MACHINERY

KUBOTA iGEN พาเยาวชน สร้างสรรค์ไอเดีย ออกแบบโมเดลธุรกิจ ว่าที่ Smart Farmer รุ่นใหม่ ก่อนที่จะรู้ว่า เครื่องจักรกลการเกษตร มีอะไรบ้าง ก็ต้องรู้ก่อนว่า เครื่องจักรกลการเกษตร คืออะไร

เครื่องจักรกลการเกษตร คือเครื่องทุ่นแรงและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำเกษตรให้มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น แถมยังประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานพร้อมทั้งยังเพิ่มผลผลิตที่ดีมากขึ้น เพราะเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นตัวช่วยสร้างมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรและทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในบริษัทออกแบบและผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรม ก็มีเครื่องจักรที่เหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร และมีหลากหลายเครื่องให้คุณเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม

ยิ่งถ้าเราเป็นเกษตรกรรายใหญ่ที่มี ธุรกิจขนาดใหญ่ แล้วคงจะเป็นไม่ได้ที่จะปฏิเสธการเลือกใช้เครื่องจักรแทนการใช้เเรงงานคน เครื่องจักรกลการเกษตรนั้นช่วยลดความยากลำบากในการทำงาน หรือลดการออกแรงให้น้อยลง ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้นานขึ้น มีผลงานมากขึ้น และได้ผลิตผลสูงขึ้นด้วย ซึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรก็มีหลายประเภทที่เราทุกคนต่างคุ้นเคยกันดีอย่างเช่น

1. เครื่องจักรกลที่ใช้เตรียมดิน ได้แก่ ไถหัวหมู ควายเหล็ก รถแทรกเตอร์ ไถจาน รถไถเดินตามแบบ 2 ล้อ
2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการปลูกพืช ได้แก่ เครื่องปลูกแบบล้อเอียง เครื่องกำจัดวัชพืชและถากหญ้า เครื่องหว่าน เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นสารเคมี เครื่องปลูก
3. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการดูแลและอารักพืช
4. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวและการนวด
5. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการลดความชื้นเมล็ดพืช

ทว่า โรงงานผลิตเครื่องจักรทางการเกษตร นั้นมีมากมายหลายโรงงานที่มีเครื่องจักรไว้ใช้สำหรับเกษตรรายใหญ่และแม้แต่เกษตรรายเล็กก็ยังสามารถใช้งานได้ มาถึงขั้นซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่เป็นงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงเพราะงานซ่อมบำรุง จะช่วยยืดอายุการใช้งาน ความมั่นใจ และประสิทธิภาพในเครื่องจักร

การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรจะทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. เครื่องมือทุ่นแรงทำงานได้รวดเร็ว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานคน
2. เกษตรกรสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น
3. เครื่องทุ่นแรงช่วยให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ของการเพาะปลูกได้อย่างประณีต
4. ลดการสูญเสียผลิตผลในช่วงการเก็บเกี่ยวและนวด
5. การลดความเหนื่อยยากลำบากของเกษตรกร ในการประกอบเกษตรกรรม
6. ทุ่นเวลา การใช้เครื่องมือจะทำงานได้รวดเร็วและทุ่นเวลา
7. ทำงานได้มากและรวดเร็ว จึงสามารถขยายกิจการของฟาร์มให้ใหญ่ขึ้นได้
8. ลดค่าใช้จ่าย
9. ใช้แทนอวัยวะของคน เช่นเครื่องพ่นยาแบบต่างๆ ระหัดวิดน้ำด้วยแรงลม เครื่องกระเทาะเมล็ด เป็นต้น

และนี้คือประโยชน์ทั้ง 9 ข้อของเครื่องจักรกลการเกษตร ดังที่กล่าวมาข้างต้นประโยชน์ของเครื่องจักรกลการเกษตรจะสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อทุกท่านได้พิจารณาถึงความเหมาะสมของเครื่องจักรกับธุรกิจของคุณเเล้ว ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร และการสนับสนุนระบบการผลิตทางการเกษตรอุตสาหกรรม หรือนำมาทำอะไรเพียงเท่านี้ก็จะสามารถนำเครื่องจักรกลการเกษตร มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นมีบทบาทที่สำคัญมากในประเทศไทย ดังนั้นผู้ประกอบการทุกท่านควรที่จะเริ่มมองหา เครื่องจักรกลการเกษตร ดีๆ สักเครื่องมาช่วยเพิ่มกำลังการผลิตของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรที่สมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดและตัวเครื่องได้มารตฐานระดับประเทศไทย

