ขนมผักกรอบ DEEDY (ดีดี้) ขอขอบคุณทุกแรงสนับสนุนในงาน

Care Expo Thailand ณ ไบเทค บางนาออกบู๊ธจบไปแล้วกับงาน Care Expo Thailand ณ ไบเทค บางนา บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัด ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาอุดหนุนและเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ขนมผักกรอบ DEEDY (ดีดี้) ภายในงานนี้ที่จัดขึ้นเพื่อคนรักสุขภาพ นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณทางรายการ คัมภีร์วิถีรวย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่ได้ให้โอกาสไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทำให้ลูกค้าในกลุ่มคนรักสุขภาพได้รู้จักแบรนด์ขนมผักกรอบ DEEDY (ดีดี้) มากขึ้น บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ และขนมผักกรอบ DEEDY (ดีดี้) จึงขอขอบคุณสำหรับทุกแรงสนับสนุน มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ผู้บริโภคและร้านค้าที่สนใจขนมผักกรอบ DEEDY สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท จีเอ็ม อินเตอร์ ฟู้ดส์ จำกัด โทร. (098) 026-6636 หรือ www.gminterfoods.com หรือ Facebook / Line@ : @deedyveggies

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) รวมพลังพนักงานจิตอาสาทั่วอีสาน-เหนือ ช่วยฟื้นฟูผู้ประกอบการโชห่วยและร้านอาหารในพื้นที่กว่า 3,000 ราย หลังประสบภัยน้ำท่วมจากพายุ โพดุล พร้อมเป็นจุดแพคถุงยังชีพ บรรจุของใช้จำเป็น ส่งต่อสภากาชาดไทย กระจายความช่วยเหลือทันท่วงที

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยาม แม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา แม็คโคร ยึดหลักในการดำเนินธุรกิจที่จะต้องเติบโตควบคู่ไปกับชุมชน สังคม และประเทศชาติ เมื่อเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง จากอิทธิพลของพายุโพดุล ในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือตอนล่าง แม็คโครยังคงอยู่เคียงข้างผู้ประสบภัยในพื้นที่ โดยเร่งให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องประชาชน รวมถึงตั้งแผนฟื้นฟูผู้ประกอบการโชห่วยและร้านอาหาร ที่เป็นลูกค้าของแม็คโคร ผ่าน 3 มาตรการ ด้วยการรวมพลังของพนักงานจิตอาสาของแต่ละสาขาในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ช่วยทำความสะอาด จัดวางสินค้า ปรับปรุงร้านค้าให้ถูกสุขลักษณะ และสามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้โดยเร็ว

“3 มาตรการช่วยเหลือแม็คโคร ที่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย 1) ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีของใช้จำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งสนับสนุนน้ำดื่มที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อาหารกระป๋อง ของจำเป็นอื่นๆ ที่สำคัญ 2) สำหรับผู้ประกอบการโชห่วย ร้านอาหาร ในพื้นที่ประสบภัย แม็คโครรวบรวมพนักงานจิตอาสาไปช่วยฟื้นฟูร้านค้าให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เช่น ทำความสะอาด หน่วยงานแม็คโครมิตรแท้โชห่วยลงพื้นที่ให้คำปรึกษาโดยเฉพาะการจัดร้านให้ถูกสุขลักษณะหลังน้ำท่วม นำสินค้าจัดวางในหมวดหมู่ที่ถูกต้องเหมาะสม 3) แม็คโคร ได้ร่วมกับสภากาชาดไทย เป็นศูนย์บรรจุถุงยังชีพในสาขาที่ใกล้เคียง เพื่อให้สภากาชาดไทยสามารถส่งต่อความช่วยเหลือไปยังผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที”

ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) นำโดย นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร สายงานบริหารการเงิน และ นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร ร่วมส่งมอบสิ่งของจำเป็นและบริจาคเงินช่วยเหลือ โดยมี นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และ นางภัทรรัตน์ เจริญสุรภิรมย์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีมอบให้กับประชาชนที่มารอรับความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ณ หมู่บ้านดงพลวง ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง หลังจากนั้นได้นำพนักงานจิตอาสาช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วย และร้านอาหาร ที่ประสบภัยน้ำท่วมในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีอยู่มากกว่า 200 ราย ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม็คโคร มีลูกค้าสมาชิกผู้ประกอบการโชห่วยและร้านอาหาร ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโพดุลในจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน และภาคเหนือตอนล่าง จำนวนกว่า 3,000 ราย ซึ่งสาขาแม็คโครในแต่ละพื้นที่ ได้เข้าให้ความช่วยเหลือกับผู้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

(4 ก.ย. 62) ณ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) กรุงเทพฯ – พนัส แอสเซมบลีย์ ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศผลการประกวดโครงการ Panus Thailand LogTech Award 2019 โครงการที่เฟ้นหา สตาร์ทอัพด้านธุรกิจโลจิสติกส์ (LogTech) รายแรกของประเทศไทย เพื่อคว้าเงินรางวัล 100,000 บาท และโล่รางวัล จากประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป ได้แก่ ทีมบริษัท ชิปป๊อป จำกัด กับผลงานออนไลน์โลจิสติกส์บุ๊กกิ้ง

พร้อมโอกาสไปดูงานโลจิสติกส์ที่ประเทศเยอรมนีร่วมกับทีมรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 ขณะที่ประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ทีมที่ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท และโล่รางวัล ได้แก่ ทีม I’Rice Logis Tech ม.ศิลปากร กับผลงานแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าว ตอกย้ำเจตนารมณ์ที่ต้องการสนับสนุนแนวคิดธุรกิจ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของคนรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับและต่อยอดให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทยแข็งแกร่งและก้าวหน้าขึ้นสู่ระดับสากลได้

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และรองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. กล่าวว่า โครงการ Panus Thailand LogTech Award ที่ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ได้ ริเริ่มขึ้นและดำเนินโครงการต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 3 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจในประเภทนิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไป และประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ได้ใช้และแชร์ความคิดความสามารถ สร้างสรรค์เชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์ด้านโลจิสติกส์ (Logistics) ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตอบสนองนโยบายรัฐในยุค Thailand 4.0 พร้อมผลักดันแนวคิดพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ไทยสู่สากล และในปีนี้มีแนวคิดการประกวด “The Adventures in Logistics” เพื่อจะมุ่งเน้นย้ำให้ทุกคนเข้าใจ ไม่ว่าจะแนวคิดหรือธุรกิจแบบใดก็ตาม สามารถมาร่วมผจญภัยในโลก PANUS Logistics ได้ เพราะโลจิสติกส์ ไม่ใช่เพียงเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่รวมถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวคิดธุรกิจ ที่จะสามารถตอบโจทย์และยกระดับโลจิสติกส์ได้ ซึ่งทางโครงการฯ พร้อมที่จะรับพิจารณาให้มาร่วมแข่งขันในโครงการ

“จากการคัดเลือกผลงานในปีนี้ พบว่า มีผู้ส่งผลงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป จำนวน 30 ผลงาน และประเภทนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 29 ผลงาน ซึ่งทำให้เห็นว่า ผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้นอย่างในประเภทนิสิตและนักศึกษา มีแนวคิดที่หลากหลาย และเฉียบแหลมมากขึ้น ขณะที่ประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไปเอง มีเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าสามารถพัฒนาโลจิสติกส์ได้อย่างชัดเจนเพิ่มมากขึ้นทุกปี สร้างความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่ศูนย์บ่มเพาะฯ สวทช. ที่ได้เริ่มโครงการฯ มาตั้งแต่เมื่อปี 2560 นับตั้งแต่วันที่ทางบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ได้เข้ามาหารือเรื่องการจัดโครงการ Panus Thailand LogTech Award

