ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กับกรุงเทพมหานคร

จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษาพร้อมร่วมกิจกรรม BAAC FIT & FIRM เดินวิ่งเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมบริจาคเพื่อการกุศลในโครงการ “จ้าง วาน ข้า” ให้กับมูลนิธิกระจกเงา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. คณะผู้บริหาร พนักงานในพื้นที่และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ณสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ธ.ก.ส. ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสานต่อพระราชปณิธาน ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” มาใช้เป็นหลักในการดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ อนุรักษ์ดินและน้ำให้อุดมสมบูรณ์

ภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีเป้าหมายในปี 2565 เพิ่มไม้มีค่าในประเทศอีก 129,000 ต้น พร้อมการจัดกิจกรรมรณรงค์และปลูกต้นไม้ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ณ สาขาของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ สำหรับการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อให้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯ ในวันนี้ ธ.ก.ส. ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จาก นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงเขตต่าง ๆ ในการร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ โดย ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมพันธุ์กล้าไม้มีค่า

ไม่ว่าจะเป็น ชมพูพันทิพย์ เหลืองปรีดียาธร ประดู่ ตะแบก เสลาอินทนิล และยางนา จากชุมชนธนาคารต้นไม้มามอบให้กับเขตต่าง ๆ จำนวนกว่า 1,900 ต้น และยังจัดเตรียมกล้าไม้ไว้ที่ธ.ก.ส. ทุกสาขาในกรุงเทพฯ เพื่อมอบให้กับประชาชนที่สนใจนำไปปลูก อีกกว่า 1,000 ต้น ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกร และประชาชนปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของตนเอง รวมถึงพื้นที่ของชุมชนในรูปแบบธนาคารต้นไม้และมีการยกระดับไปสู่ชุมชนไม้มีค่า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดิน โดยสามารถนำต้นไม้มาคำนวณเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงการประเมินการกักเก็บคาร์บอนเครดิต เพื่อเป็นรายได้ให้กับชุมชน ปัจจุบัน ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไปแล้วกว่า 12 ล้านต้น

นอกจากการรณรงค์ปลูกต้นไม้ทั่วทั้งประเทศ ธ.ก.ส. ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับบุคลากร บุคคลในครอบครัว รวมถึงลูกค้า ธ.ก.ส. ให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรม BAAC Fit & Firm พร้อมวางเป้าหมายเชิญชวนประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ร่วมออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง รวมถึงร่วมกับกทม. จัดกิจกรรมบริจาคเพื่อการกุศลในโครงการ “จ้าง วาน ข้า” ให้กับมูลนิธิกระจกเงา เพื่อสนับสนุนคนไร้บ้านให้ประกอบอาชีพสุจริต สร้างรายได้ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

นายกฤษ อุตตมะเวทิน โฆษกกรมการข้าว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา กรมการข้าวได้มีการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวใหม่จำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ กข93 กข95 กข97 และ กข101 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ ผู้แทนสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้แทนสมาคมค้าข้าวไทย ผู้แทนสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ผู้แทนสมาคมโรงสีข้าวไทย ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศ รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้าว ตลอดจนผู้บริหารกรมการข้าว ร่วมเป็นกรรมการในการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวในครั้งนี้

โฆษกกรมการข้าว กล่าวต่อไปว่า ในการประชุมพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวในแต่ละปีนั้น จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงผู้แทนจากสมาคมต่างๆด้านข้าว ให้เข้ามาร่วมพิจารณาพันธุ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องด้านข้าวและใกล้ชิดกับพี่น้องชาวนา ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าวในแต่ละปี ซึ่งรวมไปถึงสมาคมต่างๆด้านข้าวที่เปรียบดั่งภาคีเครือข่ายที่กรมการข้าวได้มีการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด ที่ประกอบด้วย สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมชาวนาข้าวไทย สมาคมชาวนาชาวไร่ สมาคมชาวนาอีสานสมาคมชาวนาและโรงสี สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน(ประเทศไทย) สมาคมเกษตรกรไทย สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก สมาคมชาวนาเศรษฐกิจพอเพียง สมาคมเครือข่ายชาวนาไทย และสมาคมส่งเสริมชาวนาไทย

“กรมการข้าวเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลด้านข้าว มีเป้าหมายเพื่อยกระดับให้พี่น้องชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยหนึ่งในภารกิจหลักคือการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคแมลง และที่สำคัญคือตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องชาวนา ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองเจตนารมณ์ดังกล่าว กรมการข้าวจึงปฏิบัติภารกิจอย่างสุจริต โปร่งใส โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของพี่น้องชาวนาเป็นลำดับแรก ให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ไม่เอนเอียงไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” โฆษกกรมการข้าว กล่าว

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570 ซึ่งจะใช้เป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน

มีการบูรณาการและการพัฒนา ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย BCG Model ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาภาคการเกษตรสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง โดยการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง ขอนแก่น ราชบุรี จันทบุรี และจังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาให้เป็นต้นแบบขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย BCG Model ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นกรอบในการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรด้วย BCG Model แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ โดยจะขับเคลื่อน BCG Model ด้วยกระบวนการส่งเสริมเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area – Based) มีการกำหนดขอบเขตในการดำเนินการอย่างชัดเจน ทั้งมิติพื้นที่ คน และสินค้า ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาตามความต้องการของพื้นที่

บูรณาการการดำเนินงานและงบประมาณกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาคีระดับพื้นที่และระดับนโยบาย รวมถึงการพัฒนาต่อยอดจากฐานการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว เช่น กลุ่มแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร Young Smart Farmer Smart Farmer ศพก. ศจช. ศดปช. ให้เกิดผลสำเร็จที่ชัดเจนต่อเกษตรกรและชุมชน สร้างรายได้ กระจายผลประโยชน์ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรที่กรมส่งเสริมการเกษตรมานำเสนอเป็นกลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรจากพื้นที่ภาคตะวันตก ประกอบด้วย

กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม หมู่ 12 ตำบลเเพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ใช้การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ เน้นส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน และสร้างอัตลักษณ์เป็น GI มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี มีการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป และวิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มจากส่วนเหลือทิ้ง เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ ซึ่งมีจุดเด่น คือ การแปรรูปขั้นสูง และเชิงพาณิชย์ มีตลาดรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตลาดออนไลน์

นายภิญญา ศรีสาหร่าย และ นางสาวภีรดา ศรีสาหร่าย YSF จังหวัดราชบุรี ที่พัฒนาการทำเกษตร สู่ Smart Organic Tourism Farm อย่างยั่งยืนด้วย BCG Model โดยทำอาชีพปลูกผักผลไม้ไร้สารเคมี นำความรู้ด้าน BCG
มาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง มีจุดเด่นที่ทำการเกษตรบนพื้นฐานของข้อมูลด้านการผลิตและการตลาดของฟาร์ม วิเคราะห์และวางแผนการปลูกผักแบบประณีตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ย เพื่อลดต้นทุน มีการสร้างเครือข่ายพันธมิตร Young Smart Farmer
และถ่ายทอดความรู้เกษตรอินทรีย์บนพื้นฐาน BCG Model

วิสาหกิจชุมชนบ้านสบายใจ จังหวัดสมุทรสงคราม มีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ ปี 2549 เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตราคาตก นำผลผลิตกล้วยที่ปลอดภัย โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ของในชุมชนมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีงานวิจัยและผลการทดสอบรองรับ ทำการตลาดเน้นช่องทางออนไลน์ และจุดเด่นของที่นี่คือ สร้างมูลค่าเพิ่มจากกล้วยทุกระยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีอัตลักษณ์ ได้คุณภาพมาตรฐาน ตามความต้องการของตลาด และมีการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วยอย่างคุ้มค่า ช่วยลดปริมาณของเสียในกระบวนผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero waste)

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวทิ้งท้ายว่า BCG ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการทำงานส่งเสริมการเกษตร
แต่เป็นการนำสิ่งที่ทำอยู่แล้ว มาร้อยเรียงกันใหม่ เรียกชื่อใหม่ จัดกระบวนการขับเคลื่อนใหม่ และมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น และให้ใช้แนวคิดของ BCG Model ในการดำเนินงานทุกโครงการ กรมส่งเสริมการเกษตรคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
การดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าว จะทำให้เกิดการพัฒนาและยกระดับงานส่งเสริมการเกษตรให้สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่ และส่งผลให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนต่อไป

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้กำหนดบทบาทของตน เป็น change agent และ เป็นผู้ริเริ่มสร้างโครงการ Local Enterprises (LE) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อสร้างองค์ความรู้ ทักษะและนวัตกรรมการจัดการให้กับผู้ประกอบการ LE อีกทั้งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากที่มีชุมชนเป็นพื้นฐาน เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ จัดงาน ‘Local Enterprises Social Expo’

เพื่อนำเสนอความสำเร็จของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของ ‘ชุมชนท้องถิ่น’ ผ่านการดำเนินโครงการ ‘Local Enterprises’ (LE) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยความร่วมมือของภาคีวิจัยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนงานวิจัย ภายใต้แนวคิด “คน-ของ-ตลาด” มิติที่แตกต่าง LE Network Value Chain Model ครั้งแรกของไทย มุ่งหวังให้ LE เป็น Model ที่ยกระดับธุรกิจชุมชน และเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่เจาะลึก วิจัยสาเหตุและวางเครื่องมือแก้ปัญหาเสริมจุดแข็งให้ธุรกิจชุมชนอย่างครบวงจร และเกิดการสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ประกอบการ Local Enterprises ทั่วประเทศให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง นำยุค และยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อการเติบโตอย่างมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน และแบ่งปัน

ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า โครงการ Local Enterprises ริเริ่มขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนา‘คน (ธุรกิจ)’ โครงการถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งพัฒนา “คน (ธุรกิจ)” โดยการออกแบบหลักสูตรการบริหารจัดการเรื่อง “ตลาด” ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ด้วยผลวิจัยทั้งด้าน Data และ Technology แล้วนำ Knowledge Gap (หรือ Technology-Knowhow) มาเติมในหลักสูตร เพื่อให้ “คน(ธุรกิจ)” สามารถสร้าง “ของ(สินค้าและบริการ)” ที่ตอบโจทย์ “ตลาด” และตรงความต้องการผู้บริโภค (ลูกค้า)

เป้าหมายสำคัญของโครงการ LE ในปี 64-65 นี้ คือการเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจด้วย “การจัดการ/วางแผนการเงินภาคธุรกิจแบบครบวงจร” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการระดับชุมชน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ LE จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไข คือ ต้องใช้ทรัพยากรภายในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า (Local Resources) ต้องเกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ (Local Employment) และเกิดการกระจายรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ (Local Economy) รวมถึงเพิ่มสัดส่วนรายได้อย่างมีธรรมภิบาล ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการ LE ในปี 64-65 นี้ นอกจากการเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจด้วย “การจัดการและวางแผนการเงินภาคธุรกิจแบบครบวงจร” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการระดับชุมชนด้วย

ผมเชื่อมั่นว่า การจัดงานครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการชุมชนทุกระดับ ได้รับองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์อย่างครบถ้วน และสามารถนำผลลัพธ์ทางความรู้ที่ได้ไปต่อยอดทางธุรกิจของตนเองและชุมชนได้อย่างมืออาชีพ อีกทั้งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากที่มีชุมชนเป็นพื้นฐาน เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ชุมชนพัฒนา เติบโต อย่างมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน และแบ่งปันได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises กล่าวว่าจากผลการวิจัจและการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ LE ที่ผ่านมา ในปี 2564-2565 จำนวนกว่า 1,000 ราย พื้นที่ 73 จังหวัด เราพบว่า ปัญหาหลักธุรกิจชุมชน โดยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในปัญหาสภาพคล่อง ทำให้ธุรกิจเกิดความผิดพลาด ล้มเหลว และเรายังไม่เห็นการแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นเรื่อง “การบริหารการเงินธุรกิจแบบครบวงจร” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการระดับชุมชน ดังนั้น เราจึงออกแบบ

โครงการที่จะยกระดับ LE ภายใต้การสร้างศักยภาพคน (ธุรกิจ) ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุดในการยกระดับธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง นำยุค และยั่งยืน ผ่าน แนวคิด “คน-ของ-ตลาด โมเดล” องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตามกรอบโครงการ “LE” เพราะ “คน” คือ ธุรกิจชุมชน โดยจะครอบคลุมตั้งแต่เจ้าของธุรกิจ ลูกจ้าง ไปจนถึงเกษตรกร ฯลฯ โดยมิติการพัฒนา “คน” จะมุ่งเน้นไปที่การเสริมความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจ ตลอดจนทักษะการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต

การตลาดและแบรนด์ ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะ “ของ” คือการพัฒนา/ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่า-คุณค่าของ “ของ” ซึ่งครอบคลุมทั้งวัตถุดิบ สินค้าและบริการ ที่ตอบโจทย์ความต้องการตลาด และเหมาะสมกับต้นทุนทางธุรกิจที่ตนมีและ ความสามารถการผลิตอย่างมีประสิทธิผล เพราะ “ตลาด” คือการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นโอกาสใหม่ ๆ ของธุรกิจด้วยข้อมูลตลาดที่ผ่านการวินิจฉัย ทั้งด้าน supply และ demand ทั้งเชิงลึกและรอบด้าน ซึ่งกระบวนการ “คน-ของ-ตลาด โมเดล” ได้รับการพัฒนายกระดับในด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันผ่านเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อ LE อาทิ LE Financing, Value chain management, Strategic design for production marketing and branding

โดยกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นอย่างแตกต่าง และ เจาะลึก ผ่านเครื่องมือพิเศษ เริ่มจาก การเรียนรู้กระบวนการ ปรับวิธีคิด และ mindset ของผู้ประกอบการชุมชน (LE) เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนจากการดำเนินธุรกิจเพื่อตนเอง (Ego System) สู่การดำเนินธุรกิจแบบ (Eco System) คือการแบ่งปัน สร้างประโยชน์ และผลลัพธ์ (กำไร) เชิงธุรกิจควบคู่กับสังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ด้วยเครื่องมือแอปพลิเคชัน ที่พัฒนาและออกแบบโดยเฉพาะเพื่อใช้ทำงานและกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ Local Enterprises “คน-ของ-ตลาด” โมเดล ภายใต้ชื่อ ‘ประตูเศรษฐี’

ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินภาพรวมธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านการจัดการสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อบรรเทาและประคับประคองธุรกิจผ่านการวินิจฉัย 4 ด้าน คือ รายได้ กำไร สภาพคล่อง และหนี้สิน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ โครงการ ‘ประตูเศรษฐีบานที่ 1’ ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 500 คน และ ‘ประตูเศรษฐีบานที่ 2’ มีผู้เข้าร่วม 350 คน หลังจากนั้นผู้ประกอบการจะผ่านหลักสูตร ‘เศรษฐีเรือนใน’ เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการเงินภายในครัวเรือน เพื่อให้สามารถแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวออกจากกระเป๋าเงินธุรกิจได้

ทำให้สามารถเห็นสถานะการเงินภาคธุรกิจได้อย่างแท้จริง ประกอบด้วย 3 ตอน คือ หว่าน (บริหารรายรับรายจ่าย,วิธีเพิ่มสินทรัพย์) พรวน (วีธีออมเงิน, หลักการลงทุน) เก็บเกี่ยว (บริหารหนี้, เตรียมพร้อมสู่การเงินภาคธุรกิจ) ผ่านเครื่องมือต่างๆ อาทิ แอปพลิเคชัน “เศรษฐีเรือนใน”, บอร์ดเกมส์ (ภาพแสดงให้เห็นถึงงบดุล และงบรายรับ รายจ่าย-บำรุงชีพ, บำเรอชีพ, ดำรงชีพ, บรรลัยชีพ),

เป็นต้น แล้วจึงผ่านไปสู่หลักสูตร ‘เศรษฐีเรือนนอก’ เป็นการเรียนรู้บริหารจัดการการเงินภาคธุรกิจ เพื่อนำไปวางแผนต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าธุรกิจของตนเองและชุมชนอย่างยั่งยืนร่วมกัน ผ่านเครื่องมือที่ใช้ อาทิ บอร์ดเกมส์ (ภาพแสดงให้เห็นถึงงบดุล และ งบกำไรขาดทุน-งบการตลาด, ค่าวิจัยและพัฒนา,ค่าโสหุ้ย,ค่าเสื่อมราคา) โดยใช้กลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าธุรกิจอย่างยั่งยืน 6+1 เป็นตัวกำกับในการวางแผน

นอกจากนี้ ภายในงานมีผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน รวมกว่า 130 ธุรกิจ มาร่วมจัดแสดงสินค้า พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์การทำธุรกิจ รวมถึงการมอบโล่รางวัลให้กับผู้ประกอบการที่มี สัมมาชีพ มืออาชีพ และเศรษฐีเรือนในดีเด่น จำนวนทั้งสิ้น 10 รางวัล ได้แก่

รางวัลประเภทมืออาชีพ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่

คุณนลินี ศรีสิทธิประภา ศูนย์เรียนรู้ผ้ามัดย้อมอ้ายยอ / ศูนย์เรียนรู้ผ้ามัดย้อมอ้ายยอ รางวัล “นักฆ่าหนี้บรรลัยชีพดีเด่น”
คุณสุเมธา ทองเสริมสุข วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีตำบลบ้านเลนปั้นจิ๋วดินไทย / ชุดหาบปั้นจิ๋วดินไทย รางวัล “นักจับปีศาจบำเรอชีพดีเด่น”
คุณจิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร บริษัท One more Thai craft chocolates นครศรีธรรมราช / ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต รางวัล “นักปั้นกำไรดีเด่น”
คุณปิยะพันธ์ สุรินทร์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตลำไยบ้านเหล่าดู่ / ลำไยอบแห้ง ลำไยอบกรอบ น้ำตาลลำไยสกัดเข้มข้น ไซรัปลำไย รางวัล “นักสร้างรายรับดีเด่น”
คุณนพมาศ พรหมศิลป์ ภูสิบแสน Phu Sib Saen / เครื่องสำอางค์ใบพลู เช่น ใบพลูแอนติออกซีแดนเซรั่ม ครีมกันแดด น้ำพริกเปาเห็ดแครง เสื้อชูชีพ 2 ตัวรางวัล “นักวางแผนสำรองดีเด่น”
รางวัลประเภทสัมมาชีพ จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

คุณภาวริน น้อยใจบุญ บริษัทหวานระรินจำกัด / ขนมไทย รางวัล “เศรษฐีช่างเชื่อม”
คุณสุทธิรัตน์ ปาลาส บริษัทบุญดำรงค์กรีนฟาร์มจำกัด / ลางสาด / ลองกอง อุตรดิตถ์ รางวัล “เศรษฐีช่างช่วย”
คุณศุภชัย เทพบุตร ร้านชุมชนดีมีรอยยิ้มบ้านห้วยปลาดุก / มะนาวแป้นรำไพเพชรบุรี รางวัล “เศรษฐีช่างฝึก”
คุณสมัย เปีย วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์สร้างอาชีพที่ยั่งยืน / ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลหมูหลุม และไก่ รางวัล “เศรษฐีช่างจด”
รางวัลประเภทเศรษฐีเรือนในดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

คุณสมัย เปีย (MVP) วิสาหกิจเกษตรอินทรีย์สร้างอาชีพที่ยั่งยืน / ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลหมูหลุม และไก่ รางวัล “เศรษฐีเรือนในดีเด่น” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจเข้าร่วมโครงการ ‘Local Enterprises’ ได้ที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โทรศัพท์ 0 2109 5432 ต่อ บพท. หรือ เว็บไซต์

เช่นที่นวัตกรรมรถยนต์ไร้คนขับกำลังเป็นกระแสตื่นตัวในหลายบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และแน่นอนเทคโนโลยีแบบชาญฉลาดนี้ก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการทำเกษตรด้วยเช่นกัน

การเตรียมการเพาะปลูกโดยเกษตรกร การหว่านลงเมล็ด การเก็บเกี่ยว ทั้งหมดนี้มีเครื่องจักรเข้าช่วยในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นรถไถหว่าน รถแทรคเตอร์ขนาดใหญ่ แต่การพยายามใส่เทคโนโลยีเพิ่มเข้าไป ทำให้รถเหลานี้เป็นรถทำงานด้านการเกษตรที่อัจฉริยะขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การเชื่อมสัญญาณดาวเทียมเข้าไปในรถเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการตรวจจับแปลงเพาะปลูกและสำรวจสภาพอากาศของพื้นที่เกษตรนั้นๆ และแน่นอน ถ้าเพิ่มเทคโนโลยีรถทำการเกษตรไร้คนขับเข้าไปอีก ก็จะยิ่งเป็นความฉลาดอัจฉิรยะกำลังสอง และแน่นอนระยะยาวคือการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มการคำนวณระยะการเก็บเกี่ยวที่แม่นยำขึ้น และนำไปสู่การวางแผนอย่างเป็นระบบในการเพาะปลูกเพื่อไม่ให้ปริมาณผลผลิตมีมากเกินไป

มีตัวอย่างหนึ่งในพื้นที่เกษตรที่สหรัฐอเมริกา ที่บางช่วงอากาศภายนอกจะมีความร้อนสุดๆ แน่นอนว่าเกษตรกรย่อมลำบากในการออกไปทำงานในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ และนั่นนำมาซึ่งการพยายามตอบโจทย์ด้วยเทคโนโลยี ซึ่งบริษัทสตาร์ทอัพที่ชื่อ บลู ริเวอร์ เทคโนโลยี ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย นำระบบออโตเมชั่น หรือระบบอัตโนมัติมาพัฒนาให้เกิด “ระบบฟาร์มอัจฉิรยะ” ที่ทำให้เครื่องจักรด้านการเกษตรทำการช่วยเหลือ บำรุงรักษาแปลงเกษตรและช่วยกำจัดวัชพืชได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้จะต้องมีการพึ่งพิงใช้ข้อมูลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า ระบบอัตโนมัติที่จะทำงานควบคู่กับข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่อัพเดทจะช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง รวมทั้งสารเคมีกำจัดวัชพืชได้อย่างแม่นยำต่อปริมาณที่เหมาะสมทั้งกับแปลงเกษตรและกับสิ่งแวดล้อม

วิธีการนี้จะทำให้เกิดการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ เพราะสามารถคำนวณได้ทั้งต้นทุนการผลิตและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเปลี่ยนรูปแบบการทำฟาร์ม

ปัจจุบันรถแทรคเตอร์อัจฉริยะ ที่ฉลาดขึ้นเรื่อยๆนี้มีตั้งแต่ระบบเซนเซอร์ กล้องวิดีโอ เรดาห์ และแน่นอนระบบไร้คนขับ ซึ่งรถแทรคเตอร์นี้ถูกควบคุมจากมนุษย์ที่นั่งอยู่ในออฟฟิศอีกครั้ง

เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมด้านการเกษตร ซึ่งปัจจุบันบริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งแข่งขันกันพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรแบบระบบอัจฉริยะในหลายรูปแบบ อาทิ บริษัท บลู ริเวอร์ เทคโนโลยี วางแผนจะติดตั้งระบบที่เขียนอัลกอริธึ่มเจาะจงในการตรวจสอบวัชพืชลงลึกในแต่ละแปลง เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตรเพื่อเข้าสู่ฟาร์มอัจฉริยะในโลกอนาคต

แม้ว่าราคาผลไม้ภาคตะวันออกจะดีดตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น หมดปัญหาราคาตกต่ำแบบอดีตแล้ว แต่เกษตรกรเมืองจันท์ยังต้องหาทางแปรรูปเพื่อความยั่งยืน ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มมากขึ้น ร่วมกันคิด และทำสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ทั้งนี้ยังเป็นการแก้ไขปัญหาผลไม้ตกเกรด และออร์แกนิกที่ยังมีปัญหาเรื่องตลาดอีกด้วย

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า จังหวัดจันทบุรีมีการจดทะเบียนตั้งวิสาหกิจชุมชน ประมาณ 58 แห่ง หากเจาะจงเฉพาะแปรรูปผลไม้มีประมาณ 30 กว่าแห่ง

“อนงค์ กุลเว่” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกุลเว่ไวน์ผลไม้ จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า เริ่มแรกตนและสามีชาวสวีเดนมาซื้อที่สวน 6 ไร่ของจังหวัดจันทบุรี เพราะชอบธรรมชาติ ปลูกผลไม้ผสมผสาน ทั้งเงาะ ลองกอง มังคุด มัลเบอรี่ สับปะรด สละ เป็นต้น โดยตั้งใจจะขายผลไม้ออร์แกนิก แต่ปรากฏว่าคนไม่ซื้อ ติว่าผิวไม่สวย ลูกเล็ก เราจึงเริ่มกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะเพิ่มคุณค่าให้กับผลไม้ออร์แกนิกแล้วมีตลาดรองรับ

“ถ้าทำของเหมือนกันการแข่งขันจะสูง สมัคร GClub ดังนั้นเราต้องคิดนอกกรอบว่าเราชอบอะไร มุ่งมั่นจะทำอะไร สุดท้ายมาเกิดไอเดียว่าสามีซึ่งมีบรรพบุรุษอยู่ฝรั่งเศส มีความรู้การทำไวน์ เราจึงลองเอาความรู้มาประยุกต์กับผลไม้เมืองร้อนที่เมืองไทย ด้วยการใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น เริ่มจากสวนหลังบ้านของเราก่อน จนขยายต้องใช้เครือข่ายในกลุ่ม ขณะนี้มีสมาชิก 8 ราย จดในนามวิสาหกิจชุมชนกุลเว่ไวน์ผลไม้”

จากนั้นทั้งคู่ได้เริ่มทดลองทำไวน์เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา ลงทุนโรงเรือน 1.5 ล้านบาท เป็นการลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากใช้วัตถุดิบในสวนเล็ก ๆ กำลังการผลิต 10 ลิตร ปัจจุบันขยายกำลังการผลิตเป็น 6,000 ลิตร ซึ่งยังคงเป็นโรงงานขนาดเล็ก จ่ายภาษีสรรพสามิตถูกต้อง

คณะกรรมการของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง ศูนย์จัดการ

ดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ทุกอำเภอมีการจัดตั้ง และดำเนินการศูนย์จัดการดินและชุมชน อำเภอละ 1 ศูนย์ ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 7 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 34 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่รวม 241 ไร่ สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้กว่า 90,037.60 บาท จากการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนยางพารา

นอกจากนี้ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง ยังช่วยจัดหาและบริการจำหน่ายปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรสมาชิกสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด จากที่ใช้วิธีการติดต่อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิต โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยเคมี เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จัดซื้อจัดหาแม่ปุ๋ยเคมี และจำหน่ายปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณ และคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืน

นายกฤตภาส กล่าวอีกว่า ศดปช.ตำบลท่าช้าง ยึดโมเดลการต่อยอดธุรกิจจากโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ย (One stop Service) มีการถ่ายทอดความความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรทั้งเกษตรกรในพื้นที่ และต่างพื้นที่ และจากการที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer และเข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์ฯ ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด ทั้งตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง Facebook ศูนย์การจัดการดินปุ๋ยชุมชนท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา, กลุ่มไลน์ ศดปช. ระดับจังหวัด และ Line offcial ศดปช. ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าทั้งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี พร้อมกันนี้ยังใช้เทคนิคการตลาดด้วยการสร้างเครือข่ายในกลุ่มแปลงใหญ่เกษตร ทำให้ขยายตลาดได้มากขึ้น รวมทั้งคิดค้นปรับปรุงสูตรปุ๋ยใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

“ทั้งนี้ในอนาคตทางศูนย์ฯ มีแผนส่งเสริมเกษตรกรในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้ปุ๋อินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และวางแผนการในการพัฒนาผลิตปุ๋ยทางใบ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ให้ได้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และเพิ่มรายได้ให้กับทางศูนย์ฯ ต่อไป” นายกฤตภาส กล่าว

โลตัส พร้อมรับเทรนด์ใหม่ลูกค้าและเศรษฐกิจฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ชูความเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีก New SMART Retail ที่ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อออฟไลน์และออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ เดินหน้าเสริมแกร่งช่องทางค้าปลีก omni-channel เปิดสาขาภายใต้ค็อนเซ็ปต์ใหม่ มุ่งสู่การเป็น Everyday SMART Community Center และ Food Destination พร้อมปูพรมบริการออนไลน์ช้อปปิ้งจากเครือข่ายส่งสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่ครอบคลุมที่สุดในประเทศไทย ทั้งส่งสินค้าแบบ on-demand และ ส่งสินค้าในวันถัดไป จาก 2,300 สาขาทั่วประเทศ และยังยกระดับแผนกอาหารสด เพิ่มสินค้าใหม่ สินค้าพรีเมี่ยม สินค้านำเข้า สินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในขณะที่ยังคงราคาที่คุ้มค่า ช่วยลูกค้าประหยัดทุกวัน

นายสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีของกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ของเรา ทำให้ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เราได้ปูพื้นฐานที่มั่นคงเพื่อยกระดับความเป็นผู้นำ New SMART Retail ของเราที่ไปอีกขั้น เราทุ่มเทนำเทคโนโลยีที่ทรงพลังมาเชื่อมต่อสาขาของเราประมาณ 2,300 แห่งทั่วประเทศกับแพลทฟอร์มออนไลน์ และใช้ big data

ในการส่งมอบประสบการณ์และความคุ้มค่าที่ตรงใจลูกค้าแบบชาญฉลาด (intelligent personalization) ซึ่งเรามีกรอบกลยุทธ์ทั้งหมด 4 ด้าน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และเสริมความเป็นผู้นำค้าปลีกของโลตัสให้แข็งแกร่ง ได้แก่ 1) Inspiring fresh & food destination การเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ 2) SMART life solutions เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ลูกค้าและมอบประสบการณ์ omni-channel ที่ไร้รอยต่อ 3) Personalized value that goes beyond price ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคาประหยัด พร้อมสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้า และ 4) Everyday sustainability แพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร”

ในช่วงครึ่งปีแรก โลตัส ได้เปิดสาขาใหม่ 39 แห่ง โดยได้เปิดตัวคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละพื้นที่ อาทิ SMART Urban Supermarket, Open Air Mall และ SMART F&B Heaven โดยทั้งหมดชูความเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ (Inspiring Fresh & Food Destination) และการเป็นศูนย์รวมการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของชุมชนทุกวัน (Everyday SMART Community Center) ซึ่งจากเสียงตอบรับที่ดีของลูกค้าต่อคอนเซ็ปต์ใหม่ๆเหล่านี้ เราจะนำไปพัฒนาและต่อยอดเพื่อใช้ในสาขาอื่น ๆ ในครึ่งปีหลัง ซึ่งโลตัส มีแผนงานในการเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีกประมาณ 70-80 สาขา รวมถึง โลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์ สาขา flagship ที่จะเปิดในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

นอกจากนั้น ในส่วนของพื้นที่เช่า โลตัส มุ่งเน้นการเพิ่มทางเลือกในด้านอาหารให้กับลูกค้า โดยได้เพิ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบ และร้านดังในท้องถิ่น อีกกว่า 1,300 รายในครึ่งปีแรกและมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนเป็น 5,800 ร้านภายในสิ้นปีนี้

ในส่วนของซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกอาหารสดเป็นแผนกที่โลตัสให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และได้เดินหน้ายกระดับแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดหาสินค้าจากแหล่งที่ดีที่สุดทั้งในไทยและต่างประเทศ การยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า การเพิ่มสินค้าใหม่ที่มีความหลากหลาย อาทิ ผลไม้อัตลักษณ์คัดเกรด อาหารสดพรีเมี่ยมและอาหารสดนำเข้า รวมไปถึงการจัดเรียงสินค้าในสาขาที่จะทำให้ประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิม โดยทั้งหมดยังคงต้องมีราคาที่เอื้อมถึงได้เพื่อช่วยลูกค้าและประชาชนประหยัดค่าครองชีพในทุก ๆ วัน

SMART life solutions: เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ลูกค้า และมอบประสบการณ์ omni-channel ที่ไร้รอยต่อ

ในเดือนมีนาคม 2565 โลตัส ได้เปิดตัว Lotus’s SMART App แอปพลิเคชั่นค้าปลีกรายแรก ที่รวมแพลทฟอร์ม e-commerce และโปรแกรมขอบคุณลูกค้า MyLotus’s เข้าไว้ด้วยกัน โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นไปแล้วกว่า 4.5 ล้านราย และยอดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เติบโตขึ้นกว่า 400% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดสามารถเชื่อมต่อสาขาของโลตัสประมาณ 2,300 แห่งทั่วประเทศกับออนไลน์แพลทฟอร์ม ทำให้ปัจจุบัน โลตัส สามารถขยายบริการออนไลน์ช้อปปิ้งไปได้ในทุกจังหวัดที่โลตัสมีสาขาตั้งอยู่ และสามารถจัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคได้แบบ on-demand จากร้านโลตัส โก เฟรช ที่อยู่ใกล้ชุมชน และแบบ next-day จากไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา สต็อคสินค้าของแต่ละสาขาที่ถูกอัพเดทแบบ real-time ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีอยู่ในสาขาที่ใกล้บ้านที่สุด

Lotus’s SMART App ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายสาขาของ โลตัส ทำให้โลตัส เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีจุดกระจายสินค้าที่ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย สามารถจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมอย่างยิ่งในการตอบรับการเติบโตของเทรนด์ออนไลน์ช้อปปิ้งต่อไปในอนาคต

Personalized value that goes beyond price: ความคุ้มค่าที่มากกว่าราคาประหยัด มอบสิทธิพิเศษที่รู้ใจลูกค้าแต่ละราย

โปรแกรมขอบคุณลูกค้า MyLotus’s (มายโลตัส) คือเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบความคุ้มค่าที่ตรงใจลูกค้าแต่ละราย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้ในการประมวล big data ของลูกค้าช่วยให้โลตัส สามารถออกแบบส่วนลดและสิทธิพิเศษที่เหมาะสมกับความต้องการและพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้าแต่ละรายได้ นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่น Lotus’s SMART App ช่วยให้การสะสมและแลก MyLotus’s coins ของลูกค้าเป็นไปได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะซื้อสินค้าในสาขาหรือออนไลน์ก็ตาม

นอกจากนั้น แคมเปญ “ราคามายโลตัส” ที่เปิดตัวในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยกระดับความคุ้มค่าด้วยสินค้าราคาที่ดีที่สุดของโลตัส จากการร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าแบรนด์ดังกว่า 50 แบรนด์ ทำให้โลตัส สามารถมอบราคาสินค้าลดพิเศษกว่า 500 รายการ ให้สมาชิกมายโลตัสได้ สำหรับครึ่งปีหลัง แคมเปญ “ราคามายโลตัส” จะมีการหมุนเวียนสินค้ารายการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของลูกค้าต่อไป

Everyday sustainability: แพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร

โลตัส มุ่งมั่นในการเป็นแพลทฟอร์มแห่งโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ผ่านการจำหน่ายสินค้าในสาขาและช่องทางออนไลน์ของโลตัส หรือการดำเนินธุรกิจในพื้นที่มอลล์ของโลตัส นอกจากการสนับสนุนช่องทางการขายแล้ว โลตัส ยังเดินหน้าพัฒนาศักยภาพรอบด้านที่จะทำให้ผู้ประกอบการ SME และเกษตรกร เติบโตได้อย่างมั่นคง ในครึ่งปีที่ผ่านมา โลตัส ได้สนับสนุนผู้ประกอบการ SME ไปแล้วกว่า 2,500 ราย ทั้งผ่านกิจกรรมจับคู่เจรจาทางธุรกิจ (Business Matching) ที่จัดขึ้นทุกเดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้าและรับคำแนะนำจากทีมจัดซื้อเพื่อวางจำหน่ายในสาขาของโลตัส และมีการจัดสัมมนาอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ สนับสนุนพื้นที่ทดลองขายฟรี และส่วนลดค่าเช่าพื้นที่ขายในศูนย์การค้า

