Outcome- and impact- driven เพื่อให้ทุนในเชิงรุกตาม

ประเด็นยุทธศาสตร์ให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
Synergy & partnership เชื่อมโยงและเสริมพลัง ระหว่างหน่วยให้ทุน (วช., สวก., สวรส.) มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทั้งในและนอกกระทรวง และการให้ทุนวิจัยครอบคลุมการวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้ง สหสาขาวิชาการ และเชื่อมกับการพัฒนาบุคลากรวิจัยและการให้รางวัล

Streamlined process โดยพัฒนากลไกการทำงานด้วยระบบ Online 100% 5G- funding, กลไก ODU,Program Funding และ Matching Fund และ Monitoring and Evaluation โดยผู้ใช้ผลการวิจัย

ทั้งนี้ วช. มีความพร้อมในการปรับระดับการทำงานที่สอดรับกับภารกิจใหม่ โดยยึดหลักรวดเร็ว ว่องไว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เฉกเช่นเดียวกับระบบการสื่อสารในอนาคต ยุค 5G ที่ตอบสนองไว รับส่ง ถ่ายโอน และเชื่อมต่อข้อมูลได้หลากหลาย เพื่อนำ วช. สู่การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเป็น วช. 5G อันประกอบด้วย Speed ทำงานได้รวดเร็วขึ้น Start เริ่มทำงานได้ทันที ตอบสนองฉับพลัน Scope ขยายขอบข่ายการทำงานในระดับชาติ และนานาชาติ Connectivity เชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

Low Energy มีผลสัมฤทธิ์โดยใช้ต้นทุนต่ำแต่ได้งานมาก Smooth ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น สามารถทำงานโดยไม่มีข้อจำกัด และ New Features คิดริเริ่มงานใหม่ งานที่ไม่เคยทำหรืองานที่ไม่มีใครเคยทำ โดยได้เตรียมความพร้อมในการทำงานให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายใหม่ได้ทันที ซึ่งการขับเคลื่อนนี้ต้องรวมพลังของบุคลากรและหน่วยงานในระบบวิจัยทั้งหมดร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมไทยไปด้วยกัน ซึ่งการบริหารงานในส่วนของอุดมศึกษานั้นต้องเป็นเอกภาพ มีอิสระ และที่สำคัญกระทรวงดังกล่าวนี้จะเป็นกระทรวงที่รวมสถาบันอุดมศึกษาที่เชื่อมต่อไปยังแผนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่ลงตัวที่สุดจนนำไปสู่การพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2562 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มี นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา ศาสตราจารย์ ดร. สันติ แม้นศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล เป็นสักขีพยาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่จากสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

โดยภายหลังการลงนาม ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ ได้กล่าวว่า ความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในครั้งนี้ทั้งสองหน่วยงานจะกำหนดแผนงานหรือโครงการเพื่อสนับสนุนการให้ความรู้และความชำนาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตร และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมองค์กรเกษตรกร ส่งเสริม สนับสนุนการนำผลงานวิจัยด้านการเกษตร สู่ภาคปฏิบัติในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

รวมทั้งการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งในด้านยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประชาชน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตการแปรรูปและการตลาดเพื่อยกระดับอาชีพ คุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และเพื่อส่งเสริมให้บุตรหลาน เกษตรกร เกษตรกร ผู้นำองค์กรเกษตรกร บุคลากร ของทั้งสองฝ่ายได้ศึกษา พัฒนาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ตามบทบาทภารกิจ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในอาชีพ ในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริม “โครงการบัณฑิตลูกเกษตรกร” เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีต่อไป

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า บทบาทสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คือ เป็นสถาบันการเรียนรู้และเป็นที่พึ่งทางวิชาการให้แก่สังคม การนำผลงานวิจัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัย พัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นผลงานที่สร้างรายได้ให้ชุมชนและเกษตรกร การพัฒนาอาชีพ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเพื่อสร้างผลงานทางการวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมไปถึงการให้โอกาสทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแก่บุตรของเกษตรกร เพราะเมื่อเขาเหล่านั้นได้สำเร็จการศึกษาก็จะเป็นบัณฑิตที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญยิ่งขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ให้สิทธิ์แก่บุตรเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาภายใต้ “โครงการบัณฑิตลูกเกษตรกร” ในกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ รวม 63 ราย จัดสรรทุนการศึกษาให้ 16 ทุน โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา และค่าธรรมเนียมหอพัก พร้อมทั้งได้รับค่าใช้จ่ายรายเดือนเดือนละ 4,000 บาท อีกด้วย

