Royal Online V2 สมัครรอยัลออนไลน์ เว็บรอยัลจีคลับ GClub V2

Royal Online V2 สมัครรอยัลออนไลน์ เว็บรอยัลจีคลับ GClub V2 สองสามี – ภรรยา ที่ชอบค้าขายและความท้าทาย เงินเดือนรวมกันเฉียดแสน ตัดสินใจโบกมือลาชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองกรุง ออกเดินทางตามความฝัน ด้วยการปักหมุดสร้างสวนไผ่แห่งความสุข 9 ไร่ ที่จังหวัดอุดรธานี เก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายกิ่งพันธุ์ร่วมด้วย รายได้เดือนละ 75,000 บาท ชีวิตแฮปปี้ ได้อยู่กับลูกชาย 2 คน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ แถมได้กินหลากเมนูอร่อยๆ ทำจากหน่อไม้ตลอดทั้งปี

คุณเพ็ญศิริ ลลิตวิภาส หรือคุณโบว์ ภรรยาคุณสมเจตน์ หรือคุณสิงห์ สองสามีภรรยาเจ้าของสวนไผ่ ณ บ้านทุ่ง ที่จังหวัดอุดรธานี เล่าว่า ฝ่ายสามีเคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์ 14 ปี รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระบบเซิร์ฟเวอร์ ณ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เงินเดือนราว 60,000 บาท ส่วนตัวเองจบบัญชี จากโรงเรียนเทคนิคกรุงเทพพณิชยการ ทำธุรกิจส่วนตัว ขายงานศิลปะตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ระบายสี และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน รวมรายได้ 2 คนต่อเดือนก็เกือบ 1แสนบาท

อย่างไรก็ตามแม้รายได้จะดี แต่ภรรยาในวัย 37 ปี บอกว่า ไม่ได้ชื่นชอบวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ตรงกันข้ามวางแผนบั้นปลายชีวิตไว้ว่า อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น อยากเลี้ยงลูกเอง และที่สำคัญอยากประกอบอาชีพอิสระ นี่คือแรงบันดาลใจ ที่ทั้งคู่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร

ทั้งคุณโบว์ และคุณสิงห์ ช่วงที่ทำงาน ทั้งคู่นำเงินเก็บค่อยๆ ซื้อที่ดินสะสมเรื่อยมา ที่ ต.บ้านขาว อ.เมือง จ.อุดรธานี ราว 10ปี มีที่ดิน 80 ไร่ ตอนแรกยังไม่ได้ปลูกไผ่ แต่ปลูกอ้อย 50 ไร่ ลงทุนเกือบ 6 แสนบาท ปลูกนาน 4 ปี ขาดทุนสะสม 4 แสนบาท หนที่สุด ทั้งคู่เลิกปลูกอ้อย หันมาปลูกไผ่แทน

“ตอนแรกที่ตัดสินใจปลูกอ้อยเพราะเห็นว่าคนแถวบ้านปลูกอ้อยขายได้ราคาดี เลยจ้างคนมาปลูกบ้าง แต่ปรากฏว่าขาดทุน ปี พ.ศ.2553 เลยมาดูแลเอง และลดพื้นที่ปลูกอ้อยจาก 50 ไร่ เหลือเพียง 17 ไร่ ก็เริ่มมีกำไรไร่ละ 4,000 บาท”

ดูเหมือนว่าการปลูก “อ้อย” จะไปได้ดี แต่คุณโบว์ บอกว่า “อ้อย” ทำรายได้ให้เพียงปีละครั้ง เลยคิดจะปกลูกพืชอย่างอื่นที่สามารถทำเงินได้ตลอดทั้งปี และคนอีสานชอบทาน นั่นคือ “หน่อไม้”

“ดิฉันศึกษาหาข้อมูลด้านเกษตร ดูตามอินเตอร์เน็ต ดูในเฟซบุ๊ค ไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งเมื่อประมาณปี 54 เริ่มปลูกไผ่ เพราะได้ต้นพันธุ์ไผ่กิมซุงมาฟรี ตรงนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรอย่างจริงจัง”

สำหรับชนิดไผ่ที่คุณโบว์ปลูก อาทิ ไผ่กิมซุง ไผ่บงหวานเพชรผึ้ง ไผ่สารวิน พื้นที่ปลูกทั้งหมดเกือบ 9 ไร่ ต้นทุนต่อไร่ ราว 1-2หมื่นบาท พื้นที่ 1ร่ปลูกไผ่ได้ 100 – 200 ต้น ดูแลไม่ถึงปี สามารถเก็บหน่อยขายได้

รายละเอียดไผ่แต่ละสายพันธุ์ เจ้าของสวน อธิบายคร่าวๆ ว่า ไผ่กิมซุง กินน้ำเยอะ ใบเยอะ ใบหนา ต้องการน้ำเยอะ ฉะนั้นจะเก็บขายช่วงฤดูฝน ไผ่สายพันธุ์นี้รสชาติออกขม ต้องต้มน้ำทิ้งก่อนจะขาย ขายราคากิโลกรัมละ 20 บาท ไผ่สารวิน กินน้ำน้อย รสชาติออกขม ต้องต้มน้ำร้อนก่อนขาย 30 นาที เมนูเด็ดทำซุปหน่อไม้ แกงส้ม แกงเปรอะ หน่อไม้ดอง ราคาขายกิโลกรัมละ50 บาท ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง นิยมทานสด ไม่ขม ปรุงได้หลายเมนู อาทิ ส้มตำไผ่บงหวาน ขายกิโลกรัมละ 80-100บาท

สวนไผ่แห่งความสุขนี้ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2557 รายได้แต่ละเดือน 70,000 – 75,000 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายหน่อไม้และขายกิ่งพันธุ์ไผ่ เฉลี่ยก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายต้นพันธุ์ราคาต้นละ 100 – 300 บาท หากปลูกไผ่เต็มพื้นที่มากกว่านี้ จะมีรายได้เพิ่มอีก

“ทุกวันนี้ครอบครัวมีความสุข ได้อยู่กับลูก ได้เลี้ยงลูกเอง เป้าหมายต่อไป ตั้งใจจะขยายพื้นที่ปลูกไผ่บงหวานเพิ่มขึ้น เพิ่มกิจกรรมในสวนไผ่ ทำเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรเน้นแนะนำความรู้การเกษตรจริง ทำได้จริง ขายได้จริง”

ถั่วลิสง เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้นำถั่วลิสงเข้ามาในจีน เมื่อศตวรรษที่ 17 หลังจากนั้นคณะหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้นำถั่วลิสงสายพันธุ์ต่างๆ เข้ามาอีกในศตวรรษที่ 19

ถั่วลิสง ที่ยังไม่กะเทาะเปลือกส่วนใหญ่มีสีเปลือกฝักสีน้ำตาลอ่อน ไม่พบเปลือกฝักถั่วลิสงเป็นสีอื่น เช่น สีแดง สีดำ เป็นต้น สำหรับถั่วลิสงผิวดำแล้ว จึงไม่ใช่ถั่วลิสงที่มีฝักสีดำ ส่วนที่เป็นสีดำอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ด โดยทั่วไปแล้วเยื่อหุ้มเมล็ดของถั่วลิสงที่พบมักเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีแดง สีชมพู หรือสีขาวและเป็นลายแต้ม เช่น พันธุ์ไทนาน 9 มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพู พันธุ์ลำปางเยื่อหุ้มเมล็ดมีสีชมพู พันธุ์ขอนแก่น 60-3 เยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพูและส้มอ่อน พันธุ์สุโขทัย 38 เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เป็นต้น

ถั่วลิสงผิวดำ (black peanuts) หรือเรียกอีกชื่อว่า “selenium-rich black peanuts” ถั่วลิสงผิวดำนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นถั่วที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีดำทั้งหมด แต่มีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงเข้มหรือสีม่วงดำ มองเหมือนสีดำมากกว่า จึงเรียกเป็นถั่วลิสงผิวดำแทนที่จะเรียกถั่วลิสงเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วง หรือถั่วลิสงสีม่วง

มีรายงานของสถาบันโภชนาการในจีนแห่งหนึ่งรายงานว่า ถั่วลิสงผิวดำ มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงถึง 30.68% สูงกว่าถั่วลิสงสีอื่นทั่วไป 5% โดยมีกรดอะมิโน 18 ชนิด ที่ร่างกายต้องการอยู่ประมาณ 27.57% และมีกรดอะมิโนในปริมาณที่สูงและสูงกว่าข้าวโพดสีดำ 215.69% พบวิตามิน 8 ชนิด เช่น บี1 บี2 และ บี6 มีวิตามินอีสูงกว่าถั่วลิสงทั่วไป ทั้งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอีก 26 ชนิด ที่เป็นประโยชน์ เช่น ซีลีเนียม แคลเซียม โพแทสเซียม ทองแดง สังกระสี แมงกานีส เป็นต้น

