5 เคล็ดลับ เลือกเมล็ดพันธุ์ ช่วยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลดี

โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหรณ์ได้จัดทำขึ้น ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อปรับสมดุลของปริมาณการผลิตการตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งเกษตรกรมีรายได้และอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน จากกิจกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูนาปรัง และเพื่อให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเสถียรภาพในการผลิตสินค้า ลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศ

หนึ่งในเทคนิคสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ คือ การส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติดูแลเพื่อให้ได้ผลบผลิตสูงสุด ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะนำมาปลูกว่า ต้องต้องเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาปลูก เพราะหากเกษตรกรเลือกเมล็ดพันธุ์ดีมาปลูก จะช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต้นทุนได้มากกว่า ด้วยเมล็ดพันธุ์ดีอัตราการงอกจะมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า ลำต้นแข็งแรง และให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ขณะที่การดูแลบำรุงรักษาและระยะเวลาการปลูกไม่ต่างกับเมล็ดพันธุ์ทั่วไป

บันไดแห่งความสำเร็จในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ข้อแนะนำถึงหลักที่ควรปฏิบัต 5 ประการ ได้แก่

ซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ โดยต้องเลือกร้านที่มีใบอนุญาตเมล็ดพันธุ์ควบคุมจากกรมวิชาการเกษตร
เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีมาตรฐาน ตาม พรบ.พันธุ์พืชรับรอง
ดูวัน เดือน ปีที่ผลิต โดยให้สังเกตวันหมดอายุ และเปอร์เซนต์การงอกข้างถุง
ทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณของเมล็ดพันธุ์ที่จะปลูกจริง
เลือกเมล็ดพันธุ์ดี การงอกยิ่งสูง การได้ต้นข้าวโพดที่แข็งแรง ผลผลิตยิ่งสูงตาม

สำหรับเกษตรกรที่สนใจและต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ถอดบทเรียนเกษตรกรทำอินทรีย์ ยกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และปลอดภัย ตำบลท่ากระเสริม และ กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ มั่นใจ การรวมกลุ่ม มุ่งมั่น และพัฒนาร่วมกัน จะก้าวไปสู่ความสำเร็จให้การทำเกษตรอินทรีย์แน่นอน

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ได้ถอดบทเรียนเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ โดยลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตพืชผักและผลไม้ที่ประสบความสำเร็จ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และปลอดภัย ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ กลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และปลอดภัย ท่ากระเสริม มีนายสมควร พันธัง เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิก 35 ราย เน้นแนวคิด การได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยไร้สารเคมี ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งผลต่อการมีรายได้และความมั่นคงยั่งยืนของอาหาร อากาศ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่การทำเกษตรไม่ใช้สารเคมีเท่านั้น แต่การทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้ความอดทน ความมุ่งมั่น ใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน ซึ่งในระยะแรกแม้มีอุปสรรคก็ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้และนวัตกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ผลผลิตดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน มีการจัดตั้งกรรมการดูแลเรื่องตลาด โดยมุ่งเจาะตลาดระดับกลางและตลาดสูงเป็นหลัก รวมทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอด้วย

สำหรับกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์เมืองเก่าพัฒนา โดยนายประดิษฐ์ ศิริธรรมจักร ปัจจุบันมีสมาชิก 20 ราย มีแนวคิดคือ การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นตั้งใจ การบริหารจัดการเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ตามหลักการทฤษฎีใหม่ โดยสามารถลงมือทำพร้อมกันได้หลายอย่าง วางแผนสิ่งไหนควรลงมือทำก่อนหรือทำหลัง ศึกษาค้นคว้าและถามผู้รู้จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง การจำหน่ายผลผลิต จะจำหน่ายภายในชุมชน และพ่อค้าคนกลาง ไม่มีการผูกขาดขายให้เพียงคนใดคนหนึ่ง แต่จะขายผลผลิตให้กับทุกคนที่ต้องการ และหากมีผู้ต้องการซื้อมากแต่ผลผลิตไม่เพียงพอ จะทำการแบ่งให้ได้เท่าๆ กัน

ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่ม นับเป็นอีกตัวอย่างของผู้ที่จะประสบความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ สามารถเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรที่สนใจปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ได้

