ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเรียกน้ำย่อยแค่ 1 ใน 3 ของงาน

วันจริง ของจริง ยังมีเมนูจากร้านคุณภาพที่คัดสรรมางานนี้โดยเฉพาะ ไม่มีมั่ว รับรองคุณภาพเน้นๆ ออกชื่อได้แบบไม่ลังเล อาทิ ร้าน “ก๋วยเตี๋ยวเส้นปลาโกอ่าง” ร้าน “ซี่โครงปราณ” สูตรโบราณจาก อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปูเเน่นๆ กับร้าน “Viya Crab” ชาเย็นเเก้วยักษ์สุดฮิปสเตอร์ โดยร้านพิเศษเเห่งภูเก็ต กาเเฟไข่ไก่อารมณ์ดี GrÜn cafe&Eatery, เบเกอรี่ฝีมือเชฟญี่ปุ่น ร้าน “Brainwake” เครื่องดื่มละมุนจากร้าน “In.Vi.Tation Café” ย้อนยุคไปชิมขนมไทยต้นตำรับกับร้าน “ขนมบ้านคุณยาย” อื่นๆ อีกมากมาย..อีกมากมาย

กินอิ่มแล้วยังมีกิจกรรมให้เพลิดเพลิน ชมการสาธิตสูตรอาหารจากร้านระดับตำนาน และเชฟดังร้านอร่อย สนุกสนานกับการทำเวิร์กช็อปพิเศษต้อนรับวันแม่ อาทิ Tea Blending การทำโปสการ์ดร้อยรักแม่-ลูกผูกพัน การทำเจลลี่ดอกไม้ และการทำช่อดอกมะลิ ไม่พลาดมินิคอนเสิร์ตสบายอารมณ์ เเถมร่วมใจรักษ์โลกรวมพลังรียูสกับ ZeroMoment Refillery ร้านเเนวใหม่ สไตล์ Zero Waste และ Refund Machine สำหรับนักกิน นักช้อปยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งเเวดล้อม เชิญชวนตามลายแทงความอร่อยในงานเมกา ฟู้ด เทสติวัล 2019 วันที่ 8-12 สิงหาคม 2562 เริ่มตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. 5 วันเต็ม

JOK โต๊ะเดียว, ก๋วยเตี๋ยวเนื้อนายหมี, ขาหมูเยอรมัน By Chef Day, ขนมหวานร้อยหม้อป้าเยาว์, กาแฟไข่ GrÜn cafe&Eatery, ถนัดหอย, ดีว่ะแหนมเนือง Deva namnueng, ไก่ทอดเกาหลี By Matichon Academy, ร้านปู Viya Crab, ชาเย็นแก้วยักษ์ ร้านพิเศษ Piset Cafe, กิฟท์ ซาลาเปาทับหลี, ซี่โครงปราณ Sikrongpran จาก อ.ปราณบุรี, กาแฟสดรสละมุน อิน.วิ.เทชั่น คาเฟ่ In. Vi. Tation Café, นมปังโกเบจาก BRAINWAKE CAFE, ข้าวแกงปักษ์ใต้ร้านพริกไทยสด, ขนมจีนบ้านพี่แยม Baan P’Yam, Farmhouse รอยัลเบรด ปังเย็น, หมึกย่างต่อเเถว, ขนมบ้านคุณยาย Baankhunyai, เผ๊ดดเผ็ด!! (น้ำพริก&ปูดอง), ก๋วยเตี๋ยวโกอ่างเส้นปลา, หมูปิ้งนมสดรวยเป็นล้าน, เมี่ยงกลีบบัวบ้านสวน, น้ำสมุนไพรเเฟนซี

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า พื้นที่การทำนาของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกแบบปักดำมาเป็นการหว่านข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาแรงงานและความต้องการลดต้นทุนการผลิต แต่ด้วยวิธีการปลูกแบบหว่านข้าวนี้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาวัชพืชเพิ่มมากขึ้นด้วย สาหรับแนวทางการป้องกันกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าว ตามหลักวิชาการถึงแม้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำจัดด้วยการใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องทุ่นแรง การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกสูงกว่าปกติ

การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มต้นทุนและสร้างความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นให้แก่ชาวนา ดังนั้น ชาวนาหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทดลองใช้เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อการกำจัดวัชพืช พบว่าได้ผลดีและเริ่มนิยมใช้แพร่หลายมากขึ้น จนปัจจุบันมีงานวิจัยของกรมการข้าว พบว่า “เทคนิคการตัดใบข้าว” ไม่ใช่เพื่อการกำจัดวัชพืชเท่านั้น แต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ นาหว่านข้าวได้ด้วย เนื่องจากใบข้าวและวัชพืชที่ตัดออกจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับข้าวเป็นอย่างดี ช่วยลดการแข่งขันของวัชพืช ทำให้ต้นข้าวสูงสม่ำเสมอและแตกกอได้ดีเหมือนนาปักดำ ช่วยลดการระบาดและทำลายของโรคแมลงศัตรูข้าว รวงข้าวออกอย่างสม่ำเสมอและสุกแก่พร้อมกัน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติตามปกติที่ไม่ได้ตัดใบ

เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตที่ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวนั้น ไม่แนะนำให้ทำ ในนาปักดำ เพราะระบบรากของข้าวที่ปลูกแบบนาปักดำจะไม่แข็งแรงเท่ากับนาหว่าน เมื่อตัดใบข้าวแล้วจะทำให้ข้าวฟื้นตัวช้าหรือไม่ฟื้นเลย สำหรับสภาพแปลงนาหว่านที่เหมาะสมสำหรับการตัดใบควรมีระดับน้ำในนาไม่มากนักคือสูงไม่เกิน 5 เซนติเมตร ถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ตัดไม่สะดวก ชาวนาสามารถตัดใบข้าวโดยใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า โดยตัดที่ระยะข้าวกำลังแตกกอ ที่ความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร จากผิวดิน หรือระดับผิวน้ำที่เหมาะสม (ไม่เกิน 5 เซนติเมตร) แต่ถ้าระดับน้ำสูงเกินไปคือมากกว่า 30 เซนติเมตร ชาวนาไม่ควรตัดเพราะจะไม่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวแต่อย่างใด เศษใบข้าวและวัชพืชที่ถูกตัดจะถูกเกลี่ยให้กระจายไปทั่วๆ แปลง เพื่อย่อยสลายเป็นปุ๋ยให้กับข้าวต่อไป

หลังจากตัดใบประมาณ 15 วัน ต้นข้าวก็จะเจริญเติบโตจนมีความสูงเท่าเดิมก่อนตัด พบว่าการใช้เทคนิคการตัดใบข้าวนี้จะทำให้ผลผลิตข้าวนาหว่านเพิ่มขึ้นอย่าง เห็นได้ชัดและจะยิ่งชัดเจนขึ้นถ้าแปลงนาหว่านนั้นๆ มีวัชพืชขึ้นหนาแน่น เพราะการตัดต้นข้าวจะเป็นการตัดต้นวัชพืชด้วย แต่หลังจากนั้นต้นข้าวจะมีการงอกต้นใหม่และเจริญเติบโตได้ดีกว่าวัชพืช

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว ให้คำแนะนาว่า ในสถานการณ์ที่เกิดภาวะแห้งแล้งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวและเกิดปัญหาวัชพืชร่วมด้วย แต่ในปัจจุบันที่เริ่มมีปริมาณฝนตกดีขึ้น และหากเริ่มมีน้ำขังนา เกษตรกรชาวนาสามารถใช้เทคนิคการตัดใบข้าวนี้เพื่อลดปัญหาวัชพืชและเพิ่มผลผลิตข้าว นาหว่านได้

หากชาวนาท่านใดสนใจ สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ หรือที่กรมการข้าว เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

“ฟางข้าว” นั้นมีคุณค่าทางอาหารต่ำ หากนำไปใช้เป็นอาหารให้โคกระบืออย่างเดียวเป็นเวลานาน อาจทำให้สัตว์มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ฟางนั้นมีอัตราการย่อยต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะหมักเป็นเวลานาน เพราะจุลินทรีย์ต้องใช้เวลาในการย่อยมากขึ้น จึงควรการปรับปรุงคุณภาพของฟางก่อนที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สูงขึ้นและสัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