ต้นกำเนิดสีม่วงดำในเยื่อหุ้มเมล็ดก็เพราะเยื่อหุ้มเมล็ดมีสารแอนโทไซยานินที่ละลายน้ำได้ (water-soluble anthocyanin) อยู่มาก เม็ดสีจะละลายได้ในน้ำเย็นภายใน 1 นาที ถ้าในน้ำร้อนจะแค่ 2-3 วินาที สารสกัดแอนโทไซยานินมีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์อีโคไล (Escherichia coli) ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหรือโรคเส้นเลือด เพิ่มการหมุนเวียนของโลหิต ช่วยชะลอการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) มีเปอร์เซ็นต์การออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Radical Scavenging) 50 เท่า มากกว่าวิตามินอี

ถั่วลิสงผิวดำ ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากมีประโยชน์ ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ดังนั้น ถั่วลิสงผิวดำ จึงถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว และเป็นอาหารอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด เมื่อนำเมล็ดถั่วลิสงผิวดำแช่ในน้ำร้อน 3 นาที น้ำในแก้วจะกลายเป็นสีม่วง ดื่มแทนน้ำชาเพื่อบำรุงสุขภาพ กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ เนื่องจากถั่วลิสงผิวดำมีราคาสูงกว่า จึงมีการย้อมสีถั่วลิสงทั่วไปให้เป็นสีดำ ซึ่งสีดำจะซึมเข้าไปในเนื้อถั่ว ทำให้ถั่วมีสีดำไปด้วย ถั่วลิสงเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำนั้นจะเกิดเป็นสีม่วงเข้มเฉพาะเยื่อหุ้มเมล็ด เมื่อลอกผิวออกแล้วสีเหมือนถั่วลิสงทั่วไป เนื้อถั่วไม่ได้เป็นสีดำ เปลือกฝักถั่วเหมือนถั่วลิสงทั่วไปเช่นกัน

ถั่วลิสงผิวดำไต้หวัน

ถั่วลิสงผิวดำ หรือ ถั่วลิสงเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ (เฮย ฮวา เชิง黑花生) ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์มาจากเมล็ดที่มีผิวหุ้มเมล็ดสีม่วงเข้ม เริ่มมีการเพาะปลูกกันในปี พ.ศ. 2543 มีแหล่งกำเนิดที่เมืองอวิ๋หลิน (Yunlin : มักอ่านว่า หยุนหลิน) ของไต้หวัน 关于黑花生的由来,众说纷纭,但是一些资料报道,估计是河北省农科院马占元教授引进和培育的,而不是很多人谬传的转基因食品。ถั่วลิสงผิวดำที่เกษตรกรไต้หวันปลูกกันมีสายพันธุ์เฮยจินกัง กับสายพันธุ์ไถหนาน 16

ถั่วลิสงผิวดำสายพันธุ์เฮยจินกังที่รู้จักในนาม ถั่วลิสงคิงคองดำ, ถั่วลิสงดำ, ถั่วลิสงเพชรดำ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกกันมาก่อน มีเปลือกขรุขระเป็นร่องลึก ผิวเยื่อหุ้มเมล็ดมีสีดำเหมือนถ่าน ที่เรียกว่า คิงคองดำ ก็เพราะหมายถึง ความแข็งแรงเหมือนคิงคอง เนื่องจากเปลือกของมันมีความแข็ง ถั่วลิสงสายพันธุ์เฮยจินกังมีปริมาณน้ำมันต่ำ แต่รสชาติอร่อยมาก หวานมันกรอบ มีกลิ่นหอม เป็นที่ชื่นชอบจากผู้บริโภคอย่างมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ถั่วอบแห้งทั้งฝัก ราคาแพงกว่าถั่วลิสงสีอื่นทั่วไป

ถั่วลิสงผิวดำสายพันธุ์ไถหนาน 16 ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากสถานีส่งเสริมและวิจัยการเกษตรไถหนาน (Tainan District Agricultural Research and Extension Station) เมืองไถหนาน เมื่อปี พ.ศ. 2553 มีเยื่อหุ้มสีดำ ให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์เฮยจินกังถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ไถหนาน 16 มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ไถหนาน 16 เป็นถั่วValencia type ลำต้นสูงประมาณ 46 เซนติเมตร ลำต้นไม่ล้มง่าย เหมาะกับการใช้รถเกี่ยว ฝักและเมล็ดมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์เฮยจินกัง เมล็ดมีระยะพักตัวสั้น

