอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

“ซีพีเอฟมุ่งมั่น นำนวัตกรรม และการวิจัยและสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ภายใต้การควบคุมของนักวิทยาศาสตร์การอาหารที่คำนึงถึงทั้งคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติและความปลอดภัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองแนวโน้มผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจที่มาของผลิตภัณฑ์มากขึ้น” นายเกริกพันธุ์ กล่าว

การผลิตไส้กรอกซีพีไม่ใช้ดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรต) ทั้งนี้ บริษัทใช้สารโซเดียมไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารคนละตัวกับดินประสิว โซเดียมไนไตรต์มีประโยชน์ช่วยคงสภาพสีของเนื้อ และช่วยยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารที่สร้างสารพิษที่เป็นอันตราย และไส้กรอก CP ทุกประเภทจะใช้โซเดียมไนไตรตในอัตราที่ต่ำกว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ และมีการตรวจวัดปริมาณโซเดียมไนไตรท์ในห้องปฏิบัติการอย่างเข้มงวดก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค

ซีพีเอฟ ผลิตไส้กรอกด้วยความใส่ใจ ใช้วัตถุดิบ และส่วนผสมที่ปลอดภัยจากแหล่งผลิตที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากอย. และมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้ ด้วยระบบ RFID (Radio – Frequency Identification) ผ่านการผลิตที่ใช้ระบบอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในการผลิตไส้กรอกเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ช่วยลดการการปนเปื้อน และโอกาสการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์

ที่สำคัญ มีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับต่ำที่ 0-12 องศาเซลเซียส ตลอดกระบวนการผลิต และนอกเหนือจากคุณภาพและความปลอดภัยของไส้กรอก บริษัทฯ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ไส้กรอกชนิดเทอร์โมฟอร์มแบบฟิล์มหลายชั้น (Multi-layer thermoforming film) เพื่อช่วยรักษาความสดใหม่ของอาหาร ร่วมกับการบรรจุอัตโนมัติช่วยลดการปนเปื้อนระหว่างการบรรจุ ทำให้อายุการเก็บของผลิตภัณฑ์นานขึ้น ดังนั้น ไส้กรอกซีพีจึงมีคุณภาพตลอดอายุของสินค้า และใช้อุ่นกับไมโครเวฟได้ปลอดภัย

จีนรุกตั้ง รง. ทุเรียน 6 จว.ชายแดนใต้ ตั้งเป้าแช่แข็งส่งออกปีนี้

720 ล้าน-จ่อซื้อผลผลิตเพิ่ม 2 หมื่นตันทุนจีนทุ่ม 300 ล้านบาท ตั้งโรงงานทุเรียนแช่แข็ง อ.เทพา จ.สงขลา ตั้งเป้าปี 2562 ยอดขายรวม 720 ล้านบาท รับซื้อทุเรียน 12,000 ตัน วางแผนปี 2563 จับมือเกษตรกร 6 จังหวัด พัทลุง-สตูล-สงขลา-ยะลา-ปัตตานี-นราธิวาส พัฒนาคุณภาพ เตรียมซื้อผลผลิตเพิ่มเป็น 20,000 ตัน ขยายตลาดส่งออก “ทุเรียนสด” พร้อมเร่งโรงคัดบรรจุในพื้นที่ทำ GMP

นายประเสริฐ คณานุรักษ์ ที่ปรึกษาชำนาญการ บริษัท ม่านกู่หวาง ฟู๊ด จำกัด โรงงานผู้ผลิตและจัดจำหน่ายทุเรียนแช่แข็งใน อ.เทพา จ.สงขลา กล่าวว่า ปี 2562 ตั้งเป้าการส่งออกทุเรียนไว้ที่ 12 ล้านกิโลกรัม หรือ 12,000 ตัน จะมียอดขายรวมประมาณ 720 ล้านบาท และปี 2563 คาดว่าจะสามารถรับซื้อทุเรียนเพื่อแปรรูปได้ 20,000 ตัน

โดยบริษัทรับซื้อผลผลิตทุเรียนจากเกษตรกรในกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รวมถึงสงขลา พัทลุง และสตูลด้วย ทั้งนี้ เมื่อมีโรงงานมาตั้งในพื้นที่ก่อให้เกิดการจ้างงานแรงงาน ประมาณ 1,200 คน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,000 คน/เดือน ทำให้มีเงินค่าแรงหมุนเวียนประมาณ 12 ล้านบาท ต่อเดือน

