สำหรับราคาขายปลีกขวดละ 250 บาท ตั้งราคาไม่สูงมาก

เพราะกลุ่มเป้าหมายคนไทย 90% และอีก 10% นักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนมากเป็นยุโรป ปัจจุบันมีรายได้ตกเดือนละ 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท หรือปีละประมาณ 1 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการไปเปิดบูทขายด้วย

“ตลาดของเราส่วนใหญ่ตลาดในประเทศ เน้นขายตามร้านขายของฝาก มีเปิดบูท และขายในเว็บไซต์ ไลน์ แต่เริ่มจะส่งออกเพื่อนบ้าน ล่าสุดได้ไปออกบูทที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้ผลตอบรับค่อนข้างดี เรามีจุดเด่น คือ ผลไม้เรารับที่เป็นออร์แกนิกเท่านั้น ถ้าคนในกลุ่มไม่ทำออร์แกนิกเราก็ไม่รับ ขณะเดียวกันถ้าคนไม่อยู่ในกลุ่มทำออร์แกนิกเราก็รับ ตอนนี้มีไวน์หลากหลาย ตั้งแต่ไวน์มังคุด ลูกหม่อน กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ สับปะรด สละ และล่าสุด คือ ลองกอง ตัวนี้ทดลองมานานถึง 3 ปี คิดว่าถ้าปีนี้ทำไม่ได้ก็จะเลิก แต่ปรากฏว่าทำได้”

จุดขายของไวน์กุลเว่ คือ ใช้วัตถุดิบจากสวนหลังบ้าน ดังนั้นจึงมั่นใจในความสดใหม่ รวมทั้งองค์ความรู้เรื่องการทำไวน์ให้โดนใจ ที่สำคัญขายความเป็นออร์แกนิก

อนงค์มองว่า การแปรรูปเป็นทางออกผลไม้ไทย แต่จะทำด้านไหนเท่านั้น เพราะแต่เดิมขายผลไม้สด สมมุติได้ 1 หมื่นบาท แต่เมื่อแปรรูปขายได้ถึง 1 แสนบาท แต่ว่ากลุ่มก็ต้องมีการสร้างแบรนด์ และสร้างความน่าเชื่อถือด้วย

ด้านนภัทร สุขะปิณฑะ ฝ่ายการตลาด วิสาหกิจชุมชนคลองน้ำเค็มทันใจ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี บอกว่า รวมตัวกันตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันมีสมาชิก 15 คน ทำขนมของฝาก ภายใต้แบรนด์คุณยาย วางขายตามร้านของฝากในเขตจังหวัดจันทบุรี เป็นการช่วยชาวบ้านให้มีงานทำ ปัจจุบันขยายผลิตภัณฑ์ประมาณ 10 อย่าง ทำรายได้เดือนละเกือบ 2 ล้านบาท โดยจะทำสินค้าแบบใหม่ เช่น สาหร่าย ทำจากใบขลู่ เพิ่งได้รับรางวัลโอท็อป นอกจากนี้มีแครกเกอร์โรยทุเรียน ชีสไส้มังคุด ถั่วทอง หรือต้มยำโป๊ะแตก ที่ตอนนี้มีวางที่คิง เพาเวอร์ ได้รับความนิยมอย่างมาก

“บางอย่างเรารับซื้อผลสดจากชาวบ้าน แต่บางอย่างก็ไปซื้อที่แปรรูปแล้วจากกลุ่มอื่น ๆ มาต่อยอด เช่น ไปซื้อทุเรียนทอด หรือน้ำผึ้งจากกลุ่มอื่น ๆ ถือเป็นการเกื้อหนุนกันไปในตัว แบบนี้เศรษฐกิจชุมชนก็พอไปได้”

ถือเป็นทางออกของเกษตรกร ที่เริ่มทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ต้องระวังการเข้าสู่วังวนแบบเดิม คือ สินค้าเริ่มฮิตก็ทำตามกันหมดจนเกร่อทั้งเมือง แล้วเข้าสู่ทางตันของสินค้าเหมือนที่เคยเป็นมา

เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย พร้อมชาวบ้านกว่า 100 คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้ยกเลิกมาตรา 34 ใน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ที่ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้าน และทำประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ยกเว้นได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้านกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากถูกบังคับให้ทำประมงในเขตชายฝั่งเท่านั้น นอกจากนี้กฎหมายในแต่ละพื้นที่กำหนดไม่เท่านั้น บ้างพื้นที่กำหนดให้ห้ามทำการประมงพื้นบ้านออกไปนอก 3 ไมล์ทะเล บางพื้นที่ 1.5 ไมล์ทะเล โดยมีโทษปรับสูง 50,000 – 500,000 บาท หรือ 5 เท่าของสัตว์น้ำที่จับได้ แต่กฎหมายกลับให้สิทธิประมงพาณิชย์ ทำประมงนอกชายฝั่งได้

นายสะมะแอ กล่าวว่า เพื่อความเป็นธรรม จึงขอให้ยกเลิก ให้ประมงพื้นบ้านสามารถเข้าถึงแหล่งจับสัตว์น้ำ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงขอให้ยกเลิกห้ามเรือไร้สัญชาติทำการประมง เนื่องจากประมงพื้นบ้านไม่มีทะเบียน จึงมีความผิดกฎหมาย จึงควรแก้ปัญหาด้วยการกำหนดขนาดเรือตามลักษณะเครื่องยนต์ที่จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นเรือไร้สัญชาติ ขณะเดียวกันก็ขอให้แก้ไขคำสั่ง คสช. เรื่องการบรรเทาความเสียหายประชาชนที่ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำลำน้ำ โดยขอให้รับรองสิทธิ์การอยู่อาศัยชุมชนท้องถิ่น ที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในชายฝั่งและริมน้ำ ชาวบ้านยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐจัดระเบียบชุมชน เพื่อให้สมารถอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มประมงพื้นบ้านฯ ยังไม่เดินทางกลับภูมิลำเนา แต่จะรอฟังคำตอบเรื่องดังกล่าวนี้จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 18 กรกฎาคม โดยยืนยันจะไม่ชุมนุมหรือทำผิดกฎหมาย และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยจะอาศัยค้างคืนที่โรงแรมใกล้เคียง นอกจากนี้หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขจะมีการประกาศท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป นอกจากนี้ ได้มีกำลังของตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 กองร้อย มาดูแลรักษาความเรียบร้อย พร้อมอำนวยความสะดวกในการรับส่งด้วย

ปีทองผลไม้ภาคตะวันออกสะดุด มังคุดปลายฤดูชนมังคุดใต้ ทำผลผลิตล้นตลาด ฝนตกหนักซ้ำทำผลผลิตเสียหาย ฉุดราคาดิ่งเหวทั้ง 2 ภาค เหลือ กก.ละ 5-10 บาท ซ้ำเติมต่อด้วยปัญหาแรงงานขาด ชะงักทั้งห่วงโซ่

ด้านเกษตรจังหวัดเมืองจันท์เผยผู้ว่าฯเรียกล้งช่วยรับซื้อตรงเกษตรกร คาดปัญหาคลี่คลายเร็วเพราะมังคุดรุ่นท้ายเหลือไม่เกิน 30% เตรียมเสนอผู้ว่าฯวิธีแก้ไข 3 ข้อ ด้านล้งบ่นอุบแรงงานขาด รับซื้อมากไม่ไหว ชี้รัฐต้องวางแผนล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรภาคใต้โอดราคาขายดิ่งสุดรอบ 20 ปี สวนทางต้นทุน ทยอยโค่นทิ้งหันปลูกมะพร้าว ปาล์มแทน

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ราคามังคุดตกต่ำเวลานี้ มีปัญหาสำคัญคือชาวสวนขาดแคลนแรงงานคัดเกรดส่งให้ล้ง ทำให้ต้องขายคละราคาเดียว ขณะที่ล้งส่งตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องคัดเกรด แต่แรงงานไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถรับซื้อเพิ่มขึ้นได้มาก อย่างไรก็ตาม ปัญหามังคุดล้นตลาดน่าจะคลี่คลายภายใน 7-8 วัน เพราะผลผลิตมังคุดเมืองจันท์เหลือไม่เกิน 30% หรือ 35,000 ตัน ดังนั้นภาคเกษตรต้องชะลอการเก็บเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมากระจุกตัวตามล้ง แล้วกลไกราคาจะปรับขึ้นเอง