กล้วยหอม นอกจากกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังประกอบไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส อีกทั้งยังมีเส้นใยอาหาร รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ หลายชนิด มีส่วนช่วยลดอาการท้องผูก โรคโลหิตจาง และยังช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง รักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยและเหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจที่มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมกระจายอยู่ทั่วประเทศ

“ก่อนจะปลูกอะไร ต้องหาตลาดก่อน” แนวคิดของ คุณจตุพงษ์ สังข์นุ่น หรือ น้องนาน อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 9 บ้านช่องหลำ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ เกษตรกรหัวก้าวหน้า เล่าว่า เดิมทำสวนมะละกอเรดเลดี้มาก่อน แต่เมื่อมะละกอหมดอายุ จึงคิดหาพืชใหม่มาทดลองปลูก เพราะปลูกมะละกอในพื้นที่ซ้ำๆ ผลผลิตจะไม่ดีและมีโรคมาก

สนใจปลูกกล้วยหอมทอง จึงค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พบว่า กล้วยหอมทอง เป็นพืชที่น่าสนใจและมีสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวบรวมผลผลิตที่ได้มาตรฐานส่งขายประเทศญี่ปุ่น จึงตัดสินใจเข้าไปขอความรู้และสมัครเป็นสมาชิกปลูกกล้วย ซึ่งพอดีกับทางสหกรณ์กำลังมีโครงการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อให้มีผลผลิตส่งอย่างต่อเนื่องพอดี

โดยทางสหกรณ์จะส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพื้นที่และวางระบบการผลิตให้ก่อน เริ่มแรกคุณจตุพงษ์ลองปลูก 12 ไร่ ประมาณ 5,000 ต้น ดูแลกล้วยไปตามระบบของสหกรณ์จนออกเครือและเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน เก็บผลผลิตได้ 40 ตัน ส่งให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านนาสาร แบ่งเป็น 2 ราคา คือ 12.50 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิต และราคา 17.50 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 30 รวมที่ขายได้คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 560,000 บาท

คุณจตุพงษ์ เล่าว่า ตนมีพื้นที่ 21 ไร่ มะละกอเรดเลดี้ เป็นพืชทำเงินตัวแรกที่ทำให้มีเงินทุนมาขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในสวน แต่หลังจากมะละกอหมดอายุหาต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพมาปลูกต่อไม่ได้ ต้นแคระแกร็น และมีโรคมาก จึงหาพืชตัวอื่นมาปลูกแทน ลองปลูกกล้วยหอมทอง 12 ไร่ ชมพู่ทับทิมจันท์ 4 ไร่ และแซมด้วยตะไคร้ระหว่างต้นชมพู่ มีนะนาวในวงท่อ 50 ท่อ ขุดสระเก็บน้ำ ประมาณ 2 ไร่

ซึ่งกล้วยหอมทองที่ทดลองปลูกปรากฏว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานส่งออกของทางสหกรณ์ เพราะทำตามที่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ได้แนะนำไว้ ปัจจุบันกำลังวางแผนการผลิตเพื่อให้สามารถส่งได้อย่างต่อเนื่อง และชักชวนเพื่อนและญาติมาร่วมปลูกด้วย เพื่อให้มีปริมาณและมีผลผลิตส่งในช่วงที่ของตนขาด

คุณจตุพงษ์ บอกว่า กล้วยหอมปลูกไม่ยาก โดยก่อนปลูกกล้วยต้องมีการปรับพื้นที่ โดยเริ่มแรกไถตากหน้าดิน 3 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน จากนั้นลงหน่อกล้วยไปเรื่อยๆ พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หน่อกล้วย 400 ต้น ปลูกระยะ 2×2 เมตร ส่วนหญ้าจะใช้วิธีการตัดหญ้า ซึ่งที่นี่จะไม่ใช้สารเคมีฆ่าหญ้า และสารกำจัดแมลง

หลังเปลี่ยนสวนมะละกอมาปลูกกล้วยหอมทอง คุณจตุพงษ์ บอกว่า แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะกล้วยไม่ต้องใช้สารเคมี ปลูกทิ้งไว้ ออกหวี ออกเครือ…แต่ต้องปลูกและดูแลในแบบที่สหกรณ์กำหนด ทั้งใช้ปุ๋ยชีวภาพ การตัดแต่งใบ ซึ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะใบกล้วยแห้งต้องตัดออกให้หมด เพื่อป้องกันใบสีกับผลกล้วย ซึ่งจะทำให้ผิวไม่สวย กำจัดวัชพืชให้สวนโล่งโปร่ง อากาศถ่ายเทง่าย เพื่อป้องกันการเกิดเพลี้ยแป้ง…ส่วนการให้น้ำ ติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ และให้น้ำสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่าให้ขาดน้ำ ต้นจะแกร็นไม่โต และถ้าออกลูกจะมีขนาดเล็ก

ในกล้วย 1 กอ ให้เลือกเอาเฉพาะต้นสมบูรณ์ไว้เพียง 1 ต้น ถ้าไว้มาก จะเกิดการแย่งอาหารกันเอง ทำให้เครือเล็ก ผลกล้วยไม่ได้ขนาด และเมื่อกล้วยออกเครือหวีแก่ 70-75% ก็สามารถตัดขายได้

ต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทอง ปลอดสารเคมี พื้นที่ 1 ไร่

จำนวน 400 หน่อ
1. ค่าเตรียมดิน 1,700 บาท
2. ค่าหน่อพันธุ์ 3,200 บาท
3. ค่าแรงปลูก 1,200 บาท
4. ค่าน้ำมันตัดหญ้า (8 ครั้ง) 1,200 บาท
5. ค่าแรงตัดหญ้า (8 ครั้ง) 400 บาท
6. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (รดน้ำ) 3,000 บาท
7. ค่าปุ๋ยคอก 2,400 บาท
8. ค่าปุ๋ยเคมี 3,000 บาท
รวมต้นทุน 16,100 บาท
ต้นทุน/ต้น 40.25 บาท 16,100 (ต้นทุน)/400 (หน่อ) ต้นทุนที่ไม่มีระบบน้ำ 32.75 บาท/ต้น การให้ปุ๋ย
1. ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 เมื่อกล้วยหอม อายุ 1 เดือน ด้วย สูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 80-100 กรัม/ต้น
2. ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 เมื่อกล้วยหอม อายุ 3 เดือน ด้วย สูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 250 กรัม/ต้น
3. ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 3 เมื่อกล้วยหอม อายุ 5 เดือน ด้วย สูตร 5-15-20 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 250 กรัม/ต้น
4. ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 4 เมื่อกล้วยหอม อายุ 6-7 เดือน เพื่อบำรุงคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตร 13-13-21 อัตรา 50-100 กรัม

การแต่งหน่อ
หลังจากปลูกกล้วย ประมาณ 3-5 เดือน ให้แต่งหน่อเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์

การตัดแต่งทางใบ
ควรตัดแต่งทางใบ เมื่อกล้วยมีอายุ 3-5 เดือน ตัดเฉพาะใบที่หมดอายุการใช้งาน โดยเหลือไว้ไม่ต่ำกว่า 8-10 ใบ

การออกปลี
เมื่อปลูกกล้วยไปแล้ว ประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่ พร้อมออกปลีโดยจะแตกใบยอดสุดท้าย ซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก ชูก้านใบชี้ขึ้นท้องฟ้า เรียกว่า “ใบธง” หลังจากนั้น กล้วยจะแทงปลีกล้วยสีแดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน และกาบปลีจะบานจนสุดหวี

การตัดปลี
หลังจากกล้วยออกปลีระยะหนึ่ง หวีที่อยู่ปลายเครือจะเริ่มเล็กลงและผลจะสั้น ขนาดของผลไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งเรียกว่า “หวีตีนเต่า” จะตัดแต่งปลายเครือถัดจากหวีตีนเต่า 3 ชั้น เพื่อไว้สำหรับปลายเครือเมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว

การค้ำยันต้น
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้นที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง การเก็บเกี่ยว
หลังจากตัดปลีกล้วยออกจากเครือแล้ว ประมาณ 53 วัน จะได้เนื้อกล้วยประมาณ 70-75% จึงตัดกล้วยทั้งเครือ แล้วนำมาหุ้มด้วยแผ่นโฟม ขนาด 3 มิลลิเมตร เพื่อป้องกันกล้วยช้ำระหว่างการขนส่ง

หมายเหตุ
ควรมีการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี ทุกครั้งเพื่อลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี

มาตรฐานกล้วยหอมทอง
1. เป็นแปลงกล้วยของสมาชิกที่ไม่ใช้สารเคมี
2. สีเนื้อของกล้วยความแก่อยู่ที่ประมาณ 70-75%
3. กล้วยที่ส่งออก จะต้องมีน้ำหนักต่อลูก อย่างน้อย 110 กรัม/ลูก
4. รอยแผล ช้ำ ปานแดง และลูกลาย บนผิวกล้วยนั้นรวมแล้วไม่เกิน 20%

สำหรับท่านใดที่สนใจกล้วยหอมคุณภาพ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจตุพงษ์ สังข์นุ่น เลขที่ 99 หมู่ที่ 9 บ้านช่องหลำ ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 065-348-8756

“ ส้มเขียวหวาน” เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ลงทุนครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้นานถึง 20 ปี ส้มเขียวหวานปลูกง่ายใช้เวลาแค่ 3 ปีก็เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว ส้มเขียวหวานติดผลดก มีผลผลิตตลอดทั้งปี และ ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง เกษตรกรจึงหันมาปลูกส้มเขียวหวานอย่างเป็นล่ำเป็นสันทั่วประเทศ

ในอดีต “ ทุ่งรังสิต ” นับเป็นแผ่นดินทองที่มีการปลูกส้มเขียวหวานมากที่สุดในประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 150,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจาก เกษตรกรสวนส้มในพื้นที่ตำบลบางมด เขตราษฎร์บูรณะและเขตตลิ่งชัน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มบางมด (ส้มเปลือกล่อน รสหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อย ) ประสบปัญหาน้ำเสีย จึงได้อพยพมาทำการเพาะปลูกในอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอคลองหลวง ซึ่งที่ดินมีราคาถูกและสภาพน้ำยังดีอยู่

เนื่องจากส้มเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมาก เกษตรกรทุ่งรังสิตส่วนใหญ่จึงนิยมทำสวนส้มแบบร่องน้ำเพื่อให้มีปริมาณน้ำมากพอสำหรับหล่อเลี้ยงผลส้มตลอดทั้งปี ส้มเปลือกล่อนที่ปลูกแพร่หลายในทุ่งรังสิต แบ่งได้เป็น 4 ชนิดได้แก่ 1. ส้มผิวบางมด ที่มีลักษณะเด่นเหมือนส้มบางมดคือ ผิวเป็นกระ มีตำหนิดำ-น้ำตาลแดงเข้ม รสหวานจัด อมเปรี้ยวเล็กน้อย ซังอ่อนนุ่ม กากน้อย 2. ส้มรังสิต สีเหลืองอมเขียว ที่มี รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เปลือกบาง ซังอ่อนนุ่ม มีกากเล็กน้อย 3. ส้มเขียว ผิวสีเขียวอ่อน รสเปรี้ยวอมหวาน ซังอ่อนนุ่มมีกากเล็กน้อย เมื่อสุกจัดจะ เป็นสีเหลืองอมเขียว รสหวานจัดขึ้น 4. ส้มผิวเหลืองอมเขียว เปลือกล่อน ซังอ่อนนุ่ม และกากน้อย รสหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อย

ต่อมาปี 2538 สวนส้มในทุ่งรังสิตประสบปัญหาเรื่องการระบาดของโรคและแมลง ประกอบกับสภาพแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาดินเป็นกรด การแพร่ระบาดของโรคกรีนนิ่ง ทำให้ผลส้มร่วง ต้นส้มล้มตายเป็นจำนวนมาก จนต้องเลิกปลูกส้มและหันไปปลูกพืชผัก ไม้ผลและสวนปาล์มน้ำมันแทน แต่หลายรายเลือกที่จะย้ายถิ่นไปลงทุนทำสวนส้มในแหล่งใหม่เช่น จังหวัดเชียงราย แพร่ กำแพงเพชร ตาก พิจิตร ฯลฯ

“ สวนส้ม ” คืนถิ่นทุ่งรังสิต

สืบเนื่องจากราคาส้มที่ปรับตัวสูงกว่ากิโลกรัมละ 40 บาท จูงใจให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งรังสิต ปทุมธานี-นครนายก ฯลฯ หันมาทำสวนส้มใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลนพรัตน์ และหนองสามวัง ในเขตอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เกษตรกรกว่า 200 ราย ได้เลิกทำนาและหันมาปลูกส้มเขียวหวานพันธุ์ “เขียวดำเนิน” กันอย่างคึกคัก เพราะพ่อค้าแผงผลไม้ที่ตลาดไท ประกาศรับซื้อส้มเขียวหวานไม่จำกัดจำนวนเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ที่ต้องการบริโภคส้มเขียวหวานเพิ่มมากขึ้น

สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี ได้จัดส่งทีมนักวิชาการมาให้ความรู้ เรื่องการปลูก เตรียมดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง พร้อมส่งเสริมการการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกมากขึ้น เพื่อลดปัญหาดินกรดในสวนส้ม

ปัจจุบันแหล่งปลูกส้มในอำเภอหนองเสือ เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวส้มได้กว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากกว่าปีละ 17,000 ตัน สร้างรายได้สะพัดกว่า 50 ล้านบาท

สาเหตุที่เกษตรกรนิยมปลูก ส้มเขียวดำเนินกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นพันธุ์ส้ม ที่ต้านโรคได้ดี ลูกเขียวผิวมัน ผลดก เปลือกบาง น้ำมาก ปอกง่าย รสชาติอร่อย รสไม่เปรี้ยวจัดจนเกินไป ราคาขายส่งหน้าสวน ตั้งแต่ราคา 14 – 40 บาทตามขนาดผลส้มและช่วงฤดูกาล โดยทั่วไป ราคาส้มจะถีบตัวสูงเมื่อมีผลผลิตออกตรงกับช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลตรุษจีน (กลางเดือนกุมภาพันธ์) เทศกาลสารทจีน (กรกฎาคม-สิงหาคม) วันเช็งเม้ง (มีนาคม- เมษายน)

ตามไปดูสวนส้มที่อำเภอหนองเสือ

“ พี่เมี้ยน เสมอใจ ” อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 137 หมู่ 2 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พี่เมี้ยนเป็นเกษตรกรรุ่นเก๋า ที่ทำสวนส้มมาตั้งแต่สมัยที่กิจการสวนส้มรุ่งเรืองเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อประสบปัญหาโรคส้ม เขาก็ตัดสินใจเลิกทำสวนส้มและออกไปรับจ้างทำงานในเมือง ระยะหนึ่ง ก่อนจะหวนกลับทำสวนผัก เมื่อราคาส้มปรับตัวสูงขึ้น พี่เมี้ยนมองว่า ส้มเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในยามนี้ เขาจึงหันกลับมาทำสวนส้มใหม่อีกครั้ง

สวนส้มแห่งนี้ได้ยกร่องขนาด 3.50 เมตร และนำดินจากท้องร่องตักขึ้นมาวางตามคันร่อง และขุดร่องน้ำลึกประมาณ 90 เซนติเมตร เขาลงทุนซื้อกิ่งตอนส้มเขียวหวานพันธุ์เขียวดำเนินมาปลูก รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก ปลูกต้นส้มในระยะห่าง 3 เมตร พื้นที่ 10 ไร่ปลูก สามารถปลูกส้มได้ 420 ต้น หนึ่งร่องปลูกต้นส้มได้ประมาณ 70 กว่าต้น หลังปลูกคอยดูแลใส่ปุ๋ย ให้ยา ให้น้ำสวนส้มตามปกติ

เมื่อต้นส้มเติบโตได้ระยะที่เหมาะสม จึงวางแผนผลิตส้มนอกฤดู โดยบำรุงให้ต้นส้มสะสมอาหารล่วงหน้ามาเป็นอย่างน้อย 45 วันก่อน จึงค่อยบังคับให้ต้นส้มออกดอกเดือนพฤษภาคม และใช้เทคนิคกักน้ำ โดยลดระดับน้ำในร่องสวน ตากดินให้แห้ง เพื่อให้ต้นส้มอดน้ำจนใบเหี่ยว หากจะให้มีผลผลิตมาก ก็ปล่อยให้ต้นส้มเหี่ยวเยอะหน่อย จึงค่อยให้น้ำใส่ปุ๋ยฉีดยาบำรุงอย่างเต็มที่ ต้นส้มก็จะผลิดอก ออกลูกตามที่ต้องการ

เขาไม่ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างในร่องสวนส้ม เว็บแทงฟุตบอล เขาตัดสินใจปลูกมะละกอขนาบ 2 ข้างต้นส้ม เพื่อเป็นรายได้เสริมรายวันระหว่างรอเก็บเกี่ยวส้ม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เขาตัดสินใจปักค้างไม้ระหว่างร่องสวนส้มเพื่อปลูกฟักเขียว ที่ปลูกเวลาปลูกแค่ 2 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตออกขาย ปีหนึ่งก็ปลูกฟักเขียวได้หลายรุ่น สร้างรายได้เสริมหมุนเวียนเพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของเขาได้ในระดับหนึ่ง

ในอดีตสวนส้มรังสิตประสบปัญหาผลส้มร่วง เนื่องจากมีปริมาณทองแดงในดินสูงถึง 110-1500 mg/kg ทำให้ผลผลิตลดลง เกิดจากความเป็นพิษของทองแดงต่อพืชตระกูลส้ม โดยจะทำลายระบบรากและนำไปสู่การขาดน้ำของต้นส้ม ทำให้ใบเล็ก ใบร่วง และรากส่วนที่นำอาหารไปเลี้ยงลำต้นหยุดการเจริญเติบโต นำไปสู่การทำให้ผลส้มร่วงได้

อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ สวนส้มทุ่งสิตยังได้รับผลกระทบจากปัญหาผลส้มร่วง แต่ไม่รุนแรงมากเหมือนในอดีต ก่อนหน้านี้ สำนักวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาที่ดิน สังกัดกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วิเคราะห์สภาพดินสวนส้มในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่า เป็นดินเปรี้ยวมีความเป็นกรดสูง เมื่อมีการปนเปื้อนด้วยโลหะหนักซึ่งมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก น้ำเสีย และกากตะกอนน้ำเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและสารกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีการสะสมและเคลื่อนที่ของโลหะหนักในดิน (แคดเมียม ทองแดง และสังกะสี ) ที่เป็นกรดสามารถละลายและแตกตัวอยู่ในรูปอิออนมากกว่าดินที่มีสภาพเป็นกลาง

ในการศึกษาการสะสมของโลหะหนักในดินสวนส้มอายุ 3 ปี 6 ปี และ 9 ปี ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่มีรากพืชหนาแน่นที่สุด และรากพืชดูดซับธาตุต่าง ๆ จากดิน พบว่า ค่าเฉลี่ยความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดิน สวนส้มที่ระดับความลึก 0–30 เซนติเมตร อายุ 3 ปี และ 6 ปี มีค่าใกล้เคียงกัน คือ 4.9 และ 4.8 อายุ 9 ปี มีค่าสูงสุดคือ 5.5 และทุกช่วงอายุมีค่า pH ลดลงตามระดับความลึกของดิน

ปริมาณทองแดงทั้งหมดในดินสวนส้ม อายุ 3 ปี 6 ปี และ 9 ปี มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการใช้สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ซึ่งมีทองแดงเป็นส่วนประกอบ ในการกำจัดเชื้อราโดยพ่นต้นส้ม ปริมาณแคดเมียมในดินสวนส้ม มีปริมาณสูงกว่าระดับเกณฑ์มาตรฐาน การใส่ปูนนอกจากเป็นการปรับปรุงดินกรดแล้วยังช่วยในการแก้ปัญหาการปนเปื้อนของแคดเมียมในดินได้ด้วย

ผลวิจัยสรุปว่า ปริมาณแคดเมียม ทองแดง และสังกะสี ในดินสวนส้มทุ่งรังสิต มีการสะสมโลหะหนักเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแคดเมียมและทองแดงที่มีระดับสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม การจัดการดินที่ดี มุ่งยกระดับ pH ของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นส้ม การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ตลอดจนการให้ธาตุอาหารพืชที่เพียงพอแก่ต้นส้ม จะเป็นช่องทางสำคัญสำหรับช่วยลดค่าความเป็นพิษของโลหะหนัก แคดเมียม ทองแดง และสังกะสีในสวนส้มให้ปรับตัวลดลงได้