แผนงานในครึ่งปีหลัง จะยังคงเน้นการจับคู่ธุรกิจเพื่อรับซื้อสินค้า SME เพิ่มเติม การพัฒนาศักยภาพผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ การรับซื้อผักและผลไม้ตรงจากเกษตรกร โดยเฉพาะผลไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI (Geographic Indications หรือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) นอกจากนั้น เรายังได้ร่วมกับ CP Origin ในการพัฒนาดิจิทัลแพลทฟอร์มที่จะช่วยผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านสาขาของโลตัส โดยสามารถเช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้าในระยะสั้น เริ่มต้นเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น โดยแพลทฟอร์มดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสะดวก ง่าย และคล่องตัว ให้กับผู้ประกอบการเลือกพื้นที่และสัญญาเช่าที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจตนเอง

“ด้วยปัจจัยบวก อาทิ นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อจากภาครัฐ ผมเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะเริ่มฟื้นตัว ซึ่ง โลตัส ก็มีความพร้อมในการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งที่เราได้ปูเอาไว้ในครึ่งปีแรก และเราจะใช้ความเป็นผู้นำ New SMART Retail ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด” นายสมพงษ์ กล่าวสรุป

กรมวิชาการเกษตร ใช้เทคโนโลยีพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยแบบแม่นยำกึ่งอัตโนมัติโรยตามแนวปลายทรงพุ่มสวนทุเรียน โชว์ความสามารถการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่/ชั่วโมง เปรียบทียบวิธีการใส่ปุ๋ยด้วยแรงงานคน 1.6 ไร่/ชั่วโมง ชูเครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติแม่นยำใส่ปุ๋ยได้ตามความต้องการของทุเรียน ลดต้นทุนทั้งปุ๋ยและแรงงาน ช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่าจ้างหว่านด้วยมือถึง 20 เท่า

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ จากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 14 กรกฎาคม 2565 ไทยส่งออกทุเรียนผลสดแล้วปริมาณรวม 648,572 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 68,973 ล้านบาท ด้วยสถานการณ์การส่งออกทุเรียนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีราคาผลผลิตดีกว่าไม้ผลอื่น ทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีปรับพื้นที่เพื่อปลูกทุเรียนมากขึ้น มีพื้นที่ปลูกใหม่และปรับรูปแบบการปลูกเป็นแบบยกร่อง หรือ พูนโคน รวมทั้งมีการปรับระยะปลูกเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นมีอายุมากกว่า 10 ปี ให้ผลผลิตได้หลายครั้ง ขั้นตอนการดูแลบำรุงรักษาจึงเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับพืชประเภทนี้ ปัจจุบันเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับการดูแลบำรุงรักษาที่ใช้งานสำหรับทุเรียนยังขาดแคลน โดยเฉพาะในขั้นตอนการใส่ปุ๋ยที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งเครื่องจักรกลเกษตรที่มีความแม่นยำจะช่วยให้สามารถใส่ปุ๋ยได้ตามความต้องการของทุเรียนและลดต้นทุนด้านแรงงานและต้นทุนปุ๋ย คณะนักวิจัยศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม จึงได้คิดค้นนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเครื่องใส่ปุ๋ยแบบแม่นยำ โดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 27 แรงม้าเป็นต้นกำลัง เพื่อใช้งานใส่ปุ๋ยในสวนทุเรียนที่มีระยะปลูกเหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เป็นต้นแบบที่ใช้ไมโครคอลโทลเลอร์ควบคุมการทำงานของชุดใส่ปุ๋ยแบบจานเหวี่ยง และใช้เซนเซอร์แบบอัลตร้าโซนิค ควบคุมตำแหน่งที่ต้องการใส่ปุ๋ย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติมีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 0.14 ลิตรต่อไร่ อัตราปุ๋ย 12.6 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับทุเรียนอายุ 5 ปี ที่ความเร็วรอบจานหว่าน 300 รอบต่อนาที การกระจายตัวของปุ๋ยมีระยะห่างจากตัวรถแทรกเตอร์ 1.2 เมตร ความยาวตามแนวการวิ่งของรถแทรกเตอร์ 3.5 เมตร กว้าง 2 เมตร จากการวิเคราะห์ต้นทุนในการใช้งานต้นแบบเครื่องใส่ปุ๋ยราคา 50,000 บาท รถแทรกเตอร์ขนาด 27 แรงม้า 300,000 บาท แทรกเตอร์สามารถใช้งานใส่ปุ๋ยและพ่นสาร แบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็น 50% อายุการใช้งานรถแทรกเตอร์ 10 ปี อายุการใช้งานเครื่องใส่ปุ๋ย 8 ปี ความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 6.28 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 0.14 ลิตรต่อไร่ จุดคุ้มทุนของการใช้เครื่องใส่ปุ๋ยพ่วงรถแทรกเตอร์ 354 ไร่ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 2.32 ปี เปรียบทียบกับวิธีการใส่ปุ๋ยด้วยแรงงานคน ความสามารถในการทำงาน 1.6 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราค่าจ้างแรงงานในการใส่ปุ๋ยวันละ 300 บาท จะเห็นได้ว่า การลงทุนใช้เครื่องจักรกลเกษตร สามารถทำงานได้เร็วขึ้น 3.9 เท่า เกษตรกรมีรายได้ต่อปีมากกว่าการรับจ้างหว่านด้วยมือถึง 20 เท่า

ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี ได้มีการเผยแพร่เครื่องใส่ปุ๋ยเคมีกึ่งอัตโนมัติโดยร่วมจัดนิทรรศการในงานพืชสวนก้าวหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี พร้อมกับได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการปลูกทุเรียนในเขตจังหวัดจันทบุรีที่มีสภาพแปลงและรูปแบบการปลูกที่เหมาะสมต่อการใช้เครื่องจักรกลเกษตร ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 039-609-652

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ สพภ.BEDO ชูธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ” ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank) เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” ทั้งประเทศและนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล

ธนาคารความหลากหลาย คือ แหล่งเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชน ที่มีการดูแลรักษาและบริหารจัดการในการดูแลรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์โดยตัวของชุมชนเอง เปรียบได้กับการที่ชุมชนมีธนาคาร แต่ธนาคารนั้นจะทำหน้าที่รับฝาก-ถอนทรัพยากรชีวภาพสำหรับชุมชน สมาชิกและชุมชนสามารถนำสิ่งที่ฝากดูแลนั้นออกมาใช้หรือทำประโยชน์ได้โดยต้องได้รับการอนุญาตหรือเห็นชอบจากชุมชนร่วมกัน

หลักการสำคัญของ BEDO ในการทำงานในโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนนั้น เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ทดลองปฏิบัติให้เห็นตัวอย่างจริง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่นๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดในรูปแบบของตัวเอง อย่างเช่นโครงการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมอนุรักษ์ ที่ BEDO คิดกลับ –หัวท้ายจากปกติการถ่ายทอดความรู้เรื่องธนาคารของเบโด้ เน้นให้ชุมชนลงมือทำจริงตั้งแต่ การสำรวจ การบันทึก การถ่ายภาพง่ายๆ ไปจนถึงการดูแลรักษาเงินหรือต้นไม้ของตัวเองให้คงอยู่เพื่อการขยายพันธุ์ เป็นแหล่งในการพัฒนาวิจัยความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน นำไปสู่การปกป้อง คุ้มครอง และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สำคัญที่สุดคือเครือข่ายและการสนับสนุนด้านต่างๆที่เหมาะสมร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นและ อปท เจ้าของพื้นที่เป็นตน

วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ แนวคิด Community BioBank จังหวัดเชียงใหม่

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ ชุมชนต้นแบบ แนวคิดของ Community BioBank การอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ชุมชนยังมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้น

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด

บ้านเมืองกื้ด มีความโดดเด่น ทั้งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม BEDO เล็งเห็นถึงสิ่งสำคัญเหล่านี้ที่ชุมชนมีอยู่ จึงเข้ามาสนับสนุนงบประมาณจัดทำแหล่งเรียนรู้ทั้งตำบลกื๊ดช้างโดยกลุ่มกิจการเศรษฐกิจชุมชน (ศช) ต่อมา bedo ก็ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิง ข่า และสมุนไพรท้องถิ่น เก็บรักษาไว้ในแปลงธนาคารฯ อีกส่วนหนึ่งคือทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการศึกษาสารออกฤทธิ์และการยืนยันชนิดพันธุ์ของพืชเด่นในชุมชน คือ ไผ่จืด จนกลายมาเป็นโอกาสในชุมชนกับการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น และในปี พ.ศ. 2564 ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อดำเนินงานจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน รวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิงข่า ว่าน และสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชนตำบลกื้ดช้าง

ทีมนักสำรวจ เดอะแก็งค์ของชุมชนบ้านเมืองกื้ด คือหัวใจสำคัญ ช่วยให้ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนชุมชนตำบลกื้ดช้างให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยความหลากหลาย ทั้งอายุ เพศ และวัยที่แตกต่างกันของเดอะแกงค์ หรือทีมนักสำรวจนั้น กลับส่งผลดีให้กับชุมชน เพราะนั่นคือการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น ผู้ใหญ่ก็สามารถปลูกฝังข้อมูลภูมิปัญญาต่างๆของคนรุ่นใหญ่ ส่งต่อให้รุ่นลูกหลาน และลูกหลานก็สามารถช่วยเรื่องเทคโนโลยีใหม่และสอนคนเฒ่าคนแก่ให้ทันสมัยได้ สิ่งเหล่านี้สำคัญมากเพราะจะนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ให้คงอยู่ตลอดไปในชุมชนนี้

ผลงานของเดอะแก็งค์ พบว่าในพื้นที่ป่าห้วยกุ๊บกั๊บของตำบล กื้ดช้าง มีพืชเฉพาะถิ่นที่จะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่เป็นป่าเบญจพรรณที่สูง 165 ชนิดพันธ์ และ มีการรวบรวมและจัดประเภทพืชพันธุ์ จำนวน 20 แปลงภายในชุมชน ปัจจุบันมี 3 แปลงจาก 20 แปลงได้ จัดให้เป็นแปลงต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ และเส้นทางท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ประกอบด้วย 1) เป็นพืชพันธุ์ที่หายาก เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ 2) เป็นพืชหายาก ใช้ประโยชน์ได้ มีการใช้ในตำรับยาสมุนไพร และ3) เป็นพืชที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

มรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage ชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราวได้ยอดเยี่ยม สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำ-ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เตรียมเสนอยูเนสโกปี พ.ศ.2566 ขับเคลื่อน จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ได้เปิดเผยระหว่างเป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เมื่อวันที่ 9 ส.ค.6 ว่าการประกวดครั้งนี้ ทางมรภ.สงขลา มีความพร้อมเป็นอย่างดียิ่ง เนื่องจากได้เปิดการสอนในวิชาคหกรรมศาสตร์และอาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ที่ใช้จัดการแข่งขันครั้งนี้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม ประกอบด้วย ทีม Singora Heritage ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอน-คูเต่า ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม และทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลาง บางแก้ว คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์ พงศาปาน (ลุงพร สอนอาชีพ) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร

สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร

ผลการแข่งขัน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบ และน้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แกงส้มปลากะพงลูกเขาคัน ยำปลาแมวสมุนไพรพื้นบ้าน ทอดมันกุ้งน้ำจิ้มรสเด็ด และบัวลอยมะพร้าวอ่อน) รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอม-คูเต่า และ ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม

ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 หาก จ.สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง จ.สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน

ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า “กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน

สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่น ความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศ ภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเกษตรสัญจร ปากช่อง-เขาใหญ่ ชมพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจในการปลูกเชิงการค้า ทั้งกัญชา อะโวกาโด อินทผลัม วันเสาร์ที่ 20 ส.ค.65 นี้ ทริปนี้ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

จุดที่ 1 ชมแปลงปลูกกัญชา กัญชง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปางอโศก ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่นี่ถือเป็นกลุ่มที่ปลูกกัญชาและพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์กัญชาเชิงการค้ารายแรกๆของประเทศ แปลงปลูกกัญชามีทั้งแปลงปลูกในโรงเรือนและกลางแจ้ง ผลผลิตกัญชานำมาวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์กัญชามากกว่า 10 ชนิด ที่ได้ขึ้นทะเบียน อย.อย่างถูกต้องและมีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ไปดูแปลงปลูกจริงพร้อมเทคนิคการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ พร้อมทั้งชมการแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์กัญชาเชิงการค้าที่ประสบความสำเร็จจริงๆ

จุดที่ 2 ชมแปลงอินทผลัมผลสด ที่ อ.เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ชมแปลงปลูกอินทผลัมเชิงการค้าพร้อมทั้งชิมผลผลิตอินทผลัมเกรดพรีเมี่ยม สุดอร่อยที่จะทำให้คุณประทับใจอย่างแน่นอน ช่วงนี้ถือเป็นช่วงปลายฤดูของอินทผลัมแล้ว หลังจากนี้คุณจะชมและชิมอินทผลัมอีกครั้งในปีหน้าเลย ไปหาคำตอบจากแปลงปลูกจริงว่า อินทผลัมยังน่าปลูกไหม

จุดที่ 3 ชมแปลงปลูกอะโวกาโดเชิงการค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอะโวกาโดวังน้ำเขียวและบริบูรณ์ฟาร์ม ที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่นี่นอกจากจะชมแปลงปลูกและชิมอะโวกาโดหลากหลายสายพันธุ์อย่างเต็มอิ่มแล้ว ยังจะได้ชมการแปรรูปอะโวกาโดเชิงการค้าสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะน้ำมันอะโวกาโดที่มากคุณค่า

กำหนดการเดินทาง

7.00 น. นัดพบ ม.เกษตร บางเขน

9.00-10.00 น. ชมแปลงกัญชาเชิงการค้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปางอโศก ที่ กลางดง

11.00-12.00 น. ชมและชิมอินทผลัม เขาใหญ่

12.00-13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน ร้านร่มไม้ ชายน้ำ ปากช่อง

14.00-16.00 น. ชมแปลงอะโวกาโดและการแปรรูปอะโวกาโดเชิงการค้า บริบูรณ์ฟาร์มและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอะโวกาโดวังน้ำเขียว

18.30 น.ถึง ม.เกษตร บางเขน

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ 1,500 บาท เดินทางโดยรถตู้ สามารถจอดรถไว้ที่ ม.เกษตร บางเขนได้

ธ.ก.ส. จับมือ กทม. GClub หนุนคนเมืองปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติ 90 พรรษา พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดผลกระทบจากปัญหามลพิษในเมืองหลวง จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในสวนรถไฟ พร้อมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมการกุศล “จ้าง วาน ข้า” รวมถึงให้ ธ.ก.ส. สาขาในเขตกรุงเทพฯ แจกจ่ายกล้าพันธุ์ไม้มีค่าฟรี! ให้กับประชาชนที่สนใจร่วมปลูกต้นไม้กว่า 1,000 ต้น

ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และหาทางออกในการเพิ่มศักยภาพการผลิต

วัตถุดิบทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใช้ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย และสารเคมีเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย ท่ามกลางกลุ่มนักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน เกษตรกรเข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อีก 3 เดือนข้างหน้า โลกของเราจะเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง เนื่องจากวัตถุดิบหรือผลผลิตจากการเกษตรที่จะนำมาทำอาหารลดลง

ปัจจุบัน เริ่มเห็นข่าวว่ามีกว่า 30 ประเทศที่งดส่งออกวัตถุดิบต่างๆ ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบทางเกษตรที่สำคัญที่สุดของโลก มีพื้นที่ทางการเกษตร 149 ล้านไร่ ซึ่งไม่สามารถขยายพื้นที่ทำการเกษตรไปได้มากกว่านี้ แต่ต้องผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพของการผลิตวัตถุดิบหรือผลผลิตจากการเกษตรที่จะนำมาทำอาหาร

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้ขับเคลื่อน One FTI โดย 45 กลุ่มอุตสาหกรรมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ส่งเสริมให้เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีผ่านโครงการ Smart Agriculture Industry (SAI) ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมในกลุ่มพืชเศรษฐกิจใหม่อีกด้วย”

นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ กรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสนับสนุนว่า “ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรแบบ GAP (เกษตรเคมี) เพราะ ทุกวันนี้ราคาอาหารแพงขึ้น ต้นเหตุเกิดจาก ปัจจัยเริ่มต้นคือ ผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลน ขณะเดียวกัน ทุกภาคส่วน จะต้องกลับมาดูความพร้อม และดำเนินการด้านนโยบายที่จะส่งเสริมศักยภาพการเกษตรของเรา ให้สามารถปฏิบัติได้จริง ด้วยความจริงที่ว่า ไม่มีสารเคมีใดไม่เป็นอันตราย ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและการรู้จักใช้สารเคมีอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น แนวคิดการบริหารจัดการเคมี จะเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้เคมีเพื่อประโยชน์ของประเทศในอนาคต”

ส่วนประเด็นร้อนตอนนี้ ปุ๋ยแพง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ควรไปทางไหนดี นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวว่า “ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษ แต่เป็นธาตุอาหารสำคัญของพืช ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตให้ภาคการเกษตรไทย จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศมากกว่า 95% ทำให้การควบคุมราคาจึงเป็นไปได้ยาก เกษตรกรจะต้องปรับตัวแสวงหาหนทางสร้างรายได้ให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรจากปัจจัยการผลิตให้มากขึ้น การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นทางออกที่สำคัญ รวมทั้งการเลิกเผาตอซังในข้าวแล้วใช้วิธีไถกลบ จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย และเป็นการเพิ่มอินทรีย์ให้กับดินได้เช่นกัน”

ด้าน ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ถอดบทเรียนจากประเทศศรีลังกาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตร เนื่องจากการเลิกใช้สารเคมีเกษตรเมื่อเมษายน 2564 พบว่า “ในระยะเวลาเพียง 6 เดือนหลังประกาศ รัฐบาลศรีลังกา ประสบปัญหาหลายประการ เช่น ผลผลิตด้านการเกษตรลดลง มูลค่าทางเศรษฐกิจเสียหายกว่า 774 ล้านเหรียญจากข้าวและใบชา ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 5 เท่า ยากจนเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนราย จนในที่สุด ต้องพิจารณาใหม่และประกาศให้กลับมาใช้ปุ๋ยเคมีได้เช่นเดิมในเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา แต่ยังมีนโยบายห้ามใช้สารเคมีเกษตรอื่น ๆ จึงเป็นความท้าทายใหญ่ของศรีลังกาว่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตด้านอาหารได้หรือไม่ ดังนั้น ประเทศไทยต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยจัดให้มีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านต้นทุนและความคุ้มค่าของการใช้สารเคมีเกษตร เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจด้านนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังประเทศชั้นนำด้านการเกษตรของโลก อาทิ บราซิล ญี่ปุ่น เม็กซิโก จีน และสหรัฐอเมริกา ล้วนมีการประเมินทั้งสิ้น”

นายสุรวุฒิ ศรีนาม เกษตรกรผู้ปลูกผักแบบ GAP (เกษตรเคมี) กรรมการบริหารบริษัท เรียลฟาร์ม จํากัด ได้เล่าประสบการณ์และความท้าทายสำหรับเกษตรกรไทยในการเลือกทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรแบบ GAP (เกษตรเคมี) ไว้ว่า “สินค้าเกษตรอินทรีย์ แม้ว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดโลก แต่มีไม่มากนัก รวมทั้ง ความท้าทายสำคัญของเกษตรอินทรีย์ คือ การควบคุณภาพ ปริมาณการผลิตต่ำ และผลผลิตไม่มีความต่อเนื่องส่งให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารได้ สิ่งนี้ ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องล้มเลิกการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ไป หันมาผลิตเกษตรแบบ GAP ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเพราะผู้ซื้อสนใจในเรื่องราคาที่สามารถแข่งขันได้ และสินค้าได้ตามมาตรฐานการส่งออกและนำเข้าในต่างประเทศ”

ขณะเดียวกัน นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “กรมวิชาการเกษตรได้วิจัยและหานวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืชอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตแบบอินทรีย์และแบบ GAP (เกษตรเคมี) สามารถนำรายได้เข้าประเทศมากกว่า 7 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าในระบบเกษตรปลอดภัยหรือ GAP ทั้งนี้ มีการควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างเข้มข้น ทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ รวมทั้ง สารกำจัดศัตรูพืช ได้บริหารจัดการนำเข้ามาเพิ่มเติมโดยในปีนี้ คาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ที่สำคัญที่สุด กรมวิชาการเกษตรมีความพร้อมในการช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งการเกษตรระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่”

นอกจากนี้ ผู้แทนจาก 4 พรรคการเมือง ได้เสนอแนวทางการผลักดันภาคการเกษตรไทยไปสู่ครัวโลกได้อย่างน่าสนใจ โดย พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ให้ความสำคัญในเรื่อง “เกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์เหมือนจะเป็นเส้นทางคู่ขนาน แต่นโยบายของพรรคจะผสมผสานทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน มุ่งเน้นทั้งในด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรเคมี และเกษตรอินทรีย์-เคมี จะเป็นยุทธศาสตร์หลักสำหรับอนาคตของประเทศไทย ไม่อยากให้เกิดการแบ่งแยกเป็นกลุ่มเกษตรเคมีหรืออินทรีย์”

ส่วนพรรคภูมิใจไทย นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง เน้นว่า “นโยบายของพรรคให้ความสำคัญต่อเกษตรกร ทั้งการเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ไม่มีการเกษตรแบบใดเป็นพระเอก ต้องมีความสมดุลทั้งสองส่วน หัวใจสำคัญคือการให้องค์ความรู้ต่อเกษตรกร และปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีการเกษตรอย่างถูกต้องและมีความรับผิดชอบ”

ด้าน พรรคก้าวไกล ดร. เดชรัต สุขกำเนิด ได้เสนอแนวทางจัดการภาคการเกษตรไทยว่า “หัวใจสำคัญคือการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรมากขึ้น ด้วย 1) แนวทางการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตอบโจทย์ภายในท้องถิ่น 2) แนวทางผลิตสินค้าแบบเดิมแต่ต้นทุนการผลิตต่ำลง และ 3) แนวทางพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ตลาดพรีเมี่ยม ทั้งนี้ จะต้องปลดล็อคหนี้สิ้นก่อน และเพิ่มงบประมาณที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อเกษตรกร เพื่อให้ท้ายที่สุดเกษตรกรจะสามารถเลือกการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์หรือเคมี และตอบสนองต่อทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

และ พรรคเพื่อไทย นางสาวสกุณา สาระนันท์ เสริมว่า “เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตรไทย คือ เพิ่ม GDP ภาคการเกษตร มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรต้นน้ำ ภายใต้แนวคิด ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ผลิตสิ่งที่ตลาดต้องการ ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน และเพื่อไทยซึ่งเป็นมืออาชีพด้านการบริหารจัดการ สามารถทำนโยบายที่ดีสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกรให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน อย่างที่เคยทำมาแล้วในอดีต”

“ท้ายที่สุด การพัฒนาภาคการเกษตรของไทย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาสนับสนุนการผลิตแบบ GAP (เกษตรเคมี) อย่างจริงจัง ทั้งในด้านนโยบายและแนวทางปฎิบัติ เพราะการใช้สารเคมีในการผลิตแบบ GAP อย่างมีความรับผิดชอบ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าต่อการลงทุน และปลอดภัยต่อทั้งผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร นโยบายรัฐจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพราะเราต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกเท่าเดิม เพื่อผลักดันเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศ” นายชัยวัฒน์ นิยมการ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสรุป

กรมวิชาการเกษตร โชว์ผลงานมาตรการ GMP Plus ป้องเชื้อโควิด 19 เข้าตาเอกอัครราชทูตจีน รักษาแชมป์ส่งออกทุเรียนไปจีน 4 เดือนกว่ายอดส่งออกทะลุเป้าเกิน 5 แสนตัน สร้างรายได้แล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาท ส่งต่อ GMP Plus คุมเข้มทุเรียนภาคใต้ พร้อมชงของบ 59 ล้านสร้างแลปศูนย์กลางตรวจสอบสร้างความเชื่อมั่นผลไม้ไทยปลอดภัย

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากนโยบายผลักดันการส่งออกผลไม้ไปจีนของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับให้ผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ยึดแนวปฏิบัติตามมาตรการ GMP Plus ของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาแชมป์ตลาดส่งออกทุเรียนไปจีนไว้ได้ โดยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ -17 มิถุนายน 2565 มีการส่งออกทุเรียนผลสดจากไทยไปจีนปริมาณ 509,138 .89 ตัน รวมมูลค่า 54,418.45 ล้านบาท รวมทั้งจากการเดินทางมาเยี่ยมชมสวนและล้งทุเรียนที่จังหวัดจันทบุรีของนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีนได้สร้างความเชื่อมั่นทุเรียนไทยคุณภาพดีและมีมาตรฐานความปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการปลูก การคัดคุณภาพ การฆ่าเชื้อปนเปื้อนและการขนส่งภายใต้มาตรการ GMP Plus ที่เข้มข้นในการส่งออกไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าออกจากไทยไปจีนอย่างมาก โดยเอกอัครราชทูตจีนได้กล่าวชื่นชมและขอบคุณผู้ส่งออกไทยที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดดังกล่าว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การส่งออกผลไม้ไปจีนในปีนี้ภายใต้มาตการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด -19 ซึ่งจีนให้ความสำคัญและเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าอย่างมากถือว่าประสบความสำเร็จสามารถส่งออกทุเรียนได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมการวางแผนล่วงหน้าโดยลงพื้นที่ จ.จันทบุรีเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ปี 65 และจัดทำมาตรการการส่งออกร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีพร้อมด้วยผู้แทนภาคเอกชนและเกษตรกร พร้อมเน้นย้ำขอให้ช่วยกันพัฒนาทุเรียนคุณภาพปลอดโควิด-19 เพื่อรักษาตลาดส่งออก โดยต้องมีความซื่อสัตย์ไม่ตัดทุเรียนอ่อนมาจำหน่าย ขณะที่ภาคเอกชนต้องยกระดับโรงคัดบรรจุเข้าสู่ GMP Plus ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแนวปฏิบัติไว้เพื่อให้จังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่นำร่องสร้างระบบทำให้ทุเรียนไทยปลอดโควิดเพื่อให้จีนเชื่อมั่นว่าทุเรียนไทยปลอดโควิด 100%

ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ขยายผลมาตรการ GMP Plus ไปสู่การส่งออกทุเรียนในภาคใต้ ซึ่งคาดการณ์ว่าทุเรียนใต้ในปีนี้จะให้ผลผลิตเร็วกว่าทุกปีคือตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม และจะมีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จ.สุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาทักษะผู้ควบคุมคุณภาพผลผลิตประจำโรงคัดบรรจุผลไม้ทั้งเปลือกแก่ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ภาคใต้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการป้องกันเชื้อโควิด-19 รวมทั้งจัดทีมออกปฏิบัติการเชิงรุกเข้าตรวจโรงคัดบรรจุตามมาตรการควบคุมป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19ติดปนเปื้อนไปกับทุเรียน โดยมีโรงคัดบรรจุในเขตจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ผ่านการตรวจรับรองตามมาตรการ GMP Plus แล้วจำนวน 79 โรงคัดบรรจุ

“ มาตรการ GMP Plus เป็นที่ยอมรับของจีนช่วยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของผลไม้ไทย ได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.จันทบุรี ในระยะเร่งด่วนวงเงินจำนวน 1.5 ล้านบาท สำหรับจัดทำห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ออกตรวจทุเรียนส่งออกไปจีน ส่วนในระยะยาวเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เตรียมเสนอของบกลางจากคณะรัฐมนตรีภายในวงเงิน 59 ล้านบาทตามโครงการยกระดับมาตรฐานสินค้า เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจรับรองปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตรเพื่อป้องกันเชื้อปนเปื้อนสู่คนและสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อห้องแลปนี้สร้างแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์กลางในการตรวจสอบและให้บริการแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการในการผลิตและส่งออกผลไม้ปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งมูลค่าส่งออกผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนสร้างรายเข้าประเทศปีละหลายแสนล้านบาท” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2565 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย นำโดยนายธีรพันธ์ มหาวนา ผู้จัดการทั่วไป Solution Provider ธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตร เปิดสถานีวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช จังหวัดกาญจนบุรี ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เข้าเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเพาะปลูก อาทิ โรงเรือนและการเพาะปลูกพืชภายในโรงเรือน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตร และเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาการเกษตรของไทยต่อไป

สถานีวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเจียไต๋ จังหวัดกาญจนบุรี นับว่าเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่สำคัญ และเป็นหนึ่งใน 10 สถานีวิจัยของเจียไต๋ ซึ่งเป็นสถานที่คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อขานรับพันธกิจของเจียไต๋ในการเสาะหาเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรของไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ค้นพบแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ บนพื้นที่เกาะลันตา มากกว่า 16 แห่ง ปริมาณน้ำมากกว่า 25 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อบ่อ ที่สำคัญน้ำมีคุณภาพดี ไม่มีสารส้ม ไม่มีคลอรีน เตรียมสร้างระบบส่งน้ำให้ทั่วถึงทุกพื้นที่บนเกาะลันตา ที่สำคัญจะใช้เกาะลันตาเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่เกาะที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่ใกล้เคียงกันทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ลงพื้นที่โครงการศึกษาสำรวจเพื่อประเมินศักยภาพน้ำบาดาล บนพื้นที่เกาะในภาคใต้ของประเทศไทย กรณี พื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยนายศักดิ์ดา กล่าวระหว่างลงพื้นที่ว่า ขณะนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ค้นพบแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ บนพื้นที่เกาะลันตา มากกว่า 16 แห่ง ปริมาณน้ำมากกว่า 25 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อบ่อและมีคุณภาพดี ถ้ารวมกันจะมีปริมาณน้ำถึง 400-500 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เกาะลันตา สามารถนำศักยภาพของน้ำบาดาล ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในภารกิจด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ออกแบบระบบสูบน้ำบาดาลและระบบกระจายน้ำ ส่งน้ำให้ทั่วถึงทุกพื้นที่บนเกาะลันตา

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวต่อว่า เกาะลันตา เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 190 ตารางกิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วยเกาะลันตาน้อย และเกาะลันตาใหญ่ มีผู้คนอาศัยอยู่มายาวนานกว่าร้อยปี โดยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 18,400 คน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวปีละประมาณ 1 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากกว่า 600 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวการท่องเที่ยว บนเกาะมากขึ้น ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวของเกาะลันตา ได้ส่งผลให้มีความต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่จำเป็นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงทรัพยากรน้ำ เกิดการแย่งน้ำในชุมชน ต้องมีการควบคุมการเปิดปิดน้ำเป็นเวลา โดยเกาะลันตาสามารถ ผลิตน้ำได้ 1,368 ลบ.ม./วัน แต่ความต้องการน้ำ 2,466 ลบ.ม./วัน

นายศักดิ์ดา กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา พื้นที่เกาะลันตาใช้น้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน คลองธรรมชาติ และเจาะน้ำบาดาล มากกว่า 200 บ่อ ความลึกเฉลี่ย ไม่เกิน 100 เมตร ปริมาณน้ำ 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ซึ่งลักษณะทางอุทกธรณีวิทยา รองรับด้วยชั้นหินให้น้ำประเภทหินแข็ง ชนิดหินดินดานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นชั้นหินที่หาน้ำบาดาลยาก

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างละเอียด ถึงศักยภาพน้ำบาดาลว่ามีศักยภาพสูงสุดถึงเพียงใด และยังไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการขุดเจาะและการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากจนระดับน้ำบาดาลลดต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดการแทรกดันของน้ำเค็มเข้ามาในชั้นน้ำบาดาลจืดจนเกิดการปนเปื้อน

“ด้วยเหตุนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักเพียงหน่วยงานเดียวที่มีภารกิจหลัก ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศ จึงได้จัดทำโครงการศึกษาสำรวจเพื่อประเมินศักยภาพน้ำบาดาลบนพื้นที่เกาะ ในภาคใต้ของประเทศไทย กรณี พื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ และดำเนินโครงการมาด้วยเทคโนโลยีด้านการสำรวจและเจาะน้ำบาดาล จนค้นพบแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ มากกว่า 10 แห่ง ปริมาณน้ำมากกว่า 25 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อบ่อและมีคุณภาพดี ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบให้กับพื้นที่เกาะที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่ใกล้เคียงกันต่อไป” นายศักดิ์ดา กล่าวและว่า เกาะลันตาเป็นเกาะที่ 4 ที่กรมฯ ดำเนินการต่อจากเกาะช้าง เกาะภูเก็ต เกาะสีชัง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่ทั้งช่วยประชาขนให้มีน้ำกินน้ำใช้ ด้านท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น

บ้านสนวนนอก ฟังชื่ออาจจำยากสำหรับคงต่างถิ่น แต่เชื่อไหมว่ามาแค่ครั้งเดียวก็จะจดจำชื่อได้ยาวนาน ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เคยปกคลุมด้วยผืนป่าทึบที่มีต้นสนวนขึ้นอยู่จึงได้ชื่อว่าบ้านสนวน ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนโบราณที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ใช้ภาษาพื้นถิ่นเขมร และสืบสานการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เหตุที่มีอันให้ได้รู้จักกับบ้านสนวนนอกจนเป็นที่มาของการได้มาท่องเที่ยวยังหมู่บ้านแห่งนี้ ก็เพราะว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้เชิญสื่อมวลชนไปร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย “การส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล” เพื่อให้เกษตรกรและชุมชน มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาอาชีพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้และเสริมศักยภาพการแข่งขัน โดยมีเกษตรกร ภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหารและพนักงานในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดขึ้นที่วิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมพื้นเมืองบ้านสนวนนอก

พอไปถึงผู้นำชุมชนก็ชักชวนให้ขึ้นรถนำเที่ยวประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 คัน ใครใคร่เลือกนั่งคันไหนเชิญได้ รถทั้ง 2 คัน มีจุดน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคันหลังที่รูปทรงยังกะกระสวยอวกาศ (ทราบภายหลังว่าชื่อ รถกระสวยอวกาศ) มันบาดใจเหลือเกิน ผู้เขียนตั้งใจจะเลือกนั่งคันนี้แหละ แต่ด้วยความที่อยากได้ภาพตอนที่รถวิ่งผ่านหน้าวัดสนวนนอก ซึ่งที่ทำการท่องเที่ยวไหมอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน มันน่าจะเป็นภาพที่สวยงาม ก็เลยยังไม่ขึ้นรถในทันที ตั้งใจว่าถ่ายภาพเสร็จ ค่อยส่งสัญญานให้รถจอดได้ แต่รถก็ออกไปเลย ทำอย่างไรดีล่ะคราวนี้

เดินวกกลับมาที่ทำการซึ่งกำลังเตรียมงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ปรากฏว่าแต่ละคนกำลังยุ่งกันอยู่ก็บังเอิญเจอเพื่อนสื่อมวลชนคนหนึ่งที่หันรีหันขวางจึงตัดสินใจชวนเดินตามออกไป เดินไปถึงปากซอยเข้าหมู่บ้านก็ถามชาวบ้านคนแรกบอกว่าอีก 200 เมตร เดินไม่กี่ก้าวเจอคนที่ 2 บอกว่าอีก 300 เมตร(เพิ่มขึ้นมา 100 เมตร) และระหว่างนั้นเจอมอเตอร์ไซต์ของสมาชิกในหมู่บ้านที่ขับมาคนเดียว ก็เลยขอโบกรถ ซึ่งเธอใจดีมาก ขับรถไปส่งถึงบ้านที่กำลังสาธิตการทอผ้าไหม โอ้โหมันยิ่งใหญ่มากที่ได้เห็นกระบวนการทอผ้าไหมแบบโบราณที่คนในหมู่บ้านยังคงอนุรักษ์ไว้

