สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

สหรัฐอเมริกา นางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว กงสุล (ฝ่ายการเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน นางสาวอาทินันท์ อินทรพิมพ์ ที่ปรึกษา (ฝ่ายการเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป การบรรยายพิเศษเรื่อง “เกษตรไทยอยู่อย่างไรให้รอดในยุค Disruptive Technology” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเสวนาเรื่อง “ทิศทางงานวิจัย

และนวัตกรรมภาคการเกษตรภายใต้การบริหารงานยุคใหม่” โดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการภารกิจ

การกำกับเเละติดตามการใช้งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ดำเนินการเสวนาโดย พ.ท.หญิง ชลรัศมี งาทวีสุข

ขณะเดียวกันยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจาณาให้นำเสนอในภาคโปสเตอร์ (Poster Session) จำนวน 35 ผลงาน แบ่งเป็น 7 คลัสเตอร์ ได้แก่ ข้าว/ สมุนไพรไทย อาหารเสริม และสปา/ ปาล์มน้ำมัน/พืชสวน พืชไร่ /สัตว์เศรษฐกิจ/ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ/ อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัย

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วย 3 โซนหลัก ดังนี้

โซนที่ 1 นิทรรศการ 16 ปีกับการดำเนินงาน สวก. โดยมีการนำเสนอผลงานการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานองค์การมหาชนที่มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงเกษตรกรรมไทย

โซนที่ 2 นิทรรศการ “Beyond Disruptive Technology “จัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเกษตร ของ สวก. ที่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีผลต่อการภาคการเกษตรใน 9 หัวข้อ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนของ Input Process และ Output อาทิ โครงการการพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการจัดทำแผนที่ใต้ดินสำหรับการเกษตร และโครงการเครื่องวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันในทะลายปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว เพื่อการซื้อขายในเชิงพาณิชย์ด้วยเทคนิค Near Infrared (NIR) เป็นต้น และ

โซนที่ 3. Wings by ARDA งานบริการต่างๆ ของ สวก. เพื่อนักวิจัย อาทิ ให้คำแนะนำในการขอรับทุนวิจัยจาก สวก. ให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา, ให้คำแนะนำในการรับทุนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย และให้คำแนะนำในการใช้บริการฐานข้อมูลด้านการวิจัยการเกษตร

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการ สวก. กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้นับเป็นการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สวก. ในด้านการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยการเกษตร ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตร รวมทั้งจัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตร ตลอดจนร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่นของรัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนางานวิจัย และนักวิจัยการเกษตรทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศด้านการเกษตร และส่งเสริมให้เกิดกิจการทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรในรูปแบบต่างๆ

อนึ่ง งาน “ประชุมวิชาการ สวก. 2562” ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 8-9 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยกิจกรรมในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562

มีตลอดจนการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (Oral Presentation) จำนวน 24 ผลงาน ใน 3 หัวข้อหลัก คือ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนงานวิจัยจากฐานราก และเศรษฐกิจภาคการเกษตรเข้มแข็ง รวมทั้งการเสวนาและการบรรยาย เรื่อง การพัฒนาบุคลากรวิจัย และ ระบบศูนย์กลางข้อมูลงานวิจัยการเกษตรของประเทศ THILAND AGRICULTURAL RESEARCH REPOSITORY (TARR) ปิดท้ายด้วยพิธีมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น โดยประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอผลงานวิจัย.

วันนี้ (15 ตุลาคม 2562) นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง อ. มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น การจัดงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ รวมไปถึง สมาคมโรงแป้งมันสำปะหลังไทย และสมาคมผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคเหนือ รวมไปถึงกรมวิชาการเกษตร โดยภายในงานให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังร่วมกันกำจัดต้นอย่างถูกวิธี รวมถึงการปล่อยโดรนฉีดพ่นกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ และปล่อยแมลงช้างปีกใส ศัตรูธรรมชาติ เพื่อป้องกันแมลงหวี่ขาวยาสูบกลับมาทำลายซ้ำ รวมถึงการให้เกษตรกรในพื้นที่ตระหนักถึงมหันตภัยร้ายแรงของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นายเข้มแข็ง เปิดเผยภายหลังการเปิดงานฯ ว่า ปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และมี มติ ครม. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 เห็นชอบให้แก้ปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลัง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตคุณภาพได้ โดยชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบ ไร่ละไม่เกิน 3,000 บาท โดยเกษตรกรจะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำลายด้วย โดยดำเนินการทำลายไร่มันสำปะหลังที่ติดโรค ทั้งการขุด ถอน และฝังดิน ทั้งนี้เกษตรกรจะมีต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง

สำหรับการรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้เกษตรกรถึงการป้องกันและกำจัดอย่างถูกวิธี รวมถึงการจัดงานรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง พร้อมแนะ 3 วิธีปฏิบัติกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปฏิบัติที่ 1 หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ ปฏิบัติที่ 2 กำจัดต้นที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบ พาหะนำโรค และ ปฏิบัติที่ 3 คัดเลือกท่อนพันธุ์สะอาด

อนึ่ง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 52,210 ไร่ ปัจจุบัน พบการระบาดและยืนยันการพบเชื้อไวรัสโรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น จำนวน 7 ไร่ จึงได้จัดงานรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ จุดพบการระบาด ในครั้งนี้ เพื่อกำจัดและป้องกัน รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ของ อ.มัญจาคีรี ทั้งหมด

รัฐมนตรีเกษตรฯ ร่วมแสดงความยินดี กรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 52 ปี “เกษตรกรเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน” ประกาศนโยบายขับเคลื่อนงาน 6 ด้าน มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยสร้างรายได้

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 52 ปี ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นกรมที่ใกล้ชิดพี่น้องเกษตรกรและประชาชนอย่างมาก ในปัจจุบันกรมฯ ต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อเชื่อมโยงกัน รวมถึงนโยบายการตลาดนำการเกษตรและงานวิจัยต่างๆ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง การที่ประเทศจะพัฒนาได้ก็ต้องให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา เนื่องจากเทคโนโลยี และนวัตกรรม จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น young smart farmer จะเป็นจุดเปลี่ยนเกษตรกรรมแบบเดิมได้ รวมทั้งการรวมกลุ่มบริหารจัดการเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมกล่าวย้ำถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมถึงเกษตรกรผู้ผลิตคือหัวใจสำคัญ จึงหวังให้ทุกคนทำงานเดินไปด้วยกัน “เกษตรกรเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน” ตนมาทำงานตรงนี้เพื่อต้องการสร้างผลงาน

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2563 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการช่วยเหลือดูแล และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะนโยบาย “การตลาดนำการเกษตร” ซึ่งต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรในระดับฐานราก ด้วยการส่งเสริมการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร มุ่งเน้นขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ประเด็น คือ 1. ขยายผลโครงการพระราชดำริให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสืบสานศาสตร์พระราชา โดยการส่งเสริมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการหลวง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและสืบสานศาสตร์พระราชา ยึดแนวทางสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี มีภูมิคุ้มกัน และมีความมั่นคงในอาชีพ

รวมทั้งการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลของระบบการผลิตทางการเกษตร ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.บริหารจัดการสินค้าเกษตรโดยยึดหลักการตลาดนำการเกษตรและสร้างรายได้แก่เกษตรกร เน้นพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อเข้าสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและการบริหารจัดการสินค้าเกษตร การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการผลิตสินค้าเกษตรที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจ ใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี

การสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และการส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดเกษตรกร ขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งการตลาดออนไลน์ และการพัฒนาโลจิสติกส์สินค้าเกษตร 3. พัฒนาองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และงานเคหกิจเกษตร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครัวเรือนให้ดีขึ้น

การพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการ สร้าง Young Smart Farmer ให้มีบทบาทสำคัญและเป็นผู้นำพัฒนาการเกษตรของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรรวมทั้งสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนเกษตรและชุมชน 4. สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วน โดยสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการทำงาน พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย ให้มีความเข้มแข็งทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

เป็นศูนย์กลางด้านการเกษตรของชุมชนและเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ชุมชน และบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่โดยพัฒนาต่อยอดจากฐานการพัฒนาที่มีอยู่แล้วและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา 5. ช่วยเหลือดูแลและให้บริการแก่เกษตรกร ที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยธรรมชาติ ศัตรูพืชและโรคพืช) และ 6. พัฒนาองค์กร ระบบการทำงาน และบุคลากรกรมส่งเสริมการเกษตร โดยพัฒนาระบบข้อมูล Big Data ระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารต่าง ๆ

ที่ทันสมัยเพื่อให้บริการเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยึดหลักการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทำงานตามหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2563 ดังกล่าว จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรมีทิศทางที่ชัดเจน ส่งผลให้เกษตรกรได้รับการดูแลช่วยเหลือในการประกอบอาชีพการเกษตร และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อนึ่ง กรมส่งเสริมการเกษตรได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2510 และได้ปฏิบัติงานอยู่เคียงคู่กับพี่น้องเกษตรกรมาด้วยความมุ่งมั่น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 52 ปี จึงได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ณ บริเวณอาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับกิจกรรมภายในงานได้มีการจัดพิธีสงฆ์ พิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์พิเศษ ทำนอง สิงคาลวณิช ผู้ก่อตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมแสดงความยินดีและมอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์แก่มูลนิธิธรรมรักษ์ (วัดพระบาทน้ำพุ)

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร นำเสนอผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการให้บริการเกษตรกร นิทรรศการกลไกขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และตัวอย่างผลสำเร็จของงานส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่มะม่วงโชคอนันต์ ต.น้ำชุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย การคัดเลือกบุคคลและหน่วยงานดีเด่นประจำปี 2562 ประกอบด้วย

เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ นักส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัด ดีเด่น จำนวน 24 รางวัล รวมทั้งเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น จำนวน 57 รางวัล เพื่อสนับสนุนให้บุคคลและหน่วยงานสามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานให้บุคคลและหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นได้รับการยกย่อง เผยแพร่เกียรติคุณ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรด้วย

กระทรวงเกษตรฯ บูรณาการหน่วยงานเร่งปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 เสนอ 5 โครงการเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่พื้นที่ได้รับผลกระทบและเสียหายสิ้นเชิง หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มรับสมัครตั้งแต่ 25 ต.ค. – 10 พ.ย. 2562 นี้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งและอุทกภัยของพายุโพดุลและคาจิกิที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายและเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา

เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 จำนวน 5 โครงการ ภายในกรอบวงเงินกว่า 3,120 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ถั่วเขียว) 2. โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64 3. โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง : การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน 4. โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน และ 5. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย โดยเริ่มเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2562 ระยะเวลาดำเนินโครงการตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563

หลักการให้ความช่วยเหลือ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้ง หรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงและได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการการทำงานของ 4 หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกัน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง และกรมปศุสัตว์

ในแต่ละโครงการจะมีเจ้าภาพรับผิดชอบหลัก โดยเกษตรกรที่สนใจสามารถเลือกและสมัครเข้าร่วมโครงการได้เพียง 1 โครงการ จากทั้งหมด 5 โครงการ ข้อกำหนดเบื้องต้น คือ พื้นที่ต้องมีเอกสารสิทธิ์ สำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกพืชใช้น้ำน้อยพื้นที่ต้องมีความเหมาะสม มีแหล่งน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก หากสนใจเลี้ยงปลาควรจะมีบ่อดิน หรือเลี้ยงสัตว์ปีกอาจจะต้องมีโรงเรือนสำหรับสัตว์ปีกด้วย โดยแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายและหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ถั่วเขียว) หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบภัยให้สามารถกลับมาเพาะปลูกพืชสร้างรายได้ในฤดูแล้ง โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของเกษตรกรเพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ รายละไม่เกิน 20 ไร่ เป้าหมายเกษตรกร 150,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1.4 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 100,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 245 บาท ถั่วเขียว 50,000 ครัวเรือน พื้นที่ 0.4 ล้านไร่ อัตราไร่ละ 200 บาท เกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามความสมัครใจ 1 ครัวเรือน ต่อ 1 สิทธิ์ และเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร

2. โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64 หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมการข้าว เป้าหมายเกษตรกร จำนวน 827,000 ครัวเรือน เมล็ดพันธุ์ข้าว 63,200 ดัน พื้นที่ 6.32 ล้านไร่ โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรไร่ละ 10 กิโลกรัม ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ ชนิดพันธุ์ข้าว 5 ชนิด ประกอบด้วย 1. ข้าวหอมมะลิ (พันธุ์ กข15, ขาวดอกมะลิ 105) 2. ข้าวหอมปทุม (พันธุ์ปทุมธานี1) 3. ข้าวเจ้าไม่ไวแสง (พันธุ์ กข29, กข31, กข41, กข49, กข57, ชัยนาท 1, พิษณุโลก 2) 4. ข้าวเหนียวไม่ไวแสง (พันธุ์สันป่าตอง 1) 5. ข้าวเหนียวไวแสง (พันธุ์ กข6) ทั้งนี้ จะจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวกลุ่มไม่ไวแสงช่วงเดือนกลางเดือน พ.ย.-กลางเดือน ธ.ค.2562 สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มข้าวไวแสงจะจัดส่งช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย.2563

3. โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง : การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมประมง เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 50,000 ราย โดยสนับสนุนพันธุ์ปลาและอาหารสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร (ได้รับพันธุ์ปลานิลแปลงเพศ จำนวน 800 ตัว/ราย พร้อมอาหารสัตว์น้ำนำร่องจำนวน 120 กิโลกรัม/ราย ซึ่งการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น หรือลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยพันธุ์ปลานิลแปลงเพศที่สนับสนุนจะมีขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้น

4. โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมประมง มีเป้าหมายแหล่งน้ำในชุมชนจำนวน 1,436 แห่ง โดยปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (กุ้งก้ามกราม) ในแหล่งน้ำชุมชนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำแบบปิดโดยสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามขนาดตั้งแต่ 5-7 เซนติเมตรขึ้นไป จำนวน 200,000 ตัวต่อแหล่งน้ำ ทั้งนี้ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่รวดเร็วและเป็นอาชีพเสริมที่ให้ผลตอบแทนสูง

5. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย หน่วยงานรับผิดชอบ คือกรมปศุสัตว์ เป้าหมายเกษตรกร 48,000 ครัวเรือน ในพื้นที่ 17 จังหวัด โดยสนับสนุนเป็นเงินโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของเกษตรกรเพื่อซื้อพันธุ์ไก่ไข่ เป็ดไข่ ครัวเรือนละ 10 ตัว ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุ 1 เดือนครัวเรือนละ 30 ตัว พร้อมค่าอาหารและค่าวัสดุในการเลี้ยง

สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบและเสียหายสิ้นเชิงจากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่

กรมวิชาการเกษตร ล็อคมะพร้าวนำเข้าเมืองอิเหนากว่า 80 ตัน ชี้ผิดเงื่อนไขนำเข้าพบส่วนงอกยอดอ่อนติดมากับผลผลิต จี้ผู้ประกอบการเร่งเคลียร์สินค้าส่งกลับต้นทาง เผยปีนี้ตรวจพบมะพร้าวนำเข้าจากเพื่อนบ้านผิดกฎถูกส่งกลับและทำลายแล้วกว่า 3 พันตัน มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ด่านตรวจพืชท่าเรือ กรมวิชาการเกษตร ได้สุ่มตรวจและยึดผลมะพร้าวนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซียจำนวน 3 ตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณ 81 ตัน เนื่องจากตรวจพบมีส่วนงอกของยอดอ่อนติดมากับผลผลิต ซึ่งผิดเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องเงื่อนไขการนำเข้ามะพร้าวจากอินโดนีเซีย พ.ศ. 2554 ที่ต้องไม่ปรากฏส่วนของก้าน ใบ หน่อ หรือยอดอ่อน ซึ่งด่านตรวจพืชท่าเรือได้แจ้งให้ผู้นำเข้าดำเนินการจัดการกับสินค้าดังกล่าว โดยผู้นำเข้าเลือกวิธีที่จะส่งสินค้ากลับที่ประเทศต้นทาง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการส่งกลับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตั้งแต่เดือนมกราคม-วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ประเทศไทยนำเข้ามะพร้าวรวมจำนวน 1,056 ชิปเม้นท์ ปริมาณ 104,652 ตัน รวมมูลค่ากว่า 750 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ตรวจพบการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขประกาศกรมวิชาการเกษตรจำนวน 57 ชิปเม้นท์ ปริมาณ 3,116 ตัน มูลค่ากว่า 21 ล้านบาท โดยสาเหตุที่ตรวจพบผิดเงื่อนไขมากที่สุดถึง 93 เปอร์เซ็นต์ คือ พบการงอกของหน่อหรือยอดอ่อนมะพร้าว ซึ่งตามประกาศกรมวิชาการเกษตรหากตรวจพบต้องส่งกลับ หรือทำลาย โดยผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งหากผู้นำเข้าเลือกที่จะส่งสินค้ากลับประเทศต้นทางด่านตรวจพืชจะออกหนังสือแจ้งด่านศุลกากรในพื้นที่เพื่อให้ผู้นำเข้านำไปประกอบพิธีการทางศุลกากรเพื่อให้ด่านศุลกากรตรวจปล่อยสินค้าตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมายต่อไป แต่ถ้าผู้นำเข้าเลือกวิธีที่จะทำลายต้องไปหาแหล่งทำลายซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ชอบด้วยกฎหมายในการรับทำลายสินค้า มีมาตรฐาน ISO ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และทำลายถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อมิให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชภายในประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชไปควบคุมการทำลายด้วยทุกครั้ง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มะพร้าวเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งการที่จะอนุญาตให้นำเข้าได้ต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านโรคพืชและแมลงศัตรูพืชเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตนำเข้าตามมาตรการสุขอนามัยพืช โดยกรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและกำกับดูแลเรื่องศัตรูพืชที่อาจจะติดมากับสินค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอนุญาตให้มีการนำเข้ามะพร้าวแก่ปอกเปลือกจาก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมาร์ เนื่องจากผลผลิตมะพร้าวแก่ปอกเปลือกเพื่อใช้ในประเทศยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในประเทศปี 2562 ว่า มีปริมาณ 874,000 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศมีความต้องการใช้มะพร้าวผลแก่ถึง 1.04 ล้านตัน รวมทั้งการอนุญาตให้นำเข้ามะพร้าวจากประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นเกิดจากการร้องขอให้มีการอนุญาตนำเข้าจากผู้ประกอบการด้วย

“ประเภทของมะพร้าวที่ไทยอนุญาตให้นำเข้าคือ ผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก เนื้อมะพร้าวสด เนื้อมะพร้าวแห้ง กะลามะพร้าว เส้นใยมะพร้าว และกาบมะพร้าว โดยผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงงานแปรรูปมะพร้าว ซึ่งการออกใบอนุญาตนำเข้ามะพร้าวเข้ามาในไทยจะอนุญาตเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวเท่านั้น และการนำเข้าจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชกำกับมาพร้อมกับสินค้าทุกครั้ง โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชตรวจสินค้าที่นำเข้ามาอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชติดเข้ามาในประเทศ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

สืบเนื่องจากข่าว (กรมส่งเสริมการเกษตร ชู “อะโวคาโด” เป็นพืชเศรษฐกิจ เผย 7 สายพันธุ์แนะนำให้ปลูก https://bit.ly/2kB5hCz) และในข่าวนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานส่งเสริมเกษตรกร และเป้าหมายการสร้างจังหวัดตาก เป็น “City of Avocado” และมีการจัดตั้งทีมบูรณาการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจรขึ้น และการขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI โดยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก…จากข่าวนี้ทำให้ “เกษตรก้าวไกล” ตัดสินใจที่จะลงพื้นที่จังหวัดตากทันที เพราะจากการจับกระแสพบว่า เกษตรกรมีความสนใจในไม้ผลชนิดนี้ และไม่เพียงเท่านี้เราได้โทร.ไปปรึกษาปรมาจารย์นักบุกเบิกปรับปรุงสายพันธุ์อะโวคาโด “ปากช่อง 2 8″ (มาจากแถวที่ 2 ต้นที่ 8) นั่นคือ “อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ” ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปัจจุบันท่านเกษียณอายุราชการมาหลายปีแล้ว แต่ยังคงมุ่งมั่นกับอะโวคาโดไม่เสื่อมคลาย) ท่านบอกว่า “ผมมั่นใจมานานแล้วว่าอะโวคาโดจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ มั่นใจมาตลอดครับ” เพียงแค่นี้ก็ทำให้เราอบอุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง และก่อนหน้านั้นได้พบกับ คุณสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในวันสุดท้ายของการดำรงตำแหน่งนี้ (30 ก.ย.62) ท่านบอกว่ากรมส่งเสริมการเกษตรยืนยันมั่นใจต่อไม้ผลชนิดนี้ เพราะได้ทำการศึกษามาอย่างดีแล้ว

การเสวนาเคลื่อนที่เร็วจึงเกิดขึ้นในบัดดล…ทีมงานของเราจัดเก็บข้อมูล-จัดทำประเด็นอย่างทันท่วงทีและส่งไปให้ปลายทางคือ คุณธนากร โปทิกำชัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) และ คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดตาก ทั้งสองท่านตอบกลับอย่างรวดเร็วและบอกว่ายินดีมาก

สรุปว่า จะจัดเสวนาในรูปแบบเคลื่อนที่เร็ว Talk of the Farm (เป็นรูปแบบรายการที่จะจัดให้มีขึ้นบ่อยครั้งในปี 2020 หากครั้งนี้ไปได้ดี) คือจัดพูดคุยกันในสวนแบบสบายๆ หัวข้อว่า “ตามหาอะโวคาโด เกษตรที่สูง จ.ตาก” (Talk of the Farm “City of Avocado”) ประเด็นที่จะพูดคุยและวิทยากร ประกอบด้วย

ประเด็นที่จะเสวนา
วิเคราะห์โอกาสและความเป็นไปได้ของอะโวคาโดต่อการเป็นพืชเศรษฐกิจ (ทั้งในแง่การผลิต การตลาด การแปรรูป และอื่นๆ)
นโยบายและความมั่นใจของจังหวัดตากต่อการประกาศเป็น “City of Avocado” ศูนย์กลางการผลิตอาโวคาโดคุณภาพ
ภารกิจของเกษตรที่สูงจังหวัดตาก และเกษตรจังหวัดตาก เพื่อส่งเสริมอะโวคาโดเป็นพืชเศรษฐกิจ (เช่น การปลูกให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานและที่ตลาดต้องการ)
ความตื่นตัวของเกษตรกรในพื้นที่ (จะมีตัวแทนของเกษตรกรมาพูดด้วย)
โอกาสและการเข้าถึงองค์ความรู้ของเกษตรกรไทย

ประเด็นที่จะสาธิต (ดูตามความเหมาะสม)
การขยายพันธุ์อะโวคาโดรูปแบบต่างๆ (สาธิตตัวอย่างวิธีนิยม)
การปลูกและการดูแลจัดการต่างๆ (เดินชมสวน)
การดูลักษณะผลที่จะเก็บเกี่ยว (ดัชนีการเก็บเกี่ยว(Harvesting Index)ของอะโวคาโดสายพันธุ์ต่างๆ)
อื่นๆ (ดูหน้างานอีกครั้ง)

วิทยากรที่จะเสวนาและสาธิต
คุณรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดตาก (ประเด็นนโยบายและแผนงานส่งเสริมเกษตรกร และเป้าหมายการสร้างจังหวัดตาก เป็น “City of Avocado” และมีการจัดตั้งทีมบูรณาการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อผลิตอะโวคาโดแบบครบวงจรขึ้น และการขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI โดยทางสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก)
คุณธนากร โปทิกำชัย รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น Avocado Man ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการปลูกและดูแลรักษาอะโวคาโด (ประเด็นการพัฒนาสายพันธุ์อะโวคาโด การปลูกและดูแลจัดการให้ได้คุณภาพ ดัชนีการเก็บเกี่ยว(Harvesting Index)ของอะโวคาโดสายพันธุ์ต่างๆ )
ตัวแทนเกษตรกรหรือตัวแทนผู้รับซื้อ (หรือทั้ง 2 อย่าง-ในเบื้องต้นจะเชิญประธานแปลงใหญ่อะโวคาโดตาก) (ประเด็นการปลูกและดูแลจัดการ ปัญหาการปลูก โรคแมลง การตลาดและการขาย รวมทั้งการแปรรูปเพิ่มมูลค่า)

วันเวลา/สถานที่เสวนา
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00-16.00 น. (ท่านที่จะเข้าร่วมให้มาได้ตั้งแต่ 13.00 น.)
ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก(เกษตรที่สูง) จัดในแปลงปลูกอะโวคาโด

ทั้งหมดนี้ คือรูปแบบการเสวนาเคลื่อนที่เร็ว สมัคร NOVA88 Talk of the Farm ที่จะไม่เน้นพิธีการ แต่เน้นสาระความรู้และความเรียบง่าย เป็นธรรมชาติ (สบายๆแบบมีส่วนร่วม) เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรมากที่สุด และผู้ที่สนใจก็ไม่ต้องจองที่นั่งแต่อย่างใด หากมาได้ก็ให้มาในวันที่กำหนดเลย แต่มาไม่ได้ก็ให้ติดตามจากการ LIVE สดผ่านเฟสบุ๊ค และช่องยูทูป #เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน หรือจะสอบถามรายละเอียดได้ที่ ไอดีไลน์ thanasit19 หรือโพสต์ถามได้