สารเพิ่มเดินหน้าส่งออกค้างสต๊อกกลับประเทศต้นทาง 1,700 ตัน

นางสาวมนัญ​ญา​ ไทย​เศรษฐ์​ รมช.เกษตร​และ​สหกรณ์​ กล่าวว่า ขอยืนยันแนวนโยบายตามมติเดิมว่าในขณะนี้ไม่มีการนำเข้าสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิด คือ พารา​ควอต​ ไกล​โ​ฟ​เซต​ และ​คล​อร์​ไพริฟอส​ แล้ว แต่สำหรับบริษัทกว่า 70-80 บริษัท​ ที่มีใบอนุญาต​นำเข้าสารเคมีอย่างถูกต้อง​ตาม​กฎหมาย ยังสามารถนำเข้าสารอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิด อาทิ สารกำจัดวัชพืช​และแมลง เป็นต้น โดยสารดังกล่าวมีการนำเข้ามาในประเทศแล้วกว่า 6,000 ตัน ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการชะลอตามมติบอร์ดวัตถุอันตราย

แต่ยังยึดแนวทางและมาตรการผลักดันสารเคมีออกไปยังประเทศต้นทางและประเทศที่ 3 ซึ่งล่าสุด มี 60-70 บริษัท ได้แจ้งความจำนงจะขอส่งออกไปยังประเทศที่ 3 แล้วประมาณ 1,700-2,000 ตัน จากก่อนหน้านี้ที่ได้รวบรวมกว่า 700 ตัน

“ดิฉันยังคงยืนยัน ที่จะใช้แนวทางและมาตรการผลักดันสารเคมีออกไปยังประเทศต้นทางและประเทศที่ 3 ซึ่งล่าสุด มี 60-70 บริษัท ได้แจ้งความจำนงจะขอส่งออกไปยังประเทศที่ 3 แล้ว 1,700 ตัน โดยจะเร่งรัดส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์และเมียนมา เพื่อเคลียสต๊อกจะเหลือน้อยลงไปให้มากที่สุด นั่นคือทางออกเบื้องต้นที่ดีที่สุดที่ทำได้ในตอนนี้”

นางสาวมนัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกรมวิชาการเกษตร ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน​ 2562 เรื่องการแจ้งครอบครอง ภายใน 15วัน และอีก 15วันต้องส่งคืนวัตถุอันตราย นั้น หากยังไม่มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อแบน 3 สาร ดังกล่าว ทั้งหมดถือว่ายังไม่มีผลบังคับตามกฎหมา

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ให้ความสำคัญ ในประเด็นข้อเรียกร้องของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมประมงพื้นบ้านและสมาคมที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจัดประชุมทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมกันแก้ไข จนขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย และคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้าน คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพาณิชย์ และการประมงนอกน่านน้ำไทย คณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะอนุกรรมพัฒนาผลิตผลผลิตภัณฑ์ประมงและการพาณิชย์ เพื่อทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกัน

โดยข้อเรียกร้อง อาทิ ขอให้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเร่งด่วนในช่วงที่มีการประชุมสภานิติบัญญัติ ซึ่งในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการประมง ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของคณะทำงาน 90 วัน รวมถึงขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการการซื้อเรือประมงออกนอกระบบคืนโดยเร็ว โดยขอให้รัฐบาลมีการตั้งงบประมาณจำนวน 1 หมื่นล้าน ในปีงบประมาณ 2563 ในการที่จะนำเรือประมงออกนอกระบบ

ด้าน นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนเรือตามประกาศกรมประมง ตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 11 ธันวาคม 2562 ได้มีการขอใบรับรองแล้วในฝั่งอ่าวไทย 7,927 ราย และฝั่งอันดามัน 2,704 ราย รวมเป็นยอด ณ ขณะนี้ 10,631 ราย กรณีเรือที่มีทะเบียนเรืออยู่แล้ว เมื่อกรมเจ้าท่าตรวจวัดขนาดเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะทำการแก้ไขรายการในใบทะเบียนเรือและใบอนุญาตใช้เรือ หากมีขนาดสิบตันกรอสขึ้นไป ให้ทำการประมงพื้นบ้านได้จนกว่ากรมประมงจะเปิดให้มีการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ รอบปีการประมง 2563 และในกรณีเรือที่ยังไม่มีทะเบียนเรือไทย เจ้าของเรือต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง เพื่อประกอบการขอจดทะเบียนเรือไทยกับกรมเจ้าท่าภายหลังการตรวจวัดขนาด และจัดทำอัตลักษณ์เรือต่อไป

นอกนากนี้ กรมประมงได้อนุญาตให้ใช้เครื่องมืออวนจับแมงกะพรุน สามารถทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้โดยมีผลการบังคับใช้เป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ ‪31 ธันวาคม 2564‬ ทั้งนี้การใช้อวนลากแมงกะพรุนในเขตทะเลชายฝั่งนั้น ชาวประมงยังไม่สามารถทำการประมงได้ในทันที หากจังหวัดใดประสงค์จะออกมาตรการภายใต้ประกาศฉบับนี้ จะต้องดำเนินการเสนอเรื่องดังกล่าวผ่านคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาพื้นที่และเงื่อนไขอื่น (เช่น ห้วงเวลาในการทำประมง) และออกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด

อนึ่งการพิจารณารูปแบบของเครื่องมือประมง วิธีการทำการประมง ขนาดของเรือที่ใช้ประกอบการทำการประมง ระยะที่สามารถทำการประมงได้ ต้องเป็นไปตามแนบท้ายของประกาศโดยสาระสำคัญของประกาศฯ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือประมงทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง ยกเว้นอวนจับแมงกะพรุนที่ใช้ประกอบเรือประมงทำการประมงตามรูปแบบของเครื่องมือวิธีการทำการประมง พื้นที่ทำการประมง ขนาดของเรือประมงที่ใช้ประกอบการทำการประมง และเงื่อนไขอื่นที่ใช้ทำการประมง

กรมวิชาการเกษตร จัดระเบียบงบประมาณดำเนินงานปี 63 ถูกปรับลด 50 เปอร์เซ็นต์ ร่อนหนังสือจูนหน่วยงานเอกซเรย์จัดลำดับความสำคัญของงาน ป้องงานวิจัยพันธุ์พืช โครงการพระราชดำริ งานบริการประชาชนและการส่งออก ต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ติดเบรกจัดประชุมนอกสถานที่ใช้วิธีสื่อสารผ่าน VIDEO Conference

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ได้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นงบการดำเนินงานลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ นั้น เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินงานโดยเฉพาะงานตามภารกิจและงานสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณโดยปรับแผนในการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกโครงการและทุกแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งงบประมาณที่ถูกปรับลดลงนี้เป็นงบประมาณการดำเนินงานไม่เกี่ยวข้องกับงบลงทุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างแต่อย่างใด

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือชี้แจงและทำความเข้าใจให้ทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคพิจารณาทบทวนและจัดลำดับความสำคัญ รายละเอียดกิจกรรมเนื้องานที่มีความสำคัญ จำเป็น และเหมาะสมในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 โดยเฉพาะงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมวิชาการเกษตร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

งานด้านบริการที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการส่งออก เช่น การตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) โรงงานแปรรูป โรงรม (GMP) การตรวจสอบปัจจัยการผลิต ศัตรูพืช และออกใบรับรองบริการวิชาการด้านพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ดีซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลเพื่อจำหน่ายและจ่ายแจกให้แก่เกษตรกร เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด รวมทั้งพืชตระกูลถั่วที่ใช้น้ำน้อย งานบริการทั้งหมดนี้จะต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนงานอื่นๆ ให้พิจารณาปรับลดปริมาณงานตามวงเงินงบประมาณที่ได้รับ

“ในปี 2563 งบประมาณของกรมวิชาการเกษตรจำนวน 1,277 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบดำเนินงานไม่ใช่งบลงทุนจัดซื้อครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ถูกปรับลดลงจำนวน 638 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของงบดำเนินงาน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้กำชับให้ทุกหน่วยงานใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่องานราชการ โดยย้ำให้ทุกหน่วยงานในสังกัดทราบว่างานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช โครงการพระราชดำริ งานด้านบริการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและการส่งออก ต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนกิจกรรมบางชนิดที่สามารถปรับลดได้ให้ดำเนินการทันที เช่น การติดตามประเมินผล การจัดประชุมนอกสถานที่โดยให้ใช้วิธีการประชุมทางไกลผ่านทางจอภาพ หรือ VIDEO Conference แทน เป็นต้น” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ติดตามและศึกษายุทธศาสตร์ Farm to Fork ที่สหภาพยุโรปยกร่างขึ้น และเพิ่งผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะ และได้พิจารณาเลื่อนการประกาศเผยแพร่เอกสารรายละเอียดยุทธศาสตร์ F2F ออกไปจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของสหภาพยุโรป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคทางการค้าในอนาคต

ทั้งนี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ประจำสหภาพยุโรป สรุปสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าว ดังนี้ 1.นโยบาย European Green Deal นโยบายหลักของชุดคณะกรรมาธิการยุโรปชุดปัจจุบัน (2563-2567) ให้การรับรองว่า “ประชากรยุโรปจะเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ปลอดภัย ในราคาเหมาะสม นำไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน” ผ่านยุทธศาสตร์ Farm to Fork (F2F)

2.ยุทธศาสตร์ F2F มีวัตถุประสงค์พัฒนาระบบผลิตอาหารที่ยั่งยืน ยุติธรรม มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป ตลาด จนถึงการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ F2F ยังเสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปกป้องป่าไม้และสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมสังคมไร้มลพิษ (zero pollution)

3.เป้าหมายและแผนการดำเนินงาน ที่สำคัญภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ F2F มีดังนี้

1) เป้าหมายที่ 1 พัฒนาการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

-สารปราบศัตรูพืช ทบทวนกฎระเบียบการใช้สารปราบศัตรูพืช กำหนดวิธีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ใช้สารเคมี

-ปุ๋ย พัฒนาวิธีการนำธาตุอาหาร (nutrients) มาใช้ทำการเกษตร และเพิ่มการหมุนเวียนในห่วงโซ่อุปทาน

-เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายเมล็ดพันธุ์พืช อำนวยความสะดวกการขึ้นทะเบียน การนำสายพันธุ์พืชดั้งเดิม หรือมีการปรับปรุงมาใช้ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ

-สุขภาพพืช ปรับปรุงข้อกำหนดด้านการตรวจสอบควบคุมการนำเข้าพืช การจัดการศัตรูพืช และการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้มีความทันสมัย

-ยาด้านจุลชีพในสัตว์ จัดทำบัญชีรายชื่อยาด้านจุลชีพที่อนุญาตให้ใช้กับมนุษย์เท่านั้น ห้ามใช้ยาด้านจุลชีพนอกเหนือฉลากระบุไว้ และกำหนดค่าตกค้างสูงสุดของยาด้านจุลชีพในอาหารสัตว์

-สวัสดิภาพสัตว์ ยกระดับการควบคุมและการปฏิบัติตามระเบียบสวัสดิภาพสัตว์ รวมทั้งการใช้มาตรการอุดหนุนภายใต้นโยบายเกษตรร่วม (CAP) ในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

-อาหารสัตว์ ทบทวนขยายขอบเขตการอนุญาตสารเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการตลาดอาหารสัตว์ ให้มีการใช้วัสดุอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน เช่น โปรตีนจากแมลง อาหารสัตว์จากทะเล และชีวมวลจากการหมักมวลชีวภาพ เป็นต้น

-มาตรฐานด้านการตลาดสินค้าเกษตร ประมง สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ลดอุปสรรคสร้างโอกาสในการผลิตอาหารที่ยั่งยืน

-เกษตรอินทรีย์ พัฒนาแผนการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์สำหรับปี 2564-2567 รวมทั้งกระตุ้นความต้องการและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค

-การรวมกลุ่มของผู้ผลิต ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตร ประมง รวมทั้งให้บริการคำปรึกษาด้านการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

2) เป้าหมายที่ 2 สนับสนุนแนวทางปฏิบัติในการแปรรูปอาหาร การค้าปลีก และการบริการอาหารที่ยั่งยืน

-ความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน พัฒนาคุณค่าทางโภชนาการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ในการผลิตอาหาร

-บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปกลางปี 2564 ทบทวนกฎระเบียบวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร

3) เป้าหมายที่ 3 สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ

-การเลือกอาหารที่ยั่งยืน ปรับปรุงการแสดงข้อมูลโภชนาการ พัฒนาระบบให้ข้อมูลผู้บริโภค อาจกำหนดให้ติดฉลากแสดงข้อมูลโภชนาการบนหน้าผลิตภัณฑ์ (front-of-pack nutrition labelling) แสดงแหล่งที่มา รวมทั้งข้อมูลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ หรือสังคม พัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารให้สั้นลง ลดผลกระทบจากการขนส่ง และการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

-การบริโภคอาหารที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพ เช่น สนับสนุนการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียน โรงพยาบาล หรือองค์การมหาชน รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4) เป้าหมายที่ 4 ลดความสูญเสียและขยะจากอาหาร ในระดับสหภาพยุโรป ภายในปี 2563-2567

5) เป้าหมายที่ 5 ต่อสู้กับอาหารปลอมแปลงและยกระดับการตรวจสอบควบคุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในระดับสหภาพยุโรป ภายในปี 2563-2567

6) เป้าหมายที่ 6 เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

-ความร่วมมือกับประเทศที่ 3 ที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือที่จะมีในอนาคต จะต้องทำการผนวกประเด็นด้านการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-สนับสนุนความร่วมมือภายในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการสนับสนุนการผลิตและสุขภาพสัตว์ที่ยั่งยืนของ FAO/IAEA การจัดการปัญหาการดื้อยาด้านจุลชีพ และการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เผยแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ฉบับใหม่ที่จะมีผล 1 สิงหาคม นี้ พร้อมกันนี้กรมเจรจาฯ เตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ว่าด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และที่ประชุมจึงร่วมกันรับรองแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น

เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยแผนดังกล่าวมุ่งเน้นเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ คือ รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัน บรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ กว่า 50 โครงการ เช่น มุ่งให้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในปีนี้ เร่งส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และเคมีภัณฑ์ ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี พัฒนาการค้าดิจิทัลระดับภูมิภาค ผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ MSMEs เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายร่วมแสดงความยินดีที่พิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 เพราะจะเป็นการยกระดับความตกลง AJCEP ให้ครอบคลุมครบทั้งการค้าสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการลงทุน อันจะเสริมสร้างความเชื่อมั่น แก่นักธุรกิจและนักลงทุนญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ในปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 225,915 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอาเซียนส่งออกไปญี่ปุ่นมูลค่า 109,835 ล้านเหรียญสหรัฐ และนําเข้าจากญี่ปุ่นมูลค่า 116,080 ล้านเหรียญสหรัฐ และญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับ 2 ของอาเซียน มีการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นไปอาเซียน มูลค่า 20,356 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดงาน “สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย ขยายตลาดส่งออกด้วยเอฟทีเอ” ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2563 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ จังหวัดเพชรบุรี โดยเปิดพื้นที่ให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 5 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และราชบุรี นำสินค้าเกษตรคุณภาพมาจัดแสดงและจำหน่ายรวม 20 บูธ เช่น น้ำมันมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวทับสะแก สับปะรดเหลืองสามร้อยยอด นมอัดเม็ดจากสหกรณ์โคนมห้วยสัตว์ใหญ่ ผ้าเขียนลายทอง ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากป่านศรนารายณ์ เครื่องสำอาง และเกลือทะเลขัดผิวเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

อีกทั้ง ยังมีเวทีสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ช่องทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ ขยายตลาดส่งออกสู่ต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอกับประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับไทย ซึ่งยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกจากไทยแล้ว ตลอดจนแนะนำช่องทางการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ จะมีกิจกรรมพิเศษตลอดทั้งวัน อาทิ กิจกรรมนาทีทอง และกิจกรรมร่วมสนุกตอบคำถามพร้อมรับของรางวัล

ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยมีมูลค่า 10,829.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าหลายรายการสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 อาทิ ผลไม้ มูลค่า 2,253.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 สินค้าผัก/ผลไม้แปรรูป มูลค่า 1,105.05 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 และสินค้าปศุสัตว์ มูลค่า 2,264 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.46

“ทองเปลว” ปลัดเกษตรฯ รับไม้ต่อลุยงานแรกหลังรับตำแหน่ง เผยผลการรับสมัครโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รอบที่ 1 และ 2 พร้อมเตรียมเปิดรับสมัครรอบที่ 3 โครงการฯ 8 – 22 ตุลาคมนี้

นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 5/2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ

เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่น ๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาหาร มีอาชีพ มีความอุดมสมบูรณ์

โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยง ตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน

โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 96,216 ราย แบ่งเป็นเป้าหมายเกษตรกร 64,144 ราย เป้าหมายการจ้างงานเกษตรกร 32,072 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 4,009 ตำบล 75 จังหวัด

“ในวันนี้ที่ประชุมมีมติขยายเวลารับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รอบที่ 3 รวมถึงยังได้มีมติพิจารณาปรับปรุงคุณสมบัติในการรับสมัครเกษตรกรและการจ้างงานระดับตำบลให้มีการผ่อนปรนในเรื่องของหลักเกณฑ์ต่างๆ ลงจากในรอบที่ 1 และ 2 ”

โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ http://ntag.moac.go.th และกระทรวงเกษตรฯ และจะเริ่มรับสมัครในรอบที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 ตุลาคม 2563 สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ http://ntag.moac.go.th ยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ขณะที่การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในรอบที่ 1 และ 2 ได้ปิดรับสมัครลงแล้ว

สรุปผลการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ในรอบที่ 1 เกษตรกร 20,357 คน ผู้จ้างงาน 25,137 คน และรอบที่ 2 เกษตรกร 13,143 คน ผู้จ้างงาน 6,477 คน รวมทั้ง 2 รอบ มีจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 65,114 คน แบ่งเป็น เกษตรกร 33,500 คน ผู้จ้างงาน 31,614 คน

ขณะนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ระดับจังหวัด อยู่ระหว่างเร่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยคาดว่าจะเริ่มขับเคลื่อนโครงการและเริ่มจ้างงานได้ภายในวันที่ 30 ตุลาคมนี้

ผลผลิตภาคการเกษตรของเวียดนามหดตัวอย่างหนักในช่วงปีนี้ ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดและเหตุภัยพิบัติหลายครั้ง ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรของเวียดนามดีดตัวสูงขึ้น และกระทบถึงตลาดโลก เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของสินค้าเกษตรหลายชนิด

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2020 การส่งออกสินค้าการเกษตรของเวียดนามล่าช้าออกไปจากเดิม นอกจากนี้ ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมหนักในเวียดนามช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด ซ้ำเติมสถานการณ์เลวร้ายจากโรคระบาด

“วู๊ วัน ทัญ” ประธานบริษัท “วีอาร์จี เจแปน รับเบอร์ เอ็กซ์ปอร์ต” ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ “ยางพารา” รายใหญ่ของเวียดนามระบุว่า การเก็บน้ำยางในปีนี้ล่าช้าเนื่องจากหลายปัจจัย ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก ทำให้ต้องปฏิเสธคำสั่งซื้อยางพาราลอตใหม่ชั่วคราว

ทั้งนี้เวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราใหญ่อันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดราว 10% ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความต้องการถุงมือยางพุ่งสูงขึ้นถึง 3.6 แสนล้านชิ้น หรือเพิ่มขึ้น 20% จากปี 2019 ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้ราคายางในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา รอยเตอร์สรายงานว่า ราคายางพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี

นอกจากนี้ “เมล็ดกาแฟโรบัสต้า” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกาแฟสำเร็จรูปก็มีราคาเพิ่มสูงขึ้นจากผลผลิตที่น้อยลงของเวียดนาม ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดกาแฟโรบัสต้ารายใหญ่ของโลก มีส่วนแบ่งตลาดถึง 40%

ปัจจุบันราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้าในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ที่ราว 1,330 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันในตลาดลอนดอน “ชิโระ โอซาวะ” ที่ปรึกษาบริษัท “วาตารุแอนด์โค.” ผู้ค้ากาแฟรายใหญ่ของญี่ปุ่นชี้ว่า ราคาของเมล็ดกาแฟโรบัสต้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่เพียงแต่จากผลผลิตที่ลดลง แต่ยังรวมถึงความต้องการบริโภคกาแฟในครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้

เช่นเดียวกับ “พริกไทย” ที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่พื้นที่ปลูกได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวเดือน ธ.ค. 2020-ก.พ. 2021 คาดว่าจะลดลง

แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านอาหาร แต่ความต้องการพริกไทยในภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น ทั้งยังได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของจีนที่สั่งซื้อพริกไทยจากเวียดนามจำนวนมหาศาลหลังจากที่กลับมาเปิดประเทศ ส่งผลให้ราคาพริกไทยในตลาดโลกขยับสูงขึ้น

โควิดระบาด-ตู้คอนเทนเนอร์ขาด-น้ำมันขึ้นราคา ทำวงการค้าปุ๋ยเคมีป่วน ราคานำเข้าแม่ปุ๋ยสูตรสำคัญปรับราคา แถมของขาดตลาด ส่งผลผู้นำเข้า-โรงงานปุ๋ยประกาศขึ้นราคาปุ๋ยเคมีกระสอบละ 50-75 บาท ยืนยันปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด แต่สต๊อกลดลง เตือนเกษตรกรรับมือต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ช่วงปลูกพืช จับตาไตรมาส 2 ปุ๋ยแห่ขึ้นราคาอีกระลอกแน่

สามปัจจัยปุ๋ยราคาพุ่ง
ดร.กรีฑา วีระนันทนาพันธ์ ประธาน บริษัทนันทกรี จำกัด จ.สมุทรสาคร ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีตรามุกมังกร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ราคาปุ๋ยเคมีในท้องตลาดได้ปรับราคาสูงขึ้น เนื่องจากแม่ปุ๋ยเคมีที่ประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 6 ล้านตัน ขยับราคาสูงขึ้นมากจาก 3 ปัจจัยหลักคือ

1) น้ำมันมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น โดยปุ๋ยทุกสูตรมีสารตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเกิดการสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนำมีเทนมาสังเคราะห์ให้ได้ก๊าซแอมโมเนีย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงกับแอมโมเนีย

2) ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับขึ้นทั่วโลก

และ 3) โรงงานผลิตแม่ปุ๋ยสูตรวัตถุดิบต้นทางในต่างประเทศฉวยโอกาสปั่นราคาขึ้นไปกว่า 20% ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าในช่วงไตรมาส 2/2564 ราคาปุ๋ยเคมีอาจปรับสูงขึ้นไปถึง 500 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) ในช่วงที่มีการเพาะปลูกมากและถือเป็นการปรับราคาขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี แต่สำหรับปุ๋ยอินทรีย์เคมี “ตรามุกมังกร” ไม่ได้ใช้แม่ปุ๋ยเคมีจึงไม่ได้รับผลกระทบทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบ

โควิดทำโรงงานแม่ปุ๋ยปิดตัว
ด้านนายดุษฎี วงศ์โรจน์ เจ้าของร้านจำหน่ายปุ๋ย “เกษตรเนินสูง” อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี กล่าวว่า ปุ๋ยเคมีที่ปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์มีสาเหตุมาจาก “แม่ปุ๋ย” ซึ่งเป็นวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น โดยยูเรียสูตร 46-0-0, ได-แอมโมเนียมฟอสเฟตสูตร 18-46-0, โพแทสเซียมคลอไรด์สูตร 0-0-60 ที่นำเข้ามาปรับราคาสูงขึ้น 1,500-2,000 บาท/ตัน โดยทั้ง 3 ตัวนี้ใช้ผลิตปุ๋ยสูตร 15-15-15, สูตร 16-16-16 และสูตร 8-24-24 ที่เกษตรกรนิยมใช้กันมาก

“กลุ่มประเทศยุโรปผู้ผลิตวัตถุแม่ปุ๋ยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 โรงงานปิดตัวลงทำให้ปริมาณวัตถุดิบแม่ปุ๋ยผลิตน้อยลงไปด้วย ขณะที่ตลาดจีนและไทยมีความต้องการวัตถุดิบแม่ปุ๋ยชนิดนี้สูง ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น 100% โดยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ตัน จากตู้ละ 700 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 เหรียญ รวมทั้งค่าเงินบาทที่ผันผวน ส่งผลให้ราคาขายปลีกปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต้องปรับเพิ่มขึ้น 75-150 บาทต่อกระสอบ ขนาด 50 กก.

ส่วนน้ำหนัก 1 ตัน ที่ราคาเดิม 895-900 บาท ปรับขึ้นเป็น 960-980 บาท คาดว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลายอาจจะต้องปรับขึ้นราคาปุ๋ยอีก ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบแน่นอน จากความจำเป็นที่จะต้องใช้ปุ๋ยหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนพฤกษาคม-มิถุนายนนี้” นายดุษฎีกล่าว

ด้านนายนิมิต สุวัฒน์ศรีสกุล เจ้าของร้านเทพนิมิตการเกษตร จำกัด อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปุ๋ยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีการขึ้นราคามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการทยอยปรับขึ้นราคามาเป็นระยะ ๆ บริษัทที่นำเข้าแจ้งว่า เพราะจีน-ออสเตรเลียมีความต้องการใช้สูงจึงหยุดการส่งออก ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นและกรณีเรือขวางคลองสุเอซต้องรอคิวนำเข้าอีก

“วัตถุดิบแม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 เป็นปุ๋ยชนิดที่ผสมใช้กับต้นปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงสุดครั้งละ 600-700 ถึง 1,100 บาทต่อตัน ปุ๋ยเคมีขนาดกระสอบละ 50 กิโลกรัม สูตร 15-15-15 กับสูตร 16-16-16 ขึ้นราคากระสอบละ 75 บาท แต่ในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนมีการซื้อตุนไว้บ้างเพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้วยเกรงว่าปุ๋ยจะขึ้นราคาอีก

แต่ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อเพราะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนต้องใช้เงินลงทุนซื้อปุ๋ยมาก ทุเรียนได้ราคาดี เกษตรกรยอมรับที่จะใช้ปุ๋ยเคมีต่อไปแม้จะขึ้นราคา เพราะปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เหมือนปุ๋ยเคมี ส่วนผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลกระทบที่ต้นทุนสูงขึ้นแม้ว่าจะปรับเปลี่ยนราคาตามราคาของบริษัทนำเข้าปุ๋ยก็ตาม” นายนิมิตกล่าว

เอเย่นต์อ้างของน้อย
นายนัด ดวงใส รองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) กล่าวว่า ทางเอเย่นต์ปุ๋ยได้ให้เหตุผล “ปุ๋ยมีปริมาณน้อยมาก” เนื่องจากโรงงานผลิตปุ๋ยที่มีอยู่ชะลอการผลิตและบางแห่งก็ปิดโรงงานไปเลย ส่วนโรงงานที่จะเปิดใหม่ก็ขาดแคลนแรงงานจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ปุ๋ยในสต๊อกมีปริมาณลดลงมาก ดังนั้นราคาปุ๋ยจึงขยับขึ้น

“เทียบกับช่วงปกติในหน้าแล้งประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เกษตรกรจะไม่ใช้ปุ๋ย ราคาปุ๋ยก็จะปรับตัวลงประมาณ 10 บาท/กระสอบ ร้านขายปุ๋ยต้องระบายสินค้าออกเพื่อลดต้นทุน แต่พอเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝนเกษตรกรทุกประเภทจะใส่ปุ๋ยบำรุงพืช ทั้งยางพารา-ปาล์มน้ำมัน-ผลไม้ ตอนนั้นราคาปุ๋ยก็จะเริ่มขยับขึ้น แต่ปีนี้เหตุการณ์กลับตรงกันข้า”

“ตอนนี้ราคาปุ๋ยขยับขึ้นแทบทุกตัวประมาณกระสอบละ 50 บาท หรือจาก 700 บาท ขึ้นราคาเป็น 750-800 บาทต่อกระสอบ (ขนาด 50 กก.) เราคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยจะปรับตัวขึ้นอีกระลอกประมาณ 40-50 บาท/กระสอบ ในช่วงหน้าฝนแน่นอน ถือว่า ราคาปุ๋ยปีนี้จะขยับขึ้น 2 รอบ หรือเท่ากับราคาได้ขยับขึ้นเกือบ 100 บาท/กระสอบ ดังนั้นร้านขายปุ๋ยที่มีสินค้าเก่าเหลือในสต๊อกก็เหมือนได้ส้มหล่นราคาปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 100 บาท/กระสอบ” นายนัดกล่าว

ส่วนนายนิยม พานิกร เจ้าของร้านไทยนิยม อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ช่วงนี้ทางเอเย่นต์มีการปรับราคาปุ๋ยขึ้นเฉลี่ยกระสอบละประมาณ 30 บาท เนื่องจากไม่มีสินค้าลอตใหม่ส่งเข้ามา มีเพียงสินค้าที่อยู่ในสต๊อกเท่านั้น แต่ยืนยันว่า “ปุ๋ยยังไม่ขาดตลาด”

สอบถามเอเย่นต์ทราบเพียงว่า วัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาไม่ได้และทางร้านเองเมื่อซื้อปุ๋ยมาแพงก็ปรับราคาขึ้นบวกกำไรเล็กน้อย เพราะลูกค้าเกษตรกรล้วนเป็นขาประจำ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ราคาร้านใหญ่ 670 บาท ที่ร้านขาย 680 บาท ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วกระสอบละ 800 บาทขึ้นราคาอีก 30 บาท ทางร้านก็ขาย 850 บาท เป็นต้น

โดยยอดขายปุ๋ยช่วงนี้ยังปกติเพราะเกษตรกรที่ปลูกมัน อ้อย และข้าวนาปรังจำเป็นต้องใช้ ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์ยอดขายปกติ สำหรับปีนี้ปุ๋ยที่สั่งไว้น่าจะเพียงพอ แต่ปีหน้าหากไม่มีปุ๋ยเข้ามาอีก เกษตรกรคงต้องลำบากแน่

ด้านนายวิชิตอดีตนายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม สมัคร GClub ประธานกลุ่มผู้ปลูกอ้อย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับขึ้นประมาณ 10-30 บาท ทางร้านให้เหตุผลว่า โรงงานใหญ่ไม่ส่งปุ๋ยมาทำให้สินค้ามีจำกัด แต่ถึงราคาแพงเกษตรกรจำเป็นต้องใช้และมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเพื่อลดต้นทุน เพราะหากจะใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง โดยราคาเฉลี่ยปุ๋ยเคมีช่วงนี้ประมาณกระสอบละกว่า 800 บาท ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 400 บาท