“ปัจจุบัน สวนทุเรียนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่างมีสวนของเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) แล้วประมาณ 900 ราย จากทั้งหมด 1,000 กว่าราย ที่ผ่านมายอมรับยังมีเกษตรกรจำนวนไม่มากนักที่จะกระตือรือร้น ขอ GAP มีเพียงกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจที่มีความพร้อม ซึ่งทางบริษัทมีการพูดคุยกับเกษตรกรให้มีการขอ GAP เพื่อให้สามารถส่งออกได้ โดยสวนทุเรียนที่จะได้ GAP ต้องมีการจัดระบบให้ถูกต้องตามหลักการเกษตร ได้แก่ มีพื้นที่เก็บยา แบ่งสระน้ำ มีระบบการจัดการไม่ให้มีสารตกค้าง และเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค เป็นต้น ส่วนโรงคัดบรรจุ (ล้ง) ในพื้นที่ดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) โดยทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการ” นายประเสริฐ กล่าว

นายเจ่า เห็ง เซียว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ม่านกู่หวาง ฟู๊ด จำกัด โรงงานผู้ผลิตและจัดจำหน่ายทุเรียนแช่แข็งใน อ.เทพา จ.สงขลา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยทำโรงงานที่จังหวัดระยองมา 5 ปี และอาศัยอยู่ในเมืองไทยมากว่า 25 ปี ได้เห็นศักยภาพผลผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้มีคุณภาพเนื้อดี ทรงสวยกว่าภาคตะวันออก ซึ่งมีทรงใหญ่และเปลือกหนา ทั้งยังมีรสชาติหวานกว่า แต่ไม่มีคนกล้ามาลงทุน จึงตัดสินใจเริ่มทำโรงงานทุเรียนแช่แข็งที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปีนี้เป็นปีแรก ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท ส่งออกไปขายยังห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ เช่น จีน เมียนมา ฮ่องกง ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยตั้งเป้า ปี 2562 จะรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรทั้งสิ้น 12,000 ตัน และในปี 2563 มีแผนจะส่งออกทุเรียนสดด้วย

“การทำทุเรียนแช่แข็ง มีข้อดีกว่าการส่งออกทุเรียนสดในแง่ความสะดวกในการขนส่ง และการแปรรูปจะทำให้เก็บได้นานเป็นปี ไม่ติดปัญหาเรื่องระยะเวลาในการขนส่ง ทั้งทางถนนและทางเรือส่วนใหญ่ส่งไปลงเรือที่ท่าเรือสงขลาและท่าเรือปีนัง รวมถึงลดปัญหาการติดด่านก่อนนำเข้าอีกด้วย สำหรับแผนการส่งออกทุเรียนสดในปีหน้าจะต้องค่อยๆ ร่วมมือกับเกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการดูแลผลผลิตทุเรียนยังไม่ดีนัก ไม่ได้ฉีดยาทำให้มีหนอน ส่งผลให้การส่งออกมีปัญหา เพราะหากตรวจเจอหนอนจะไม่สามารถนำเข้าประเทศจีนได้”

การทำโรงงานแปรรูปทุเรียนในภาคใต้ เป็นการช่วยสร้างอาชีพให้เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่ใกล้กับบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยังไม่มีโรงงานแปรรูปทุเรียนมาก่อน ทำให้เมื่อผลผลิตออกในปริมาณมากเกษตรกรจะไม่มีสถานที่ขาย แต่ถ้าหากมีโรงงานจะทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ โดยวิธีการรับซื้อจะมีเกษตรกรขนส่งทุเรียนมาให้ประเมินราคาหน้าโรงงาน แบ่งการรับซื้อเป็น 3 เกรด คือ เกรด A และ B ราคาเฉลี่ยประมาณ 75 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่สูงขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 10% และรับซื้อทุเรียนตกไซซ์ราคา 55 บาท/กก. หรือเท่ากับรับซื้อทั้งหมดเพื่อนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนแช่แข็ง ซึ่งการแปรรูปจะแบ่งเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาด 250 กรัม, ขนาด 2 กก. และขนาด 4 กก. ทั้งนี้ การส่งออกทุเรียนของบริษัทที่ผ่านมาเป็นการส่งออกโดยตรงด้วยตัวบริษัทเองไม่ผ่านนายหน้าหรือเอเย่นต์

