โซนก่อสร้าง นำเสนอโซลูชั่นเครื่องจักรกลสำหรับธุรกิจรับเหมา

การเกษตรแบบมืออาชีพ การขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม หรือภัยแล้ง โซนวิจัยเกษตรโซนปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ นำเสนอรูปแบบการเพาะปลูกเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้า และการสร้างรายได้จากการปลูกพืชเสริมในร่อง หรือแถวระหว่างต้น
โซนวิจัยเกษตรครบวงจร วิจัยและพัฒนาโซลูชั่นเกษตรครบวงจรด้วยนวัตกรรมเกษตร รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพดิน ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน
โซนอบรมเกษตรครบวงจร พื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรครบวงจรให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อให้เกิดทักษะและนำกลับไปใช้พัฒนาในพื้นที่ของตนเองได้
โซนสร้างประสบการณ์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้า พื้นที่สำหรับทดลองใช้และเลือกเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกของเกษตรกร

“ซึ่งเราคาดหวังว่าเกษตรกร หรือผู้เข้าเยี่ยมชมจะเกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์จริง ได้มีโอกาสทดสอบ ทดลองด้วยตนเอง เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับหากใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกับโซลูชั่นองค์ความรู้ของสยามคูโบต้า เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในอนาคต ที่มุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์คูโบต้าเสมือนเพื่อนที่คอยอยู่เคียงข้าง ตามแนวคิด On Your Side พร้อมตั้งเป้าพัฒนา KUBOTA Farm ให้เป็นโมเดลนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ของอาเซียน มุ่งยกระดับภาคการเกษตรอาเซียนเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการผลิตแบบยั่งยืน โดยที่ผ่านมามีคณะจากหน่วยงานราชการ องค์กรพันธมิตร และเกษตรกรจากทั่วประเทศและในอาเซียนให้ความสนใจเข้าร่วมศึกษาดูงานแล้วกว่า 7,700 ราย ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 10,000 รายในแต่ละปี” นายสมศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังได้รับมอบหมายจาก นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 134-135 ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 โดยมุ่งเน้นว่าจะต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสม

เพื่อให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง มีหลักการทำงาน คือ 1) การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ซึ่งมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลัก ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพผลไม้ทั้งในและนอกฤดู การส่งเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านไม้ผล และ 2) การบริหารจัดการเชิงปริมาณ ปรับสมดุลข้อมูลของอุปสงค์และอุปทาน โดยกระทรวงเกษตรฯ ชี้เป้าการผลิตให้ชัดเจน โดยจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิต (Supply)

ส่วนกระทรวงพาณิชย์เชื่อมโยงและหาตลาดรองรับผลผลิต โดยจัดทำข้อมูลความต้องการทางการตลาด (Demand) ตลอดจน คพจ. ปรับสมดุลข้อมูลของอุปทานและอุปสงค์และจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุรองรับปริมาณผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ซึ่งมุ่งหวังให้เกษตรกรยังสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม มีราคามาตรฐานที่เกษตรกรขายได้ไม่ต่ำกว่า ต้นทุน + กำไร 30% มาตรการจะจัดทำเป็นแผนบริหารจัดการเชิงรุก มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบด้านการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน GAP, มกษ. สถานประกอบการ (ล้ง) ผ่านการรับรอง GMP และกระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบด้านการตลาด การกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ให้มีความคล่องตัว

การผลักดันการส่งออก การเปิดตลาดต่างประเทศแห่งใหม่ เช่น อินเดีย ส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตผ่านช่องทางสมัยใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 3. การบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน ทั้งกลไกปกติ และมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดผลผลิตส่วนเกินในช่วง peak โดยเฉพาะทุเรียนต้องเตรียมแผนรองรับการส่งออกไปจีน ซึ่งเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จะต้องวางแผนการกระจายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การแปรรูป การแช่แข็ง รวมถึงประชาสัมพันธ์กระตุ้นการบริโภคในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จนสิ้นสุดฤดูกาล

นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้มีการรายงานคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคเหนือ ปี 2563 ณ วันที่ 24 ม.ค.63 ดังนี้ ลำไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีผลผลิตรวม 699,815 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 74,48979,436 ตัน หรือร้อยละ 13.75 12.80 โดยแยกเป็นลำไยในฤดู 439,850 ตัน ลำไยนอกฤดู 259,965 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน ส.ค. ส่วนลิ้นจี่มีผลผลิตรวม 33,873 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 11,783 ตัน หรือร้อยละ 53.34 ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือน พ.ค. สำหรับการคาดการณ์ข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 63 (ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง) ผลผลิตทุเรียนรวม 599,708 ตันเพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 104,165 ตัน หรือ ร้อยละ 21.02 ผลผลิตมังคุดรวม 204,745 ตัน เพิ่มขึ้น 25,135 ตัน หรือร้อยละ 13.99 ผลผลิตเงาะรวม 224,390 ตัน เพิ่มขึ้น 33,301 ตัน หรือร้อยละ 17.43 และผลผลิตลองกองรวม 24,173 เพิ่มขึ้น 3,880 ตัน หรือร้อยละ 19.12 โดยทุเรียนจะออกมากช่วงเดือน เม.ย. ต่อเนื่องถึง พ.ค.63 ซึ่งจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกชนิด เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาดี จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ยังได้เตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2564 – 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 – 2570) มีสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2565 – 2570 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการผลไม้ในการผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าไม้ผล ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดไม้ผลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข้มแข็งและความเสมอภาคให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรไม้ผล และยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตผลไม้ครบวงจร

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเวทีเสวนา นำผู้เกี่ยวข้องกว่า 1,000 คน รับทราบแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทยเพื่อร่วมขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติตามหลักวิชาการ ป้องกันการปนเปื้อนชั้นน้ำบาดาลและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม เสวนา “การเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย” พร้อมส่งมอบ “เกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย” ให้กับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพไทย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สถาบันการศึกษา จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเติมน้ำใต้ดินต่อไป

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ลดลง ทำให้ปริมาณการซึมของน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลน้อยลง เพราะเมื่อฝนตกลงมา แต่ไม่มีต้นไม้คอยดูดซับชะลอการไหลของน้ำ จึงทำให้น้ำท่าไหลลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน แม่น้ำลำคลองอย่างรวดเร็ว และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฝนตกหนักช่วงเวลาสั้นๆ แล้วทิ้งช่วง มาไวไปไวทำให้ไม่มีเวลานานพอที่จะหน่วงน้ำฝนให้ไหลซึมลงสู่น้ำใต้ดินตามธรรมชาติ ปริมาณการเพิ่มเติมน้ำสู่ชั้นน้ำบาดาล จึงน้อยลง เมื่อมีภาวะฝนทิ้งช่วงและปริมาณฝนลดลง ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนและแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณลดลงด้วย เกิดภาวะภัยแล้งเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้น้ำบาดาลซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญในการอุปโภคบริโภคและกระบวนการผลิตของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ได้ถูกสูบขึ้นมาใช้เพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ระดับน้ำบาดาลลดลงอย่างต่อเนื่อง และชั้นน้ำบาดาลมีโอกาสเสียสมดุลตามธรรมชาติ

ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กำหนดแนวทางแก้ไขด้วยวิธีการเติมน้ำใต้ดิน หมายถึง นำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงน้ำท่วมหลากหรือจากน้ำฝนที่ตกลงมาเติมลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และนำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เป็นการช่วยธรรมชาติฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล แก้ไขปัญหาการลดระดับลงของชั้นน้ำบาดาลให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ช่วยระบายน้ำและลดปริมาณน้ำ ที่สำคัญรูปแบบและวิธีการเติมน้ำใต้ดินที่เหมาะสม จะเพิ่มความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณ ทั้งนี้ การเสวนา “การเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย” ครั้งนี้ ได้เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กลุ่มผู้ใช้น้ำจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมแล้วกว่า 1,000 คน มารับทราบนโยบายแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย รวมทั้งร่วมเสวนาการขับเคลื่อนแนวทางมาตรฐานการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทยไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสื่อสารและส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้เรื่อง “การเติมน้ำใต้ดิน” ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีมาตรฐาน ป้องกันไม่ให้ชั้นน้ำบาดาลเกิดการปนเปื้อน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต ไปบอกกล่าวและเผยแพร่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้รับทราบต่อไป