ก็ไม่ควรมองข้าม พราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมัคร SBOBET เราอยู่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการทุกท่านเป็นอย่างดี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนลูกค้าธุรกิจทั่วทุกภาคและเป็นปรึกษาที่ดีให้กับคู่ค้าและลูกค้าในแวดวงเกษตรและอุตสาหกรรมและรวมถึงโซลูชั่นพลังงานทดแทนตลอดมา ดีไซน์ จำกัด เรามีทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์พร้อมให้การช่วยเหลือในทุกๆอย่างก้าวของคุณเพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่งคง

สยามคูโบต้า จัดกิจกรรม KUBOTA iGEN แคมป์เกษตรดิจิทัลสำหรับลูกหลานครอบครัวสยามคูโบต้า พาลงพื้นที่ คูโบต้าฟาร์ม สัมผัสประสบการณ์จริง พร้อมเปิดโลกการเรียนรู้การทำธุรกิจการเกษตรผ่านเครื่องมือ ออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ยังเปิดเวทีให้น้องๆ นำเสนอแผนธุรกิจ เตรียมพร้อมสานต่อธุรกิจการเกษตรและก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “KUBOTA iGEN แคมป์เกษตรดิจิทัล เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับลูกหลานครอบครัวสยามคูโบต้า โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนเกษตรกรวัยไอเจนที่มีศักยภาพในการเป็นเกษตรกรยุคใหม่ ให้เรียนรู้และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดการทำเกษตรกรรมจากครอบครัวได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกหลานเกษตรกรในการทำการเกษตรและเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาการทำการเกษตรในชุมชนของตนเอง”

สำหรับ KUBOTA iGEN ปี 2 นี้ จะเป็นการพาน้องๆ 30 คน ไปพบกับแคมป์เกษตรสุดล้ำและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอด 4 วัน 3 คืน โดยจะได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์การทำเกษตรสมัยใหม่ทั้งในแง่ทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ณ คูโบต้าฟาร์ม ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน และเปิดโลกการเรียนรู้การทำธุรกิจการเกษตรผ่านเครื่องมือออนไลน์และโซเชียลมีเดีย พร้อมพบแขกรับเชิญพิเศษที่มาบอกเล่าวิธีสร้างการขายผ่านแพลตฟอร์ม TIK TOK และผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการเกษตร ได้แก่ คุณตี๋โอ วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน Online Content Creator และเจ้าของเพจ “อาตี๋รีวิว” คุณโอม อัครเดช ม่วงไม้ เจ้าของและผู้ก่อตั้งธรรมดาการ์เด้น และ คุณแนน วราภรณ์ มงคลแพทย์ ทายาทกิจการบ้านหมากม่วง อีกทั้งยังมีการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจการเกษตร เช่น เรื่องการเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตรและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ การใช้ระบบเช่าเครื่องจักรกลการเกษตรบนดิจิทัลแพลตฟอร์มจับคู่ผู้ให้บริการสำหรับเกษตรกรรายย่อย การสร้างรายได้เพิ่มจากเครื่องจักรกลการเกษตร และการปลูกพืชที่สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ จับกลุ่มลองเขียนแผนธุรกิจจากการนำองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนรู้ตลอด 4 วัน โดยแผนจะต้องประกอบไปด้วย 4 แนวคิดหลัก ได้แก่ Agri Business : แนวคิดการเป็นเจ้าของกิจการ, Smart Farm : แนวคิดการจัดการพื้นที่ทางเกษตรกรรมโดยใช้เทคโนโลยี, Innovation : การฝึกฝนใช้นวัตกรรมทางความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานนวัตกรรมทางเครื่องมือ และSocial Media : การตลาดและการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย แล้วนำเสนอให้แก่ผู้บริหารจากสยามคูโบต้าพร้อมรับฟังคำแนะนำ ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ทั้งในเรื่องการสร้างคอนเนคชั่น การทำงานเป็นทีม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งในระยะเวลาที่ร่วมกิจกรรมและหลังจบกิจกรรม โดยเราเล็งเห็นว่าทุกอย่างที่น้องจะได้รับในกิจกรรมจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตต่อไป

ด้าน นายสิริโชค ใสโว นักศึกษาปวช. ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น เยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าถึงแผนธุรกิจที่ได้ออกแบบว่า“ผมออกแบบฟาร์มผลไม้ที่สามารถให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมจากการไปเก็บผลผลิตเอง โดยมีนวัตกรรมเครื่องวัดความหวาน ความเปรี้ยว ความสุกของผลไม้ ที่ไม่ทำร้ายเนื้อของผลไม้ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกรสชาติไม่ว่าใครจะชอบรสชาติไหน นอกจากนี้ตระกร้าที่ไว้เก็บผลไม้เป็นการรับซื้อมาจากชุมชนรอบข้างเพื่อเป็นการสนับสนุนรายได้ให้แก่ชุมชน ที่บ้านผมมีปลูกไม้ผลอยู่แล้ว ผมมองว่าถ้าสานต่อเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวคาเฟ่พืชสวนน่าจะดี ยิ่งคนมาเยอะเราก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนรอบข้างด้วย และมองเห็นการสร้างมูลค่าจากผลผลิตโดยการนำนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้”

และ นางสาวจิตราภรณ์ โดยอาษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม เยาวชนผู้ร่วมในกิจกรรมเล่าว่า “น้องในกลุ่มที่ทำฟาร์มแตงโมมีปัญหาผลผลิตเสียหายถึงร้อยละ10 เกิดจากปัญหาศัตรูพืช และคนในชุมชนส่วนใหญ่ยังทำการเกษตรแบบใช้สารเคมีค่อนข้างมาก กลุ่มเลยช่วยกันออกแบบแผนธุรกิจเป็นฟาร์มแตงโมที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ อยากให้คนในชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีในการเกษตรเพราะในอนาคตเราก็เข้าสู่ยุคดิจิทัลและการเรียนรู้การทำเกษตรที่ถูกต้อง ปลอดภัย และคุ้มทุน ภายในฟาร์มมีนวัตกรรมการใช้เครื่องดักจับและจำแนกชนิดแมลง โดยใช้สารฟีโรโมน ทำให้วางแผนจัดการแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม รวมถึงมีการใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะควบคุมการเพาะปลูก ควบคุมความชื้น และสภาพอากาศ เช่น หากความชื้นต่ำระบบจะสั่งการรดน้ำหรือการให้ปุ๋ยเป็นเวลา ทำให้ช่วยลดแรงงาน ลดระยะเวลาในการทำงานมากขึ้น และในส่วนของผลผลิตเราก็จะนำไปแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่มสกัดหรือผลไม้อบแห้ง ขายผ่านพวกแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น”

“ผมมองว่าอาชีพเกษตรกรไม่ได้เป็นอาชีพที่ด้อยกว่าอาชีพอื่นเลย ผมคิดว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่ช่วยพัฒนาประเทศและพัฒนาโลกเลยด้วยซ้ำ แต่แค่ที่ทำมาเราอาจจะไม่รู้การทำอย่างถูกวิธี มันเลยได้ผลไม่เป็นไปตามที่หวัง ปัจจุบันมีนวัตกรรมมากมายที่เข้ามาช่วยการทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พอผมได้มาค่ายนี้ผมได้เห็นภาพชัดขึ้น มองเห็นโอกาสในการทำเกษตรและได้ออกแบบแผนธุรกิจการเกษตรโดยวางแผนทำเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวเป็นฟาร์มผสมผสาน ออกแบบพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการใช้นวัตกรรมรถปลูกผักทดแทนแรงงาน โดยพืชหลักในฟาร์มคือพวกพืชสมุนไพรและพืชกระท่อม เนื่องจากมองเห็นแนวโน้มการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในไทยตอนนี้เติบโตสูงขึ้น และอาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้ในอนาคต รวมถึงพึ่งปลดล็อกมาได้ไม่นาน มีสรรพคุณดีๆ หลายอย่าง โดยวางแผนทำการตลาดไปสู่กลุ่มคนรักสุขภาพและประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมอย่างถูกวิธี” นายธนภูมิ ธีระเดชพิทักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อีกหนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมกล่าว

“ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดและศักยภาพอนาคตของเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตามสยามคูโบต้าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนรุ่นใหม่โดยเฉพาะลูกหลานครอบครัวสยามคูโบต้าที่ต้องการสานต่ออาชีพเกษตรกรและต่อยอดการเป็น Smart Farmer และเชื่อว่าเยาวชนเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนและฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยต่อไปในอนาคต” นายพิษณุ กล่าวสรุป