ซึ่งเป็นความตั้งใจจริงของ คุณพนัส วัฒนชัย ที่ต้องการจะสนับสนุนแนวคิดธุรกิจของนิสิตนักศึกษา รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สตาร์ทอัพมี เพื่อให้เทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถยกระดับและต่อยอดให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทยแข็งแกร่งและก้าวหน้าขึ้นสู่ระดับสากลได้ นอกจากรางวัลในการประกวดแล้ว ทางบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ยังได้มอบโอกาสแก่ผู้ชนะแบบนิติบุคคลไปศึกษาดูงานโลจิสติกส์ระดับสากลที่ประเทศในแถบยุโรปด้วย เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดพัฒนาธุรกิจของตน อีกทั้งยังจัดตั้งกองทุน Panus Logistics Innovation Fund เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยได้มีโอกาสขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น”

นายพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ผู้นำตลาดในภาคธุรกิจขนส่งมากว่า 50 ปี กล่าวว่า โครงการ Panus Thailand LogTech Award 2019 ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งในทุกปีมีผู้ให้ความสนใจในโครงการ และร่วมสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้นๆ ซึ่งปีนี้มีผู้ร่วมสมัครทั้งสองประเภทกว่า 70 ราย โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกใบสมัครทั้งสองประเภทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20 ทีม และแต่ละทีมได้ผ่านการ Coaching ในเรื่องของโลจิสติกส์ และวิธีการนำเสนอบนเวทีในวันกิจกรรม

LogTech Boot Camp มาแล้วเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งความคาดหวังและความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา LogTech ในประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าแข่งขันที่ให้ความสนใจในการประกวด LogTech มากขึ้น เท่ากับว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีผู้เข้าใจและให้ความสำคัญมากขึ้นทุกๆ ปี และจากผลงานของผู้เข้าประกวดใน 3 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นพัฒนาการอย่างเป็นรูปธรรม และก้าวกระโดดในการผลักดันอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด จะไม่หยุดยั้งที่จะสร้างและสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยได้มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถตอบรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่เติบโตขึ้นได้อย่างครบวงจรต่อไป”

สำหรับทีมที่ชนะเลิศในประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท ได้แก่ ทีม บริษัท ชิปป๊อป จำกัด กับผลงาน Online logistic booking ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่ ทีม โอแซดที โรโบติกส์ จํากัด กับผลงานซอฟต์แวร์นําทางตัวเองโดยอัตโนมัติสําหรับโดรนในที่ที่ไม่มี GPS เพื่อการเช็คสต๊อกแบบอัตโนมัติ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ ทีม บริษัท ไอเวิร์ค อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด กับผลงาน Airtalk – Logistic Collaboration แพลตฟอร์มให้บริการในรูปแบบแอปพลิเคชันและเว็บไซต์รวบรวมระบบขนส่งและการสื่อสาร พร้อมโอกาสของทั้ง 3 ทีมกับการไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมนีด้วย

ส่วนทีมที่ชนะเลิศประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท ได้แก่ ทีม I’Rice Logis Tech มหาวิทยาลัยศิลปากร กับผลงานแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าว ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ ทีม LM_GetA สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กับผลงาน Auto Trolley รถเข็นอัตโนมัติพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ขนกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารในสนามบิน และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ ทีม EnergyEN มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กับผลงาน BLUE BOX เป็นแอปจัดส่งสินค้าอาหารสดผ่านตู้รับฝากสินค้าให้โดยกลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มที่พักอาศัยอยู่ตามคอนโด Apartment ในเขตเมือง

ทีมที่ชนะเลิศประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป นายสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ CEO บริษัท ชิปป๊อป จำกัด เล่าว่า “Online logistic booking เป็นระบบจองขนส่งออนไลน์ ที่รวบรวมผู้ให้บริการขนส่งหลาย ๆ เจ้าในประเทศไทยมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว อาทิ ไปรษณีย์ไทย, Flash, SCG Express, CJ Logistics, ninja van, lalamove ฯลฯ โดยที่ลูกค้าสามารถเข้ามาจองขนส่งได้ฟรีผ่านทาง Shippop ซึ่งสามารถเปรียบเทียบราคาขนส่งของทุกเจ้า ทำให้ประหยัดเวลาและต้นทุน และสามารถจองขนส่งหรือเรียกขนส่งมาถึงหน้าบ้านได้เลย โดยสามารถออกใบปะหน้าเเละหมายเลขติดตามพัสดุให้ลูกค้าได้ทันทีด้วย โดยการมาเข้าร่วมประกวดในโครงการ Panus Log Tech Award ครั้งนี้ นอกจากจะได้รับรางวัลแล้วยังได้หุ้นส่วนธุรกิจหรือ Partner ด้วย”

ด้านนักศึกษาที่ชนะเลิศประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา นายศุภวิชญ์ อินทนาคม ร่วมด้วย นายวชิรโชติ ชูตะกูล และ น.ส.ช่อผกา สอนทา จากทีม I’Rice Logis Tech มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า “I’rice คือ แพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าวสารคุณภาพสู่ร้านค้าทั่วไทย โดยมีถังข้าว IoT (rice storage tank IoT) ที่จะดูแลข้าวจากโรงสีจนถึงมือผู้บริโภค ด้วยระบบ IoT auto-demand ทำให้รู้ได้ว่าข้าวสารของลูกค้าจะหมดเมื่อไร และจะต้องเติมอีกเท่าไรถึงจะเต็มถัง ให้ลูกค้าไม่ต้องไปซื้อข้าวสารเอง

หรือโทรสั่งให้ร้านข้าวสารจัดส่งมายังร้าน อีกทั้งลูกค้ายังได้ความคุ้มค่าในด้านราคา ที่ลูกค้าจะไม่สามารถหาได้จากร้านขายข้าวสารทั่วไป เพราะข้าวมาจากโรงสีโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และในอนาคตจะรับข้าวสารจากชาวนาโดยตรงผ่านระบบโรงสีข้าวชุมชน เนื่องจากระบบ auto-demand จากถังข้าว IoT ทำให้รู้ว่าต้องเติมข้าวสารให้ร้านอาหารแต่ละร้านเท่าไหร่ โดยที่เราไม่ต้องโทรถามร้านอาหาร จึงรวบรวมข้อมูลนี้ส่งไปยังโรงสีขนาดกลางที่เป็นคู่ค้าได้โดยตรง จุดนี้ทำให้สามารถซื้อข้าวสารจากโรงสีได้เนื่องจากมีการซื้อในปริมาณมากพอ และขนส่งไปยังร้านอาหารโดยตรง และมีการคำนวณทางด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งด้วย”

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ในการประชุมคณะทำงานด้านข้าวและชาวนา ครั้งที่ 2/2562 ทำให้ทราบถึงสภาพปัญหาแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งปัญหาออกเป็น 2 ข้อ ได้แก่

ปัญหาจากนโยบายของรัฐบาล ตั้งแต่การเก็บค่าพรีเมี่ยมข้าวเพื่อให้ค่าครองชีพในประเทศตกลง ต่ำลง ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้กับนักลงทุนมาลงทุน แต่ปรากฏว่าทำร้ายชาวนาทั้งระบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวนาก็ล่มสลายเพราะว่าที่ทำกินถูกยึด เอาตัวไม่รอด บ้านแตกสาแหรกขาดเพราะข้าวถูกกดราคาไว้โดยรัฐบาลนั่นเป็นสาเหตุแรกที่ทำให้เกิดการล่มสลายของกระบวนการชาวนาไทยนอกจากนั้น ก็ยังมีนโยบายอื่นๆ ตามมาที่ทำให้ชาวนาเผชิญปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในครัวเรือนตนเองมาตลอดเวลา อาทิ โครงการเปลี่ยนนาข้าวเป็นเกษตรผสมผสานให้ชาวนากู้เงินเพื่อขุดสระน้ำปลูกพืชผล เลี้ยงสัตว์โดยที่ไม่มีความพร้อม โครงการอีสานเขียว เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ชาวนาเกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจยาวนานจนถึงบัดนี้ ประเทศชาติต้องสูญเสียเม็ดเงินอัดฉีดลงไปช่วยเหลือชาวนา อุ้มชาวนา เพราะชาวนาพึ่งตัวเองไม่ได้นับจากนั้นเป็นต้นมา

