หลักสูตร : หรอยจังฮู้ข้าวแกงปักษ์ใต้ 7 รายการ

วันที่สอน : วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00-16.00 น.

09.00-09.30 น. ลงทะเบียน/รับประทานอาหารว่าง (กาแฟ ขนม ฯลฯ)
09.30-09.45 น. รู้จักผู้เรียน/ผู้สอน/สูตรที่จะสอน/วัตถุประสงค์/ฯลฯ
09.45-10.00 น. การทำเครื่องแกงปักษ์ใต้แบบตำมือ (แกงส้ม และแกงกะทิ)
10.00-12.30 น. สาธิตการปรุงแกงส้ม แกงกะทิ แกงคั่วกลิ้ง ไก่ต้มขมิ้น (หรือหมูต้มชะมวง) และยำมะม่วงเบา
12.30-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น. สาธิตการทำแกงแบบงานวัด (จะทำหม้อใหญ่หรือแกงในกระทะ) รวม 2 แกง คือ แกงน้ำเคย (หรือแกงไตปลา) และ แกงหมูแบบงานวัด
15.00-16.00 น. สรุปบทเรียน การเปิดร้านขาย การต่อยอดจากแกงหลักให้เป็นแกงชนิดต่างๆ การจัดซื้อวัตถุดิบ ต้นทุนกำไร ฯลฯ
อนึ่ง หลักสูตรหรอยจังฮู้ข้าวแกงปักษ์ใต้ 7 รายการที่เปิดสอนนี้ เป็นสูตรแบบพื้นบ้าน (รสดั้งเดิม) เหมาะกับทำกินในครอบครัว หรือพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพก็ได้เช่นกัน

สถานที่สอน : หมู่บ้านชัยพฤกษ์ เลขที่ 99/122 ซอย 8/1B ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ค่าเรียน : ท่านละ 2,500 บาท (แถมหนังสือ ภูมิปัญญาอาหารไทยภาคใต้ ชุดเคล็ดลับจากแม่ “หรอยจังฮู้” จำนวน 1 เล่ม)

วิธีสมัครเรียน : สมัครได้ที่ โทร.ไอดีไลน์ 089 7877373 (คุณภัทรานิษฐ์) หลังจากสมัครแล้วทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี ภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ

หมายเหตุ : 1.กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม 2.ในการเรียนจะใช้เครื่องแกงสำเร็จรูป แต่จะอธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องแกงทำมือ 3.หลังอบรมจะมีกลุ่มไลน์ให้คำแนะนำจนสามารถทำได้จริง

กรมส่งเสริมการเกษตรจัด Kick Off รณรงค์ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ดึงชุมชนมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึก และนำวัสดุเหลือใช้ไปทำประโยชน์ หวังลดฝุ่นพิษ PM 2.5 เข้าชุมชนเมือง เมื่อวันที่ 28 ม.ค.นี้ ณ ศพก.นครชัยศรี จ.นครปฐม

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ปัญหาการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ป่าได้ส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเกิดฝุ่นมลพิษ หรือ PM 2.5 ในเขตชุมชนเมืองและอีกหลายพื้นที่รอบปริมณฑล ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาในไร่นาทั้งตอซังฟางข้าว ใบข้าวโพด และใบอ้อย กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้กำหนดจัดงาน “รณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร” หรือ Kick Off จุดแรก วันที่ 28 มกราคม 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านแหลมบัว หมู่ 8 ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และเร่งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรรับทราบ โดยรณรงค์เพื่อส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรขยายผลเพิ่มอีก 42 จังหวัด รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้และจิตสำนึกของเกษตรกรให้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ศพก. ซึ่งเป็นต้นแบบก่อนขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ ในชุมชน ให้สามารถลดปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีทดแทนการเผาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนต่อไป

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายความรู้และภาพรวมกิจกรรมของ ศพก. นครชัยศรี โดย นายณรงค์ กลิ่นถือศีล ประธาน ศพก.อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม การให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยการจัดนิทรรศการและการสาธิตเทคโนโลยีการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สาธิตการไถกลบตอซังและฟางข้าว โดยบริษัท คูโบต้า จำกัด สาธิตการอัดฟางก้อน โดย ศพก.นครชัยศรี สาธิตการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า และการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง ฝุ่น PM 2.5 โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครปฐม และการบรรยายพิเศษเรื่อง เตาชีวมวล เตาเผาถ่าน โดยสำนักงานพลังงาน จังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรเข้าร่วมงานกว่า 300 ราย

“สำหรับการไถกลบตอซังและฟางข้าวจะช่วยคลุกเคล้าปรับปรุงบำรุงดิน ช่วยย่อยสลายและเพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมากขึ้น นอกจากนี้ การอัดฟางก้อนก็มีประโยชน์เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากการขายฟ่อนฟางเพื่อนำไปใช้เพาะเห็ด หรือเป็นอาหารสัตว์ช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง จึงอยากจะฝากไปถึงเกษตรกรที่ยังเผาวัสดุการเกษตรของตนเอง ก็เหมือนกับการสูบบุหรี่ที่เป็นการเผาตัวเอง เผาปอดและสุขภาพของคนที่ตนเองรัก และต้องระวังโทษตามกฎหมายด้วย ดังนั้น ขอเชิญชวนมาร่วมรณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความชื้นในดิน ลดภาวะโลกร้อน และลดปัญหาฝุ่นหมอกควันครับ” อธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ด้าน นายบุญเลี้ยง ข่ายม่าน เกษตรจังหวัดนครปฐม กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการจัดงานรณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตรว่า ต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ ด้วยการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและนำเสนอทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดการเผา เมื่อเกษตรกรหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรแล้วก็จะได้สิ่งดี ๆ 5 อย่างคือ อากาศดี สุขภาพดี เศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี และได้ปุ๋ยดีจากธรรมชาติ “หากไม่เผาก็จะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นตามมา เปรียบเสมือนความร่ำรวย ดั่งเช่นหุ่นไล่กาที่ได้ตั้งโชว์ในแปลงสาธิตการไถกลบตอซังและการอัดฟางก้อน ที่แขวนสร้อยเส้นโตเท่าโซ่รถไฟ” โดยการจัดงานครั้งนี้จะนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวคำสัตยาบันของเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา จังหวัดนครปฐม เพื่องดเว้นการเผาโดยเด็ดขาด รวมทั้งเฝ้าระวัง และสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเผาและหมอกควันในท้องที่จังหวัดนครปฐม ตลอดจนนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับจังหวัดนครปฐม และชุมชนในพื้นที่ จัด Kick Off รณรงค์ส่งเสริมวินัยการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ดึงชุมชนมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึก และนำวัสดุเหลือใช้ไปทำประโยชน์ หวังลดฝุ่นพิษ PM 2.5 เข้าชุมชนเมือง https://bit.ly/36zZPSf โดยไฮไลท์ของงานนี้ คือความร่วมมือของเหล่าเกษตรกรในชุมชนที่มากันร่วม 300 คน และได้กล่าวคำสัตยาบันว่าจะทำการเกษตรปลอดการเผาหรือไม่เผาอีกต่อไป

นายณรงค์ กลิ่นถือศีล ประธาน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาสินค้าเกษตร(ศพก.) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ผู้นำเกษตรกรกล่าวคำสัตยาบันกล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาตนเเป็นมือหนึ่งในการเผาฟางเช่นกัน ทำอย่างไรจึงจะเผาให้เรียบทั้งนา คิดหาวิธีการต่างๆจนชำนาญ แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นมันเกิดกับตัวเองด้วย ไม่ได้เกิดแต่กับคนอื่น และเรามาคิดว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ เคยไปที่ตลาดช่วงบ่ายๆ เวลาเขามีเผาฟางแม่ค้าก็จะด่าว่าใครเผาฟางอีกแล้ว จนเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจึงหยุดเผาฟาง มีการพัฒนาปรับโครงสร้างดิน เคยมีแมคโครมาขุดปรับสภาพพื้นที่นาใหม่ เขาบอกว่าดินของเรานิ่มมีความสมบูรณ์ดีมาก เคยเจอแต่ดินแข็งๆ เราคิดว่าเพราะเกิดจากการที่เราไม่เผาฟาง เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ที่เผาฟาง เพราะคิดว่ากระบวนการมันยุ่งยาก ฟางมันจะติดผานทำให้ไถยาก แต่จริงๆแล้วปัจจุบันนี้มีจุลินทรีย์มาช่วยย่อยสลาย หมัก 15 วันก็ย่อยแล้ว ไม่ยุ่งยากอะไรเลย หลายปีมานี้จึงสร้างชีวิตให้กับดินเกิดขึ้นได้