นายอาชว์ชัยชาญกล่าวอีกว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) โดยนายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ขอให้ผู้ประกอบการ (ล้ง) ใหญ่ 4 แห่ง คือ แผงอรษา คมบาง บริษัท ริชฟิลด์เฟรซฟรุ๊ต จำกัด บริษัท กรีนฟรุตส์ จำกัด และบริษัท เคเอเอฟ อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต จำกัด เปิดจุดรับซื้อเพิ่มขึ้น 4 แห่ง โดยให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มมังคุดเพื่อคัดเกรดขายตรงให้ล้งไม่ผ่านพ่อค้าเร่ พร้อมกำชับให้พาณิชย์หาตลาดปลายทางเพิ่มขึ้นแล้ว

ล่าสุด มติที่ประชุมรอเสนอวิธีแก้ไขปัญหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี คือ 1.จังหวัดจะหาตลาดรับฝากขายมังคุดคละดำกิโลกรัมละ 15 บาท โดยมีจุดรับซื้อ 3 จุด คือ เทศบาลพลับพลานารายณ์ อบต.ตรอกนอง อ.ขลุง และหน้าที่ว่าการอำเภอคิชฌกูฏ 2.เปิดจุดรับซื้อเพิ่มขึ้น 3 สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรขลุง สหกรณ์การเกษตรมะขาม สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ และ 3.บริษัทประชารัฐสามัคคี หอการค้าจังหวัดจันทบุรี จัดคาราวานจำหน่ายปลีกในกรุงเทพฯ และให้เกษตรกรฝากขายชมรมบิสคลับ รับซื้อมังคุดกากในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด

ล้งมึนแรงงานขาด

นายสมศักดิ์ เลิศสำโรง หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ บริษัท เคเอเอฟ อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต จำกัด กล่าวว่า ปัญหาราคามังคุดตกต่ำทางแก้ไขควรใช้งบฯภาครัฐซื้อกระจายผลผลิตออกไป ไม่ทุ่มตลาดขายราคาถูก หรือทับซ้อนกับตลาดของล้ง เช่น ตลาดไท ตลาดชายแดน รถพ่อค้าเร่ หรือผู้บริโภคทั่ว ๆ ไป จะทำให้ของล้นเหมือนเดิม ควรหาตลาดใหม่ ๆ เช่น ค่ายทหาร ราชทัณฑ์ โรงเรียน โรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งหน่วยราชการมีงบฯค่าอาหารอยู่แล้ว”หน่วยงานภาครัฐต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้า ไม่ใช่ล้งแก้ปัญหา เพราะถ้าล้งต้องซื้อมากเกินไป แรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ทำไม่ไหว แม้จะให้เงินเพิ่มวันละ 500-600 บาท บางคนหนีกลับบ้าน ถ้าต้องรับซื้อของใหม่ทุกวัน แต่ของเก่าแพ็กไม่หมดก็ต้องระบายด้วยการตัดขายเป็นตกไซซ์ทำให้ล้งขาดทุน” นายสมศักดิ์กล่าว

ด้านนายมณฑล ปริวัฒน์ ทายาทรุ่นใหม่ “ล้งอรษาคมบาง” จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัญหาตอนนี้คือมังคุดมีปริมาณมาก ทั้งของจันทบุรีและมังคุดใต้ เมื่อส่งไปปลายทางระบายออกไม่หมด ต้องชะลอการซื้อ

หรือลดราคาลงมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และมังคุดเสียหายจากปริมาณฝนมาก ทำให้ปลายทางกดราคา จนเกิดภาพว่าล้งกดราคา หรือไม่รับซื้อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขที่จังหวัดจะให้เกษตรกรรวมตัวกันขายผลผลิตให้ล้งนั้น แนะนำว่าต้องวางแผนการบริหารจัดการทั้งเครื่องมือ แรงงาน ตลาดให้ชัดเจน เนื่องจากล้งมีแรงงานไม่เพียงพอ

สหกรณ์ตราดรับซื้อส่งนอก

นายประสิทธิ์ นาคดี พาณิชย์จังหวัดตราด กล่าวว่า มังคุดจังหวัดตราดเก็บผลผลิตไปแล้ว 90% เหลือประมาณ 2,000 ตัน โดยต้นเดือนกรกฎาคมราคาตกต่ำ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนแรงงานต่างด้าวจะรีบเดินทางกลับประเทศ จากปัญหากฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ ในส่วนภาครัฐได้ดำเนินการหาตลาดไว้ล่วงหน้า โดยให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ขายให้คัดเกรดและนำไปขายให้จุดรวบรวม 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ อ.บ่อไร่ สหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด และสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรกร จ.ตราด จำกัด อ.เขาสมิง ซึ่งจะเป็นตัวกลางรับซื้อไปจำหน่ายที่พาณิชย์หาตลาดไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้ได้ประสานกับผู้ประกอบการนำเข้าจีนที่ต้องการมังคุดเกรดคุณภาพเพิ่มปริมาณอีกวันละ 60 ตัน

นายธนภัทร จาวินิจ ผู้จัดการสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรกร จ.ตราด จำกัด กล่าวว่า ทั้งชาวสวนและสหกรณ์มีปัญหาเรื่องแรงงานเหมือนกัน สหกรณ์รับซื้อและต้องไปคัดเกรดเอง เพื่อส่งตลาดลองเบียนที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม สิบสองปันนาที่จีน และจังหวัดเชียงราย ด้วยระบบของสหกรณ์ต้องรับซื้อของสมาชิก และได้ขอโควตาจากบริษัทที่ส่งออกเพิ่มอีกวันละ 10 ตัน เพื่อช่วยเกษตรกรที่มีปัญหา ด้วยการซื้อราคานำตลาด 2-3 บาท

ด้านนายธานินทร์ ยิ่งสกุล เกษตรกรบ้านหนองแฟบ อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวว่า ตนเองมีมังคุด 400 ต้น ผลผลิตเริ่มเก็บได้ 2-3 ตัน ในช่วงราคาลงต้นเดือนกรกฎาคม นำขายล้งใกล้บ้านราคาเพียงกิโลกรัมละ 8-10 บาท ซึ่งชาวสวนอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายา และค่าเก็บที่สูงถึง 5-6 บาทต่อกิโลกรัม ต้องการให้หน่วยงานรัฐช่วยหาตลาดระบายผลผลิต หรือมีห้องเย็นให้เก็บชะลอไม่ให้มังคุดล้นตลาดเพื่อจะได้ดึงราคาขึ้น โดยราคาที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 30 บาท

หน้าสวนชุมพรดิ่ง 5 บาท/กก.

นายบรรจบ สงัดศรี อายุ 47 ปี ชาวสวนจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ทำสวนมังคุดมา 20 ปี มี 4 ไร่ ราว 55 ต้น โดย 2 ปีที่แล้วมังคุดราคาขึ้นสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 130 บาท แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยมีอีกเลย โดยเฉพาะในปีนี้ผลผลิตมังคุดเริ่มทยอยออกตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งราคาขายหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 35-40 บาท

แต่หลังจากนั้นราคาก็เริ่มลดลงมาเรื่อย ๆ ล่าสุดราคามังคุดหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 5-7 บาท ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยทำมา ขณะที่ราคามังคุดที่ตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 12-13 บาทเท่านั้น ตอนนี้ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแนะนำหรือให้คำปรึกษาเลยว่าควรจะทำอย่างไร

“มังคุดชุมพรจะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี พอถึงเดือนกันยายนก็จะหมดฤดูแล้ว ปีนี้ยอมรับว่าราคาตกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีชาวสวนหลายคนเริ่มทยอยโค่นต้นมังคุดทิ้ง แล้วหันไปปลูกมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันแทน เพราะขืนปลูกมังคุดต่อไปก็คงมีแต่ขาดทุน โดยเฉพาะคนที่ต้องจ้างแรงงานเก็บมังคุด ตอนนี้ต้นทุนกับราคาขายสวนทางกันจนไม่สามารถทำสวนมังคุดต่อไปได้ ส่วนผมกำลังปรึกษากับครอบครัวว่าควรจะโค่นทิ้งต้นมังคุดดีหรือไม่” นายบรรจบกล่าว

เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้เจอมรสุมหลายเด้ง เจอราคายางพาราตกต่ำ เรือประมงเหลือรอด 30% หลังเจออุปสรรคเทียร์ 3-ไอยูยู ล่าสุด พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวซ้ำเติมหนักอีก ด้านกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดชายแดนภาคใต้จับมือพลิกฟื้นเศรษฐกิจพื้นที่

นายวรุต ชคทิศ ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Young Executive Network @ Southern Border Provinces Administrative Centre : YES) และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่ม YES ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีสมาชิกทั้งหมด 3 รุ่น จำนวน 90 คน ซึ่งในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ยังเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงมีแนวคิดที่จะรีแบรนด์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) โดยการสร้างระบบธุรกิจใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เช่น จังหวัดปัตตานีพึ่งพาการประมง โดยมีการส่งออกมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ตอนนี้ก็ประสบกับอุปสรรคเทียร์ 3 และไอยูยู ล่าสุดก็มาประสบกับปัญหา พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวอีก จึงได้รับผลกระทบหนักมาก ตอนนี้เรือประมงสามารถออกไปทำการประมงได้เพียง 30% เท่านั้น ส่วนอีก 70% ต้องจอดเรือทิ้งไว้ในส่วนของจังหวัดยะลาและนราธิวาสก็มีรายได้หลักมาจากยางพารา ซึ่งขณะนี้ราคายางก็ผันผวนตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้รัฐต้องดำเนินการใหม่หันมาส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงซ้อน เช่น ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และกล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น ขณะเดียวกันเรื่องยางพาราต้องตัดวงจรพ่อค้าคนกลางออกไป

“เรื่องแรงงานต่างด้าว รัฐต้องพิจารณาแก้ปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และควรจะมีการพูดคุยกันก่อน โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการที่คนมาอาศัยอยู่ และมาทำงานในพื้นที่ก็มีบุญอยู่แล้ว มีแต่คนอาศัยจะออกไป ซึ่งแรงงานกรีดยางส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา และเข้ามาทำงานในอาชีพที่คนในพื้นที่ไม่ทำ”

นายกฯช่วยด้วย-กลุ่มเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.นครศรีธรรมราช ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำเข้าใกล้ 3 โล 100 โดยเสนอให้กำหนดสเป๊กการสร้างและซ่อมถนนลาดยางทุกเส้นทางให้ผสมยางพาราและให้ทุกหน่วยงานใช้ยางพาราผสมยางมะตอย 5%และให้ทำMOU รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรส่งให้บริษัทผู้ผลิตพาราแอสฟัลต์คอนกรีต
นายวรุตกล่าวอีกว่า ขณะนี้ประชาชนกลุ่มฐานรากไม่มีเงิน ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการก็หนักเช่นกัน เพราะฐานรากไม่มีกำลังซื้อ แต่กลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้ออยู่ในตอนนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้มีเงินเดือนเป็นประจำ

สำหรับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้รุ่นที่ 3 มีจำนวน 32 คน ประกอบด้วยนักธุรกิจในจังหวัดยะลา 14 คน ปัตตานี 10 คน และนราธิวาส 8 คน ซึ่งอยู่ระหว่างการอบรมศึกษาดูงาน รวมไปถึงการจัดทำ Business Model และจัดทำเมกะโปรเจ็กต์เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายวรุต ชคทิศ กล่าวอีกว่า ผลงานของกลุ่ม YES มีการดำเนินการกิจการตลาดน้ำปัตตานี ถนนคนเดินปัตตานี โดยจำลองภาพงานมาจากจังหวัดเชียงใหม่ และจัดงานสตาร์ตอัพที่จังหวัดปัตตานีและยะลา ซึ่งแต่ละกิจกรรมได้รับการตอบรับที่ดีมาก