ปัญหาจากตัวชาวนาเอง ขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ในการปรับปรุงคุณภาพการผลิต การรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ลดต้นทุนการผลิต ตกเป็นเหยื่อของคนกลาง เหยื่อบริษัทขายเคมีเกษตร ทั้งหมดล้วนแสวงหาประโยชน์จากชาวนาทั้งสิ้น จนชาวนากลายเป็นเหยื่อทางเศรษฐกิจมาตลอด
นายประพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ด้านมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่รัฐบาลประกาศสู่สาธารณชนมีความหลากหลายมาก ต้องขอขอบคุณ แต่ทั้งหมดนั้นเป็นมาตรการช่วยเหลือระยะสั้น สิ่งที่สภาเกษตรกรแห่งชาติอยากเห็นคือการวางแนวทางในการแก้ปัญหาข้าวและชาวนาระยะกลางและระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุดและไม่เห็นด้วยที่ชาวนาจะแบมือรับเศษเงินจากรัฐบาลทุกปีทำให้ขาดศักดิ์ศรี ขาดความเป็นตัวของตัวเอง กลายเป็นเบี้ยล่างตลอด ระยะยาวต้องพยายามทำให้ชาวนาผงาดขึ้นมาและพึ่งตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมได้ปรับความคิดให้ตรงกันทุกคนเพื่อให้เข้าใจปัญหาของชาวนาอย่างแท้จริงแล้วตกผลึกจนให้นำไปสู่การจัดทำแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวส่งต่อยังนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เข้าใจปัญหาของชาวนาตรงกันต่อไป

“โดยระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสินเชื่อชาวนาเอาตัวไม่รอดแน่ เพราะฉะนั้น ชาวนาต้องดิ้นรนเพื่อไปหารายได้เสริมทางอื่น เช่น หลังนาไปรับจ้าง ไปเป็นแรงงานเร่ร่อน ลูกต้องหนีจากครอบครัวไปรับจ้างที่อื่นเพื่อเอาเงินมาดูแลครอบครัว จะเห็นว่าชาวนาส่วนใหญ่เป็นครอบครัวแตกเพราะอาชีพทำนาไม่พอค่าใช้จ่ายจริงๆ ปัญหาเดิมพอกปัญหาเก่ามีมากพออยู่แล้ว ยังจะปัญหาภัยแล้ง บางพื้นที่น้ำท่วม วิกฤตการณ์ราคาพืชผลผลิต ยิ่งกดให้ชาวนาย่ำแย่ ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่สภาเกษตรฯ จะต้องนำข้อมูลสะท้อนให้รัฐบาลได้รับทราบ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเป็นเพราะรัฐบาลคิดและสั่งการจากบนลงมา ชาวนาไม่มีความพร้อม เช่น การใช้ปุ๋ย/สารเคมีตามการชวนเชื่อของเซลส์ ปุ๋ย/ยาบางตัวไม่จำเป็นต้องใช้ขนาดนั้น

ชาวนาเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีโดยไม่มีการกวดขัน, ต้นทุนการผลิตสูงจากราคาปัจจัยการผลิตที่รัฐไม่ค่อยมีส่วนช่วยให้ชาวนามีอำนาจต่อรอง, มีภาระหนี้สินจากสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ย 7-9%, รัฐบาลมักใช้มาตรการระยะสั้น เช่น ชะลอการขาย ลดดอกเบี้ย พักหนี้ ให้กู้เพิ่ม ทำให้สูญเสียเม็ดเงินในการอัดฉีดลงมา ในขณะที่ชาวนาต้องการมาตรการช่วยเหลือระยะกลางและระยะยาว สำหรับข้อเสนอมีความเห็นว่าให้มีการจัดทำแผนแม่บทด้านข้าวในระดับจังหวัดเพื่อหาอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อจะผลิตข้าวให้แตกต่างตามภูมินิเวศตนเองแล้วร่วมวิจัยพัฒนา, จัดทำแผนแม่บทน้ำสำหรับชาวนาเพื่อให้จัดการน้ำในชุมชนเองได้, การมีมิสเตอร์อุตุนิยมฯ ทุกตำบล, มีศูนย์ข้อมูลชาวนาไทย, การจัดมหกรรมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมข้าวไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ส่งเสริมการรวมกลุ่มทำการตลาดร่วมกันเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง, ดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อชาวนาควรลดลงเพื่อไม่ต้องนำรายได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากการขายข้าวไปชำระดอกเบี้ย เป็นต้น” นายประพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

วิกฤตขยะล้นเมืองที่เกิดควบคู่กับปัญหาขาดแคลนทรัพยากร เป็นผลจากการเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ที่ขาดการบริหารจัดการ และการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย ด้วยจำนวนประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มเป็น 9.7 พันล้านคน ในปี ค.ศ. 2050 ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด ขณะที่สถานการณ์ประเทศไทยในปี 2561 มีขยะเพิ่มขึ้นถึง 28 ล้านตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากขาดการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะมีทรัพยากรไม่เพียงพอส่งต่อให้กับลูกหลานรุ่นต่อไป

หลายภาคส่วนจึงร่วมกันผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนและแก้ปัญหาดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือ เอสซีจี ที่ได้จัดงาน “SD Symposium 10 Years : Circular Economy – Collaboration for Action” เวทีรับฟังความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และผู้บริโภค เพื่อร่วมแสดงพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การปฏิบัติ ผ่าน 3 กลยุทธ์ คือ การลดการใช้ทรัพยากรและยืดอายุการใช้งาน (Reduce & Durability) การพัฒนานวัตกรรมทดแทน (Upgrade & Replace) และการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (Reuse & Recycle)

ต้นแบบการจัดการในโยโกฮาม่า ส่งบทเรียนการจัดการขยะถึงไทย

ภายในงานดังกล่าวประกอบด้วยหนึ่งในเวทีเสวนา นั่นคือ “Thailand waste Management Way Forward” ซึ่งเชิญตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะมาแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการจัดการขยะในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง 5 ขั้นตอน คือ 1. การคัดแยกขยะต้นทาง (Waste Generation & Sort) ตั้งแต่ระดับครัวเรือน 2. การจัดเก็บขยะ (Waste Management) 3. การคัดแยกขยะเพื่อนำไปสร้างมูลค่าหรือรีไซเคิล (Waste Separation) 4. การบำบัดและรีไซเคิล (Treat & Recycle) และ 5. การจัดการดูแลขยะอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้ไหลไปสู่สิ่งแวดล้อม แม่น้ำ และทะเล (Environment / Ocean Clean-up)

โดย Gen Takahashi General Manager, Oversea Administration Department, JFE Engineering Corporation องค์กรที่ช่วยภาครัฐบริหารจัดการขยะที่เคยล้นเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการขยะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.1999-2014 ที่สามารถลดปริมาณขยะได้ถึงร้อยละ 43.2 จนกลายเป็นเมืองต้นแบบที่น่าจะสามารถช่วยขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะในไทยให้เป็นรูปธรรมได้ โดยสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้ง

3 กลยุทธ์ปลุกสำนึกผู้บริโภค ควบคู่ระบบคัดแยกขยะต้นทาง

วรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste Project ตัวแทนผู้บริโภคต้นทางที่ทำให้เกิดขยะ มองปัญหาขยะในปัจจุบันว่า เกิดจากการบริโภคโดยผู้ผลิตที่สร้างขยะในชีวิตประจำวันขาดความเข้าใจในการคัดแยกขยะ รวมถึงขาดระบบการคัดแยกขยะที่ดี การแก้ไขปัญหาจึงต้องปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่วางระบบการคัดแยกขยะ รวมไปถึงบังคับใช้บทลงโทษทางกฎหมาย ซึ่งหากทำได้จริงจะสร้างคุณค่ามหาศาลให้กับเศรษฐกิจและสังคม