ชาวบ้านช่วยกันจัดแสดงนิทรรศการ ตั้งแต่เลี้ยงไหมกินใบหม่อนในกระด้ง ไหมโตเป็นตัวดักแด้กลายเป็นเส้นไหม แสดงการสาวไหมที่ละเส้น การย้อมสีแต่ละสีด้วยวัสดุธรรมชาติ ชนิดเที่เรียกว่าครบทุกกระบวนการ จากนั้นพาไปดูขั้นตอนการทอผ้าไหม ยิ่งอลังการงานสร้างมาก พี่น้องชาวบ้านที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่(ผู้อาวุโส)ได้มาโชว์ฝีไม้ลายมือ กับเครื่องทอผ้าที่เป็นแบบโบราณ ทั้งเครื่องทอขนาดเล็กขนาดใหญ่

ผ้าไหมลายดั้งเดิมที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ คือ ผ้าไหมหางกระรอกซึ่งถือเป็นลายเอกลักษณ์ของผ้าไหมบ้านสนวนนอก และอีกหลากหลายลายที่แสดงไว้

รวมความว่าเป็นภูมิปัญญาที่น่าทึ่งมากๆ กว่าจะเสร็จสรรพได้สักผืนต้องมีสมาธิจิตใจที่แน่วแน่ บวกฝีมือและประสบการณ์ที่สร้างมูลค่าได้มากโข ว่าแต่ใครละจะได้เห็นคุณค่าเหล่านี้ โชคยังดีที่เรายังมีหน่วยงานที่เข้าถึงเข้าใจพัฒนาให้สิ่งดีงามเหล่านี้ยังคงอยู่ในท้องถิ่น ว่าแต่สื่ออย่างเราก็พร้อมที่จะช่วยกันสื่อสารออกไป

ขากลับจากหมู่บ้านที่สาธิตการทอผ้า คราวนี้ได้นั่งรถกระสวยอวกาศเป็นที่นั่งสุดท้าย และท้ายสุดพอดี ระหว่างนั้นก็ได้ยินไกด์ด้านหน้ารถเข้าใจภายหลังว่าน่าจะเป็นเสียงผู้ใหญ่โอ๋ (นางสาวศุทธา โกติรัมย์) ผู้ใหญ่หมู่ 2 ในฐานะเลขานุการกลุ่ม ได้บรรยายให้ฟังว่ารถคันนี้ชื่อ “รถกระสวยอวกาศ” เพราะหน้าตาคล้ายกับกระสวยทอผ้าและมีหางคล้ายเครื่องบิน เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชนที่ช่วยกันบริจาคเงินคนละ 10 บาท 20 บาท ใช้เวลารวบรวมเงิน 3 ปี จึงได้เงินมาพอกับงบประมาณ 2.8 แสนบาท เป็นค่าสร้างรถคันนี้ เคยต้อนรับบุคคลสำคัญระดับประเทศ อย่างเช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คราวมาเยี่ยมชมกลุ่ม ตอนแรกนั้นสีขาวล้วนๆ แต่ตอนหลัง ธ.ก.ส.ได้ให้งบประมาณมาทำสีใหม่ให้ไฉไลดังเช่นทุกวันนี้

ฟังไกด์บรรยายระหว่างเดินทางตัดกับภาพท้องทุ่งนา และบ้านเรือนของชาวบ้านเพลินใหญ่ก็มาถึงดินแดนมหัศจรรย์นั่นก็คือ แปลงปลูกใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหม ซึ่งบัดนี้ ธ.ก.ส.กับ ดีป้า ได้มาสร้างฝันของชาวบ้านให้เป็นจริงด้วยการจัดทำเป็นแปลงปลูกหม่อนอัจฉริยะหรือสมาร์ทฟาร์มที่มีระบบน้ำสั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผู้ใหญ่โอ๋ได้บรรยายให้ฟังตามที่เกษตรก้าวไกลไปด้วยกันได้LIVEสด ใครสนใจก็คลิกไปชมกันได้

ปิดท้ายก็มาเดินชมที่ทำการกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ซึ่งมีทั้งห้องทอผ้าที่จัดแสดงไว้อย่างสวยงาม พร้อมห้องที่จำหน่ายผ้าไหม ใครสนใจก็ดูจากภาพประกอบได้

ขอย้ำว่าเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ครบเครื่องมากๆ คนในชุมชนสมัครสมานสามัคคีอย่างดีเยี่ยมเห็นผ่านจากการจัดแสดงและการต้อนรับต่างๆแทบไร้ที่ติ มีรอยยิ้มทุกคน ชนิดที่ไม่ต้องขึ้นไปนั่งบนเครื่องบินนกแอร์(ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม) ขอแค่มานั่งบนรถกระสวยอวกาศก็จะยิ้มไม่หุบอยู่ในใจ และทราบว่า ความร่วมมือระหว่าง ดีป้า และ ธ.ก.ส. ในช่วงที่ผ่านมาสามารถสนับสนุนชุมชนไปสู่เป้าหมายจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย จะเป็นรางวัลใดก็อ่านจากลิงก์ข่าวข้างต้นนะครับ

หลังจากสถานการณ์โควิดทำให้โครงการ KUBOTA Smart Farmer Camp ต้องหยุดจัด 2 ปีติดต่อกัน แต่เมื่อมาถึงปีนี้ 2022 บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่รอรีที่จะจัดกิจกรรมนี้อีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลด้านการเกษตร สร้างทัศนคติที่ดีและกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำอาชีพเกษตรกรรม ตลอดจนตระหนักถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรแม่นยำอย่างยั่งยืนและรอบด้านมากขึ้น เพื่อเป็นเกษตรกรยุคใหม่ที่ดีในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมาโครงการประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ มีเยาวชนในโครงการสนใจประกอบอาชีพสายงานด้านการเกษตรเป็นจำนวนมาก

โดยในปี 2022 นี้ กิจกรรม “KUBOTA Smart Farmer Camp 2022” ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ในชื่อตอน “Fun Time Farm Tech” แคมป์เกษตรยุคใหม่ที่จะมีการผสมผสานทั้งความองค์ความรู้และการสร้างประสบการณ์จริงในการทำการเกษตรยุคใหม่ให้แก่เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งเรื่องของนวัตกรรมและการทำธุรกิจทางการเกษตร เพื่อสร้างทัศคติที่ดีในเรื่องการทำเกษตร ด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงการกระตุ้นให้เยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น ตลอดจนเป็นการปูเส้นทางในการสร้าง Influencer หน้าใหม่ในแวดวงการเกษตร โดยกิจกรรมในปีนี้มีเยาวชนที่สนใจส่งใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 762 คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งสยามคูโบต้าได้คัดเลือกเยาวชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน โดย จัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2565 ณ KUBOTA Farm อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่ากิจกรรมไฮไลท์ของงาน “KUBOTA Smart Farmer Camp 2022” ใช้ชื่อตอนว่า “Fun Time Farm Tech” ตลอด 4 วัน 3 คืน เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้สร้างประสบการณ์จริงในการทำเกษตรยุคใหม่ สัมผัสนวัตกรรมการเกษตรครบวงจร เรียนรู้การใช้นวัตกรรม IoT และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในพื้นที่ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ คูโบต้า ฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เครื่องจักรกลการเกษตรจริงในโซนต่างๆ อาทิ เกษตรแม่นยำและพืชหลังนา เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพืชสวน เกษตรพืชไร่สมัยใหม่ และนวัตกรรมการเกษตร

นอกจากนี้ เยาวชนจะได้ร่วมรับฟังความรู้ดีๆในการต่อยอดความรู้ด้าน Agritech จากวิทยากร Young Smart Farmer รุ่นใหม่ไฟแรง คุณณัฐวุฒิ จันทร์เรือง เจ้าของจันทร์เรืองฟาร์ม ผู้ผันตัวจากวิศวกรเคมีสู่การเป็นเกษตรกรสืบทอดมรดกสวนผลไม้ที่บ้านเกิด ยกระดับการทำเกษตรยุค 5G ด้วยเทคโนโลยี IoT ควบคุมได้ด้วยสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว และวิทยากรอีกมากมายที่จะมาแชร์ประสบการณ์ อาทิ การตลาดออนไลน์ โดย เภสัชกรหญิง โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ (พี่โซอี้) นางฟ้าการตลาดดิจิทัล และเทรนด์นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต โดย คุณวิภู เลิศสุรพิบูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Meat Avatar เนื้อสัตว์จำแลงที่ผลิตจากพืช (Plant-based meat)

กรมส่งเสริมการเกษตรนำเสนอไอเดียของขวัญวันแม่ สนับสนุนการใช้ไม้ดอกไม้ประดับ
และกล้วยไม้เป็นสื่อรักแทนใจร่วมกับดอกมะลิ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมสินค้าเกษตร โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ว่าไม้ดอกไม้ประดับจัดเป็นสินค้าเกษตรที่มีกลุ่มเกษตรผู้ปลูกเลี้ยงเป็นจำนวนมาก กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการขับเคลื่อนงานส่งเสริมไม้ดอกไม้ประดับโดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบแปลงใหญ่ ผ่านโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และส่งเสริมเกษตรกรไม้ดอกไม้ประดับให้มีความรู้ในการผลิต การจัดการคุณภาพผลผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ การรวมกลุ่มและพัฒนาองค์กรเกษตรกร โดยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความหลากหลายของสินค้าไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช (ไม้ดอกไม้ประดับ)

“ประเทศไทยมีพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิด ในแต่ละช่วงฤดูจะมีการปลูกและมีความนิยมแตกต่างกันไป ซึ่งเกษตรกรได้มีการพัฒนาพันธุ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้มีสีสันและรูปลักษณ์ที่สวยแปลกตา สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี จึงถือเป็นจุดแข็งของการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ การจัดงานไม้ดอกไม้ประดับสื่อรักถึงแม่ Gift for Mom ในครั้งนี้จึงเป็นการนำเสนอสินค้าไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดที่มีการเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นของขวัญ โดยเฉพาะในโอกาสเทศกาลวันแม่ โดยนอกจากการนำเสนอพันธุ์ไม้ที่สวยงามแปลกตาแล้ว ยังมีการนำเสนอรูปแบบการใช้งานและวิธีการเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการนำเสนอเรื่องราวของไม้ดอกไม้ประดับในแง่มุมต่าง ๆ ด้วย”

นางมาลินี ยุวนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กล่าวถึงรายละเอียดการจัดงาน Gift for Mom ว่าในเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งเทศกาลวันแม่ ทางสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร จึงมีแนวคิดจัดงานไม้ดอกไม้ประดับสื่อรักถึงแม่ Gift for Mom ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ

โดยนำเสนอแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าของกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในรูปแบบที่หลากหลาย ตลอดจนเชื่อมโยงช่องทางการตลาดเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงการใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับ และกล้วยไม้ได้มากขึ้น โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วยนิทรรศการของขวัญไม้ดอกไม้ประดับวันแม่ การสาธิต การทำ workshop และการจำหน่ายสินค้าไม้ดอกไม้ประดับและกล้วยไม้สีสันแปลก ๆ

โดยกำหนดจัดงานในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณด้านหน้าอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 8.00 – 14.00 น. และมีการถ่ายทอดสดบรรยากาศการจัดงานและพิธีเปิดงานในเวลา 10.30 น. ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอเชิญชวนประชาชน ผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม หรือรับชมการถ่ายทอดสด พร้อมร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในวันและเวลาดังกล่าว

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญชวนประชาชนร่วมค้นหาไอเดียไม้ดอกไม้ประดับมอบเป็นของขวัญวันแม่ในงาน Gift for Mom ไม้ดอกไม้ประดับสื่อรักถึงแม่ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณด้านหน้าอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 14.00 น. และชมการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กเพจ กรมส่งเสริมการเกษตร เวลา 10.30 น. อย่าพลาด!!!

กรมส่งเสริมการเกษตร โชว์ความสำเร็จ ศดปช.ชุมชนท่าช้าง ที่สงขลา พลิกวิกฤติช่วงปุ๋ยแพง ปรับสูตรแม่ปุ๋ยเสริมธาตุอาหารรองร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แถมลดต้นทุนเพียบ ชี้ความสำเร็จจากเน้นยึดโมเดลการจัดการธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน

วันนี้ ( 5 ส.ค.65 ) เวลา 9.30น. นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยนายนายอนุชา ยาฮึด ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา นางสาวประพันธ์ ชนะวรรณโณ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน หรือ ศดปช. ที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง หมู่ 10 ตำบลท่าช้าง โดยมีนายปฎิวัติ ทองเพชรจันทร์ นายอำเภอบางกล่ำ กล่าวต้อนรับ และนายวิจารณ์ ขวัญช่วย ประธาน ศดปช.ตำบลท่าช้าง คณะกรรมการศูนย์ฯ เกษตรกรสมาชิก ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมชมการดำเนินงาน

นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่าช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง เป็นเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตรในด้านดินและปุ๋ยที่บริหารจัดการโดยเกษตรกร และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ยของชุมชนและนักเรียน นักศึกษาสถาบันต่าง ๆ ส่งผลให้สมาชิกในชุมชน และบุคคลภายนอกหันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ทำให้ได้รับรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์จัดการดินปุ้ยชุมชน ระดับเขต เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา

“ซึ่งในช่วงที่เกิดภาวะปุ๋ยมีราคาแพง ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลท่ช้างแห่งนี้ก็สามารถผสมปุ๋ยสั่งตัด โคยใช้แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 และนำมาผสมกับธาตุอาหารรอง เพื่อเป็นสารเติมเต็มให้แก่ผู้ที่สนใจสั่งซื้อ ทำให้ราคาปุ๋ยลดลงแต่พืชยังคงได้ธาตุอาหารเพียงพอ โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องผสมแม่ปุ๋ยจากกรมส่งเสริมการเกษตร

ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้ครอบคลุมสมาชิกมากขึ้น สมัครพนันออนไลน์ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ผลิตปุ๋ยเคมี-อินทรีย์รีย์จากมูลสัตว์หมัก เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน และลดต้นทุนส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๊ยอินทรีย์ร่วมกับปู้ยเคมีเพื่อลคต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีกด้วย” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ธ.ก.ส.พาลุยสวนทุเรียนลุงแกละ “ได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่”

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่เยี่ยมชมธุรกิจลูกค้า สวนลุงแกละ จังหวัดระยอง ของคุณโอ๋-นิธิภัทร์ ทองอ่อน ซึ่งเป็น Young Smart Farmer และ New Gen Hug บ้านเกิด ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาบริหารจัดการในการดำเนินงาน เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตผ่านช่องทางออนไลน์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจด้านเกษตรสมัยใหม่ โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงานในพื้นที่เข้าร่วม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ณ สวนทุเรียนลุงแกละ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

การเยี่ยมชมครั้งนี้คึกคักเป็นยิ่งนัก เนื่องจากมีสื่อมวลชนจากหลายสำนักได้ติดตามมารายงานข่าวกันสดๆ เริ่มต้นคุณโอ๋ได้ให้ข้อมูลว่า ได้มาสืบทอดอาชีพจากคุณพ่อคุณแม่ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งสิ่งที่ทำให้คุณโอ๋ตัดสินใจกลับมาทำการเกษตรคือความรักและความห่วงใยที่มีต่อครอบครัว ความต้องการที่จะดูแลครอบครัวและสวนที่คุณพ่อคุณแม่ได้สร้างไว้ เมื่อมีโอกาสจึงได้กลับมาพัฒนาและต่อยอดเพิ่มมูลค่า

ในช่วงแรกๆที่เข้ามาก็พยายามนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ โดยเฉพาะรถตัดหญ้า รถพ่นยา(รถแอร์บัส) รถกระเช้าตัดทุเรียน ฯลฯ แรกๆนั้นก็ต้องคอยอธิบายให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองเข้ามาเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องใช้เวลากันพอสมควรกว่าที่จะได้รับการยอมรับ (รายละเอียดเพิ่มเติมชมได้จากคลิปประกอบข่าวนี้)

จากนั้นคุณโอ๋ได้พาไปลุยสวนทุเรียนของเพื่อนเกษตรกรที่ตนเองเข้าไปดูแลเรื่องการตลาด ซึ่งกำลังใช้รถกระเช้าตัดทุเรียน ซึ่งคุณโอ๋บอกว่าการตัดทุเรียนด้วยรถกระเช้าจะสามารถสร้างความปลอดภัยให้มากกว่ากับการขึ้นต้นทุเรียนแบบเดิมที่มีคนตัดทุเรียนตกต้นทุเรียนทุกปี นอกจากนี้จะทำให้ดูลูกทุเรียนได้ระยะใกล้ชิด โดยเฉพาะสามารถเก็บลูกทุเรียนที่อยู่ปลายกิ่งได้ง่าย และลูกปลายกิ่งอยู่ใกล้ห้องครัว(ปลายกิ่งมีใบเยอะ ซึ่งทำหน้าที่ปรุงอาหาร) ตามปกติเกษตรกรไม่นิยมไว้ลูกปลายกิ่งเพราะเก็บยากนั่นเอง

จบจากการตัดทุเรียนคุณโอ๋ได้พามาชมการสาธิตการใช้รถพ่นยา(รถแอร์บัส)ในสวนหลังบ้าน ปกติการพ่นยาจะใช้ในช่วงที่ทุเรียนออกลูกเล็กๆ หรือช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลายเยอะๆ รวมทั้งการฉีดพ่นฮอร์โมนต่างๆเพื่อบำรุงใบให้สมบูรณ์ในช่วงที่ทำดอก

“การใช้รถแอร์บัสจะสามารถช่วยได้มาก ทั้งลดต้นทุนค่ายาค่าฮอร์โมนต่างๆ และประหยัดเวลาได้มาก จากเดิมที่คุณพ่อคุณแม่และโอ๋มาช่วยกันลากสายยาง ซึ่งใช้เวลานานและไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร แต่กับรถรุ่นนี้ที่มีตู้แอร์โอ๋ขับเองใช้คนแค่คนเดียวเท่านั้น”

คุณโอ๋บอกอีกว่ารถแอร์บัสที่ซื้อมาเป็นมือสองราคา 1 ล้านบาท ถ้าเป็นรถมือหนึ่งราคาประมาณ 3 ล้านบาท ส่วนรถกระเช้าตัดทุเรียนเป็นรถมือสองซื้อมาราคาคันละ 5.3 แสนบาท และกลำลังจะซื้อเข้ามาเพิ่มอีก 1 ตัน เพราะติดว่าสามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าและมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับทีมตัดทุเรียนนั่นเอง

นอกจากนี้คุณโอ๋ยังได้โชว์การใช้รถตัดหญ้า ซึ่งคันที่สาธิตนั่นเป็นรถมือหนึ่งซื้อมาในราคา 3 แสนบาทเศษ โดยคุณพ่อก็สามารถขับตัดหญ้าเองได้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่คุณโอ๋ได้นำมาใช้กับการพัฒนาอาชีพทำสวนทุเรียนก็คือ พวกแอปพยากรณ์อากาศ ใช้ทั้งหมด 3 แอป แต่ละแอฟผลออกมาใกล้เคียงกัน ที่ต้องใช้เพราะคิดว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก และทำให้สามารถพยากรณ์อากาศได้แม่นยำมากทีเดียว

คุณโอ๋บอกอีกว่าจะนำเข้ามาเปลี่ยนแปลงคือเรื่องระบบน้ำ กำลังประสานงานกับสวทช.มาติดตั้งระบบน้ำของสวนใหม่ เพื่อให้เป็นระบบบอัตโนมัติและทันต่อความต้องการของทุเรียนที่ถือว่าขาดน้ำไม่ได้ โดยจะอ่างเก็บน้ำขนาด 40 ไร่ ติดอยู่กับสวน ซึ่งคุณปู่ของคุณโอ๋ได้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำของชุมชน ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะสามารถนำน้ำมาใช้กับสวนทุเรียนกว่า 60 ไร่ได้เป็นอย่างดี

สื่อมวลชนถามว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งผลดีต่อการเพิ่มผลผลิตอย่างไร คุณโอ๋บอกว่ามีผลมาก จากเดิมที่ผลผลิตทุเรียนต่อไร่มีประมาณ 1 ต้น ก็เพิ่มเป็น 2-3 ต้นต่อไร่ เรียกว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี

คำถามสุดท้าย ธ.ก.ส.ได้มีบทบาทช่วยเหลือต่ออาชีพการทำสวนอย่างไร คุณโอ๋บอกว่าถ้าไม่ได้ธ.ก.ส.ก็จะไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในช่วงปีแรกๆที่ตนเข้าสืบทอดอาชีพของพ่อแม่เมื่อ 8 ปีที่แล้ว อย่างเช่นอยากได้รถแอร์บัสก็ไปปรึกษา ธ.ก.ส.สาขาวังจันทร์ จนได้ซื้อรถมาใช้รวมทั้งรถคันอื่นๆและที่จะลงทุนเพิ่มในเวลานี้คือการขยายแปลงปลูกเพิ่มเติมที่กำลังเจรจาแปลงใกล้เคียงจำนวน 2 แปลง ซึ่งก็จำเป็นต้องใช้บริการจาก ธ.ก.ส. เพราะมองว่าอาชีพการทำสวนทุเรียนยังมีผลตอบแทนที่น่าลงทุน โดยเฉพาะราคาผลผลิตจากสวนกิโลกรัมละ 100 กว่าบาท และของตนเองนั้นจะเน้นขายล้งเพียง 60% อีก 40% จะขายแบบแกะเนื้อทุเรียนขายเพื่อตัดปัญหาเนื้อทุเรียนไม่ได้คุณภาพ โดยตลาดไอยราจะเป็นผู้แกะเนื้อทุเรียน เพราะเขามีห้องแกะเนื้อทุเรียนที่ปลอดเชื้อ ส่วนคุณโอ๋ก็จะนำทุเรียนที่แกะเนื้อขายออนไลน์ผ่านทางเซเว่นอีเลฟเว่น ในราคากิโลกรัมละ 1,490 บาท

ทั้งหมดนี้คือบางส่วนของการพูดคุยกับคุณโอ๋ ซึ่งในตอนท้ายเขาย้ำว่าจะพยายามเปลี่ยนมุมมองใหม่ของเกษตรกรไทยให้ดูเท่ดูดี โดยนำภูมิปัญญาดั้งเดิมมาผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคลิปLIVEสดของเกษตรก้าวไกล รวมทั้งคลิปจากยูทูปช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน..ขอย้ำว่าถ้าเกษตรกรรุ่นใหม่เกิดขึ้นเยอะๆ การเกษตรประเทศไทยก็จะมีผู้สืบทอดและเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน

เปิดคลังความรู้ KU Digital Day : ต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 7 มิถุนายน 2565 ณ ลานชั้น 3 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน KU Digital Day : ต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดคลังความรู้นำผลงาน Digital Platform ที่โดดเด่นและใช้งานได้จริงพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ อาทิ Platformการบริการ, การเกษตร , ป่าไม้ , ประมง , IT, การศึกษา, สุขภาพ นำเสนอแก่ผู้สนใจเป็นครั้งแรก รวมจำนวน 22 Digital Platform พร้อมกับนำชมระบบคลังความรู้ E-Books ซึ่งบรรจุข้อมูลกว่า 40 Digital Platform เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีองค์ความรู้ทั้งงานวิจัย นวัตกรรมที่หลากหลายสาขา กระจายอยู่ในคณะ สำนัก สถาบันในวิทยาเขตต่าง ๆ มากมาย ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งสร้างต้นแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จึงได้คัดเลือกและรวบรวมเฉพาะผลงานเกี่ยวกับ Digital Platform ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานที่มีส่วนช่วยส่งเสริม แก้ไขปัญหาสังคม ช่วยลดเวลาและขั้นตอนการปฏิบัติงานและสะดวกต่อการใช้งาน ฯลฯ นำมาจัดแสดงและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สนใจ ในงาน KU Digital Day เป็นครั้งแรก และเพื่อความสะดวกในการค้นหาคลังความรู้ดังกล่าว ตลอดจนเผยแพร่ให้สังคม ผู้สนใจทั่วไปได้นำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น จึงได้จัดทำเป็น E-Books ซึ่งบรรจุข้อมูลเชิงลึกสำหรับ Digital Platform จำนวนกว่า 40 ผลงาน ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ที่ https://ebook.lib.ku.ac.th/item/3/2022RG0018

ภายในงานมีการจัดแสดงผลงาน Digital Platform จำนวน 22 ผลงาน การนำเสนอและสาธิตการใช้ Digital Platform ที่โดดเด่น และนำไปใช้งานได้จริง จำนวน 5 ผลงาน ได้แก่

ระบบ นิทรรศการแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้นิสิตรูปแบบเสมือนจริง โดย อ.ดร.สรีวัลย์ จึงเจริญนิรธร วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
ระบบนี้ เกิดจากภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดแสดงผลงานนิสิตในรูปแบบเสมือนจริง ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงผลงานของนิสิตได้โดยปราศจากการรวมตัวและลดการแพร่ระบาดได้ โดยยังสามารถคงไว้ซึ่งบรรยากาศเสมือนจริง นอกจากนี้สื่อที่นิสิตสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารในอีกรูปแบบหนึ่ง ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ดีได้อีกด้วย

ระบบ รู้เกษตร- AgriPro, iOS และ Android เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนเพาะปลูกพืชหรือ เลี้ยงสัตว์ โดย รศ.ดร. ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“รู้เกษตร – Agri Pro” แอปพลิเคชันสำหรับวางแผนการผลิตพืช/เลี้ยงสัตว์/ประมง ใช้เพื่อการกำหนดขอบเขตฟาร์มบนแผนที่เพื่อคำนวนเป็นพื้นที่จริง สร้างแผนการผลิต บันทึกรายการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และบันทึกรายรับ-จ่าย เพื่อสรุปเป็นโปรไฟล์ของการผลิตแต่ละครั้ง จึงทำให้เห็นภาพของรายรับ-จ่ายที่เกิดขึ้นของการผลิต นอกจากนี้ยังเติมเต็มด้วยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ได้แก่ ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลชุดดิน ร้านขายปัจจัยการผลิตและสถานที่รับซื้อผลผลิต ข้อมูลราคาสินค้าเกษตร ระบบการคำนวณปุ๋ยสั่งตัด และคลังความรู้การเกษตรในรูปแบบ e-book เพื่อการวางแผนการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลการผลิตสามารถสร้างเป็น QR code เพื่อแชร์ให้แก่ผู้ที่สนใจ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายเกษตรกร นอกจากนี้การส่งข้อมูลเข้าส่วนกลางเพื่อการอัพเดทการผลิตของเกษตรกรแต่ละราย ข้อมูลที่ส่งเข้าส่วนกลาง จะถูกเก็บไว้ในรูปแบบธนาคารข้อมูล (data bank) เพื่อสะสมให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทางการเกษตร (Agri-big data) ต่อไปได้

นอกจากนี้สามารถนำองค์ความรู้จากแอปพลิเคชันด้านการเกษตรมาใช้ในการบริหาร จัดการ วางแผนการผลิต และจัดการผลผลิตจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้มากกว่าการอิงประสบการณ์ เกษตรกรและนักวิชาการสามารถพัฒนาเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการผลิตเพื่อเป็นการขยายฐานข้อมูลเดิม รวมไปถึงข้อมูลจากแอปพลิเคชันที่ถูกรวบรวมอย่างเป็นระบบในรูปแบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) จะมีประโยชน์สำหรับภาครัฐหรือเอกชนสำหรับใช้การวางแผนการจัดการในเชิงนโยบายด้านการเกษตรต่อไป เพื่อการพัฒนาไปสู่การเกษตรแม่นยำในอนาคต

ระบบ FOA Drone Mapping Platform เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการวางแผนจัดการแปลงหรือฟาร์ม โดย รศ.ดร. ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การวางแผนการจัดการฟาร์มจากเดิมที่ต้องเดินสำรวจพื้นที่เพาะปลูกเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของพืช หรือสัตว์ได้ถูกแทนที่ด้วยการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนบินสำรวจ (surveying drone) เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว โดรนสำรวจมีหลากหลายรูปแบบ และหลายรุ่น ซึ่งในแต่ละรุ่นจะส่งผลต่อศักยภาพของโดรน ประสิทธิภาพในการบิน ความละเอียดของภาพ และความแม่นยำของพิกัดภาพที่แตกต่างกัน

ข้อมูลที่ได้จากการบินถ่ายพื้นที่หลายๆ ภาพจะต้องนำมาประมวลผลผ่านโดรนแพลทฟอร์มของศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อต่อภาพถ่ายหลายๆ ภาพเข้าเป็นภาพเดียวกัน เกิดเป็นแผนที่ภาพออร์โธอากาศยานไร้คนขับ หรือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะ แผนที่ภาพในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล (digital orthophoto map) แผนที่ภาพถ่ายที่ประมวลผลแล้วสามารถนำมา ประเมินสภาพแปลง RGB ความสมบูรณ์ของต้นพืชระดับความสูงต่ำของพื้นที่ DEM (digital elevation model) และเส้นแนวระดับการวัดขนาดพื้นที่

ระยะทางรอบแปลง และการวัดระยะ การประเมินดัชนีสุขภาพพืช GRVI (green red vegetation index) นับจำนวนต้น หรือการแบ่งกลุ่มชนิดพืชพรรณในแปลงด้วยค่าสีที่แตกต่างกัน การกำหนดจุดบนแผนที่แล้วเชื่อมโยงกันกับแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “รู้เกษตร-Agri Pro” เพื่อการลงพื้นที่สำรวจใน จุดที่ต้องการสำรวจ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของพืช หากเกิดการระบาดของโรคหรือแมลงในแปลงจะได้

เข้าแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งจะมองภาพรวมของแปลงได้ครอบคลุม และเร็วมากกว่าการใช้แรงงานคน การให้บริการ แพลตฟอร์มนี้ มีตั้งแต่การบินถ่ายภาพด้วยโดรน การประมวลและวิเคราะห์ผลภาพถ่าย และอัพโหลดข้อมูลเข้า แพลตฟอร์มเพื่อการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันได้มีผู้ใช้บริการจริงแล้ว ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ใช้นับจำนวนต้น และตรวจสอบการระบาดของหนอนที่เข้าทำลายใบในแปลงปาล์มน้ำมัน บินติดตามการเจริญเติบโตและสุขภาพพืช ของข้าว และบินสำรวจพื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนจัดการแปลง เป็นต้น

Care Support Application เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นอุปสรรคแก่ผู้พ้นโทษ โดย ผศ.ดร. เปรมฤดี เพ็ชรกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
งานวิจัยเรื่องนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้สามารถมีช่องทางในการขอรับบริการความช่วยเหลือ หางานทำ มีสถานศึกษา และที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสร้างกระบวนการในการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แอปพลิเคชันให้แก่กลุ่มผู้กระทำผิดที่กำลังได้รับการปล่อยตัว

นอกจากผู้พ้นโทษมีช่องทางในการเข้าถึงการหางานทำและการขอรับสวัสดิการที่สะดวกและไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถนำเครื่องมือทางออนไลน์ไปประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยประโยชน์ให้การทำงานในการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษมีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ แก่กลุ่มผู้พ้นโทษได้ตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ ผลจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน จะดำเนินการส่งต่อระบบแอปพลิเคชันให้แก่สำนักงานส่งเสริมสัมมาชีพและผลิตภัณฑ์เพื่อการพัฒนาพฤตินิสัย กระทรวงยุติธรรม (สมภพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้โครงสร้างการบริหารขององค์การส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

ระบบ เพื่อนจากใจ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะให้แก่นิสิต โดย ดร.มนธีร์ จิตต์อนันต์ และคณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เยาวชนมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2560 กลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายที่ 4.94 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มเยาวชนโทรศัพท์เข้ามาปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล ปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก ปัญหาซึมเศร้า และปัญหาครอบครัว

ปัญหาความเครียดของนิสิตที่บางครั้งเผชิญปัญหา และรู้สึกว่า ไม่มีที่พึ่ง จึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม และบางคนเลือกจบชีวิตของตนเอง จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้นิสิตได้เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ง่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับธรรมชาติการใช้ชีวิตของนิสิตนักศึกษาที่จะใช้โทรศัพท์มือถือกันมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้แอปพลิเคชันมากขึ้น

แอปพลิเคชั่นที่พัฒนาส่วนใหญ่ จะเป็นการให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพจิตเท่านั้น บางแอปพลิเคชั่นถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งแอปพลิเคชั่นสบายใจที่ถูกพัฒนาโดยกรมสุขภาพจิตประเทศไทย มีฟังก์ชั่นให้สามารถพูดคุยปรึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แอปพลิเคชั่น เพื่อนจากใจมีความครอบคลุมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและสุขภาพกาย รวมทั้งมีบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วย

อุตสาหกรรมถุงมือยางรายเล็กและโรงงานบรรจุภัณฑ์ไทยได้รับผลกระทบหนัก เหตุนักธุรกิจต่างชาติไร้เชื่อมั่นเมินสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย หลัง CNN กระจายข่ายทั่วโลกนักลงทุนชาวฮ่องกง ถูกขบวนการนายหน้าไทยฉ้อโกงหลอกโอนเงินมัดจำ เสียหายกว่า 100 ล้านบาท แต่ส่งสินค้าถุงมือยางไม่ครบ รวมถึงไม่ได้มาตรฐานลั่นพร้อมย้ายฐานหนีลงทุนประเทศเพื่อนบ้านแทนหากกฏหมายไทยไม่ศักดิ์สิทธิ์

โรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางและโรงงานบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กของไทย จำนวน 25 โรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหา นายหน้าฉ้อโกงและหลอกลวงนักลงทุนต่างชาติ ให้โอนเงินมัดจำค่าถุงมือยาง แต่กลับได้สินค้าไม่ครบและไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น มาตรฐานถุงมือยางไทย ชะลอการนำเข้า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย หรือ สยท. และเครือข่าย ได้ร่วมแถลงหาทางออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการ อุตสาหกรรมยางของไทย

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหานายหน้าหลอกขายถุงมือยางที่ไม่ได้มาตรฐานของไทยโดงดังไปทั่วโลก โดยการรายงานข่าวของ CNN เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 64ว่าวงการถุงมือยางไทยไม่ได้มาตรฐาน และนักลงทุนถูกหลอก ส่งผลให้กระทบต่อความเชื่อมั่น โรงงานผลิตถุงมือยางขนาดเล็กที่คำสั่งซื้อชะลอตัว บางรายต้องถูกระงับการส่งออกเพราะต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น

โดยในเรื่องนี้ ได้นำเสนอปัญหาต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเรียบร้อยแล้ว และที่ประชุมได้มอบหมายให้ร่วมกันแก้ปัญหาและหาทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมยางพาราและการลงทุนในประเทศไทย

นายอุทัยกล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของนักธุรกิจเฉพาะรายที่ถูกหลอกและฉ้อโกง แต่ความจริงแล้วผลกระทบเกิดขึ้นในวงกว้างเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ทำให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น

“ผมคิดว่าหากเหตุการณ์บานปลายต่างชาติไม่นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ก็จะส่งผลกระทบไปถึงเกษตรกรชาวสวนยางได้ เพราะยางดิบถือเป็นต้นน้ำ ขณะที่โรงงานแปรรูปน้ำยางข้น เป็นกลางน้ำ และสุดท้ายคือ ส่งออกถุงมือยางเป็นปลายน้ำ ดังนั้นหากปลายน้ำเสียหายไม่ได้รับความเชื่อถือ ก็จะส่งผลกระทบมาถึงต้นน้ำในที่สุด”

นายอุทัยยังกล่าวอีกว่า เหตการณ์ที่เกิดขึ้นของขบวนการฉ้อโกงทำให้ความเชื่อมั่นของไทยลดลงจนอาจจะกระทบต่อการเป็นศูนย์อุตสาหกรรมยางไทยในระดับโลกและไม่สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่วางที่ไว้

ทั้งนี้นักธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากขบวนการนายหน้าหลอกขายถุงมือยาง ขณะนี้พบว่า มีหลายบริษัท แต่บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด ซึ่งเป็นของนักธุรกิจชางฮองกงได้รับความเสียหายมากกว่า100 ล้านบาท และได้แจ้งความดำเนินคดีกับขบวนการนายหน้าที่หลอกขายถุงมือยาง โดยขณะนี้รออัยการสั่งฟ้อง

เปิดขบวนการ”นายหลอก”ต่างชาติลงทุน

ขณะที่ นาย วิทยา ผุดผาด ทนายความ บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของคดีว่า บริษัท เอชแอนด์เอชฯ ได้แจ้งดำเนินคดีกับกลุ่มนายหน้าและ บริษัทผู้ถูกกล่าวหาแล้วทั้งสองคดี โดยแจ้งความคดีในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการนำความอันเป็นเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์

คดีที่ 1 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกส่งออกได้ภายใน 7 – 14 วัน บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำสัญญาสั่งซื้อจำนวน 1 ล้านกล่อง เป็นเงิน 205,000,000 บาท และได้โอนมัดจำ 30% เป็นเงิน 61 ล้านกว่าบาท บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสิ้นค้าให้ภายใน 7 – 14 วัน

หลังจากตรวจสอบคุณภาพสินค้าผ่าน (SGS) แต่เมื่อถึงกำหนดตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปรากฎว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหามีสินค้าให้ตรวจสอบเพียง 1,410 หล่อง และเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานไม่ผ่านการทดสอบ เมื่อบริษัทผู้เสียหายติดตาม ก็ได้มีการส่งสินค้าให้เพียงบางส่วนจำนวนประมาณ 40,000 กล่อง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2564 ซึ่งตรวจสอบหลักฐานเอกสารการส่งออกพบว่าไม่ตรงกับบริษัทส่งออกแต่เป็นหลักฐานเอกสารการส่งออกของประเทศเวียดนาม ทำให้บริษัทผู้เสียหายไม่อาจส่งสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าต่อได้ ขณะนี้สินค้ายังคงค้างอยู่ในสต๊อกไม่สามารถนำออกไปขายได้

คดีที่ 2 มีพฤติการณ์การร่วมกันฉ้อโกง กล่าวคือ กลุ่มนายหน้าและบริษัท ผู้ถูกกล่าวหาโชว์สินค้า และโรงงานโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทางคอมพิวเตอร์ว่า มีถุงมือยางไนไตรพร้อมส่งออกจำนวน 70,000 กล่อง ส่งออกได้ภายใน 7 – 14 วัน หลังจากทำคำสั่งซื้อและโอนเงินระหว่างประเทศชำระค่าสินค้า 100% บริษัทเอช แอนด์เอชฯ หลงเชื่อจึงได้ทำคำสั่งซื้อจำนวน 70,000 กล่อง และโอนเงินชำระค่าสินค้าจำนวน 7 ล้านกว่าบาท แต่เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้าบริษัท ผู้ถูกกล่าวหากลับอ้างว่าสินค้ามีปัญหาในเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า (SGS) ทำให้การส่งสินค้าล่าช้า หลังจากนั้นทางกลุ่มนายหน้าและบริษัทผู้ถูกกล่าวหาได้โชว์สินค้าและกล่าวอ้างว่ามีสินค้าอีกประมาณ 500,000 กล่อง ซึ่งเป็นของลูกค้าชาวเกาหลีหากบริษัทผู้เสียหายสนใจจะเอามาขายให้กับบริษัทผู้เสียหายก่อน แต่จะต้องโอนเงินมัดจำ 50% บริษัท ผู้ถูกกล่าวหาตกลงจะส่งสินค้าให้ภายใน 7 – 14 วัน บริษัทผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้สั่งซื้อไปอีก 538,000 กล่อง เป็นเงิน 110,000,000 บาท และได้โอนมัดจำ 50% เป็นเงิน 55 ล้านกว่าบาท เมื่อถึงกำหนดจัดส่งสินค้าปรากฎว่าบริษัทผู้ถูกกล่าวหาไม่มีสินค้าให้กับบริษัทผู้เสียหาย ผัดผ่อนบายเบี่ยงเรื่อยมา

“สรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัท เอช แอนด์เอชฯ เสียหายกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างสรุปสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) ว่าจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ คดีนี้ถือว่าสร้างความเสียหายต่อวงการอุตสาหกรรมยางเมืองไทยมาก”ทนายวิทยากล่าว

นักลงทุนต่างชาติจี้รัฐบาลไทยแก้ปัญหา

ด้าน นางเฮเล็น เชิงยูลิง ประธานบริษัท บริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด จาก ฮ่องกง เปิดเผยว่า รู้สึกขาดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจกับประเทศไทย เดิมตั้งแต่ใจจะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี เพราะว่าไทยเป็นดินแดนที่มีน้ำยางมีคุณภาพในการผลิตถุงมือยางที่มีคุณภาพ ดังนั้น เมื่อปี 2563บริษัทจากสหรัฐได้ติดต่อเพื่อให้สั่งซื้อถุงมือยางก็มองมาที่ประเทศไทยเป็นอันดับแรก

จนได้ทำสัญญาสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทในไทยมูลค่า 80 ล้านบาท จำนวนสินค้า 2 ล้านกล่อง และได้ชำระค่ามัดจำสินค้าล่วงหน้าไป จำนวน 62 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดส่งมอบกลับได้สินค้าเพียง 4 หมื่นกล่อง และสินค้าไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าใช้ใบรับรองมาตรฐานปลอม ทำให้ถูกเก็บไว้กักไว้ที่สหรัฐ

“ขณะที่ติดต่อสั่งซื้อได้ตรวจสอบทั้งสินค้าและโรงงานโดยบริษัทได้โชว์เอกสารหลักฐานทุกอย่างแต่เมื่อส่งสินค้าส่วนหนึ่ง นอกจากไม่ได้มาตรฐานแล้วยังไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามข้อตกลงสัญญาที่ตกลงกันไว้

นางเฮเล็น กล่าวอีก เรื่องที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความกังวลเรื่องความเชื่อถือมั่นที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และส่งผลต่อภาพ ลักษณ์ประเทศไทย เพราะจริงๆแล้วต่างชาติหลายรายสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะบริษัทของตนที่มีเครือข่ายทั้งในยุโรปและสหรัฐ หากรัฐบาลไทยยังไม่สามารถใช้กฏหมายดำเนินการกับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ได้อย่างจริงจังเพิ่อนักลงทุนต่างประเทศก็จะต้องหันไปลงทุนประเทศอื่นแทน

“ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติหลายรายตั้งใจจะเข้ามาลงทุนประเทศเมียนมาร์ แต่เกิดความไม่สงบทางการเมือง จึงเปลี่ยนใจและหันเข้ามาลงทุนในไทยแทน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ภาษีการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 13 ปี และ สิทธิเช่าที่ดินได้นาน 99 ปี แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ทางบริษัทได้แต่งตั้งบริษัทตัวแทนในไทยแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบริษัทเหล่านั้นแล้ว“

ด้านนายยงฉาง แช่เป้า ในฐานะตัวแทนบริษัท เอช แอนด์เอช เมดิคอล ซับพลาย จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา บริษัทของคุณเฮเลน สนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย เพราะเคยเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากกว่า 15 ครั้ง และแม้จะเกิดเรื่องขึ้นก็ยังตั้งใจจะนำเงินเข้ามาลงทุนในหลายธุรกิจ อาทิ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่นอน หมอนยางพารา เป็นต้น เพียงแต่อยากให้รัฐบาลตรวจสอบเรื่องการโฆษณาหลอกลวงของกลุ่มบริษัทดังกล่าวนี้ เพื่อการันตีว่าประเทศไทยมีกฏหมายเอาผิดกับกลุ่มบริษัทหลอกลวงหรือ บริษัทนายหน้าที่โฆษณาเกินจริง เพราะก่อนที่จะสั่งซื้อสินค้า บริษัทเหล่านั้นมีการโฆษณาโรงงานผลิตสินค้า เครื่องจักร ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอพรีเซ็นต์ที่น่าเชื่อถือ

“ผมคิดว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา คงจะไม่มีทางหลอกหลวงกัน ไม่คิดว่าจะเกิดคดีแบบนี้กับบริษัท ซึ่งผมเองยังเชื่อมั่นว่า บุคคลที่เป็นนายหน้าเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆเท่านั้น หากรัฐบาลไทยสามารถดำเนินคดีเอาผิดกับคนเหล่านี้ ก็จะสร้างความเชื่อมั่นกลับมาให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนได้ โดยขณะนี้ทั้งสหรัฐและยุโรป มีคำสั่งซื้อถุงมือยางธรรมชาติเข้ามาจำนวนมาก แต่ประไทยจะทำอย่างไรที่จะให้ความมั่นใจกับนักลงทุนเหล่านี้ว่าจะไม่เกิดปัญหาซ้ำรอย และเราจะเสียโอกาสนี้ไปถ้ารัฐบาลใม่เข้ามาช่วยเหลือ“ นายยงฉาง กล่าว

นางสาว พิยดา วุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮับ พาราโกลฟส์ โปรเจ็ค จำกัด ในฐานะตัวแทนเครือข่าย 25 บริษัทถุงมือยางประเภทบรรจุภัณฑ์ กล่าวว่า อยากให้คดีของนักลงทุนชาวฮองกงเป็นตัวอย่างที่ประเทศไทยออกมาแสดงความรับผิดชอบโดยการเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้วงการอุตสาหกรรมถึงมือยางประเทศไทยกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากทีกรณีนี้เราได้รับผลกระทบโดยตรงถูกระงับการส่งออกเพราะต้องการตรวจสอบข่าวที่เผยแพร่ออกไปจากประเทศในหลายกรณี ซึ่งขณะนี้พวกเราได้มีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากมีการตั้งคณะนักวิชาการเข้ามาเพื่อช่วยกรณีหลายหน่วยงาน ทั้งศุลกากร และหน่วยบงานรับรองมาตรฐานเพื่อปิดจุดอ่อนที่เป็นหาที่เกิดจากการคดีฉ้อโกงที่เกิดขึ้นกับชาวฮ่องกง

นาย ชัยโรจน์ ธรรมรัตน์ เลขาธิการสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง กล่าวว่า ปัญหาถุงมียางขาดความเชื่อถือ เนื่องจากขาดระบบการจัดการที่ดี ขาดการดูแล จากภาครัฐอย่างทั่วถึง ซึ่งมูลค่าอุตสาหกรรมถุงมือยางที่ส่งออกในขณะนี้มีมากถึง 94,000 ล้านบาท หากไม่ได้รับการดูแลจะสร้างความเสียหายมากขึ้นโดยความการช่วยเหลือ ของรัฐ มักจะมุ่งช่วยเหลือไปยังผู้ผลิตถุงมือที่มีโรงงานขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตมาก โรงงานเหล่านี้มีผลกระทบน้อยไม่เดือดร้อน เพราะมีลูกค้าประจำคำสั่งซื้อระยะยาวอยู่ในมือแล้ว แต่โรงงานผลิตถุงมือยางธรรมชาติขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบมาก ส่งออกไม่ได้

ทางสมาคมฯจึงได้พยายามเข้าไปประสานความช่วยเหลือ หาทางฟื้นฟูและสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นใหม่โดยทางสมาคมฯได้ ประสานงานโรงงานที่ได้รับผลกระทบ ช่วยให้มีการควบคุมสายการผลิตถุงมือยางธรรมชาติแบบได้มาตรฐาน ตามระเบียบโรงงานการผลิตถุงมือยางธรรมชาติ ของไทย ซึ่งจัดเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะต้องมีการ ตรวจสอบการผลิต ตามมาตรฐานวัสดุทางการแพทย์

ซึ่งทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีห้องปฏิบัติการที่ให้บริการตรวจสอบตัวอย่างถุงมือยางที่ต้องการใบรับรองเพื่อการส่งออก และยังมีหน่วยงานบริการห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการและสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็น ผู้ให้ความช่วยเหลือบริการการตรวจสอบสินค้าตัวอย่างและออกใบรับรองสินค้าที่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบ สามารถส่งออกสินค้าที่ได้มาตรฐาน ช่วยฟื้นฟูความความถือให้ดีขึ้น

นายสมบูรณ์พงษ์ พุกกะเวส ผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร สมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง กล่าวว่า คำตอบคือ ผู้ประกอบการต้องผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ไม่ต่ำกว่า 35% ของราคาส่งออก FOB และได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากร 0 % หรือ จีเอสพี ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงยังได้รับยกเว้นภาษีสินค้าผลิตภัณฑ์ยางส่งออก จากเขตการค้าเสรี หรือFTA กับ 13 ประเทศดังนั้นใครรู้เรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าดีกว่ากันก็จะได้เปรียบ เพราะคนรู้จะทำได้ดีกว่าคนไม่รู้

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จัดทัวร์เกษตรสัญจร เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ชมแปลงกัญชง กัญชา กระท่อม อะโวกาโด โกโก้ ผักสลัดไฮโดรโปรนิกส์ วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2565

-จุดแรก ชมความงาม ขอพรไหว้พระ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ที่วัดผาซ่อนแก้ว งานพุทธศิลป์ของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์

-เยี่ยมชมแปลงกัญชา กัญชง กระท่อม ครบวงจรตั้งแต่ปลูกจนถึงแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแล ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแรกๆที่มีการปลูก ศึกษา พัฒนากัญชง กัญชาจากแปลงปลูกสู่ผลิตภัณฑ์กัญชง กัญชาร่วมกับองค์กรภาครัฐหลายหน่วยงานและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ ที่นี่เราจะได้ความรู้ทั้งวิธีการปลูกกัญชง กัญชาซึ่งจะมีทั้งแปลงปลูกกลางแจ้ง การปลูกในโรงเรือน และการปลูกในระบบปิด พร้อมแนะนำเทคนิคการดูแลที่ถูกต้องให้ได้คุณภาพและมาตรฐานไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย การปลูกกัญชง กัญชาในเชิงพาณิชย์ทำอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

-ชมแปลงผักสลัดไฮโดรโปรนิกส์ สวนโปรเฟสซั่นแนลไฮโดรฟาร์ม เขาค้อ ซึ่งเขาค้อนับเป็นแหล่งผลิตผักสลัดแหล่งใหญ่ของประเทศ เราจะได้ชมเทคนิคการปลูกผักสลัดด้วยระบบการปลูกไฮโดรโปรนิคส์ส่งตลาดโมเดิร์นเทรด

-ชมสวนและชิมกาแฟ อะโวกาโด โกโก้ ไร่จ่านรินทร์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ใครไปเขาค้อก็ต้องแวะไปเยือน นอกจากจะได้ชมวิธีการปลูก การนำผลผลิตมาแปรรูปแล้ว ยังมีสาธิตการทำปุ๋ยหมักเติมอากาศ สาธิตการขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดเพื่อให้ท่านได้นำไปขยายพันธุ์พืชเองได้

กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเกษตรกรผู้ปลูกผักแบบ GAP (เกษตรเคมี) พร้อมด้วย 4 พรรคการเมือง พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคก้าวไกล ชี้ทางรอดภาคเกษตรกรรมไทย ต้องบริหารจัดการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐาน GAP ใช้สารเคมีเกษตรอย่างปลอดภัย ควบคู่กับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลก เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจด้านสินค้าเกษตรไทย ย้ำจุดยืน ครัวไทยสู่ครัวโลก

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน “เคมี พระเอกหรือผู้ร้าย ครั้งที่ 3” ในหัวข้อ “อินทรีย์ – เคมี โอกาสของไทย ภายใต้วิกฤตอาหารโลก” ร่วมด้วย นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์

กรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี แทงบอลออนไลน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย นายสุรวุฒิ ศรีนาม เกษตรกรผู้ปลูกผักมาตรฐาน GAP และ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในนามนักวิชาการ ผู้แทนภาคเอกชน ภาครัฐ และเกษตรกร มาร่วมสะท้อนอุปสรรค โอกาส และแนวทางการบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมีอย่างยั่งยืน

กัญชากัญชงจากการแพทย์สู่มิติทางเศรษฐกิจ งาน HORTI ASIA

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จัดเสวนาเรื่องกัญชากัญชงจากการแพทย์สู่มิติทางเศรษฐกิจ ในงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 ณ ห้องประชุม MR214 – MR215 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพ มีผู้สนใจเข้าร่วมงานคับคั่ง ล้นห้องประชุม โดยงานนี้ ดร.อภิวัฒน์ จ่าตา นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการด้วยตัวเอง

งานเสวนา “กัญชา กัญชง จากการแพทย์สู่มิติทางเศรษฐกิจ” เป็นงานให้ความรู้ ความกระจ่าง ชัดเจน ในทุกมิติของพืชกัญชาและกัญชง มีวิทยากรมาให้ความรู้ตั้งแต่การเริ่มปลูกจนถึงการตลาด เรียกว่าต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้งเรื่องการขออนุญาตปลูกที่ถูกต้อง มีวิทยากรทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มาให้ความรู้กับผู้ร่วมเสวนา

โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อส่งเสริมผลักดัน การปลูกกัญชา กัญชงให้ถูกกฎหมาย และนำไปสู่การแพทย์ไทยต่อไป ปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานผลิตแรกของประเทศไทยและอาเซียนที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์เพื่อผู้ป่วยไทยเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐานเมดิคัลเกรดอย่างถูกกฎหมาย นำไปสู่การบริหารจัดการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงและถูกวิธี

“งานเสวนาครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งมิติของคนสายเขียว เพื่อผู้สนใจในธุรกิจการปลูกกัญชาและกัญชงเพื่อการค้า และหลังเสวนาจะมีการจัดกิจกรรมทัวร์เกษตรสัญจร ลงพื้นที่ศึกษา ดูงานจริง จากสวนเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ครบในเรื่องการศึกษาจากผู้รู้จริง ตัวจริง เสียงจริง ลงพื้นที่จริง ต่อเนื่องจากการเสวนา ในวันที่ 2 ก.ค. 2565 รับรองได้ว่ามีอะไรดีๆแน่นอน งานนี้ห้ามพลาดครับ ท่านใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดที่ จนท.สมาคมฯ โทร. 0863401713 ได้เลยครับ”

“สำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ความชัดเจนกับผู้สนใจ หวังว่างานเสวนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ปลูกอยู่แล้ว หรือผู้ที่กำลังคิดจะปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ อย่างกัญชง และกัญชา ก็สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจได้” นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ กล่าวทิ้งท้าย

(กรุงเทพฯ – 25 พฤษภาคม 2565) บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน ร่วมกันจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย – งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาคเอเชีย และงานฮอร์ติ เอเชีย – งานแสดงปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและนวัตกรรมด้านการปลูกพืชผัก ไม้ผล และดอกไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ

ภายในงานผู้เข้าชมงานจะได้พบกับบรรดาผู้ประกอบการมากกว่า 250 แบรนด์ชั้นนำ จาก 26 ประเทศทั่วโลก ที่พร้อมนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อการแก้ปัญหาทางการเกษตรอย่างชาญฉลาด ขยายเครือข่ายทางธุรกิจกับบริษัทระดับโลก โดยในปีนี้ มีการประกาศเปิดตัว ประเทศพันธมิตร “เวียดนาม” ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาคธุรกิจเกษตร แลกเปลี่ยนนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญเพื่อการส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศ และต่อยอดการจัดงาน อะกริเทคนิก้า ไลฟ์ ที่เวียดนามในช่วงกลางปี

นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ผ่านงานสัมมนาเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ ผ่าน 98 หัวข้อที่นำเสนอโดยวิทยากรหลากหน่วยงานและความชำนาญเฉพาะทาง อาทิ งานประชุมเชิงวิชาการที่เนื้อหาเข้มข้นสำหรับการปลูกข้าวแบบยั่งยืน – งานสัมมนาความร่วมมือจากกระทรวงการเกษตรเยอรมัน, สัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับเกษตรกรไทย โดย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,

กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งประเทศเยอรมัน (BMEL) สนับสนุนการประชุมสุดยอดการค้าสำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการส่งออก โดยจะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับเกษตรกรไทยหัวก้าวหน้าที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญมาเข้าร่วมงานจากหลากหลายภูมิภาคในประเทศ ซึ่งจากการเปิดระบบลงทะเบียนล่วงหน้าพบว่า ผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 72 ประเทศลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมงานในครั้งนี้แล้ว

ในส่วนของพาวิลเลี่ยนนานาชาติก็มีนำเสนอจากหลากหลายประเทศ อาทิ ฟินแลนด์ เยอรมัน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน ที่ประกอบด้วยผู้ประกอบการจากหลายบริษัทมาจัดแสดงเทคโนโลยีทางการเกษตรจากนานาชาติ พร้อมด้วยพาวิลเลี่ยนธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ ทั้งพาวิลเลี่ยนการปลูกพืชแนวตั้ง, พาวิลเลี่ยนกัญชา-กัญชง, และโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งจะมีขึ้นตลอด 3 วันของการจัดงาน

พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ นำโดยตัวแทนจากคณะผู้บริหารของผู้จัดงาน เริ่มด้วย คุณ Tobias Eichberg กรรมการผู้จัดการ สมาคมเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG Service) และ คุณ Igor Palka (อิกอร์ เพาก้า) กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวต้อนรับและอัปเดตไฮไลท์ของงานปีนี้ เสริมด้วย คุณกนกพร ดำรงกุล ผู้อำนวยการ ส่วนงานส่งเสริมการจัดแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ในส่วนของผู้สนับสนันการด้านจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทยและปิดท้ายด้วย ฯพณฯ ดร. Tran Thanh Nam รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท ผู้แทนจากประเทศเวียดนาม และได้รับเกียรติจาก คุณ อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากประเทศไทย พร้อมด้วย ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ถ่ายทอดสดการบรรยายทางระบบออนไลน์) ร่วมเป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้

ฯพณฯ ดร. Tran Thanh Nam รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท เวียดนาม กล่าวว่า “งาน AGRITECHNICA ASIA จะเป็นเวทีเจรจาธุรกิจที่เกษตรกรในเอเชียสามารถเข้าถึงการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันสมัย และเหมาะสมกับขนาดของธุรกิจเพื่อเพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ซึ่งในโอกาสที่เข้ามาเป็นประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ ประเทศเวียดนาม ยินดีอย่างยิ่งที่จะต้อนรับเกษตรกรทุกท่านที่สนใจในการเรียนรู้การเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งสภาพภูมิประเทศของเวียดนามก็เอื้อต่อการทำเกษตรที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงเหมาะอย่างยิ่งในการแลกเปลี่ยนแนวความคิดริเริ่มผ่านงานสัมมนาที่จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ให้สำเร็จดังที่มุ่งหวัง”

“ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กล่าวถึงนโยบายในการขับเคลื่อน Smart Farming เทคโนโลยีการเกษตร 4.0 และการจัดตั้งแผนปฏิบัติการ Smart Farming 2022 – 2023 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายเหล่านี้เป็นนโยบายที่ทางกระทรวงให้ความสำคัญเพื่อวางรากฐานของการทำเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน การดำเนินการตามนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0 นี้จะนำเทคโนโลยีทางการเกษตรและระบบดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อระหว่างเกษตรต้นน้ำสู่ปลายน้ำอย่างสมบูรณ์” คุณ อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว “ผมเชื่อมั่นว่า งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย และ ฮอร์ติ เอเชีย จะเป็นเวทีเจรจาธุรกิจและโอกาสที่ดีสำหรับผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรกรทั่วไป ในการเข้าถึงและรับเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรที่ทันสมัยจากนานาชาติสู่การทำเกษตรของประเทศไทย” คุณ อลงกรณ์ กล่าว

งาน AGRITECHNICA ASIA and HORTI ASIA จัดระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10:00-18:00 น. สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้ามา กรุณาแสดงหลักฐานการลงทะเบียนล่วงหน้า ณ จุดบริการเพื่อทำการปรินท์บัตรเข้าร่วมงานโดยไม่ต้องต่อคิว หากยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถนำรหัสเชิญเข้าร่วมงานจากทางคณะผู้จัดงานและสื่อพันธมิตรมาแจ้งเพื่อลงทะเบียนหน้างานและรับบัตรเข้าชมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน รายละเอียดของงานเพื่อเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของงาน www.agritechnica-asia.com / www.horti-asia.comหรือเชื่อมต่อกับเราได้ทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของงาน หรือโทร. 02-1116611 (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค)

สทนช. เผยความก้าวหน้าในการศึกษา SEA ประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 10 จังหวัดลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุม 36 ลุ่มน้ำสาขา เพื่อเป็นกรอบการวางแผน บริหารจัดการน้ำเชื่อมโยงทั้งระบบ บรรเทาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำในพื้นที่ ทั้งภัยแล้ง อุทกภัย ดินถล่ม รวมถึงการจัดสรรและกระจายน้ำอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

วันนี้ (26 พ.ค. 65) เวลา 09.00 น. นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร “โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ” ณ ห้องประชุมมาร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ กล่าวว่า สทนช. ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท อินเตอร์ เทค คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท โพธิศิรินทร์ ไทยคอนซัลแต๊นท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้การพัฒนาของลุ่มน้ำสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ หรือมีผลกระทบในระดับที่ยอมรับได้

และเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) พร้อมทั้งจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จัดลำดับความสำคัญของโครงการพัฒนาในอนาคต การป้องกันอุทกภัยและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือสำหรับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ ลดความซ้ำซ้อนของแผนงาน และกำหนดกรอบแนวทาง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

“ด้วยสถานการณ์ด้านทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน รวมถึงความสำคัญของลุ่มน้ำ และสภาพปัญหาของพื้นที่ ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องเร่งรัดวางแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบลุ่มน้ำ ต้องบริหารจัดการการใช้ประโยชน์และจัดสรรน้ำตามความต้องการของประชาชน การพัฒนาของเมืองและชนบท การใช้น้ำเพื่อการพัฒนาภาคส่วนต่าง ๆ การเกษตร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังต้องอนุรักษ์น้ำสำหรับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศ ตลอดจนเพื่อการแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำแล้ง คุณภาพน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาชุมชน ความเป็นอยู่ การกินดีอยู่ดี นอกจากนี้ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือมีความเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำระหว่างประเทศ จึงต้องพิจารณาบริบทการใช้น้ำระหว่างประเทศ และต้องเชื่อมโยงข้อมูลการบริหารจัดการน้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน”

สำหรับพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 36 ลุ่มน้ำสาขา ที่แบ่งเป็น 9 กลุ่มลุ่มน้ำสาขา ครอบคลุม 10 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมพื้นที่ 47,165.08 ตร.กม หรือ 29.8 ล้านไร่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานภายใต้โครงการนี้

เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และทบทวนวิเคราะห์การดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ศึกษาโครงการที่ผ่านมาสำหรับประกอบการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) พร้อมประเมินผลการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2564 และจัดทำแผนปฏิบัติการ การบริหารทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการรับรู้ รับทราบสาระสำคัญของโครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของสื่อมวลชนไปสู่สาธารณะต่อไป

การดำเนินการของ สนทช. ในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ว่า สร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม และมีความเชื่อมโยงกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ทั้ง ๖ ด้าน เพื่อขับเคลื่อนให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย อันประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1. การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรน้ำอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ 2. การป้องกัน คุ้มครอง และฟื้นฟูการให้บริการระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำโดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้น้ำ 3. การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ใช้น้ำต่อปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4. การสร้างความเข้มแข็ง และส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำ

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พามาเยี่ยมชม วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียน วังหว้า 1 อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดย นางมาริน สมคิด เกษตรจังหวัดระยอง ได้มาบรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และสถานการณ์การผลิตทุเรียนของกลุ่ม รวมทั้งสถานการณ์ในจังหวัด

คณะผู้บริหารธ.ก.ส.นำทีมโดย นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. พร้อมคณะสื่อมวลชนจากหลายสำนัก เพื่อเป็นกรณีศึกษาต้นแบบเกษตรแปลงใหญ่ โดยเฉพาะในฤดูกาลทุเรียนและผลไม้ภาคตะวันออก เพื่อที่จะถ่ายทอดเรื่องราวทั้งปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จสู่เกษตรกรกลุ่มอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ปีนี้ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้บูรณาการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตร ได้แก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการผลิตหรือองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงการตลาดที่สามารถแก้ไขเรื่องการตรวจเข้มทุเรียนอ่อนและเข้มงวดกับมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้ราคาทุเรียนไม่ถูกทุบ

“ผลผลิตทุเรียนเน้นการส่งออกไปประเทศจีน ถือว่าได้ราคามีเสถียรภาพ ที่เหลือขายในประเทศ แบ่งเป็นขายออนไลน์ประมาณ 5% ขายนักท่องเที่ยว/ขายปลีกประมาณ 10% (ราคากิโลกรัมละ 180-200 บาท/เกรดพรีเมี่ยม) และผลผลิตที่ตกไซส์จะมีการนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนทอด รวมทั้งทุเรียนกวนบ้าง”

แต่ปัญหาใหญ่ที่กังวลก็คือเรื่องน้ำ “เรากังวลที่สุดคือเรื่องน้ำ เราจะเอาน้ำมาจากไหนมารดทุเรียน วันก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรมาก็ได้อ่างเก็บน้ำมา 1 ลูก แต่จะพอหรือกับปริมาณทุเรียนที่ปลูกขึ้นใหม่ มีการโค่นยางมาปลูกทุเรียนกันมาก..เราต้องไปต่อสู้ฟาดฟันกันในเรื่องปริมาณน้ำที่ต้องใช้ เพราะว่าทุเรียนที่ให้ผลเต็มที่แล้ว กินน้ำวันหนึ่งๆ 300 ลิตรต่อต้น (ช่วงที่กินน้ำเยอะๆ) ทุกวันนี้มีน้ำที่ได้จากชลประทานและน้ำที่เกษตรกรขุดบ่อขุดสระเก็บน้ำฝนและน้ำใต้ดิน แต่จากจำนวนต้นจำนวนไร่มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจะมีปริมาณน้ำเพียงพอให้กับเกษตรกรหรือไม่” นางมาริน สมคิด เกษตรจังหวัดระยอง กล่าว

จบจากฟังบรรยายให้ข้อมูล..คณะทั้งหมดได้เดินทางไปเยี่ยมชมสวนทุเรียนของ นายสัมพันธ์ แสวงผล รองประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียน วังหว้า 1 ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกับที่ทำการกลุ่มนัก โดยนายสัมพันธ์ ได้ให้ข้อมูลว่าเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.มาร่วม 40 ปี ได้นำเงินทุนมาหมุนเวียนในเรื่องการจัดซื้อเครื่องจักรกลเกษตรแ รวมทั้งซื้อแปลงที่ดินเพิ่มเติม และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากิจการสวนทุเรียนประสบความสำเร็จมีผู้มาศึกษาดูงานไม่ขาด โดยนอกจากทุเรียนยังปลูกลองกองซีโปพันธุ์แท้จากนราธิวาสรสชาติอร่อยแห้งกว่าลองกองทั่วไป

ในโอกาสนี้ทางลูกชายของนายสัมพันธ์ได้พานั่งรถแทรกเตอร์ลากจูงพาไปชมการตัดทุเรียนของสวนที่วันนี้กำลังอยู่ระหว่างการตัดทุเรียนพอดี อนึ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ทุเรียน วังหว้า 1 ตั้งอยู่เลขที่ หมู่ที่ 4 ถนนเจริญสุข ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยมีนายธีระ กิจมาพวานนท์ เป็นผู้จัดการแปลง ประกอบด้วยสมาชิกแปลงใหญ่ 36 ราย เนื้อที่รวม 600 ไร่ และยังเป็นสมาชิกของศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส.บ้านหนองน้ำขุ่น และใช้บริการสินเชื่อรายคนของ ธ.ก.ส.สาขาแกลง ในการทำสวนทุเรียน สวนมังคุด

ปัจจุบันสมาชิกได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีการบูรณการหลายอย่างเข้าด้วยกันมีกลุ่มออมทรัพย์/ มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง/เกษตรประณีต/เกษตรผสมผสาน

เดิมเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จจากการปรับปรุงมังคุด โดยใช้เงินทุนของสมาชิกชุมชนในการดำเนินกิจกรรม ประมาณ 300,000 บาท จนปัจจุบันสามารถมีเงินทุนของตนเอง ประมาณ 1.3 ล้านบาท และกลุ่มเริ่มเข้าร่วมมาทำแปลงใหญ่ 2 ปีที่ผ่านมา มีแผนกู้เงินสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทยของธ.ก.ส. เพื่อนำเงินไปซื้อเครื่องพ่นหมอกและรถแทรกเตอร์ตัดหญ้า โดยธ.ก.ส.เข้าไปช่วยสนับสนุนกลุ่ม พาไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการสวนทุเรียนให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดีที่จังหวัดตราด

“ชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เมื่อก่อนไม่เคยได้เห็นเงิน ปีหนึ่งได้ 300 – 400 บาท แต่มาทุกวันนี้บางเดือนได้จับเงินแสน เป็นความภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนสกลนคร รู้สึกปลื้มใจที่ไม่สามารถจะพูดออกมาเป็นคำพูดได้ ทุกวันนี้ ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอก บ้านนาเลา และศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เมื่อก่อนทำนาขายข้าวได้ราคาที่ถูกมาก

กิโลกรัมละ 7 – 8 บาท แต่เมื่อนำมาแปรรูปเป็นข้าวฮางงอกขายได้ถึงกิโลกรัมละ 70 – 80 บาท ทำให้มีรายได้ สมาชิกในชุมชนในหมู่บ้านใกล้เคียงมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย สามารถส่งลูกเรียนจบปริญญาตรีได้อย่างไม่ขัดสน” นางดวงตา ดากาวงค์ ประธานศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ “แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร” บ้านนาเลา ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กล่าวในระหว่างสื่อมวลชนเยี่ยมชมกิจกรรมของศูนย์

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอก บ้านนาเลา มีสมาชิกเริ่มต้น 11 คน โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เข้ามาส่งเสริมด้วยการฝึกอบรมการผลิตข้าวฮางเพื่อเพิ่มมูลค่า ปัจจุบันมีสมาชิก 21 คน ผลผลิตส่งจำหน่ายที่ร้านสวัสดิการภายในศูนย์ภูพานฯ ศูนย์โอทอปในจังหวัดสกลนคร และร้านค้าพัฒนาชุมชน

“เป็นบุญของทุกคนในอำเภอเต่างอย ที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยได้รู้จักปลูกไว้กิน ทำกิน ทำใช้ ทำขาย ก็เพราะรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานความช่วยเหลือ จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ขึ้นมา และดีใจมากที่รัชกาลที่ 10 ได้มาดูแลต่อยอดส่งเสริมด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นางดวงตา กล่าว

ทางด้าน นางจันทร์สุดา แสนพงษ์ เกษตรกรต้นแบบตามแนวพระราชดำริ บ้านหนองบัว ต.บึงทวาย อ.เต่างอย เป็นเกษตรกรอีกหนึ่งคนที่ได้รับการขยายผลองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เผยว่า ในช่วงแรกได้เข้าอบรมการปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานหลวงที่เต่างอย เจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ ภูพาน ได้แนะนำให้ปลูกพืชแบบผสมผสาน อาทิ พืชสมุนไพร ไม้ผล ไม้ประดับ และได้ไปศึกษาดูงานด้านประมง จากนั้นนำมาพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง ตอนนี้มีการเพาะขยายพันธุ์ลูกอ๊อดขายตัวละ 1 บาท มีคนมาซื้อไปเลี้ยงตลอดทำให้มีรายได้แทบทุกวัน

“ในแปลงแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ ปลูกไม้ป่า ไม้ผล ทำบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และปลูกพืชผักสวนครัว พริก มะเขือ ไว้กินเอง ทำให้มีรายได้พอทุกวัน ขอบคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์ภูพานฯ มาก ๆ ที่ให้ความรู้ แนะแนวทางการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีรายได้ทั้ง รายวัน รายเดือน และรายปี ทำให้มีเหลือเก็บจนสามารถส่งลูกเรียนจบปริญญาโท” นางจันทร์สุดา กล่าว

เกษตรกรทั้งสองท่านนี้ นับเป็นเกษตรกรส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จจากงานด้านการขยายผลของศูนย์ฯ ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ จนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีรายได้ที่มั่นคง สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน จนได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยหลักการดำเนินงาน “สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง” ซึ่งได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาแหล่งน้ำไปพร้อมกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและป่าไม้ รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพ การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดิน นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ยังประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้แก่ ไก่ดำภูพาน หมูดำภูพาน วัวดำภูพาน และกระต่ายดำ ซึ่งทั้งหมดได้สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ราษฎรเพิ่มขึ้น

ด้าน นายโรจน์วัฒน์ อินทร์ทุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดเผยว่าตลอดมาได้มุ่งเน้นงานขยายผลสำเร็จจากการศึกษาทดลองของศูนย์ฯ ภูพาน สู่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีการเผยแพร่หลักสูตรองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ประชาชนที่มีความสนใจในแต่ละด้านเข้ามาฝึกอบรม และส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ออกไปให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถพัฒนาก่อตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ประจำหมู่บ้านหลายแห่ง ที่ผ่านมาได้ผลตอบรับที่ดี เปรียบเสมือนอีกเครือข่ายหนึ่งของศูนย์ศึกษาฯ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างน่าพึงพอใจ

การถ่ายทอดองค์ความรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ มีการสาธิตให้คำปรึกษาพร้อมจัดฝึกอบรมเกษตรกรให้ได้รับบริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการตลาด ในทุกแขนงอาชีพ นอกจากนี้เพื่อให้การขยายผลครอบคลุมไปถึง กลุ่มเยาวชน เด็กนักเรียน ในสถานศึกษา จึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ประเภทโรงเรียนขึ้นเพิ่มเติมอีกด้วย

“โรงเรียนมีแรงงานไม่จำกัด คือ เด็กนักเรียน องค์ความรู้ก็ไม่จำกัดเพราะคุณครูเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้พื้นฐานดีอยู่แล้วศูนย์เรียนรู้ประเภทโรงเรียนจึงเป็นศูนย์ฯ ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับราษฎรในพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น เพราะได้เรียนรู้ตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะด้านการเกษตร ที่สามารถต่อยอดสู่ผู้ปกครอง เมื่อจบการศึกษาก็ยังสามารถกลับมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนได้อีก จะมีเจ้าหน้าที่ ศูนย์ฯ ภูพาน เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเบื้องต้นให้ ที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการใน 2-3 โรงเรียนรอบศูนย์มาแล้วและได้รับผลสำเร็จด้วยดี จึงมีการต่อยอดขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ๆ รอบศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นต่อไป” นายโรจน์วัฒน์ กล่าว

“อลงกรณ์” ฟันธงยางไทยยึดแชมป์ส่งออกจีนเด็ดขาดครองมาร์เก็ตแชร์กว่า40%เหมือนผลไม้ไทย แนะ ”กยท.” เพิ่มการวิจัยและขยายโครงการสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิตสร้างเสถียรภาพยางไทยในตลาดโลกภายใต้ ”5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางเปิดเผยวันนี้(3มิ.ย.)ภายหลังทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายางครั้งที่3/2565ว่า จากรายงานสถานการณ์การผลิต การค้า และการแข่งขันของตลาดยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางทั่วโลกตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบันของฑูตเกษตรไทยในภูมิภาคต่างๆและรายงานของการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)ประเมินได้ว่าการส่งออกยางในปี2565เพิ่มขึ้นและจะทะลุ4ล้านตันหลังโควิด19คลี่คลาย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยทั้งบวกและลบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเสถียรภาพราคายางและการส่งออกจากวิกฤติโควิด19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำมันและปุ๋ย โดยเฉพาะตลาดรัสเซียมูลค่าการส่งออกสินค้ายางจากไทยไปรัสเซีย (ม.ค.-เม.ย. 2565) ลดลง 16 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

“สำหรับตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของไทยนั้นสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิดในจีนที่เริ่มคลี่คลายมีการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตลอดจนการปลดล็อคการล็อคดาวน์เซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่1มิถุนายนที่ผ่านมา มั่นใจว่ายางไทยจะสามารถยึดแชมป์ส่งออกไปจีนได้อย่างเด็ดขาดเพราะขณะนี้สามารถครองมาร์เก็ตแชร์การนำเข้าของจีนกว่า40%เหมือนผลไม้ไทยและทิ้งห่างอันดับ2ซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์10กว่าเปอร์เซ็นต์สะท้อนถึงศักยภาพของชาวสวนยาง สถาบันยาง สหกรณ์ชาวสวนยาง ผู้ประกอบการและการยางแห่งประเทศไทย”

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานความร่วมมือในคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการส่งเสริมและสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิต(Carbon Credit)ของการยางแห่งประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2565 โดยจะนำสวนยางพาราของการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 20,000 ไร่ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบ และในปี 2565 จะขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย และในปี 2566-2567 ดำเนินการขอรับรองคาร์บอนเครดิต เพื่อขายในตลาด Carbon Market ต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้จากสวนยางของเกษตรกรควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบาย BCG Model ของกระทรวงเกษตรฯ.และรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล (Green Econony)ตามเป้าหมายCarbon Neutrality และZero Carbon

ที่ประชุมได้เสนอแนะให้กยท.ขยายโครงการสวนยางยั่งยืนและโครงการคาร์บอนเครดิตเพิ่มจากแผนงานเดิมโดยขยายความร่วมมือกับทุกภาคีภาคส่วนเพื่อเร่งสร้างเสถียรภาพตลาดยางไทยทั้งในและต่างประเทศเป็นการตอบโจทย์อนาคตเรื่องมาตรการCBAMและภาษีคาร์บอน(Carbon Tax)ของอียูเป็นต้น เพราะประเทศไทยส่งออกยางพาราเป็นอันดับ1ของโลก ส่งออกยางรถยนต์อันดับ3-4 ส่งออกถุงมือยางอันดับ2ของโลก จึงต้องบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานและอุปสงค์ เช่น ขณะนี้จีนมีนโยบายลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์บางช่วงโรงงานในจีนจะลดการผลิตเพื่อรักษาระดับการปล่อยคาร์บอน และสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับมาตรฐาน FSC ซึ่งจีนมีการผลิตล้อยางส่งยุโรป

จึงต้องให้ความสำคัญกับมาตรการเหล่านี้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องจึงเสนอแนะให้การยางแห่งประเทศไทยร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มการวิจัยและพัฒนายางและผลิตภัณฑ์ยางโดยสามารถขอทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการการวิจัยการเกษตร

องค์การมหาชน (สวก.)และหน่วยสนับสนุนการวิจัยของรัฐอื่นๆตลอดจนการประสานความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือศูนย์ AIC ซึ่งมีอยู่ใน77 จังหวัด เพื่อการยกระดับและพัฒนาคุณภาพยางของไทย โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร4.0และยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดยางพารา ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก โดยทูตเกษตร จากสหภาพยุโรป (สำนักงานบรัสเซลส์) อิตาลี(สำนักงานกรุงโรม) สหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ (สำนักงานกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และลอสแองเจลิส) ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น อาเซียน(สำนักงานกรุงจาการ์ต้า)

สำหรับสถานการณ์ตลาดยางพาราและการนำเข้าส่งออกในประเทศจีนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายปี2564และเริ่มคลี่คลายในขณะนี้เริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มดีขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ ขณะนี้สถานการณ์โควิดในประเทศจีน เริ่มคลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อลดต่ำลงมาก เศรษฐกิจจีนเติบโต ผลักดันให้ผู้ประกอบการกลับมาฟื้นฟูการผลิต มีการขยายโรงงาน มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรม รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สถานการณ์การขนส่งทางเรือดีขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาค่าขนส่งผ่านทางเรือมีราคาสูง ระยะเวลาในการขนส่งทางเรือไม่แน่นอน ทำให้การขนส่งล่าช้ากว่าที่กำหนด

ตามสถิติในเดือน มี.ค.2565 จีนนำเข้ายางพาราจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 276,948 ตัน คิดเป็น 40 % รองลงมาได้แก่ เวียดนาม จำนวน 90,876 ตัน คิดเป็น 13% มาเลเซีย จำนวน 71,363 ตัน คิดเป็น 10% และอื่น ๆ 256,549 ตัน คิดเป็น 37% ซึ่งพบว่าปริมาณผลผลิตจากแอฟริกาใต้ เวียดนาม ลาว เมียนมา กัมพูชา เริ่มมีมากขึ้น และมีราคาที่ถูกกว่าไทย ทำให้ผู้นำเข้าเริ่มที่จะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งมากขึ้น

สถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดยางพารา โดยสรุปจากทูตเกษตรประจำสหภาพยุโรป กรุงโรม กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออสเตรเลีย กรุงโตเกียว ลอสแอนเจลิส กรุงจาการ์ต้าและจีน พบว่าปริมาณการนำเข้ายางพาราของประเทศต่างๆ และมูลค่าการส่งออกยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ต่อการส่งออกยางพาราของไทยส่งผลต่อการขนส่งสินค้าทางเรือ มีการปรับเส้นทางเดินเรือในบางเส้นทางและมีการปรับขึ้นค่าระวางเรือ รวมถึงทำให้ราคาสินค้าหลายรายการได้รับผลกระทบจากต้นทุนการขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันด้วย

ส่วนรายงานสถานการณ์ยางพาราของประเทศไทย เดือนพฤษภาคม และคาดการณ์ราคายางพารา เดือนมิถุนายน 2565 โดยฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้รายงานคาดการณ์ปริมาณผลผลิตยางพารา ปี 2565 มีปริมาณ 4.907 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.48% คาดการณ์ปริมาณการส่งออกยางพารา ปี 2565 มีปริมาณ 4.218 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.03% ซึ่งปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติไปยังต่างประเทศของไทย ปี 2564 (ม.ค.-เม.ย. 2464) มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน มากที่สุด คิดเป็น 55% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 5% ญี่ปุ่น 6% และเกาหลีใต้ 3% และอื่นๆ 21 %และในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน 54%

รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10 % สหรัฐอเมริกา 6 % ญี่ปุ่น 5 % และเกาหลีใต้ 3 % และในปี 2565 (ม.ค.-เม.ย. 2565) มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน มากที่สุด คิดเป็น 51% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 9% สหรัฐอเมริกา6 % ญี่ปุ่น 6% และเกาหลีใต้ 4% และในปี 2564 มีปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีน 54% รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10 % สหรัฐอเมริกา 6 % ญี่ปุ่น 5 % และเกาหลีใต้ 3 % และอื่น ๆ 24 % สำหรับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทย ปี 2564 ในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 30,087 ล้านบาท ปี 2565 ในเดือน เม.ย. มีมูลค่า 29,812 ล้านบาท ลดลง 0.91 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา

การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2565 ที่ห้องประชุมรัษฎา อาคาร 2 ชั้น 2 การยางแห่งประเทศไทย เมื่อ 1 มิ.ย.มีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด นายประพันธ์ บุณยเกียรติ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการค้าและการลงทุน สมัคร GClub คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยจีน นายสวัสดิ์ ลาดปาละ เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคเหนือ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบการประชุมแบบผสมทั้งออนไซท์และออนไลน์.

นำเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพังงา

ลงพื้นที่สวนป้านุชลุงเปีย บ้านปากพู่ ม.3 ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา ซึ่งเตรียมจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเที่ยวชม ชิม ช๊อปทุเรียนสาลิกา และผลไม้ท้องถิ่น ในวันที่15 พ.ค.นี้ ซึ่งป้านุช หรือนางบุญสม มีเกิด ได้พาไปชมต้นทุเรียนสาลิกาที่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว พร้อมกับตัดผลที่แก่จัดลงมาเตรียมจัดส่งให้ลูกค้า และได้แกะโชว์ให้ได้ลิ้มชิมรส ที่มีรสชาติอร่อย หวาน มีกลิ่นหอม แต่ไม่ฉุน เนื้อเยอะ เมล็ดส่วนใหญ่ลีบ ลักษณะผลค่อนข้างกลม ไส้ในสีสนิม ซึ่งแตกต่างจากทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ สมกับที่ได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาทุเรียนบ้าน” จริงๆ

นายวีระ สังข์ทอง กล่าวว่า ทุเรียนสาลิกาของแท้ดั้งเดิมที่ได้รับเครื่องหมาย G.I.จะต้องเป็นของอำเภอกะปงเท่านั้น โดยทุเรียนสาลิกาจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลม ทรงคล้ายลูกแอปเปิ้ล ซึ่งสามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม ความยาวผลประมาณ 30 เซนติเมตรรวมขั้วผล มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร เปลือกผลบาง หนามสั้น และค่อนข้างถี่ ผลดิบเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อผลแก่สีจะอ่อนลงเล็กน้อย และมีสีน้ำตาลอ่อนบริเวณร่องพู เมล็ดภายในส่วนใหญ่จะลีบ ขนาดเล็กเกือบทั้งหมด รสชาติหวานมัน และมีความหวานมากกว่าทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง เนื้อหนา ละเอียด ไม่มีเส้นใย เนื้อแน่น ไม่เละ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์แต่ไม่ฉุน น้ำหนักต่อผลโดยเฉลี่ยประมาณ 1-2.5 กิโลกรัม

และที่สำคัญทุเรียนสาลิกาพันธุ์ของแท้ดั้งเดิมที่ปลูกในพื้นที่อำเภอกะปง บริเวณตรงกลางแกนเปลือกทุเรียนจะมีสีสนิมแดงทุกผล หากใครซื้อทุเรียนสาลิกาไปปอกเนื้อกินที่บ้าน ถ้าเจอรอยสีสนิมแดงที่แกน ก็มั่นใจได้เลยว่า ได้กินทุเรียนสาลิกาของแท้จากอำเภอกะปงอย่างแน่นอน ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี สาลิกาเป็นทุเรียนที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ อ.กะปง จ.พังงา และได้มีการขยายพันธุ์จนได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทิศทางของราคาทุเรียนสาลิกา มีแนวโน้มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและตลาดทุเรียนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

นางบุญสม มีเกิด หรือ ป้านุช ได้กล่าวเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวและคนที่ชื่นชอบทุเรียนให้เข้ามาเที่ยวชมสวนป้านุชลุงเปีย ที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 15 พ.ค.นี้ โดยภายในสวนนอกจากจะมีทุเรียนสาลิกาและยังมีมังคุดทิพย์พังงา ผลไม้พื้นถิ่นที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด พร้อมด้วยอาหารพื้นบ้านไว้รอให้ผู้มาเยือนได้ลิ้มชิมรสและซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านอีกด้วย โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 062-8053797,097-0377328

“บิ๊กป้อม” ระดมทุกหน่วยงานเร่งบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมของลุ่มน้ำสะแกกรังอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านกรมชลประทานขานรับนโยบายเดินหน้าเร่งรัดงานก่อสร้างฝายชั่วคราวกั้นแม่สะแกกรังและเร่งผลศึกษาSEAโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำกั้นปากแม่น้ำสะแกกรัง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำให้ชาวเมืองอุทัยธานีมีน้ำเพียงพอ

เมื่อเร็วๆนี้ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เป็นประธานการประชุมติดตามแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.จังหวัดอุทัยธานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จากนั้นได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้างานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ ตำบลหนองกลางตง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า ตามที่ท่าน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ลงพื้นที่ตรวจราชการการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่จ.อุทัยธานีเมื่อวันที่ ๒๑มีนาคม ๒๕๖๕ และจ.อุทัยธานี ได้ชี้แจงปัญหาเรื่องน้ำและความต้องการของจังหวัด ๓ เรื่อง ได้แก่ ขอให้เร่งรัดการพัฒนาอ่างเก็บน้ำมอโค้ อ.บ้านไร่ ขอให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายระบบส่งน้ำจากโครงการผันน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาของสทนช.มายังพื้นที่จ.อุทัยธานีและขอให้เร่งพัฒนาการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่แล้งซ้ำซาก

นายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าจังหวัดอุทัยธานี มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาจากทิศตะวันตกไปตะวันออก จึงมักประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลากในช่วงฤดูฝนและน้ำแล้งในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากมีแหล่งน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ การบริหารจัดการน้ำจึงต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้เป็นจังหวัดที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค รัฐบาลมีความห่วงใยความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาภัยแล้งเป็นอย่างมากและได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งไปดำเนินการใน 4 ด้านดังนี้

1. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเร่งสำรวจความเดือดร้อนและเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรวดเร็วและทั่วถึง

2. ให้จังหวัดอุทัยธานีเสนอแผนงานโครงการสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้ครอบคลุมในพื้นที่ทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยใช้กลไกของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พร้อมสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่

3. ให้สทนช.รับข้อเสนอในความต้องการของจังหวัดทั้ง๓เรื่องไปบูรณาการร่วมกับกรมชลประทานและกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพิจารณาจัดหาน้ำทั้งน้ำบนดินและใต้ดินร่วมกับทุกหน่วยงานและท้องถิ่นและการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อก่อสร้างและขยายระบบประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยให้มีแหล่งเก็บน้ำสำรอง ใช้แก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว

4. ให้สทนช.เร่งบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือในระยะยาวให้เป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด

“ได้รับข้อสั่งการจากท่านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติเร่งรัดโครงการทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยาวในการแก้ปัญหาปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วมของลุ่มน้ำสะแกกรังโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุดซึ่งในการประชุมแต่ละหน่วยงานได้ขานรับนโยบายและรีบไปดำเนินการบูรณการความร่วมมืออย่างเป็นเอกภาพต่อไป” นายสมเกียรติ กล่าว

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดแผนการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำสะแกกรังว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งรัดจัดทำแผนแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อุทัยธานีอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้ขานรับตามข้อสั่งการของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สำหรับสถานการณ์ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสะแกกรัง ปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูฝน 250.60 ล้านลบ.ม. ฤดูแล้ง 236.74 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้กรมชลประทานมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวน 268 โครงการ ความจุรวม 225 ล้านลบ.ม.แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทาน 243,200 ไร่และร้อยละ 14 เป็นพื้นที่เกษตร ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาลุ่มน้ำสะแกกรังสู่โครงการเขื่อนแม่วงก์ขณะนี้มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้นจากรายได้เฉลี่ย162.180 บาท/ครัวเรือน/ปีเป็น 258,85บาท/ครัวเรือน/ปี เพิ่มผลผลิตข้าวจาก 700-740 กก.ไร่เป็น 860-870ไร่ ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำได้ 11 ล้านกิโลวัตต์/ชม.คิดเป็นมูลค่า 47ล้านบาท/ปี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำประปาและน้ำอุปโภคบริโภคคิดเป็นมูลค่า 122 ล้านบาท/ปีและยังช่วยส่งน้ำรักษาระบบนิเวศน์ท้ายน้ำ 7.0 ล้านลบ.ม./เดือนในช่วงหน้าแล้งอีกด้วย

“กรมชลประทานจะเร่งรัดการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำกั้นปากแม่น้ำสะแกกรังให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯได้ตามแผนที่กำหนด พร้อมทั้งเร่งรัดงานก่อสร้างฝายชั่วคราวกั้นแม่สะแกกรังต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานีให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยฝายดังกล่าวมีระดับน้ำเก็บกักที่สันฝายอยู่ที่ระดับ+14.50 ม.รทภ.อัตราการระบายน้ำผ่านฝายสูงสุดประมาณ 850ลบ.ม./วินาที หากแล้วจะช่วยกักเก็บน้ำสำหรับการเกษตรได้2,000ไร่และช่วยเหลือการอุปโภคของประชาชนได้ 1,270 ครัวเรือน” รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

“บิ๊กป้อม” จี้ทุกหน่วยงานเร่งรัดแผนระยะเร่งด่วนสกัดน้ำท่วมซ้ำนิคมอุตสาหกรรมบางปูและพื้นที่โดยรอบ พร้อมบูรณาการทุกหน่วยงานขับเคลื่อนแผนระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางปู แบบยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง ประชุมร่วมกับ คณะทำงานบูรณาการแก้ปัญหาน้ำท่วมอุตสาหกรรมบางปูและพื้นที่โดยรอบ ครั้งที่ 1/2565 ณ ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการเพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมอุตสาหกรรมบางปูและพื้นที่ใกล้เคียง

โดยมี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ​ นายชัยพจน์ จรูญพงศ์​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทานและนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและตัวแทนองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมด้วย จากนั้นนายสมเกียรติและคณะ ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนการระบายน้ำ ณ สถานีสูบระบายน้ำฝน ซอย 9A ซึ่งหนึ่งในจุดรับน้ำในพื้นที่นิคม ที่จะระบายลงระบบคลองภายนอก และระบายออกสู่ทะเลทางคลองชายทะเลต่อไป

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า ตามที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้สั่งการ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564 64 ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) บูรณาการหน่วยงานต่างๆ เร่งรัดทำแผนเร่งด่วนตามบัญชาของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่รอบนอก และ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการน้ำจังหวัด ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะทำงานบูรณาการแก้ปัญหาน้ำท่วมอุตสาหกรรมบางปูและพื้นที่โดยรอบ ขึ้นมา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา เพื่อขับเคลื่อนแผนงานทั้งระยะเร่งด่วน และระยะต่างๆให้เกิดเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และความชัดเจน รวมทั้งให้สอดรับกับนโยบายมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ ของรัฐบาล ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับจังหวัด/ท้องถิ่น ได้มีการเตรียมความพร้อมบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนให้เร็วยิ่งขึ้น และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ

อาทิ การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคูคลอง และกำจัดผักตบชวา เป็นต้น ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ จึงได้เร่งรัดติดตามใน 3 เรื่องคือ 1. แผนการดำเนินการระบายน้ำในบริเวณพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมบางปู 2. แผนงานการขุดลอก การกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวาง เสริมแนวคันที่ลุ่มต่ำ ในบริเวณ คลองลำสลัด คลองหัวลำภู คลองหกส่วน และคลองธรรมชาติอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และ 3. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ และแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่คลองชายทะเลพร้อมกำชับให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนให้แล้วเสร็จภายในเดือน เมษายน นี้ ตามข้อสั่งการของ รองนายกฯ (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)

“ท่าน พลเอกประวิตร มีความห่วงใยต่อสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปูและพื้นที่โดยรอบอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำน้ำท่วมถึง จึงมักมีปัญหาเพื่อฝนตกหนักเกิดการระบายน้ำไม่ทัน จึงทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยๆ ส่งผลกระทบต่อ บุคคลากร แรงงาน เครื่องจักรเครื่องมือ และ ยานพาหนะ ซึ่งปัจจุบัน มีแรงงานจำนวน มาก ทำงานใน 370 โรงงาน จึงสั่งการให้ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เร่งลงพื้นที่ เพื่อติดตามการจัดแผนเผชิญเหตุและแผนเตรียมความพร้อมเฉพาะหน้าให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนเมษายน นี้ เพื่อรับมือช่วงฤดูฝนปี 65 ที่จะมาถึง ซึ่งคาดว่าฝนจะมาเร็วกว่าปีปกติ นอกจากนั้น ยังได้สั่งการให้เร่งรัดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนระยะกลาง และระยะยาว เพื่อแก้ปัญหาแบบยั่งยืนให้แล้วเสร็จโดยเร็วอีกด้วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบนิคม และปกป้องพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จากผลกระทบน้ำท่วม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจอีกแห่งหนึ่งของประเทศ” นายสมเกียรติ กล่าว

นายสมเกียรติ กล่าด้วยว่า ขณะนี้หน่วยงานเกี่ยวข้องมีแผนดำเนินงานโครงการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจ และนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำให้เร็ว รวมทั้งเร่งรัดแผนงานโครงการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการโดยเร็ว ทั้งการตัดยอดน้ำจากพื้นตอนบนเบนไปทิศทางอื่น ไม่ให้ปริมาณน้ำมากระทบกับพื้นที่เศรษฐกิจด้านล่าง การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสู่คลองระบายน้ำสุวรรณภูมิและอ่าวไทยโดยเฉพาะพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิที่ถือว่าเป็นจุดเสี่ยงเนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ การแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ การวางระบบท่อลอดใต้ถนน (pipe jacking) เขื่อนป้องกันตลิ่ง การขุดลอกคลอง เป็นต้น

ด้าน นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน​ กล่าวเพิ่มเติมว่า​ กรมชลประทานได้วางแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูไว้5​แนวทางคือ​1.จัดหาเครื่องสูบน้ำทดแทนเครื่องเดิมที่มีอายุการใช้งานมากว่า10ปี2.จัดหาเครื่องเก็บขยะอัตโนมัติของสถานีสูบน้ำทดแทนของเดิม​3.ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบควบคุมเครื่องสูบน้ำและระบบโทรมาตร​ 4.ปรับปรุงประตูระบายน้ำพร้อมสถานีสูบน้ำเดิมและใหม่​และ5.ปรับปรุงคลองชลประทานภายใต้แผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างปี​ 2567″

“กรมชลประทานได้วางแนวทางป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยทั้งระยะเร่งด่วน​ ระยะกลางและระยะยาว​ โดยในระยะเร่งด่วนได้เร่งทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำทั้งหมด ส่วนระยะกลางมีแผนปรับปรุงคลอง7สาย ตามแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ คลองพระองค์ไชยานุชิตคลองปีกกา คลองสำโรง คลองด่าน คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองอุดมชลขจร และคลองชวดพร้าว-เล้าหมู-บางพลีน้อย

นอกจากนี้กรมชลประทานยังมีแผนป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่างบริเวณสะพานน้ำยกระดับสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร มีการขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของคลองต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความจุของบ่อหน่วงน้ำ เพิ่มกำลังการสูบน้ำของสถานีสูบน้ำเดิม สร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากคลองขายทะเลลงสู่อ่าวไทยรวมทั้งพัฒนาระบบพยากรณ์ฝนและน้ำท่วม เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ให้ติดตามสถานการณ์ล่วงหน้า และใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำท่วมแบบบูรณาการร่วมกัน เช่น เตรียมพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ

ส่วนแผนบริหารจัดการน้ำหรือแผนเผชิญเหตุ กรณีปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือไหลมาสมทบมากจนมีระดับความสูงกว่าระดับเฝ้าระวัง จะพร่องน้ำในคลองชายทะเล โดยสถานีสูบน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นแก้มลิงออกสู่ทะเล ควบคุมให้อยู่ในระดับ ๐.๐๐ ม.รทก. มีตามแนวคันพระราชดำริจะควบคุมอาคารชลประทานไม่ให้น้ำหลากเข้าไปในกรุงเทพมหานคร(พื้นที่ชั้นใน) ส่วนกรณีคลองแสนแสบ คลองประเวศน์บุรีรมย์และคลองสำโรง มีระดับน้ำสูงกว่าระดับเฝ้าระวังจะประสานกับสำนักระบายน้ำ กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อระบายน้ำผ่านแนวคันพระราชดำริ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งได้เตรียมแผนพร่องน้ำในลำคลองต่างๆลงในช่วงที่คาดว่าจะเกิดฝนตกหนักขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอรับน้ำเพื่อระบายลงสู่ทะเล

กรุงเทพฯ 18 พฤษภาคม 2565 – กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้อง ต้นตำรับบุฟเฟต์ทุเรียนและสุดยอดผลไม้ไทย เจ้าแรกใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ทุเรียนเลิฟเวอร์ตั้งตารอคอย ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ในเครือเซ็นทรัลรีเทล ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดงาน “Thailand’s Amazing Durian & Fruit Fest 2022 The Original!” บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ตั้งแต่วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2565 ณ ลานด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมตอกย้ำ ตัวจริงด้วยสถิติเปิดขายบัตรพรีเซล 5,000 ที่นั่งหมดเกลี้ยงภายใน 7 วัน ต้องเปิดเพิ่มรอบพิเศษ ทุกรอบ ทุกวัน ขึ้นแท่นเป็นอีกหนึ่งงานที่บัตรหายากที่สุด ณ เวลานี้

นายสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เผยว่า “เป็นเวลากว่า 2 ปี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยห่างหายจากการจัดอีเวนท์ใหญ่ที่ช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็น King of Fruit และเป็นที่นิยมของกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวจีน จากมาตรการผ่อนคลายเปิดประเทศยกเลิก Test & Go ปรับ Thailand pass ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยว การจับจ่ายภายในประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลผลไม้ ภาคตะวันออกที่กำลังออกสู่ตลาดและมีปริมาณผลผลิตสูงกว่าปีก่อนทั้งมังคุด เงาะ และ ทุเรียน โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่ทุเรียนผลไม้ยอดนิยมมีรสชาติดี อร่อยมากที่สุดและมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก

เพื่อต้อนรับการเปิดประเทศ กระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทยและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรวมทั้งผู้ผลิตสินค้าอาหารแปรรูปต่าง ๆ ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ จึงได้ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์จัดงาน “Thailand’s Amazing Durian & Fruit Fest 2022 (The Original!) ให้ยิ่งใหญ่ที่สุดคุ้มค่ากับการรอคอย เป็นการตอกย้ำ Best Event Destination บุฟเฟต์ทุเรียนที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 โดยเปิดจำหน่ายบัตรออนไลน์ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 กระแสตอบรับล้นหลามจากทุเรียนเลิฟเว่อร์เรียกว่าเหนือความคาดหมาย

ทำสถิติเปิดจำหน่ายบัตร พรีเซล 5,000 ที่นั่ง หมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 7 วัน (FULLY BOOKED) ขึ้นแท่นเป็นอีกหนึ่งอีเว้นท์ที่คนรักทุเรียนต่างตามหาบัตรเพื่อให้มีโอกาสเข้าร่วมงาน และอีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก “Thailand’s Amazing Durian & Fruit Fest 2022 X Zee Nunew” เมื่อเหล่าบรรดาแฟนคลับของเฮียซีน้องนุนิว จาก ซีรีส์ นิ่งเฮียก็หาว่าซื่อ Cutie Pie 2 เหมารอบบุฟเฟต์เพื่อฟินกับทุเรียนและจิ้นกับ 2 หนุ่มแบบใกล้ชิดสุดๆ เรียกได้ว่าเป็นการจุดกระแสการบริโภคทุเรียนรวมทั้งผลไม้ไทยอื่น ๆ ต่อเนื่องจากที่แร็ปเปอร์สาวมิลลิ ได้สร้าง Soft Power โปรโมทข้าวเหนียวมะม่วงบนเวทีระดับโลก เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ทุเรียนราชาผลไม้เมืองร้อนได้กลับมาทวง บัลลังค์สร้างบรรยากาศแห่งความสุขให้กลับมาอีกครั้ง คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทยต่างก็แฮ้ปปี้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและไม่ต้องกังวลผลผลิตจะล้นตลาดอีกต่อไป

นอกจากนั้นภายในโซนบุฟเฟต์ยังเลือกใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย รักทั้งเรา รักษ์ทั้งโลก โดยใช้บรรจุภัณฑ์จาก GRACZ ซึ่งผลิตจากชานอ้อย และเยื่อพืชธรรมชาติ ซึ่งเป็นภาชนะที่ไม่มีสารพิษ ไม่มีสารก่อมะเร็งไม่เคลือบพลาสติก สะอาด สะดวก ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ที่สำคัญสามารถย่อยสลาย 100% ภายใน 45 วัน

ภายในงาน “Thailand’s Amazing Durian & Fruit Fest 2022 The Original!” แบ่งเป็น 2 โซน ได้แก่ โซนบุฟเฟ่ต์ทุเรียนและผลไม้ไทย ทุเรียนหมอนทองคัดเกรด คุณภาพดี มาตรฐานหัวใจคุณภาพ (Quality at Heart) รสชาติอร่อย จากการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม เลือกความสุกได้ตามชอบ เสิร์ฟไม่อั้น 1 ชั่วโมงเต็ม พร้อมผลไม้ไทยดับร้อน ได้แก่ มังคุด เงาะ มะพร้าวอ่อน เมล่อนญี่ปุ่น แตงโม ไอศครีมมะพร้าว ข้าวเหนียวมะม่วง มะม่วงน้ำปลาหวาน พิเศษ! กับเมนูสุดฮิตทุเรียนหมอนทองหน้าข้าวเหนียว

โซน Market จำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาลและอาหารแปรรูป ตื่นตากับการรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนยอดนิยมและพันธุ์แปลกใหม่มากที่สุดถึง 25 สายพันธุ์มาจำหน่าย อาทิ ทุเรียนหมอนทองนนท์, ป่าละอู, พวงมณี, หลงหลินลับแล, จันทบุรี1-10, นกหยิบ ทุเรียนสายพันธุ์แปลกใหม่ เช่น จันดารา, ชายมะไฟ, ไข่มังกร, กบจรเข้, กบพิกุล, กำปั้นขาว,เม็ดในยายปราง, มุนซังคิง, นวลทองจันทร์, พ่อชะนีฯลฯ เป็นทุเรียนเกรดดี รสชาติอร่อยจากแหล่งเพาะปลูกคุณภาพใน 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี, ระยอง, อุตรดิตถ์, นครนายก, ปราจีนบุรี, นนทบุรี และ เพชรบุรี นอกจากทุเรียนหลากสายพันธุ์แล้วยังมีผลไม้ตามฤดูกาล สินค้า GI และสินค้าแปรรูปจากเกษตรกร 16 จังหวัด และร้านค้าชื่อดังรวมกว่า 35 ร้านค้า อาทิ ร้าน Nootri ซูเปอร์ฟู้ดสมู๊ทตี้ผักผลไม้สด, ร้าน Universalcoco ผลิตภัณฑ์มะพร้าว น้ำหอมบ้านแพ้วทั้งน้ำพระพร้าวสด มะพร้าวถอดรูป พุดดิ้ง, ร้านปั่นละมุน น้ำมะม่วงน้ำดอกไม้สุกปั่น, ร้าน Oxxi Ice Crem ไอศกรีมผลไม้แท้ ๆ 100% ฯลฯ

งานดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานมีความมั่นใจ ทั้งนี้คาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 5 วัน จะช่วยระบายผลไม้ไทย ไม่น้อยกว่า 100 ตัน นอกจากนั้นตลอดเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2565 ผู้บริโภคยังสามารถอุดหนุนทุเรียนคุณภาพดีและผลไม้จากพี่น้องเกษตรกรไทยในแคมเปญ “FRUITS-TIVAL” อาทิ ทุเรียนหมอนทองเกรดพรีเมียม ชั่งเฉพาะเนื้อ 500 กรัม, 1 กิโลกรัม หรือซื้อทั้งลูกจำหน่ายที่ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์, เซ็นทรัล ฟู้ดฮลล์ ทุกสาขาและ ท็อปส์ ออนไลน์ และอีกหนึ่งกระแสในโลกออนไลน์ที่ถูกกล่าวถึงอย่างมาก ครั้งแรกของร้านสะดวกซื้อที่มีทุเรียนหมอนทองเกรดพรีเมียม พูโต ๆ เนื้อเน้นๆ เม็ดลีบ วางจำหน่ายแล้วที่ท็อปส์ เดลี่และแฟมิลี่มาร์ท เพียงแพคละ 75 บาท กำเงินไม่ถึงร้อยก็ฟินกับทุเรียนแสนอร่อยแบบสะดวกสุดๆ

สัมผัสความอร่อยของราชาและราชินีผลไม้ไทยตลอด 5 วันได้ตั้งแต่วันนี้ – 22 พฤษภาคม 2565 ซื้อบัตรหน้างานราคา479 บาท (จำนวนจำกัด) ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tops.co.th, เฟซบุ๊ก TopsThailand, Central Food Hall, FamilyMartThailand หรือแอปพลิเคชันไลน์ @TopsThailand, @ FamilyMartThailand

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้การต้อนรับ นายเก็นจิโร่ คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น ในการเดินทางเยือน “คูโบต้าฟาร์ม” เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการเกษตรที่นำแนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เอกลักษณ์เฉพาะของ คูโบต้า ตลอดจนเทคโนโลยี IoT ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ภายใต้แนวคิด End to End Solutions การทำเกษตรแบบครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร และผลักดันภาคการเกษตรไทยสู่วิธีการทำเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming อย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs)

นายเก็นจิโร่ คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น (Mr. Genjiro Kaneko Minister of Agriculture, Forestry and Fisheries, Japan) พร้อมด้วย นายนาชิดะ คาซูยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Mr. Nashida Kazuya Ambassador of Japan to Thailand) เข้าเยี่ยมชมคูโบต้าฟาร์ม (KUBOTA FARM) ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานสยามคูโบต้า

ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มเครือของคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และ เอสซีจี (SCG) ผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคตที่ส่งมอบสินค้าและบริการเคียงข้างเกษตรกรไทยมากว่า 44 ปี โดยมี นายทาคาโนบุ อะซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะผู้บริหาร บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วยนายอารีย์ ชวลิตชีวินกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทซิเมนต์ไทย โฮลดิ้ง จำกัด ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พร้อมคณะได้รับฟังภาพรวมของภาคการเกษตรในประเทศไทย ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของสยามคูโบต้า และชมโซลูชันต่างๆ ผ่านจอ Interactive ต่อด้วยการขึ้นรถลากเพื่อชมการสาธิตโซลูชัน นวัตกรรม และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรในแต่ละโซนของคูโบต้าฟาร์ม

นายทาคาโนบุ อะซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึง การมาเยือนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น พร้อมคณะในครั้งนี้ว่า สยามคูโบต้ามีความยินดี และภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประเทศญี่ปุ่น และเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในครั้งนี้ ซึ่งคูโบต้าฟาร์มเป็น Innovative Farming Experience Center ฟาร์มสร้างประสบการณ์การเกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยนำเอาองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS นวัตกรรมเกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาประยุกต์ใช้ตลอด 10 โซนการเรียนรู้ บนพื้นที่กว่า 220 ไร่

นอกจากนี้ยังได้นำเสนอเทคโนโลยี IoT จากประเทศญี่ปุ่น อาทิ Crop Calendar ปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อช่วยให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างแม่นยำและมีแบบแผน นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและการจัดการเกษตรกรรมอัจฉริยะจากคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น (Agri Machinery Innovation and KUBOTA Smart Agri System หรือ KSAS) มาช่วยลดแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ ผลผลิตและรายได้ พร้อมทั้งสร้าง แรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนาการทำเกษตรสมัยใหม่ในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรเองเหมือนที่คูโบต้าฟาร์ม ตลอดจนยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

สยามคูโบต้า สมัครพนันออนไลน์ มุ่งหวังให้คูโบต้าฟาร์มสามารถเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้นี้ไปสู่เกษตรกรและชุมชนอื่นๆ สร้างมาตรฐานเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก เพื่อสานต่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ในการดำเนินธุรกิจที่ควบคู่กับการตอบแทนสังคม โดยการพัฒนาสินค้าที่มีเป้าหมายสร้างความยั่งยืนทั้งด้านอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพร้อมสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model การพัฒนาด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น

หัวหน้าสายงานธุรกิจเกษตร-ปศุสัตว์ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค

ได้เน้นถึงจุดสำคัญ ของงานแสดงสินค้าในปีนี้ พร้อมนำเสนอเวทีการเจรจาการค้าเพื่ออุตสาหกรรมเกษตรครั้งนี้อย่างเต็มรูปแบบว่า

“งาน HORTI ASIA 2022 งานแสดงปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและนวัตกรรม ด้านการปลูกพืชผักไม้ผลและดอกไม้แห่งภูมิภาคเอเชียจัดควบคู่กับงาน AGRITECHNICA ASIA 2022 งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาค จัดมาอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะกลับมานำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรจากผู้ประกอบการนานาประเทศ ในปีนี้ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับ 150 บริษัทผู้ผลิตทางการเกษตรชั้นนำจาก 26 ประเทศทั่วโลกที่พร้อมนำ 300 แบรนด์มานำเสนอไปในงานโดยได้รับการสนับสนุนการจัดงานอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ผู้ร่วมจัดงาน)

พร้อมด้วยการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของพันธมิตรระดับประเทศอย่างประเทศเวียดนาม นอกจากการเยี่ยมชมนวัตกรรมต่างๆ ผู้เข้าชมงานสามารถจับจองที่นั่งในงานสัมมนาที่น่าสนใจหลายหัวข้อมากกว่า 30 งานประชุม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่ออัพเดทข่าวสารความรู้ทางการเกษตรตลอดจนกิจกรรมการจับคู่กับคู่ค้าใหม่ๆเพื่อการขยายธุรกิจและการเยี่ยมชมพาวิลเลี่ยนที่น่าสนใจ

ไม่ว่าจะเป็นพาวิลเลี่ยนจากนานาประเทศ พาวิลเลี่ยนการปลูกพืชแนวตั้ง การปลูกกัญชากัญชง ตลอดจนกิจกรรมการสาธิตโดนเพื่อการเกษตรและเทคโนโลยีอีกมากมาย พิเศษสำหรับเกษตรกรที่เยี่ยมชมงานแบบหมู่คณะผ่านทางกระทรวงเกษตรฯ ทางเรามีบริษัทนำทัวร์ตลอดทั้งงานเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้สื่อสารกับผู้ประกอบการต่างชาติและนำมาสู่โอกาสทางธุรกิจต่อไป” คุณปนัดดา ก๋งม้า ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเกษตรปศุสัตว์และฝ่ายปฏิบัติการ วีเอ็นยู กล่าว

ในการจัดงานแถลงข่าวครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุนทร พิพิธิแสงจันทร์ นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้กล่าวในหัวข้อ ‘The Horticultural Science Where Science Meets Style’ ดร.วิรัลดา ภูตะคาม หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม หน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. มาพูดคุยในหัวข้อเรื่อง ‘Application of Geonomics Technologies in Horticulture’ แอปพลิเคชันที่จะช่วยผู้ประกอบการตรวจสอบดีเอ็นเอได้รวดเร็วแม่นยำมากยิ่งขึ้น

คุณสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเสนอในหัวข้อ ‘Greening Tourism with Horticulture; Agro-tourism with Gastronomy’ การท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์กับภาคเกษตรพืชสวน Mr. Manuel Madani ผู้จัดการทั่วไป บริษัท Priva South – East Asia (SEA) ได้กล่าวในหัวข้อ ‘Greenhouse Automation for Sustainable Vegetable System’ ระบบโรงเรือนอัตโนมัติเพื่อการเพาะปลูกพืชผลอย่างยั่งยืน

ปิดท้าย ดร. Gijs Theunissen DVM – อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึง ‘Challenge of the Netherlands Innovation for Sustainable Horticulture in Global Context’ ความท้าทายและนวัตกรรมใหม่ ๆ จากเนเธอร์แลนด์เพื่อการผลิตพืชสวนที่ยั่งยืน โดยทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยในงานจะมีการเสวนาอย่างเข้มข้นจากทุกภาคส่วน

AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดเวทีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาสาสมัครเกษตรระดับเขต ณ แสนปาล์ม เทรนนิ่ง โฮม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

โดยมีนายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน การจัดทำเวทีเครือข่ายฯในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และประชาสัมพันธ์ผลงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ให้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ สร้างบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พร้อมทั้งกำหนดกิจกรรมด้านการเกษตรที่จะดำเนินการ และเกิดเครือข่ายการบริการแก่เกษตรกรในชุมชนได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ผ่านมาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ได้ปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวม และรายงานข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้และการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน

รวมทั้งติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้าน พร้อมรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านได้ช่วยปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ลงพื้นที่เคียงข้างกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อมูลโครงการเยียวยาเกษตรกรฯ ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เก็บรวบรวมใบสมัครนำส่งสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ส่งข้อมูลให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องเกษตรกรด้วยความเรียบร้อย ทั่วถึง และรวดเร็ว จนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สำหรับในปี 2565 กระทรวงเกษตรฯ มีแผนการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ อกม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ ในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ให้สามารถสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรและงานตามภารกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้ อกม. มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

เป็นกลไกและมีส่วนร่วมในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ เชื่อมโยงเครือข่ายการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และพัฒนาให้เป็นต้นแบบแก่เกษตรกรทั่วไป รวมถึงการสร้างขวัญกำลังใจ สร้างการรับรู้ให้สาธารณชน พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานของ อกม. และยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่อาสาสมัครเกษตร ในฐานะเกษตรกรผู้มีจิตอาสา ให้โอกาสในการแสดงความเป็นผู้นำและเป็นที่เชื่อถือยอมรับของเกษตรกร

ด้าน นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการแก่เกษตรกรในระดับพื้นที่ ของหมู่บ้านมาโดยตลอด และมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 16 หน่วยงาน ที่ดำเนินงานด้านอาสาสมัครเกษตร (อกษ.) ในแต่ละสาขาที่หน่วยงานนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

โดยอยู่ภายใต้ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารงานอาสาสมัครเกษตร พ.ศ. 2563 และในส่วนของการดำเนินงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายอาสาสมัครเกษตร ดำเนินการคัดเลือกอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) และแต่งตั้งคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการพัฒนา และขับเคลื่อน

งานอาสาสมัครเกษตรในพื้นที่ การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ จึงถือเป็นการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้ง อกม. ทั่วประเทศแล้วรวม จำนวน 75,095 ราย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มุ่งเน้นให้ อกม. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ 5 ข้อ ในระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารงานอาสาสมัครเกษตร พ.ศ. 2563 อกม. ได้ดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ตามแผนงานของกรมส่งเสริมการเกษตร

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ “สานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร ณ อำเภอซำสูง และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายพันธุ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และผู้นำภาคประชาชน ตลอดจนเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ

รมช.ประภัตร เปิดเผยว่า หลังจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ( Covid-19 ) เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรทั่วประเทศ โดยเฉพาะหลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค รวมถึงสาธารณภัยต่างๆ จึงได้มีนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินโครงการ “สานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร”

มีวัตถุประสงค์ในการปล่อยสินเชื่อสำหรับใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตร หรืออาชีพนอกภาคเกษตร หรือการลงทุนค้าขาย เพื่อเสริมรายได้ในครัวเรือน เน้นอาชีพที่มีตลาดรองรับชัดเจน มีการประกันราคารับซื้อผลผลิต สามารถสร้างรายได้ในระยะเวลา ไม่เกิน 6 เดือน มีผลตอบแทนเบื้องต้นเพียงพอต่อการดำรงชีพ และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งโครงการดังกล่าว

มีเมนูทางเลือกให้กับเกษตรกรในด้านต่าง ๆ ทั้งเมนูอาชีพด้านปศุสัตว์ เมนูอาชีพด้านพืช และเมนูอาชีพด้านประมง โดยสามารถยื่นความประสงค์ขอกู้ตามโครงการได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ยื่นขอกู้เงินที่ธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาที่ตนเองมีภูมิลำเนาหรือที่ตั้งของโครงการ (Walk In) และ 2) ให้ผู้ขอกู้ลงทะเบียนยื่นขอสินเชื่อผ่านช่องทาง Line Official : BAAC Family และนัดหมายผู้ขอกู้ผ่านระบบนัดหมาย โดยวงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกิน จำนวน 100,000 บาท แต่ต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายและหรือค่าลงทุนจริงของลูกค้าแต่ละราย

สำหรับในพื้นที่อำเภอซำสูง และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เริ่มจากการปลูกฟักทอง ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการเจรจาทำข้อตกลงกับบริษัทสุวรรณภูมิเมล็ดพันธุ์ จำกัด และหจก.โอ.เค. เมล็ดพันธุ์ ในการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรไปทดลองปลูกก่อน และยังมีบริษัท ทีพีไอ โพลีน ชีวะอินทรีย์ จำกัด สนับสนุนปุ๋ยที่จำเป็นในการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรก่อน หลังจากขายผลผลิตได้แล้วจึงจะหักต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย โดยมีผู้ประกอบการพร้อมรับซื้อฟักทองลูก ซึ่งจะเข้ามารับซื้อถึงที่ และประกันราคาที่กิโลกรัมละ 5 บาท

นอกจากนี้ รมช.ประภัตร ยังได้เสนอทางเลือกให้กับเกษตรกร โดยจะนำร่องเพิ่มอีกสองเมนูทางเลือกในพื้นที่อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 1. การเลี้ยงไก่ไข โดยจะนำแม่ไก่มาให้เกษตรกรเลี้ยง ในราคาตัวละ 200 บาท สามารถให้ผลผลิตได้ทันที โดยจะประกันราคารับซื้อไข่ไก่ไว้ที่ฟองละ 3 บาท และเมื่อเลี้ยงครบ1 ปี ก็จะมีผู้ประกอบการรับซื้อคืนในราคาตัวละ 100 บาท 2. การเลี้ยงเป็ดไข่ โดยจะนำเป็ดมาให้เกษตรกรเลี้ยง ในราคาตัวละ 150 บาท รับประกันราคารับซื้อไข่ฟองละ 4 บาท เมื่อเลี้ยงครบ1 ปี ผู้ประกอบการจะรับซื้อคืนในราคาตัวละ 75 บาท

ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการสานฝันสร้างอาชีพฯ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ธ.ก.ส. ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 554 สัญญา จำนวนเงิน 49.5 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเกษตรกร ขอเข้าร่วมโครงการสานฝันสร้างอาชีพฯ อย่างต่อเนื่อง สำหรับในพื้นที่อำเภอซำสูง มีจำนวนเกษตรกรที่ทดลองปลูกฟักทองแล้ว 64 ราย เนื้อที่รวม 84 ไร่
กกส/สปกษ. นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (30 เม.ย.) ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และการบริหารจัดการตลาดสดของ อ.ต.ก. พร้อมทั้งมอบนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อผลักดันการบริโภคผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรของไทย โดยมีนายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการ อ.ต.ก.

พร้อมด้วยผู้บริหาร อ.ต.ก. ให้การต้อนรับว่า ได้มอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานกลางผู้ประสานงานระหว่างตลาดสินค้าเกษตรทั้งหมดทั่วประเทศเพื่อส่งเสริม ผลักดันการบริโภคผลไม้ไทย พร้อมทั้งนำผลไม้ไทยบุกตลาดออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในส่วนของการทำการตลาดออฟไลน์ให้ดำเนินการเชิงบูรณาการความร่วมมือกับภาครัฐเช่น องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย หอการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สมาพันธ์เอสเอ็มอี. โมเดิร์นเทรด ตลาดกลางสินค้าเกษตรทั่วประเทศ โปรโมทขายผลไม้ นอกจากนี้ขอให้ อ.ต.ก. พัฒนาและปั้น Brand Ortorkor ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและระดับสากลเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและเป็นแบรนด์การันตีคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย รวมทั้งเพิ่มจุดจำหน่ายและกระจายสินค้าเกษตรเพื่อเป็นช่องทางกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ อ.ต.ก. เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและสนับสนุนตลาดเกษตรกร (Farmer Market) ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะได้ลงพื้นที่ตลาด อ.ต.ก. พบปะพูดคุยกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการผู้ค้าทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว แตงโม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนบริโภคผลไม้ไทยเพิ่มขึ้นเพื่ออุดหนุนและสนับสนุนเกษตรกรไทยในช่วงฤดูกาลผลไม้ปีนี้

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออกจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 1.1 ล้านตัน เป็นทุเรียน 7 แสนตัน เงาะ 2.1 แสนตัน และมังคุด 2.1 แสนตัน และลองกอง 1.8 หมื่นตัน โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จันทบุรี ระยอง และตราด ซึ่งถือเป็นฤดูกาลใหญ่ฤดูกาลแรกของปี จากนั้นจะเป็นลำไยภาคเหนือ และลงไปที่ผลไม้ภาคใต้จึงต้องทำงานเชิงรุกร่วมมือกับทุกภาคส่วนตามนโยบายและข้อสั่งการของ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในการเพิ่มการบริโภคผลไม้ในประเทศจาก 30% เป็น 40% เพื่อลดความเสี่ยงกรณีจีนซึ่งเป็นตลาดผลไม้ใหญ่ที่สุดของไทยเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19ระลอกใหม่ ทำให้เข้มงวดมาตรการซีโร่โควิดมากขึ้น กระทบต่อระบบการขนส่งและการค้าผลไม้ทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ

“ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) ที่มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือและความเข้าใจกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน( GACC) กรณีการปิด-เปิดด่าน, มาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ,

การเร่งเปิดบริการการขนส่งผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน, การขยายตลาดทุเรียนไปยังตลาดรองอื่นๆ, การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การจัดเก็บผลไม้ระบบสต๊อก และมีแผนพัฒนาห้องเย็นด้วยไนโตรเจนเหลวด้วยอุณหภูมิลบ 180-196 องศาเซลเซียสามารถเก็บได้นานกว่า 1 ปีและคงสภาพเดิมกว่า 90% เมื่อคืนรูป เป็นต้นรวมทั้งกำหนดเป้าหมายให้เพิ่มการขนส่งทางเรือเป็น 55% (ปี 2564 ขนส่งทางเรือ 51%) ทางบก 40% (เดิม 48%) ทางราง (รถไฟลาว-จีน) และทางอากาศรวมกัน 5% (เดิมทางอากาศ 0.54%) และเพิ่มการบริโภคภายในจาก 30% เป็น 40% ส่งออก 60%”.

นายอลงกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ราคาทุเรียนขณะนี้ว่า นายภาณุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย ให้สัมภาษณ์ยืนยันล่าสุดว่า ช่วงนี้ราคาทุเรียนที่สวนที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยที่ 110-115 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นเบอร์ A B ได้ 120-125 บาท ถ้าไปขายที่ล้งอาจได้ 130-135 บาท ขึ้นกับเกรดและคุณภาพ ถือว่าราคาดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว.

ช้อปฟาร์มสด – ผนึกพันธมิตรชั้นนำ ชวนคนไทยเลือกซื้อสินค้าคุณภาพกว่า 1,000 รายการ สดใหม่ จากฟาร์มชื่อดังทั่วประเทศ ร่วมส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย กระจายรายได้ ช่วยเหลือเกษตรกรไทยทั่วประเทศ
เสิร์ฟฟาร์มอร่อย – กับ 100 เมนูโฮมเมดและเฮ้ลท์ตี้ คัดสรรจากวัตถุดิบท้องถิ่น อาทิ นางั่วโกโก้ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้แท้ 100%, ไอศกรีมมะม่วงน้ำปลาหวาน และ ไอศกรีมแตงโมปลาแห้งจาก Jinta Icecream และ บันโฮลวีทไส้สับปะรดหอมสุวรรณอบสดใหม่จาก The Oven Farm เป็นต้น
ปลูกฟาร์มสุข – ครั้งแรก กับ Seed Library จากเจียไต๋โฮมการ์เด้นที่รวมพืช ผัก ผลไม้ และดอกไม้ มากกว่า 200 เมล็ดพันธุ์ รวมทั้งชุดปลูก และอุปกรณ์สำหรับโฮมการ์เด้น

กรุงเทพฯ – บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กลุ่มบริษัทเจียไต๋ และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จัดงาน THE FARM 2022 ส่งตรงจากฟาร์มถึงมือคุณ การกลับมาอีกครั้งของงานฟาร์มที่ดีที่สุด ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศให้มีรายได้ และเพิ่มช่องทางการกระจายผลผลิต ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น โดยเปิดพื้นที่ลานโปรโมชั่นของศูนย์การค้าเซ็นทรัล 10 สาขาทั่วประเทศให้เป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้า สะท้อนความเชื่อขององค์กรในเรื่อง

Community at heart การเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตของทุกชุมชน โดยปีนี้ ชวนคนไทยสัมผัสวิถีชีวิตแบบกรีนลิฟวิ่ง ช้อปผลิตภัณฑ์ออแกนิกคุณภาพดีจากฟาร์มชื่อดังทั่วไทย พร้อมเสิร์ฟเมนูอร่อยจากวัตถุดิบท้องถิ่นที่สดใหม่ คัดสรรจากฟาร์ม และชวนปลูกเมล็ดพันธุ์พืชผัก ผลไม้ ดอกไม้นานาพันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับโฮมการ์เด้นมากมาย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 10 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ (28 เม.ย. – 9 พ.ค. 2565), เซ็นทรัล ระยอง (11 – 17 พ.ค. 2565), เซ็นทรัล ศรีราชา (31 พ.ค. – 9 มิ.ย. 2565), เซ็นทรัล พระราม3 (15 – 28 มิ.ย. 2565), เซ็นทรัลเวิลด์ (11 – 17 ก.ค. 2565), เซ็นทรัล บางนา (27 ก.ค. – 8 ส.ค. 2565), เซ็นทรัล พระราม 2 (18 – 31 ส.ค. 2565), เซ็นทรัล อยุธยา (1 – 11 ก.ย. 2565), เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (12 – 25 ก.ย. 2565) และ เซ็นทรัล โคราช (5 – 18 ต.ค. 2565)

ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ‘เซ็นทรัลพัฒนา ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับพันธมิตรชั้นนำจัดงานดีๆ ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ในปีนี้ เราจึงได้ขยายระยะเวลาในการจัดงานจนถึงวันที่ 18 ต.ค. 65 และเพิ่มสาขาที่จัดเป็น 10 สาขาทั่วประเทศ โดยงาน The Farm เกิดจากความตั้งใจที่ต้องการสนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพ และได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม สด อร่อย

ในราคาย่อมเยาส่งตรงจากสวนถึงมือผู้บริโภคแบบไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีช่องทางการกระจายผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ช่วยสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับท้องถิ่น สะท้อนวิสัยทัศน์องค์กรในการสร้าง Better futures ด้วยกลยุทธ์ Synergy with communities ที่ทุกโครงการของเซ็นทรัลพัฒนามีส่วนสะท้อนอัตลักษณ์ Local Essence และกระจายรายได้ให้กับชุมชน นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มยกระดับ SMEs ให้ผู้ประกอบการ, เกษตรกร และอาชีพต่างๆ ได้เข้าถึงพื้นที่การขายและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น” ดร. ณัฐกิตติ์ กล่าว

เตรียม พบกับไฮไลท์ ช้อป ฟาร์ม สด / เสิร์ฟ ฟาร์ม อร่อย / ปลูก ฟาร์ม สุข มากมายภายในงาน อาทิ

ช้อป ฟาร์ม สด : พบกับสินค้าคุณภาพสดใหม่ จากฟาร์มชื่อดังทั่วไทยกว่า 1,000 รายการ อาทิ
เจียไต๋ฟาร์ม ที่ขนผักผลไม้สดส่งตรงจากฟาร์มที่จ.กาญจนบุรี มาทั้งเมล่อนมรกต, เมล่อนโกลเด้นสวีท, แตงโม Thump up, แตงโมซอนญ่าพลัส, ฟักทองบัทเตอร์นัท, ฟักทองมินิบอล รวมทั้งผักตัดแต่งแบบ ready-to-cook

Be Indy Country Farm ฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิกปลอดสาร จากแม่ไก่สาวอารมณ์ดีที่เลี้ยงด้วยวิถีธรรมชาติ
LED Farm พบกับผักเคลสดปลอดสาร ที่เลี้ยงจากฟาร์มระบบปิด สุดยอดคุณประโยชน์ระดับซุปเปอร์ฟู้ด
เสิร์ฟ ฟาร์ม อร่อย : พบกับ 100 เมนูอร่อยจากวัตถุดิบท้องถิ่น ที่คัดสรรมาอย่างดี ปรุงเป็นเมนูอร่อยคาว-หวาน หลากหลายชนิด อาทิ
นางั่วโกโก้ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้แท้ 100% จากกลุ่มเกษตรชุมชนนางั่ว จ.เพชรบูรณ์มีให้ลองชิมทั้งเครื่องดื่มโก้โก้เย็นรสชาติเข้มข้น, แบบแท่ง และเมล็ดโก้โก้สดๆ

Jinta Icecream ไอศกรีมโฮมเมดที่รังสรรค์รสชาติแปลกใหม่จากผลไม้ และเมนูอาหารไทยโบราณ อาทิ ไอศกรีมมะม่วงน้ำปลาหวาน, ไอศกรีมแตงโมปลาแห้ง, ไอศกรีมข้าวเหนียวดำ, ไอศกรีมขนมครก เป็นต้น
The Oven Farm ขนมปังและเบเกอรี่อบสดใหม่สำหรับสายเฮ้ลท์ตี้ เพราะเค้าเลือกใช้วัตถุดิบที่คัดสรรมาอย่างดี ธัญพืชหลากหลายชนิด มาทำตัวขนมปังและไส้ต่างๆ เช่น บันโฮลวีทไส้สับปะรดหอมสุวรรณ
ปลูก ฟาร์ม สุข : ครั้งแรก กับ Seed Library รวมมากกว่า 200 เมล็ดพันธุ์พืช ผัก ผลไม้ และดอกไม้ รวมทั้งชุดปลูก และอุปกรณ์สำหรับปลูกต้นไม้ พร้อมให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญจาก เจียไต๋โฮมการ์เด้น

พบกับ งาน “THE FARM 2022” ยกฟาร์มชื่อดังทั่วไทย สู่ใจกลางเมือง ส่งตรงจากสวนถึงมือคุณได้แล้ว เริ่ม 28 เม.ย.- 16 พ.ย. 2565 นี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 10 สาขา ทั่วประเทศ ภายใต้มาตรการเซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ Safe Plus+ ยกระดับขั้นสูงสุด เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยของผู้มาใช้บริการทุกคน

กรมวิชาการเกษตร สนธิกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกตรวจร้านขายสารเคมีและปุ๋ย พิกัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี หลังมีหนังสือร้องเรียนชี้เบาะแส พบปุ๋ยและวัตถุอันตรายทั้งไม่มีทะเบียนและทะเบียนหมดอายุ รวมกว่า 3,000 ลิตร 560 กิโลกรัม อายัดของกลางมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทเตรียมดำเนินคดีตามกฎหมาย

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนจากเกษตรกรมีการจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรและปุ๋ยเคมีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ในพื้นที่ อ.ดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรประสานกับเจ้าหน้าที่ กก.2 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เข้าร่วมกันตรวจค้นร้านค้าตามที่ได้รับแจ้งดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำชับให้กรมวิชาการเกษตรเข้มงวดตรวจสอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตรเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรโดนหลอกซื้อปัจจัยการผลิตที่ไม่มีคุณภาพไปใช้ทำการเพาะปลูก

จากการเข้าตรวจค้นร้านค้าดังกล่าวพบวัตถุอันตรายทางการเกษตรจำนวน 23 รายการ และปุ๋ยเคมีจำนวน 3 รายการ ผลการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย 22 รายการ ไม่มีเลขทะเบียน ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังตรวจพบผลิตภัณฑ์สารกำจัดแมลง จำนวน 1 รายการ ทะเบียนวัตถุอันตรายหมดอายุ ปุ๋ยเคมี จำนวน 3 รายการ ไม่มีเลขทะเบียน ต้องได้รับโทษ ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยบทกำหนดโทษขายปุ๋ยเคมีไม่ขึ้นทะเบียน จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 120,000 บาท เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวมีใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายและใบอนุญาตขายปุ๋ยถูกต้อง

“สารวัตรเกษตรและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ร่วมกันตรวจยึดอายัดวัตถุอันตรายและปุ๋ยเคมีปริมาณทั้งหมด 3,857.50 ลิตร และ 560.90 กิโลกรัม ไว้ในที่เกิดเหตุโดยมูลค่าของกลางที่ตรวจยึดได้ในครั้งนี้ประมาณ 2,200,000 บาท พร้อมกับได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุอันตรายและปุ๋ยเคมีส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

อำเภอกะปง เป็นอำเภอเล็กๆ ของจังหวัดพังงา เป็นถิ่นกำเนิดของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่ขึ้นชื่อและโด่งดัง ว่ากันว่าเป็นราชาทุเรียนบ้านเบอร์1 ภาคใต้ ทุเรียน “สาลิกา” หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่า “เรียนสากา” เป็นทุเรียนที่มีรสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หรือ “ทุเรียนGI”

จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อปี 2561 เว็บคาสิโนออนไลน์ และผู้ที่ชื่นชอบทุเรียนจะมีคำพูดว่า “ถ้ามาพังงาแล้วไม่ได้กินทุเรียนสากา เหมือนมาไม่ถึงเมืองพังงา” ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่ทุเรียนสาลิกาออกสู่ตลาด ทำให้แต่ละวันมีผู้ที่ชื่นชอบในทุเรียน เดินทางเข้ามาในพื้นที่เพื่อมาชิม ช๊อป กันถึงในสวนและมีการซื้อขายทางออนไลน์กันอีกเป็นจำนวนมาก โดยราคาล่าสุดขายกันที่กิโลกรัมละ 250-300 บาท

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เล็งเห็นถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงของ

วิกฤตปุ๋ยแพงต่อภาคการเกษตรของประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ผ่านการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์และที่มาของวิกฤตปุ๋ยแพง แนวคิดและวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว และเปิดเผยแนวทางและความพร้อมของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อให้การแก้ไขวิกฤตและปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และยั่งยืน ติดตามรับฟังการเสวนา ผลจากสงคราม !!! วิกฤตปุ๋ยแพงกับแสงที่ปลายอุโมงค์ : ทางเลือกทางรอดของเกษตรกร และผู้ค้าของไทย” ได้ที่

กรมชลประทานขานรับข้อสั่งการ “บิ๊กป้อม” เร่งรัด 5 โครงการแก้แล้งซ้ำซาก 5 อำเภอ “พื้นที่อีสานภาคกลาง” จ.กาญจบุรี หลังรัฐบาลหวั่นปีนี้แล้งจัดขาดแคลนน้ำทั้งน้ำกินน้ำใช้ และน้ำทำการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนช่วงหน้าแล้ง

นายพงษ์ศักดิ์ ฤทธิสมิต ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 13 กล่าวว่า ปัจจุบันจ.กาญจนบุรีมีพื้นที่ภัยแล้งที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำเรียกว่า “อีสานของจังหวัดกาญจนบุรี” ครอบคลุม 5 อําเภอใน จ.กาญจนบุรี คือ อ.บ่อพลอย อ.หนองปรือ อ.ห้วยกระเจา อ.เลาขวัญและอ.พนมทวน ล่าสุด ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลางได้ลงพื้นที่เพื่อแนะนำแนวทางแก้ปัญหาและติดตามเร่งรัดโครงการต่างๆที่ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากรัฐบาลมีความเป็นห่วงพื้นที่ดังกล่าวจะขาดแคลนน้ำทั้งน้ำกินน้ำใช้ และน้ำเพื่อทำการเกษตร จึงสั่งการให้แก้ไขภัยแล้งซ้ำซากอย่างจริงจัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนช่วงหน้าแล้ง

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ดังกล่าวแบบยั่งยืน กรมชลประทานได้วางแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดกาญจนบุรี 2 โครงการเล็กและขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง จังหวัดกาญจนบุรี ปริมาณน้ำที่ผันทั้งหมด 256.5 ล้าน ลบ.ม./ปี (ผันและส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงทั้งหมด) แบ่งเป็นน้ำเพื่ออุปโภคบริโภครวม 2.0 ล้าน ลบ.ม./ปี และปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรกรรม 254.5 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 486,098 ไร่

ครัวเรือนที่ได้รับผลประโยชน์ 53,810 ครัวเรือน รายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 90,449 บาท/ปี ความก้าวหน้าของโครงการขณะอยู่ระหว่างการจัดทำคำชี้แจงคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ และ2.โครงการสถานีสูบน้ำจากแม่น้ำแควใหญ่ พื้นที่รับประโยชน์ในเขตอำเภอบ่อพลอยและตำบลวังด้ง อำเภอเมืองกาญจนบุรี ปริมาณน้ำที่ผันทั้งหมด 27.3 ล้าน ลบ.ม./ปี ผลประโยชน์ประมาณน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค 0.63 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี และบรรเทาความขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ 78,508 ไร่ มีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 21,659 ครัวเรือน รายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 19,001.12 บาท/ปี ปี ความก้าวหน้าอยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโดยกรมชลประทาน

นอกจากนี้ในพื้นที่ 5 อำเภอดังกล่าวยังมีแผนงานสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อีก 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการอ่างเก็บน้ำลำตะเพินบนพร้อมระบบผันน้ำ พื้นที่รับประโยชน์รวม 42,000 ไร่ (อ.หนองปรือ เลาขวัญและ อ.ห้วยกระเจา) 2.โครงการขยายความจุอ่างเก็บน้ำลำอีซูพื้นที่รับประโยชน์ 5,000 ไร่ (อ.บ่อพลอย) และ3.โครงการก่อสร้างระบบส่งน้ำอาคารประกอบคลองท่าล้อ-อู่ทอง พื้นที่รับประโยช์รวม 149,500 ไร่ ซึ่งดำเนินการพัฒนาโครงการมาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันสามารถพัฒนาพื้นที่ไปได้แล้ว 35,000 ไร่ (อ.พนมทวนและ อ.ห้วยกระเจา) โดยแต่โครงการหากดำเนินการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแผนงานจะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จ.กาญจบุรีแบบยั่งยืนได้อย่างแน่นอน

“นอกจากการเร่งรัดโครงการต่างๆแล้ว สำนักงานชลประทานที่ 13 ยังให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนให้เข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่และมาตรการบริหารจัดการของภาครัฐ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอีกด้วย” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

หนังสือเล่มนี้ชื่อเต็มๆว่า “ภูมิปัญญาอาหารไทยภาคใต้ ชุดเคล็ดลับจากแม่ หรอยจังฮู้ (อร่อยที่สุดในโลก)” ชื่อยาวยังกับรถไฟสายใต้ แรกเริ่มเดิมทีนั้น จัดจำหน่ายโดย ซีเอ็ดบุ๊ค ตามหลักฐานภาพที่ปรากฏ แต่หนังสือขาดตลาดมานานแสนนาน

ประจวบกับยุคดิจิทัล หลายคนหันไปใช้บริการค้นหาสูตรอาหารจากกูเกิ้ล แต่ก็นั่นแหละครับ จะให้ขลังมันก็ต้องมีตำราของแท้อยู่ในมือ โดยเฉพาะสูตรที่รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ขลังมาก เพราะว่าเป็นตำรับพื้นบ้านจากประสบการณ์จริงของ 3 พี่น้อง คือ แม่ถิ้ง-พริ้มพร้อม พงศาปาน (แม่ลุงพร สอนอาชีพ) อาจารย์โสภา คงพูล และ อาจารย์สุดา เทพเกลี้ยง ทั้ง 3 พี่น้อง เป็นลูกสาวของ คุณแม่อบ ห้วนแจ่ม ซึ่งทำมาค้าขายอาหารขนมนมเนยในหมู่บ้าน แบบหาบไปขายตามบ้าน และส่งต่อภูมิปัญญาเหล่านี้มายังลูกๆทั้ง 3 พี่น้อง

หนังสือเล่มนี้ ได้รวมสูตรอาหารปักษ์ใต้กว่า 200 รายการ เป็นตำรับพื้นบ้านจากประสบการณ์จริงของ 3 พี่น้อง ซึ่งเป็นการรวบรวมขึ้นจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในท้องถิ่นบ้านเกิด โดยยึดหลักจากประสบการณ์ ในเล่มได้ให้ข้อมูลของส่วนประกอบและวิธีทำอาหารปักษ์ใต้แต่ละเมนูอย่างละเอียด พร้อมทั้งแนะนำเคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับการทำอาหารมากมาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบอาหารปักษ์ใต้แล้วละก็ นี่คือหนังสือที่คุณไม่ควรพลาด!

“กรกฎ” หรือ “ตาว จันทโชติ” พนักงานราชการ ในสังกัดโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชกองทัพอากาศ คือ หนึ่งในวัยรุ่นสร้างตัว ที่น่าชื่นชม

โดยเด็กหนุ่มจากตำบลดอนปลาสร้อย อำเภอวเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างท่อง ผู้นี้ได้ใช้เวลาว่างในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดราชการให้เกิดประโยชน์ ด้วยการขยายพันธุ์มะนาวพันธุ์ดีจำหน่าย เพื่อเพิ่มเงินเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

“ผมเดินตามพ่อครับ พ่อผม นายวโรชา จันทโชติ เป็นเกษตรกรเจ้าของมะนาวพันธุ์แป้นวิเศษ, พันธุ์แป้นวโรชา และพันธุ์แป้นวิเศษวโรชา อยู่ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปลูก และการการขยายพันธุ์มะนาว ผมจึงนำความรู้ที่พ่อให้มาต่อยอด” ตาวบอกเล่าถึงที่มา ระหว่างเตรียมจัดส่งกิ่งพันธุ์มะนาวคุณภาพให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อ

ด้วยองค์ความรู้ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของผู้เป็นพ่อ ถูกส่งต่อมายังผู้เป็นลูกชาย ผ่านการสั่งสอนองค์ความรู้คู่กับการปฏิบัติ จึงทำให้ตาวมีความชำนาญและชำชองตั้งแต่การปลูก การดูแล และการขยายพันธุ์มะนาว และนำมาสู่การสืบสานอาชีพ ดั่งเช่นในวันนี้

“พ่อสอนเสมอว่า ให้ขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำกิจกรรมที่จะนำมาสู่การสร้างรายได้ทั้งในรูปของ หลัก รอง และเสริม ซึ่งผมเดินตามหลักนี้ โดยอาชีพหลัก คือ เป็นพนักงานราชการ อาชีพรองคือ เพาะขยายพันธุ์มะนาวพันธุ์ดีจำหน่าย และอาชีพเสริม คือ รับจ้างปลูกและดูแลสวนทั้งมะนาว และพืชสวนอื่น ๆ”

ตาว กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเพาะขยายพันธุ์มะนาวจำหน่าย ตอนนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาก มีลูกค้าจากจังหวัดต่างๆ สั่งจองเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะยึดการจำหน่ายโดยเน้นคุณภาพเป็นสำคัญ และมีมะนาวพันธุ์ดีสายพันธุ์ต่าง ๆจำหน่ายให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ

“ผมเน้นขายคุณภาพเป็นหลักครับ มะนาวตรงปกตรงตามพันธุ์ครับ ไม่ว่า มะนาวพันธุ์ทูลเกล้า มะนาวแป้นวิเศษ มะนาวแป้นพันธุ์วิเศษวโรชา และตาฮิติ โดยกิ่งพันธุ์ที่จำหน่ายจะเป็นกิ่งตอน ที่ตอนจากต้นแม่พันธุ์ดีที่ปลูกอยู่ที่สวนบ้านพ่อ และบ้านญาติสนิท พอวันหยุดผมจะไปเข้าสวนตอนด้วยตัวเอง เราจะคัดกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ได้อายุ เรียกว่า ต้องได้มาตรฐาน หลังจากตอนแล้ว ผมจะนำมาผ่านกระบวนการชำ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์มะนาวที่แข็งแรง ลูกค้าเอาไปปลูกแล้วเจริญเติบโตดี ผลผลิตดก”

“พร้อมส่งครับ ขอให้สั่งมา ที่โทร. 099-287-9318 และ 086-765-6845 ผมขอบอกว่า สายพันธุ์มะนาวที่จำหน่ายนั้น มีความโดดเด่นมาก อย่างพันธุ์แป้นวโรชา เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดกตลอดทั้งปี ผลใหญ่ เปลือกบาง ให้น้ำเยอะ ไม่ต้องคลึงก่อนบีบน้ำ ผิวเกลี้ยง ไม่มีเมล็ดหรือถ้ามีก็เล็กและลีบ ที่สำคัญทนทานต่อโรคแคงเกอร์ในระดับน่าพึ่งพอใจ มะนาวพันธุ์ทูลเกล้า จะให้ผลใหญ่ น้ำมาก เปลือกบาง เป็นต้น ทุกสายพันธุ์ที่ผมจำหน่ายนั้น เรียกว่า ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นี่จึงเป็นอีกจุดเด่นที่ทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี” ตาว กล่าว

นอกจากจำหน่ายในรูปแบบของกิ่งตอนแล้ว ตาวยังมีแนวคิดต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทำเป็นมะนาวกระถาง ที่ติดผลพร้อมใช้ ออกจำหน่าย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปลูกเลี้ยงเพื่อให้ได้ขนาดต้นตามต้องการ คาดว่า ภายในอีกไม่นานจะเริ่มนำออกจำหน่ายให้กับผู้สนใจ

เรื่องราวของตาว จึงเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของวัยรุ่นสร้างตัว ผู้ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งของอนาคต ด้วยการเลือกเดินตามพ่อ เพื่อพัฒนาและสานต่ออาชีพเพาะขยายพันธุ์มะนาวสร้างชีวิต

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2565 – “เกษตรก้าวไกล” ได้เดินทางไปหา ลุงอี๊ด-บรรจง บุญวาที ปราชญ์ทุเรียนเมืองตราด อีกครั้งหนึ่ง เพราะว่ายังประทับใจเรื่องของ “ทุเรียนพวง” ไม่หาย และนำมาลงในเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน ผู้คนตื่นเต้นไม่คิดว่าจะมีการไว้พวงทุเรียนแบบนี้ พวงเดียวถึง 15 ลูก “ทุเรียนพวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา” ตอนแรกบางคนก็คิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญ แต่เมื่อได้ฟังจากลุงอี๊ดบอกแล้ว เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย

การไว้ลูกเพื่อทำทุเรียนพวงใหญ่มีหลักการอย่างไร? ดีอย่างไร?

“ถ้าเราไม่ทำพวง ลูกมันจะอายุไม่เสมอกัน มันจะมีผลเวลาเก็บเกี่ยว ของเราเก็บแค่ 2 ครั้ง ก็หมดต้นเลย สมมุติเราเริ่มวันที่ 1 เก็บครั้งแรก พอวันที่ 5 ก็เก็บได้อีกครั้ง ทำให้เราสามารถจัดการได้ง่าย โดยเราจะเริ่มตั้งแต่การไว้ดอก การไว้ดอกเป็นพวงจะทำให้ผสมเกสร ได้ดีกว่า…”

“ตามหลักวิชาการเขาบอกว่าแต่ละลูกต้องห่างกัน 1 ฟุต สมมุติกิ่งหนึ่งไว้ 5 ลูก เราก็ไว้ห่างกันลูกละ 1 ฟุตไปจนถึงปลายกิ่ง ผมว่าอย่างนั้นมันไม่จำเป็น ตำแหน่งมันจะไม่เสมอกัน สุกไม่เสมอกัน ยังไงก็ต้องห่างกันหลายวัน แต่เราไว้พวงเราสามารถให้รุ่นของเราอยู่ในเกณฑ์เก็บแค่ 2 ครั้ง มันจะจัดการได้งายกว่า…”

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2565 นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนทุเรียนลุงอี๊ด พร้อมด้วย นายชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด และ นายภิรมย์ ชุมนุม นายอำเภอเมืองตราด ได้บอกว่าเป็นภูมิปัญญาทุเรียนเมืองตราด แถมยังประกาศท้าว่าถ้าใครมีทุเรียนพวงใหญ่กว่านี้ก็ให้บอกมา…จะได้มอบโล่ให้ลุงอี๊ดกันเลยทีเดียว

ระหว่างวันที่ 6-7 เมษายน 2565 “เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสพบกับ คุณมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็ม ทีวี จำกัด เจ้าของจานดาวเทียม “จานส้ม” ที่วันนี้ซุ่มเก็บตัวอยู่ที่แก่งกระจานเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเกษตร มีหลายนวัตกรรมที่รอการเปิดตัวในช่วงกลางปีนี้

อย่างที่ “เกษตรก้าวไกล” ได้แง้มๆไปแล้ว เช่น ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และที่แง้มๆขึ้นมาอีก 1 นวัตกรรมในคลิปนี้ ก็คือ รถแม็คโครไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะแพลงฤทธิ์ได้หรือไม่? https://youtu.be/j7il7ml4KCo ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ารถแม็คโครได้กลายเป็นเครื่องมือทำการเกษตรที่จำเป็นในยุคที่ภาครัฐกำลังมีนโยบายเกษตร 4.0 เพื่อยกระดับเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่ โดยเฉพาะการขุดร่องสวน ตักดินโคลนเลน แต่งถนนในสวนหรือในฟาร์ม เป็นต้น

พอเข้ายุคน้ำมันแพงการว่าจ้างให้แม็คโครมาทำการเกษตร จึงกลายเป็นต้นทุนที่สำคัญ ค่าบริการตกวันละ 15,000 บาท การมีรถแม็คโครไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จึงน่าจะเป็นทางออกอย่างหนึ่ง ดังเรื่องราวในคลิปนี้ คุณมานพ โตการค้า มีความมุ่งมั่นที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างจริงจัง และบั้นปลายชีวิตใฝ่ฝันอยากทำอาชีพการเกษตร โดยนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำสำเร็จในเวลานี้คือ เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ

“ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังมีแสงสว่างเราก็ยังมีโอกาสที่จะนำพลังงานแสงแดดมาใช้ทดแทนพลังงานน้ำมัน เชื่อว่าอีกประมาณ 10 ปี เราคนไทยก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้” คุณมานพ กล่าว

อนึ่ง รถแม็คโคร ชื่อที่ถูกต้องต้องเรียกว่ารถ “แบคโฮ” โดยจริงๆ แล้วมาจากคำภาษาอังกฤษ Backhoe ซึ่งได้มาจากการรวมคำ ทั้งสองคำ คือ Back หมายถึงด้านหลัง และคำว่า Hoe หมายถึง ขุด จอม เสียม พรวน ซึ่งเมื่อเรานำทั้งสองคำมารวมกันแล้วจะหมายถึง เครื่องจักรที่มีระบบการขุด ตัก มาด้านหลัง

ชื่อเต็มๆของรถขุดนี้ คือ Backhoe Loader นั้นเอง หากต้องการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรียกอย่างเป็นทางการว่า รถตักหน้า ขุดหลัง หรือเรียกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “แบคโฮ” นั่นเอง

สยามคูโบต้า ได้ส่งมอบเครื่องจักรกลเกษตร ให้กลุ่มสหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้เครื่องจักรร่วมกัน (Machinery Pool) ภายใต้โครงการคูโบต้าร่วมมือ เกษตรกรร่วมใจ เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เกิดการสร้างรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยประเมินจากคุณสมบัติพื้นฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนของกลุ่มฯ เครื่องจักรกลการเกษตรที่สนับสนุน ประกอบด้วย แทรกเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง รถเกี่ยวนวดข้าว รถขุดขนาดเล็ก รถดำนา โรงเรือนเกษตร โดรนเพื่อการเกษตร เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้จัดอบรมการบริหารจัดการเครื่องจักรแบบรวมกลุ่ม การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และการบริหารจัดการเงินทุนเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ยังมีบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน การดูแลเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด โดยทีมช่างบริการผู้เชี่ยวชาญด้วยมาตรฐานเดียวกันของสยามคูโบต้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพราะการดูแลเครื่องจักรอย่างเหมาะสม จะช่วยยืดอายุเครื่องจักรให้กลุ่มสามารถนำไปสร้างรายได้ต่อเนื่องในระยะยาว

รวมทั้งให้คำปรึกษาโซลูชันการทำเกษตร อาทิ การทำเกษตรปลอดการเผา การทำเกษตรปลอดนาหว่าน การขุดบ่อเพื่อการเกษตร เป็นต้น (ภาพ 19 เม.ย.65) โมเดลความสำเร็จโครงการคูโบต้าร่วมมือ เกษตรร่วมใจ กรณีอบต.รางจรเข้ ที่ใช้แทรกเตอร์ มาต่อพ่วงด้วยเครื่องอัดฟางข้าว)
ความคืบหน้าในโครงการคูโบต้าร่วมมือ เกษตรร่วมใจ

ภาพรวมสรุปโครงการในเฟส 1 มีจำนวนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตรรวม 123 กลุ่ม ใน 48 จังหวัดทั่วประเทศ มูลค่ารวม 98 ล้านบาท โดยตั้งแต่เริ่มส่งมอบในเดือนธันวาคม 2563 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ (2565) ได้ส่งมอบไปแล้วทั้งหมด 123 กลุ่ม รวมเกษตรกรในโครงการกว่า 10,900 ราย ครอบครองพื้นที่ทำการเกษตร 103,163 ไร่ และช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งในเฟส 2 นี้ มีแผนส่งมอบเครื่องจักรกลการเกษตร อีก 100 กลุ่ม เพื่อให้ครอบคลุมไปสู่พื้นที่ที่เกษตรกรยังต้องการความช่วยเหลือครบทั้ง 72 จังหวัดทั่วประเทศ และต่อยอดร่วมกับโครงการอื่นๆ ในอนาคต

สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตร กลุ่มใดสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนจำหน่ายสยามคูโบต้าทั่วประเทศ หรือ ชมจากคลิปเกษตรก้าวไกลLIVE จะมีรายละเอียดโมเดลความสำเร็จ กรณีอบต.รางจระเข้ ที่ใช้แทรกเตอร์มาต่อพ่วงด้วยเครื่องอัดฟางข้าวเพื่อเสริมสร้างรายได้และลดการเผาในพื้นที่การเกษตรเป็นศูนย์

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงานประชาสัมพันธ์ “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลทุเรียนหมอนทองตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” ณ สวนทุเรียนน้ำกร่อย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

คณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม โดยมี นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และเกษตรกร ให้การต้อนรับ ว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและการส่งออกผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยเราประสบปัญหาภาวการณ์แข่งขันที่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพ และปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัว

ดังนั้น แนวทางที่จะพัฒนาภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียน จึงต้องพัฒนาทั้งระบบด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งเกษตรกร ล้ง ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต สร้างและขยายตลาดโดยเฉพาะตลาดภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ คือการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

“เนื่องจากในช่วงเวลานี้เป็นฤดูกาลผลผลไม้ของภาคตะวันออกซึ่งจะมีผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งขณะนี้มีความเป็นห่วงในเรื่องของ COVID – 19 และปัญหาทุเรียนอ่อน จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID – 19 ตั้งแต่ระดับสวนเกษตรกร และมาตรการควบคุมป้องกันแก้ไขทุเรียนอ่อนภาคตะวันออกปี 2565 ระดับสวนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานให้ทุกสวนผลไม้ส่งออกได้ยึดถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป้าหมายให้ทุเรียนไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก และมีมาตรฐานความปลอดภัย โดยมีหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นพี่เลี้ยง และพร้อมแก้ไขปัญหาร่วมกัน” รมว.เกษตรฯ กล่าว

รมว.เกษตรฯ กล่าวต่อไปว่า การจัดงานครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเน้นย้ำความมีคุณภาพของทุเรียนตะวันออกที่เป็นสินค้าเกษตรให้เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขอยืนยันว่าหากทุเรียนไทยเรายังรักษาคุณภาพไว้ได้ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการส่งออกอย่างแน่นอน จึงต้องขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยกันรักษาคุณภาพทุเรียนไทย และไม่ให้มีการตัดทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ เตรียมจะขยายช่องทางส่งทางรางรถไฟขนส่งไปจีน คาดว่า 1-2 เดือน จะแล้วเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกได้มากขึ้น

โอกาสนี้ รมว.เกษตรฯ ได้ร่วมขึ้น sky walk เพื่อตัดทุเรียนพร้อมจำหน่าย ร่วมกับอธิบดีกรมส่งเสริมเกษตร นายธีรพัฒน์ อุ่นใจ ที่ปรึกษาสมาพันธุ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออกและเกษตรกรดีเด่น พร้อมกับแกะทุเรียนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ประชาสัมพันธ์งาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลทุเรียนหมอนทองตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก”

ทั้งนี้ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ประมาณ 320,000 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตทุเรียนประมาณ 490,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของ 3 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทุเรียนภาคตะวันออก และยังมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทดแทนพืชชนิดอื่น เช่น ยางพารา เงาะ ลองกอง เป็นต้น แหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ และขลุง เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมีทั้งเกษตรกรรายเดิม เกษตรกรรายใหม่ และมีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทเกษตรกรชาวสวนเดิมเข้ามาเริ่มทำการเกษตรมากขึ้น มีการปฏิบัติดูแลรักษาเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการสวนเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงขึ้นตลอดระยะเวลา 5 – 6 ปีที่ผ่านมา

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับผลผลิตทุเรียนภาคตะวันออกปี 2565 ที่เน้นให้การส่งออกผลไม้ต้อง Zero Covid และต้องไม่มีปัญหาทุเรียนอ่อน เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก

สร้างความเชื่อมั่นสู่ผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนที่เป็นตลาดส่งออกหลัก ซึ่งในฤดูกาลผลไม้ปีนี้ จีนในฐานะประเทศคู่ค้าสำคัญของผลไม้ของภาคตะวันออกได้กำหนดไว้ว่าต้องตรวจไม่พบเชื้อ COVID -19 ทั้งในคน ผลไม้ และองค์ประกอบอื่นในการขนส่ง เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จัดงาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลหมอนทองภาคตะวันออก ดีเลิศที่คุณภาพ ดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” ขึ้นในวันนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันทุเรียนอ่อนและมาตรการ Zero Covid ของทั้งเกษตรกรเจ้าของสวน และผู้ประกอบการส่งออกในภาคตะวันออกทุกจังหวัด

ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การแสดงนิทรรศการผลการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาดภาคตะวันออก ปี 2565 การแสดงผลผลิตทุเรียน GI ของภาคตะวันออก จำนวน 6 ประเภท 3 จังหวัดของภาคตะวันออก ได้แก่ทุเรียนหมอนทองปราจีนบุรี ชะนีเกาะช้างตราด นกหยิบจันทบุรี กบสุวรรณจันทบุรี พวงมณีจันทบุรี นวลทองจันทร์จันทบุรี และร่วมชิมทุเรียน 7 สายพันธุ์.

นายณรงค์รัตน์ ม่วงประเสริฐ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดเวทีรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านข้าวและชาวนาไทย 4 ภาค โดยมีชาวนา ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ส่งออก มาร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อรวบรวมแล้วจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืนและครบวงจร ซึ่งทั้ง 4 เวทีพี่น้องชาวนาจะประสบปัญหาหลักเรื่องเดียวกัน คือ ต้นทุนการผลิตที่สูงมากโดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้นไปถึง 200% กว่า รวมทั้งเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และน้ำมันเชื้อเพลิง

ทั้งหมดเป็นปัจจัยการผลิตหลักที่ชาวนาต้องใช้ จากค่าเฉลี่ยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเรื่องต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณเกือบ 4,000 บาทต่อไร่ ทั้ง 4 เวทีที่สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดเวทีรับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขด้านข้าวและชาวนาไทยนั้นกลับพบชาวนาที่ใช้ต้นทุนการผลิตเพียงแค่ประมาณ 2,000 บาทนิดๆ หรือชาวนาที่ใช้ต้นทุนการผลิตที่สูงถึง 6,000 กว่าบาทต่อไร่ก็มีเช่นเดียวกัน จึงนำมาถึงบทสรุปว่า สภาเกษตรกรฯจะนำชาวนาที่ประสบความสำเร็จกับการลดต้นทุนการผลิตในการทำนาด้วยวิธีการ “จับมือทำ 1 จังหวัด 1 ต้นแบบ” เพื่อเป็นการกระตุ้นและนำร่องการขับเคลื่อนให้พี่น้องชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศได้ก้าวข้ามปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงไปให้ได้

“เรื่องใหญ่ที่สุดตอนนี้คือเกษตรกร ชาวนา มีความจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่ภาครัฐพยายามควบคุมราคาปัจจัยการผลิตแต่ไม่สามารถทำได้ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้กล่าวให้แนวทางว่า บันไดก้าวแรกพี่น้องเกษตรกร ชาวนา ต้องลดต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นทางรอด จึงนำสู่แนวคิด “จับมือทำ 1 จังหวัด 1 ต้นแบบ”

ด้วยสภาเกษตรกรฯมีเกษตรกร ชาวนาที่เป็นต้นแบบประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา ปรับตัว เรื่องการทำนาในพื้นที่ของตนเองและสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้สู่พี่น้องชาวนาผู้ร่วมอาชีพได้ ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติจะนำไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมการข้าว เพื่อร่วมกันถ่ายทอดความรู้สู่ชาวนาต่อไป โดยแนวคิด “จับมือทำ 1 จังหวัด 1 ต้นแบบ” จะนำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ เดือนมิถุนายน 2565 เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและโครงการเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อไป” นายณรงค์รัตน์ กล่าว

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยชาวสวนระบายผลผลิต รับวิกฤตทุเรียนล้นตลาด เปิดพื้นที่ให้ชาวสวนมาขายในสาขา ส่งตรงถึงมือลูกค้าทั้ง 135 สาขา พร้อมวางแผนเชิงรุกส่งเสริมการบริโภคต่อเนื่อง ตั้งเป้ารับซื้อ 1,500,000 กิโลกรัม มากกว่าปีที่แล้วเกือบ 5 เท่า

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ที่ระบุว่า ปีนี้ผลไม้ฤดูกาลมีแนวโน้มออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน โดยเฉพาะ ทุเรียน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง ทำให้ชาวสวนต้องเร่งระบายผลผลิต แม็คโคร จึงร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางแนวทางเชิงรุกช่วยเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ด้วยการเปิดพื้นที่ให้เข้ามาขายตรงถึงมือผู้บริโภคที่สาขาของแม็คโคร 135 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงจัดเทศกาลผลไม้ตามฤดูกาล รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคอย่างต่อเนื่อง

“ปัญหาผลไม้ล้นตลาดยังเป็นประเด็นสำคัญที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญทุกปี โดยเฉพาะ ทุเรียน ที่ปีนี้มีผลผลิตออกมากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ชาวสวนระบายผลผลิตไม่ทันและอาจส่งผลให้ราคาตก แม็คโคร จึงได้วางแผนการรับซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยปีนี้คาดว่าจะรับซื้อทุเรียนประมาณ 1,500,000 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 5 เท่าตัว เป็นผลผลิตจากเกษตรกรกว่า 70 ราย ใน 11 จังหวัด โดยแม็คโครได้ส่งทีมจัดซื้อลงพื้นที่สวนทุเรียน เพื่อคัดเลือกทุเรียน สดใหม่ ให้ชาวสวนมาขายตรงกับลูกค้า โดยมีพื้นที่ในสาขาเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง ชาวสวนกับผู้บริโภค เพื่อเป็นการระบายผลผลิตและสร้างบรรยากาศให้เกิดความคึกคัก ด้วยการจัดเทศกาลผลไม้ตามฤดูกาล กระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่อง”

โดยทุเรียน 5 สายพันธุ์หลักที่แม็คโครนำมาจำหน่าย ประกอบด้วย หมอนทอง ชะนี พวงมณี กระดุม ก้านยาว จากแหล่งผลิตคุณภาพในจังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราด นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุตรดิตถ์ ซึ่งทุเรียนพันธุ์ หมอนทอง ได้รับความนิยมสูงสุด มีสัดส่วนถึง 95% ของยอดขายทุเรียนทั้งหมด

“นอกจากทุเรียนแล้ว เรายังวางแผนรับซื้อผลไม้ฤดูกาลที่จะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ลำไย ลองกอง มังคุด เงาะ โดยตั้งเป้าการรับซื้อผลไม้ฤดูกาลกว่า 8,000,000 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบเท่าตัว เพื่อช่วยชาวสวนระบายผลผลิตได้ทันท่วงที ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และผู้บริโภคได้รับประทานผลไม้ไทยคุณภาพดีในราคาที่ย่อมเยา” นางศิริพร กล่าว ทั้งนี้แม็คโคร มุ่งมั่นดำเนินพันธกิจในการเคียงข้างเกษตรกรไทย พร้อมตอกย้ำการเป็นผู้นำอาหารสดมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย สำหรับการเปิดพื้นที่ให้ชาวสวนนำทุเรียนมาจำหน่ายโดยตรงในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่ง ในการผนึกกำลังของธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน

สถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค และ สมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (DLG) สำนักงานประเทศไทย ผสานความร่วมมือกันจัดแถลงข่าว ฮอร์ติ เอเชีย และงานอกริเทคนิก้า เอเชีย 2022 ภายใต้แนวคิด ความท้าทายและการแก้ปัญหาเพื่อการเกษตรไทย ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ กรุงเทพ ฯ

ดร.Gijs Theunissen DVM แทงบอลออนไลน์ อักรราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายเกษตร) สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวต้อนรับ กล่าวว่า โควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม วิถีชีวิตผู้คนและการผลิตอาหารโลก ทั้งปัจจัยในการผลิตเช่นน้ำมัน การขนส่งที่แพงขึ้น ทำให้อาหารมีราคาแพงขึ้น ทั้งยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค เพราะเหตุนี้การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความยั่งยืน งานฮอร์ติ เอเชีย และ งานอกริเทคนิก้า เอเชีย 2022 ครั้งนี้จะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ชั้นนำของโลกในการก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านี้

การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง ของสหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งเชียงใหม่จำกัด

ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร นิทรรศการผลิตภัณฑ์กาแฟ จากสหกรณ์การเกษตรดอยสะเก็ดพัฒนา จำกัด นิทรรศการของสหกรณ์ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม การแปรรูป ของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอพร้าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมันฝรั่ง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอมหัวใหญ่ ผักอินทรีย์ ข้าวหลาม และการถักทอตะกร้า

สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ปัจจุบันมีสมาชิก 352 ราย มีทุนการดำเนินงานมากกว่า 15 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ข้าวเปลือกและมันฝรั่ง และธุรกิจให้บริการ ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนเงินอุดหนุนตามโครงการปรับโครงสร้างการผลิต

การรวบรวมและการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตรฯ (พรก.โควิด 19) สร้างลานตากคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 3,200 ตารางเมตร โดย กรมฯ อุดหนุนเป็นเงิน 1,705,000 บาท สหกรณ์สมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เป็นเงิน 189,500 บาท รวมทั้งสิ้น 1,895,000 บาท สหกรณ์ได้ใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิก สหกรณ์ฯ ยังดำเนินการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ จัดหาปัจจัยการผลิตที่ได้คุณภาพ และจัดหาหัวพันธ์มันฝรั่งสปุนต้าแอตแลนติกมาบริการสมาชิกอีกด้วย

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย นายไกรศร วิศิษฎิวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นายกมลดิษฐ สมุทรโคจร รองกรรมการผู้จัดการสายงานการผลิต บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าวงาน “มหกรรมยางพารา 2564” ณ ห้องประชุม อาคารข่าวสด โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรปลูกยางจำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ มีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน มีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยบูรณาการร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการตลาดยางพารา โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ซื้อผู้ขาย ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ตลาด นำการผลิต รวมถึงการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนัวตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตและการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพารา

โดยร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในงานด้านวิจัยและพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมทั้งร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้คณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เพื่อรองรับ การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor) ของรัฐบาล สู่การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจรครอบคลุมทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราทั้งระบบ

ด้าน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์และแนวทางของการจัดงานในครั้งนี้ว่า เนื่องด้วย กยท. ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ถือเป็นแหล่งปลูกยางพาราสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการปลูกยางพาราในประเทศไทย สำหรับการจัดงานมหกรรมยางพาราในครั้งนี้ ต้องยกเครดิตให้กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน ฯลฯ ที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนการจัดงานมหกรรมยางพาราอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย และกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา เกิดแนวคิดในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยางพาราให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

โดยแนวทางการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อโชว์ศักยภาพไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราของโลก และเป็นเวทีการเจรจาธุรกิจเพื่อแสวงหาพันธมิตรคู่ค้าใหม่ในตลาดยางพาราระดับนานาชาติ

“ในวันงานทุกท่านจะได้เห็นการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการดูแลจัดการมาตรฐานในสวนยางพารา วันนี้มาตรฐานในสวนยางพาราถือเป็นเรื่องสำคัญ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้มีการผลักดันในเรื่องของมาตรฐาน FSCTM ซึ่งในงานเราก็จะมีการจัดโชว์เคส แนะนำในเรื่องของการแสดงปลูกสร้างจิตสำนึกให้กับพี่น้องชาวสวนยางไม่เฉพาะแค่ชาวนครศรีธรรมราช แต่เป็นของทั้งประเทศ ให้สอดคล้องกับที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลูกยางเป็นอันดับ 1 ของโลก และกำลังพยายามผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นวาระของโลก ส่งเสริมให้ยางพาราที่เป็นพืชหลักในการผลักดัน ตามที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ทาง กยท.ผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี”

ซึ่งภายในงานจะมีการจัดแสดงนวัตกรรมยางพาราในหลายรูปแบบ เช่น 1. การเปิดตัวแอปพลิเคชั่น เพื่อปรับพฤติกรรมของเกษตรกรให้ทันสมัยมากขึ้น และเพื่อยืนยันว่าการจัดการดูแลสวนยางพาราของเกษตรกร ทันตามมาตรฐานโลก และสิ่งนี้จะเป็นการสร้างความสามารถทางการแข่งขันโดยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยในการสนับสนุน 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต/ผลิตยางกั้นล้อ ระดมแปรรูปยางเป็น “ยางกั้นล้อรุ่นพิเศษของ พีทีทีโออาร์” ให้บริษัทในเครือ ปตท. 3. โชว์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา เช่น นวัตกรรมสระน้ำยางพารา เก็บกักน้ำสู้ภัยแล้ง 4. ถือเป็นกิจกรรมไฮไลต์สำคัญ คือ กยท. เตรียมเปิดบริการตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าแบบส่งมอบจริง และเปิดเวทีเจรจาธุรกิจ ให้แก่เกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางได้มีโอกาสขยายช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและส่งออกไปพร้อมๆ กัน

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้ามาเที่ยวชมงานและร่วมกิจกรรมต่างๆ ในงานมหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา ได้ตั้งแต่วันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สำหรับความสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช นายไกรศร วิศิษฎิวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในฐานะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกยางเป็นอันดับต้นๆ ส่งผลให้จังหวัดมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมยางพาราอย่างมาก โดยยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับหนึ่งของจังหวัด มีพื้นที่ปลูกถึง 1,880,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.26 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 6,214,064 ไร่ ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่นครศรีธรรมราช สามารถให้ผลผลิตน้ำยางคุณภาพดีติดอันดับโลก ทำให้นครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในที่ตั้งตลาดกลางยางพาราที่มีความสำคัญของประเทศ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมยางพาราในนครศรีธรรมราชก็มีปัจจัยหนุนด้วยทำเลที่ตั้งของจังหวัด ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่นๆ ได้โดยสะดวก

“ในแต่ละปีจังหวัดนครศรีธรรมราชมีผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งปีคิดเป็นมูลค่า 180,000 ล้านบาท อันดับหนึ่งเป็นผลผลิตด้านการเกษตร ที่มีมูลค่าประมาณ 47,000 ล้านบาทต่อปี อันดับ 2 เป็นค้าปลีก ซึ่งทั้ง 2 ภาคนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยพยุงเศรษฐกิจและพร้อมที่จะไปแข่งขันในระดับนานาชาติ นี่คือศักยภาพของพี่น้องเกษตรกรนครศรีธรรมราชในทุกมิติ อย่างอำเภอนาบอน มีโรงงานอุตสาหกรรมการยาง ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปยางพาราชนิดต่างๆ ทั้งโรงงานน้ำยางข้น โรงงานยางแผ่น และโรงงานผลิตยางแผ่นอบแห้ง ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทขึ้นไป ราว 5 แห่ง และนครศรีธรรมราชถือเป็นหมุดหมายในแผนฉบับที่ 13 ที่จะต้องพัฒนาในเรื่องของพลังงานต่างๆ เพราะฉะนั้นการปูพื้นเรื่องยางพาราจะเป็นศักยภาพที่จะก้าวกระโดดไปการแข่งขันนานาชาติได้”

สุดท้าย นายกมลดิษฐ สมุทรโคจร รองกรรมการผู้จัดการสายงานการผลิต บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมยางพาราว่า พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราคือหนึ่งในกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตอย่างมาก ซึ่งทางคาราบาวกรุ๊ปขอร่วมชื่นชมและยกย่องพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา และเพื่อมอบสิ่งดีๆ กลับคืนให้กับพี่น้องเกษตรกร รวมถึงประชาชนทั่วไป ทางคาราบาวกรุ๊ปขอถือโอกาสนี้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งการมอบความสุขและความสนุกสนาน ด้วยการขนทัพบู๊ธจัดกิจกรรมแจกของมากมาย รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมกรีดยาง โดยมอบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคาราบาวแดงแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1-3 แล้วพบกันที่งาน “มหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นายกมลดิษฐ กล่าวทิ้งท้าย

อ.ส.ค.-บขส.ผนึกความร่วมมือครั้งใหญ่ พลิกมิติการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่ (New Normal) จัดขบวนรถเข้าเยี่ยมชมอาณาจักรฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์คทั้งแบบเช้า-เย็นกลับ เช่าเหมาแบบกลุ่ม คณะในราคามิตรภาพ หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและหนุนวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นสร้างรายได้ให้ชุมชน

นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า เพื่อกระตุ้นและปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่ (New Normal) แบบ ONE DAY TRIP ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค อ.มวกเหล็กจ.สระบุรีแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เร็วๆนี้อ.ส.ค.ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)

ว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้น โดยการลงนามในครั้งนี้อ.ส.ค. และ บขส. จะร่วมกันเสนอแนวคิดหรือโครงการในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่ (New Normal) ตลอดจนการสนับสนุนข้อมูลระหว่างกันอันจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวสอดรับกับเส้นทางเดินรถของทาง บขส.และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯ พร้อมร่วมกันเผยแพร่และประชาสัมพันธ์โครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรฯที่จะจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ด้าน นายพีระ ไชยรุตม์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแล้วยังเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ในการนำสินค้าทางเกษตรและสินค้าพื้นบ้านมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน และพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรระหว่างทั้งสองหน่วยงานให้มีความยั่งยืนในอนาคต รวมทั้งช่วยขยายกลุ่มนักท่องเที่ยวให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

สำหรับฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาร์มโคนมที่ใหญ่และมีความสวยงามที่สุดของประเทศภายใต้อาณาจักรกว้างขวางหลายพันไร่ มีทุ่งหญ้าเขียวขจีล้อมรอบด้วยขุนเขาธรรมชาติสวยงาม ที่สำคัญเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทยและถือเป็นฟาร์มโคนมพระราชทาน ซึ่งเกิดจากสายพระเนตรที่กว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยราษฎร อยากให้มีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน จึงทรงมีพระราชดำรินำอาชีพการเลี้ยงโคนมเข้ามาในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ณ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์คแห่งนี้

ด้าน นางชุติภา เพชรพูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักอำนวยการ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า บขส.และอ.ส.ค. มีแนวคิดร่วมกันในการจัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป สามารถเดินทางไปท่องเที่ยว แบบไปเช้า-เย็นกลับ (ONE DAY TRIP) หรือเข้าร่วมกิจกรรมของ อ.ส.ค. ณ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ได้อย่างสะดวก โดย ปัจจุบัน บขส. มีรถโดยสาร เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี ให้บริการวันละ 8 เที่ยว(ไป-กลับ) สามารถรองรับผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะเดินทางไปยังเส้นทางดังกล่าวได้นอกจากนี้บขส. ยังสามารถให้บริการจัดทริปท่องเที่ยว ประชุมสัมมนา หรือ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ณ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์คด้วยรถโดยสารไม่ประจำทาง(รถเช่าเหมา)ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในราคามิตรภาพอีกด้วย

ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ สุขสมาน รองคณบดีฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์และพัฒนากายภาพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธาน cluster 4 ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในฐานะประธานกรรมการพร้อมด้วยคณะกรรมการอำนวยการถอดบทเรียนโครงการ U2T ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ลพบุรี – สิงห์บุรี จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่โครงการ U2T ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ในความดูแลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ณ ศาลาหมู่ 4 ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

การดำเนินงานโครงการ U2T ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เริ่มต้นเมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับนโยบายจากกระทรวง อว. โดยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม คณะมนุษยศาสตร์ สำนักบริการวิชาการ และหน่วยงานในพื้นที่ชุมชนตำบลหัวป่า เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรตำบล พัฒนาชุมชน พัฒนาที่ดิน กำนันตำบลหัวป่า ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน

จากการศึกษาศักยภาพของชุมชนเป็นที่มาของการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้เกิดการบูรณาการโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของพื้นที่ โดยมีกิจกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฐานเรียนรู้ข้าวปลอดภัย ศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัย 5 ฐาน คือ 1. ฐานเพาะกล้าและแปลงสาธิต 2. ฐานดินดีพร้อมปลูก 3. ฐานปุ๋ยหมักชีวภาพ 4. ฐานน้ำหมักชีวภาพ 5. ฐานการผลิตน้ำส้มควันไม้ โครงการถนนแม่ครัวหัวป่า โครงการขยะได้ไปต่อ โครงการส่งเสริมการเพาะเห็ดและผลิตก้อนเชื้อเห็ด การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ชุมชนซึ่งตราสัญลักษณ์นี้ได้นำมาเป็นสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์ชุมชนหัวป่า รองรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

ส่วนผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนที่แนะนำนักท่องเที่ยวซื้อหาเป็นของฝาก ได้แก่ ข้าวอินทรีย์ ข้าวหลาม แคปหมู น้ำพริก ขนมตาล นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาร่วมกับชุมชน ได้แก่แยมมะเขือเทศ มะเขือเทศอบแห้ง น้ำจิ้มสุกี้ เห็ดทอดปรุงรส น้ำพริกเห็ด แหนมเห็ด เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจท่องเที่ยวในชุมชนหัวป่า ซึ่งเป็นชุมชนที่มาของคำว่า “แม่ครัวหัวป่า”อย่าลืมลิ้มลองรสชาติของอาหารท้องถิ่นตำรับโบราณ ที่ผลิตจากวัตถุดิบต้นทางที่ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมซึ่งชาวชุมชนมีความภาคภูมิใจ ติดตามเส้นทางท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ กิจกรรมชุมชนได้ทาง Facebook หัวป่าน่าเที่ยว และช่อง YouTube U2T Huapa Channel หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่ผู้จัดการตำบล U2T สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร 0 2942 8822 ต่อ 404

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และองค์กรภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย ได้ร่วมมือกันจัดการเสวนาวิชาการเรื่อง “ผลจากสงคราม!!! วิกฤตปุ๋ยแพงกับแสงที่ปลายอุโมงค์: ทางเลือกทางรอดของเกษตรกรและผู้ค้าของไทย” เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์ราคาปุ๋ยที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน

โดยจัดในรูปแบบผสมผสาน คือ แบบออนไซต์ ณ ห้องรวงข้าว อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับผลจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ (สงคราม) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างมาก ซึ่งการเกษตรเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาของปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในปัจจัยการผลิตนั้นคือ ราคาของปุ๋ยที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จนอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย

โดยมี รศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานเปิดการเสวนา และ รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร กล่าวรายงาน

นายเทพวิทย์ เตียวสุรัตน์กุล ผู้แทนสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรไทย กล่าวว่านับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงช่วงก่อนที่รัสเซียเปิดปฏิบัติการทางการทหารต่อยูเครน ราคาปุ๋ยมีการปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ

1. ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของโลก เช่น จีนและรัสเซียเริ่มจำกัดการส่งออกปุ๋ย จากนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหาร
2. ห่วงโซ่อุปทานปุ๋ยเกิดปัญหา จากวิกฤตราคาพลังงานและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ค่าขนส่งสินค้าและราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย โดยเฉพาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
3. ประเทศจีนใช้มาตรการทางศุลกากร เพื่อจำกัดการส่งออกปุ๋ย ตั้งแต่ปลายปี 2564 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาและปริมาณปุ๋ยภายในประเทศ และ
4. ราคาปุ๋ยโพแทชปรับตัวสูงขึ้น หลังจากประเทศเบลารุสซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกโดนคว่ำบาตรในช่วงปลายปี 2564 โดยต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ราคาปุ๋ยปรับตัวขึ้นเกินเท่าตัว เช่น ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 จากกระสอบละ 500-600 บาท ปรับเพิ่มเป็น 1,300 บาท หรือปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตร 18-46-0 จากกระสอบละ 700 บาท ก็ปรับเพิ่มเป็น 1,500 บาท เป็นต้น

สำหรับช่วงหลังจากที่รัสเซียเริ่มเปิดปฏิบัติการทางการทหารต่อยูเครน และถูกมาตรการคว่ำบาตรจากนานาประเทศ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ก็ยิ่งซ้ำเติมทำให้ราคาปุ๋ยแพงขึ้นไปอีก เนื่องจาก

1. รัสเซีย คือ ผู้ส่งออกรายใหญ่ของแอมโมเนียและก๊าซธรรมชาติ ทำให้ต้นทุนการผลิตปุ๋ยเคมีในยุโรปปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ผลิตปุ๋ยในยุโรปเกือบทั้งหมดจำเป็นต้องหยุดการผลิตเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูง
2. การส่งออกปุ๋ยเคมีของรัสเซียได้รับผลกระทบจากการขนส่ง สกุลเงินที่ใช้ในการซื้อขาย และค่าประกันภัยทางเรือที่สูงขึ้น และ 3. ค่าขนส่งทางเรือปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้หากทำการประเมินสถานการณ์แบบร้ายแรงที่สุด (Worst-case scenario) คือ การคว่ำบาตรประเทศรัสเซียที่อาจยาวนานออกไปอีก 3-5 ปี และประเทศจีนอาจขยายระยะเวลาจำกัดการส่งออกปุ๋ย

ก็ย่อมส่งผลให้การส่งออกปุ๋ยจากจีน รัสเซีย และเบลารุส ยังคงมีอยู่อย่างจำกัดและเกิดความยากลำบากในการซื้อขาย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนปุ๋ย โดยเฉพาะฟอสเฟตและโพแทชในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 90 ของปุ๋ยเคมีที่ใช้อยู่ในประเทศทั้งหมด หรือประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งในปี 2564 ไทยมีการนำเข้าปุ๋ยจากรัสเซียและเบลารุสรวมกันมากถึง 7.1 แสนตัน

เป็นรองแค่ประเทศจีน 1.09 ล้านตัน และประเทศซาอุดีอาระเบีย 7.2 แสนตัน เท่านั้น นอกจากนั้นจะส่งผลให้ปุ๋ยในตลาดโลกมีราคาสูงอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่าที่เคยคาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ อาจารย์ประจำภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสนผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยเคมี ได้แก่ 1. ปุ๋ยไนโตรเจน คือ ถ่านหิน น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ 2. ปุ๋ยฟอสเฟต คือ หินฟอสเฟต 3. ปุ๋ยโพแทช คือ แร่โพแทช ทั้งนี้ปุ๋ยที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในการผลิต คือ ปุ๋ยโพแทช เนื่องจากมีปริมาณสำรองของแร่ประมาณ 407,000 ล้านตัน แบ่งเป็นแร่โพแทชคุณภาพดีหรือแร่ซิลไวท์ประมาณ 7,000 ล้านตัน และแร่โพแทชคุณภาพรองลงมาหรือแร่คาร์นัลไลท์ ประมาณ 400,000 ล้านตัน

ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีปัญหาอุปสรรคในการทำเหมืองโพแทช คือ ข้อกังวลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบเหมือง ทำให้มีการต่อต้านเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เช่น การเกิดมลพิษ สารปนเปื้อน ความปลอดภัยต่อสุขภาพ การทรุดตัวของดิน และเกลือ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีของประเทศไทย พบว่า ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีการจัดตั้งมาแล้ว 2 บริษัท คือ บริษัทปุ๋ยเคมี จำกัด (2506-2522) ที่เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งใช้ลิกไนต์เป็นวัตถุดิบ และบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ (มหาชน) จำกัด (2525-2547) หรือบริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลิตปุ๋ยเชิงประกอบทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ทั้ง 2 บริษัทก็ประสบภาวะขาดทุน จึงยุติกิจการผลิตปุ๋ยไปในที่สุด นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์

ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในเชิงวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น (0-1 ปี) ว่า ควรเน้นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยด้วยการปรับปรุงดินก่อนใส่ปุ๋ย/การแบ่งใส่ปุ๋ย/การใส่ปุ๋ยแบบฝังกลบ/การใช้ปุ๋ยกับระบบชลประทาน และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และหรือปุ๋ยชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี

การพัฒนางานวิจัยดินและปุ๋ยควบคู่ไปกับและการทวนสอบคำแนะนำการใช้ปุ๋ยก่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ตรงกับพันธุ์พืชใหม่และสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งการใช้ปุ๋ยชนิดใหม่ เช่น ปุ๋ยที่มีการเคลือบผิวด้วยเรซิน ปุ๋ยละลายช้า และปุ๋ยที่เคลือบด้วยสารยับยั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ เป็นต้น ระยะกลาง (1-5 ปี) ควรมีการพัฒนาระบบการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตแม่ปุ๋ยที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและราคาถูกกว่าการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยเฉพาะปุ๋ยโพแทช

ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ควรมีการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศไทยที่อาศัยกรรมวิธีการผลิตแม่ปุ๋ยที่มีต้นทุนต่ำลง การเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีโดยการพัฒนาวัสดุเคลือบเม็ดปุ๋ยหรือชะลอการสูญเสียธาตุอาหารของปุ๋ยเคมี การพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่ช่วยในการตรึงไนโตรเจนหรือละลายฟอสเฟตในดิน และการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สอดคล้องกับทางกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตร โดย นางสาวจรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร ได้ให้แนวทางการแก้ไขผลกระทบจากราคาปุ๋ยแพงผ่านการประยุกต์องค์ความรู้ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ 1. ระบบเกษตรเคมี เน้นการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตพืชและการใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารในดินอย่างง่าย เช่น ชุดตรวจสอบอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นต้น

นอกจากนั้นทางกรมวิชาการเกษตรกำลังพัฒนาชุดตรวจสอบอื่น ๆ เช่น ชุดตรวจสอบแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และเหล็ก เป็นต้น เพื่อให้การจัดการดินและปุ๋ยที่เกี่ยวข้องกับธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ระบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรแบบผสมผสาน เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยหมักเติมอากาศ การใช้แหนแดง การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม และการใช้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซา เป็นต้น นอกจากนั้นทางกรมวิชาการเกษตร ยังมีส่วนงานที่คอยกำกับดูแลการดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปุ๋ย ได้แก่ การผลิต การจำหน่าย และการควบคุมคุณภาพอีกด้วย เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ

ด้าน นางสาวปนัดดา ทิพยะรัตน์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่ากรมส่งเสริมการเกษตรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยแก่เกษตรกรผ่านศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จำนวน 882 ศูนย์ ใน 77 จังหวัด ผ่านการดำเนินกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ เช่น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยผ่ายแปลงเรียนรู้/สาธิต การบริการตรวจวิเคราะห์ดิน การแปลผลวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ย และรวบรวมความ ต้องการปุ๋ยและบริการจัดหาปุ๋ยให้แก่สมาชิก เป็นต้น

โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความรู้เรื่องดินและปุ๋ยของเกษตรกร ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และขยายผลการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างในปี 2562 สมาชิก ศดปช. จำนวน 17,640 ราย ได้นำเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยสั่งตัดไปใช้ในพื้นที่ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา พืชผัก และไม้ผล ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.2 แสนไร่ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 11.4% และลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ยร้อยละ 24.8 คิดเป็นมูลค่ากว่า 51 ล้านบาท

นอกจากนี้ นางสาวปนัดดา ทิพยะรัตน์ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการเร่งรัดแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาสูงและไม่มีเสถียรภาพ สำหรับปี 2565 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไว้ ดังนี้ 1. สร้างช่องทางให้เกษตรกรเข้าถึงปุ๋ยเคมีราคาถูก เป้าหมายที่ 2.5 ล้านตัน 2. การผลิตปุ๋ยชนิดอื่น ๆ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีลงบางส่วน ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และวัสดุอินทรีย์ ปริมาณ 5.4 ล้านตัน 3. การพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ

4. ให้ทุกหน่วยงานเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูง ตามหลัก “4 ถูก” คือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา ถูกวิธี ทั้งนี้ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน โครงการรณรงค์การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ และโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชนแบบ One Stop Service ให้มีเพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งไปที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.)

บางแห่งที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจบริการวิเคราะห์ดิน จำหน่าย และผสมปุ๋ย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มการพึ่งพาตนเองให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันได้ดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยฯ กับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จำนวน 394 ศูนย์ ใน 63 จังหวัด ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และสามารถลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ยร้อยละ 37 คิดเป็นมูลค่ากว่า 244 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณกว่า 5.9 หมื่นตัน ในพื้นที่ 1.3 ล้านไร่

อย่างไรก็ตามการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ยังต้องอาศัยการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไป ได้แก่ การวิจัยคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชพันธุ์ใหม่ ๆ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ด้านราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิต การพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ดินมาตรฐาน การเข้าถึงข้อมูล

สารสนเทศที่จำเป็นทางการเกษตร สมัครพนันออนไลน์ และการบริการทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง โดยเกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและควรใช้องค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วมาใช้ร่วมกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ก็ควรมีการประสานความร่วมมือกันให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ดีมากขึ้น รวมทั้งทางรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรเร่งการพัฒนาโอกาสในการผลิตปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยโพแทชที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้ออำนวยอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นต้น

จากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่สร้างผลกระทบ

ต่อประเทศชาติ และประชาชนในทุกหมู่เหล่า ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยพสกนิกรและพระราชทานแนวนโยบายให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ติดต่อจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดเพื่อช่วยเหลือรัฐบาลในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน โดยเฉพาะการช่วยเหลือราษฎรผู้ด้อยโอกาส

ผู้พิการ และผู้ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อีกทั้งยังทรงห่วงใยต่อสถานการณ์แพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในชุมชนและแรงงานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยารักษาโรคโควิด 19 อาจมีจำนวนไม่เพียงพอ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จึงทรงมีพระวินิจฉัยให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เม็ด

เพื่อพระราชทานแก่กรุงเทพมหานคร ในการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นมา ทรงมีพระดำรัสพระราชทานกำลังใจแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานช่วงวิกฤตโควิด 19 ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เป็นกำลังหลักทุ่มเทดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อย่างเต็มกำลังความสามารถ อีกทั้งต้องรับภาระและความเสี่ยงสูงในการเป็นแนวหน้าต่อสู้กับสถานการณ์ดังกล่าว และพระราชทานกำลังใจแก่ประชาชนและผู้ป่วยให้หายดี

กลับมาใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัวอันเป็นที่รักได้โดยเร็ว รวมถึงโปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรุงเทพมหานคร จัดหน่วยฉีดวัคซีนโควิด 19 ภาคสนาม ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ในน้ำพระทัยและความห่วงใยที่มีต่อปวงชนชาวไทยท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด 19

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงรับการถวายรางวัล“ IUTOX 2013 Merit Award” จากสหภาพพิษวิทยานานาชาติ ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการด้านพิษวิทยานานาชาติ ครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงานที่ทรงอุทิศพระองค์ในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านพิษวิทยา และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสารเคมีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยเฉพาะเอเชียอาคเนย์ ที่ได้ทรงดำเนินการมานับตั้งแต่ทรงสถาปนาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ส่งผลให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme/UNEP) แต่งตั้งให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ทรงเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ได้ทรงพระอุตสาหะพระราชทานการเรียนการสอนแก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน ทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” ทางปรีคลินิก ที่ทรงพระปรีชาสามารถทั้งทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์เชิงประยุกต์ ทรงใส่พระทัยในการเรียนการสอน จึงเป็นที่เคารพรักของนักศึกษาแพทย์ในทุกยุคทุกสมัย โดยทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอนุชีววิทยาของโรคมะเร็ง และพิษวิทยา ทรงสอนนักศึกษาแพทย์ในรายวิชาต่าง ๆ ทรงสอนวิชาชีวเคมีและพิษวิทยาแก่นักศึกษาใน มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรือ ทั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหพันธรัฐเยอรมนี เป็นต้น

ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระกรณียกิจที่กอปรด้วยพระกรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระราชทานแก่วงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และของโลกในด้านชีวเคมีดังกล่าว รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยทางด้านชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งวิทยาและพิษวิทยา

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงขอมติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีวเคมี แด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สืบไป

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เตรียมจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน“พันธุกรรมสร้างชีวิต” เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม พร้อมเปิดโซนใหม่เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ “ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง” ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯจ.ปทุมธานีระหว่าง 1- 3 เม.ย 65 นี้

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพวันที่ 2 เมษายนนี้

ตลอดจนต้องการสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชน ประชาชนได้รู้จักรักและหวงแหนในพันธุกรรมท้องถิ่นดังพระราชกระแสรับสั่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “การรักทรัพยากร คือการรักชาติ รักแผ่นดิน” เกิดแรงบันดาลใจในการรักษาไว้เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติของไทยมีความอุดมสมบูรณ์อย่างมั่นคง และยั่งยืน พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯเตรียมจัดงานนิทรรศการหมุนเวียน“พันธุกรรมสร้างชีวิต” พร้อมด้วยเปิดให้เข้าเรียนหลักสูตรการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการฟรี

อิ่ม อร่อย ชม ช้อป สินค้าเกษตรอินทรีย์จากร้านค้าเครือข่ายและภาคีความร่วมมือจากทั่วประเทศ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2565 นี้ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯจ.ปทุมธานีในรูปแบบ Onsite ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี และทาง Online ผ่านทาง Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

นอกจากนี้ ในการจัดงานในครั้งนี้ยังเตรียมเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ “ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง” พื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” พระราชปณิธาน ด้านการเกษตร และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางเหมาะสำหรับการจัดงานเพื่อรองรับพี่น้องประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019อีกด้วย

พลอากาศเอก เสนาะ ได้กล่าวถึงกิจกรรมสำคัญภายในงานด้วยว่า ประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเผยแพร่พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม นิทรรศการพันธุกรรมสัตว์ท้องถิ่น และนิทรรศการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จัดแสดง 7 ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมพืช พันธุกรรมสัตว์ อาทิ พันธุกรรมมั่งคั่ง อาหารยั่งยืน แมลงเศรษฐกิจกู้วิกฤตโปรตีนโลก สัตว์เลี้ยงทำเงิน พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนฟร เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากประสบการณ์ของวิทยากรผู้มากความสามารถ ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 10 หลักสูตร เช่น หลักสูตรกัญชา พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ โดยอาจารย์ นพ.สมยศ กิตติมั่นคง แพทย์ประจำโรงพยาบาลบางโพ กรุงเทพฯ หลักสูตร การผลิตมูลไส้เดือนด้วยวัสดุในบ้าน โดย ผศ.ดร.วิยดา กุนทีกาญจน์ และผศ.ดร.ทรรศวรรณ ทิพยวรการกูร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หลักสูตรการเลี้ยงไก่ไข่และไก่เนื้ออินทรีย์

โดยอาจารย์อำนาจ เรียนสร้อย แทนคุณ ออร์แกนิคฟาร์ม จ.นครปฐม และหลักสูตรพรรณไม้แปลกที่ควรปลูก โดยอาจารย์วีระยุทธ ศรีเลอจันทร์ (ทอง ธรรมดา) ศูนย์เรียนรู้เพชรพิมาย จ.นครราชสีมา เป็นต้น โดยจำกัดผู้เข้าร่วมอบรม 30 คนต่อวิชา ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรับชมบรรยากาศการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

พร้อมชม ช้อปตลาดเศรษฐกิจพอเพียงพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สินค้า ผลผลิตเกษตรปลอดภัยที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ รวมถึงอาหารพื้นบ้านคาวหวานทั้ง 4 ภาค ที่มากด้วยคุณภาพจากผู้ผลิต ราคาเป็นกันเองกว่า 200 ร้านค้าพิเศษ ภายในงานมีการแจกพันธุกรรม “เบญจรงค์ 5 สี” ให้ประชาชนผู้มาร่วมงานกว่า 1,000 ต้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการร่วมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป

พร้อมกล่าวย้ำ การจัดงานในครั้งนี้ยังคงคุมเข้มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดผู้เข้าเยี่ยมชมงานจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม หรือมีผลตรวจ ATK โดยแสดงหลักฐานประกอบภายใน 72 ชั่วโมง พร้อมตรวจวัดอุณหภูมิทุกครั้งก่อนเข้าร่วมงาน และลงทะเบียนก่อนเข้าสถานที่ด้วย Application ไทยชนะหรือสมุดสำหรับลงทะเบียน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

วันที่ 28 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวร้านค้า THE PREMIUM @ KU เฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นร้านค้าจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต้นแบบครั้งแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดสอบระบบการจัดทำตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ของมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีผลงานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านสินค้าเกษตร แบบครบวงจร 360 องศา มุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคการเกษตร สิ่งแวดล้อม และสังคมไทย ภายใต้นโยบายเชิงรุก KUniverse ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านสินค้าเกษตรคุณภาพสูงและบริการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม BCG Model ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรและอาหารคุณภาพของภูมิภาคเอเชียและของโลก โดยมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยี XR หรือ Extended Reality ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่รวมเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน

(Virtual Reality – VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality – AR) และ มิกซ์เรียลริตี้ (Mixed Reality – MR) เข้าด้วยกัน มาช่วยในการบริหารจัดการร้านค้า เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้าได้อย่างเหนือจินตนาการ นอกจากนี้ เทคโนโลยีเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ ยังสามารถเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ ผลผลิตของชุนชน เกษตรกร Smart farmer, AgriPrenuer และ SME ได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ สร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งสู่พัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ร้านค้า THE PREMIUM @ KU เป็นรูปแบบร้านค้าที่ส่งมอบคุณค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จากผลงานค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ของหน่วยงานภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทั้งหมดในร้าน THE PREMIUM @ KU เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ที่มีมูลค่าเพิ่ม และคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค

สร้างความยั่งยืนให้กับสังคม และเศรษฐกิจ ในอนาคต ผมเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็นบรรทัดฐานของร้านค้าแห่งคุณภาพ และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานของสังคมไทย และระดับนานาชาติ นับว่าเป็นการเปิดมุมมองความคิดร้านค้าจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต้นแบบ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อสุขภาพของคนไทย

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภาคการเกษตร สิ่งแวดล้อม และสังคมไทย มากกว่าที่จะเน้นเพียงยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ก้าวเดิน ไปสู่องค์กรแห่งการให้ เพื่อความสุข ความยั่งยืนของสังคมไทยอย่างแท้จริง จากปรัชญาแนวคิด KUniverse ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายเชิงรุกที่เรียกว่า KUniverse เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานทุกหน่วยงานให้สนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยตาม BCG Model โดยอุตสาหกรรมการเกษตร จัดเป็นส่วนสำคัญที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศไทย ทั้งนี้ BCG Model ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถูกขับเคลื่อนในจักรวาล KUniverse ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกเศรษฐกิจ

เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Enhancing Our Quality of Life and the Environment) ด้วยบทบาทสำคัญ 7 ประการ ได้แก่ 1). สร้างองค์ความรู้ให้นิสิต เกษตรกร และผู้ประกอบการ 2). มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของ SMEs และเกษตรกรรม 3). บริการรับรองคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ ของสินค้าและบริการ 4). ติดอาวุธให้เกษตรกร และผู้ประกอบการผ่านงานบริการวิชาการ และปรึกษา 5). สร้าง KU Market Place ที่ใช้หลักการเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 6). สร้าง KU Business Ecosystem พร้อมทั้งผนึกกำลังการส่งเสริมผ่าน ทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 7). จัดตั้ง Spin-Off Company ภายใต้ KU Holding Company เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สนับสนุนภาคเอกชนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับร้านค้า THE PREMIUM @ KU ถือเป็นก้าวแรกของการจัดทำรูปแบบร้านค้าจำลองเพื่อทดสอบระบบการจัดทำตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเชื่อมโยงทุกหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัย ที่มีผลงานวิจัย และนวัตกรรมทางด้านสินค้าเกษตร ในระยะถัดไปจะมีการเชื่อมโยงกับสินค้าของเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐาน KU Standard เข้ามาเพิ่มในระบบอีกด้วย และการดำเนินงานครั้งนี้จะนำไปสู่บทเรียนแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการทำธุรกิจตลาดสินค้าเกษตรขนาดย่อม ซึ่งอาจเติบโตไปถึงขนาดใหญ่ในอนาคต ที่สามารถยกระดับสู่การวางแผนการดำเนินงานของการศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ด้านถนนวิภาวดีรังสิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

ในอนาคตสินค้าของมหาวิทยาลัยจะถูกบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการคุณภาพสูงด้านเกษตรและอาหารแบบครบวงจร 360 องศา มีระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพขั้นสูง KU quarantine ด้วยการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และการผลิต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย สอดคล้องรองรับกับการจัดงานต่าง ๆ เพื่อยกระดับสินค้า และผลิตภัณฑ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงจากแหล่งกำเนิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภาคีเครือข่ายคณะทำงานนโยบายบูรณาการส่วนงานเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

อาทิ คณะเกษตร คณะเกษตรกำแพงแสน คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตร และนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่

ส่วนร้านอาหาร KU KIN DEE U-DEE “เคยู กินดีอยู่ดี” นั้น เปิดขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่อาจารย์ บุคลากร นิสิต และบุคคลทั่วไป โดยใช้วัตถุดิบชั้นดีมีคุณภาพจากกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือเกษตรกรและผู้ผลิตที่มีอยู่กับคณะ สถาบัน และสถานีวิจัยต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการโดยภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านคหกรรมศาสตร์ อีกทั้งเป็นต้นแบบของการดำเนินการที่บูรณาการความรู้และเครือข่ายอย่างครบวงจร เพื่อเผยแพร่อาหารไทย อาหารนานาชาติ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ในรูปแบบของ food street ร้านอาหาร และ food delivery ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารคุณภาพของภูมิภาคเอเชียและของโลกและเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ร้านค้า THE PREMIUM @ KU ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ KU AVENUE ประตูงามวงศ์วาน 3 เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00 -17.00 น. และจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ ผ่าน http://www.kubookol.com / โดยนำสินค้าเกษตรคุณภาพสูงและโดดเด่นด้วยนวัตกรรมงานวิจัย จากทุกวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มารวมไว้ให้บริการ อาทิ เครื่องดื่มจากน้ำส้มสายชูผสมน้ำผลไม้หมักจากธรรมชาติ ช่วยในการย่อยอาหาร เครื่องดื่มน้ำกัญชาโซดาคร้าฟ เครื่องดื่มคร้าฟโซดากลิ่นโซจู รสเหล้าบ๊วยสูตรกัญชาพิเศษ ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงร่างกาย ทำให้หลับลึก และชะลอการสะสมของไขมันและน้ำตาลในเลือด กรีกโยเกิร์ตเสริมพรีไบโอติก ช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เป็นปกติ ลูกชิ้นหมูแท้ ไส้กรอกไก่รมควัน ไก่จ๊อ ปราศจากผงชูรส และสารกันเสีย เนื้อโคขุนอบกรอบ เนื้อโคพันธุ์กำแพงแสน ผักผลไม้อบกรอบด้วยนวัตกรรมเครื่องทอดสูญญากาศ ไข่ทองคำ ข้าวโพดสีม่วง น้ำนมข้าวโพดหวานไร่สุวรรณ นมเกษตร ไอศกรีม เป็นต้น

ผศ.ดร.คมสัน โสมณวัตร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มียุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการชั้นนำ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่ม Startup และ OTOP เพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน สร้างอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงได้ร่วมมือกับชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เปิดตัว “ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี บ้านเชียง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดเรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าภูมิปัญญาการปั้นหม้อเขียนสีเอกลักษณ์บ้านเชียง ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี เป็นกลุ่มอาชีพหนึ่งของตำบลบ้านเชียง โดยเน้นผลิตเครื่องปั้นดินเผาอย่างครบวงจรที่สืบสานวิธีการหรือกระบวนการดั้งเดิม ตั้งแต่การปั้น เผา เขียนลายเขียนสี และต่อยอดพัฒนาเครื่องปั้นดินเผานั้นให้เป็นของที่ระลึกสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณะที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการร่วมกันนำองค์ความรู้และงานวิจัยไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพมาตรฐาน

มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ การหาช่องทางการจัดจำหน่าย ไปจนถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในร้านค้าปลีกของกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าให้มีมาตรฐานสากลและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ยกระดับไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และ สำหรับผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ ข้อมูลด้านองค์ความรู้ต่างๆ สามารถติดตามผลงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ทาง www.ird.ssru.ac.th และ www.ssru.ac.th อีกด้วย ผศ.ดร.คมสัน กล่าว

ด้าน นายชาตรี ตะโจประรัง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปั้นหม้อเขียนสี บ้านเชียง กล่าวว่า กลุ่มปั้นหม้อเขียนสีบ้านเชียงมีการทำเครื่องปั้นดินเผามานานแล้ว เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น แต่พอทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้นำองค์ความรู้ต่างๆ มาสอนให้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การปั้น การลงสี การเผา รวมทั้งมาสร้างเตาเผาใช้พลังงานลมทดแทน ใช้เทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิ ช่วยร่นระยะเวลาในการเผาจากเดิมที่ต้องใช้เวลาเป็นวันเหลือเพียง 5 ชั่วโมง และยังทำให้เครื่องปั้นดินเผามีความแกร่งแข็งแรง ลดอัตราการสูญเสียลงได้เกือบ 100% นอกจากนี้ ยังช่วยหาช่องทางการตลาด ทำให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจอยากมาศึกษาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนชาวบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแหล่งวัฒนธรรม หรือมาเรียนรู้วิธีการปั้นเครื่องปั้นดินเผา ติดต่อได้ที่ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด หรืออุดหนุนสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่เพจเฟสบุ๊ค : ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี โทร. 089-4210068

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายทรงศักดิ์ วลัยใจ นายอำเภอพร้าว นายสุริยะ คำปวง สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ นายไพโรจน์ มหาวัน ประธานกรรมการสหกรณ์ฯ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด ตำบลโหล่งขอดสามัคคี อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบอุปกรณ์การตลาด สิ่งก่อสร้าง อาทิ รถแทรกเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องอบลดความชื้นพร้อมโรงคลุม เครื่องชั่งรถบรรทุกพร้อมอุปกรณ์และห้องควบคุม รถตักล้อยาง รถยกพาเลท โกดัง และลานตากคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายใต้โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม การแปรรูป ของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร

ปีงบประมาณ 2564 ให้แก่สถาบันเกษตรกร 8 แห่ง ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ จำกัด สหกรณ์โคนมแม่ออน จำกัด สหกรณ์โคนมสันกำแพง (ป่าตึงห้วยหม้อ) จำกัด สหกรณ์การเกษตรแม่แจ่ม จำกัด สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด สหกรณ์การเกษตรดอยสะเก็ด จำกัด สหกรณ์การเกษตรฝาง จำกัด และสหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง จำกัด รวมมูลค่า 65,602,783 บาท ทั้งนี้ สหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด ได้ขับเคลื่อนงานนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้านการพัฒนาสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็ง

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อก่อสร้างลานตาก คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ไม่น้อยกว่า 3,200 ตารางเมตร เพื่อใช้รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ข้าว มันฝรั่ง ลำไย มะม่วงของสมาชิกสหกรณ์และเกษตรทั่วไป ซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างหมุนเวียนตลอดทั้งปี ส่งผลให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งมีการวางแผนการใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างให้มีความคุ้มค่าสูงสุด ช่วยเหลือสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงต่อไป

“ขอชื่นชมสหกรณ์การเกษตรโหล่งขอดสามัคคี จำกัด และสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายที่สำคัญของกรมส่งเสริมสหกรณ์ด้วยดีเสมอมา สหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ได้ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและงานเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลได้หลายเรื่อง เช่นโครงการปรับโครงสร้างการผลิต

การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้สหกรณ์แม่ข่าย สหกรณ์ลูกข่ายขั้นกลาง และขั้นต้น เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมจัดเก็บและแปรรูป จำหน่าย กระจายผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน มีการให้บริการสมาชิกเพื่อลดต้นทุน และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ รวมถึงลดการใช้สารเคมีอันตรายและส่งเสริมให้มีการผลิต การตลาด สินค้าเกษตรปลอดภัย “

“โครงการลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เพื่อสนับสนุนให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ หรือบุคคลทั่วไปที่ไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด โดยมีสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่คอยเป็นพี่เลี้ยง ตลอดจนการจัดหาตลาดรองรับ นโยบายตลาดนำการผลิตเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเป็นไปตามความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภคปลายทาง

โครงการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงสินค้าเกษตร ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ รวมถึงเครือข่ายสหกรณ์ด้วยกันเอง ขอเชิญชวนสหกรณ์ทุกแห่งร่วมกันพัฒนาสหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็ง ช่วยกันส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัย มีคุณภาพ ลดการใช้สารเคมี ช่วยกันขับเคลื่อนงาน เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มและมีความมั่นคงในอาชีพ อีกทั้งให้มีการวางแผนการใช้ประโยชน์ จากโครงการที่รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนให้เต็มศักยภาพ” รมช.มนัญญา กล่าว

จากนั้น ได้พบปะหัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ที่มารอต้อนรับ และเยี่ยมชมนิทรรศการการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ฯ และบูธจัดแสดงสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร ได้แก่ และพบปะเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพทางการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย นำโดย นายสถาพร คิดไชย อายุ 47 ปี นำผลผลิต ปลากดหลวงรมควัน ผักผลไม้อินทรีย์ ซึ่งผลผลิตได้รับรอง PGS (Participatory Guarantee Systems)

เป็นระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม รับรองคุณภาพที่มุ่งเน้นการรับประกันคุณภาพในท้องถิ่น ตนเองเริ่มทำเกษตรปี 2557 ทำไร่นาสวนผสม อาทิ มันเทศญี่ปุ่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวจ้าวมะลิ 105 คะน้า ผักกาด ลำไย มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง และประมงน้ำจืด เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกระบือ ทำเกษตรแบบอินทรีย์มีตลาดและสามารถจำหน่ายผ่านบูท งานแสดงสินค้า ตลาดออนไลน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรและประมง สร้างรายได้พอเพียงตลอดปี

ด้าน นางสาวพัฒนา ขจรศรี อายุ 45 ปี นำสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ มะม่วง มัลเบอรี่ผลสด แยมผลไม้ ชาผลไม้ มาร่วมจัดจำหน่าย ตนเองมีพื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอพร้าว ทำการปลูกพืชผสมผสานสลับหมุนเวียน ปลูกข้าวจ้าวไร่ พืชผักสวนครัว ลำไยอีดอ ลำไยสีชมพู มะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงงาช้างแดง และแปรรูปสินค้าการเกษตรจากผลผลิตในสวน

ปัจจุบันมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตนเอง คาสิโนออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตในสวนให้มีราคาตามที่ตลาดต้องการ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลผลิต หน่อไม้ฝรั่ง ลูกหมูดำ หมูแม่พันธ์ ของนางสาวทิพวรรณ นาวิเคาะ ผลผลิต ข้าวเหนียวหอม ผักอินทรีย์ มะม่วง ของนายสมบัติ มั่งคำ และผลผลิต กระเทียมดอง มะม่วงแช่อิ่ม ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. ของนายวรชัย ทองคำฟู