Smile Farm Royal เกษตรกรรม Agriculture การเพาะปลูกพืช

Smile Farm Royal เกษตรกรรม (อังกฤษ: Agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า

เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆ เพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ

แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์

จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน’พืชเงินสด’เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ และการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ ‘ฮาเบอร์-Bosch’ สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน และมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง

เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ย และการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง และผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์ และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ

แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์ และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตร และการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts

การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่

สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่ (เมล็ด) ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอก และพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา

ประเภทของเกษตรกรรม
เกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำไร่ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นต้น
2. ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น การทำฟาร์มปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม การทำฟาร์มหมู การทำฟาร์มสัตว์ปีก การทำฟาร์มแกะ เป็นต้น
3. การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์หรือพืชน้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น
4. การป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนมีหลายรูป แบบ แตกต่างไปตามพื้นฐานความเชื่อความเป็นมา และความเหมาะสมกับแต่ละภูมินิเวศ และวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่/ชุมชน และมีการให้ชื่อและความหมายที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะวางอยู่บนหลักการของการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับระบบนิเวศวิทยา สามารถดำเนินต่อไปไดอย่างยั่งยืน โดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค ตัวอย่างรูปแบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่สำคัญ อาทิ

เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming) หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและ/หรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้โดยอาจจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในไร่นา เช่น ดิน นํ้า แสงแดดอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด มีการหมุนเวียนแร่ธาตุในไร่นา นั่นคือเป็นการใช้สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ ของทัรพยากรธรรมชาตินั่นนเอง ซึ่งการทำเกษตรผสมผสานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

การปลูกพืชแบบผสมผสาน สมัครเว็บแทงบอล พิจารณาขนาดต้นพืช ระยะการเจริญเติบโต สัมพันธ์กับความชื้นอากาศในแต่ละช่วงฤดูกาล ตัวอย่างการปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างพืชกับพืช เช่น พืชตระกูลถั่วตรึงไนโตรเจนให้กับพืชชนิดอื่น พืชยืนต้นให้ร่มเงากับพืชที่ต้องการแสงน้อยพืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้เกิดกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่นการปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพด จะช่วยทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยอยู่ในถั่วลิสงมากและช่วยกำจัดแมลงศัตรูของข้าวโพด ฯลฯ

การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน สัตว์หลายชนิดพันธุ์จะต้องเกื้อกูลกันได้เอง เช่น เลี้ยงหมูกับเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงเป็ดหรือไก่กับเลี้ยงปลาในสระ
การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะถ่ายเทพลังงานอาหารให้กันได้ ตัวอย่างการปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างพืชกับสัตว์ เช่น เศษเหลือของพืชใช้เป็นอาหารของสัตว์ ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืชที่ปลูกในสภาพนํ้าท่วมขัง เช่น ข้าว ปลาให้อินทรียวัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลาซึ่งสามารถจะลอกขึ้นมาเป็นปุ๋ยกับพืช และการเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็ด ห่านแพะ วัว ควาย ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนผลไม้ และแปลงปลูกหม่อน มูลสัตว์ทุกชนิดสามารถใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยกับต้นพืช ฯลฯ

เกษตรกรรมแบบยั่งยืน กับ “ความสุขแบบชาวบ้าน” กษตรแบบผสมผสาน จะแตกต่างจาก ไร่นาสวนผสม (Mixed farming) คือเกษตรแบบผสมผสานจะเน้นการเกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมในไร่นา มากกว่าเน้นการปลูกเพื่อการขาย และแตกต่างจาก เกษตรกรรมแบบดั้งเดิม (Traditional AgricultureSystem)

วนเกษตร (Agro forestry) คือ การเกษตรที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลัก ร่วมกับพืชกสิกรรม(พืชล้มลุก เช่น ผัก พืชไร่ ฯลฯ) สลับกันหรือปลูกในเวลาเดียวกันและอาจเลี้ยงสัตว์หรือไม่ก็ได้ ส่วนการปลูก อาจปลูกเป็นแถบ(Zone)เป็นแนว(strips) อาจปลูกเป็นแนวขั้นบันไดเพื่อป้องกันดินพัง(allycropping) ซึ่งการทำวนเกษตรแบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ
ระบบป่าไม้-กสิกรรม
ระบบป่าไม้/ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์-ปศุสัตว์
ระบบป่าไม้/ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์-ปศุสัตว์-กสิกรรม
ลักษณะเด่นของวนเกษตรคือ เป็นระบบการปลูกพืชที่มีความต่างระดับของเรือนยอดต้นไม้และระบบราก มีองค์ประกอบที่หลากหลายทางพันธุกรรมและชีวภาพของพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(จุลินทรีย์) เน้นการอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศที่มีความสมดุลทางธรรมชาติ มีการหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติ (อันเป็นผลมาจากความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์)

เกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming) เป็นเกษตรกรรมที่คำนึงถึงระบบนิเวศ (Ecologically Sound Agriculture) โดยพยายามลดการแทรกแซงของมนุษย์ กระทำเพียงสิ่งที่จำเป็นต่อการเกษตรกรรม ปรับรูปแบบการเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศและธรรมชาติ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกการทำเกษตรกรรมรูปแบบนี้ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ โดย นายมาซาโนบุ ฟุกุโอกะ นักเกษตรกรรมธรรมชาติชาวญี่ปุ่น ผู้เขียน การปฏิวัติยุคสมัย ด้วยฟางเส้นเดียว หรือ The One Straw Revolution(2518) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาได้นำเสนอมรรควิธีแห่งการดำเนินชีวิตและมรรควิธีแห่งเกษตรกรรมเอาไว้ โดยเกษตรกรรมธรรมชาติมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการคือ

ไม่ไถพรวนดิน
ไม่ใส่ปุ๋ยบางชนิด
ไม่กำจัดวัชพืช
ไม่จำกัดโรคและแมลงศัตรูพืช

ฟูกูโอกะอธิบายว่า “ชาวนาเชื่อกันว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ใช้ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งพรวนมากเท่าไรมันก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากเท่านั้น นั่นเป็นการทำให้โมเลกุลของมันแตกกระจายออกจากกัน ซึ่งจะยิ่งทำให้ดินแข็งขึ้น ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำงานนี้แทน รากของมันจะชอนลงไปลึกถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและนํ้าซอกซอนเข้าไปในเนื้อดินได้ จุลินทรีย์จะแพร่ขยายตัว เมื่อรากเหล่านี้เหี่ยวและเมื่อมันแก่ ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งที่ไหนมีไส้เดือนก็จะขุดดินให้เอง ดินจะอ่อนนุ่ม และสมบูรณ์ขึ้นด้วยตัวของมันเอง มันพรวนตัวเอง โดยไม่ต้องให้มนุษย์มาช่วย เพียงแต่เราปล่อยให้มันทำ”ในแนวคิดของฟูกูโอกะ จะมุ่งเน้นในด้านของการใช้ฟางคลุมดินแทนการทำปุ๋ยหมัก เพราะการใช้ฟางคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และจะเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้สมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งซึ่งแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติของฟูกูโอกะนี้มาจากฐานความคิดที่เชื่อว่า เกษตรกรรมธรรมชาติสืบสายมาจากสภาวะแห่งความไพบูรณ์ทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล เขาเชื่อว่าการบำ รุงรักษาผืนแผ่นดิน และการชำระจิตใจของมนุษย์ให้บริสุทธิ์เป็นกระบวนการเดียวกัน ดังที่เขากล่าวว่า “เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์”

เกษตรอินทรีย์ (Organic Agricuture) เป็นระบบการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แต่อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสดเศษซากพืชเหลือทิ้งต่าง ๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพังของหนิ แร่รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลักสำคัญ เนื่องจากดินเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินและยังเป็นแหล่งอาหารของพืช ช่วยควบคุมศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น แมลง และวัชพืช หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์คือ

การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่ในฟาร์ม ทั้งสัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน ในกลไกธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทสำ คัญในการสร้างสมดุลของนเิ วศการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการช่วยในการควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร การช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชที่เพาะปลูกแต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นมีผลทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่โรคและแมลงศัตรูพืชมักจะมีความสามารถพิเศษในการพัฒนาภูมิต้านทานต่อสารเคมี แม้แต่ปุ๋ยเคมีเองก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย

การฟื้นฟูนิเวศการเกษตร นอกเหนือจากการอนุรักษ์แล้ว หลักการของเกษตรอินทรีย์ยังเน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศด้วย ซึ่งแนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศการเกษตรก็คือ การปรับปรุงบำ รุงดินอินทรียวัตถุและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตรอินทรีย์ ดินถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ เพราะการปรับปรุงบำรุงดินทำให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล

ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ยังมีรสชาติที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืนกว่าการเพาะปลูกด้วยระบบเกษตรเคมีอีกด้วย นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินแล้ว การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาก็เป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกุญแจสำคัญของความยั่งยืนของระบบนิเวศการเกษตร

ทั้งนี้ก็เพราะว่าการมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกือ้ กลู และสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตรทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำเกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง วิธีการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพอาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่นการปลูกพืชร่วม พืชแซม พืชหมุนเวียน ไม้ยืนต้น หรือการฟื้นฟูแหล่งนิเวศธรรมชาติในไร่นาหรือบริเวณใกล้เคียง

• การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร หลักการเกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่า การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรที่ฝืนวิถีธรรมชาติ ดังนั้นการทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติหรือดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติ และปรับระบบการทำเกษตรให้สอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ

กลไกในธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน) วงจรการหมุนเวียนของนํ้าพลวัตรของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ(ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และห่วงโซ่อาหาร) ซึ่งในพื้นที่ต่าง ๆย่อมมีระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป

การทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่การหมั่นสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าในระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์จะได้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่
การควบคุมและป้องกันมลพิษ แม้ว่าเกษตรอินทรีย์จะปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในฟาร์ม

แต่สภาพแวดล้อมที่ฟาร์มกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่มีมลพิษต่าง ๆ อยู่ไปทั่วที่อาจมีผลกระทบต่อการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ว่าจะมลพิษทางนํ้า อากาศหรือแม้แต่ในดินเอง ดังนั้น การทำเกษตรอินทรีย์จึงต้องพยายามอย่างเต็มที่ ในการป้องกัน มลพิษต่าง ๆ ภายนอกมิให้ปนเปื้อนกับผลผลิต การป้องกันนี้อาจทำได้โดยการจัดทำแนวกันชนและแนวป้องกันบริเวณริมฟาร์มแต่อย่างไรก็ตามการป้องกันมลพิษดังกล่าว

แม้ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากมลพิษได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากสารเคมีมีปะปนทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้อง ใช้แหล่งนํ้าร่วมกับเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีอยู่ ซึ่งทำให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์อาจปนเปื้อนสารเคมีได้เช่นกัน ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นความพยายามของเกษตรกรในการป้องกันมลพิษ

โดยไม่กล่าวอ้างว่าผลผลิตไม่มีสารเคมีปนเปื้อน นอกจากมลพิษจากภายนอกฟาร์มแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังกำหนดให้เกษตรกรต้องลดหรือป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของฟาร์มเองด้วย เช่น ให้มีการจัดการขยะ และนํ้าเสียก่อนที่จะปล่อยออกนอกฟาร์มหรือการไม่ใช้วัสดุบรรจุผลผลิตที่อาจมีสารปนเปื้อนได้

การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต ในการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ จำเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯเกษตรอินทรีย์มีหลักการที่มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด

แต่ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง(เช่น มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสำหรับการผลิตปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องใช้)เกษตรกรก็สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ปัจจัยการผลิตนั้นควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนการตรวจสอบยืนยันว่า ผลผลิตที่ได้รับการรับรองนั้น

ได้ผลิตขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง การรับรองมาตรฐานนี้โดยทั่วไปจะมีรากฐานมาจากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements)

สำหรับในประเทศไทยเอง ได้ริเริ่มการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์โดยหน่วยงานเอกชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ภายใต้ชื่อ “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า มกท. ในปัจจุบัน มกท. ได้ให้บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการปลูกพืช ผลผลิตจากธรรมชาติ และการแปรรูป-การจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ต่างๆ

หลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์นั้นแตกต่างจาก เกษตรปลอดสารเคมี ตรงที่เกษตรอินทรีย์เน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการทำการผลิต (รวมถึงไม่ใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์) การปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในขณะที่เกษตรปลอดสารเคมีจะสนใจแต่การควบคุมปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์ยังมีการกำหนดมาตรฐานกระบวนการผลิตที่ชัดเจนมีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน จนถึงขั้นกำหนดเป็นระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการผลิตและการติดฉลากโฆษณาผลิตภัณฑ์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ความสุข ความพอเพียงผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่เกษตรกรหันมาทำ เกษตรกรรมแบบยั่งยืนก็คือ แม้จะไม่รํ่ารวยเงินทอง

แต่ก็รํ่ารวยความสุขตัวอย่างบทเรียนจากพื้นที่รูปธรรมในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของชุมชนแม่ทา ตำบลแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การทำ เกษตรกรรมยั่งยืนทำ ให้เกิดการเรียนรู้และเกิดความรู้ และการเรียนรู้/ความรู้นี้เองที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน คือทำ ให้เกิด “ความสุข” ซึ่งความสุขในที่นี้ก็คือการได้ทำอะไรโดยอิสระ ได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันมีความอบอุ่นเข้าใจกันในครอบครัว มีเวลาพักผ่อนอย่างพอเพียง มีเวลาให้กับชุมชนและสังคม และที่สำคัญคือมี “ความเป็นไท”

เป็นเจ้าเป็นนายตนเอง อีกทั้งมี “ปัญญา” ที่จะเป็นภูมิคุ้มกันต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบตนเอง โดยเฉพาะปัญหาจากภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนความสุขในระดับชุมชนก็คือ การมีความสงบสุขของชุมชน มีความสามัคคี มีความปลอดภัย มีความสามารถในการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของชุมชน

นอกจากนี้ ในด้านสิ่งแวดล้อม ดิน นํ้า ป่า ก็ดีขึ้น ไม่มีสารพิษในสิ่งแวดล้อมและผลผลิต มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และสามารถจัดการให้สืบทอดได้อย่างยั่งยืนด้วยวิถีการจัดการของชุมชนเองหรือตัวอย่างบทเรียนจากพื้นที่รูปธรรมของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ บ้านพิงพวย-นารัง 127 ครอบครัว (2 หมู่บ้าน) จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ในด้านครอบครัว

เครือญาติภายหลังจากที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งคนเฒ่า คนแก่ เด็ก เยาวชน ผู้นำ สมาชิกคนอื่น ๆ การได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ทำให้ครอบครัว เครือญาติมีเวลาปรึกษาหารือกัน มีเวลาพูดคุยกันและมีความเข้าใจกันมากขึ้น และเกิดความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนที่มีรากฐานจากทุนเดิมอยู่แล้วคือ เครือญาติ ฉะนั้นไม่ว่าจะปลูกอะไรเมื่อให้ผลผลิตแล้ว

จะเก็บไว้ให้สมาชิกในครอบครัวและแบ่งปันให้ญาติพี่น้องก่อน ที่เหลือจึงค่อยขายให้คนอื่น และในด้านสุขภาพ ตัวเกษตรกร ครอบครัวและเครือญาติ ก็มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีจิตใจร่าเริงแจ่มใสดี ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ทุกครอบครัวสามารถลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรได้ โดยมีการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ มีการหาวัสดุทดแทนที่มีในท้องถิ่น ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน ใช่การทำปุ๋ยหมัก โดยการใช้ปุ๋ยคอก แกลบ รำ นํ้าหมัก กากนํ้าตาล ทำปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี

มีการทำสารสกัดกำจัดศัตรูพืชจากการหมักสารสะเดาและนํ้าส้มควันไม้ แทนการใช้ยาปราบศัตรูพืช ช่วยให้ลดต้นทุนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรลดลงได้จริงในระดับครอบครัว ส่วนในด้านหนี้สิน เกษตรกร(สมาชิกชมรมฯ) ส่วนใหญ่ เปนหนี้สินที่เกิดจากภาคการเกษตร คือการกู้เงิน ธกส. มาลงทุนทำนาในแต่ละปี หลังจากหันมาทำเกษตรปลอดสารพิษแล้วจึงได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับหนี้สินทมี่ อี ยู่โดยจะไม่พยายามสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้

ในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการทำเกษตรปลอดสารเคมีลดปริมาณสารเคมีตกค้างในดินช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารมากขึ้น โดยสังเกตจากหน้าดินที่ร่วนซุย มีสัตว์เล็กสัตว์น้อยอาศัยอยู่ เช่น ไส้เดือน แมลง ส่วนแหล่งนํ้าก็สะอาดมากขึ้น สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ มีคำพูดของชาวบ้านที่สะท้อนความหมายของการมีความสุขของบุคคล ครอบครัวชุมชน

และสภาพแวดล้อมโดยรวมได้เป็นอย่างดีก็คือ “อยู่ดี กินแซบนอนแจบฝันดี หมดหนี้มีเงินใช้ ให้อภัยเข้าใจกัน” มาถึงตอนนี้ เมื่อเกษตรกรมี “ความสุขแบบชาวบ้าน” จากการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนแล้ว เรื่องคงยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะสิ่งที่น่าสนใจต่อไปก็คือ กระบวนการจัดการของเกษตรกร หรือชุมชนเพื่อดำรงความยั่งยืนต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไรติดตามตอนต่อไปครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน ทั้งในเวลาทำงานและในเวลาว่าง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือหรือเล่นเกม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มักทำให้เราต้องอยู่ในอิริยาบทหรืออยู่ท่าเดิมนาน ๆ และพฤติกรรมเหล่านี้เอง จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า

โรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งมักจะแสดงอาการ เช่น ปวดบ่าและต้นคอร้าวขึ้นศีรษะและกระบอกตา ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ชาปลายมือปลายเท้า ปวดตึงบริเวณหัวไหล่ หรือแม้กระทั่งหายใจไม่อิ่มหรือรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มปอด ทำให้มีอาการอ่อนเพลียและเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย อาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการหดตัวหรือแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ อันเนื่องมาจากมีการสะสมหรือคั่งค้างของกรดแลคติกภายในมัดกล้ามเนื้อนั่นเอง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอแนะนำประชาชนที่กำลังประสบกับโรคออฟฟิศซินโดรม ให้ใช้ศาสตร์การนวดไทยในการรักษา ในทางการแพทย์แผนไทยจะเรียกกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหรือโรคออฟฟิศซินโดรมนี้ว่า โรคลมปลายปัตฆาต ซึ่งเป็นโรคลมชนิดหนึ่งที่ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เลือดคั่งและแข็งตัวบริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และริมหัวต่อกระดูก

ทำให้เกิดอาการปวดตึง แข็งเป็นก้อนเป็นลำตามแนวมัดกล้ามเนื้อ ซึ่งการนวดไทยสามารถใช้รักษาหรือบรรเทาอาการดังกล่าวนี้ได้ โดยการนวดจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก ช่วยขจัดของเสียที่คั่งค้างอยู่ตามกล้ามเนื้อ ซึ่งจะสามารถบรรเทาอาการปวดตึงตามกล้ามเนื้อ เกิดความรู้สึกที่ผ่อนคลาย และหลังจากนวดเสร็จก็จะประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร

ซึ่งเป็นการเสริมประสิทธิภาพของการนวด ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ลดอาการระบมและการเกิดจ้ำเลือดหลังจากการนวด สำหรับข้อห้ามในการนวด ได้แก่ 1.ห้ามนวดในผู้ที่มีไข้เกิน 38.5 องศาเซลเซียส
2.ผู้ที่เป็นไข้พิษ ไข้กาฬ เช่น อุสุกอีใส งูสวัด
3.โรคผิวหนังที่มีการติดต่อ
4.โรคติดต่อ เช่น วัณโรค
5.ไส้ติ่งอักเสบ
6.กระดูกแตกหัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดสนิท
7.มีภาวะผิดปกติของเลือด เช่น เลือดไม่แข็งตัว
8.มีภาวะอักเสบ ติดเชื้อ บวม แดง ร้อน
9.ผู้ที่รับประทานอาหารอิ่ม ใหม่ ๆ
10.หลังได้รับอุบัติเหตุใหม่ ๆ และข้อควรระวังในการนวด ได้แก่

1.สตรีมีครรภ์
2.ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
4.มีภาวะข้อต่อหลวม กระดูกพรุน

จากการศึกษาวิจัยผลของการนวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับการใช้ยา ต่อความปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของศรีวรรณ สวยงาม ในกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 75 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มที่รับประทานยาแก้ปวดผสมยาคลายกล้ามเนื้อ
2.กลุ่มที่รับประทานยาร่วมกับการนวด และ3.กลุ่มที่ได้รับการนวดอย่างเดียว ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับการรักษา เป็นเวลา 30 นาที วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน โดยประเมินระดับความเจ็บปวดด้วย Visual Analogue Scale (VAS) และประเมินความตึงตัวของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องวัดปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ผลการทดลอง พบว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีระดับอาการปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนวดไทย สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและสามารถคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อได้ จึงเป็นทางเลือกในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม สำหรับที่ผู้กำลังประสบกับปัญหาปวดกล้ามเนื้อที่ไม่อยากรับประทานยาแก้ปวดหรือไม่ต้องการให้มีสารเคมีเข้ามาออกฤทธิ์หรือเข้ามาทำปฏิกิริยาภายในร่างกาย ซึ่งประชาชนทุกท่านสามารถติดต่อขอรับบริการนวดไทยได้ที่คลินิกการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ

อ้างอิง

ศรินรัตน์โคตะพันธ์, ศุภมาศ จารุจรณ. (2014). โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย.Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology), 12(2), 135-142.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2015). ตำราการแพทย์แผนไทยสำหรับแพทย์. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 207-213.
ศรีวรรณ สวยงาม. (2017). ผลของการนวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับการใช้ยา ต่อความปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 42-54.

อัญชัน เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่แทบจะไม่มีใคร ที่ไม่รู้จัก สมัคร SaGame เกือบทุกบ้านจะมีดอกอัญชันปลูกติดไว้ ไม่ว่าจะดอกสีม่วง สีขาว ประสบการณ์หมอพื้นบ้านจะใช้ อัญชันดอกสีขาวเอาไว้แก้พิษ ทั้งพิษงู พิษหมาบ้า ถึงขนาดมีความเชื่อว่า เอารากผูกแขนไว้กันงูเวลาเข้าป่า และใช้รากฝนกินแก้พิษต่างๆ ส่วนอัญชันดอกสีม่วง(หมอยาบางท่านเรียกอัญชันดอกเขียว) เอาไว้เขียนคิ้วกับขยี้ทาหัวให้หลานที่เกิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นประเพณีของคนไทยทุกภาคทั้งเหนือ กลาง อีสาน ใต้ ตะวันออก ตะวันตก อัญชันดอกม่วงยังเด่นในด้านการแก้ฟกช้ำ ใบของอัญชันทั้งสองชนิดเป็นยาเย็น ใช้เป็นส่วนประกอบของยาเขียว

ส่วนใหญ่ จะนิยมใช้อัญชันดอกสีม่วงมากว่าดอกสีขาว ตั้งแต่การใช้ทำยา เครื่องสำอาง คั้นหมักผม ผสมอาหาร ขนม ดอก ยอดอ่อน ฝักอ่อน ของทั้งสองชนิด นิยมเอามากินเป็นผัก ได้ทั้งสดหรือลวก ป้าบุญทัน โสมศรีแก้ว เล่าว่า สมัยก่อนในครัวของตระกูลท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะนำดอกอัญชันมาทำอาหารหวานคาวหลายอย่าง ตั้งแต่กินเป็นผักสด ผักลวก ผักชุบแป้งทอด ทำขนมชั้น และแต่งสีในขนมต่างๆ คล้ายกับทางภาคใต้

มีการศึกษาวิจัยประโยชน์ของอัญชันต่อการงอกของเส้นผมพบว่า สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้ง5-อัลฟา-รีดักเทส(5-alpha-reductase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยับยั้งการเจริญของเส้นขน และมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนของหนู แม้จะยังไม่มีการวิจัยอื่นๆ มากนัก แต่เท่านี้ก็พอจะยืนยันได้ว่าการใช้ตามภูมิปัญญานี้มีเหตุผลสนับสนุนในทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้สารแอนโธไซยานิน(anthocyanins) ที่มีในดอกอัญชัน ยังช่วยให้หลอดเลือดเล็กๆ แข็งแรงและไหลเวียนได้ดีขึ้น อันเป็นการช่วยให้คิ้วและผมงอกได้เร็วอีกทางหนึ่ง อัญชันจึงเป็นสมุนไพรที่ควรค่าแก่การนำมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสำหรับผมและคิ้ว

นอกจากประโยชน์ในการดูแลเส้นผมแล้ว อัญชัน ยังโดดเด่นนการบำรุงสายตา มีการศึกษาสมัยใหม่ที่พบว่า ในพืชหลายชนิดรวมทั้งอัญชันดอกม่วงมีสารแอนโธไซยานิน(anthocyanins) ที่จัดอยู่ในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ เป็นสารให้สีตามธรรมชาติที่ละลายน้ำได้ และเปลี่ยนสีไปตามสภาวะความเป็นกรด-ด่าง ตั้งแต่น้ำเงิน ม่วง แดง ไปจนถึงส้ม ชนิดที่พบในกลีบดอกอัญชันสีม่วงมีชื่อว่า เทอร์นาทิน (ternatins)

ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงิน ตรงกับรากศัพท์เดิมของ แอนโธไซยานิน ซึ่งหมายถึง ดอกไม้สีน้ำเงิน นั่นเอง สารแอนโธไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวีและทำให้หมดฤทธิ์ และมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เช่น ป้องกันตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก

แอนโธไซยานินยังมีฤทธิ์กระตุ้นกลไกอื่นๆ ที่ส่งผลดีต่อดวงตาคือ ยับยั้งการลดจำนวนของสารสีม่วงที่มีชื่อว่า โรดอปซิน(rhodopsin) ในเซลล์รูปแท่งที่จอประสาทตา ซึ่งมีความไวต่อแสงและช่วยการมองเห็นในที่มืดยับยั้งการหลั่งสารอินเตอร์ลูคิน-6(interleukin-6; IL-6) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ เพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงจอตาในผู้ป่วยโรคต้อหิน ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดเล็กๆ คลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเซลล์ตาดีขึ้น จึงเพิ่มความสามารถในการมองเห็นและชะลอความเสื่อมของดวงตาได้

ตัวอย่างตำรับยาตำรับชะลอผมหงอก: เอาเปลือกมะกรูด 50 ลูก ดอกอัญชัน 100 ดอก หรือมากกว่านั้น แยกกันแช่ในเหล้าขาว 28 ดีกรี ให้ท่วม หมักไว้ 1 เดือน ครบกำหนด นำน้ำหมักทั้งสองชนิดเทใส่ในโถปั่นใส่ว่านหาง 1 กาบ (เอาแต่วุ้น) ปั่นรวมกัน กรองกากเก็บไว้ในตู้เย็น เวลาใช้นำมาหมักผมก่อนสระ หมักนานแค่ไหนก็ได้ หมักทุกวันยิ่งดี ทำให้ ผมดกดำ ไม่ร่วง ไม่คัน

บำรุงสายตา/เบาหวานขึ้นตา: ดอกอัญชัน 2-3 ดอก ต้มน้ำดื่ม วันละ 1-2 แก้ว เป็นประจำทุกวัน ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือชุมชนเข้มแข็งและประชาสังคม มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นพ.พลเดช ปิ่นประทีป