สำหรับการขายออนไลน์ในประเทศมีแพลตฟอร์มชั้นนำของไทย

หลายแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนพลผลไม้ได้ขายผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ Thailandpostmart, Shopee, Lazada, JD Central, Jatujakmall, Cloudmall, The Hub Thailand และ Octorocket.asia ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดําเนินการแล้ว ด้านตลาดต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการร่วมมือกับแพล็ตฟอร์มระดับโลก

หลายแพลตฟอร์มด้วยกัน ได้แก่ Tmall (จีน), Bigbasket (อินเดีย), Khaleang.com (กัมพูชา) , Aeon (ญี่ปุ่น) , Amazon (สิงคโปร์และสหรัฐฯ) และ Lotte (เกาหลีใต้) เป็นต้น รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออนไลน์กับเว็บไซต์พันธมิตรในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป และเพิ่มกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านทางออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้มีการเจรจากับผู้นําเข้ามะม่วงจากเกาหลี โดยนำเข้าผ่านการเจรจาออนไลน์แล้วได้ 3,200 ตัน มูลค่าถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น

“การจัดงานสัมมนาออนไลน์ ได้มีผู้ประกอบการและเกษตรกร เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ดี ที่เกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับการค้าออนไลน์ซึ่งสอดคล้องกับ New Normal ทางการค้ายุคใหม่ของประเทศและของโลก โดยหวังว่าจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และช่วยให้สามารถสร้างทัพหน้าทางการค้าออนไลน์ ให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างน้อย 200 คน เพื่อบุกตลาดโลกผ่านระบบออนไลน์ ขายสินค้าทางการเกษตรนำรายได้ให้กับประเทศและทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกในการเป็นทีมเซลล์แมนที่มีศักยภาพให้กับประเทศไทยในอนาคต” รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร. นที อำไพ (นักวิจัย) และ ผศ.ดร. อัญชลี เอาผล (หัวหน้าโครงการวิจัย) ค้นพบ “จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา” ซึ่งเป็นจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลกจากพื้นที่เขาหินแกรนิต อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยงานวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC)

คณะนักวิจัย ประกอบด้วย ดร. นที อำไพ และ ผศ.ดร. อัญชลี เอาผล จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัยร่วมกับ Dr. Perry L. Wood Jr. จาก Department of Biological Sciences and Museum of Natural History, Auburn University และ Dr. Bryan L. Stuart จาก North Carolina Museum of Natural Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกา

จิ้งจกนิ้วยาวสกุล Cnemaspis จัดอยู่ในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งจิ้งจกในสกุลนี้มีความหลากหลายสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายงานการค้นพบชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องและปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 17 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งชนิดใหม่ที่รายงานครั้งนี้มีชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ว่า จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา Cnemaspis lineatubercularis Ampai, Wood, Stuart & Aowphol, 2020

จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาอาศัยในบริเวณเขาหินแกรนิต โดยมีถิ่นที่อยู่อาศัยย่อย (microhabitats) คือ ซอกหินหรือเพิงหินขนาดใหญ่บริเวณใกล้ลำธารและน้ำตกทั้งวัยอ่อน (juvenile) และตัวเต็มวัย (adult) ซึ่งการซ่อนตัวตามซอกหินหรือเพิงหินทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาสามารถหลบหนีจากศัตรูผู้ล่าได้ง่าย โดยสัตว์ในวงศ์ Gekkonidae นี้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เช่น การควบคุมแมลงที่เป็นเหยื่ออาหาร ดังนั้นการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น เขาหินแกรนิตบริเวณลำธารและน้ำตก จะทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ในธรรมชาติและเป็นการอนุรักษ์ให้ความหลากหลายของจิ้งจกกลุ่มนี้ในประเทศไทย

เกษตรฯ เผยภาพรวมสถานการณ์ผลผลิตผลไม้ ปี 2563 ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมดึงหน่วยงานหลายภาคส่วนผนึกความร่วมมือกระจายผลผลิตและจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีคณะทำงานจัดทำข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจได้รายงานสถานการณ์การผลิตผลไม้ ปี 2563 ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผลไม้ภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ได้แก่ ทุเรียน จะมีผลผลิต 550,035 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (495,543 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 11 มังคุด ผลผลิต 212,345 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (179,610 ตัน) ร้อยละ 18.23 เงาะ ผลผลิต 210,637 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (191,089 ตัน) ร้อยละ 10.23 และลองกอง ผลผลิต 22,484 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (20,717 ตัน) ร้อยละ 8.53 โดยผลผลิตทุเรียน มังคุด และเงาะมักกระจุกตัว (Peak) ในช่วงเดือนพฤษภาคม ส่วนลองกองจะกระจุกตัวช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

สำหรับภาคเหนือ ได้แก่ ลำไย 8 จังหวัด มีผลผลิต 662,132 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (620,379 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 6.73 แบ่งเป็น ผลผลิตในฤดู 411,299 ตัน ผลผลิตนอกฤดู 250,833 ตัน และลิ้นจี่ 4 จังหวัด จะมีผลผลิต 28,676 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (22,090 ตัน) หรือร้อยละ 29.81 ส่วนไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2563 ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง คาดว่าทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่มังคุด เงาะ และลองกอง ผลผลิตลดลงจากปี 2562 โดยทุเรียน จะมีผลผลิต 560,675 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (482,140 ตัน)

คิดเป็นร้อยละ 16.29 มังคุด ผลผลิต 167,252 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (170,680 ตัน) ร้อยละ 2.01 เงาะ ผลผลิต 66,368 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (71,261 ตัน) ร้อยละ 6.87 และลองกอง ผลผลิต 70,742 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (76,517 ตัน) ร้อยละ 7.55 ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จภายในจังหวัด ในเชิงคุณภาพที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2558 – 2564 ทั้งกระจายผลผลิตในประเทศ แปรรูป รวมทั้งส่งออก และในเชิงปริมาณโดยจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทานครอบคลุมระยะก่อนเก็บเกี่ยว ระยะเก็บเกี่ยว และระยะหลังการเก็บเกี่ยว

ด้าน นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการ Fruit Board สรุปความก้าวหน้ามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อผลไม้ไทยเพิ่มเติมโดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร ดังนี้

1. ด้านตลาดในประเทศ
ภาครัฐจะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร โดยขอความร่วมมือไปรษณีย์ไทยมาช่วยในการจัดส่งผลไม้ฟรี 200 ตัน ซึ่งอยู่ระหว่างหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มปริมาณขึ้นอีก การผลักดันให้นำผลไม้จำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการจำหน่ายผลไม้ทางช่องทางออนไลน์ รวมทั้งการรณรงค์บริโภคผลไม้ในประเทศ (Eat Thai First) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้บริโภคผลไม้ไทยเกรด Premium ในราคายุติธรรมตามฤดูกาล และส่งเสริมให้นำผลไม้มอบเป็นของฝากของขวัญ

2. เพิ่มปริมาณการบริโภคภายในประเทศและระบบโลจิสติกส์ จัดจำหน่ายผลไม้ทุกชุมชนทั่วประเทศโดยสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผลไม้ร่วมกับผู้ประกอบการผลไม้และผู้ประกอบการบริการโลจิสติกส์ รวบรวมผลผลิตขนส่งและจำหน่ายทั่วประเทศผ่านร้านค้า ตลาดนัดชุมชน สหกรณ์ รถเร่ ตลาดเกษตรกรและอื่น ๆ กว่า 11,072 จุด รวมทั้งขอความร่วมมือหน่วยงานราชการส่วนกลาง/ภูมิภาค/ท้องถิ่น-รัฐวิสาหกิจ-องค์กรมหาชน ช่วยซื้อผลไม้และเป็นจุดขาย

3. ด้านการผลิต การบริหารจัดการเรื่องแรงงานเก็บผลไม้ โดยจะมีการผ่อนผันการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามเขต ขยายใบต่ออนุญาตให้แรงงานต่างด้าว การดูแลความเป็นธรรมเรื่องราคาและปริมาณ การส่งเสริมให้มีการทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งหรือส่งเสริมการซื้อขายผ่านสัญญาข้อตกลง รวมทั้งการเชื่อมโยงการกระจายผลไม้ผ่านห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยประสานงานกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ ขนาด 5 ก.ก., 10 ก.ก. และ 20 ก.ก.ให้แก่เกษตรกร

4. เสริมศักยภาพการบริหารจัดการมาตรฐานผลไม้ โดยสร้าง Central Lab ของไทยกรณีสินค้าเกษตรส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะไม่มีการตรวจสอบซ้ำที่ด่านปลายทาง และกรมวิชาการเกษตรได้เร่งออกใบรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 77,000 แปลงให้เกษตรกรไทย การตรวจรับรองล้ง GMP รับซื้อผลผลิต 315 จุด รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ด้านเทคนิคการบรรจุห่อเพื่อยืดอายุผลไม้ในยาวนานขึ้น

5. เก็บรักษาและแปรรูปสร้างมูลค่าผลไม้ โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ ผลไม้ส่วนเกินนำเข้าสู่ระบบการเก็บรักษาด้วยการอบการแช่เย็นและวิธีอื่น ๆ รวมทั้งการแปรรูปผลไม้เป็นอาหารและเครื่องดื่มสำหรับตลาดในและต่างประเทศ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกในช่วงกระจุกตัว (Peak) และในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดไปยังจังหวัดปลายทางต่าง ๆ แล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ กทม. กาญจนบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ และสกลนคร การลงนามความร่วมมือหรือ MOU กับบริษัท Grab ขนส่งผลไม้แบบ Delivery ภายใต้ชื่อ “Grab Mart” ในการอำนวยความสะดวกขนส่งผลไม้แบบออนไลน์ เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ มังคุด เป็นต้น คาดว่าพร้อมจะเปิดตัวให้บริการได้ภายใน 20 พ.ค. นี้

ตอนนี้เกษตรกรไทยหลายคน คงได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 ไปบ้างแล้ว แต่หลายคนกำลังรอด้วยใจระทึก และอีกหลายคนคงทราบแล้วว่า ตัวเองนั้นไม่ได้รับเงินเยียวยา…

สิ่งที่อยากจะบอกก็คือว่า เราทุกคนไม่สามารถได้รับการเยียวยาที่เหมือนกัน และเมื่อได้รับการเยียวยาแล้ว เงินทองที่ได้มาก็ย่อมหมดไป คนที่จะเยียวยาตัวเราเองได้ดีที่สุดก็คือตัวเรา “ตัวกู ของกู” (ขอยืมคำท่านพุทธทาสมาใช้นะครับ) ไม่ใช่คนอื่นใดเลย

“เกษตรก้าวไกล” ก้มหน้าก้มตาทำงานทั้งที่ไม่รู้ว่าจะได้เงินหรือไม่ บางครั้งก็แหนงมองบนฟ้า เราจะรอดไปด้วยกันได้อย่างไร 2 ปีที่ผ่านมานั้นเราออกเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ ตามโครงการเกษตรคือประเทศไทย (ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย) แต่มาปีที่ 3 นี้ ทำให้สะดุดหยุดลง(ชั่วคราว) เพราะเกิดวิกฤติโควิด-19 แต่เมื่อเราตั้งสติได้ก็มาคิดใหม่ว่ามัวหยุดอยู่แบบเดิมตายคาที่แน่ๆ

คิดได้ดั่งนี้ เราก็รีบปัดฝุ่นโครงการเกษตรคือประเทศไทย(ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย)ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะต้องเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ นั่นก็คือจัดทำโครงการเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 จัดทำโครงการ 30 วัน ปันความรู้เพื่อเกษตรกรไทย จะเป็นการจัดชุดวิชา “เยียวยาความรู้” ให้กับเกษตรกรยุคโควิด-19 โดยการถ่ายทอดความรู้ผ่านระบบออนไลน์ ตลอดระยะเวลา 30 วัน หรือไม่น้อยกว่า 30 ชุดวิชา (เริ่มต้นเดือนมิถุนายน 2563)

ระยะที่ 2 จัดทำโครงการตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย โดยจะลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์หรือถ่ายทำเกษตรกรที่เป็นต้นแบบ ประมาณ 40-50 คน และจะมีกิจกรรมเสริมตามชุมชนหรือฟาร์มต่างๆ เพื่อติดอาวุธความรู้ให้เกษตรกรไทยในภาคปฏิบัติ ซึ่งเราคิดว่าการเข้าถึงเกษตรกรแบบนี้ ยังมีความจำเป็น (เริ่มเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563)

“เกษตรก้าวไกล” คิดว่าการเยียวยาด้วยความรู้เท่านั้นที่จะทำให้ทุกคนเสมอภาคกัน คือความรู้จะได้รับเหมือนกันหมดทุกคน อยู่ที่ว่าใครสนใจมากน้อยกว่ากัน…

พูดมาถึงตรงนี้ สิ่งที่เราอยากจะสื่อสารก็คือว่าอยากจะเชิญชวนทุกคนที่มีความรู้และประสบการณ์ที่คิดว่าจะช่วยเหลือคนอื่นได้ให้มาช่วยกันแบ่งปันความรู้ ภายใต้หลักคิดว่า “เราจะทำให้เกษตรกรอยู่รอดและร่ำรวยได้อย่างไร” พูดง่ายๆให้มีความมั่นคงทางอาชีพหรือมีฐานะที่ดีกว่าเดิม…ถ้าท่านมีความรู้และคิดว่าจะช่วยได้ก็อย่าลังเลใจ รีบติดต่อเรามาเพื่อที่จะได้บรรจุลงในชุดวิชาเยียวยาความรู้ และสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยหรือผู้สนใจที่จะเข้าฟังชุดวิชาความรู้ต่างๆ ก็ง่ายๆคือเราจัดถ่ายทอดสดผ่านออนไลน์ที่เพจ facebook และ YouTube ชื่อช่องว่า “เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน” (ชื่อเดียวกันทั้งเพจและยูทูป)

ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศิษย์เก่า บุคลากร ผู้มีจิตศรัทธาและผู้ประกอบการ จัดตั้งตู้เกษตรแบ่งปัน หรือ Ku ตู้ปันสุข ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาการขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อการบริโภคอุปโภคในชีวิตประจำวัน ให้แก่ นิสิต ผู้ประกอบการ และประชาชนที่เดือดร้อน อันเนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเริ่มวางตู้เกษตรแบ่งปัน ตู้ปันสุข ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2563 และ บรรจุจุดที่ตั้งตู้เกษตรแบ่งปัน ไว้ในแอพลิเคชั่น inside ku เพื่อความสะดวกในการค้นหาจุดที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว

ตู้เกษตรแบ่งปัน หรือ “KU ตู้ปันสุข” มีกติกาสั้นๆคือ “หยิบแต่พอดี หากมี ช่วยแบ่งปัน” เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันเติมความสุขให้เต็มอิ่มและแบ่งปันอาหาร สิ่งของจำเป็นให้พร้อมสำหรับการเปิดตู้ทุกครั้ง ปัจจุบันตู้เกษตรแบ่งปันมีทั้งหมด 9 ตู้ ในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

1. หอพักหญิงชวนชม ที่ศาลาประตูทางเข้าป้อมชวนชม โดย กองกิจการนิสิต มก.
2. หอพักชาย ตึกพักชายที่ 13 ชั้นล่าง (ตรงหน้าห้องศูนย์ รปภ.)โดย กองกิจการนิสิต มก.
3. หน้าอาคารวิทยบริการ ประตูงามวงศ์วาน 1 โดย สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มก.
4.บริเวณทางเดินกลาง โรงอาหารกลาง 1 หรือบาร์ใหม่ โดยทีมเพื่อนพุงสู้โควิด หรือชาวค่าย อาสาฯ มก.
5. บริเวณโถงด้านข้างอาคารมนุษยศาสตร์ 1
โดยห้องสมุดพระพุทธศาสนา คณะมนุษยศาสตร์
6.บริเวณหน้าคณะสัตวแพทยศาสตร์ ฝั่งถนนพหลโยธิน หรือ ทางเช้าโรงพยาบาลสัตว์ มก.บางเขน โดยมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์
7.- 9. บริเวณหน้าร้านกาแฟ Art of Coffee โดยร้าน Art of Coffee ทั้ง 3 สาขา ได้แก่
– อาคารจอดรถงามวงศ์วานน 1
– หน้าโรงอาหารกลาง 1
– หน้าโรงอาหารกลาง 2

นอกจากนี้ในส่วนของโครงการ “เกษตรแบ่งปัน” (KU Let’s Share)” ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เชิญชวนศิษย์เก่า บุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้มีจิตศรัทธาทุกภาคส่วน ร่วมสนับสนุนการแบ่งปันมื้ออาหาร โดยบริจาคเงินล่วงหน้าเพื่อมอบเป็นคูปองอาหารและเครื่องดื่ม ในร้านค้าโรงอาหารกลาง 1 และ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน แก่ประชาชนผู้ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต และช่วยเหลือนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้านอาหารในสภาวการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ผลปรากฎว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสนับสนุนมื้ออาหารอย่างต่อเนื่องนับจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ที่เริ่มโครงการ จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 มียอดเงินสนับสนุน รวมทั้งสิ้น 700,067.03 บาท โดยสนับสนุนอาหารไปแล้ว 10,760 จาน เครื่องดื่ม 7,360 แก้ว คงเหลือเงินจำนวน 303,667.03 บาท

ทั้งนี้ โครงการ “เกษตรแบ่งปัน” (KU Let’s Share) ยังคงเปิดรับการบริจาคสนับสนุนแบ่งปันมื้ออาหาร สามารถบริจาคโดยตรงผ่านบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด หมายเลขบัญชี 374-1-73499-2 ชื่อบัญชี “เกษตรแบ่งปัน” หรือสอบถามที่สำนักงานทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-561- 4749

(ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 21พฤษภาคม 2563) กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วย 2 ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซาและละลายฟอสเฟต ตัวช่วยสลายฟอสฟอรัสธาตุอาหารสำคัญของพืชที่ถูกตรึงอยู่ในดินออกมาให้พืชใช้ประโยชน์อีกครั้ง ช่วยเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิต แถมเป็นวัคซีนต้านโรครากเน่า ทนแล้ง ลดต้นทุนใช้ปุ๋ยเคมี สุดคุ้มใส่เพียงครั้งเดียวอยู่ได้ตลอดชีวิตพืช ชงใช้ 2 ปุ๋ยร่วมกันเพิ่มประสิทธิภาพคูณ 2 ทำงานเสริมกันทั้งในรากและนอกราก

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์มีชีวิตที่สามารถสร้างและให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช ปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นปุ๋ยทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ช่วยทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตรได้ค้นพบไมโคไรซาซึ่งเป็นเชื้อราในดินกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณรากพืชและเจริญเข้าไปในราก โดยอยู่ร่วมกับรากพืชในรูปแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

โดยพืชจะให้อาหารประเภทน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์แสงแก่ไมโคไรซ่า ซึ่งเซลล์ของรากพืชและเชื้อราไมโคไรซ่าจะสามารถถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ โดยเส้นใยของราไมโคไรซ่าที่เจริญห่อหุ้มรากจะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากพืชให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตในดินส่งต่อให้พืช โดยเฉพาะธาตุอาหารที่สลายตัวยากหรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงไว้ในดินส่งต่อให้กับพืชโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสที่มักถูกตรึงไว้ในดิน

จากคุณสมบัติของเชื้อราไมโคไรซ่าดังกล่าวกรมวิชาการเกษตรจึงได้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพเพื่อส่งต่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิต พืชเจริญเติบโตและทนแล้งได้ดี รวมทั้งยังทนทานต่อโรครากเน่าหรือโคนเน่าที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เนื่องจากราไมโคไรซ่าที่เข้าไปอาศัยอยู่ในรากพืชจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่าเข้าสู่รากพืชได้ และยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่งของอัตราการใช้ปุ๋ยปกติ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า แม้ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าจะมีคุณสมบัติที่ช่วยดูดธาตุอาหารที่สลายตัวได้ยากหรือถูกตรึงอยู่ในดินส่งต่อให้พืชได้นำไปใช้ประโยชน์แล้วก็ตาม แต่ถ้าหากใช้ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยละลายธาตุฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพืชมากขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประโยชน์ในการละลายฟอสเฟตออกมาใช้งานเช่นกัน โดยใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้วพบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง ซึ่งจุลินทรีย์ที่ใส่เติมลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้ง และยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของพืช

ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลักของพืช ในดินที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะมีฟอสฟอรัสสำรองอยู่ในดินปริมาณมากอยู่แล้ว ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีให้กับพืชระหว่างการเพาะปลูกแต่พืชสามารถดูดไปใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเหลือตกค้างอยู่ในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้ จึงทำให้เกิดการสะสมของฟอสฟอรัสในดิน แต่ฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่ประมาณ 95-99 เปอร์เซ็นต์อยู่ในรูปที่ไม่ละลายพืชจึงนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ การขาดฟอสฟอรัสในดินจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก

“ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซาเป็นเชื้อราในดินที่จะเข้าไปอยู่ในรากของต้นไม้ เป็นกลุ่มที่ให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส มีความสำคัญต่อการแตกราก ช่วยเพิ่มปริมาณรากให้กับต้นไม้ได้ดี ถ้าขาดฟอสฟอรัสต้นไม้จะแคระแกร็น ส่งผลต่อการติดดอกออกผล ส่วนปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตมีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายฟอสเฟตที่มีอยู่ในดินบางรูปที่พืชใช้ไม่ได้ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์แก่พืช ช่วยให้พืชได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น โดยปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตจะทำงานอยู่นอกรากพืช ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพไมโคไรซ่าจะทำงานอยู่ในรากพืช ดังนั้นหากใช้ร่วมกันจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารฟอสฟอรัสซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิตเพราะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง และการใส่ปุ๋ยชีวภาพเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานอยู่ได้จนตลอดชีวิตของพืช เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 0-2579-7522-3” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ธ.ก.ส. เผยผลการดำเนินงาน 7 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ทั้งการขยายเวลาชำระหนี้ การพักชำระหนี้และการสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน SMEs เกษตร โดยมีเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และบุคคลในครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า 4 ล้านราย มูลหนี้รวมกว่า 1.42 ล้านล้านบาท ส่วนสินเชื่อฉุกเฉิน เป้าหมาย 2 ล้านราย วงเงิน 20,000 ล้านบาท มีผู้ลงทะเบียนรับสินเชื่อจำนวน 2,082,967 ราย จ่ายไปแล้วกว่า 2 แสนราย เป็นจำนวนเงินกว่า 2,000 ล้านบาท แจงยอดติดตามทบทวนสิทธิ์ตามมาตรการเราไม่ทิ้งกันไปแล้วกว่า 2 แสนราย และการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร เป้าหมาย 10 ล้านราย จ่ายไปแล้วกว่า 4.72 ล้านราย เป็นเงินกว่า 23,000 ล้านบาท พร้อมเตรียมสินเชื่อและ แผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลาย

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน แบ่งเป็น 7 มาตรการ ดังนี้

1) มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในภาพรวม ประกอบด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ปลอดชำระต้นเงินใน 3 ปีแรก ให้กับลูกหนี้ปกติ และลูกหนี้ NPL ครอบคลุมทั้งเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการและสถาบัน ระยะเวลาดำเนินมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และยังมีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ในการประกอบอาชีพแก่ลูกหนี้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งมีลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือจำนวนกว่า 3.85 ล้ายราย มูลหนี้รวมกว่า 1.42 ล้านล้านบาท

2) มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน โดยพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 3 เดือน โดยอัตโนมัติ (เมษายน – มิถุนายน 2563) ทั้งในส่วนของเกษตรกรและบุคคลทั่วไป ทั้งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือจำนวน 89,735 ราย มูลหนี้รวม 32,647 ล้านบาท

3) มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินลูกค้า SMEs แบ่งเป็น 2 มาตรการ ได้แก่
1. มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 2563) แบบอัตโนมัติทุกรายให้กับ SMEs ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 100 ล้านบาท และในระหว่างพักชำระหนี้ ลูกค้าที่ประสงค์ชำระหนี้ ธ.ก.ส. จะคืนดอกเบี้ยร้อยละ 10 ของเงินที่ส่งชำระ (Cash Back) ซึ่งมีลูกค้า SMEs ที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 667,928 ราย มูลหนี้รวม 221,104 ล้านบาท

2. มาตรการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SMEs (Soft Loan ของ ธปท.) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รัฐบาลรับภาระจ่ายดอกเบี้ยแทน 6 เดือนแรก วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยมีผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนสินเชื่อไปแล้วจำนวน 11,341 ราย เป็นจำนวนเงิน 5,564.41 ล้านบาท

4) มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระบบ ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเมษายน 2563 – มีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี โดยอัตโนมัติ และยังคงชั้นหนี้เดิมของลูกค้าก่อนเข้าโครงการฯ ให้กับเกษตรกรลูกค้า ทุกกลุ่ม ทั้งที่เป็นเกษตรกรรายคน บุคคล ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง ซึ่งมีลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือจำนวน 3,348,378 ราย มูลหนี้รวม 1,265,492 ล้านบาท

5) มาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน วงเงินกู้รายละ ไม่เกิน 10,000 บาท กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรกนับจากวันกู้ ซึ่งล่าสุดมีเกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรให้ความสนใจลงทะเบียนเพื่อรับสินเชื่อแล้วจำนวน 2,082,967 ราย โดย ธ.ก.ส. ได้นัดหมายลูกค้ามาทำสัญญาและอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 201,573 ราย เป็นจำนวนเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะเปิดให้กลุ่มเป้าหมายที่ธนาคารคัดกรองแล้ว สามารถทำสัญญาอิเล็คทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมาติดต่อที่ ธ.ก.ส. สาขา โดยจะเริ่มดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2563

6) มาตรการชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ “เราไม่ทิ้งกัน” ของกระทรวงการคลัง โดยจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้กำหนดให้มีผู้พิทักษ์สิทธิ์จำนวน 5,630 ราย เพื่อทำหน้าที่สอบทานการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์ไปแล้วจำนวน 212,987 ราย จากทั้งหมด 218,621 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 97.4

7) มาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร สมัครเว็บ SBOBET ตามมติคณะรัฐมนตรี รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจำนวน 150,000 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการโอนเงินเยียวยาให้เกษตรกรไปแล้วจำนวน 4,722,198 ราย เป็นเงิน 23,610.98 ล้านบาท