ชี้หยุดเผาเศษวัสดุเกษตร ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยผลิตเกือบแสนล้าน

ผู้สื่อข่าว”ประชาชาติธุรกิจ”รายงานว่า วันนี้(31 ก.ค.2562)บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ 3 องค์กรพันธมิตรได้แก่ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรมและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)จัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา เพื่อกระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผาขึ้น ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานีว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 380 ล้านตัน

เป็นเศษวัสดุข้าวโพด 49%และข้าวสาลี-ข้าว 47% ในส่วนของไทยมีเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 67 ล้านตันมีการเผาปีละ 20 ล้านตัน คิดเป็น 5%ของการเผาทั่วโลก หากเกษตรกรไทยไม่เผาจะประหยัดค่าปุ๋ยได้ถึงปีละ 44,580 ล้านบาท ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ในดินจะไม่ถูกทำลาย ดินไม่แน่น ทำให้น้ำเข้าได้ รวมมูลค่าแล้วอาจสูงเกือบหนึ่งแสนล้านบาท

เฉพาะฟางข้าวปีละ 32 ล้านตัน ตันละ 1,250 บาท คิดเป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท อ้อย 4,860 ล้านบาท มันสำปะหลัง 1,000 ล้านบาท ซังข้าวโพด 2,050 ล้านบาท มูลค่ารวม 47,910 ล้านบาท

“หากเราส่งเศษวัสดุทางการเกษตรปีละ 46.7 ล้านตันป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เป็นธุรกิจปลายน้ำ การผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์/ชั่วโมง ต้องใช้เศษวัสดุ 1 หมื่นตัน/ปี มูลค่าตลาดรวมจะสูงถึง 96,690 ล้านบาท/ปี เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการจัดการ 86% ยังเหลือกำไร 27,400 ล้านบาท/ปี”

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งนอกจาก 3 องค์กรพันธมิตรข้างต้นแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าหมายพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ให้ปลอดการเผา 100%ภายในระยะเวลา 3 ปี

“พาณิชย์” รัวจัดประชุมเอกชน-ทูตพาณิชย์-ทูตเกษตร ถกมาตรการดันส่งออกโค้งสุดท้าย ดึงคณะทูตพาณิชย์ลงพื้นที่โคราช-สงขลาพาณิชย์จังหวัดหวังหาโอกาสดันสินค้าเอสเอ็มอีส่งตลาดต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในสัปดาห์หน้ากระทรวงพาณิชย์มีประชุมกำหนดมาตรการผลักดันการส่งออกในช่วงโค้งสุดท้ายอย่างเข้มข้น 3 งาน คือ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกประชุมร่วมกับเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการผลักดันการส่งออก ก่อนที่รายงานผลการประชุมต่อที่ประชุมวอร์รูม กรอ.พาณิชย์ ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานอีกรอบในวันที่ 26 สิงหาคม 2562 และในวันที่ 28 สิงหาคม 2562 จะมีการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ร่วมกับภาคเอกชน และผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ(ทูตเกษตร) ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน 11 ประเทศทั่วโลกเป็นครั้งแรก

นายจุรินทร์กล่าวว่า แม้ว่าการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2562 ขยายตัว 4.28% แต่ยังจำเป็นต้องเร่งดันส่งออกทั้งตลาดสหรัฐ อินเดีย จีน โดยในวันที่ 26 สิงหาคม 2562 จะประชุมวอร์รูม กรอ.พาณิชย์ เพื่อติดตามและกำหนดทิศทางเร่งรัดส่งออกตลาดเป้าหมายและสินค้าเป้าหมายให้เป็นรูปธรรม

นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 23 สิงหาคม 2562 กรมได้เชิญตัวแทนผู้ส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย กลุ่มอาหารแปรรูป เกษตรอาหาร กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องปรับอากาศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมหารือทิศทางการผลักดันการส่งออกรายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเป้าหมายข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และแนวทางการผลักดันการส่งออกรายตลาด ระยะ 3-6 เดือนจากนี้จะดำเนินการอย่างไร ตามที่ได้มอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน กระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) เพื่อผลักดันการส่งออกปี 2562 ให้ขยายตัวตามเป้าหมาย 3%

นอกจากนี้ยังหารือถึงประเด็นปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งประเด็นนี้ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทย ทางกระทรวงพาณิชย์จะประสานงานกับทูตเกษตร 11 ประเทศทั่วโลก เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการนำเข้า ซึ่งเป็นการทำงานแบบบูรณาการครั้งแรก ช่วยเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการส่งออกและลดปัญหาการนำเข้าสินค้าไทยในอนาคตได้

“ทูตพาณิชย์ไม่เพียงต้องดำเนินกิจกรรมเดิม แต่ยังต้องหามาตรการเพิ่มมูลค่า ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเป้าหมายให้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยในโอกาสเดียวกันนี้ กระทรวงได้จัดคณะทูตพาณิชย์ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและสงขลา เพื่อหารือและประสานงานกับพาณิชย์จังหวัด ร่วมกันกำหนดแนวทางผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรเป้าหมาย โดยจะมีนโยบายทำดัชนีชี้วัดผลงานทูตพาณิชย์ด้วย”

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ดำเนินการยึดที่ดินทั้งหมดที่เป็นที่ส.ป.ก.แต่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน วังน้ำเขียว พะเยา ภูเก็ต ชุมพร ฯลฯ รวมไปถึงจะรื้อคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือม.44 ที่ปลดล็อคให้ 3 กิจการ คือ ปิโตรเลียม กิจการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม และกิจการสำรวจเหมืองแร่ให้ดำเนินการได้โดยเก็บค่าเช่า ค่าภาคหลวงใหม่

ทั้งนี้ กิจการที่รัฐบาลยุค คสช.มีการปลดล็อคให้ดำเนินการ รัฐบาลได้รับผลตอบแทนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของเอกชน ดังนั้นจะต้องหารือเพื่อให้ผลประโยชน์ที่รัฐบาล หรือเกษตรกรเจ้าของพื้นที่จะได้ผลประโยชน์จะได้รับมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าให้ที่ดิน ส.ป.ก.ส่วนการจะยึดคืนที่ ดินส.ป.ก.ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องขอความร่วมมือกับ รองนายกฝ่ายความมั่นคงเพื่อขอกำลังทหารเข้าพื้นที่

ส่วนการเพิ่มมูลค่าของที่ดิน โดยนำไปทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือทำกิจกรรมอื่นใด นอกเหนือจากการทำเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของเกษตรกร เรื่องนี้ต้องแก้กฏหมาย ซึ่งได้สั่งการส.ป.ก.ทั่วประเทศเร่งสำรวจว่าในแต่ละพื้นที่ ที่ดินส.ป.ก.ในความเป็นจริง ดำเนินกิจการใด หากทำกิจการที่มีมูลค่าสูง เกษตรกรเจ้าของที่ดินก็จะมีรายได้สูง อาทิ ทำท่องเที่ยว ซึ่งรายได้ทำการเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ได้รับจัดสรรก็จะมีรายได้สูงกว่าทำเกษตร

“กรณีชาวบ้านเป็นนอมินี ยึดคืนหมด ผิดวัตถุประสงค์ยึดคืนทันที แต่ต้องหารือขอความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคง เมื่อยึดมาได้ก็จะนำจัดสรรให้กับเกษตรกร แต่การจัดสรรจะไม่จัดสรรแค่ที่ดิน จะให้อาชีพ จะให้น้ำ ไฟฟ้า เข้าไป มีความเจริญเข้าถึงสามารถประกอบอาชีพได้ โดยใช้กองทุนส.ป.ก.ที่ได้จากการใช้เช่าที่ดิน ขณะนี้มีเงินสะสมอยู่ประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท ดูแลและปฏิรูปที่ดินให้กับเกษตรกรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม”

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า นอกจากนี้ในวันที่ 3 ต.ค.นี้ ส.ป.ก.จะหารือกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมาหาดไทย เพื่อนำแผนที่แนวเขตที่รัฐของรัฐแบบบูรณาการมาตราตราส่วน 1:4000 ( One map ) ที่รัฐบาลก่อนหน้าร่วมกันบูรณาการร่วมกันปรับปรุงระวางเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน และ ระหว่างเอกชนกับรัฐ รายละเอียดของกรอบการทำงาน กฏหมาย การนำมาใช้ได้วางแผนไว้ดีแล้ว เหลือเพียงเอามาทบทวน ปัดฝุ่นให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อมีแผนที่ One map แล้วปัญหาการทับซ้อนของที่ดิน การถกเถียงกันว่า ใครควรรับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆจะหมดไป

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้สั่งการให้ สศก. วิเคราะห์และติดตามผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารจากกรณีสหรัฐอเมริกาแจ้งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีสินค้า (GSP) จากประเทศไทย โดย สศก. ยืนยันว่า สินค้าเกษตรและอาหารหลักของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวมากนัก และได้มีการ teleconference กับอัครราชทูตฝ่ายการเกษตรไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO กรุงโรม พร้อมกับได้เชิญผู้แทนกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา และ FAO เข้าพบภายในสัปดาห์หน้า

นายระพีภัทร์ เปิดเผยต่อไปว่า ในการตัดสิทธิ GSP ชั่วคราว ของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ยังคงเป็นการตัดสิทธิของสินค้าเพียงบางรายการ โดยจะเห็นว่าจากการประกาศตัดสิทธิ GSP คราวนี้ 573 รายการ เป็นสินค้าเกษตร (ภายใต้พิกัดศุลกากรตอนที่ 01-24) จำนวน 157 รายการ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้า ผักแปรรูป ผลไม้ตระกูลเบอรี่ ชาเขียว ขิงป่น หูฉลาม เส้นพาสต้า ผลไม้แปรรูป สำหรับกลุ่มประมงแปรรูปอื่นที่อาจจะถูกตัดสิทธิ GSP ครั้งนี้ มิใช่กลุ่มพิกัดสินค้าประมงหลักที่ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา (ไม่ใช่สินค้ากุ้ง และปลาทูน่ากระป๋อง

ซึ่งยังมีการนำเข้าอย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก) จึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีต่อการดำเนินงานด้าน IUU ที่ประเทศไทยได้แสดงบทบาทนำในเรื่องการจัดการด้านประมงและต่อต้าน IUU ทั้งในประเทศและระดับโลก ตลอดจนได้รับการยกย่องจากเวทีสหประชาชาติ ให้เป็น Presidential case ในการแก้ไขปัญหา IUU เผยแพร่แนวปฏิบัติให้แก่ประเทศอื่นๆ ตามที่ รมว.กษ.

ได้มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.กษ. เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและนำเสนอแนวทางดำเนินงานเรื่องความร่วมมือต่อต้านประมงผิดกฎหมายระหว่างอาเซียนและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ในช่วงการประชุม UN Summit ณ นครนิวยอร์ก โดยได้ผลักดันให้จัดทำนโยบายประมงอาเซียน (ASEAN General Fisheries Policy) และการจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนในการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย (ASEAN Network for combating IUU fishing) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 35 ในประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP บางรายการอาจมีผลทำให้สินค้าเกษตรข้างต้นของไทยอาจจะได้รับผลกระทบด้านราคาขายที่สูงขึ้น เช่น สินค้าผลไม้แปรรูป (ซึ่งมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี 2561 ประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ จะโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 4%-14%) และเส้นพาสต้า (ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาในปี 2561 ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่จะโดนเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 6.4%)

ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศคืนสิทธิ GSP ให้ไทยบางรายการในคราวนี้เช่นกัน ซึ่งมีสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ 1) ดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าสูงที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและเพาะพันธุ์กล้วยไม้ใหม่เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น และ 2) โกโก้ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจใหม่ที่กระทรวงเกษตรฯ มีแผนผลักดันให้เป็นสินค้าสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดสูง และประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายการผลิตสินค้าดังกล่าว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ส่งเสริมพันธ์โกโก้ที่มีคุณภาพและขยายพื้นที่เพาะปลูกตามหลักตลาดนำการเกษตรของ รมว.กษ. เพื่อเร่งปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส

นายระพีภัทร์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หลักสิทธิ GSP ถือเป็น “การให้ฝ่ายเดียว” ของประเทศที่พัฒนาแล้วต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และเนื่องจากการยกระดับการพัฒนาของไทย จึงมีการทบทวนการให้สิทธิฯ ทั้งการทบทวนแบบรายสินค้า (พิจารณาจากส่วนแบ่งการตลาด) และรายประเทศ (พิจารณาจากระดับการเปิดตลาดให้แก่สหรัฐอเมริกา

การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ) ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทยจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยให้เป็นที่เชื่อถือของตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ จึงจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสินค้าเกษตรและอาหารไทยในตลาดโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน อีกทั้ง

ตนได้ขอให้แต่ละส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้กลไกที่มีอยู่ เช่น อัคราชทูตฝ่ายการเกษตรไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO ณ กรุงโรม ติดตามและประชุมหารือกับฝ่ายสหรัฐอเมริกา อย่างใกล้ชิด พร้อมได้เชิญผู้แทนกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ประจำประเทศไทย เข้าหารือกับรักษาราชการเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในรายละเอียดภายใน‪อาทิตย์หน้า‬ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ที่ประเทศจีน ขอให้ที่ประชุมร่วมกันเร่งหาข้อสรุปการเจรจาในเรื่องประมง เกษตร และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ได้โดยเร็ว เพื่อเสนอให้ที่ประชุม WTO ในระดับรัฐมนตรีพิจารณากลางปี 63 พร้อมเร่งให้ดำเนินการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่จะว่างลงพร้อมกันในเดือนนี้

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (WTO Informal Ministerial Meeting : IMM) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ผ่านมา เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องระบบการค้าพหุภาคีของ WTO การปฏิรูปการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพในยุคการค้าปัจจุบัน และการเตรียมประชุมระดับรัฐมนตรี WTO (Ministerial Conference) ครั้งที่ 12 ที่คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2563 โดยมีสมาชิก WTO กว่า 36 ประเทศ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เช่น บราซิล อินเดีย สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น

ทั้งนี้ การประชุมโดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูป WTO ที่ประชุมมีความเห็นว่า ระบบการค้าพหุภาคีที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นกลไกสำคัญช่วยให้เศรษฐกิจโลกเติบโต โดยเฉพาะท่ามกลางสภาพแวดล้อมการกีดกันทางการค้าในปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะต้องเร่งรัดแก้ปัญหาโดยเร็วคือ การแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ 6 ใน 7 ตำแหน่งที่จะว่างลงพร้อมกันในเดือนนี้ เพื่อให้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของ WTO ดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก การส่งเสริมความโปร่งใสของ WTO ผ่านการปรับปรุงกลไกการแจ้งมาตรการทางการค้า

การปรับปรุงกฎเกณฑ์การค้าของ WTO ให้สอดรับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถประกาศสรุปผลการเจรจาในเรื่องสำคัญที่ค้างอยู่ได้ทันการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 (MC 12) ที่คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปี 2563 เช่น การจัดทำกฎเกณฑ์เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอุดหนุนประมง การปรับปรุงระเบียบการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตร และการจัดทำกฎระเบียบภายในประเทศด้านการค้าบริการ เป็นต้น ซึ่งแม้ในรายละเอียดสมาชิก WTO อาจยังมีความเห็นต่างกันอยู่ แต่ทุกประเทศเห็นพ้องกันว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องเร่งหาข้อสรุปต่อไป

ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างลง รวมทั้งขอให้สมาชิก WTO ร่วมกันผลักดันการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง การจัดทำกฎเกณฑ์เรื่องการค้าสินค้าเกษตรเกษตร และกฎเกณฑ์เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความคืบหน้าหาข้อสรุปได้ทันการประชุม MC 12

ทั้งนี้ องค์การการค้าโลก (WTO) ถือเป็นองค์กรการค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกฎเกณฑ์การค้าโลก เป็นเวทีระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ปัจจุบัน WTO มีสมาชิก 164 ประเทศ และมีกำหนดจัดประชุมระดับรัฐมนตรี (MC12) ในเดือนมิถุนายน 2563 ณ กรุงนูร์-ซุลตัน ประเทศคาซัคสถาน

สทนช.ร่วมหารือสมาชิกลุ่มน้ำโขงจับมือร่วมแก้วิกฤติแล้งแม่น้ำโขง เดินหน้าย้ำทุกเวทีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยาพร้อมเล็งเดินหน้าสร้างเวทีการมีส่วนร่วมรับฟังข้อกังวลผลกระทบ 8 จังหวัดริมโขง ยื่นเสนอเป็นท่าทีฝ่ายไทย หลัง MRCS เปิดเวทีแจงข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับภูมิภาคกรณี สปป.ลาว เสนอโครงการเขื่อนหลวงพระบาง

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เปิดเผยในโอกาสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประชุมคณะกรรมการร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission The Special Session of MRC Joint Committee Meeting ) ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยประเด็นสำคัญที่มีการหารือร่วมกัน คือ สถานการณ์ภัยแล้งของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับที่เคยเกิดในอดีต

ขณะเดียวกัน ยังมีระดับน้ำขึ้นลงอย่างผิดปกติ ซึ่งที่ประชุมทั้ง 4 ประเทศมีเจตนารมณ์ร่วมกันเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งปัจจัยจากภัยธรรมชาติ และปัจจัยการบริหารจัดการเขื่อนในลำน้ำโขง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) จะเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบจากสองปัจจัยดังกล่าวให้ 4 ประเทศได้รับข้อมูลที่ตรงกัน เพื่อลดความสับสนและความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อน นำไปสู่มาตรการในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยเร่งด่วน

นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังเน้นย้ำเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการไหลของแม่น้ำสาขาหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง โดยเฉพาะข้อมูลการระบายน้ำท้ายเขื่อนจาก สปป.ลาว และจีน เพื่อเตรียมการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่ขึ้นลงที่ผิดปกติจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสามารถวางแผนบริหารจัดการน้ำภายในประเทศเชื่อมโยงกับแม่น้ำสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งป้องกันความสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขงได้

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยยังได้เข้าร่วมประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระดับภูมิภาคครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำโขงซึ่งจะขยายเป็น 10 ปี (พ. ศ. 2564-2573) จากเดิมที่ดำเนินการระยะ 5 ปี ( พ.ศ.2564-2568) ซึ่งในที่ประชุมได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญของการใช้น้ำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร อุปโภค-บริโภค ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรฐกิจ รวมถึงการพัฒนาเขื่อนในลำน้ำแม่โขง ซึ่งขณะนี้ MRCS ได้จัดเวทีสร้างการรับรู้การก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางระดับภูมิภาค เพื่อให้ข่าวสารแต่ละประเทศที่เหมือนกันตามกลไกข้อตกลงระหว่าง 4 ประเทศ ภาคส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ โดยกำหนดให้มีเวทีกลางเจรจา เข้าใจเหตุผลความจำเป็นนำไปสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า และให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกัน

ด้านนายประดับ กลัดเข็มเพชร รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยโดย สทนช.ได้เตรียมพร้อมกำหนดจัดเวทีให้ข้อมูลให้แก่ภาคประชาชนรับรู้กระบวนการ รวมทั้งข้อมูลโครงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนหลวงพระบาง ตามระเบียบปฏิบัติเรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง หรือ PNPCA จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งเบื้องต้นกำหนดจัดที่ จ.เลย จ.บึงกาฬ และจ.อุบลราชธานี ในช่วงเดือนธันวาคม’62 – มกราคม’63 เพื่อให้ข้อมูลโครงการแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ องค์กรด้านการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรพัฒนาเอกชน ในพื้นที่จังหวัดที่อยู่ริมลำน้ำโขง 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เพื่อให้ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจตามกระบวนการ PNPCA รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อรวบรวม ประเมินผล ประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขงสายหลัก ข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบต่าง ๆ ประกอบเป็นท่าทีของประเทศไทยเสนอต่อ สปป.ลาว ผ่าน MRCS

“นอกจากการดำเนินการจัดเวทีให้ข้อมูลข่าวสารโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบางให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบได้ครอบคลุมรอบด้านมากที่สุดผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางเว็บไซต์ สทนช. รวมถึงผ่านการับฟังความคิดเห็นหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงนักวิชาการ ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในประเด็นปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมในเวทีต่าง ๆ

สทนช.จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้น มาพิจารณาเพื่อดำเนินการในรูปของคณะทำงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ก่อนประมวลมานำเสนอประเด็นให้ความเห็นในที่ประชุมทั้งระดับชาติซึ่งมีคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และผ่านกลไกคณะทำงานร่วม หรือ JC working group ในเวทีแม่น้ำโขง เพื่อให้เกิดกระบวนการรับฟังจากประชาชนที่อาจจะกระทบกับประเทศไทยนำไปสู่มาตรการปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อรองรับผลกระทบข้ามพรมแดนประเทศท้ายน้ำ” นายประดับ กล่าว

กรมการค้าภายใน “say no” โครงการประกันรายได้กุ้งขาวแวนนาไม หลังชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทำหนังสือถึง “ลุงตู่” ราคากุ้งขาวรูดลงเฉลี่ย กก.ละ 30-50 บาท แต่กลับเสนอโครงการให้ “ห้องเย็น” ซื้อกุ้งเข้าเก็บในสต๊อกวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยรัฐพร้อมจ่ายดอกเบี้ยชดเชยให้ 3% พร้อมค่าฝากเก็บอีก 80 สตางค์ถึง 1 บาทระยะเวลา 6 เดือน หวังฉุดราคาตลาดขึ้น
นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลาและกรรมการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ เครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เชิญเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทยไปหารือกรณีกุ้งขาวแวนนาไม ราคาตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยทุกไซซ์ราคาลดลงประมาณ 30-50 บาท/กก. ทางเครือข่ายจึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ประกันรายได้กุ้งขาวแวนนาไม เช่นเดียวกับพืชเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว

ก่อนหน้านี้ชมรมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจากทั่วประเทศ 17 องค์กรจาก 17 จังหวัดได้ทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้รัฐบาลช่วยเหลือราคากุ้งขาวแวนนาไมตกต่ำด้วยการประกันรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเสนอราคาประกันอยู่ที่กุ้งขนาด 100 ตัว/กก. ราคา 130 บาท, กุ้งขนาด 90 ตัว/กก. ราคา 140 บาท, กุ้งขนาด 80 ตัว/กก. ราคา 150 บาท, กุ้งขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 160 บาท, กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 180 บาท, กุ้งขนาด 50 ตัว/กก. ราคา 200 บาท, กุ้งขนาด 40 ตัว ราคา 220 บาท และกุ้งขนาด 30 ตัว ราคา 240 บาท

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการประชุมร่วมกับกรมการค้าภายใน นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกลับเสนอแนวทางรักษาเสถียรภาพกุ้งขาวแวนนาไมด้วยการลดอุปทานส่วนเกินในระบบให้ผู้ประกอบการห้องเย็น รับซื้อกุ้งจากเกษตรกรเข้าไปเก็บสต๊อกจำนวน 10,000 ตัน โดยจะใช้วงเงินกู้ประมาณ 5,000 ล้านบาท และกระทรวงพาณิชย์จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องโดยการจ่ายชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับห้องเย็น 3% เป็นระยะเวลา 3 เดือน และรัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าฝากเก็บกุ้งตามห้องเย็นต่าง ๆ อีกกิโลกรัมละ 80 สตางค์ถึง 1 บาทเป็นระยะเวลา 6 เดือน และอธิบดีกรมการค้าภายในขอเวลา 7 วันในการประสานกับห้องเย็นที่จะเข้าร่วมโครงการ

“ปัจจุบันมีกุ้งออกสู่ตลาดประมาณ 20,000 ตัน/เดือน หากห้องเย็นช่วยรับซื้อเก็บสต๊อกไปเรื่อย ๆ 3,000-5,000 ตัน ราคาในตลาดก็อาจจะเริ่มขยับขึ้นบ้าง ตามปกติราคากุ้งช่วงนี้จะไม่ตก ตอนนี้กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 140 บาท ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงอยู่ที่ 135 บาท มีส่วนต่างเพียง 5-10 บาท ถือว่าขาดทุน ประกอบกับตอนนี้ราคากุ้งไทยแพงกว่ากุ้งอินเดียอยู่ประมาณ 30-40 บาท/กก.ด้วย” นายกาจบัณฑิตกล่าว

รายงานข่าวระบุว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ชี้แจงกรณี การตรวจสอบสต๊อก 3 สาร บนเว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร ว่ายอดล่าสุดกรมฯมีการตรวจเช็คจำนวนกว่า 3 หมื่นตัน คาดปริมาณส่งมอบลดลงก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ การทำลายสารเคมีต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม และได้ร่อนหนังสือถึง 2 หน่วยงานขอหลักเกณฑ์วิธีการทำลายประกอบการพิจารณา ย้ำยังไม่เคยเสนอชื่อบริษัทรับทำลาย

โดยนางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ให้ยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายจำนวน 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1ธันวาคม 2562 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย และครอบครอง กรมวิชาการเกษตรได้ทำการสำรวจปริมาณวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดจากร้านค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ทั่วประเทศพบว่าปัจจุบัน (วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562) มีจำนวนคงเหลือประมาณ 38,855 ตัน ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 จะมีวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายส่งมอบให้กรมวิชาการเกษตรนำไปทำลายตามหลักวิชาการที่ถูกต้องในจำนวนที่ลดลงกว่านี้ เนื่องจากในช่วงระหว่างนี้ร้านค้ายังสามารถจำหน่ายสารทั้ง 3 ชนิดให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการอบรมตามมาตรการจำกัดการใช้ได้จนกว่าจะถึงวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562

ทั้งนี้ ในที่ประชุมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการกล่าวถึงประเด็นการใช้งบประมาณในการทำลายสารเคมีทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงประสบการณ์จากการทำลายวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย โดยในปี 2561 ได้ว่าจ้างให้บริษัทอัคคีปราการเผาทำลายวัตถุอันตรายในราคา 1 แสนบาท/ตัน ซึ่งการทำลายวัตถุอันตรายจะต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตรจึงได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการทำลายสารเคมี เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการทำลายเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา โดยปัจจุบันยังไม่ได้รับหนังสือตอบรับกลับมาจากทั้ง 2 หน่วยงาน ดังนั้นจึงขอยืนยันว่าปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรยังไม่ได้มีการเสนอรายชื่อบริษัทใดที่จะกำจัดสารเคมีทั้ง 3 ชนิดทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุ สมัครเว็บบาคาร่า ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่ามีบริษัททำลายเพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย คือ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ วันที่ 21 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมเพื่อหารือถึงมาตรการรับคืนสารเคมีจากประชาชน เกษตรกร และการส่งออก 3 สาร ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกหนังสือเชิญ 3 สมาคมผู้ส่งออก นำเข้า เพื่อหารือแนวทางต่อไป