3 ภาคีเปิดเวทีแนะแนวนักวิจัยรุ่นใหม่ ต่อยอดงานสู่พาณิชย์-สังคม

จุฬาฯ จับมือ สกว.-สกอ. อบรมแนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัยแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ผ่านประสบการณ์ของนักวิจัยอาวุโส ย้ำต้องมีวิจัยพื้นฐานที่แน่นและมากพอจึงจะสร้างผลกระทบทางสังคม และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริงด้วยวิธีที่ง่ายและวัตถุดิบมากพอ

28 กุมภาพันธ์ 2562 – โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System โดยสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดการอบรม “แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย” ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธานเปิดงาน เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการ การทำวิจัย การสร้างเครือข่าย และการสร้างผลกระทบทางสังคมและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แก่นักวิจัยรุ่นใหม่

รองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า การฟังประสบการณ์จากนักวิจัยอาวุโสจะทำให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความร่วมมือกับภาคที่จะเป็นต้นแบบ ทำให้ทราบถึงทิศทางและการทำวิจัยแบบข้ามสถาบันหรือข้ามประเทศไทย ถ้านักวิจัยทำเพื่อตัวเองก็อาจจะประสบความสำเร็จแบบกระท่อนกระแท่น แต่หากมีเป้าหมายสูงสุดในการทำวิจัยเป็นตัวตั้งเชื่อว่าจะเกิดการยอมรับของคนในวงการวิจัยและได้ผลงานที่มีคุณภาพ ดังนั้น ถ้ารักจะเป็นนักวิจัยก็ต้องมีความมุ่งมั่นเป็นสำคัญที่จะทำให้งานไปตอบโจทย์ชุมชน ประเทศชาติหรือในระดับโลกได้

ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. กล่าวถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานว่า นักวิจัยจะต้องเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ มองหาเทคโนโลยีใหม่ การค้นพบใหม่และความคิดใหม่ที่จะสนับสนุนการทำวิจัย อย่าติดกับดักเทคโนโลยีเก่าที่เคยเรียนมา และต้องพยายามให้มากในการจัดระบบ ใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานที่จำเป็นและสำคัญโดยไม่เบียดเบียนเวลาของตัวเองและครอบครัว ต้องมีความสมดุลระหว่างการทำวิจัย การสอน และการบริการสังคม สุดท้ายคือการสร้างทีมที่เหมาะสม ทีมเล็กอาจจะท้าทายกว่าทีมใหญ่ แต่ถ้ามุ่งสู่ความเป็นเลิศทีมก็ต้องใหญ่ขึ้นมีหลายศาสตร์ เปรียบเสมือนเสาต้นเดียวจะไม่สามารถสร้างบ้านที่สวยงามได้ ต้องมีเสาอื่นร่วมด้วย ซึ่งแต่ละทีมจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกัน อยู่ที่ว่าจะเลือกแบบใดที่เหมาะสมกับทีมและทำให้คนในทีมอยู่ร่วมกันได้

ขณะที่ ศ.ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ หัวหน้าศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์วิจัยเชิงสังคม ชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อแปลงวัสดุเหลือทิ้ง เช่น ชีวมวล ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าในโครงการ CU Engagement ที่สระบุรี ซึ่งถูกชาวบ้านบุกรุกเข้ามาในพื้นที่หลายครั้ง จึงต้องผูกมิตรและขอคืนพื้นที่แบบนิ่มนวล นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Thailand Innovation 4.0 ทั้งการทำถ่านชีวภาพที่สมุทรสงคราม ลพบุรี ชลบุรี และน้ำมันจากขยะพลาสติกที่อยุธยาและสมุทรปราการ

ซึ่งนอกจากจะได้ช่วยเหลือชาวบ้านแล้วยังช่วยลดมลพิษโดยเฉพาะควันพิษจากการเผาได้อีกด้วย ด้าน รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา กล่าวถึงการทำงานวิจัยในโครงการจิตอาสาในอาเซียนว่า หลังจากได้โจทย์จากศูนย์คุณธรรมได้ทำการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ ต่อยอดขยายผล ก่อนจะสังเคราะห์ความรู้สู่การสร้างขบวนการจิตอาสาที่ยั่งยืนภายใต้การสนับสนุนจาก