ด้านนายอิสระ ละอองสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้ถือเป็นทรัพยากรและเป็นกำลังหลักที่สำคัญของการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงและพลิกฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

“เนคเทค” ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประกาศเป็นนโยบายที่จะมุ่งพัฒนางานวิจัยให้สามารถนำมาใช้ได้จริง ไม่ได้อยู่แต่บนหิ้งอีกต่อไป ล่าสุดเปิดตัว “NECTEC FAARM series : ฟาร์ม เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านการเกษตร” งานวิจัยร้อน ๆ จากนี้พร้อมแล้วให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำหน่ายหรือใช้ในภาคเกษตรกรรมของไทย

“ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร” ผู้อำนวยการเนคเทค เปิดเผยว่า ได้มุ่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ตามแผนปฏิบัติการด้านเกษตรและอาหารระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 -2564) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ยกระดับมาตรฐานการเกษตรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร

ล่าสุดจึงได้เปิดตัวงานวิจัยพร้อมใช้อย่าง “NECTEC FAARM series” ที่จะช่วยตรวจวัดและควบคุมตัวแปรสำคัญในการทำการเกษตร ส่งผ่านข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงแบบเรียลไทม์ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ โดยในเฟสแรกจะใช้ชุดเทคโนโลยีอย่าง สถานีวัดอากาศ, อุปกรณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ระบบควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, Smart Aqua Application, กล่องควบคุมวาล์วให้น้ำ (Irrigation Valve Control Box) และโซลาร์ปั๊มอินเวอร์เตอร์ (SUN FLOW) นำมาประกอบกันเป็นนวัตกรรมพร้อมใช้ให้เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร อาทิ”WATER FiT” ระบบให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก โดยออกแบบการให้น้ำที่ควบคุมผ่านการสื่อสารไร้สายและแยกอิสระกับอุปกรณ์ควบคุมวาล์วและอุปกรณ์ควบคุมปั๊ม ทำให้การออกแบบรูปแบบการให้น้ำแก่พืชทำได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นสูง อาทิ การให้น้ำตามอัตราการคายระเหย ณ แต่ละช่วงเวลา ใช้งานได้ทั้งในแปลงเกษตรขนาดเล็กจนถึงแปลงเกษตรขนาดใหญ่

ทั้งมีการบันทึกข้อมูลการให้น้ำและตรวจวัดทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนช่วยให้ผู้ใช้งานวิเคราะห์และปรับปรุงการให้น้ำในรอบถัดไปตามสภาพแวดล้อมได้ทันท่วงที อาทิ ดินเปียกก็สั่งให้รดน้ำน้อยหรืองดการให้น้ำได้ ทั้งยังตั้งช่วงเวลาการให้น้ำได้มากกว่า 100 ช่วงเวลา

“BUBBLE FiT” คือ ระบบควบคุมการและเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้เครื่องมือ ระบบ “Oxy” ควบคุมเครื่องเติมอากาศสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนละลาย 24 ชั่วโมงพร้อมเปิด-ปิดเครื่องเติมอากาศให้มีระดับออกซิเจนที่เหมาะสม ป้องกันความเสี่ยงจากออกซิเจนต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และมีการส่งค่าทำงานเข้าสู่อินเทอร์เน็ตรวมถึงแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุผิดปกติ ที่สำคัญมีระบบเปิดเครื่องตีน้ำทดแทนเมื่อมีเครื่องตีน้ำหยุดการทำงานจากเหตุฉุกเฉิน เช่น กระแสไฟเกิน

“AMBIENT SENSE” คือ ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมสำหรับการปลูกเลี้ยง ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสง ฯลฯ ทั้งการเพาะปลูก “Greenhouse” และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ “AquaLife” โดยมีเซ็นเซอร์วัดสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ หากอุณหภูมิร้อนเกินไป สามารถลดอุณหภูมิหรือปรับความชื้น ด้วยการพ่นหมอก ปรับตาข่ายพรางแสง

“เกษตรกรค่อนข้างพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ เดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟนใช้แล้ว ตัวนี้จะทำให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ สัญญาณมือถือก็ค่อนข้างครอบคลุม และมีลูกหลานคอยเข้ามาช่วย ดังนั้น นวัตกรรมที่เนคเทคทำจะพยายามทำให้ถูกที่สุด เช่น ใช้บลูทูท เชื่อมต่อ ไม่กี่พันบาท วัดความชื้นดินและสภาพอากาศ อาจมีอุปกรณ์ใหญ่ เช่นที่ใช้กับบ่อเลี้ยงกุ้ง คิดแล้วไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนบ่อ แต่ผลประโยชน์คุ้มกว่า ช่วยควบคุมออกซิเจนให้เหมาะสมและแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ลดความสูญเสียได้มาก เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเมือง ปัญหาไฟตกไฟกระชากที่อาจทำให้ระบบล่มเป็นสิ่งที่เลี่ยงยาก”

และได้เชิญชวนเอกชนซึ่งเข้าถึงตัวผู้ใช้ได้เร็วกว่า ให้นำเทคโนโลยีไปขยายต่อให้เกษตรกร ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริงอย่างรวดเร็ว โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับเนคเทค-สวทช. ในโครงการ “บัวหลวงให้น้ำเพื่อการเกษตร” ใช้กล่องควบคุมวาล์วให้น้ำ (Irrigation Valve Control Box) ที่กำหนดเวลาการให้น้ำและมีเซ็นเซอร์วัดค่าความชื้นดิน-ปริมาณน้ำฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะปลูก นำร่องในพื้นที่การเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเพาะเห็ด หมู่บ้านซับสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่ม Young Smart Farmer เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

“เรายังพัฒนาต่อเนื่องไปสู่ IoT โดยมุ่งหวังให้มีการนำข้อมูลการเกษตรไปใช้วิเคราะห์และประมวล (FAAR AlicE : Analytics Engines) เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาพื้นที่ในการปลูกพืช อาทิ ทำนายฝนล่วงหน้า คำนวณปริมาณน้ำและสารอาหารที่เหมาะสม ปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์ ข้อมูลสภาพอากาศและภูมิประเทศดึงจากดาวเทียมได้ แต่ยังขาดข้อมูลที่ต้องอาศัยผลงานวิจัยที่เกษตรกรได้นำไปใช้ เช่น ค่าความชื้นหรืออุณหภูมิ และข้อมูลบันทึกกิจกรรมของเกษตรกร”

ลำไยเชียงใหม่-ลำพูนทะลัก 2.6 แสนตันเดือน ส.ค.นี้ ชี้แนวโน้มราคาร่วง “เชียงใหม่” เน้นแปรรูปกว่า 8 หมื่นตัน-บริโภคสดทั้งตลาดในประเทศและส่งออกกว่า 5 หมื่นตัน ด้าน “ลำพูน” เอ็มโอยูกับเอกชนผลิตน้ำลำไยเข้มข้น รับซื้อผลผลิต 120 ตัน/วัน พร้อมป้อนลำไยสดไปจีน อินโดนีเซีย ด้านบิ๊กส่งออก “อาร์.เค.ฟู้ด” เดินเครื่องผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือก 56 ล้านกิโลกรัม ส่งออกไปจีนมูลค่า 3 พันล้านบาท

ผลผลิตลำไยในฤดูปี 2560 ของภาคเหนือจะออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม และจะออกมากที่สุดพร้อม ๆ กันช่วงเดือนสิงหาคม โดยพื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่คือ เชียงใหม่และลำพูน สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะมีผลผลิต 134,106 ตัน และลำพูนกว่า 120,000 ตัน

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ภาครัฐและเอกชนของจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันวางแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยผลผลิตลำไยในฤดูทั้งหมด 134,106 ตัน จะใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายปกติ อาทิ การแปรรูปลำไยที่มีความต้องการประมาณ 80,463 ตัน แบ่งเป็นโรงงานแปรรูปกระป๋อง 12,070 ตัน แปรรูปอบแห้ง 68,394 ตัน แบ่งเป็นอบแห้งเนื้อสีทอง 8,046 ตัน และอบแห้งทั้งเปลือก 60,348 ตัน

ขณะที่ความต้องการบริโภคสด มีปริมาณ 53,643 ตัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 16,092 ตัน และส่งออก 37,550 ตัน โดยตลาดบริโภคสดในประเทศ มีหน่วยงานที่จะเป็นกลไกหลักในการกระจายผลผลิตคือ บริษัทประชารัฐ รักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด 1,000 ตัน หอการค้า 500 ตัน สภาอุตสาหกรรม 500 ตัน วิสาหกิจชุมชน 3,590 ตัน องค์การตลาด 1,000 ตัน สหกรณ์การเกษตร 814 ตัน เป็นต้น

ด้านนางจำเนียร แสนราชา เกษตรจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิตปี 2560 ของจังหวัดลำพูน คาดว่าจะมีปริมาณราว 127,934 ตัน หากคิดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10 บาท จะมีมูลค่าทั้งหมดกว่า 1,270 ล้านบาท ซึ่งผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณผลผลิตราว 80,000 ตัน แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากในปีนี้ แต่ก็พบว่าคุณภาพไม่ดีนัก ลูกค่อนข้างเล็ก ซึ่งคุณภาพของลำไยจะส่งผลต่อราคาขาย ประกอบกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากพร้อม ๆ กันของหลายพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถขายราคาที่สูงได้

สำหรับราคาช่วงระยะตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 2560 ราคาลำไยช่อสด เกรด AA กิโลกรัมละ 29 บาท เกรด A 24 บาท/กก. เกรด B 19 บาท/กก. และเกรด C 10 บาท/กก. ส่วนลำไยรูดร่วง เกรด AA กิโลกรัมละ 17 บาท เกรด A 12 บาท/กก. เกรด B 7 บาท/กก. และเกรด C 2 บาท/กก. ซึ่งขณะนี้ผลผลิตเพิ่งทยอยเก็บได้ 10% ของผลผลิตทั้งหมด

ทั้งนี้จังหวัดลำพูนได้วางแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย 127,934 ตัน โดยมุ่งส่งออกและแปรรูป 60% ซึ่งได้ทำเอ็มโอยูกับเอกชนไทยที่ผลิตน้ำลำไยเข้มข้นในอำเภอป่าซาง โดยจะรับซื้อลำไยจากเกษตรกร 120 ตัน/วันตลอดฤดูกาลนี้ นอกจากนั้นผู้ประกอบการลำไยอบแห้งในจังหวัดลำพูนจะรับซื้อลำไยเข้าสู่กระบวนการอบแห้งทั้งเปลือก และอบแห้งเนื้อสีทอง เพื่อส่งออกไปต่างประเทศด้วย ส่วนตลาดการบริโภคลำไยสดอีก 40% จะส่งออกไปตลาดจีนและอินโดนีเซีย 30-35% ส่วนที่เหลือจะเปิดตลาดโรดโชว์กระจายผลผลิตไปยังจังหวัดที่ไม่มีลำไย

นางกาญจนา พงศ์พฤกษทล รองประธานกรรมการ บริษัท อาร์.เค.ฟู้ด จำกัด ผู้ส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกรายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า ผลผลิตลำไยปี 2560 ของภาคเหนือ มีปริมาณค่อนข้างมาก คาดว่าในช่วงที่มีผลผลิตออกมากเดือน ก.ค.-ส.ค. 60 โรงงานในเครือทั้ง 4 แห่งจะมีกำลังการผลิตลำไยสดรวม 56 ล้านกิโลกรัม (แปรรูปเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือกได้กว่า 56,000 ตัน)

“ผลผลิตที่ออกมาก จะส่งผลดีต่อการส่งออก สมัครพนันออนไลน์ เนื่องจากตลาดจีนยังคงมีความต้องการลำไยอบแห้งทั้งเปลือกแบบไม่จำกัด ปัจจุบันโรงงานอาร์.เค.ฟู้ด ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นฐานการผลิตใหญ่ที่สุด มีเตาอบลำไยมากกว่า 60 ตู้ ส่วนโรงงานที่ อ.พาน อ.เทิง และ อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นการร่วมทุนกับกลุ่มทุนจีนส่งไปขายในตลาดจีน”