นายเจ่า กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาพรวมตลาดทุเรียนแปรรูปในประเทศไทยนั้น แบ่งเป็นทุเรียนแช่แข็งมีอัตราส่วนใหญ่ที่สุดถึง 50% และประเทศไทยมีการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปจีนมากถึง 20,000 ตัน/ปี รองลงมาเป็นทุเรียนฟรีซดราย (freeze dried) ส่วนทุเรียนทอดเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่มาก ได้รับความนิยมเพียงในประเทศไทยเท่านั้น สำหรับบริษัท ม่านกู่หวาง ฟู๊ด จำกัด มีการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังประเทศจีนราว 5,000 ตัน/ปี หรือ 1 ใน 4 ของอัตราส่วนการส่งออกทุเรียนแช่แข็งทั้งหมดจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน

ส่วนความแตกต่างระหว่างทุเรียนไทยกับมูซันคิงของประเทศมาเลเซียนั้น มองว่าคนจีนชอบมูซันคิงแต่ราคาค่อนข้างแพง ได้ปริมาณน้อย ทำให้ตอนนี้ทุเรียนที่นำเข้าสู่ประเทศจีนเป็นทุเรียนจากประเทศไทยเป็นหลัก และมีปริมาณมากถึง 90% ส่วนพันธุ์มูซันคิงไม่ถึง 5% ของทุเรียนทั้งหมดในประเทศจีน

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาคใต้ พื้นที่ดำเนินการ 14 จังหวัด ผ่านผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่น 8 ชนิด เน้นให้ความสำคัญกับเกษตรกรแปลงใหญ่ โดยมุ่งส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำโครงการพืชอัตลักษณ์ประจำถิ่น จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ ส้มโอทับทิมสยาม ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง สะละ จำปาดะ และมะม่วงเบา ใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยให้บริหารจัดการผ่านกระบวนการเกษตรแปลงใหญ่อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้าคุณภาพจากสวนที่ได้มาตรฐาน เตรียมพร้อมสู่มาตรฐานการส่งออก การยกระดับเกรดของสินค้าด้วยการจัดทำการรับรองคุณภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย แต่สื่อสารเข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภคต่างถิ่น ตลอดจนให้มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ภาคใต้ และการเชื่อมโยงตลาดกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ โดยเน้นเกษตรกรเป้าหมาย 3,000 ราย ผ่านกระบวนการเกษตรแปลงใหญ่ มุ่งส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากภาคใต้นับเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทยอย่างยิ่ง โดยมีการผลิตไม้ผลหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นสินค้าอัตลักษณ์สร้างชื่อประจำจังหวัด เช่น ส้มโอทับทิมสยาม ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง สะละ จำปาดะ และมะม่วงเบา เป็นต้น

จึงทำให้เหมาะที่จะส่งเสริมและพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสู่มาตรฐานการส่งออก ควบคู่ไปกับการพัฒนาการแปรรูป เพื่อทำให้การผลิตไม้ผลของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ในปี 2562 เกิดการเริ่มต้นและพัฒนาสินค้าไม้ผลได้อย่างครบวงจร นำไปสู่การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาการผลิตไม้ผลสู่ 4.0

สำหรับ “ส้มโอทับทิมสยาม” มีแหล่งปลูกที่ได้คุณภาพมีเพียงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยผลผลิตส่งจำหน่ายใน 5 ประเทศ ประกอบด้วย จีน (5 มณฑล) เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ในปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังหันมาปลูกส้มโอทับทิมสยามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ส้มโอทับทิมสยามยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงนับเป็นโอกาสทองของเกษตรกรในลุ่มน้ำปากพนังที่จะหันมาปลูกส้มโอทับทิมสยามให้มากขึ้น

นายวุฒิชัย ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการแล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาเพาะปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศ โดยบางส่วนได้หันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวจากวิธีการทำนาดำเป็นนาหว่านข้าวแห้งมากขึ้น เนื่องจากขาดแรงงานในการปักดำ อีกทั้งยังประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

แต่จากสถานการณ์ที่มีปริมาณฝนตกน้อยหลายพื้นที่ในระยะนี้ ปัญหาที่จะตามมาจากวิธีการหว่านข้าวแห้ง คือจะทำให้การกระจายและความลึกของเมล็ดข้าวที่ถูกฝังกลบลงดินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดข้าวและอาจมีวัชพืชขึ้นแซมในนาข้าวด้วย ทำให้ผลผลิตและคุณภาพข้าวต่ำ หรือหากฝนทิ้งช่วงนานเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวที่หว่านไม่งอกเลย ซึ่งการเกิดความเสียหายในกรณีนี้จะไม่ได้รับการช่วยเหลือภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

สำหรับข้อแนะนำการปลูกข้าวในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วง เกษตรกรควรวางแผนช่วงเวลาการเพาะปลูกข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศในปัจจุบัน โดยติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศจากหน่วยงานราชการ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร หรือปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ การปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ให้สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อประเมินน้ำที่จะใช้ในพื้นที่ไร่นาของตนเอง การเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหาแหล่งน้ำสำรอง โดยประสานกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนการขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เพื่อแจ้งข้อมูลการเพาะปลูกข้าวในแต่ละรอบการผลิตกับกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถแจ้งข้อมูลได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือปรับปรุงผ่าน Mobile Application Farmbook เพื่อให้ภาครัฐทราบข้อมูลสถานการณ์การผลิตและเกษตรกรจะไต้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเสียหาย หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

ไผ่ หรือ ไม้ไผ่ เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่เมื่อก่อนเก่าเนานาน คนไทยนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย ตราบจนทุกวันนี้ เป็นองค์ประกอบของปัจจัยสี่ที่คุ้มค่าที่สุด

เพราะในผืนถิ่นแดนไทยเรามีไผ่สารพัดที่อยู่ในป่า หรือเสาะหานำมาปลูกไว้ในที่ไร่ท้ายสวน รอบรั้วข้างบ้าน เอาหน่อไม้มาทำอาหาร ใบใช้ห่อขนม กระบอกไม้ไผ่ใช้เป็นอุปกรณ์ทำอาหาร บรรจุน้ำ ไม้ไผ่นำมาทำที่พักอยู่อาศัย กระท่อมน้อยคอยรัก สับฟากปูพื้น ทำแคร่ ทำก้านตับหญ้าคา ตับจาก ตับแฝกมุงหลังคา ทำรั้ว ทำตอกมัดของมัดรวงข้าว ใช้จักสานทำเครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ ด้ามดาบ ด้ามหอก ด้ามมีดพร้าขวาน จอบเสียม สานกระติบข้าว กระบุง ตะกร้า เข่ง กระด้ง ตะแกรง สุ่มไก่ ลอบ ไซ ข้องหาปลากบเขียด

จนถึงยุคปัจจุบันก็ยังนิยมนำหน่อไผ่ ที่เรียกหน่อไม้ มาทำอาหาร ต้มผัดแกงทอด หน่อไม้ดอง หน่อไม้ปี๊บ นำไม้ไผ่มาใช้ทำรั้ว ทำไม้สอย ทำโครงโรงเรือน นั่งร้าน ค้ำยันกิ่งต้นไม้ ทำโต๊ะเก้าอี้นั่งเล่น ทำกระท่อมนั่งเล่น ทำไม้จิ้มฟัน ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้เสียบหมู-ปลา ตะเกียบ ไม้ก้านธูป เยื่อกระดาษ ใบรากทำปุ๋ย ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ แม้แต่งานก่อสร้าง แผงพื้นเทปูนคอนกรีต ทำฝายแม้วชะลอการไหลของน้ำลำห้วย ลำธาร แม้กระทั่งเชื้อไฟ

ไผ่มีสารพัดชนิด จะไล่เรียงให้ดูตามขนาดต้นหน่อกอลำ และแหล่งที่มาไผ่ไร่…หรือ ไผ่ไห้ ไม้คาย ไม้ผาก ไม้ไล่ เป็นไผ่ดั้งเดิมพื้นเมืองของเรา มีขึ้นในป่าดงดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณหรือป่าโปร่ง เป็นไผ่ลำขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอแน่น ปล้องมีขนคายคันขึ้นทั่ว เนื้อไม้หนา ลำปล้องตัน มีรูกลางปล้องเล็กๆ หน่อนิยมนำมาทำอาหาร ต้มเปรอะ แกงหน่อไม้อร่อยมาก ไม้นำมาทำค้างถั่วฝักยาว บวบ ได้ดีและคงทนมากกว่า 2 ปี

ไผ่รวก…หรือ ไผ่ฮวก เป็นไผ่พื้นเมืองไทย ลำต้นตรงเปรา ยาว 7-15 เมตร มีจุดสังเกต คือจะมีกาบหุ้มลำอยู่นาน นิยมนำหน่อมาทำหน่อไม้อัดปี๊บ ต้นทำไม้ค้ำยัน ทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่ แหล่งปลูกมากที่จังหวัดน่าน ส่งไปเมืองชายทะเลเลี้ยงหอยกันปีละหลายล้านลำมูลค่าหลายร้อยล้านบาท

ไผ่เฮียะ…เป็นไผ่พื้นเมืองของไทย พบในป่าดงดิบหรือป่าเบญจพรรณขึ้นผสมป่าไม้สัก ขึ้นริมร่องห้วย พบมากที่ป่าภาคเหนือ เป็นไม้ไผ่เปลือกบาง ผิวไผ่คมมาก ใบใหญ่ ไม้นำมาทำฝาบ้าน หน่อมีรสขื่นไม่นิยมกิน คมผิวไม้ไผ่เฮียะ สมัยก่อนใช้แทนใบมีดโกนตัดสายสะดือเด็ก

ไผ่ป่า…เป็นไผ่ธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของไทย ถ้าขึ้นในที่ชุ่มชื้น ลำโตเป็นกอแน่น มีหนามเล็กงุ้มงอทุกข้อ นิยมใช้ทำนั่งร้านก่อสร้าง ทำเครื่องมือการเกษตร หน่อนำมาดอง ไม่นิยมกินสด ปล้องทำกระบอกข้าวหลาม เช่น ข้าวหลามหนองมน ชลบุรี นั่นใช่เลย

ไผ่ข้าวหลาม…เป็นไผ่ไทยอีกชนิดหนึ่งมีมากทางภาคเหนือและอีสาน เป็นไผ่ขนาดกลาง สูง 8-12 เมตร เป็นไผ่เนื้อบาง ปล้องยาว กาบหุ้มต้นร่วงง่าย ใช้ทำข้าวหลาม ปอกง่าย มีเยื่อบางๆ หลุดติดหุ้มข้าวเหนียว หน่อมีรสขม

ไผ่ซาง…หรือ ไผ่นวล ไผ่ตาดำ ไผ่แพด เป็นไผ่ท้องถิ่นไทยที่กำลังมาแรง นิยมปลูกกันมากคือ ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล เป็นไผ่ไม่ผลัดใบ สูง 6-18 เมตร ปล้องยาว 15-50 เซนติเมตร ใบและต้นอ่อนเป็นอาหารของช้าง ม้า วัว ควาย นิยมปลูกเป็นพื้นที่เชิงอนุรักษ์ เพิ่มแหล่งอาหารช้าง และขณะนี้นำมาแพร่ขยายเป็นไผ่เศรษฐกิจ ที่ทำรายได้อย่างมาก หน่อไผ่กินอร่อย ไม้เนื้อดี ใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมทำไม้จิ้มฟัน ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้ก้านธูป ไม้ตะเกียบ แม้แต่เยื่อกระดาษ เนื้อไม้แน่น น้ำหนักไม้ดีมาก

ไผ่หก…หรือ ไผ่นวลใหญ่ ไม้หก ไม้โปเผียว เป็นไผ่พันธุ์พื้นเมืองไทยที่ใหญ่ที่สุด ชอบขึ้นบนพื้นที่สูงแต่ชื้น พบมากในป่าดงดิบภาคเหนือ เส้นผ่าศูนย์กลางปล้อง 10-20 เซนติเมตร หน่อใช้ทำอาหาร ลำใช้ทำเสา ทำเครื่องมือเครื่องจักสานต่างๆ