การทําฟางหมัก หรือการทําฟางปรุงแต่งใช้เลี้ยงกระบือวัว มีวิธีทําดังนี้ปูพลาสติกขนาด 5×5 เมตร ลงบนพื้นเรียบ ขอบพลาสติกยกเป็นขอบทั้ง 4 ด้าน ป้องกันนน้ำไหลออกจากกองฟางหมัก นําฟางแห้งสะอาดน้ำหนัก 40 กิโลกรัม วางลงบนแผ่นพลาสติก เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน รดน้ำให้ชุ่มทั่วกันแล้วตามด้วยน้ำละลายยูเรีย 2 กิโลกรัม และกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม รดลงบนกองฟาง ทําเช่นเดียวกันอีก 2 ชั้น เมื่อครบ 3 ชั้น จึงคลุมทับลงบนกองฟางด้วยพลาสติกขนาด 8×8 เมตร ทับขอบพลาสติกด้วยวัสดุที่มีน้ำหนัก ใช้ฟางคลุมทับลง อีกหนึ่งชั้นเพื่อป้องกันแสงแดดส่อง

หมักไว้นาน 4 สัปดาห์ ฟางจะกลายสภาพเป็นฟางหมัก หรือฟางปรุงแต่งที่มีคุณค่าทางอาหารของสัตว์สูงขึ้น ก่อนนําไปเลี้ยงสัตว์ต้องเปิดพลาสติกออกทิ้งไว้นาน 4-5 ชั่วโมง

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือ พยายามอย่าให้พลาสติกเป็นรูเพราะก๊าซแอมโมเนียจะระเหยออกไปทําให้การปรุงแต่งฟางไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังไม่ควรให้ฟางในกองถูกแสงแดด เพราะจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นทําให้ก๊าซแอมโมเนียขยายตัวและลอยขึ้นข้างบน จะทําให้ฟางที่อยูด้านล่างคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร

และหากต้องการจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรเสริมด้วยใบกระถิน หรือใบแคแห้ง 2 กิโลกรัม และรําข้าว 1 กิโลกรัมกรมส่งเสริมการเกษตร ชี้แจง กรณีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย เว้นแต่วิสาหกิจชุมชนนั้นมีสัญญาความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหรือสถาบันการศึกษาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน กัญชา ยังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 จึงปลูกและขายเชิงพาณิชย์ไม่ได้ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร จึงไม่สามารถรับจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการปลูกกัญชาโดยเฉพาะได้ เนื่องจากขัดต่อกฎหมาย ตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2560 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนไว้ว่า 1. เป็นกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของชุมชน 2. เป็นกิจการที่ดำเนินการ หรือประสงค์จะดำเนินการร่วมกันในชุมชน โดยคณะบุคคลที่เป็นนิติบุคคล หรือไม่เป็นนิติบุคคลและประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ร่วมกันในชุมชนไม่น้อยกว่า 7 คน โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน 3. เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ เพื่อการพึ่งพาตนเอง และเพื่อประโยชน์สุขของคนในชุมชน และ 4. เป็นกิจการที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

แต่สำหรับกรณีเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเดิม และต้องการจะปลูกกัญชา สามารถยื่นขอเพิ่มกิจการวิสาหกิจชุมชนได้ หากการปลูกกัญชานั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การศึกษาวิจัยและพัฒนา รวมถึงการเกษตร พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ด้วย และต้องได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนนั้นจะต้องมีสัญญากับหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ และหน่วยงานนั้นได้รับใบอนุญาตจาก อย. แล้ว จากนั้นจึงนำสำเนาสัญญากับหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าว มายื่นขอเพิ่มกิจการวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่วิสาหกิจชุมชนจดทะเบียน

“กรมส่งเสริมการเกษตร มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนในทุกประเภท หากไม่ขัดต่อกฎหมาย ฉะนั้น หากมีการแก้ไขข้อกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในอนาคตแล้ว เกษตรกรก็สามารถรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชาได้” นายชาตรี กล่าว

คุณลุงเจตน์ และคุณป้าปัทมาลักษณ์ จิตรธรรม สองสามีภรรยา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จากอดีตประกอบอาชีพอื่น และมองเห็นว่าอาชีพเกษตร สามารถทำให้เลี้ยงตัวเองได้ จึงกลับมาบ้าน เริ่มต้นทำเกษตรกร เมื่อปี 2550 แบบค่อยเป็นค่อยไป บนพื้นที่ 16 ไร่ แบ่งเป็น ปาล์มน้ำมัน ข้าว มะพร้าวน้ำหอม ทุเรียนหมอนทอง พริกไทยดำ นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์ ทั้ง ไก่ไข่ ไก่เบตง ไก่บ้าน เป็ดเทศ และเลี้ยงปลา อีกด้วย อาศัยความรู้เวลาเจ้าหน้าที่เกษตรมาอบรม ก็ได้นำผลผลิตบางส่วนแปรรูป เพิ่มมูลค่า คิดสูตรน้ำพริก รวมถึงทำปลาส้ม ปลาแดดเดียวไว้จำหน่าย สร้างรายได้ ตลอดปี

ลุงเจตน์ เล่าให้ฟังว่า “ก่อนอื่นต้องศึกษาตลาด ทำอย่างไรคนในหมู่บ้านจะซื้อสินค้าเรา และมีอะไรบ้างที่เรากิน เราก็ปลูกอันนั้น ลดรายจ่าย ที่สำคัญต้องทำบัญชีจะได้รู้ว่าสิ่งที่ทำเราได้กำไร หรือเราขาดทุน ถ้าขาดทุน เราก็เปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่นที่มันได้กำไร แนวคิดง่ายๆ แต่ทำได้จริง” ลุงเจตน์การันตี จากความสำเร็จที่มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ไม่มีหนี้สิน ซึ่งในระยะเวลา 2 ปี สามารถสร้างรายได้กว่า 3 แสนบาท และนี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่พิเศษด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และอาชีพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบายเพิ่มเติมว่า สำหรับการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีโอกาสในการศึกษาและการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดีขึ้น มีความสุข มี รายได้ที่ดี

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหนึ่งในขณะคณะขับเคลื่อนงานให้สำเร็จ จึงได้น้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” และศาสตร์พระราชา “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการและกิจกรรม บนฐานของความต้องการของประชาชนและศักยภาพของพื้นที่เป็นสำคัญเพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมีแหล่งอาหารในชุมชน มีเกษตรกรต้นแบบ และมีความภูมิใจในอาชีพการเกษตรเหมือนเช่น คุณลุงเจตน์ และคุณป้าปัทมาลักษณ์ จิตรธรรม สองสามีภรรยา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ที่มีความสุข และมีความภูมิใจในการประกอบอาชีพทางการเฏษตร มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และมีสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ คอยสนับสนุนกิจกรรมทุกด้าน ทั้งด้านการให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์แนะนำให้มีการรวมกลุ่มเป็นแม่บ้านเกษตรกร

สำหรับ ปี พ.ศ. 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร ยังดำเนินการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งเป้าไว้ จำนวน 7,670 ราย โดยได้ย้ำให้กับเจ้าหน้าที่เกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ ให้กำหนดเป้าหมายชัดเจนในการขับเคลื่อน เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเชื่อมโยงและสนับสนุนการดำเนินงาน บูรณาการทุกหน่วยงาน ให้มีความสอดคล้องเพื่อเป้าหมายเดียวกัน รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างเกษตรกรต้นแบบ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ และวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม ไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถปรับวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เพิ่มรายได้ และมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืนตลอดไป

ฉบับที่แล้ว เล่าเรื่อง บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พาผู้นำป่าชุมชน จาก 10 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมกิจกรรม “สัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนกล้ายิ้ม” รุ่นที่ 21 ภายใต้ โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” เพื่อศึกษาเรียนรู้วิธีการจัดการน้ำในรูปแบบต่างๆ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

รวมทั้งนวัตกรรม “ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)” ของ หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ซึ่งใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน โดยขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร อีกวิธีคือ การใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หิน หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาถมในบ่อเพื่อแทนที่น้ำ ให้น้ำล้นออกมาใช้ได้เร็วขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินมีปริมาณมากพอ แนวคิดนี้เป็นเสมือนการออมหรือกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามน้ำหลาก นับเป็นตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน

ธนาคารน้ำใต้ดิน มี 2 รูปแบบ

ดร. เร่งรัด สุทธิสน ผู้อำนวยการสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ กล่าวว่า หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน มี 2 รูปแบบ คือ

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด สำหรับใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคบริโภคและภาคอุตสาหกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ใช้แก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำเน่าเสียทั้งในครัวเรือนและพื้นที่การเกษตร ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด มีหลักการสำคัญคือ พยายามเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ทะลุชั้นดินเหนียวถึงชั้นหินอุ้มน้ำที่ต่อเชื่อมกับชั้นน้ำบาดาล วิธีนี้จะเก็บน้ำได้ปริมาณมาก เพราะสามารถกระจายน้ำไปได้ทั่ว โดยไม่มีขีดจำกัด ระบบนี้สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้จากบ่อกักเก็บและส่งน้ำหรือจากบ่อน้ำบาดาล วิธีนี้เหมาะสมกับพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากสามารถสูบน้ำจากบ่อมาใช้ได้โดยไม่หมด เมื่อปริมาณน้ำลดลง น้ำจากใต้ดินก็จะซึมซับกลับเข้ามาเติมเต็มปริมาณน้ำในบ่อให้มีน้ำอย่างสม่ำเสมอ ที่ผ่านมามักเลือกทำบ่อระบบเปิดโดยมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำเค็ม

วิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด คือ การขุดบ่อน้ำหรือสระน้ำให้ได้ความลึกทะลุผ่านชั้นดินเหนียวถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เพื่อให้หินอุ้มน้ำสามารถดูดซับน้ำลงสู่ชั้นใต้ดิน ขนาดของบ่อจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และลักษณะการใช้ประโยชน์ของน้ำจากบ่อ ระดับความลึกของการขุดบ่อในแต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน จะขึ้นอยู่กับสภาพดินและชั้นหิน ซึ่งโดยหลักการให้เป็นไปตามหลักอุทกธรณีวิทยา แต่ต้องขุดลึกให้ถึงชั้นหินอุ้มน้ำ

จากต้นแบบระบบบ่อเปิดของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณได้ขุดบ่อให้ถึงชั้นหินอุ้มน้ำ โดยประมาณความลึก 7-15 เมตร เช่น การขุดบ่อเปิดในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีขนาดความกว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 7-12 เมตร หรือการขุดบ่อเปิดในลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ลึก 7-12 เมตร

แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ ลักษณะการขุดสระต้องให้มีความลาดชัน 45 องศา ปากบ่อกว้างกว่าก้นบ่อ การขุดบ่อในลักษณะลาดชันเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้น้ำในบ่อไหลลงสู่ก้นบ่อโดยมีแรงกดของมวลน้ำลงไปยังชั้นหินอุ้มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้น้ำไหลซึมลงสู่หินอุ้มน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยการขุดบ่อระบบเปิดนี้ไม่ควรปั้นดินรอบๆ บ่อ เพราะจะส่งผลกีดขวางทางน้ำที่จะไหลลงสู่บ่อ ทั้งนี้รูปแบบและขนาดของบ่อต้องออกแบบตามบริบทด้านภูมิศาสตร์ของพื้นที่ คำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่และการใช้ประโยชน์ การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อเปิดที่เป็นการขุดบ่อใหม่ ไม่ใช่การปรับสระน้ำเก่าที่มีอยู่เดิม การวางตำแหน่งของบ่อใหม่ควรจะต้องให้ตั้งฉากหรือขนานกับทิศตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพราะจะช่วยให้การเติมน้ำลงชั้นใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด

การขุดบ่อกักเก็บน้ำตามระบบบ่อเปิดของธนาคารน้ำใต้ดินที่จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำนั้น ควรออกแบบทำระบบบ่อเปิดใหม่ที่มีความเหมาะสมตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ทั้งเชิงพื้นที่และทิศ แต่อาจต้องใช้งบประมาณสูง เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการปรับสภาพบ่อเดิมหรือสระน้ำเดิม ให้สามารถใช้งานได้ตามระบบธนาคารน้ำใต้ดิน

โดยหลักการแล้ว การขุดบ่อระบบเปิดที่จะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องทำเป็นกลุ่มบ่ออย่างน้อย 3 บ่อ โดยแต่ละบ่อห่างกันประมาณ 1,000-1,500 เมตร บ่อเปิดของธนาคารน้ำใต้ดินจะมีหน้าที่เติมน้ำลงดินในระดับชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำที่เติมลงไปสามารถเชื่อมประสานเสริมกันในระหว่างบ่อที่ขุดไว้ทั้ง 3 บ่อ เป็นการกระจายน้ำลงใต้ดินให้ทั่วถึงกันในระดับชั้นหินอุ้มน้ำ

และในขณะเดียวกัน น้ำจากใต้ดินก็จะซึมผ่านขึ้นมาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อหรือสระให้มีน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้แห้ง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้โดยตรง ทั้งนี้ หากมีการออกแบบบ่อเปิดอย่างเหมาะสมตามระบบบริหารจัดการน้ำของธนาคารน้ำใต้ดิน จะช่วยเสริมให้น้ำในบ่อหรือสระมีเพียงพอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง จะไม่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างแน่นนอน ขอแนะนำอีกประการหนึ่งของการขุดบ่อเปิด คือรอบปากบ่อควรปลูกหญ้ารอบๆ บ่อ เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดินและเป็นการกรองน้ำที่ไหลลงบ่อหรือสระด้วย

การออกแบบระบบบ่อเปิดตามแนวทางสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ สามารถจำแนกได้ตามความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่และความต้องการใช้ประโยชน์ได้เป็น 3 รูปแบบ คือรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปทรงกลม

ใช้บ่อเก่า ทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด

หากพื้นที่ใดมีบ่อเดิมหรือบ่อเก่า ก็ประยุกต์เป็นธนาคารน้ำใต้ดินระบบบ่อเปิดได้เช่นกัน โดยทั่วไปบ่อเก่ามักจะขุดดินแค่ดินอ่อนหรือชั้นดินเหนียว ทำให้บ่อหรือสระดังกล่าวขาดประสิทธิภาพในการเพิ่มหรือเติมน้ำตามแนวทางธนาคารน้ำใต้ดิน จึงมักพบปัญหาน้ำแห้ง สามารถแก้ไขได้โดยทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด โดยขุดบ่อขนาดเล็กประมาณ 1-3 เมตร ในพื้นที่ก้นบ่อหรือสระน้ำเดิม ขุดให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จำนวน 3 บ่อ ให้ขนานกับทิศ และให้ 3 บ่อดังกล่าวอยู่ในรูปแบบสามเหลี่ยมตามหลักทิศทางการหมุนรอบตัวเองของโลก บ่อขนาดเล็กทั้ง 3 บ่อ จะทำหน้าที่ในการนำน้ำที่เหลือใช้ในช่วงฤดูฝนลงไปเก็บไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำและหล่อเลี้ยงระดับน้ำในชั้นใต้ดิน เมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง น้ำในชั้นใต้ดินก็จะซึมขึ้นมาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อหรือสระเดิมไม่ให้แห้ง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในช่วงฤดูแล้ง

แม่น้ำ ลำคลอง ก็ทำธนาคารน้ำใต้ดินได้

ในกรณีที่ต้องการปรับแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร ฯลฯ ให้เป็นธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด ก็สามารถทำได้ โดยจะใช้เครื่องเจาะบ่อที่ใช้เจาะดินเพื่อลงเสา หรือเครื่องเจาะน้ำบาดาล โดยเจาะลงตำแหน่งกลางแม่น้ำหรือริมฝั่งแม่น้ำดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทและลักษณะของแหล่งน้ำที่จะเจาะ โดยเจาะให้ผ่านชั้นดินอ่อนและชั้นดินเหนียวจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำ โดยปกติแล้วความลึกอยู่ประมาณ 10-15 เมตร จากนั้น นำหินแม่น้ำใส่ลงไปยังช่องบ่อที่เจาะไว้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนของน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำ ควรใช้ท่อน้ำ พีวีซี วางตั้งฉากกับก้นหลุมปลายท่อเหนือพื้นดินตามความเหมาะสม แล้วบรรจุหินแม่น้ำในส่วนที่เจาะลงไป โดยให้ปลายท่อมีความสูงกว่าขอบคลองเล็กน้อยตามความเหมาะสม

ข้อสังเกตหลังจากเจาะบ่อดังกล่าวแล้ว พบว่า ช่วง 1-2 วัน หลังจากเจาะน้ำในแหล่งน้ำดังกล่าวจะแห้งลดลง แต่หลังจากนั้นน้ำจะคืนกลับสู่แหล่งน้ำเดิมโดยระบบน้ำบาดาลใต้ดินจะเชื่อมกันจนเป็นระบบการไหลเวียนของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขบ่อเดิมที่มีน้ำจะตอบโจทย์เรื่องการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำของแหล่งน้ำ และการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยลักษณะของการทำธนาคารน้ำใต้ดินกรณีแก้ไขบ่อเดิมที่มีน้ำดังกล่าวนี้ บ่อที่เจาะจะมีคุณสมบัติในการซึมน้ำลงดินและทำหน้าที่คืนน้ำสะอาดกลับแหล่งน้ำเดิมอีกด้วย

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของการทำธนาคารน้ำใต้ดินให้สมบูรณ์ เพราะธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดมีหน้าที่ในการเติมน้ำลงดิน โดยนำน้ำที่มีบนดินลงสู่ใต้ดินอย่างรวดเร็ว เพราะโดยทั่วไป น้ำที่อยู่บนผิวดินกว่าจะซึมซับลงในชั้นดินแต่ละชั้นต้องใช้เวลามาก เนื่องจากชั้นผิวดินมีอากาศแทรกอยู่ ทำให้การซึมซับน้ำลงดินได้ช้า

การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เป็นการเปิดช่องผิวดินเพื่อการเติมน้ำลงใต้ดินโดยตรงในระดับบนสุดของเปลือกโลกชั้นผิวดิน โดยน้ำที่เติมลงสู่ใต้ดินเป็นน้ำเหลือใช้และน้ำที่เกินจากความต้องการ เช่น น้ำฝน ที่ตกลงมาบนพื้นดินจำนวนมากเกินกว่าที่บ่อใช้รองรับน้ำฝนได้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง หากสะสมนานจะกลายเป็นน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสุขภาพของผู้คนในชุมชน

หลักการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด คือการเก็บน้ำไว้ใต้ดิน แต่ไม่ทะลุชั้นดินเหนียวลงไปสู่ชั้นหินอุ้มน้ำ โดยมีเป้าหมายสร้างความชุ่มชื้นให้กับดิน แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ลดการไหลบ่าของน้ำ และแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย การเก็บน้ำด้วยวิธีนี้ จะไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้โดยตรง แต่กรณีพื้นที่ใกล้เคียงกับระบบปิดนี้มีบ่อน้ำตื้นหรือบ่อน้ำซับ ความชุ่มชื้นของดินจะส่งผลทำให้น้ำในบ่อดังกล่าวมีปริมาณน้ำมากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือในบางพื้นที่สามารถขุดบ่อน้ำตื้นได้ในระดับไม่เกิน 2-3 เมตร อาจจะมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี

การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่ที่เป็นชุมชนเมืองและชุมชนชนบท เนื่องจากปัจจุบันชุมชนเมืองขยายตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและถนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บ้านเรือนที่อยู่ในพื้นที่ระดับต่ำกว่าเกิดความเสียหายในเรื่องน้ำท่วมขัง การระบายน้ำ หรือน้ำเน่าเสีย สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำเสียที่ท่วมขังในชุมชนเมือง

ขณะเดียวกันแนวคิดนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและปัญหาขาดแคลนน้ำหรือสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่เกษตรกรรมได้อีกด้วย ปกติแล้วพื้นที่การเกษตรแต่ละปีมักจะมีฝนตกอยู่ 5-6 เดือน ในพื้นที่ 1 ไร่ จะรับน้ำฝนที่ตกลงมาได้ราว 2,500 ลูกบาศก์เมตร น้ำฝนที่ตกจากที่สูงไหลลงพื้นที่ต่ำ พื้นที่สูงจึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ขณะที่พื้นที่ต่ำกลายเป็นแหล่งรวมน้ำฝนจนเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในพื้นที่การเกษตรจึงช่วยเก็บน้ำส่วนเกินลงสู่ใต้ดิน นอกจากลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มแล้ว ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่การเกษตรอีกด้วย

การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด สามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในที่อยู่อาศัย
การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด รูปแบบรางระบายน้ำในชุมชน และ
การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในพื้นที่น้ำท่วมขนาดใหญ่ หรือน้ำท่วมทุ่ง
สำหรับการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในพื้นที่น้ำท่วมขนาดใหญ่หรือน้ำท่วมทุ่ง เป็นวิธีการขุดบ่อขนาดใหญ่คล้ายกับบ่อระบบเปิด ขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และระดับน้ำท่วมขัง โดยมากมักจะขุดบ่อในลักษณะบ่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในระดับกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร หรือ กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ส่วนระดับความลึกแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินและชั้นหิน ราว 3-5 เมตร ไม่ทะลุชั้นดินเหนียว หลังจากนั้น นำเศษวัสดุมาใส่ในบ่อแทนดินที่ขุดออกไป เช่น กรวดแม่น้ำ หิน เศษกิ่งไม้ วัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในชุมชน เช่น ขวดบรรจุน้ำ ยางรถยนต์ ฯลฯ