ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ดันโปรเจ็กต์ “เกษตรอัจฉริยะ 2 ปี ทำน้อยได้มาก”

“เฉลิมชัย” ทุ่มกว่า 2 หมื่นล้าน ยกเครื่องแผนภาคเกษตร ดึงเอกชนเทคโนโลยี ปั้นโปรเจ็กต์ “เกษตรอัจฉริยะ 2 ปี ทำน้อย ได้มาก” หวังเพิ่มราคาสินค้าไม่ต่ำกว่า 3% พาเกษตรกรพ้นความจน 20% ปลดล็อค หนี้สิน พ้นวิกฤตโควิด ลั่นปีงบฯใหม่ดันงานวิจัย พัฒนาบุคลากร ยังปัดตอบแผนทำงาน 4 หน่วยงาน “ปลัด” ชี้โควิด-19 ภาคเกษตรดันจีดีพีไทย เป็นภาคเดียวที่ไม่ติดลบ พร้อมเดินหน้าสร้างความมั่นคงเรื่องอาหารได้

วันที่ 7 ตุลาคม 2564 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 แก่เกษตรจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร

มีเป้าหมายสำคัญให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ทั้งนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปีให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

“ผมได้สั่งงานให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรฯ ในการขับเคลื่อนแผนงานนี้ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ได้มีการขอไปทางฝ่ายแผนให้บรรจุงบประมาณในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะลงไปในปีงบประมาณ 2566 ด้วย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ ทุกหน่วยต้องช่วยกัน ทั้งในส่วนของภาครัฐ ดึงงานวิจัย พัฒนาบุคลากร ภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ หากรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โครงการนี้เราจะเดินไปเก็บเกี่ยวผลสำเร็จในอนาคตข้างหน้าร่วมกัน เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่กระทรวงฯ หวังไว้อยากให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกษตรกรพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวสอบถามนายเฉลิมชัยถึงประเด็นการแบ่งงานปีงบประมาณ 2565 ของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 2.กรมพัฒนาที่ดิน 3.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และ 4.องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) นายเฉลิมชัยยังปฏิเสธการให้สัมภาษณ์

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในส่วนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565-2566 โดยกระทรวงเกษตรฯร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานภายนอกกว่า 200 คน ทั้งจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยมีเป้าหมายแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะระยะโครงการ 2 ปี ดังกล่าวอยู่ภายใต้งบประมาณมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยให้พ้นกับดักความยากจน ลดจำนวนเกษตรกรที่อยู่ภายใต้เส้นความยากจนที่มีรายได้ประมาณ 3,000 บาท/ปี ลงปีละประมาณ 10% หรือเฉลี่ย 2 ปีเกษตรกรที่มีความยากจนจะลดลงประมาณ 20% จากปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาผลผลิตภาคเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3% ผลักดันให้จีดีพีภาคเกษตรให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในจีดีพีของประเทศ เพื่อให้ภาคเกษตรไทยสามารถค้ำจุนเศรษฐกิจของประเทศได้ ซึ่งขณะนี้จีดีพีภาคเกษตรมีสัดส่วนประมาณ 5.8% ของจีดีพีประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเร่งขับเคลื่อนภาคเกษตรให้เติบโตได้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ทำน้อยได้มาก จะดำเนินการโดยการทำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่คนส่วนใหญ่ต้องทำงานที่บ้าน ลดการสัมผัสใกล้ชิดกัน แต่ภาคเกษตรต้องเดินหน้าสร้างความมั่นคงด้านอาหาร หลังจากการระบาดของโควิด-19 ภาคเกษตรแม้จะมีการเติบโตน้อยลง แต่น่าจะเป็นภาคเดียวที่ไม่ติดลบ ยังเดินหน้าสร้างความมั่นคงเรื่องอาหารได้ ดังนั้นงบประมาณที่จัดสรรมาจะนำไปใช้ทั้งเรื่องของการวิจัย การพัฒนาคน และยกระดับสินค้าการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยความคืบหน้าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เดินหน้าสนับสนุนเกษตรกรทั่วประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นแนวทาง ในขณะนี้เกษตรกรได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคงในอาชีพในพื้นที่ 2,159 ตำบล 508 อำเภอ 70 จังหวัดทั่วประเทศ

วันที่ 8 ตุลาคม 2564 นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่นๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาหาร มีอาชีพ มีความอุดมสมบูรณ์ มีความอบอุ่นจากครอบครัว แล้วความสุขตามวิถีชีวิตพอเพียงก็จะเกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นทางรอดของเกษตรกรไทย เพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

จากการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2564 เกษตรกรได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคงในอาชีพทำเกษตรกรรมยั่งยืนและมีแปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่ 2,159 ตำบล 508 อำเภอ 70 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับอาชีพเกษตรกร และส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกษตรกรจะมีความรู้ความเข้าใจ และเรียนรู้แนวคิด หลักการ และรูปแบบของเกษตรทฤษฎีใหม่ในการบริหารจัดการน้ำ เรียนรู้การจัดทำแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยคำนึงถึงการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่สามารถสร้างแหล่งอาหารของครัวเรือน ผลผลิตที่สามารถจำหน่ายสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตให้มากที่สุด โดยขณะนี้โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ดำเนินงานรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และปรากฏผลเป็นรูปธรรมในพื้นที่เกษตรกรหลายแห่งทั่วประเทศ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งจะสรุปผลสำเร็จและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการในภาพรวมอีกครั้งหนึ่ง

ในการดำเนินโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระดมพลังทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เพื่อทำงานประสานสอดคล้องกัน ให้มีประสิทธิภาพที่สุดในการสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในทุกๆ ด้าน ในด้านการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านเกษตรทฤษฎีใหม่

ในด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิตก็ได้มีการสนับสนุนวัสดุปรับปรุงบำรุงดินแก่เกษตรกร เช่น น้ำหมักชีวภาพ พืชปุ๋ยสด ฯลฯ สนับสนุนพันธุ์ปลาและอาหารสัตว์น้ำ สนับสนุนพันธุ์พืช ทั้งไม้ผล เมล็ดพันธุ์ผัก สมุนไพร ฯลฯ สนับสนุนพันธุ์สัตว์ เช่น ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง และปัจจัยการผลิตเพื่อทำอาหารสัตว์

นอกจากนั้นยังมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบภาพยนตร์สั้น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ บทความทางหนังสือพิมพ์ เป็นต้น รวมไปถึงการจัดทำสื่อออนไลน์ เช่น Youtube Channel, Twitter Account และ Facebook Fanpage กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เปิดช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่

ตามช่องทางต่าง ๆ เช่น Call Center, Face Book, Line, WEB Site เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูล แจ้งปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะ ในการดำเนินโครงการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน ซึ่งผลการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่มีต่อประเด็นสื่อสารสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ มีผลการสำรวจการรับรู้ถึงร้อยละ 91.8

“เราได้มีการติดตามและประเมินผล ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อติดตามความสำเร็จของงาน และหาโอกาสในการปรับปรุงเพื่อให้การปฏิบัติงานของโครงการดีขึ้น กระทรวงเกษตรฯ มั่นใจว่าโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ นอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืนอีกด้วย”

คุณหญิงกัลยา ให้ความมั่นใจเรียนจบเกษตรมีงานทำทุกคน เตรียมยกระดับ 47 วิทยาลัยเกษตร เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เชื่อเป็นหัวหอกสำคัญนำพาประเทศก้าวฝ่าวิกฤตทุกเรื่อง

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหารกระทรวงฯ ร่วมเปิดงานโครงการ “MCAT FARM และ K FARM Koffee” และเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้ Excellent Center ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

โดยคุณหญิงกัลยา กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีความมุ่งมั่น ที่จะยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) ทั้ง 47 แห่งทั่วประเทศ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างโอกาส และผลิตผู้ประกอบการ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการเกษตรแต่ละพื้นที่ ผนวกกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะและเสริมสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพ โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรให้มีอาชีพที่มั่นคง สร้างผู้ผลิต สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่

นอกจากนี้จะผลักดันในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านการเกษตรรูปแบบใหม่ไม่เฉพาะแต่ภายในประเทศเท่านั้นแต่จะเปิดโอกาสให้ต่างประเทศที่สนใจเข้ามาเรียนรู้เรื่องการเกษตรครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเชิงพาณิชย์ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบของธุรกิจท่องเที่ยว โดยใช้ “เกษตรนำ ท่องเที่ยวตาม” ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในวิทยาลัยเกษตรฯ มาผนวกกับการท่องเที่ยวเกษตรผสมผสานด้วยระบบการบริหารจัดการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากร นักเรียน นักศึกษา

สำหรับโครงการ “MCAT FARM และ K FARM Koffee” ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคามนี้ถือเป็นโมเดลต้นแบบให้กับวิทยาลัยเกษตรฯ ทั้งหมด ในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนมีชีวิต พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption ให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี สามารถพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการมืออาชีพ มั่นใจว่าเรียนเกษตรจบมามีงานทำทุกคน และอาชีพเกษตรต่อไปจากนี้เชื่อว่าจะเป็นหัวหอกสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวฝ่าวิกฤตทุกเรื่องไปได้

ด้าน ดร.ศุภชัย ศรีหล้า ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการ “MCAT FARM และ K FARM Koffee” ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม นอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางเกษตรที่สำคัญสำหรับประชาชนในเขตจังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง ทั้งยังเป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและเป็นแหล่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งที่เป็นแบบอย่างในการจัดการศึกษา โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับบริษัท เค ฟาร์ม คอฟฟี่ จำกัด ที่ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผู้เรียนเกิดทักษะและความมั่นคงในกาประกอบอาชีพ

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-12 พฤศจิกายน 2021 ซึ่งมีผู้นำทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ พร้อมผู้เข้าร่วมประชุมอีก 25,000 คน ได้ปิดฉากลงไปแล้ว

บทสรุปจากเวทีครั้งนี้มีพันธสัญญาร่วมกันว่าจะจำกัดการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ละประเทศจะต้องไม่ตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 และระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 หรืออีก 29 ปีข้างหน้า และต้องลดการปล่อยก๊าซมีเทนลง 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับระดับปี 2020

อย่างไรก็ดี ผู้สันทัดกรณียังมองว่าคำมั่นสัญญาดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขายฝัน เพราะในความเป็นจริงทุก 1 องศาเซลเซียสที่สูงขึ้น ปริมาณน้ำในอากาศจะเพิ่มขึ้น 7-10 เปอร์เซ็นต์ และในอนาคตฤดูมรสุมฝนจะมากกว่าปกติ 1-3 เท่า ฤดูแล้งจะแล้งกว่า 3-4 เท่า

ขณะเดียวกัน ผู้นำจีนและอินเดียก็เลือกไม่เข้าประชุม แสดงให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนา

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ข้อคิดว่า “สมาชิก G20 ควรเป็นผู้นำส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการจัดการเงินทุนให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายตามพันธกรณีอย่างจริงจัง”

ไม่ว่าผลการประชุม COP26 จะเป็นอย่างไร ที่แน่ ๆ เราได้เห็นปรากฏการณ์โลกรวน (climate change) ขึ้นเรื่อย ๆ จากภัยธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้ง ที่สำคัญภัยนี้เข้าใกล้ตัวมากขึ้น

เห็นได้จากมรสุมหลายระลอกซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน เข้าประเทศไทยในปีนี้น้ำในแม่น้ำเกือบทุกสายขึ้นล้นตลิ่งแบบไม่ทันได้ตั้งตัว รวมถึงภาวะฝุ่นละอองที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้เราต้องนั่งจับจ้องค่า PM 2.5 แทนตัวเลขจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราอาจมองข้ามไป คือ จำนวนประชากรโลกในอีก 50 ปีข้างหน้า ประชากรจะเพิ่มจาก 6.2 พันล้านคน เป็น 9.5 พันล้านคน ขณะที่ปัจจุบันเรใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำการเกษตรถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงตอนนั้นการเกษตรแบบดั้งเดิมจะเลี้ยงคนทั่วโลกได้อย่างไรเราคงนึกภาพนี้ไม่ออก

จากที่เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” จึงเป็นที่มาของการต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรใหม่ผสมผสานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน และหนึ่งในรูปแบบที่มาแรง คือ การทำเกษตรแบบแนวตั้ง “vertical farming” ซึ่งมีการดำเนินการแล้วในอดีตเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล

ได้แก่ การทำสวนลอยที่บาบิโลน (Hanging Gardens) ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน ที่สร้างเป็นระเบียงสูงถึง 100 เมตร ทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ยืนพุ่มชนิดต่าง ๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำยูเฟรติสไปเลี้ยงต้นไม้ได้ตลอดปี

สำหรับปัจจุบันแนวคิดเรื่องเกษตรแนวตั้ง เกิดขึ้นเมื่อปี 1999 จากผลการศึกษาของศาสตราจารย์ดิกสัน เดสปอมเมียร์ (Dickson Despommier) แห่งภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยโคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา

ที่วางรูปแบบการเพาะปลูกในโรงเรือนมีหลังคาลักษณะเป็นชั้น ๆ เพาะเลี้ยงพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน และนำเทคโนโลยีมาควบคุมอุณหภูมิ ปริมาณน้ำ สารอาหาร ใช้แสงไฟ LED แทนแสงแดด ทำให้สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้ดีกว่าการปลูกกลางแจ้งที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ไม่ต้องใช้พื้นที่กว้างใหญ่ที่กว่าจะรดน้ำพรวนดินแต่ละครั้งกินเวลาเป็นวัน ๆ

vertical farming เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ทำสวนผักแนวตั้งเชิงพาณิชย์ชื่อ Singapore Sky Green Farm ปลูกผักในเรือนกระจกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 120 ล็อก ให้ผลผลิตกว่า 0.5 ตัน โดยใช้เวลาเพาะปลูกสั้นมาก เก็บเกี่ยวเสร็จหมดเพียง 4 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม vertical farming ที่ผมตะลึงที่สุด คือ AppHarvest เรือนกระจกใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่กว่า 150 ไร่อยู่ริมเขาในเมือง Appalachia มลรัฐ Kentucky ซึ่งเคยเป็นเหมืองถ่านหินที่ถูกปิดไปแล้ว เป็นเรือนกระจกปลูกมะเขือเทศที่ชุบชีวิตเมืองซึ่งประชากรเคยมีรายได้ต่ำสุดให้กลับมาเจริญมีชีวิตชีวา

นับจากปี 2020 ที่เริ่มเปิดดำเนินการการปลูกมะเขือเทศด้วย vertical farming แห่งนี้ ใช้พื้นที่น้อยกว่าแนวราบมาก แต่ได้ผลผลิตมากกว่า 30 เท่า ใช้น้ำน้อยกว่าถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องใช้ดินเลย

มีเซ็นเซอร์กระจายอยู่กว่า 300 จุด และมีปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ (AI) ควบคุมสภาพแวดล้อมและมีสารอาหารและน้ำเพียงพอเพื่อดูแลมะเขือเทศกว่า 7 แสนต้น และที่น่าอัศจรรย์ที่สุด คือ การใช้หุ่นยนต์มาเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มีตาวิเศษที่รู้ว่ามะเขือเทศผลใดสุก แถมยังมีมือวิเศษยื่นออกไปตัดผลมะเขือเทศจากต้นได้อย่างคล่องแคล่วเร็วกว่าฝีมือมนุษย์

จอช เลสซิง (Josh Lessing) ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ AppHarvest กล่าวว่า “การทำการเกษตรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกรวน จึงต้องเนรมิตให้เกิดวิถีเกษตรรูปแบบใหม่ที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ตอบโจทย์การเติบโตยั่งยืนด้วยการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่สร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับการทำเกษตรแบบดั้งเดิม”

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามของมนุษย์ที่จะคิด vertical farming ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การปลูกผักสลัดและสตรอว์เบอรี่ในอุโมงค์ลอดภูเขายาวถึง 600 เมตรที่ไม่ได้ใช้งานแล้วในเมือง Chungcheong เกาหลีใต้ มีการใช้ระบบการควบคุมแสงสีชมพูและเสียงเพลงคลาสสิของ Beethoven และ Schubert เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการเติบโตอย่างสมบูรณ์และงดงามของผักและผลสตรอว์เบอรี่อีกด้วย

ที่น่าตื่นเต้น vertical farming ไม่เพียงการปลูกในเรือนกระจกและอุโมงค์แต่ได้เริ่มปลูกลงใต้ดินลึกลงไปกว่า 33 เมตรในมหานครลอนดอน และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะปลูกใต้มหาสมุทร

ตามโครงการ Nemo’s Garden ของอิตาลีที่ใช้โดมที่ผลิตจากวัสดุอะคริลิกหย่อนลงไปในทะเลลึก 30 เมตรสำหรับปลูกผักและต้องแปลงน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดเพื่อนำมาใช้ในการเพาะปลูก

สำหรับเมืองไทยเราเริ่มเห็นแนวโน้มการทำ smart farm หรือการเพาะปลูกในโรงเรือนมาสักระยะหนึ่ง แต่ยังไม่แพร่หลายจึงท้าทายเกษตรกรไทยที่ยังเป็นผู้ตามด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และการนำมาประยุกต์ใช้จริงในปัจจุบัน

ด้วยมนุษย์ที่อยู่บนโลกแบบ 2 ขั้ว ขั้วหนึ่งตั้งหน้าตั้งตาทำลายสิ่งแวดล้อม อีกขั้วหนึ่งขวนขวายวิธีการทำเกษตรกรรมรูปแบบใหม่ vertical farming ที่อาจตอบโจทย์อนาคต แม้ต้องแลกกับเงินทุนมหาศาล แต่จะสำเร็จเพียงใดคงยากที่จะพยากรณ์

ดังนั้น คำถามสำคัญที่คอยคำตอบคือ “ในภาวะปัจจุบันเราจะอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างไรมิให้ ‘โลกรวน’ ไปมากกว่านี้” เวทีคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชนด้วยปณิธานหวังปลุกจิตสำนึกการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนแก่เยาวชนให้นำบทเรียนต้นแบบไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลง พึ่งพาตนเองได้ พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

โดยล่าสุดโครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 โดยมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดีแทค (dtac)

“บุญชัย เบญจรงคกุล” ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ผู้ริเริ่มโครงการกล่าวว่า ตลอด 12 ปีผ่านมาโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เริ่มต้นด้วยการค้นหาปราชญ์ทางเกษตรว่าด้วยทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ต่อด้วยโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อาทิ ต้นแบบกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรเจ้าของแผนธุรกิจสินค้าเกษตรออนไลน์ ไปจนถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเกษตรกรเอง

“โดยโครงการปีที่ 13 มุ่งเน้นให้เกษตรกรไทยรู้จักการทำการเกษตรแบบวิถีอินทรีย์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแกนหลัก พร้อมผสมผสานนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์และปรับใช้ไปกับกระบวนการผลิต

จนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดรับไปกับนโยบายของภาครัฐที่ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG) พร้อมนำไปสู่กาส่งออกผ่านช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภาคมิติ”

สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในปี 2564 ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ “นราธิป ภูมิถาวร” เกษตรกรจากฟาร์มปูนาชญาดา จ.สุโขทัย เกษตรกรผู้สร้างธุรกิจจากความชอบ เกิดเป็นธุรกิจปูนาอินทรีย์สร้างชีวิต, รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ “จิรภัทร คาดีวี” เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จ.กาฬสินธุ์ วิศวกรหนุ่มผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกร สร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งออกผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม

รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” เกษตรกรจากสวนบ้านแม่ จ.พังงา เกษตรกรผู้สานต่อความฝันของแม่ นำภูมิปัญญาเก่าผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เกิดเป็นธุรกิจส่งออกมังคุดออร์แกนิก

ส่วนเกษตรกรดีเด่น 7 รางวัลประกอบด้วย 1.นภัสวรรณ เมณะสินธุ์ เกษตรกรจากสวนเบญจมาศนภัสวรรณ จ.อุบลราชธานี 2.อิสมาแอล ลาเต๊ะ เกษตรกรจากสวนนูริสฟาร์ม จ.ยะลา 3.ภิญญา ศรีสาหร่าย เกษตรกรจากฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์ จ.ราชบุรี

4.ภัทรฤทัย พรมนิล เกษตรกรจากนพรัตน์ฟาร์ม จ.นครพนม 5.พิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ เกษตรกรจาก GardenThree จ.หนองคาย 6.รัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ เกษตรกรจากไร่ดีต่อใจ จ.สระแก้ว และ 7.มโนธรรม ชูแสง เกษตรกรจากบ้านไร่ ชายน้ำ ฟาร์มนก จ.สุราษฎร์ธานี

“ประเทศ ตันกุรานันท์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า แนวคิดหลักของการคัดเลือกเกษตรกรปีนี้มีความสำคัญและยึดโยงกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ท้าทาย อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

“ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการการสื่อสารอันถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจดิจิทัล จึงวางนโยบาย Digital Inclusion เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัลผ่านการขยายโครงข่ายบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้แนวคิดดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตที่เท่าเทียม ซึ่งประกอบด้วย 3 ภารกิจ

ได้แก่ 1.สัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (good for all connectivity) 2.การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (affordable and accessible services) และ 3.การเพิ่มทักษะดิจิทัล (digital upskilling) ทั้งนี้ ดีแทคจะยังเดินหน้าส่งเสริมให้ประเทศไทยดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม”

“ผู้ที่ได้รับรางวัลถือเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่มีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำบทเรียนไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลง สามารถพึ่งพาตนเอง และพร้อมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน”

วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน “เฉลิมชัย” หนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งเป้าเพิ่ม 15 ล้านไร่ ภายใน 5 ปี ครบรอบสถาปนา กรมพัฒนาที่ดิน 59 ปี เดินหน้าพัฒนาทรัพยากรที่ดินให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างความมั่นคงทางอาหาร ภาคการผลิตยั่งยืน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในงานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน ครบรอบ 59 ปี ว่า

กรมพัฒนาที่ดินมีหน้าที่ในการดูแลพี่น้องเกษตรกรทั้งในส่วนของการปรับปรุงดิน การดูแลสภาพพื้นดิน และในส่วนของแหล่งน้ำขนาดเล็ก และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเกษตรของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นรากฐานของการผลิตภาคการเกษตร โดยเฉพาะการผลิตพืช ซึ่งมีบทบาทสำคัญตั้งแต่การวางแผนกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาที่ดิน ด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ำ

การวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับการตลาด ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” การจัดการดินและปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืช ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะในสถานการณ์ปุ๋ยเคมีราคาแพง พร้อมเน้นย้ำในเรื่องงานวิจัย ที่จะต้องนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาภาคการเกษตรเป็นอย่างดี

อีกทั้งยังต้องพัฒนาบุคลากรให้พร้อมสำหรับการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรด้วย นอกจากนี้ ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เกษตรกรผ่านเครือข่ายและการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะทำให้การทำงานของกรมพัฒนาที่ดินประสบความสำเร็จ

โดยต้องให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยให้บรรลุตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ในระยะเวลาที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินสามารถช่วยพี่น้องเกษตรกรในการลดต้นทุนและลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเพิ่มพื้นที่ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติ ประมาณ 15 ล้านไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี ในปี 2570

“จากสถานการณ์ขาดแคลนปุ๋ย จากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เห็นแล้วว่า ถึงเวลาที่เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี เพื่อลดพึ่งพาการนำเข้า กรมจึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาและสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาทดแทนให้มากที่สุด และพร้อมจะขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประเทศมีความมั่งคงทางเศรษฐกิจ และช่วยดูแลรักษาทรัพยากรดินของประเทศให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป”

ด้าน นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ทิศทางการขับเคลื่อนกรมพัฒนาที่ดินจากนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป็นองค์กรอัจฉริยะทางดินขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570 โดยการเพิ่มทักษะดิจิทัลนำเทคโนโลยีทันสมัย มาใช้ในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับภูมิสังคมและวิถีของเกษตรกร และเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายรวดเร็วด้วยการทำงาน ด้วยระบบดิจิทัล เช่น AI E-Service และ Application รวมทั้งเชื่อมโยงบูรณาการทำงานแบบห่วงโซ่คุณค่า เพื่อมุ่งสู่ Smart Agriculture ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นโยบายการขับเคลื่อนโมเดล BCG (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนมูลค่า GDP ของ BCG จาก 21% เป็น 24% ภายใน 5 ปี หรือเพิ่มจาก 3.4 ล้านล้านบาทในปี 2563 เป็น 4.4 ล้านล้านบาทในปี 2568 ล้อไปกับเทรนด์ ทั่วโลกที่มุ่งสร้างการเติบโตอย่างสมดุลทั้งเศรษฐกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดทำโครงการส่งเสริมเกษตรกร ผู้ประกอบการไทย เร่งต่อยอดใช้ประโยชน์ FTA “ThEP for FTA MARKET” สนับสนุนผู้ผลิตสินค้า BCG ให้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลง (FTA) ส่งออก โดยปัจจุบันไทยได้ลงนามเอฟทีเอ 14 ฉบับกับ 18 ประเทศ และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ฉบับล่าสุดก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้มีการคัดเลือกผู้ประกอบการ 20 ราย ร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดเชิงลึก ร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ เพื่อนำสินค้าขึ้นไปขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยผู้ที่มีศักยภาพสูงสุด 5 รายจะทดลองขายบนแพลตฟอร์มชั้นนำในตลาดต่างประเทศ

เร่งเจรจา FTA เปิดทาง BCG
“กลุ่ม BCG เป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ Royal Online และประเด็นนี้ยังถูกหยิบยกมาหารือในเวทีเอเปกหรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศสมาชิกหลายประเทศก็มีนโยบายส่งเสริมในเรื่องนี้ ไทยควรอาศัยโอกาสนี้ก้าวสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ช่วยต่อยอดธุรกิจ เพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยสู่เวทีการแข่งขันในระดับโลก”

สารเพิ่มเดินหน้าส่งออกค้างสต๊อกกลับประเทศต้นทาง 1,700 ตัน

นางสาวมนัญ​ญา​ ไทย​เศรษฐ์​ รมช.เกษตร​และ​สหกรณ์​ กล่าวว่า ขอยืนยันแนวนโยบายตามมติเดิมว่าในขณะนี้ไม่มีการนำเข้าสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิด คือ พารา​ควอต​ ไกล​โ​ฟ​เซต​ และ​คล​อร์​ไพริฟอส​ แล้ว แต่สำหรับบริษัทกว่า 70-80 บริษัท​ ที่มีใบอนุญาต​นำเข้าสารเคมีอย่างถูกต้อง​ตาม​กฎหมาย ยังสามารถนำเข้าสารอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิด อาทิ สารกำจัดวัชพืช​และแมลง เป็นต้น โดยสารดังกล่าวมีการนำเข้ามาในประเทศแล้วกว่า 6,000 ตัน ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการชะลอตามมติบอร์ดวัตถุอันตราย

แต่ยังยึดแนวทางและมาตรการผลักดันสารเคมีออกไปยังประเทศต้นทางและประเทศที่ 3 ซึ่งล่าสุด มี 60-70 บริษัท ได้แจ้งความจำนงจะขอส่งออกไปยังประเทศที่ 3 แล้วประมาณ 1,700-2,000 ตัน จากก่อนหน้านี้ที่ได้รวบรวมกว่า 700 ตัน

“ดิฉันยังคงยืนยัน ที่จะใช้แนวทางและมาตรการผลักดันสารเคมีออกไปยังประเทศต้นทางและประเทศที่ 3 ซึ่งล่าสุด มี 60-70 บริษัท ได้แจ้งความจำนงจะขอส่งออกไปยังประเทศที่ 3 แล้ว 1,700 ตัน โดยจะเร่งรัดส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์และเมียนมา เพื่อเคลียสต๊อกจะเหลือน้อยลงไปให้มากที่สุด นั่นคือทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุดที่ทำได้ในตอนนี้”

นางสาวมนัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกรมวิชาการเกษตร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน​ 2562 เรื่องการแจ้งครอบครอง ภายใน 15วัน และอีก 15วันต้องส่งคืนวัตถุอันตราย นั้น หากยังไม่มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อแบน 3 สาร ดังกล่าว ทั้งหมดถือว่ายังไม่มีผลบังคับตามกฎหมา

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ให้ความสำคัญ ในประเด็นข้อเรียกร้องของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมประมงพื้นบ้านและสมาคมที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจัดประชุมทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมกันแก้ไข จนขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย และคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้าน คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้ำไทย คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะอนุกรรมพัฒนาผลิตผลผลิตภัณฑ์ประมงและการพาณิชย์ เพื่อทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกัน

โดยข้อเรียกร้อง อาทิ ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัติ ซึ่งในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประมง ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของคณะทำงาน 90 วัน รวมถึงขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563 ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ

ด้าน นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนเรือตามประกาศกรมประมง ตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 11 ธันวาคม 2562 ได้มีการขอใบรับรองแล้วในฝั่งอ่าวไทย 7,927 ราย และฝั่งอันดามัน 2,704 ราย รวมเป็นยอด ณ ขณะนี้ 10,631 ราย กรณีเรือที่มีทะเบียนเรืออยู่แล้ว เมื่อกรมเจ้าท่าตรวจวัดขนาดเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะทำการแก้ไขรายการในใบทะเบียนเรือและใบอนุญาตใช้เรือ หากมีขนาดสิบตันกรอสขึ้นไป ให้ทำการประมงพื้นบ้านได้จนกว่ากรมประมงจะเปิดให้มีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ รอบปีการประมง 2563 และในกรณีเรือที่ยังไม่มีทะเบียนเรือไทย เจ้าของเรือต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง เพื่อประกอบการขอจดทะเบียนเรือไทยกับกรมเจ้าท่าภายหลังการตรวจวัดขนาด และจัดทำอัตลักษณ์เรือต่อไป

นอกนากนี้ กรมประมงได้อนุญาตให้ใช้เครื่องมืออวนจับแมงกะพรุน สามารถทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้โดยมีผลการบังคับใช้เป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ ‪31 ธันวาคม 2564‬ ทั้งนี้การใช้อวนลากแมงกะพรุนในเขตทะเลชายฝั่งนั้น ชาวประมงยังไม่สามารถทำการประมงได้ในทันที หากจังหวัดใดประสงค์จะออกมาตรการภายใต้ประกาศฉบับนี้ จะต้องดำเนินการเสนอเรื่องดังกล่าวผ่านคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาพื้นที่และเงื่อนไขอื่น (เช่น ห้วงเวลาในการทำประมง) และออกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด

อนึ่งการพิจารณารูปแบบของเครื่องมือประมง วิธีการทำการประมง ขนาดของเรือที่ใช้ประกอบการทำการประมง ระยะที่สามารถทำการประมงได้ ต้องเป็นไปตามแนบท้ายของประกาศโดยสาระสำคัญของประกาศฯ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือประมงทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง ยกเว้นอวนจับแมงกะพรุนที่ใช้ประกอบเรือประมงทำการประมงตามรูปแบบของเครื่องมือวิธีการทำการประมง พื้นที่ทำการประมง ขนาดของเรือประมงที่ใช้ประกอบการทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ใช้ทำการประมง

กรมวิชาการเกษตร จัดระเบียบงบประมาณดำเนินงานปี 63 ถูกปรับลด 50 เปอร์เซ็นต์ ร่อนหนังสือจูนหน่วยงานเอกซเรย์จัดลำดับความสำคัญของงาน ป้องงานวิจัยพันธุ์พืช โครงการพระราชดำริ งานบริการประชาชนและการส่งออก ต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ติดเบรกจัดประชุมนอกสถานที่ใช้วิธีสื่อสารผ่าน VIDEO Conference

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ได้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นงบการดำเนินงานลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ นั้น เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินงานโดยเฉพาะงานตามภารกิจและงานสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณโดยปรับแผนในการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกโครงการและทุกแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งงบประมาณที่ถูกปรับลดลงนี้เป็นงบประมาณการดำเนินงานไม่เกี่ยวข้องกับงบลงทุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือชี้แจงและทำความเข้าใจให้ทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคพิจารณาทบทวนและจัดลำดับความสำคัญ รายละเอียดกิจกรรมเนื้องานที่มีความสำคัญ จำเป็น และเหมาะสมในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 โดยเฉพาะงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมวิชาการเกษตร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

งานด้านบริการที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการส่งออก เช่น การตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) โรงงานแปรรูป โรงรม (GMP) การตรวจสอบปัจจัยการผลิต ศัตรูพืช และออกใบรับรองบริการวิชาการด้านพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ดีซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลเพื่อจำหน่ายและจ่ายแจกให้แก่เกษตรกร เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด รวมทั้งพืชตระกูลถั่วที่ใช้น้ำน้อย งานบริการทั้งหมดนี้จะต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนงานอื่นๆ ให้พิจารณาปรับลดปริมาณงานตามวงเงินงบประมาณที่ได้รับ

“ในปี 2563 งบประมาณของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 1,277 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบดำเนินงานไม่ใช่งบลงทุนจัดซื้อครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ถูกปรับลดลงจำนวน 638 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของงบดำเนินงาน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้กำชับให้ทุกหน่วยงานใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่องานราชการ โดยย้ำให้ทุกหน่วยงานในสังกัดทราบว่างานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช โครงการพระราชดำริ งานด้านบริการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการส่งออก ต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนกิจกรรมบางชนิดที่สามารถปรับลดได้ให้ดำเนินการทันที เช่น การติดตามประเมินผล การจัดประชุมนอกสถานที่โดยให้ใช้วิธีการประชุมทางไกลผ่านทางจอภาพ หรือ VIDEO Conference แทน เป็นต้น” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ติดตามและศึกษายุทธศาสตร์ Farm to Fork ที่สหภาพยุโรปยกร่างขึ้น และเพิ่งผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะ และได้พิจารณาเลื่อนการประกาศเผยแพร่เอกสารรายละเอียดยุทธศาสตร์ F2F ออกไปจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของสหภาพยุโรป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคทางการค้าในอนาคต

ทั้งนี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ประจำสหภาพยุโรป สรุปสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าว ดังนี้ 1.นโยบาย European Green Deal นโยบายหลักของชุดคณะกรรมาธิการยุโรปชุดปัจจุบัน (2563-2567) ให้การรับรองว่า “ประชากรยุโรปจะเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดภัย ในราคาเหมาะสม นำไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน” ผ่านยุทธศาสตร์ Farm to Fork (F2F)

2.ยุทธศาสตร์ F2F มีวัตถุประสงค์พัฒนาระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน ยุติธรรม มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป ตลาด จนถึงการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ F2F ยังเสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปกป้องป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสังคมไร้มลพิษ (zero pollution)

3.เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน ที่สำคัญภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ F2F มีดังนี้

1) เป้าหมายที่ 1 พัฒนาการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

-สารปราบศัตรูพืช ทบทวนกฎระเบียบการใช้สารปราบศัตรูพืช กำหนดวิธีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ใช้สารเคมี

-ปุ๋ย พัฒนาวิธีการนำธาตุอาหาร (nutrients) มาใช้ทำการเกษตร และเพิ่มการหมุนเวียนในห่วงโซ่อุปทาน

-เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายเมล็ดพันธุ์พืช อำนวยความสะดวกการขึ้นทะเบียน การนำสายพันธุ์พืชดั้งเดิม หรือมีการปรับปรุงมาใช้ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ

-สุขภาพพืช ปรับปรุงข้อกำหนดด้านการตรวจสอบควบคุมการนำเข้าพืช การจัดการศัตรูพืช และการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้มีความทันสมัย

-ยาด้านจุลชีพในสัตว์ จัดทำบัญชีรายชื่อยาด้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้กับมนุษย์เท่านั้น ห้ามใช้ยาด้านจุลชีพนอกเหนือฉลากระบุไว้ และกำหนดค่าตกค้างสูงสุดของยาด้านจุลชีพในอาหารสัตว์

-สวัสดิภาพสัตว์ ยกระดับการควบคุมและการปฏิบัติตามระเบียบสวัสดิภาพสัตว์ รวมทั้งการใช้มาตรการอุดหนุนภายใต้นโยบายเกษตรร่วม (CAP) ในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

-อาหารสัตว์ ทบทวนขยายขอบเขตการอนุญาตสารเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการตลาดอาหารสัตว์ ให้มีการใช้วัสดุอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน เช่น โปรตีนจากแมลง อาหารสัตว์จากทะเล และชีวมวลจากการหมักมวลชีวภาพ เป็นต้น

-มาตรฐานด้านการตลาดสินค้าเกษตร ประมง สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ลดอุปสรรคสร้างโอกาสในการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

-เกษตรอินทรีย์ พัฒนาแผนการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์สำหรับปี 2564-2567 รวมทั้งกระตุ้นความต้องการและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค

-การรวมกลุ่มของผู้ผลิต ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตร ประมง รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาด้านการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

2) เป้าหมายที่ 2 สนับสนุนแนวทางปฏิบัติในการแปรรูปอาหาร การค้าปลีก และการบริการอาหารที่ยั่งยืน

-ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาคุณค่าทางโภชนาการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในการผลิตอาหาร

-บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปกลางปี 2564 ทบทวนกฎระเบียบวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร

3) เป้าหมายที่ 3 สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ

-การเลือกอาหารที่ยั่งยืน ปรับปรุงการแสดงข้อมูลโภชนาการ พัฒนาระบบให้ข้อมูลผู้บริโภค อาจกำหนดให้ติดฉลากแสดงข้อมูลโภชนาการบนหน้าผลิตภัณฑ์ (front-of-pack nutrition labelling) แสดงแหล่งที่มา รวมทั้งข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ หรือสังคม พัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารให้สั้นลง ลดผลกระทบจากการขนส่ง และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

-การบริโภคอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ เช่น สนับสนุนการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียน โรงพยาบาล หรือองค์การมหาชน รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4) เป้าหมายที่ 4 ลดความสูญเสียและขยะจากอาหาร ในระดับสหภาพยุโรป ภายในปี 2563-2567

5) เป้าหมายที่ 5 ต่อสู้กับอาหารปลอมแปลงและยกระดับการตรวจสอบควบคุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในระดับสหภาพยุโรป ภายในปี 2563-2567

6) เป้าหมายที่ 6 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

-ความร่วมมือกับประเทศที่ 3 ที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือที่จะมีในอนาคต จะต้องทำการผนวกประเด็นด้านการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-สนับสนุนความร่วมมือภายในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการสนับสนุนการผลิตและสุขภาพสัตว์ที่ยั่งยืนของ FAO/IAEA การจัดการปัญหาการดื้อยาด้านจุลชีพ และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เผยแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ฉบับใหม่ที่จะมีผล 1 สิงหาคม นี้ พร้อมกันนี้กรมเจรจาฯ เตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ว่าด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และที่ประชุมจึงร่วมกันรับรองแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น

เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยแผนดังกล่าวมุ่งเน้นเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ คือ รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัน บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ กว่า 50 โครงการ เช่น มุ่งให้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปีนี้ เร่งส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และเคมีภัณฑ์ ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พัฒนาการค้าดิจิทัลระดับภูมิภาค ผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ MSMEs เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายร่วมแสดงความยินดีที่พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 เพราะจะเป็นการยกระดับความตกลง AJCEP ให้ครอบคลุมครบทั้งการค้าสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการลงทุน อันจะเสริมสร้างความเชื่อมั่น แก่นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ในปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 225,915 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอาเซียนส่งออกไปญี่ปุ่นมูลค่า 109,835 ล้านเหรียญสหรัฐ และนําเข้าจากญี่ปุ่นมูลค่า 116,080 ล้านเหรียญสหรัฐ และญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับ 2 ของอาเซียน มีการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นไปอาเซียน มูลค่า 20,356 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2563 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดเพชรบุรี โดยเปิดพื้นที่ให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 5 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และราชบุรี นำสินค้าเกษตรคุณภาพมาจัดแสดงและจำหน่ายรวม 20 บูธ เช่น น้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวทับสะแก สับปะรดเหลืองสามร้อยยอด นมอัดเม็ดจากสหกรณ์โคนมห้วยสัตว์ใหญ่ ผ้าเขียนลายทอง ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากป่านศรนารายณ์ เครื่องสำอาง และเกลือทะเลขัดผิวเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

อีกทั้ง ยังมีเวทีสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ขยายตลาดส่งออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอกับประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับไทย ซึ่งยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกจากไทยแล้ว ตลอดจนแนะนำช่องทางการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ จะมีกิจกรรมพิเศษตลอดทั้งวัน อาทิ กิจกรรมนาทีทอง และกิจกรรมร่วมสนุกตอบคำถามพร้อมรับของรางวัล

ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยมีมูลค่า 10,829.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าหลายรายการสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ ผลไม้ มูลค่า 2,253.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 สินค้าผัก/ผลไม้แปรรูป มูลค่า 1,105.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 และสินค้าปศุสัตว์ มูลค่า 2,264 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.46

“ทองเปลว” ปลัดเกษตรฯ รับไม้ต่อลุยงานแรกหลังรับตำแหน่ง เผยผลการรับสมัครโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รอบที่ 1 และ 2 พร้อมเตรียมเปิดรับสมัครรอบที่ 3 โครงการฯ 8 – 22 ตุลาคมนี้

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 5/2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ

เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่น ๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาหาร มีอาชีพ มีความอุดมสมบูรณ์

โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยง ตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน

โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 96,216 ราย แบ่งเป็นเป้าหมายเกษตรกร 64,144 ราย เป้าหมายการจ้างงานเกษตรกร 32,072 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 4,009 ตำบล 75 จังหวัด

“ในวันนี้ที่ประชุมมีมติขยายเวลารับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รอบที่ 3 รวมถึงยังได้มีมติพิจารณาปรับปรุงคุณสมบัติในการรับสมัครเกษตรกรและการจ้างงานระดับตำบลให้มีการผ่อนปรนในเรื่องของหลักเกณฑ์ต่างๆ ลงจากในรอบที่ 1 และ 2 ”

โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ http://ntag.moac.go.th และกระทรวงเกษตรฯ และจะเริ่มรับสมัครในรอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 ตุลาคม 2563 สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ http://ntag.moac.go.th ยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ขณะที่การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในรอบที่ 1 และ 2 ได้ปิดรับสมัครลงแล้ว

สรุปผลการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรอบที่ 1 เกษตรกร 20,357 คน ผู้จ้างงาน 25,137 คน และรอบที่ 2 เกษตรกร 13,143 คน ผู้จ้างงาน 6,477 คน รวมทั้ง 2 รอบ มีจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 65,114 คน แบ่งเป็น เกษตรกร 33,500 คน ผู้จ้างงาน 31,614 คน

ขณะนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด อยู่ระหว่างเร่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยคาดว่าจะเริ่มขับเคลื่อนโครงการและเริ่มจ้างงานได้ภายในวันที่ 30 ตุลาคมนี้

ผลผลิตภาคการเกษตรของเวียดนามหดตัวอย่างหนักในช่วงปีนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดและเหตุภัยพิบัติหลายครั้ง ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรของเวียดนามดีดตัวสูงขึ้น และกระทบถึงตลาดโลก เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของสินค้าเกษตรหลายชนิด

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2020 การส่งออกสินค้าการเกษตรของเวียดนามล่าช้าออกไปจากเดิม นอกจากนี้ ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมหนักในเวียดนามช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด ซ้ำเติมสถานการณ์เลวร้ายจากโรคระบาด

“วู๊ วัน ทัญ” ประธานบริษัท “วีอาร์จี เจแปน รับเบอร์ เอ็กซ์ปอร์ต” ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ “ยางพารา” รายใหญ่ของเวียดนามระบุว่า การเก็บน้ำยางในปีนี้ล่าช้าเนื่องจากหลายปัจจัย ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก ทำให้ต้องปฏิเสธคำสั่งซื้อยางพาราลอตใหม่ชั่วคราว

ทั้งนี้เวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราใหญ่อันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดราว 10% ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความต้องการถุงมือยางพุ่งสูงขึ้นถึง 3.6 แสนล้านชิ้น หรือเพิ่มขึ้น 20% จากปี 2019 ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้ราคายางในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา รอยเตอร์สรายงานว่า ราคายางพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี

นอกจากนี้ “เมล็ดกาแฟโรบัสต้า” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกาแฟสำเร็จรูปก็มีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากผลผลิตที่น้อยลงของเวียดนาม ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดกาแฟโรบัสต้ารายใหญ่ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดถึง 40%

ปัจจุบันราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้าในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ที่ราว 1,330 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันในตลาดลอนดอน “ชิโระ โอซาวะ” ที่ปรึกษาบริษัท “วาตารุแอนด์โค.” ผู้ค้ากาแฟรายใหญ่ของญี่ปุ่นชี้ว่า ราคาของเมล็ดกาแฟโรบัสต้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่เพียงแต่จากผลผลิตที่ลดลง แต่ยังรวมถึงความต้องการบริโภคกาแฟในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้

เช่นเดียวกับ “พริกไทย” ที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่พื้นที่ปลูกได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเดือน ธ.ค. 2020-ก.พ. 2021 คาดว่าจะลดลง

แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านอาหาร แต่ความต้องการพริกไทยในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของจีนที่สั่งซื้อพริกไทยจากเวียดนามจำนวนมหาศาลหลังจากที่กลับมาเปิดประเทศ ส่งผลให้ราคาพริกไทยในตลาดโลกขยับสูงขึ้น

โควิดระบาด-ตู้คอนเทนเนอร์ขาด-น้ำมันขึ้นราคา ทำวงการค้าปุ๋ยเคมีป่วน ราคานำเข้าแม่ปุ๋ยสูตรสำคัญปรับราคา แถมของขาดตลาด ส่งผลผู้นำเข้า-โรงงานปุ๋ยประกาศขึ้นราคาปุ๋ยเคมีกระสอบละ 50-75 บาท ยืนยันปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด แต่สต๊อกลดลง เตือนเกษตรกรรับมือต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ช่วงปลูกพืช จับตาไตรมาส 2 ปุ๋ยแห่ขึ้นราคาอีกระลอกแน่

สามปัจจัยปุ๋ยราคาพุ่ง
ดร.กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธาน บริษัทนันทกรี จำกัด จ.สมุทรสาคร ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีตรามุกมังกร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ราคาปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีที่ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 6 ล้านตัน ขยับราคาสูงขึ้นมากจาก 3 ปัจจัยหลักคือ

1) น้ำมันมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดยปุ๋ยทุกสูตรมีสารตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเกิดการสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนำมีเทนมาสังเคราะห์ให้ได้ก๊าซแอมโมเนีย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับแอมโมเนีย

2) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับขึ้นทั่วโลก

และ 3) โรงงานผลิตแม่ปุ๋ยสูตรวัตถุดิบต้นทางในต่างประเทศฉวยโอกาสปั่นราคาขึ้นไปกว่า 20% ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าในช่วงไตรมาส 2/2564 ราคาปุ๋ยเคมีอาจปรับสูงขึ้นไปถึง 500 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) ในช่วงที่มีการเพาะปลูกมากและถือเป็นการปรับราคาขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี แต่สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เคมี “ตรามุกมังกร” ไม่ได้ใช้แม่ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้รับผลกระทบทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบ

โควิดทำโรงงานแม่ปุ๋ยปิดตัว
ด้านนายดุษฎี วงศ์โรจน์ เจ้าของร้านจำหน่ายปุ๋ย “เกษตรเนินสูง” อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์มีสาเหตุมาจาก “แม่ปุ๋ย” ซึ่งเป็นวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น โดยยูเรียสูตร 46-0-0, ได-แอมโมเนียมฟอสเฟตสูตร 18-46-0, โพแทสเซียมคลอไรด์สูตร 0-0-60 ที่นำเข้ามาปรับราคาสูงขึ้น 1,500-2,000 บาท/ตัน โดยทั้ง 3 ตัวนี้ใช้ผลิตปุ๋ยสูตร 15-15-15, สูตร 16-16-16 และสูตร 8-24-24 ที่เกษตรกรนิยมใช้กันมาก

“กลุ่มประเทศยุโรปผู้ผลิตวัตถุแม่ปุ๋ยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 โรงงานปิดตัวลงทำให้ปริมาณวัตถุดิบแม่ปุ๋ยผลิตน้อยลงไปด้วย ขณะที่ตลาดจีนและไทยมีความต้องการวัตถุดิบแม่ปุ๋ยชนิดนี้สูง ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น 100% โดยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ตัน จากตู้ละ 700 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 เหรียญ รวมทั้งค่าเงินบาทที่ผันผวน ส่งผลให้ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต้องปรับเพิ่มขึ้น 75-150 บาทต่อกระสอบ ขนาด 50 กก.

ส่วนน้ำหนัก 1 ตัน ที่ราคาเดิม 895-900 บาท ปรับขึ้นเป็น 960-980 บาท คาดว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลายอาจจะต้องปรับขึ้นราคาปุ๋ยอีก ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบแน่นอน จากความจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนพฤกษาคม-มิถุนายนนี้” นายดุษฎีกล่าว

ด้านนายนิมิต สุวัฒน์ศรีสกุล เจ้าของร้านเทพนิมิตการเกษตร จำกัด อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีการขึ้นราคามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการทยอยปรับขึ้นราคามาเป็นระยะ ๆ บริษัทที่นำเข้าแจ้งว่า เพราะจีน-ออสเตรเลียมีความต้องการใช้สูงจึงหยุดการส่งออก ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นและกรณีเรือขวางคลองสุเอซต้องรอคิวนำเข้าอีก

“วัตถุดิบแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 เป็นปุ๋ยชนิดที่ผสมใช้กับต้นปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงสุดครั้งละ 600-700 ถึง 1,100 บาทต่อตัน ปุ๋ยเคมีขนาดกระสอบละ 50 กิโลกรัม สูตร 15-15-15 กับสูตร 16-16-16 ขึ้นราคากระสอบละ 75 บาท แต่ในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนมีการซื้อตุนไว้บ้างเพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยเกรงว่าปุ๋ยจะขึ้นราคาอีก

แต่ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อเพราะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนต้องใช้เงินลงทุนซื้อปุ๋ยมาก ทุเรียนได้ราคาดี เกษตรกรยอมรับที่จะใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปแม้จะขึ้นราคา เพราะปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เหมือนปุ๋ยเคมี ส่วนผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลกระทบที่ต้นทุนสูงขึ้นแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนราคาตามราคาของบริษัทนำเข้าปุ๋ยก็ตาม” นายนิมิตกล่าว

เอเย่นต์อ้างของน้อย
นายนัด ดวงใส รองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) กล่าวว่า ทางเอเย่นต์ปุ๋ยได้ให้เหตุผล “ปุ๋ยมีปริมาณน้อยมาก” เนื่องจากโรงงานผลิตปุ๋ยที่มีอยู่ชะลอการผลิตและบางแห่งก็ปิดโรงงานไปเลย ส่วนโรงงานที่จะเปิดใหม่ก็ขาดแคลนแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ปุ๋ยในสต๊อกมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นราคาปุ๋ยจึงขยับขึ้น

“เทียบกับช่วงปกติในหน้าแล้งประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เกษตรกรจะไม่ใช้ปุ๋ย ราคาปุ๋ยก็จะปรับตัวลงประมาณ 10 บาท/กระสอบ ร้านขายปุ๋ยต้องระบายสินค้าออกเพื่อลดต้นทุน แต่พอเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรทุกประเภทจะใส่ปุ๋ยบำรุงพืช ทั้งยางพารา-ปาล์มน้ำมัน-ผลไม้ ตอนนั้นราคาปุ๋ยก็จะเริ่มขยับขึ้น แต่ปีนี้เหตุการณ์กลับตรงกันข้า”

“ตอนนี้ราคาปุ๋ยขยับขึ้นแทบทุกตัวประมาณกระสอบละ 50 บาท หรือจาก 700 บาท ขึ้นราคาเป็น 750-800 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) เราคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยจะปรับตัวขึ้นอีกระลอกประมาณ 40-50 บาท/กระสอบ ในช่วงหน้าฝนแน่นอน ถือว่า ราคาปุ๋ยปีนี้จะขยับขึ้น 2 รอบ หรือเท่ากับราคาได้ขยับขึ้นเกือบ 100 บาท/กระสอบ ดังนั้นร้านขายปุ๋ยที่มีสินค้าเก่าเหลือในสต๊อกก็เหมือนได้ส้มหล่นราคาปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 100 บาท/กระสอบ” นายนัดกล่าว

ส่วนนายนิยม พานิกร เจ้าของร้านไทยนิยม อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ช่วงนี้ทางเอเย่นต์มีการปรับราคาปุ๋ยขึ้นเฉลี่ยกระสอบละประมาณ 30 บาท เนื่องจากไม่มีสินค้าลอตใหม่ส่งเข้ามา มีเพียงสินค้าที่อยู่ในสต๊อกเท่านั้น แต่ยืนยันว่า “ปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด”

สอบถามเอเย่นต์ทราบเพียงว่า วัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาไม่ได้และทางร้านเองเมื่อซื้อปุ๋ยมาแพงก็ปรับราคาขึ้นบวกกำไรเล็กน้อย เพราะลูกค้าเกษตรกรล้วนเป็นขาประจำ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ราคาร้านใหญ่ 670 บาท ที่ร้านขาย 680 บาท ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วกระสอบละ 800 บาทขึ้นราคาอีก 30 บาท ทางร้านก็ขาย 850 บาท เป็นต้น

โดยยอดขายปุ๋ยช่วงนี้ยังปกติเพราะเกษตรกรที่ปลูกมัน อ้อย และข้าวนาปรังจำเป็นต้องใช้ ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ยอดขายปกติ สำหรับปีนี้ปุ๋ยที่สั่งไว้น่าจะเพียงพอ แต่ปีหน้าหากไม่มีปุ๋ยเข้ามาอีก เกษตรกรคงต้องลำบากแน่

ด้านนายวิชิตอดีตนายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม สมัคร GClub ประธานกลุ่มผู้ปลูกอ้อย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับขึ้นประมาณ 10-30 บาท ทางร้านให้เหตุผลว่า โรงงานใหญ่ไม่ส่งปุ๋ยมาทำให้สินค้ามีจำกัด แต่ถึงราคาแพงเกษตรกรจำเป็นต้องใช้และมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเพื่อลดต้นทุน เพราะหากจะใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง โดยราคาเฉลี่ยปุ๋ยเคมีช่วงนี้ประมาณกระสอบละกว่า 800 บาท ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 400 บาท

ชี้หยุดเผาเศษวัสดุเกษตร ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยผลิตเกือบแสนล้าน

ผู้สื่อข่าว”ประชาชาติธุรกิจ”รายงานว่า วันนี้(31 ก.ค.2562)บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ 3 องค์กรพันธมิตรได้แก่ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรมและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)จัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา เพื่อกระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผาขึ้น ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานีว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 380 ล้านตัน

เป็นเศษวัสดุข้าวโพด 49%และข้าวสาลี-ข้าว 47% ในส่วนของไทยมีเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 67 ล้านตันมีการเผาปีละ 20 ล้านตัน คิดเป็น 5%ของการเผาทั่วโลก หากเกษตรกรไทยไม่เผาจะประหยัดค่าปุ๋ยได้ถึงปีละ 44,580 ล้านบาท ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ในดินจะไม่ถูกทำลาย ดินไม่แน่น ทำให้น้ำเข้าได้ รวมมูลค่าแล้วอาจสูงเกือบหนึ่งแสนล้านบาท

เฉพาะฟางข้าวปีละ 32 ล้านตัน ตันละ 1,250 บาท คิดเป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท อ้อย 4,860 ล้านบาท มันสำปะหลัง 1,000 ล้านบาท ซังข้าวโพด 2,050 ล้านบาท มูลค่ารวม 47,910 ล้านบาท

“หากเราส่งเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 46.7 ล้านตันป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เป็นธุรกิจปลายน้ำ การผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์/ชั่วโมง ต้องใช้เศษวัสดุ 1 หมื่นตัน/ปี มูลค่าตลาดรวมจะสูงถึง 96,690 ล้านบาท/ปี เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการจัดการ 86% ยังเหลือกำไร 27,400 ล้านบาท/ปี”

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งนอกจาก 3 องค์กรพันธมิตรข้างต้นแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าหมายพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ให้ปลอดการเผา 100%ภายในระยะเวลา 3 ปี

“พาณิชย์” รัวจัดประชุมเอกชน-ทูตพาณิชย์-ทูตเกษตร ถกมาตรการดันส่งออกโค้งสุดท้าย ดึงคณะทูตพาณิชย์ลงพื้นที่โคราช-สงขลาพาณิชย์จังหวัดหวังหาโอกาสดันสินค้าเอสเอ็มอีส่งตลาดต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในสัปดาห์หน้ากระทรวงพาณิชย์มีประชุมกำหนดมาตรการผลักดันการส่งออกในช่วงโค้งสุดท้ายอย่างเข้มข้น 3 งาน คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกประชุมร่วมกับเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการผลักดันการส่งออก ก่อนที่รายงานผลการประชุมต่อที่ประชุมวอร์รูม กรอ.พาณิชย์ ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานอีกรอบในวันที่ 26 สิงหาคม 2562 และในวันที่ 28 สิงหาคม 2562 จะมีการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ร่วมกับภาคเอกชน และผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ(ทูตเกษตร) ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน 11 ประเทศทั่วโลกเป็นครั้งแรก

นายจุรินทร์กล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2562 ขยายตัว 4.28% แต่ยังจำเป็นต้องเร่งดันส่งออกทั้งตลาดสหรัฐ อินเดีย จีน โดยในวันที่ 26 สิงหาคม 2562 จะประชุมวอร์รูม กรอ.พาณิชย์ เพื่อติดตามและกำหนดทิศทางเร่งรัดส่งออกตลาดเป้าหมายและสินค้าเป้าหมายให้เป็นรูปธรรม

นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 23 สิงหาคม 2562 กรมได้เชิญตัวแทนผู้ส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กลุ่มอาหารแปรรูป เกษตรอาหาร กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องปรับอากาศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมหารือทิศทางการผลักดันการส่งออกรายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเป้าหมายข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และแนวทางการผลักดันการส่งออกรายตลาด ระยะ 3-6 เดือนจากนี้จะดำเนินการอย่างไร ตามที่ได้มอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน กระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) เพื่อผลักดันการส่งออกปี 2562 ให้ขยายตัวตามเป้าหมาย 3%

นอกจากนี้ยังหารือถึงประเด็นปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทย ทางกระทรวงพาณิชย์จะประสานงานกับทูตเกษตร 11 ประเทศทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการนำเข้า ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการครั้งแรก ช่วยเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการส่งออกและลดปัญหาการนำเข้าสินค้าไทยในอนาคตได้

“ทูตพาณิชย์ไม่เพียงต้องดำเนินกิจกรรมเดิม แต่ยังต้องหามาตรการเพิ่มมูลค่า ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเป้าหมายให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยในโอกาสเดียวกันนี้ กระทรวงได้จัดคณะทูตพาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและสงขลา เพื่อหารือและประสานงานกับพาณิชย์จังหวัด ร่วมกันกำหนดแนวทางผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเป้าหมาย โดยจะมีนโยบายทำดัชนีชี้วัดผลงานทูตพาณิชย์ด้วย”

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดำเนินการยึดที่ดินทั้งหมดที่เป็นที่ส.ป.ก.แต่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน วังน้ำเขียว พะเยา ภูเก็ต ชุมพร ฯลฯ รวมไปถึงจะรื้อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือม.44 ที่ปลดล็อคให้ 3 กิจการ คือ ปิโตรเลียม กิจการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม และกิจการสำรวจเหมืองแร่ให้ดำเนินการได้โดยเก็บค่าเช่า ค่าภาคหลวงใหม่

ทั้งนี้ กิจการที่รัฐบาลยุค คสช.มีการปลดล็อคให้ดำเนินการ รัฐบาลได้รับผลตอบแทนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของเอกชน ดังนั้นจะต้องหารือเพื่อให้ผลประโยชน์ที่รัฐบาล หรือเกษตรกรเจ้าของพื้นที่จะได้ผลประโยชน์จะได้รับมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าให้ที่ดิน ส.ป.ก.ส่วนการจะยึดคืนที่ ดินส.ป.ก.ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องขอความร่วมมือกับ รองนายกฝ่ายความมั่นคงเพื่อขอกำลังทหารเข้าพื้นที่

ส่วนการเพิ่มมูลค่าของที่ดิน โดยนำไปทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือทำกิจกรรมอื่นใด นอกเหนือจากการทำเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของเกษตรกร เรื่องนี้ต้องแก้กฏหมาย ซึ่งได้สั่งการส.ป.ก.ทั่วประเทศเร่งสำรวจว่าในแต่ละพื้นที่ ที่ดินส.ป.ก.ในความเป็นจริง ดำเนินกิจการใด หากทำกิจการที่มีมูลค่าสูง เกษตรกรเจ้าของที่ดินก็จะมีรายได้สูง อาทิ ทำท่องเที่ยว ซึ่งรายได้ทำการเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ได้รับจัดสรรก็จะมีรายได้สูงกว่าทำเกษตร

“กรณีชาวบ้านเป็นนอมินี ยึดคืนหมด ผิดวัตถุประสงค์ยึดคืนทันที แต่ต้องหารือขอความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคง เมื่อยึดมาได้ก็จะนำจัดสรรให้กับเกษตรกร แต่การจัดสรรจะไม่จัดสรรแค่ที่ดิน จะให้อาชีพ จะให้น้ำ ไฟฟ้า เข้าไป มีความเจริญเข้าถึงสามารถประกอบอาชีพได้ โดยใช้กองทุนส.ป.ก.ที่ได้จากการใช้เช่าที่ดิน ขณะนี้มีเงินสะสมอยู่ประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท ดูแลและปฏิรูปที่ดินให้กับเกษตรกรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม”

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า นอกจากนี้ในวันที่ 3 ต.ค.นี้ ส.ป.ก.จะหารือกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมาหาดไทย เพื่อนำแผนที่แนวเขตที่รัฐของรัฐแบบบูรณาการมาตราตราส่วน 1:4000 ( One map ) ที่รัฐบาลก่อนหน้าร่วมกันบูรณาการร่วมกันปรับปรุงระวางเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน และ ระหว่างเอกชนกับรัฐ รายละเอียดของกรอบการทำงาน กฏหมาย การนำมาใช้ได้วางแผนไว้ดีแล้ว เหลือเพียงเอามาทบทวน ปัดฝุ่นให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อมีแผนที่ One map แล้วปัญหาการทับซ้อนของที่ดิน การถกเถียงกันว่า ใครควรรับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆจะหมดไป

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้สั่งการให้ สศก. วิเคราะห์และติดตามผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารจากกรณีสหรัฐอเมริกาแจ้งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีสินค้า (GSP) จากประเทศไทย โดย สศก. ยืนยันว่า สินค้าเกษตรและอาหารหลักของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวมากนัก และได้มีการ teleconference กับอัครราชทูตฝ่ายการเกษตรไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO กรุงโรม พร้อมกับได้เชิญผู้แทนกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา และ FAO เข้าพบภายในสัปดาห์หน้า

นายระพีภัทร์ เปิดเผยต่อไปว่า ในการตัดสิทธิ GSP ชั่วคราว ของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ยังคงเป็นการตัดสิทธิของสินค้าเพียงบางรายการ โดยจะเห็นว่าจากการประกาศตัดสิทธิ GSP คราวนี้ 573 รายการ เป็นสินค้าเกษตร (ภายใต้พิกัดศุลกากรตอนที่ 01-24) จำนวน 157 รายการ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้า ผักแปรรูป ผลไม้ตระกูลเบอรี่ ชาเขียว ขิงป่น หูฉลาม เส้นพาสต้า ผลไม้แปรรูป สำหรับกลุ่มประมงแปรรูปอื่นที่อาจจะถูกตัดสิทธิ GSP ครั้งนี้ มิใช่กลุ่มพิกัดสินค้าประมงหลักที่ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา (ไม่ใช่สินค้ากุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง

ซึ่งยังมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก) จึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีต่อการดำเนินงานด้าน IUU ที่ประเทศไทยได้แสดงบทบาทนำในเรื่องการจัดการด้านประมงและต่อต้าน IUU ทั้งในประเทศและระดับโลก ตลอดจนได้รับการยกย่องจากเวทีสหประชาชาติ ให้เป็น Presidential case ในการแก้ไขปัญหา IUU เผยแพร่แนวปฏิบัติให้แก่ประเทศอื่นๆ ตามที่ รมว.กษ.

ได้มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.กษ. เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและนำเสนอแนวทางดำเนินงานเรื่องความร่วมมือต่อต้านประมงผิดกฎหมายระหว่างอาเซียนและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ในช่วงการประชุม UN Summit ณ นครนิวยอร์ก โดยได้ผลักดันให้จัดทำนโยบายประมงอาเซียน (ASEAN General Fisheries Policy) และการจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนในการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย (ASEAN Network for combating IUU fishing) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 35 ในประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP บางรายการอาจมีผลทำให้สินค้าเกษตรข้างต้นของไทยอาจจะได้รับผลกระทบด้านราคาขายที่สูงขึ้น เช่น สินค้าผลไม้แปรรูป (ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี 2561 ประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ จะโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 4%-14%) และเส้นพาสต้า (ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี 2561 ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่จะโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 6.4%)

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศคืนสิทธิ GSP ให้ไทยบางรายการในคราวนี้เช่นกัน ซึ่งมีสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ 1) ดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าสูงที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและเพาะพันธุ์กล้วยไม้ใหม่เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น และ 2) โกโก้ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจใหม่ที่กระทรวงเกษตรฯ มีแผนผลักดันให้เป็นสินค้าสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดสูง และประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายการผลิตสินค้าดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ส่งเสริมพันธ์โกโก้ที่มีคุณภาพและขยายพื้นที่เพาะปลูกตามหลักตลาดนำการเกษตรของ รมว.กษ. เพื่อเร่งปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส

นายระพีภัทร์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หลักสิทธิ GSP ถือเป็น “การให้ฝ่ายเดียว” ของประเทศที่พัฒนาแล้วต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และเนื่องจากการยกระดับการพัฒนาของไทย จึงมีการทบทวนการให้สิทธิฯ ทั้งการทบทวนแบบรายสินค้า (พิจารณาจากส่วนแบ่งการตลาด) และรายประเทศ (พิจารณาจากระดับการเปิดตลาดให้แก่สหรัฐอเมริกา

การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ) ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทยจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยให้เป็นที่เชื่อถือของตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ จึงจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสินค้าเกษตรและอาหารไทยในตลาดโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน อีกทั้ง

ตนได้ขอให้แต่ละส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้กลไกที่มีอยู่ เช่น อัคราชทูตฝ่ายการเกษตรไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO ณ กรุงโรม ติดตามและประชุมหารือกับฝ่ายสหรัฐอเมริกา อย่างใกล้ชิด พร้อมได้เชิญผู้แทนกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ประจำประเทศไทย เข้าหารือกับรักษาราชการเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในรายละเอียดภายใน‪อาทิตย์หน้า‬ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่ประเทศจีน ขอให้ที่ประชุมร่วมกันเร่งหาข้อสรุปการเจรจาในเรื่องประมง เกษตร และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ได้โดยเร็ว เพื่อเสนอให้ที่ประชุม WTO ในระดับรัฐมนตรีพิจารณากลางปี 63 พร้อมเร่งให้ดำเนินการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่จะว่างลงพร้อมกันในเดือนนี้

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (WTO Informal Ministerial Meeting : IMM) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ผ่านมา เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องระบบการค้าพหุภาคีของ WTO การปฏิรูปการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพในยุคการค้าปัจจุบัน และการเตรียมประชุมระดับรัฐมนตรี WTO (Ministerial Conference) ครั้งที่ 12 ที่คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2563 โดยมีสมาชิก WTO กว่า 36 ประเทศ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เช่น บราซิล อินเดีย สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น

ทั้งนี้ การประชุมโดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูป WTO ที่ประชุมมีความเห็นว่า ระบบการค้าพหุภาคีที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นกลไกสำคัญช่วยให้เศรษฐกิจโลกเติบโต โดยเฉพาะท่ามกลางสภาพแวดล้อมการกีดกันทางการค้าในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะต้องเร่งรัดแก้ปัญหาโดยเร็วคือ การแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ 6 ใน 7 ตำแหน่งที่จะว่างลงพร้อมกันในเดือนนี้ เพื่อให้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของ WTO ดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก การส่งเสริมความโปร่งใสของ WTO ผ่านการปรับปรุงกลไกการแจ้งมาตรการทางการค้า

การปรับปรุงกฎเกณฑ์การค้าของ WTO ให้สอดรับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถประกาศสรุปผลการเจรจาในเรื่องสำคัญที่ค้างอยู่ได้ทันการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 (MC 12) ที่คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปี 2563 เช่น การจัดทำกฎเกณฑ์เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอุดหนุนประมง การปรับปรุงระเบียบการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตร และการจัดทำกฎระเบียบภายในประเทศด้านการค้าบริการ เป็นต้น ซึ่งแม้ในรายละเอียดสมาชิก WTO อาจยังมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่ทุกประเทศเห็นพ้องกันว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องเร่งหาข้อสรุปต่อไป

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างลง รวมทั้งขอให้สมาชิก WTO ร่วมกันผลักดันการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง การจัดทำกฎเกณฑ์เรื่องการค้าสินค้าเกษตรเกษตร และกฎเกณฑ์เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความคืบหน้าหาข้อสรุปได้ทันการประชุม MC 12

ทั้งนี้ องค์การการค้าโลก (WTO) ถือเป็นองค์กรการค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกฎเกณฑ์การค้าโลก เป็นเวทีระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ปัจจุบัน WTO มีสมาชิก 164 ประเทศ และมีกำหนดจัดประชุมระดับรัฐมนตรี (MC12) ในเดือนมิถุนายน 2563 ณ กรุงนูร์-ซุลตัน ประเทศคาซัคสถาน

สทนช.ร่วมหารือสมาชิกลุ่มน้ำโขงจับมือร่วมแก้วิกฤติแล้งแม่น้ำโขง เดินหน้าย้ำทุกเวทีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยาพร้อมเล็งเดินหน้าสร้างเวทีการมีส่วนร่วมรับฟังข้อกังวลผลกระทบ 8 จังหวัดริมโขง ยื่นเสนอเป็นท่าทีฝ่ายไทย หลัง MRCS เปิดเวทีแจงข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับภูมิภาคกรณี สปป.ลาว เสนอโครงการเขื่อนหลวงพระบาง

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เปิดเผยในโอกาสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประชุมคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission The Special Session of MRC Joint Committee Meeting ) ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประเด็นสำคัญที่มีการหารือร่วมกัน คือ สถานการณ์ภัยแล้งของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับที่เคยเกิดในอดีต

ขณะเดียวกัน ยังมีระดับน้ำขึ้นลงอย่างผิดปกติ ซึ่งที่ประชุมทั้ง 4 ประเทศมีเจตนารมณ์ร่วมกันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งปัจจัยจากภัยธรรมชาติ และปัจจัยการบริหารจัดการเขื่อนในลำน้ำโขง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) จะเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบจากสองปัจจัยดังกล่าวให้ 4 ประเทศได้รับข้อมูลที่ตรงกัน เพื่อลดความสับสนและความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อน นำไปสู่มาตรการในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเร่งด่วน

นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังเน้นย้ำเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการไหลของแม่น้ำสาขาหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง โดยเฉพาะข้อมูลการระบายน้ำท้ายเขื่อนจาก สปป.ลาว และจีน เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ขึ้นลงที่ผิดปกติจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำภายในประเทศเชื่อมโยงกับแม่น้ำสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงได้

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยยังได้เข้าร่วมประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระดับภูมิภาคครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขงซึ่งจะขยายเป็น 10 ปี (พ. ศ. 2564-2573) จากเดิมที่ดำเนินการระยะ 5 ปี ( พ.ศ.2564-2568) ซึ่งในที่ประชุมได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญของการใช้น้ำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร อุปโภค-บริโภค ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรฐกิจ รวมถึงการพัฒนาเขื่อนในลำน้ำแม่โขง ซึ่งขณะนี้ MRCS ได้จัดเวทีสร้างการรับรู้การก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางระดับภูมิภาค เพื่อให้ข่าวสารแต่ละประเทศที่เหมือนกันตามกลไกข้อตกลงระหว่าง 4 ประเทศ ภาคส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ โดยกำหนดให้มีเวทีกลางเจรจา เข้าใจเหตุผลความจำเป็นนำไปสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า และให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกัน

ด้านนายประดับ กลัดเข็มเพชร รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยโดย สทนช.ได้เตรียมพร้อมกำหนดจัดเวทีให้ข้อมูลให้แก่ภาคประชาชนรับรู้กระบวนการ รวมทั้งข้อมูลโครงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง ตามระเบียบปฏิบัติเรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง หรือ PNPCA จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งเบื้องต้นกำหนดจัดที่ จ.เลย จ.บึงกาฬ และจ.อุบลราชธานี ในช่วงเดือนธันวาคม’62 – มกราคม’63 เพื่อให้ข้อมูลโครงการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ องค์กรด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรพัฒนาเอกชน ในพื้นที่จังหวัดที่อยู่ริมลำน้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เพื่อให้ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจตามกระบวนการ PNPCA รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อรวบรวม ประเมินผล ประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขงสายหลัก ข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบต่าง ๆ ประกอบเป็นท่าทีของประเทศไทยเสนอต่อ สปป.ลาว ผ่าน MRCS

“นอกจากการดำเนินการจัดเวทีให้ข้อมูลข่าวสารโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบางให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบได้ครอบคลุมรอบด้านมากที่สุดผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางเว็บไซต์ สทนช. รวมถึงผ่านการับฟังความคิดเห็นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงนักวิชาการ ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในประเด็นปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในเวทีต่าง ๆ

สทนช.จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาพิจารณาเพื่อดำเนินการในรูปของคณะทำงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ก่อนประมวลมานำเสนอประเด็นให้ความเห็นในที่ประชุมทั้งระดับชาติซึ่งมีคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และผ่านกลไกคณะทำงานร่วม หรือ JC working group ในเวทีแม่น้ำโขง เพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังจากประชาชนที่อาจจะกระทบกับประเทศไทยนำไปสู่มาตรการปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อรองรับผลกระทบข้ามพรมแดนประเทศท้ายน้ำ” นายประดับ กล่าว

กรมการค้าภายใน “say no” โครงการประกันรายได้กุ้งขาวแวนนาไม หลังชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทำหนังสือถึง “ลุงตู่” ราคากุ้งขาวรูดลงเฉลี่ย กก.ละ 30-50 บาท แต่กลับเสนอโครงการให้ “ห้องเย็น” ซื้อกุ้งเข้าเก็บในสต๊อกวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยรัฐพร้อมจ่ายดอกเบี้ยชดเชยให้ 3% พร้อมค่าฝากเก็บอีก 80 สตางค์ถึง 1 บาทระยะเวลา 6 เดือน หวังฉุดราคาตลาดขึ้น
นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลาและกรรมการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เชิญเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทยไปหารือกรณีกุ้งขาวแวนนาไม ราคาตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยทุกไซซ์ราคาลดลงประมาณ 30-50 บาท/กก. ทางเครือข่ายจึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ประกันรายได้กุ้งขาวแวนนาไม เช่นเดียวกับพืชเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว

ก่อนหน้านี้ชมรมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจากทั่วประเทศ 17 องค์กรจาก 17 จังหวัดได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้รัฐบาลช่วยเหลือราคากุ้งขาวแวนนาไมตกต่ำด้วยการประกันรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเสนอราคาประกันอยู่ที่กุ้งขนาด 100 ตัว/กก. ราคา 130 บาท, กุ้งขนาด 90 ตัว/กก. ราคา 140 บาท, กุ้งขนาด 80 ตัว/กก. ราคา 150 บาท, กุ้งขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 160 บาท, กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 180 บาท, กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคา 200 บาท, กุ้งขนาด 40 ตัว ราคา 220 บาท และกุ้งขนาด 30 ตัว ราคา 240 บาท

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการประชุมร่วมกับกรมการค้าภายใน นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกลับเสนอแนวทางรักษาเสถียรภาพกุ้งขาวแวนนาไมด้วยการลดอุปทานส่วนเกินในระบบให้ผู้ประกอบการห้องเย็น รับซื้อกุ้งจากเกษตรกรเข้าไปเก็บสต๊อกจำนวน 10,000 ตัน โดยจะใช้วงเงินกู้ประมาณ 5,000 ล้านบาท และกระทรวงพาณิชย์จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องโดยการจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับห้องเย็น 3% เป็นระยะเวลา 3 เดือน และรัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าฝากเก็บกุ้งตามห้องเย็นต่าง ๆ อีกกิโลกรัมละ 80 สตางค์ถึง 1 บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน และอธิบดีกรมการค้าภายในขอเวลา 7 วันในการประสานกับห้องเย็นที่จะเข้าร่วมโครงการ

“ปัจจุบันมีกุ้งออกสู่ตลาดประมาณ 20,000 ตัน/เดือน หากห้องเย็นช่วยรับซื้อเก็บสต๊อกไปเรื่อย ๆ 3,000-5,000 ตัน ราคาในตลาดก็อาจจะเริ่มขยับขึ้นบ้าง ตามปกติราคากุ้งช่วงนี้จะไม่ตก ตอนนี้กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 140 บาท ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงอยู่ที่ 135 บาท มีส่วนต่างเพียง 5-10 บาท ถือว่าขาดทุน ประกอบกับตอนนี้ราคากุ้งไทยแพงกว่ากุ้งอินเดียอยู่ประมาณ 30-40 บาท/กก.ด้วย” นายกาจบัณฑิตกล่าว

รายงานข่าวระบุว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ชี้แจงกรณี การตรวจสอบสต๊อก 3 สาร บนเว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร ว่ายอดล่าสุดกรมฯมีการตรวจเช็คจำนวนกว่า 3 หมื่นตัน คาดปริมาณส่งมอบลดลงก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ การทำลายสารเคมีต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม และได้ร่อนหนังสือถึง 2 หน่วยงานขอหลักเกณฑ์วิธีการทำลายประกอบการพิจารณา ย้ำยังไม่เคยเสนอชื่อบริษัทรับทำลาย

โดยนางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ให้ยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายจำนวน 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1ธันวาคม 2562 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย และครอบครอง กรมวิชาการเกษตรได้ทำการสำรวจปริมาณวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดจากร้านค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ทั่วประเทศพบว่าปัจจุบัน (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562) มีจำนวนคงเหลือประมาณ 38,855 ตัน ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 จะมีวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายส่งมอบให้กรมวิชาการเกษตรนำไปทำลายตามหลักวิชาการที่ถูกต้องในจำนวนที่ลดลงกว่านี้ เนื่องจากในช่วงระหว่างนี้ร้านค้ายังสามารถจำหน่ายสารทั้ง 3 ชนิดให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการอบรมตามมาตรการจำกัดการใช้ได้จนกว่าจะถึงวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562

ทั้งนี้ ในที่ประชุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการกล่าวถึงประเด็นการใช้งบประมาณในการทำลายสารเคมีทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงประสบการณ์จากการทำลายวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย โดยในปี 2561 ได้ว่าจ้างให้บริษัทอัคคีปราการเผาทำลายวัตถุอันตรายในราคา 1 แสนบาท/ตัน ซึ่งการทำลายวัตถุอันตรายจะต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตรจึงได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการทำลายสารเคมี เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการทำลายเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา โดยปัจจุบันยังไม่ได้รับหนังสือตอบรับกลับมาจากทั้ง 2 หน่วยงาน ดังนั้นจึงขอยืนยันว่าปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรยังไม่ได้มีการเสนอรายชื่อบริษัทใดที่จะกำจัดสารเคมีทั้ง 3 ชนิดทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุ สมัครเว็บบาคาร่า ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่ามีบริษัททำลายเพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย คือ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ วันที่ 21 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมเพื่อหารือถึงมาตรการรับคืนสารเคมีจากประชาชน เกษตรกร และการส่งออก 3 สาร ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกหนังสือเชิญ 3 สมาคมผู้ส่งออก นำเข้า เพื่อหารือแนวทางต่อไป

สภาเกษตรฯ ฮึ่มทวงสัญญาว่าที่รัฐบาล รัฐบาลผสมไม่มีเสถียรภาพ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สภาเกษตรฯ จะติดตามผลการรวมการจัดตั้งรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าหากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วจะดำเนินนโยบายเป็นไปตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ ทั้งหากมีรัฐบาลผสมควรจะจัดสรรเก้าอี้ให้กับพรรคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้ดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร แม้ว่าจะไม่สามารถดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงได้ครบ 100% ก็ตาม แต่ก็ควรมีการริเริ่มให้ได้ โดยยึดเอาผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของพรรค แต่หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามที่หาเสียงทางสภาฯ ก็จะไปติดตามทวงถามเรื่องนี้

“หากพรรคพปชร.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็มีหลายนโยบายที่พรรคได้กำหนดออกมาหาเสียงตามข้อเรียกร้องของสภาเกษตรฯ เช่น นโยบายเกี่ยวกับที่ดินสปก. 4-0 การให้สภาฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร การเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ B 20 ซึ่งทางพปชร.ควรนั่งกระทรวงเกษตร

และกระทรวงพลังงานเอง ส่วนการปลูกกัญชาเสรี ซึ่งหากเป็นไปได้ควรให้พรรคภูมิใจไทยนั่งในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินนโยบายนี้แบบครบวงจร แต่หากเป็นอีกขั้วทางพรรคเพื่อไทยมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ควรมีการดำเนินนโยบายเรื่องการลดหนี้สินให้กับเกษตรกรตามที่ได้มีการหาเสียงไว้ โดยพรรคควรนั่งในกระทรวงการคลัง”

นายประพัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้ห่วงช่วงสูญญากาศก่อนจะมีการจัดตั้งรัฐบาลในอีก 1-2 เดือน อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการเกี่ยวกับดูแลสินค้าเกษตรบางรายการที่กำลังออกสู่ตลาด และสินค้าเกษตรพวกพืชไร่ เช่น ข้าว ช่วงนี้จะเป็นช่วงเตรียมการปลูก หรือยางพารา ช่วงนี้จะเป็นช่วงหยุดกรีดยาง

“อาจจะทำให้งานสำคัญบางอย่างสะดุด เช่น การบริหารจัดการเรื่องน้ำ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงแล้ง จำเป็นต้องมีการควบคุมและสั่งการ แต่บางเรื่องเหนืออำนาจการตัดสินใจของข้าราชการ อาจจะเกิดปัญหาซ้ำรอยอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อปี 2554 ที่มีการจัดตั้งรัฐบาลและช่วงนั้นเป็นฤดูฝน ทำให้เกิดการยุติการพร่องน้ำ ส่งผลให้น้ำท่วมในช่วงปีดังกล่าว “

นอกจากนี้ ส่วนตัวมองว่าเสถียรภาพรัฐบาลผสมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง หากรัฐบาลผสมมีเสียงปริ่มน้ำอาจบริหารงานลำบาก เช่น หากต้องผ่าน กฎหมายสำคัญ หรืองบประมาณ รัฐบาลเสียงน้อยอาจจะโหวตไม่ผ่าน ดังนั้น ผู้จะเป็นรัฐบาลต้องรวมเสียงให้ได้อย่างน้อย 270-280 เสียง และหากใน 1 กระทรวง มีรัฐมนตรีที่มาจากต่างพรรคอาจเกิดปัญหาการบริหารสะดุด

“ผู้นำรัฐบาลจะต้องกำกับดูแลการปฏิบัติให้ได้ เพราะผู้นำรัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายตามที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ” ด้านนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย ได้ฝากการบ้านให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมันว่า เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องแก้ไขคือ เรื่องปัญหาปากท้องประชาชนจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ในฐานะที่ร่วมร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วนของยางมีการใช้ยางในประเทศ 13%ของผลผลิตทั้งหมดอยู่แล้ว หากใช้ยางในประเทศเพิ่มปีละ 2% เมื่อครบ 20 ปีจะมีการใช้ยางในประเทศมากกว่า 50% ซึ่งการเพิ่มการใช้ในประเทศได้แก่ การนำมาผสมสร้างถนนพาราซอยซีเมนต์อย่างจริงจังใน 84,000 หมู่บ้านๆละ 1 กม. กับแนวทางการเพิ่มมูลค่ายาง เพื่อเป็นอำนาจต่อรองของไทยได้สูงขึ้น หากทำได้จะดีกว่าการประกันราคาหรือแทรกแซงราคายางที่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ตรงจุดและบิดเบือนกลไกตลาด

นอกจากนี้ รัฐบาลต้องผลักดันตั้งบรรษัทร่วมทุนระหว่างประเทศร่วมกับประเทศผู้ผลิตยางพารา 4-5 ประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทยฯจัดตั้งตลาดกลางยางพาราโลกขึ้นในไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ซื้อขายยางให้สะท้อนความเป็นจริงด้านต้นทุนการผลิต เพื่อคานตลาดซื้อขายล่วงหน้าของต่างประเทศที่ไม่สะท้อนต้นทุนจริง เพราะต้นทุนการผลิตยางของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)ปี 2560 อยู่ที่ กก.ละ 63.65 บาทและของกรมวิชาการเกษตรอยู่ที่ 63.78 บาท ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมา ราคาขายยางของเกษตรกรต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

ในส่วนปาล์มน้ำมัน ขณะนี้เกษตรกรขายได้กก.ละ 1.80-2 บาทเท่านั้น ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)ปี 2560 ที่ กก.ละ 3.80 บาท ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่ ต้องแก้ปัญหาโดย 1.ห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเข้ามาในประเทศ เพราะเมื่อ 4-5 ปีก่อน ราคาผลปาล์มไทย กก.ละ 7-8 บาท มีการอนุญาตนำเข้า 5 หมื่นตันโดยกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้น ราคาผลปาล์มของไทยตกต่ำลงมาตลอด 2.ต้องปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างจริงจัง เพราะล่าสุดในช่วง 2ปีที่ผ่านมา

มีการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากอินโดนีเซีย 7-8 หมื่นตันเข้ามาในไทย กก.ละ 13 บาท ผ่านชายแดนมาเลเซียก่อนเข้าไทยเป็น กก.ละ 18 บาท แล้วนำมาขายให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบหลายแห่งในภาคใต้ ส่งขายให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) กก.ละ 25 บาท อคส.ส่งขายให้โรงงานรีไฟน์ กก.ละ30 บาทแล้วโรงงานรีไฟน์ขายที่ กก.ละ 42 บาท ซึ่งทำกำไรได้ดีกว่ารับซื้อผลผลิตในไทย เนื่องจากราคาซื้อขายผลปาล์มไทยรับซื้อที่เปอร์เซนต์น้ำมัน 17-18% ตกกก.ละ 23-24 บาท(น้ำมันปาล์มดิบ)แต่ของอินโดนีเซียรับซื้อผลปาล์มที่มีเปอร์เซนต์น้ำมันต่ำที่ 13-15% จึงมีราคาถูกกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ตรัง ลงพื้นที่ตรวจสต๊อกปาล์มน้ำมัน ใน 6 โรงงาน เด้งรับนโยบาย กปน.ที่ต้องการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 200,000 ตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เชื่อจะสามารถยกระดับราคาปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นได้ และหนุนการผลิตน้ำมัน B100 ในรถยนต์หนุนเกษตรกรอีกแรง

นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 200,000 ตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โดยมอบกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนด้านการตรวจสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของผู้เสนอขายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ.

นอกจากนี้ ยังให้ทางจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเฉพาะกิจระดับจังหวัด องค์ประกอบคณะประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน พลังงานจังหวัด เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และฝ่ายความมั่นคง และพาณิชย์จังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินการตรวจปริมาณของน้ำมันปาล์ม บวกกับเรื่องค่ามาตรฐาน เรื่องของคุณภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่ไม่เกินร้อยละ 5

“ล่าสุดทางคณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่ลงพื้นที่ตรวจตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเฉพาะกิจ ณ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 6 โรงงาน ในเรื่องของสต็อกน้ำมันปาล์มที่มีอยู่ว่าขณะนี้มีปริมาณเท่าไหร่ และนำน้ำมันที่ได้รับไปตรวจคุณภาพตามมติ กนป.หรือไม่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และเป็นความโชคดีของจังหวัดตรังเราที่เป็นหนึ่งในไม่กี่โรงที่น้ำมันของเรามีคุณภาพ ซึ่งเราเองก็อยู่ในลำดับต้นๆ ของประเทศ ถือว่าเรามีส่วนสำคัญที่จะปฏิบัติตามมติ กนป. ให้มีการยกระดับราคาขึ้นมาด้วย โดยเฉพาะผลผลิตน้ำมันปาล์มของเกษตรกร”

นายลือชัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตามจากการที่ได้มาดูเราไม่ได้มาดูเฉพาะตรงนี้อย่างเดียว เราจะดูถึงวงจรปาล์มของเรา ซึ่งทางที่นี่เองก็สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ หรือใช้ทั้งหมดของปาล์มทุกภาคส่วน และที่สำคัญมูลค่าที่เกิดขึ้นจากตัวน้ำมันแล้ววัสดุที่เหลือใช้เข้าสู่โรงไฟฟ้าด้วย โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าชีวมูล ซึ่งที่นี่อยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เราอยากจะชี้ให้เห็นนอกเหนือจากการปฏิบัติตามมติของ กนป.ที่แบ่งภาคส่วนไปแล้ว ถือว่าเราได้มาดูในเรื่องของปาล์ม ซึ่งเราเป็น 1 ใน 5-6 จังหวัดที่มีปริมาณการปลูกปาล์มค่อนข้างเยอะ

“ตรงนี้ผมเชื่อว่าถ้าทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตต้นทาง เกษตรกรเข้าใจและก็ฝ่ายผู้ประกอบการได้ใช้แนวทางต่างๆ เข้ามาช่วย ผมเชื่อว่าระดับราคาจะเพิ่มขึ้น และวัสดุเหลือใช้จากปาล์มก็มีคุณค่าทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทฯ ที่นี่เองก็ทำอยู่ และที่สำคัญทางบริษัทฯ ได้ทำ CSR กับชุมชนด้วยโดยเฉพาะการใช้วัสดุเหลือใช้ไปส่งเสริมพี่น้องเกษตรกร เช่น การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากปาล์ม และต้องขอขอบคุณทางบริษัทฯ ที่ได้เห็นคุณค่า คืออยากให้คิดทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทางทั้งหมดเลย”

ด้านนางรวิพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ พาณิชย์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการตรวจตามที่ กนป.แล้ว ประเด็นที่เป็นข้อจำกัด เป็นอุปสรรค เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของการมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการตรวจคุณภาพ ต้องเสนอไปที่ กนป.ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่บริษัทฯ รับภาระ อีกส่วนหนึ่งที่จังหวัดได้มีการประชุมกับนายกสมาคมชาวสวนปาล์มไปแล้วในเรื่องของการที่จะผลักดัน เรื่องของ B100 โรงงานในจังหวัดตรัง เป็นโรงงานที่อยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศ ในเรื่องของมาตรฐานคุณภาพ หากเสนอไปที่รัฐบาลให้มาช่วยในเรื่องคอร์สการตรวจคุณภาพก็จะเป็นประโยชน์ และที่สำคัญจะผลักดันในเรื่องของการขับเคลื่อนทางกฎหมาย เพราะว่าถ้าเราปลดล็อคในเรื่องการจำหน่ายได้ ตนเองคิดว่าราคาปาล์มจะขึ้นแน่นอน อันนี้ก็คิดว่าเป็นส่วนที่จะต้องผลักดันไป

หลังจากที่มาตรวจโรงงานก็จะมีการรายงานไปตามสายงาน เพราะว่ากระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก จริง ๆ แล้ว เรื่องน้ำมันเป็นเรื่องของกระทรวงพลังงาน ซึ่งก็เป็นคณะทำงานอยู่ด้วย ในส่วนนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เป็นฝ่ายเลขาของส่วนกลาง ในเรื่องการดูเรื่องราคาก็สามารถที่นำจุดนี้เข้าไป ซึ่งตรวจจริง 6 โรงงาน ผู้ประกอบการทุกโรงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะเป็นคนในพื้นที่ และแรงงานก็เป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด

“ฉันถือว่าทุกอย่างตอบโจทย์ได้หมด เพียงแต่ว่าส่วนไหนที่จะผลักดันในเชิงนโยบาย เช่นในเรื่องของการผลักดันเรื่อง B100 ต้องผลักดันในเชิงนโยบายแน่นอน ซึ่งคิดว่าวันนี้ได้ใช้ B100 ในส่วนกลุ่มต่างๆ แต่อยากให้ปลดล็อคคือจำหน่าย แต่จำหน่ายเราต้องผลักดันเรื่องมาตรฐาน เรื่องคุณภาพ เพราะว่าถ้ามีความเป็นกรดเป็นด่างตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากเราไม่ได้มาตรฐานก็จำหน่ายไม่ได้ทั่วไป อยากให้จำหน่ายได้ทั่วไปแต่ว่ารัฐบาลเองต้องมาช่วยตรงนี้ด้วย” นางรวิพรรณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ KC FARM ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน “นวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี บมจ.ซันสวีท ครั้งที่ 4” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมก้าวหน้านำพาเกษตรกรยุคใหม่เข้าสู่ Thailand 4.0”

นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งาน นวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี ได้จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดย บมจ.ซันสวีท มุ่งเน้นการยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานของประเทศให้มีศักยภาพสูง และเพื่อเผยแพร่ความรู้และจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ Smart Farming นำเทคโนโลยีมาใช้ทางการเกษตร แสดงโชว์สายพันธุ์ข้าวโพดหวานหลากหลายสายพันธุ์และพืชผลนานาชนิด

ทั้งนี้ บริษัทฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาข้าวโพดหวานจึงได้งานงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร บริษัท ซันสวีท จำกัด( มหาชน) ครั้งที่ 4 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2562 เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือได้รับการเรียนรู้การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานฝักสดได้อย่างเหมาสมในแต่ละสภาพพื้นที่

และเปิดโอกาสให้ บริษัทเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และสารเคมีกลุ่มอารักขาพืช ได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ ผลการทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพที่ดี ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตต่ำ แก่เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และผู้ที่สนใจ

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า นวัตกรรมเทคโนโลยี เป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการเกษตร และช่วยให้เกษตรกรรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น เช่น ให้น้ำผ่านระบบอัตโนมัติ การใช้เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน บริษัท ซันสวีทฯ ได้นำนวัตกรรมมาใช้ในการเกษตรถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงนวัตกรรมต่างๆได้ โดยการร่วมกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหน่วยงานเอกชนอื่นๆ ซึ่งนำแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ โดยการใช้ความรู้จากการศึกษาวิจัยมาปฏิบัติจริง

สิ่งที่เห็นวันนี้ประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเอกชน รัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนเอกชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เกษตรกรที่เข้าร่วมในระบบเอกชน ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ คล้ายเครื่องยนต์ที่ต่างเป็นฟันเฟือง ถ้าธุรกิจอยู่ได้เกษตรกรก็อยู่ได้ ถ้าเกษตรกรอยู่ได้ธุรกิจก็สามารถดำเนินต่อไป การที่ซันสวีทได้นำเครื่องมือและนวัตกรรมทางการเกษตรมาทดสอบ โดยการทำแปลงทดลอง ก่อนเผยแพร่และส่งต่อเครื่องมือให้แก่เกษตรกร ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงในการนำเครื่องมือใหม่มาใช้โดยไม่ทราบว่าจะได้ผลจริงหรือไม่

สิ่งเหล่านี้ก้าวไปสู่นวัตกรรมการใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้อง เกิดความคุ้มค่าและรายได้ของเกษตรกรที่จะได้รับหลังจากใช้นวัตกรรม ในอนาคตจะร่วมเป็นยุค 4.0 คือ ทุกสิ่งสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำ ที่เรียกว่า Precision Farming หรือเกษตรแม่นยำ ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะของหน่วยงานที่ส่งเสริมเกษตรกร ยินดีถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี และมีนโยบายส่งเสริมการเกษตรด้วยระบบแปลนใหญ่ คือ เกษตรกรสามารถร่วมบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีร่วมกัน

โดยภายในงานครั้งนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ตราศรแดง และบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ในการนำนวัตกรรมระดับสากลของรถเกี่ยวข้าวโพดสู่เกษตรกรไทย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตค่อนข้างสูง

การนำรถเกี่ยวข้าวโพดมาใช้จึงเป็นส่วนช่วยในการ พัฒนาการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังร่วมผนึกกำลังในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว และพืชผักอื่น ๆ สำหรับตลาดแปรรูปพร้อมรับประทาน Ready To Eat เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรให้สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองฝ่าย และเป็นการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป

เกษตรกร อ.รัษฎา โค่นยางพาราหันมาปลูกทุเรียนหมอนทองออกผลดก ผันตัวเองมารักการปลูกทุเรียนยาวนานกว่า 30 ปี เผยวิธีดูแลปีนขึ้นไปหาหนอนบนต้นทุเรียน ผลโตเต็มที่ปลอดสารพิษ100% พร้อมปลูกต้นคูนเสริมร่องทุเรียนสร้างรายได้ 2,500 บาท/เดือน เตรียมขยายปลูกเต็มพื้นที่

นายมนตรี แสงแก้ว อายุ 61 ปี เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทองลูกดก ตั้งอยู่เลขที่ 117 ม.2 ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ราคายางพารา ได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิต ประจำวัน ดังนั้นจึงพากันหาอาชีพใหม่ๆทำเพื่อสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัว สำหรับตนได้เลือกการปลูกทุเรียน เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดทุเรียนเปิดกว้าง ราคาค่อนข้างดี มีลูกค้าต้องการมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยเริ่มจากปลูก 20 ต้น ก่อนหน้านี้ตนเคยทำอาชีพกรีดยางพารา จากนั้นก็เริ่มโค่นต้นยางพาราแล้วมาปลูกทุเรียน บนเนื้อที่ จำนวน 15 ไร่ 500 ต้น ที่ให้ผลผลผลิตอยู่ประมาณ 100 ต้นให้ โดยลูกทุเรียนต้นใหญ่ให้ผลผลิต 100 ลูกขึ้นไป/ต้น ส่วนต้นเล็กๆ เฉลี่ยประมาณ 50 ลูก/ต้น โดยมีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และชะนี ซึ่งปีที่ผ่านมา ส่งที่ล้งได้ประมาณ 12 ตัน ราคา 80-90 บาท รวมประมาณ 1 ล้านบาท และขายในพื้นที่ประมาณ 2 แสนบาท ซึ่งปีนี้ล้งจาก จ.ชุมพร ก็ได้เข้ามาติดต่อแล้ว

นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า ตนเองคาดว่าปีนี้จะได้ทุเรียนประมาณ 20 ตัน โดยมีปัญหาปีนี้ที่หนักสุดก็คือ หนอนเจาะลูก เพราะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่จะใช้วิธีหาหนอนโดยการปีนไปหาหนอนบนต้น โดยมีผู้ดูแลสวน 3 คนด้วยกัน ลักษณะของทุเรียนหมอนทอง ส่วนมากจะอยู่ที่ 4-5 พู ส่วนชะนี ลูกเล็กประมาณ 2 กิโลกรัม เรียวหนามสีเขียวเนื้อเหลืองแห้งน่ารับประทาน และก้านยาว ลูกจะกลม และก้านจะยาว ส่วนราคา ชะนี จะราคาถูกว่า หมอนทอง และก้านยาวใกล้เคียงกัน

“นอกจากนี้ยังมีสวนปาล์มน้ำมัน 10 กว่าไร่ ช่วงนี้ราคาขึ้นก็ดีหน่อย และภายในสวนทุเรียนยังมีการปลูกต้นคูน แซมระหว่างต้นด้วย สามารถสร้างรายได้เสริมอีกเดือนละประมาณ 2,500 บาท ได้ทุกเดือน เตรียมขยายไปให้เต็มพื้นที่ ส่วนปีนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เตรียมเหมาซื้อทุเรียนทั้งสวน แต่ในส่วนราคายังไม่ตกลงกันโดยเบื้องต้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรังจะให้ราคาสูงกว่าที่ ล้งรับซื้อประมาณ 10 บาท ทั้งนี้ทุเรียนปีที่แล้วมีไม่พอต่อความต้องการของลูกค้า ปีนี้ก็คาดว่าจะไม่พอเช่นเดียวกัน เพราะมีออเดอร์สั่งเข้ามามากแล้ว” นายมนตรี กล่าว

สถานการณ์เอลนิโญ (El Nino) หรือ “ฝนน้อย-น้ำน้อย” เริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศไทยชัดเจนยิ่งขึ้น จากคำประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาให้ฤดูฝนเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ปรากฏปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกือบทั่วประเทศได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เข้าสู่ฤดูแล้งของปี 2563 เลย โดยรายงานปริมาตรน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางของประเทศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม เหลืออยู่เพียง 13,017 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 25 หรือ “น้อยกว่า” ปี 2561 ถึง 9,205 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพียง 60.11 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

ส่วนปริมาตรน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศพบว่าเหลืออยู่เพียง 11,506 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 หรือ “น้อยกว่า” ปี 2561 ถึง 8,244 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างขนาดใหญ่แค่ 51.52 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น เฉพาะเขื่อนหลักที่จะส่งน้ำให้กับลุ่มน้ำเจ้าพระยาพบว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำใช้การได้เหลืออยู่ 1,063 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 11, เขื่อนสิริกิติ์ 636 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 10, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 114 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 13 และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 53 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 5 รวม 4 เขื่อนเหลือปริมาตรน้ำใช้การได้เพียง 1,865 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ที่สำคัญก็คือ ทั้ง 4 เขื่อนหลักมีน้ำไหลลงอ่างรวมกันแค่วันละ 10 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนที่มีปริมาตรน้ำใช้การได้เหลือ “ต่ำกว่า” ร้อยละ 30 เพิ่มจำนวนขึ้นถึง 14 เขื่อน ในจำนวนนี้อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนห้วยหลวง มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 25 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 19, เขื่อนน้ำพุง 29 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 19, เขื่อนอุบลรัตน์ -2 หรือร้อยละ 0, เขื่อนลำปาว 453 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 24, เขื่อนลำพระเพลิง 22 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 14 และเขื่อนลำนางรอง 24 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 21

ปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในประเทศขณะนี้จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อการปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังไม่นับพื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นนารอน้ำฝน จะต้องประสบความเสียหายเป็นวงกว้าง จากผลกระทบ “ภัยแล้ง” ที่จะเกิดขึ้นรุนแรงกว่าทุกปี จนล่าสุดสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าวได้แสดงท่าทีออกมาแล้วว่า ปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศในปีนี้จะลดลง ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศจะต้องขยับราคาขึ้น แต่ปัญหาก็คือ ชาวนาจะไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้น

สารพัดนโยบายสินค้าเกษตร

ดูเหมือนภาครัฐยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบภัยแล้งในปี 2562/2563 หลังจากความวุ่นวายในการ “แย่ง” ตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 สิ้นสุดลง โดยมีข้อน่าสังเกตว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการในกระทรวงเศรษฐกิจหลักอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์-กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการออกชุดนโยบายจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าว แต่ในกระทรวงเหล่านี้ยังมีบรรดารัฐมนตรีช่วยว่าการที่มาจากต่างพรรคการเมือง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงเกษตรฯ มีรัฐมนตรีทั้งหมดถึง 4 คน จาก 4 พรรคการเมือง ถือว่า “มากเป็นประวัติการณ์” ของการเมืองไทยเลยทีเดียว

แน่นอนว่าทุกพรรคการเมืองต่าง “ขาย” นโยบายด้านราคาสินค้าเกษตรในช่วงเลือกตั้งที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเพื่อจะผลักดันราคาข้าวให้สูงกว่าราคาตลาดปกติ “อย่างที่ใช้หาเสียงกับชาวนา” โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอชุดนโยบายประกันรายได้และประกันภัยสินค้าเกษตรให้กับชาวนา ขณะที่พรรคพลังประชารัฐเสนอนโยบายเดิมที่ใช้ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 นั้นก็คือการให้สินเชื่อชะลอการขายข้าว และการจ่ายเงินชดเชยให้เปล่าเป็นค่าเกี่ยวข้าวเพิ่มขึ้น

ส่วนพรรคภูมิใจไทย ดูเหมือนจะนำโมเดลระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 ในระบบอ้อยและน้ำตาลมาใช้กับข้าว ด้วยการให้โรงสี-ผู้ส่งออกข้าว “แบ่งกำไร” กลับคืนมาให้ชาวนาผ่านทางกองทุนข้าว ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีนายประภัตร โพธสุธน เป็นตัวแทนพรรค นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯเท่านั้นที่มีนโยบายจะให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของราคาปัจจุบัน แต่ไม่มีรายละเอียดในวิธีการที่จะทำให้ราคาข้าวไปถึงเป้าหมายนั้นได้

โดยพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่าง “ขายฝัน” ชาวนาไปแล้วว่า ราคาข้าวขาวต้องเกวียนละ 10,000 บาท กับราคาข้าวหอมมะลิเกวียนละ 15,000 บาท จนกลายเป็นความหวังของชาวนาทั้งประเทศ

จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกคนในวงการค้าข้าวต่างทราบกันดีว่า “ข้าวขาว 10,000 บาท กับข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท” เป็นราคาข้าวที่ขยับขึ้นไปถึงได้ “ไม่ยากนัก”

จากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 แต่ปัญหาก็คือ ผู้กุมนโยบายหลักของสินค้าเกษตรอย่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคพลังประชารัฐ จะทำอย่างไรกับชุดนโยบายประกันราคาและสินเชื่อชะลอการขายข้าว+เงินอุดหนุนค่าเกี่ยวข้าว

ในเมื่อคาดการณ์ผลผลิตข้าวลดลงจากภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่ชลประทานที่จำต้อง “ประหยัดน้ำ” เพื่อการอุปโภค-บริโภค “มากกว่า” การส่งน้ำเพื่อการเกษตร และปริมาณฝนจะลดน้อยลงจนไม่สามารถทำนาได้ตามปกติ ราคาข้าวเปลือกในประเทศจะพุ่งขึ้นสูง โดยไม่มีความจำเป็นต้องประกันราคาข้าวให้ชาวนาอีก กลับกลายเป็นว่า โจทย์ในเรื่องราคาข้าวเปลือกภายในประเทศจะเปลี่ยนไป ทำอย่างไรให้ชาวนาได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น แทนที่จะเป็นโรงสีข้าว-ผู้ส่งออก

ล่าสุดมีรายงานข่าวเข้ามาว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เดินหน้าเต็มตัวที่จะ “ผลักดัน” โครงการประกันรายได้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐที่จะแถลงต่อรัฐสภา โดยความเคลื่อนไหวล่าสุด

มีการหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ถึงแนวทางดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร โดยจะนำมาใช้กับพืชเกษตรหลักทุกตัว ทั้งข้าว-มันสำปะหลัง-ข้าวโพด และยางพารา ในขณะที่กรมการค้าภายในเองก็ได้เร่งจัดทำแนวทาง และรายละเอียดการดำเนินโครงการประกันรายได้พืชเกษตร 4 ชนิด ทั้ง “ราคากลาง-ราคาอ้างอิง” ที่จะใช้คำนวณราคาข้าวเปลือก-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ปาล์มน้ำมัน-มันสำปะหลัง ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้พิจารณาทันที

ทว่ายังมีข้อสังเกตแย้งเข้ามาว่า ในความเห็นของกรมการค้าภายใน มีสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวเปลือกเจ้า, ข้าวเปลือกเหนียว, ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ “ไม่มีความจำเป็น” ที่จะต้องใช้มาตรการประกันรายได้ เพราะ “แนวโน้มราคาตลาดอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่แล้ว” แต่ถ้าหากราคาตลาดลดลง “รัฐควรเข้าไปช่วยพยุงราคามากกว่า”

การดิสรัปชั่นที่เกิดจากเทรนด์ใหม่ ๆ กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่วงการเกษตร ซึ่งขณะนี้ต่างฝ่ายต่างมุ่งหาหนทางดิ้นหนีจากการถูกดิสรัปชั่น เหตุผลที่แท้จริงของการดิ้นหนี มีจุดเริ่มต้นมาจาก “ความกลัว” วิธีการเอาชนะความกลัวที่ดีที่สุดคือ การใช้ “ความกล้า” กล้าที่จะก้าวผ่านความกลัว

“การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการเกษตร” ก็ถือเป็นความกล้าประการหนึ่ง แต่ความกล้านี้ต้องใช้ความพยายาม เม็ดเงิน และหลาย ๆ องค์ประกอบ คนที่มีกำลังมากสายป่านยาว ก็ต่อยอดได้มาก ดังจะเห็นจากการพัฒนาตัวเองของบริษัทใหญ่ในวงการเกษตร ซึ่งพยายามกล้าก้าวผ่านคำว่า “สินค้าเกษตรเดิม ๆ” ตามที่หลายคนเคยคิดว่า แค่สินค้าเกษตรมันจะต่อยอดอะไรได้ และก็ขายอยู่อย่างนั้น

วันนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายต่อไปของเค้าคือ การต่อยอดนวัตกรรมสินค้าเกษตร เริ่มพูดถึงสิ่งเรียกกว่า “โปรตีนทางเลือก” ฟังดูแล้วเหมือนภาพฝัน จินตนาการตามไปว่า เราจะมีโปรตีนอะไรที่ไปได้มากกว่าหมู ไก่ ไข่ กุ้ง ที่มีอยู่หรือ ? หรือเป็นเพียงแค่คำเก๋ ๆ ทางการตลาดที่จะมาทำให้ราคาหมู ไก่ ไข่ กุ้ง แพงขึ้นหรือเปล่า

แต่หากมองเทรนด์การพัฒนาทางการเกษตรทั่วโลกจะเห็นว่าเริ่มมีการพูดถึงโปรตีนสกัดจากพืช (plant base) ประยุกต์ให้ตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคยุคใหม่ ซึ่งอาจมีรูปแบบอะไรก็ได้ เป็นแคปซูล เป็นของเหลว หรือเป็นอย่างอื่น ซึ่งก็มีมูลค่าสูงจริง ๆ เพราะการลงทุนช่วงแรก economy of scale น้อย

จากการแถลงนโยบายของซีอีโอ ซีพีเอฟ “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” บอกว่า กลยุทธ์ 3 หัวใจ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล และการสร้างความยั่งยืน

สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนานวัตกรรมนั้น ซีพีเอฟเริ่มโดยการพัฒนาคลังสมองที่เรียกว่า “ศูนย์นวัตกรรม” ขึ้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เติมเม็ดเงินลงทุนไป 1,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นแค่เสี้ยวเล็ก ๆ ของบริษัทยักษ์ขนาด 5.4 แสนล้านบาท แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี คือ สินค้านวัตกรรมอาหารที่สามารถนำออกมาวางตลาดได้จริง เช่น อาหารซูเปอร์ฟู้ดสำหรับผู้ป่วย สินค้าเกษตรพื้นฐานอย่างไก่คุณภาพปลอดสาร และยังมีนวัตกรรมที่อยู่ในไลน์การผลิต ซึ่งเข้ามาช่วยบริหารจัดการฟาร์ม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่าง ๆ เข้ามาใช้ตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยี IT 8 ด้าน (กราฟิก)

ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนานวัตกรรมขั้นพื้นฐานระบบการมอนิเตอร์วัตถุดิบในไซโล หากนึกภาพไซโล คือ คลังสินค้ารูปกรวยเก็บวัตถุดิบ ซึ่งเดิมใช้วิธีคำนวณแบบกว้างคูณยาวคูณสูง จะมีใครสนใจว่าการคำนวณนี้มีความสำคัญต่อการวางแผนการผลิตและสั่งซื้อสินค้าเกษตรเพียงใด แต่บอกได้เลยว่าสำคัญ เพราะหากเจ้าใหญ่ในตลาดเกษตรคำนวณผิด วางแผนสั่งซื้อวัตถุดิบพลาด ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรแน่นอน

ดังนั้น ระบบนี้ไม่เพียงสำคัญต่อซีพีเอฟในแง่การวางแผนการประมาณการผลิตต้นทุน แต่ยังสำคัญต่อการวางแผนบริหารจัดการราคาสินค้าเกษตร หากทุกบริษัทเกษตรมีระบบมอนิเตอร์ที่แม่นยำ เชื่อมโยงไปถึงภาครัฐสามารถวางแผนการปลูกได้ ย่อมช่วยลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และลดการใช้มาตรการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาได้

ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ซีพีเอฟเพียงรายเดียวที่กล้าก้าว สมัครพนันออนไลน์ โดยนำระบบเกษตร 4.0 มาใช้ในการผลิต แต่อาจกล่าวได้ว่าทุกบริษัทด้านสินค้าเกษตรต่างเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ไม่ต่างกัน เพียงแต่จะมากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังและสายป่านของแต่ละราย หากมองบวก ๆ ว่า การลงทุนนี้ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อกำไรของบริษัทที่กล้าลงทุนเท่านั้น แต่อีกด้านหากรู้จักใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ก็อาจต่อยอดเชิงนโยบาย และช่วยเกษตรกรลืมตาอ้าปากได้

อย่างไรก็ตาม การพักหนี้จะไม่เกิดประโยชน์และล้มเหลวเหมือน

ที่ผ่าน ๆ มา หากลูกหนี้ ไม่มีรายได้เพิ่มในช่วงดังกล่าว ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้ที่มีนโยบายปฏิรูปภาคเกษตรให้ทันสมัย จึงได้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คัดเลือกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานและมีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานในการบริหารจัดการ เพราะถือว่ามีความพร้อมมากที่สุดในการรับนโยบายไปทำงานที่จะเริ่มดีเดย์ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลมีระยะเวลาในการบริหารงานเหลืออยู่เพียงไม่กี่เดือน ทั้งนี้ มีการตั้งชื่อโครงการนี้ว่า “1 สหกรณ์ 1 อำเภอ” โดยมีเป้าหมายให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

ส่วนใหญ่ของสหกรณ์ที่คัดเลือกมาร่วมโครงการนี้ เป็นสหกรณ์ที่รวบรวมผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ผลไม้ โคเนื้อ โคนม และสินค้าแปรรูป เพื่อยกระดับสหกรณ์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งต่อยอดนโยบายของรัฐบาลในการดูแลและส่งเสริมเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกร การบริหารจัดการสินค้าการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เริ่มตั้งแต่ส่งเสริมเกษตรกรผลิตสินค้าคุณภาพตรงกับความต้องการตลาด การรวบรวมผลผลิตการเกษตรเพื่อนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า และการประสานภาคเอกชนเข้ามาส่งเสริมช่องทางการตลาด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาที่เป็นธรรม มีรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

สหกรณ์ที่เข้าร่วมในครั้งนี้จะเป็นสหกรณ์การเกษตรทางด้านข้าวกว่า 462 แห่ง มีสหกรณ์ 200 กว่าแห่งที่มีเครื่องมืออุปกรณ์การผลิต-การตลาดครบ สหกรณ์มันสำปะหลัง 63 แห่ง สหกรณ์ข้าวโพด 60 แห่ง สหกรณ์อ้อย 12 แห่ง สหกรณ์สวนยาง 73 แห่ง สหกรณ์ทำสวนผสม 55 แห่ง สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน 27 แห่ง ฯลฯ

“สมคิด” จี้สหกรณ์ใช้นวัตกรรม-ขายผ่านเว็บไซต์

“ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยกับอิสราเอลที่มีประชากร 5-6 ล้านคน ต้องมีคำถามกันว่า เราฉลาดสู้เขาไม่ได้จริงหรือ ?

จริง ๆ แล้วเราขาดความจริงจัง ถ้าเราพัฒนาทุกวัน เราไม่แพ้เขาเด็ดขาด ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ล็อกเราอยู่ 20 ล้านคน ในภาคเกษตร อำนาจซื้อก็ไม่มี ต้องเปลี่ยนใหม่ ทำทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพย์สินของประเทศ ต้องทำให้เป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือต้องทำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ จะแข่งอย่างไร ? ประเทศเจริญไม่ได้ ถ้ามีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้

ของประชากรในประเทศ เป็นจุดอ่อน อย่ามามัวแต่พูดกัน โครงการที่จะทำต้องอยู่กันได้ก่อน ราคาจำนำข้าวต่อไปต้องใกล้เคียงกับตลาด ชาวนาที่ไม่มีสวัสดิการก็จะสร้างบัตรประชารัฐขึ้นมา รายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปีต้องเกื้อหนุน ธ.ก.ส.พักหนี้ พักดอกเบี้ย ต่อไปจะพักหนี้ให้สหกรณ์ด้วย คือทำอย่างไรจะบรรเทาให้ประชาชนอยู่ได้ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลกำลังดูแลอยู่

วันข้างหน้าเขาจะได้ยืนอยู่ได้ แต่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จะปลูกอะไร ต้องลดการปลูกพืชบางอย่าง เพิ่มการปลูกพืชบางอย่างให้การตลาดนำ” นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวและย้ำว่า

วันที่ 1 กันยายนนี้ ให้เริ่มงานกันเลย คิดโครงการขึ้นมา นวัตกรรมใหม่ ๆ จะหวังให้ทุกคนร่วมทำยาก จนกว่าจะเห็นว่า ไม่มีความเสี่ยงสำหรับคนรุ่นเก่า ส่วนคนรุ่นใหม่ “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” ที่กล้าเสี่ยง กล้าหาโอกาส ต้องเข้ามาช่วยคิดแผนงานด้วย ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯก็ต้องคิดออกมาว่าจะปลูกอะไร ธ.ก.ส.ต้องช่วย หอการค้าจังหวัดด้วย นี่คือการปฏิรูปจริง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า เอาเทคโนโลยีมาช่วย เรียนรู้ตลาด

เอาออนไลน์มาช่วยเป็นทิศทาง เหมือนอาลีบาบาเข้ามาส่งสินค้าไทยไปเมืองจีน เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่อย่างนั้น โปรดักทิวิตี้จะไม่ดี อย่างที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่น จีดีพีเกษตรของเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งสูงมาก เพราะใช้เกษตรนวัตกรรมตั้งแต่สินค้าเนื้อยันผลไม้ พืชผัก ขายผ่านเว็บไซต์สหกรณ์ ขายไปทั่วโลก

ดังนั้น สหกรณ์เกษตรของไทย 700 กว่าแห่งที่มา ต้องค้าผ่านเว็บไซต์ได้ ต้องปฏิรูปตัวเอง ทุ่ม 1,700 ล้านเตรียมความพร้อมทำโครงการ

ขณะที่ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการ 1 สหกรณ์ 1 อำเภอ ที่ทำต่อเนื่องกับนโยบายพักหนี้ เพราะต้องการให้เกษตรกรหารายได้เสริม หลังจากทำนาเสร็จแล้ว จะปลูกพืชอะไรเสริม ทั้งการปลูกทดแทนข้าวนาปรัง การปลูกข้าวโพดหลังทำนา ตามนโยบายรัฐบาล (ดูตาราง

ประกอบ) ให้สหกรณ์ที่มา 700 กว่าแห่ง ที่ถือว่าเป็นปลั๊กตัวแรกในการขับเคลื่อน กลับไปวางแผนว่า สิ่งที่คิดไว้จะทำกันกี่ไร่ กี่คน ถ้าไม่มีตลาดก็ไม่ทำเด็ดขาด ต้องไปคุยกับพ่อค้ารายใหญ่มาทำร่วมกับสหกรณ์ ซึ่งโครงการนี้จะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ต่อปีจาก ธ.ก.ส. แก่สมาชิกสหกรณ์เป็นเวลา 3 ปี จากระยะเวลากู้นาน 7 ปี

ล่าสุด กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำโครงการนำร่องปลูกพืชกับสหกรณ์การเกษตรที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ และที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แห่งละ 3,000 ไร่ ถ้าไปได้ เดือนพฤศจิกายนนี้จะดีเดย์ทั่วประเทศ ที่ผ่านมาเกษตรกรสูงวัยจ้างทุกอย่าง ต่อไป

สหกรณ์จะไปรับจ้างจัดการให้สมาชิก ถ้าต้นทุนต่ำกว่าน่าจะไปได้ ถ้าเท่าเดิมจะไม่ทำ จะเอาพ่อค้าไปซื้อสินค้าจากสหกรณ์ เพื่อสร้างรายได้หลังพักหนี้

รัฐได้จัดสรรงบฯกลางมาให้แล้ว 1,700 ล้านบาท มาช่วยเหลือสหกรณ์ ทั้งการช่วยจัดทำโครงการแผนงานต่าง ๆ บวกกับการกระตุ้นการตลาด การค้าขายของสหกรณ์ใดที่ยังทำไม่ครบวงจรหรือสุดทาง ก็จะช่วยหาผู้ที่รู้มาช่วย เช่น การค้าขายผ่านออนไลน์ ถ้ามีปัญหาอุปสรรคอะไรให้บอกมา สหกรณ์จังหวัดต้องลงไปพิจารณาร่วมว่า กลุ่มสหกรณ์เป้าหมายจะขับเคลื่อนได้หรือไม่ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง ขาดเงินทุน ขาดเครื่องจักรกล อุปกรณ์อย่างไร มีคุณสมบัติพื้นฐานครบหรือไม่ มีแผนอย่างไร เพื่อเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

อย่างไรก็ตาม สหกรณ์การเกษตรที่เหลืออีก 3,000 กว่าแห่งไม่ต้องน้อยใจ โครงการนี้ยังจะมีในรอบ 2-3 อีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น สหกรณ์ที่คัดเลือกมารอบแรกเพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาแล้วก็อย่าทำเสียโอกาส ในการร่วมงานกันเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้นต่อไป

เกษตรกรพัทลุงเร่งปรับตัว ปลูกสละ-แปรรูป หารายได้ชดเชยราคายางพาราตกต่ำ นักวิชาการการเกษตรชี้เกษตรควรปรับคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ตลาด

นายกอนี วิจารณ์ เจ้าของสวนสละ บ้านทุ่งเหรียง หมู่ 2 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ปลูกสละมาร่วม 6 ปี โดยสละแต่ละกอได้ขยายตัวออกไปเป็นประมาณ 1,000 ต้นในปัจจุบัน จากพื้นที่จำนวน 3 ไร่

นายกอนี กล่าวอีกว่า ได้ปลูกสละสายพันธุ์อินโดนีเซีย 200 ต้น ขณะนี้มีราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/กก. สายพันธุ์เนินวงศ์ 800 ต้นราคา 50 บาท/กก. และสายพันธุ์สุมาลีราคา 70 บาท/กก. โดยในด้านการขาย จะมีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงหน้าสวน นอกนั้นขายปลีกในพื้นที่

ปัจจุบันเกษตรกรหลายรายใน จ.พัทลุงได้โค่นยางพาราและหันมาปลูกสละกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด ปลูกแล้วกว่า 200 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์สุมาลี และยังไม่ให้ผลผลิต

“ขณะนี้ในกลุ่มเกษตรกรสละ กำลังหารือพูดคุยกันถึงจะต้องมีการแปรรูปสละเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการตลาด เพราะมีเกษตรกรหันมาปลูกสละกันมากขึ้น” นายกอนีกล่าว

นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ สำนักงานเกษตร จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จ.พัทลุง เป็นแหล่งปลูกสะละรายใหญ่ทางภาคใต้ ประมาณขณะนี้หลักหมื่นไร่ และ จ.พัทลุง มีพื้นที่เหมาะสม ยกเว้นบางพื้นที่เขต 5 อำเภอติดกับทะเลสาบสงขลา

โดยปัจจุบันสละปลูกมาก ที่ อ.ป่าบอน และ อ.ศรีบรรพต และขณะนี้ปลูกทุกอำเภอ สะละมีผลผลิตยังไม่พอกับความต้องของตลาด และตลาดที่สำคัญ จ.ภูเก็ต จ.สตูล และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายไพรวัลย์ อธิบายว่าส่วนตัวเลขเงินหมุนสะพัด ไม่สามารถรวบรวมได้เพราะราคาหน้าสวนกับราคาหน้าแผงต่างกัน โดยหน้าแผงมีราคาตั้งแต่ 100 -120 บาท/กก. แต่หน้าสวนราคา 50–80 บาท/กก. เมื่อประมาณการโดยเฉลี่ยพบว่าสละจะสร้างรายได้ 6,000 บาท/ต้น/ปี โดยสละ 1 กอ จะมีประมาณ 3 ต้น และหากเทียบแล้ว สะละ 1 กอ จะให้ผลตอบแทนเท่ากับยางพารา 1 ไร่

“สละลงทุนมากช่วงแรก จากค่าต้นพันธุ์ ค่าระบบน้ำ นอกจากนี้ประการสำคัญคือต้องพัฒนาคุณภาพ เพราะบางส่วนยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการอยู่ โดยสละ จ.พัทลุง ได้มีการพัฒนาแปรรูปหลายผลิตภัณฑ์ มีตั้งแต่ น้ำสละ สละลอยแก้ว สละผง สละแยม ฯลฯ

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยสงขลาต่อยอดธุรกิจท่องเที่ยว จัด “โครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์สงขลา” หวังดันยอดรายได้ท่องเที่ยวสงขลาทะลุ 50,000 ล้านบาท

นายพิชัย จงไพรัตน์ ประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัด ประมาณ 50,000 กว่าล้านบาท/ปี เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ แต่ทำอย่างไรจะให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ดังนั้นทางสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สงขลา จึงได้จัดโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์สงขลา

เป็นโครงการเชิงรุก และเป็นโครงการแรกของประเทศไทย โดยนำทรัพยากรในท้องถิ่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับวิถีชุมชน ดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน ตอนนี้อยู่ระหว่างการเชื่อมโยงเส้นทางชุมชน กลุ่มกิจกรรม และจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยได้นำเสนอโครงการผ่านทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การสนับสนุน ซึ่งโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์นี้ หากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ ให้การสนับสนุนจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เพราะว่าโครงการนี้ไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น

“ท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์ เป็นการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น มีการสอนทำอาหารท้องถิ่น ฯ เป็นต้น”

สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งวางแผนจะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่หลายวันขึ้น จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดสงขลาไม่เกิน 3 วัน ทำอย่างไรให้อยู่นานขึ้นอีก 1 วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร จะมีรายได้เพิ่มขึ้นและทั่วถึง

นายพิชัยกล่าวต่อไปว่า จังหวัดสงขลามีรายได้หลักจากภาคการเกษตร เช่น ยางพารา การประมง หากยางพารามีราคา ภาพรวมเศรษฐกิจการค้าก็ดีขึ้น เพราะคนมีกำลังซื้อ แต่เมื่อยางพาราราคาไม่ดี กำลังซื้อภายในจังหวัดก็ไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สงขลา จึงเติมกำลังซื้อด้วยโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์

นายพิชัยกล่าวถึงภาพรวมการทำกิจกรรมของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลาในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาว่า ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ ทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น เรื่องการค้าออนไลน์ การเน้นสร้างนวัตกรรม และความแตกต่างของสินค้าเพื่อหาจุดเด่น และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ที่ดีมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (26 ต.ค.2561) ชาวบ้านจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปา หมู่ 4 ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย ประมาณ 100 คน นำโดยนายจันทร์ติ๊บ คำอ้าย ประธานกลุ่ม ไปชุมนุมที่ศาลากลาง จ.เชียงราย โดยถือป้ายข้อความเรียกร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือชาวบ้านที่ขายข้าวอินทรีย์ แต่ไม่ได้รับเงินรวมกันกว่า 3,728,555 บาท

โดยมีป้ายข้อความต่างๆ บางป้ายเรียกร้องไปถึง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีกำหนดจะเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.เชียงราย วันที่ 29-30 ต.ค.นี้ด้วย

นายจันทร์ติ๊บ กล่าวว่าเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนชาวบ้านได้รับส่งเสริมให้ปลูกข้าวอินทรีย์จากโรงเรียนชาวนาโดยวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย จึงได้รวมกลุ่มกันและเข้ารับการอบรมและปลูกข้าวอินทรีย์โดยไม่ใช้สารเคมีตามหลักการที่อบรมมาทุกอย่าง กระทั่งได้ผลผลิตและส่งให้กับผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนที่มารับข้าวไป

ปลายปี 2560 ชาวนาได้ส่งอินทรีย์ให้วิสาหกิจชุมชนมูลค่ารวมกันทั้งหมด 6,095,829 บาท ปรากฎว่ามีการชำระเงินให้กับชาวบ้านเพียงแค่ 2,367,274 บาท คงเหลืออีกกว่า 3,728,555 บาทที่ยังไม่ได้รับ โดยเฉลี่ยคนมีเงินคงค้างรายละตั้งแต่ 10,000-200,000 บาท

นายจันทร์ติ๊บ กล่าวอีกว่าปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักเพราะชาวบ้านไม่มีรายได้อื่นนอกจากทำนา ต้องมีเงินหมุนจากการขายข้าวเมื่อจะขึ้นฤดูกาลใหม่และต้องเก็บเกี่ยวข้าวของตน หลายคนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งเรื่องยืดเยื้อมาเกือบ 1 ปี เพราะเคยทวงค่าขายข้าวไปยังผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนแล้วก็ถูกบ่ายเบี่ยงและเลื่อนมาตลอด โดยอ้างว่าติดขัดเรื่องสถาบันการเงิน ทำให้ชาวบ้านหมดความอดทนและไปยื่นร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ช่วยเหลือดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าต่อมานายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์ดำรงค์ธรรม จ.เชียงราย พ.อ.พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กอ.รมน.จ.เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ารับเรื่อง และประสานเร่งด่วนไปยังผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนเพื่อนัดเจรจากับชาวบ้านที่ศาลากลาง จ.เชียงราย ในวันพุธที่ 1 พ.ย.2561 ที่จะถึงนี้

เกษตรกรเมืองตรังแปรรูปถั่วดาวอินคาเป็นสบู่ โลชั่น และชา ส่งออกขายในหลายพื้นที่ สรรพคุณลดสิว ฝ้า ความดันเลือด เบาหวาน และเหน็บชา

นายมณี เพ่งพิศ เกษตรกร จ.ตรัง เปิดเผยว่า ตนและภรรยา ได้ใช้ภูมิปัญญาจากตำราหมอชาวบ้านที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษนำถั่วดาวอินคา ซึ่งเป็นพืชไม้เลื้อยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ โลชั่น และใบชาถั่วดาวอินคา ส่งออกขายในหลายพื้นที่ รายได้ดี

โดยตนทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับถั่วดาวอินคา มานานกว่า 5 ปีแล้ว โดยนำมาแปรรูปเป็นสบู่ซึ่งมี 3 สูตรด้วยกัน สูตรที่ 1 ตัวขัดผิว สูตรที 2 เป็นสบู่ 6 เหลี่ยม เป็นตัวบำรุงหน้า ช่วยแก้สิว ฝ้า และตัวที่ 3 สูตรน้ำผึ้งผสมกับขมิ้นชัน

อีกผลิตภัณฑ์คือการแปรรูปเป็นโลชั่นกันแดด โดยจะใช้ทุกส่วนของถั่วดาวอินคา ไม่ว่าจะเป็น ใบ เมล็ด ฯลฯ ปัจจุบันมีส่งขายตามจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัด เช่น ลพบุรี กรุงเทพฯ เขตปริมณฑล และภาคอีสาน ส่วนภาคใต้ก็จะมี จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ จ.สงขลา จ.ปัตตานี เป็นต้น

นอกจากผลิตภัณฑ์สำหรับการอุปโภคแล้ว ถั่วดาวอินคายังสามารถมาสกัดทำเป็นชาถั่วดาวอินคาได้อีกด้วย เนื่องจากมีการวิจัยและค้นพบว่ามีสรรพคุณช่วยลดความดันในเลือด เบาหวาน ช่วยเรื่องความจำ แก้เหน็บชา ป้องกันข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย

โดยสบู่ถั่วดาวอินคานั้นจะขายในราคาส่งก้อนละ 20-40-50 บาท ตามขนาด ส่วนโลชั่นราคาขวดละ 80 บาท และยังมีชาดาวอินคาขายในราคาส่งถุงละ 50 บาท

วันที่ 22 มกราคม 2562 เวลา 13.30 น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เรื่องสถานการณ์และแนวทางการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/62 ว่า ทางคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/62 ในโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2561/62 ด้วยวงเงินงบประมาณ 45 ล้านบาท

นายณัฐพร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิกและสถาบันเกษตรกรตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันเกษตรกร เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับสถาบันเกษตรกรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2561/62 กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจำหน่ายต่อ หรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

รวมถึงเพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรได้มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่หลากหลายยิ่งขึ้นจากเดิมที่แหล่ง รับซื้อส่วนใหญ่จะเป็นประกอบการเอกชน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมหรือรับซื้อและสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตร วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท โดยใช้เงินทุน ธ.ก.ส. ซึ่งทาง ธ.ก.ส. จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดยคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแก่ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้ และตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เป็นต้นไป แต่จะต้องไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

วันนี้ (25 มกราคม 2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดตรังเตรียมพร้อมฤดูกล้วยไม้ป่าบานต้อนรับนักท่องเที่ยว ในขณะที่รองเท้านารี โดยเฉพาะสายพันธุ์เหลืองกระบี่ เหลืองตรัง ขาวชุมพร คางกบใต้ ออกช่อบานสะพรั่งให้ได้ชมแล้วในช่วงนี้

นางสาวิตรี ศรีหมอก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ในสังกัดกองขยายพันธุ์พืชกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้ทางศูนย์ฯได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสังกัดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในโครงการได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าต่างๆ มาให้ได้ชม ซึ่งในตอนนี้มีกล้วยไม้ป่าสายพันธุ์เหลืองกระบี่ที่กำลังเบ่งบาน นับว่าเป็นกล้วยไม้ป่าที่ผลิบานเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์

นางสาวิตรี เปิดเผยต่อไปว่า หากนักท่องเที่ยวท่านใดอยากมาสัมผัสสามารถมาชมได้ในช่วงนี้ นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้ขาวชุมพร ช่องอ่างทอง เหลืองตรัง ขาวสตูล ฯลฯ และในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม กล้วยไม้ไอยเรศหรือหางกระรอก จะออกช่อบานสะพรั่งเต็มพื้นที่ นอกจากที่กล่าวในกลุ่มรองเท้านารีแล้วนั้น ยังมีกล้วยไม้กล้วยไม้ดินบางส่วน ได้แก่ กล้วยไม้เอื้องแปรงสีฟัน เอื้องเขากวางอ่อน เอื้องสายจำปา ที่ออกช่อบานสะพรั่งเช่นกัน

ปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกเหนือ หรือ “โพลาร์ วอร์เท็กซ์” (polar vortex) ที่ซัดกระหน่ำหลายพื้นที่ในสหรัฐอเมริกากว่าหนึ่งสัปดาห์ ขณะนี้กำลังทำลายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในการเกษตรและปศุสัตว์ ทำให้ธุรกิจหลายรายถูกแช่แข็งชั่วคราว
รายงานของ “รอยเตอร์ส” ระบุว่า หลายมลรัฐในสหรัฐ ตั้งแต่ภาคตะวันตกกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบภัยหนาวรุนแรงนับตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา มวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเหนือไหลลงมาทางตอนใต้มากกว่าปกติ โดยอุณหภูมิในสหรัฐในบางพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา วัดได้มากถึง -50 องศาเซลเซียส

ทั้งนี้ เกษตรกรหลายรายในรัฐนอร์ทดาโกตาและรัฐไอโอวา รัฐสำคัญในด้านเกษตรและปศุสัตว์ของสหรัฐ กล่าวว่ายังคงเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น

ฟาร์มเลี้ยงหมูเกินกว่า 50% ไม่สามารถรับมือกับอุณหภูมิที่ลดลงต่ำฉับพลันได้ทัน หมูและไก่หลายร้อยตัวแข็งตายท่ามกลางพายุหิมะ เพราะเครื่องทำความร้อนในฟาร์มไม่เพียงพอ

ขณะที่บริษัท Cargill Inc ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของสหรัฐ ปิดโรงงานธัญพืชทั้งหมดในมิดเวสต์ เพราะสภาพอากาศหนาวจัด อุณหภูมิติดลบมากที่สุดถึง -40 องศาเซลเซียส

ทั้งระบุด้วยว่า อาจปิดยาวเป็นสัปดาห์จนกว่าอุณหภูมิจะอุ่นขึ้น เพราะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติส่งผลต่อคุณภาพของธัญพืช ส่วนบริษัท Archer-Daniels-Midland (ADM) ผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ในสหรัฐ กล่าวถึงต้นทุนจากการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางขนส่งใหม่ ขณะที่โรงงานเก็บเมล็ดพืชในมิดเวสต์ต้องปิดลงชั่วคราว จนกว่าสภาพอากาศจะดีขึ้นเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ บริษัท Tyson Foods Inc จากรัฐอาร์คันซอ หนึ่งในบริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์รายใหญ่ ปิดโรงงานเนื้อหมู 2 แห่ง ในเมืองวอเตอร์ลู รัฐไอโอวา ส่วนบริษัท Hormel Foods Corp ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเนื้อแช่แข็ง ประกาศปิดไลน์ผลิตชั่วคราวในเมืองออสติน รัฐมินนิโซตา ซึ่งเป็นรัฐที่มีอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐ

นายโจอี้ เมเยอร์ เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์แห่งหนึ่งในรัฐนอร์ทดาโกตา กล่าวว่า ปรากฏการณ์โพลาร์วอร์เท็กซ์ กำลังทำให้เนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น เพราะสินค้าขาดตลาด แต่ปัญหาคือเกษตรกรไม่สามารถสนองดีมานด์ของผู้บริโภคได้ เพราะได้รับผลกระทบเช่นกัน ขณะที่ต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อนหลายพันเครื่อง

รายงานระบุว่า ชิคาโกเป็นหนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในสหรัฐ ขณะนี้ค่าใช้จ่ายด้านความร้อนเพิ่มขึ้น 6-7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับปีก่อน ที่เพิ่มขึ้น 1-2%

ทีมวิจัยข้อมูลของ “Accuweather” หน่วยงานพยากรณ์อากาศในสหรัฐคาดการณ์ว่า ความเสียหายจากปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐถึง

14,000 ล้านดอลลาร์ เพราะกระทบในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การยกเลิกเที่ยวบิน รถไฟ รายได้ของธุรกิจบริการ รวมถึงสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ ขณะที่ในทุก ๆ ปีเทศกาลวันปีใหม่ของจีน สหรัฐคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน แต่สภาพอากาศที่แปรปรวนหนักทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป

นายโจ เมเยอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Accuweather กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือการที่อุณหภูมิในหลายพื้นที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสูงขึ้นฉับพลันกว่า 60 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่ในตอนนี้ละลาย ถึงตอนนั้นหลายพื้นที่ของสหรัฐจะเกิดอุทกภัย และตามด้วยอุณหภูมิจะกลับมาลดลงต่ำอีกครั้ง ความแปรปรวนนี้จะเกิดขึ้นตลอดเดือน ก.พ.

“แมคคินเซย์ แอนด์ คอมพานี”

บริษัทให้คำปรึกษาชั้นนำกล่าวว่า นอกจากเศรษฐกิจของสหรัฐจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงการบริหารประเทศของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะอยู่ในตำแหน่งอีก 2 ปีก่อนหมดวาระลง โดยเฉพาะการเกิดวิกฤตชัตดาวน์ และสงครามการค้ากับจีน สภาพอากาศเลวร้ายก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ลงอีก

บทเรียนที่เคยได้รับจากปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นรุนแรง เคยเกิดขึ้นในสหรัฐแล้วในระหว่างปี 2013-2014 ซึ่งในตอนนั้นเศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 2.1% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2014 แต่หากเทียบกับปรากฏการณ์โพลาร์วอร์เท็กซ์ในครั้งนี้ ยังไม่มีใครตอบได้ว่าผลของความเสียหายจะรุนแรงมากแค่ไหน

เริ่มจากปรับเปลี่ยนพื้นที่และเลือกปลูกพืชที่กิน ไปพร้อมกับการเปิดใจเรียนรู้และพัฒนาสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนที่พัฒนาตัวเองสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่กับเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานสามารถเลือกซื้อผลผลิตสดๆ จากสวนด้วยตัวเอง สร้างทั้งรอยยิ้มและรายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

สารคดีเสียงจากแผ่นดิน season4 ep21 วิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านบกห้องพัฒนา ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ รวมกลุ่มระดมทุน สร้างเครือข่ายอาชีพ เพิ่มรายได้ในชุมชนอย่างแท้จริง

เมื่อชุมชนเกิดปัญหา รายได้ในชุมชนเริ่มไม่สอดคลองกับรายจ่าย การระดมทุนเพื่อสร้างความร่วมมือจึงก่อเกิดขึ้นในชุมชน เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจที่บริหารจัดการโดยคนในชุมชน ต่อยอดพัฒนาสู่อาชีพที่คนในชุมชนถนัด สร้างมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.ตรังว่า หนุ่มวิศวกรไฟฟ้าจูงมือภรรยาสาวจบเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาปลูกเมล่อนและทำฟาร์มเกษตร 4.0 เมื่อสำเร็จแล้วจึงต่อยอดมาปลูกแตงโมพันธุ์ช้างแสดและช้างดำในโรงเรือน มีทั้งชนิดเนื้อสีเหลืองและสีแดง เมล็ดกินได้แถมเป็นยาชูกำลัง ผลตอบรับดีมากจนไม่พอขาย

นายภคิน ไทรงาม อายุ 40 ปี เจ้าของสวนคีพบ๊อกซ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตน ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และภรรยา ที่เรียนจบเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีใจรักด้านการเกษตร จึงนำที่ดินเนื้อที่กว่า 2 ไร่ ที่แต่เดิมคิดว่าจะสร้างคอนโดหรูใจกลางเมืองตรังมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท มาเป็นแปลงเกษตรแบบผสมผสาน เมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มปลูกผักและผลไม้ที่ชอบรับประทานก่อน โดยเฉพาะเมล่อนสายพันธุ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ ขายได้ตลอดทั้งปี

สำหรับในปีนี้ได้นำเมล็ดพันธุ์แตงโมช้างดำ ซึ่งมีเนื้อเป็นสีแดง และช้างแสดซึ่งมีเนื้อเป็นสีเหลืองมาปลูกไว้ในโรงเรือนกว่า 100 ต้น โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 6 แล้ว ใช้เวลาปลูกประมาณ 60-65 วันก็สามารถเก็บขายได้ในราคากิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งแพงกว่าแตงโมทั่วไปถึง 3 เท่า แต่ได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก จนผลิตไม่พอขายและต้องสั่งจองล่วงหน้าแบบรุ่นต่อรุ่น เพราะปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ใช้ระบบน้ำหยดทำให้ประหยัดน้ำและไม่มีโรคและแมลงรบกวน

“สำหรับแตงโมช้างแสดและช้างดำ มีข้อดีคือเนื้อละเอียด เมล็ดลีบสามารถกินได้ทั้งเมล็ด แถมยังเป็นยาชูกำลัง บางกรอบ หอมหวานชุ่มคอ ลงมีดแล้วลั่นแตกตามรอยมีด สามารถนำไปทำบิงชู น้ำแตงโมปั่น และทำเมนูอื่นได้ นำออกขายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่พลาดโอกาสซื้อเป็นลูก ส่วนผักและผลไม้อื่น ๆ ยังคงเก็บขายได้ตลอดทั้งปี ที่เหลือนำมาแปรรูปเป็นไอศรีม โยเกิรต์ สร้างรายได้รวมกันแล้วกว่า 100,000 บาทต่อเดือน” นายภคิน กล่าว

นายภคิน กล่าวว่า ล่าสุดมีการนำเมล็ดพันธุ์เมล่อน แตงโมช้างแสดและช้างดำขายให้กับเกษตรกรที่สนใจนำไปปลูก เพื่อสร้างรายได้เสริมในช่วงหน้าแล้งปีนี้ ส่วนเกษตรกรรายใดสนใจสามารถไปศึกษาดูงานได้ฟรีทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ที่ คีฟบ๊อกซ์ฟาร์ม หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-9581181 หรือทางเพจคีพบ๊อกซ์ฟาร์มจ.ตรังก็ได้ ทั้งนี้ ลักษณะเด่นของช้างแสดคือเนื้อกรอบ รสชาติถูกปากลูกค้า ส่วนช้างดำเป็นแตงโมเนื้อสีแดงสามารถกินเมล็ดได้แถมเป็นยาชูกำลัง ลูกค้าสามารถจองผ่านเฟสบุ๊กได้ ซึ่งปลูกในโรงเรือนทำให้ปลอดภัยจากสารเคมี

ต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน บ้านใครบ้านมัน ชุมชนแบ่งเป็น 3 โซน ต้นซอย กลางซอย ท้ายซอย เวลามีงานก็ทำใครทำมัน ส่งผลทำให้ชุมชนไม่เกิดการพัฒนา

ฟังแนวทางการแก้ไขปัญหา นำมาซึ่งอาชีพ สมัคร GClub และรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ตั้งอยู่กลางเมืองหลวง “ชุมชนราชทรัพย์บางซื่อ” “เมื่อก่อนปลูกแบบชาวบ้านเฉยๆ ไม่เน้นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ไม่มีกระบวนการผลิต ไม่มีกระบวนการลดต้นทุน ไม่มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เมื่อมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว จึงมาเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ องค์ความรู้ ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตเราได้มีโอกาสรวมกลุ่มสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 15 ราย เพิ่มมาเป็น 29 ราย แล้วปี 59 เป็น 52 ราย”

ประธานหอการค้านครศรีฯ ผันเกษตรสู่บริการแหล่งเที่ยวใหม่มาแรง

เมื่อวงจรของภาคเกษตรยังวนเวียนอยู่กับราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ หลายคนบอกว่าถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนจากสิ่งเดิม ๆ แต่ทำอย่างไร “ประชาชาติธุรกิจ” พูดคุยกับ “กรกฎ เตติรานนท์” ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมหาทางแก้ไขกับเกษตรกร ซึ่งได้ยอมรับว่าเศรษฐกิจของนครศรีธรรมราช คือ ภาคเกษตร แต่กลับยังไม่เห็นโอกาสสดใสในเร็ววันนี้

กรกฎบอกว่า หอการค้านครศรีฯ มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 ระดับ คือ ระยะสั้น กลาง และยาว โดยระยะสั้น คือ การเติมเงินให้กับประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนโครงการเกษตร 4.0 ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านโหมดประชารัฐ เริ่มต้นที่ส้มโอทับทิมสยาม ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูง

โดยหอการค้าตั้งใจไปให้สุดทางใน 3 เรื่อง คือ 1.ฟาร์มอัจฉริยะ 2.สมาร์ทฟาร์มเมอร์ และ 3.สร้างมาตรฐานการผลิตส้มโอทับทิมสยาม คือ จะมีไกด์บุ๊กให้กับเกษตรกรทุกคน โดยความร่วมมือตรงนี้ เราเริ่มที่ส้มโอทับทิมสยาม และจะขยับไปที่ทุเรียน และมังคุด ในลำดับต่อไป

“ผมแจ้งอาจารย์มหาวิทยาลัยว่าโจทย์ของส้มโอทับทิมสยาม คือ ใหญ่ แดง และหวาน ดังนั้นความรู้ที่จะถ่ายทอดให้เกษตรกรต้องเป็นอะไรที่จับต้องได้ ไม่ใช่เป็นงานวิจัย หรือตำราแบบที่เกษตรกรไม่สามารถเข้าใจ แต่ต้องการการปฏิบัติสู่ผลลัพธ์นั้น และขับเคลื่อนได้ทันที เช่น ส้มโอทับทิมสยาม คือ สินค้าที่ได้ไอจี ถูกระบุไว้ชัดแล้ว ที่ปากพนัง ฉะนั้นเมื่อรู้อยู่แล้วว่าสภาพดินปากพนังเป็นอย่างไร อาจารย์ก็เพียงบอกว่าวิธีการใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การดูแลรักษา โรค และแมลง เราจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาตามคุณภาพที่เราต้องการ”

รื้อระบบดูแลปาล์ม

ภาคเกษตรในปี 2561 เรามีคาดหวังให้ดีขึ้น แต่ในเรื่องความเป็นจริงต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าการเกษตรของเรายังราคาไม่ขยับ เราพยายามจะลดต้นทุนให้เกษตรกรที่มีอยู่ถึง 65% สิ่งที่หอการค้ากำลังเข้าไปทำปัจจุบัน คือ เรื่องปาล์มน้ำมัน โดยจะเข้าไปดูแลเรื่องปัจจัยการผลิตทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย หรือยีลด์ เพราะหลักๆ ปุ๋ยจะเป็นต้นทุนการผลิตประมาณ 15-20% ของการผลิตทั้งหมด ขณะที่ยีลด์มีผลต่อราคา

“ปัจจุบันจากองค์ความรู้ที่อาจารย์ให้เรามา คือ ปุ๋ย มีวัฏจักรของมัน แล้วตัวมันสูญเสียไปในสภาพแวดล้อม ฉะนั้นถ้าใส่ปุ๋ยทุก 6 เดือน ทุก 3 เดือน ไนโตรเจนจะถูกแอปพลายแค่ครั้งเดียวแล้วหายไป เมื่อเรารู้โครงสร้างแบบนี้เราต้องปรับว่าทุกอาทิตย์ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจน แต่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้ใส่ปุ๋ยถี่ขึ้น และปริมาณน้อยลง เพราะทุกวันนี้เราเล็งเห็นว่าการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรปัจจุบันใช้ปุ๋ยผิดวิธี คือ ใช้เกิน และทำให้ดินเสีย ดังนั้นถ้าเราสามารถลดปริมาณปัจจัยการผลิตลงได้ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ขณะเดียวกันยีลด์จะสูงขึ้น”

โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 จะเป็นลักษณะรณรงค์ก่อน และขับเคลื่อนทั้งระบบ คาดว่าเกษตรจังหวัดและเกษตรและสหกรณ์ก็จะขับเคลื่อนพร้อมกับเรา

พลิกเกษตรสู่บริการ-ท่องเที่ยว

สำหรับระยะกลาง เราจะขอเปลี่ยนจากโหมดการเกษตร เป็นภาคบริการและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการแชร์ความเสี่ยงของนครศรีธรรมราช และมองว่าโอกาสในการเปลี่ยนนี้ จะทำให้นครศรีธรรมราชเพิ่มศักยภาพ และเติมเงินให้กับตัวชุมชนได้ โดยในส่วนที่หอการค้าทำ คือ โหมดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เข้าไปคุยกับทางชุมชนว่าจะขับเคลื่อนโดยภาคการเกษตรอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ปัจจุบันภาคการเกษตรเป็นฐาน เราไม่ทิ้งภาคการเกษตร และการเปลี่ยนสู่ภาคบริการและท่องเที่ยว ชุมชนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนตัวเอง ราว 6 เดือน ถึง 1 ปี

ระยะยาว คือ อุตสาหกรรมการแปรรูป โดยเรากำลังส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจ และนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ พืชผลทางการเกษตร เป็นกรีน อินดัสเตรียล ในพื้นที่ของนครศรีธรรมราช ไม่เพียงเท่านี้ เราจะต่อยอดสิ่งที่เราทำทั้งแวลู เชน คือ ในเมื่อเราส่งเสริมการเกษตรในเรื่องผลไม้แล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตด้วย

ขนอม สิชล แหล่งเที่ยวฮิตใหม่

กรกฎบอกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2561 มองว่าภาคการใช้จ่ายยังไม่สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก แต่การท่องเที่ยวสามารถช่วยได้ เพราะเราเห็นตัวเลขของภาคการท่องเที่ยวฝั่งทะเลทั้งขนอม และสิชล เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราต้องตอบโจทย์ที่จะขับเคลื่อน และโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวจุดนี้ให้ดึงเงินเข้าจังหวัด ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวบนฝั่งที่ยังเงียบอยู่ อย่างน้ำตกกรุงชิง เราต้องโปรโมต เพราะตรงนี้เป็นธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ สามารถจะเพิ่มมูลค่า และเอามูลค่าคืนจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ส่วนโครงการ “หลาดหน้าพระธาตุ” ที่ประสบความสำเร็จติดลมบนไปแล้วนั้น ประธานหอการค้านครศรีฯ บอกว่า เป็นการนำต้นทุนที่มีอยู่ในนครศรีธรรมราชมาขาย เป็นการทำให้เกิดบิ๊กแบง หรืออิมแพ็กต์แรง ๆ โดยเลือกโลเกชั่นเป็นหลัก ซึ่งนครศรีธรรมราชเราโชคดีมีพระบรมธาตุเป็นโลเกชั่นหลัก และเป็นศูนย์รวมใจ

“เริ่มจากหลังน้ำท่วมปี 2559 เราจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระตุ้นให้คนกลับมามีรายได้ ตอนนั้นโจทย์ คือ local economic และ culture experience จะทำให้เกิด culture economic ได้อย่างไร จึงเลือกพระธาตุ มีคุณค่าตั้งแต่อดีต ไม่ได้เสื่อมคุณค่าลง เพียงแต่เราเอาคุณค่าเดิมมาเสริมด้วยบริบทของวัฒนธรรม บวกกับโครงการที่เราทำเป็นแนวคิดของไทยเท่ ทั่วไทย ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ”

บทบาทของหอการค้าวันนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าภาคเอกชนยังเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้เกิดความเจริญเติบโตในท้องถิ่นตนเอง

กรมวิชาการเกษตรหนุนชาวไร่เมืองดอกบัวขยายพื้นที่ปลูก “มันสำปะหลังอินทรีย์” ดึงโรงงานแป้งมันร่วมแจมรองรับผลผลิต ชี้ความต้องการหัวมันอินทรีย์สดปีละกว่า 80,000 ตัน มุ่งเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกร พร้อมขยายช่องทางทำเงินเพิ่มรายได้

​นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 (สวพ.4) จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และโรงงานแป้งมันอุบลเกษตรพลังงาน ในเครือกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์นำร่องในพื้นที่ 3 อำเภอ ของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ อำเภอนาเยีย พิบูลมังสาหาร และวารินชำราบ โดยมุ่งผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปรับเปลี่ยนการผลิตเข้าสู่ระบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ หรือออร์แกนิก (Organics) ป้อนเข้าสู่โรงงานแป้งมันที่มีความต้องการหัวมันอินทรีย์สด ปีละกว่า 80,000 ตัน ซึ่งสามารถแปรรูปเป็นแป้งมันได้ ประมาณ 20,000 ตัน

ขณะนี้แปลงเกษตรกรต้นแบบผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ จำนวน 9 ราย พื้นที่กว่า 36 ไร่ เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันสดป้อนเข้าสู่โรงงานแป้งมันแล้ว ภายหลังเกษตรกรได้นำเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ 1 ตัน/ไร่ หรือใส่ตามค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน การแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยด้วยปุ๋ยชีวภาพ PGPR3 การปลูกและไถกลบปอเทืองระหว่างร่องมันเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด การใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช และการใช้เครื่องกำจัดวัชพืชแบบรถไถเดินตาม สามารถช่วยให้เกษตรกรต้นแบบได้ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์เฉลี่ยต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นจาก 4.5 ตัน/ไร่ เป็น 5.4 ตัน/ไร่ บางรายได้ผลผลิตสูงถึง 7.63 ตัน/ไร่ และยังมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงด้วย

​”ปี 2561 นี้ คาดว่า เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีจะปรับเปลี่ยนการผลิตเข้าสู่ระบบมันสำปะหลังอินทรีย์เพิ่มอีกอย่างน้อย 100 แปลง พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มีแผนเร่งสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์เพิ่มขึ้น พร้อมจัดกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อเกษตรกรจะได้รวมกลุ่มกันเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีอำนาจต่อรองในการจัดซื้อปัจจัยการผลิต และเพื่อประโยชน์ด้านการตลาด จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตของกลุ่มได้ ที่สำคัญการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ยังช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับชาวไร่ และช่วยลดการผันผวนด้านราคาเนื่องจากได้ราคาที่แน่นอน ตลอดจนช่วยลดพื้นที่การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชอย่างยั่งยืนด้วย นอกจากนี้ยังได้หารือร่วมกับนายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อสนับสนุนเงินทุนในการผลักดันการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ด้วย” นายสุวิทย์กล่าว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวอีกว่า มันสำปะหลังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทั้งอาหารและพลังงาน เป็นสินค้าที่ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะแป้งมันออร์แกนิกสามารถผลิตเป็นอาหารสำหรับทารกและผู้สูงอายุ รวมถึงแคปซูลยา ซึ่งเป็นที่นิยมในแถบสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีความต้องการแป้งมันออร์แกนิกสูงถึง 20,000 ตัน/ปี ซึ่งจะต้องมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ประมาณ 22,850 ไร่ จึงจะสามารถผลิตวัตถุดิบป้อนเข้าโรงงานแป้งมันได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ การขยายพื้นที่การผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในประเทศไทยเพื่อป้อนตลาดแป้งมันออร์แกนิก จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังที่จะเพิ่มช่องทางสร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังแหล่งใหญ่ที่มีศักยภาพ มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 445,649 ไร่ ส่วนหนึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมาผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ได้

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม Web Conference ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 มีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้การขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกรอบหลักในการดำเนินการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน 10 เรื่อง ประกอบด้วย 1) สัญญาประชาคมผูกใจไทยเป็นหนึ่ง 2) คนไทยไม่ทิ้งกัน 3) ชุมชนอยู่ดีมีสุข 4) วิธีไทยวิถีพอเพียง 5) รู้สิทธิ รู้หน้าที่ รู้กฎหมาย 6) รู้กลไกการบริหารราชการ 7) รู้รักประชาธิปไตยไทยนิยม 8) รู้เท่าเทียมเทคโนโลยี 9) ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10) งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function) โดยมีเป้าหมายการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 76 จังหวัด 878 อำเภอ และพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโรงการไทยนิยม ยั่งยืน รวม 7,663 ทีม พื้นที่ 83,151 แห่ง

ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) คนไทยไม่ทิ้งกัน แผนงานเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ งบประมาณ 693 ล้านบาท 2) ชุมชนอยู่ดีมีสุข แผนงานการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรทั้งระบบ งบประมาณ 14,203 ล้านบาท และ 3) งานตามภารกิจของทุกหน่วยงาน (Function) พัฒนาชุมชน/กลุ่ม ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับกลไกการบริหารราชการ งบประมาณ สร้างการรับรู้ และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอน

งบประมาณ 10,090 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 24,294 ล้านบาท โดยทำการชี้แจงทำความเข้าใจเมนูโครงการอาชีพต่าง ๆ ให้ชัดเจนกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัด อำเภอ และตำบล ทั่วประเทศ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน มีการเตรียมความพร้อมทั้งจำนวนคนที่จะร่วมทีมให้เพียงพอกับพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนด้วย นอกจากนี้ในวันที่ 21 ก.พ. จะเป็นการคิกออฟ พร้อมกันตำบลละ 1 หมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อนเยี่ยมเยียนรายครัวเรือนและรายบุคคล ค้นหาความต้องการของประชาชนเพื่อจัดทำโครงการเสนอตามกรอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ต่อไป

สำหรับเมนูอาชีพภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 1. โครงการเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงเกษตรฯ 2. โครงการจ้างแรงงานชลประทานสร้างรายได้แก่เกษตรกร 3. โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน 4. โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวเพื่อผลินสินค้าเกษตรอื่นที่เหมาะสม 5. โครงการศูนย์ขยายพันธ์พืช 6. โครงการผลิตเมล็ดพันธ์ดี 7. โครงการขยายพันธุ์สัตว์และส่งเสริมการผลิตการผลิตปศุสัตว์ 8. โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร 9. โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร 10. โครงการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ 11. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่สถาบันเกษตรกรจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร 12. โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 13. เพิ่มศักยภาพการรวบรวมและการแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกร 14. โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ 15. สนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง 16. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการกิจการยาง (ยางแห้ง) 17. โครงการยกระดับโครงสร้างการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปครบวงจร 18. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมแปรรูป 19. โครงการสร้างฝายชะลอน้ำและจัดหาแหล่งน้ำชุมชน และ 20. โครงการพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทาน

ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรนวัตกรรมเพื่อการส่งออกที่สำคัญ และในอนาคตอาจเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตสินค้าเกษตรนวัตกรรมให้กับภูมิภาคนี้ได้

ภาพรวมมูลค่าการค้าปัจจุบันอยู่ที่ 300,000 ล้านบาท และตลาดมีโอกาสขยายตัวไปได้อีกมาก โดยปีที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ตั้ง “สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรมสินค้าเกษตร (สกน.)” หรือ Institute for Agricultural Product Innovation (APi) ขึ้น เพื่อต่อยอดนวัตกรรมเกษตรตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ล่าสุดปี 2561 ได้จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ “APi Business Matching” ขึ้นภายในงาน “Agrinnovation 2018” โดยนำผู้ประกอบการไทย-ผู้นำเข้าจากประเทศ CLMV มาเจรจาธุรกิจ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับสินค้าเกษตรนวัตกรรม ผลสำเร็จครั้งนี้มีคำสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ระหว่างผู้ประกอบการไทย-กัมพูชา 2,750,000 ล้านบาท, ไทย-เมียนมา 500,000 ล้านบาท และประเทศอื่นที่มีการเจรจาต่อเนื่องหลังจบงาน

สินค้าเกษตรนวัตกรรมที่ผู้นำเข้าให้ความสนใจ เช่น สติ๊กเกอร์สมุนไพรกันยุง ผงข้าวล้างหน้า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากน้ำมันรำข้าว โดยสินค้าเหล่านี้ถูกพัฒนามาจากข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้ สมุนไพรชนิดต่าง ๆ สอดคล้องตามนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งสร้างมูลค่าและขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ value-based economy เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือชุมชน

ปัจจัยสำคัญไทยมีจุดแข็งในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความหลากหลาย สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาและต่อยอดเป็นสินค้านวัตกรรมออกสู่ตลาด จนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค

นอกจากนี้ ทาง สกน.มีแผนจัดกิจกรรมต่อยอดงานวิจัยสินค้าเกษตรไทย กิจกรรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งแผนจัดหาช่องทางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ งาน THAIFEX-World of Food Asia 2018 งาน STYLE 2018 งาน Organic & Natural Expo 2018 และมีแผนนำผู้ประกอบการไปเจรจาธุรกิจในต่างประเทศ อีกทั้งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อกระตุ้นและเกิดการประสานงานกันมากขึ้นระหว่างผู้วิจัยและผู้ผลิตนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้า

จุดสำคัญของการทำตลาดสินค้านวัตกรรม ต้องศึกษาตลาดให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมา และการเลือก “ช่องทางจำหน่าย” เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมการค้าต่างประเทศได้เชื่อมโยงร้าน Golden Place จำหน่ายสินค้าเกษตรนวัตกรรมกลุ่มที่เหมาะกับผู้รักสุขภาพและความงามกว่า 40 รายการ นำร่องใน 2 สาขา และเตรียมเพิ่มช่องทางจำหน่ายในพื้นที่สนามบิน นอกจากนี้ การทำตลาดผ่านระบบอีคอมเมิร์ซทำเองได้ง่าย และมีต้นทุนน้อย เข้าถึงลูกค้าได้เร็ว และสามารถขยายตลาดไปในตลาดต่างประเทศได้

หากรู้จักพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ผู้บริโภค ใส่ใจเรื่องคุณภาพ สินค้าที่มาจากธรรมชาติ และดีต่อสุขภาพ ฟันธงได้เลยว่า โอกาสเติบโตสำหรับสินค้าเกษตรนวัตกรรมเป็น 2 เท่าไม่ใช่เรื่องยาก

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม – เมษายน) ประเทศไทยส่งออกข้าวสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 3.31 ล้านตัน มูลค่า 1,826 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แซงหน้าอินเดียที่ส่งออกที่ 3.21 ล้านตัน เวียดนาม 1.61 ล้านตัน และปากีสถานอยู่ที่ 1.28 ล้านตัน จึงได้ปรับเป้าหมายการส่งออกข้าวปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน มูลค่า 4,525 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมอยู่ที่ 9-9.5 ล้านตัน เนื่องจากมีข้าวค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก จึงมั่นใจว่าช่วง 8 เดือนที่เหลือจะสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น

โดยชนิดข้าวที่ส่งออกมากที่สุดคือ ข้าวขาว 48.74% รองลงมาข้าวนึ่ง 27.70% และข้าวหอมมะลิไทย 16.19% โดยราคาส่งออกข้าวของไทยเกือบทุกชนิดในเดือนเมษายน 2561 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาข้าวหอมมะลิไทยอยู่ในระดับคงที่จากเดือนมีนาคม 2561 ที่ 1,150 เหรียญสหรัฐต่อตัน

นายอดุลย์กล่าวว่า ส่วนการส่งออกข้าวในช่วงไตรมาที่ 2 /2561 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้นำเข้าข้าวในหลายประเทศยังมีความต้องการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่อง อย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ส่งออกข้าวในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ให้รัฐวิสาหกิจที่ค้าขายสินค้าธัญพืชและน้ำมันพืช (COFCO) ที่มีการทำสัญญากันก่อนหน้านี้จะส่งมอบให้ 1 ล้านตัน โดยขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการส่งมอบข้าวงวดที่ 5 ปริมาณ 1 แสนตันและคาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2561ขณะเดียวกันได้มีการยื่นหนังสือกับผู้เกี่ยวข้องในการทำสัญญาส่งมอบข้าวครั้งที่สองอีก 1 ล้านตัน

นายอดุลย์กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ฟิลิปปินส์มีหนังสือเชิญชวนให้ไทยร่วมประมูลข้าวแบบ G to G โดยหน่วยงาน National Food Authority (NFA) ปริมาณรวม 250,000 ตัน แบ่งเป็นข้าวขาว 15% ปริมาณ 50,000 ตัน และข้าวขาว 25% ปริมาณ 200,000 ตัน กำหนดส่งมอบในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2561 นั้นทางไทยก็สนใจเข้าร่วม

“แนวโน้มการส่งออกข้าวน่าจะยังดีอยู่เพราะตลาดต่างๆมีความต้องการข้าวสูง และตลาดในปีนี้น่าจะเป็นของผู้ขาย จึงทำให้มีแต่คนที่ต้องการข้าว ซึ่งนานๆทีจะอยู่ในสภาวะที่หล่อเลือกได้” นายอดุลย์ กล่าว

นายอดุลย์ กล่าวว่า ในที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2561 ที่ประชุมเห็นชอบอนุมัติให้ระบายข้าวกลุ่มที่1 ที่เหลืออยู่ 4.4 หมื่นตัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำข้อกำหนดผู้ว่าจ้าง (TOR) โดยจะชี้แจงในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ส่วนในกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ทาง นบข. ได้อนุมัติให้ระบายได้แล้วประมาณ 2 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 2 ที่เป็นกลุ่มอาหารสัตว์ ที่สามารถเอาไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมอาหาหารสัตว์ มีข้าวค้างอยู่ 1.5 ล้านตัน และในกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่บริโภคไม่ได้อีก 5 แสนตัน คาดว่าจะสามารถระบายได้หมดภายในเดือนหน้า

ฝุ่นตลบแก้ปัญหาราคากุ้ง “กฤษฎา” ถกเอกชน-ผู้เลี้ยงกุ้งป่วนราคา จับตา 10 พ.ค. เคาะมาตรการยกระดับราคา ด้านเอกชน “ซีพีเอฟ” รับลูกภาครัฐเปิดเกมลดราคาอาหาร-ลูกกุ้ง รายแรก

จากการที่นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกประชุมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องผู้ประกอบการส่งออกเข้าหารือเพื่อแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งผลการหารือร่วมกันในเบื้องต้นจะมีมาตรการเฉพาะหน้าหรือเร่งด่วน ได้แก่ การลดราคาปัจจัยการผลิต ทั้งการลดราคาลูกกุ้งกับลดราคาอาหารกุ้งกับมาตรการระยะปานกลางและระยะยาวที่จะออกมา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาทั้งหมดภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้นั้น

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลการหารือร่วมกันเบื้องต้นเตรียมกำหนดมาตรการระยะเฉพาะหน้าหรือเร่งด่วน และมาตรการระยะปานกลางและระยะยาว โดยมาตรการระยะเร่งด่วน คือ การหารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเจรจาขอปรับลดราคาปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงกุ้งตามที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ร้องขอ และการขอความร่วมมือผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รับซื้อกุ้งเพื่อส่งออก รับซื้อกุ้งขาวแวนนาไมจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้นกว่าราคาที่รับซื้ออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ราคา 105-115 บาท/ขนาดกุ้ง 100 ตัว ซึ่งทางภาคเอกชนได้ตอบรับข้อเสนอของกระทรวงเกษตรฯไปหารือกันในกลุ่มผู้ประกอบการอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องราคาที่ชัดเจน

ส่วนมาตรการระยะปานกลางและระยะยาว คือ การบริหารจัดการผลผลิตกุ้งให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และการควบคุมคุณภาพการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากขีดความสามารถแข่งขันการส่งออกกุ้งของไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากที่เคยส่งออกเป็นอันดับ 1 แต่ปัจจุบันมีประเทศคู่แข่งที่ผลิตกุ้งในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าและได้ผลผลิตที่มากกว่าเกิดขึ้น โดยเฉพาะอินเดียที่มีผลผลิตกุ้งในปีนี้ถึง 6-7 แสนตัน ขณะที่ไทยมีผลผลิตกุ้งเฉลี่ย 2 แสนตัน เมื่อประเทศคู่แข่งผลิตกุ้งได้มากกว่าในต้นทุนที่ต่ำกว่าก็เกิดการแย่งตลาดเกิดขึ้น จึงส่งผล

กระทบต่อราคากุ้งในประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯต้องเร่งจัดระเบียบการเลี้ยงกุ้ง การขึ้นทะเบียนฟาร์มของเกษตรกร เพื่อให้สามารถกำกับดูแลและควบคุมคุณภาพเพาะเลี้ยงไม่ให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตเกินความจำเป็นที่ส่งผลต่อต้นทุนที่สูง รวมถึงคุณภาพกุ้งของไทยที่เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น และขอความร่วมมือภาคเอกชนลดปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงกุ้งด้วย

ขณะที่นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ผลผลิตกุ้งไทยยังออกไม่มาก มีเพียง 4.6 หมื่นตัน เนื่องจากผลกระทบจากฤดูหนาวและฝนตกมากจึงชะลอการเลี้ยงมาผลิตออกสู่ตลาดมากอีกครั้งในช่วงไตรมาส 2 แทน คาดว่าผลผลิตกุ้งจะออกมากถึง 4-5 หมื่นตันในเดือน มิ.ย.นี้ แต่ขณะนี้ราคากุ้งขาวแวนนาไมกลับตกต่ำลงหนัก ขนาด 100 ตัว/กก.เหลือ กก.ละ 110 บาท ใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิต จากปกติจะอยู่ที่ระดับ กก.ละ 120-130 บาท ส่วนกุ้งขาวขนาด 70 ตัว/กก.ตกลงมาก จากปกติเดือน พ.ค.ทุกปีจะอยู่ที่ กก.ละ 150-160 บาท เพราะมีการนำไปผลิตเกี๊ยวกุ้งส่งออกกันมาก เหลือเพียง กก.ละ 120 บาท ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุน ทางผู้ส่งออกไทยอ้างว่าไม่มีออร์เดอร์

และห้องเย็นเก็บสต๊อกกุ้งไว้เต็มไปหมด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะผลผลิตจากประเทศผู้ผลิตกุ้งทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ขณะนี้ผลผลิตกุ้งของอินโดนีเซียกำลังออกสู่ตลาด อินเดียที่ผลิตมากขึ้นเป็นปีละ 6-7 แสนตันจะออกสู่ตลาดเดือนหน้า มีการเปิดขายในราคาต่ำ ผู้นำเข้ารายใหญ่จึงฉวยโอกาสเพื่อกดราคารับซื้อ ไทยที่มีต้นทุนผลิตสูงกว่าอาจขายไม่ดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้านกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ ตอบรับประเด็นหารือกับภาครัฐ โดยเริ่มมาตรการระยะเร่งด่วนในการปรับลดราคาจำหน่ายลูกกุ้งและอาหารกุ้ง โดยมีกลุ่มซีพีเอฟ ผู้ผลิตรายใหญ่เป็นรายแรกที่นำเกมประกาศลดราคาขายลูกกุ้งและอาหารกุ้ง

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทประกาศปรับราคาอาหารกุ้งลดลง 25 บาทต่อถุง สำหรับขนาดถุงละ 25 กิโลกรัม มีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.-30 มิ.ย.นี้โดยไม่มีการจำกัดปริมาณการซื้อต่อราย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้งอย่างต่อเนื่อง จากก่อนหน้านี้ที่บริษัทปรับราคาลูกกุ้งจากตัวละ 19 เหลือ 16 สตางค์ไปแล้วเมื่อวันที่1 พ.ค.ที่ผ่านมา

“ซีพีเอฟยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ด้วยการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารกุ้งและลูกกุ้ง ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมกุ้งโดยรวมสามารถผ่านพ้นวิกฤตราคากุ้งไปได้” นายไพโรจน์กล่าว

รายงานข่าวกล่าวว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารกุ้งรายอื่นได้มีการพิจารณาปรับลดราคากุ้งลงมาเช่นกัน เช่น บริษัทไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) หรือ TU ได้ปรับลดราคาจำหน่ายอาหารกุ้งลงมาประมาณถุงละ 10 บาท เป็นต้น

“โตนด” ราคาพุ่ง รับเดือน “รอมฎอน” ไทยมุสลิมรุมบริโภค-เกษตรกรรวมกลุ่มเร่งแปรรูป ความต้องการมาก ราคาดี
นายมงคล หาญณรงค์ เกษตรกรสวนตาลโตนด อ.สิงหนคร จ.สงขลา เปิดเผยว่าการเก็บเกี่ยวตาลโตนดในปี 2561 นี้ล่าช้ากว่าปกติเนื่องจากฝนตกชุก ทำให้น้ำตาลโตนดหดตัว ส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลตโตนด โดยมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 3 เดือน จากปกติ 5-6 เดือน ทำให้ได้ผลผลิตลดลงเหลือ 50-75% จากปกติ

โดยลูกตาลโตนดสดจะเป็นที่ต้องการในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนบวชถือศิลอดของชาวไทยมุสลิม มีแนวโน้มราคาทยอยขยับสูงขึ้นจากเดิมถุง 15 บาทเป็น 20 – 25 บาท

นอกจากนี้น้ำตาลโตนดยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไปผ่านการนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลปี๊บ เพราะประชาชนในพื้นที่นิยมใช้น้ำตาลปี๊ปทำขนมพื้นบ้านพเราะได้รสชาติของอาหารที่อร่อยกว่าน้ำตาลทราย รวมไปถึงการนำไปกลั่นเป็นสุราพื้นบ้าน หรือสุราชุมชน

นางพูนทรัพย์ ชูแก้ว เจ้าของสวนตาลโตนด และหัวหน้าศูนย์เรียนรู้ วิถีโหนด นาเล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา เปิดเผยว่าต้นตาลโหนดในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา มีประมาณ 300,000 – 500,000 ต้น และมีเกษตรกรกว่า 250 ครัวเรือน

ทั้งนี้ศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ให้สมาชิกแปรรูปตาลโหนดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำตาลผง สามารถผลิตได้ เดือนละ 600 กก./เดือน ราคา 200 บาท/กก. สร้างรายได้ 120,000 บาท/เดือนรวมไปถึงมีรายได้จากการแปรรูปเป็นสบู่ และโลชั่น อีกประมาณ 20,000 บาท/เดือน

คกก.วัตถุอันตรายยื้อแบนพาราควอต ต่อ 2 เดือน ด้านกรมวิชาการฯ ชงมาตรการจำกัด-ควบคุม ส.พืชสวนร้องรัฐชดเชยต้นทุนเกษตรกร THAIPAN เตรียมร้องนายกฯ 5 มิ.ย. ทบทวนมติ ชี้เอื้อประโยชน์ยักษ์ใหญ่

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีนายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน มีมติออกเสียง 17-18 จากทั้งหมด 23 เสียง เห็นด้วยให้มีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซตต่อไป โดยยังคงกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เช่นเดิม ซึ่งจำเป็นต้องกำหนดมาตรการจำกัดการใช้ โดยหลังจากนี้กรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจะเป็นผู้เสนออีกครั้งภายใน 2 เดือน หากผ่านความเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที

ล่าสุดนายอุทัย นพคุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมเตรียมเสนอคณะกรรมการ พิจารณาให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศกระทรวงภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เพื่อควบคุม/กำกับการใช้สารเคมี เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันที

สำหรับแนวทางในการกำกับดูแล ได้แก่ 1.กำหนดสถานที่จำหน่าย เฉพาะร้านที่ได้รับการรับรอง Q shop ซึ่งเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนแสดงพื้นที่ปลูกและชนิดพืชที่ตรงกับฉลาก 2.กำหนดคุณสมบัติของผู้ใช้-ผู้รับจ้างพ่นสารเคมี (chemical applicator) ต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรม 3.กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย เพื่อลดอันตรายและความเสี่ยงจากสารเคมี

4.กำหนดให้ผู้ผลิต/นำเข้า/ส่งออก หรือผู้มีไว้ในความครอบครอง แจ้งข้อมูลการผลิต นำเข้า ส่งออกและมีไว้ในการครอบครอง เพื่อให้ทราบเส้นทางตั้งแต่การนำเข้า จนถึงเกษตรกร และ 5.กำหนดองค์ประกอบ สิ่งเจือปน และฉลาก เพื่อควบคุม ป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายที่เกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม เช่น คำเตือน ระบุไม่ควรใช้ หรือห้ามใช้ในพื้นที่เสี่ยง อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หากมีการประกาศยกเลิกใช้สารเคมีเหล่านี้จะขออำนาจศาลคุ้มครองชั่วคราว เพื่อนำข้อมูลทางวิชาการมาหารือใหม่ โดยให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นเจ้าภาพพิจารณาทบทวน เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่ากระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งรัฐบาลต้องอุดหนุนเงินชดเชยเกษตรกรที่ต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจาก 270-400 เป็น 580-630 ตัน ต่อ 5 ลิตร

นายวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-Pan) กล่าวว่า ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ จะไปยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนและชี้ขาดต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล เพราะในการประชุมคณะกรรมการผู้มีส่วนได้เสียจากสมาคมการค้า ซึ่งมีคนจากบริษัทสารเคมีดังกล่าวร่วมในกระบวนการพิจารณา อาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 12 พ.ร.บ.วัตถุอันตราย ระบุว่า “กรรมการผู้มีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวเรื่องใดผู้นั้นไม่มีสิทธ์ออกเสียงเรื่องนั้น”

“ตอนนี้รัฐบาลต้องตัดสินใจ ท่านนายกรัฐมนตรีฐานะผู้นำ ควรพิจารณาความไม่โปร่งใส ผลประโยชน์ทับซ้อน เรายังแสดงจุดยืนให้แบน เพราะที่ผ่านมาควบคุมยาก ไทยไม่เคยประสบผลสำเร็จเรื่องนี้เลย”

เหลือระยะเวลาการทำงานของรัฐบาลที่มี สมัคร Royal Online V2 อีกไม่นาน แต่ประชากรในภาคเกษตร 7 ล้านครัวเรือนกว่า 20 ล้านคน แต่มีจีดีพีรวมกันทั้งประเทศแค่ 10% เท่านั้น ถือว่ารัฐยังไม่ลุล่วงการแก้ไขในภารกิจที่ค่อนข้างใหญ่ ยังมีปัญหาด้านการหารายได้ ในขณะที่ต้องแข่งขันการส่งออกกับประเทศรอบข้างในอาเซียน รวมไป
ถึงอินเดียรุนแรงขึ้น ทำให้ภาระหนี้มีมากขึ้นทุกวัน ทำให้รัฐบาลต้องงัดนโยบาย “พักหนี้” แก่เกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อีกครั้ง

จับตากำลังซื้อ”หลังน้ำท่วม” บิ๊ก”คูโบต้า”ยันแค่ชะลอไม่กระทบ

พิษน้ำท่วมอีสาน “สยามคูโบต้า” เผยเกษตรกร 8 จังหวัดชะลอซื้อเครื่องจักรกลเกษตร ชี้ยังไม่ส่งผลต่อยอดขายหลังภาครัฐช่วยเยียวยา พร้อมเดินหน้ารักษาแชมป์ตลาดรถขุดขนาดเล็ก อานิสงส์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตอบโจทย์สังคมเมือง-อสังหาริมทรัพย์-รถไฟฟ้า ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีโตขึ้น 25%

นายโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสานในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทำให้ลูกค้าชะลอการซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตรโดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดอีสานตอนบนที่มีน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดภัยพิบัติรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาหลังน้ำลด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจะเป็นส่วนสำคัญสามารถนำมาซื้อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้

โดยเฉพาะเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจหลัก อาทิ ข้าว อ้อย ทั้งนี้ ยอดขายในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมายังมีออร์เดอร์สั่งซื้อปกติ เพียงแต่บางจังหวัด เช่น สกลนครต้องชะลอการรับรถไปก่อน หรือบางพื้นที่จำเป็นต้องชะลอซื้อออกไป แต่บริษัทไม่มีการปรับเป้ายอดขายใหม่ โดยในปีนี้ตั้งเป้ายอดขายในประเทศโต 10% โดยเฉพาะตลาดภาคอีสานถือเป็นตลาดใหญ่ ด้วยสัดส่วน 50% ของภาพรวมทั้งประเทศ

“จังหวัดสกลนครที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในขณะนี้ก็ต้องชะลอซื้อไปก่อน แต่พืชผลการเกษตรพอเจอภัยพิบัติก็ต้องฟื้นฟู ซึ่งดูจากยอดสั่งซื้อยังเป็นไปตามปกติ เพียงแต่บางจังหวัดที่ยังมีน้ำท่วมขังก็ต้องดูสถานการณ์หรือชะลอรับรถไปก่อน และรัฐบาลเองก็มีมาตรการช่วยเพื่อให้เกษตรกรนำมาใช้จ่ายปัจจัยผลิตอยู่แล้ว ก็ไม่ได้กระทบยอดขายภาพรวม โดยปีนี้ยังคงตั้งเป้าโต 10%”

ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าผู้นำตลาดรถขุดขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมตลาดในปีที่ผ่านมาของประเทศไทย มียอดขายรถขุดทั้งใหม่และมือสองประมาณ 6,000 คัน แบ่งสัดส่วนเป็นรถขุดใหม่ 40% และรถขุดมือสอง 60% และคาดว่าในปีนี้ตลาดรถขุดขนาดเล็กจะเติบโต 20% สำหรับคูโบต้ายังคงเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดรถขุดขนาดเล็ก โดยครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 70% และรถขุดยี่ห้ออื่น ๆ อีก 30% โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายรถขุดใหม่อยู่ประมาณ 2,000 คัน หรือเติบโตจากปี 2559 ประมาณ 25% ด้วยปัจจัยที่เติบโตมาจากเงินลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐเองยังผลักดันนโยบายเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งการคมนาคมขนส่ง งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร การก่อสร้างถนนและสะพานต่าง ๆ เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

นายสมบูรณ์ จินตนาผล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขายและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันรถขุดขนาดเล็กมีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ตอบโจทย์ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง อสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร จึงได้มีการนำรถขุดคูโบต้ารุ่น U15-3 ขนาด 1.6 ตัน เข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ด้วยขนาดกะทัดรัด ความคล่องตัวสูง เหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด

โดยกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำตลาดของสยามคูโบต้าคือการสร้างโอกาสการขายกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ซึ่งนอกจากกลุ่มก่อสร้างที่เป็นลูกค้าหลักแล้ว กลุ่มลูกค้าที่สำคัญรองลงมา คือ กลุ่มเกษตรกร ที่ปัจจุบันมีลูกค้าบางส่วนนำรถขุดคูโบต้าไปใช้ในงานสวน เช่น การปรับพื้นที่ ขุดร่องน้ำ วางระบบท่อในสวนและการรักษาฐานลูกค้า โดยเน้นเรื่องของการบริการหลังการขาย เป็นต้น

หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ 26 พ.ค. 2560 วันที่ 23 ก.ย.นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาฯ จะบังคับใช้เป็นทางการ ปฏิวัติรูปแบบการทำการเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ที่บริษัทเอกชนส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า ให้ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้กฎหมาย

เป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาให้เป็นธรรม ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเกษตรกรมักเสียเปรียบหรือตกเป็นเบี้ยล่าง เพราะถูกผูกมัดด้วยสัญญาทาส

โดยกฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขสัญญาให้เป็นธรรมมากขึ้น และคุ้มครองคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ช่วยให้เกษตรกรกับเอกชนได้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสม การทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบจะหมดไป ลดโอกาสเกิดข้อพิพาทขัดแย้งเป็นคดีในชั้นศาล

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญาฯ กำหนดให้บริษัทเอกชนที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ Contract Farming หรือเลิกประกอบธุรกิจ ต้องจดแจ้งต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมจัดทำเอกสารการชี้ชวนและร่างสัญญาแจ้งให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดข้อมูลทางพาณิชย์ แผนผลิต เงินลงทุน ฯลฯ

ขณะที่ตัวสัญญาต้องระบุสิทธิ หน้าที่ของคู่สัญญา ราคา วิธีคำนวณราคาวัตถุดิบและผลิตผล วันส่งมอบผลิตผล กำหนดวันชำระเงิน สิทธิบอกเลิกสัญญา การเยียวยาความเสียหาย และให้เงื่อนไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่มีผลใช้บังคับ

นอกจากนี้ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรที่ประกอบธุรกิจนี้อยู่แล้ว และประสงค์จะประกอบธุรกิจในระบบพันธสัญญาต่อไป ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

ต้อนเครือข่ายเกษตรพันธสัญญาส่งเสริมปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้เข้ามาอยู่ในระบบทั้งหมด และมีระเบียบกฎหมายควบคุมดูแลโดยเฉพาะ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่เกษตรกรจำต้องปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิม ๆ มาทำเกษตรสมัยใหม่ นำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ขณะที่รัฐส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรภายใต้แนวทางประชารัฐ โดยภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริม กฎหมายฉบับนี้จึงถูกคาดหวังสูงว่าจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาไม่ให้ซ้ำรอยอดีต

ที่สำคัญจะเป็นกฎกติกาส่งเสริมเกษตรพันธสัญญาให้เป็นธรรมและได้รับการยอมรับมากขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืนในระยะยาว

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2560 ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไว้แล้วตั้งแต่ต้นฤดูฝนที่ผ่านมา โดยปรับปฏิทินการส่งน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน คือพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ ให้ทำนาปีให้เร็วขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา ซึ่งตรงกับความต้องการและได้รับผลตอบรับจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็มพื้นที่ เสร็จก่อนฤดูน้ำหลาก และสามารถรับน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งได้แล้วกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 400 ล้านลบ.ม.

นายทองเปลวกล่าวว่า ปรับปฏิทินการส่งน้ำเพื่อทำนาปีให้เร็วขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างบริเวณ 12 ทุ่ง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางบาล ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ พื้นที่รวมทั้งสิ้น 1.15 ล้านไร่ โดยกรมชลประทานได้เริ่มส่งน้ำให้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จก่อนฤดูน้ำหลากเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้

ปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้ว 953,706 ไร่ หรือคิดเป็น 83% ของพื้นที่เป้าหมาย มีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว 687,551 ไร่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จทั้งหมดภายในกลางเดือนกันยายนนี้ จากนั้นจะใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเหล่านี้ในการตัดยอดปริมาณน้ำหลากบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงไปจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปุทมธานี นนทบุรี รวมไปถึงกรุงเทพด้วย โดยพื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง 12 ทุ่ง สามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

ส้มโอทับทิมสยามเมืองคอนไม่พอขาย ผลผลิตลดลงกว่า 40% หลังเจอพิษน้ำท่วมใหญ่ต้นปี”60 ดันราคาขายปลีกพุ่ง 600-650 บาท/ลูก ชี้แนวโน้มความต้องการตลาดจีนรับซื้อไม่อั้น ด้านภาครัฐหนุนทำเกษตรแปลงให ญ่ หวังควบคุมคุณภาพ ลดต้นทุน มุ่งสู่มาตรฐาน GAP

นายชลินทร์ ประพฤติตรง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกส้มโอทับทิมสยาม ประมาณ 2,500 ไร่ พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูก คือ ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) โดยมีลักษณะเด่น คือ รสชาติหวาน เปรี้ยวนิด ๆ เนื้อสีแดงใสคล้ายทับทิม ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เฉลี่ยมีผลผลิตไร่ละ 700-800 ลูก โดยตลาดหลักเป็นตลาดพรีเมี่ยม และของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการบำรุงรักษา การควบคุมคุณภาพ ทำให้ราคาผลผลิตค่อนข้างสูง ราคาหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาท/ลูก ขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกตั้งแต่ 200-500 บาท/ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพ หากเป็นเกรดพรีเมี่ยมราคาจะสูงถึง 600 บาท/ลูก

ปัจจุบันส้มโอทับทิมสยามสร้างรายได้ให้จังหวัดประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 40% ได้แก่ จำหน่ายภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลาด อ.ต.ก. โมเดิร์นเทรด เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และส่งออกต่างประเทศ 60% ได้แก่ จีน ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่จะรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก คัดเกรด และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเพื่อส่งออกต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ เนื่องจากเป็นลักษณะเฉพาะของส้มโอทับทิมสยาม

ขณะที่เกษตรกรก็ประสบปัญหาด้านต้นทุนสูง และภัยธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก คือ พื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ ทำให้ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2559-มกราคม 2560 ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ส้มโอทับทิมสยามร้อยกว่าไร่ยืนต้นตาย และต้องได้รับการฟื้นฟูอีกจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตลดลงกว่า 30-40% และผลผลิตออกล่าช้ากว่าปกติ โดยปีนี้เลื่อนมาออกช่วงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน

ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วม ภาครัฐได้เข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่กว่า 1,000 ไร่ เป็นการรวบรวมการผลิต และมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพให้ดี มีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งวางแผนการขาย ลดต้นทุนการผลิตด้วยการรวมกันซื้อปัจจัยการผลิต และพยายามใช้ชีวภาพให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้สารเคมี และเข้าสู่มาตรฐาน GAP 100% ในอนาคตจะมุ่งไปสู่เกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ทางชลประทานได้เข้ามาดูแลในเรื่องของระบบน้ำให้ด้วย

“เกษตรกรที่จะเข้ามาร่วมทำเกษตรแปลงใหญ่ ต้องสมัครสมาชิกเข้ามาเอง เพราะต้องการเกษตรกรที่มีความต้องการที่จะพัฒนาในรูปของกลุ่มรวมตัวกัน ไม่อยากให้เป็นลักษณะบังคับกัน ซึ่งภาคราชการก็สามารถเข้าไปส่งเสริมได้สะดวก หลักการคือให้รวมกันผลิต รวมกันขาย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการนำเอาส้มโอไม่มีคุณภาพมาขายได้ โดยในอนาคตจะพัฒนาคิวอาร์โค้ด เพื่อใช้ตรวจสอบผลผลิตแบบย้อนกลับด้วย” นายชลินทร์กล่าว

ด้านนายฉัตรชัย ศีลประเสริฐ เจ้าของสวนลุงน้อยส้มโอทับทิมสยาม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัจจุบันมีพื้นที่สวนส้มโอทับทิมสยาม ประมาณ 10 กว่าไร่ และมีของลูกสวนอีกประมาณ 6 ราย พื้นที่รวมทั้งหมด 60 ไร่ จำหน่ายในประเทศ เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และต่างประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งผลผลิตที่ส่งออกจะต้องมีมาตรฐาน GAP ผิวเรียบ สวย ผิวเขียวอมเหลือง เนื้อในต้องเป็นสีแดงสด และมีรสชาติหวาน แต่ปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะจีนเข้ามากว้านซื้อไปเกือบหมด

สำหรับปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในเดือนธันวาคม 2559-มกราคม 2560 เกษตรกรบางส่วนขาดทุนย่อยยับ เพราะว่าท่วมหนักกว่าทุกปี ถ้าหากท่วมประมาณ 10-15 วัน ก็สามารถอยู่ได้ แต่ที่ผ่านมาน้ำท่วมนานเดือนกว่า ทำให้ต้นส้มโอตาย ส่วนต้นที่เหลือต้องตัดผลผลิตทิ้งหมด เพื่อรักษาและฟื้นฟูต้นไว้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ส่วนต้นที่ปลูกใหม่ใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะได้ผลผลิต เกษตรกรบางรายจึงถอดใจเพราะต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด ทั้งระบบน้ำ ถมดินใหม่ และต้นทุนสูง เช่น กิ่งพันธุ์ ราคา 200-350 บาท/กิ่ง

“ในปี 2560 คาดว่าผลผลิตจะลดลงกว่าครึ่ง ส่งผลให้ราคาส้มโอทับทิมสยามสูงขึ้น ปกติราคาจำหน่ายปลีก ไซซ์ใหญ่ ขนาด 2.5 กิโลกรัม ราคา 450-500 บาท/ลูก แต่ตอนนี้ราคาสูงขึ้นอยู่ที่ 600-650 บาท/ลูก ขณะที่ราคาหน้าสวนก็สูงขึ้นเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 150-180 บาท/ลูก จากเดิม 120-150 บาท/ลูก” นายฉัตรชัยกล่าว

เมื่อเร็วๆนี้ ผู้แทนจากประเทศไทยและออสเตรเลียเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีด้านการเกษตรที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการประชุมนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลีย (TAFTA) และถือเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการเกษตร และยังเป็นโอกาสในการหารือถึงแนวทางในการขยายโอกาสทางการตลาดของสินค้าเกษตร เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนเกษตรในประเทศไทยและออสเตรเลีย

การค้าสินค้าเกษตรเป็นส่วนสำคัญในการค้าระหว่างไทยและออสเตรเลีย โดยในปี 2559 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและออสเตรเลียอยู่ที่ 1.95 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือราว 5 หมื่นล้านบาท

การประชุมทวิภาคีในครั้งนี้ประกอบด้วย การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหารระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA SPS Expert Group) ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน เป็นการหารือประเด็นด้านเทคนิคเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายและเข้าถึงตลาดสินค้าเกษตรของทั้งสองประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงเจตนารมณ์และมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในทางการค้าของทั้งสองประเทศ

การประชุมครั้งที่ 17 ของคณะทำงานร่วมด้านการเกษตรระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture) ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน ผู้แทนฝ่ายออสเตรเลียและไทยได้แลกเปลี่ยนนโยบายด้านการเกษตรและพูดคุยถึงแนวทางในการขยายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรและสร้างงานให้ชุมชน

ภายใต้กิจกรรมในครั้งนี้ คณะผู้แทนทั้งสองประเทศได้เข้าเยี่ยมชมโครงการหลวงใน จ.เชียงใหม่ ได้แก่ โรงงานคัดและบรรจุผักผลไม้สด เพื่อศึกษาระบบตรวจสอบย้อนหลัง เยี่ยมชมแปลงวิจัยและการผลิตผลไม้และดอกไม้เมืองหนาวที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง ดอยอินทนนท์

กิจกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างออสเตรเลียและไทยที่มีมาอย่างยาวนาน เช่น เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการจัดอบรมที่กรุงเทพฯ โดยผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียได้แบ่งปันประสบการณ์และให้ความรู้เรื่องการฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้สดสำหรับการส่งออก

การประชุมร่วมไทย-ออสเตรเลียครั้งนี้นำโดยผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำของออสเตรเลีย (Australian Department of Agriculture and Water Resources) และผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย โดยผู้เข้าร่วมประชุมออสเตรเลียประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า (Australian Department of Foreign Affairs and Trade) สำนักงานการพาณิชย์และการลงทุนออสเตรเลีย (Australian Trade and Investment Commission) โครงการความร่วมมือด้านน้ำแห่งออสเตรเลีย (Australian Water Partnership) รวมทั้งผู้แทนจากรัฐบาลประจำรัฐแห่งรัฐวิคตอเรีย (Victorian Government) และรัฐออสเตรเลียใต้ (South Australian Government)

ผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายไทยประกอบด้วยหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นต้น

หอการค้าไทย เล็งยกระดับมาตรฐาน ThaiGAP จากสินค้าเกษตรสู่สินค้าประมง ปศุสัตว์ พร้อมจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลดล็อกข้อจำกัด หวังเร่งให้เกิดการนำมาใช้จริง เพื่อผลักดันการค้า การส่งออกได้ในอนาคต

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางหอการค้ามีเป้าหมายให้ความสำคัญเรื่องของสินค้าเกษตรและอาหารด้วย เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับประเทศและเกษตรกร เพราะถือเป็นรากฐานสำคัญที่ประเทศไทยจะพัฒนาได้ โดยหอการค้าไทย จะมีการประชาสัมพันธ์และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเกษตรกร เข้าสู่มาตรฐานด้านการค้า การส่งออก โดยยกระดับมาตรฐาน ThaiGAP ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน ขยายไปสู่มาตรฐานในสินค้าด้านการประมงและสินค้าด้านปศุสัตว์ในอนาคต

การพัฒนามาตรฐาน ThaiGAP เพื่อนำไปสู่มาตรฐานสินค้าประมงและปศุสัตว์ จะถือเป็นครั้งแรกที่หอการค้าดำเนินการให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ที่จะมายื่นขอรับรองมาตรฐานกับภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้หอการค้าอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐาน ขั้นตอนของผู้ที่จะเข้ามาขอมาตรฐาน โดยรายละเอียดวิธีการปฏิบัติหอการค้าไทยได้ศึกษารูปแบบจากมาตรฐานของสหภาพยุโรป และหากสามารถดำเนินการได้จริง ไม่เพียงจะเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าภายในประเทศและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าด้วย ซึ่งจะช่วยขยายตลาดการส่งออกได้เป็นอย่างดี และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย เนื่องจากต้องมีการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น การพัฒนาและยกระดับสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ขณะนี้หอการค้าไทยได้มีการค้าหรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปลดล็อกข้อกำหนดบางประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรคในการออกมาตรฐาน ThaiGAP ในสินค้าประมงและปศุสัตว์ ซึ่งเชื่อว่าจะเห็นมาตรฐานดังกล่าวออกมาเป็นรูปธรมได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ขอนอกจากจะได้รองรับมาตรฐานของเอกชนแล้วก็ยังได้รับการรองรับมาตรฐานของหน่วยงานรัฐที่ดูเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ หอการค้ายังได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ในการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าผลไม้เขตร้อนด้วย โดยนำร่องสินค้าทุเรียน ทั้งในรูปแบบสดและแปรรูป มีเป้าหมายเพื่อการส่งออกสินค้าไปตลาดจีน โดยประเด็นนี้จะมีการนำไปหารือในการสัมมนาใหญ่หอการค้าด้วย ก่อนที่จะสรุปและนำเสนอให้กับกระทรวงพาณิชย์ในการร่วมมือกันผลักดันให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ดี หอการค้าไทยไม่ได้มองเพียงสินค้าทุเรียน แต่จะรวมไปถึงสินค้าผลไม้อื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นการสร้างรายได้และเพิ่มช่องทางการทำตลาดให้กับสินค้าผลไม้ไทยได้ อีกทั้งยังได้บริษัท SCG ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนการเข้าไปขยายตลาดสินค้าผลไม้ไทยในตลาดจีนด้วย ถือว่าเป็นแนวทางการสร้างรายได้ให้สินค้าไทยได้เป็นอย่างดีต่อไปในอนาคต

อนึ่ง มาตรฐาน ThaiGAP เป็นมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย หรือสถาบัน ThaiGAP สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตผัก ผลไม้ของไทย ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้ปลูกและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของผลผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยให้เป็นที่ยอมรับ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมมอบนโยบายและตรวจเยี่ยมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า ในปี 2561 ต้องการให้ ธ.ก.ส. ปฏิรูปภาคการเกษตรโดยเฉพาะการดูแลเอสเอ็มอีเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจึงให้ไปศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสตาร์ตอัพเพื่อเกษตรกร ในลักษณะเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ ที่มีลูกค้าสตาร์ตอัพเป็นของตัวเองมีหน้าที่ในการเข้าไปช่วยเงินทุนในการจัดตั้งกิจการรวมทั้งให้สินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

รวมทั้งให้ ธ.ก.ส. มีหน้าที่ในการช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้เกษตรกรโดยลดภาระให้น้อยที่สุด เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี ที่ MRRหรือ 7% มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงหรือไม่ ฝากให้ รมว.คลัง เข้าไปดูแล

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะประประธานกรรมการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า นายสมคิด มอบหมายนโยบาย 2 เรื่อง คือ 1. ให้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในโครงการสวัสดิการแห่งรัฐให้มีรายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะผู้อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน 30,000 บาทต่อปี โดยในส่วนของเกษตรกรที่มาลงทะเบียนคนจนมีจำนวน 3.9 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.กว่า 1 ล้านราย และเกษตรกรทั่วไปกว่า 2 ล้านราย ผ่าน 3 มาตรการ 9 โครงการ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นโดยจะเสนอพร้อมกับมาตรการบัตรจนเฟส 2 เข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า

เรื่องที่ 2. แก้ปัญหาโครงสร้างภาคการเกษตรทั้งระบบ โดยปัจจุบันที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เนื่องจากไม่เคยมีการปฏิรูปมากว่า 40-50 ปี ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามาขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งปัญหาสำคัญเกษตรกรไม่ปลูกพืชที่ไม่สามารถขายได้ แต่ไม่เปลี่ยนแปลงแต่ข้อมูลมีการเชื่อมโยงทั่วโลก ประเทศอื่นปลูกในสิ่งที่ขายได้และกลายเป็นราคาอ้างอิง ทำให้สินค้าเกษตรไทยขายไม่ได้ราคา และมีต้นทุนสูงจึงสั่งให้ ธ.ก.ส. ไปหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวทางการปฏิรูปที่ชัดเจน ภายในไตรมาส 1/2561 เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณเป็นการเร่งด่วน

“ถ้าปฏิรูปตอนนี้แม้จะต้องใช้งบประมาณเข้าไปอุดหนุนตามแผนอยู่เยอะ แต่ก็จะทำให้ภาคเกษตรมีการปรับตัว ปลูกสินค้าที่มีความต้องการ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถขายได้ ก็จะลดลง ท้ายที่สุดรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปอุดหนุนราคาอีก จึงฝาก ธ.ก.ส. และกระทรวงเกษตรฯ เข้าไปทำแผนร่วม ซึ่งเชื่อว่ากระทรวงเกษตรฯ มีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว เช่น การจัดโซนนิ่ง การใช้ตลาดเป็นตัวนำ ก็เป็นแผนหนึ่ง ส่วนจะใช้งบกลางปี หรืองบปี 2562 ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของแผน”นายอภิศักดิ์ กล่าว

ส่วนเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ย หากเป็นเรื่องนโยบายฝ่ายบริหารของธนาคารก็ต้องรับไปพิจารณาดำเนินการแต่ปัจจุบันดอกเบี้ยของ ธ.ก.ส. ถือว่าต่ำมากอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อของธนาคาร ก็ไม่เหมือนกับธนาคารอื่นเนื่องจากมีการส่งเจ้าหน้าที่ เข้าไปติดตามช่วยเหลือดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร ในส่วนนี้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหากสามารถทำได้น่าจะไปลดอย่างอื่น เช่น ต้นทุนการบริหารจัดการ เป็นต้น

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า 3 มาตรการ 9 โครงการที่จะเสนอ ครม.ในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วย 1. มาตรการพัฒนาตัวเอง มี 2 โครงการ ในการให้ความรู้ทางการเงินกับเกษตรกร เป้าหมาย 1.09 ล้านราย 2. มาตรการพัฒนาอาชีพและเสริมรายได้ จากสินเชื่อ 2 โครงการ เป้าหมาย 7.84 แสนราย และ 3. มาตรการลดภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ รวม 5 โครงการ 3.3 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นโครงการชำระดีมีคืน 2.3 ล้านผ่านความเห็นชอบจากครม. ไปแล้ว โดยในส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย 4.1 ล้านราย ธ.ก.ส. จะช่วยเหลือสินเชื่อ 9.5 หมื่นล้านบาท ใน 3 ปีโดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 8 พันล้านบาท

งานวิจัยไทยต้องไปไกลระดับโลก!…คำพูดที่หึกเหิมและช่วยกระตุ้นให้ไปไกลได้จริง ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน
“ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” พาเก็บตกจากงานเปิดเมกะโปรเจกต์ปี 2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์

เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปไกลผนวกกับความรู้วิทยาศาตร์ที่ไม่หยุดยั้ง ก่อให้เกิดงานวิจัยที่สร้างคุณค่า และคุณูปการ รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยหลากหลายด้าน

สมชาย ชคตระการ คณะบดีคณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในปี 2561 นี้ คณะมุ่งมั่นพัฒนาวิจัยจากการสำรวจ ศึกษาถึงอุปสรรคต่างๆ รวมถึงช่องว่างที่ยังคงเป็นปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดการต่อยอดในอนาคตด้วยกัน 3 เมกะโปรเจกต์ คือด้านการเกษตร บิ๊กดาต้า และการพัฒนาเพื่อผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอี

โดย SCI for AGRICULTURE หรือวิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตร เป็นการต่อยอดศักยภาพให้เกษตรกรไทยกับโจทย์สำคัญในการทำงานคือ จะต้องพัฒนานวัฒกรรมเพื่อประชาชน ที่ชาวบ้านและเกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ และต้องใช้ต้นทุนต่ำ

ด้านต่อไปคือโจทย์ใหญ่ของนานาประเทศทั่วโลกสำหรับ SCI for BIG DATA หรือ วิทยาศาตร์เพื่อการจัดการข้อมูล เพื่อให้ประเทศเท่าทันกระแสบิ๊กดาต้า และระบบคลาวด์ ที่นำเอาข้อมูลมาสร้างสรรค์ใช้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม

และสุดท้ายคือ SCI for OTOP/SMEs หรือวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการโอท็อปและเอสเอ็มอี เพื่อช่วยยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพสามารถส่งขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ

@วิจัยสมัยใหม่ไม่ได้อยู่บนหิ้งอีกต่อไป ต้องเข้าถึง-จับต้องได้ และร่วมมือกัน

ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมองภาพของงานวิจัยว่าเป็นสิ่งที่ยาก และจับต้องไม่ได้มากไปกว่าแค่ศึกษา และวางวิจัยไว้เพียงแต่บนหิ้งเท่านั้น แต่ภาพรวมในปัจจุบันกลับส่งสัญญาณดีว่าวิจัยจะไม่ได้อยู่แค่เพียงบนหิ้งอีกต่อไป คณะบดีคณะวิทยาศารตร์และเทคโนโลยีระบุว่า ปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อก่อนเพราะต่างคนต่างทำ ไม่มีการต่อยอดให้เกิดมูลค่า แต่ปัจจุบันนี้วิจัยที่มีอยู่บนหิ้งนั้นน้อยลง และมีความหลากหลายมากขึ้น ด้านรัฐบาลเองมีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกัน มีการบูรณาการกันมากขึ้นทั้งในหน่วยงานเดียวกัน หรือนอกหน่วยงานก็ตาม ทำให้เกิดการพัฒนาในหลากหลายด้าน

ส่วนปัญหาของงานวิจัยนั้นคือ เรื่องของงบประมาณที่มีไม่เพียงพอ รวมถึงเวลาของอาจารย์ผู้วิจัยนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากต้องสอนหนังสือไปด้วย ทำให้มีเวลาทุ่มเทให้กับการวิจัยได้ไม่มากนัก อีกทั้งการขอทุนวิจัยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

@ 5 เทรนด์วิจัยมาแรงที่ต้องจับตา ประเทศยังต้องการ! ส่วนด้านเทรนด์วิจัยที่มาแรงนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำการสำรวจพบว่ามี 5 ด้านวิจัยที่ประเทศไทยยังต้องการคือ

1.ด้านเกษตร เป็นการพัฒนาระบบ หรือนวัตกรรมรองรับภาคการเกษตร อาทิ ระบบควบคุม-สั่งการระยะไกลด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยี iOT

2.ด้านความมั่นคง การพัฒนานวัตกรรมทางทหาร เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย

3.ด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับกับการจัดเก็บข้อมูลที่ยากต่อการเข้าถึง โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ บล็อกเชน

4.ด้านพลังงาน เพื่อหาแนวทางวิจัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานด้านอื่นๆ และ 5.ด้านการท่องเที่ยว พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับต่างชาติ

@ส่องตัวอย่างวิจัยสุดเจ๋ง ใช้ได้จริง

– เปลี่ยนกล้วยหอมทองตกเกรดใช้ไม่ได้เป็น “ไซรัปกล้วยหอมทอง” กล้วยหอมทองเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้เกือบทุกพื้นที่ของไทย โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ในปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทั้งประเทศ 86,270 ไร่ มีมูลค่าการส่งออกกว่า 46 ล้านบาท ตลาดกล้วยหอมจึงไม่ใช่ตลาดเล็กๆ เพราะแม้จะปลูกได้ทุกที่ทั่วไทย แต่ก็ยังไม่พอขาย โดยแหล่งปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ “จังหัวดปทุมธานี” มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมกว่า 1.4 หมื่นไร่ (ข้อมูลจากปี 2556)

ซึ่งเทพปัญญา เจริญรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการทำวิจัยไซรัปกล้วยหอมทองว่า ด้วยความที่มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญการร่วมมือกับชุมชนที่อยู่คือจังหวัดปทุมธานี จึงมีการให้งบประมาณเพื่อมาร่วมบูรณาการระหว่างเกษตรกร และบุคลากรของมหาวิทยาลัย และด้วยจังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมส่งออกต่างประเทศแหล่งใหญ่ การควมคุมคุณภาพของผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ

“ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือเมื่อปลูกกล้วยหอมขึ้นมาแล้ว มันก็จะมีกล้วยหอมที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือพูดง่ายๆ คือ กล้วยตกเกรด ซึ่งมีค่อนข้างเยอะถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ของกล้วยที่ผลิตส่งออก เราจึงเกิดไอเดียที่จะนำเอากล้วยตกเกรดที่ไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว มาแปรรูปให้เกิดมูลค่า”หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกล่าวและว่า กรรมวิธีการผลิตนั้นใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน หากมีวัตถุดิบ เครื่องมือ และบุคลากรอย่างครบคัน ซึ่งจะต้องทำให้ไซรัปที่ผลิตจากกล้วยหอมนั้นมีความเข้มข้นเทียบเท่ากับไซรัปที่วางขายในท้องตลาดด้วย

ขณะที่ในด้านของราคาที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกล่าวต่อว่า สามารถกำหนดราคา และสู้กับท้องตลาดได้เยอะพอสมควร เพราะไม่ได้มีต้นทุนเพิ่ม เนื่องจากเป็นการเอาผลผลิตที่มีอยู่มาแปรรูปนั่นเอง

-ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมความอร่อย สร้างอาชีพ “นักชิม” เพื่อผลิตภัณฑ์โอทอป

“ผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป” ที่ช่วยเสริมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับคนในชุมชน แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาแล้วนั้นได้มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้

นี่จึงเป็นที่มาในการเริ่มวิจัย และสร้างศูนย์บริการพัฒนารสชาติ ที่ประภาศรี เทพรักษา หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเล่าให้เราฟัง

สำหรับ”ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมความอร่อย” สมัครพนันออนไลน์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกล่าวว่า จะช่วยพัฒนารสชาติของทั้งอาหาร และเครื่องดื่มให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ด้วยการสร้าง”นักชิม” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากการเข้าอบรมกับทางศูนย์ฯ ที่สามารถทดสอบ และประเมินคุณภาพอาหารด้วยวิธีทางประสาทสัมผัสทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และรสชาติที่ถูกต้องตามหลักองค์ความรู้

เชื่อว่าวิจัยที่มาจากบุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านี้จะสามารถต่อยอดและตอบโจทย์ของสังคม นำมาซึ่งการพัฒนาประเทศชาติได้ครบทุกด้าน และทำให้ประเทศไทยก้าวไปเป็น “ไทยแลนด์ 4.0” อย่างแท้จริง

เศรษฐกิจ3ภาคไตรมาส2ซบหดตัว น้ำท่วมอีสานสูญหมื่นล้าน

แบงก์ชาติ 3 ภาคเผยภาวะเศรษฐกิจการเงินไตรมาส 2/2560 ธปท.อีสานห่วงน้ำท่วมหนักจากพายุเซินกา กระทบเศรษฐกิจอีสาน นาข้าว-ปศุสัตว์เสียหายรวมกว่า 7,000-10,000 ล้านบาท ด้าน ธปท.ใต้เผยการบริโภคชะลอ การลงทุนภาคเอกชนทรงตัว ด้านแบงก์ชาติภาคเหนือระบุเศรษฐกิจยังซึม ชี้งบฯกลุ่มจังหวัด 1.5 หมื่นล้าน เบิกจ่ายได้เพียง 8.8% ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้านยอดโอนอสังหาฯซบเซา

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 60 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานภาคใต้ สำนักงานภาคเหนือ เปิดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละภูมิภาคในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2560

ธปท.อีสานห่วงน้ำท่วมฉุด ศก.

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น ตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกร รายได้ภาคบริการด้านการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับดีขึ้น นอกจากนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคการค้าขยายตัวดี ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลง ทั้งนี้ เงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินชะลอลง ส่วนสินเชื่อทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามราคาอาหารสดและน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนอัตราการว่างงานปรับลดลง จากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคการเกษตร

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 3 ปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจอีสาน คือ มาตรการกระตุ้นของภาครัฐที่จะมีเม็ดเงินไหลเข้าภาคอีสานจำนวนมาก ทั้งโครงการสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศของกลุ่มจังหวัด โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ โครงการหมู่บ้านละ 2 แสนบาท ซึ่งต้องดูถึงการเบิกจ่ายจะล่าช้าหรือไม่

ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยบวกคือการค้าชายแดนของภาคอีสานขยายตัวดีต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น การสร้างรถไฟทางคู่เข้าในภาคอีสาน จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนตามพื้นที่ของโครงการด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่น่าห่วงคือผลกระทบต่อภาคเกษตร หลังพื้นที่เกษตร 19 จังหวัดภาคอีสานถูกน้ำท่วมหนัก ขณะเดียวกันยอดสั่งซื้อยางพาราจากประเทศจีนมีการชะลอตัวลง เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอีสานด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีการหยิบยกปัญหาน้ำท่วมหนักจากอิทธิพลพายุเซินกา ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่องและเกิดน้ำท่วมขังหนักที่จังหวัดสกลนคร และขยายตัวครอบคลุมไปเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน กระทบภาคเกษตรกรรม นาข้าวถูกน้ำท่วมถึง 2-3 ล้านไร่ หรือร้อยละ 12 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในอีสาน

ขณะที่ภาคปศุสัตว์ก็เสียหายหนักเช่นกัน ประเมินความเสียหายเฉพาะภาคเกษตรมีมูลค่ากว่า 7,000-10,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลานาข้าวถูกน้ำท่วม และการพร่องน้ำออกจากพื้นที่ ขณะที่ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม ยังไม่สามารถประเมินได้ ซึ่งผลกระทบจากน้ำท่วมนาข้าว ปศุสัตว์ ใน 19 จังหวัดภาคอีสาน น่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจภาคอีสานในระยะต่อไปด้วย

ภาคใต้อุปโภคบริโภคชะลอ

นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้าตามผลผลิตเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนราคาสินค้าเกษตรยังขยายตัวแม้จะชะลอลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวตามนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวได้เร็วจากมาตรการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรป

ขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องเป็นผลจากด้านราคาและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงตามการชะลอตัวของยอดขายสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐลดลง

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวอย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกยางพาราแปรรูปลดลง เนื่องจากสต๊อกยางในประเทศจีนอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องที่หดตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8

สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนเร่งตัว เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้มีการเร่งซื้อสินค้ากึ่งคงทน เพื่อทดแทนของที่ชำรุดเสียหายจากอุทกภัยในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการชะลอลง โดยเฉพาะยอดขายสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เนื่องจากประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้นอกภาคเกษตรที่ค่อนข้างทรงตัว การใช้จ่ายภาครัฐลดลงร้อยละ 33.2 ทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน ด้านการลงทุนภาคเอกชนทรงตัว โดยการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างลดลง ขณะที่การซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

กลุ่ม จว.เหนือเบิกจ่ายต่ำ 8.8%

ขณะที่นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 2 ปี 2560 แม้จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อาทิ ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรทั้งข้าวและน้ำตาล รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวตามการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงตลาดประชุมสัมมนาที่เร่งตัวขึ้นแต่มีหลายประเด็นของเศรษฐกิจภาคเหนือที่มีทิศทางไม่ชัดเจน และหดตัว กล่าวคือการบริโภคภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง

แม้เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าคงทน อาทิ ยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น การเบิกจ่ายงบฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 15,839 ล้านบาท ยังเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ขณะที่ยอดโอนอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา รวมถึงราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มต่ำลง และภาคการส่งออกชายแดนไปประเทศเมียนมา และ สปป.ลาวยังคงหดตัว

นายสิงห์ชัยกล่าวว่า ประเด็นสำคัญหนึ่งที่พบก็คือ การใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐแผ่วลงและยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยการใช้จ่ายงบฯลงทุนของภาครัฐลดลง 25.5% จากการใช้จ่ายเงินอุดหนุนให้กับท้องถิ่นลดลง และโครงการกลุ่มจังหวัดส่วนใหญ่อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 15,839 ล้านบาท ยังมีการเบิกจ่ายต่ำเพียง 8.8% เท่านั้น ซึ่งล่าช้ากว่าคาดและยังต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งในข้อเท็จจริง งบฯกลุ่มจังหวัดจำนวน 15,839 ล้านบาทดังกล่าว จะเป็นงบฯที่เข้ามาขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคเหนือ แต่การเบิกจ่ายที่ต่ำและล่าช้า ก็อาจส่งผลให้โครงการลงทุนต่าง ๆ ต้องล่าช้าตามไปด้วย

ขณะที่อีกประเด็นหนึ่งก็พบว่า รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 64% จากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 72.9% จากปริมาณข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และอ้อยโรงงานเก็บเกี่ยวช่วงปลายฤดูมาในช่วงไตรมาสนี้ แต่ในภาพรวมราคาสินค้าเกษตรต่ำกว่าปีก่อนมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัว -5.3% ตามราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และลำไย

นอกจากนี้ก็พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังไม่เข้มแข็ง และมีทิศทางไม่ชัดเจน อยู่ในระดับ 0.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนอยู่ที่ 4.6% แม้จะมีการเพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง 13.2% เทียบกับไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ -9.1%

ขณะเดียวกัน การลงทุนภาคเอกชนก็ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ยังซบเซา จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ที่หดตัว -6.4% โดยยอดคงค้างสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยังหดตัว สะท้อนจากการเปิดโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่มีน้อยลง รวมถึงยอดโอนอสังหาริมทรัพย์ก็ยังซบเซาด้วยเช่นกัน เนื่องจากขาดแรงส่งจากนักลงทุน

ท่วม 44 จังหวัด – ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-3 ส.ค. 2560 มีพื้นที่เกิดอุทกภัยและน้ำไหลหลาก44 จังหวัด รวม 258 อำเภอ ประชาชนได้รับผลกระทบ 385,824 ครัวเรือน จำนวน 1,218,003 คน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมในภาคอีสานเหลืออยู่9 จังหวัด และภาคกลาง 1 จังหวัด แต่ต้องรอดูพายุฝนในช่วงสัปดาห์หน้านี้ด้วย

ค้าชายแดนเมียนมา-ลาวหดตัว

ส่วนประเด็นการส่งออก Nonborder ยังขยายตัวได้ดี แต่การส่งออกสินค้าชายแดนไปประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว ยังหดตัว -7.9% โดยสินค้าที่ส่งไปเมียนมา มียอดส่งออกลดลงในหมวดสินค้าโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องจักรกลการเกษตร และน้ำตาลทราย ขณะที่สินค้าหมวดอุปโภคบริโภค สุกรมีชีวิตและรถยนต์บรรทุกไป สปป.ลาวก็ลดลงเช่นกัน เนื่องจากทางการจีนเข้มงวดการนำเข้าสินค้าผ่านช่องทางชายแดนมากขึ้น

ทั้งนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจของภาคเหนือไตรมาสที่ 2 แม้จะมีเครื่องชี้หลายตัวที่สะท้อนถึงการหดตัว หรือชะลอตัว แต่ก็ยังมีเครื่องชี้ที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดีอยู่ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี

ด้านนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า งบฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) จำนวน 311 ล้านบาท ขณะนี้การเบิกจ่ายมีความคืบหน้าราว 63% ซึ่งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ 171 ล้านบาท โดยโครงการของหลายหน่วยงานอยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ คาดว่าจากนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน จะสามารถทำการเบิกจ่ายงบประมาณได้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 80%

เอกชนอีสานเร่งฟื้นฟูกิจการหลังอุทกภัยใหญ่เริ่มคลี่คลาย วอนรัฐบาลทำจริงจังเรื่องบริหารจัดการน้ำ วางผังเมืองเข้ม ขณะที่การช่วยเหลือด้านการเงินต้องประเมินจากข้อเท็จจริงมากกว่าใช้หลักเกณฑ์ปกติ ด้านร้านค้ายังไม่กล้าสต๊อกของ หวั่นน้ำท่วมรอบใหม่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-3 ส.ค. 2560 ทำให้เกิดอุทกภัยและน้ำไหลหลาก 44 จังหวัด รวม 258 อำเภอ 1,167 ตำบล 8,198 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 385,824 ครัวเรือน 1,218,003 คน ผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 2 คน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด และภาคกลาง 1 จังหวัด แต่ยังต้องจับตาพายุฝนรอบใหม่ด้วย

ผลกระทบไม่ต่ำหมื่นล้าน

นายมงคล ตันสุวรรณ ประธานหอการค้ากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (มุกดาหาร สกลนคร นครพนม) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้คาดว่าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบการทั้งโรงแรม ที่พัก ท่องเที่ยว และเกษตรกร ประชาชน สำหรับเกษตรกรที่ทำประกันภัยไว้จะได้รับค่าชดเชยไร่ละ 1,260 บาท รวมถึงการจ้างรายวัน เมื่อธุรกิจถูกชัตดาวน์ พนักงานแทบไม่ได้ทำอะไร

ทั้งนี้มองว่าเบื้องต้นเอกชนต้องฟื้นฟูตัวเอง ซึ่งจะฟื้นฟูได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐและธนาคาร อาทิ การปล่อยกู้เพิ่มเติม การกำหนดวงเงินให้ครอบคลุมความเสียหาย และการยืดเวลาชำระหนี้ให้ยาวขึ้น เพราะภาคอีสานปัจจุบันเศรษฐกิจภาพรวมไม่โตมาก แม้ว่าจีดีพีภาพรวมประเทศจะอยู่ที่ 3.2% ขณะที่ภาคอีสานไม่ถึง แต่เราพออยู่ได้ก็มาเกิดน้ำท่วมซ้ำเติม

“ต้องขอความเห็นใจเรื่องการให้วงเงินที่เหมาะสมในการฟื้นฟู บางธนาคารให้รายละ 5 หมื่นบาท อาจเหมาะกับรายย่อย ๆ แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ความเสียหายไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านบาท ต้องประเมินจากข้อเท็จจริงมากกว่าใช้หลักเกณฑ์ปกติ”

นายมงคลกล่าวอีกว่า ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วม รัฐบาลต้องคิดจริงจังเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะเรื่องผังเมืองต้องยกให้เป็นกระทรวงได้แล้ว เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการลงทุน บ้านเราลูบหน้าปะจมูก เช่น การตั้งห้างค้าปลีกที่ต้องอยู่ห่างเมืองไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร แต่เปิดช่องให้ทำประชามติ ซึ่งที่ผ่านมาก็ผ่านทุกห้าง แล้วการเข้ามาอยู่ใจกลางเมืองเป็นการเข้ามาทำลายนิเวศธุรกิจ ทำให้รายย่อยต่าง ๆ อยู่ไม่ได้ รวมถึงการก่อสร้างถมที่ยกสูงไปทับแก้มลิงธรรมชาติ และแก้ปัญหาด้วยการทำทางระบายน้ำซึ่งแออัด ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากในภาคต่าง ๆ หากเป็นอย่างนี้ระยะยาวประเทศไทยแย่แน่นอน

อีสานล่าง 2 ชะลอขนส่งสินค้า

ด้านนายวิทยา วิรารัตน์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดทางภาคอีสาน ขณะนี้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก มีเพียงพื้นที่การเกษตรของอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้รับความเสียหายประมาณ 1 พันไร่ ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมรับมือมวลน้ำจากสกลนคร โดยเฉพาะภาคการค้าตอนนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่กล้าสต๊อกสินค้า ทำให้การขนส่งสินค้าชะลอตัว เพราะกังวลว่ามวลน้ำจะไหลบ่าเข้ามาในพื้นที่ แต่คาดว่าหากมวลน้ำผ่านไปแล้ว ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ขณะที่มาตรการฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลด จะต้องดูว่าได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน เบื้องต้นหากร้านค้าใดได้รับผลกระทบ สินค้าเสียหาย ทางหอการค้าได้ติดต่อซัพพลายเออร์ เพื่อขอเปลี่ยนหรือเคลมสินค้า หากร้านค้าที่เสียหายมาก อาจจะช่วยเจรจากับธนาคารให้ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ หรืองดดอกเบี้ย 1-2 เดือน

“มองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจภาคอีสานตอนล่าง 2 นั้น ในไตรมาส 3 ดีกว่าไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณ หน่วยราชการต้องรีบใช้เงิน ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการซื้อขาย ส่งผลให้เกิดเงินสะพัดในตลาด ขณะเดียวกันกลุ่มหอการค้าพยายามจะจัดอีเวนต์เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อและเปิดตลาดใหม่ ๆ โดยนำสินค้าจากนักธุรกิจ เอสเอ็มอี สินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว มาเปิดตลาดในกลุ่มจังหวัด รวมถึงนำนักธุรกิจที่แข็งแรงและเติบโตไปจัดอีเวนต์ในประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย” นายวิทยากล่าว

โคขุนโพนยางคำกระทบ 50%

ด้านนายสุชิน วันนาพ่อ รองประธานกรรมการที่ 1 สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจการเลี้ยงโคขุนโพนยางคำได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากนับตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำท่วมวันที่ 29 ก.ค. 60 เป็นต้นมา โดยมีระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 3 เมตรในพื้นที่เขตปฏิบัติงานของสหกรณ์ทั้งในจังหวัดสกลนคร และนครพนม เนื่องจากโคไม่มีที่อยู่ และยังเริ่มขาดแคลนอาหาร เพราะไม่สามารถขนส่งอาหารเม็ดจากสหกรณ์ไปให้กับสมาชิก ซึ่งปกติจะต้องส่งอาหาร 3-4 หมื่นถุงต่อเดือน

ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกประมาณ 6,000 ราย จาก 22 กลุ่ม มีโคขุนในระบบกว่า 12,000 ตัว ซึ่งทุกเดือนจะมีการขุนโคเพิ่ม 800 ตัว/เดือน และนำเข้าโรงเชือด 650 ตัว/เดือน โดยมีอุปสรรคในการขนส่งเนื้อจากโรงเชือดและวัว เนื่องจากถนนบางสายถูกน้ำท่วมไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ขณะที่ผู้รับซื้อเนื้อโคก็ไม่สามารถเดินทางมารับเนื้อได้ บางรายจึงหยุดการขายในช่วงนี้ แต่ยังพอมีเนื้อที่มาจากห้องเย็นในจังหวัดส่งให้ตลาดใหญ่ที่วังทองหลาง สุขุมวิทได้ แม้จะเริ่มชะลอตัวลงก็ตาม

ทั้งนี้ ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ชัดเจน คาดว่าอยู่ในหลักล้านบาท เนื่องจากสมาชิกประมาณ 50% ถูกน้ำท่วมมากน้อยตามระดับพื้นที่ และยังต้องรอดูสภาพอากาศต่อไป

การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าทางการเกษตรร่วมกัน มีการบริหารจัดการร่วมกันตั้งแต่การผลิต การจัดหาปัจจัยการผลิต รวมถึงการจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐาน และสามารถแข่งขันในตลาดภายใต้การสนับสนุนอย่างบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ในการพัฒนาการผลิตสินค้าสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนตามหลักการบริหารตามแนวประชารัฐ

นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ในปี 2560 กรมประมงได้เตรียมแผนดำเนินการโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ในการวางระบบการผลิตและบริหารจัดการการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในปี 2560 กรมประมงตั้งเป้าหมายรวมกลุ่มแปลงใหญ่เพิ่มขึ้น จำนวน 18 แปลง รวมแปลงเดิมในปี 2559 จำนวน 7 แปลง รวมเป็น 25 แปลง (ปัจจุบันมีการเข้าร่วมโครงการฯ 27 แปลงซึ่งเกินจากเป้าหมายที่กำหนดไว้)มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,450 ราย

มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 33,993 ไร่ ครอบคลุมในเขตพื้นที่ต่างๆ อาทิ พื้นที่ในเขตชลประทาน พื้นที่ปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ในเขตสหกรณ์นิคม และพื้นที่เกษตรทั่วไปโดยมีเจ้าหน้าที่ กรมประมงร่วมเป็น “ผู้จัดการแปลง” มีหน้าที่ประสาน สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการพัฒนาสมาชิกในแปลงใหญ่มาร่วมกำหนดเป้าหมายการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอนจนถึงการเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชนแบบประชารัฐเพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสามารถประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ร.ต.สมพงษ์ ไชยสง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดขอนแก่น เล่าถึงเส้นทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำว่า เดิมผมรับราชการทหารและได้ลาออกจากราชการเมื่อปี 2548 หลังจากนั้นได้นำเงินที่เก็บสะสมมาซื้อที่ดินจำนวน 14 ไร่ บริเวณบ้านหนองนางขวัญ ตำบลเมืองเพีย จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีคลองส่งน้ำ ด้วยพลังงานไฟฟ้าไหลผ่าน อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ติดกับแก่งละว้าที่ถือว่าเป็นพื้นที่แก้มลิงของจังหวัดขอนแก่นผมจึงมีแนวคิดที่จะทำการเกษตรแบบผสมผสานกับการเลี้ยงปลา ผมเริ่มศึกษาความรู้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงปลาและทำการเกษตรแบบผสมผสานจากหน่วยงานของประมงในพื้นที่ อาทิ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเลี้ยงปลา การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำอาหารปลาแบบพื้นบ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบไม่ใช้ยาและสารเคมี อีกทั้งฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังเป็นฟาร์มระบบปิด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตของฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะไม่มีการปล่อยของเสียออกนอกฟาร์ม

ปัจจุบันฟาร์มของผมมีเนื้อที่ทั้งหมด 56 ไร่และได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาฟาร์มโดยภายในฟาร์มได้เลือกปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาดหลากหลายชนิด อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาช่อน เป็นต้น แต่เนื่องจากพื้นที่ฟาร์ม เป็นพื้นที่ดินเค็มผมจึงนำกุ้งขาวแวนนาไมและปลากะพงขาวมาเลี้ยงในบ่อเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับสินค้าภายในฟาร์มของผมมากยิ่งขึ้น ในช่วงปี 2559 ทางฟาร์มได้ผลผลิตปลาและกุ้งขาวทั้งหมดรวม 11,950 กก. แบ่งเป็น ปลานิล 9,000 กก. ปลาตะเพียนขาว 2,000 กก. ปลากะพงขาว 400 กก. กุ้งขาว 550 กก. รวมรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 740,000 บาท นอกจากนี้ผมยังปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ห่าน และไก่ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วย ต้องยอมรับว่าปัจจุบันผมมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากในอดีต

หลังจากที่ผมทำอาชีพเกษตรกรรมและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว เริ่มมีพี่น้องและประชาชนในพื้นที่หันมาศึกษาดูงานมากยิ่งขึ้นผมจึงมีแนวคิดที่จะรวมตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญขึ้นเมื่อปี 2556 โดยมีผมรับหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม หลังจากนั้นผมได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการให้เป็นเกษตรอาสาและประมงอาสาประจำตำบลเมืองเพีย อีกทั้งยังได้มีโอกาสเป็นวิทยากรไปถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้ฟาร์มของผมเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจอีกด้วย ล่าสุดในปี 2558 กลุ่มผู้เลี้ยงปลาบ้านหนองนางขวัญได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ในการประกวดกลุ่มเศรษฐกิจต้นแบบจากจังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันฟาร์มของผมได้เข้าร่วมโครงการเกษตรแบบแปลงใหญ่อีกทั้งได้เป็นเครือข่ายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางภาครัฐให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ทราบอีกด้วย

นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า การรวมกลุ่มทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จะก่อให้เกิดขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น (Economy of Scale) แต่ทั้งนี้จะต้องเกิดจากความพร้อมใจกันของเกษตรกร ชุมชนต้องมีความเข้มแข็งที่สำคัญคือความเสียสละเพื่อส่วนรวม ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ จะต้องทำให้เห็นความสำเร็จเป็นตัวอย่างจริง กรมประมงจึงขอเชิญชวนให้เกษตรกรหันมารวมกลุ่ม กันทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อช่วยกันร่วมพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตลอดจนให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ถือเป็นต้นทุนสำคัญของภาคปศุสัตว์ ปัญหาที่เกิดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จึงเชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรถึงผู้บริโภค แต่ละปีอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีกำลังการผลิต 20 ล้านตัน ทำให้มีความต้องการใช้วัตถุดิบทั้ง ข้าว มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดอย่างมาก แต่วัตถุดิบมีไม่เพียงพอจึงเกิดปัญหาตามมามากมาย

นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เล่าว่า ความต้องการใช้ข้าวโพดในแต่ละปี เฉลี่ย 8 ล้านตัน แต่ไทยปลูกได้ 4.6-5.0 ล้านตัน จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบอื่น เช่น ข้าวสาลี กากข้าวสาลี (DDGS) มาทดแทน 3 ล้านตัน เพื่อผสมให้ได้สารอาหารโปรตีนในระดับใกล้เคียงกับข้าวโพด ซึ่งมีโปรตีน 7-8% ส่วนข้าวสาลีมีโปรตีน 9-10% DDGS มีโปรตีน 25-30% เป็นเหตุให้กระทรวงพาณิชย์ต้องกำหนดมาตรการให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพด 3 ส่วนเพื่อรับสิทธินำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ไม่ให้กระทบชาวไร่

แต่ปัญหาสำคัญมาจากไทยปลูกข้าวโพดผิดวิธีและขาดประสิทธิภาพ โดยแต่ละปีปลูกข้าวโพดได้ 4.6-5 ล้านตัน แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ 1) ข้าวโพดต้นฝน เก็บเกี่ยวช่วงสิงหาคม-พฤศจิกายนของทุกปี มีสัดส่วน 70% ของผลผลิตทั้งหมด มักเกิดปัญหาผลผลิตออกพร้อมกัน เมื่อใช้รถเกี่ยวเกิดปัญหาเม็ดแตกบวกความชื้นสูง 30-40% จึงมักมีสารพิษอัลฟาทอกซิน

2) ข้าวโพดช่วงปลายฝน เก็บเกี่ยวช่วงฤดูหนาว ระหว่างธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศแห้ง ความชื้นต่ำ คุณภาพดี มีสัดส่วนเพียง 25% ของผลผลิตทั้งหมด และ 3) ข้าวโพดหลังนา ปลูกหลังเกี่ยวข้าวนาปี มีสัดส่วนเพียง 5% ซึ่งอาจเรียก “โมเดล 70-25-5” ที่ทำให้คุณภาพไม่ดี ความชื้นสูง ราคาขายต่ำกว่าความเป็นจริง

อีกมิติหนึ่ง ข้าวโพดต้นฝน 70% เป็นข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่รุกป่าเกินครึ่ง ไม่มีเอกสารสิทธิ ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป แสดงความกังวลว่าเนื้อสัตว์จากไทยเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ที่ผลิตจากข้าวโพดในพื้นที่ผิดกฎหมาย ไทยจึงต้องเร่งแก้ไข

แนวทางการแก้ไขปัญหาข้าวโพดที่ผ่านมาได้ดำเนินการคู่ขนานกัน ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวโพด เพื่อปรับโมเดลการปลูกจาก 70-25-5 เป็น 20-30-50 หมายถึง ลดพื้นที่ต้นฝนจาก 70% ให้เหลือ 20% และเพิ่มพื้นที่ข้าวโพดรุ่น 2 จาก 25% เป็น 30% และเพิ่มสัดส่วนข้าวโพดหลังนาจาก 5% เป็น 50%

โมเดลใหม่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาคุณภาพข้าวโพด ลดการ กระจุกตัวที่ส่งผลต่อราคาข้าวโพดแล้ว อีกมิติยังเป็นการดึงพื้นที่นาราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีเอกสารสิทธิที่ดินถูกต้องมาปลูกข้าวโพดทดแทนลดปัญหาการรุกพื้นที่ป่าได้

นอกจากนี้ การปรับพื้นที่นาปรังมาปลูกข้าวโพด ยังได้ช่วยลดการใช้น้ำ และลดซัพพลายผลผลิตข้าวนาปรังได้อีกมิติหนึ่ง ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนโมเดลนี้ดำเนินการคู่ขนานกับการแก้ไขปัญหาการรุกป่าโดยภาครัฐ หากสำเร็จจะสร้างประโยชน์ต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารของประเทศอย่างมาก ส่งผลดีต่อเกษตรกรไปจนถึงผู้บริโภค

เดือนสิงหาคมเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดครอปใหญ่ของปี 2560/2561 แต่ปัญหาเรื้อรังเดิมยังไม่ได้รับการสะสาง ทั้งผลผลิตลอตใหญ่ 70% ออกมากระจุกตัว-ชาวไร่ยังใช้ที่ดินผิดกฎหมาย และวัตถุดิบยังไม่เพียงพอผลิตอาหารสัตว์

“ประชาชาติธุรกิจ” ได้สัมภาษณ์พิเศษ “พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาอาหารสัตว์ในฤดูกาลนี้ว่า

Q : ปรับโมเดลลดรุกป่า-ปลูกหลังนา

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำยุทธศาสตร์ข้าวโพดปรับโมเดลปลูกข้าวโพดจาก 70-25-5 เป็น 20-30-50 หมายถึง ลดปลูกข้าวโพดต้นฝน 70% ให้เหลือ 20% และเพิ่มข้าวโพดรุ่น 2 คุณภาพดีจาก 25% เป็น 30% และเพิ่มข้าวโพดหลังนาจาก 5% เป็น 50% เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพ และราคาข้าวโพดตกต่ำ

ตอนนี้รอเสนอคณะรัฐมนตรีของบประมาณโครงการปลูกข้าวโพดหลังนา 7 พันล้านบาทในช่วง 3 ปี เริ่มจากปี 2561/2562 เพื่อให้เงินสนับสนุนเกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท และงบฯค่าจัดการต่าง ๆ บนพื้นที่เป้าหมาย 3.36 ล้านไร่ ใน 35 จังหวัด ส่วนภาคเอกชนจะไปตั้งจุดรับซื้อในราคา กก.ละ 8 บาท

Q : ลดการรุกป่ายังไม่คืบหน้า

พื้นที่ปลูกข้าวโพดต้นฝน 70% มีทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย แยกเป็นพื้นที่เขตป่า 3.72 ล้านไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสม 0.89 ล้านไร่ รวมเป็น 4.61 ล้านไร่ คิดเป็น 50% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมดของประเทศ 7.84 ล้านไร่ ส่วนนี้ต้องลดไปเลย เพื่อคืนกลับเป็นพื้นที่ป่า ซึ่งภาครัฐ ฝ่ายทหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ได้บูรณาการขอความร่วมมือชาวบ้าน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีความอ่อนไหวมาก

ที่ผ่านมาสมาคมฯ ร่วมมือกับชุมชนแปลงพื้นที่ปลูกข้าวโพดให้เป็นป่า และมีเอกชนอีกหลาย ๆ บริษัท เช่น ซี.พี., ปตท. ช่วย ๆ กัน รวม 600-700 ไร่ แปลงไปปลูกพืชอื่น เช่น กาแฟ ทดแทน โดยมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ช่วยตรวจสอบควบคุม ขับเคลื่อนกันไป แต่คงต้องใช้เวลานานในการลดพื้นที่ตรงนี้ และปลูกทดแทนกัน

Q : ปีนี้จะหยุดซื้อข้าวโพดผิดกฎหมาย ต้องค่อย ๆ ลดซื้อข้าวโพดที่ปลูกโดยไม่มีเอกสารสิทธิตามโมเดล ปีละ 20% คงใช้เวลาอีก 5 ปี ในวันนี้ยังไม่เห็นภาพการปลูกข้าวโพดหลังนาทดแทนพื้นที่ผิดกฎหมาย เพิ่งเปลี่ยนได้ไม่กี่ร้อยไร่ ดังนั้น ปีการผลิต 2560/2561 สมาคมมีมติว่า จะไม่สนับสนุนการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่ไม่ได้บังคับขึ้นกับนโยบายแต่ละบริษัท และจำเป็นต้องสื่อสารไปให้ผู้นำเข้าต่างประเทศคลายความกังวล ถึงแม้ว่าตอนนี้ไม่มีมาตรการ แต่อนาคตมาแน่

Q : ทำไมไม่ใช้ไม้แข็งหยุดซื้อไปเลย

การคุมเลยย่อมทำได้ แต่ควรมีทางเลือกให้เกษตรกร การใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดมีความอ่อนไหวหลายด้าน ที่ผ่านมาพ่อค้าอ้างว่าโรงงานอาหารสัตว์ไม่ซื้อข้าวโพดที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพื่อไปกดราคารับซื้อเกษตรกร เหลือ กก.ละ 1.50-2.00 บาท มาขายให้โรงงาน 8.00 บาท มีตัวเลขลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาขาย โดยอ้างว่าผลผลิตได้มากกว่า 4.5 ล้านตัน พอโรงงานไม่ซื้อ ก็ไปขายผู้ส่งออก ซึ่งไม่ถูกคุมราคา 8 บาท ยอดส่งออกเพิ่มถึง 700,000 ตัน ปีที่ผ่านมา หรือประกาศตูมหากไม่ซื้อจากเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เท่ากับซัพพลายหายไปครึ่งหนึ่งเหลือ 2.5 ล้านตัน ทำให้วัตถุดิบที่ขาดเพิ่มจาก 3 เป็น 5.5 ล้านตัน สมมุติเป็นเช่นนั้นต้องมีทางออก เช่น ให้สิทธินำเข้าวัตถุดิบเสรีมาทดแทน เปิดนำเข้าข้าวโพดชายแดน หรือยกเลิกมาตรการซื้อข้าวโพด 3 ส่วนต่อการให้สิทธิ์นำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน เพื่อให้วัตถุดิบครบ 8 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นโรงงานต้องหยุด รัฐต้องผลักข้าวโพด 2.5 ล้านตันส่งออก ส่วนข้าวโพดถูกกฎหมายจะมีราคาเท่าไรต้องไปถัวเฉลี่ยกับราคาวัตถุดิบนำเข้า

Q : รัฐจะคุมต้นทางคนขายเมล็ดพันธุ์

การไปจำกัดตรงนั้น ความยากจะมีอีกแบบ กระทรวงเกษตรฯขอความร่วมมือจากสมาคมเมล็ดพันธุ์ อย่าขายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

แต่สมาชิกของสมาคมไม่ได้ครอบคลุมบริษัทเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ จะมีเมล็ดพันธุ์เถื่อนออกมาแน่นอน และด้วยกลไกการขายที่ต้องผ่านให้พ่อค้าคนกลาง ซึ่งคงมีการนำเมล็ดพันธุ์ไปปล่อยขายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้องที่ไปปล่อยเกี๊ยวกันไว้ก็ได้ หรือหากบริษัทใดประกาศไม่ขายเพียงบริษัทเดียว ก็กลายเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับบริษัทอื่นที่ไม่ประกาศ เสี่ยงที่จะทำให้ราคาข้าวโพดตกต่ำลงไปอีก

Q : การแก้ปัญหาขาดวัตถุดิบปีนี้ ความต้องการใช้ข้าวโพด 8.1 ล้านตัน มีข้าวโพด 4.5 ล้านตัน จึงยังต้องใช้มาตรการ 3 ต่อ 1 นำเข้าข้าวสาลีอีก 1.5 ล้านตันแต่ก็ลดลงจากปีก่อน 3 ล้านตัน เพราะปีนี้ได้มีการประมูลซื้อข้าวสาร 2 ล้านตันจากสต๊อกรัฐทดแทนทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้นำเข้าข้าวสาลี 5-6 แสนตัน แต่ยังไม่กระทบราคาข้าวโพดที่ตกลงกันไว้ กก.ละ 8 บาท ณ โรงงานกรุงเทพฯ การซื้อขายจริง ๆ เป็นไปตามดีมานด์-ซัพพลาย ซึ่งในช่วงนี้ราคาขยับขึ้น กก.ละ 8.20-8.30 บาท ปีนี้ไม่มีอะไร แต่ต้องคิดถึงปีหน้าถ้าไม่มีสต๊อกข้าวรัฐจะแก้เรื่องวัตถุดิบอย่างไร ต้องวางระบบตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายทาง ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ตอนนี้กำหนดมาตรการควบคุมให้มาขึ้นทะเบียนแล้ว

Q : ปกป้องผู้ปลูกกระทบส่งออกปศุสัตว์

เรามีคู่แข่งทั้งสหรัฐ บราซิล แล้วยังมีเวียดนาม วันนี้มีพัฒนาด้านปศุสัตว์เท่ากับไทยแล้ว น่ากลัวมาก ๆ มีการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศปีละ 5 ล้านตัน ตอนนี้เร่งปลูกและใช้พืชจีเอ็มโอด้วย โรงฆ่าไก่ได้รับใบอนุญาตจากญี่ปุ่น ขณะที่ค่าจ้างแรงงานถูกเพียง 1 ใน 3 ของไทย แต่เวียดนามขยันกว่า ส่วนไทยแรงงานไม่มี ต้องใช้ต่างด้าวนี่คือสิ่งที่คุกคามธุรกิจ

Q : ทางออกที่ทุกฝ่ายรอด

การสร้างสมดุลคืออะไร ตอนนี้พยายามช่วยเกษตรกร โดยรับซื้อข้าวโพดตามเงื่อนไขของรัฐ ถามว่าเราแบกคนเดียวได้หรือ และต้องนำเข้าข้าวสาลีด้วย อีกด้านชายแดนมีตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ 1 ล้านตัน เป็นแรงกดดันราคา รัฐให้เราซื้อ 8 บาทก็ซื้อหมด แต่เราไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง ตอนนี้เหมือนมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามเอากำไรมากแล้วผลักภาระให้กับกลุ่มอาหารสัตว์ ขณะที่ต้นทุนเราโป่ง ตัวทดแทนไม่มี แต่อีกกลุ่มหนึ่งฟันกำไรส่วนต่าง อ้างยอดจาก 4.5 เป็น 5.5 ล้านตัน ถ้ายืนหยัดเดินไปใน 5 ปี ข้าวโพดพวกนี้จะหายไปเอง เพราะไม่มีเอกสารสิทธิ ปีหน้าคงมีมาตรการชัด ปีนี้คงไม่ทันแล้ว

Q : วางอนาคต 5 ปีข้างหน้า

สมาคมกำลังศึกษายุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อตอบ 3 โจทย์ GClub ทั้งความปลอดภัย (safety) ความมั่นคง (security) และความยั่งยืน (sustainablity) ประสานกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทำมาตรฐานเพื่อความยั่งยืน เป็นดัชนีชี้วัดการใช้ทรัพยากร ว่าเราทำลายสิ่งแวดล้อมเท่าไร ถือเป็นมาตรฐานที่มาก กว่า GAP และมีความโปร่งใส

ชู นโยบายภาคเกษตรไทย ในเวที World Agricultural Forum

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน ร่วมสัมมนาในเวที World Agricultural Forum ณ ประเทศสิงคโปร์ ชู นโยบายด้านการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ด้านนานาชาติ ชื่นชมไทย ในนโยบายการเกษตร เช่น แปลงใหญ่ Zoning by Agri-Map และเกษตรทฤษฎีใหม่ เล็งนำข้อมูลไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศตนเอง

นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ผู้แทนกระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน (ASEAN Minister of Agriculture and Forestry: AMAF) ถึงการเข้าร่วมการสัมมนา “Solving the Triple Challenge to Agriculture: Trade, New Technologies and Food Security” ในหัวข้อ “ความสำคัญของการรักษาฐานการผลิตอาหาร” ซึ่งจัดโดย World Agricultural Forum และสถาบันการศึกษานานาชาติ RSiS ร่วมด้วย NanYang Technological University ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม 2560 ณ ประเทศสิงคโปร์

การสัมมนาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐ เอกชนและองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรได้แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข 3 ประเด็นปัญหาสำคัญของภาคเกษตรยุคปัจจุบัน คือ ทิศทางการค้ายุคใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และความมั่นคงด้านอาหาร อีกทั้งยังครอบคลุมแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก เช่น การเติบโตของสังคมเมืองอย่างรวดเร็วและมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกฎระเบียบการค้าโลก ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง และการพัฒนาที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การผลิต รูปแบบการบริโภค การกระจายและการเข้าถึงสินค้าเกษตรและอาหารในอนาคต

นอกจากนี้ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับรองรับและแก้ไขประเด็นความท้าทายของภาคเกษตรของโลกใน 4 หัวข้อหลัก คือ 1) การค้าสินค้าเกษตรและอาหารในบริบทของโลกยุคใหม่ 2) ความสำคัญของการรักษาฐานการผลิตอาหาร 3) เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงอาหารและ 4) การกำกับดูแลที่ดีและพันธมิตรทางการเกษตร

ในการนี้ รองเลขาธิการ สศก. ได้นำเสนอแนวทางเชิงนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตด้านการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยการดำเนินงานของประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายด้านการเกษตรครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น การจัดการฟาร์มแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน การรับรองการผลิตให้ได้มาตรฐาน การจัดตั้งธนาคารสินค้าเกษตร การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตร (ศพก.) ในพื้นที่ และการเชื่อมโยงภาคเกษตรกับโครงการประชารัฐเพื่อประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และภาครัฐ โดยน้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในทุกกระบวนการของการดำเนินงาน

ทั้งนี้ สำหรับภูมิภาคอาเซียน ได้กำหนดแผนความร่วมมืออาเซียน สาขาอาหาร เกษตร และ ป่าไม้ ปี 2016–2025 ซึ่งมีเป้าหมายยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรอาเซียนในตลาดโลก ภาคเกษตรมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความยั่งยืน และเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลก ส่วนประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร อาเซียนยังจัดทำ แผนบูรณาการด้านความมั่นคงอาหารของอาเซียน และ แผนกลยุทธ์ด้านความมั่นคงอาหารอาเซียน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานความร่วมมือให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ อินเดีย และเยอรมนี (BAYER) ได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่ดำเนินนโยบายการเกษตรที่สำคัญ เช่น แปลงใหญ่ Zoning by Agri-Map และเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านรายได้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร อย่างแท้จริง และพร้อมนำข้อมูลของประเทศไทยไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและดำเนินงานของตนอีกด้วย

งบฯกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดเชียงราย 1,700 ล้านใช้ได้ไม่หมดตามแผนงาน หน่วยงานราชการแห่คืนเงินจำนวนมาก ผู้ว่าฯเผยอาจเกิดจากสาเหตุไม่เข้าใจแผนการพัฒนากลุ่มจังหวัด หวั่นถูกตรวจสอบการใช้งบฯ

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ในปี 2560 นี้ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้แต่ละจังหวัดนำไปพัฒนาโดยเฉพาะมีแนวทางชัดเจนในการส่งเสริมให้พื้นที่ 4 จังหวัดนี้เป็นเมืองแห่งการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย ส่งเสริมเอกลักษณ์ล้านนา และการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงกับกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ฯลฯ โดยแต่ละจังหวัดได้จัดทำโครงการ/แผนงานต่าง ๆ เพื่อรองรับแนวทางการพัฒนาดังกล่าว โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็นแกนนำ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ในปี 2560 ประมาณ 4,000 ล้านบาท สำหรับจังหวัดเชียงรายได้รับงบประมาณ 1,700 ล้านบาท และปีถัดไปจะเพิ่มเป็นกว่า 2,000 ล้านบาท จากนั้นในปี 2562-2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 4,000-5,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้มีการพัฒนาเป็นกลุ่มจังหวัดอย่างสอดคล้องกัน

อย่างไรก็ตาม พบว่าหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรให้นำงบประมาณไปพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้หมดตามแผนงาน จึงมีการคืนงบประมาณกลับเป็นจำนวนมาก โดยอาจเกิดจากสาเหตุที่ยังไม่เข้าใจในแผนการพัฒนากลุ่มจังหวัดที่ชัดเจน หรือเกรงด้านการตรวจสอบการใช้งบประมาณ ดังนั้นในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเร็ว ๆ นี้

จะมีการแจ้งให้ทุกฝ่ายได้ปรับการเขียนแผนงานให้สอดคล้องหรือล้อกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาล กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และจังหวัดของตนเองด้วย ซึ่งก็จะสามารถใช้งบประมาณได้อย่างคล่องตัวต่อไป

“หนึ่งในการปรับแผนให้ใช้งบประมาณได้คล่องตัวคือ การพยายามเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงช่วยสนับสนุนการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ และแนวคิดในการพัฒนานั้น ผมขอให้พิจารณาลดพื้นที่การปลูกพืชผลต่าง ๆ เพราะมีมากราคาก็จะตกต่ำ แต่เราจะหันมาเพิ่มมูลค่าแทน จากนั้นจะหันมาพัฒนาระบบน้ำ เพราะแม้ว่าเชียงรายจะอุดมสมบูรณ์มีฝนตกจนน้ำท่วม แต่ในฤดูแล้งกลับขาดแคลนน้ำ ซึ่งเกิดจากการขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าว

ด้านนางปราณปริยา พลเยี่ยม ผู้อำนวยการ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ที่ผ่านมากลุ่มจังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงรายในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้ประชาชนได้บริหารจัดการ มีทักษะและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตซึ่งเป็นต้นทุนเดิมของตนเองเอาไว้อย่างยั่งยืน และยังนำมาสร้างรายได้เข้าชุมชนได้โดยตรง ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมเครือข่ายหมู่บ้านโฮมสเตย์ เช่น บ้านร่องปลายนา อ.แม่ลาว บ้านท่าขันทอง อ.เชียงแสน บ้านป่าห้า อ.แม่สาย บ้านสันทางหลวง อ.แม่จัน ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสปอร์ตทัวริสซึ่มที่ได้รับความสนใจมากจากการจัดมหกรรมวิ่งมาราธอนและเพื่อสุขภาพบริเวณชายแดนในรูปแบบข้ามพรมแดนไปและกลับ มีคนไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมจำนวนมาก

“การจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมให้เกิดเงินสะพัดในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะเข้าถึงพื้นที่โดยตรง และยังเห็นด้วยอย่างยิ่งในการใช้งบประมาณไปกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดการเดินทางสัญจรไปมาระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น เป็นการเอื้อให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น” นางปราณปริยากล่าว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดตัวร่างแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร ปี 2560 – 2564 ชู 3 แนวทาง เพื่อยกระดับการบริหารจัดการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุน สู่การขับเคลื่อนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตรในระยะ 5 ปี

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตร เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2560 ซึ่งมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และ สศก. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการฯ โดย สศก. ในฐานะหน่วยงานหลักของการจัดทำร่างแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ.2560 – 2564 ได้จัดทำแผนแม่บทฯ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ และคำนึงถึงมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 5 ปี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี 2560 – 2564) รวมทั้ง (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังดำเนินการ

สาระสำคัญร่างแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ.2560 – 2564 ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มมูลค่าในห่วงโซอุปทาน และพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์การเกษตร โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่

1) ยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุน โลจิสติกส์การเกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ด้วยการเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงส่งมอบผู้บริโภค การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ (Agro Logistics) โดยให้สำคัญกับการพัฒนาสถาบันเกษตรกรเป็นกลไกหลักในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการผลิต การตลาดและการบริการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งการพัฒนาโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร

2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์การเกษตรให้มีประสิทธิภาพ โดยสร้าง พัฒนาและปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ ให้มีความเชื่อมโยงกันอย่างครบวงจร และพัฒนาด่านสินค้าเกษตรและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ Nation Single Window รวมทั้งพัฒนาระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ (E- Logistics)

3) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ภาคการเกษตร ด้วยการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน โลจิสติกส์การเกษตร และการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อเอื้อต่อการบริหารจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าว คณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งในหน่วยงานภายในและภายนอก กษ. รวมทั้งเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ปี 2560-2564 เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาต่อไป

“กลุ่มอุดรเจริญศรี” ขยับลงทุน เร่งยกเครื่อง “ตลาดอุดรเมืองทอง” เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าการเกษตรภาคอีสาน-ประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งสู่ตลาดเกษตรอินทรีย์ พร้อมพัฒนาพื้นที่ด้านหน้าเป็นศูนย์ประชุม-บูติคโฮเต็ล

นายโกมินทร์ ทีฆธนานนท์ ผู้บริหารตลาดอุดรเมืองทองเจริญศรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ยกระดับตลาดอุดรเมืองทองของกลุ่มอุดรเจริญศรีขึ้นเป็นตลาดแม็กเนต

โดยเป็นการต่อยอดไปสู่ตลาดแห่งอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ รวมทั้งกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมคุณภาพสินค้าและเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าการเกษตรจากจังหวัดอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งที่ผ่านมาตลาดอุดรเมืองทองเป็นตลาดที่รองรับผลผลิตทางการเกษตรหรือผลไม้ที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่างประเทศอยู่แล้ว อีกทั้งยังมุ่งเน้นการพัฒนาชื่อเสียงของสินค้าเกษตรกรรมของไทย เช่น ตลาดนัดผลไม้ หรือตลาดซีฟู้ด เพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาสู่การเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่อไป

ปัจจุบันตลาดอุดรเมืองทอง เป็นตลาดผักผลไม้ บนพื้นที่ 97 ไร่ อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท อุดรเมืองทอง (2005) จำกัด และได้รับการส่งเสริมจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ มีมูลค่าการซื้อขายหมุนเวียนวันละประมาณ 109 ล้านบาท มีผู้ค้าในตลาดจำนวน 625 ร้าน/แผง ห้องเย็น 10 หลัง โดยมีการซื้อขายมากในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน และมีการซื้อขายน้อยในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน สำหรับในช่วงฤดูหนาวจะเป็นผักบ้านในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เช่น บ้านนาดี บ้านขาม บ้านตาด บ้านหนองไฮ บ้านกุดลิงง้อ บ้านดงมะกรูด ส่วนต่างจังหวัดมาจากหนองคาย เลย เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่

ทั้งนี้ มีจำนวนผู้ที่มาใช้บริการวันละประมาณ 300 คน หรือรถยนต์ประมาณวันละ 1,000 คัน หรือปริมาณการซื้อขายวันละ 1,000 ตัน หรือ 360,000 ตัน/ปี แบ่งเป็นผักวันละ 300 ตัน ผลไม้วันละ 200-250 ตัน และพืชไร่ประมาณ 100 ตัน/วัน โดยนำเข้าจากเพชรบูรณ์

นายโกมินทร์กล่าวต่อว่า ได้เริ่มปรับปรุงตลาดอุดรเมืองทอง โดยถมสระน้ำ 2 ไร่ ที่อยู่บริเวณด้านหลังตลาด และย้ายตลาดผักผลไม้ไปรวมกันด้านหลัง พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ คาดว่าจะใช้งบฯในการปรับปรุงประมาณ 100 ล้านบาท

ส่วนพื้นที่ด้านหน้าที่เหลือประมาณ 40 ไร่ จะพัฒนาเป็นโรงแรมบูติคโฮเต็ล 120 ห้อง ศูนย์ประชุมรองรับการจัดแสดงสินค้าและจัดกิจกรรมต่าง ๆ และตลาดค้าส่ง เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เพื่อรองรับการค้าในอนาคตและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ในส่วนของโชว์รูมรถยนต์มาสด้า อุดรเจริญศรี ซึ่งอยู่บนถนนเส้นเดียวกันมีอายุกว่า 50 ปีแล้ว จะปรับปรุงเป็นโชว์รูมติดแอร์บนพื้นที่ 2 ไร่ สามารถโชว์รถได้ 20 คัน รวมช่องซ่อมอีก 24 ช่อง คาดว่าจะใช้งบฯปรับปรุง 20 ล้านบาท ส่วนด้านหลังเดิมเคยเป็นอู่สีและช่องซ่อมพื้นที่ 5 ไร่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน จะพัฒนาเป็นพื้นที่เช่าลักษณะเปิดท้าย โดยจะเพิ่มมินิบิ๊กซีเข้าไปด้วย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยวงเงินงบประมาณแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ปี 2561 รวม 9,456 ล้านบาท พร้อมแจงวงเงินทั้ง 3 เป้าหมาย เตรียมเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร พัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรให้เติบโตอย่างเต็มประสิทธิภาพ

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2561 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ 29 แผนบรูณาการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยปีงบประมาณ 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และมีหน่วยงานร่วมดำเนินการ 7 กระทรวง 28 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารจัดการสินค้าเกษตร (Product Base) และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (Farmer Center) ซึ่งเน้นใน 3 เป้าหมาย ภายใต้งบประมาณ 9,456.6522 ล้านบาท ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นสินค้า ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย สับปะรด ไม้ผล (ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด) ยางพารา ปศุสัตว์ (โคนม โคเนื้อ) ประมง (กุ้ง ปลานิล) วงเงิน 4,826.3962 ล้านบาท ประกอบด้วย

1) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด (ต้นทาง) วงเงิน 4,165.7690 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านข้อมูลสารสนเทศและการบริหารจัดการ ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิต ที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

2) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร (กลางทาง) วงเงิน 205.8676 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนากระบวนการและแปรรูปสินค้า พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ

3) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการตลาดสินค้าเกษตร (ปลายทาง) วงเงิน 454.7596 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนาตลาดเกษตรกร ขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร สร้างความสามารถในการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตร

เป้าหมายที่ 2 ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่สู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 3,192.9653 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ อาทิ ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3,980 แปลง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri – Map 418,500 ไร่ ปรับปรุงข้อมูลในแผนที่ Agri – Map โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ ยกระดับเกษตรกรเป็น Smart Farmer 73,715 ราย จัดตั้งสถาบันเกษตรกรในรูปแบบประชารัฐ 100 แห่ง จัดตังและพัฒนาธนาคารสินค้าเกษตร 173 แห่ง

เป้าหมายที่ 3 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน วงเงิน 1,437.2907 ล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ /ยโสธรโมเดล /พื้นที่ทั่วไป 368,503 ไร่ เกษตรทฤษฎีใหม่ 210,000 ไร่ เกษตรผสมผสาน 33,500 ไร่ (4) วนเกษตร 65,000 ไร่

ทั้งนี้ แผนบูรณาการการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร จะช่วยยกระดับการผลิตและการบริหารจัดการสินค้าเกษตร เพิ่มรายได้ทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตร และนำไปสู่การพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน

สศก. แถลง GDP เกษตร ไตรมาส 2 ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 11.5 หลังภัยแล้งคลี่คลาย เผย ทุกสาขาการผลิตขยายตัวหมด โดยเฉพาะสาขาพืช โตถึงร้อยละ 15.5 ทั้งปีส่งสัญญาณดี คาดขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.5 ย้ำในช่วงครึ่งปีหลังยังต้องเกาะติดสถานการณ์ภัยธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2560 (เมษายน – มิถุนายน 2560) ขยายตัวร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ขยายตัวได้ในระดับสูง คือ ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญมีเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา ตลอดจนการดำเนินนโยบายและมาตรการทางด้านการเกษตรต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.8 ถึงแม้ว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้แผ่วลง ติดลบร้อยละ 1.9 แต่ดัชนีรายได้เกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เนื่องจากมูลค่าการผลิตข้าวนาปรัง ยางพารา ทุเรียน มังคุด และเงาะ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรหลักในไตรมาส 2 เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มที่ดี ในส่วนของภาพรวมทั้งปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวดีร้อยละ 2.5 – 3.5 ทั้งนี้ ยังต้องเกาะติดสถานการณ์ทั้งภาวะฝนตกหนักจากอิทธิพลของลมมรสุมและพายุ ความแปรปรวนของอากาศ และโรคระบาด ที่อาจกระทบต่อภาคเกษตรครึ่งปีหลัง หากวิเคราะห์ในแต่ละสาขา พบว่า

สาขาพืช ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งกลุ่มไม้ผล ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ สำหรับ ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญมีมากกว่าปีที่ผ่านมา เพียงพอต่อการปลูกข้าว ทำให้เกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวนาปรังได้ ถึง 10.89 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.0 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูกเพียง 5.14 ล้านไร่ (เนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังก่อนประสบปัญหาภัยแล้ง อยู่ที่ประมาณ 12 – 16 ล้านไร่) ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยางพาราที่ปลูกในปี 2554 แทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นต้นยางเก่า เริ่มให้ผลผลิต ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ในปี 2557 แทนพื้นที่นาข้าว สวนเงาะ สวนลองกอง และพื้นที่ว่างเปล่า เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ประกอบกับปริมาณน้ำฝนในปี 2560 มีเพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์ม

กลุ่มไม้ผล ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2557 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการออกดอกติดผล ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุเรียนที่ปลูกในปี 2555 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับสภาพอากาศเย็นส่งผลดีต่อการออกดอกของทุเรียน และราคาทุเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลรักษาเพิ่มขึ้น มังคุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปีที่ผ่านมาต้นมังคุดติดผลน้อย จึงมีระยะพักต้นเพื่อสะสมอาหารมากขึ้น ประกอบกับมีปริมาณน้ำฝนที่สม่ำเสมอและสภาพอากาศเย็น ทำให้มังคุดติดดอกออกผลเพิ่มมากขึ้น และ เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้ออกดอกและติดผลดี

ด้านราคา พืชที่สำคัญในไตรมาส 2 เช่น ยางพารา ทุเรียน และมังคุด ปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง การส่งออกในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2560 สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวรวม ลำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ เงาะและผลิตภัณฑ์ และมังคุด สินค้าพืชที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันปาล์ม ส่วนสินค้าพืชที่มีปริมาณส่งออกลดลงแต่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา และน้ำตาลและผลิตภัณฑ์

สาขาปศุสัตว์ ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ผลผลิตหลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการดูแลเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดได้ดี ด้านราคา ในช่วงไตรมาส 2 สินค้าปศุสัตว์ที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ ไก่เนื้อ และน้ำนมดิบ ในขณะที่สุกรและไข่ไก่มีราคาเฉลี่ยลดลง

การส่งออก สินค้าปศุสัตว์โดยรวมในช่วงไตรมาส 2 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่ปรุงแต่ง โดยการส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักมีการขยายตัวได้ดี ส่วนการส่งออกไปอาเซียนเพิ่มขึ้นในตลาดสิงคโปร์ และการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ที่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งรวมเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งมีการขยายตัวทั้งในตลาดอาเซียนและฮ่องกง ส่วนการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกัมพูชาเป็นประเทศคู่ค้าหลัก

สาขาประมง ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เป็นผลมาจากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดมากขึ้น เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ใช้พันธุ์กุ้งที่ต้านทานต่อโรค สำหรับปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้มีทิศทางลดลง ส่วนผลผลิตประมงน้ำจืด เช่น ปลานิล และปลาดุก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อ การเลี้ยง ด้านราคา ในช่วงไตรมาส 2 ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม) ปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาส 2 ปลาและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกลดลง แต่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนกุ้งและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ตามความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศ

สาขาบริการทางการเกษตร ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากการจ้างบริการ เตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้บริการรถเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงานมีการขยายตัว จากพื้นที่เก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี จึงส่งผลให้เกษตรกรเร่งเตรียมพื้นที่ปลูกและลงตออ้อยใหม่ทดแทน

สาขาป่าไม้ ไตรมาส 2 ขยายตัวประมาณร้อยละ 2.3 ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส และครั่ง โดยการเพิ่มขึ้นของไม้ยางพารามีปัจจัยหลักมาจากการตัดโค่นสวนยางพาราเก่าเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชอื่น ส่วนไม้ยูคาลิปตัสยังคงเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรมแปรรูป และผลผลิตครั่งเพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยส่งผลให้ครั่งมีการเจริญเติบโตและฟื้นตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 – 3.5 โดยทุกสาขา การผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้อต่อการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ข้าวนาปรัง ผลไม้ต่างๆ และอ้อยโรงงาน เป็นต้น ประกอบกับมีแรงหนุนที่สำคัญจากการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ภาคเกษตรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี 2560

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2/2560 (เม.ย. – มิ.ย. 2560) ซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะมีความเห็นในบางมุมมองว่าการเติบโตดังกล่าวไม่อาจสะท้อนสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เนื่องจากปัจจัยคุกคามปัจจุบันในช่วงครึ่งหลังของปี เช่น (1) ราคาสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าหลักบางชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญมีแนวโน้มลดลง (2) ปัญหาภัยธรรมชาติที่กำลังเผชิญในขณะนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (3) สภาพการใช้จ่ายในครัวเรือนมีภาระหนี้สินสะสมอยู่ (4) ภาวะเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน มีอุปสงค์ชะลอตัว และปรับยุทธศาสตร์การผลิตการเกษตรในประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ในภาวะเศรษฐกิจการเกษตรครี่งหลังของปี สมัครแทงบอลออนไลน์ นโยบายขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นความเป็นอยู่ของเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก จะเพิ่มการบูรณาการและระดมสรรพกำลังแบบประชารัฐ โดยเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรในไตรมาสที่ 4 (ก.ค. – ก.ย.) ของปีงบประมาณ 2560 และ
ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. – ธ.ค.) ของปีงบประมาณ 2561 และเร่งกระจายการผลิตไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งระบายผลผลิตสินค้าเกษตรส่วนเกินในช่วงที่ผลผลิตออกมามากที่สุด ไปยังแหล่งบริโภคภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งพื้นที่การค้าชายแดนด้วย

สำหรับราคาขายปลีกขวดละ 250 บาท ตั้งราคาไม่สูงมาก

เพราะกลุ่มเป้าหมายคนไทย 90% และอีก 10% นักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนมากเป็นยุโรป ปัจจุบันมีรายได้ตกเดือนละ 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท หรือปีละประมาณ 1 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการไปเปิดบูทขายด้วย

“ตลาดของเราส่วนใหญ่ตลาดในประเทศ เน้นขายตามร้านขายของฝาก มีเปิดบูท และขายในเว็บไซต์ ไลน์ แต่เริ่มจะส่งออกเพื่อนบ้าน ล่าสุดได้ไปออกบูทที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ได้ผลตอบรับค่อนข้างดี เรามีจุดเด่น คือ ผลไม้เรารับที่เป็นออร์แกนิกเท่านั้น ถ้าคนในกลุ่มไม่ทำออร์แกนิกเราก็ไม่รับ ขณะเดียวกันถ้าคนไม่อยู่ในกลุ่มทำออร์แกนิกเราก็รับ ตอนนี้มีไวน์หลากหลาย ตั้งแต่ไวน์มังคุด ลูกหม่อน กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ สับปะรด สละ และล่าสุด คือ ลองกอง ตัวนี้ทดลองมานานถึง 3 ปี คิดว่าถ้าปีนี้ทำไม่ได้ก็จะเลิก แต่ปรากฏว่าทำได้”

จุดขายของไวน์กุลเว่ คือ ใช้วัตถุดิบจากสวนหลังบ้าน ดังนั้นจึงมั่นใจในความสดใหม่ รวมทั้งองค์ความรู้เรื่องการทำไวน์ให้โดนใจ ที่สำคัญขายความเป็นออร์แกนิก

อนงค์มองว่า การแปรรูปเป็นทางออกผลไม้ไทย แต่จะทำด้านไหนเท่านั้น เพราะแต่เดิมขายผลไม้สด สมมุติได้ 1 หมื่นบาท แต่เมื่อแปรรูปขายได้ถึง 1 แสนบาท แต่ว่ากลุ่มก็ต้องมีการสร้างแบรนด์ และสร้างความน่าเชื่อถือด้วย

ด้านนภัทร สุขะปิณฑะ ฝ่ายการตลาด วิสาหกิจชุมชนคลองน้ำเค็มทันใจ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี บอกว่า รวมตัวกันตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันมีสมาชิก 15 คน ทำขนมของฝาก ภายใต้แบรนด์คุณยาย วางขายตามร้านของฝากในเขตจังหวัดจันทบุรี เป็นการช่วยชาวบ้านให้มีงานทำ ปัจจุบันขยายผลิตภัณฑ์ประมาณ 10 อย่าง ทำรายได้เดือนละเกือบ 2 ล้านบาท โดยจะทำสินค้าแบบใหม่ เช่น สาหร่าย ทำจากใบขลู่ เพิ่งได้รับรางวัลโอท็อป นอกจากนี้มีแครกเกอร์โรยทุเรียน ชีสไส้มังคุด ถั่วทอง หรือต้มยำโป๊ะแตก ที่ตอนนี้มีวางที่คิง เพาเวอร์ ได้รับความนิยมอย่างมาก

“บางอย่างเรารับซื้อผลสดจากชาวบ้าน แต่บางอย่างก็ไปซื้อที่แปรรูปแล้วจากกลุ่มอื่น ๆ มาต่อยอด เช่น ไปซื้อทุเรียนทอด หรือน้ำผึ้งจากกลุ่มอื่น ๆ ถือเป็นการเกื้อหนุนกันไปในตัว แบบนี้เศรษฐกิจชุมชนก็พอไปได้”

ถือเป็นทางออกของเกษตรกร ที่เริ่มทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ต้องระวังการเข้าสู่วังวนแบบเดิม คือ สินค้าเริ่มฮิตก็ทำตามกันหมดจนเกร่อทั้งเมือง แล้วเข้าสู่ทางตันของสินค้าเหมือนที่เคยเป็นมา

เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย พร้อมชาวบ้านกว่า 100 คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้ยกเลิกมาตรา 34 ใน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ที่ห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้าน และทำประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ยกเว้นได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้านกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากถูกบังคับให้ทำประมงในเขตชายฝั่งเท่านั้น นอกจากนี้กฎหมายในแต่ละพื้นที่กำหนดไม่เท่านั้น บ้างพื้นที่กำหนดให้ห้ามทำการประมงพื้นบ้านออกไปนอก 3 ไมล์ทะเล บางพื้นที่ 1.5 ไมล์ทะเล โดยมีโทษปรับสูง 50,000 – 500,000 บาท หรือ 5 เท่าของสัตว์น้ำที่จับได้ แต่กฎหมายกลับให้สิทธิประมงพาณิชย์ ทำประมงนอกชายฝั่งได้

นายสะมะแอ กล่าวว่า เพื่อความเป็นธรรม จึงขอให้ยกเลิก ให้ประมงพื้นบ้านสามารถเข้าถึงแหล่งจับสัตว์น้ำ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงขอให้ยกเลิกห้ามเรือไร้สัญชาติทำการประมง เนื่องจากประมงพื้นบ้านไม่มีทะเบียน จึงมีความผิดกฎหมาย จึงควรแก้ปัญหาด้วยการกำหนดขนาดเรือตามลักษณะเครื่องยนต์ที่จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นเรือไร้สัญชาติ ขณะเดียวกันก็ขอให้แก้ไขคำสั่ง คสช. เรื่องการบรรเทาความเสียหายประชาชนที่ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำลำน้ำ โดยขอให้รับรองสิทธิ์การอยู่อาศัยชุมชนท้องถิ่น ที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในชายฝั่งและริมน้ำ ชาวบ้านยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐจัดระเบียบชุมชน เพื่อให้สมารถอยู่ร่วมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มประมงพื้นบ้านฯ ยังไม่เดินทางกลับภูมิลำเนา แต่จะรอฟังคำตอบเรื่องดังกล่าวนี้จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 18 กรกฎาคม โดยยืนยันจะไม่ชุมนุมหรือทำผิดกฎหมาย และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยจะอาศัยค้างคืนที่โรงแรมใกล้เคียง นอกจากนี้หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขจะมีการประกาศท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป นอกจากนี้ ได้มีกำลังของตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 1 กองร้อย มาดูแลรักษาความเรียบร้อย พร้อมอำนวยความสะดวกในการรับส่งด้วย

ปีทองผลไม้ภาคตะวันออกสะดุด มังคุดปลายฤดูชนมังคุดใต้ ทำผลผลิตล้นตลาด ฝนตกหนักซ้ำทำผลผลิตเสียหาย ฉุดราคาดิ่งเหวทั้ง 2 ภาค เหลือ กก.ละ 5-10 บาท ซ้ำเติมต่อด้วยปัญหาแรงงานขาด ชะงักทั้งห่วงโซ่

ด้านเกษตรจังหวัดเมืองจันท์เผยผู้ว่าฯเรียกล้งช่วยรับซื้อตรงเกษตรกร คาดปัญหาคลี่คลายเร็วเพราะมังคุดรุ่นท้ายเหลือไม่เกิน 30% เตรียมเสนอผู้ว่าฯวิธีแก้ไข 3 ข้อ ด้านล้งบ่นอุบแรงงานขาด รับซื้อมากไม่ไหว ชี้รัฐต้องวางแผนล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรภาคใต้โอดราคาขายดิ่งสุดรอบ 20 ปี สวนทางต้นทุน ทยอยโค่นทิ้งหันปลูกมะพร้าว ปาล์มแทน

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ราคามังคุดตกต่ำเวลานี้ มีปัญหาสำคัญคือชาวสวนขาดแคลนแรงงานคัดเกรดส่งให้ล้ง ทำให้ต้องขายคละราคาเดียว ขณะที่ล้งส่งตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องคัดเกรด แต่แรงงานไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถรับซื้อเพิ่มขึ้นได้มาก อย่างไรก็ตาม ปัญหามังคุดล้นตลาดน่าจะคลี่คลายภายใน 7-8 วัน เพราะผลผลิตมังคุดเมืองจันท์เหลือไม่เกิน 30% หรือ 35,000 ตัน ดังนั้นภาคเกษตรต้องชะลอการเก็บเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมากระจุกตัวตามล้ง แล้วกลไกราคาจะปรับขึ้นเอง

นายอาชว์ชัยชาญกล่าวอีกว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) โดยนายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ขอให้ผู้ประกอบการ (ล้ง) ใหญ่ 4 แห่ง คือ แผงอรษา คมบาง บริษัท ริชฟิลด์เฟรซฟรุ๊ต จำกัด บริษัท กรีนฟรุตส์ จำกัด และบริษัท เคเอเอฟ อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต จำกัด เปิดจุดรับซื้อเพิ่มขึ้น 4 แห่ง โดยให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มมังคุดเพื่อคัดเกรดขายตรงให้ล้งไม่ผ่านพ่อค้าเร่ พร้อมกำชับให้พาณิชย์หาตลาดปลายทางเพิ่มขึ้นแล้ว

ล่าสุด มติที่ประชุมรอเสนอวิธีแก้ไขปัญหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี คือ 1.จังหวัดจะหาตลาดรับฝากขายมังคุดคละดำกิโลกรัมละ 15 บาท โดยมีจุดรับซื้อ 3 จุด คือ เทศบาลพลับพลานารายณ์ อบต.ตรอกนอง อ.ขลุง และหน้าที่ว่าการอำเภอคิชฌกูฏ 2.เปิดจุดรับซื้อเพิ่มขึ้น 3 สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรขลุง สหกรณ์การเกษตรมะขาม สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ และ 3.บริษัทประชารัฐสามัคคี หอการค้าจังหวัดจันทบุรี จัดคาราวานจำหน่ายปลีกในกรุงเทพฯ และให้เกษตรกรฝากขายชมรมบิสคลับ รับซื้อมังคุดกากในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด

ล้งมึนแรงงานขาด

นายสมศักดิ์ เลิศสำโรง หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ บริษัท เคเอเอฟ อิมพอร์ต แอนด์ เอ็กซ์พอร์ต จำกัด กล่าวว่า ปัญหาราคามังคุดตกต่ำทางแก้ไขควรใช้งบฯภาครัฐซื้อกระจายผลผลิตออกไป ไม่ทุ่มตลาดขายราคาถูก หรือทับซ้อนกับตลาดของล้ง เช่น ตลาดไท ตลาดชายแดน รถพ่อค้าเร่ หรือผู้บริโภคทั่ว ๆ ไป จะทำให้ของล้นเหมือนเดิม ควรหาตลาดใหม่ ๆ เช่น ค่ายทหาร ราชทัณฑ์ โรงเรียน โรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งหน่วยราชการมีงบฯค่าอาหารอยู่แล้ว”หน่วยงานภาครัฐต้องวางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้า ไม่ใช่ล้งแก้ปัญหา เพราะถ้าล้งต้องซื้อมากเกินไป แรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ทำไม่ไหว แม้จะให้เงินเพิ่มวันละ 500-600 บาท บางคนหนีกลับบ้าน ถ้าต้องรับซื้อของใหม่ทุกวัน แต่ของเก่าแพ็กไม่หมดก็ต้องระบายด้วยการตัดขายเป็นตกไซซ์ทำให้ล้งขาดทุน” นายสมศักดิ์กล่าว

ด้านนายมณฑล ปริวัฒน์ ทายาทรุ่นใหม่ “ล้งอรษาคมบาง” จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัญหาตอนนี้คือมังคุดมีปริมาณมาก ทั้งของจันทบุรีและมังคุดใต้ เมื่อส่งไปปลายทางระบายออกไม่หมด ต้องชะลอการซื้อ

หรือลดราคาลงมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และมังคุดเสียหายจากปริมาณฝนมาก ทำให้ปลายทางกดราคา จนเกิดภาพว่าล้งกดราคา หรือไม่รับซื้อเกษตรกร อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขที่จังหวัดจะให้เกษตรกรรวมตัวกันขายผลผลิตให้ล้งนั้น แนะนำว่าต้องวางแผนการบริหารจัดการทั้งเครื่องมือ แรงงาน ตลาดให้ชัดเจน เนื่องจากล้งมีแรงงานไม่เพียงพอ

สหกรณ์ตราดรับซื้อส่งนอก

นายประสิทธิ์ นาคดี พาณิชย์จังหวัดตราด กล่าวว่า มังคุดจังหวัดตราดเก็บผลผลิตไปแล้ว 90% เหลือประมาณ 2,000 ตัน โดยต้นเดือนกรกฎาคมราคาตกต่ำ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะเป็นรุ่นสุดท้ายก่อนแรงงานต่างด้าวจะรีบเดินทางกลับประเทศ จากปัญหากฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ ในส่วนภาครัฐได้ดำเนินการหาตลาดไว้ล่วงหน้า โดยให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ขายให้คัดเกรดและนำไปขายให้จุดรวบรวม 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ อ.บ่อไร่ สหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด และสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรกร จ.ตราด จำกัด อ.เขาสมิง ซึ่งจะเป็นตัวกลางรับซื้อไปจำหน่ายที่พาณิชย์หาตลาดไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้ได้ประสานกับผู้ประกอบการนำเข้าจีนที่ต้องการมังคุดเกรดคุณภาพเพิ่มปริมาณอีกวันละ 60 ตัน

นายธนภัทร จาวินิจ ผู้จัดการสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรกร จ.ตราด จำกัด กล่าวว่า ทั้งชาวสวนและสหกรณ์มีปัญหาเรื่องแรงงานเหมือนกัน สหกรณ์รับซื้อและต้องไปคัดเกรดเอง เพื่อส่งตลาดลองเบียนที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม สิบสองปันนาที่จีน และจังหวัดเชียงราย ด้วยระบบของสหกรณ์ต้องรับซื้อของสมาชิก และได้ขอโควตาจากบริษัทที่ส่งออกเพิ่มอีกวันละ 10 ตัน เพื่อช่วยเกษตรกรที่มีปัญหา ด้วยการซื้อราคานำตลาด 2-3 บาท

ด้านนายธานินทร์ ยิ่งสกุล เกษตรกรบ้านหนองแฟบ อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวว่า ตนเองมีมังคุด 400 ต้น ผลผลิตเริ่มเก็บได้ 2-3 ตัน ในช่วงราคาลงต้นเดือนกรกฎาคม นำขายล้งใกล้บ้านราคาเพียงกิโลกรัมละ 8-10 บาท ซึ่งชาวสวนอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายา และค่าเก็บที่สูงถึง 5-6 บาทต่อกิโลกรัม ต้องการให้หน่วยงานรัฐช่วยหาตลาดระบายผลผลิต หรือมีห้องเย็นให้เก็บชะลอไม่ให้มังคุดล้นตลาดเพื่อจะได้ดึงราคาขึ้น โดยราคาที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 30 บาท

หน้าสวนชุมพรดิ่ง 5 บาท/กก.

นายบรรจบ สงัดศรี อายุ 47 ปี ชาวสวนจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ทำสวนมังคุดมา 20 ปี มี 4 ไร่ ราว 55 ต้น โดย 2 ปีที่แล้วมังคุดราคาขึ้นสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 130 บาท แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยมีอีกเลย โดยเฉพาะในปีนี้ผลผลิตมังคุดเริ่มทยอยออกตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งราคาขายหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 35-40 บาท

แต่หลังจากนั้นราคาก็เริ่มลดลงมาเรื่อย ๆ ล่าสุดราคามังคุดหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 5-7 บาท ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยทำมา ขณะที่ราคามังคุดที่ตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 12-13 บาทเท่านั้น ตอนนี้ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแนะนำหรือให้คำปรึกษาเลยว่าควรจะทำอย่างไร

“มังคุดชุมพรจะเริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี พอถึงเดือนกันยายนก็จะหมดฤดูแล้ว ปีนี้ยอมรับว่าราคาตกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน มีชาวสวนหลายคนเริ่มทยอยโค่นต้นมังคุดทิ้ง แล้วหันไปปลูกมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันแทน เพราะขืนปลูกมังคุดต่อไปก็คงมีแต่ขาดทุน โดยเฉพาะคนที่ต้องจ้างแรงงานเก็บมังคุด ตอนนี้ต้นทุนกับราคาขายสวนทางกันจนไม่สามารถทำสวนมังคุดต่อไปได้ ส่วนผมกำลังปรึกษากับครอบครัวว่าควรจะโค่นทิ้งต้นมังคุดดีหรือไม่” นายบรรจบกล่าว

เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนใต้เจอมรสุมหลายเด้ง เจอราคายางพาราตกต่ำ เรือประมงเหลือรอด 30% หลังเจออุปสรรคเทียร์ 3-ไอยูยู ล่าสุด พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวซ้ำเติมหนักอีก ด้านกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดชายแดนภาคใต้จับมือพลิกฟื้นเศรษฐกิจพื้นที่

นายวรุต ชคทิศ ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Young Executive Network @ Southern Border Provinces Administrative Centre : YES) และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่ม YES ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีสมาชิกทั้งหมด 3 รุ่น จำนวน 90 คน ซึ่งในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ยังเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงมีแนวคิดที่จะรีแบรนด์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) โดยการสร้างระบบธุรกิจใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เช่น จังหวัดปัตตานีพึ่งพาการประมง โดยมีการส่งออกมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ตอนนี้ก็ประสบกับอุปสรรคเทียร์ 3 และไอยูยู ล่าสุดก็มาประสบกับปัญหา พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวอีก จึงได้รับผลกระทบหนักมาก ตอนนี้เรือประมงสามารถออกไปทำการประมงได้เพียง 30% เท่านั้น ส่วนอีก 70% ต้องจอดเรือทิ้งไว้ในส่วนของจังหวัดยะลาและนราธิวาสก็มีรายได้หลักมาจากยางพารา ซึ่งขณะนี้ราคายางก็ผันผวนตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้รัฐต้องดำเนินการใหม่หันมาส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงซ้อน เช่น ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และกล้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น ขณะเดียวกันเรื่องยางพาราต้องตัดวงจรพ่อค้าคนกลางออกไป

“เรื่องแรงงานต่างด้าว รัฐต้องพิจารณาแก้ปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และควรจะมีการพูดคุยกันก่อน โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการที่คนมาอาศัยอยู่ และมาทำงานในพื้นที่ก็มีบุญอยู่แล้ว มีแต่คนอาศัยจะออกไป ซึ่งแรงงานกรีดยางส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา และเข้ามาทำงานในอาชีพที่คนในพื้นที่ไม่ทำ”

นายกฯช่วยด้วย-กลุ่มเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.นครศรีธรรมราช ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำเข้าใกล้ 3 โล 100 โดยเสนอให้กำหนดสเป๊กการสร้างและซ่อมถนนลาดยางทุกเส้นทางให้ผสมยางพาราและให้ทุกหน่วยงานใช้ยางพาราผสมยางมะตอย 5%และให้ทำMOU รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรส่งให้บริษัทผู้ผลิตพาราแอสฟัลต์คอนกรีต
นายวรุตกล่าวอีกว่า ขณะนี้ประชาชนกลุ่มฐานรากไม่มีเงิน ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการก็หนักเช่นกัน เพราะฐานรากไม่มีกำลังซื้อ แต่กลุ่มที่ยังพอมีกำลังซื้ออยู่ในตอนนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้มีเงินเดือนเป็นประจำ

สำหรับกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้รุ่นที่ 3 มีจำนวน 32 คน ประกอบด้วยนักธุรกิจในจังหวัดยะลา 14 คน ปัตตานี 10 คน และนราธิวาส 8 คน ซึ่งอยู่ระหว่างการอบรมศึกษาดูงาน รวมไปถึงการจัดทำ Business Model และจัดทำเมกะโปรเจ็กต์เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายวรุต ชคทิศ กล่าวอีกว่า ผลงานของกลุ่ม YES มีการดำเนินการกิจการตลาดน้ำปัตตานี ถนนคนเดินปัตตานี โดยจำลองภาพงานมาจากจังหวัดเชียงใหม่ และจัดงานสตาร์ตอัพที่จังหวัดปัตตานีและยะลา ซึ่งแต่ละกิจกรรมได้รับการตอบรับที่ดีมาก

ด้านนายอิสระ ละอองสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้ถือเป็นทรัพยากรและเป็นกำลังหลักที่สำคัญของการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงและพลิกฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

“เนคเทค” ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประกาศเป็นนโยบายที่จะมุ่งพัฒนางานวิจัยให้สามารถนำมาใช้ได้จริง ไม่ได้อยู่แต่บนหิ้งอีกต่อไป ล่าสุดเปิดตัว “NECTEC FAARM series : ฟาร์ม เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านการเกษตร” งานวิจัยร้อน ๆ จากนี้พร้อมแล้วให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำหน่ายหรือใช้ในภาคเกษตรกรรมของไทย

“ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร” ผู้อำนวยการเนคเทค เปิดเผยว่า ได้มุ่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ตามแผนปฏิบัติการด้านเกษตรและอาหารระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 -2564) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน ยกระดับมาตรฐานการเกษตรและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร

ล่าสุดจึงได้เปิดตัวงานวิจัยพร้อมใช้อย่าง “NECTEC FAARM series” ที่จะช่วยตรวจวัดและควบคุมตัวแปรสำคัญในการทำการเกษตร ส่งผ่านข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงแบบเรียลไทม์ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ โดยในเฟสแรกจะใช้ชุดเทคโนโลยีอย่าง สถานีวัดอากาศ, อุปกรณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ระบบควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, Smart Aqua Application, กล่องควบคุมวาล์วให้น้ำ (Irrigation Valve Control Box) และโซลาร์ปั๊มอินเวอร์เตอร์ (SUN FLOW) นำมาประกอบกันเป็นนวัตกรรมพร้อมใช้ให้เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร อาทิ”WATER FiT” ระบบให้น้ำสำหรับการเพาะปลูก โดยออกแบบการให้น้ำที่ควบคุมผ่านการสื่อสารไร้สายและแยกอิสระกับอุปกรณ์ควบคุมวาล์วและอุปกรณ์ควบคุมปั๊ม ทำให้การออกแบบรูปแบบการให้น้ำแก่พืชทำได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นสูง อาทิ การให้น้ำตามอัตราการคายระเหย ณ แต่ละช่วงเวลา ใช้งานได้ทั้งในแปลงเกษตรขนาดเล็กจนถึงแปลงเกษตรขนาดใหญ่

ทั้งมีการบันทึกข้อมูลการให้น้ำและตรวจวัดทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนช่วยให้ผู้ใช้งานวิเคราะห์และปรับปรุงการให้น้ำในรอบถัดไปตามสภาพแวดล้อมได้ทันท่วงที อาทิ ดินเปียกก็สั่งให้รดน้ำน้อยหรืองดการให้น้ำได้ ทั้งยังตั้งช่วงเวลาการให้น้ำได้มากกว่า 100 ช่วงเวลา

“BUBBLE FiT” คือ ระบบควบคุมการและเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้เครื่องมือ ระบบ “Oxy” ควบคุมเครื่องเติมอากาศสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนละลาย 24 ชั่วโมงพร้อมเปิด-ปิดเครื่องเติมอากาศให้มีระดับออกซิเจนที่เหมาะสม ป้องกันความเสี่ยงจากออกซิเจนต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และมีการส่งค่าทำงานเข้าสู่อินเทอร์เน็ตรวมถึงแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุผิดปกติ ที่สำคัญมีระบบเปิดเครื่องตีน้ำทดแทนเมื่อมีเครื่องตีน้ำหยุดการทำงานจากเหตุฉุกเฉิน เช่น กระแสไฟเกิน

“AMBIENT SENSE” คือ ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมสำหรับการปลูกเลี้ยง ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มของแสง ฯลฯ ทั้งการเพาะปลูก “Greenhouse” และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ “AquaLife” โดยมีเซ็นเซอร์วัดสภาพแวดล้อมเพื่อควบคุมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ หากอุณหภูมิร้อนเกินไป สามารถลดอุณหภูมิหรือปรับความชื้น ด้วยการพ่นหมอก ปรับตาข่ายพรางแสง

“เกษตรกรค่อนข้างพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ เดี๋ยวนี้มีสมาร์ทโฟนใช้แล้ว ตัวนี้จะทำให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ สัญญาณมือถือก็ค่อนข้างครอบคลุม และมีลูกหลานคอยเข้ามาช่วย ดังนั้น นวัตกรรมที่เนคเทคทำจะพยายามทำให้ถูกที่สุด เช่น ใช้บลูทูท เชื่อมต่อ ไม่กี่พันบาท วัดความชื้นดินและสภาพอากาศ อาจมีอุปกรณ์ใหญ่ เช่นที่ใช้กับบ่อเลี้ยงกุ้ง คิดแล้วไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนบ่อ แต่ผลประโยชน์คุ้มกว่า ช่วยควบคุมออกซิเจนให้เหมาะสมและแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ลดความสูญเสียได้มาก เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเมือง ปัญหาไฟตกไฟกระชากที่อาจทำให้ระบบล่มเป็นสิ่งที่เลี่ยงยาก”

และได้เชิญชวนเอกชนซึ่งเข้าถึงตัวผู้ใช้ได้เร็วกว่า ให้นำเทคโนโลยีไปขยายต่อให้เกษตรกร ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการนำนวัตกรรมไปใช้ได้จริงอย่างรวดเร็ว โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับเนคเทค-สวทช. ในโครงการ “บัวหลวงให้น้ำเพื่อการเกษตร” ใช้กล่องควบคุมวาล์วให้น้ำ (Irrigation Valve Control Box) ที่กำหนดเวลาการให้น้ำและมีเซ็นเซอร์วัดค่าความชื้นดิน-ปริมาณน้ำฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเพาะปลูก นำร่องในพื้นที่การเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเพาะเห็ด หมู่บ้านซับสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่ม Young Smart Farmer เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

“เรายังพัฒนาต่อเนื่องไปสู่ IoT โดยมุ่งหวังให้มีการนำข้อมูลการเกษตรไปใช้วิเคราะห์และประมวล (FAAR AlicE : Analytics Engines) เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาพื้นที่ในการปลูกพืช อาทิ ทำนายฝนล่วงหน้า คำนวณปริมาณน้ำและสารอาหารที่เหมาะสม ปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์ ข้อมูลสภาพอากาศและภูมิประเทศดึงจากดาวเทียมได้ แต่ยังขาดข้อมูลที่ต้องอาศัยผลงานวิจัยที่เกษตรกรได้นำไปใช้ เช่น ค่าความชื้นหรืออุณหภูมิ และข้อมูลบันทึกกิจกรรมของเกษตรกร”

ลำไยเชียงใหม่-ลำพูนทะลัก 2.6 แสนตันเดือน ส.ค.นี้ ชี้แนวโน้มราคาร่วง “เชียงใหม่” เน้นแปรรูปกว่า 8 หมื่นตัน-บริโภคสดทั้งตลาดในประเทศและส่งออกกว่า 5 หมื่นตัน ด้าน “ลำพูน” เอ็มโอยูกับเอกชนผลิตน้ำลำไยเข้มข้น รับซื้อผลผลิต 120 ตัน/วัน พร้อมป้อนลำไยสดไปจีน อินโดนีเซีย ด้านบิ๊กส่งออก “อาร์.เค.ฟู้ด” เดินเครื่องผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือก 56 ล้านกิโลกรัม ส่งออกไปจีนมูลค่า 3 พันล้านบาท

ผลผลิตลำไยในฤดูปี 2560 ของภาคเหนือจะออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม และจะออกมากที่สุดพร้อม ๆ กันช่วงเดือนสิงหาคม โดยพื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่คือ เชียงใหม่และลำพูน สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะมีผลผลิต 134,106 ตัน และลำพูนกว่า 120,000 ตัน

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ภาครัฐและเอกชนของจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันวางแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยผลผลิตลำไยในฤดูทั้งหมด 134,106 ตัน จะใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายปกติ อาทิ การแปรรูปลำไยที่มีความต้องการประมาณ 80,463 ตัน แบ่งเป็นโรงงานแปรรูปกระป๋อง 12,070 ตัน แปรรูปอบแห้ง 68,394 ตัน แบ่งเป็นอบแห้งเนื้อสีทอง 8,046 ตัน และอบแห้งทั้งเปลือก 60,348 ตัน

ขณะที่ความต้องการบริโภคสด มีปริมาณ 53,643 ตัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 16,092 ตัน และส่งออก 37,550 ตัน โดยตลาดบริโภคสดในประเทศ มีหน่วยงานที่จะเป็นกลไกหลักในการกระจายผลผลิตคือ บริษัทประชารัฐ รักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด 1,000 ตัน หอการค้า 500 ตัน สภาอุตสาหกรรม 500 ตัน วิสาหกิจชุมชน 3,590 ตัน องค์การตลาด 1,000 ตัน สหกรณ์การเกษตร 814 ตัน เป็นต้น

ด้านนางจำเนียร แสนราชา เกษตรจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิตปี 2560 ของจังหวัดลำพูน คาดว่าจะมีปริมาณราว 127,934 ตัน หากคิดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10 บาท จะมีมูลค่าทั้งหมดกว่า 1,270 ล้านบาท ซึ่งผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีปริมาณผลผลิตราว 80,000 ตัน แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากในปีนี้ แต่ก็พบว่าคุณภาพไม่ดีนัก ลูกค่อนข้างเล็ก ซึ่งคุณภาพของลำไยจะส่งผลต่อราคาขาย ประกอบกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากพร้อม ๆ กันของหลายพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถขายราคาที่สูงได้

สำหรับราคาช่วงระยะตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 2560 ราคาลำไยช่อสด เกรด AA กิโลกรัมละ 29 บาท เกรด A 24 บาท/กก. เกรด B 19 บาท/กก. และเกรด C 10 บาท/กก. ส่วนลำไยรูดร่วง เกรด AA กิโลกรัมละ 17 บาท เกรด A 12 บาท/กก. เกรด B 7 บาท/กก. และเกรด C 2 บาท/กก. ซึ่งขณะนี้ผลผลิตเพิ่งทยอยเก็บได้ 10% ของผลผลิตทั้งหมด

ทั้งนี้จังหวัดลำพูนได้วางแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย 127,934 ตัน โดยมุ่งส่งออกและแปรรูป 60% ซึ่งได้ทำเอ็มโอยูกับเอกชนไทยที่ผลิตน้ำลำไยเข้มข้นในอำเภอป่าซาง โดยจะรับซื้อลำไยจากเกษตรกร 120 ตัน/วันตลอดฤดูกาลนี้ นอกจากนั้นผู้ประกอบการลำไยอบแห้งในจังหวัดลำพูนจะรับซื้อลำไยเข้าสู่กระบวนการอบแห้งทั้งเปลือก และอบแห้งเนื้อสีทอง เพื่อส่งออกไปต่างประเทศด้วย ส่วนตลาดการบริโภคลำไยสดอีก 40% จะส่งออกไปตลาดจีนและอินโดนีเซีย 30-35% ส่วนที่เหลือจะเปิดตลาดโรดโชว์กระจายผลผลิตไปยังจังหวัดที่ไม่มีลำไย

นางกาญจนา พงศ์พฤกษทล รองประธานกรรมการ บริษัท อาร์.เค.ฟู้ด จำกัด ผู้ส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกรายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า ผลผลิตลำไยปี 2560 ของภาคเหนือ มีปริมาณค่อนข้างมาก คาดว่าในช่วงที่มีผลผลิตออกมากเดือน ก.ค.-ส.ค. 60 โรงงานในเครือทั้ง 4 แห่งจะมีกำลังการผลิตลำไยสดรวม 56 ล้านกิโลกรัม (แปรรูปเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือกได้กว่า 56,000 ตัน)

“ผลผลิตที่ออกมาก จะส่งผลดีต่อการส่งออก สมัครพนันออนไลน์ เนื่องจากตลาดจีนยังคงมีความต้องการลำไยอบแห้งทั้งเปลือกแบบไม่จำกัด ปัจจุบันโรงงานอาร์.เค.ฟู้ด ที่อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นฐานการผลิตใหญ่ที่สุด มีเตาอบลำไยมากกว่า 60 ตู้ ส่วนโรงงานที่ อ.พาน อ.เทิง และ อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นการร่วมทุนกับกลุ่มทุนจีนส่งไปขายในตลาดจีน”