สกว. และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย พร้อมกับสร้างเครือข่ายองค์กรจิตอาสาที่นำไปใช้ประโยชน์ ส่วนโครงการต่อต้านการมนุษย์ ซึ่งถือเป็นประเด็นระดับโลกและมีเครือข่ายความร่วมมือระดับต่างๆ แต่สิ่งที่ยากคือการผลักดันในประเทศไทยต้องมีข้อมูลเชิงประจักษให้หน่วยงานของรัฐเข้าร่วม ส่วนในระดับวิชาการขณะนี้อยู่ระหว่างการทำความร่วมมือวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยนอทติงแฮมแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนักวิจัยที่ทำงานด้านนี้จะต้องมีใจรักและเสียสละ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งสนุก เกิดพลังทางบวก จึงจะนับว่าประสบความสำเร็จ เพราะการสร้างองค์กรจิตอาสาไม่ใช่เรื่องงานและต้องมีเป้าหมายในการสู้เพื่อมวลชน

ศ.ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงงานวิจัยในการช่วยเหลือสังคมโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจที่จะอยู่อย่างระวังตัว ป้องกัน และลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะโครงการประยุกต์ใช้หญ้าแฝกร่วมกับวิธีกลและพืชอื่นเพื่อป้องกันดินถล่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ปตท. มีโครงการ 14 แห่งทั่วประเทศ ว่าจากการพูดคุยกับชาวบ้านทำให้ทราบว่านอกจากดินถล่มแล้วยังมีปัญหาสารเคมีตกค้างในดินด้วย ซึ่งนอกจากการปลูกพืชอย่างหญ้าแฝกแล้วบางพื้นที่ยังทำแปลงเกษตรปลูกพืชผักเป็นอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน เช่น โรงเรียน ตชด. บ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี รวมถึงโครงการผลิตคอมโพสิตซีเมนต์ใยสังเคราะห์ที่พัฒนาร่วมกับเอสซีจีไปใช้ในการปฏิบัติการถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย

สำหรับงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การทำวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมนั้น รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกว. ด้านการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรในระบบวิจัยและนวัตกรรม กล่าวย้ำว่า นักวิจัยจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่างานวิจัยที่เราทำสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์กับใคร ถ้างานของเราสำเร็จใครจะได้ประโยชน์ ขณะที่ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. จากคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยถ้าไม่ขึ้นหิ้ง มีองค์ความรู้พื้นฐานที่แน่นพอ ก็จะต่อยอดไปสู่ห้างไม่ได้

งานวิจัยที่สุดยอดและเป็นต้นแบบจะให้มิติความสุข ต้องมีการตั้งคำถามวิจัยต้องสุดยอดและใหญ่จากตัวเราเอง จนเกิดวิวัฒนาการ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก ไม่ยึดติดกับอะไรเดิมๆ ตามอัตภาพ เพราะทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงกันได้ “ในยุคนี้เป็นยุคปัญญาประดิษฐ์แต่บ้านเรามีปัญญาจากธรรมชาติจำนวนมากที่ประดิษฐ์มาหลายร้อยล้านปีและผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นคำถามวิจัยได้หมด เมื่อเรามีสมบัติชีวภาพมากมายที่จะนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ดังนั้น การเข้าสู่อุตสาหกรรมทำให้เราต้องสร้างความรู้พื้นฐานให้แน่นไว้คนก็จะเข้าหาเราเอง”

เช่นเดียวกับ ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ จากคณะเภสัชศาสตร์ ที่เห็นด้วยว่าการทำงานวิจัยที่จะเปลี่ยนเป็นเงินทองได้นั้นต้องมาจากงานวิจัยพื้นฐานที่แน่นมากพอ ก่อนจะทำวิจัยประยุกต์และเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยปัจจัยการสร้างนวัตกรรมที่สำคัญคือ ต้องมีวัตถุดิบและการกำลังการผลิตมากพอ สำคัญที่สุดคือต้องใช้ได้จริง ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนนำไปใช้ได้ และต้องมีความแปลกใหม่ แตกต่างจากงานอื่น รวมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยการเพิ่มมูลค่าที่ได้ราคาที่สุดคือ วัสดุทางการแพทย์ และเครื่องสำอาง “การต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่พาณิชย์จะต้องเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ดีที่สุด