ไผ่ที่นำมาจากต่างประเทศเข้ามาปลูกในบ้านเรา ได้แก่

ไผ่เลี้ยง…หรือ ไผ่น้อย ไผ่สร้างไพร ไผ่เปร็ง ไผ่คันร่ม นำมาจากจีนและญี่ปุ่น นิยมปลูกเป็นแนวรั้วแนวเขตที่ดิน ปลูกตามหัวไร่ปลายนา เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำเปลาสีเขียว มีข้อสีเขียวชัดเจน ไม่มีหนาม หน่ออ่อนมีเปลือกสีเหลือง หรือเขียวอมเหลือง ใช้ทำอาหารได้ ลำใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำบันได บางแห่งเรียกไผ่บงหวาน ไผ่เลี้ยงตาโตก็เรียก

ไผ่ตง…นำมาจากจีน ปลูกครั้งแรกที่จังหวัดปราจีนบุรี นับร้อยกว่าปีแล้ว เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีขนสีน้ำตาลละเอียดคลุมโคนลำ รอบข้อมีรากฝอยขึ้นอยู่เห็นได้ชัด มี 5 ชนิด ได้แก่ ตงหม้อ หรือตงใหญ่ ตงเขียว ตงดำ ตงหนู และตงลาย เป็นไม้ไผ่เศรษฐกิจที่ทำรายได้มหาศาล เนื้อไม้เป็นวัสดุโรงงานกระดาษ ก่อสร้าง จักสาน มีไผ่ตงที่หน่อดก ลำเล็ก รสชาติอร่อยมากชื่อ “ไผ่ตงศรีปราจีน” นิยมปลูกกันแพร่หลายขณะนี้

ไผ่สีสุก…ใครๆ ก็คิดว่าเป็นไผ่พันธุ์ดั้งเดิมของไทย แต่เปล่าเป็นไผ่มาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก และแปซิฟิกตอนใต้ แถวเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และโมลุกกะ นำเข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว จุดเด่นคือ ขึ้นกอแน่นมาก บริเวณโคนจะแตกกิ่งตั้งฉากลำต้นจำนวนมาก ข้อมีหนามโค้งแตกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน โคนปล้องหนามีรูเล็ก เป็นไผ่ขนาดกลางถึงใหญ่ ลำอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะสีเหลืองปนเขียว จึงเรียก “ไผ่สีสุก” หน่อใต้ดินมีรสชาติดี เมื่อโผล่ดินขึ้นมานิยมนำมาทำหน่อไม้ดอง อดีตนิยมปลูกรอบหมู่บ้านกันลมและรั้วกันขโมย

ยังมีไผ่อีกหลายชนิดที่ปลูกในไทย ทั้งไผ่ไทยไผ่จีน เช่น ไผ่ยักษ์ ไจแอนท์แบมบู ไผ่หม่าจู ไผ่ลี่จู ไผ่กิมซุ่ง ไผ่หวานจีน ไผ่เปาะเมืองน่านแพร่ ไผ่มันชลธารชลบุรี ไผ่หวานอ่างขาง (หม่าจู) ไผ่จืด หรือไผ่ร้อยกอ ไผ่ต้น มีแม้แต่ไผ่เหลืองหรือไผ่หลวง ไผ่สีทอง ไผ่ลาย ไผ่งาช้าง ไผ่บงดำ ไผ่จันดำ ที่ปลูกไว้สวยงามตามสวนสาธารณะ ใช้ลำทำเฟอร์นิเจอร์ ทำแจกัน ทำเครื่องประดับต่างๆ และไผ่ประดับสวยงาม ที่นิยมคือ ไผ่น้ำเต้า ซึ่งเอามาจากจีน ใช้จัดแต่งสวนหย่อม รูปร่างข้อปล้องสั้นป้อมอ้วนสวยงาม เหมือนไม้โบราณ ไผ่แต่ละชนิดที่กล่าวมา ซึ่งคงยังไม่หมดครบถ้วน แต่จะชี้ให้เห็นว่า ไผ่เป็นพืชที่มีอยู่คู่กับป่าเมืองไทย โดยเฉพาะป่าต้นน้ำได้อย่างแท้จริง ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติมาอย่างช้านาน เป็นไม้เศรษฐกิจที่ปลูกง่าย โตเร็ว เห็นผลรวดเร็วทันใจผู้ปลูก วันนี้คุณที่มีพื้นที่บ้างสักเล็กน้อย ปลูกไผ่ไว้ใช้ประโยชน์บ้าง จะดีไม่น้อย