แหล่งเพาะปลูกถั่วลิสงดำที่ไต้หวัน

ถั่วลิสงผิวดำ เพาะปลูกกันมากในพื้นที่เมืองอวิ๋หลิน (Yunlin), ที่จังฮว่า (Changhua) และที่เจี่ยยี (Chiayi) พื้นที่ปลูกประมาณ 1,200 เฮกตาร์ ผลผลิตประมาณ 3,600 ตัน เฉพาะที่เมืองอวิ๋หลินมีพื้นที่ปลูก ประมาณ 70เปอร์เซ็นต์ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะ

การพิสูจน์เป็นถั่วลิสงผิวดำหรือเป็นถั่วลิสงดำย้อมสี

การพิสูจน์ว่าจะเป็นถั่วลิสงผิวดำจริงหรือไม่ ให้ลองทำ ดังนี้

ขยี้เมล็ดถั่วแรงๆ ในน้ำ สีจะไม่ติดมือ
ผิวหุ้มที่เป็นสีดำเมื่อลอกผิวหุ้มออก เนื้อสีเป็นปกติ มีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน และเมื่อผ่าหรือแกะเมล็ดถั่วออก เนื้อจะเป็นสีขาวชัดเจน
นำเมล็ดถั่วละลายในน้ำ บีบมะนาวหรือเยาะน้ำส้มสายชูใส่ในน้ำที่ละลายแอนโทไซยานิน น้ำจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีชมพู เมื่อแอนโทไซยานินถูกกรดจะกลายเป็นสีแดง

หลายคนเกิดความสงสัย จึงมีคำถามตามมาว่า “ถั่วลิสงผิวดำ ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่” คำตอบที่ยืนยันก็คือ

ถั่วลิสงผิวดำ ไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรม พืชที่นิยมบริโภคจะไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมแน่นอน
ผิวสีดำ เกิดจากยีนที่ให้กำเนิดเม็ดสีเอง ไม่ต่างจากสีดำม่วงของข้าวเหนียวดำ

พันธุ์ถั่วลิสงไต้หวันที่ปลูกในประเทศไทย

เกษตรกรไทยรู้จักและเพาะปลูกถั่วลิสงจากไต้หวันมานาน เป็นถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน (ไทนาน) 9 ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากสถานีส่งเสริมและวิจัยการเกษตรไถหนาน (Tainan District Agricultural Research and Extension Station) เมื่อปี พ.ศ. 2509 ใน ปี พ.ศ. 2515 นำเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน (ไทนาน) 9 เข้ามาในประเทศไทย จากนั้น ปี พ.ศ. 2529 ถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน (ไทนาน) 11 จึงออกสู่แปลงของเกษตรกร ปี พ.ศ. 2541 ถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน (ไทนาน) 13 เริ่มมีมา จนพัฒนามาถึงถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน (ไทนาน) 14 แต่สำหรับถั่วลิสงพันธุ์ไถหนาน 16 หรือถั่วลิสงผิวดำแล้ว ยังพบกันน้อยไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในบ้านเรา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของถั่วลิสงผิวดำ

ลำต้นถั่วลิสง มีลำต้นแบบ Valencia type ปกติมีลำต้นสูง ตั้งแต่ 15-70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.8 เซนติเมตร จากการสังเกต (ผู้เขียน) เมื่อปล่อยให้ลำต้นทอดเลื้อยยาวไปตามผิวดิน วัดความยาวของลำต้นได้ 120 เซนติเมตร มีขนเกิดขึ้นตามลำต้น กิ่งก้านใบ หูใบ ใบประดับ ริ้วประดับ และกลีบรองดอก มีทั้งกิ่งที่ตั้งขึ้นและที่ทอดยาวปลายยอดตั้งขึ้น จะเจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน มีลักษณะเป็นพุ่มเลื้อยเตี้ย ลำต้นเมื่อเริ่มแก่ส่วนที่โดนแดดมีสีม่วงอ่อน

ใบถั่วลิสง เมื่อเริ่มงอก ใต้ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลจางๆ มีใบเป็นใบรวม ใบเกิดสลับกันอยู่บนข้อลำต้นหลัก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แต่ละชุดใบมีใบย่อย 2 คู่ แบบ pinnate ออกตามข้อ ข้อละก้านใบอยู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี ใบปลายใบมน มีขนาดกว้างประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ขอบใบมีขนอยู่โดยรอบ ก้านใบรวมยาว 4-9 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบรวมมีหูใบอยู่ 2 อัน มีขนาดใหญ่ ปลายแหลมคล้ายใบธง ยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก ที่โคนไม่มีหูใบ

ดอกถั่วลิสง ดอกจะเกิดจากมุมใบของลำต้นหรือกิ่ง บริเวณส่วนโคนของลำต้น ออกเป็นช่อ แต่ละช่อดอกจะทยอยบานทีละดอก ดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีเหลืองส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเป็นแบบผีเสื้อ กลีบดอกมี 5 กลีบ ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก 1 กลีบ ชั้นกลาง 2 กลีบ และชั้นในสุด 2 กลีบ ภายในกลีบดอกชั้นในสุด โคนกลีบดอกมีสีส้ม ส่วนก้านดอกจะสั้นมาก หลังจากดอกได้รับการผสมแล้ว จะพัฒนาเป็นรูปร่างยาวเป็นก้านยาวนี้มีปลายแข็ง เรียกว่า เข็ม (peg) แทงลงในดินเจริญเป็นฝักต่อไป

รากถั่วลิสง มีรากเป็นแบบระบบรากแก้ว มีราก 3 ชนิด เรียกรากแรกว่า รากแก้ว ส่วนรากที่แตกออกมาจากรากแก้วเรียกว่ารากแขนงและรากที่แตกออกมาจากรากแขนงคือ รากฝอย หรือรากขนอ่อน แต่มีน้อยมาก บางสายพันธุ์อาจจะไม่มีเลย มีปมเกิดขึ้นบนรากแก้วและรากแขนง ปมมีสีน้ำตาล ปมเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรียพวกไรโซเบียม เข้าไปอาศัยอยู่ภายใน

ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงเกิดอยู่ใต้ดิน ลักษณะการเกิดอาจจะแพร่กระจายตามข้อลำต้น เปลือกฝักมีลักษณะแข็งและเปราะ ฝักมีสีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกค่อนข้างหนาและขรุขระ เป็นร่องลายเส้นเด่นชัด เส้นปลายฝักจะงอยปากงุ้ม ฝักยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ถั่วลิสงต้นหนึ่งเมื่อถอนออกมามีฝักที่สมบูรณ์อยู่จำนวน 8-20 ฝัก

เมล็ดถั่วลิสง ฝักค่อนข้างเล็ก เมล็ดถั่วอยู่ในฝักหนึ่งมีประมาณ 1-4 เมล็ด ส่วนใหญ่มี 2-3 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างยาว เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีม่วงเข้มจัดเกือบดำ ฝักแก่เมล็ดมีสีม่วงเข้ม ฝักที่ยังอ่อนเมล็ดเป็นสีม่วงอ่อน ถัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดจะพบใบเลี้ยงขนาดใหญ่และหนาประกบกัน 1 คู่ เปลือกบาง มี 2 เมล็ด ต่อฝัก เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 110-120 วัน หากปล่อยฝักจนเลยระยะเวลาเก็บเกี่ยวเกิน 4 เดือน เมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จากนั้นเมล็ดจะงอกเอง

ผู้เขียนได้เมล็ดพันธุ์มาจากไต้หวัน เมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 ประมาณ 50 เมล็ด มีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำมาก เพาะขึ้นได้ 4 ต้น ตายไปอีกเหลือ 2 ต้น ให้ฝักน้อยและทยอยออกดอกเรื่อยๆ ส่วนที่แก่ก็แก่ไป ส่วนที่อ่อนก็มี เก็บเมล็ดไว้ได้น้อย ปล่อยต้นเดิมให้แตกใหม่ จุดประสงค์ของการเขียนก็เพื่อเป็นการแนะนำพันธุ์พืชแปลกใหม่และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเตรียมตัวรับพืชทางเลือกใหม่ในโอกาสต่อไป หรือไม่ใช่พืชทางเลือกใหม่ก็ได้ ช่วงนี้จึงไม่มีเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงผิวดำไว้สำหรับแจกให้กับผู้ที่สนใจ

คุณวันชัย นนทวรรธนะ ชายผู้นี้มีความผูกพันกับมะนาวมายาวนาน จนทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วต้นมะนาวที่เจริญเติบโตจากเมล็ดมีข้อดีทั้งความแข็งแรง ทนทานต่อโรค ให้ผลดก แล้วแต่ละผลยังอุดมไปด้วยน้ำอีกด้วย เพียงแต่ระยะเวลาการเจริญเติบโตอาจนานไปบ้าง เมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น จึงเหมาะกับการปลูกแบบไม่เร่งรีบ

คุณสมบัติเช่นนี้จึงทำให้ คุณวันชัย ในวัยใกล้เกษียณราชการ นำต้นมะนาวที่เพาะจากเมล็ดด้วยตัวเอง จำนวน 400 ต้น ไปปลูกไว้ที่ไร่อยู่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ทุกต้นให้ผลผลิตมากบ้างน้อยบ้างตามแต่กำลังการดูแล เนื่องจากเขาต้องเข้าไปดูเฉพาะวันหยุดเท่านั้น

เมื่อสบโอกาสที่คุณวันชัยจะเดินทางเข้าไปดูไร่ ทีมงานฯ จึงขออาสาตามไปสมทบ เพื่อดูว่าต้นมะนาวที่คุณวันชัย ใช้เมล็ดปลูก มีความสมบูรณ์เพียงใด

ไร่ของหนุ่มใหญ่รายนี้อยู่เส้นทางไปหมู่บ้านทุ่งมะเซอย่อ ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี คุณวันชัยตั้งชื่อไร่ของเขาอย่างเก๋ไก๋ตามประสาคนอารมณ์ดีว่า ไร่ “รอ…เธอ” โดยการตั้งชื่อเรียกเช่นนี้ เจ้าของไร่ชี้ว่าไม่มีนัยแอบแฝงแต่ประการใด

ไร่แห่งนี้มีเนื้อที่ราว 10 ไร่ บริเวณภายในไร่ปลูกบ้านหลังเล็กกะทัดรัดไว้พักผ่อนพร้อมครัวฉบับกระเป๋าที่มีอุปกรณ์ครบครัน รอการต้อนรับของแขกที่มาเยือนเป็นนิตย์

ลักษณะที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีด้านกว้างติดถนนและสามารถเดินทางไปพม่าได้ เพียง20 กิโลเมตร เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้มีรสนิยมเดินทางแนวอ๊อฟโรด จึงถือว่าเป็นที่ดินสวยแปลงหนึ่ง

คุณวันชัย รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ และอีกเพียง 4 ปี เขาก็จะได้พักงานยาว ดังนั้น จึงวางแผนชีวิตหลังเกษียณไว้ล่วงหน้าว่าจะเป็นชาวไร่ปลูกต้นไม้ที่ตัวเองชื่นชอบ โดยเจียดเงินเดือนหาซื้อพันธุ์ไม้บ้าง และเพาะเองบ้าง พอถึงวันหยุดก็พาครอบครัวเดินทางไปที่ไร่ แล้วค่อยๆ ถากหญ้าถางพง ขุดหลุม ปลูกต้นไม้ตามแต่กำลังเพียงคนเดียว

บรรดาพันธุ์ไม้พืชผลหลายชนิดที่คุณวันชัยปลูกนั้นมิได้หวังเพื่อการค้าขายอย่างจริงจัง เพียงแต่ว่าเมื่อไม้เหล่านั้นมีดอกออกผลก็สร้างความชื่นใจให้กับตัวเอง หรืออาจพอมีรายได้บ้างเพื่อเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะความตั้งใจจริงของชายคนนี้คือ ความสุขกับการอยู่กับต้นไม้มากกว่า

สำหรับมะนาวที่คุณวันชัยปลูก เป็นต้นมะนาวแป้นที่เขาเพาะจากเมล็ดด้วยตัวเอง มาเป็นเวลากว่า 4 ปี เหตุผลที่เลือกปลูกมะนาวด้วยการใช้เมล็ด เพราะตัวเองรู้ดีว่าคงไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาดูไร่บ่อยนัก จึงเลือกปลูกมะนาวที่สามารถทนทานต่อการขาดน้ำ

แม้ในปีที่จะเกิดความแห้งแล้งในทุกหย่อม สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรชาวบ้านหลายพื้นที่ รวมถึงในไร่ของคุณวันชัยด้วย แต่ดูเหมือนต้นมะนาวเพาะเมล็ดของคุณวันชัยสามารถยืนหยัดได้ด้วยดี ยังพอมีผลผลิตอยู่บ้าง ทั้งนี้ขนาดและความสมบูรณ์ของผลอาจไม่ค่อยดีนัก แต่รับประกันเรื่องน้ำมะนาว ที่ถึงแม้จะแห้งแล้งจนเกือบจะขาดน้ำ แต่ผลมะนาวยังคงให้ปริมาณน้ำอย่างดีเยี่ยม จึงนับเป็นพันธุ์มะนาวที่สอบผ่านในเรื่องความแล้งน้ำ

คุณวันชัย ให้รายละเอียดวิธีเพาะเมล็ดว่า ให้นำเมล็ดที่แก่จัดมาล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด นำไปตากแห้ง แล้วนำไปหยอดในถุงเพาะดำ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ยา ใดๆ ทั้งสิ้น ให้รดน้ำถี่หน่อย แต่ไม่ต้องชุ่ม แล้วปล่อยให้โตเอง อาจใช้เวลานานสักหน่อย แต่เมื่อต้นโต แข็งแรงแล้ว ถือว่าคุ้มกับการรอคอย ข้อดีของมะนาวประเภทนี้คือ ต้นมะนาวมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง จึงทำให้สามารถทนโรค ทนแล้ง ได้อย่างดี

จากนั้นให้ขุดหลุม แล้วนำต้นอ่อนที่มีอายุสัก 1 ปี ลงปลูกในหลุม แล้วหาวัสดุมาบังแดด แล้วรดน้ำตามปกติ ในช่วงอนุบาลต้นควรรดน้ำบ่อย อย่าให้ขาดน้ำเด็ดขาด เมื่อสังเกตว่าต้นโตขึ้นแข็งแรงดีพอ จึงเว้นช่วงการให้น้ำได้เพราะปลอดภัยแล้ว พอมะนาวมีอายุ 4 ปีครึ่งจะเริ่มให้ผล

คุณวันชัย พาเดินดูต้นมะนาวในไร่ที่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ 100 กว่าต้น จากที่เคยปลูกอยู่มากถึง400 ต้น เหตุผลที่เหลือแค่นี้เพราะถูกไฟไหม้ และเมื่อเดินดูบริเวณแปลงมะนาวโดยรอบพบว่า มีต้นหญ้าเกิดขึ้นมากมาย โดยเจ้าของไร่ชี้ว่าไม่ค่อยได้มีเวลาเข้ามาดูแลอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้มีหญ้าขึ้นดูรก แต่ถ้ามองในมุมกลับสถานการณ์แล้งอย่างนี้การปล่อยให้หญ้าขึ้นจำนวนมาก อาจส่งผลดีเพื่อช่วยคลุมความชื้นในดินช่วงหน้าแล้งเช่นนี้

มะนาวแต่ละต้นมีระยะปลูกห่างกัน 4-5 เมตร เพราะต้องเผื่อไว้เป็นทรงพุ่ม บางหลุมปลูกได้ถึง 2 ต้น แล้วถ้าต้นไหนไม่สวยก็ตัดทิ้ง คุณวันชัย เผยว่า ในช่วงที่เริ่มปลูกมะนาวขณะยังเป็นต้นเล็ก จะปลูกกล้วยน้ำว้าไว้ก่อน เป็นการปลูกมะนาวระหว่างแถวกล้วย เพื่อใช้ใบกล้วยบังแดดเป็นร่มเงาให้ต้นมะนาว

หลังจากมะนาวเริ่มโตขึ้น มีความแข็งแรงดีพอ จึงค่อยๆ ตัดใบกล้วยออก เพื่อให้แดดส่องลงมาที่ต้นมะนาวบ้าง จากนั้นต้นมะนาวจะโตเร็ว แล้วเมื่อต้นสูงใหญ่มากในช่วงสักปีที่ 4 แล้วกำลังจะเบียดกับใบกล้วย ต้องโค่นต้นกล้วยออก อย่างไรก็ตาม ระหว่างมะนาวกำลังเจริญเติบโตก็จะมีรายได้จากการขายกล้วยเพื่อเป็นค่ากับข้าวไปพลาง

มะนาวในไร่คุณวันชัยปลูกแบบธรรมชาติไม่เคยได้สัมผัสกับสารเคมี และปุ๋ยชนิดใดเลย แล้วเป็นคนที่ต่อต้านด้วย การดูแลต้นมะนาวที่ปลูกเพียงใช้มูลสัตว์มาใส่บ้าง และจากการสังเกตที่ผ่านมา พบว่าไม่เคยมีโรคแคงเกอร์มาทำลาย หรือไม่เคยเจอหนอน หรือแมลงอื่นๆ มารบกวนต้นมะนาวแต่อย่างใดเลย เนื่องจากเปลือกต้นมีความแข็งแรงมาก แล้วยังพบอีกด้วยว่ามีนกและผึ้งมาทำรังที่ต้นมะนาว จึงเป็นการยืนยันได้ว่ามีความเป็นธรรมชาติที่ปลอดสารเคมีอย่างแท้จริง

ส่วนการรดน้ำ ควรให้เต็มที่ไม่ให้ขาดน้ำ และไม่ต้องถึงขนาดน้ำท่วมขัง เพียงเท่านี้ต้นก็รอด โดยแหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ภายในไร่ได้จากสระน้ำในที่ดินของตัวเองที่ขุดไว้ แล้วยังมีน้ำบางส่วนที่ได้จากสระธรรมชาติที่ได้ต่อผ่านท่อเข้ามา อีกวิธีของการให้น้ำต้นมะนาวในช่วงที่ไม่ได้เข้ามาที่ไร่คือ ให้นำขวดพลาสติก ขนาด 1 ลิตร มาเจาะรูขนาดใหญ่กว่ารูเข็มพอให้น้ำหยดได้ แล้ววางพิงไว้ข้างต้นมะนาว แนวทางนี้สามารถทำให้ต้นมะนาวยังคงความชุ่มชื้นได้ประมาณ 2-3อาทิตย์ เป็นการช่วยพยุงการขาดน้ำเป็นเวลานานได้ในระดับหนึ่ง

เจ้าของไร่ชี้ถึงข้อดีอีกด้านของมะนาวที่ใช้เมล็ดปลูกคือ การมีอายุต้นยาวนาน 15-20 ปี ให้ผลดกตลอดทั้งปี ต่างจากการปลูกแบบทาบกิ่ง หรือตอนกิ่งที่มีอายุเต็ม 5 ปี นอกจากนั้น ต้นมะนาวที่ปลูกด้วยเมล็ดถูกเสริมสร้างความแข็งแรงด้วยระบบรากแก้วที่ยึดเกาะลงดิน สามารถต้านทานแรงลมพายุได้อย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อไม้มาทำเป็นคอกหรือค้ำยัน

คุณวันชัย บอกว่า Royal Online V2 ผลมะนาวที่ใช้เมล็ดปลูกรุ่นแรกยังไม่สวยและมีลักษณะยาวรี ดูแล้วไม่ค่อยเหมือนแป้นเท่าไรนัก แต่อย่าตกใจ ไม่ต้องคิดว่าถูกหลอก เนื่องจากพอรุ่นต่อๆ ไป ลักษณะรูปร่างจะค่อยๆ กลับมาเป็นผลเหมือนมะนาวทั่วไป ในบางครั้งที่อากาศดี น้ำดี พบว่าขนาดผลไม่ต่างจาก ไข่เบอร์ 2 เลย

“แต่รับประกันคุณภาพและปริมาณน้ำมะนาวว่า แม้จะอยู่ในช่วงแล้งยังให้น้ำมาก แล้วถ้ามีโอกาสดูแลเอาใจใส่เต็มที่กับการให้น้ำแล้วคงให้น้ำมากกว่านี้ แต่ข้อควรระวังคือ อย่าให้น้ำมากเกินไปจนท่วมขัง เพราะอาจส่งผลต่อโรคที่ตามมา อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำน้อยอย่างนี้ขอให้มีผลมะนาวออกมาให้เห็นก็ถือว่าน่ายินดีแล้ว”

คุณวันชัย ชี้ว่า การปลูกมะนาวในแบบนี้เหมาะกับคนที่ใกล้เกษียณและควรมีที่ดินอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร แล้วที่สำคัญไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเหมาะกับการนำต้นมะนาวเพาะเมล็ดมาปลูก

“ควรปลูกก่อนล่วงหน้าเพื่อจะได้มีเวลาเข้ามาดูแล เพราะระหว่างที่ยังคงทำงานอยู่ก็สามารถเดินทางแวะเวียนมาดูต้นไม้ต่างๆ ที่ปลูกไว้ได้ และภายหลังจากหยุดทำงานถาวรก็สามารถรับผิดชอบดูแลได้ต่อเนื่องอย่างเต็มที่ จะได้ไม่เกิดช่องว่าง ไม่ทำให้เหงา แล้วอย่าไปมองเป็นเรื่องธุรกิจ” เจ้าของไร่กล่าวเชิญชวน

มีต้นพันธุ์มะนาวเพาะเมล็ดขาย ต้นละ 20 บาท ที่ร้านอาหาร “ในซอย” อยู่ที่บางกรวย จังหวัดนนทบุรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่