จับตากำลังซื้อ”หลังน้ำท่วม” บิ๊ก”คูโบต้า”ยันแค่ชะลอไม่กระทบ

พิษน้ำท่วมอีสาน “สยามคูโบต้า” เผยเกษตรกร 8 จังหวัดชะลอซื้อเครื่องจักรกลเกษตร ชี้ยังไม่ส่งผลต่อยอดขายหลังภาครัฐช่วยเยียวยา พร้อมเดินหน้ารักษาแชมป์ตลาดรถขุดขนาดเล็ก อานิสงส์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตอบโจทย์สังคมเมือง-อสังหาริมทรัพย์-รถไฟฟ้า ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีโตขึ้น 25%

นายโอภาศ ธันวารชร กรรมการรองผู้จัดการอาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสานในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทำให้ลูกค้าชะลอการซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตรโดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดอีสานตอนบนที่มีน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดภัยพิบัติรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาหลังน้ำลด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจะเป็นส่วนสำคัญสามารถนำมาซื้อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้

โดยเฉพาะเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจหลัก อาทิ ข้าว อ้อย ทั้งนี้ ยอดขายในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.ที่ผ่านมายังมีออร์เดอร์สั่งซื้อปกติ เพียงแต่บางจังหวัด เช่น สกลนครต้องชะลอการรับรถไปก่อน หรือบางพื้นที่จำเป็นต้องชะลอซื้อออกไป แต่บริษัทไม่มีการปรับเป้ายอดขายใหม่ โดยในปีนี้ตั้งเป้ายอดขายในประเทศโต 10% โดยเฉพาะตลาดภาคอีสานถือเป็นตลาดใหญ่ ด้วยสัดส่วน 50% ของภาพรวมทั้งประเทศ

“จังหวัดสกลนครที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในขณะนี้ก็ต้องชะลอซื้อไปก่อน แต่พืชผลการเกษตรพอเจอภัยพิบัติก็ต้องฟื้นฟู ซึ่งดูจากยอดสั่งซื้อยังเป็นไปตามปกติ เพียงแต่บางจังหวัดที่ยังมีน้ำท่วมขังก็ต้องดูสถานการณ์หรือชะลอรับรถไปก่อน และรัฐบาลเองก็มีมาตรการช่วยเพื่อให้เกษตรกรนำมาใช้จ่ายปัจจัยผลิตอยู่แล้ว ก็ไม่ได้กระทบยอดขายภาพรวม โดยปีนี้ยังคงตั้งเป้าโต 10%”

ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงเดินหน้าผู้นำตลาดรถขุดขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมตลาดในปีที่ผ่านมาของประเทศไทย มียอดขายรถขุดทั้งใหม่และมือสองประมาณ 6,000 คัน แบ่งสัดส่วนเป็นรถขุดใหม่ 40% และรถขุดมือสอง 60% และคาดว่าในปีนี้ตลาดรถขุดขนาดเล็กจะเติบโต 20% สำหรับคูโบต้ายังคงเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดรถขุดขนาดเล็ก โดยครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 70% และรถขุดยี่ห้ออื่น ๆ อีก 30% โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้ายอดขายรถขุดใหม่อยู่ประมาณ 2,000 คัน หรือเติบโตจากปี 2559 ประมาณ 25% ด้วยปัจจัยที่เติบโตมาจากเงินลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐเองยังผลักดันนโยบายเกี่ยวกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งการคมนาคมขนส่ง งานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร การก่อสร้างถนนและสะพานต่าง ๆ เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

นายสมบูรณ์ จินตนาผล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขายและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันรถขุดขนาดเล็กมีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ตอบโจทย์ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง อสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร จึงได้มีการนำรถขุดคูโบต้ารุ่น U15-3 ขนาด 1.6 ตัน เข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ด้วยขนาดกะทัดรัด ความคล่องตัวสูง เหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด

โดยกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำตลาดของสยามคูโบต้าคือการสร้างโอกาสการขายกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ซึ่งนอกจากกลุ่มก่อสร้างที่เป็นลูกค้าหลักแล้ว กลุ่มลูกค้าที่สำคัญรองลงมา คือ กลุ่มเกษตรกร ที่ปัจจุบันมีลูกค้าบางส่วนนำรถขุดคูโบต้าไปใช้ในงานสวน เช่น การปรับพื้นที่ ขุดร่องน้ำ วางระบบท่อในสวนและการรักษาฐานลูกค้า โดยเน้นเรื่องของการบริการหลังการขาย เป็นต้น

หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ 26 พ.ค. 2560 วันที่ 23 ก.ย.นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาฯ จะบังคับใช้เป็นทางการ ปฏิวัติรูปแบบการทำการเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ที่บริษัทเอกชนส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า ให้ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้กฎหมาย

เป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาให้เป็นธรรม ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเกษตรกรมักเสียเปรียบหรือตกเป็นเบี้ยล่าง เพราะถูกผูกมัดด้วยสัญญาทาส

โดยกฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขสัญญาให้เป็นธรรมมากขึ้น และคุ้มครองคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ช่วยให้เกษตรกรกับเอกชนได้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสม การทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบจะหมดไป ลดโอกาสเกิดข้อพิพาทขัดแย้งเป็นคดีในชั้นศาล

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญาฯ กำหนดให้บริษัทเอกชนที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจ Contract Farming หรือเลิกประกอบธุรกิจ ต้องจดแจ้งต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมจัดทำเอกสารการชี้ชวนและร่างสัญญาแจ้งให้เกษตรกรทราบล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดข้อมูลทางพาณิชย์ แผนผลิต เงินลงทุน ฯลฯ

ขณะที่ตัวสัญญาต้องระบุสิทธิ หน้าที่ของคู่สัญญา ราคา วิธีคำนวณราคาวัตถุดิบและผลิตผล วันส่งมอบผลิตผล กำหนดวันชำระเงิน สิทธิบอกเลิกสัญญา การเยียวยาความเสียหาย และให้เงื่อนไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมไม่มีผลใช้บังคับ

นอกจากนี้ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรที่ประกอบธุรกิจนี้อยู่แล้ว และประสงค์จะประกอบธุรกิจในระบบพันธสัญญาต่อไป ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

ต้อนเครือข่ายเกษตรพันธสัญญาส่งเสริมปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้เข้ามาอยู่ในระบบทั้งหมด และมีระเบียบกฎหมายควบคุมดูแลโดยเฉพาะ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่เกษตรกรจำต้องปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิม ๆ มาทำเกษตรสมัยใหม่ นำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ขณะที่รัฐส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรภายใต้แนวทางประชารัฐ โดยภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริม กฎหมายฉบับนี้จึงถูกคาดหวังสูงว่าจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาไม่ให้ซ้ำรอยอดีต

ที่สำคัญจะเป็นกฎกติกาส่งเสริมเกษตรพันธสัญญาให้เป็นธรรมและได้รับการยอมรับมากขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต รายได้ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง ยั่งยืนในระยะยาว

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2560 ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไว้แล้วตั้งแต่ต้นฤดูฝนที่ผ่านมา โดยปรับปฏิทินการส่งน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน คือพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ ให้ทำนาปีให้เร็วขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นมา ซึ่งตรงกับความต้องการและได้รับผลตอบรับจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็มพื้นที่ เสร็จก่อนฤดูน้ำหลาก และสามารถรับน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งได้แล้วกว่า 150 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 400 ล้านลบ.ม.

นายทองเปลวกล่าวว่า ปรับปฏิทินการส่งน้ำเพื่อทำนาปีให้เร็วขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างบริเวณ 12 ทุ่ง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางบาล ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ พื้นที่รวมทั้งสิ้น 1.15 ล้านไร่ โดยกรมชลประทานได้เริ่มส่งน้ำให้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตให้แล้วเสร็จก่อนฤดูน้ำหลากเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้

ปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้ว 953,706 ไร่ หรือคิดเป็น 83% ของพื้นที่เป้าหมาย มีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว 687,551 ไร่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จทั้งหมดภายในกลางเดือนกันยายนนี้ จากนั้นจะใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเหล่านี้ในการตัดยอดปริมาณน้ำหลากบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงไปจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ตอนล่างบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปุทมธานี นนทบุรี รวมไปถึงกรุงเทพด้วย โดยพื้นที่ลุ่มต่ำทั้ง 12 ทุ่ง สามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

ส้มโอทับทิมสยามเมืองคอนไม่พอขาย ผลผลิตลดลงกว่า 40% หลังเจอพิษน้ำท่วมใหญ่ต้นปี”60 ดันราคาขายปลีกพุ่ง 600-650 บาท/ลูก ชี้แนวโน้มความต้องการตลาดจีนรับซื้อไม่อั้น ด้านภาครัฐหนุนทำเกษตรแปลงให ญ่ หวังควบคุมคุณภาพ ลดต้นทุน มุ่งสู่มาตรฐาน GAP

นายชลินทร์ ประพฤติตรง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกส้มโอทับทิมสยาม ประมาณ 2,500 ไร่ พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูก คือ ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) โดยมีลักษณะเด่น คือ รสชาติหวาน เปรี้ยวนิด ๆ เนื้อสีแดงใสคล้ายทับทิม ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เฉลี่ยมีผลผลิตไร่ละ 700-800 ลูก โดยตลาดหลักเป็นตลาดพรีเมี่ยม และของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งการบำรุงรักษา การควบคุมคุณภาพ ทำให้ราคาผลผลิตค่อนข้างสูง ราคาหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาท/ลูก ขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกตั้งแต่ 200-500 บาท/ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพ หากเป็นเกรดพรีเมี่ยมราคาจะสูงถึง 600 บาท/ลูก

ปัจจุบันส้มโอทับทิมสยามสร้างรายได้ให้จังหวัดประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 40% ได้แก่ จำหน่ายภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลาด อ.ต.ก. โมเดิร์นเทรด เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และส่งออกต่างประเทศ 60% ได้แก่ จีน ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่จะรวบรวมผลผลิตจากสมาชิก คัดเกรด และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเพื่อส่งออกต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ เนื่องจากเป็นลักษณะเฉพาะของส้มโอทับทิมสยาม

ขณะที่เกษตรกรก็ประสบปัญหาด้านต้นทุนสูง และภัยธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก คือ พื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ ทำให้ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2559-มกราคม 2560 ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ส้มโอทับทิมสยามร้อยกว่าไร่ยืนต้นตาย และต้องได้รับการฟื้นฟูอีกจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตลดลงกว่า 30-40% และผลผลิตออกล่าช้ากว่าปกติ โดยปีนี้เลื่อนมาออกช่วงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน

ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วม ภาครัฐได้เข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริมในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่กว่า 1,000 ไร่ เป็นการรวบรวมการผลิต และมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพให้ดี มีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งวางแผนการขาย ลดต้นทุนการผลิตด้วยการรวมกันซื้อปัจจัยการผลิต และพยายามใช้ชีวภาพให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้สารเคมี และเข้าสู่มาตรฐาน GAP 100% ในอนาคตจะมุ่งไปสู่เกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ทางชลประทานได้เข้ามาดูแลในเรื่องของระบบน้ำให้ด้วย

“เกษตรกรที่จะเข้ามาร่วมทำเกษตรแปลงใหญ่ ต้องสมัครสมาชิกเข้ามาเอง เพราะต้องการเกษตรกรที่มีความต้องการที่จะพัฒนาในรูปของกลุ่มรวมตัวกัน ไม่อยากให้เป็นลักษณะบังคับกัน ซึ่งภาคราชการก็สามารถเข้าไปส่งเสริมได้สะดวก หลักการคือให้รวมกันผลิต รวมกันขาย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการนำเอาส้มโอไม่มีคุณภาพมาขายได้ โดยในอนาคตจะพัฒนาคิวอาร์โค้ด เพื่อใช้ตรวจสอบผลผลิตแบบย้อนกลับด้วย” นายชลินทร์กล่าว

ด้านนายฉัตรชัย ศีลประเสริฐ เจ้าของสวนลุงน้อยส้มโอทับทิมสยาม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัจจุบันมีพื้นที่สวนส้มโอทับทิมสยาม ประมาณ 10 กว่าไร่ และมีของลูกสวนอีกประมาณ 6 ราย พื้นที่รวมทั้งหมด 60 ไร่ จำหน่ายในประเทศ เช่น ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และต่างประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งผลผลิตที่ส่งออกจะต้องมีมาตรฐาน GAP ผิวเรียบ สวย ผิวเขียวอมเหลือง เนื้อในต้องเป็นสีแดงสด และมีรสชาติหวาน แต่ปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะจีนเข้ามากว้านซื้อไปเกือบหมด

สำหรับปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในเดือนธันวาคม 2559-มกราคม 2560 เกษตรกรบางส่วนขาดทุนย่อยยับ เพราะว่าท่วมหนักกว่าทุกปี ถ้าหากท่วมประมาณ 10-15 วัน ก็สามารถอยู่ได้ แต่ที่ผ่านมาน้ำท่วมนานเดือนกว่า ทำให้ต้นส้มโอตาย ส่วนต้นที่เหลือต้องตัดผลผลิตทิ้งหมด เพื่อรักษาและฟื้นฟูต้นไว้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ส่วนต้นที่ปลูกใหม่ใช้เวลา 3-4 ปีกว่าจะได้ผลผลิต เกษตรกรบางรายจึงถอดใจเพราะต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด ทั้งระบบน้ำ ถมดินใหม่ และต้นทุนสูง เช่น กิ่งพันธุ์ ราคา 200-350 บาท/กิ่ง

“ในปี 2560 คาดว่าผลผลิตจะลดลงกว่าครึ่ง ส่งผลให้ราคาส้มโอทับทิมสยามสูงขึ้น ปกติราคาจำหน่ายปลีก ไซซ์ใหญ่ ขนาด 2.5 กิโลกรัม ราคา 450-500 บาท/ลูก แต่ตอนนี้ราคาสูงขึ้นอยู่ที่ 600-650 บาท/ลูก ขณะที่ราคาหน้าสวนก็สูงขึ้นเช่นกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 150-180 บาท/ลูก จากเดิม 120-150 บาท/ลูก” นายฉัตรชัยกล่าว

เมื่อเร็วๆนี้ ผู้แทนจากประเทศไทยและออสเตรเลียเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีด้านการเกษตรที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการประชุมนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลีย (TAFTA) และถือเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการเกษตร และยังเป็นโอกาสในการหารือถึงแนวทางในการขยายโอกาสทางการตลาดของสินค้าเกษตร เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนเกษตรในประเทศไทยและออสเตรเลีย

การค้าสินค้าเกษตรเป็นส่วนสำคัญในการค้าระหว่างไทยและออสเตรเลีย โดยในปี 2559 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและออสเตรเลียอยู่ที่ 1.95 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือราว 5 หมื่นล้านบาท

การประชุมทวิภาคีในครั้งนี้ประกอบด้วย การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรฐานอาหารระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA SPS Expert Group) ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน เป็นการหารือประเด็นด้านเทคนิคเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายและเข้าถึงตลาดสินค้าเกษตรของทั้งสองประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงเจตนารมณ์และมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันในประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในทางการค้าของทั้งสองประเทศ

การประชุมครั้งที่ 17 ของคณะทำงานร่วมด้านการเกษตรระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture) ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน ผู้แทนฝ่ายออสเตรเลียและไทยได้แลกเปลี่ยนนโยบายด้านการเกษตรและพูดคุยถึงแนวทางในการขยายความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรและสร้างงานให้ชุมชน

ภายใต้กิจกรรมในครั้งนี้ คณะผู้แทนทั้งสองประเทศได้เข้าเยี่ยมชมโครงการหลวงใน จ.เชียงใหม่ ได้แก่ โรงงานคัดและบรรจุผักผลไม้สด เพื่อศึกษาระบบตรวจสอบย้อนหลัง เยี่ยมชมแปลงวิจัยและการผลิตผลไม้และดอกไม้เมืองหนาวที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง ดอยอินทนนท์

กิจกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างออสเตรเลียและไทยที่มีมาอย่างยาวนาน เช่น เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการจัดอบรมที่กรุงเทพฯ โดยผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียได้แบ่งปันประสบการณ์และให้ความรู้เรื่องการฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้สดสำหรับการส่งออก

การประชุมร่วมไทย-ออสเตรเลียครั้งนี้นำโดยผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำของออสเตรเลีย (Australian Department of Agriculture and Water Resources) และผู้แทนระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย โดยผู้เข้าร่วมประชุมออสเตรเลียประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า (Australian Department of Foreign Affairs and Trade) สำนักงานการพาณิชย์และการลงทุนออสเตรเลีย (Australian Trade and Investment Commission) โครงการความร่วมมือด้านน้ำแห่งออสเตรเลีย (Australian Water Partnership) รวมทั้งผู้แทนจากรัฐบาลประจำรัฐแห่งรัฐวิคตอเรีย (Victorian Government) และรัฐออสเตรเลียใต้ (South Australian Government)

ผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายไทยประกอบด้วยหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นต้น

หอการค้าไทย เล็งยกระดับมาตรฐาน ThaiGAP จากสินค้าเกษตรสู่สินค้าประมง ปศุสัตว์ พร้อมจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลดล็อกข้อจำกัด หวังเร่งให้เกิดการนำมาใช้จริง เพื่อผลักดันการค้า การส่งออกได้ในอนาคต

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการประชุมหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางหอการค้ามีเป้าหมายให้ความสำคัญเรื่องของสินค้าเกษตรและอาหารด้วย เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับประเทศและเกษตรกร เพราะถือเป็นรากฐานสำคัญที่ประเทศไทยจะพัฒนาได้ โดยหอการค้าไทย จะมีการประชาสัมพันธ์และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเกษตรกร เข้าสู่มาตรฐานด้านการค้า การส่งออก โดยยกระดับมาตรฐาน ThaiGAP ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน ขยายไปสู่มาตรฐานในสินค้าด้านการประมงและสินค้าด้านปศุสัตว์ในอนาคต

การพัฒนามาตรฐาน ThaiGAP เพื่อนำไปสู่มาตรฐานสินค้าประมงและปศุสัตว์ จะถือเป็นครั้งแรกที่หอการค้าดำเนินการให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ที่จะมายื่นขอรับรองมาตรฐานกับภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้หอการค้าอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐาน ขั้นตอนของผู้ที่จะเข้ามาขอมาตรฐาน โดยรายละเอียดวิธีการปฏิบัติหอการค้าไทยได้ศึกษารูปแบบจากมาตรฐานของสหภาพยุโรป และหากสามารถดำเนินการได้จริง ไม่เพียงจะเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าภายในประเทศและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าด้วย ซึ่งจะช่วยขยายตลาดการส่งออกได้เป็นอย่างดี และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย เนื่องจากต้องมีการแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น การพัฒนาและยกระดับสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ขณะนี้หอการค้าไทยได้มีการค้าหรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปลดล็อกข้อกำหนดบางประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรคในการออกมาตรฐาน ThaiGAP ในสินค้าประมงและปศุสัตว์ ซึ่งเชื่อว่าจะเห็นมาตรฐานดังกล่าวออกมาเป็นรูปธรมได้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ขอนอกจากจะได้รองรับมาตรฐานของเอกชนแล้วก็ยังได้รับการรองรับมาตรฐานของหน่วยงานรัฐที่ดูเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ หอการค้ายังได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ในการจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าผลไม้เขตร้อนด้วย โดยนำร่องสินค้าทุเรียน ทั้งในรูปแบบสดและแปรรูป มีเป้าหมายเพื่อการส่งออกสินค้าไปตลาดจีน โดยประเด็นนี้จะมีการนำไปหารือในการสัมมนาใหญ่หอการค้าด้วย ก่อนที่จะสรุปและนำเสนอให้กับกระทรวงพาณิชย์ในการร่วมมือกันผลักดันให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ดี หอการค้าไทยไม่ได้มองเพียงสินค้าทุเรียน แต่จะรวมไปถึงสินค้าผลไม้อื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นการสร้างรายได้และเพิ่มช่องทางการทำตลาดให้กับสินค้าผลไม้ไทยได้ อีกทั้งยังได้บริษัท SCG ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนการเข้าไปขยายตลาดสินค้าผลไม้ไทยในตลาดจีนด้วย ถือว่าเป็นแนวทางการสร้างรายได้ให้สินค้าไทยได้เป็นอย่างดีต่อไปในอนาคต

อนึ่ง มาตรฐาน ThaiGAP เป็นมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย หรือสถาบัน ThaiGAP สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตผัก ผลไม้ของไทย ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้ปลูกและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของผลผลิตที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยให้เป็นที่ยอมรับ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมมอบนโยบายและตรวจเยี่ยมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า ในปี 2561 ต้องการให้ ธ.ก.ส. ปฏิรูปภาคการเกษตรโดยเฉพาะการดูแลเอสเอ็มอีเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจึงให้ไปศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนสตาร์ตอัพเพื่อเกษตรกร ในลักษณะเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ ที่มีลูกค้าสตาร์ตอัพเป็นของตัวเองมีหน้าที่ในการเข้าไปช่วยเงินทุนในการจัดตั้งกิจการรวมทั้งให้สินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

รวมทั้งให้ ธ.ก.ส. มีหน้าที่ในการช่วยเหลือในการลดต้นทุนให้เกษตรกรโดยลดภาระให้น้อยที่สุด เช่น อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี ที่ MRRหรือ 7% มีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงหรือไม่ ฝากให้ รมว.คลัง เข้าไปดูแล

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะประประธานกรรมการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า นายสมคิด มอบหมายนโยบาย 2 เรื่อง คือ 1. ให้ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในโครงการสวัสดิการแห่งรัฐให้มีรายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะผู้อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน 30,000 บาทต่อปี โดยในส่วนของเกษตรกรที่มาลงทะเบียนคนจนมีจำนวน 3.9 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.กว่า 1 ล้านราย และเกษตรกรทั่วไปกว่า 2 ล้านราย ผ่าน 3 มาตรการ 9 โครงการ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นโดยจะเสนอพร้อมกับมาตรการบัตรจนเฟส 2 เข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า

เรื่องที่ 2. แก้ปัญหาโครงสร้างภาคการเกษตรทั้งระบบ โดยปัจจุบันที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เนื่องจากไม่เคยมีการปฏิรูปมากว่า 40-50 ปี ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามาขึ้น จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งปัญหาสำคัญเกษตรกรไม่ปลูกพืชที่ไม่สามารถขายได้ แต่ไม่เปลี่ยนแปลงแต่ข้อมูลมีการเชื่อมโยงทั่วโลก ประเทศอื่นปลูกในสิ่งที่ขายได้และกลายเป็นราคาอ้างอิง ทำให้สินค้าเกษตรไทยขายไม่ได้ราคา และมีต้นทุนสูงจึงสั่งให้ ธ.ก.ส. ไปหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวทางการปฏิรูปที่ชัดเจน ภายในไตรมาส 1/2561 เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณเป็นการเร่งด่วน

“ถ้าปฏิรูปตอนนี้แม้จะต้องใช้งบประมาณเข้าไปอุดหนุนตามแผนอยู่เยอะ แต่ก็จะทำให้ภาคเกษตรมีการปรับตัว ปลูกสินค้าที่มีความต้องการ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถขายได้ ก็จะลดลง ท้ายที่สุดรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปอุดหนุนราคาอีก จึงฝาก ธ.ก.ส. และกระทรวงเกษตรฯ เข้าไปทำแผนร่วม ซึ่งเชื่อว่ากระทรวงเกษตรฯ มีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว เช่น การจัดโซนนิ่ง การใช้ตลาดเป็นตัวนำ ก็เป็นแผนหนึ่ง ส่วนจะใช้งบกลางปี หรืองบปี 2562 ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของแผน”นายอภิศักดิ์ กล่าว

ส่วนเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ย หากเป็นเรื่องนโยบายฝ่ายบริหารของธนาคารก็ต้องรับไปพิจารณาดำเนินการแต่ปัจจุบันดอกเบี้ยของ ธ.ก.ส. ถือว่าต่ำมากอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการให้สินเชื่อของธนาคาร ก็ไม่เหมือนกับธนาคารอื่นเนื่องจากมีการส่งเจ้าหน้าที่ เข้าไปติดตามช่วยเหลือดูแลลูกหนี้ที่เป็นเกษตรกร ในส่วนนี้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหากสามารถทำได้น่าจะไปลดอย่างอื่น เช่น ต้นทุนการบริหารจัดการ เป็นต้น

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า 3 มาตรการ 9 โครงการที่จะเสนอ ครม.ในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วย 1. มาตรการพัฒนาตัวเอง มี 2 โครงการ ในการให้ความรู้ทางการเงินกับเกษตรกร เป้าหมาย 1.09 ล้านราย 2. มาตรการพัฒนาอาชีพและเสริมรายได้ จากสินเชื่อ 2 โครงการ เป้าหมาย 7.84 แสนราย และ 3. มาตรการลดภาระหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ รวม 5 โครงการ 3.3 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นโครงการชำระดีมีคืน 2.3 ล้านผ่านความเห็นชอบจากครม. ไปแล้ว โดยในส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย 4.1 ล้านราย ธ.ก.ส. จะช่วยเหลือสินเชื่อ 9.5 หมื่นล้านบาท ใน 3 ปีโดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 8 พันล้านบาท

งานวิจัยไทยต้องไปไกลระดับโลก!…คำพูดที่หึกเหิมและช่วยกระตุ้นให้ไปไกลได้จริง ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน
“ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” พาเก็บตกจากงานเปิดเมกะโปรเจกต์ปี 2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์

เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปไกลผนวกกับความรู้วิทยาศาตร์ที่ไม่หยุดยั้ง ก่อให้เกิดงานวิจัยที่สร้างคุณค่า และคุณูปการ รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยหลากหลายด้าน

สมชาย ชคตระการ คณะบดีคณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในปี 2561 นี้ คณะมุ่งมั่นพัฒนาวิจัยจากการสำรวจ ศึกษาถึงอุปสรรคต่างๆ รวมถึงช่องว่างที่ยังคงเป็นปัญหารวมทั้งประยุกต์ความรู้แบบบูรณาการเพื่อให้เกิดการต่อยอดในอนาคตด้วยกัน 3 เมกะโปรเจกต์ คือด้านการเกษตร บิ๊กดาต้า และการพัฒนาเพื่อผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอี

โดย SCI for AGRICULTURE หรือวิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตร เป็นการต่อยอดศักยภาพให้เกษตรกรไทยกับโจทย์สำคัญในการทำงานคือ จะต้องพัฒนานวัฒกรรมเพื่อประชาชน ที่ชาวบ้านและเกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ และต้องใช้ต้นทุนต่ำ

ด้านต่อไปคือโจทย์ใหญ่ของนานาประเทศทั่วโลกสำหรับ SCI for BIG DATA หรือ วิทยาศาตร์เพื่อการจัดการข้อมูล เพื่อให้ประเทศเท่าทันกระแสบิ๊กดาต้า และระบบคลาวด์ ที่นำเอาข้อมูลมาสร้างสรรค์ใช้ประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม

และสุดท้ายคือ SCI for OTOP/SMEs หรือวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการโอท็อปและเอสเอ็มอี เพื่อช่วยยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพสามารถส่งขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ

@วิจัยสมัยใหม่ไม่ได้อยู่บนหิ้งอีกต่อไป ต้องเข้าถึง-จับต้องได้ และร่วมมือกัน

ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมองภาพของงานวิจัยว่าเป็นสิ่งที่ยาก และจับต้องไม่ได้มากไปกว่าแค่ศึกษา และวางวิจัยไว้เพียงแต่บนหิ้งเท่านั้น แต่ภาพรวมในปัจจุบันกลับส่งสัญญาณดีว่าวิจัยจะไม่ได้อยู่แค่เพียงบนหิ้งอีกต่อไป คณะบดีคณะวิทยาศารตร์และเทคโนโลยีระบุว่า ปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อก่อนเพราะต่างคนต่างทำ ไม่มีการต่อยอดให้เกิดมูลค่า แต่ปัจจุบันนี้วิจัยที่มีอยู่บนหิ้งนั้นน้อยลง และมีความหลากหลายมากขึ้น ด้านรัฐบาลเองมีการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกัน มีการบูรณาการกันมากขึ้นทั้งในหน่วยงานเดียวกัน หรือนอกหน่วยงานก็ตาม ทำให้เกิดการพัฒนาในหลากหลายด้าน

ส่วนปัญหาของงานวิจัยนั้นคือ เรื่องของงบประมาณที่มีไม่เพียงพอ รวมถึงเวลาของอาจารย์ผู้วิจัยนั้นมีน้อยมาก เนื่องจากต้องสอนหนังสือไปด้วย ทำให้มีเวลาทุ่มเทให้กับการวิจัยได้ไม่มากนัก อีกทั้งการขอทุนวิจัยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

@ 5 เทรนด์วิจัยมาแรงที่ต้องจับตา ประเทศยังต้องการ! ส่วนด้านเทรนด์วิจัยที่มาแรงนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำการสำรวจพบว่ามี 5 ด้านวิจัยที่ประเทศไทยยังต้องการคือ

1.ด้านเกษตร เป็นการพัฒนาระบบ หรือนวัตกรรมรองรับภาคการเกษตร อาทิ ระบบควบคุม-สั่งการระยะไกลด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านเทคโนโลยี iOT

2.ด้านความมั่นคง การพัฒนานวัตกรรมทางทหาร เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุต้องสงสัย

3.ด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับกับการจัดเก็บข้อมูลที่ยากต่อการเข้าถึง โดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ บล็อกเชน

4.ด้านพลังงาน เพื่อหาแนวทางวิจัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานด้านอื่นๆ และ 5.ด้านการท่องเที่ยว พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับต่างชาติ

@ส่องตัวอย่างวิจัยสุดเจ๋ง ใช้ได้จริง

– เปลี่ยนกล้วยหอมทองตกเกรดใช้ไม่ได้เป็น “ไซรัปกล้วยหอมทอง” กล้วยหอมทองเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้เกือบทุกพื้นที่ของไทย โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ในปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทั้งประเทศ 86,270 ไร่ มีมูลค่าการส่งออกกว่า 46 ล้านบาท ตลาดกล้วยหอมจึงไม่ใช่ตลาดเล็กๆ เพราะแม้จะปลูกได้ทุกที่ทั่วไทย แต่ก็ยังไม่พอขาย โดยแหล่งปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือ “จังหัวดปทุมธานี” มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมกว่า 1.4 หมื่นไร่ (ข้อมูลจากปี 2556)

ซึ่งเทพปัญญา เจริญรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของการทำวิจัยไซรัปกล้วยหอมทองว่า ด้วยความที่มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญการร่วมมือกับชุมชนที่อยู่คือจังหวัดปทุมธานี จึงมีการให้งบประมาณเพื่อมาร่วมบูรณาการระหว่างเกษตรกร และบุคลากรของมหาวิทยาลัย และด้วยจังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมส่งออกต่างประเทศแหล่งใหญ่ การควมคุมคุณภาพของผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ

“ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือเมื่อปลูกกล้วยหอมขึ้นมาแล้ว มันก็จะมีกล้วยหอมที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือพูดง่ายๆ คือ กล้วยตกเกรด ซึ่งมีค่อนข้างเยอะถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ของกล้วยที่ผลิตส่งออก เราจึงเกิดไอเดียที่จะนำเอากล้วยตกเกรดที่ไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว มาแปรรูปให้เกิดมูลค่า”หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกล่าวและว่า กรรมวิธีการผลิตนั้นใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน หากมีวัตถุดิบ เครื่องมือ และบุคลากรอย่างครบคัน ซึ่งจะต้องทำให้ไซรัปที่ผลิตจากกล้วยหอมนั้นมีความเข้มข้นเทียบเท่ากับไซรัปที่วางขายในท้องตลาดด้วย

ขณะที่ในด้านของราคาที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพกล่าวต่อว่า สามารถกำหนดราคา และสู้กับท้องตลาดได้เยอะพอสมควร เพราะไม่ได้มีต้นทุนเพิ่ม เนื่องจากเป็นการเอาผลผลิตที่มีอยู่มาแปรรูปนั่นเอง

-ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมความอร่อย สร้างอาชีพ “นักชิม” เพื่อผลิตภัณฑ์โอทอป

“ผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป” ที่ช่วยเสริมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับคนในชุมชน แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาแล้วนั้นได้มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้

นี่จึงเป็นที่มาในการเริ่มวิจัย และสร้างศูนย์บริการพัฒนารสชาติ ที่ประภาศรี เทพรักษา หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเล่าให้เราฟัง

สำหรับ”ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมความอร่อย” สมัครพนันออนไลน์ หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกล่าวว่า จะช่วยพัฒนารสชาติของทั้งอาหาร และเครื่องดื่มให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ด้วยการสร้าง”นักชิม” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากการเข้าอบรมกับทางศูนย์ฯ ที่สามารถทดสอบ และประเมินคุณภาพอาหารด้วยวิธีทางประสาทสัมผัสทั้งรูปลักษณ์ภายนอก และรสชาติที่ถูกต้องตามหลักองค์ความรู้

เชื่อว่าวิจัยที่มาจากบุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านี้จะสามารถต่อยอดและตอบโจทย์ของสังคม นำมาซึ่งการพัฒนาประเทศชาติได้ครบทุกด้าน และทำให้ประเทศไทยก้าวไปเป็น “ไทยแลนด์ 4.0” อย่างแท้จริง