งาขี้ม้อน เป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไป แต่คนในภาคเหนือคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี งาขี้ม้อนเป็นพืชพื้นเมืองของทางภาคเหนือ มีการเพาะปลูกกันมาช้านาน งาขี้ม้อนพบการแพร่กระจายตั้งแต่พื้นที่เขตภูเขาหิมาลัย พื้นที่ภูเขาในจีนถึงเอเชียตะวันออก เมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนเอเชียเข้าไปตั้งรกรากในประเทศสหรัฐอเมริกาปลายปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) ผู้อพยพได้นำเมล็ดงาขี้ม้อนไปปลูกด้วย งาขี้ม้อนสามารถเจริญเติบโตปรับตัวได้ดีเข้ากับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่นั่น ในประเทศไทยพบงาขี้ม้อนได้ทั่วไปในภาคเหนือ ตั้งแต่ระดับความสูง 300-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล แหล่งปลูกอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง เริ่มมีการปลูกกันบ้างที่สุโขทัย

งาขี้ม้อน เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญชนิดหนึ่งที่เพิ่งมาเป็นที่รู้จักในหมู่คนรักสุขภาพเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากงาขี้ม้อนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน งาขี้ม้อนได้กลายเป็นพืชอุตสาหกรรมน้ำมันพืชชนิดใหม่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

งาขี้ม้อน มีชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่นได้อีกหลายชื่อ เช่น งาปุก งานก (คนเมือง) งาม้อน งาหอม งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน แง (กาญจนบุรี), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ง้า (ลัวะ), งาเจียง (ลาว), จีนเรียกว่า ชิซู (Chi-ssu), ญี่ปุ่น เรียกว่า ชิโซะ (Shiso), เกาหลี เรียกว่า เคนนิป (Khaennip) อินเดีย เรียกว่า พันจีร่า (Bhanjira), เบงกอล เรียก Babtulsi เป็นต้น

งาขี้ม้อน มีชื่อสามัญว่า เพอริลล่า (Perilla) ชื่อวิทยาศาสตร์ Perilla frutescens (L.) Britton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Ocimum frutescens) เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกะเพรา (Labiatae) ไม่ได้อยู่ในวงศ์เดียวกับงาทั่วไป (Pedaliaceae) งาขี้ม้อน มีชื่อเรียกอีกว่า ต้นกะเพราจีน (Chinese basil), ต้นสเต๊กเนื้อ หรือต้นบีฟสเต๊ก (beefsteak plant) ชื่อบีฟสเต๊กคาดว่าเริ่มใช้เรียกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2523 กับอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น ที่มีส่วนประกอบของใบงาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน เป็นพืชล้มลุก พืชฤดูเดียวเหมือนกับกะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า ในภาคเหนือมีการเพาะปลูกตามไหล่เขา เนินเขา และพื้นที่ราบ แม้กระทั่งพื้นที่ว่างตามหัวคันนา ปลูกไว้เพื่อจำหน่ายและปลูกเพื่อบริโภคเอง ปลูกเป็นพืชหลังนาและการปลูกในช่วงฤดูฝน เก็บเกี่ยวฤดูหนาว ปลูกโดยการหว่าน จะหว่านเมล็ดหลังจากไถพรวนแล้ว การปลูกยกแปลงจะต้องเพาะกล้าในแปลงเพาะก่อน พอต้นกล้าอายุประมาณ 1-2 เดือน จึงถอนต้นกล้าไปปลูกลงแปลง โดยเด็ดยอดทิ้งเพื่อให้แตกยอดใหม่หลายยอด การปลูกงาขี้ม้อนทั่วไปมักปลูกกันในพื้นที่ดอนตามเนินเขาอาศัยน้ำฝน เป็นพืชที่มีความทนทานสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินแทบทุกสภาพ ส่วนใหญ่จึงปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ การดูแลรักษามีน้อยมาก