Young Smart Farmer เกษตรไทยจะก้าวไกลก็คราวนี้

ผมวกมาที่วารสารเคหการเกษตร เขาได้สัมภาษณ์คนรุ่นใหม่หลายต่อหลายคนที่เข้ามาสานต่ออาชีพเกษตรจากพ่อแม่ และหนึ่งในนั้นก็คือ นางสาววราภรณ์ มงคลแพทย์ หรือ “คุณแนน” บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 จากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาแปรรูปและความปลอดภัยอาหาร สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร ในฐานะเจ้าของ “บ้านหมากม่วง” ร้านจำหน่ายผลไม้น้องใหม่ที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

“แนนเห็นพ่อแม่ทำสวนมะม่วงมาตลอด ตอนที่เรียนมัธยมก็คิดอยู่ว่าจะไปสอบคณะอะไรดี แต่ด้วยความที่โตมากับสิ่งนี้ แนนเป็นลูกคนโตถ้าแนนไม่ทำแล้วใครจะทำ ประกอบกับแนนชอบการเกษตรด้วย อยากทำงานเป็นเจ้านายตัวเอง รักความอิสระ ไม่อยากทำงานบริษัท ได้เห็นมะม่วงที่พ่อทำพอถึงฤดูกาลมะม่วงตลาดตายราคาตกต่ำ ลูกที่ผิวไม่สวยขายได้ราคาต่ำมาก ซึ่งที่จริงแล้วเนื้อข้างในก็ยังอร่อย

จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะเพิ่มมูลค่าให้มะม่วงเหล่านี้ได้ ตอนที่เรียน ม.6 ก็เลยลองหาข้อมูล จนเจอคณะที่แนนจบมา ซึ่งตอบโจทก์กับสิ่งที่แนนต้องการมาก ตอนเรียนก็พยายามเอาความรู้ที่ได้มาประยุกต์กับธุรกิจที่แนนจะทำตลอดว่าจะนำความรู้ตรงนี้ไปทำอะไรได้บ้าง ใช้ช่วงเวลาที่เรียนเก็บเกี่ยวความรู้ คอนเน็คชั่นให้มากที่สุด แนนมีเป้าหมายว่าจบออกมาแล้วอย่ากทำเรื่องท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้เห็นตัวอย่างฟาร์มโชคชัย แดรรี่โฮม เป็นโมเดล ก็เลยฝันที่จะทำให้ได้อย่างนี้บ้าง” คุณแนน เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจและความฝันที่อยากให้เป็นจริง

ปัจจุบัน “บ้านหมากม่วง” เปิดมาแล้วประมาณ 1 ปี ซึ่งคุณแนนเป็นคนดูแลเองทั้งหมด ทั้งแต่ออกแบบ จนตกแต่งร้าน ฯลฯ ผลผลิตที่ขายในร้านก็มาจากสวนของพ่อแม่ ซึ่งในเชิงธุรกิจยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ แต่ในเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ถือว่าลูกค้าเริ่มรู้จัก โดยเฉพาะการได้มาอยู่กับครอบครัวกับพ่อแม่ถือว่าชีวิตมีความสุขแล้ว

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาต่อยอดอาชีพการเกษตรของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเดิมทีเดียวการเกษตรของเรานั้นมีแต่ผู้สูงอายุ แต่ต่อไปนี้จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อมากขึ้น…รายละเอียดทั้งหมดอยากให้หาอ่านจากเคหการเกษตร รวมทั้งเรื่องราวของคนอื่นๆ และสาระความรู้อีกหลากหลายที่พบได้จากหนังสือเล่มนี้

หมายเหตุ-เกษตรก้าวไกล : เวลานี้มีโฆษณาเรื่องพันธุ์อินทผาลัมกันมาก และเกษตรกรหรือคนดังหลายคนหันมาให้ความสนใจ ในขณะที่อีกมุมหนึ่งก็มีคำถามตามมาว่า อนาคตจะยั่งยืนแค่ไหน…”เกษตรก้าวไกล” จึงขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลางรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย และต่อไปนี้คือมุมมองและข้อคิดเห็นจาก คุณเปรม ณ สงขลา ผู้คลุกคลีกอยู่ในวงการเกษตรในฐานะบรรณาธิการใหญ่วารสารเคหการเกษตร

การผลิตพืชตอบสนองผู้บริโภคยุคโลกกว้างทางแคบในปัจจุบันและอนาคตมีโจทย์ท้าทายมากๆ มีประเด็นฝากให้คิดสำคัญ 3 เรื่องคือ พันธุ์ พื้นที่ที่เหมาะสม และการจัดการ

1-2. เริ่มจากพันธุ์และพื้นที่…อินทผาลัมเป็นพืชเขตุแห้งความชื้นต่ำแบบทะเลทราย นึกภาพทะเลทรายอาหรับ ร้อนแต่คนต้องโพกหัวห่มผ้าเพราะร้อนแห้งผิวคนทนไม่ไหว เคยไปดูแหล่งผลิตอินทผาลัมเมดจูล พันธุ์ดีที่สุดอร่อยที่สุดที่เมืองอลิสสปริง ออสเตรเลีย ที่นั่นร้อนและแห้งแบบทะเลทรายมองไปทางไหนมีแต่ทราย แต่สวยงามอีกแบบ อุดหนุนชนิดแห้งมา 1 กล่อง ขอบอกว่าเนื้อหนาอร่อยจริงๆ นี่คือบ้านของอินทผาลัม

อิสราเอล ผลิตอินทผาลัมส่งออกต้องเขตุเข้ามาลึกด้านใน ส่วนเขตุติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนชื้นเกินไปไม่ดี ทั้งๆที่ห่างกันไม่ไกล

ดังนั้น เมื่อมองประเด็นเรื่องพันธุ์ สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศที่เหมาะสม ก็จะทราบว่าอินทผาลัมไม่ใช่พืชสำหรับบ้านเราในแง่การปลูกเพื่อการค้า

3. การจัดการการผลิต…อินทผาลัมเป็นพืชแยกต้นตัวผู้ตัวเมีย ต้องมีการผสมเกสร งานผสมเกสรเป็นงานที่ยากมากๆ โดยเฉพาะเมิ่อต้นโตขึ้นสูงขึ้น การผสมต้องชัดเจนว่าเกสรนั่นมาจากต้นที่ผ่านการคัดเลือกแล้วจึงมาทำการผสมต้นแม่ ผลจึงจะออกมาได้คุณภาพตามต้องการ ไม่หวานบ้างฝาดบ้าง พวกสกุลปาล์มจะมีเรื่องทีเรียก xenia effect หรือเดชบิดา คืออิทธิพลเกสรตัวผู้ส่งผลให้ผลิตคุณภาพเพี้ยนในฤดูนั้นเลยไม่ต้องรอนำมาปลูกให้ออกผล อินทผลัมจะออกผลเก็บเกี่ยวช่วงรามาดรของพี่น้องมุสลิมตรงกับช่วงฝนชุกแม้จะห่อผลช่วยก็ได้ระดับหนึ่งเพราะการห่อไม่สามารถแก้ความชื้นในอากาศได้

อินทผาลัมเป็นผลไม้นอนไคลเมติก ต้องสุกบนต้นจึงจะอร่อย เก็บมาแล้วจะไม่สุกต่อ แนวทางบ้านเราคือการพยายามขายเป็นผลสดซึ่งมีอายุการวางตลาดระยะหนึ่ง เมื่อผลเริ่มเหี่ยวก็หมดความอร่อยเทียบกับผลสดนำเข้าจาก ตูนีเซีย (จริงๆเป็นผลไม้ห้ามนำเข้าแต่มีการลักลอบผ่านแดน) อร่อยต่างกันมาก การขายเป็นผลสุกที่จะต้องเก็บสุกคาต้นซึ่งทำไม่ได้เพราะความชื้นสูงผลจะเน่าก่อนที่จะสุก การเก็บเกี่ยวก่อนต้องมานึ่งให้สุกหรือต้มน้ำตาลกลายเป็นอินทผาลัมเชื่อมน้ำตาล ความอร่อยที่แท้จริงก็หมดไป ตลาดอินทผาลัมของเราเองปัจจุบันจึงต้องขายตลาดล่างมูลค่าลดลงหรือไม่ได้ราคา หวานมากคนก็กลัวโรคเบาหวาน นอกจากนี้ประเด็นด้วงทำลายทั้งด้วงแรด ด้วงงวงในบ้านเรานี้ดุมากๆ อินทผาลัมด้วงงวงชนิดนี้ชอบมากๆ

อนาคตมีข้อจำกัดมาก แต่ก็อยากให้กำลังใจ…
กล่าวโดยสรุปอินทผาลัมพืชต่างถิ่นที่จะมาปลูกในเขตุร้อนแบบไทยของเรานั้น มีข้อจำกัดอยู่มาก ทั้งการผลิตและการตลาด เนื่องจากโลกกว้างทางแคบ โลกกว้างคือของดีจากต่างถิ่นนำเข้ามาดีกว่า ถูกกว่าอร่อยกว่า แล้วเราจะเดินไปอย่างไรในภาพรวมของประเทศ ส่วนในระดับบุคคลอาจจะมีช่องทางคือจำหน่ายต้นพันธุ์สำหรับผู้อยากลอง ซึ่งคนไทยชอบลองเสมอไม่คิดมาก หรือทำเป็นสวนท่องเที่ยวดึงนักท่องเที่ยวเพราะความสวยงาม ความดก มันดึงนักท่องเที่ยวได้ ส่วนตลาดเสรีทั่วไปทางมันแคบมากๆ คล้ายๆกับองุ่นซึ่งเป็นเมดิเตอร์เรเนียนมาปลูกบ้านเราในขณะนี้เหลือรอดแต่สวนเขตุท่องเที่ยวเพื่อผลิตไวน์

ซึ่งเหมาะสำหรับเศรษฐีที่มีความพร้อมมากกว่า องุ่นสวยๆราคาถูกจากถิ่นเดิมอร่อยราคาถูกเข้ามาเต็มตลาด แล้วเราจะสู้ไหวไหม อย่าลืมว่าประเทศไทยพยายามพัฒนาอินทผาลัมมายาวนาน นับแต่สมัยสถานีพืชสวนขอนแก่นมีการรวบรวมอิทผาลัมจากอเมริกามาทดลอง บริษัท บางกอกฟลาวเวอร์ฯ อ.ประมนต์ ธรรมศักดิ์ (นายไปรษณีย์อุดร-น้องอดีตนายกสัญญา ธรรมศักดิ์ สมัย 14 ตุลาคม 16) ก็ผลักดันโครงการอินทผาลัมร่วมกับสวนนงนุช ล้วนต้องล้มเลิกไปทั้งหมด (ติดตามร่องรอยได้)

ในความเห็นผมสำหรับพืชอินทผาลัมพืชต่างถิ่นชนิดนี้ช่องทางสำหรับบ้านเรามันมีช่องเดินที่แคบมากๆสำหรับคนปลูก แต่อยากให้กำลังใจสำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาพันธุ์จากพื้นแห้งแล้งเมดิเตอร์เรเนียนให้เป็นพืชร้อนชื้นแบบไทย ไม่ต่างจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวจ้าวจาก C3 เป็น C4 ทนแล้งแบบข้าวโพดข้าวฟ่างซึ่งต้องใช้งบหลายพันล้านบาท

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งผลิตข้าวเปลือกที่สำคัญแห่งหนึ่ง และมีการพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งส่งออกข้าวสารที่สำคัญ มีโรงสีที่ทันสมัยครอบคลุมทั่วพื้นที่ มีกำลังการผลิตมาก สามารถรองรับผลผลิตจากจังหวัดอื่นได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งการรับจ้างผลิตข้าวส่งออกไปต่างประเทศเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพนำไปสู่การพัฒนาเป็นผู้ส่งออกระดับประเทศได้เอง และขณะนี้มีการส่งออกไปต่างประเทศที่สำคัญ คือ ประเทศจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน อิสราเอล รัสเซีย อิหร่าน เป็นต้น

ศักยภาพของเมืองกำแพงเพชรเป็นพื้นที่มีดินดี น้ำดี ป่าสมบูรณ์ และเป็นที่มาของการกำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดที่ว่า “ผู้นำการผลิต และแปรรูปเกษตรปลอดภัย และการท่องเที่ยวถิ่นมรดกโลก” จนเป็นที่มาของแนวความคิดที่จะยกระดับจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นแหล่งผลิตข้าวปลอดสารพิษที่สำคัญของประเทศ

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกำแพงเพชร จำกัด จึงริเริ่มบุกเบิกตลาดข้าวปลอดสารพิษ ซึ่งที่ผ่านมา ชุมนุมฯ ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตข้าวจากสหกรณ์ต่างๆ มาเข้าสู่กระบวนการแปรรูป สีเป็นข้าวสารจำหน่ายสู่ตลาด ต่อมาในปี 2557 ชุมนุมฯมีแนวคิดที่จะผลิตข้าวปลอดสารพิษจำหน่าย จึงเชิญชวนสหกรณ์ในกำแพงเพชร 35 แห่งที่เป็นสมาชิกของชุมนุมฯ คัดเลือกเกษตรกรมาเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเล็งเห็นว่า เกษตรกรใช้สารเคมีในการปลูกข้าว เพราะต้องการปริมาณผลผลิตจำนวนมากๆ ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีที่มีอันตรายสูง ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่ก็สูงตามด้วย เมื่อขายข้าวแล้วเกษตรกรหักลบรายได้กับต้นทุน แทบไม่เหลือกำไร ขณะเดียวกันสารเคมีก็ส่งผลทำร้ายต่อร่างกายชาวนาและผู้บริโภคที่ซื้อข้าวไปกิน

นายพิชิต เกษสุวรรณ์ ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกำแพงเพชร จำกัด ซึ่งได้ริเริ่มโครงการดังกล่าว เปิดเผยว่า ระยะเริ่มต้นโครงการทางชุมนุมฯได้เพิ่มสายการผลิตข้าวปลอดสารพิษ โดยเริ่มจากข้าวหอมมะลิเป็นหลัก จากนั้นจึงผลิตข้าวหอมนิลและข้าวไรซ์เบอรี่มาเพิ่มเติม โดยจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตข้าวปลอดสารพิษแก่เกษตรกร เชิญตัวแทนนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้

เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกข้าวให้มีคุณภาพ มีการกำหนดตารางการทำนาในแต่ละช่วงเวลา มีข้อกำหนดให้ปฏิบัติตามหลักวิชาการ จนถึงการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่การเกษตรเข้าไปติดตามดูแลใกล้ชิด ซึ่งการปราบศัตรูของข้าวจะใช้น้ำหมัก ยาสูบ น้ำส้มควันไม้ ส่วนหนึ่งสมาชิกสามารถผลิตไว้ใช้เองได้ ซึ่งในการปลูกข้าวหอมมะลิหากใช้สารเคมี จะได้ผลผลิตประมาณ 400 กก.ต่อไร่ แต่เมื่อใช้สารชีวภาพจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นไร่ละ 500-700 กก. ตลอดระยะเวลาของการบุกเบิกโครงการ กรมการข้าวจะเข้ามาอบรมให้ความรู้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจแปลงและเก็บตัวอย่างข้าวไปตรวจสอบตามมาตรฐาน GAP

“การรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทางชุมนุมฯ ให้ราคาที่สูงกว่าตลาด ทำให้เกษตรกรสนใจ เข้าร่วมโครงการประมาณ 200 กว่าราย แบ่งการผลิตข้าวปลอดสารพิษเป็นข้าวขาวกข. ข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล และให้เครดิตแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ สามารถกู้ยืมปัจจัยการผลิต วัสดุทางการเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และยาพ่นชีวภาพ เพื่อนำไปปลูกก่อน แล้วค่อยส่งใช้คืนเมื่อนำข้าวมาขายให้ทางชุมนุม แต่ละปีจะรวบรวมข้าวปลอดสารพิษเข้าสู่โรงสีแปรรูปเป็นข้าวสารจำหน่ายได้ประมาณ 1,500 ตัน”

การประชาสัมพันธ์สินค้าก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยขยายตลาดข้าวปลอดสารพิษให้เข้าถึงผู้บริโภค ในขณะที่กระแสนิยมของคนรักสุขภาพ เริ่มหันมาให้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและช่วยรักษาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องข้าวปลอดสารพิษผ่านทาง Website ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ต่อมาทางชุมนุมฯจึงเริ่มขยายช่องทางโปรโมทสินค้าผ่าน Facebook เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ได้เข้าถึงลูกค้า และสามารถกำหนดได้ว่าอยากให้ลูกค้ามองสินค้าชนิดนี้อย่างไร

ซึ่งจะต้องมีการใส่ข้อมูลต่าง ๆ ที่สม่ำเสมอ มีการสอดแทรกงานวิจัยเรื่องข้าว ประโยชน์ของข้าวกับสุขภาพ มีเกร็ดความรู้เรื่องข้าวแต่ละชนิดมาเสริม มีการลงพื้นที่ไปถ่ายภาพในแปลงนาของเกษตรกรให้ลูกค้าได้เห็นกระบวนการผลิตของจริง ให้รู้ว่ากว่าจะได้ข้าวแต่ละเมล็ด มีรายละเอียดขั้นตอนการผลิตการผลิตมากมาย ให้ลูกค้ารู้ถึงที่มาที่ไปของสินค้า รู้ว่าข้าวแต่ละเมล็ดนั้นชาวนาปลูกเอง สหกรณ์สีเองและส่งตรงถึงผู้บริโภค ทำให้เกิดการเชื่อมั่นและการยอมรับในข้าวปลอดสารพิษของชุมนุมสหกรณ์ฯมากยิ่งขึ้น

“การประชาสัมพันธ์ข้าวปลอดสารพิษผ่านทาง Facebook นับว่าเป็นช่องทางที่ดีที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ เน้นกลุ่มคนรักสุขภาพ คนที่ชอบทำอาหารและบริโภคอาหาร Organic ซึ่งการที่สหกรณ์ไม่ต้องไปเสียค่าวางจำหน่ายบนห้าง และใช้สื่อ Social ซึ่งมีต้นทุนไม่มากนักมาช่วยขยายตลาด ทำผู้บริโภคทุกระดับสามารถซื้อข้าวปลอดสารพิษไปรับประทานได้ เป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคม ที่ช่วยสร้างทัศนคติของลูกค้าให้รู้สึกว่าทุกคนสามารถบริโภคข้าวดีได้ในราคาที่ไม่แพง” ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกำแพงเพชร จำกัด

ขณะที่ในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มเรียนรู้และนิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ผู้บริโภคจึงสนใจสั่งซื้อ ข้าวปลอดสารพิษ 100 % บรรจุถุงสุญญากาศขนาดถุงละ 1 กิโลกรัม ผ่านทาง Facebook และทางชุมนุมฯจะจัดส่งสินค้าผ่านบริษัทขนส่งสินค้าเอกชน เพียงวันเดียวข้าวปลอดสารพิษของสหกรณ์จะถูกจัดส่งถึงหน้าบ้าน ทำให้ได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลาม ซึ่งลูกค้าจะแบ่งเป็นสองช่วงอายุ 25-40 ปี นิยมเป็นวัยที่ดูแลสุขภาพ และออกกำลังกาย ส่วนผู้สูงอายุจะนิยมข้าวกล้อง

ซึ่งทางชุมนุมฯได้พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นการผลิตที่ได้มาตรฐานปลอดภัยและห่วงใยสุขภาพของคนรับประทาน และพัฒนาเมล็ดข้าว ไม่ให้มี สิ่งปลอมปน มีขนาดของเมล็ดที่เท่าๆ กัน และมีสีที่สม่ำเสมอกัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการขายสินค้าดีมีคุณภาพจะส่งผลต่อธุรกิจที่ยั่งยืน ทำให้ยอดขายข้าวไรซ์เบอรี่ผ่านทาง Facebook ของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกำแพงเพชร จำกัด มียอดจำหน่ายสูงสุดลำดับต้นๆ ของประเทศ

การขายข้าวผ่านทาง Facebook จึงเป็นมิติใหม่ของตลาดสารของสหกรณ์ ทำให้มีลูกค้าใหม่ๆ สนใจสอบถามกันมากขึ้น และใช้ช่องทาง Facebook สื่อสารโดยตรงกับผู้ขาย ส่งข้อความสอบถามและมีการโต้ตอบได้ทันที เป็นการสื่อสารที่เข้าถึงตรงตัว และเปิดรับคำติชมต่างๆ จากลูกค้า เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น ตามที่ลูกค้าต้องการ

หากใครผ่านไปทางภาคเหนือ อยากจะแวะเวียนไปเยี่ยมชมและเลือกซื้อข้าวปลอดสารพิษของทางชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกำแพงเพชร จำกัด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.055-840688 หรือเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง

งานแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องจักรกลการเกษตรครบวงจร หรือ “งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017” (AGRITECHNICA ASIA 2017) ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมเปิดตลาดเอเชียเป็นครั้งแรก โดยเลือกจัดงานที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการค้าของทวีปเอเชีย กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พิเศษยิ่งกว่าสำหรับปีแรกของการจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017 จะจัดคู่ขนานกับงานวิฟ เอเชีย 2017 (VIV ASIA 2017) ซึ่งเป็นงานนิทรรศการสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2017 (Horti ASIA 2017) งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้ ระดับนานาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสัปดาห์ธุรกิจของคนในวงการเกษตรและปศุสัตว์อย่างแท้จริง

ผู้ประกอบการจักรกลเกษตรโลกเข้าร่วมงาน
งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017 จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจการเกษตรระดับนานาชาติเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยจัดแสดงเครื่องจักรกลการเกษตร จากผู้ผลิตในภูมิภาคยุโรป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรจะคัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรของตลาดเอเชีย ซึ่งมีบริษัทชั้นนำระดับโลกร่วมสนับสนุนการจัดงานอย่างเป็นทางการ ได้แก่ AGCO / Massey Ferguson, CLAAS, Fliegl, LOVOL, Maschio Gaspardo และ PÖTTINGER ล้วนเป็นบริษัทที่โดดเด่นด้านเทคโนโลยีการเกษตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะนำผู้เชี่ยวชาญมาแนะแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการเกษตรให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ชมงานทุกท่าน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการได้ตัดสินใจลงทุนอย่างชาญฉลาดและพัฒนาบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประชุมนานาชาติ-เทคโนโลยีเกษตรในเอเชีย
องค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน (ดีแอลจี) ได้เตรียมการประชุมนานาชาติพร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวงการเกษตรจากประเทศต่างๆ มานำเสนอเทคนิคขั้นสูงโดยมุ่งเน้นภาคปฏิบัติ สาธิต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตการปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย ยังได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากบริษัท CLAAS ผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรชั้นนำของโลก ร่วมจัดประชุมในหัวข้อ “แนวโน้มของเทคโนโลยีการเกษตรในเอเชีย” เพราะเล็งเห็นว่าในปัจจุบันเกษตรกรมีความจำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก นำไปสู่การปรับใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่และความก้าวล้ำทางวิศวกรรมการเกษตรมาช่วยพัฒนาธุรกิจเกษตรของตลาดในเอเชีย

ภายในงานนิทรรศการจะมีการจัดแสดงเครื่องจักรกลการเกษตร ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมดิน เพาะปลูก ระบบน้ำ เก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนการเก็บรักษา ขนส่ง และการผลิตพลังงานทดแทน นอกจากนั้นยังมีพาวิลเลี่ยนจากประเทศต่างๆ ที่พร้อมนำเทคโนโลยีการเกษตรชั้นนำมารวมจัดแสดงงาน อาทิ ประเทศจีน ประเทศเดนมาร์ก และพาวิลเลี่ยนที่จัดแสดงชิ้นส่วนและอะไหล่เครื่องจักรกลการเกษตร พาวิลเลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นการนำชีวมวลมาเปลี่ยนให้เป็นให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร

เหตุผลที่องค์กรชั้นนำร่วมจัดงาน และผลดีที่จะเกิดขึ้น
ในส่วนของผู้จัดงาน นายปีเตอร์ โกลว์เทิร์น กรรมการผู้จัดการ องค์กรเกษตรแห่งเยอรมนี (ดีแอลจี) กล่าวว่า “สามเหตุผลหลักที่ทางองค์กรเกษตรแห่งเยอรมนี (ดีแอลจี) ร่วมมือสร้างเวทีอุตสาหกรรมการเกษตรสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย คือ (1) ตลาดที่กำลังเติบโตและและมีความสนใจสูงในด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตร (2) ทั่วโลกรู้จักแบรนด์ “AGRITECHNICA” กับเครือข่ายขององค์กรเกษตรแห่งเยอรมนี และ (3) ด้วย ชื่อเสียงของ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ด้านการจัดงานนิทรรศการและงานประชุม ความร่วมมือของเราจะพัฒนาไปสู่การขยายตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรในระยะยาว และสร้างโอกาสที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญไปยังผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่มาจากประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน อีกทั้ง ยังช่วยในการพัฒนาธุรกิจการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกษตรแห่งเยอรมนี (ดีแอลจี) เป็นผู้ผลักดัน”

การร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นการผนวกความชำนาญของทั้งทาง ดีแอลจี (DLG) และ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค (VNU Exhibitions Asia Pacific) “ในบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค (VNU Exhibitions Asia Pacific) เราประสบความสำเร็จจากการพัฒนางานร่วมกันกับทางผู้จัดงานแสดงสินค้าจากประเทศเยอรมนี การทำงานร่วมกับ ดีแอลจี (DLG) จะทำให้เกิดเวทีทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือสำหรับภูมิภาคเอเชีย สิ่งที่สำคัญที่สุด เราสามารถรวมอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าไว้ภายในงานเดียว จากจุดเริ่มต้นของตลาดไปสู่สิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างสมบูรณ์” นายนิโน กรุตต์เก กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (Mr. Nino Gruettke, Managing Director of VNU Exhibitions Asia Pacific) กล่าว

ด้านนางสาวปาริฉัตร เศวตเศรณี ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดและภาพลักษณ์องค์กร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า “ทีเส็บในฐานะหน่วยงานภาครัฐอันมีพันธกิจหลักในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนการจัดงาน AGRITECHNICA ASIA 2017 งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลด้านเกษตรกรรมแห่งเอเชีย โดยมีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2560 เป็นครั้งแรก ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ทีเส็บเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนด้านการทำตลาดต่างประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ซื้อที่มีคุณภาพให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของงาน ซึ่งคาดการณ์ว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุน ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการชั้นนำจากต่างทวีป และผู้เข้าชมงานกว่า 8,000 คน เข้าร่วมงาน จากความร่วมมือกันระหว่าง 2 ผู้จัดทั้งไทยและเยอรมนี นับเป็นการเริ่มต้นเปิดการค้าและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจากทวีปยุโรปสู่เอเชียอย่างแท้จริง เกิดการลงทุนและการเจรจาธุรกิจ ช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในการเป็นศูนย์กลางของธุรกิจไมซ์ระดับภูมิภาคที่เชื่อมโยงธุรกิจสู่ความสำเร็จระดับโลก โดยการจัดงานครั้งนี้ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายนักเดินทางกลุ่มไมซ์ในปี 2560 ด้วยจำนวนนักเดินทางกลุ่มไมซ์ 1,109,000 คน สร้างรายได้ 101,000 ล้านบาท

เชิญผู้ซื้อรายใหญ่ทั่วเอเชียเข้าร่วมงาน
นอกจากการแสดงเทคโนโลยีการเกษตรจากบริษัทชั้นนำแล้ว ผู้จัดยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเชิญผู้ซื้อรายใหญ่ทั่วภูมิภาคเอเชียมาร่วมงาน ภายใต้แคมเปญ Hosted Buyer Program เตรียมการรองรับผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติจากบริษัทชั้นนำมากกว่า 150 คนทั่วเอเชีย โดยมอบอภินันทการห้องพักรับรองตลอดระยะเวลาการเข้าชมงานที่จัดขึ้นที่กรุงเทพ เพื่อยกระดับธุรกิจการเกษตรแห่งเอเชียให้เป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจระดับโลก นอกจากนั้นในงานแสดงครั้งนี้เกษตรกรจะได้พูดคุย แบ่งปันองค์ความรู้มากมายจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรจากนานาประเทศอีกด้วย ท่านที่สนใจสามารถส่งใบสมัครเพื่อร่วมโครงการได้ที่ buyer@agritechnica-asia.com หรือติดต่อทีมจัดงานได้ที่ www.agritechnica-asia.com/visiting เปิดรับสมัครตั้งตั้งวันนี้ ถึง 15 ธันวาคม 2559 เท่านั้น

อนึ่ง ดีแอลจี องค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน เป็นองค์กรอิสระและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง มีเครือข่ายขนาดใหญ่ทั่วโลก ดำเนินกิจกรรมที่ไม่แสวงหากำไรในประเทศกลุ่มเกษตรที่สำคัญ องค์กรจะทำหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาเพื่อช่วยพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศสำหรับบริษัทต่างประเทศที่พร้อมมาลงทุนโดยผ่านทางงานนิทรรศการเชิงธุรกิจ สนับสนุนการหาตลาดใหม่ที่เหมาะสมโดยความร่วมมือกันของพันธมิตรในระดับท้องถิ่น

การจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ครั้งนี้ คาดว่าจะมีบริษัทชั้นนำทั้งจากเอเชียและยุโรปมากกว่า 221 บริษัท นำแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร พร้อมรองรับผู้เข้าชมงานและผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรให้กับภูมิภาคเอเชีย มากกว่า 8,000 คน บนพื้นที่จัดแสดงงานกว่า 7,550 ตารางเมตร โดยเฉพาะทางด้านบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลการเกษตรทุกภาคส่วนที่มีความต้องการขยายตลาดสู่ระดับนานาชาติจะมาร่วมงานครั้งนี้

ธ.ก.ส. เร่งจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตามโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 นำร่องจ่ายแล้ว 2 จังหวัด พิจิตรและขอนแก่น

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 10 ไร่ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.– 31 ต.ค. 2559 และภาคใต้ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2559 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

10 ขั้นตอน…15-20 วันได้เงินแน่
การจ่ายเงินในครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินโครงการฯ ประกอบไปด้วย 1. ประชุมทางไกลเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการฯ แก่คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร นายอำเภอ และพนักงาน ธ.ก.ส. 2. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการฯ ให้แก่ คณะกรรมการฯ ระดับหมู่บ้าน/แขวง/เทศบาล 3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ 4. เกษตรกรลงทะเบียนแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ 5. ปิดประกาศข้อมูลผู้แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ 6. ประชุมประชาคมเพื่อยืนยันและรับรองสิทธิ์ 7. คณะกรรมการระดับอำเภอ/เขต ตรวจสอบข้อมูล 8. ธ.ก.ส. สาขา บันทึกข้อมูล 9. ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ ประมวลผล และ 10. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรและรายงานผล โดยกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 15-20 วัน

พิจิตรและขอนแก่น ได้เงินแล้ว
นายลักษณ์กล่าวว่า ปัจจุบันมีสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ และได้จ่ายเงินให้กับเกษตรกรไปแล้ว คือ สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดพิจิตร จ่ายเงินให้กับชาวนาไปแล้ว 343 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 3.2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 และสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดขอนแก่นที่พร้อมจ่ายในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2559 อีกจำนวน 1,530 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 11.7 ล้านบาท สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ก็จะได้ดำเนินการทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2559 เป็นต้นไป คาดว่าจะจ่ายเงินให้ชาวนาได้ครบถ้วนปลายเดือนตุลาคม 2559 ยกเว้นภาคใต้ที่เริ่มฤดูการทำนาช้ากว่าภาคอื่น ๆ

“หากเกษตรกรท่านใดยังไม่มีรายชื่อในแบบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการตามที่ติดประกาศไว้ขอให้ไปขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 กับเกษตรอำเภอก่อน เพราะการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ได้นำรายชื่อเกษตรกรตามมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้น้อย ปี 2557ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2557/58 มาใช้เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในโครงการดังกล่าว ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องดำเนินการเพาะปลูกข้าวตามที่รับรองไว้ หากไม่ดำเนินการต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ในโครงการฯ ทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข” นายลักษณ์กล่าว.

ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และ ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) ได้วิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตครั้งใหญ่ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4” (4th Industrial Revolution) กำลังจะ มาถึงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) พันธุวิศวกรรม (Genetics) นาโนเทคโนโลยี การพิมพ์สามมิติ และไบโอเทคโนโลยี

เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตและการจ้างงานประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อแต่ละประเทศโดยเป็น “กระแสร่วม” ที่โลกกำลังดำเนินไปในอนาคตในทิศทางเดียวกันหรือเรียกว่า 5 เมกะเทรนด์ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี 2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 3) การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก 4) การขยายตัวของชุมชนเมือง และ 5) การขาดแคลนทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกในอนาคตและการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายที่จะผลักดันเศรษฐกิจทั้งระบบ ทั้งอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจระดับรากฐานของประเทศ

ประเทศไทย จึงประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” คือ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา คือ เปลี่ยนจากการทำปริมาณมากแต่ได้ผลน้อย เป็นการทำปริมาณน้อยแต่ได้ผลมาก ซึ่งต้องอาศัยกระบวนทัศน์ในการพัฒนา 3 เรื่อง คือ 1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม 2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และ 3) เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ซึ่งแตกต่างกับนโยบาย “ประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและทำให้ประเทศไทยติดอยู่ใน 3 กับดัก คือ รายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่สมดุลในการพัฒนา

สำหรับความพร้อมของภาคการเกษตร 4.0 เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ “ภายใต้
โมเดลไทยแลนด์ 4.0” ภาคการเกษตรควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมบุคลากรสู่การเป็น Smart Officer และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรสู่การเป็น Smart Farmer และ Young Smart Farmer ที่มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและการตลาด มีการติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการนำข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรของตนเองมากขึ้น

หากในอนาคตนโยบาย “โมเดล ไทยแลนด์ 4.0 ”ประสบผลสำเร็จในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และภาคเกษตรสามารถพัฒนาเกษตรกรให้มีระดับมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามที่วางแผนไว้ ภาครัฐไม่จำเป็นต้องกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและโอบอุ้ม เกษตรกรอย่างที่เป็นมาในอดีต

การคัดกรองเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็น Smart Farmer นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ประเด็นหลัก คือ รายได้ของครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ปีและมีคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ ดังตาราง

ตาราง หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรที่เป็น Smart Farmer แบ่งตามคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ ทั้งนี้ เมื่อประเมินคุณสมบัติของเกษตรกรแล้ว ผ่านทั้งคุณสมบัติด้านรายได้ และคุณสมบัติพื้นฐานครบทั้ง 6 ข้อ โดยผ่านตัวบ่งชี้อย่างน้อย 1 ตัวในแต่ละคุณสมบัติเกษตรกรรายนั้นจะอยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer แต่หากไม่ผ่านคุณสมบัติด้านรายได้หรือคุณสมบัติพื้นฐานหรือทั้งสองคุณสมบัติเกษตรกรรายนั้นจะอยู่ในกลุ่ม Developing Smart Farmer

อย่างไรก็ตาม เพื่อสะท้อนภาพสถานการณ์จริงในระดับครัวเรือน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่สำรวจในหัวข้อเรื่อง “ข้อจำกัดและศักยภาพของการทำฟาร์มแบบปราดเปรื่องและความรับผิดชอบของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี” โดยทำการสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 741 ราย มีรายละเอียดของผลการศึกษา ดังนี้

Existing Smart Farmer มีจำนวน 87 ราย มีลักษณะดังนี้

ด้านข้อมูลพื้นฐานพบว่า เกษตรกรมีอายุ เฉลี่ย 56.4 ปี ประสบการณ์การประกอบอาชีพด้านการเกษตรของผู้มีอำนาจตัดสินใจเฉลี่ย 32.4 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คน จำนวนสมาชิกครัวเรือนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเฉลี่ย 0.4 คน แรงงานเกษตรแบบเต็มเวลาเฉลี่ย 1.6 คน แรงงานเกษตรแบบไม่เต็มเวลาเฉลี่ย 0.9 คน และเป็นสมาชิกกลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตร้อยละ 22.1

ด้านพื้นที่การเกษตร พบว่า เกษตรกรมีค่าเฉลี่ยพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน 29.2 ไร่ เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 28.9 ไร่ และเป็นพื้นที่ว่างเปล่า 0.3 ไร่ มีพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน 22.7 ไร่ เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 21.7 ไร่ และเป็นพื้นที่ว่างเปล่า 1.0 ไร่

ด้านรายได้และรายจ่ายครัวเรือน พบว่า เกษตรกรมีค่าเฉลี่ยรายได้ภาคเกษตร 372,703 บาท/ปี รายจ่ายภาคเกษตร 115,490 บาท/ปี รายได้ภาคเกษตรสุทธิ 257,213 บาท/ปี รายได้นอกภาคเกษตร 146,149 บาท/ปี รายจ่ายนอกภาคเกษตร 257,056บาท/ปี รายได้นอกภาคเกษตรสุทธิ -110,906 บาท/ปี และมีรายได้ครัวเรือนสุทธิ 146,307 บาท/ปี

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า เกษตรกรมีคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตในครัวเรือนจำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.9 และใช้ smart phone ในการหาข้อมูลทางด้านการเกษตร จำนวน 16 ราย คิดเป็นร้อยละ18.4

Developing Smart Farmer มีจำนวน 654 ราย สมัครยูฟ่าเบท มีลักษณะ ดังนี้ ด้านข้อมูลพื้นฐาน พบว่า เกษตรกรมีอายุ เฉลี่ย 56.1 ปี ประสบการณ์การประกอบอาชีพด้านการเกษตรของผู้มีอำนาจตัดสินใจเฉลี่ย 32.7 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.2 คน จำนวนสมาชิกครัวเรือนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปเฉลี่ย 0.4 คน แรงงานเกษตรแบบเต็มเวลาเฉลี่ย 1.7 คน แรงงานเกษตรแบบไม่เต็มเวลาเฉลี่ย 0.9 คนและเป็นสมาชิกกลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตร้อยละ 13.2

เลี้ยงกุ้งก้ามแดงเป็นการค้าต้องขึ้นทะเบียน…ภายใน 60 วัน

กุ้งก้ามแดง-สัตว์น้ำควบคุม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องฉบับแรกที่ควบคุมเรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงคือ กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. 2559 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ให้ไว้ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดย พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ) สาระสำคัญดังนี้

ให้กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังต่อไปนี้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม

(1) การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

(2) การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii)

(3) การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.)

(4) การเพาะเลี้ยงจระเข้

(5) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง

(6) การเพาะเลี้ยงหอยทะเล

ผู้เลี้ยงต้องแจ้งภายใน 60 วัน
ฉบับต่อมาคือ ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 78 (1) และ (7) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยอธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังนี้

“ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดประกาศกำหนดพื้นที่ให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้

กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจะดำเนินกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้”

(ผู้ประกอบกิจการ หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมเพื่อขายหรือจำหน่ายหรือได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทน)

ห้ามไม่ให้หลุดรอดจากสถานที่เลี้ยง
ในประกาศฉบับเดียวกันนี้ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarusclarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติดังนี้

(1) กรณีการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อปูแผ่นพลาสติก หรือนาข้าว ต้องดำเนินการจัดทำที่กั้นบริเวณขอบบ่อโดยรอบ โดยจัดวางเป็นแนวเอียงเข้าหาบ่อ และมีความสูงตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตรเพื่อป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

(2) กรณีการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตต้องมีผนังบ่อสูงเหนือระดับเก็บกักน้ำไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการหลุดรอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

(3) กรณีการเลี้ยงในภาชนะที่ใช้เลี้ยงอื่น ๆ เช่น ตู้กระจก กล่อง ลังพลาสติก กาละมัง ถัง เป็นต้น ต้องมีที่ปิดมิดชิดสามารถป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

(4) ทางระบายน้ำออกจากที่เพาะเลี้ยงต้องมีระบบป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชไม่ให้ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

(5) ห้ามนำกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช ไปเลี้ยง หรือปล่อย ในแหล่งน้ำสาธารณะ

(กรณีฝ่าฝืนจะมีบทกำหนดโทษ…ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ฯลฯ)

ทำไมต้องควบคุม…
“กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่นำมาเข้ามาจากออสเตรเลีย จากรายงานวิจัยของต่างประเทศพบว่าเป็นสัตว์น้ำที่อาจทำลายสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เลี้ยงในนาข้าวก็อาจจะกัดกินต้นข้าว แต่ทั้งนี้ในบ้านเราเองยังไม่ได้มีการทำรายงานวิจัยอย่างชัดเจนว่าจะเหมาะกับสภาพแวดล้อมของเราหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านก็มีสัตว์น้ำหลายชนิดที่อาจจะเหมาะกับบ้านเรา เช่น ปลาช่อน ในขณะที่อเมริกาห้ามนำเข้าปลาช่อนไปเลี้ยงเพื่อขายหรือจำหน่าย เพราะเขามองว่าไปกินสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ”

จากเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวนี้ จึงมีการควบคุมไว้ก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่า “ห้ามเลี้ยง” ตรงประเด็นนี้ รองอธิบดีกรมประมงได้ย้ำหลายครั้ง และเมื่อสักระยะเวลาหนึ่งที่นักวิจัยของไทยได้ทำความชัดเจนให้เกิดขึ้นก็อาจจะมีการผ่อนผัน และเปิดเสรีให้เลี้ยงก็เป็นได้

สอบถามรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่ไหนบ้าง?
สำนักงานประมงจังหวัด
สำนักงานประมงอำเภอ
กองกฎหมาย กรมประมง หรือเว็บไซต์กรมประมง

วันนี้ (3 ส.ค. 59) ที่ตลาดไท จ.ปทุมธานี คึกคักกันตั้งแต่เช้า เพราะว่าเขามีการจัดงานกล้วยหอมจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 7 ภายในงานมีกิจกรรมกรรมหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ การประกวดกล้วยหอมจ.ปทุมธานี ที่เริ่มตั้งแต่เช้าและภาคบ่ายก็รับรางวัลกัน…งานดีๆ มีสีสันอย่างนี้ “เกษตรก้าวไกล” จึงไม่พลาด…

ไปถึงก็เห็นกล้วยแขวนเป็นหวีๆเรียงราย…ติดเบอร์ไว้พร้อมสรรพ นับได้ 57 หวี ทราบจากผู้จัดงาน (ตลาดไท ร่วมกับเครือข่ายธุรกิจ Biz Club ปทุมธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี) ว่าวันนี้มีส่งเข้าประกวดจำนวน 5 ราย จากผู้ค้าในตลาดไท ซึ่งน้อยกว่าทุกครั้ง และปกติประกวดกันยกเครือ และเป็นกล้วยที่สุก แต่ครั้งนี้เป็นแบบดิบๆ

“ที่ผ่านมาทุกปีจะประกวดกล้วยเป็นเครือๆ แต่ปีนี้กล้วยมีน้อย จึงเปลี่ยนมาประกวดเป็นหวี เพราะกล้วยแพง…เห็นใจเกษตรกร เอาไว้ขายดีกว่า” ส่วนคณะกรรมการ ประกอบด้วย คุณสมเดช คงกะพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี คุณชัยโรจน์ สุเอียนทรเมธี สำนักงานการค้าภายในจังหวัดปทุมธานี รศ. วรภัทร ลัคนทินวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณพุทธศิษย์ พุทธสถิตย์กุล บริษัท เอ-เบสท์ จำกัด และ คุณเปรม ณ สงขลา แห่งวารสารเคหการเกษตร

ได้เวลากล้วยพร้อม กรรมการพร้อม กองเชียร์พร้อม…ก็เริ่มกันเลย

รอบแรกนั้น คณะกรรมการจะคัดกล้วยที่มองว่าไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ออก…คือกล้วยที่เข้าประกวดตามเกณฑ์การตัดสิน จะมี 5 ด้าน ครั้งนี้

ขนาด หมายถึง ขนาดของหวีและผลใหญ่สม่ำเสมอ
รูปร่างลักษณะ หมายถึง รูปทรงและลักษณะหวีและผลกล้วยที่มีลักษณะดีนั้นจะต้องมีผลในหวีเรียงตัวเป็นระเบียบ …ไม่แตกแถวว่างั้นเถอะ
สีผิว หมายถึง สีของผลเป็นสีเขียวอ่อน ผิวเรียบสวยงามไม่มีริ้วรอย
ความดก หมายถึง จำนวนผลในหวีต้องพอดี (จากการกระซิบถามเกษตรจังหวัดบอกว่าต้องไม่น้อยกว่า 13 ผล)
ความสมบูรณ์ภายนอก หมายถึง สภาพทั่วไปของหวีและผล ซึ่งจะต้องสะอาดปราศจากโรคแมลง และตำหนิที่ผิดปกติ ซึ่งจะต้องไม่มีการตกแต่งใดๆ

คณะกรรมใช้เวลาเดินวนไปมาอยู่หลายรอบ… “รักพี่เสียดายน้อง” …คัดกล้วยให้เหลือน้อยที่สุด…ไม้เด็ดสุดท้าย(ไม่มีในเกณฑ์ตัดสินที่กำหนดไว้) ตัดสินกันที่ “ความแก่” และ “เปลือก” เพราะว่าดูภายนอกก็ใกล้เคียงกันหมด เหลือดูภายใน ต้องดูกันให้หมดจดจริงๆ…ตรงนี้นั้นทางเกษตรจังหวัดที่พกมีดมาด้วย ทำหน้าที่ตัดผลกล้วยออกมาพิสูจน์กันเลย…ดูว่าแก่ได้ที่หรือไม่ และเปลือกบางหรือไม่

สุดท้ายผลก็ออกมา ดังนี้

“รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 คุณเกรียงศักดิ์ วิเลปะนะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง คุณเสาวนีย์ วิเลปะนะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง คุณรัตนา พรหมเจริญ รางวัลชมเชย 2 รางวัล คุณภารดร เทพพาณิชย์ และคุณสุลิตา กล้าการขาย”