ทั้งกระบวนการผลิต การวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพ แต่ปัญหาอุปสรรคสำคัญคือ การถ่ายทอดทางเทคโนโลยีทั้งอุปกรณ์และวัตถุดิบที่จะต้องมีจำนวนมากและหาได้ในประเทศ ความคาดหวังของเอกชนทั้งเรื่องคุณภาพและราคา ค่าตอบแทนที่ภาครัฐคาดหวัง ตลอดจนภาระงานและเวลาของนักวิจัย จึงอยากฝากนักวิจัยว่าอย่าคิดว่าภาครัฐหรือเอกชนจะได้อะไรเยอะหรือไม่ ถ้าเรามีโอกาสเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้ สำหรับตัวเองแล้วรู้สึกภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยแล้วได้ช่วยเหลือประเทศไทย”

คุณอิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย อยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 6 ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีที่แล้วทำงานประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเริ่มรู้สึกเบื่อกับงานทางด้านนี้ โดยก่อนหน้านั้นคุณย่ารู้สึกคิดถึงเธอจึงอยากให้มาหางานทำอยู่ใกล้บ้าน เพื่อที่จะได้มีเวลาอยู่กันอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เธอตัดสินใจและย้ายมาอยู่บ้านเกิดในเวลาต่อมา

“ช่วงที่ลาออกจากงาน ก็กลับมาอยู่ที่บ้านก่อน ช่วงนั้นก็คิดว่าเราน่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็เลยมีความคิดที่จะทำเกี่ยวกับเรื่องเกษตร แต่ก็รู้สึกหนักใจ เพราะเราเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย แต่ก็มีใจที่อยากจะทำ ก็มาเห็นว่าส่วนใหญ่พื้นที่นี้จะทำนากันส่วนมาก ก็เลยมีแนวความคิดที่จะทดลองทำนา โดยที่อยากจะทำแบบไม่ใช้สารเคมี เรียกว่าทำแบบอินทรีย์ ก็เลยตั้งใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณอิงณภัสร์ เล่าถึงที่มาด้วยใบหน้าปนรอยยิ้ม

ก่อนที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง คุณอิงณภัสร์ เล่าว่า ได้ไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งที่เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเกษตร โดยกินนอนอยู่ที่นั้นเป็นเวลาถึง 6 เดือน จึงทำให้ได้เรียนรู้วิถีชิวิตการทำนาในระบบอินทรีย์ และการปลูกพืชผักปลอดสารพิษที่จะทำเงินสร้างรายได้ให้กับเธอ

โดยในช่วงแรกที่ได้มาทำการเกษตรจากสิ่งที่ไปเรียนรู้มา เธอจะเน้นแบบทำเกษตรเป็นอินทรีย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งในช่วงที่ได้ผลผลิตก็จะแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องกินก่อน ต่อมาเมื่อผลผลิตทางการเกษตรเริ่มเป็นที่ต้องการของเพื่อนบ้านคนอื่นๆ มากขึ้น ก็สามารถทำเป็นธุรกิจขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับเธอในเวลาต่อมา

“ต้องบอกเลยว่า ช่วงที่มาทำเกษตรใหม่ ไม่ได้มีเงินทุนอะไรมาก ก็จะเน้นทำนาอินทรีย์ ปลูกผักอินทรีย์ โดยข้าวที่ทำได้ก็จะนำสินค้าบางส่วนเข้าไปขายในโรงสี และบางส่วนก็แบ่งมาแปรรูปขายเอง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น มันจะช่วยให้เราสามารถมีเงินทุนหมุนเวียนได้ในช่วงแรก ต่อมาพอมีลูกค้ามากขึ้น เราก็ไม่ได้ขายเข้าโรงสีแล้วทำตลาดเอง โดยสินค้าที่ขายได้เกิดจากการบอกต่อๆ กันไป ปากต่อปาก” คุณอิงณภัสร์ บอกถึงหลักการทำรายได้หมุนเวียน

ต่อมาเมื่อการทำนาอินทรีย์ประสบผลสำเร็จสินค้าติดตลาด ต่อมาเธอได้เลี้ยงกุ้งก้ามแดงภายในบริเวณบ้าน เพื่อให้มีรายได้ที่หลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญสินค้าทางเกษตรที่ผลิตได้จะใช้ช่องทางการขายแบบออนไลน์ และส่งสินค้าทางไปรษณีย์ก็สามารถทำตลาดให้กับเธอได้เช่นกัน

เหตุที่เลือกเลี้ยงกุ้งก้ามแดง คุณอิงณภัสร์ บอกว่า เป็นคนที่ชอบกินกุ้งจึงคิดว่าน่าจะเลี้ยงได้ประสบผลสำเร็จ จึงได้หาซื้อมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ขายลูกจนสามารถเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับเธอได้ในเวลาต่อมาเช่นกัน

“ตอนนี้คนรอบข้างก็จะสัมผัสได้ว่า สิ่งที่เราทำสามารถขายได้จริง สามารถทำเงินให้ไว้เลี้ยงครอบครัวได้จริง และที่สำคัญเกิดความสุขด้วย เพราะได้ทำงานมีรายได้ โดยที่เราไม่ต้องห่างไกลจากคนที่เรารัก เรามีความสุขในทุกๆ วัน จนตอนนี้ที่บ้านก็เป็นเหมือนแหล่งเรียนรู้ที่คนสนใจได้มาเรียนรู้งาน ซึ่งก็รู้สึกดีที่ว่าสิ่งที่เราทำ นอกจากเขามาเจอเราแล้วจะมีความสุข ก็ยังมีสุขภาพที่ดีกลับไปด้วย เพราะกินอาหารที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์” คุณอิงณภัสร์ กล่าว

สำหรับผู้ที่ต้องการความสุข คุณอิงณภัสร์ ฝากบอกว่า เพียงตั้งใจทำสิ่งที่รักและมีความสุขกับสิ่งที่ทำ ก็จะทำให้ทุกๆ วันมีคุณค่า เป็นประชาชนที่มีความเข้มแข็งโดยที่ไม่ต้องให้ใครมาช่วยเหลือ เพราะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอิงณภัสร์ วงษ์สิทธิชัย หมายเลขโทรศัพท์นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้แทนคณะมนตรี (Council Member) ของประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 7 (The 7th Meeting of ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) Council) ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2562 ณ เมืองปูตราจายา ประเทศมาเลเซีย โดยมีคณะมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศบวกสาม คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วม

การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมรับทราบถึงผลการดำเนินงานประจำปี 2561 และแผนงานการดำเนินการ รวมทั้งงบประมาณในปี 2562 ตลอดจนพิจารณาประเด็นอื่นๆ ที่อยู่ในอำนาจของคณะมนตรี APTERR ประกอบด้วย การดำเนินงานช่วยเหลือประเทศสมาชิกภายใต้การดำเนินงานระบายข้าวภายใต้โปรแกรมที่ 1 เป็นการสำรองในรูปสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าหากภัยพิบัติ ระหว่างญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ และ โปรแกรมที่ 3 การบริจาคข้าวหลังเกิดภัยพิบัติ โดยญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (สำหรับ โปรแกรมที่ 2 เป็นการสำรองในรูปสัญญาซื้อขายเมื่อเกิดภัยพิบัติทันที ซึ่งยังไม่เคยมีการนำมาใช้)

โอกาสนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับผู้จัดการทั่วไปของสำนักเลขานุการ APTERR คือ นายชาญพิทยา ฉิมพาลี ผู้จัดการคนไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีประเทศสมาชิกในการต่ออายุให้ทำหน้าที่ผู้จัดการทั่วไปของสำนักเลขานุการ APTERR ต่อไปอีกวาระหนึ่ง เป็นระยะเวลา 3 ปี (ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2565) เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและดูแลการดำเนินงานขององค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้การกำกับดูแลของคณะมนตรี โดยสำนักเลขานุการ APTERR ตั้งอยู่ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย

รองเลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาของไทยในฐานะการเป็นประเทศเจ้าภาพ (Host Country) ของสำนักงานเลขานุการ APTERR ได้ให้การสนับสนุนสถานที่ทำการ ณ อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และร่วมส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไปช่วยปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งได้เน้นย้ำต่อประเทศสมาชิกว่า ประเทศไทยมีความยินดีที่จะสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้ขายข้าว (Supplying Country) เพื่อทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้าไว้ก่อนเกิดภัยพิบัติ (Forward Contract) และพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก APTERR ด้วยการบริจาคข้าวเมื่อเกิดภัยพิบัติและขาดแคลน

ทั้งนี้ การดำเนินงานของ APTERR จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศบวกสาม ในการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากธรรมชาติและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติกับประเทศสมาชิกที่ทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น ดังนั้น ประเทศสมาชิกต้องร่วมมือกันพัฒนาการบริหารจัดการสำรองข้าวและเสริมสร้างกลไกการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับความมั่นคงด้านอาหารระยะยาวให้กับภูมิภาคร่วมกัน รองเลขาธิการ กล่าว

ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ แนะการพัฒนาที่ยั่งยืนควรให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและใช้ผลลัพธ์ด้านความสุขที่ยั่งยืนของชุมชนเป็นตัวตั้ง

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้กล่าวในการแถลงผลการดำเนินงาน “ก้าวปีก้าวหน้า” ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ ว่านับจากการก่อตั้งปิดทองหลังพระฯ ในปี 2553 และเริ่มดำเนินการพื้นที่ต้นแบบในจังหวัดน่านเป็นแห่งแรก ในปัจจุบันพื้นที่ต้นแบบได้ขยายไปยังทุกภาค ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุทัยธานี เพชรบุรี และสามจังหวัดชายแดนใต้

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดาฯ ได้กล่าวต่อไปว่า ตลอดการดำเนินงาน 9 ปีที่ผ่านมาและกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 10 พบว่ารากเหง้าของปัญหาการพัฒนาทั้งหมดคล้ายคลึงกันในทุกพื้นที่ คือ ปัญหาความยากจนและการขาดโอกาส และหากสามารถเริ่มต้นแก้ปัญหาด้วยการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพโดยมองผลลัพท์เป็นตัวตั้งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเกือบจะทุกอย่างได้

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดาฯ เปิดเผยรายงานประเมินผลการทำงานในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย

ด้านแหล่งน้ำ – มีประชาชนได้รับน้ำ 79,022 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 275,107 ไร่
ด้านอาชีพ – มีประชาชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพ 4,536 ครัวเรือน
ในช่วงเวลาเก้าปี ปิดทองหลังพระฯ ใช้งบประมาณด้านระบบน้ำและส่งเสริมอาชีพรวม 961.6 ล้านบาท ทำให้เกิดรายได้ทางตรง 2,308 ล้านบาท คิดเป็น 2.4 เท่าของเงินลงทุน และเท่ากับเฉลี่ยครัวเรือนละ 508,818 บาท

นอกจากนี้ ปิดทองหลังพระฯ ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนา โดยให้ประชาชนในพื้นที่เป็นศูนย์กลาง มีการส่งเสริมให้ประชาชนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามบริบทของพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็ง ซึ่งในปัจจุบันทุกพื้นที่เกิดกองทุน วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์รวม 70 กลุ่ม มีเงินทุนหมุนเวียน ทรัพย์สินรวมมูลค่า 15.78 ล้านบาท

ผลจากการส่งเสริมความรู้ ทำให้เกิดอาชีพทางการเกษตรใหม่ๆ และประชาชนจำนวนมากสามารถต่อยอด พัฒนาการทำเกษตร ไปเป็นพืชและสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงได้ เช่น ทุเรียนคุณภาพและแพะพันธุ์พระราชทานในสามจังหวัดชายแดนใต้ ผักปลอดภัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ การแปรรูปผลผลิต ภายใต้ตรา สินค้า “ภูธารา” ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ขณะที่มีพื้นที่พัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมแล้ว เช่น เพชรบุรีและอุทัยธานี

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา กล่าวต่อไปว่า เป็นที่น่ายินดี ที่ผลการศึกษาการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัด โดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อผลที่เกิดขึ้นในระดับสูงมากทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการทำงานของปิดทองหลังพระฯ ประกอบด้วย จังหวัดน่าน (2.24) อุดรธานี (2.53) เพชรบุรี (2.39) กาฬสินธุ์ (2.62) และอุทัยธานี (2.39) จากคะแนนเต็ม 3

“…จุดเด่นที่สำคัญในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงต้นๆ คือ ตอนเริ่มต้นเราทำงานใกล้ชิดกับส่วนราชการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและผลผลิต แต่ปีที่ผ่านมาเกิดกระแสการร่วมงานกับเอกชนที่ชัดเจน มีภาคธุรกิจแสดงความสนใจเข้ามาร่วมกับปิดทองหลังพระฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับว่าสอดคล้องกับแนวพระราโชบาย สืบสาน รักษา ต่อยอด เป็นอย่างยิ่ง…”

สำหรับการดำเนินงานในช่วงปี 2561 นั้น พบว่าครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2561 การดำเนินการของปิดทองหลังพระฯ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งสถาบัน การศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ทั้ง 7 พื้นที่ 9 จังหวัด มีรายได้เพิ่มขึ้นรวม 113.7 ล้านบาท

สำหรับแนวทางในอนาคตนั้น หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา กล่าวเสริมว่า นอกจากการเพิ่มเติมความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่ต้นแบบต่างๆ นี้แล้ว จะเพิ่มบทบาทในการนำแนวพระราชดำริไปพัฒนาชีวิตประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาความมั่นคง เช่น ในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีความรุนแรงและจังหวัดชายแดนเหนือที่เป็นแหล่งผ่านยาเสพติดเข้าสู่ประเทศ นอกจากนี้กำลังพิจารณาแผนการจัดตั้งศูนย์จัดการและส่งเสริมองค์ความรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ โดยการทำงานด้านพัฒนาทุกคน โดยเฉพาะประชาชนเองต้องมีความ ซื่อสัตย์และขยัน รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันทำอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง มีความอดทน เพื่อจะได้เห็นผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในที่สุด

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างเกษตรกรกับนายทุน เพื่อให้สามารถประสานประโยชน์กันได้โดยไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบมากจนเกินไป

“โดโด้พันธุ์ปลา” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาช่อน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ที่ 6 ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แล้วยังเพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นอีก อาทิ ปลาดุก ปลาสลิด และปลาหมอ ฯลฯ พร้อมแปรรูป มีตลาดลูกค้าสั่งจองทั่วประเทศ โดยมี คุณอนุชา บุญสินชัย หรือ คุณเดี่ยวเป็นเจ้าของ

แต่เดิมคุณเดี่ยวช่วยครอบครัวภรรยาทำไร่ ทำนา อยู่หลายปี มองว่าอาชีพที่ทำอยู่ไม่ได้สร้างฐานะให้ดีขึ้นหรือยั่งยืนดีพอ จึงพยายามมองหาอาชีพเกษตรอื่น ขณะเดียวกัน ทางครอบครัวภรรยาได้เลี้ยงปลาช่อนขายด้วย จึงทำให้คุณเดี่ยวลองหันมาเลี้ยงปลาช่อนอย่างจริงจัง

ระหว่างนั้นคุณเดี่ยวมองอีกว่า การเลี้ยงปลาช่อนขายต้องไปหาซื้อลูกพันธุ์ปลามา ตัวละ 3 บาท เลี้ยงไปกว่าจะโตมีต้นทุนอื่นอีก เมื่อหักแล้วก็เหลือกำไรไม่มาก หากเป็นเช่นนี้ลองมาผลิตลูกปลาช่อนเอาไว้เลี้ยงเองเพื่อจะช่วยลดต้นทุน แล้วถ้าผลิตลูกปลาได้มากก็เลี้ยงปลาช่อนขายได้จำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย

คุณเดี่ยว ไปปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ประมงเพื่อขอความรู้การผสมเทียมปลา ภายหลังที่ร่ำเรียนและฝึกปฏิบัติมาระยะหนึ่งจึงกลับมาทดลองเพาะลูกพันธุ์ปลาช่อนจนประสบความสำเร็จ ก็เริ่มมีกำลังใจแล้วเพาะเพิ่มอีกเป็นจำนวนมากเพื่อเลี้ยงขาย พร้อมกับส่วนหนึ่งใช้แปรรูปด้วย

กระทั่งผ่านไปจำนวนลูกปลาที่เพาะไว้มีจำนวนมากขึ้น จนชาวบ้านในละแวกแถวนั้นสนใจมาติดต่อซื้อไปเลี้ยงขาย จึงทำให้คุณเดี่ยวมองเห็นช่องทางหารายได้ด้วยการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อนขายเพียงอย่างเดียว พร้อมกับต่อยอดขยายผลด้วยการเพาะลูกปลาพันธุ์ชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปลาดุก ปลานิล ปลาหมอ หรืออีกหลายชนิดตามที่ตลาดต้องการตามมาอีกไม่นาน