ด้าน นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายภาคส่วนและหลายหน่วยงานมีการกล่าวถึงและดำเนินการในเรื่องของการเติมน้ำใต้ดิน ประกอบกับประชาชนมีความเชื่อว่าการทำธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมได้ จึงทำให้นิยมทำธนาคารน้ำใต้ดินกันอย่างแพร่หลาย โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดได้ว่า ธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จริง และก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีการติดตามประเมินผล ดังนั้น ในการเสวนาในวันนี้ จึงเป็นบทสรุปที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมทำความเข้าใจและให้การยอมรับในหลักเกณฑ์และแนวทางการเติมน้ำใต้ดินของประเทศไทย ที่มีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องพื้นที่ และรูปแบบวิชาการที่เหมาะสม แหล่งน้ำที่จะใช้เติมและคุณภาพน้ำทั้งก่อนและหลังการเติม โดยมีมาตรฐานหรือกลไกการกำกับดูแล รวมทั้งประเมินผลกระทบและการบริหารจัดการในระยะยาวต่อไป

“ผมเกิดอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ครับ แล้วได้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพ และได้เจอกับภรรยา หลังจากแต่งงานกันแล้วก็หอบผ้าหนีตามเมียมาอยู่ที่บ้านแม่แจ๋มแห่งนี้ เป็นเวลา 15 ปีแล้วครับ”

แดง-กฤตภาส แก้วคำไสย์ ย้อนอดีตให้ฟังในขณะที่ภรรยา คือ หน่อย-ผกามาศ แก้วคำไสย์ และบุตรชาย กำลังสาละวนอยู่กับการคั่วเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า บนชานเรือนที่กำลังอยู่ระหว่างการตกแต่งเพื่อเปิดเป็นร้านจำหน่ายกาแฟสด

บ้านแม่แจ๋ม ชุมชนเล็กๆ ของอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นถิ่นที่อยู่ของประชาชนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ท่ามกลางขุนเขาอันสลับซับซ้อน มีความสูงราว 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่มีสายน้ำไหลลัดเลาะผ่านกลางชุมชน ภูมิประเทศของที่นี่เต็มไปดอยสูงที่ปกคลุมด้วยไม้ป่านานาพันธุ์ สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบาย สามารถมาท่องเที่ยวชมความงาม สัมผัสบรรยากาศ และวิถีชีวิตที่เงียบสงบได้ตลอดทั้งปี

โดยชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าได้ผลผลิตคุณภาพดีมาก เดิมนั้นจะรวบรวมผลผลิตส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลาง แต่ระยะหลังมานี้ เกิดผู้ประกอบการชุมชนขึ้นมาหลายราย ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่นำโดย นายพนนิษฐ์ ไหวพินิจ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาเมืองปาน จังหวัดลำปาง หรือที่คนในพื้นที่เรียกขานกันว่าผู้การพนาที่เข้ามาช่วยในด้านการพัฒนาทั้งองค์ความรู้และเงินทุนจนก่อเกิดอาชีพการผลิตและจำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “กาแฟคั่วมือดอยแจ๋ม”

“ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่เน้นการทำมือตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงการผลิตออกมาเป็นกาแฟสดพร้อมดื่มในชื่อ กาแฟคั่วมือดอยแจ๋ม ถือเป็นหนึ่งเดียวของหมู่บ้านแห่งนี้ ที่อยากให้ทุกคนได้มาชิม จะได้เห็นว่าเกษตรกรรายเล็กๆนั้นก็สามารถเป็นประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งทางธ.กส.สาขาเมืองปานนั้นมีเป้าหมายที่จะช่วยเกษตรกรในทุกระดับไม่ว่า รายเล็ก หรือรายใหญ่ ให้สามารก้าวไปสู่ความสำเร็จได้เหมือนกันหมด เหมือนกับที่กาแฟคั่วมือดอยแม่แจ๋มแห่งนี้ ที่ครั้งแรกที่ได้มาชิมก็พบว่า มีจุดที่น่าสนใจและควรส่งเสริมให้เดินไปด้วยกันเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของเกษตรกร ซึ่งวันนี้ได้เห็นชัดแล้วถึงการเริ่มต้นสู่ความสำเร็จ” ผู้การพนา กล่าวว่า

“ทุกอย่างที่ผมทำวันนี้ ผมวางแผนไว้นานแล้วครับ แต่ทำไม่ได้เพราะไม่มีทุน แต่เมื่อธ.ก.ส.เข้ามา ได้ช่วยทำให้ฝันของผมเป็นจริง ทุกอย่างที่คิดไว้ได้ทำจริงแล้วครับ” แดง กล่าว

เน้นจุดขาย ปลูกเอง ทำเอง

“ที่สวนของผมตอนนี้มีทั้งการปลูกพืชผักเมืองหนาวนานาชนิด โดยผลผลิตจะส่งจำหน่ายให้กับทางโครงการหลวง และการปลูกกาแฟ เดิมนั้นจะเน้นการจำหน่ายเมล็ดกาแฟ แต่ตอนนี้เราได้พัฒนามาอีกก้าวแปรรูปและสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของเราเองจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง รวมถึงการเปิดร้านจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวได้ดื่มด่ำทั้งรสชาติกาแฟคั่วมือและสัมผัสบรรยากาศที่ดีมากของบ้านแม่แจ๋ม” แดง กล่าวเสริม

ทั้งนี้การปลูกกาแฟของคนบ้านแม่แจ๋ม จะเน้นการปลูกในลักษณะของวนเกษตร โดยปลูกต้นกาแฟแซมในสวนป่าบนดอยสูงของหมู่บ้าน ที่เน้นการจัดการดูแลแบบธรรมชาติ ปลอดการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น

จากสภาพพื้นที่ที่ดอยสูงที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ผนวกกับการจัดการดูแลแบบธรรมชาติ จึงทำให้ได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติสุดอร่อย กลายเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟขึ้นชื่ออีกหนึ่งของประเทศไทย

“เราเป็นเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ผลิตเอง ทุกขั้นตอนตั้งแต่ปลูกจนถึงแปรรูปเราทำเองทุกอย่าง ดังนั้นจึงสบายใจได้ว่า ได้กินกาแฟแท้ๆจากเกษตรกรจริงๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราวางไว้ตั้งแต่เริ่มคิดและเริ่มทำ เน้นการใช้ความเป็นตัวตนของเราเองให้เป็นเอกลักษณ์ที่จะสื่อไปยังผู้บริโภคทุกคนทั้งในและต่างประเทศ ว่ากาแฟคั่วมือดอยแม่แจ๋มนั้นไม่เหมือนใครแน่นอนครับ ขอการันตีเลยครับ ”

สร้างกาแฟที่แตกต่าง

แดงกล่าวต่อไปว่า ทุกขั้นตอนการผลิตจะเน้นเรื่องคุณภาพเป็นหลัก โดยทำด้วยสองมือเป็นหลัก ไม่มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ตั้งแต่การเก็บเมล็ดกาแฟที่เน้นการเก็บเมล็ดที่สุกแดงฉ่ำ และนำมาสู่กระบวนการคัดเมล็ดการแปรรูปที่ทุกขั้นตอนจะเน้นการใส่ใจเพื่อให้เมล็ดกาแฟที่ดีที่สุดออกมา

“ในส่วนของการคั่วเมล็ดกาแฟ เราจะใช้เครื่องคั่วด้วยมือ ซึ่งใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากก๊าซหุงต้ม โดยคั่วครั้งหนึ่งจะใส่เมล็ดกาแฟลงไปประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใช้เวลาในการคั่วประมาณ 18 นาที โดยเมล็ดกาแฟคั่วที่ผลิตจำหน่ายนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ Dark Roast, Medium Roast และ Light Roast ซึ่งผู้สนใจสามารถเลือกซื้อไปชงดื่มได้ตามรสนิยม”

แต่สำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวดอยแม่แจ๋ม และแวะทานกาแฟสดที่ร้านของครอบครัวแก้วคำไสย์ ยังจะได้สัมผัสกับกรรมการวิธีการบดกาแฟด้วยมือ โดยเกษตรกรเจ้าของบ้านว่า ทุกอย่างเราทำด้วยสองมือ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมรับรองว่าแตกต่างไม่เหมือนใครใครสำหรับกาแฟคั่วมือ”

“ดังนั้นถ้ามาแม่แจ๋ม ลองมาทานกาแฟดริป (Drip Coffee) ที่ร้านของเราครับ รับรองจะติดใจแน่นอนโดยผู้สนใจต้องการลิ้มลองรสกาแฟคั่วมือดอยแจ๋ม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 08-1169-5344” แดง กล่าวในที่สุด

ที่นี่คือ แม่แจ๋ม อีกหนึ่งสร้างความสุขให้กับทุกคน “แม่แจ๋ม” เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ในตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็น 1 ใน 8 โมเดลการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในกลุ่มที่พักโฮมสเตย์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มนำเที่ยวและขนส่ง กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชม ภายใต้โครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ที่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ธนาคารออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ภาครัฐ เอกชนและประชาชนในพื้นที่ โดยผ่านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

ประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา การพัฒนาจากใจ ธ.ก.ส.
โครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ที่ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการนั้นเป็นการต่อยอดจากนโยบายประชารัฐสร้างไทยของรัฐบาล ที่เน้นการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมการผลิต กิจกรรมขายผลผลิต กิจกรรมการซื้อและบริโภคของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยใช้ทรัพยากรของชุมชน มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเกื้อกูลและเป็นธรรม

โดยมีแนวทางในการขับเคลื่อนที่เริ่มจากการค้นหาและศึกษาความต้องการของชุมชน ทั้งโอกาส ศักยภาพ ปัญหา แนวทางพัฒนาและแก้ไข เหมือนการระเบิดจากภายใน จากนั้นจึงเริ่มพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง โดยยึดหลักตลาดนำการผลิตและมีการกำหนดแผนธุรกิจที่ชัดเจน ผสานความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในด้านความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม งานวิจัย และงบประมาณ

อีกทั้ง ธ.ก.ส. ยังช่วยสนับสนุนสินเชื่อให้กับ Smart Farmer ผู้ประกอบการ SME เกษตร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เพื่อทำให้เกิด ผลลัพธ์ คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้ สวัสดิการสังคม และโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ชี้ว่า กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ SMART Farmer SMEs หัวขบวน วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร ซึ่งแบ่งพื้นที่ดำเนินการเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม กลุ่มการผลิต กลุ่มบริการและกลุ่มรวบรวม ด้านท่องเที่ยว กลุ่มที่พักโฮมสเตย์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มนำเที่ยวและขนส่ง กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชม และด้านอุตสาหกรรม กลุ่มแปรรูปและกลุ่ม Logistics

โดยธ.ก.ส. ได้ตั้งเป้าขับเคลื่อนให้ได้ 928 ชุมชน ภายในสิ้นปี 2562 และเป็น 9,000 ชุมชน ภายในปี 2564 “ธ.ก.ส.พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนด้วยการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อขยายโอกาสในด้านต่างๆ ทั้งเงินทุน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ให้แก่คนในชุมชน ได้ครอบคลุม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยกระดับห่วงโซ่มูลค่าการผลิต อุตสาหกรรม และบริการต่าง ๆ เพื่อสร้าง SMART Farmer ผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน และพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สู่การสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจฐานราก โดยการอำนวยสินเชื่อรวมกว่า 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2564”

แม่แจ๋ม ดินแดนแห่งกาแฟ
แล้วมาแจ๋ม ชุมชนแห่งนี้ดีอย่างไร ถึงได้รับการคัดเลือกจากธ.ก.ส. ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาตามโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ในการนี้ นายพนนิษฐ์ ไหวพินิจ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาเมืองปาน หรือที่ชาวบ้านในพื้นที่บ้านแม่แจ๋ม ต่างเรียกขานว่า ผู้การพนา จึงได้นำทีมงานเกษตรก้าวไกล ได้เดินทางข้ามภูเขาสูงสู่พื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นเพชรเม็ดงามของการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดลำปางแห่งนี้ ซึ่งเส้นที่จะนำเข้ามสู่หมู่บ้านแห่งนี้สามารถเลือกใช้ทั้งการมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ให้ใช้เส้นทางจากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วิ่งผ่านทางตำบลเทพเสด็จ รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร อีกเส้นทางคือวิ่งมาจากอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง รวมระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร

แม่แจ๋มนั้น เป็นพื้นที่ถิ่นอาศัยของประชาชนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆ ท่ามกลางขุนเขาอันสลับซับซ้อน ที่มีสายน้ำไหลลัดเลาะผ่านกลางชุมชน เพื่อช่วยในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต ซึ่งวันนี้ชุมชน “บ้านแม่แจ๋ม” ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้เป็นอย่างดี เหมาะอย่างยิ่งแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ตลอดจนยังเป็นพื้นที่ที่มีมนต์เสน่ห์ ด้วยภูมิประเทศอันโดดเด่นมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และมีเส้นทางถนนที่สามารถจะเชื่อมโยงต่อไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้ โดยตลอดเส้นทางจะมีวิวทิวทัศน์และสถานที่ทางธรรมชาติที่สวยงาม

เมื่อเดินทางสู่บ้านแม่แจ๋ม ร้านกาแฟสดดอยแม่แจ๋ม คือสถานที่นัดพบกับหนึ่งในหัวขบวนที่เป็นครุ่นใหม่ของพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและอาชีพการปลูกกาแฟของหมู่บ้านแห่งนี้ เขาคือ “ศิวณัฐ กองไฝ” หรือ “แคท” ชายหนุ่มชาวเชียงใหม่ที่ได้ที่มาปักหลักอยู่กับครอบครัว ซึ่งเป็นคนแม่แจ๋ม

ร้านกาแฟสดดอยแม่แจ๋ม เป็นร้านที่แคทได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมการให้บริการในทุกด้านสำหรับนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว อาราบิก้าแท้ 100% สบู่กาแฟ ชาอู่หลง สมุนไพรเลือดมังกร แมคคาเดเมีย น้ำผึ้งธรรมชาติ เป็นต้น

มุมแห่งการจุดประกายให้ชายหนุ่มผู้นี้ เดินหน้าในการผลักดันการพัฒนาของคนในชุมชน และนำมาสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟ ภายใต้แบรนด์ “ดอยแม่แจ๋ม” ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนในการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากสมาชิก

สำหรับกาแฟของแม่แจ๋ม แคทมองเห็นว่าชาวบ้านที่นี่ปลูกกาแฟเป็นอาชีพหลัก แต่กาแฟที่ปลูกได้จะรวบรวมส่งขายให้กับพ่อค้าที่อยู่นอกท้องถิ่น รวมทั้งครอบครัวของภรรยาก็ขายกาแฟในรูปแบบเดียวกัน เขามองเห็นว่าน่าจะมีการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปจากเมล็ดกาแฟมาเป็นกาแฟสด และก็ได้ลงมือทำทันที

เขาหวังว่าจะสร้างแบรนด์กาแฟให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเหมือนกาแฟดอยอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและเกิดการท่องเที่ยวชุมชน อีกทั้งตัวเขาเองนั้นยังได้สร้างรีสอร์ทเล็กๆ ในนาม Doi Maejam Riverside Home โทร. 08-0128-2528 ที่มีการสร้างบ้านพัก แบบ Private กลางหุบเขา ติดริมน้ำ เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการพาครอบครัวหรือคนสำคัญมาพักผ่อนกับธรรมชาติ เพื่อเติมพลัง และผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ด้วยการมาชมความงามของธรรมชาติ และอากาศที่บริสุทธิ์ สัมผัสกิจกรรมการประกอบอาชีพ ในด้านกาแฟตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการแปรรูป

อร่อยกับอาราบิก้าคุณภาพ
แคท บอกว่า บ้านแม่แจ๋ม เป็นหมู่บ้านที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,116 เมตร จึงเป็นระดับที่ต้นกาแฟปลูกแล้วได้รสชาติที่ดี จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกกาแฟกันมาก เรียกได้ว่าแทบทุกหลังคาเรือนมีการยึดอาชีพการปลูกกาแฟเป็นหลัก ด้วยกระแสความนิยมกาแฟที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ต้องมีการพัฒนารูปแบบการจำหน่าย จากเดิมจะจำหน่ายเป็นผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ

ปัจจุบันได้มีการแปรรูปรูปกาแฟขึ้นภายในหมู่บ้านและส่งจำหน่ายทั่วประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี โดยผลิตภัณฑ์กาแฟหลักๆที่จำหน่ายได้แก่ กาแฟเชอรี่ มีผลผลิตประมาณ 1,500 กิโลกรัมต่อปี กาแฟกะลา มีผลผลิตประมาณ 60 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังมีผักปลอดภัย มะคาเดีย รวมถึงการท่องเที่ยวชุมชนในเชิงนิเวศ และวัฒนธรรม ซึ่งจากการสนับสนุนของธ.ก.ส. ตามโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนาจะนำไปสู่ก้าวการพัฒนาอีกขั้นในด้านการท่องเที่ยว ภายใต้การรวมกลุ่มของชาวบ้านในลักษณะของวิสาหกิจชุมชน

นอกจากเป็นกาแฟอาราบิก้าแท้ 100% ด้วยคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของพื้นที่จากดอยแม่แจ๋มอีกประการหนึ่งที่ทำให้ได้ความหอมกรุ่นกาแฟแท้จากธรรมชาติ คือ ชุมชนแห่งนี้ถูกรายล้อมด้วยแหล่งน้ำพุร้อน 4 ด้าน คือ น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน น้ำพุร้อนสันกำแพง น้ำพุร้อนแม่ขะจาน และน้ำพุร้อนบ้านโป่งกุ่ม จึงทำให้เกิดการระเหยของไอน้ำพุร้อน กลั่นลงมาเป็นฝนตกรดต้นกาแฟ ทำให้ต้นกาแฟที่นี่ได้รับสารอาหารพิเศษจากธรรมชาติ

“กาแฟที่นี่สะสมสารอาหารนานถึง 9 เดือนจนสุกงอมเต็มที่ และอุดมด้วยแร่ธาตุที่ไม่เหมือนใคร จึงทำให้กาแฟอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ นำมาคั่วสดใหม่เพื่อดึงกลิ่นและรสชาติที่ดีที่สุด ให้ผู้ที่หลงใหลกาแฟได้ดื่มด่ำในทุกวัน” แคทบอก

โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม จะเป็นช่วงเก็บผลผลิตเมล็ดกาแฟ และเป็นอีกช่วงที่ทุกคนที่สนใจสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อชมกระบวนการทำกาแฟ ชมโรงงาน-โรงคั่วที่ได้รับรองมาตรฐาน และพร้อมดื่มด่ำกับความหอมกรุ่นของกาแฟสดที่ร้านกาแฟดอยแม่แจ๋ม โดนในการเก็บเมล็ดกาแฟของชาวบ้านแม่แจ๋มนั้น จะเก็บกาแฟเชอร์รี่จากต้นกาแฟที่ขึ้นเรียงรายอยู่ใต้เงาไม้ใหญ่ดั้งเดิม จากนั้นจะทำการรวบรวมผลผลิตส่งไปยังวิสาหกิจชุมชนที่ทำหน้าที่รับซื้อเมล็ดกาแฟมาแปรรูปในขั้นตอนที่เรียกว่า การทำกาแฟกะลา

โดยหลังจากนำกาแฟเชอร์รี่มากะเทาะเปลือกโดยใช้เครื่องสีเชอร์รี่ แล้วนำเมล็ดกาแฟที่ได้มาล้างให้สะอาด นำไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ 5 – 6 แดด เมื่อกาแฟที่ตากแห้งแล้ว จะเรียกว่า กาแฟกะลา จากนั้นจะนำกาแฟกะลาเข้าเครื่องกะเทาะเปลือกอีกครั้ง จะได้ กาแฟสาร ซึ่งกาแฟสาร จะนำไปแปรรูปโดยการคั่ว และบรรจุลงถุงบรรจุภัณฑ์ โดยประกอบด้วยผลิตภัณฑ์…

หนึ่ง กาแฟคั่วอ่อน หรือ Light Roast บรรจุอยู่ในถุงสีขาว ซึ่งจะมีกลิ่นเปรี้ยวอ่อนๆ เป็นเอกลักษณ์เหมาะสมสำหรับการทำกาแฟร้อน

สอง กาแฟคั่วกลาง หรือ Medium Roast บรรจุอยู่ในถุงสีทองจะเน้นความหอม มีความขมเล็กน้อย เหมาะสำหรับนำไปทำกาแฟร้อนและเย็น

สาม กาแฟคั่วเข้ม Espresso บรรจุในถุงสีแดง ที่เน้นความขม เหมาะสำหรับทำกาแฟเย็น

แม่แจ๋ม ชุมชนแห่งกาแฟ ชุมชนต้นแบบของการพัฒนา จึงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ควรแวะ แบบห้ามพลาดเลยที่เดียว เพราะที่นี่ทุกอย่างของเขาแจ่มจริงๆ ไปแล้วจะสุขกายสุขใจจริงๆ

เชียงใหม่, 10 กุมภาพันธ์ 2563 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจเกษตรครบวงจรของไทย จัดกิจกรรม ‘Chia Tai International Field Day 2020’ เปิดสถานีวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ณ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โชว์ความแข็งแกร่งด้านเมล็ดพันธุ์คุณภาพ พร้อมพาชมแปลงเกษตรสาธิตของพืชหลากหลายสายพันธุ์ อวดโฉมผลิตผลทางการเกษตร ไฮไลท์งานนี้ประกอบด้วยการเสิร์ฟเมนูสร้างสรรค์จากผักผลไม้สด อร่อย ปลอดภัย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของเจียไต๋ในการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนให้กับคนทั้งภูมิภาค

กิจกรรม ‘Chia Tai International Field Day 2020’ จัดโดยกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัดภายใต้แนวคิด “เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” หรือ “Growing better, together” โดยภายในงานจะมีการจัดแสดงสายพันธุ์พืชผักและผลไม้นานาชนิดที่ได้รับการพัฒนาจากนวัตกรรมล้ำสมัยมากถึง 25 ชนิด 410 สายพันธุ์

นายมนัส เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า “เจียไต๋จัดกิจกรรม ‘Chia Tai International Field Day’ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกร ตลอดจนพันธมิตรธุรกิจของเราจากทั่วโลก ได้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของเจียไต๋ ผ่านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงพันธุ์พืชในระดับแนวหน้า เพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม เพราะเราเชื่อว่าการเพาะปลูกที่ดีนั้น ต้องเริ่มจากเมล็ดพันธุ์คุณภาพ Chia Tai International Field Day ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเจียไต๋ในการเป็นบริษัทที่นำเสนอนวัตกรรมการเกษตรครบวงจรที่ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปสู่ปลายน้ำ โดยเริ่มต้นจากปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ไปจนถึงการส่งมอบผลผลิตสดใหม่ที่ปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร และมอบความมั่นใจให้กับผู้บริโภค”

นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อโชว์ศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของเจียไต๋ที่เทียบเท่ามาตรฐานระดับนานาชาติ นั่นคือ การนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์พืช ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) โดยการใช้เทคโนโลยี Double haploid เพื่อลดเวลาการสร้างสายพันธุ์พ่อแม่ หรือเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการทาง DNA เช่น การใช้เครื่องหมายโมเลกุล (Molecular Marker) เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง และช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อีกหนึ่งไฮไลท์ในงาน Chia Tai International Field Day 2020 ในครั้งนี้ คือการนำผลิตผลจากเมล็ดพันธุ์คุณภาพที่มีความสดใหม่ รสชาติดี และปลอดภัยมารังสรรค์เป็นเมนูพิเศษต่างๆ ให้ผู้ร่วมงานได้ลองชิม ไม่ว่าจะเป็นเยลลี่แตงโม ที่ปรุงขึ้นจากแตงโมซอนญ่าพลัส เนื้อแน่นสีแดงเข้ม รสหวานชื่นใจ ไอศครีมจากข้าวโพดหวานรอยัลริชสีม่วง ทาร์ตฟักทองที่มีส่วนผสมคุณภาพจากฟักทองมินิบอลของเจียไต๋ที่แม้จะผลเล็ก แต่เนื้อแน่น รสหวานมัน นอกจากนั้นยังนำผลสดของแตงหอมเตย อะโรมาติก แตงกวาไซส์มินิที่มีกลิ่นหอมใบเตยทั้งต้น ผล และดอก มาทำเป็นอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพให้กับผู้ร่วมงานได้ลิ้มลองอีกด้วย

Chia Tai International Field Day 2020 UFABET จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของเจียไต๋ในการนำความรู้และเทคโนโลยีมาพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีในการประกอบอาชีพ ยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย