FERTIZER

เปิดใจนายก ส.การค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย… “อยากให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ภายใต้การนำของ “นายกหญิง”คุณวรารัตน์ วีรยวรางกูร พร้อมด้วย คุณโสภิต สุทิน อุปนายก คุณธนภณ สิริเงินตรา เลขาธิการ และ ดร.ประเสริฐ สุดใหม่ ที่ปรึกษา ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสถานการณ์ปุ๋ยในประเทศ รวมทั้งมุมมองในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ภัยแล้งพ่นพิษ…ใช้ปุ๋ยน้อยลง สถานการณ์ปุ๋ยเคมีในปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าประมาณ 5 ล้านตัน เทียบกับปี 2557 ที่มีการนำเข้า 5.59 ล้านตัน เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวลดลงจาก 76.83 ล้านไร่ (ทั้งนาปี-นาปรัง) เหลือ 65.53 ล้านไร่ (รวมนาปี นาปรัง) จากปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ทำให้พื้นที่นาปรังลดลง และจากการที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของเกษตรกรน้อยลง ส่งผลให้ความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรลดลงไปด้วย ประกอบกับนโยบายรัฐบาลในการนำโซนนิ่งการเกษตรเพื่อส่งเสริมให้เกษตรปลูกพืชให้เหมาะสมกับดินและสภาพแวดล้อม อาจมีผลต่อการเลือกใช้สูตรปุ๋ยและปริมาณปุ๋ยเคมีที่เปลี่ยนไป

ส่วนความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตที่เติบโตตามกระแสความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้น จากการประมาณการเบื้องต้น คาดว่าความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีปีละประมาณ 5.8 แสนตัน ขณะที่การนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์ใน 9 เดือนแรกปี 2558 เท่ากับ 1,964 ตัน มูลค่า 144 ล้านบาท และส่งออก 59,686 ตัน มูลค่า 386 ล้านบาท

หนุนขุดโปแตช ลดนำเข้าปุ๋ย

ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศถึง 95% ส่งผลให้ราคาปุ๋ยต้องเป็นไปตามราคาที่นำเข้า ในขณะที่การจำหน่ายปุ๋ยเคมีในประเทศยังถูกควบคุมราคาโดยกรมการค้าภายใน ทางสมาคมจึงขอสนับสนุนให้มีการผลิตปุ๋ยโปแตชและปุ๋ยอื่นๆในประเทศ ให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศ และลดการนำเข้า โดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยโปแตชของไทยตามโครงการอาเซียนโปแตช ที่มีแหล่งผลิตอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ และจะผลิตออกสู่ตลาดในปี 2560 ปริมาณ 1 ล้านตัน คาดว่าจะช่วยให้ราคาปุ๋ยลดลงประมาณตันละ 20 เหรียญสหรัฐ เพราะไม่ต้องเสียค่าระวางเรือนำเข้า อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมถึงจัดสรรผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

ส่งออกปุ๋ยไทยสดใส แต่…

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปุ๋ยจากประเทศไทยสามารถส่งไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านและได้รับความนิยมสูงมาก โดยคู่ค้าหลัก คือ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฯลฯ

อย่างไรก็ดี เรามีปัญหาเรื่องประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะปุ๋ยจากประเทศจีน เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า และเขาไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องคุณภาพเท่ากับของเรา ในขณะที่ปุ๋ยไทยทางกรมวิชาการเกษตรมีความเข้มงวดเรื่องมาตรฐาน ธาตุอาหารหลัก N-P-K จะต่ำกว่ามาตรฐาน 10% ไม่ได้ และอีกเรื่องหนึ่งคือการตรวจสอบมาตรฐานปุ๋ยที่ปลายทาง เราเห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงประสานความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรให้มาตรวจสอบมาตรฐานปุ๋ยหน้าโกดัง ก่อนส่งให้ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการปลอมปนระหว่างการขนส่งได้

โดยที่ผ่านมานั้น เรายังมีปัญหาด้านคุณภาพปุ๋ย ทำให้เสื่อมเสียวงการ อย่างเช่นเรื่องปุ๋ยคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่เรียกว่าปุ๋ยปลอม หากเรามีมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ผลิตปุ๋ยปลอมและปุ๋ยที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้อนาคตปุ๋ยไทยสดใสเป็นผู้นำในอาเซียนได้

อยากให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเป็นและราคาถูก

ต้องยอมรับว่าเวลานี้เกษตรกรของเรายังใช้ปุ๋ยไม่ถูกหลักวิชาการ นั่นหมายความว่า เราต้องสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สร้างความรู้ความเข้าใจในการปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง ทั้งการใช้แบบเชิงเดี่ยวและการใช้ร่วมกัน เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง โดยให้เหมาะสมกับสภาพดินและชนิดของพืช และผลักดันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนให้กระจายไปทุกชุมชนเกษตรกรรม เพื่อลด wasteในอุตสาหกรรมเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต

นอกจากนี้ สมาคมกำลังส่งเสริมให้มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อในการจัดหาปุ๋ย หรือซื้อปุ๋ยราคาถูก หรือราคาที่เป็นธรรมให้เกษตรกร ส่งเสริมเกษตรกรผสมปุ๋ยใช้เอง และสนับสนุนการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ

“ทำอย่างไรให้เกษตรกรของเรามีความรู้ ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง ไม่ใช่หลงเชื่อตามคำโฆษณาชวนเชื่อ… เราต้องรู้ว่าดินแบบนี้ใช้ปุ๋ยแบบไหน ธาตุอาหารในดินมีอะไรขาดอะไร จะต้องอ้างอิงหลักวิชาการที่ทันสมัย การเกษตรประเทศไทยจึงจะมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย กล่าวในที่สุด

หมายเหตุ ในเรื่องการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ได้จัดทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อ “คัมภีร์ดินและปุ๋ยไทย”

“อิสราเอล” เป็นประเทศที่อยู่กลางทะเลทราย แห้งแล้ง ทั้งน้ำและความชื้นมีน้อย แต่สามารถผลิตสินค้าเกษตร ไม่เพียงบริโภคภายในประเทศเท่านั้น ยังเหลือส่งขายออกสู่ตลาดชั้นนำทั่วโลกอีกด้วย

เทคโนโลยีแก้ภัยแล้ง ด้วยมันสมองของมนุษย์มีมาอย่างยาวนานแล้ว แต่ที่ประเทศอิสราเอลโด่งดังเรื่องนี้ เพราะว่าเอาภูมิปัญญาของมนุษย์มาศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง จึงสู้ภัยธรรมชาติได้ดีกว่าประเทศอื่นๆมาก

ภัยแล้งที่มาเยือนเรา สมัคร GClub เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่กลางทะเลทราย ห่างชั้นกันมาก ขอให้ตั้งสตินำภูมิปัญญาชาวบ้าน และ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมจากนักวิชาการมาใช้ น่าจะแบ่งเบาความเดือดร้อนของประชาชนหรือเกษตรกรได้ค่อนข้างดีทีเดียว

ช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ติดตามคณะสมาคมสื่อมวลเกษตรแห่งประเทศไทยเดินทางไปศึกษาดูงานการท่องเที่ยว และ การแก้ปัญหาภัยแล้ง ที่จังหวัดกาญจนบุรี ต้องยอมรับเลยว่า ไม่ว่าฤดูร้อนหรือฝนหรือหนาว ที่นี่มีนักท่องเทียวทั้งปี เนื่องจากมีแหล่งให้เที่ยวทั้งประวัติศาสตร์ และธรรมชาติมากมาย

ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นนั้น แม้ว่ากาญจนบุรีมีแหล่งเก็บน้ำ ทั้งฝายและเขื่อนมากที่สุดของประเทศไทย ก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ อย่างไรก็ตาม “ศักดิ์ สมบุญโต” ผู้ว่าฯ ขวัญใจชาวบ้านที่เพิ่งย้ายมาจังหวัดแพร่เมื่อปลายปีที่ผ่าน ได้นำประสบการณ์ทั้งเทคโนโลยี และภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรเมืองกาญจน์จนเป็นรูปธรรมแล้ว

“ตอนนี้เรากำลังให้ชาวบ้านหันมาทำไร่นาสวนผสมมากขึ้น เพราะว่าทำนาปลูกข้าวอย่างเดียวมันเสี่ยง ราคาก็ไม่ดี และยังเจอปัญหาเรื่องภัยแล้งอยู่ด้วย ทางจังหวัดจึงเสาะหาช่องทางลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร โดยส่งเสริมให้ทำไร่นาสวนผสม ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทฤษฏีใหม่ เป้าหมาย 100 ราย จนขณะนี้เราได้ปรับปรุงพื้นที่ขุดบ่อเลี้ยงปลา และปลูกผัก ไม้ผล ไปแล้ว 25 ราย โดยผ่านคัดเลือกอย่างดี เพื่อสร้างผู้นำด้านนี้ และจะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรรายใหม่ๆต่อไป” ผู้ว่าฯ กล่าว

คุณสิรศักดิ์ สนสุรัตน์ เกษตรกรบ้านนางแอ้ง ต.หนองหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีดีกรีปริญญาตรีวิศวะ เดิมทำนา 10 ไร่ เจอปัญหาทั้งผลผลิตตกต่ำ และภัยแล้ง จึงสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทางจังหวัดก็เข้ามาปรับปรุงพื้นที่ โดยขุดบ่อน้ำให้ 4 ไร่ (ขนาดบ่อน้ำ32×180 ม.)เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำไว้รดต้นไม้ และภายในบ่อก็สามารถเลี้ยงปลากินพืชได้

หลายวันก่อนนั้นได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมมนาเรื่อง “การจัดการธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต้อนรับ AEC ปีแรกและนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างมีผลสัมฤทธิ์” โดยกรมวิชาการเกษตร เป็นแม่งานจัดขึ้น ณ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ จ.ปทุมธานี

เรื่องนี้ คุณเสริมสุข สลักเพ็ชร์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยของเราได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางด้านเกษตรกรรม และเชื่อว่าจะเป็นแหล่งผลิตพืชอาหารและการเกษตรแหล่งใหญ่ของโลก การอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชอาหารไว้พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

“ธนาคารเชื้อพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร มีความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมพืชที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะอนุรักษ์ความหลากหลายด้านพันธุกรรมแล้ว จะเป็นการรักษามรดกอันล้ำค่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย”
ธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ตั้งอยู่ในอาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืช สิรินธร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคาร พร้อมกับพระราชทานนามอาคารว่า “อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร” และได้สด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545

ทางด้าน คุณกัญญาภรณ์ พิพิธแสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ได้ให้รายละเอียดว่า เชื้อพันธุกรรมพืชเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลและเก็บรักษาอย่างดีเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน โดยการอนุรักษ์มี 2 ระยะ ดังนี้