โดยให้รายละเอียดการผสมเทียมปลาช่อนว่า ถ้ามองดูจากเดิมตามธรรมชาติที่ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ แต่เมื่อทางกรมประมงสามารถพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้กลายเป็นปลาที่กินอาหารเม็ดแล้ว ปลาช่อนเลยกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ทันที

แม่พันธุ์ปลาช่อน ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 9 เดือน โดยไปคัดแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ตามบ่อเลี้ยงหลายแห่ง ทั้งนี้ พ่อ-แม่พันธุ์จะต้องมาจากแหล่งเลี้ยงคนละสถานที่กัน เพื่อป้องกันเลือดชิด เมื่อได้พ่อ-แม่พันธุ์ตามลักษณะความสมบูรณ์ที่ต้องการแล้วให้นำมาเลี้ยงบำรุงดูแลต่อไปอีก เพื่อให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูง 40 เปอร์เซ็นต์ ให้อาหารเสริมประเภทวิตามินซี สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ด้วยการผสมกับอาหารเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค แล้วต้องหมั่นดูแลความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรค

การเตรียมความพร้อมของพ่อ-แม่พันธุ์ที่ต้องการผสมเทียมปลาชนิดใด จำนวนเท่าไร ก็จะต้องวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้าสัก 1 ปี ทั้งนี้ ความพร้อมต่อการผลิตน้ำเชื้อเพื่อผสมเทียมควรจะเริ่มประมาณช่วงฤดูฝนเป็นหลัก เนื่องจากในช่วงดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณการวางไข่ของปลา แม้จะไม่ได้ใช้วิธีผสมตามธรรมชาติก็ตาม

คุณเดี่ยว ชี้ว่า ถ้าต้องการจำนวนลูกปลา ประมาณ 1-2 หมื่นตัว ควรฉีดน้ำเชื้อให้แก่ตัวเมียสัก 3 คู่ หรือถ้าต้องการลูกปลาสัก 5 หมื่นตัว ก็อาจจับคู่ตัวเมียฉีดน้ำเชื้อสัก 10 คู่ ทั้งนี้ หากเกษตรกรรายใดไม่สะดวกต่อการใช้วิธีผสมเทียม แล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้จำนวนลูกปลามากนัก ก็อาจใช้วิธีผสมตามธรรมชาติด้วยการนำตัวผู้-ตัวเมีย ที่พร้อมจะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูวางไข่แล้วนำมาใส่ในบ่อหรือถัง ปิดฝาให้มิดชิดเพื่อให้ปลาผสมกันตามธรรมชาติ

ปัจจุบัน ฟาร์มคุณเดี่ยว มีพ่อ-แม่พันธุ์ อยู่จำนวนกว่า 500 กิโลกรัม โดยจะฉีดน้ำเชื้อให้ตัวเมียคราวละ 25 คู่ ซึ่งจะได้ลูกปลาคราวละกว่า 2 แสนตัว หรือปีละกว่า 2-3 ล้านตัว คาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำหรับการเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนด้วยการใช้ลูกไรแดงสดเป็นอาหาร ประมาณ 4 วัน จากนั้นจะเปลี่ยนมาให้กินไรแช่แข็งต่ออีก 20 วัน ซึ่งลูกปลาจะมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดหรือปั้นเป็นอาหารก้อน ให้เลี้ยงต่อไปอีก 45 วัน เพื่อให้ได้ขนาดประมาณ 3-4 นิ้ว ขายราคาตัวละ 2 บาท หรือถ้าขนาดประมาณ 2.5-3 นิ้ว ราคาขายตัวละ 1.50 บาท

ทั้งนี้ คุณเดี่ยว บอกว่า ลูกปลาช่อนมีความสมบูรณ์ทุกตัว ซึ่งถ้าเกษตรกรที่มีประสบการณ์เมื่อซื้อไปเลี้ยงแล้วมีอัตรารอดสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่เป็นลูกค้ามือใหม่แนะนำให้ซื้อลูกปลาขนาดตัวละ 1.50 บาท หรือประมาณ 3 นิ้ว เพราะไซซ์นี้อัตราความเสี่ยงน้อย