“ถ้าอนาคตเรามอบที่ดินนี้ให้กับลูกหลาน ผืนดินนี้ลูกหลานก็ยังทำกินได้ต่อ ลูกหลานก็ยังนึกถึงบุญคุณของเราว่าพ่อแม่ได้สร้างคุณประโยชน์นี้ไว้ให้กับผืนดินมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกหลานกลับมาด่าว่าเราใช้เคมีในยุคของเรา ทั้งเผาทั้งใช้เคมีทำให้ดินเสีย ส่งต่อให้ลูกหลานก็ต้องมาแก้ใหม่ เริ่มต้นใหม่ แต่ถ้าเราเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ สร้างเพื่อให้ลูกหลานของเรา เพื่อให้เขาได้มีผืนดินที่ดี อาชีพที่ดี ก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐแล้ว”

สำหรับคำกล่าวสัตยาบันของเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา จังหวัดนครปฐม มีใจความดังต่อไปนี้

ข้าพเจ้านาย/นาง………… เครือข่ายเกษตรปลอดการเผาจังหวัดนครปฐม ขอให้คำสัตยาบันต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ณ ที่แห่งนี้ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรปลอดการเผาจังหวัดนครปฐม ดังนี้

ข้อ 1 ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามประกาศจังหวัดนครปฐม เรื่องการงดเว้นการเผาโดยเด็ดขาด การเฝ้าระวังและการสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเผาและหมอกควันในท้องที่จังหวัดนครปฐม

ข้อ 2 ข้าพเจ้าจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร ในพื้นที่ของข้าพเจ้า และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

อนึ่ง หลังกล่าวคำสัตยาบันผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้ถ่ายภาพร่วมกัน และเดินชมนิทรรศการต่างๆ ที่ล้วนให้ความรู้และสนับสนุนการทำเกษตรแบบไม่เผา เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม และที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นจุดที่สาธิตการไถกลบตอซังข้าวและอัดก้อนฟาง ทางเกษตรจังหวัดนครปฐมได้สร้างหุ่นฟางเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย โดยแขวนสร้อยคอทองคำเส้นใหญ่เท่าโซ่รถไฟ(เปรียบเทียบ)และห้อยพระองค์ใหญ่ที่มีข้อความว่ารวย อันตีความหมายได้ว่า ใครทำเกษตรไม่เผาก็จะนำความผาสุขความร่ำรวยมาสู่ชีวิต “ใครไม่เผาขอให้รวย” ด้วยประการฉะนี้เอง

VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ สุขภาพและโภชนาการสัตว์ครบวงจรครั้งแรกของเอเชีย พร้อมเปิดปรากฎการณ์ความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่จากสองผู้จัดงานมืออาชีพ โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24- 26 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค พบกับผู้เข้าร่วมแสดงงานกว่า 400 ราย บนพื้นที่จัดแสดงงานกว่า 17,800 ตร.ม. พร้อมตอบโจทย์ผู้เข้าเยี่ยมชมงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ไปจนถึงเรื่องของสุขภาพสัตว์ และเวชภัณฑ์สัตว์ นอกจากนี้ ภายในงานยังนำเสนอหลากหลายงานประชุมและงานสัมมนาโดยวิทยากรชั้นนำจากนานาประเทศ ด้วยหัวข้องานสัมมนาที่หลากหลายและครอบคลุม เพื่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเทคโนโลยีผลิตอาหารสัตว์ สารอาหารและโภชนาการสัตว์ ตลอดจนสุขภาพสัตว์แบบเต็มอิ่ม

สำหรับผู้เข้าชมงานจะได้เยี่ยมชมงานอย่างจุใจด้วยพื้นที่การจัดงาน 3 ฮอลล์แสดงสินค้า เพื่ออัปเดทและเจรจาธุรกิจในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยท่านจะได้พบปะกับผู้เชี่ยวชาญในวงการ กลุ่มผู้ซื้อรายสำคัญมากกว่า 9,000 ราย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเจ้าของกิจการ CEOs, นักพัฒนาสูตรอาหารสัตว์, ผู้จัดการโรงสี,นักโภชนาการ, ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ, สัตว์แพทย์, สถาบันการศึกษา, และอื่นๆอีกมากมาย

“ประเทศไทย เป็นหนึ่งในพื้นที่การจัดงานที่เราไว้วางใจและเชื่อมั่นในการเป็นศูนย์กลางการจัดงานของภูมิภาคเอเชียมานานกว่า 30 ปี ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยมีตลาดการค้าที่มีศักยภาพในแง่ของการลงทุน ผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่ายที่มีคุณภาพ” Sebas van den Ende, ผู้จัดการทั่วไปของ Victam International กล่าว

“งาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 ได้ถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจสำคัญต่างๆ ในอุตสาหกรรม รวมถึงกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมายทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดที่สำคัญทั่วโลก เรามีการสร้างแคมเปญ “Industry Leaders Program” ซึ่งเป็นแคมเปญที่จะคัดสรรกลุ่มผู้ซื้อรายสำคัญจากทั่วอุตสาหกรรมมากถึว 150 ราย โดยเรียนเชิญให้มาเป็นแขกคนพิเศษเพื่อมาเยี่ยมชมงานพร้อมด้วยสิทธิพิเศษต่างๆอีกมากมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการภายในงาน” Heiko M. Stutzinger ผู้อำนวยการ VIV worldwide และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค กล่าวเสริม

คณะผู้จัดงานได้มีการประชาสัมพันธ์การจัดงานในครั้งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การจัดงานแถลงข่าวที่ประเทศพม่า ในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา จนกระทั่งการมาถึงการจัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia 2020 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม ที่โรงแรมเดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

ภายในงานแถลงข่าว คุณ Sebas van den Ende และ คุณ Heiko M. Stutzinger ยังได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ รวมถึงเล่าถึงที่มาของความร่วมมือระหว่าง VICTAM และ VIV และสิ่งที่น่าสนใจภายในงาน รวมถึงมีการนำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจัดแสดงงานจากผู้เข้าร่วมแสดงงานบางส่วนด้วย

พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2563 ณ บริเวณ V-Square ใน ฮอลล์ 100-101 ที่ไบเทค ตั้งแต่เวลา 10.30 – 11.30 น. ซึ่ง V-Square จะเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ใหม่ในปีนี้ บริเวณ V-Square เป็นเสมือนเวทีที่จัดสรรไว้เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในช่วงจัดงาน ไม่ว่าจะเป็น พิธีเปิดงาน งานเลี้ยงรับรอง และ เลานจ์สำหรับแขก VIP ทางผู้จัดงานได้ตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า V-Square มาจากตัว V ของ VICTAM และ VIV พันธมิตรทั้ง 2 ของการจัดงานในครั้งนี้

ในงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia มีการจัดประชุมและสัมมนาทางเทคนิคที่มีคุณภาพมากมายในด้านของเทคโนโลยีผลิตอาหารสัตว์ สารอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ ตั้งแต่หัวข้อแนวโน้มและทิศทางในอนาคตของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ, ความยั่งยืนของอาหารสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงมุมมองเกี่ยวกับการทำงานและโภชนาการของโปรตีนจากแมลงและยาปฏิชีวนะทางเลือก นี่เป็นหัวข้อส่วนหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่ามางานเดียว ท่านจะสามารถอัพเดทข่าวสารความรู้ใหม่ๆ ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมตลาดจนเทรนด์ใหม่อย่างแท้จริง ภายในงาน VICTAM and Animal Health and Nutrition Asia จะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมมากมาย อาทิ Andritz, Biomin, Buhler, DSM, Famsun, Impextraco, Kemin, K-PRO, Trouw Nutrition, Van Aarsen

อนึ่ง จากความสำเร็จของการร่วมมือกันจัดงานที่กรุงเทพแล้ว ทั้ง VICTAM และ VIV worldwide ยังสานต่อความร่วมมือยกระดับการจัดงานแสดงสินค้าครั้งสำคัญต่างทวีป โดยงาน VICTAM International exhibition และ VIV Europe 2022 กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 ณ Jaarbeurs เมืองอูเทรคต์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ในงานแถลงข่าวที่กรุงเทพที่แรกของโลก

คณะผู้จัดงานทั้ง VICTAM และ VIV พร้อมอย่างยิ่งที่จะต้อนรับผู้เข้าชมงานทุกท่าน ตั้งแต่วันที่ 24 – 26 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของงานและผู้จัดงานแนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าทางออนไลน์เพื่อรับบัตรเข้าชมงานได้อย่างรวดเร็วได้ที่เว็บไซต์

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการประทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาปักษ์ใต้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสวนจันทร์ศรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเยี่ยมชมกิจกรรมการผลิต ลูกค้า ธ.ก.ส.ประกอบด้วยการทำผ้าลายเพ้นท์ การแปรรูปรังนกรังแอ่น เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ การแปรรูปอาหารทะเล การทำเครื่องประดับถมทอง การนำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง และยา เป็นต้น โดยมี นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. นายกษาปณ์ เงินรวง นายเสกสรรค์ จันทร์ขวาง ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้บริหารและพนักงานในพื้นที่ให้การต้อนรับ ณ แหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านสวนจันทร์ศรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ขับเคลื่อนโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจฐานรากที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมการผลิต กิจกรรมการซื้อ-ขายผลผลิต และการบริโภคของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้ทรัพยากรของชุมชน มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเกื้อกูลและเป็นธรรม มีแนวทางในการขับเคลื่อนที่เริ่มจากการค้นหาและศึกษาความต้องการของชุมชน ทั้งโอกาส ศักยภาพ ปัญหา แนวทางพัฒนาและแก้ไข เหมือนการระเบิดจากภายใน จากนั้นจึงเริ่มพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง โดยยึดหลักตลาดนำการผลิตและมีการกำหนดแผนธุรกิจที่ชัดเจน ผสานความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในด้านการให้ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม งานวิจัย และงบประมาณ อีกทั้ง ธ.ก.ส. ยังช่วยสนับสนุนสินเชื่อให้กับ Smart Farmer ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้ สวัสดิการสังคม และโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนของการดำเนินงาน ธ.ก.ส. ได้มีการอบรมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแก่พนักงานทั่วประเทศ โดยมอบหมายพนักงานพัฒนาลูกค้าดูแลรับผิดชอบธุรกิจชุมชนโดยตรง พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนระดับจังหวัดและอำเภอ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจชุมชนทั้ง 77 จังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางผสานความร่วมมือจากเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมและภาคประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย วงเงิน 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 0.01 ต่อปี และสินเชื่ออื่น ๆ ตามแผนธุรกิจที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละชุมชน เพื่อใช้ในการลงทุนและพัฒนารวมกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเกษตรกร สถาบันการเงินประชาชน วิสาหกิจเพื่อสังคม วิสาหกิจชุมชน Smart Farmer SMEs เกษตรที่เป็นหัวขบวน และสหกรณ์การเกษตร

โดย ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ธ.ก.ส. ได้ขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนไปแล้วกว่า 502 ชุมชนทั่วประเทศ โดยในส่วนของพื้นที่ภาคใต้มีธุรกิจชุมชน จำนวน 27 ชุมชน ทั้งนี้ ภายในงาน ธ.ก.ส. ได้นำเสนอผลการพัฒนาชุมชน ได้แก่ โครงการการจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรอย่างบูรณาการ ประกอบด้วย การจัดการยางพารา โดยสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังไทร ตั้งแต่การผลิตน้ำยางสด การแปรรูปยางแท่งและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากยาง ส่งขายภายในประเทศ ซึ่งในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสถาบันการเงินชุมชนได้ระดมเงินทุนจากสมาชิกเพื่อลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราและอุปกรณ์กว่า 69 ล้านบาท คาดว่าเมื่อเปิดโรงงานแล้วจะมีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 116 ล้านบาท โดยจะขอรับการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทยจาก ธ.ก.ส. ประมาณ 120 ล้านบาท

นอกจากนี้ ได้นำเสนอตัวอย่างการปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกยางไปสู่การปลูกไผ่ การเลี้ยงโค หรือการปลูกต้นกาแฟ การทำปาล์มคุณภาพเพื่อยกระดับชีวิตเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร พังงา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และกระบี่ ซึ่งมีการเชื่อมโยงเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และเกษตรแปลงใหญ่ที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ไปสู่การรวบรวมปาล์ม และนำไปแปรรูปสกัดเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคและน้ำมันไบโอดีเซลช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การผลิตมังคุดคุณภาพ รวบรวมมังคุดคุณภาพจากเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน ส่งตลาดที่รับซื้อทั่วประเทศและเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการห่วงโซ่คุณภาพอย่างบูรณาการของโคเนื้อ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี บ้านควนสวรรค์ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดกระบี่

สยามคูโบต้า นำคณะสื่อมวลชน เยี่ยมชม KUBOTA Farm ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ ของภูมิภาคอาเซียน เปิดทั้ง 9 โซน ชูจุดเด่นของ KUBOTA (Agri) Solutions นำนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจรสร้างประสบการณ์เพาะปลูกด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ หวังให้ KUBOTA Farm เป็นโมเดลนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ของอาเซียน

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส เปิดเผยวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง KUBOTA Farm ว่า “จุดเริ่มต้นมาจากเราคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก (Customer Centric) มุ่งหวังให้เกษตรกรได้เข้าถึงทุกนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง ผ่านการลงมือทำและเห็นด้วยตาตนเอง จึงได้เริ่มพัฒนา คูโบต้า ฟาร์ม ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2561 ต่อยอดจากแนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS ซึ่งเป็นการจัดการเกษตรกรรมครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า ด้วยการใช้เทคนิคการเพาะปลูกผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมีระบบจัดการฟาร์มที่ช่วยในการวางแผน ปฏิบัติการ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขในการทำการเกษตร รวมถึงการใช้โดรนฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ทดแทนแรงงานคน โดยนำเสนอเทคโนโลยี loT และ Robot ในการช่วยลดแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแม่นยำมากขึ้น เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ ผลผลิตและรายได้ ตลอดจนยกระดับและสร้างมาตรฐานเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรรวมไปถึงสิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของเกษตรกรไทย”

KUBOTA Farm ฟาร์มสร้างประสบการณ์จริงในการเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ ให้ความรู้และเน้นการปฏิบัติจริงในการทำการเกษตรเต็มรูปแบบแห่งแรกในอาเซียน มีเนื้อที่กว่า 220 ไร่ ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions ที่มีออกแบบและติดตั้งระบบจัดการฟาร์มด้วย IoT (Internet of Things) มาใช้ในระบบบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ต้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจด้านการเกษตรได้รู้จักและทดลองใช้งานนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอันทันสมัยของสยามคูโบต้า

โดยภายใน KUBOTA Farm มีโซนต่างๆ 9 โซน ดังนี้
โซนให้คำปรึกษาเกษตรครบวงจร ซึ่งจะเป็นโซนแนะนำการทำเกษตรแบบครบวงจรของสยามคูโบต้าและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตร
โซนเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา การนำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำเกษตรมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งในโซนนี้ สยามคูโบต้ามุ่งนำเสนอ 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. Zero Broadcast (โครงการปลอดนาหว่าน) โดยแสดงตัวอย่างด้วยการส่งเสริม 3 วิธีด้วยกัน คือ การปักดำ การหยอดน้ำตม และ การหยอดข้าวแห้ง 2. KAS Crop Calendar ปฏิทินการเพาะปลูก 3. Zero Burn (โครงการเกษตรปลอดการเผา) โดยแนะนำวิธีการและนวัตกรรมเกษตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการลดการเผาหลังจากเก็บเกี่ยว 4. การปลูกพืชหลังนาเพิ่มรายได้ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลังนา เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง หรือ ถั่วเขียว 5. การใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มผลผลิตในข้าว ด้วยเครื่องจักรกลอัจฉริยะอย่าง KUBOTA Intelligent Solutions (KIS) ซึ่งคือ ระบบ GPS telematics ที่จะมาช่วยให้สามารถระบุพิกัดของเครื่องจักรกลคูโบต้าและสามารถดึงข้อมูลรายงานออกมาให้เกษตรกรพัฒนาประสิทธิภาพการทำเกษตรได้ รวมทั้งยังมีการสาธิตการใช้งานโดรนเพื่อการเกษตร ระบบควบคุมทิศทางอัตโนมัติ ตลอดจนสถานีวัดสภาพอากาศ ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันบริหารเครื่องจักรกลอย่างมีประสิทธิภาพ

โซนเกษตรสมัยใหม่พืชไร่ แสดงรูปแบบการเพาะปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพดด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรครบวงจรในทุกขั้นตอนการเพาะปลูก เทคนิคการลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร ด้วยโซลูชั่นเกษตรครบวงจร แนะแนวทางการจัดการน้ำ เทคนิคการปลูกอ้อยน้ำน้อย การปรับระดับดินตามแนวความลาดชันด้วยเลเซอร์ ตลอดจนแนะนำวิธีการและนวัตกรรมเกษตรต่างๆ ที่เหมาะสมในการลดการเผาหลังจากเก็บเกี่ยว (Zero Burn)

โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ สมัคร SBOBET ที่น้อมนำแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้า และนำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนารูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ เช่น ระบบน้ำสั่งการด้วย Smart Device เทคโนโลยีวัดความหวานเพื่อเพิ่มมูลค่า เทคโนโลยีเครื่องปลูกผักกึ่งอัตโนมัติ เทคโนโลยีเตรียมแปลงปลูกผัก เทคโนโลยีเพาะกล้าผัก และการปลูกพืชในโรงเรือน มุ่งเน้นการบริหารจัดการให้สร้างรายได้เป็นแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เป็นต้น