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรและสหกรณ์โคนมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและสหกรณ์ฟาร์มโคนมไทย ทั้งการให้ความรู้การจัดตั้งฟาร์มโคนม การเลี้ยงโคนม การดูแลและบริหารจัดการกิจการฟาร์มโคนมแก่เกษตรกรทุกด้าน ทั้งด้านการจัดการฟาร์ม ด้านการจัดการอาหารที่เพียงพอต่อโคนมในฟาร์มของเกษตรกร รวมถึงการจัดการฟาร์ม และยังพัฒนาพันธุ์โคนมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยที่มีอากาศร้อน ในขณะเดียวกันโคนมก็ยังสามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตน้ำนมดิบเพิ่มและทำกำไรให้แก่เกษตรกรมากขึ้น

ดร. ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า การเลี้ยงโคนมให้มีกำไรสามารถทำได้โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนม สำหรับในประเทศไทยเรื่องที่ต้องมีการปรับปรุง พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนม มี 3 เรื่องหลักๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการจัดการฟาร์ม คือ 1. การบริหารจัดการอาหาร 2. การบริหารจัดการฟาร์มที่ต้องควบคุมอุณหภูมิคอกพัก 3. บริหารจัดการคอกโคนมให้ปลอดโปร่ง ไม่ร้อนชื้น พื้นไม่เปียกแฉะ โดย 3 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โคนมเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการบริหารจัดการอาหารที่เพียงพอต่อจำนวนโคนมในฟาร์มเป็นสิ่งที่ จำเป็นมาก การให้อาหารโคนม คือ การให้อาหารข้น และอาหารหยาบ ที่เป็นแหล่งของพลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ รวมถึงการให้อาหารโคนมในสัดส่วนที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการโคนม ครบถ้วน สมบูรณ์ โคนมจะได้รับ โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ที่เพียงพอ และการให้อาหารโคนมที่สม่ำเสมอ คุณภาพของอาหาร และสูตรอาหารที่เหมือนเดิมทุกมื้อ ซึ่งเป็นหลักการให้อาหารเพื่อที่จะทำให้โคนมให้ผลผลิตเป็นไปตามความสามารถทางพันธุกรรม (จากการปรับปรุงพันธุ์ โคนมของไทยสามารถให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 20-25 กิโลกรัม ต่อตัว ต่อวัน)

การควบคุมอุณหภูมิคอกพักนั้น โคนมสามารถอยู่ได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิบริเวณที่โคนมอยู่หรือบริเวณคอกพักเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้โคเกิดความเครียดจากความร้อน ส่งผลให้กินอาหารลดลง ผลที่ตามมาคือปริมาณผลผลิตน้ำนมก็จะลดลงด้วย ดังนั้น การสร้างคอกพักโคนมควรจะสูงโปร่ง สามารถระบายความร้อนได้ดี หรือมีระบบการทำความเย็นในคอกพัก เช่น การติดพัดลม การติดตั้งระบบสเปรย์น้ำ การอาบน้ำให้โคนมเป็นต้น นอกจากนั้นไม่ควรเลี้ยงโคนมที่หนาแน่นเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อการระบายความร้อนในคอกพัก โดยทั่วไปหากเลี้ยงโคนมแบบขังใน คอก (Loose barn) ต้องมีพื้นที่ประมาณ 20-22 ตารางเมตร ต่อตัว หากเลี้ยงในโรงเรือนแบบซองนอน (Free stall) จะใช้พื้นที่ประมาณ 11 ตารางเมตร ต่อตัว

ส่วนบริเวณคอก โคนมต้องการอยู่ในพื้นที่ที่แห้ง มีพื้นที่นุ่ม ไม่ลื่น ซึ่งการเลี้ยงโคนมในพื้นที่ที่แห้งจะช่วยลดการเป็นโรคเต้านมอักเสบ ตัวโคนมไม่สกปรก จึงเป็นการลดการใช้น้ำในการล้างตัวโคนมก่อนรีดนม ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดระยะเวลาในกระบวนการรีดนมด้วย ฟาร์มที่คอกพักเป็นพื้นคอนกรีต จะพบการเกิดแผลกดทับจากการนอนเพราะโคนมมีน้ำหนักมาก ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใช้วัสดุรองพื้น เช่น แผ่นยาง เป็นต้น บริเวณคอกพักโคนมควรมีหลังคาคลุมตลอดเพื่อกันแดด กันฝน จะทำให้โคนมอยู่ในที่แห้งและเย็นสบาย

จากการจัดการพื้นฐานทั้ง 3 ข้อนี้ วัตถุประสงค์เพื่อทำให้โคนมกินอาหารได้มากที่สุด จะนำไปสู่การแสดงออกของความสามารถทางพันธุกรรม โคนมให้ผลผลิตน้ำนมดิบได้เต็มที่ น้ำนมได้คุณภาพ ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตน้ำนมลง เมื่อเกษตรกรได้ผลผลิตน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้เกษตรกรมีกำไรจากการเลี้ยงโคนมมากขึ้น ดร. ณรงค์ฤทธิ์ กล่าว

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 อันเป็นพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งที่จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นที่ชื่นชมยินดีของพสกนิกรชาวไทยทั้งปวง ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงพร้อมใจกันจัดโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้จัดกิจกรรมปลูกต้นรวงผึ้งเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 ที่จะมาถึง โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี ได้กล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ จากนั้นผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งประกอบด้วย รองอธิการบดี คณบดี

ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก บุคลากร สภาผู้แทนนิสิต องค์การบริหาร องค์การนิสิต ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้งต้นไม้มงคล ประจำรัชกาลที่ 10 จำนวน 40 ต้น ประกอบด้วย อธิการบดีและรองอธิการบดี 14 ต้น คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก จำนวน 24 ต้น สภาผู้แทนนิสิต 1 ต้น และองค์การบริหารองค์การนิสิต 1 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผู้มาร่วมพิธีพร้อมใจกันสวมใส่เสื้อสีเหลือง

สำหรับต้นรวงผึ้ง หรือ Yellow Star นั้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉก ติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้

ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน เป็นพรรณไม้ไทยแท้ อันทรงคุณค่า ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะผลิดอกออกใบในช่วงวันพระราชสมภพพอดี (ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้ง ยังเป็นสีประจำวันพระราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้ที่ผ่านมา พระองค์ทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ ที่พระองค์เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎรสืบไป

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้ประดับตกแต่งภูมิทัศน์ นำต้นไม้ที่มีดอกสีเหลือง อาทิ ดาวเรืองที่เพาะชำเอง จำนวน 90,000 ต้น ต้นเข็มเหลือง 1,300 ต้น ต้นทองอุไร 250 ต้น จัดเป็นสวนหย่อม ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างงดงาม พร้อมกับติดตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ จำนวน 8 จุด ได้แก่ ด้านหน้าประตูพหลโยธิน ประ่ตูงามวงศ์วาน 1 ประตูวิภาวดีรังสิต ด้านหน้าสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร แยกโรงอาหารกลาง 2 หน้าอาคารหอประชุม มก. เกาะกลางแยกสำนักการกีฬา

และด้านหน้าอาคารสารนิเทศ 50 ปี ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 จำนวน 4 จุด ได้แก่ เกาะกลางแยกประตูงามวงศ์วาน 1 ด้านหน้าประตูงามวงศ์วาน และประตูงามวงศ์วาน 3 และเสาธงเมล็ดข้าวเปลือกด้านหน้าหอประชุม มก. พร้อมกับประดับไฟสวยงามอย่างสมพระเกียรติ จึงขอเชิญประชาชนผู้สนใจ มาร่วมชมและถ่ายภาพความงดงามภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อแสดงความจงรักภักดีและมีส่วนร่วมสำคัญในฐานะพสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 อันเป็นพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งที่จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “การผลิตพลังงานทดแทน ชีวมวลและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาด” ซึ่งมีหัวข้อสัมมนาประกอบด้วย 1. การผลิตพลังงานทดแทนชีวมวลและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยี Hybrid 2. ทิศทางโรงไฟฟ้าชีวมวลและขยะในอนาคต 3. เทคโนโลยีการใช้ RDF ในโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 4. การใช้ชีวมวลเพื่อผลิตไบโอแก๊ส และ 5. แนะนำศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ พร้อมทั้งเยี่ยมชมชุดเทคโนโลยีภายใต้ศูนย์สาธิตฯ

โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศูนย์สาธิตฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายใต้การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. โอกาสนี้ ดร. อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ดร. อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาคเอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ร่วมเป็นเกียรติและร่วมสัมมนาฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 29-30 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมดุสิตา สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวถึงการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อการรองรับแผนกลยุทธ์แห่งชาติว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ขององค์กร พร้อมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานจากขยะและชีวมวล ที่มุ่งสู่ Green Technology ตามนโยบายรัฐบาล วว. จึงมีแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Gasification/Pyrolysis และเทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ (Biogas) โดยใช้วัตถุดิบชีวมวลและขยะ เพื่อการผลิตพลังงานทดแทนประเภทพลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

“…ภาพรวมโครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ประกอบด้วยชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุด ได้แก่ ชุดเทคโนโลยีคัดแยกขยะ ชุดเทคโนโลยีควบคุมมลพิษและระบบอัตโนมัติสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกว่า 1 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพและชุดเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากขยะและชีวมวล ภายใต้ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ตั้งอยู่ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้สำหรับการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล ทั้งนี้ วว. ได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุดดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานจาก ชีวมวลและขยะให้แก่ผู้สนใจ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนในการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศต่อไป…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

อนึ่ง การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Gasification ในการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนได้เริ่มแพร่หลาย เป็นที่กล่าวถึงและยอมรับ โดย วว. ได้พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยี เพื่อให้มีความเหมาะสมทั้งด้านความปลอดภัยและความคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีนี้สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนด้วยวิธีเตาเผาและการฝังกลบได้ดี โดยไม่ก่อมลพิษทางอากาศที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้โดยใช้เตาเผาและสามารถช่วยยืดอายุการปิดหลุมฝังกลบในอนาคต

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี (Thailand-Turkey Free Trade Agreement : THTRFTA) ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายน 2562 ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี โดยได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อเสนอรายการสินค้าที่จะลดและยกเลิกภาษีระหว่างกัน เพื่อหารือต่อเนื่องในด้านข้อบทและรูปแบบการเปิดตลาด พร้อมแลกเปลี่ยนข้อเสนอรายการสินค้าที่จะลดและยกเลิกภาษีระหว่างกัน โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยเรียกร้องให้ตุรกีเปิดตลาดให้เพิ่มเติม ได้แก่ ผลไม้ ผัก น้ำตาล เครื่องปรุงรส และสินค้าเกษตรแปรรูป

ภาพรวมมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของไทยและตุรกี 3 ปี (ปี 2559-2561) เฉลี่ย 5.7 พันล้านบาท โดยไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเฉลี่ย 4.7 พันล้านบาท สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว อาหารปรุงแต่งเพื่อใช้บริโภค ยางธรรมชาติยางแผ่นรมควัน และน้ำยางธรรมชาติ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรเฉลี่ย 1 พันล้านบาท สินค้าเกษตรนำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำผลไม้ แป้งข้าวสาลี เมล็ดดอกคำฝอยหรือเมล็ดฝ้าย ขนมที่ทำจากน้ำตาล น้ำมันที่ได้จากธัญพืชจำพวกเมล็ดทานตะวัน และอาหารปรุงแต่ง

ที่ผ่านมา ไทยนับเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าสินค้าเกษตรมาโดยตลอด โดยปี 2559 ได้ดุลการค้าสินค้าเกษตร 3.3 พันล้านบาท ปี 2560 ได้ดุลการค้าสินค้าเกษตร 4.8 พันล้านบาท และปี 2561 ได้ดุลการค้าเกษตร 3 พันล้านบาท ซึ่งการทำความตกลงทางการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ระหว่างไทยกับตุรกีจะเป็นการเปิดประตูการค้าสู่ภูมิภาคระหว่างกัน โดยไทยสามารถเป็นประตูไปสู่อาเซียน ในขณะที่ตุรกีสามารถเป็นประตู่ไปสู่ยุโรป แอฟริกาและตะวันออกกลาง เนื่องจากตุรกีมีอัตราภาษีสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง ร้อยละ 25-50 นับว่าเป็นประเทศที่เก็บอัตราภาษีสินค้าเกษตรค่อนข้างสูง ดังนั้น หากเจรจาเป็นผลสำเร็จ จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีช่องทางการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเจรจาในครั้งนี้ นับว่าความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และจะมีการประชุมครั้งที่ 6 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนสิงหาคม 2562 โดยกำหนดเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2563

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สถานการณ์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ฤดูกาลต่างๆ เริ่มแปรปรวน โดยในช่วงฤดูฝน ฝนจะตกมากขึ้น แต่บางครั้งฝนก็มาเร็วหรือล่าช้ากว่าปกติ ไม่ตกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เช่นเคย และในฤดูร้อนอากาศก็จะร้อนมากขึ้นและแห้งแล้งยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาชาวสวนกล้วยไม้ โดยเฉพาะอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ประสบปัญหาน้ำเค็มรุกเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน ซึ่งค่าความเค็มที่สูงเกินกว่า 0.75 กรัม ต่อลิตร หรือค่าการนำไฟฟ้า (EC) สูงเกินกว่า 750 ไมโครซีเมนส์ ต่อเซนติเมตร เป็นเวลานานจะส่งผลให้รากกล้วยไม้เริ่มไหม้ ใบมีสีเหลืองและเริ่มเหี่ยว เนื้อเยื่อแห้ง ไม่เจริญเติบโต และอาจรุนแรงทำให้กล้วยไม้ตายได้ในที่สุด

ปี 2562 ช่วงต้นมกราคมมีน้ำเค็มรุกเข้าสวนเป็นระยะเวลาสั้นๆ แล้วกลับคืนสู่สภาพปกติ ล่าสุดยังไม่พบผลกระทบต่อสวนกล้วยไม้ แต่จากรายงานสถานการณ์ของกรมชลประทาน (30 เมษายน 2562) เริ่มพบค่าความเค็มขยับสูงขึ้น แต่ยังไม่เกินค่ามาตรฐาน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ที่ประสบปัญหาฝนแล้ง-น้ำทะเลหนุนปะปนในแหล่งน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ หมั่นตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่จะใช้รดกล้วยไม้หรือนำมาผสมปุ๋ย และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

โดยใช้เครื่องวัด EC หรือ Salinity ตรวจวัดเอง หรือส่งน้ำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานราชการ หากพบว่าแหล่งน้ำที่นำมารดกล้วยไม้ยังมีคุณภาพดี ให้สูบน้ำเข้ามาเก็บกักในบ่อพักให้เต็ม เพื่อสำรองไว้กรณีเกิดน้ำทะเลหนุน และควรรักษาระดับน้ำในบ่อพักน้ำในสวนกล้วยไม้ให้สูงกว่าระดับน้ำข้างนอก เพื่อดันไม่ให้น้ำจากข้างนอก

ที่อาจเป็นน้ำเค็มไหลซึมเข้ามา นอกจากนี้ ควรเพิ่มพื้นที่ในการเก็บกักน้ำ เช่น ขุดบ่อเพิ่ม หรือเพิ่มความลึกของบ่อเดิม เพื่อให้เก็บกักได้มากขึ้น ประกอบกับปรับเปลี่ยนวิธีการให้น้ำอย่างประหยัด ด้วยหัวสปริงเกลอร์แบบประหยัดน้ำที่มีอัตราการใช้น้ำ 100-120 ลิตร ต่อ 1 หัว ในเวลา 1 ชั่วโมง

นายสำราญ กล่าวเพิ่มเติมกรณีพบน้ำมีค่าความเค็มสูงขึ้นว่า ควรลดอัตราการผสมปุ๋ยลงจากเดิม เนื่องจากปุ๋ยเป็นเกลือชนิดหนึ่งซึ่งจะเพิ่มความเค็มของน้ำ หากน้ำที่ผสมปุ๋ยแล้วมีค่าความเค็มสูงเกินไป ปุ๋ยจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่รากหรือต้นกล้วยไม้ และควรเพิ่มปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งสามารถลดความเป็นพิษของเกลือโซเดียมและคลอไรด์ในน้ำทะเลได้ในระดับหนึ่ง และปรับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำให้อยู่ในช่วง pH 5.5-6.5 จะทำให้เกลือไบคาร์บอเนตในน้ำทะเลลดลงและทำให้ธาตุอาหารต่างๆ ละลายออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์กับกล้วยไม้มากขึ้น

ประธานกรรมการ นายนัธวัฒน์ โชติกิตติเสถียรที่ทำการกลุ่ม โรงสีข้าวชุมชนบ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ (088) 795-0217 ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวหอมมะลิดีเด่นระดับประเทศ ผลงานดีเด่นและความคิดริเริ่ม

การแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
– ได้มีการเริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น