กรมวิชาการเกษตร วิจัยพบสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีผสมกับสีฝุ่น พิฆาตโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนได้ผลเกินคาด หลังนักวิจัยใช้เวลา 3 ปีลุยทดสอบเทคโนโลยีในพื้นที่ปลูกทุเรียน 3 จังหวัดภาคใต้ ต้นทุนเห็ดเรืองแสงเพียง 500 บาท/ไร่/ปี ใช้สารเคมี 1,800 บาท/ไร่/ปี เตรียมขยายผลเทคโนโลยีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรทุกพื้นที่ปีหน้า

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนสาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า Phytopthora palmivora เป็นโรคที่สำคัญที่สุดของทุเรียนเนื่องจากทำให้ต้นทุเรียนที่กำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตแล้วยืนต้นตายได้ โดยเชื้อราสาเหตุสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกส่วนทำความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอย่างมาก ซึ่งการป้องกันกำจัดทำได้ยากแม้จะป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี การระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่าก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้เกษตรกรใช้สารเคมีกันมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้สารเคมีในอัตราที่สูงขึ้น ส่งผลให้เชื้อราไฟทอปธอร่า มีการพัฒนาและดื้อยา

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยหาวิธีการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าโดยชีววิธี เพื่อลดการใช้สารเคมี โดยนำสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีผสมกับสีฝุ่น (iron oxide) นำไปทาเพียงครั้งเดียวบนแผลที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่าพบว่าสามารถควบคุมโรคได้ประมาณ 1 ปีโดยที่แผลยังแห้ง ไม่มีน้ำเยิ้ม และเชื้อไม่ขยายลุกลาม ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่เกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบันคือใช้สารเคมีเมทาแลกซิล 25% WP ที่ต้องทาซ้ำทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง ซึ่งคณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยีการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าสาเหตุจากเชื้อไฟทอปธอร่าในทุเรียนในเขตพื้นที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อ.กะปง จ.พังงา อ.ธารโต และ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ผลปรากฏว่าวิธีการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อไฟทอปธอร่าในทุเรียน เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการและเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังผลงานวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีเสร็จสิ้นในปี 2565 กรมวิชาการเกษตรมีแผนที่จะดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนและเน่าในทุเรียนในปี 2566 ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร ซึ่งการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนมีต้นทุน 500 บาท/ไร่/ปี ในขณะที่การใช้สารเคมีควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าในทุเรียนต้นทุนเฉลี่ย 1,800 บาท/ไร่/ปี โดยเทคโนโลยีเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีมีรูปแบบการผลิตขยายและวิธีการใช้ที่ง่าย เกษตรกรสามารถผลิตขยายชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีเพื่อใช้เองได้ ส่งผลให้มีระบบการผลิตพืชที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีระบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการให้เกษตรกรลด ละ เลิกการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสั่งการให้กรมวิชาการเกษตรถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและขยายให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ให้มากขึ้น

อีซี่ เทค ฟาร์ม เป็นฟาร์มเลี้ยงหมูขุน ตั้งอยู่เลขที่ 331 บ้านนาแกเหนือ หมู่ที่ 10 ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมี ผศ.ดร. อภิชาติ อาจนาเสียว อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าของ คืออีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ธนาคารที่มีวิสัยทัศน์การดำเนินงานอย่างเด่นชัดว่า เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งให้การสนับสนุนเติมทุนให้เกษตรกรด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำทุกรูปแบบ เพื่อนำเกษตรกรไปสู่ความสำเร็จ อย่างยั่งยืนภายใต้หลัก BCG สร้างเมืองไทยเป็นศูนย์กลางผลิตอาหารปลอดภัยของโลก

ความโดดเด่นของ อีซี่ เทค ฟาร์ม อยู่ที่การเลี้ยงหมูแบบครบวงจร กำหนดแผนดำเนินงานอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการตลาด เสริมความแข็งแกร่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงด้วยการใช้โรงเรือนอัจฉริยะในรูปแบบของโรงเรือนเปิดที่เกิดขึ้น จากการคิดค้นพัฒนาของ ดร. อภิชาติ ส่งผลให้การเลี้ยงสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จ สร้างรายรายจากการเลี้ยงหมูขุนใน 1 รอบ หรือในระยะเวลา 5 เดือน ให้มีกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณ 300,000-500,000 บาท

ในโครงการ New gen hug บ้านเกิด ในปี 2563 อันเป็นโครงการที่ค้นหาและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้สามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของ ธ.ก.ส. ดร.อภิชาติ ได้นำรูปแบบการเลี้ยงหมูขุนส่งเข้าร่วมการประกวด ภายใต้ชื่อ ทีมเรื่องหมูหมู และได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัล ชมเชย BAAC The Idol ประเภททีมด้านเกษตรเทคโนโลยี

หมู ยังราคาดีต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 ปี

ก้าวการพัฒนาของอีซี่ เทค ฟาร์ม ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนด้านสินเชื่อโดย ธ.ก.ส. จากการตั้งฟาร์มครั้งแรก เมื่อปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยมีจำนวนหมูขุนเพิ่มขึ้น จาก 200 ตัว เป็น 1,000 ตัว มีโรงเรือนเลี้ยงหมูทั้งหมด 5 โรงเรือน ๆ ละ 200 ตัว แยกพื้นที่กัน โดยโรงเรือนเป็นรูปแบบที่คิดค้นพัฒนาขึ้นเอง ในรูปแบบคอกปิดที่ใช้ระบบจัดการอัตโนมัติที่ง่ายและราคาถูก ซึ่งข้อมูลสามารถส่งขึ้น Cloud ได้ สามารถติดตามข้อมูลได้จากทั่วโลก ผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์ พร้อมกันนี้ยังมีการเสริมรายได้ด้วยการเลี้ยงแกะ แพะ วัว หรือกระบือ

ทั้งนี้ ดร.อภิชาติ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงหมูขุนในปัจจุบันและอนาคตว่า

“จากสถานการณโรคระบาด ASF หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในปีที่แล้ว ส่งผลทำให้หมูในประเทศได้รับความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ประเมินว่ามีหมูเหลืออยู่ในระบบเพียง 30-40% เท่านั้น ส่งผลให้ราคาหมูหน้าฟาร์มในประเทศสูงเป็นประวัติการณ์โดยมีราคาสูงสุดถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้หมูแม่พันธุ์ลดลงตามไปด้วย ประเมินว่าการเพิ่มจำนวนหมูแม่พันธุ์จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 3 ปี เพราะหมูแม่พันธุ์ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงให้โต จึงจะมีปริมาณแม่พันธุ์เท่ากับสภาวะหมูก่อนมีการระบาดของโรค ASF ดังนั้นราคาหมูจะแพงต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน มีผลทำให้ราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากเหตุการณ์ทั้ง 2 อย่าง ประเมินได้ว่าราคาหมูจะมีราคาสูงไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม ตลอดช่วงเวลา 2-3 ปีนี้”

“ ดังนั้นการเพิ่มจำนวนการเลี้ยงหมูให้เร็วจึงเป็นโอกาสดีในการทำธุรกิจหมูขุน แต่ทั้งนี้วิธีการจัดการในฟาร์มเลี้ยงหมูจะต้องมีการปรับปรุงด้วย โดยต้องมีการนําเทคโนโลยีมาช่วยในการเลี้ยงมากขึ้นเพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากโรคระบาด ASF”

วันนี้ อีซี่ เทค ฟาร์ม จึงเป็นฟาร์มเลี้ยงหมูที่โดดเด่นมากอีกแห่งหนึ่ง องค์ประกอบที่นำไปสู่ความสำเร็จมีมากมาย แต่ในที่นี้ จะขอเน้นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ในรูปแบบของ ฟาร์มอัจริยะ หรือ Smart Farm

“ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอย่างง่ายและราคาถูก ที่นำมาใช้กับคอกหมูแบบเปิดและแบบปิดเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเลี้ยงหมูได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัดได้จากค่าอัตราการแลกน้ำหนักของหมู, FCR เท่ากับ 2.4-2.6 ซึ่งค่ามาตรฐานที่ใช้อาหารแบบเดียวกันและเลี้ยงในคอกปิด ซึ่งเป็นข้อมูลจาก CP อยู่ที่ 2.77 และคุณภาพซากของหมูขุน A หรือ AA” ดร.อภิชาติ กล่าว

ระบบให้อาหารและน้ำที่ผสมในถาดหมูอัตโนมัติ

ระบบให้อาหารและน้ำที่ผสมในถาดหมูอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ ดร.อภิชาติ ได้คิดค้นพัฒนาจนสำเร็จ โดยระบบดังกล่าว สามารถดูข้อมูลได้แบบ real time ผ่านมือถือ และคอมพิวเตอร์พร้อมเก็บข้อมูลบน Cloud สามารถดูย้อนหลังได้

ดร.อภิชาติ กล่าวว่า ระบบนี้เป็นระบบที่นําอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับอาหารในถังอาหารหมู รวมทั้งชุดกล่องควบคุม การเปิด-ปิดรีเลย์(สวิตช์ไฟฟ้า) เพื่อสั่งให้มอเตอร์ท่อลําเลียงอาหารทำงานจากไซโล มาเติมอาหารที่ถังอาหารหมู การทำงาน คือ เมื่อเซ็นเซอร์วัดระดับอาหารตรวจจับได้ว่า มีอาหารในถังอาหารที่มีถาดให้หมูกินมีระดับต่ำกว่าที่ตั้งไว้ บอร์ดในกล่องควบคุมการป้อนอาหารจะสั่งให้รีเลย์ ไปเปิดการทำงานของมอเตอร์ต้นกําลังเพื่อ ป้อนอาหารจากถังอาหารใหญ่มาที่ถังอาหารที่มีถาดให้หมูกิน จนอาหารถึงระดับที่ต้องการ บอร์ดจะสั่งให้รีเลย์ ไปปิดการทำงานของมอเตอร์ โดยระดับอาหารสามารถตั้งระยะได้ 10-80 ซม.

นอกจากนี้ ในกล่องควบคุมจะมีบอร์ดที่ใช้ส่งข้อมูลผ่านไวไฟ เพื่อส่งข้อมูลทุกครั้งที่มีการทำงานของมอเตอร์ต้นกําลัง ไปที่โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้ปริมาณอาหารที่หมูกินในแต่ละวัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการ ติดตามผลการเลี้ยงในแต่ละช่วง ส่วนการควบคุมการให้น้ำไปผสมกับอาหารในถาด ทําได้โดยการตั้งเวลาที่ไทม์เมอร์ ให้โซลินอยวาล์วน้ำเปิดน้ำ ในช่วงเวลาตามกำหนด เพื่อกระตุ้นการกินอาหารของหมู โดยสามารถตั้ง ปริมาณน้ำในแต่ละช่วงเวลาได้ โดยชุดกล่องควบคุมคำสั่ง และระบบให้อาหารและน้ำที่ผสมในถาดอัตโนมัติ

ระบบพัดลมระบายอากาศอัตโนมัติ

ระบบพัดลมระบายอากาศอัตโนมัติ เป็นอีกระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง โดย ดร.อภิชาติ กล่าวว่า จะทำการติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 1 ตัวต่อคอกหมูขุน 50 ตัว เพื่อระบายอากาศ ลดอุณหภูมิและลดแก๊สภายในโรงเรือน โดยมีการทำงาน คือ เมื่อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิตรวจจับได้ว่าอุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่าที่ตั้งไว้ บอร์ดในกล่องควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน จะสั่งให้รีเลย์ไปเปิดการทำงานของมอเตอร์พัดลม เพื่อให้พัดลม ทำระบายความร้อนและแก๊สที่เกิดขึ้นในโรงเรือนออกไป จนอุณหภูมมิต่ำลงหรือระบายแก๊สจนถึงระดับที่ต้องการ บอร์ดสั่งให้รีเลย์ไปปิดการทำงานของมอเตอร์พัดลม เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศในโรงเรือน พร้อมบอร์ดที่ใช้ส่งข้อมูลผ่านไวไฟ เพื่อส่งข้อมูลไปที่โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์

ระบบตรวจจับคนงานเข้าโรงเรือน พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อก่อนเข้า

ดร.อภิชาติ ได้กล่าวว่า ระบบตรวจจับคนงานเข้าโรงเรือน พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อคนงานก่อนเข้าโรงเรือน ถือเป็นระบบไบโอเซฟตี้ที่จําเป็นมากในการป้องกัน ASF คนงานต้องทำการพ่นยาฆ่าเชื้อ อาบน้ำ และเปลี่ยนชุด ก่อนเข้าทำงานในโรงเรือน ซึ่งสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การเข้าโรงเรือนของคนงานจะต้องถูกจํากัดให้น้อยที่สุดและตรวจสอบได้ ระบบตรวจจับคนงานเข้าโรงเรือน พร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อคนงานก่อนเข้าโรงเรือน จึงถูกทำขึ้นมา ระบบนี้จะมีการเตือนทาง Line ให้ผู้จัดการทราบ เมื่อมีคนงานเข้าโรงเรือน พร้อมเก็บข้อมูลบน Cloud เพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วย

พร้อมกันนี้ ดร. อภิชาติ ยังได้กล่าวถึงรูปแบบการทำความสะอาดระหว่างพักคอกและน้ำยาฆ่าเชื้อที่มาตรฐาน โดยในช่วงที่มีการระบาดของ ASF ได้มีการศึกษาหาสารสำคัญที่สามารถฆ่าเชื้อได้จากงานวิจัยต่างๆของต่างประเทศ จากนั้นได้นําน้ำยาฆ่าเชื้อที่ฟาร์มใช้ทำการทดสอบระบบต่างๆที่สร้างขึ้น ซึ่งน้ำยานี้ สามารถหาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไป เมื่อนําทดสอบหาสารสำคัญในห้องแลป พบว่า มีปริมาณน้อยกว่าที่จะฆ่าเชื้อ ASF ได้ ดังนั้น ทางฟาร์มจึงได้ใช้วิธีการทำความสะอาดระหว่างพักคอกใหม่โดยใช้โฟม ฉีดแทนการใช้มือขัดกับผงซักฟอก เพื่อการทำความสะอาดที่ดีกว่าและคนงานทำงานง่ายกว่า

ทั้งหมด เป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ อีซี่ เทค ฟาร์ม ได้นำมาใช้ และประสบความสำเร็จ ภายใต้การสนับสนุนของ ธ.ก.ส. ซึ่งผู้สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มได้ ด้วย ดร.อภิชาติบอกว่า เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจ โดยติดต่อได้ที่โทร. 08-1266-7120

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU- VBIC) ซึ่งนับเป็นศูนย์วัคซีนเพื่อเกษตรกรรมแห่งแรกของประเทศไทย เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย รศ. ดร. ศศิมนัส อุณจักร์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ นักวิจัย อาจารย์ นิสิต ร่วมงาน

ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย “วัคซีน มก. เพื่อเกษตรกรรมไทย” นำผลงานในรูปแบบของผลิตภัณฑ์วัคซีน ชีวภัณฑ์ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ ที่อยู่ในระดับ TRL4 -7 แพลตฟอร์มนวัตกรรมการออกแบบวัคซีนรูปแบบต่างๆ และโรงงานต้นแบบเพื่อใช้ผลิตวัคซีนและชีวภัณฑ์ ซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชน เกษตรกร และผู้สนใจ มาจัดแสดง อาทิ วัคซีนปลานิล ชนิดกิน และ ชนิดฉีด , วัคซีนปลากะพงขาว , วัคซีนป้องกันโรคไวรัสอุบัติใหม่ในปลานิลและปลานิลแดง ,วัคซีนต่อต้านเห็บโค ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม , วัคซีนเพื่อควบคุมและป้องกันโรค PRRS ในสุกร นอกจากนี้ ยังจัดสนทนา มินิ ทอล์ค กับ 5 นักวิจัย มก. ให้ความรู้เรื่องวัคซีนและการควบคุมโรค

ได้แก่ “Autogenous vaccine ทางเลือกใหม่ในการควบคุมป้องกันโรคในฟาร์ม” โดย ผศ.น.สพ.ดร. มานะกร สุขมาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ “นวัตกรรมวัคซีนควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า” โดย น.สพ.ดร. อรรถพล กำลังดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ “วิธีการควบคุมเห็บ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อสุขภาพของคนไทย” โดย ศ.น.สพ.ดร. สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ “การพัฒนานาโนวัคซีนแบบกินและแบบแช่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคแบคทีเรียที่สร้างความเสียหายในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวของประเทศไทย” โดย ผศ.ดร. ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ คณะประมง “แพลตฟอร์มการออกแบบวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์น้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน” โดย รศ.ดร. ศศิมนัส อุณจักร คณะวิทยาศาสตร์

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันความมั่นทางด้านอาหาร หรือ food-security กลายเป็นเรื่องสำคัญที่หลาย ๆ ประเทศตระหนักและเตรียมรับมือหากเกิดปัญหา เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอและปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุนด้านการผลิตให้มีความพอเพียง

ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารในสังคม และรักษาเสถียรภาพให้มีความเพียงพอตลอดเวลา อีกทั้งมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมให้เกษตรกรรมไทยมีความยั่งยืน ประชากรกินดีอยู่ดี เพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการเกษตรกรรม ทั้งด้านพืช สัตว์ และสุขภาพของผู้บริโภคให้เป็นไปอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศ

มหาวิทยาลัยจึงจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU- VBIC) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาการใช้องค์ความรู้ การให้คำแนะนำ และบริการด้านการวิจัย ส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมการวิจัย ผลผลิตงานวิจัย และผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสามารถในการแข่งขันกับสินค้า หรือผลิตภัณฑ์กลุ่มวัคซีน และชีวภัณฑ์จากต่างประเทศ

โดยมุ่งหวังในการเป็นส่วนหนึ่งของภาคการผลิตสินค้าการเกษตร เพื่อให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ภายใต้นโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” (Kitchen of the World) และส่งเสริมการกินดีอยู่ดีของคนไทย และส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนและของประเทศ นอกจากนี้ยังต้องการความร่วมมือจากภาครัฐในการผลักดันให้การใช้วัคซีนและชีววัตถุในภาคการเกษตร โดยเฉพาะด้านสัตว์ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งยังสนับสนุนนโยบายสุขภาพหนึ่งเดียว (one health) สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย โดยขยายผลมาถึงเกษตรกรรมองค์รวมเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย (food safety and food security) และส่งเสริมการใช้วัคซีนเพื่อเกษตรกรรมไทย อย่างยั่งยืน

รศ. ดร. ศศิมนัส อุณจักร์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์: ด้านสัตว์ ประกอบด้วยเครือข่ายกลุ่มวิจัยจากคณะเกษตร คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะประมง คณะวิทยาศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมการเกษตร ที่มีองค์ความรู้เชิงลึกในด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการโรคสัตว์ติดเชื้อทั้ง อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ อีกทั้งมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนาต้นแบบวัคซีนและชีวภัณฑ์ทั้งในส่วนห้องปฏิบัติการและภาคสนามที่สามารถนำไปต่อยอดและเป็นต้นแบบใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์ได้

ปัจจุบัน วัคซีนและชีวภัณฑ์ที่ใช้ควบคุมโรคในสัตว์มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง ทำให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ควบคุมโรคในพื้นที่เลี้ยงจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วัคซีนชนิดออโตจีนัส (autogenous vaccine) ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccine) เพื่อให้มีการผลิตและนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาโรคระบาดที่มีอยู่อย่างรวดเร็ว และการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนาวัคซีนหน่วยย่อย (subunit vaccines) ที่ประกอบด้วยวัคซีนชนิดรีคอมบีแนนต์ (recombinant protein vaccines) และดีเอ็นเอวัคซีน (DNA vaccine) ทำให้มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนชนิดเชื้อตาย หรือมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าและปลอดภัยกว่า

ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีวิจัยและพัฒนาวัคซีนชนิดออโตจีนัส และมีทรัพยากรกายภาพที่พร้อมต่อการผลิตวัคซีนให้พร้อมใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์เพื่อควบคุมโรคติดเชื้อและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีวิจัยและพัฒนาวัคซีนขั้นสูง ที่สามารถออกแบบและผลิตวัคซีนหน่วยย่อยเพื่อควบคุมโรคติดเชื้อแบบยั่งยืน และมีความพร้อมทั้งในโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตวัคซีนเพื่อการศึกษาระดับภาคสนาม เพื่อให้สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีงานวิจัยและผลิตภัณฑ์กลุ่มชีววัตถุ และสารชีวภัณฑ์ที่สามารถประยุกต์ใช้เพื่อการเกษตร และด้านอื่น ๆ เช่น การผลิตเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptide) เพื่อใช้ในการควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการผลิตโปรตีนรีคอมบีแนนต์ชนิดต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคทางการสัตวแพทย์ และทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวัคซีนสัตว์หลากหลายชนิดที่มีการวิจัยและพัฒนา และที่ผ่านการทดสอบระดับภาคสนาม เพื่อใช้ควบคุมโรคสัตว์หลายชนิด ซึ่งพร้อมต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนที่สนใจ และต้องการการสนับสนุนการพัฒนาจากต้นแบบไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการผลักดันวัคซีนสัตว์ให้ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

ธ.ก.ส.จับมือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นำผลงานวิจัยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การแปรรูปผลผลิตและการตลาดให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร จนได้มาตรฐานรับรองระดับสากลไปแล้วกว่า 30 รายพร้อมตั้งเป้าขยายผลในการ เสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรไทยต่อเนื่อง

วันนี้ (8 มิถุนายน 2565) ณ ห้องประชุม ชั้น 24 อาคารทาวเวอร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี” ระหว่าง ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำผลงานวิจัยพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาบูรณาการให้เกิดความยั่งยืนแก่ภาคเกษตรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดที่เป็นมาตรฐานและต่อยอดสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ในการนำไปใช้ประโยชน์และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก