ทุเรียนพื้นเมือง 600 สายพันธุ์-กำลังเจียระไนสู่เกษตรกรไทย

ในงาน มหกรรมชิมทุเรียน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (25-28 เมษายน 2562) ไม่เพียงแต่มีทุเรียนทั้งพันธุ์ใหม่ๆ และพันธุ์โบราณ หรือพันธุ์พื้นเมืองกว่า 50 สายพันธุ์ มาให้ได้ชิมกัน แต่ยังมีนิทรรศการความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะการนำพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านมาทำเป็นข้อมูลโปสเตอร์และมีผลผลิตทุเรียนบางสายพันธุ์มาวางโชว์ไว้

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง “เกษตรก้าวไกล” จึงได้สัมภาษณ์ คุณศิริพร วรกุลดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ทำให้ทราบว่าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองไว้กว่า 600 สายพันธุ์ (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม) แต่ว่าที่นำมาให้ชิมและโชว์ในงานนั้นเฉพาะสายพันธุ์ที่มีผลผลิตในช่วงนี้ ซึ่งการที่จะสร้างให้ทุเรียนไทยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีความเติบโตอย่างยั่งยืน จะต้องมีกลยุทธ์การพัฒนา

“สิ่งที่เรามองก็คือจะต้องมีกลยุทธ์การแข่งขันในตลาดโลก คือการสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา เหมือนที่มาเลเซียเขาสร้างมูซังคิงเขาพยายามประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือทุเรียนพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ของเราก็มีช้างเผือกในป่าเยอะมากที่มีรสชาติดี ตรงนี้ถือเป็นความโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า เพียงแต่ว่าต้องรอการเอามาขัดสีฉวีวรรณ(เจียระไน)ที่จะนำมาพัฒนาทำเป็นการค้าได้เลยหรือนำมาปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เขาบกพร่อง…” ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวน กล่าวอย่างเห็นภาพชัดเลยทีเดียว และบอกว่าขณะนี้มีหลายสายพันธุ์ เช่น กลุ่มทุเรียนพันธุ์การค้าของนนทบุรีที่มีมาแต่เดิมกำลังกระจายพันธุ์ไปสู่พี่น้องเกษตรกรและในปี 2562 จะเปิดให้จองประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ (วันเวลาที่ชัดเจนจะนำมาแจ้งผ่านเว็บไซต์นี้อีกครั้ง-และความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ดูคลิปวิดีโอนาทีที่ 13.20 เป็นต้นไป) รวมทั้งพันธุ์พื้นเมืองที่ได้มีการทดสอบรสชาติเพื่อให้เกิดความมั่นใจ

สำหรับรายชื่อพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทย ที่นำมาบอกกล่าวนี้ (6 กลุ่ม) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีชื่อทุเรียนพันธุ์อะไรบ้าง ขอให้ตรวจสอบได้ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่ารายชื่อดังกล่าวไม่ครบทั้ง 600 พันธุ์ ที่นำมาบอกกล่าวนี้ทราบว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ที่เด่นๆ ที่มีการปลูกทั่วไป (ขอให้ผู้สนใจชมจาก คลิปวิดีโอว่าพันธุ์ที่มีผลผลิตและนำมาโชว์ในงานมหกรรมชิมทุเรียนมีพันธุ์อะไรบ้าง) (รายชื่อที่ครบ 600 ชื่อ จะได้ค้นหามานำเสนอต่อไป)

ทุเรียนพันธุ์ทั่วไป (พันธุ์พื้นเมือง/โบราณ)
ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผลจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มกบ มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน 3 ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)

ทุเรียนกลุ่มกบมี 46 พันธุ์ ได้แก่ 1. กบแม่เฒ่า 2. กบเล็บเหยี่ยว 3. กบตาขำ 4. กบพิกุล 5. กบวัดกล้วย 6. กบชายน้ำ 7. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) 8. กบสุวรรณ 9. กบเจ้าคุณ 10. กบตาท้วม (กบดำ) 11. กบตาปุ่น 12. กบหน้าศาล 13. กบจำปา (กบแข้งสิงห์) 14. กบเบา 15. กบรัศมี 16. กบตาโห้ 17. กบตาแจ่ม 18. กบทองคำ 19. กบสีนาค 20. กบทองก้อน 21. กบไว 22. กบงู 23. กบตาเฒ่า 24. กบชมพู 25. กบพลเทพ 26. กบพวง 27. กบวัดเพลง 28. กบก้านเหลือง 29. กบตานวล 30. กบตามาก 31. กบทองเพ็ง 32. กบราชเนตร 33. กบแก้ว 34. กบตานุช 35. กบตามิตร 36. กลีบสมุทร 37. กบตาแม้น 38. การะเกด 39. กบซ่อนกลิ่น 40. กบตาเป็น 41. กบทองดี 42. กบธีระ 43. กบมังกร 44. กบลำเจียก 45. กบหลังวิหาร และ46. กบหัวล้าน

กลุ่มลวง มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)
ทุเรียนกลุ่มลวงมี 12 พันธุ์ ได้แก่ 1. ลวง 2. ลวงทอง 3. ลวงมะรุม 4. ชะนี 5. ชะนีกิ่งม้วน 6. ชมพูศรี 7. ย่ำมะหวาด 8. สายหยุด 9. ชะนีก้านยาว 10. ชะนีน้ำตาลทราย 11. มดแดง และ 12. สีเทา

กลุ่มก้านยาว มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)
ทุเรียนกลุ่มก้านยาวมี 8 พันธุ์ ได้แก่ 1. ก้านยาว 2. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) 3. ก้านยาวสีนาค 4. ก้านยาวพวง 5. ก้านยาวใบด่าง 6. ทองสุก 7. ชมภูบาน และ 8. ต้นใหญ่

กลุ่มกำปั่น มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)
ทุเรียนกลุ่มกำปั่นมี 13 พันธุ์ ได้แก่ 1. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) 2. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) 3. กำปั่นแดง 4. กำปั่นตาแพ 5. กำปั่นพวง 6. ชายมะไฟ 7. ปิ่นทอง 8. เม็ดในกำปั่น 9. เห-รา 10. หมอนเดิม 11. หมอนทอง 12. กำปั่นบางสีทอง และ 13. ลุงเกตุ

กลุ่มทองย้อย มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)
ทุเรียนกลุ่มทองย้อยมี 14 พันธุ์ ได้แก่ 1. ทองย้อยเดิม 2. ทองย้อยฉัตร 3. ฉัตร 4. ฉัตรสีนาค 5. ฉัตรสีทอง 6. พวงฉัตร 7. ทองใหม่ 8. นมสวรรค์ 9. ทับทิม 10. ธรณีไหว 11. นกหยิบ 12. แดงรัศมี 13. อีอึ่ง และ 14. อีทุย

กลุ่มเบ็ดเตล็ด ทุเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 5 กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบจะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)
ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี 81 พันธุ์ ได้แก่ 1. กะเทยเนื้อขาว 2. กะเทยเนื้อแดง 3. กะเทยเนื้อเหลือง 4. กระดุมทอง 5. กระดุมสีนาค 6. กระโปรงทอง 7. กระปุกทอง (กระปุกทองดี) 8. ก้อนทอง 9. เขียวตำลึง 10. ขุนทอง 11. จอกลอย 12. ชายมังคุด 13. แดงช่างเขียน 14. แดงตาน้อย 15. แดงตาเผื่อน 16. แดงสาวน้อย 17. ดาวกระจาย 18. ตะพาบน้ำ 19. ตะโก (ทองแดง) 20. ตุ้มทอง 21. ทศพิณ 22. ทองคำตาพรวด 23. ทองม้วน 24. ทองคำ 25. นกกระจิบ 26. บาตรทองคำ (อีบาตร) 27. บางขุนนนท์ 28. เป็ดถบ 29. ฝอยทอง 30 พวงมาลัย 31. พวงมณี 32. เม็ดในยายปราง 33. เม็ดในบางขุนนนท์ 34. ยินดี 35.. ลำเจียก 36. สีทอง 37. สีไพร 38. สาวชมเห็ด 39. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) 40. หางสิงห์ 41. เหรียญทอง 42. ไอ้เข้ 43. อินทรชิต 44. อีล่า 45. อีลีบ 46. อียักษ์ 47. อีหนัก 48. ตอสามเส้า 49. ทองนพคุณ 50. ทองหยอด 51. ทองหยิบ 52. นมสด 53. เนื้อหนา 54..โบราณ 55. ฟักข้าว 56. พื้นเมืองเกาะช้าง 57. มะนาว 58. เม็ดในกระดุม 59. เม็ดในก้านยาว 60. เม็ดในลวง 61. เมล็ดพงษ์พันธุ์ 62. เมล็ดเผียน 63. เมล็ดลับแล 64. เมล็ดสม 65. เมล็ดอารีย์ 66. ย่ามแม่วาด 67. ลวงเพาะเมล็ด 68. ลุงไหล 69. ลูกหนัก 70. สาเก 71. สาวใหญ่ 72. หมอนข้าง 73. หมอนละอองฟ้า 74. หลงลับแล 75. ห้าลูกไม่ถึงผัว 76. เหมราช 77. เหลืองทอง 78. อีงอน 79. ไอ้เม่น 80. ไอ้ใหม่ และ 81. กะเทยขั้วสั้น

อนึ่ง การแบ่งกลุ่มทุเรียน จัดแบ่งตามลักษณะของผล แต่กรณีของชื่อสายพันธุ์ทุเรียน ที่ฟังดูอาจจะชื่อบ้านๆ แปลกๆ จนกลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง (แค่ชื่อก็กินขาด-ขอให้ดูคลิปด้านบนประกอบ-และทวนดูว่ามีชื่อไหนแปลกและถูกใจท่านบ้าง) จากการสอบถาม คุณสุริยัน มิสกร นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ทราบว่าที่มาของชื่อโดยส่วนใหญ่มักตั้งชื่อตามลักษณะของพันธุ์ทุเรียนชนิดนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องชื่อตามชื่อคนปลูกคนแรก หรือไม่ก็ตั้งชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก ฯลฯ ตัวอย่างการตั้งชื่อตามลักษณะพันธุ์ เช่น กลุ่มลวง จะเป็นทุเรียนที่เปลือกเยอะ แต่เนื้อมีน้อย (เหมือนว่าจะมีเนื้อ) ก็เลยตั้งชื่อว่ากลุ่มลวง หรือตั้งตามสถานที่เช่น ทุเรียนพันธุ์จอกลอย (กลุ่มเบ็ดเตล็ด) มาจากนนทบุรี เพราะเป็นทุเรียที่ปลูกในร่องสวนที่มีร่องน้ำ เวลามันหล่น(ลูกเล็ก) ก็จะหล่นบนจอก(จอกแหน)ยังไม่จมเลย จึงเป็นที่มาของพันธุ์ “จอกลอย” หรือตั้งตามชื่อบุคคล จะพบมากในทุเรียนกลุ่มกบ อย่างนี้เป็นต้น

ทุเรียนพันธุ์ส่งเสริม (พันธุ์การค้าในปัจจุบัน)
พันธุ์ชะนี
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีสวย มีสีเหลืองเข้ม การสุกของเนื้อในผลเดียวกันสม่ำเสมอ ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
ลักษณะด้อย ออกดอกติดผลไม่ดี มักพบอาการแกน เต่าเผา ไส้ซึม งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะสำหรับแปรรูป
พันธุ์หมอนทอง
ลักษณะเด่น เนื้อหนา เมล็ดลีบ กลิ่นไม่แรง ติดผลดี ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น (เมื่อสุกงอมเนื้อไม่แฉะ) ไม่ค่อยพบอาการแกน เต่าเผาหรือไส้ซึม คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ในรูปแบบของการแช่แข็ง กวน และทอดกรอบ
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อรากเน่า โคนเน่า เนื้อหยาบ สีเนื้อเหลืองอ่อน (ไม่เข้ม) มักพบการสุกไม่สม่ำเสมอ อาจสุกทั้งผล สุกบางพู หรือสุกบางส่วนในพูเดียวกัน
พันธุ์ก้านยาว
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีเนื้อสม่ำเสมอ เมื่อสุกงอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ติดผลดี พบอาการแกนเล็กน้อย ติดผลง่าย ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
ลักษณะด้อย เปลือกหนา เนื้อไม่ค่อยหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเป็นไส้ซึมง่าย มีอาการเต่าเผาปานกลาง ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าหากมีจำนวนผลมากคุณภาพผลจะไม่ดีและจะทำให้กิ่งแห้งตายในภายหลัง อายุการให้ผลหลังปลูกช้า ผลสุกเก็บได้นาน ก้นผลจะแตกง่าย
พันธุ์กระดุม
ลักษณะเด่น ออกดอกเร็ว ผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีและไม่มีปัญหาไส้ซึม อายุการให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดี ผลดก
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง ถ้าออกผลล่าช้าไปตรงกับการออกผลของพันธุ์อื่นจะมีปัญหาเรื่องตลาด (กรมวิชาการเกษตร)

นอกจากพันธุ์ทุเรียนดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังมีทุเรียนพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ เช่น พันธุ์จันทบุรี 1-10 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทยอยเปิดตัว และมีการรับรองพันธุ์ พร้อมทั้งกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรและพี่น้องประชาชนแล้ว

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตข้าวโพดหวานของประเทศในปี 2562 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ มีนาคม 2562) คาดว่า มีเนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศ 237,700 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 245,629 ไร่ (ลดลง 7,929 ไร่ หรือร้อยละ 3.23) เนื้อที่เก็บเกี่ยว 232,526 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 242,729 ไร่ (ลดลง 10,203 ไร่ หรือร้อยละ 4.20) ผลผลิตรวม 520,603 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งมีจำนวน 535,365 ตัน (ลดลง 14,762 ไร่ หรือร้อยละ 2.76) ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 2,239 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่จำนวน 2,206 กก./ไร่ (เพิ่มขึ้น 33 กก./ไร่ หรือร้อยละ 1.50) ซึ่งภาพรวมผลผลิตลดลงตามการลดลงของเนื้อที่เพาะปลูก โดยเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง เนื่องจากปริมาณในแหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งมีน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรจึงปล่อยเนื้อที่ให้ว่าง ด้านผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในแหล่งผลิตที่ทำการเพาะปลูกได้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ทั้งนี้ ข้าวโพดหวานในประเทศนิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี เป็นส่วนใหญ่ และผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม โดยจะออกมากในเดือนกรกฎาคม ร้อยละ 17.45 ของผลผลิตทั้งประเทศ

หากมองถึงการบริโภคข้าวโพดหวานในประเทศ พบว่า ปัจจุบันการบริโภคข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีการพัฒนาข้าวโพดหวานสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น พันธุ์ทับทิมสยาม ที่สามารถบริโภคสดได้โดยไม่ต้องทําให้สุกก่อน ในขณะที่ข้าวโพดหวานพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องจากผู้บริโภค

ทั้งนี้ ไทยนับว่าเป็นประเทศส่งออกข้าวโพดหวานอันดับ 1 ของโลกมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และจากการที่แหล่งผลิตข้าวโพดหวานในสหภาพยุโรปและทวีปอื่นๆ ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สําคัญของไทยประสบความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (เอลนีโญ-ลานีญา) จึงส่งผลให้ข้าวโพดหวานของไทย ในปี 2561 สามารถส่งออกได้มากถึง 532,370 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7,956 พันล้านบาท โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งส่งออกได้ 489,992 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.65) คิดเป็นมูลค่า 7,662 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84) และคาดว่าปี 2562 การส่งออกจะเติบโตไปในทิศทางบวกเช่นเดียวกันเนื่องจากข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตและมีความต้องการข้าวโพดหวานปรุงแต่งเพื่อส่งออก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ตาม

ในส่วนของการผลิตในประเทศ เกษตรกรควรดูแลคุณภาพผลผลิต และเฝ้าระวังโรคและแมลงที่ระบาดอยู่ใน บางพื้นที่ เช่น หนอนกระทู้ โรคใบลาย โรคใบไหม้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณและผลผลิตได้คุณภาพตามต้องการ

ธ.ก.ส.เผยผลงานปีบัญชี 61 สนับสนุนสินเชื่อรวมแล้วกว่า 6.78 แสนล้านบาท ตั้งเป้าปี 62 อำนวยสินเชื่อรวม 7.70 แสนล้านบาท สินเชื่อเติบโตเพิ่ม 95,000 ล้านบาท และเงินฝากเพิ่ม 60,000 ล้านบาท พร้อมชูนโยบายการปฏิรูปภาคเกษตรเพื่อสร้างความยั่งยืน และ “ธ.ก.ส. Go Green” โดยส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการผลิตอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ปลูก แปรรูป ช่องทางการตลาดและมีมาตรฐานรับรอง พร้อมหนุนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว การต่อยอดธนาคารต้นไม้สู่ชุมชนไม้มีค่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า สร้างความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ปี 61 ปล่อยสินเชื่อกว่า 6.78 แสนล้านบาท
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในบัญชี 2561 (1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562) ว่า ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทแล้ว จำนวน 678,342 ล้านบาท สินเชื่อเติบโต 81,647 ล้านบาท ทำให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1,449,504 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีร้อยละ 5.86 มียอดเงินรับฝากรวม 1,617,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.75 มีสินทรัพย์รวม 1,873,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.47 หนี้สินรวม 1,738,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.80 และส่วนของเจ้าของรวม 135,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 100,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีร้อยละ 7.74 ค่าใช้จ่ายรวม 90,998 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62 และมีกำไรสุทธิ 9,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (ROA) ร้อยละ 0.55 ขณะที่ NPLs อยู่ที่ร้อยละ 3.87 โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 11.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกฎกระทรวงว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.50

ในช่วงปีบัญชี 2561 ธ.ก.ส. ได้ดำเนินนโยบายสำคัญ เพื่อดูแลและพัฒนาเกษตรกรลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรการลดภาระหนี้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปภาคเกษตรตามแนวทางเกษตรประชารัฐ ผ่านโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 2.92 ล้านราย จำนวนเงิน 642,605.82 ล้านบาท และโครงการขยายเวลาชำระหนี้ต้นเงินกู้ (3 ปี) มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2.91 ล้านราย จำนวนเงิน 889,815 ล้านบาท และดำเนินการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติอีก 7 แผนงาน ได้แก่ 1) แผนงานพัฒนาและยกระดับเกษตรกรผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,156,703 ราย มีรายได้เพิ่มมากกว่า 30,000 บาท/ปี จำนวน 837,867 ราย หรือร้อยละ 51.44 และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากกว่า 100,000 บาท/ปี จำนวน 29,911 ราย หรือร้อยละ 1 2) แผนงานพัฒนาและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยมีเกษตรกรและทายาทเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาสู่ Smart Farmer และยกระดับสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs เกษตร เพื่อเป็นหัวขบวนในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การสร้างงานและรายได้ รวม 9,485 ราย 3) แผนงานเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์การเกษตรโครงการตลาดประชารัฐ โดยจัดตลาดประชารัฐในพื้นที่สาขา ธ.ก.ส. ที่มีทำเลเหมาะสมทั่วประเทศ จำนวน 280 แห่ง มีผู้ค้าเข้าร่วมโครงการ 6,974 ราย 4) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2561

มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 1.92 ล้านราย พื้นที่ 27.6 ล้านไร่ โดยจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 128,221 ราย พื้นที่จ่ายค่าทดแทนสินไหมกว่า 1.38 ล้านไร่ เป็นจำนวนเงิน 1,741 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. เข้าถึงประกันภัยทางการเกษตร ร้อยละ 95.82 5) แผนงานสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร (โครงการเงินออมกองทุนทวีสุข/กอช.) มีเกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก จำนวน 1.55 ล้านราย และมีสมาชิกที่ออมเงินต่อเนื่อง ร้อยละ 50.67 6) แผนงานพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรให้เป็นเครือข่ายทางการเงิน จำนวน 1,540 แห่ง และ 7) แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอุดมสุข มีชุมชนเข้าร่วม 928 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการนโยบายรัฐอื่น ๆ เช่น โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าว โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรายย่อยผู้ปลูกข้าว โครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูการทำนา เป็นต้น

ปี 62 ปล่อยสินเชื่อ 3 กลุ่ม มุ่งปฏิรูปภาคเกษตร
สำหรับปีบัญชี 2562 (1 เมษายน 2562 -31 มีนาคม 2563) ธ.ก.ส.ตั้งเป้าอำนวยสินเชื่อจำนวน 770,000 ล้านบาท โดยขยายสินเชื่อเพิ่มจำนวน 95,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรลูกค้า 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม Small ซึ่งเป็นลูกค้าที่ยังคงมีปัญหาด้านเงินทุนและการประกอบอาชีพ เช่น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงิน 13,000 ล้านบาท กลุ่ม Smart หรือกลุ่มลูกค้าทั่วไป รวมถึงทายาทเกษตรกรวงเงิน 44,000 ล้านบาท และกลุ่ม SMAEs หรือผู้ประกอบการด้านการเกษตร กลุ่มสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนที่เป็นหัวขบวนในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต วงเงิน 38,000 ล้านบาท ส่วนด้านเงินฝากมีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 60,000 ล้านบาท จากการออกผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น สลากออมทรัพย์ เงินฝากแบบมีกรมธรรม์และสวัสดิการ กองทุนทวีสุข เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการออมเงินและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ

นายอภิรมย์ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานในปีบัญชี 2562 จะขับเคลื่อนภายใต้แผนการปฏิรูปภาคเกษตร ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้โดรนเพื่อการเกษตร การปลูกพืชโดยระบบน้ำหยด การผสมปุ๋ยใช้เอง เป็นต้น การเปลี่ยนการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น เกษตรแปลงใหญ่ Thai Rice Nama เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการ SMAEs และการเชื่อมโยงด้านการตลาด เป็นต้น

นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนภายใต้หลัก “ธ.ก.ส. Go Green” โดยมีเป้าหมายสนับสนุนชุมชน 400 ชุมชน พื้นที่กว่า 40,000 ไร่ เพื่อร่วมกันผลิตอาหารปลอดภัยและการทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมบูรณาการกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนและผลักดันให้ชุมชนมีการตรวจสอบคุณภาพการผลิตและมีการรับรองมาตรฐาน เช่น GAP Organic Thailand PGA เป็นต้น และต่อยอดโดยการรวบรวมและแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมทั้งสนับสนุนช่องทางการตลาด เช่น ตลาดชุมชน ตลาด อตก.

Modern Trade ร้านอาหาร A-Farm Mart E-commerce และตลาดประชารัฐ เป็นต้น การยกระดับโครงการธนาคารต้นไม้ ธ.ก.ส.สู่ชุมชนไม้มีค่า จำนวน 1,000 ชุมชน โดยสมาชิกชุมชนปลูกต้นไม้มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อยชุมชนละ 20,000 ต้น การพัฒนาผู้ตรวจประเมินมูลค่าต้นไม้ เพื่อเป็นหลักประกันทางสินเชื่อและธุรกิจ และผู้ประเมินการกักเก็บคาร์บอนตามแนวทางโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าชเรือนกระจก (LESS) ให้กับชุมชน จำนวน 4,000 คน รวมถึงการสร้างวิสาหกิจชุมชนจำนวน 400 แห่ง เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไม้ของชุมชน โดยนำวัตถุดิบที่ได้จากต้นไม้ เช่น กิ่งใบ ลำต้น เป็นต้น มาแปรรูปสร้างรายได้แก่ชุมชน ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธ.ก.ส.มีสมาชิกธนาคารต้นไม้ จำนวน 6,827 ชุมชน จำนวนสมาชิก 117,461 ราย มีต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มขึ้นในประเทศแล้วกว่า 11.8 ล้านต้น

การสนับสนุนการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาอาชีพ การลดต้นทุนการผลิต การผลิตอาหารปลอดภัย เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติทางสิ่งแวดล้อม และมิติทางวัฒนธรรมประเพณี จำนวน 3,000 ชุมชน โดยยกระดับชุมชนที่มีศักยภาพพัฒนาไปสู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จำนวน 35 ชุมชน

ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการและเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ธ.ก.ส.ได้พัฒนาการบริการผ่านแอพพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การถอนเงินโดยไม่ใช้บัตร ATM และชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ การซื้อสลากออมทรัพย์และบริการความรู้ด้านการเกษตรต่าง ๆ บริการบัตรเดบิต ธ.ก.ส. ที่สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งเหมาะกับ Lifestyle ของลูกค้ากลุ่มคน รุ่นใหม่ ทั้งสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย การจัดทำบริการบัตรเงินสด การจัดหาเครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนสถาบันการเงินชุมชน รวมถึงบริการเปิดบัญชีด้วยตนเอง ผ่าน ธ.ก.ส. A-Mobile

สำหรับมาตรการในการดูแลเกษตรลูกค้าที่ประสบภัยต่าง ๆ เช่น ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จนส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพทางการเกษตร ธ.ก.ส.ดำเนินการผ่านการให้สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าให้มีเงินทุนสำหรับสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย/โรงเรือนหรือเครื่องมือจักรกลทางการเกษตร หรือฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ และยังเป็นการลด/ป้องกันการก่อหนี้นอกระบบของเกษตรกร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย MRR-2 วงเงินกู้ ไม่เกินรายละ 500,000 บาท

กว่า 40 ปีที่รอคอย ความหวังของราษฎรบ้านแก้งกะอามเริ่มเป็นรูปธรรม เมื่อกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว จังหวัดกาฬสินธุ์

บ้านแก้งกะอาม เป็นหมู่บ้านที่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาภูพาน ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงทำให้เพาะปลูกพืชได้เพียงปีละครั้ง อีกทั้งบางปีที่ฝนทิ้งช่วงก็ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหาย

ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ www.stacyscreations.net จึงได้รวมตัวกันร้องขอให้สร้างอ่างเก็บน้ำผาเสวยตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาวางโครงการพบว่า สามารถที่จะพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางได้ โดยสร้างเขื่อนกั้นลำห้วยหลัวที่บริเวณหมู่ที่ 6 บ้านแก้งกะอาม ต.ผาเสวย สามารถเก็บกักน้ำ