แต่สำหรับลูกค้าระดับมืออาชีพ มักซื้อขนาด 4 นิ้ว เพราะใช้เวลาเลี้ยงน้อยก็สามารถจับขายได้แล้วเนื่องจากผู้เลี้ยงในกลุ่มนี้มีวิธีเลี้ยงแบบทำให้ลูกปลาโตเร็ว คุณภาพสูง นำไปขายในราคาสูง สำหรับลูกค้าที่มักซื้อลูกปลาขนาดเล็กสุด มักซื้อแล้วแยกบ่ออนุบาลไว้ก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยเลี้ยงบ่อจริง พร้อมระบุว่าในพื้นที่แถวสิงห์บุรี อ่างทอง มีลูกค้ากลุ่มเลี้ยงปลาช่อนมาก ส่วนทางอีสานชอบปลาหมอ ปลาตะเพียน สำหรับปลาดุกขายดีทั่วประเทศ

โดยผู้ที่สนใจต้องการสั่งซื้อพันธุ์ปลาทุกรายจะต้องโอนเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่งก่อน พร้อมระบุพันธุ์ปลาและขนาดที่ต้องการกับรายละเอียดชื่อ-สกุล สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ อย่างละเอียด เพื่อจะได้มีการวางแผนเพาะพันธุ์ปลาแต่ละชนิด จากนั้นทางฟาร์มจะจัดส่งลูกปลาที่ลูกค้าสั่งตามรอบ/คิว โดยจัดส่งด้วยรถ แล้วรับประกันความเสียหาย

คุณเดี่ยว ชี้ว่า กระบวนการของตลาดซื้อ-ขาย ปลาสามารถสร้างรายได้ทุกรูปแบบ โดยในแต่ละกิจกรรมล้วนทำเงินได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่อาชีพเพาะ อาชีพเลี้ยง อาชีพรับจ้างขนปลา อาชีพแปรรูป หรือแม้แต่ปลายทางคือ คนขายปลาตามสถานที่ต่างๆ ทั้งนี้ อยู่กับความถนัดและความพร้อมของแต่ละคน

พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงตลาดปลาช่อนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาว่า ราคาลดลงมาก และผันแปรเป็นบางคราว ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้เลี้ยงปลา เพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนหลายอย่าง แล้วยังถูกกำหนดราคารับซื้ออีก เลยทำให้ผู้เลี้ยงปลาเนื้อขาดทุนกัน ดังนั้น ถ้ามีชาวบ้านมาซื้อลูกปลามักจะแนะนำวิธีการเลี้ยงปลาช่อนแบบลดความเสี่ยงด้วยการจับขายเองดีกว่า เพราะสามารถกำหนดราคาหน้าบ่อได้เอง

“เกษตรกรที่ไม่พร้อมเรื่องพื้นที่แล้วไม่คิดทำขายเชิงพาณิชย์ เพียงต้องการทำเป็นรายได้เสริมในครอบครัวจะเลือกเลี้ยงแบบบ่อดินหรือกระชังก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ควรเลี้ยงจำนวนไม่มาก แล้วแบ่งมาแปรรูปขายเป็นปลาย่างหรือปลาแดดเดียว เพื่อจะได้มีรายได้สูงกว่าการเลี้ยงจำนวนมากแล้วขายราคาตก”

เจ้าของธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาช่อนรายนี้ยังชี้ว่า ตลาดพันธุ์ปลาแข่งขันในเรื่องคุณภาพและความแข็งแรง ทั้งนี้ มีบางรายที่ไม่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ มักหลอกขายพันธุ์ปลาที่ไม่มีคุณภาพให้แก่ชาวบ้านจนหลงเชื่อ พอนำไปเลี้ยงกลับไม่ได้คุณภาพ เสียทั้งเงินและเวลา

“การกระทำเช่นนี้คงได้เพียงครั้งเดียว เพราะไม่มีใครหลงเชื่ออีกต่อไป โดยเฉพาะตอนนี้ในสังคมออนไลน์ที่มีการสื่อสารเร็วมาก หากใครทำอะไรไม่ดีข่าวสารก็จะถึงกันหมดภายในเวลาอันรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ถ้าคุณพัฒนาคุณภาพปลาให้ลูกค้าเชื่อถือได้ พวกเขาก็จะเป็นลูกค้าของคุณตลอดยาวนาน เพราะการเริ่มต้นหาแหล่งซื้อ-ขายพันธุ์ปลาที่เชื่อถือได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย”