สภาเกษตรฯ ฮึ่มทวงสัญญาว่าที่รัฐบาล รัฐบาลผสมไม่มีเสถียรภาพ

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สภาเกษตรฯ จะติดตามผลการรวมการจัดตั้งรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าหากมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้วจะดำเนินนโยบายเป็นไปตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ ทั้งหากมีรัฐบาลผสมควรจะจัดสรรเก้าอี้ให้กับพรรคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้ดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร แม้ว่าจะไม่สามารถดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงได้ครบ 100% ก็ตาม แต่ก็ควรมีการริเริ่มให้ได้ โดยยึดเอาผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของพรรค แต่หากรัฐบาลไม่ดำเนินการตามที่หาเสียงทางสภาฯ ก็จะไปติดตามทวงถามเรื่องนี้

“หากพรรคพปชร.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็มีหลายนโยบายที่พรรคได้กำหนดออกมาหาเสียงตามข้อเรียกร้องของสภาเกษตรฯ เช่น นโยบายเกี่ยวกับที่ดินสปก. 4-0 การให้สภาฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100 สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร การเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ B 20 ซึ่งทางพปชร.ควรนั่งกระทรวงเกษตร

และกระทรวงพลังงานเอง ส่วนการปลูกกัญชาเสรี ซึ่งหากเป็นไปได้ควรให้พรรคภูมิใจไทยนั่งในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินนโยบายนี้แบบครบวงจร แต่หากเป็นอีกขั้วทางพรรคเพื่อไทยมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ควรมีการดำเนินนโยบายเรื่องการลดหนี้สินให้กับเกษตรกรตามที่ได้มีการหาเสียงไว้ โดยพรรคควรนั่งในกระทรวงการคลัง”

นายประพัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้ห่วงช่วงสูญญากาศก่อนจะมีการจัดตั้งรัฐบาลในอีก 1-2 เดือน อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการเกี่ยวกับดูแลสินค้าเกษตรบางรายการที่กำลังออกสู่ตลาด และสินค้าเกษตรพวกพืชไร่ เช่น ข้าว ช่วงนี้จะเป็นช่วงเตรียมการปลูก หรือยางพารา ช่วงนี้จะเป็นช่วงหยุดกรีดยาง

“อาจจะทำให้งานสำคัญบางอย่างสะดุด เช่น การบริหารจัดการเรื่องน้ำ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงแล้ง จำเป็นต้องมีการควบคุมและสั่งการ แต่บางเรื่องเหนืออำนาจการตัดสินใจของข้าราชการ อาจจะเกิดปัญหาซ้ำรอยอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อปี 2554 ที่มีการจัดตั้งรัฐบาลและช่วงนั้นเป็นฤดูฝน ทำให้เกิดการยุติการพร่องน้ำ ส่งผลให้น้ำท่วมในช่วงปีดังกล่าว “

นอกจากนี้ ส่วนตัวมองว่าเสถียรภาพรัฐบาลผสมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง หากรัฐบาลผสมมีเสียงปริ่มน้ำอาจบริหารงานลำบาก เช่น หากต้องผ่าน กฎหมายสำคัญ หรืองบประมาณ รัฐบาลเสียงน้อยอาจจะโหวตไม่ผ่าน ดังนั้น ผู้จะเป็นรัฐบาลต้องรวมเสียงให้ได้อย่างน้อย 270-280 เสียง และหากใน 1 กระทรวง มีรัฐมนตรีที่มาจากต่างพรรคอาจเกิดปัญหาการบริหารสะดุด

“ผู้นำรัฐบาลจะต้องกำกับดูแลการปฏิบัติให้ได้ เพราะผู้นำรัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายตามที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ” ด้านนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย ได้ฝากการบ้านให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมันว่า เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องแก้ไขคือ เรื่องปัญหาปากท้องประชาชนจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ในฐานะที่ร่วมร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วนของยางมีการใช้ยางในประเทศ 13%ของผลผลิตทั้งหมดอยู่แล้ว หากใช้ยางในประเทศเพิ่มปีละ 2% เมื่อครบ 20 ปีจะมีการใช้ยางในประเทศมากกว่า 50% ซึ่งการเพิ่มการใช้ในประเทศได้แก่ การนำมาผสมสร้างถนนพาราซอยซีเมนต์อย่างจริงจังใน 84,000 หมู่บ้านๆละ 1 กม. กับแนวทางการเพิ่มมูลค่ายาง เพื่อเป็นอำนาจต่อรองของไทยได้สูงขึ้น หากทำได้จะดีกว่าการประกันราคาหรือแทรกแซงราคายางที่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ตรงจุดและบิดเบือนกลไกตลาด

นอกจากนี้ รัฐบาลต้องผลักดันตั้งบรรษัทร่วมทุนระหว่างประเทศร่วมกับประเทศผู้ผลิตยางพารา 4-5 ประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทยฯจัดตั้งตลาดกลางยางพาราโลกขึ้นในไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ซื้อขายยางให้สะท้อนความเป็นจริงด้านต้นทุนการผลิต เพื่อคานตลาดซื้อขายล่วงหน้าของต่างประเทศที่ไม่สะท้อนต้นทุนจริง เพราะต้นทุนการผลิตยางของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)ปี 2560 อยู่ที่ กก.ละ 63.65 บาทและของกรมวิชาการเกษตรอยู่ที่ 63.78 บาท ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมา ราคาขายยางของเกษตรกรต่ำกว่าต้นทุนการผลิต

ในส่วนปาล์มน้ำมัน ขณะนี้เกษตรกรขายได้กก.ละ 1.80-2 บาทเท่านั้น ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)ปี 2560 ที่ กก.ละ 3.80 บาท ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่ ต้องแก้ปัญหาโดย 1.ห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเข้ามาในประเทศ เพราะเมื่อ 4-5 ปีก่อน ราคาผลปาล์มไทย กก.ละ 7-8 บาท มีการอนุญาตนำเข้า 5 หมื่นตันโดยกระทรวงพาณิชย์ หลังจากนั้น ราคาผลปาล์มของไทยตกต่ำลงมาตลอด 2.ต้องปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างจริงจัง เพราะล่าสุดในช่วง 2ปีที่ผ่านมา

มีการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากอินโดนีเซีย 7-8 หมื่นตันเข้ามาในไทย กก.ละ 13 บาท ผ่านชายแดนมาเลเซียก่อนเข้าไทยเป็น กก.ละ 18 บาท แล้วนำมาขายให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบหลายแห่งในภาคใต้ ส่งขายให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) กก.ละ 25 บาท อคส.ส่งขายให้โรงงานรีไฟน์ กก.ละ30 บาทแล้วโรงงานรีไฟน์ขายที่ กก.ละ 42 บาท ซึ่งทำกำไรได้ดีกว่ารับซื้อผลผลิตในไทย เนื่องจากราคาซื้อขายผลปาล์มไทยรับซื้อที่เปอร์เซนต์น้ำมัน 17-18% ตกกก.ละ 23-24 บาท(น้ำมันปาล์มดิบ)แต่ของอินโดนีเซียรับซื้อผลปาล์มที่มีเปอร์เซนต์น้ำมันต่ำที่ 13-15% จึงมีราคาถูกกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ตรัง ลงพื้นที่ตรวจสต๊อกปาล์มน้ำมัน ใน 6 โรงงาน เด้งรับนโยบาย กปน.ที่ต้องการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 200,000 ตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เชื่อจะสามารถยกระดับราคาปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นได้ และหนุนการผลิตน้ำมัน B100 ในรถยนต์หนุนเกษตรกรอีกแรง

นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เนื่องด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 200,000 ตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง โดยมอบกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนด้านการตรวจสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของผู้เสนอขายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ.

นอกจากนี้ ยังให้ทางจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเฉพาะกิจระดับจังหวัด องค์ประกอบคณะประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน พลังงานจังหวัด เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และฝ่ายความมั่นคง และพาณิชย์จังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินการตรวจปริมาณของน้ำมันปาล์ม บวกกับเรื่องค่ามาตรฐาน เรื่องของคุณภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่ไม่เกินร้อยละ 5

“ล่าสุดทางคณะกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่ลงพื้นที่ตรวจตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มดิบเฉพาะกิจ ณ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม จำนวน 6 โรงงาน ในเรื่องของสต็อกน้ำมันปาล์มที่มีอยู่ว่าขณะนี้มีปริมาณเท่าไหร่ และนำน้ำมันที่ได้รับไปตรวจคุณภาพตามมติ กนป.หรือไม่ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร และเป็นความโชคดีของจังหวัดตรังเราที่เป็นหนึ่งในไม่กี่โรงที่น้ำมันของเรามีคุณภาพ ซึ่งเราเองก็อยู่ในลำดับต้นๆ ของประเทศ ถือว่าเรามีส่วนสำคัญที่จะปฏิบัติตามมติ กนป. ให้มีการยกระดับราคาขึ้นมาด้วย โดยเฉพาะผลผลิตน้ำมันปาล์มของเกษตรกร”

นายลือชัย กล่าวว่า อย่างไรก็ตามจากการที่ได้มาดูเราไม่ได้มาดูเฉพาะตรงนี้อย่างเดียว เราจะดูถึงวงจรปาล์มของเรา ซึ่งทางที่นี่เองก็สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ หรือใช้ทั้งหมดของปาล์มทุกภาคส่วน และที่สำคัญมูลค่าที่เกิดขึ้นจากตัวน้ำมันแล้ววัสดุที่เหลือใช้เข้าสู่โรงไฟฟ้าด้วย โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าชีวมูล ซึ่งที่นี่อยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในส่วนนี้เราอยากจะชี้ให้เห็นนอกเหนือจากการปฏิบัติตามมติของ กนป.ที่แบ่งภาคส่วนไปแล้ว ถือว่าเราได้มาดูในเรื่องของปาล์ม ซึ่งเราเป็น 1 ใน 5-6 จังหวัดที่มีปริมาณการปลูกปาล์มค่อนข้างเยอะ

“ตรงนี้ผมเชื่อว่าถ้าทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตต้นทาง เกษตรกรเข้าใจและก็ฝ่ายผู้ประกอบการได้ใช้แนวทางต่างๆ เข้ามาช่วย ผมเชื่อว่าระดับราคาจะเพิ่มขึ้น และวัสดุเหลือใช้จากปาล์มก็มีคุณค่าทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทฯ ที่นี่เองก็ทำอยู่ และที่สำคัญทางบริษัทฯ ได้ทำ CSR กับชุมชนด้วยโดยเฉพาะการใช้วัสดุเหลือใช้ไปส่งเสริมพี่น้องเกษตรกร เช่น การเพาะเห็ด การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากปาล์ม และต้องขอขอบคุณทางบริษัทฯ ที่ได้เห็นคุณค่า คืออยากให้คิดทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทางทั้งหมดเลย”

ด้านนางรวิพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ พาณิชย์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการตรวจตามที่ กนป.แล้ว ประเด็นที่เป็นข้อจำกัด เป็นอุปสรรค เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของการมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการตรวจคุณภาพ ต้องเสนอไปที่ กนป.ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่บริษัทฯ รับภาระ อีกส่วนหนึ่งที่จังหวัดได้มีการประชุมกับนายกสมาคมชาวสวนปาล์มไปแล้วในเรื่องของการที่จะผลักดัน เรื่องของ B100 โรงงานในจังหวัดตรัง เป็นโรงงานที่อยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศ ในเรื่องของมาตรฐานคุณภาพ หากเสนอไปที่รัฐบาลให้มาช่วยในเรื่องคอร์สการตรวจคุณภาพก็จะเป็นประโยชน์ และที่สำคัญจะผลักดันในเรื่องของการขับเคลื่อนทางกฎหมาย เพราะว่าถ้าเราปลดล็อคในเรื่องการจำหน่ายได้ ตนเองคิดว่าราคาปาล์มจะขึ้นแน่นอน อันนี้ก็คิดว่าเป็นส่วนที่จะต้องผลักดันไป

หลังจากที่มาตรวจโรงงานก็จะมีการรายงานไปตามสายงาน เพราะว่ากระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก จริง ๆ แล้ว เรื่องน้ำมันเป็นเรื่องของกระทรวงพลังงาน ซึ่งก็เป็นคณะทำงานอยู่ด้วย ในส่วนนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เป็นฝ่ายเลขาของส่วนกลาง ในเรื่องการดูเรื่องราคาก็สามารถที่นำจุดนี้เข้าไป ซึ่งตรวจจริง 6 โรงงาน ผู้ประกอบการทุกโรงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะเป็นคนในพื้นที่ และแรงงานก็เป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด

“ฉันถือว่าทุกอย่างตอบโจทย์ได้หมด เพียงแต่ว่าส่วนไหนที่จะผลักดันในเชิงนโยบาย เช่นในเรื่องของการผลักดันเรื่อง B100 ต้องผลักดันในเชิงนโยบายแน่นอน ซึ่งคิดว่าวันนี้ได้ใช้ B100 ในส่วนกลุ่มต่างๆ แต่อยากให้ปลดล็อคคือจำหน่าย แต่จำหน่ายเราต้องผลักดันเรื่องมาตรฐาน เรื่องคุณภาพ เพราะว่าถ้ามีความเป็นกรดเป็นด่างตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากเราไม่ได้มาตรฐานก็จำหน่ายไม่ได้ทั่วไป อยากให้จำหน่ายได้ทั่วไปแต่ว่ารัฐบาลเองต้องมาช่วยตรงนี้ด้วย” นางรวิพรรณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ได้เปิดศูนย์การเรียนรู้ KC FARM ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จัดงาน “นวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี บมจ.ซันสวีท ครั้งที่ 4” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมก้าวหน้านำพาเกษตรกรยุคใหม่เข้าสู่ Thailand 4.0”

นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งาน นวัตกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี ได้จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว โดย บมจ.ซันสวีท มุ่งเน้นการยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานของประเทศให้มีศักยภาพสูง และเพื่อเผยแพร่ความรู้และจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ Smart Farming นำเทคโนโลยีมาใช้ทางการเกษตร แสดงโชว์สายพันธุ์ข้าวโพดหวานหลากหลายสายพันธุ์และพืชผลนานาชนิด

ทั้งนี้ บริษัทฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาข้าวโพดหวานจึงได้งานงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร บริษัท ซันสวีท จำกัด( มหาชน) ครั้งที่ 4 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2562 เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือได้รับการเรียนรู้การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานฝักสดได้อย่างเหมาสมในแต่ละสภาพพื้นที่

และเปิดโอกาสให้ บริษัทเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และสารเคมีกลุ่มอารักขาพืช ได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ ผลการทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพที่ดี ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตต่ำ แก่เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และผู้ที่สนใจ

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า นวัตกรรมเทคโนโลยี เป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการเกษตร และช่วยให้เกษตรกรรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น เช่น ให้น้ำผ่านระบบอัตโนมัติ การใช้เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน บริษัท ซันสวีทฯ ได้นำนวัตกรรมมาใช้ในการเกษตรถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงนวัตกรรมต่างๆได้ โดยการร่วมกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหน่วยงานเอกชนอื่นๆ ซึ่งนำแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ โดยการใช้ความรู้จากการศึกษาวิจัยมาปฏิบัติจริง

สิ่งที่เห็นวันนี้ประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเอกชน รัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนเอกชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เกษตรกรที่เข้าร่วมในระบบเอกชน ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ คล้ายเครื่องยนต์ที่ต่างเป็นฟันเฟือง ถ้าธุรกิจอยู่ได้เกษตรกรก็อยู่ได้ ถ้าเกษตรกรอยู่ได้ธุรกิจก็สามารถดำเนินต่อไป การที่ซันสวีทได้นำเครื่องมือและนวัตกรรมทางการเกษตรมาทดสอบ โดยการทำแปลงทดลอง ก่อนเผยแพร่และส่งต่อเครื่องมือให้แก่เกษตรกร ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงในการนำเครื่องมือใหม่มาใช้โดยไม่ทราบว่าจะได้ผลจริงหรือไม่

สิ่งเหล่านี้ก้าวไปสู่นวัตกรรมการใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้อง เกิดความคุ้มค่าและรายได้ของเกษตรกรที่จะได้รับหลังจากใช้นวัตกรรม ในอนาคตจะร่วมเป็นยุค 4.0 คือ ทุกสิ่งสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำ ที่เรียกว่า Precision Farming หรือเกษตรแม่นยำ ส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะของหน่วยงานที่ส่งเสริมเกษตรกร ยินดีถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี และมีนโยบายส่งเสริมการเกษตรด้วยระบบแปลนใหญ่ คือ เกษตรกรสามารถร่วมบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีร่วมกัน

โดยภายในงานครั้งนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่าง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ตราศรแดง และบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ในการนำนวัตกรรมระดับสากลของรถเกี่ยวข้าวโพดสู่เกษตรกรไทย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตค่อนข้างสูง

การนำรถเกี่ยวข้าวโพดมาใช้จึงเป็นส่วนช่วยในการ พัฒนาการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังร่วมผนึกกำลังในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว และพืชผักอื่น ๆ สำหรับตลาดแปรรูปพร้อมรับประทาน Ready To Eat เพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรให้สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองฝ่าย และเป็นการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป

เกษตรกร อ.รัษฎา โค่นยางพาราหันมาปลูกทุเรียนหมอนทองออกผลดก ผันตัวเองมารักการปลูกทุเรียนยาวนานกว่า 30 ปี เผยวิธีดูแลปีนขึ้นไปหาหนอนบนต้นทุเรียน ผลโตเต็มที่ปลอดสารพิษ100% พร้อมปลูกต้นคูนเสริมร่องทุเรียนสร้างรายได้ 2,500 บาท/เดือน เตรียมขยายปลูกเต็มพื้นที่

นายมนตรี แสงแก้ว อายุ 61 ปี เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทองลูกดก ตั้งอยู่เลขที่ 117 ม.2 ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ราคายางพารา ได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิต ประจำวัน ดังนั้นจึงพากันหาอาชีพใหม่ๆทำเพื่อสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัว สำหรับตนได้เลือกการปลูกทุเรียน เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดทุเรียนเปิดกว้าง ราคาค่อนข้างดี มีลูกค้าต้องการมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยเริ่มจากปลูก 20 ต้น ก่อนหน้านี้ตนเคยทำอาชีพกรีดยางพารา จากนั้นก็เริ่มโค่นต้นยางพาราแล้วมาปลูกทุเรียน บนเนื้อที่ จำนวน 15 ไร่ 500 ต้น ที่ให้ผลผลผลิตอยู่ประมาณ 100 ต้นให้ โดยลูกทุเรียนต้นใหญ่ให้ผลผลิต 100 ลูกขึ้นไป/ต้น ส่วนต้นเล็กๆ เฉลี่ยประมาณ 50 ลูก/ต้น โดยมีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และชะนี ซึ่งปีที่ผ่านมา ส่งที่ล้งได้ประมาณ 12 ตัน ราคา 80-90 บาท รวมประมาณ 1 ล้านบาท และขายในพื้นที่ประมาณ 2 แสนบาท ซึ่งปีนี้ล้งจาก จ.ชุมพร ก็ได้เข้ามาติดต่อแล้ว

นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า ตนเองคาดว่าปีนี้จะได้ทุเรียนประมาณ 20 ตัน โดยมีปัญหาปีนี้ที่หนักสุดก็คือ หนอนเจาะลูก เพราะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่จะใช้วิธีหาหนอนโดยการปีนไปหาหนอนบนต้น โดยมีผู้ดูแลสวน 3 คนด้วยกัน ลักษณะของทุเรียนหมอนทอง ส่วนมากจะอยู่ที่ 4-5 พู ส่วนชะนี ลูกเล็กประมาณ 2 กิโลกรัม เรียวหนามสีเขียวเนื้อเหลืองแห้งน่ารับประทาน และก้านยาว ลูกจะกลม และก้านจะยาว ส่วนราคา ชะนี จะราคาถูกว่า หมอนทอง และก้านยาวใกล้เคียงกัน

“นอกจากนี้ยังมีสวนปาล์มน้ำมัน 10 กว่าไร่ ช่วงนี้ราคาขึ้นก็ดีหน่อย และภายในสวนทุเรียนยังมีการปลูกต้นคูน แซมระหว่างต้นด้วย สามารถสร้างรายได้เสริมอีกเดือนละประมาณ 2,500 บาท ได้ทุกเดือน เตรียมขยายไปให้เต็มพื้นที่ ส่วนปีนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เตรียมเหมาซื้อทุเรียนทั้งสวน แต่ในส่วนราคายังไม่ตกลงกันโดยเบื้องต้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรังจะให้ราคาสูงกว่าที่ ล้งรับซื้อประมาณ 10 บาท ทั้งนี้ทุเรียนปีที่แล้วมีไม่พอต่อความต้องการของลูกค้า ปีนี้ก็คาดว่าจะไม่พอเช่นเดียวกัน เพราะมีออเดอร์สั่งเข้ามามากแล้ว” นายมนตรี กล่าว

สถานการณ์เอลนิโญ (El Nino) หรือ “ฝนน้อย-น้ำน้อย” เริ่มส่งผลกระทบต่อประเทศไทยชัดเจนยิ่งขึ้น จากคำประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาให้ฤดูฝนเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ปรากฏปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกือบทั่วประเทศได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เข้าสู่ฤดูแล้งของปี 2563 เลย โดยรายงานปริมาตรน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางของประเทศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม เหลืออยู่เพียง 13,017 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 25 หรือ “น้อยกว่า” ปี 2561 ถึง 9,205 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเพียง 60.11 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

ส่วนปริมาตรน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศพบว่าเหลืออยู่เพียง 11,506 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 หรือ “น้อยกว่า” ปี 2561 ถึง 8,244 ล้าน ลบ.ม. และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างขนาดใหญ่แค่ 51.52 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น เฉพาะเขื่อนหลักที่จะส่งน้ำให้กับลุ่มน้ำเจ้าพระยาพบว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำใช้การได้เหลืออยู่ 1,063 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 11, เขื่อนสิริกิติ์ 636 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 10, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 114 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 13 และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 53 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 5 รวม 4 เขื่อนเหลือปริมาตรน้ำใช้การได้เพียง 1,865 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ที่สำคัญก็คือ ทั้ง 4 เขื่อนหลักมีน้ำไหลลงอ่างรวมกันแค่วันละ 10 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนที่มีปริมาตรน้ำใช้การได้เหลือ “ต่ำกว่า” ร้อยละ 30 เพิ่มจำนวนขึ้นถึง 14 เขื่อน ในจำนวนนี้อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 6 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนห้วยหลวง มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 25 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 19, เขื่อนน้ำพุง 29 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 19, เขื่อนอุบลรัตน์ -2 หรือร้อยละ 0, เขื่อนลำปาว 453 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 24, เขื่อนลำพระเพลิง 22 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 14 และเขื่อนลำนางรอง 24 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 21

ปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ในประเทศขณะนี้จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอนต่อการปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนา ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังไม่นับพื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นนารอน้ำฝน จะต้องประสบความเสียหายเป็นวงกว้าง จากผลกระทบ “ภัยแล้ง” ที่จะเกิดขึ้นรุนแรงกว่าทุกปี จนล่าสุดสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าวได้แสดงท่าทีออกมาแล้วว่า ปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศในปีนี้จะลดลง ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศจะต้องขยับราคาขึ้น แต่ปัญหาก็คือ ชาวนาจะไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้น

สารพัดนโยบายสินค้าเกษตร

ดูเหมือนภาครัฐยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบภัยแล้งในปี 2562/2563 หลังจากความวุ่นวายในการ “แย่ง” ตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลประยุทธ์ 2 สิ้นสุดลง โดยมีข้อน่าสังเกตว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์จะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการในกระทรวงเศรษฐกิจหลักอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์-กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการออกชุดนโยบายจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าว แต่ในกระทรวงเหล่านี้ยังมีบรรดารัฐมนตรีช่วยว่าการที่มาจากต่างพรรคการเมือง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงเกษตรฯ มีรัฐมนตรีทั้งหมดถึง 4 คน จาก 4 พรรคการเมือง ถือว่า “มากเป็นประวัติการณ์” ของการเมืองไทยเลยทีเดียว

แน่นอนว่าทุกพรรคการเมืองต่าง “ขาย” นโยบายด้านราคาสินค้าเกษตรในช่วงเลือกตั้งที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเพื่อจะผลักดันราคาข้าวให้สูงกว่าราคาตลาดปกติ “อย่างที่ใช้หาเสียงกับชาวนา” โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอชุดนโยบายประกันรายได้และประกันภัยสินค้าเกษตรให้กับชาวนา ขณะที่พรรคพลังประชารัฐเสนอนโยบายเดิมที่ใช้ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 นั้นก็คือการให้สินเชื่อชะลอการขายข้าว และการจ่ายเงินชดเชยให้เปล่าเป็นค่าเกี่ยวข้าวเพิ่มขึ้น

ส่วนพรรคภูมิใจไทย ดูเหมือนจะนำโมเดลระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 ในระบบอ้อยและน้ำตาลมาใช้กับข้าว ด้วยการให้โรงสี-ผู้ส่งออกข้าว “แบ่งกำไร” กลับคืนมาให้ชาวนาผ่านทางกองทุนข้าว ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา ที่มีนายประภัตร โพธสุธน เป็นตัวแทนพรรค นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯเท่านั้นที่มีนโยบายจะให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของราคาปัจจุบัน แต่ไม่มีรายละเอียดในวิธีการที่จะทำให้ราคาข้าวไปถึงเป้าหมายนั้นได้

โดยพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่าง “ขายฝัน” ชาวนาไปแล้วว่า ราคาข้าวขาวต้องเกวียนละ 10,000 บาท กับราคาข้าวหอมมะลิเกวียนละ 15,000 บาท จนกลายเป็นความหวังของชาวนาทั้งประเทศ

จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทุกคนในวงการค้าข้าวต่างทราบกันดีว่า “ข้าวขาว 10,000 บาท กับข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท” เป็นราคาข้าวที่ขยับขึ้นไปถึงได้ “ไม่ยากนัก”

จากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 แต่ปัญหาก็คือ ผู้กุมนโยบายหลักของสินค้าเกษตรอย่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคพลังประชารัฐ จะทำอย่างไรกับชุดนโยบายประกันราคาและสินเชื่อชะลอการขายข้าว+เงินอุดหนุนค่าเกี่ยวข้าว

ในเมื่อคาดการณ์ผลผลิตข้าวลดลงจากภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่ชลประทานที่จำต้อง “ประหยัดน้ำ” เพื่อการอุปโภค-บริโภค “มากกว่า” การส่งน้ำเพื่อการเกษตร และปริมาณฝนจะลดน้อยลงจนไม่สามารถทำนาได้ตามปกติ ราคาข้าวเปลือกในประเทศจะพุ่งขึ้นสูง โดยไม่มีความจำเป็นต้องประกันราคาข้าวให้ชาวนาอีก กลับกลายเป็นว่า โจทย์ในเรื่องราคาข้าวเปลือกภายในประเทศจะเปลี่ยนไป ทำอย่างไรให้ชาวนาได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น แทนที่จะเป็นโรงสีข้าว-ผู้ส่งออก

ล่าสุดมีรายงานข่าวเข้ามาว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เดินหน้าเต็มตัวที่จะ “ผลักดัน” โครงการประกันรายได้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐที่จะแถลงต่อรัฐสภา โดยความเคลื่อนไหวล่าสุด

มีการหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ถึงแนวทางดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร โดยจะนำมาใช้กับพืชเกษตรหลักทุกตัว ทั้งข้าว-มันสำปะหลัง-ข้าวโพด และยางพารา ในขณะที่กรมการค้าภายในเองก็ได้เร่งจัดทำแนวทาง และรายละเอียดการดำเนินโครงการประกันรายได้พืชเกษตร 4 ชนิด ทั้ง “ราคากลาง-ราคาอ้างอิง” ที่จะใช้คำนวณราคาข้าวเปลือก-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ปาล์มน้ำมัน-มันสำปะหลัง ให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้พิจารณาทันที

ทว่ายังมีข้อสังเกตแย้งเข้ามาว่า ในความเห็นของกรมการค้าภายใน มีสินค้าเกษตรบางรายการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวเปลือกเจ้า, ข้าวเปลือกเหนียว, ข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ “ไม่มีความจำเป็น” ที่จะต้องใช้มาตรการประกันรายได้ เพราะ “แนวโน้มราคาตลาดอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่แล้ว” แต่ถ้าหากราคาตลาดลดลง “รัฐควรเข้าไปช่วยพยุงราคามากกว่า”

การดิสรัปชั่นที่เกิดจากเทรนด์ใหม่ ๆ กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่วงการเกษตร ซึ่งขณะนี้ต่างฝ่ายต่างมุ่งหาหนทางดิ้นหนีจากการถูกดิสรัปชั่น เหตุผลที่แท้จริงของการดิ้นหนี มีจุดเริ่มต้นมาจาก “ความกลัว” วิธีการเอาชนะความกลัวที่ดีที่สุดคือ การใช้ “ความกล้า” กล้าที่จะก้าวผ่านความกลัว

“การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการเกษตร” ก็ถือเป็นความกล้าประการหนึ่ง แต่ความกล้านี้ต้องใช้ความพยายาม เม็ดเงิน และหลาย ๆ องค์ประกอบ คนที่มีกำลังมากสายป่านยาว ก็ต่อยอดได้มาก ดังจะเห็นจากการพัฒนาตัวเองของบริษัทใหญ่ในวงการเกษตร ซึ่งพยายามกล้าก้าวผ่านคำว่า “สินค้าเกษตรเดิม ๆ” ตามที่หลายคนเคยคิดว่า แค่สินค้าเกษตรมันจะต่อยอดอะไรได้ และก็ขายอยู่อย่างนั้น

วันนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายต่อไปของเค้าคือ การต่อยอดนวัตกรรมสินค้าเกษตร เริ่มพูดถึงสิ่งเรียกกว่า “โปรตีนทางเลือก” ฟังดูแล้วเหมือนภาพฝัน จินตนาการตามไปว่า เราจะมีโปรตีนอะไรที่ไปได้มากกว่าหมู ไก่ ไข่ กุ้ง ที่มีอยู่หรือ ? หรือเป็นเพียงแค่คำเก๋ ๆ ทางการตลาดที่จะมาทำให้ราคาหมู ไก่ ไข่ กุ้ง แพงขึ้นหรือเปล่า

แต่หากมองเทรนด์การพัฒนาทางการเกษตรทั่วโลกจะเห็นว่าเริ่มมีการพูดถึงโปรตีนสกัดจากพืช (plant base) ประยุกต์ให้ตอบโจทย์เทรนด์การบริโภคยุคใหม่ ซึ่งอาจมีรูปแบบอะไรก็ได้ เป็นแคปซูล เป็นของเหลว หรือเป็นอย่างอื่น ซึ่งก็มีมูลค่าสูงจริง ๆ เพราะการลงทุนช่วงแรก economy of scale น้อย

จากการแถลงนโยบายของซีอีโอ ซีพีเอฟ “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” บอกว่า กลยุทธ์ 3 หัวใจ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล และการสร้างความยั่งยืน

สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนานวัตกรรมนั้น ซีพีเอฟเริ่มโดยการพัฒนาคลังสมองที่เรียกว่า “ศูนย์นวัตกรรม” ขึ้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เติมเม็ดเงินลงทุนไป 1,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นแค่เสี้ยวเล็ก ๆ ของบริษัทยักษ์ขนาด 5.4 แสนล้านบาท แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปี คือ สินค้านวัตกรรมอาหารที่สามารถนำออกมาวางตลาดได้จริง เช่น อาหารซูเปอร์ฟู้ดสำหรับผู้ป่วย สินค้าเกษตรพื้นฐานอย่างไก่คุณภาพปลอดสาร และยังมีนวัตกรรมที่อยู่ในไลน์การผลิต ซึ่งเข้ามาช่วยบริหารจัดการฟาร์ม ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่าง ๆ เข้ามาใช้ตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยี IT 8 ด้าน (กราฟิก)

ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนานวัตกรรมขั้นพื้นฐานระบบการมอนิเตอร์วัตถุดิบในไซโล หากนึกภาพไซโล คือ คลังสินค้ารูปกรวยเก็บวัตถุดิบ ซึ่งเดิมใช้วิธีคำนวณแบบกว้างคูณยาวคูณสูง จะมีใครสนใจว่าการคำนวณนี้มีความสำคัญต่อการวางแผนการผลิตและสั่งซื้อสินค้าเกษตรเพียงใด แต่บอกได้เลยว่าสำคัญ เพราะหากเจ้าใหญ่ในตลาดเกษตรคำนวณผิด วางแผนสั่งซื้อวัตถุดิบพลาด ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรแน่นอน

ดังนั้น ระบบนี้ไม่เพียงสำคัญต่อซีพีเอฟในแง่การวางแผนการประมาณการผลิตต้นทุน แต่ยังสำคัญต่อการวางแผนบริหารจัดการราคาสินค้าเกษตร หากทุกบริษัทเกษตรมีระบบมอนิเตอร์ที่แม่นยำ เชื่อมโยงไปถึงภาครัฐสามารถวางแผนการปลูกได้ ย่อมช่วยลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด และลดการใช้มาตรการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาได้

ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ซีพีเอฟเพียงรายเดียวที่กล้าก้าว สมัครพนันออนไลน์ โดยนำระบบเกษตร 4.0 มาใช้ในการผลิต แต่อาจกล่าวได้ว่าทุกบริษัทด้านสินค้าเกษตรต่างเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ไม่ต่างกัน เพียงแต่จะมากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังและสายป่านของแต่ละราย หากมองบวก ๆ ว่า การลงทุนนี้ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อกำไรของบริษัทที่กล้าลงทุนเท่านั้น แต่อีกด้านหากรู้จักใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ก็อาจต่อยอดเชิงนโยบาย และช่วยเกษตรกรลืมตาอ้าปากได้