เมื่อประกวดเสร็จภาคบ่ายได้มีการมอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดกล้วยหอม โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร)

ผู้ได้รับรางวัลรู้สึกอย่างไรบ้าง….คุณเสาวนีย์ วิเลปะนะ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมรายใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี และทำธุรกิจขายส่งกล้วยหอมในนาม “คิงฟรุทส์” บอกว่า “ดีใจค่ะน้องๆ ทีมสวนตั้งใจทุกปีกับงานประกวดกล้วยหอมปทุมธานี ปีนี้ได้รางวัลก็ดีใจ ปีไหนไม่ได้ก็กลับไปตั้งใจเอาใหม่ ปีหน้าต้องทำให้ดีกว่าเดิม…ปีที่แล้วได้รางวัลที่ 3 ค่ะ ปีนี้กลับมาแก้ตัว (ได้ทั้งชนะเลิศและรองชนะเลิศ) เป็นความสุขของคนปลูกกล้วยค่ะ”

ทางด้านเกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ในจังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมประมาณ 20,000 ไร่ มีผลผลิตกว่า 58,040 ตัน/ปี นับเป็นสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัด มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 145 ล้านบาท และนับเป็นความโชคดีที่ปทุมธานีมีตลาดกลางสินค้าเกษตรขนาดใหญ่คือตลาดไท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ

เรื่องที่น่ายินดีของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมเวลานี้ คือ ราคากล้วยหอมทะยานสูงอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้อฝ่ายปชส.ตลาดไทและพ่อค้าบอกตรงกันว่า เวลานี้กล้วยหอมขายส่งหวีละ 100-120 บาท เข่งหนึ่งมี 7 หวี ก็ตก 700 บาท เป็นราคาที่หอมหวลจริงๆ

เหตุที่ราคากล้วยหอมถีบตัวสูงขึ้น ได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมจากฝ่ายตลาดของคิงฟรุทส์ว่า เพราะช่วงที่ผ่านมาเกิดภัยธรรมชาติ ภัยแล้ง ลมพายุ โดยเฉพาะลมพายุนั้นทำให้ต้นกล้วยในพื้นที่ล้มเสียหาย ส่วนภัยแล้งในปทุมธานีจะปลูกกล้วยแบบร่องน้ำ อาจพอประคองอยู่ได้ แต่กับกล้วยในพื้นที่อื่นๆ อาจแห้งแล้งผลผลิตก็เลยอาจน้อยลงบ้าง

“ช่วงนี้ราคากล้วยหอมดีมาก แต่หลังจากนี้อาจลดลงบ้าง แต่คิดว่าลดลงก็ไม่ต่ำมาก เพราะช่วงสารทจีนความต้องการกล้วยหอมก็เพิ่มขึ้นหลายเท่า ปริมาณกล้วยหอมหลังสารทจีนจึงยังน้อยอยู่ ราคาก็ยังดีอยู่ และยังมีเทศกาลตรุษจีน รออยู่ข้างหน้า คิดว่าราคากล้วยดีไปจนถึงตรุษจีนค่ะ…จะเยอะล้นตลาดก็เดือน มี.ค. ค่ะ”

วันนี้ (3 ส.ค. 59) ที่ตลาดไท จ.ปทุมธานี คึกคักกันตั้งแต่เช้า เพราะว่าเขามีการจัดงานกล้วยหอมจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 7 ภายในงานมีกิจกรรมกรรมหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ การประกวดกล้วยหอมจ.ปทุมธานี ที่เริ่มตั้งแต่เช้าและภาคบ่ายก็รับรางวัลกัน…งานดีๆ มีสีสันอย่างนี้ “เกษตรก้าวไกล” จึงไม่พลาด…

ไปถึงก็เห็นกล้วยแขวนเป็นหวีๆเรียงราย…ติดเบอร์ไว้พร้อมสรรพ นับได้ 57 หวี ทราบจากผู้จัดงาน (ตลาดไท ร่วมกับเครือข่ายธุรกิจ Biz Club ปทุมธานี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี) ว่าวันนี้มีส่งเข้าประกวดจำนวน 5 ราย จากผู้ค้าในตลาดไท ซึ่งน้อยกว่าทุกครั้ง และปกติประกวดกันยกเครือ และเป็นกล้วยที่สุก แต่ครั้งนี้เป็นแบบดิบๆ

“ที่ผ่านมาทุกปีจะประกวดกล้วยเป็นเครือๆ แต่ปีนี้กล้วยมีน้อย จึงเปลี่ยนมาประกวดเป็นหวี เพราะกล้วยแพง…เห็นใจเกษตรกร เอาไว้ขายดีกว่า” ส่วนคณะกรรมการ ประกอบด้วย คุณสมเดช คงกะพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี คุณชัยโรจน์ สุเอียนทรเมธี สำนักงานการค้าภายในจังหวัดปทุมธานี รศ. วรภัทร ลัคนทินวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณพุทธศิษย์ พุทธสถิตย์กุล บริษัท เอ-เบสท์ จำกัด และ คุณเปรม ณ สงขลา แห่งวารสารเคหการเกษตร

ได้เวลากล้วยพร้อม กรรมการพร้อม กองเชียร์พร้อม…ก็เริ่มกันเลย

รอบแรกนั้น คณะกรรมการจะคัดกล้วยที่มองว่าไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ออก…คือกล้วยที่เข้าประกวดตามเกณฑ์การตัดสิน จะมี 5 ด้าน ครั้งนี้

ขนาด หมายถึง ขนาดของหวีและผลใหญ่สม่ำเสมอ
รูปร่างลักษณะ หมายถึง รูปทรงและลักษณะหวีและผลกล้วยที่มีลักษณะดีนั้นจะต้องมีผลในหวีเรียงตัวเป็นระเบียบ …ไม่แตกแถวว่างั้นเถอะ
สีผิว หมายถึง สีของผลเป็นสีเขียวอ่อน ผิวเรียบสวยงามไม่มีริ้วรอย
ความดก หมายถึง จำนวนผลในหวีต้องพอดี (จากการกระซิบถามเกษตรจังหวัดบอกว่าต้องไม่น้อยกว่า 13 ผล)
ความสมบูรณ์ภายนอก หมายถึง สภาพทั่วไปของหวีและผล ซึ่งจะต้องสะอาดปราศจากโรคแมลง และตำหนิที่ผิดปกติ ซึ่งจะต้องไม่มีการตกแต่งใดๆ คณะกรรมใช้เวลาเดินวนไปมาอยู่หลายรอบ… “รักพี่เสียดายน้อง” …คัดกล้วยให้เหลือน้อยที่สุด…ไม้เด็ดสุดท้าย(ไม่มีในเกณฑ์ตัดสินที่กำหนดไว้) ตัดสินกันที่ “ความแก่” และ “เปลือก” เพราะว่าดูภายนอกก็ใกล้เคียงกันหมด เหลือดูภายใน ต้องดูกันให้หมดจดจริงๆ…ตรงนี้นั้นทางเกษตรจังหวัดที่พกมีดมาด้วย ทำหน้าที่ตัดผลกล้วยออกมาพิสูจน์กันเลย…ดูว่าแก่ได้ที่หรือไม่ และเปลือกบางหรือไม่

สุดท้ายผลก็ออกมา ดังนี้

“รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 คุณเกรียงศักดิ์ วิเลปะนะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง คุณเสาวนีย์ วิเลปะนะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง คุณรัตนา พรหมเจริญ รางวัลชมเชย 2 รางวัล คุณภารดร เทพพาณิชย์ และคุณสุลิตา กล้าการขาย”

เมื่อประกวดเสร็จภาคบ่ายได้มีการมอบรางวัลให้ผู้ชนะการประกวดกล้วยหอม โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (คุณนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร)

ผู้ได้รับรางวัลรู้สึกอย่างไรบ้าง….คุณเสาวนีย์ วิเลปะนะ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมรายใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี และทำธุรกิจขายส่งกล้วยหอมในนาม “คิงฟรุทส์” บอกว่า “ดีใจค่ะน้องๆ ทีมสวนตั้งใจทุกปีกับงานประกวดกล้วยหอมปทุมธานี ปีนี้ได้รางวัลก็ดีใจ ปีไหนไม่ได้ก็กลับไปตั้งใจเอาใหม่ ปีหน้าต้องทำให้ดีกว่าเดิม…ปีที่แล้วได้รางวัลที่ 3 ค่ะ ปีนี้กลับมาแก้ตัว (ได้ทั้งชนะเลิศและรองชนะเลิศ) เป็นความสุขของคนปลูกกล้วยค่ะ”

ทางด้านเกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ในจังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมประมาณ 20,000 ไร่ มีผลผลิตกว่า 58,040 ตัน/ปี นับเป็นสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัด มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 145 ล้านบาท และนับเป็นความโชคดีที่ปทุมธานีมีตลาดกลางสินค้าเกษตรขนาดใหญ่คือตลาดไท ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ

เรื่องที่น่ายินดีของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมเวลานี้ คือ ราคากล้วยหอมทะยานสูงอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลข้อฝ่ายปชส.ตลาดไทและพ่อค้าบอกตรงกันว่า เวลานี้กล้วยหอมขายส่งหวีละ 100-120 บาท เข่งหนึ่งมี 7 หวี ก็ตก 700 บาท เป็นราคาที่หอมหวลจริงๆ

เหตุที่ราคากล้วยหอมถีบตัวสูงขึ้น ได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมจากฝ่ายตลาดของคิงฟรุทส์ว่า เพราะช่วงที่ผ่านมาเกิดภัยธรรมชาติ ภัยแล้ง ลมพายุ โดยเฉพาะลมพายุนั้นทำให้ต้นกล้วยในพื้นที่ล้มเสียหาย ส่วนภัยแล้งในปทุมธานีจะปลูกกล้วยแบบร่องน้ำ อาจพอประคองอยู่ได้ แต่กับกล้วยในพื้นที่อื่นๆ อาจแห้งแล้งผลผลิตก็เลยอาจน้อยลงบ้าง

“ช่วงนี้ราคากล้วยหอมดีมาก แต่หลังจากนี้อาจลดลงบ้าง แต่คิดว่าลดลงก็ไม่ต่ำมาก เพราะช่วงสารทจีนความต้องการกล้วยหอมก็เพิ่มขึ้นหลายเท่า ปริมาณกล้วยหอมหลังสารทจีนจึงยังน้อยอยู่ ราคาก็ยังดีอยู่ และยังมีเทศกาลตรุษจีน รออยู่ข้างหน้า คิดว่าราคากล้วยดีไปจนถึงตรุษจีนค่ะ…จะเยอะล้นตลาดก็เดือน มี.ค. ค่ะ”

จากการคาดการณ์ดังกล่าว จำทำให้เห็นว่ากล้วยหอม ยังเป็นโอกาสทองของเกษตรกรอยู่ไม่น้อย(จริงอยู่ที่ว่าราคารับซื้อจากเกษตรกรอาจไม่สูงเท่าแต่ก็เป็นแนวโน้มที่ดี)…ซึ่งเกษตรจังหวัดได้ย้ำสุดท้ายว่า “กล้วยหอมปทุมธานี รสชาติดี…และตลาดมีโอกาสขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเขาเชื่อถือในรสชาติกล้วยหอมของเราว่าดีกว่าประเทศใดๆ”

เกษตรกรกรกล้วยหอม จึงขอเฮ ดังๆ ด้วยประการฉะนี้ หมายเหตุ-เกษตรก้าวไกล : เนื่องจากเวลานี้ มีโฆษณาเรื่องพันธุ์อินทผาลัมกันมาก และมักมีคำถามจากเกษตรกรเสมอว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจจริงหรือ อนาคตจะยั่งยืนแค่ไหน…”เกษตรก้าวไกล” จึงขอทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง พร้อมที่จะรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ “คำตอบอาจยังมาไม่ถึง แต่คำห่วงใยก็เกิดขึ้นแล้ว” ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงอื่นใด

“ดีกับคนเริ่มต้น คนตามหลัง(อาจ)หมดตูด”

สถานการณ์การปลูกอินทผาลัมของประเทศไทย คิดว่าที่ปลูกกันนั้นได้ผลดีหรือไม่?
การปลูกและการผลิต ต้องยอมรับว่าเวลานี้มีปลูกกันทุกภาค แต่เท่าที่ติดตามดูผมว่าผลผลิตหลายที่ ยังไม่ดีทีเดียว ถ้าราคาเหลือกิโลกรัมละ 100 – 150 บาท ก็ไม่คุ้มแล้วครับ

เกษตรกรที่ปลูกบอกว่าต้นหนึ่ง 100-200 กิโลกรัมๆ 50 บาทก็อยู่ได้ แต่จริงๆมันไม่ได้อย่างนี้ทุกต้น เพราะความไม่เสถียรในเรื่องรสชาติและความหวานของแต่ละต้นในพันธุ์เดียวกัน

ตลาดอยู่ที่ไหนและความนิยมในหมู่บริโภคคนไทย คิดว่าดีไหม?
เท่าที่ชิมดูผมว่าเป็นของกินของคนมีเงินนะ รสชาติออกฝาดนิดๆ เกือบทุกต้น สำหรับผม แค่กิโลละ 50 บาท ผมว่าซื้อพุทรากินดีกว่า แต่คนอื่นผมไม่ทราบ ผมว่ารสชาติไม่ถูกรสนิยมคนไทยนะ แค่เห่อเพราะของใหม่ ดูทะลายกับลูกมันสวยดี

หากคิดจะปลูกควรเริ่มต้นอย่างไร …เตรียมพร้อมในเรื่องอะไรบ้าง?
แค่ราคาพันธุ์ก็ถอยแล้วครับ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นละ 1,200 บาท จะไหวเรอะ

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปลูกได้ผลดี เช่น พันธุ์ ควรเป็นพันธุ์อะไร อย่างไร?
พันธุ์ที่ดี พันธุ์เดียวกันแท้ๆ จากเนื้อเยื่อ คุณภาพกับรสชาติยังไม่เหมือนกัน บางต้นก็ฝาดมาก ต้องขุดออกทิ้ง แถมมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถแยกเพศได้ด้วยสายตาเลย เกษตรกรต้องมีต้นตัวผู้เพื่อเก็บเกสรไปผสมให้กับต้นตัวเมีย ไม่เช่นนั้นไม่ได้ลูก ยากครับ เป็นการปลูกพืชที่ต้องการความปราณีตมาก ถ้าราคากิโลกรัมละ 500 บาท ก็พอไหว แต่ถ้าปลูกกันมากๆ คนปลูกทีหลังเสร็จแน่

ปัญหาการปลูกในประเทศไทยที่เกษตรกรควรระวัง?
ปัญหาของอินทผาลัม เหมือนมะพร้าว ศัตรูที่สำคัญคือด้วง ถ้าเข้าทำลายเมื่อไร 1,200 บาท หายวับไปกับตา ยังไม่รวมค่าแรงปลูก ค่าปุ๋ย ฯลฯ

ที่มีการประกาศโฆษณาขายพันธุ์กันตอนนี้ ให้เลือกซื้ออย่างไร?
การขายพันธุ์ แต่ละรายก็บอกว่าเป็นตัวเมียทั้งหมดจากเนื้อเยื่อ แต่คนซื้อไปปลูกอย่าน้อยประมาณ 2-3 ปี จะรู้ผล ถ้าออกมาไม่ดี ก็เจ๊ง เสียเวลาไปเปล่าๆ ธุรกิจนี้ดีกับคนเริ่มต้น กับคนขายพันธุ์ คนตามหลัง(อาจ)หมดตูดได้ครับ

มองระยะยาวอิมทผาลัมประเทศไทย จะมีความยั่งยืนแค่ไหน ไปได้ไกลไหม?
ธุรกิจตัวนี้ ก็เหมือนกล้ายางดีที่คนขายพันธุ์กับคนปลูกแรกๆ คนหลังหมดตัว ถ้าจะทำให้ยั่งยืนต้องปลูกในพื้นที่ๆใหญ่มากๆ ทำให้ผลผลิตออกขายได้ตลอดปี จึงจะครองตลาดได้ ชึ่งอินทผาลัม ก็เหมือนมะพร้าวเวลาช่วงฤดูก็จะมีผลผลิตออกมาก ราคาก็จะตก พอหมดช่วงฤดูก็จะให้ผลผลิตออกน้อยไม่พอกับความต้องการของตลาดราคาก็จะสูง

ตอนนี้คนปลูกช่วงแรกรวย กิโลกรัมละ 500 บาท ต้นหนึ่งๆผลผลิตอย่างต่ำแค่ 100 กิโลต่อต้นต่อปี ก็ได้ 50,000 บาทแล้ว ถ้าไร่หนึ่งมี 20 ต้น ขายได้ไร่ละล้านบาท ดูตัวเลขแล้วน่าทำนะ ตัวเลขคล้ายๆลองกองสมัยแรกๆจากกิโลกรัมละ 300 บาท เหลือ 3 กิโลกรัม 100 บาท

ถ้าขายสดไม่ได้ จะอบหรือตากแห้งก็ไม่คุ้ม เพราะบ้านเราความชื้นสูง ต้นทุนจะสูงกว่านำเข้า ที่สำคัญคือคุณภาพสู้ที่นำเข้าไม่ได้แน่นอน

ผมว่าอินทผาลัมเป็นผลไม้แฟชั่น ของคนมีสตางค์…ปลูกมะพร้าวดีกว่ามากมาย ขายได้ทุกระยะ ส่งออกก็สดใส ส่วนอินทผาลัมส่งออกจีนไม่ได้ แค่ราคาก็ส่ายหน้าแล้ว แถมรสชาติสู้พุทราจีนไม่ได้ ได้เพียงแค่สีสันเท่านั้น

สรุปว่าเกษตรตามกระแส มีสิทธิ์หมดตัวเหมือนเดิม มันเป็นความจริงที่ต้องยอมรับ เราเป็นห่วงคนที่ลงทุนตามกระแส รุ่นแรกๆไม่น่าห่วง…ทุกวันนี้ “ปลาเร็วกินปลาช้า” ไม่ใช่ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” …คนขายพันธุ์ไม้รวยกว่าคนปลูกแน่นอนครับ

หมายเหตุ : คุณศักดา ศรีนิเวศน์ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการเกษตรอิสระ และเป็นคอลัมน์นิสต์ “เกษตรต่างแดน” ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และเครือมติชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สืนสานประเพณี “ปลูกข้าววันแม่…เก็บเกี่ยววันพ่อ” เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ณ ทุ่งนาไพร ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรฯ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และวโรกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี

งานนี้ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ต่อเนื่องทุกปี โดย รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธาน เริ่มจากวางพานพุ่ม หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล ร่วมขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีมหาราชา และเพลงพระราชนิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.ตฤณ แสงสุวรรณ รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวรายงาน

กิจกรรมประกอบด้วย พิธีสักการะพระพิรุณ และหม่อมหลวงชูชาติ กำภู เคลื่อนขบวน รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ ไปยัง ณ ทุ่งนาไพร พิธีบูชาแม่โพสพ การสาธิตการปลูกข้าวด้วยเครื่องหยอดกล้าข้าว โชว์นวัตกรรมการเพาะกล้าข้าวด้วยเครื่อง พิธีปลูกข้าว โดยวิธีปักดำ รวมทั้งการแสดงรำเทิดพระกียรติจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการแสดงของนิสิต การโชว์แม่ไม้มวยไทย การแข่งขันจับปลาช่อน และนิทรรศการแปรรูปอาหารจากข้าวไทย ซึ่งมีโชว์ทำขนมต่างๆ โดยสำนักส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน

จุดเด่นของงานในครั้งนี้ คือการร่วมแรงร่วมใจกันมาทำนาปลูกข้าวสูงถึง 5,000 คน ซึ่งประกอบไปด้วยคณะผู้บริหารคณาจารย์ ผู้นำส่วนราชการ ท้องถิ่น บุคลากร นิสิตจากคณะต่างๆ และประชาชนชาวกำแพงแสน โดยใช้เนื้อที่กว่า 45 ไร่ ใช้ต้นกล้าข้าวพันธุ์ “ปิ่นเกษตร 1” ซึ่งเป็นข้าวที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศอับดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) เมื่อปี พ.ศ. 2547และเนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคล จึงมีการปลูกข้าวแปรอักษรเป็นตัวเลข “๙” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 อีกด้วย

ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ที่มี “ลุงตู่” เป็นหัวหน้าได้มีการพูดถึงภาคเกษตรกันมาก จนทำให้เกษตรกรมีการตื่นตัวกันตามลำดับ โดยเฉพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ เกิดขึ้นคนแล้วคนเล่า เป็นกระแสที่มาแรงมากๆ เป็นโอกาสที่จะพัฒนาภาคเกษตรไทยให้เป็นผู้นำของโลกได้ไม่ยาก

จาก “Smart farmer” ที่ต้องการปั้นให้ “เกษตรกรเป็นพระเอก” ก็มาสู่ “Thailand 4.0” โมเดลพัฒนาประเทศไทยใหม่ล่าสุดที่ต้องการยกระดับประเทศไทยในทุกมิติของภาคเศรษฐกิจ และแน่นอนว่าภาคเกษตรจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

แล้ว “Thailand 4.0” คืออะไร?

ตอบแบบเข้าใจง่ายๆและสั้นๆว่า คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ Thailand 1.0 ยุคแรกจะเน้นภาคเกษตร Thailand 2.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก

ทั้ง 3 โมเดลที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” แต่ก็หยุดอยู่แค่นั้น “หยุดนานจนเกินไป” ทำให้มีแนวคิด Thailand 4.0 ออกมา ซึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ออกมาจุดประกายแนวคิดนี้ ซึ่งว่ากันว่าจะสามารถขับเคลื่อนประเทศให้ไปได้ไกลกว่า โดยโมเดลนี้เป็นแนวคิดที่จะนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”

สรุปว่า Thailand 4.0 คือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อันหมายความว่าเราจะเปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม แปลง่ายๆก็คือว่าเราจะไม่ผลิตเพื่อขายกันแบบสดๆ แบบที่ผ่านมาในอดีตเพียงอย่างเดียว เช่น ปลูกข้าวก็ไม่ใช่ว่าขายแบบข้าวเปลือก แต่จะทำการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ทั้งแต่พันธุ์ข้าวที่ปลูกจะต้องมีการวิจัยพัฒนา เช่น ข้าวที่ทานแล้วแก้โรคนั้นโรคนี้ บำรุงนั้นบำรุงนี้ ทุกอย่างจะต้องมีเรื่องราวมีคุณค่าและมูลค่า จะต้องผูกโยงกับเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น

“เราจะเปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี เตรียมปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังเป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย” นี่คือโมเดลการการพัฒนาเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ที่ผมหยิบยกมาเฉพาะภาคเกษตร ซึ่งจริงๆเขาพัฒนาครอบคลุมทุกด้าน

ในเรื่องการพัฒนาโมเดลนี้ จริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างเช่นภาคเกษตรนั้น เกษตรกรหลายรายที่ผมรู้จักก็นำการพัฒนาไปแล้ว อย่างเช่น คุณเสาวนีย์ และคุณเกรียงศักดิ์ วิเลปะนะ เกษตรกรเจ้าของสวนกล้วยหอมย่านรังสิต ที่พลิกตัวเองมาเป็น “นักธุรกิจเกษตร” อย่างเต็มตัว ในฐานะเจ้าของบริษัทคิงฟรุทส์ฯ ด้วยแนวคิดทำการเกษตรให้เป็นธุรกิจ เปลี่ยนทัศนคติจากการเป็นผู้ตามมาเป็นผู้นำ สามารถเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าที่เป็นรายใหญ่ เช่น การขายกล้วยหอมให้กับห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมทั้งร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทั่วประเทศ

แต่การหมายมั้นปั้นมือของรัฐบาลเที่ยวนี้ คือการทำให้เกิดขึ้นทั้งระบบ ไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่ง คือต้องการให้ตื่นตัวกันทั้งประเทศ โดยรัฐบาลจะใช้นโยบาย “ประชารัฐ” คือการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน นั่นหมายถึง “เดินไปด้วยกัน” “สำเร็จด้วยกัน” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีทีเดียว

“เป้าหมายที่ได้จากโมเดลนี้คือเปลี่ยนประเทศไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” ให้กลายเป็นกลุ่ม “ประเทศที่มีรายได้สูง” ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพของเศรษฐกิจ จากกลไกต่างๆ เน้นไปทางการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ผสมกับภูมิปัญญาต่างๆ” นี่คือความฝันของรัฐบาลชุดนี้

สั้นๆง่ายๆ คือรัฐบาลชุดนี้จะใช้ภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะ “เกษตรคือประเทศไทย” เป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจต่างๆมากมาย เช่น อาหาร พลังงาน ฯลฯ

“ประเทศไทยจะต้องขับเคลื่อนด้วยภาคเกษตร” คือแนวคิดของลุงตู่ที่ผมได้ฟังมาจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เล่าให้ฟังว่าได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีท่านนี้เมื่อวันก่อน และม.เกษตรเองก็จะเป็นเจ้าภาพในงานวิจัยพัฒนาต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ในฐานะที่เฝ้าติดตามวงการเกษตรมาเป็นเวลานานและเป็นลูกของเกษตรกรคนหนึ่งก็อยากให้นโยบายแบบนี้สำเร็จ

“เกษตรกรต้องก้าวไกล เกษตรไทยต้องเป็นที่ 1” คือความฝันอันสูงสุดของใครต่อใคร รวมทั้งของผมคนหนึ่งด้วยละที่อยากให้เกษตรกรเป็น “พระเอกตัวจริง” เสียที…อย่าให้รอนานเกินไปนะครับ

เมื่อวาน (30 สิงหาคม 59) ได้รับวารสารเคหการเกษตร จาก อ.เปรม ณ สงขลา บรรณาธิการใหญ่ของหนังสือเล่มนี้ บอกว่าเป็นเล่มใหม่สดๆร้อนจากแท่นพิมพ์ ซึ่งจะวางจำหน่ายตามร้านในวันที่ 1 กันยายน นี้

ผมไม่รอช้าที่จะเปิดอ่านทันที เพราะหน้าปกเป็นเรื่องที่ผมเองก็กำลังสนใจอยู่พอดี เขาขึ้นปกว่า “ไอเดียต่อยอดธุรกิจเกษตรของคนรุ่นใหม่” ก็ต้องยอมรับกันละว่าเวลานี้คนรุ่นใหม่หายใจเข้าออกเป็นเกษตรมากขึ้น จากเดิมที่เดินตามกระแสประเทศยักษ์ใหญ่ แต่เมื่อวันนี้โลกเปลี่ยน ทุกสิ่งทุกอย่างกลับคืนสู่ธรรมชาติ “เงินทองเป็นมายาข้าวปลาเป็นของจริง” อมตวาจาของ

เดินหน้าประกาศจะขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม สมัครจีคลับ ตามโมเดล Thailand 4.0 ที่ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรอันเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ ทุกอย่างดูเหมือนจะลงตัว คนรุ่นใหม่ก็เลยเฮโลกันเข้ามา… คำว่า Young Smart Farmer จึงดูจะเป็นคำศัพท์สุดฮิตที่ค้นหาได้ง่ายจาก Google และแน่นอนว่า เจ้าของคำศัพท์นี้ประเทศไทยของเรายึดครองมากกว่าใคร

หลายองค์กรเดินหน้าหนุน พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ

ในขณะที่จำนวนประชากรโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างน่าตระหนก คนล้นโลกกำลังจะเป็นความจริงในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ประกอบกับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตพืชเพื่อใช้เป็นอาหาร และเมื่อถึงเวลาหนึ่ง อาหารจะมีเพียงพอหรือไม่ นั่นเป็นคำถามที่ทุกท่านจะต้องช่วยกันแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิทยาศาสตร์จะต้องคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มผลผลิตบนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งต้องรักษาสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม(พืชจีเอ็ม)เชิงการค้าเป็นปีที่ 20 ซึ่งพัฒนามาจากเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ในพื้นที่ที่มากกว่า 1,000 ล้านไร่ทั่วโลก สามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นการค้า แต่อนุญาตให้นำเข้าเมล็ดข้าวโพดและถั่วเหลืองรวมทั้งกากถั่วเหลือง ที่มาจากข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อใช้เป็นอาหารคนและสัตว์ รวมทั้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ

แต่ก็มีกลุ่มต่อต้านการใช้ประโยชน์จากพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งล่าสุดส่งผลให้นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไม่ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยอ้างว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร ส่งผลให้งานวิจัยและพัฒนาในประเทศหยุดชะงัก

สมาพันธ์เกษตร ปลอดภัย มั่นคง ยั่งยืนแห่งชาติ ตระหนักดีว่า ปัญหาการผลิตพืชที่เกษตรกรประสบนั้น สามารถที่จะบรรเทาลงได้โดยการใช้ประโยชน์จากพืชเทคโนชีวภาพ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรจะต้องแสดงเจตจำนงให้เห็นว่า จะต้องใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมในการเพาะปลูก เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อนึ่ง ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีการจัดรายการเสวนาให้กับเกษตรกรใน 7 พื้นที่ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ความรู้ที่ถูกต้องบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม (2) สร้างทางเลือกให้เกษตรกรในการเลือกใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม และ (3) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีนำ ร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ กลับขึ้นมาพิจารณาใหม่

ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 7 ครั้ง เฉลี่ยร้อยละ 83.5 เป็นเกษตรกรจากจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 1,041 คน
ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 7 ครั้ง เฉลี่ยร้อย 92.5 เห็นว่าการเสวนานี้มีประโยชน์ เนื่องจาก ได้ทราบถึงปัญหาจริงๆ ที่เกษตรกรได้รับ ได้รู้ถึงประโยชน์ของพืชจีเอ็มที่แท้จริง ได้รู้ว่าพืชจีเอ็มสามารถทำให้ลดต้นทุน ลดการใช้สารป้องกัน เพิ่มผลผลิต รวมทั้งทนแล้ง ซึ่งไม่ได้เลวร้ายดังที่เคยได้ยินมา

ผู้เข้าร่วมเสวนาทั้ง 7 ครั้ง เฉลี่ยร้อยละ 83.6 จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีนำ ร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ กลับขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกและทางรอดจากการใช้พืชจีเอ็ม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ได้แถลงกัน และจะสรุปข้อมูลทั้งหมดไปให้ภาครัฐประกอบการพิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง ซึ่งจะสำเร็จในรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของอนาคต รู้แต่ว่าเวลานี้หลายองค์กรรุกหนัก ในขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถรับได้ในหลายประเด็น จึงอยู่ที่ว่าภาครัฐจะกล้าตัดสินใจอย่างไร…ก็คงต้องติดตามกันต่อไป

หลายคนที่ได้ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย “ภาคเกษตร” จะเห็นภาพสาวน้อยคนหนึ่งคอยโพสต์รูปสวยๆ กับงานเกษตร ผ่านทางเฟสบุ๊คของเธอ…และมีเพื่อนๆกดไลท์ บางโพสต์หลายพัน หรือแชร์ให้เห็นกันเป็นหมื่นๆ คนก็มี

ชื่อของเธอ “ฤทัยรัตน์ สุวรรณเจริญ” หรือชื่อที่ใช้ในเฟสบุ๊คว่า “มะกอ กุ้งก้ามแดง จังหวัดแพร่” ซึ่งมีแปลงทำการเกษตรอยู่ที่ 24 หมู่ 3 ต.วังธง อ.เมือง จ.แพร่

เธอต้องการสื่ออะไรให้กับสังคม ให้กับภาคเกษตร…เราลองมาฟังจากปากของเธอกันดีกว่า…

เกษตรกรรุ่นใหม่หัวใจพอเพียง
พอเพียง คือความสุข
แรงบันดาลใจที่มาทำเกษตร…
ก็คงจะเป็นความชื่นชอบส่วนตัวที่ได้เห็นพ่อแม่ทำเกษตรมาโดยตลอด ซึ่งชีวิตมะกอ(ชื่อเล่น)ไม่ได้เรียนจบทางด้านการเกษตร อาศัยเรียนรู้จากพ่อแม่และเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งก็ไม่มีอะไรยาก เพียงแต่ต้องลงมือทำเท่านั้น

จริงๆ เรียนจบมาด้านไหน และเคยทำงานประจำหรือไหม
จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ และจบปริญญาโทรัฐศาสตร์ค่ะ…และตอนนี้ก็ทำงานประจำอยู่ด้วย ทำงานบริการ เป็นพิธีกรต้อนรับนักท่องเที่ยวค่ะ

แล้วเอาเวลาช่วงไหนมาทำการเกษตร…
ทำได้ทุกวันค่ะ…เป็นเกษตกรวันหยุด ตื่นตีห้าลุกขึ้นมาทำสวน ถึงเวลาก็ไปทำงาน เลิกงานก็เข้าสวน เป็นอย่างนี้มาหลายปีแล้ว คือต้องบริหารเวลาค่ะ

อยากเน้นให้คนที่ทำงานไม่ว่างานใดๆ ท่านทำเกษตรตอนนี้ก็เหมือนเป็นการปูทางชีวิตไว้ในบั้นปลาย เพราะทุกคนต้องกิน…เกษตรคือชีวิตค่ะ

เริ่มมาทำเกษตรแบบนี้นานหรือยัง
ปี 51-56 ทำสวนมะละกอ แต่เลิกเพราะโดนโรคไวรัส…มาจริงจังอีกครั้งก็เริ่มทำเกษตรผสมผสาน ปี 57 ลงทุนซื้อที่ดินมา 1 ไร่ ก็เริ่มพัฒนามาถึงปัจจุบันค่ะ

การเกษตรที่ทำมีอะไรบ้าง
ที่ทำ เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งก้ามแดง ปลูกผักไฮโดร ขยายพันธุ์ฟิกส์ (มะเดื่อฝรั่ง) เลี้ยงกุ้งขาว ทำอย่างละนิดค่ะเพื่อสะดวกต่อการขาย ผลิตเองขายเอง ทำตามกำลัง…คือหัวใจของเราต้องเข้าใจคำว่าพอเพียง มีความสุขที่ได้ทำ อาจไม่ร่ำรวยมาก แต่แน่ๆชีวิตมีรายได้ตลอดไม่ขัดสน

บางคนอาจมองว่าที่ทำเป็นการสร้างภาพ…
จะว่าสร้างภาพก็ได้นะค่ะ…ที่ทำทุกวันนี้ก็อยากสร้างภาพแต่ไม่ใช่ภาพให้คนแค่รู้จักเรานะ สิ่งสำคัญที่เราต้องการคือเราต้องสร้างภาพการการเกษตรแนวใหม่ให้คนรุ่นใหม่เห็นค่า…ทำเกษตรไม่จำเป็นต้องคนแก่ มีหลายบุคคลิก อยากลบภาพเก่าๆ ของคนทำเกษตร เพื่อพัฒนาระบบตลาดและสินค้าค่ะ

รู้สึกอย่างไรกับที่เขาว่าเป็น “เกษตรกรเฟสบุ๊ค” … (ถ่ายรูปสวยๆ แต่งตัวสวยๆ แล้วนำมาโพสต์…ไม่ได้เป็นเกษตรกรตัวจริง)
ประเด็นนี้โดนมาเยอะค่ะ..โดยเฉพาะเพื่อนๆ ที่เข้ามาติดตามใหม่ๆ..ส่วนเพื่อนเก่าที่ติดตามมาปี 57 จะรู้การเปลี่ยนแปลงว่าทำจริง…ซึ่งมะกอไม่เคยมีข้อโต้แย้งใดๆ ค่ะ…เพราะเวลาสิ่งต่างๆพิสูจน์เอง…ลองคิดถึงความเป็นจริงมะกอลงทุนด้วยเงินตัวเอง…และจะเปิดศูนย์เรียนรู้ ปี 60 ถ้าไม่ทำจริงแล้วทุกคนมาเยี่ยมชมจะตอบได้ไหม…ทำเพื่ออะไร..ทำเพื่อใคร

แต่ตอนนี้ยังทำไม่สำเสร็จตามเป้าหมาย เราทำตามกำลัง ทำเพื่อสะสมประสบการณ์…อยากสื่อว่าทุกอย่างที่เริ่มทำไม่ได้ง่าย ต้องค่อยๆพัฒนา ซึ่งใครก็ทำได้ แค่ขยัน อดทน หมั่นศึกษา…”

ที่ผ่านมามะกอได้รับเชิญไปเป็นตัวแทนบรรยายพบปะเกษตรกรเป็นพันๆคน และวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ ก็จะไปบรรยายเรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ (รายละเอียดสัมมนากุ้งก้ามแดง อ่านได้ที่ http://www.thaiagrinews.net/index.php?mo=14&newsid=413386)

ขอย้ำว่า ทุกคนมีสิทธิ์คิด ห้ามไม่ได้ค่ะ เพราะทุกอย่างที่สื่อ เพราะมะกอคือเกษตรกรรุ่นใหม่ ถ้าไม่มีเทคนิคจูงใจ ไม่ทำให้เกิดประเด็น…วัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่จะไม่ตื่นตัวมากแบบนี้…คิดแปลกแตกต่าง การเกษตรไม่เชย แหวกแนวนำเสนอ…นี้คือเป้าหมาย “ทำให้คนสนใจการเกษตร”

มองการใช้โซเชียลมีเดียกับภาคเกษตรอย่างไร
ปัจจุบันนับว่าเป็นความโชคดีของเกษตรกรที่มีเทคโนโลยี การใช้สื่อโซเซียล ให้เกิดประโยชน์ด้านการตลาด การซื้อขาย รู้ทิศทางการเกษตร แหล่งค้นคว้าหาความรู้ ได้ทั้งเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สิ่งสำคัญทำให้มีกำลังใจให้ไปสู่เป้าหมาย

สิ่งที่อยากฝากไปถึงผู้สนใจ…
ทุกคนที่จะทำเกษตรต้องมีทุนและวางแผนมีภูมิคุ้มกันชีวิต ขยันอดทน ทำทีละก้าวค่อยๆพัฒนา…อยากให้วัยรุ่นในเมืองกรุงระลึกถึง หวนสู่ธรรมชาติบ้านเกิด ยังมีสิ่งดีงามมากมาย แต่ต้องทำเกษตรแบบปลอดภัยสารพิษ งดใช้สารเคมี

ตอนนี้ภูมิใจที่มีคนสนใจการเกษตร โดยเฉพาะวัยรุ่นเยอะขึ้น มีความเชื่อว่าแค่ตั้งใจ มีเป้าหมาย …สักวันคงได้สัมผัสความสำเร็จค่ะ

คิดว่าการเกษตรมีโอกาสที่จะสร้างฐานะให้เกิดความยั่งยืนอย่างไร
แม้จะเหนื่อยเจอปัญหาอะไรก็ยังคิดว่าการเกษตรยังมีโอกาสสร้างฐานะให้ครอบครัวอย่างยั่งยืนในอนาคต ถึงกล้านำเงินเก็บตั้งแต่ทำงานมา10 กว่าปี มาทำเกษตร ไม่ได้คืนวันนี้ แต่อนาคตจะเป็นสิ่งมีค่า…อย่าคิดอะไรมาก เงินผ่อนรถ ผ่อนบ้าน โทรศัพท์แพง ทุกคนกล้าจะซื้อ…และผืนดินทำกิน การปลูกพืชทำเกษตรดีแท้แน่นอนกว่าสิ่งใดค่ะ

วันนี้ทำเกษตรของมะกอยังไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้มีผู้ติดตามมากมาย…อยากรู้ว่าชีวิตมะกอที่ลงทุนไปสุดท้ายได้อะไร ซึ่งเป็นเรื่องอนาคต…ที่ทุกคนรอดู…ก็จะสู้ต่อไปค่ะ

ตุรกีออกกฎตรวจเข้ม GMO ในสินค้าเกษตร-อาหารนำเข้าจาก 28 ประเทศ สินค้าไทยโดนด้วย 4 รายการ เกษตรฯ รุดขอปรับลดอัตราตรวจสอบลง 50 % สำเร็จ เตรียมเร่งเจรจาผลักดันปลดล็อคยกแผง หวั่นกระทบส่งออกระยะยาว

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า จากการที่ตุรกีได้ออกกฎระเบียบให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการปนเปื้อนจีเอ็มโอ (GMO) ในสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์นำเข้าเข้มงวดมากขึ้นถึง 50-100 % โดยประกาศเป็นรายชื่อสินค้า รายชื่อประเทศ และศักยภาพการสุ่มตรวจแต่ละรายการ ทำให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าไปยังตุรกีได้รับผลกระทบจากการออกกฎระเบียบดังกล่าว จำนวน 28 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ รวมทั้งไทย ซึ่งมีสินค้าที่ต้องถูกตรวจสอบการปนเปื้อน GMO พบ 4 รายการ ได้แก่ ข้าว แป้งข้าวโพด และขนมขบเคี้ยวทำจากข้าวโพด ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ และมะละกอและผลิตภัณฑ์

กฎระเบียบดังกล่าวได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้า 4 รายการของไทยที่ส่งออกไปยังตุรกี ถึงแม้จะมีมูลค่าไม่มากนัก ประมาณ 300-500 ล้านบาท/ปี แต่เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ส่งออกที่ต้องตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อน GMO ในสินค้าที่ส่งออก 50-100 % ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ GMO ค่อนข้างสูง ตัวอย่างละกว่า 3,000 บาท มกอช. จึงได้หารือกับตุรกีเพื่อขอปรับลดอัตราการตรวจสอบลงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งการเจรจาประสบผลสำเร็จ โดยตุรกียอมปรับลดอัตราการตรวจสอบ GMO ในสินค้าเกษตรไทย 4 รายการลง 50 %

“สำหรับสินค้าข้าวปรับลดการตรวจสอบเหลือ 25 % จากเดิมกำหนดไว้ 50 % แป้งข้าวโพดและขนมขบเคี้ยวทำจากข้าวโพด ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ มะละกอและผลิตภัณฑ์ ตุรกีลดการตรวจสอบเหลือ 50 % จากเดิมกำหนดไว้ 100 % หากแนบใบรับรองปลอด GMO ไปกับสินค้าด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมแผนเร่งผลักดันการเจรจากับตุรกีเพื่อปลดล็อคสินค้าทั้ง 4 รายการของไทย ออกจากบัญชีรายการและประเทศที่ตุรกีต้องตรวจสอบ GMO โดยเร็ว โดยเฉพาะข้าวเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการส่งออกในระยะยาว” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังตุรกี ปีละ ประมาณ 4,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้ายางพารา มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท สำหรับสินค้า 4 รายการที่ต้องถูกตรวจสอบการปนเปื้อน GMO นั้น เป็นสินค้าข้าว ประมาณ 200 ล้านบาท และข้าวโพด ประมาณ 100 ล้านบาท.

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รับมอบหนังสือร้องเรียน (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ฯ จากตัวแทนเกษตรกรเลี้ยงไก่รายย่อย และ 9 สมาคมสัตว์ปีก รับปากเร่งเจรจารัฐบาลให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ผู้แทน 9 สมาคมฯ ย้ำ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำลายภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทั้งห่วงโซ่การผลิต จะกระทบการจ้างงานแรงงานทั้งระบบกว่า 2 ล้านคน ฉุดความสามารถการแข่งขันของไก่เนื้อ กระทบส่งออก สูญรายได้เข้าประเทศร่วมแสนล้านบาท ด้านเกษตรกรเลี้ยงไก่รายย่อยกังวลต้องแบกภาระต้นทุนเพิ่ม และเสี่ยงต่อการขาดทุนสะสมจนต้องเลิกเลี้ยงไก่ในที่สุด

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการรับมอบหนังสือ ร้องเรียนเรื่อง (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ฯ จากตัวแทนผู้เลี้ยงไก่รายย่อยจังหวัดชัยภูมิ และ 9 สมาคมด้านปศุสัตว์สัตว์ปีก ว่า สภาหอการค้าฯ ได้พิจารณาแล้วเรื่องร้องเรียนของตัวแทนผู้เลี้ยงไก่รายย่อย และ 9 สมาคมด้านปศุสัตว์มีเหตุผล และเล็งเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกรเลี้ยงไก่ และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไก่เนื้อทั้งระบบ แม้ว่า ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์มีเจตนารมณ์ที่ดี ต้องการยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ โดยที่ พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 ไม่ได้กำหนดไว้ จึงสร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์สัตว์ปีกและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายย่อยอย่างมาก

“สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาข้อร้องเรียนจากเกษตรกรรายย่อย และ 9 สมาคมด้านปศุสัตว์แล้ว คงสนับสนุน พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ เพราะมีประโยชน์ ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมปศุสัตว์สัตว์ปีกไทยให้ได้มาตรฐานสากลและส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ดี เพื่อตอบสนองเป้าประสงค์แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ 9 สมาคมด้านปศุสัตว์ ขอเสนอให้พิจารณายกเลิกในการเก็บค่าอากรการฆ่า และค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อไก่ เป็ด ห่าน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเนื้อสัตว์ฉบับใหม่” ดร.พจน์กล่าว

ด้าน นายวีระพงษ์ ปัญจวัฒนกุล นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ กล่าวว่าที่ผ่านมา 9 สมาคมสัตว์ปีก ได้เข้ายื่นหนังสือคัดค้านต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว จึงเข้ายื่นหนังสือแก่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อให้ช่วยกระทุ้งรัฐพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างถึ่ถ้วน ก่อนที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศจะล่มสลาย เพราะภาคอุตสาหกรรมไก่เนื้อเล็งเห็นความไม่เป็นธรรม เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่เข้าโรงฆ่าต่อปีนั้นมีมากถึงกว่า 1,400 ล้านตัว เท่ากับต้นทุนที่มากขึ้นถึง 6,000 ล้านบาท กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสามารถการแข่งขันของไทยในตลาดโลก อาจทำให้ไทยต้องหลุดจากการเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์อันดับ 4 ของโลกได้

“อุตสาหกรรมไก่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่นำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศปีละ 9 หมื่นล้านบาท และกว่า 90% ของห่วงโซ่การผลิตนี้ยังเป็น Local Content หรือเป็นธุรกิจต่อเนื่องภายในประเทศเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลุกพืชอาหารสัตว์ สัตวบาล สัตวแพทย์ ผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการขนส่ง ล้วนแต่เป็นธุรกิจในประเทศของคนไทยแทบทั้งสิ้น หาก พ.ร.บ.นี้ ผ่านการพิจารณาและบังคับใช้จริง อุตสาหกรรมไก่ของไทยอาจถึงคราวล่มสลาย ซึ่งจะกระทบไปถึงธุรกิจต่อเนื่องทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายสาขาอาชีพที่มีผู้เกี่ยวข้องกว่า 2 ล้านคน” นายวีระพงษ์กล่าว

ในปี 2558 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ปริมาณรวมถึง 681,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 89,000 ล้านบาท และคาดว่าปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้นเป็น 700,000 ตัน มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท ขณะที่การส่งเสริมและสนับสนุนของภาครัฐที่ผ่านมานั้น รัฐบาลทุกยุคสมัยต่างให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ปีก จึงยกเว้นค่าอากรการฆ่าและค่าธรรมเนียมจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีก เพื่อสนับสนุนการส่งออกเนื้อสัตว์ปีก และจูงใจให้ผู้ประกอบการด้านสัตว์ปีกนำสัตว์เข้าชำแหละในโรงงานที่ได้มาตรฐานเนื่องจากไม่เสียอากร ซึ่งช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนี้ให้ก้าวหน้า และประโยชน์ยังตกอยู่กับผู้บริโภคที่ได้รับเนื้อสัตว์ปีกปลอดภัยและถูกสุขอนามัย ที่สำคัญ โรงฆ่าสัตว์ปีกของไทยยังมีการลงทุนและพัฒนาด้านสุขอนามัยอย่างต่อเนื่องในช่วง 40 ปีมานี้ จนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ กระทั่งกลายเป็นผู้ส่งออกไก่ติดอันดับโลกได้ในปัจจุบัน

นางถวิลย์ อภิเดชธนารักษ์ ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า เกษตรกรมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับ (ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. … ที่ระบุให้มีการเก็บอากรการฆ่าไก่ตัวละ 2 บาท และค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อไก่ตัวละ 2 บาท เกิดเป็นภาระต้นทุนที่เกษตรกรต้องแบกรับกันเป็นทอดๆ จากผู้ซื้อ ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาไก่เนื้อก็ตกต่ำอยู่แล้ว หากต้องจ่ายค่าอากรอีก เกษตรกรก็จะมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนมากยิ่งขึ้น

“ไก่เป็นสินค้าอ่อนไหวราคาค่อนข้างผันผวน บางปีพอมีกำไร บางปีขาดทุน หากมีค่าอากรการฆ่าและค่าธรรมเนียม นี้เพิ่มเข้ามา ก็จะเป็นการซ้ำเติมการขาดทุนยิ่งขึ้น อยากขอความเห็นใจจากภาครัฐ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องกู้เงินมาลงทุนเลี้ยงไก่ ถ้าขาดทุนสะสมอีกก็คงต้องเลิกอาชีพนี้ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” นางถวิลย์กล่าว.

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ และเปิดป้ายสภาเครือข่ายยางฯ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 59 ณ สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) องค์การสวนยางเดิมโดยมี พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทยมาเป็นประธานในการเปิดป้าย ที่ทำการสภาเครือข่ายยางฯ ซึ่งมีผู้นำเกษตรกร พร้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในวงยางพาราทั้งภาครัฐ เอกชน มาร่วมพิธีว่า 200 คน โดยในวันนี้ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น พ.ร.บ.แห่งการรอคอยมานานกว่า 10 ปี จึงถือเป็นวันสิริมงคลตลอดจนได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ

สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ จันทรโอชา ได้ให้นโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เพื่อให้สถาบันเกษตรกรรวมตัวทุกองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว “สมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย” เพื่อจัดหาผู้แทนเกษตรกรเข้าไปเป็นคณะกรรมการยาง ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 17 (3) จำนวน 5 คน หลังจากนั้นได้มีการเลือกสถาบันเกษตรกรในจำนวน 64 จังหวัดโดยให้มีผู้แทนชาวสวนยางอย่างน้อย 1 องค์กร แต่ไม่เกิน 6 องค์กร เป็นเครือข่ายครบทุกจังหวัด และจัดเลือกตั้งผู้แทน 7 เขต ๆ ละ 3 คนเพื่อเป็นผู้แทน

ต่อมาได้มีการเลือกตั้งระดับประเทศไม่เกิน 36 คน (ตามข้อบังคับ) เรียกว่า “สภาเครือข่ายและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย” (สยยท.) เพื่อจะเชื่อมสถาบันเกษตรกรให้เป็นหนึ่ง และเพื่อความถูกต้องตามพ.ร.บ.การยางพาราแห่งประเทศไทย (ก.ย.ท.) จึงได้ใช้สมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลและขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย สามารถเข้าถึงพ.ร.บ.การยางได้โดยไม่ผิดระเบียบเช่นเดียวกับ สภาสถาบันสิ่งทอ, สภาสถาบันอาหาร และสภา SME ฯลฯ และในอนาคตเมื่อสภาเครือข่ายยางฯ สามารถรวบรวม สมาคม, สหกรณ์, กลุ่มเกษตรกร ตามมาตรา 4 และสภาฯ มีความเข้มแข็ง มั่นคง มากขึ้น จะได้ยกระดับเป็น “สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย” นำเสนอรัฐบาลให้เป็นพระราชบัญญัติ และถูกต้องตามกฏหมาย

ปัจจุบันได้จัดโครงสร้างการบริหารสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนายางพารา พ.ศ. 2560-2564 เรียบร้อยแล้ว

สำหรับผลงานที่ผ่านมาทางสภาเครือข่ายยางฯ ได้มีกิจกรรมที่ได้ร่วมกันผลักดันในรอบ 1 ปี โดยสรุปได้ดังนี้

โครงการชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยไม่เกิน 15 ไร่ ได้รายละ 15,000 บาท/ราย
โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
เสนอ กนย.ให้วิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในโครงการแก้ไขปัญหายางพาราภายใต้แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ 15 โครงการจนสำเร็จ

เป็นผู้ประสานงานให้จังหวัดระยองนำร่องเพื่อสร้างเสถียรภาพราคายางโดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลางตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ระหว่างบริษัทไทยรับเบอร์ลาเทคคอร์ปอเรชั่นประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กับชุมนุมสหกรณ์จังหวัดระยองและเครือข่าย

ตัวแทนสภาเครือข่ายฯ ได้เรียกร้องให้การยางพาราแห่งประเทศไทยหรือ กนย. เร่งรัดการจัดทำระเบียบ ข้อบังคับในมาตรา 49 ให้แล้วเสร็จ เนื่องจากมีความล่าช้าแบบผิดปกติและล่วงเลยเวลา 120 วัน ตามบทเฉพาะกาลมาเกือบปีแล้วเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรา 49 โดยเฉพาะ (6)
คณะกรรมการสภาเครือข่ายยางฯ จำนวนประมาณ 50 คนเข้าพบพล.อ.ฉัตรเฉลิม เพื่อเรียกร้องให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ได้ขึ้นทะเบียน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 จนสำเร็จ

สภาเครือข่ายฯ จะดำเนินการตามโครงสร้างการบริหารของสยยท. และยุทธศาสตร์การพัฒนายาง พ.ศ. 2560-2564 ที่ได้ผ่านมติของที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มจากยุทธศาสตร์จังหวัดให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้พร้อมกับจะได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของแต่ละเขตรวมตัวกันเพื่อก้าวไปสู่ในระดับประเทศให้มั่นคงโดยใช้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยบริหารโดยไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐบาล

นายอุทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ณ วันนี้ทางสภาเครือข่ายยางฯ พร้อมแล้วที่จะให้การดูแลพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางโดยร่วมมือกับทุกๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยางทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวจากประเทศไทยให้ก้าวสู่เวทีการค้าทั้งในระดับอาเซียน และในระดับโลก และยินดีที่จะน้อมรับคำแนะนำจากทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์และสุขของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางและประเทศไทยให้เกิดยั่งยืนต่อไป

ภายใต้สโลแกนที่ว่า “นำเกษตรกรพัฒนา เพิ่มมูลค่า สู่อุตสาหกรรม” …นี่คือความมุ่งมั่นของนายอุทัย และเหล่าคณะกรรมการ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน

แม้ย่างเข้าสู่ฤดูฝนแล้วแต่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้งที่หนักที่สุดในรอบ 20 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตของผู้คนในหลายพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทีม “สิงห์อาสา” จึงรวมตัวกันอีกครั้งผ่านโครงการสิงห์อาสาสู้ภัยแล้ง ซึ่งเป็นการผนึกกำลังกับ เครือข่ายสิงห์อาสา จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏ ราชมงคล และอาชีวศึกษาจาก 16 สถาบัน ที่มีพื้นที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทีมเฝ้าระวังพื้นที่ 20 จังหวัด พร้อมร่วมวางแผนและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด

นอกจากการทีมสิงห์อาสาได้มีการตั้งรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงทีแล้ว ได้มีการมองถึงแผนดำเนินการระยะยาว เพราะที่ผ่านมา สิงห์อาสาได้ระดมทีมลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดภัยธรรมชาติเป็นประจำทุกปี ทั้งภัยแล้ง ภัยหนาว รวมถึงอุทกภัย ซึ่งมองว่าภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถอยู่ร่วมกับภัยต่างๆ เหล่านี้ได้ ถ้าเรามีการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ซึ่งในเบื้องต้นได้ระดมทีมลงพื้นที่จัดหน่วยรถบรรทุกน้ำเคลื่อนที่ออกไปแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยใช้น้ำดื่มสะอาดจากโรงงานขอนแก่น บริวเวอรี่ จำกัด และ มหาสารคาม เบเวอเรซ จำกัด ตั้งเป้าปริมาณเบื้องต้นไว้ที่ 1 ล้านลิตร ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ รวมถึงจัดโครงการธนาคารน้ำสิงห์ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแบบยั่งยืน โดยติดตั้งแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ (2,000 ลิตร) ในโรงเรียนหรือแหล่งชุมชนที่ขาดแคลนน้ำดื่มและมีความจำเป็น โดยจะมีรถขนส่งน้ำของสิงห์อาสานำน้ำไปเติมให้ตลอดเวลาเพื่อให้มั่นใจว่ามีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค

ยิ่งกว่านั้น ทีมสิงห์อาสายังเสริมภูมิต้านทานและต้านภัยแล้งให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อก้าวสู่การเป็น “สิงห์เกษตร” ด้วยการดำเนินโครงการปราชญ์ชาวบ้าน ที่ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้จะเริ่มช่วงเดือนพฤษภาคม เพื่อส่งต่อแนวความคิดการทำการเกษตรสู้ภัยแล้ง เช่น วิธีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำกิน การส่งต่อความรู้เรื่องการเพาะปลูกพืชในช่วงหน้าแล้ง การกักเก็บน้ำเพื่อใช้หมุนเวียนในพื้นที่ เป็นต้น ตลอดจนเสริมสร้างทักษะแก่ทีมสิงห์อาสา ในลักษณะรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง มุ่งสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นในขณะลงพื้นที่ประสบภัยต่างๆ จนสามารถปฏิบัติภารกิจยามฉุกเฉินได้ทันท่วงที

นายทัศไนย สมบูรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมสิงห์อาสา เผยถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมโครงการสิงห์อาสาสู้ภัยแล้งว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่เข้าร่วมกับเครือข่ายสิงห์อาสา ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอยู่ในขณะนี้ โดยร่วมกับเพื่อนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มาด้วยหัวใจอาสารุดลงพื้นที่เข้าไปในชุมชนที่แห้งแล้ง เพื่อแจกน้ำดื่มให้แก่ประชาชน รวมทั้งติดตั้งแท้งค์น้ำแก่ โรงเรียนและวัด ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นมากกว่าการช่วยเหลือ อย่างล่าสุดที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ทำให้รับรู้ถึงความเดือดร้อนของคุณป้าท่านหนึ่งที่ได้พูดกับเราว่า “ปกติแม่ทำนาได้ข้าวเป็น 100 กระสอบเลยลูก แต่ปีนี้แม่ทำได้แค่ 10 กระสอบเอง” ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับความแห้งแล้ง แต่เมื่อเราไปถึงบ้านทุกคนจะเรียกให้ดื่มน้ำก่อนที่จะพากันกลับไปยังจุดช่วยเหลือ นั่นเป็นสิ่งที่ได้จากการเป็นสิงห์อาสา จากที่เป็นเพียงนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งเคยคิดว่าคงทำอะไรไม่ได้มาก แต่เมื่อได้ร่วมกับสิงห์อาสาทำให้มีโอกาสมาช่วยเหลือผู้อื่น และสิ่งที่ทำก็ไม่ได้หวังค่าตอบแทนใดๆ แต่ได้เป็นรอยยิ้มกลับมาแทน

ด้าน นางสาวสุชาดา จนจันทึก นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวถึงความรู้สึกว่า เริ่มทำกิจกรรมกับสิงห์อาสาครั้งแรกเมื่อตอนเข้าร่วมค่ายผู้นำ ครั้งที่ 1 ซึ่งได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์มากมาย อย่างลงพื้นที่ชุมชนแจกเสื้อกันหนาว สอนหนังสือเด็กๆ นอกจากได้ร่วมกิจกรรมแล้ว ยังได้เจอเพื่อนๆ ต่างมหาวิทยาลัยที่มีอุดมการณ์หัวใจอาสาเดียวกัน สำหรับโครงการสิงห์อาสาสู้ภัยแล้ง ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้เข้ามาร่วมกับสิงห์อาสา โดยเดินทางไปแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาด รวมถึงแท้งค์น้ำใช้สำหรับชุมชน ซึ่งนอกจากลงพื้นที่แจกน้ำดื่มสะอาดแล้ว ยังลงพื้นที่สำรวจสถานที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ และได้นำข้อมูลเหล่านั้นมานำเสนอทีมสิงห์อาสา รวมถึงติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้าวในพื้นที่ได้ทราบข่าวสารของการแจกน้ำดื่มสะอาดอีกทางหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า การเข้าร่วมกับสิงห์อาสา ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยและอากาศจะร้อน แต่พอได้ลงมือทำแล้วหายเหนื่อย เพราะได้ช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุข มีรอยยิ้ม และที่สำคัญคือเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ตนเองด้วย

ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ถือเป็นภัยแล้งที่หนักที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยถูกบันทึกในประเทศไทย ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ทางสิงห์อาสาได้เก็บบันทึกภาพภัยพิบัติและความยากลำบากของผู้คน โดยหวังว่าภาพเหล่านี้จะทำให้คนไทยและสังคมรอบข้างตระหนักถึงปัญหาภัยแล้งที่เราต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชมภาพได้จากลิงค์ http://talesfromthedrought.singha-arsa.com/

โดยภาพจากช่างภาพชาวต่างชาติ 2 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ท่านแรก คือ บอร์ฮา ซานเชซ-ทรีโล เป็นช่างภาพชาวสเปนที่มีประสบการณ์ในการถ่ายภาพมากว่า 15 ปี เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านสื่อสารมวลชน และได้ศึกษาต่อปริญญาโทด้านการกำกับโทรทัศน์ และออกแบบโปรแกรมทางโทรทัศน์ งานของเขาได้รับการตีพิมพ์โดยสื่อนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น เดอะนิวยอร์ค ไทม์ส เดอะการ์เดี้ยน นิตยสารไทม์ นิตยสารอัลจาซีร่า และสปอร์ต อิลลัสเตรเตด อีกทั้งยังได้ร่วมงานกับสำนักข่าวระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ เก็ตตี้ อิมเมจ กอร์ดอน เพรส เอเอฟพี และองค์กรนานาชาติอย่างเช่น ยูเนสโก และกรีนพีซ เป็นต้น

ท่านช่างภาพคนที่สอง คือ ดาริโอ้ พินยาเทลลี่ เข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยทำหน้าที่ถ่ายภาพข่าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ทำให้เขารู้จักประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดีมาก เขาเคยร่วมงานกับสำนักข่าวนานาชาติมากมาย อาทิ รอยเตอร์ สำนักข่าวฝรั่งเศส (หรือ อาชองซ์ ฟรองซ์ เปรซ) และมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพข่าวทั้งในยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ ปัจจุบันเขาเป็นผู้ถ่ายภาพข่าวและวิดีโอให้กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ส่วนงานที่เป็นโปรเจคถ่ายภาพส่วนตัวของเขานั้นจะถูกเผยแพร่โดยโพลาริส อิมเมจเจส ที่กรุงนิวยอร์ค ซึ่งเป็นเอเจนซี่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่บริหารคลังภาพข่าว

ทีม “สิงห์อาสา” เป็นเพียงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีหัวใจแห่งการ “ให้” เราไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆ แต่พลังที่มีอาจไม่มากพอ ในยามที่ประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ สิ่งที่จะทำให้เราก้าวผ่านทุกปัญหาไปได้ นั่นคือ ความร่วมแรงร่วมใจจากทุกคนในการระดมช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ

ก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่า “สิงห์อาสา” จะปฎิบัติภารกิจนี้ได้สำเร็จแค่ไหน โดยเฉพาะภัยแล้งในภาคเกษตร ต้องดูกันว่าจะสามารถเป็น “สิงห์เกษตร” ได้หรือไม่? กุ้งก้ามแดง “เลี้ยงได้หรือไม่ได้” ยังคงกังขาอยู่ในหัวใจของเกษตรกร…และแล้ววันเสาร์ที่ผ่านมา (23 ก.ค. 59) ได้มีการสัมมนาเรื่อง “แนวทางส่งเสริมและการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงอย่างไรให้ถูกกฎหมาย” โดย สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมบุหลันพิทักษ์พล อาคารอมรภูมิรัตน์

ในการสัมมนาครั้งนี้ มีวิทยากรหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงมาขึ้นเวทีกันหลายคน แต่จุดที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ก็เห็นจะเป็นเรื่องการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงอย่างไรที่ไม่ผิดกฎหมาย โดยผู้ที่มาให้ความรู้ก็คือ ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดี กรมประมง

ดร. จูอะดี กล่าวว่า เรื่องกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชนั้นได้รับความสนใจจากเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงจำนวนมาก จากการสำรวจของกรมประมงพบว่ามีเลี้ยงทั้งหมด 62 จังหวัด มีผู้เลี้ยงประมาณ 4 พันราย เหตุที่ได้รับความสนใจก็เพราะมีการสื่อกันว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายว่าได้กำหนดอย่างไรบ้าง

“เวลานี้เราจะทำอะไร เราจะเลี้ยงอะไรก็แล้วแต่ Smile Farm ไม่ได้ขึ้นกับเราคนเดียว แต่ขึ้นกับโลกทั้งหมด เขาบอกว่ามันเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ไม่เฉพาะเรื่องกุ้งก้ามแดงเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับสัตว์น้ำอีกหลายชนิด และโยงใยกับอีกหลายอาชีพ ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจ” รองอธิบดีกรมประมง กล่าว

นบข. เคาะประกันราคาข้าว 15,000 บาท

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม เป็นประธาน อนุมัติโครงการประกันรายได้ราคาข้าวสูงสุด 15,000 บาท/ตัน ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอมา

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. พาณิชย์ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่า นบข. เห็นชอบโครงการประกันรายได้ให้ผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ที่ความชื้นไม่เกิน 15% พร้อมกำหนดปริมาณที่จะเข้าร่วมโครงการของแต่ละครัวเรือน ภายใต้กรอบงบประมาณ 21,000 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้

ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 14 ตัน
ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน
ข้าวเจ้า 10,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 30 ตัน
ข้าวหอมปทุมธานี 11,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 25 ตัน
ข้าวเหนียว 12,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน
รองนายกฯ คาดการณ์ว่า กระทรวงพาณิชย์ในฐานะเลขานุการ นบข. จะนำมตินี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหญ่ได้ในวันที่ 27 ส.ค.

สำหรับการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงในการทำโครงการประกันรายได้ราคาข้าว ชาวนาต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมการเกษตร หลังทำการเพาะปลูก 15-60 วัน ในภูมิภาคอื่น ๆ เริ่มต้นในวันที่ 1 เม.ย.-31 ต.ค. 2562 ส่วนภาคใต้ เริ่มวันที่ 16 มิ.ย. 2562-28 ก.พ. 2563

นบข. ยังเห็นชอบในหลักการโครงการช่วยค่าเก็บเกี่ยว หรือสนับสนุนการผลิต 500 บาท/ไร่ จำนวนครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยถือเป็นโครงการคู่ขนาน ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรได้ประโยชน์ 3.9 ล้านราย แต่มอบหมายให้ตกลงเรื่องวงเงินกับสำนักงบประมาณก่อน

ปชป. รีบแชร์ “นายกฯ หนุนจุรินทร์ช่วยชาวนา”

ในการเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ทั้งพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ต่างหาเสียงโดยชูนโยบายประกันราคาข้าว ฝ่าย ปชป. ขายนโยบายประกันรายได้ข้าว 10,000 บาท/เกวียน และยังใช้ประเด็นนี้เป็น 1 ใน 3 เงื่อนไขตอบรับร่วมรัฐบาลคือ ต้องบรรจุเรื่องการประกันราคาสินค้าเกษตรเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยแกนนำ ปชป. ได้เข้ามาเป็นเจ้ากระทรวงทั้งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะที่ฝ่าย พปชร. ประกาศดันราคาข้าวหอมมะลิให้ทะลุ 18,000 บาท/ตัน และราคาข้าวเจ้า 12,000 บาท/ตัน

เกือบทันทีทันใด บรรดานักการเมืองสังกัด ปชป. นำโดยนางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว. พาณิชย์ ต่างพากันแชร์ภาพและกราฟฟิคที่มีข้อความว่า “นายกฯ อนุมัติโครงการประกันรายได้ข้าว หนุน ‘จุรินทร์’ ช่วยชาวนาทั้งประเทศ” ทางสื่อสังคมออนไลน์

โฆษก รบ. บอกแค่ “เห็นชอบในหลักการ”

อย่างไรก็ตามนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม นบข. “เห็นชอบในหลักการ” การดูแลเกษตรกรแบบผสมผสาน โดยเฉพาะข้าว เพื่อช่วยสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร ทั้งการเก็บเกี่ยว การพัฒนาคุณภาพข้าว การตั้งราคาเป้าหมาย และการประกันรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งนายจุรินทร์เป็นผู้เสนอ แต่ตัวแทนผู้ปลูกข้าวซึ่งเป็นกรรมการ นบข. แสดงความเห็นว่าในส่วนของประกันรายได้ ถ้าทำอย่างเดียว เกรงว่าเกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เหตุนี้ที่ประชุมจึงเห็นชอบในหลักการทำแบบผสมผสานคู่ขนานกันไป

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นายกฯ กำชับว่า 2 มาตรการที่คู่ขนานกันไปนี้ ต้องดูเรื่องความเป็นไปได้ของงบประมาณ ไม่บิดเบือนกลไกตลาด เพื่อให้เป็นไปตามวินัยการเงินการคลัง โดยให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังไปหารือกับสำนักงบประมาณ

รัฐบาล “ประยุทธ์ 2” กำลังเร่งอัดฉีดเศรษฐกิจอย่างหนัก ผ่านชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้านบาท ที่เพิ่งได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ชุดใหญ่วานนี้ (20 ส.ค.) หลังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี 2562 เหลือ 2.7-3.2%

ขณะที่จีดีพีไตรมาส 2 ก็โตต่ำลงเพียง 2.3% โดยการผลิตภาคเกษตร ขยายตัว 1.1% จากที่เคยขยายตัว 1.7% ในไตรมาสแรก เป็นผลมาจากการลดลงของผลผลิตพืชหลัก เช่น ข้าวเปลือก อ้อย และสับปะรด ประกอบกับผลผลิตด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังลดลงต่อเนื่อง

สถานการณ์ราคาข้าวเหนียวแพงเป็นประวัติการณ์ ไม่ได้สร้างความวิตกกังวลต่อแม่ค้าพ่อค้าและผู้บริโภคเท่านั้น แต่ดูเหมือนรัฐบาลก็วิตกกังวลต่อสถานการณ์นี้ไม่น้อย ในขณะที่ความรู้สึกว่าปัญหาเศรษฐกิจอื่น ๆ กำลังรุมเร้า

“ข้าวเหนียว 10 บาท มันลดปริมาณลงจากเดิมมาก” นี่คือคำบอกเล่าของลูกค้าประจำร้านข้าวเหนียวหมูปิ้งใน อ.เต่างอย จ.สกลนคร ที่ส่งมาถึงบีบีซีไทย

แม้ว่าภาครัฐจะดำเนินการหลายอย่างในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกมากำชับให้กรมการค้าภายในกำหนดให้โรงสี ผู้ประกอบการค้าข้าวเหนียวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รายงานสต็อกข้าวเหนียวในครอบครองเพื่อป้องกันการกักตุนหรือการที่อธิบดีกรมการค้าภายในออกมาแนะประชาชนให้เลี่ยงการรับประทานข้าวเหนียวและหันมารับประทานข้าวเจ้าแทนไปก่อนในช่วงนี้

ข้าวของแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น เรื่องจริงหรือแค่ความรู้สึก
แบงก์ไทย-เทศ กังขา มาตรการกระตุ้น 3 แสนล้านจะทำจีดีพีปีนี้โตได้ 3%
หนี้ครัวเรือนไทย ปัจจัยเสี่ยงกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน
แต่ก็ยังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภคได้มากนัก ขณะที่ภาครัฐคาดว่าสถานการณ์ข้าวเหนียวแพงจะคลี่คลายลงในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า

จุดเริ่มต้นของข้าวเหนียวแพง

รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันคลังสมองของชาติ บอกกับบีบีซีไทยว่าปัญหานี้เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

ปัจจัยที่หนึ่ง-ภัยแล้งรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานตอนบนและภาคเหนือตอนบน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเหนียวอย่างมาก

สภาพการณ์ในปีนี้ ฤดูฝนมาล่าช้ากว่าปกติ กรมอุตุนิยมวิทยายังคาดการณ์อีกด้วยว่าปีนี้จะแล้งสุดในรอบ 10 ปี ยิ่งทำให้เกษตรกรไม่มีความมั่นใจในปริมาณผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวได้ในฤดูกาลหน้า

“ตั้งแต่เดือน มิ.ย. เกิดภาวะแล้งในช่วงฤดูฝน ทำให้เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปีก่อนรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ผลผลิตใหม่เพียงพอ พวกเขาก็เลยไม่ยอมขายข้าวเหนียวในยุ้งฉางเพื่อเก็บไว้บริโภคในครอบครัว ก็เลยทำให้ข้าวเหนียวขาดตลาด” รศ.สมพร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวอธิบาย

ปัจจัยที่สอง-ราคาข้าวหอมมะลิปรับตัวสูงขึ้นตลอดระยะเวลา 8-10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวนาปรับพื้นที่การปลูกข้าว โดยเปลี่ยนที่นาส่วนหนึ่งที่เคยปลูกข้าวเหนียวมาปลูกข้าวหอมมะลิแทน ปัจจัยนี้ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวลดลงเกือบ 2 ล้านไร่เลยทีเดียว

“การปรับพื้นที่ปลูกข้าวซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแถบภาคอีสานตอนบน ทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านตันเป็น 9 ล้านกว่าตัน ในขณะที่ผลผลิตข้าวเหนียวลดลงจาก 7 ล้านตันมาเป็น 6 ล้านตัน” รศ.สมพรกล่าว

ผลพวงจากทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ทำให้ราคาข้าวเหนียวในปีนี้พุ่งสูงขึ้นกล่าวคือ ราคาข้าวเหนียวเปลือกเพิ่มขึ้นจากราว ๆ 11,000 บาท/ตัน เมื่อปีที่แล้วมาเป็นราว 20,000 บาท/ตันในปีนี้

คนไทยกินข้าวเหนียวเพิ่มขึ้นหรือไม่

กลุ่มคนที่บริโภคข้าวเหนียวคือประชาชนที่อยู่ในภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบนเพราะการกินข้าวเหนียวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต นอกจากนี้ ยังมีบรรดาลูกหลานของพวกเขาที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ แม้ว่าจะมีร้านอาหารอีสานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา แต่อัตราการบริโภคข้าวเหนียวก็เปลี่ยนไม่มากนัก

“เมื่อพิจารณาอัตราการบริโภคข้าวเหนียวต่อคนต่อปีแล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ในภาวะหดตัวลง โดยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา การบริโภคข้าวเหนียวในชนบทเคยสูงถึง 120 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ปัจจุบันลดลงต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ส่วนคนใน กทม. ก็รับประทานกันราว 80 กิโลกรัมต่อคนต่อปี” เขาอธิบายพร้อมทั้งระบุว่าสาเหตุหนึ่งที่คนกินข้าวเหนียวน้อยลงคือมีอาหารประเภทอื่นที่สามารถบริโภคทดแทนข้าวเหนียวได้

เมื่อไหร่ข้าวเหนียวจะถูกลง

สถานการณ์ภัยแล้งเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อราคาข้าวเหนียวในขณะนี้ ทั้งทำให้แพงขึ้นหรือถูกลง ขณะนี้หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่าภัยแล้งจะลากยาวไปอีกนานแค่ไหน ขณะที่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่จะเริ่มต้นขึ้นในราวปลายเดือน ต.ค.-พ.ย. นี้แล้ว

รศ.สมพร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ระบุว่า สถานการณ์น่าจะคลี่คลายลง เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาลใหม่จะเริ่มเข้าสู่ตลาด และจะทำให้ราคาข้าวเหนียวปรับตัวลง

ในขณะเดียวกันเกษตรกรซึ่งเดิมเก็บข้าวไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนในภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน คงจะทยอยนำข้าวออกมาขายบางส่วน หากพวกเขาประเมินแล้วว่าสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลาย

อย่างไรก็ตาม กรมการข้าวคาดว่าผลผลิตข้าวเหนียวจะลดลงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ เพราะมีพื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนที่ได้รับความเสียหายมากจากภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง เช่น ขอนแก่น ชัยภูมิ และเพชรบูรณ์

บทเรียนจาก “ข้าวเหนียวแพง”

นอกจากการทำความเข้าใจเรื่อง “กลไกตลาดของตลาดข้าวเหนียว” เช่น การที่เกษตรกรต้องเก็บข้าวเหนียวบ้างส่วนไว้สำหรับการบริโภคภายในครัวเรือนแล้ว กลุ่มโรงสี ก็เป็นกลไกหนึ่งในที่จะช่วยบรรเทาภาวะการขาดแคลนข้าวเหนียวในช่วงปลายฤดูกาลได้ เพราะกลุ่มโรงสีจะเริ่มทยอยขายข้าวเหนียวในสต็อกออกมาตามปกติ ซึ่งเป็นวิถีทางธุรกิจของพวกเขา

รศ.สมพร กล่าวสิ่งที่เป็นบทเรียนให้กับภาครัฐ คือ ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมข้าวไทย เน้นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้มีการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวของไทย

“เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืนและสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกร สิ่งที่ภาครัฐต้องทำคือพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนแล้งหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง” เขากล่าว

การที่รัฐเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดด้วยการจัดข้าวถุงมาขายหรือการตรวจเช็กสต็อกเพื่อเอาผิดโรงสี สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่เข้าใจในเรื่องข้าวและราคาข้าว นักวิชาการรายนี้กล่าวทิ้งท้าย

ยูอิจิ โมริ ไม่ได้ปลูกผักและผลไม้บนพื้นดิน เขาไม่จำเป็นต้องใช้ดินในการปลูกพืชเลย

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้นี้ ใช้วัสดุที่เดิมทีถูกออกแบบมาเพื่อใช้รักษาไตของมนุษย์ นั่นก็คือ ฟิล์มพอลิเมอร์ใสที่น้ำซึมผ่านได้

เขาปลูกพืชบนแผ่นฟิล์มนี้ ซึ่งช่วยเก็บน้ำและสารอาหารที่พืชต้องการไว้

นอกจากผักจะเติบโตได้ในทุกสภาพแวดล้อมแล้ว เทคนิคนี้ยังใช้น้ำน้อยลง 90% เมื่อเทียบกับการทำเกษตรแบบเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง เพราะว่าตัวพอลิเมอร์ช่วยกันไวรัสและแบคทีเรียได้ด้วย

นี่คือตัวอย่างหนึ่งในการปฏิวัติการเกษตรของญี่ปุ่น ซึ่งกำลังขาดแคลนที่ดินและแรงงาน ยูอิจิ บอกกับบีบีซีว่า “ผมดัดแปลงวัสดุที่ใช้ในการกรองเลือดในการฟอกไต”

บริษัทเมบิโอล (Mebiol) ของเขาได้จดสิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์นี้ในเกือบ 120 ประเทศ

เทคโนโลยีนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงการปฏิวัติทางการเกษตรที่กำลังเกิดขึ้นในญี่ปุ่น พื้นที่การเกษตรต่าง ๆ ถูกปรับให้เป็นศูนย์เทคโนโลยีโดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence–AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things–IoT) ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงและส่งข้อมูลถึงกันด้วยอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องป้อนข้อมูล และความรู้ที่ล้ำสมัย

‘ฟาร์มลอยน้ำ’ ในบังกลาเทศ ช่วยให้คนอยู่รอดในช่วงน้ำท่วม
นาข้าวลดโลกร้อน : ทำนาวิถีใหม่ ลดน้ำ ลดต้นทุน ลดปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลก
จากศัตรูพืชสู่แหล่งทำเงิน เกษตรกรไทยจับอาชีพเพาะเลี้ยงหอยทาก ส่งออกเมือกสร้างรายได้
ความสามารถของเทคโนโลยีด้านการเกษตรในการเพิ่มความแม่นยำในการดูแลรักษาพืชผลทางการเกษตร จะมีความสำคัญในอนาคตอันใกล้

รายงานโลกเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรน้ำของสหประชาชาติ (UN World Report on Water Resources Development) ในปีนี้ ประเมินว่า ถ้าสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำเสื่อมสลายไปที่อัตราปัจจุบัน ภายในปี 2050 ผลผลิตข้าวจะลดลง 40% และผลผลิตมวลรวมภายในประเทศจะลดลง 45% วิธีการปลูกพืชหลายวิธี อย่างเช่นวิธีที่ยูอิจิ โมริ คิดค้นขึ้น ถูกนำไปใช้แล้วในกว่า 150 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ อย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

วิธีการนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ที่ปนเปื้อนจากสารกัมมันตรังสีและสารต่าง ๆ ที่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิพัดพามา หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และภัยพิบัตินิวเคลียร์เมื่อเดือน มี.ค. 2011

แทรกเตอร์หุ่นยนต์
การคาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7.7 พันล้านคนเป็น 9.8 พันล้านคนภายในปี 2050 ทำให้หลายบริษัทมั่นใจว่า ปริมาณความต้องการอาหารของโลกจะเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ รวมถึง โอกาสในการขายเครื่องจักร

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังสนับสนุนการพัฒนาหุ่นยนต์ 20 แบบที่สามารถนำไปใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ในการปลูกพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด ตั้งแต่หว่านเมล็ดพันธุ์พืชไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

ยันมาร์ บริษัทผลิตเครื่องจักร ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ในการพัฒนาแทรกเตอร์หุ่นยนต์ที่กำลังถูกทดสอบในพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในขณะนี้

คนหนึ่งคนสามารถควบคุมแทรกเตอร์ได้ 2 คันในเวลาเดียวกัน เพราะมีอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณที่ตรวจหาอุปสรรคต่าง ๆ ข้างหน้า และป้องกันการชนได้

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นิสสันได้เปิดตัวหุ่นยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System–GPS) และเครือข่ายไร้สาย (Wifi)

หุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า ดั๊ก (Duck) ซึ่งแปลว่า เป็ด มีรูปร่างเหมือนกล่อง มันจะเคลื่อนไปบนทุ่งนาที่มีน้ำท่วมขัง เพื่อเติมออกซิเจนในน้ำ และช่วยลดการใช้ยาฆ่าแมลง และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

ทำการเกษตรโดยใช้คนน้อยลง
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้เทคโนโลยีในการดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบทำงานในพื้นที่โดยตรง แต่มีความสนใจในเทคโนโลยี ให้เข้ามาทำการเกษตร ถือเป็นความพยายามในการฟื้นฟูภาคธุรกิจที่มีจำนวนแรงงานลดลง

ในเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนชาวญี่ปุ่นที่ทำงานเกี่ยวกับการผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลงจาก 2.2 ล้านคน เหลือ 1.7 ล้านคน

ปัจจุบัน อายุเฉลี่ยของแรงงานในภาคการเกษตรของญี่ปุ่นอยู่ที่ 67 ปี และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา

ภูมิประเทศของญี่ปุ่นทำให้ทำการเกษตรได้อย่างจำกัด ซึ่งสามารถผลิตอาหารได้เพียง 40% ของอาหารทั้งหมดที่ญี่ปุ่นต้องการ ราว 85% ของที่ดินเป็นพื้นที่ภูเขา และส่วนพื้นที่ที่เพาะปลูกได้ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็ใช้ในการปลูกข้าว

ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่น และรัฐบาลสนับสนุนชาวนาให้รักษาปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ปลูกข้าว 6.25 ไร่

แต่ลักษณะนิสัยในการบริโภคข้าวของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงไป

โดรนพ่นยาฆ่าแมลง
การบริโภคข้าวต่อปีต่อหัวประชากรลดลงจาก 118 กก. เป็นน้อยกว่า 60 กก. ในปี 2006 ทำให้ญี่ปุ่นต้องเริ่มสนับสนุนการทำการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น

แต่ในเมื่อไม่มีคนช่วย ชาวนาต้องพึ่งเครื่องจักรและเทคโนโลยีชีวภาพ

มีการใช้โดรนในการทำงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น การพ่นยาฆ่าแมลง โดรนสามารถทำงานเหล่านี้เสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง ขณะที่คนหนึ่งคนต้องใช้เวลาทั้งวัน

เทคโนโลยีขั้นสูงยังทำให้ญี่ปุ่นปลูกพืชได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องใช้ที่ดิน

โดยญี่ปุ่นผลิตผักและผลไม้ได้เพิ่มมากขึ้นด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ (ซึ่งเป็นวิธีในการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน แต่ใช้สารละลายที่มีแร่ธาตุผสมกับน้ำแทน) ในโรงเพาะชำ

กลุ่มมิราอิ (Mirai) ในเมืองชิบะ ได้บุกเบิกการปลูกพืชจากพื้นถึงเพดาน โดยปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวผักกาดหอมได้ราว 10,000 หัวต่อวัน ความสามารถในการผลิตได้เพิ่มขึ้น 100 เท่า เมื่อเทียบกับการปลูกพืชแบบเดิม ทางบริษัทได้ใช้อุปกรณ์ตรวจจับในการควบคุมแสง สารอาหารที่เป็นของเหลว ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิ

แสงที่สร้างขึ้นทำให้พืชโตเร็ว และการจัดการภายใต้การควบคุมยังช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากโรคพืชได้ด้วย

แม้ว่าจะมีต้นทุนด้านพลังงานที่สูง จำนวน “โรงงานปลูกพืช” ในญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าใน 10 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีอยู่ 200 แห่ง ปัจจุบัน ตลาดไฮโดรโปนิกส์คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจทั่วโลกมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท) แต่บริษัท Allied Market Research บริษัทที่ปรึกษา คาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.95 แสนล้านบาท) คิดเป็นกว่า 4 เท่าตัวภายในปี 2023

ถ่ายโอนเทคโนโลยี
ญี่ปุ่นได้รับปากว่า จะช่วยประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาเพิ่มการผลิตข้าวต่อปีเป็น 2 เท่า หรือ 50 ล้านตัน ภายในปี 2030 โดยขณะนี้กำลังมีการทำโครงการพิเศษต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น ในเซเนกัล ญี่ปุ่นได้ลงทุนในการฝึกหัดเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและถ่ายโอนเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการชลประทาน ส่งผลให้ ความสามารถในการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 7 ตันต่อ 6.25 ไร่ และรายได้ของผู้ผลิตข้าวเพิ่มขึ้นราว 20%

กลยุทธ์ของญี่ปุ่นคือการส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและขยายการค้าเครื่องจักรเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนทั่วทวีปแอฟริกา

นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมมือกับเวียดนามและกับเมียนมา รวมถึงอีกหลายโครงการในบราซิลด้วย

แต่เป้าหมายหลักในการปฏิวัติของญี่ปุ่นคือ การเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของตัวเอง ทางการญี่ปุ่นต้องการผลิตอาหารให้ได้อย่างน้อย 55% ของอาหารทั้งหมดที่ญี่ปุ่นต้องการภายในปี 2050

แน่นอนว่า ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น สหประชาชาติระบุว่า แต่ละปีมีผู้คนมากกว่า 820 ล้านคนทั่วโลก เผชิญกับความอดอยากหิวโหย แต่ขณะเดียวกันก็มีคนที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น สถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า อาหารที่ถูกผลิตขึ้นบนโลกเพียงพอต่อการเลี้ยงดูคน 10,000 ล้านคน แล้วทำไมจึงเกิดปัญหานี้ขึ้น

ลองจินตนาการว่าคุณคือผู้ผลิตอาหาร แต่ต้องเข้านอนในสภาพท้องกิ่ว นี่คือความย้อนแย้ง

คนงานในภาคเกษตรมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งโลก เกษตรกรในชนบทผลิตอาหาร 80% ที่บริโภคกันในประเทศกำลังพัฒนา แต่ดูเหมือนว่าคนกลุ่มนี้กลับเป็นผู้ที่อดอยากหิวโหยที่สุด

ความยากจนนำไปสู่ความอดอยาก
เกษตรกรบางคน ไม่สามารถแม้แต่จะซื้ออาหารที่เป็นผลิตผลของตัวเอง โดยในประเทศกำลังพัฒนาค่าอาหารอาจสูงถึง 50% ของรายได้

สหประชาชาติระบุว่า คนทั่วโลกราว 1 ใน 9 คน ไม่มีอาหารกินเพียงพอที่จะทำให้มีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีและกระฉับกระเฉง

วิกฤตเยเมน : เด็ก 85,000 คน ตายจากการขาดสารอาหาร
ชาวเยเมนเผชิญความอดอยากครั้งใหญ่
“ปั่กปั่ก” อาหารคนยากในฟิลิปปินส์
ผู้คนจำนวนมากมีรายได้ในการดำรงชีพต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนนานาชาติ ซึ่งไม่ถึง 57 บาทต่อคนต่อวัน แต่ความหิวโหยและความยากจนไม่ได้มีเพียงในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น

ในปี 2018 ชาวอเมริกันมากกว่า 37 ล้านคน ไม่มีเงินซื้ออาหารกินเพียงพอ

มีอาหารเหลือทิ้งมากขึ้น มีความอดอยากมากขึ้น
สหประชาชาติระบุว่า โลกเรามีอาหารเพียงพอเลี้ยงดูคนถึง 1 หมื่นล้านคน แล้วเกิดอะไรขึ้นกับอาหารเหล่านั้น อาหารที่ผลิตได้ในแต่ละปีราว 1 ใน 3 เน่าเสียหรือถูกนำไปทิ้ง ส่วนใหญ่เป็นอาหารเหลือจากครัวเรือน อาหารเสียเพราะเก็บรักษาและขนส่งไม่ดีพอ อาหารเหลือทิ้งมีมูลค่าราว 30 ล้านล้านบาท

สหประชาชาติและองค์การอาหารและเกษตรระบุว่า หากลดปริมาณอาหารเน่าเสียหรือเหลือทิ้ง ลงได้ 25% ก็จะพอเลี้ยงดูผู้คนที่อดอยากหิวโหยได้อีก 870 ล้านคน

ผู้หญิงคือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นหัวใจสำคัญในการกำจัดความอดอยากหิวโหยในทุก ๆ ภูมิภาค ผู้หญิงมีโอกาสตกอยู่ในสภาพอดอยากมากกว่าชาย เกษตรกรสตรีมักได้ค่าแรงน้อยกว่า แต่ต้องทำงานในสภาพที่ย่ำแย่กว่า

สหประชาชาติระบุว่า จะมีคนอดอยากในโลกลดลง 150 ล้านคน ถ้าเกษตรกรสตรีเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย

และต้องไม่ลืมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เรื่องนี้กำลังเป็นสาเหตุสำคัญของความอดอยากทั่วโลก อุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบต่อการทำเกษตร เกษตรกรจำนวนมากต้องเผชิญสภาพผลผลิตตกต่ำและคุณภาพด้อยลง

สหประชาชาติ ตั้งเป้าทำให้ ‘ความอดอยากเป็นศูนย์’ ภายในปี 2030 แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การจะไปถึงเป้าหมายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตลอดสามปีมานี้ จำนวนคนอดอยากยังเพิ่มมากขึ้น

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ด้านกลุ่มเกษตรกรที่คัดค้านการห้ามใช้สารเคมีประกาศเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง

การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันนี้ (22 ต.ค. 2562) มีขึ้นขณะที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านการสั่งห้ามใช้สารเคมีทางการเกษตรปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือภาครัฐ ผู้นำเข้าสารเคมี เกษตรกรและผู้บริโภคซึ่งมีนางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีมติเมื่อวันที่ 7 ต.ค. เห็นชอบให้ยกเลิกการจำหน่ายและยกเลิกการใช้ในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 62 เป็นต้นไป

การประชุมซึ่งมีนายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รักษาการรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นประธาน เริ่มขึ้นในเวลา 9.00 น. โดยมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่คัดค้านการห้ามใช้สารเคมีดังกล่าวมาชุมนุมที่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อติดตามผลการประชุม

พาราควอต : 1 ใน 3 สารเคมีอันตรายในอุตสาหกรรมการเกษตร
พาราควอต : ฟังเสียงเกษตรกร เอ็นจีโอ ธุรกิจเกษตร ต่อข้อเสนอยกเลิกสารเคมีอันตรายในไทย
รู้จัก “ไกลโฟเซต” สารกำจัดวัชพืชที่แพ้คดีสารก่อมะเร็งในสหรัฐฯ
“คณะกรรมการได้มีการลงมติแบบเปิดเผย มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ปรับพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562” นายภานุวัฒน์แถลงผลการประชุม

ทั้งนี้มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 26 คนจากทั้งหมด 29 คน ผลการลงมติเป็นดังนี้

พาราควอต
-เห็นควรให้ยกเลิกการใช้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2562 จำนวน 20 คน

-เห็นควรให้ยกเลิกการใช้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2564 จำนวน 1 คน

-เห็นควรให้จำกัดการใช้ 5 คน

คลอร์ไพริฟอส
-เห็นควรให้ยกเลิกการใช้ 22 คน

-เห็นควรให้จำกัดการใช้ 4 คน

ไกลโฟเซต
-เห็นควรให้ยกเลิกการใช้ 19 คน

-เห็นควรให้จำกัดการใช้ 7 คน ขั้นตอนต่อไป
นายภานุวัฒน์กล่าวว่า คณะกรรมการมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงว่าด้วยบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นเสนอต่อคณะกรรมวัตถุอันตรายซึ่งจะพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป และให้กรมวิชาการเกษตรไปพิจารณาการบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่หลังประกาศมีผลบังคับใช้ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกร ร้านจำหน่าย เป็นต้น “ในการพิจารณาครั้งนี้นั้น คณะกรรมการได้พิจารณาข้อมูลจากคณะทำงานกระทรวงเกษตรฯ ประกอบด้วย ข้อมูลวิธีการและสารทางเลือก ในการจัดการวัชพืช ต้นทุนสารทางเลือก และข้อมูลสารทดแทนคลอร์ไพริฟอส ปริมาณสารที่คงเหลือ ณ ปัจจุบันซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าสามารถบริหารจัดการเพื่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ หากยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ” นายภานุวัฒน์ระบุ

นอกจากนี้คณะกรรมการยังได้พิจารณาข้อมูลจากผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับความเป็นอันตราย ข้อมูลการตรวจสอบเฝ้าระวังสารตกข้างในสินค้าเกษตรตามท้องตลาด รวมทั้งข้อมูลและข้อเสนอที่ได้รับจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งที่ต้องการให้ยกเลิกการใช้ และส่วนที่ไม่เห็นด้วยหากยกเลิกการใช้

ทางด้าน น.ส.อัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานชมรมกลุ่มรักแม่กลอง จ.ราชบุรี แกนนำกลุ่มเกษตรกรที่คัดค้านการห้ามใช้สารเคมีประกาศว่าจะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อชะลอมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรเห็นว่าคำสั่งยกเลิกการใช้สารเคมีจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร โดยเฉพาะในแง่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องหาสารกำจัดศัตรูพืชตัวอื่นมาทดแทน

เธอเชื่อว่า มติคณะกรรมการฯ มีพื้นฐานมาจากข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่นำเสนอโดยกระทรวงสาธารณสุขและผู้แทนองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่อยู่ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย

“ไม่ใช่ชัยชนะของใคร”
นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. เกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสภายหลังรับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายว่ามตินี้ “ไม่ใช่ชัยชนะของใคร” แต่เป็นเพราะสังคมต้องการรับประทานอาหารที่มาจากผลผลิตการเกษตรที่มีความปลอดภัย

“ขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขมาก ๆ และพี่น้องประชาชนทุกคนที่เป็นพลังการขับเคลื่อน รวมทั้งรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน” รมช. เกษตรและสหกรณ์กล่าว

ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊กขอบคุณคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่สนับสนุนให้ยกเลิกการใช้สารเคมี

“ขอกราบขอบพระคุณและน้อมคารวะต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายเฉพาะผู้ที่ลงมติแบนการใช้สารพิษด้วยจิตสำนึกที่รักและห่วงใยในคุณภาพชีวิตและสุขภาพของพี่น้องประชาชน ประวัติศาสตร์จะจารึกวีรกรรมที่ท่านทำเพื่อแผ่นดินเกิดในวันนี้เยี่ยงวีรบุรุษของชาติ ขอแสดงความยินดีกับคนไทยทุกคนที่ประเทศของเรายังมีข้าราชการและนักวิชาการที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมหลงเหลืออยู่ในบ้านของเรา” นายอนุทินระบุ

นายอนุทินยังให้สัมภาษณ์ด้วยว่า เมื่อเป็นสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้จะสามารถใช้ได้จนถึงวันที่ 1 ธ.ค. แต่คาดว่าจะผ่อนผันไปอีก 1 เดือน หลังจากนั้นก็จะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากใครครอบครองสิ่งที่ผิดกฎหมายก็มีขั้นตอนในการจัดการ ส่วนการเยียวยาเกษตรกรที่ซื้อสารเคมีดังกล่าวมาเก็บไว้ล่วงหน้าและการหาสารทดแทนนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปดูแล

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีใครบ้าง

คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีทั้งหมด 29 คน ประกอบด้วย 1.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2.อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม 3.เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 5.ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 6.เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 7.ผู้แทนกระทรวงคมนาคม 8.อธิบดีกรมการขนส่งทางบก 9.อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน 10.อธิบดีกรมการค้าภายใน 11.อธิบดีกรมประมง 12.อธิบดีกรมปศุสัตว์ 13.อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 14.ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 15.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชากฎหมาย 16.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาเคมี 17.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 18.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 19.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 20.ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 21.ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายท้องถิ่น 22.ผู้แทนองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม 23.ผู้แทนองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 1) 24.ผู้แทนองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 2)25.อธิบดีกรมการแพทย์ 26.อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 27.เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา 28.อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ 29.อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

ก่อนหน้านี้เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กรออกแถลงการณ์ยืนยันข้อเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายออกคำสั่งห้ามใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดตามข้อเสนอของคณะทำงาน 4 ฝ่าย รวมทั้งให้คณะกรรมการฯ ลงมติแบบเปิดเผยพร้อมข้อวินิจฉัยส่วนบุคคล

ลำดับเหตุการณ์ก่อนมีมติห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด

5 เม.ย. 60 – คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นคณะกรรมร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติให้ดำเนินการออกประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด โดยให้ยุติการนำเข้าภายใน ธ.ค. 61 และยุติการใช้ในเดือน ธ.ค. 62 อีกทั้งจำกัดการใช้ไกลโฟเซตอย่างเข้มงวด ห้ามใช้ในพื้นที่สาธารณะและชุมชนโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งน้ำ

19 พ.ย. 60 – กรมวิชาการเกษตร ต่อทะเบียนให้บริษัทเอกชน คือ บริษัทซินเจนทา, เอเลฟองเต้และดาส อะโกรไซแอนด์ นำเข้าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดได้อีก 6 ปี โดยให้เหตุผลว่าหากไม่ต่อทะเบียนจะทำให้เอกชนเสียหายและรัฐอาจถูกฟ้องได้

30 ม.ค. 61 – พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้พาราควอตให้ชัดเจน

15 ก.พ. 61 – กระทรวงสาธารณสุขประชุมหารือเรื่องพาราควอต โดยยืนยันตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง คือ ให้ยกเลิกภายใน ธ.ค. 62

23 พ.ค. 61 – คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 รายการ สร้างความผิดหวังให้เครือข่ายเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชนที่คัดค้านการใช้สารเคมี โดยเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ได้ยื่นจดหมายไม่เห็นด้วยต่อมติดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตว่า กรรมการที่ร่วมพิจารณานั้นไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบต่อสุขภาพเลย ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่สนับสนุนการใช้สารเคมีดังกล่าวทั้งสิ้น อีกทั้งยังใช้ข้อมูลเก่า ไม่ใช้งานข้อมูลเชิงประจักษ์ใหม่ ๆ ประกอบการพิจารณา

23 พ.ย. 61 – ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกการใช้พาราควอตภายใน 1 ปี แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชน จำกัดและควบคุมการใช้ และพัฒนาวิธีการทดแทนให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันก่อนจะยกเลิกอย่างถาวร

14 ก.พ. 62 – ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อประธานกรรมการวัตถุอันตราย ให้พิจารณาควบคุมพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4

9 ส.ค. 62 – หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นาน นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้ ประกาศว่าจะต้องยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูกำจัดศัตรูพืชความเสี่ยงสูง 3 ชนิดให้ได้ก่อนสิ้นปี 62

7 ต.ค. 62 – ประชุมคณะกรรมการ 4 ฝ่าย คือภาครัฐ www.ufabets.co.uk ผู้นำเข้าสารเคมี เกษตรกร และผู้บริโภค โดยมีมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีมติ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นชอบให้ยกระดับสารเคมีเกษตร 3 ชนิด จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 เพื่อให้ยกเลิกการจำหน่าย และยกเลิกการใช้ในประเทศ เริ่มวันที่ 1 ธ.ค. 62

22 ต.ค. 62 – คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเห็นควรให้ยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต

หน้าร้อน : ครีษมายัน วันที่มีช่วงกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

วันนี้ (21 มิ.ย.) เป็นวันครีษมายัน (Summer Solstice) ซึ่งเป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีของซีกโลกเหนือ

ในวันนี้ที่อังกฤษดวงอาทิตย์ขึ้นที่เวลา 4.43 น. และจะตกเวลา 21.21น. ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีเวลาช่วงกลางวันที่มีแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 16 ชั่วโมง 38 นาที ในขณะที่หมู่เกาะสวาลบาร์ด ส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของโลกนั้นจะมีแสงอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เม.ย.-ส.ค.

หน้าหนาว : วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ซีอาน จัดพิธีใหญ่รับ วันเริ่มต้นฤดูหนาว
ส่วนประเทศไทย วันนี้ดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 5.51 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า 12 ชั่วโมง 56 นาที (เวลากรุงเทพฯ)

ครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกโดยเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศในแถบซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้

ครีษมายันมีความสำคัญหลายประการทางซีกโลกเหนือ เพราะนอกจากจะเป็นวันแรกของฤดูร้อนแล้ว วันนี้ยังมีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยว และความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

ภาพธรรมชาติน่าทึ่งจากการประกวดภาพถ่ายอุทยานแห่งชาติในสหราชอาณาจักร
ชมความงาม “ซูเปอร์ สโนว์ มูน” พระจันทร์เต็มดวงใหญ่สุดในรอบปี 2562
ภาพซูเปอร์บลูมูนสีเลือดจากทั่วทุกมุมโลก
ในแต่ละปีมีการเฉลิมฉลองวันครีษมายันในหลายประเทศทั่วโลก โดยในอังกฤษนั้น วันนี้มีผู้คนราว 10,000 คนไปรวมตัวกันที่อนุสรณ์สถานยุคก่อนประวัติศาสตร์ สโตนเฮนจ์ เพื่อชมแสงแรกของวันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้า และร่วมเฉลิมฉลองต้อนรับวันแรกของฤดูร้อน โดยเชื่อกันว่าพิธีกรรมฉลองวันครีษมายันที่สโตนเฮนจ์มีมายาวนานหลายพันปีแล้ว

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า วันครีษมายัน หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด หรือจุดสุดทางเหนือ

ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือน มี.ค. ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางเหนือเรื่อย ๆ และหยุดที่จุดเหนือสุดในวันที่ 21 มิ.ย. จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนลงมาทางใต้ ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด จึงมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี

นายศุภฤกษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือน ม.ค. (147 ล้านกิโลเมตร) และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนก.ค. (ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร)

เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกล ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก จึงไม่มีผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด

แต่การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่า ในฤดูร้อน เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว

ป่าฝนแอมะซอนซึ่งเป็นพื้นที่ป่าดิบชื้นกว้างใหญ่ที่สุดของโลก กำลังถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมชี้ว่า มีการแผ้วถางป่ากินพื้นที่ขนาดเท่าสนามฟุตบอลหนึ่งแห่งในทุกหนึ่งนาที

ข้อเท็จจริงที่ว่าสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานสำหรับทีมฟุตบอลมืออาชีพมีพื้นที่ราว 7,140 ตารางเมตร ทำให้อัตราการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นนี้น่าตกใจอย่างยิ่ง เนื่องจากป่าแอมะซอนนั้นเป็นแหล่งดูดซับกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ซึ่งช่วยชะลอการเกิดภาวะโลกร้อน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลบราซิลผู้ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับบีบีซีว่า รัฐบาลใหม่ซึ่งยึดถืออุดมการณ์ฝ่ายขวาของประธานาธิบดีจาอีร์ โบลโซนาโร สนับสนุนการแผ้วถางป่าแอมะซอนในครั้งนี้ เพราะเห็นแก่การพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มอดไม้ถางป่ากันด้วยวิธีไหน ?

จากการสำรวจของทีมข่าวบีบีซีพบว่า ส่วนใหญ่จะมีการใช้รถดันดินเข้าดันลำต้น เพื่อถอนรากไม้ที่อยู่ตื้นให้หลุดออกพ้นจากพื้นดิน หรือใช้เครื่องยนต์คู่ซึ่งมีเลื่อยโซ่ยนต์เชื่อมตรงกลางลุยตัดไปข้างหน้า ท่อนซุงและชิ้นไม้ที่ได้จะถูกนำไปขายหรือเผาทิ้ง ส่วนผืนดินที่ว่างเปล่าจะถูกปรับให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรต่อไป

ทีมข่าวยังพบว่า พื้นดินบริเวณที่ต้นไม้ถูกตัดไปใหม่ ๆ นั้น แห้งจนแตกระแหงเพราะต้องแสงแดดที่แผดเผาอย่างรุนแรงหลังจากขาดร่มเงา ในบางพื้นที่พวกลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายจะถางทางใหม่ แหวกพงหญ้าและพุ่มไม้ทึบตรงไปสู่ต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งมีราคาที่ต้องการตัดโค่น แก๊งมอดไม้จะนำสินค้าไปจำหน่ายในตลาดมืด และบ่อยครั้งการตัดไม้มีขึ้นตามคำสั่งซื้อโดยตรงจากลูกค้าคนพิเศษ

เปิดป่าแอมะซอน
ป่าฝนโลเซอร์: ช่วยชีวิตลูกอุรังอุตัง จากถูกนำไปขายเป็นสัตว์เลี้ยงในอินโดนีเซีย
พืชที่ทนทานที่สุดในโลก อายุ 32,000 ปี และอาจอยู่รอดบนดาวอังคาร
“เนื้อช้างบรรจุกระป๋อง” คือข้อเสนอหนึ่งของรัฐบาลบอตสวานา เพื่อลดจำนวนช้าง “ที่มีมากเกินไป”

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับป่าแอมะซอนได้แก่อะไรบ้าง ?

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางไปมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งตรงกับการเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีจาอีร์ โบลโซนาโร ของบราซิล ประเทศผู้เป็นเจ้าของผืนป่าส่วนใหญ่ในแถบลุ่มน้ำแอมะซอน

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยมีผืนป่าถูกทำลายคิดเป็นพื้นที่โดยเฉลี่ย 1 เฮกตาร์ หรือ 1 หมื่นตารางเมตรในทุกนาที จุดประสงค์หลักในการแผ้วถางป่าเหล่านี้คือต้องการเพิ่มพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงปศุสัตว์

ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลกลางในอดีตของบราซิลได้พยายามแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยดำเนินโครงการความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นและสั่งปรับผู้ละเมิดกฎหมายอย่างจริงจัง จนสถิติการตัดโค่นต้นไม้ในป่าแอมะซอนลดลงอย่างมาก

แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่ดีต่อการอนุรักษ์ดังกล่าวถูกยับยั้งโดยรัฐบาลของประธานาธิบดีโบลโซนาโร ซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายลงโทษผู้ตัดไม้ทำลายป่าในอดีต ทำให้สถิติการจับกุมอายัดของกลางจากแก๊งมอดไม้ลดต่ำลงอย่างมากในรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งการตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดในคดี “อาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อม” ก็พลอยลดน้อยถอยลงไปด้วย

หายนะต่อสิ่งแวดล้อมโลก

ต้นไม้หลายพันล้านต้นในป่าแอมะซอนช่วยดูดซับคาร์บอนปริมาณมหาศาลเอาไว้ ไม่ให้หลุดออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีวงจรกักเก็บสะสมคาร์บอนที่ทำงานมานานเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว

ใบไม้ในป่าช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมากในทุก ๆ ปี แต่หากกระบวนการนี้ถูกรบกวนเสียแล้ว ก๊าซเรือนกระจกจะถูกทิ้งให้หลงเหลืออยู่ในชั้นบรรยากาศโลก จนทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้

ตัวเลขประมาณการล่าสุดระบุว่า ต้นไม้ในป่าฝนแอมะซอนได้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้รวมกัน คิดเป็นปริมาณเท่ากับการปล่อยก๊าซดังกล่าวจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของ 9 ประเทศในแถบลุ่มน้ำแอมะซอน ระหว่างปี 1980-2010

ป่าแอมะซอนยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก โดยเป็นบ้านของพืชและสัตว์จำนวนถึง 1 ใน 10 ของทุกชนิดพันธุ์บนโลก ชนเผ่าพื้นเมืองอีกกว่า 1 ล้านคนยังใช้ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย โดยดำรงชีพจากการล่าสัตว์และเก็บของป่า

นโยบายใหม่ทำลายผืนป่า

ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นดีเห็นงามกับนโยบายส่งเสริมการตัดไม้ทำลายป่าของประธานาธิบดีโบลโซนาโร เจ้าหน้าที่ของรัฐบางกลุ่มยินดีให้ข้อมูลกับบีบีซี แม้จะถูกเบื้องบนสั่งห้ามไม่ให้พูดคุยกับสื่อมวลชนในเรื่องนี้ก็ตาม พวกเขาบอกว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมนั้นใหญ่หลวงเสียจนไม่สามารถจะนิ่งเฉยอยู่ได้

ประธานาธิบดีโบลโซนาโรชนะการเลือกตั้งด้วยนโยบายประชานิยมที่บรรดาเจ้าของธุรกิจการเกษตรและเกษตรกรรายย่อยสนับสนุนกันอย่างมาก ซึ่งคนเหล่านี้มองว่าผืนป่าได้รับการปกป้องมากเกินไปจนไม่ได้ใช้ประโยชน์ ส่วนเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมก็กำลังมีอิทธิพลเกินขอบเขต ทำให้ผู้นำบราซิลคนใหม่ให้คำมั่นว่าจะผ่อนคลายความเข้มงวดของกฎหมายพิทักษ์ป่าลง

ประธานาธิบดีโบลโซนาโรกล่าวโจมตีหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีความพยายามจากรัฐบาลกลางที่จะชี้ว่า ข้อมูลการตัดไม้ทำลายป่าที่หน่วยงานเหล่านี้นำเสนอออกมาไม่เป็นความจริง

“สถานการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดอาจจะเลวร้ายยิ่งกว่านี้ก็เป็นได้ เพราะภาพถ่ายดาวเทียมยังไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ซึ่งถูกแผ้วถางไปเมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำเป็นจะต้องรู้ความจริง เรายังต้องการพันธมิตรอีกมากเพื่อร่วมกันต่อสู้การรุกรานผืนป่า” เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว

บุญฤทธิ์ หอมจันทร์ เผชิญแต่ความท้อแท้และหนี้สินในช่วง 10 ปีแรกของอาชีพเกษตรกร จนกระทั่งเขารับแนวคิด “ทำนาวิถีใหม่” มาใช้ ทุกวันนี้ เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น พร้อมตระหนักว่า ชาวนาตัวเล็ก ๆ อย่างเขา มีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้

ฟู่ ฟู่ เสียงเทไข่ลงน้ำมันร้อนในกระทะ ดังออกมาจากใต้ถุนบ้านไร่ชายนาแห่งหนึ่งใน ต.แพรกศรีราชา อ. สรรคบุรี จ.ชัยนาท วันนี้ ปราณี หอมจันทร์ ตั้งใจทำไข่เจียวใส่ปิ่นโต สำหรับทานกับสามีหลังเสร็จงาน

“ไปกันได้แล้วจ้ะที่รัก” ปราณี พูดพลางซ้อนท้ายจักรยานยนต์ที่ บุญฤทธิ์ หอมจันทร์ สตาร์ทเครื่องรอไว้แล้ว

คู่รักวัยเลขสี่ ขับรถไปไม่ถึง 10 นาทีก็ถึงแปลงนา 40 ไร่ สีเขียวชอุ่ม ข้าวกำลังออกรวงสวย แต่ผืนนาของครอบครัวหอมจันทร์ ไม่ธรรมดา เพราะใช้เทคโนโลยีปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ จนเรียบเนียนแทบขนานกับพื้นถนนที่ติดกัน

“พอปรับพื้นที่ให้เรียบแล้ว มันลดหลาย ๆ อย่างลง อย่างแรกเลย คือ ลดการใช้น้ำ ลดเมล็ดพันธุ์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดสารเคมี ทั้งหมดลดลงตามกันหมดเลย” บุญฤทธิ์ อธิบาย

ความสุขคือกำไร คติของชายผู้ทิ้ง 1.5 พันล้านเพื่อนาสวนใน กทม.
เกษตรกรรมที่ไร้เกษตรกร?
และเขาเพิ่งรู้เมื่อไม่นานมานี้ว่า การทำนาวิถีใหม่ ผสมผสานเทคโนโลยี ที่เขาและเกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดกำลังทำอยู่ ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ด้วย

อดีตชาวนาที่จมกองหนี้

บุญฤทธิ์ เคยทำงานในโรงงานผลิตอะไหล่ในกรุงเทพฯ ก่อนกลับบ้านเกิด แล้วผันตัวเป็นชาวนามา เมื่อ15 ปีที่แล้ว การปลูกข้าวในช่วง 10 ปีแรกของเขา มีแต่หนี้สินที่เพิ่มขึ้น

“จากหมื่นเป็นสองหมื่น จาก แสนเป็น สอง-สามแสน ติดหนี้สหกรณ์ ติดหนี้ ธ.ก.ส.” ชาวนาผิวคล้ำ พูดด้วยน้ำเสียงเปี่ยมอารมณ์ “ผมเคยนั่งคิด เกือบจะเป็นโรคซึมเศร้า เพราะว่ามันไม่มีทางออก เนื่องจากปัญหาหนี้สิน ไหนจะครอบครัว ไหนจะลูกอีก ท้อมากเลย แรก ๆ เนี่ยมีที่นาอยู่ไม่กี่ไร่ อยากจะขายทิ้งเลยครับ”

จนกระทั่ง ปี 2557 เจ้าหน้าที่กรมการข้าวเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำนาวิถีใหม่

เมื่อคิดว่าไม่มีอะไรจะเสีย บุญฤทธิ์นำผืนนา 11 ไร่เข้าโครงการ และเริ่มเห็นผลตั้งแต่ฤดูเพาะปลูกแรก คือ จากเดิมสูบน้ำเข้าไร่ 3 วัน ลดเหลือไม่ถึงวัน และใช้น้ำมันสำหรับเครื่องสูบน้ำลดลง 70%

ส่วนผลลัพธ์เป็นตัวเงินคือ ต้นทุนจากเดิม 6 พันบาท เหลือแค่ 3 พันบาท นั่นหมายความว่า หากบุญฤทธิ์ขายข้าวได้ไร่ละเฉลี่ย 7,000 บาท เขาจะได้กำไรต่อไร่ 4,000 บาท รวม 11 ไร่เป็น 44,000 บาท ต่อการปลูกข้าว 1 ครั้ง

ต้นทุนลดลง กำไรเพิ่มขึ้น จากที่สมัยก่อนเขาขายข้าวได้กำไร 1,000 บาทต่อไร่เท่านั้น ตอนนั้นเองที่เขามองเห็น “ทางออก” และคิดว่า “โอเค เรามาถูกทางแล้ว”

ปลูกข้าวผสานเทคโนโลยี

ต่อมากรมการข้าวได้พัฒนาต่อยอดโครงการที่บุญฤทธิ์เข้าร่วมเดิม ด้วยความร่วมมือและงบสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนี ภายใต้ชื่อ “ไทย ไรซ์ นามา” โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่มีอยู่แล้ว โดยมี 4 กิจกรรมหลักด้วยกัน

1.การปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ : ใช้เครื่องเลเซอร์วัดระดับและควบคุมกระบะเกลี่ยดิน จนกระทั่งหน้าดินแปลงนาราบเรียบเสมอกัน

2.การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง : ใช้ท่อ PVC ขนาด 4 นิ้วมีรูเจาะรอบตัว ช่วยให้เกษตรกรให้น้ำกับข้าวในระยะที่ข้าวต้องการเท่านั้น และหยุดให้น้ำในระยะที่ไม่จำเป็น

3.การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน : เก็บตัวอย่างดินในแปลงนา ส่งวิเคราะห์หาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อประเมินปริมาณปุ๋ยเท่าที่จำเป็น

4.การจัดการฟางและตอซัง : ใช้น้ำหมักย่อยสลายฟางและตอซัง แทนที่การเผา ดร. อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ประธานที่ปรึกษาอธิบดีกรมการข้าว อธิบายว่า สิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งสำหรับโครงการนี้ ก็คือ การปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ ที่เป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายราว 2,200 บาทต่อไร่

“แต่ในส่วนที่ลดก็คือ ประหยัดปุ๋ย ประหยัดสารเคมี ประหยัดน้ำ ลดค่าสูบน้ำ” เขาชี้ ก่อนคำนวณต้นทุนที่ลดลงมหาศาล อาทิ ช่วงนาปรัง หรือการปลูกข้าวนอกฤดูฝน 12 ล้านไร่ ที่บริหารจัดการน้ำได้

“คิดต่อไร่ ตัวเลขกลม ๆ ประหยัดเงินได้ 3,700 บาทต่อไร่ ตอนนี้เรามี 12 ล้านไร่นาปรัง รวมคิดเป็นต้นทุนที่ลดลง 44,000 ล้านบาท” ซึ่งต้นทุนที่ลดลงไป “จะเข้าไปอยู่ในกระเป๋าชาวบ้าน”

ปลูกข้าวลดโลกร้อน

โครงการ ไทย ไรซ์ นามา มุ่งเน้นส่งเสริมเกษตรกรให้ทำนาอย่างยั่งยืน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เริ่มต้นจากชาวนาในพื้นที่เขตชลประทาน 6 จังหวัดภาคกลาง คือ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.8 ล้านไร่

ลัดดา วิริยางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการรับรองข้าว กรมการข้าว ระบุว่า ชาวนาทั่วไปเชื่อว่า “ปลูกข้าวต้องให้น้ำขังตลอดเวลา” ซึ่งไม่ถูกต้องเสียทีเดียว และเป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย

“รากข้าวมีจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่เติบโตได้ดีในสภาพน้ำขัง” ลัดดา อธิบาย “สภาพน้ำขังขาดอ๊อกซิเจน จุลินทรีย์จะเติบโต และปล่อยก๊าซมีเทนออกมา”

ก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจก ที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ถึง 28 เท่า และประมาณการว่า นา 1 ไร่อาจก่อให้เกิดก๊าซมีเทนได้หลักสิบ ถึงหลักพันกิโลคาร์บอน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ ไทม์ฟอร์เชนจ์ (Time For Change.com) ประเมินว่า การใช้น้ำมันรถยนต์ 1 ลิตร จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 10 กิโลคาร์บอน นั่นหมายความว่า การปลูกข้าว 1 ไร่ อาจก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าการใช้น้ำมัน 1 ถึง 100 ลิตรเลยทีเดียว

การช่วยแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศนเปลี่ยนแปลง ประชากร 1 คนควรก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกต่อปี ไม่เกิน 2,000 กิโลคาร์บอน แต่หากเป็นเช่นนี้ ชาวนาที่มีแปลงนาหลายไร่ ก็ถือว่าสร้างมลพิษเกินเพดานที่เหมาะสมไปแล้ว โดยอาจไม่รู้ตัว

ปลูกผัก : ชายผู้ทำเกษตร ด้วยหวังสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืนในสภาพอากาศหฤโหดที่ขั้วโลกเหนือ
ก๊าซเรือนกระจกอาจทำให้สารอาหารในข้าวลดลง
ทำไมไทยส่งออกมะม่วงได้น้อยลงเมื่อโลกร้อนขึ้น
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม การทำนาข้าวจึงเป็นสาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมทั้งหมด โดยประเทศไทย ภาคเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน

ดังนั้น การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ในขั้นตอนที่ 2 จึงช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทนด้วย นอกเหนือจากการประหยัดน้ำ

เปลี่ยนวิถีชาวนา 450,000 คน

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน หรือ จีไอแซด (GIZ) เป็นผู้พัฒนาโครงการ ไทย ไรซ์ นามา ร่วมกับกรมการข้าว และทำหน้าที่ “ฝ่ายสนับสนุน” เพื่อติดตาม ประเมิน และรายงานผล ตลอดช่วง 5 ปีของโครงการ

สุริยันต์ วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการโครงการของ GIZ ยอมรับว่า นี่เป็นโครงการระดับมหภาคทางการเกษตรครั้งแรกในกลุ่มประเทศเกษตกรในเอเชีย เพราะครอบคลุมชาวนามากถึง 1 แสนครัวเรือน หรือ 450,000 คน

“ประเทศไทยกำลังสร้างโมเดลต้นแบบในภาคการเกษตรให้กับประเทศอื่น” เขาชี้แจง

และด้วยคุณลักษณะ “การปลูกข้าวรักษ์โลก” ทำให้ได้รับการสนุนงบ 600 ล้านบาท จากองค์กร นามา ฟาซิลิตี (NAMA Facility) หน่วยงานใต้องค์การสหประชาชาติที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากประเทศเยอรมนี อังกฤษ เดนมาร์กและสหภาพยุโรป ด้วยเป้าหมายส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก

ทูตเยอรมันคนใหม่ ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมไทยมากกว่าแค่ขี่สกูตเตอร์ไฟฟ้า
สิ่งแวดล้อม : ร้านของชำทันสมัย ไร้บรรจุภัณฑ์ มุ่งเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค
เป้าหมายเชิงชี้วัดของทางองค์กร คือ ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เปลี่ยนแปลงวิถีการปลูกข้าว ได้ประโยชน์จากการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

“แล้วครึ่งหนึ่งของ 100,000 ครัวเรือน ต้องผลิตข้าวได้ตามมาตรฐาน ที่เชื่อมเข้าสู่ตลาดที่มีคุณภาพ มีอุปสงค์ที่สม่ำเสมอ มีรายรับเพิ่มขึ้น 20%”

สุริยันต์ เชื่อว่า 1 ใน 4 ของเกษตรกรในโครงการ ยังมีศักยภาพจะเป็น “ดาวรุ่ง” ที่สามารถผลิตข้าวคุณภาพดี สำหรับส่งออกได้ ซึ่งเกษตรกรดาวรุ่ง 25% นี้ จะเป็นตัวกลางส่งมอบความรู้แก่เพื่อนเกษตรกรอื่นด้วย

หญิงสูงวัยที่กล้าเปลี่ยน

สำออย พักแพก ชาวนาหญิงวัย 57 ปี ที่มีผืนนาเกือบ 90 ไร่ ทดลองทำนาวิถีใหม่ มาตั้งแต่ ปี 2558 และเห็นผลด้วยรายรับที่มากขึ้น

“ภาระลดลงเยอะ แล้วป้าก็รู้ด้วยเรื่องโลกร้อนน่ะ” สำออย ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย “ป้าไม่เผาฟาง ใช้หมักเอา และรู้ว่าถ้าน้ำขังมาก เชื้อราจะมา เราจึงต้องทำเปียกสลับแห้ง”

การเกลี่ยหน้าดินให้เรียบด้วยแสงเลเซอร์ ยังผ่อนแรงเธอได้เยอะ เพราะปรับหน้าดิน 1 ครั้ง สามารถเรียบอยู่ได้ถึง 5 ปี หรือการทำนา 10 ครั้ง (นาปี และนาปรัง) “เรามีรถไถเองด้วย ถ้าดินตรงไหนไม่เรียบป้าก็พอทำเองได้ จากที่แต่ก่อนต้องจ้างคน ตอนนี้ทำเองได้เลย”

เช่นเดียวกับ สะอาด ไขว้คำ อายุ 60 ปี เธอหันมาใช้กระบวนการทำนา 4 ขั้นตอนตามโครงการ จน “ต้นทุนลดลงหลาย”

“ปีนี้ก็ทำทั้งหมด 2 แปลงเลย รู้สึกดีกว่าทำแบบเก่า ข้าวหยอดมันก็น้อยกว่า ฉีดยาฆ่าแมลงน้อยลง”

ความสุขของชาวนา

“เอ้ามาทานข้าวได้แล้ว” ปราณี เรียกสามี ที่กำลังเดินตัดคันนากลับมายังร่มเงาใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่เธอปูเสื่อรอไว้แล้ว

บุญฤทธิ์ ถอดหมวกปีกกว้างนั่งลง เอื้อมมือไปหยิบน้ำเย็น ๆ จากมือภรรยามาดื่มอึกใหญ่ ระหว่างนั้นปราณี เปิดปิ่นโตจัดสำรับอาหาร ทานไปได้ไม่นาน สุนัขพันธุ์ไทยที่เลี้ยงไว้ ก็เดินเข้ามาคลอเคลีย หวังจะขออาหาร

หากยังดื้อดึงทำนาแบบเก่า บุญฤทธิ์ยอมรับว่า ภาพความน่ารักเรียบง่ายเช่นนี้ คงไม่เกิดขึ้น

“หนี้สินที่มีเยอะ ๆ ก็ค่อย ๆ หมดไป ตอนนี้ผมก็พอมีตังค์ แล้วก็เอาไปซื้อที่ไว้ส่วนหนึ่ง อย่างน้อยก็เอาไว้ให้ลูก ๆ ผมทำแล้วมีเงินเก็บ ทำแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น”

จากผืนนา 11 ไร่ ปัจจุบัน เขามีนา 40 ไร่จากการซื้อและเช่าเพิ่ม ด้วยค่าเช่าเป็นข้าวไร่ละ 20 ถัง ด้วยกำไรที่มากขึ้นจากต้นทุนที่ลดลง วันนี้ ครอบครัวบุญฤทธิ มีกำไรถึง 160,000 บาทต่อการปลูกข้าว 1 ฤดู

เมื่อเพียงพอแล้ว เขาพยายามเผื่อแผ่ ด้วยการแนะนำเกษตรกรคนอื่น ๆ ที่เคยประสบปัญหาเดียวกัน ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก.

“เกษตรกรที่มาร่วมโครงการ เริ่มจะลืมตาอ้าปากได้” บุญฤทธิ์ พูดถึงตรงนี้แล้วยิ้ม “เราไม่ได้พาเกษตรกรร่ำรวย ขั้นแรกคุณต้องหมดหนี้ก่อน แล้วก็มีเงินเก็บ เกษตรกรไม่ต้องรวยนะครับ แค่มีอยู่ มีกิน มีใช้ มีให้ลูกไปโรงเรียน ก็มีความสุขแล้ว”

หนุ่มโรงงาน สู่เกษตรกรรักษ์โลก

หากถามบุญฤทธิ์ว่า “รู้จักปัญหาโลกร้อนไหม” ตัวเขาในสมัยก่อนจะตอบว่า “ไม่เคยคิด”

แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการ และศึกษาจากเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่หมุนเวียนมาให้ความรู้ วันนี้ เขาตระหนักว่า “จากคนที่มาจากอุตสาหกรรมแล้วมาสู่ภาคเกษตร สิ่งที่พวกเรามองข้าวไม่ได้คือ ร่วมกันรับผิดชอบต่อโลกด้วย…รับผิดชอบกับคนหลาย ๆ คนที่เขากินข้าวของเรา”

เขายอมรับว่า ครั้งแรกที่ได้ยินเกี่ยวกับ “ปลูกข้าวรักโลก” เขาไม่คิดว่าจะประสบความสำเร็จ แต่เมื่อทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ “ผมเองมีความรักธรรมชาติเพิ่มขึ้น รักโลกเพิ่มขึ้น”

“ทุกวันนี้ รู้สึกพอใจมากเลยกับการมีอาชีพเกษตรกร จากที่เคยท้อแท้…แล้วรู้สึกดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งลดโลกร้อน และผลิตข้าวคุณภาพดี ๆ ให้กับเพื่อนมนุษย์ในโลก ได้บริโภคสิ่งดี ๆ”

บุญฤทธิ์ อยากฝากถึงพี่น้องเกษตรกรที่อาจเคยประสบปัญหาชีวิตเหมือนเขาว่า “อย่าสิ้นหวัง” “กล้าที่จะเปลี่ยน กล้าที่จะคิดใหม่ทำใหม่” ชาวนาที่ทุกวันนี้ยิ้มได้เต็มปาก กล่าว “แล้วท่านจะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ”

เรื่อง-วิดีโอ โดย ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย

บุญฤทธิ์ หอมจันทร์ เผชิญแต่ความท้อแท้และหนี้สินในช่วง 10 ปีแรกของอาชีพเกษตรกร จนกระทั่งเขารับแนวคิด “ทำนาวิถีใหม่” มาใช้ ทุกวันนี้ เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น พร้อมตระหนักว่า ชาวนาตัวเล็ก ๆ อย่างเขา มีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้

ฟู่ ฟู่ เสียงเทไข่ลงน้ำมันร้อนในกระทะ ดังออกมาจากใต้ถุนบ้านไร่ชายนาแห่งหนึ่งใน ต.แพรกศรีราชา อ. สรรคบุรี จ.ชัยนาท วันนี้ ปราณี หอมจันทร์ ตั้งใจทำไข่เจียวใส่ปิ่นโต สำหรับทานกับสามีหลังเสร็จงาน

“ไปกันได้แล้วจ้ะที่รัก” ปราณี พูดพลางซ้อนท้ายจักรยานยนต์ที่ บุญฤทธิ์ หอมจันทร์ สตาร์ทเครื่องรอไว้แล้ว

คู่รักวัยเลขสี่ ขับรถไปไม่ถึง 10 นาทีก็ถึงแปลงนา 40 ไร่ สีเขียวชอุ่ม ข้าวกำลังออกรวงสวย แต่ผืนนาของครอบครัวหอมจันทร์ ไม่ธรรมดา เพราะใช้เทคโนโลยีปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ จนเรียบเนียนแทบขนานกับพื้นถนนที่ติดกัน

“พอปรับพื้นที่ให้เรียบแล้ว มันลดหลาย ๆ อย่างลง อย่างแรกเลย คือ ลดการใช้น้ำ ลดเมล็ดพันธุ์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดสารเคมี ทั้งหมดลดลงตามกันหมดเลย” บุญฤทธิ์ อธิบาย

ความสุขคือกำไร คติของชายผู้ทิ้ง 1.5 พันล้านเพื่อนาสวนใน กทม.
เกษตรกรรมที่ไร้เกษตรกร?
และเขาเพิ่งรู้เมื่อไม่นานมานี้ว่า การทำนาวิถีใหม่ ผสมผสานเทคโนโลยี ที่เขาและเกษตรกรส่วนใหญ่ในจังหวัดกำลังทำอยู่ ยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ด้วย

จากที่ชาวนามองว่าเป็นศัตรูร้ายทำลายพืชผล ทุกวันนี้ หอยทากได้รับการดูแลอย่างดี เพื่อให้ผลิต “เมือก” คุณภาพสูง ส่งออกเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม โดยเฉพาะในเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

หอยทากขนาดใหญ่หลายตัวค่อย ๆ คืบคลานบนกะละมังพลาสติกที่เต็มไปด้วยอาหารโอชะของพวกมัน ทั้งฟักทองและแตงกวา ภาทินีสิริ แตงเขียว หวังว่า เมื่อหอยทากได้รับสารอาหารที่ดี พวกมันจะสร้าง “เมือก” อุดมด้วยคอลลาเจน

สำหรับบริษัทด้านความสวยความงามแล้ว “เมือกหอยทาก” ชั้นดี มีมูลค่ายิ่งกว่าทองเสียอีก ชาวนาเคยมองว่าหอยทากเป็นศัตรูร้ายทำลายพืชผล เจอที่ไหนเป็นต้องหยิบทิ้งหรือโยนลงน้ำ แต่ทุกวันนี้ถ้าใครเจอจะเก็บไว้อย่างทะนุถนอม เพื่อนำไปขายฟาร์มหอยทากที่จะขูด “เมือก” ของมัน ส่งออกเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม โดยเฉพาะในเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

หอยทากขนาดใหญ่หลายตัวค่อย ๆ คืบคลานบนกะละมังพลาสติกที่เต็มไปด้วยอาหารโอชะของพวกมัน ทั้งฟักทองและแตงกวา ภาทินีสิริ แตงเขียว เจ้าของฟาร์มหอยทากหวังว่า เมื่อได้รับสารอาหารที่ดี พวกมันจะสร้างเมือกที่เชื่อว่าอุดมด้วยคอลลาเจน

สำหรับบริษัทด้านความสวยความงามแล้วเมือกหอยทากคุณภาพดี มีมูลค่ายิ่งกว่าทองเสียอีก ภาทินีสิริ ครูใน จ.นครนายก ทำฟาร์มเลี้ยงหอยทากเป็นอาชีพเสริม ปัจจุบันเธอมีหอยทากกว่า 1,000 ตัว และมีรายได้จากพวกมัน 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน

นาข้าวลดโลกร้อน : ทำนาวิถีใหม่ ลดน้ำ ลดต้นทุน ลดปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลก
ทานาคา เคล็ดลับความงามของเมียนมา
“หอยทากมันทำลายพืชผักของชาวบ้าน เขาก็เลยเก็บมาขาย” เธอให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี “ทุกทีจะโยนทิ้งให้รถทับหรือโยนลงแม่น้ำ ตอนนี้ก็เอามาขาย เป็นการเพิ่มรายได้”

ความงามจากหอยทาก

กลุ่มวิจัยการตลาด โคฮีเรนต์ มาร์เก็ต อินไซต์ส (Coherent Market Insights) ประเมินว่า ตลาดความงามจากเมือกหอยทากทั่วโลก มีมูลค่าราว 314 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 9,700 ล้านบาท

ภาทินีสิริสาธิตวิธีเก็บเมือกหอยทากโดยหยดน้ำสะอาดลงไปบนตัวหอย แล้วใช้แท่งแก้วค่อย ๆ เขี่ยเมือกออกมา แต่เมือกสด ๆ นั้น ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ ต้องผ่านกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อความปลอดภัยก่อน

“ก่อนที่จะเอาเมือกไปใช้ ก็ต้องทำให้เมือกบริสุทธิ์ ปลอดสารเจือปนต่าง ๆ และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค โดยใช้การกรองผ่านเมมเบรนฟิลเตอร์ (Membrane Filter)” ดร. สมกมล แม้นจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอธิบาย

ดร.สมกมล ที่ดูแลกระบวนการสกัดเมือกหอยทากในห้องปฏิบัติการเสริมว่า เมือกหอยทากมีส่วนประกอบของคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งช่วยให้ “ผิวตึง ลดริ้วรอย” และ “กระตุ้นเซลล์ผิวหนัง ช่วยในการสมานแผล”

รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาสรรพคุณทางการแพทย์และเครื่องสำอางของเมือกหอยทากซึ่งพบว่าสามารถรักษาแผลไฟไหม้ เป็นยาชาเฉพาะที่ ยาสมานแผล ยารักษาทางเดินหายใจ และบำรุงผิว

แต่เธอหมายเหตุไว้ว่า “คุณสมบัติดังกล่าว ไม่สามารถระบุได้ว่าน้ำเมือกสกัดที่ผสมในครีมบำรุงผิว จะให้ผลได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้ผลดีทั้งหมดเกิดจากน้ำเมือกสดเท่านั้น แต่ไม่มีการทดสอบกับครีมหอยทากแต่ประการใด”

สอดคล้องกับการรายงานของเอเอฟพีว่า จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่รับรองสรรพคุณของสารสกัดเมือกหอยทาก

กิโลกรัมเกือบแสน

ภาทินีสิริเล่าว่า ชาวบ้านขายหอยทากให้เธอในราคา 25-30 บาทต่อกิโลกรัม เพราะพวกมันเป็นภัยต่อพืชผลทางการเกษตรอยู่แล้ว

เมื่อได้เมือกหอยทากมา ภาทินีสิริจะนำเมือกสด ๆ ไปขายให้กับบริษัท เอเดนอินเทอร์เนชันแนล บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางของไทย ที่ส่งออกเมือกหอยทากต่อไปยังเกาหลีใต้และสหรัฐฯ

กฤตพง ภัทรธุวานัน กรรมการบริหาร บริษัท เอเดนอินเทอร์เนชันแนล ระบุว่า เมือกหอยทากของไทยมีคุณภาพสูง โดยมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 80,000 บาท และหากสกัดเป็นผงบริสุทธิ์ จะมีราคามากถึงกิโลกรัมละ 1.8 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าทองคำหนัก 1 กิโลกรัม

“ธัญพืชพวกเกรน ถั่ว เปลือกไม้ก็กินได้หมดนะครับ แม้แต่เห็ดก็กิน การที่กินอะไรได้หลากหลาย ทำให้ตัวเขามีความแข็งแรง และสร้างเมือกที่มีคุณภาพดี มีคุณสมบัติในการกันแดด รักษาแผลได้ดีมาก”

อันที่จริง www.poipetsix.co.uk ประเทศจีนส่งออกเมือกหอยทากเช่นกัน แต่กฤตพงชี้ว่า คุณภาพยังต่ำกว่าไทย เพราะของจีนสกัดเมือกหอยทากวันละครั้ง แต่ของไทยจะทิ้งช่วงทำ 3 สัปดาห์ครั้ง ทำให้หอยทากได้พัก