ธ.ก.ส.พักหนี้เกษตรกร 3.3 ล้านราย โดยอัตโนมัติ ฟื้นฟู COVID-19

ธ.ก.ส. พักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่งวดเมษายน 2563 – มีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี ให้กับเกษตรกรลูกค้าทุกกลุ่มโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยเกษตรกรฝ่าวิกฤต COVID-19 และภัยแล้ง พร้อมแจงภาพรวม 4 มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ โดยมีเกษตรกรลูกค้าได้รับประโยชน์กว่า 3.3 ล้านราย ต้นเงินกู้กว่า 1.2 ล้านล้านบาท ดันแผนฟื้นฟูภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างรายได้ ความมั่นคงและยั่งยืนให้เกษตรกร

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 ให้คลายความกังวลจากภาระหนี้สิน และสามารถผ่านพ้นช่วงระยะเวลาแห่งความยากลำบากไปด้วยกัน ธ.ก.ส. ในฐานะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง จึงได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือให้แก่ลูกค้า ธ.ก.ส. ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2563 – งวดเดือนมีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี โดยอัตโนมัติ และยังคงชั้นหนี้เดิมของลูกค้าก่อนเข้าโครงการฯ ซึ่งมาตรการดังกล่าว
ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งที่เป็นเกษตรกรรายคน บุคคล ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมผู้ที่ได้รับประโยชน์จำนวน 3,348,378 ราย คิดเป็นต้นเงินกู้จำนวน 1,265,492 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส. มีมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 4 มาตรการ ได้แก่

1) มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในภาพรวม ประกอบด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ปลอดชำระต้นเงินใน 3 ปีแรก ให้กับลูกหนี้ปกติ และลูกหนี้ NPL ครอบคลุมทั้งเกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการ และสถาบัน ระยะเวลาดำเนินมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และยังมีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ในการประกอบอาชีพแก่ลูกหนี้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง

2) มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน โดยพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 3 เดือน โดยอัตโนมัติ (เดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2563) ทั้งในส่วนของเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชุน และสหกรณ์ ทั้งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท) และโครงการสินเชื่อ SME เกษตร (วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท)

3) มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินลูกค้า SMEs จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

1. มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน (เมษายนถึงกันยายน 2563) แบบอัตโนมัติทุกราย ให้กับ SMEs ที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 100 ล้านบาท และในระหว่างพักชำระหนี้ ลูกค้าที่ประสงค์ชำระหนี้ ธ.ก.ส.จะคืนดอกเบี้ยร้อยละ 10 ของเงินที่ส่งชำระ (Cash Back)

2. มาตรการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SMEs ( Soft Loan ของ ธปท.) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รัฐบาลรับภาระจ่ายดอกเบี้ยแทน 6 เดือนแรก วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน ร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

4) มาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรในการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน ในอัตราดอกเบี้ยคงที่เพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรกนับจากวันกู้

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ยังได้เตรียมมาตรการในการฟื้นฟู เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรลูกค้า กลับมาพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและชุมชน มีรายได้ ควบคู่กับการร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่ง ธ.ก.ส.มุ่งหวังว่าสามารถช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบ จำนวนกว่า 1,000,000 ราย

นายอภิรมย์กล่าวอีกว่า มาตรการดังกล่าวของ ธ.ก.ส. คาดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ครอบคลุมทุกกลุ่ม ให้กลับมามีขวัญกำลังใจ ในการผลิตสินค้าทางการเกษตร เพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภค การส่งออกเพื่อสร้างรายได้ รวมถึงเป็นกำลังหลักในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากข้อห่วงใยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ที่มีต่อเกษตรกรซึ่งขณะนี้ผลผลิตและสินค้าเกษตรทยอยออกสู่ตลาดในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเร่งสำรวจสินค้าเกษตรในพื้นที่

เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนกำหนดมาตรการและแนวทางสำหรับเตรียมการช่วยเหลือเกษตรกร โดยให้ติดตามสถานการณ์ของสินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิดและส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ การจัดหาจุดจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกร รวมทั้งประสานกับผู้เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างระบบการบริหารจัดการผ่านคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) และกรณีที่ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมให้แจ้งกรมส่งเสริมการเกษตรทราบโดยด่วน

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรในสถานการณ์ COVID-19 กรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานในสังกัดได้ร่วมกันช่วยกระจายสินค้าจากเกษตรกรโดยตรงสู่ผู้บริโภคภายใต้แคมเปญ “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” ในสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ เมล่อน แคนตาลูป มันเทศ แตงโม ส้มโอ ทุเรียน ฝรั่ง กล้วยหอม มะละกอ มะพร้าว กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ มะลิ ดอกดาวเรือง เป็นต้น คิดเป็นมูลค่ารวม 137,601,444 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย.2563) ใน 4 กิจกรรม คือ 1)

สนับสนุนสินค้าเกษตรภายใต้กิจกรรม “แทนความห่วงใยจากใจกรมส่งเสริมการเกษตรแก่บุคลากรทางการแพทย์” เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ จากกลุ่มแปลงใหญ่ ในจังหวัดต่าง ๆ ปริมาณผลผลิต 12.36 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 359,210 บาท 2) การขายสินค้าแบบออนไลน์ในทุกช่องทางสินค้าเกษตร เช่น www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com รวมสินค้าและผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายออนไลน์จาก 77 จังหวัด, Website Grand Opening, LAZADA, Shopee, Line, Facebook, 24shopping,

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้าไปรับซื้อและช่วยกระจายผลผลิตผ่านระบบของไปรษณีย์ 3) การจำหน่ายผ่านตลาดออฟไลน์ ได้แก่ เปิดจุดจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกรผ่านตลาดเกษตรกรใน 77 จังหวัด การจำหน่ายร่วมกับผู้ประกอบการโดยตรงผ่าน Modern Trade เช่น Tesco Lotus โดยรับสินค้าจากแปลงส่งเสริมเกษตรกร ชนิดผักมากกว่า 43 ชนิด ประสานงานกับผู้ประกอบการ เช่น บริษัทรีเจนซี่ บรั่นดีไทย โรงงานนวพร ในการรับซื้อองุ่น และตลาดต่าง ๆ เช่น ตลาดไท, ประสานหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน สั่งซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงเพื่อรับประทาน รวมการจำหน่ายทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ปริมาณผลผลิต 2,682 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 137,242,234 บาท และ 4)

เชื่อมโยงบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รวมจำหน่ายสินค้าผ่าน Platform ทาง Thailandpostmart.com ได้สิทธิค่าขนส่งในการจำหน่ายผลผลิตสด เช่น ผลไม้ ผัก ในราคา ก.ก.ละ 8 บาท, บริษัท ไทยแอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) เปิดพื้นที่ฟรีให้เกษตรกรขายผักตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. – 10 ก.ค. 2563, อตก.จัดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายโดยไม่คิดมูลค่า ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. – 17 พ.ค. 2563 และบริษัท โฮมโปร จัดพื้นที่ให้เกษตรกรนำสินค้ามาจำหน่ายในสวน Market Village สาขาสุวรรณภูมิ และสาขาหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 1 – 7 พ.ค. 2563

“นอกจากนี้ ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดต่าง ๆ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้ช่วยเหลือเกษตรกรในการกระจายผลผลิตผลไม้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิ การจัดหาจุดจำหน่ายสินค้าภายในจังหวัด การจำหน่ายสินค้าให้ส่วนราชการในจังหวัด ห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน การให้คำแนะนำเกษตรกรจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ การชี้เป้าแหล่งผลิตไม้ผลคุณภาพดีของเกษตรกรทั้งมะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง การเปิดประมูลสินค้าผลไม้ การนำสินค้าเกษตรของจังหวัดแลกเปลี่ยนกัน เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธรนำสินค้าข้าวอินทรีย์ขนส่งโดยกองทัพอากาศแลกเปลี่ยนกับสินค้าอาหารทะเลของจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานทหารทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศขอความอนุเคราะห์ในการขนส่งและกระจายผลผลิตช่วยเกษตรกรอีกช่องทางหนึ่ง” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือเกษตรกร กรณีที่ได้ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและครอบครัว เป้าหมายไม่เกิน 10 ล้านราย โดยจะจ่ายเงินช่วยเหลือโดยตรง จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ จำนวน 8.43 ล้านราย และกลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไม่เกิน 1.57 ล้านราย

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพืช กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกร กรณีที่ได้ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนส่งรายชื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิจะได้รับการเงินช่วยเหลือตามโครงการ จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการคัดกรองตรวจสอบสิทธิตามเงื่อนไขของภาครัฐเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้แบ่งเกษตรกร ด้านพืช จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2562 และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2563 แล้ว จำนวน 6.3 ล้านครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) ขอให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในชุมชน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก) ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 หากมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆอีก โดยจะเป็นรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายแรกที่จะส่งไปคัดกรองเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และขอให้รอผลคัดกรองตรวจสอบสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น

กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ก่อนปี 2562 และยังทำการเกษตรอยู่ จำนวน 1.7 ล้านครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) ขอให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในชุมชน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก) หากพบว่ามีชื่ออยู่ในกลุ่มนี้ ขอให้ไปปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับผู้นำชุมชน หรือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 โดยจะเป็นรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่ 2 ที่ส่งไปคัดกรองเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และขอให้รอผลคัดกรองตรวจสอบสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ

กลุ่มที่ 3 เกษตรกรรายใหม่ ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกร หลังจากที่ปลูกพืชแล้ว 15 วัน ให้มาติดต่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับผู้นำชุมชน หรือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 โดยรายชื่อเกษตรกรกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ 2 ที่ส่งไปคัดกรองเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิจะได้รับการเงินช่วยเหลือตามโครงการ จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการคัดกรองตรวจสอบสิทธิตามเงื่อนไขของภาครัฐเท่านั้น

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า สำหรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรรายใหม่ ภายหลังจากเกษตรกรทำการปลูกพืชแล้ว 15 วัน และมาขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตามหลักเกณฑ์ของการขึ้นทะเบียนเกษตรกร โดยกรอกแบบฟอร์ม ทบก.01 พร้อมแนบหลักฐานที่กำหนด ส่งให้ผู้นำชุมชน หรือ อกม. รวบรวมส่งสำนักงานเกษตรอำเภอแล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจะดำเนินการบันทึกข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล ติดประกาศในชุมชน 3 วัน หรือตรวจสอบพื้นที่จริง หรือจัดทำผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลต่อไป

หากมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ก่อน ที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ไม่ต้องเดินทางไป เพื่อลดความเสี่ยงไว้ก่อนได้ ธ.ก.ส. พร้อมโอนเงินบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของ COVID-19 ให้กับเกษตรกร 10 ล้านราย รายละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมวงเงิน 150,000 ล้านบาท ตามฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรงทั้งบัญชีเงินฝากที่มีกับ ธ.ก.ส. หรือบัญชีที่มีกับธนาคารอื่น คาดเริ่มทยอยโอนได้ตั้งแต่ 15 พ.ค.นี้ ประมาณ 1 ล้านคนต่อวัน

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 เห็นชอบให้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยจ่ายเงินให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานของรัฐ รายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค. 63) จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจำนวน 150,000 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนการจ่ายเงินดังกล่าว ธ.ก.ส. จะรับข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

ในกรณีเกษตรกรมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. แล้ว สามารถใช้บัญชีเงินฝากเดิมได้ โดยไม่ต้องมาเปิดบัญชีใหม่ ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับธนาคารใดก็ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ของ ธ.ก.ส. ได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป หลังจากระบบประมวลข้อมูลและตรวจสอบบัญชีเงินฝากของเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับความช่วยเหลือในมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” แล้ว เมื่อ ธ.ก.ส. ได้รับเงินจากกระทรวงการคลัง จะรีบดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรต่อไป โดยจะกระจายการโอนครอบคลุมพื้นที่ ทั่วประเทศ ประมาณวันละ 1 ล้านราย คาดเริ่มทยอยโอนเงินได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

“โครงการดังกล่าว ธ.ก.ส. จะเร่งดำเนินการภายใต้การควบคุมการแพร่กระจายของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งนอกจากเกษตรกรไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. แล้ว ยังสามารถใช้บัตร ATM ของ ธ.ก.ส. ถอนเงินจากตู้ ATM ของทุกธนาคาร หรือใช้โทรศัพท์มือถือที่มีแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ถอนเงินโดยไม่ใช้บัตร ATM ที่ตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ได้อีกด้วย ” นายอภิรมย์กล่าว

บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เจ้าของเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งเมล็ดพันธุ์ผักอันดับ 1 ของประเทศไทย แต่กว่าที่จะก้าวมาได้อย่างทุกวันนี้ ต้องยอมขาดทุนเกือบ 10 ปี และวันนี้ก็ใช่ว่าจะอยู่อย่างฟุ่มเฟือย โดยล่าสุดนี้ (7 พ.ค.63) คุณเบิร์ท แวน เดอร์ เฟลท์ซ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอีสท์เวสท์ซีดประเทศไทย ได้กล่าวในโอกาสร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดตัวโครงการ “ตู้เย็นข้างบ้าน” โดยทำการจัดชุดเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว จำนวน 10,000 ชุด ชุดละ 5 ชนิดเมล็ดพันธุ์ คือ ผักบุ้ง โหระพา แตงกวา พริกขี้หนู และมะเขือพวง รวมทั้งหมด 50,000 ซอง เพื่อแจกจ่ายให้แก่พี่น้องเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจทำการเกษตร และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด19

“เราเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์บ้านๆ ลูกค้าของเราก็เป็นเกษตรกร เราอยู่กันแบบบ้านๆ โลโซ ไม่ใช่ ไฮโซ พนักงานของเราทำงานกันทุ่มเทช่วยกันทำงานหลายหน้าที่ มีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงก่อเกิดให้มีวันนี้” คุณเบิร์ท แวน เดอร์ เฟลท์ซ กล่าว

สำหรับการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการตู้เย็นข้างบ้านในครั้งนี้ ได้จัดที่บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ย่านไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งพิธีการก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย แต่มีเสน่ห์น่าหลงใหล ด้วยการจัดชุดพืชผักผลไม้ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาโชว์เหมือนทุกครั้ง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้พบเห็นประทับใจ โดยเฉพาะการแกะสลักผักผลไม้ที่นำมาแซม ซึ่งสลักชื่อบริษัทอีสท์เวส์ซีดอย่างสวยงาม ผู้ที่ทำหน้าที่ก็ไม่ใช่คนอื่นไกล แต่เป็นแม่ครัวที่ทำอาหารกลางวัน ซึ่งที่อีสท์เวสท์ซีดทุกเที่ยงวันพนักงานจะมารับประทานอาหารจากแม่ครัวที่หมุนเวียนกันมาทำอาหาร (พนักงานมาช่วยกัน) จนกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งขององค์กร

นอกจากการทำอาหารได้สุดฝีมือแล้ว ยังมีฝีมือเรื่องของการแกะสลักพืชผักผลไม้ต่างๆ อย่างเช่นการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการตู้เย็นข้างบ้านในวันนี้ก็เช่นกัน แม่ครัวได้แกะสลักพืชผักผลไม้โชว์อย่างสวยงาม ซึ่งในวันนี้ถือว่าเป็นชุดเล็ก แต่ถ้าจัดงานที่ใหญ่กว่านี้ก็จะจัดชุดใหญ่สวยงามตระการตามากมายนัก อนึ่ง ข่าวเปิดโครงการ “ตู้เย็นข้างบ้าน” แจกเมล็ดพันธุ์ผักให้เกษตรกร 50,000 ซอง อ่านเพิ่มเติมได้ที่

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานไปในพิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ทำหน้าที่หว่านข้าว พร้อมด้วย นางสาวณัฐชยา ศรีสุขสวัสดิ์ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และ นางสาวอาทิตยา ทองแกมแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ทำหน้าที่่หาบทอง นางสาวกันยารัตน์ เศวตนันทิกุล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ เป็นผู้ทำหน้าที่หาบเงิน

อนึ่ง ในปีพุทธศักราช 2563 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้จัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องจากประเทศไทยและนานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งมีมาตรการและข้อปฏิบัติทางสาธารณสุขหลายประการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยงดการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้จากเดิมที่สำนักพระราชวังได้กำหนดให้ประกอบพระราชพิธีในวันอาทิตย์ที่ 10 และวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 โดยนำพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานในฤดูทำนาปี 2562 และพันธุ์พืชต่าง ๆ มาเข้าประกอบพิธี พร้อมทั้งพิธีหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ในวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทุกสาขาทั่วประเทศ ดังรายละเอียดภาพข่าวข้างต้นแล้ว

ข่าวดี!! งบ 150,000 ล้านบาท ถึงมือ สศก. แล้ว พร้อมสั่งจ่ายเช็ค ธ.ก.ส. งวดแรก ยืนยัน 15 พ.ค. เกษตรกร 1 ล้านรายแรก ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แน่นอน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้มอบหมายให้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ทำหน้าที่นายทะเบียน รวบรวม และจัดทำระบบคัดกรองที่ถูกต้อง เพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกร

โดยจ่ายเงินช่วยเหลือโดยตรงผ่านบัญชี จำนวน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร ไม่เกิน 10 ล้านราย ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับการได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการเราไม่ทิ้งกัน และหลักเกณฑ์อื่นๆ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด รวมวงเงินของโครงการฯ ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ไม่เกิน 150,000 ล้านบาท

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ สศก. ในฐานะนายทะเบียน กล่าวว่า ขณะนี้ สำนักงบประมาณ ได้โอนงบประมาณให้ สศก. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 150,000 ล้านบาท โดย สศก. ดำเนินการจ่ายเช็คให้ ธ.ก.ส. ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เป็นรอบแรก จำนวน 25,000 ล้านบาท และ รอบต่อไปในวันที่ 20 พฤษภาคม 25,000 ล้านบาท หลังจากนั้นจะจ่ายให้กับ ธ.ก.ส. ทุกอาทิตย์ รวม 6 งวด เพื่อให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรต่อไป ซึ่ง ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่เกษตรกร

รอบแรกในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จำนวน 1 ล้านราย เป็นเงิน 5,000 ล้านบาท และดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรทุกวันๆ ละ 1 ล้านราย อย่างไรก็ตาม กรณีเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับธนาคารอื่นๆได้ โดยเตรียมหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารอื่น และเข้าไปที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com

ทั้งนี้ สศก. ได้เตรียมจัดตั้ง ศูนย์รับเรื่องอุทธรณ์ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากสาเหตุต่างๆ โดยจะแจ้งรายละเอียดช่องทางให้ทราบโดยเร็วต่อไป

กรุงเทพฯ 13 พฤษภาคม 2563 – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าออนไลน์สู่ตลาดโลกหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ถ.รัชดาภิเษก) โดยในงานสัมมนา นายจุรินทร์ได้ร่วมพูดคุยกับเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์จากภูมิภาคต่างๆ อาทิ นายสมภพ คูนาบุตร จากจังหวัดร้อยเอ็ดผู้ผลิตข้าวพองอบกรอบรสลาบร้อยเอ็ด

โดยนายจุรินทร์ ได้ชื่นชมว่าเป็นเกษตรตัวอย่างในการนำเกษตรมาผสมผสานกับวัตกรรม ซึ่งตรงกับสิ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และทำให้มีมูลค่าทางการค้าสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้พูดคุยกับ นางณัฐนิช กิจยานุรักษ์ ผู้ผลิตสินค้าเมล่อนกรอบ โดยใช้นวัตกรรมสูญญากาศผลิตร่วมกับเครือข่ายในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมากกว่า 10 ฟาร์ม และ นายชัยยศ จันทร์ทองสา ผู้ผลิตข้าวฮางงอกผสมธัญพืชตรากระติ๊บโต จากจังหวัดขอนแก่น ที่ต้องการเจาะกลุ่มผู้รักสุขภาพวีแกนและมังสวิรัติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ตอกย้ำความสำคัญของการตลาดและต้องการสร้างทัพหน้า ที่ทำหน้าที่เซลล์แมนออนไลน์บุกตลาดออนไลน์โลกให้สำเร็จ

นายจุรินทร์ กล่าวระหว่างการเปิดสัมมนาว่า งานสัมมนามิติใหม่ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าออนไลน์สู่ตลาดโลกหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่จัดโดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยโครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้หลักคิด “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ซึ่งได้มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานมีความสำคัญทั้งด้านการผลิตและการตลาด

จึงจำเป็นที่จะต้องทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค New Normal ทางเศรษฐกิจ โดยมีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มเข้าสู่อีคอมเมิร์ซหรือการค้าออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาท และทวีความสำคัญ โดยเฉพาะในขณะที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 ดังนั้นการจัดการสัมมนาอบรมออนไลน์

เพื่อส่งเสริมการส่งออกโดยระบบอีคอมเมิร์ซ และระบบออนไลน์ จึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตรเพราะมีความสำคัญต่อตัวเลขการส่งออกของประเทศ โดยพบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรมากถึง 40% และมีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากถึง 10 ล้านคน ดังนั้นการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความรู้ และสามารถขายสินค้าของตนเองบนแพลตฟอร์มออนไลนได้นั้น จะช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางในการกระจายสินค้าและเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้มีการดำเนินการในเรื่องของการตลาด เพื่อระบายพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด โดยเฉพาะการกระจายผลไม้ออกสู่ตลาด และได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่ากระทรวงพาณิชย์จะทำหน้าที่ทางการตลาด โดยเข้าไปช่วยเกษตรกรกระจายผลไม้ออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการขายแบบออฟไลน์ และออนไลน์ สำหรับการระบายผลไม้ของตลาดในประเทศผ่านรูปแบบออฟไลน์นั้น จะเป็นการระบายผลไม้ผ่านตลาดไท ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้าในแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต

ส่วนตลาดออนไลน์ สมัครยูฟ่าเบท จะมุ่งเน้นการระบายสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้เปิดโครงการ Thailand Fruits Golden Months ซึ่งเป็นการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศในช่วง 2 เดือนโดยเริ่มตั้งแต่พฤษภาคม-มิถุนายน 2563 โดยในช่วงดังกล่าวถือว่า เป็นช่วง 2 เดือนทองสำหรับการบริโภคผลไม้ของไทยคุณภาพในราคาพิเศษ