การอนุรักษ์เมล็ดเชื้อพันธุ์พืชระยะปานกลาง (อุณหภูมิ 5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 50 %)สามารถเมล็ดเชื้อพันธุ์ได้ประมาณ 5-20 ปี เก็บรักษาเชื้อพันธุ์ได้150,000 ตัวอย่างพันธุ์ โดยเมล็ดพันธุ์ถูกบรรจุในขวดพลาสติก (PET) ฝาเกลียว ความจุ450 ลูกบาศก์เซนติเมตร บรรจุเมล็ดข้าวได้ 250-300 กรัม
การอนุรักษ์เมล็ดเชื้อพันธุ์พืชระยะยาว (อุณหภูมิ –10 องศา) สามารถเก็บรักษาได้20-50 ปี เก็บเชื้อพันธุ์ได้ประมาณ 40,000 ตัวอย่างพันธุ์ โดยเมล็ดเชื้อพันธุ์พืชจะถูกบรรจุด้วยระบบสูญญากาศในซองอลูมินัมฟอยล์ ขนาด 120 X200 มม.
“ปัจจุบันเมล็ดเชื้อพันธุ์พืช ที่อนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช มีจำนวน 32,630 ตัวอย่างพันธุ์ ในจำนวนนี้จะเน้นหนักพืชอาหาร เช่น ข้าวมีถึง 24,852 ตัวอย่าง ข้าวโพด 128ตัวอย่าง ถั่วลิสง 2,020 ตัวอย่าง ถั่วเหลือง2,252 ตัวอย่าง ถั่วป่า 199 ตัวอย่าง ถั่วเขียวผิวมัน 1,204 ตัวอย่าง ผักต่างๆ 174 ตัวอย่าง ฯลฯ”

สำหรับการใช้ประโยชน์จากธนาคารเชื้อพันธุ์พืช จะให้บริการใน 3 เรื่องด้วยกัน

งานบริการรับฝากเมล็ดพันธุ์เพื่ออนุรักษ์ในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ทั้งในส่วนของบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ
การให้บริการเมล็ดพันธุ์ แก่ บุคคล / องค์กร / หน่วยงาน / สถาบันศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยหรือผู้สนใจทั่วไป
การให้บริการด้านวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์พืช และการดำเนินงานของธนาคารเชื้อพันธุ์พืช เช่น เยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ฯลฯ

ผู้ขอใช้บริการสามารถติดต่อได้ที่สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 6) ปทุมธานี โทร. 02 9046885-95หรือเว็บไซต์ www.doa.go.th/biotech/

จบจากการพูดคุยกับผู้บริหารทั้ง 2 ท่าน ก็ถือโอกาสเยี่ยมชนธนาคารเชื้อพันธุ์พืช ได้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการเกษตรของประเทศไทย ก็ทำให้มีความเชื่อมั่นว่าเรามีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นผู้นำทางด้านการเกษตรโลกได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง

“ถนนปากแพรก” เป็นถนนสายแรกของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ย้ายกาญจนบุรีเก่า จากท่าเสา ลาดหญ้า มาสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ณ บริเวณที่เรียกว่า “ปากแพรก” ซึ่งเป็นจุดที่ลำน้ำแควน้อยและแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง

จากเส้นทางคมนาคมทางธรรมชาติก็กลายเป็นชุมชนและเป็นถนนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่สมัยอดีต และสำคัญยิ่งกว่าเมื่อเป็นถนนที่ก่อให้เกิดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารบ้านเรือนที่ควรค่าแก่การทรงจำมากมาย อย่างบ้านคุณบุญผ่อง แอนด์บาร์เดอร์ (สิริโอสถ) ได้แอบส่งยารักษาโรคมาลาเรียน เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือสื่อสาร

ตลอดจนได้ช่วยเชลยที่หนีจากค่ายญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งด้วย เชลยที่รอดชีวิตกลับไปสำนึกบุญคุณ จึงให้สมญานามว่าเป็น“วีระบุรุษสงครามของรถไฟสายมรณะ” และช่วยให้ไทยไม่ต้องถูกปฏิบัติอย่างผู้แพ้สงครามของไทย หรืออย่างบ้านแต้มทอง บ้านคหบดีเก่า สถาปัตยกรรมแบบจีนอายุประมาณ 150 กว่าปี สร้างโดยช่างชาวจีนในสมัยร.3 ยังคงมีข้าวของเครื่องใช้ ของเก่า

เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสไทรโยค เมื่อปี 2420 บ้านสหกุลพาณิชย์ ซึ่งเป็นบ้านเก่าที่ทหารญี่ปุ่นเคยขอเช่าเป็นที่พักของนายทหารและติดตั้งปืนกลบนดาดฟ้า มีหลุมหลบภัยในห้องใต้ดินภายในตัวบ้านและยังคงสภาพสมบูรณ์ นับเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง ฯลฯ และเมื่อเล่าเรื่องมาถึงยุคปัจจุบันถนนสายนี้ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นย่านที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) ประสูติ และผนวช ณ วัดเทวสังฆาราม

ด้วยเหตุนี้ทางจังหวัดกาญจนบุรี นำโดยนายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือฉายา “ผู้ว่าหัวใจเกษตร” จึงได้ร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทำการพัฒนาส่งเสริมให้ถนนสายปากแพรก ให้เป็นถนนคนเดิน และได้เปิดมา 4 สัปดาห์แล้ว

นอกจากจะได้ชมสถาปัตยกรรมอันงดงามทรงคุณค่าและวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ ยังจะได้ชมการแสดงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง การจัดแสดงภาพเก่าและภาพร่วมสมัยของเมืองกาญจน์ และยังอิ่มอร่อยกับอาหารโบราณ ที่หาไม่ได้ง่ายนักในสมัยนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เน้นมากก็คือสินค้าเกษตร ที่ได้รวบรวมผลผลิตทางด้านการเกษตร ทั้งพืชผัก ผลไม้ ของกินของใช้ รวมทั้งสินค้าเกษตรแปรรูปที่ขึ้นชื่อของจังหวัดมาไว้ที่นี่อย่างครบครัน1457712260

“ผมต้องการให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรนำผลผลิตออกมาขาย “มีของออก มีเงินเข้า” ให้ได้เงินหมุนเวียน ยิ่งช่วงนี้ภัยแล้ง เราต้องส่งเสริมและสนับสนุนกันเต็มที่ ทุกหน่วยจะต้องออกมาช่วยกัน และสินค้าที่นำมาขายทุกอย่างจะต้องไม่แพง เพราะเราไม่เก็บค่าเช่าสถานที่ ทั้งนี้ ต้องการให้ประชาชนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดได้มีแหล่งท่องเที่ยวแบบวิถีไทย และจับจ่ายใช้สอยสินค้า ซึ่งหากทุกคนช่วยกันก็จะทำให้เรารอดพ้นวิกฤตและเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน”

นอกจากถนนคนเดินปากแพรกแล้ว ประชาชนที่มาท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ยังจะได้สัมผัสกับ “ตลาดโต้รุ่งเมืองกาญจน์” ที่ตั้งอยู่ติดกัน ซึ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาทางจังหวัดได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้งด้านสุขาภิบาลอาหาร การสร้างภาพลักษณ์ร้านอาหารแผงลอย การต้อนรับและการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว

ใครที่มีโอกาสไปจังหวัดกาญจนบุรีก็อย่าลืมแวะไปเที่ยวถนนคนเดินปากแพรก ซึ่งจะเปิดทุกวันเสาร์เวลา 16.00-21.00 น. และร้านอาหารโต้รุ่งเมืองกาญจน์ จะเปิดบริการทุกวัน …ไม่ไปไม่รู้ นะครับ

เดือนธันวาคม 2557 เว็บไซต์เกษตรก้าวไกลดอทคอม ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเงียบๆ โดย “ลุงพร สอนอาชีพ” ได้ถือกฤษ์ว่าเดือนนี้เป็นเดือนมหามงคลยังไงก็ตั้งไปก่อน เรื่องอื่นๆค่อยว่ากันทีหลัง

กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ก็ได้กฤษ์เจิมป้ายเกษตรก้าวไกลดอทคอม โดยท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 สมัยในขณะนั้นคือ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ ได้สลักลายเซ็นลงบนป้ายไม้เล็กๆ ในงานมอบทุนการศึกษาบุตรหลานสื่อมวลชนเกษตร ณ ห้องประชุมกรมการข้าว แม้ว่าจะไม่ได้มีพิธีรีตองอะไร แต่ก็ได้ถือกฤษ์ว่าเกษตรก้าวไกลดอทคอมได้เกิดขึ้นอย่างเต็มตัวแล้ว

ข่าวแล้วข่าวเล่า ได้ถูกถ่ายทอดผ่านเว็บไซต์แห่งนี้ บางข่าวมีการแชร์กันเกิน 1,000 ครั้ง มีผู้อ่านหลายหมื่นคน “เราคงจะทำเล่นๆไม่ได้แล้ว” คือมันเหมือนความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง เมื่อมีคนอ่านเราก็ต้องสรรหาข่าวดีๆมาให้อ่าน และเห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคข่าวสารพุ่งมาที่สื่อออนไลน์มากขึ้นและมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบที่เรียกว่าสื่อแบบเดิมปรับตัวแทบไม่ทัน

เมื่อเดือนธันวาคม 2558 จึงตัดสินใจว่า จะต้องปรับปรุงรูปแบบของเว็บไซต์ใหม่ให้สอดรับกับกลุ่มผู้อ่านออนไลน์มากขึ้น “เรายอมนับ 1 ใหม่ เพื่อที่จะนับถึง 10 และทำในสิ่งที่ดีกว่า ยิ่งใหญ่กว่า” และในที่สุดวันที่ 9 เมษายน 2559 (เดือนมหามงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเดือนแห่งปีใหม่ไทย) โฉมใหม่ก็ได้ปรากฏขึ้นดังที่ท่านได้เห็นอยู่ในขณะนี้ เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการดูหรืออ่านบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งต้องยอมรับว่าเวลานี้ ข่าวสารทุกอย่าง กิจกรรมหลายประเภทพบได้อ่านได้บนมือถือ แต่ก็นั่นละรูปแบบเว็บไซต์ของเราก็ไม่ได้ทันสมัยอะไรมากมาย ยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงกันอีก แต่เราก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

เรามีวิสัยทัศน์ (Vision) หรือเป้าหมายว่า “จะพัฒนาให้เป็นเว็บไซต์ข่าวเกษตรที่มีความ หลากหลาย ข้อมูลถูกต้อง ทันสมัย รวดเร็ว ฉับไว ทั้งด้านการผลิต การตลาด การแปรรูป รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเกษตรประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

เป้าหมายของเรา อาจจะยังไม่เห็นจริงในระยะแรกนี้ แต่เรามีความมุ่งมั่นมาก และมั่นใจว่าจะเห็นชัดเห็นจริงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ประวัติผู้ก่อตั้ง…
“ลุงพร สอนอาชีพ” หรือชื่อจริง “พรศักดิ์ พงศาปาน” เติบโตจากครอบครัวเกษตรกร พ่อแม่มีอาชีพทำนา และทำสวนยาง แม้ไม่ได้สานต่ออาชีพของครอบครัว และไม่ได้เรียนต่อสายเกษตร แต่ในหัวใจมีเลือดเกษตรเต็มตัว และเมื่อจบการศึกษานิติศาสตร์ได้ทำงานเป็นสื่อมวลชนรับใช้สังคมด้านข่าวงานและอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพภาคเกษตรที่มีโอกาสสัมผัสกับพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ รวมทั้งอาชีพอิสระในฐานะผู้บริหารศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน ซึ่งเปิดอบรมวิชาชีพด้านเกษตรและอาหารเป็นด้านหลัก และต่อมาได้เป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทยคนแรก (นายกก่อตั้ง) อีกทั้งได้เรียนต่อสาขาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยเกษตรฯ และมีโอกาสทำรายการ “เกษตรก้าวไกล” ผ่านทีวีช่องหนึ่ง ทำให้หัวใจของความเป็นเกษตรพองโตอีกครั้ง ด้วยมีความมุ่งมั่นว่าประเทศไทยจะต้องพัฒนาบนพื้นฐานที่มีอยู่ จะให้เป็นอื่นที่ไม่ใช่เราคงไม่ได้ … “เกษตร คือ ประเทศไทย” และ “เกษตรกรต้องก้าวไกล เกษตรไทยต้องเป็นที่ 1”…คือคำประกาศที่กึกก้องอยู่ในหัวใจเสมอมา

นอกจาก ลุงพร-พรศักดิ์ พงศาปาน ที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งแล้ว กลไกสำคัญคือ คุณศุภชัย นิลวานิช ที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำและรับบทเป็นผู้จัดการเว็บไซต์ รวมทั้งคุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ คุณโชติพัฒน์ พงศาปาน ที่แอบลุ้นอยู่ข้างหลัง คุณพิพัฒน์ นวสวัสดิ์ ที่รับอาสาในเรื่องการจดโดเมนเนมและดูแลให้ อีกทั้งคุณจูนและน้องๆจากเครือมติชนที่ช่วยกันออกแบบเว็บไซต์ในครั้งแรก และที่จะขาดไม่ได้คือเพื่อนพ้องน้องพี่จากสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย นำโดยคุณดลมนัส กาเจ นายกสมาคมคนปัจจุบัน คุณปัญญา เจริญวงศ์ คุณถวิล สุวรรณมณี และคุณสาโรช บุญแสง นายกสมาคมก่อนหน้า รวมทั้งป๋าสุราษฎร์ ทองมาก ประธานชมรม (ก่อนที่จะเป็นสมาคม) อาจารย์ชัยวัฒน์ ศีตะจิตต์ อาจารย์ประเวศ แสงเพชร คุณเกียรติพันธ์ จันทราปัตย์ และอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม

เกษตรกรก้าวไกลดอทคอมโฉมใหม่นี้ มีทีมงานน้องๆจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดูแลระบบทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน…จึงขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และเราจะเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อเกษตรประเทศไทยครับ

ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2504 มาถึงวันนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงปลายแผนที่ 11 ผลการพัฒนาตามแผนปรากฎว่าทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้นและคนจนยิ่งจนลง สังคมมีความเหลื่อมล้ำสูง

คนที่อยู่ในกลุ่มคนจนส่วนใหญ่ได้แก่ เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน) ผู้ใช้แรงงาน และผู้หาเช้ากินค่ำ

คนที่มีฐานะอย่างไรจึงเรียกว่า “คนจน” สหประชาชาติกำหนดว่าคนที่มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 2 ดอลล่าร์ถือว่าเป็นคนยากจน ซึ่งไม่สอดคล้องกับคนจำนวนมากในโลกนี้ที่ยากจน

จากประสบการณ์ผมเห็นว่าคนที่ยากจนคือ “คนที่มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกู้หนี้สะสมอย่างต่อเนื่อง”

ปัจจุบันมีเกษตรกรทั้งหมดประมาณเกือบ 7 ล้านครัวเรือนประกอบด้วย ชาวนา 3.7 ล้านครัวเรือน ชาวสวนยาง 1.6 ล้านครัวเรือน ชาวไร่มันสำปะหลัง 0.5 ล้านครัวเรือน ชาวไร่ข้าวโพด 0.4 ล้านครัวเรือน ชาวไร่อ้อย 0.3 ล้านครัวเรือน ชาวสวนปาล์มน้ำมัน 0.1 ล้านครัวเรือน ที่เหลือเป็นชาวสวนอื่นๆ คิดเป็นประชากรที่ทำเกษตรกรรมทั้งหมดประมาณ 28 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 43 ของประชากรทั้งประเทศ

“เราอยู่ตรงนี้มานานแล้ว…เมื่อไรเราจะหายจน มีบ้านหลังใหญ่เสียที” ไม่ทราบว่าจะมีใครได้ยินบ้างไหม?
“เราอยู่ตรงนี้มานานแล้ว…เมื่อไรเราจะหายจน มีบ้านหลังใหญ่เสียที” ไม่ทราบว่าจะมีใครได้ยินบ้างไหม?
การที่ชาวนาส่วนใหญ่ยากจนมาจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ

1.ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ประเทศไทยมีที่นาทั้งหมดประมาณ 71 ล้านไร่ เป็นที่นาลุ่มประมาณ 44 ล้านไร่ เป็นที่นาดอน ประมาณ 27 ล้านไร่ ผลิตข้าวได้ทั้งนาปีและนาปรังประมาณ 38 ล้านเกวียน ผลิตข้าวได้เฉลี่ยทั้ง 71 ล้านไร่ เฉลี่ยไร่ละ 450 กิโลกรัม ในขณะที่เวียตนามผลิตข้าวได้เฉลี่ยไร่ละ 900 กิโลกรัม อินโดนีเซียผลิตข้าวได้เฉลี่ยไร่ละ 700 กโลกรัมเศษ ส่วนฟิลิปปินส์ผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 600 กิโลกรัมเศษ ของไทยผลิตได้เฉลี่ยใกล้เคียงกับพม่าและเขมร

2.ต้นทุนการผลิตสูง ปัจจุบันชาวนาไทยมีค่าใช้จ่ายในการทำนาสูงมาก ได้แก่ค่าเช่านา(บางส่วนยังต้องเช่านาทำ) ค่าไถที่นาและเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว ค่าจ้างดำนาหรือหว่านข้าว ค่าปุ๋ยและค่าจ้างใส่ปุ๋ย ค่ากำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูข้าว ค่าสูบน้ำเข้านา ค่าเก็บเกี่ยวข้าวและค่านวดข้าว รวมทั้งค่าขนส่งข้าวไปขาย ในกรณีที่ต้องจ้างทั้งหมดจะยิ่งทำให้ต้นทุนสูงมาก

3.ขายข้าวได้ราคาต่ำกว่าต้นทุน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของชาวนาสูงมากแต่ราคาขายที่ขายตามราคาตลาดโลกหักด้วยกำไรของพ่อค้าคนกลางและค่าใช้จ่ายในการซื้อขายของพ่อค้าคนกลางทั้งหมด ราคาที่ถึงมือชาวนาจึงต่ำกว่าต้นทุนของชาวนา ผลก็คือชาวนาต้องขายข้าวขาดทุนทุกฤดู ถ้าเป็นคนมีความรู้ทั่วไปคงทนขาดทุนได้ไม่เกิน 2-3 ครั้งก็คงถอดใจเลิกทำนา แต่สำหรับชาวนาไทยถึงแม้จะขาดทุนทุกฤดูก็ยังคงทำนาอยู่เพราะไม่รู้จะไปทำอะไร? ในอนาคตถ้าชาวนามีความรู้และมีทางเลือกอื่นคงไม่มีใครเลือกขาดทุนซ้ำซากอยู่ทุกปีแบบนี้

ถ้าชาวนาทำนาขายข้าวขาดทุนอยู่ทุกปีแล้วมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? คำตอบก็คือ “มีชีวิตอยู่ด้วยการกู้หนี้” วันนี้ชาวนามีหนี้สะสมที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆประมาณครัวเรือนละสองแสนกว่าบาท และไม่มีทีท่าว่าจะมีวันที่ใช้หนี้หมด

ดังนั้นชาวนาไทยส่วนใหญ่จึงจะอยู่ในกลุ่มคนยากจนตลอดไป รัฐบาลทุกรัฐบาลพยายามจะยกย่องว่า “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” นอกจากจะเป็นกระดูกสันหลังที่ผุแล้ว ยังเป็นกระดูกสันหลังที่ไม่มีอนาคตอีกด้วย

“ด้วยเหตุนี้ชาวนาที่ยากจนจึงตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองที่ฉ้อฉลตลอดมา” มันเป็นเช่นนี้จริงๆ

นโยบายของรัฐบาลที่ขอให้ชาวนารับสภาพความเป็นจริงที่ต้องขายข้าวตามราคาตลาดโลก หรือนโยบายของสภาหอการค้าที่เสนอให้ราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด โดยรัฐบาลไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง แท้จริงก็คือ “นโยบายที่กดให้ชาวนาจมปลักอยู่กับความยากจนตลอดไป” นั่นเอง ไม่มีทางช่วยให้ชาวนาพ้นจากความยากจนได้ เพราะการขายขาดทุนทุกฤดูคือโซ่ตรวนที่ทำให้ต้องยากจนตลอดไป

แนวทางที่รัฐบาลเสนอมาเพื่อช่วยเหลือชาวนานั้นล้วนเป็นแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในอดีตว่า “ล้มเหลว” โดยสิ้นเชิงมาโดยตลอด รัฐบาลควรจะทบทวนให้ชัดเจนว่าในรอบ 50 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำอะไรหรือใช้มาตรการอะไรไปบ้างได้ผลแค่ไหน ทำไมชาวนาจำนวนมากจึงยากจนอยู่ แสดงว่าทุกอย่างที่ทำไปนั้นได้ผลน้อย หรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาส่วนใหญ่ได้

มาตรการหรือสิ่งที่เคยทำมาแล้วถึง 50 ปีถ้าไม่ได้ผลก็ไม่ควรทำซ้ำซากต่อไป เพราะจะเป็นการสูญเสียทั้งเวลาและทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์

คำถามที่ต้องหาคำตอบให้ได้คือ มาตรการต่างๆที่รัฐบาลดูแลชาวนามา 50 ปีทำไมชาวนาจึงยังไม่มีความรู้ในเรื่องการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิต? ทำไมชาวนาจึงยังปลูกข้าวด้วยต้นทุนที่สูงและผลผลิตต่ำ? ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ก็แก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาไม่ได้

แนวทางในการแก้ไขความยากจนของชาวนาไม่ต้องการความคิดที่วิเศษวิโสอะไร เป็นความคิดพื้นๆแต่ต้องทำให้เป็นจริงให้ได้นั่นคือ

1.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ ความสามารถในการเพิ่มผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ ความสามารถในการลดต้นทุนการผลิต

3.ต้องทำให้ชาวนามีความรู้ในการเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลตอบแทนสูง

4.ต้องทำให้ชาวนาขายข้าวได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม ไม่ใช่ขายข้าวขาดทุนทุกปี ถ้าอาชีพทำนาต้องขายข้าวขาดทุนทุกปี เมื่อไหร่ที่ชาวนามีความรู้และมีทางเลือกอื่นชาวนาก็จะเลิกทำนา ไม่มีคนที่มีความรู้ที่ไหนจะเลือกอาชีพที่ต้องขาดทุนทุกปีหรอกครับ ถามตัวท่านเองก็ได้ถ้าท่านทำเองและต้องขาดทุนทุกปีท่านจะยังคงทำอยู่ต่อไปไหม?

แนวทางดังกล่าวถ้ารัฐบาลทำให้เป็นจริงได้ก็จะแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาได้ และแนวทางดังกล่าวมีหลายประเทศที่ทำสำเร็จและชาวนาของเขาเลิกจน

ชาวนาที่ยากจนเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอของสังคม ไม่มีประเทศไหนแก้ไขความยากจนของชาวนาได้โดยให้ชาวนาช่วยตัวเองแบบต่างคนต่างอยู่แบบที่รัฐบาลไทยทำมาโดยตลอด ความจริงเรื่องนี้รัฐบาลก็รู้ถึงกับจัดตั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์มาดูแล เพื่อให้ชาวนารวมตัวกันเป็นสหกรณ์จะได้มีความเข้มแข็ง ซึ่งสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งมากและทำให้เกษตรกรญี่ปุ่นเลิกยากจน แล้วทำไมสหกรณ์การเกษตรของไทยส่วนใหญ่จึงไม่ประสบความสำเร็จ

การแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวนาให้ประสบความสำเร็จต้องจัดตั้งองค์กรชาวนาให้เข้มแข็งให้ประสบความสำเร็จ ให้ชาวนาเรียนรู้ร่วมกันพัฒนาร่วมกันให้เป็นชาวนามืออาชีพในที่สุด

“ชาวนามืออาชีพหมายถึงชาวนาที่มีความรู้ในการเพิ่มผลผลิต มีความรู้ในการลดต้นทุนการผลิต มีความรู้ในการเลือกปลูกพันธ์ข้าวที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีความรู้ที่จะขายผลผลิตให้คุ้มค่า”

องค์กรชาวนาจะต้องจัดทำระบบข้อมูลการผลิตที่เที่ยงตรง ทั้งเรื่องสมาชิกขององค์กร พื้นที่ทำนา หนี้สิน พันธ์ที่ใช้ปลูก ชนิดปุ๋ยที่เลือกใช้ ยากำจัดศัตรูข้าว ช่วงเวลาที่จะเก็บเกี่ยวข้าว ปริมาณข้าวที่ผลิตได้และต้นทุนการผลิต

มีองค์กรชาวนาระดับชาติที่จะรวบรวมข้อมูลการผลิตของชาวนาทั้งประเทศเพื่อใช้ในการจัดการของชาวนาและของรัฐบาล โดยเฉพาะการจัดการเรื่องราคาข้าว เพื่อให้ชาวนามีผลตอบแทนที่คุ้มค่า ไม่ใช่ปล่อยให้ชาวนาขาดทุน

นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ชาวนาที่ทำนาในที่ดอนที่มีผลผลิตต่ำเปลี่ยนไปผลิตอย่างอื่นที่มีผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า เรื่องนี้ถึงแม้ทำยากแต่ก็ทำได้ มาตรการนี้จะลดปัญหาข้าวล้นตลาด ทำให้การดูแลเรื่องราคาข้าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน คำถามก็คือรัฐบาลไหนจะทำให้เป็นจริง??? ผ่านศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร มาหลายครั้งแล้ว เพิ่งจะครั้งนี้เองที่ได้มีโอกาสแวะ …โชคดีจริงๆ ที่วันนี้มาถึงก็ได้พบกับคุณเกริกชัย ธนรักษ์ ผู้อำนวยการคนใหม่ที่เพิ่งย้ายมาจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี

ทราบว่ามีงานวิจัยพืชสวนที่ให้การรับรองพันธุ์พร้อมแนะนำแก่เกษตรกร 4 ชนิดพืชด้วยกัน คือ กาแฟโรบัสต้า โกโก้ มะพร้าว ซึ่งมีทั้งมะพร้าวคั้นกะทิ มะพร้าวกะทิ และล่าสุดก็คือมะพร้าวน้ำหอม

เรื่องของมะพร้าวกำลังได้รับความสนใจ เพราะว่าปีนี้แล้งจัด ทำให้ผลผลิตมะพร้าวมีน้อย ฉุดให้ราคาพุ่งสูง จึงขอนำข้อมูลเรื่องมะพร้าวมาฉายซ้ำอีกครั้ง (เรื่องพันธุ์กาแฟ โกโก้ จะได้นำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป…วันนี้ขอนำภาพมาให้ดูก่อน)

วิจัยโกโ้พันธ์ุต้นเตี้ย
ปลูกโกโก้ในสวนมะพร้าว…สังเกตดูมีต้นเตี้ยสลับกับต้นสูง พันธุ์ต้นเตี้ย เป็นงานวิจัยล่าสุด
กาแฟทำสาว ต้นเตี้ย
งานวิจัยกาแฟโรบัสต้า…ในภาพนี้เป็นกาแฟที่ทำสาวแล้ว (ทำให้ต้นเตี้ย)
ผอ.เกริกชัย เล่าให้ฟังว่าที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ ได้รวบรวมพันธุ์มะพร้าวไว้เป็นจำนวนมาก เรียกว่าเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์มะพร้าวก็ว่าได้ มีทั้งพันธุ์ต้นสูงแบบดั้งเดิมที่เป็นมะพร้าวแกงหรือมะพร้าวคั้นกะทิ และโดยเฉพาะพันธุ์ต้นเตี้ย มีถึง 10 พันธุ์ เป็นพันธุ์พื้นเมือง 6 พันธุ์ และพันธุ์ต่างประเทศ 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์มะพร้าวนํ้าหอม ปะทิวสีเขียวต้นเตี้ย ทุ่งเคล็ดสีเขียวต้นเตี้ย นกคุ่มสีเขียวต้นเตี้ย ไทยสีเหลืองต้นเตี้ย ไทยสีแดงต้นเตี้ย มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย มลายูสีแดงต้นเตี้ย คาเมรูนสีแดงต้นเตี้ย และนิวกินีสีนํ้าตาลต้นเตี้ย

“การรวบรวมพันธุ์มะพร้าวเพื่อที่จะนำมาวิจัยพัฒนาให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาถือว่างานวิจัยของเราประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาเป็นพันธุ์แนะนำแก่เกษตรกรให้ปลูกเชิงเศรษฐกิจได้” ผอ.เกริกชัย กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

โดยที่ผ่านมาศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรได้ออกพันธุ์มะพร้าวที่เป็นพันธุ์รับรองจำนวน 3 พันธุ์ และมะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์แนะนำ จำนวน 2 พันธุ์ ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น ดังนี้

มะพร้าวลูกผสมพันธุ์รับรอง

พันธุ์สวีลูกผสม 1 เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (MYD x WAT) ลักษณะเด่นของมะพร้าวพันธุ์นี้คือมีอายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ผลผลิตเฉลี่ย 2,781 ผล/ไร่/ปี หรือคิดเป็นน้ำหนักแห้ง 572 กก./ไร่/ปี จากจำนวนมะพร้าว 22 ต้น/ไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 68 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวมาก

พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 เป็นมะพร้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x ไทยต้นสูง สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก ขนาดผลมีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,557 ผล/ไร่/ปี หรือคิดเป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถึง 539 กก./ไร่/ปี เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 64-67 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขนาดผลของมะพร้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างโตกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและในรูปมะพร้าวแห้งส่งโรงงานสกัดน้ำมัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า กล่าวคือ พันธุ์ไทยให้ผลผลิตเพียง 1,084 ผลต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 374 กก./ไร่/ปี และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 59-60 เปอร์เซ็นต์

3.พันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x พันธุ์ไทยต้นสูง ผลขนาดกลางถึงใหญ่ ทำให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งรูปผลสดและแปรรูปในอุตสาหกรรมน้ำมัน ลักษณะเด่นคือ ให้ผลเร็ว เริ่มเก็บได้เมื่ออายุ 4 ปีครึ่ง ผลขนาดกลางถึงใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 66% ผลผลิตมะพร้าวแห้ง 500 กก./ไร่/ปี เนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 261 กรัม/ผล

ในการมาเยือนของผู้เขียนครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่ได้นัดหมาย แต่ทางเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ก็ให้การต้อนรับที่ดี บอกว่าถ้าไม่รีบกลับจะให้พูดคุยกับนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เสียดายมีเวลาจำกัด แต่ก็ได้ผู้ช่วยนักวิจัยพาไปตระเวนดูมะพร้าวที่ปลูกไว้และอธิบายข้อมูลเบื้องต้น ก็พอทำให้มองเห็นว่ามะพร้าวยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตามองด้วยคุณประโยชน์ที่มากมายนั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวงานวิจัยพันธุ์มะพร้าว ดูได้ที่ http://www.doa.go.th/hrc/chumphon/
ติดต่อศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อ.สวี จ.ชุมพร โทร. 077 556073 หรือ อีเมล์ : chump1@doa.in.th
ส่วนข้อมูลเฉพาะเรื่องมะพร้าวน้ำหอมชุมพร อ่านที่ http://www.kasetkaoklai.com/home/เปิดตำราปลูกมะพร้าวน้ำ/ ส่วนผู้ที่สนใจต้องการเข้าสัมมนา “มะพร้าวน้ำหอม โอกาสทองของเกษตรกร จริงหรือ?” จะจัดขึ้นวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ติอต่อ โทร. 081 3090599

ขอบคุณผู้ที่พาไปเยี่ยมชมแปลงปลูก : รองผู้อำนวยการ “กองงาน หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” กล่าวว่า กองงาน หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ที่ทรงห่วงใยประชาชน ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยมีพระดำริให้มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่เกษตรกร เพื่อเกิดรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน