ถือเป็นหนึ่งในมิตรแท้ของชาวไร่อ้อยมาอย่างยาวนาน เพราะได้

ดำเนินธุรกิจในการผลิต และให้บริการเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตรด้านการปลูกอ้อยอย่างครบวงจร รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนในการปลูกอ้อย มาตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน และได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศมากมาย เรียกได้ว่า NKS มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักรกลต่างๆที่ต้องใช้ไร่อ้อย โดยมีผลงานที่ได้รับความนิยมจากชาวไร่อ้อยมากมาย ไม่ว่า เครื่องกำจัดวัชพืช SRT6 เครื่องฝังปุ๋ยนำร่องก่อนปลูก โรตารี่มินิคอมบาย เครื่องมือคลุกใบอ้อย เครื่องปลูก Billet Planter ซึ่งปลูกได้เต็มประสิทธิภาพที่เฉลี่ยวันละ 60 ไร่ต่อวัน (8ชั่วโมง) และใช้คนงานเพียง 2 คนเท่านั้น คือคนขับและคนคุมท้าย เป็นต้น

จากก้าวแรกเพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาชีวิตชาวไร่อ้อย มาจนถึงวันนี้ โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS เปิดการเรียนการสอนให้เกษตรกรที่สนใจไปแล้วกว่า 40 รุ่น โดยเมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาได้เปิดการเทอมการเรียนรู้ล่าสุดไป โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมกว่า 48 คน

กล่าวได้ว่า หากสนใจและต้องการที่จะก้าวเป็นไปเกษตรกรสมัยใหม่ที่มีแนวคิดและวิธีการที่ทันสมัยทันต่อการแปลงเปลี่ยน ยกระดับสู่การเป็น Smart Farming โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

สำหรับการเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ จะเน้นการให้ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อยเพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ทั้งในด้านภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ NKS รวมถึงการลงพื้นที่จริงเพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จของเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัวอย่าง และหลังเสร็จสิ้นการเรียนตามหลักสูตร ยังจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองอีกด้วย

นายสรวิศ ประธานทิพย์ ผจก.ร้านฟาร์มเมอร์เซนเตอร์ สาขาตากฟ้า ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS บอกว่า สำหรับหลักสูตรที่สอนนั้น จะเน้นในสิ่งที่เกษตรกรต้องรู้เพื่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งทางโรงเรียน เรียกองค์ความรู้นี้ว่า 5 ขั้นตอนของหัวใจแห่งการปลูกอ้อย ประกอบด้วย

สิ่งแรก ที่เกษตรกรต้องรู้และเข้าใจ คือ การเตรียมดิน ทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ถึงเทคนิคที่สำคัญในการเตรียมดินอย่างไรให้มีความร่วนซุย เหมาะสมกับการปลูกอ้อย เช่นเทคนิคการแก้ไขปัญหาดินดาน

สอง การปลูก เกษตรกรจะมีวิธีการปลูกอ้อยอย่างไรให้มีอัตราการงอกและเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันทั้งแปลง เช่น เทคนิคการคัดท่อนพันธุ์ที่ดี

สาม การดูแลรักษาอ้อย หลังจากปลูกอ้อยแล้ว จะต้องดูแลอย่างไรจึงจะทำให้ต้นอ้อยแปลงอุดมสมบูรณ์และแข็งแรง เช่นเทคนิคเกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการ

สี่ การเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องมีข้อคิด มีการเตรียมแปลงอย่างไรเพื่อรองรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้าย ห้า การบำรุงตออ้อย เกษตรกรที่เข้าเรียนรู้จะได้รับทราบเทคนิคที่สำคัญในการดูแลอ้อยตอหลังการเก็บเกี่ยวว่าต้องทำอย่างไร เพื่อให้ในปีต่อไปได้ผลผลิตสูงสุดอีก

ทั้งหมดนี้ คือ หัวข้อการเรียนรู้ที่ผู้สนใจจะได้รับทราบ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในแปลงปลูกของตนเอง ดังนั้น ดีที่สุดที่จะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ดังกล่าว คือ สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS แห่งนี้ ซึ่งจะมีการเปิดการเรียนการสอนตามระยะเวลาที่กำหนด และหากสนใจ สมัครได้โดยตรงที่ บริษัท นครสวรรค์ สตีล จำกัด (NKS) เลขที่ 109 หมู่ที่ 8 ถนนเนินมะกอก ตำบลเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โทร. 056-380-006,056-380-0071

นี่คืออีกหนึ่งเรื่องดี ๆ ของวงการไร่อ้อยเมืองไทย…โรงเรียนเกษตรกรชาวไร่อ้อย NKS กรมวิชาการเกษตร ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งพัฒนายกระดับสินค้าเกษตรคุณภาพดีสู่มาตรฐานสากล เน้นระบบการตลาดนำการผลิต หนุนนักวิจัยผลิตงานวิจัยปรับใช้ประโยชน์ ตอบโจทย์แก้ปัญหาการเกษตรของไทยแบบครบวงจร พร้อมร่วมบูรณาการสืบสานต่อยอดศาสตร์พระราชาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 เพื่อทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืช เครื่องจักรกลการเกษตร ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรอง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับดิน น้ำ ปุ๋ย วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช การบริการส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งกำกับดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับ ซึ่งในปี 2562 กรมวิชาการเกษตรมีผลการดำเนินงานสำคัญที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน โดยได้ทำการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชในระบบ GAP ผ่านมาตรฐาน 108,647 แปลง พื้นที่ 539,811.65 ไร่ และตรวจรับรองโรงคัดบรรจุ โรงงานแปรรูป โรงรมตามมาตรฐาน GMP HACCP และ GFP ผ่านมาตรฐานรวม 885 โรงงาน รวมถึงพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย 32 แห่ง

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังมีผลงานวิจัยดีเด่นอีกมากที่พร้อมขยายผลเผยแพร่สู่เกษตรกร โดยเฉพาะพืชพันธุ์ใหม่ 34 พันธุ์ แบ่งเป็น พันธุ์พืชรับรอง 13 พันธุ์ พันธุ์แนะนำ 21 พันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมขยายผล จำนวน 19 เครื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ซึ่งผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากกรมวิชาการเกษตรนำไปผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวม 7 เทคโนโลยี การขับเคลื่อนผลงานวิจัยปรับไปใช้ประโยชน์ถ่ายเทคโนโลยีผ่านเกษตรกรต้นแบบและแปลงต้นแบบ โดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ให้คำแนะนำ ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา และแผนในปี 2563 รวม 15 โครงการ

ในปี 2562 กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินงานสนับสนุนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ นโยบายเกษตรอินทรีย์ ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน รวม 3,171 แปลง และกิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยการอบรมให้ความรู้เกษตรกรด้านการผลิตพืชอินทรีย์ รวม 3,650 ราย รวมทั้งจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ ผลิตพ่อพันธุ์–แม่พันธุ์แมลงศัตรูพืชธรรมชาติ และผลิตชีวินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช นโยบายระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช 5,514 ราย ตรวจรับรอง GAP ผ่าน 3,269 ราย และจัดทำแปลงต้นแบบ 2,043 ไร่ นโยบายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ชีวินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสมรวม 11,063 ราย ผลิตพ่อพันธุ์–แม่พันธุ์ แมลงศัตรูธรรมชาติ 15 ชนิด เผยแพร่องค์ความรู้ผ่าน Smart–Box 90 แห่ง และแจ้งเตือนภัยศัตรูพืชทุกสัปดาห์

ในส่วนการดำเนินงานสนับสนุนนโยบาย Zoning by Agri-Map ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ปรับโครงสร้างการผลิตในพื้นที่ S3 และ N โดยการสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชในพื้นที่ที่เหมาะสม 1,427 ราย จัดทำแปลงต้นแบบ 1,566 ไร่ ส่วนการพัฒนาศักยภาพการผลิตทางการเกษตร โดยดำเนินงานด้านการเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การพัฒนากลุ่มปลูกสมุนไพรให้เข้าสู่ระบบ GAP /GMP แล้ว 5 แห่ง และฝึกอบรมเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบการจัดการ GAP และแปรรูปสมุนไพรแล้ว 113 ราย การผลิตพันธุ์พืชคุณภาพดีและปัจจัยการผลิต ได้แก่ พืชไร่ 11 ชนิด พืชสวน 33 ชนิด ปัจจัยการผลิต 19 ชนิด รวมถึงมีภารกิจตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร การเปิดตลาดมะม่วงไปออสเตรเลีย และการส่งออกมังคุดไปไต้หวันที่เป็นผลสำเร็จในปีนี้ด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวันคล้ายวันสถาปนากรมวิชาการเกษตรจะจัดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นประจำทุกปี และในปีนี้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งสารมาแสดงความยินดีและมอบหมายให้นางอุมาพร พิมลบุตร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนากรมวิชาการเกษตรครบรอบปีที่ 47 และมอบนโยบายการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาพืชให้แก่คณะผู้บริหารและนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะได้นำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรต่อไป พร้อมขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตพืชของเกษตรกร ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดสินค้าเกษตร พร้อมร่วมบูรณาการสืบสานต่อยอดศาสตร์พระราชาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

ระยอง เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ ทั้งด้านการเกษตร การท่องเที่ยว และด้านอุตสาหกรรม และยังเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่อยู่ใกล้เมืองหลวง

ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จังหวัดได้เล็งเห็นความสำคัญ และมุ่งเน้นการพัฒนาโดยเฉพาะ การเป็นเมืองผลไม้ ทั้ง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ขนุน ลำไย ที่สามารถผลิตออกมาสู่ตลาดทั้งภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศได้อย่างน่าภาคภูมิใจ สามารถทำรายได้ให้จังหวัดปีละหลายพันล้านบาท

จากวิสัยทัศน์จังหวัดระยองที่ว่า “เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ สมดุล การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมยั่งยืน สร้างคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีบนฐานเศษฐกิจพอเพียง ยกระดับการส่งเสริมการค้าการลงทุน และพัฒนาเศษฐกิจที่เข้มแข็ง จึงทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาแนวรุก โดยเฉพาะในภาคการเกษตร

ทั้งนี้ นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า จังหวัดระยองมีเป้าหมายในการพัฒนาทางด้านการเกษตร ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลผลิตการเกษตรของจังหวัดที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เช่น สับปะรด “ทองระยอง” พืช GI ของจังหวัดระยอง เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน (Queen) รูปผลทรงกระบอก ตาผลใหญ่ ร่องตาตื้น เปลือกบาง เมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองทองทั้งผล เนื้อสีเหลืองเข้มสม่ำเสมอตลอดผล เนื้อแน่น แห้ง กรอบ ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม รับประทานแล้วไม่กัดลิ้น เป็นต้น รวมทั้ง เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง และอื่น ๆ โดยเฉพาะ ทุเรียนหมอนทอง ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตออกมาได้คุณภาพที่ดีเยี่ยม เนื้อเหนียว แห้ง หวาน ทานอร่อย และได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ทุเรียนที่ออกมาขายได้ในราคาที่สูง เมื่อเทียบกับทุเรียนในภาคอื่น ๆ เพราะทุเรียนที่ระยองจะออกสู่ตลาดก่อนภาคอื่น ๆ ด้วย

“ขณะนี้จังหวัดระยองกำลังดำเนินการขอ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ อีกพืชหนึ่ง โดยจังหวัดได้มอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรให้มีการรวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ การร่วมกันเรียนรู้เทคนิควิชาการใหม่ ๆ ในการพัฒนาคุณภาพผลไม้ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาผลผลิตสู่การรับรองมาตรฐาน GAP การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การแปรรูป และการจัดหาตลาดในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในฤดูกาลปี 2563 ที่จะถึง จะได้มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในการผลิตทุเรียนคุณภาพให้มากขึ้น ตั้งแต่การผสมดอกทุเรียน การจดบันทึกช่วงเวลาที่ดอกบาน การให้ปุ๋ย ให้น้ำ การป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและเหมาะแก่การขนส่ง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมการขายในเชิงรุก เป็นต้น”

ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวอีกว่า การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเกษตรกรให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังจะสามารถพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น และเกษตรกรสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายเองที่สวนในรูปแบบของการท่องเที่ยวเกษตร ตลาดผลไม้ชุมชน ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ตลาดออนไลน์ ขายส่งออก หรือการนำสินค้ากระจายออกนอกพื้นที่ โดยเกษตรกรเองในนาม “นักการตลาดชุมชน”

“ซึ่งทุกช่องทางการตลาดจะมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐคอยเป็นพี่เลี้ยง ประสานงาน และสนับสนุนในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสินค้าจากสวนที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP แล้วจะได้สนับสนุนสติกเกอร์ QR Code เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เป็นข้อมูลรับรองแหล่งผลิต และการตรวจสอบย้อนกลับอีกด้วย นอกจากการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพแล้ว การตรวจรับรองสถานประกอบการโรงคัดแยก หรือล้ง ก็จะต้องได้รับรองมาตรฐาน GMP อีกด้วย ซึ่งจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ และดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะประเทศคู่ค้าหลายประเทศเริ่มมีข้อกำหนดในเรื่องมาตรฐานการผลิต และมาตรฐานโรงคัดแยก เข้มข้นขึ้น” นายสุรศักดิ์ กล่าว

ทางด้านนายนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดระยอง ได้กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นของการบริหารจัดการสวนเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตร ว่า จังหวัดระยองมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเกษตรสูงมาก เนื่องจากเกษตรกรมีความตื่นตัวในการบริหารจัดการสวนผลไม้ที่ได้คุณภาพ และมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งอยู่ใกล้เมืองหลวง การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจของจังหวัดดี มีกำลังซื้อสูง ภาคอุตสาหกรรมมีมาก การขายผลไม้โดยตรงระหว่างกลุ่มผู้ผลิตกับพนักงานบริษัทต่าง ๆ เป็นช่องทางการตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

“ส่วนการดำเนินการตลาดในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นตลาดเพียงรูปแบบเดียวที่เกษตรกรสามารถควบคุมและทำตลาดได้เอง สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ขายอยู่กับสวนกับบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง และเมื่อลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนสามารถขายสินค้าชุมชนประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากผลไม้ได้อีกด้วย เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้มีสวนเกษตรที่ขึ้นทะเบียนแหล่งท่องเที่ยวเกษตร ไว้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดระยองทั้งหมด 77 สวน และได้มีการประชุมหารือกันเพื่อจัดตั้งเป็น “สมาคมท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสุขภาพ โดยชุมชนจังหวัดระยอง” คาดว่าอีกไม่นานคงจะดำเนินการได้แล้วเสร็จ”

นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการจัดการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวธรรมชาติ และอื่นๆ ก็จะหนุนเสริมเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี จะเกิดพลังในการบริหารจัดการเชื่อมโยงเครือข่าย การต่อรอง การพัฒนาไปสู่มาตรฐานการท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรที่หลากหลายในมาตรฐานเดียว การขยายผลไปสู่เกษตรกรอื่น ๆ ที่สนใจแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว สินค้าไม่พอบริการนักท่องเที่ยว สินค้าล้นตลาด ฯลฯ โดยในปีการผลิตที่จะถึงคาดว่าจะมีสวนเกษตรที่เข้ามาร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 100 สวน สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค และสร้างรายได้เพิ่มจำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกรในจังหวัดระยองอย่างแน่นอน

การพัฒนาการเกษตรในภาพรวมของจังหวัด เกษตรจังหวัดระยองกล่าวเพิ่มเติมว่า จะต้องเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้าให้มากขึ้น ตามนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งระบบการให้น้ำอัจฉริยะ การควบคุมโรคแมลง เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการนำเทคโนโลยีเครื่องผลิตแก๊สโอโซน ควบคุมคุณภาพผักผลไม้ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการเพิ่มช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมการสร้างอาชีพเกษตรก้าวหน้า โดยการพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Farmer มุ่งผลิตสินค้าอาหารปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ การเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ สินค้าแปรรูป ที่ได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพ รองรับการพัฒนาไปสู่จังหวัดอัจฉริยะ (Smart Province) และการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC : Eastern Economic Corridor

นอกจากนั้นยังจะต้องสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรรายย่อยในสวนผลไม้ สวนยางพารา และพื้นที่ว่างเปล่า โดยการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เล็ก เป็ด ไก่ การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงผึ้ง/ชันโรงช่วยผสมเกสร การปลูกพืชร่วม พืชแซม เช่น ผักเหลียง ผักกูด สละ กระวาน พริกไทย ไม้ตัดดอก ไม้ตัดใบ และพืชสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิดที่สามารถขึ้นร่วมกันได้ในสวนผลไม้ หรือสวนยางพารา ภายใต้แนวคิด “เพิ่มพื้นที่ทำกินโดยไม่เพิ่มโฉนด” และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

“ด้วยการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรหัวก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง การส่งเสริมอย่างจริงจังของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งโอกาสทางการตลาดที่จะเข้ามาจากนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ นักการค้า การลงทุนที่หลั่งไหลกันเข้ามาอีกมากมายมหาศาล EEC คือโอกาสทองของพี่น้องเกษตรกรชาวระยองแน่นอนครับ” เกษตรกรจังหวัดระยองกล่าวทิ้งท้าย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 3 -4ตุลาคม 2562 – ฟอร์ด ประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนและกลุ่มเกษตรกรร่วมผจญภัยไปกับกิจกรรม “ฟอร์ด เรนเจอร์ แกร่ง…ทุกงานเกษตร” โดยเดินทางพิสูจน์สมรรถนะรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ที่มาพร้อมขุมพลังที่เหนือชั้นและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดที่ตอบสนองต่อการขับขี่อย่างยอดเยี่ยมในเส้นทางสมบุกสมบัน ทั้งทางเรียบและออฟโรด สมกับคำนิยามรถกระบะ “เกิดมาแกร่ง” พร้อมฝ่าฟันทุกอุปสรรค เพื่อเยี่ยมชมสวนเกษตรและพูดคุยกับเกษตรกรทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บ้านทุ่งกระโปรง จ.นครนายก
หลังจากซักซ้อมความเข้าใจก่อนออกเดินทางที่สโมสรราชพฤกษ์ ย่านหลักสี่ คณะสื่อมวลชนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ จ. นครนายก โดยมีจุดหมายแรก คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรง อ.บ้านนา ที่นี่มีผู้ใหญ่สมหมาย เกตุแก้ว เป็นไกด์นำเยี่ยมชม ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระดับอำเภอ ชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงมีความโดดเด่นจากการ เป็นชุมชนที่ริเริ่มปรับเปลี่ยนจากการเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมุ่งเน้นให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ และผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่ปลอดสารพิษของชุมชนบ้านทุ่งกระโปรงด้วย

ชมสวนโกโก้ จ.ปราจีนบุรี
หลังจากนั้น สื่อมวลชนมุ่งหน้าเยี่ยมชมสวนโกโก้ ของคุณฐาณุพงษ์ ชินธนะชัยรัตน์ เกษตรกรยุคใหม่ ณ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี โกโก้เป็นพืชยืนต้นที่ดูแลไม่ยุ่งยากเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย โรคพืชและแมลงศัตรูรบกวนน้อย ใช้น้ำไม่มาก ออกลูกดกทั้งปี โดยสวนโกโก้แห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ เริ่มปลูกโกโก้จำนวน 600 ต้น เป็นสวนโกโก้แบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยสวนโกโก้แห่งนี้ ได้เข้าร่วมกับโครงการส่งเสริมการปลูกโกโก้ออแกนิคของบริษัท เอทีเอ โปรดักส์ จำกัด เพื่อทำการส่งออกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โกโก้ระดับพรีเมี่ยมต่อไป

เที่ยวบ้านหมากม่วง เขาใหญ่
เช้าวันที่สอง คณะสื่อมวลชนได้ไปเยี่ยมชมบ้านหมากม่วง (The Mango House Farm) ฟาร์มมะม่วงที่ดำเนินงานโดยเกษตรไทยยุค 4.0 ที่ต่อยอดธุรกิจการปลูกมะม่วงของครอบครัวมานานกว่า 20 ปี ให้กลายเป็นธุรกิจแบบครบวงจร ที่นี่เราได้ฟังแนวคิดการสร้างแบรนด์สินค้าเกษตรและการทำเกษตรสมัยใหม่ โดยคุณแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และเกษตรไทยรุ่นลูก ซึ่งเป็นผู้ต่อยอดธุรกิจของครอบครัว เล็งเห็นโอกาสและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการแปรรูปมะม่วงเป็นสินค้าต่างๆ เช่น ไอศกรีมมะม่วงพุดดิ้ง มะม่วงลอยแก้ว แยมมะม่วง น้ำมะม่วง มะม่วงกวนกล้วยอบน้ำสมุนไพร รวมถึงข้าวเหนียวมะม่วงสูตรเฉพาะของฟาร์ม และกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วงอีกหลายที่ชวนให้เราต้องติดตาม

ดูงานปลูก อะโวคาโด สวนลุงแดง
หลังจากนั้น คณะสื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมสวนอะโวคาโด (สวนคุณแดง) ที่ อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา เป็นสวนอะโวคาโด ของคุณสำเริง กลั่นกลิ่น ทราบว่าได้รับพันธุ์อะโวคาโดจากสถานีวิจัยพืชสวนปากช่องและพันธุ์จากโครงการหลวงทางภาคเหนือมาทดลองปลูกอย่างต่อเนื่อง จนมีต้นอะโวคาโดมากกว่า 500 ต้น โดยจะปูกแซมในสวนน้อยหย่าเพชรปากช่อง ต้นหนึ่งจะให้ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม โดยจะให้ผลผลิตประปรายตลอดทั้งปี และจะมากที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน นอกจากนี้ สวนแห่งนี้ยังมีต้นอะโวคาโดพันธุ์พิเศษ “พันธุ์บลูนี่” มีลักษณะผลใหญ่ คุณภาพดี รสชาติอร่อย ซึ่งมีปลูก ณ สวนแห่งนี้เพียงที่เดียวเท่านั้น

ปิดท้ายที่ ไร่สุวรรณ นครราชสีมา
จากนั้นคณะเดินทางก็มุ่งหน้าต่อไปยังศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หรือรู้จักกันในชื่อ “ไร่สุวรรณ” เพื่อเข้าเยี่ยมชมพื้นที่การปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่าง โดยรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ซึ่งมีพื้นที่กว่าสองพันไร่ บนพื้นที่ลาดเชิงเขาหินปูน ทำให้สื่อมวลชนได้สัมผัสถึงสมรรถนะอันดีเยี่ยมด้วยระบบช่วงล่างของฟอร์ด เรนเจอร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการโคลงตัว มอบการควบคุมและการทรงตัวที่ยอดเยี่ยม พร้อมด้วยเหล็กแชสซีส์แข็งแกร่งพิเศษเสริมระบบกันสะเทือนมอบการควบคุมและความสะดวกสบายเหนือชั้น อีกทั้งยังขับขี่ง่าย ปลอดภัย ด้วยระบบพวงมาลัยผ่อนแรงแบบไฟฟ้า (EPAS) และระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ก่อนกลับ สื่อมวลชนและเกษตรกรได้มีโอกาสซื้อผลผลิตจากสถาบันวิจัยฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปต่างๆ เป็นของฝากก่อนจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

“ฟอร์ด ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย สมรรถนะการขับขี่ที่พร้อมลุยในพื้นที่สมบุกสมบัน โดยเฉพาะในพื้นที่การเกษตร ฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องเกษตรกร ทั้งการบรรทุก ลากจูง รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่ถูกติดตั้งมาเพื่อผู้ขับขี่ ที่สำคัญ ฟอร์ด เรนเจอร์ มีให้เลือกหลากหลายรุ่นตามความต้องการใช้งาน ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้อย่างง่ายๆ เราเชื่อมั่นว่า ฟอร์ด เรนเจอร์ พร้อมเป็นพาหนะคู่ใจที่ร่วมฝ่าฟันทุกอุปสรรคร่วมกับเกษตรกรไทยไปด้วยกัน” นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าว

ระหว่างวันที่ 3 -4 ตุลาคม 2562 ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ นำคณะสื่อมวลชนและกลุ่มเกษตรกร ร่วมผจญภัยไปกับกิจกรรม “ฟอร์ด เรนเจอร์ แกร่ง…ทุกงานเกษตร” โดยเดินทางพิสูจน์สมรรถนะรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ บนดินแดนแห่งสวนเกษตร ทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2 วัน 3 จังหวัด 3 ภาค) คือที่จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และปิดท้ายที่ เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ในโอกาสนี้ “เกษตรก้าวไกล” โดย ลุงพร เกษตรก้าวไกล และ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย นำโดย นายกถวิล สุวรรณมณี ได้สัมภาษณ์พิเศษ…คุณออม-กมลชนก ประเสริฐสม ผอ.ฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน ในระหว่างที่กำลังลุยสวนมะม่วง “บ้านหมากม่วง เขาใหญ่” ซึ่งเป็นสวนที่สามารถต่อยอดสร้างแบรนด์สวนมะม่วงให้เป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวได้ในเวลานี้

รู้สึกอย่างไรกับคุณแนน บ้านหมากม่วงเขาใหญ่ ที่สามารถพัฒนาเป็นสวนท่องเที่ยวได้
“รู้สึกชื่นชมว่าคุณแนน (คุณแนน-วราภรณ์ มงคลแพทย์ เจ้าของบ้านหมากม่วง เขาใหญ่) เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีคามสามารถ มีความคิดมีไอเดียมีความตั้งใจในการทำงาน แค่เริ่มต้นได้ 5 ปีที่เรียนจบ (เรียนทางด้านการแปรรูปและอาหารปลอดภัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จะเห็นว่ามีทั้งสวนมะม่วง มีทั้งร้านค้าน่า ก็ดูเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจมาก…เป็นการสร้างแบรนด์ สร้างคุณค่าสินค้าเกษตรที่น่าสนใจมากค่ะ”

ฟอร์ด จะมีส่วนส่งเสริมภาคเกษตรไทยอย่างไรบ้าง
“ก็จริงๆ แล้วเราทราบกันดีว่ารถกระบะเป็นยานพาหนะที่ชาวเกษตรกรใช้กันมาก การที่เรามีรถที่แข็งแรง(แกร่ง)ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายรูปแบบ มีความไว้วางใจได้ว่าจะเป็นเพื่อนคู่ใจในการทำงานของเรา ถือว่าเป็นหลักการสำคัญในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้าฟอร์ด ขณะเดียวกันฟอร์ดเองก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับการบริการหลังการขายและดูแลลูกลูกค้า มีปัญหาอะไรก็เข้าไปที่ศูนย์ของเราให้ช่างของเราดูแลได้ตลอดค่ะ”

อย่างสโลแกนที่ว่าแกร่งทุกงานเกษตร…ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ
“คำว่า “แกร่งทุกงานเกษตร” ไม่ได้เป็นสโลแกนที่เราตั้งขึ้นมาลอยๆ เพราะเราจัดกิจกรรมกับสื่อมวลชนเกษตรกับพี่น้องเกษตรกรถึง 4 ปีติดต่อกันแล้ว เราไปเยี่ยมชมสวนเกษตรที่หลากหลาย ทั้งสวนดอกไม้ สวนผลไม้ และคราวนี้เราก็มาสวนผลไม้ มาที่ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเห็นว่าฟอร์ดเรนเจอร์พร้อมลุยไปทุกที่ค่ะ”

“เราเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาภาคการเกษตรไทย…จริงๆ ฟอร์ดอาจเป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่เข้ามาทำกิจกรรมกับสื่อมวลชนเกษตรอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมเกษตรกรที่มีศักยภาพ และเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างเช่นคุณแนนวันนี้ถือว่าเป็นไอดอลจริงๆ ของคนรุ่นใหม่ หรือว่าครอบครัวเกษตรกรที่มีลูกหลานขึ้นมาดูช่วยแลธุรกิจ แต่นี่ไม่ใช่แค่ช่วยดูแลธุรกิจ แต่ยังต่อยอดธุรกิจสร้างแบรนด์ให้ดีขึ้นอีกด้วย อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ฟอร์ดอยากจะทำอย่างต่อเนื่องต่อไป”

รายละเอียดเพิ่ม…พร้อมความคิดเห็นของ ลุงพร เกษตรก้าวไกล และ นายกถวิล สุวรรณมณี ชมได้จากคลิปข้างต้นนี้ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดประชุมวิชาการ สวก. 2562 เปิดเวทีวิชาการด้านการเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ เชิญนักวิจัยและนักวิชาการด้านการเกษตรจากทั่วประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ พร้อมโชว์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตรกว่า 150 โครงการ ที่พร้อมนำไปขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศให้เข้มแข็งและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำการเกษตร

เมื่อวันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “ประชุมวิชาการ สวก. 2562” ภายใต้แนวคิด “Beyond Disruptive Technology” จุดเปลี่ยนอนาคตไทย ด้วยงานวิจัยเกษตร จัดโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนการทำการเกษตรของประเทศสู่การทำการเกษตรที่ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรของไทย รวมทั้งยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรับทราบทิศทางงานวิจัยด้านการเกษตรที่สอดรับต่อการเข้ามามีบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกในการทำการเกษตร รวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการบริหารงานยุคใหม่ซึ่งมีปัจจัยและความท้าทายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันและอนาคต โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเกษตร รวมกว่า 1,200 คนเข้าร่วมงาน

ในโอกาสนี้ ประธานในพิธี สมัคร BALLSTEP2 ได้มอบแนวทางการนำผลงานวิจัยไปขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมนี้ได้ให้เกียรติมอบรางวัลแก่ ผู้ประกอบการดีเด่น นักเรียนทุนดีเด่น และมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยของ สวก. ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเสวนาเรื่อง “Disruptive Technology เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกการเกษตร”