ได้ประมาณ 8.27 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากพื้นที่หัวงาน

และอ่างเก็บน้ำอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพานซ้อนทับป่าสงวนแห่งชาติแก้งกะอาม จำนวน 839 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สงวนไว้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญ กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพื่อศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครบถ้วน รอบด้าน

โดยดำเนินการตามแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งครอบคลุมประเด็นทรัพยากรทางด้านกายภาพ ทรัพยากรทางด้านชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณภาพชีวิต พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการให้มีน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 4,695 ไร่ และฤดูแล้ง 1,403 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้าน ในเขต 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลผาเสวย จำนวน 8 หมู่บ้าน และเทศบาลตำบลลำห้วยหลัว จำนวน 1 หมู่บ้าน โดยจะส่งน้ำให้กับพื้นที่ของราษฎรผ่านคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย และคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการปลูกข้าวในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตมากขึ้น ส่วนในฤดูแล้งราษฎรยังสามารถที่จะเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ แตงโม พืชผัก

ในฤดูแล้งได้อีกด้วย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำห้วยหลัวยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค และมีผลประโยชน์ทางอ้อมต่อทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพื้นที่รอบๆ โครงการอีกด้วย ช่วยให้ลำน้ำห้วยหลัวมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ระบบนิเวศน์ในน้ำ เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น และนอกจากนี้ยังสามารถปล่อยน้ำให้กับน้ำตกแก้งกะอามในช่วงสงกรานต์เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม

การก่อสร้างโครงการก็ส่งผลกระทบต่อราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินอยู่ในบริเวณพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 50 ราย ซึ่งมีความยินดีที่จะเสียสละพื้นที่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และราษฎรที่มีพื้นอยู่ตามแนวคลองส่งน้ำอีกประมาณ 104 ราย ซึ่งหากมีการพัฒนาโครงการกรมชลประทานจะต้องดำเนินการชดเชยความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ในด้านผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติพบว่า พื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำอยู่ในบริเวณชายขอบของอุทยานแห่งชาติภูพาน ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ 342 ไร่ และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าไม้ 524 ไร่

ซึ่งเป็นป่าเต็งรัง พบพรรณไม้จำพวก ไม้เต็ง รัง ประดู่ ตะแบก แดง ติ้ว ไม่พบพรรณพืชที่เป็นพืชหายาก หรือพืชที่อยู่ในสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์ ส่วนด้านสัตว์ป่า จากการสำรวจส่วนใหญ่จะพบสัตว์จำพวกนกมากที่สุด เช่น นกกินปลีอกเหลือง เหยี่ยวปีกแดง นกตะขาบทุ่ง เป็นต้น รองลงมาได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งเหลนหลากลาย กิ้งก่า งูต่างๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป เช่น หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว กระแต กระจ้อน เป็นต้น ไม่พบสัตว์ป่าที่มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าสงวน

ซึ่งก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการจะได้มีการอพยพช่วยเหลือสัตว์ป่าออกจากพื้นที่ก่อน โดยในการศึกษาวิเคราะห์กระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว ได้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ทั้งในระยะก่อสร้างโครงการ ระยะดำเนินการโครงการ งบประมาณจำนวน 46 ล้านบาท แบ่งเป็นแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 14 แผนงาน และแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แผนงาน งบประมาณค่าก่อสร้างเขื่อนและระบบส่งน้ำรวมทั้งสิ้นประมาณ 625.60 บาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

อนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 กรมชลประทาน ได้เปิดทำการปัจฉิมนิเทศโครงการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหลัว ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธาน และนายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน นายสมลักษณ์ ยกน้อยวงศ์ นายอำเภอสมเด็จ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทาน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ ก่อนที่จะนำสื่อมวลชนลงพื้นที่บริเวณจุดที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำลำห้วยหลัว ซึ่งอยู่ติดกับจุดชมวิวผาเสวย ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์

นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยหลัวเป็นอ่างเก็บน้ำที่ประชาชนอาศัยอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาภูพานได้ร้องขอต่อรัฐบาลให้เปิดโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำผาเสวย พร้อมขอให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2519 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายและผลผลิตตกต่ำ ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ฝืดเคือง

ด้านนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหลัวนั้น นอกจากจะสามารถกักเก็บน้ำได้ 8.27 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะทำให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งแล้ว ภูมิทัศน์บริเวณหัวงานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจะสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน และชุมชนโดยรอบ เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสให้มีการจ้างงานส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่อีกด้วย

ขณะที่ นายวิเศษ ตาปา ชาวบ้านขมิ้น ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันชาวบ้านใน ต.ผาเสวย และใกล้เคียงประสบวิกฤติปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สูงไม่มีอ่างเก็บน้ำไว้กักเก็บน้ำอุปโภค บริโภคในช่วงหน้าแล้ง

วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมเตรียมการสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรชาวสวนทุเรียน โดยมีเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนใน 22 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง

ทั้งนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้ชี้แจงทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ แนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทย ที่ปัจจุบันประมาณ 80% ตลาดส่งออกไปยังจีนกำลังได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดและการกีดกันทางการค้า พร้อมรับฟังสถานการณ์การผลิตการตลาดและแปลงใหญ่ทุเรียนในภาพรวม การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกร โดย นายมานพ แก้ววงษ์นุกูล และ นายมนตรี ศรีนิล จากสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย ซึ่งสมาคมฯ เน้นการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายและการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับแนวทางการสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกรเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนระดับประเทศ เสนอให้เริ่มจากการจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนโดยคัดเลือกจากตัวแทนแปลงใหญ่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับเขต ในการคัดเลือกคณะกรรมการระดับประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น วางแผนพัฒนาการผลิตการตลาดร่วมกัน

อนึ่ง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งสมาพันธ์ทุเรียน จากเกษตรกรผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่ง กล่าวว่า จริงอยู่ราคาทุเรียนปัจจุบัน ราคาน่าปลูก แต่สิ่งเกิดขึ้นเราไม่รู้ ถ้าดีแล้วไป ถ้าเกิดปัญหาละ มีคนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ผมก็ว่าน่าจะดี และเราเห็นภาพรวมทุเรียนทั้งประเทศได้ดีขึ้น มีหนทางหลบหลีก ไม่ให้ผลผลิตออกมาชนกัน.

เรียกว่าเกษตรกรและผู้สนใจรอคอยก็ว่าได้ เพราะ 1 ปี เปิดให้สั่งซื้อได้เพียงครั้งเดียว นั่นก็คือ พันธุ์ทุเรียนและพันธุ์ไม้ผลอื่นๆ ที่เพาะขยายพันธุ์ โดยศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ใครที่เฝ้ารอขอให้รีบสั่งซื้อทางโทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน เป็นต้นไป

ต่อไปนี้เป็นคำประกาศจำหน่ายพันธุ์ทุเรียน…

ประชาสัมพันธ์การจำหน่ายพันธุ์พืช ประจำปี 2562 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่วันที่ 11 – 14 มิถุนายน 2562 วิธีการจำหน่าย
1.1 โดยการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ จำนวน 4 หมายเลข ได้แก่

หมายเลขที่ 1 dtac 080-438-1161
หมายเลขที่ 2 true 064-683-6929
หมายเลขที่ 3 ais 093-127-3181
หมายเลขที่ 4 tot 039-434-096
1.2 เริ่มการสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป จนกว่าของจะหมด

1.3 เวลาทำการ ภาคเช้า เวลา 09.00 – 12.00 น. ภาคบ่าย เวลา 13.00 – 15.00 น. เฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้น วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

หลักเกณฑ์การสั่งซื้อ
2.1 ข้อมูลที่ผู้สั่งซื้อต้องแจ้งในการสั่งซื้อ

ชื่อ – นามสกุล
เลขที่บัตรประชาชน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์
2.2 สั่งซื้อได้ 1 สิทธิ์/การโทร 1 ครั้ง บอกข้อมูลในบัตรประชาชน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ผู้สั่งซื้อสามารถซื้อพันธุ์พืชทุกชนิดรวมกัน ไม่เกิน 20 ต้น โดยผู้สั่งซื้อต้องเตรียมข้อมูลชนิดพันธุ์พืชและจำนวนที่ต้องการให้พร้อมก่อนการโทรศัพท์ โดยตรวจสอบชนิดและจำนวนพันธุ์พืชที่จัดจำหน่ายได้ในเว็บไซต์ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

การมารับพันธุ์ไม้
3.1 หลังจากการโทรสั่งซื้อเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะแจ้งลำดับเลขผู้ซื้อ วันและเวลาในการมารับพันธุ์พืชของแต่ละท่าน

3.2 ผู้สั่งซื้อสามารถมารับพันธุ์พืชได้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ตามวันและเวลาที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบแล้วในข้อ 3.1

3.3 ในวันที่มารับพันธุ์พืช มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม ดังนี้

แจ้งชื่อ-นามสกุล และลำดับเลขผู้ซื้อ
ส่งสำเนาบัตรประชาชน
กรอกข้อมูลผู้ซื้อ และพันธุ์พืชที่ต้องการในใบคำขอซื้อพันธุ์พืช
ชำระเงินที่ห้องการเงิน
รับต้นไม้ที่เรือนเพาะชำ

พันธุ์ไม้ที่จำหน่าย
ทุเรียน

พันธุ์ จันทบุรี 1-9
พันธุ์ก้านยาว
พันธุ์ชะนี
พันธุ์กระดุม
พันธุ์พวงมณี
พันธุ์นกหยิบ
พืชอื่นๆ

มังคุด
วานิลลา
พริกไทย พันธุ์ ซีลอนชนิดค้าง / ชนิดพุ่ม
ราคาพันธุ์ไม้ ดังนี้
ทุเรียน (ทุกสายพันธุ์) ราคาต้นละ 50 บาท
มังคุด ราคาต้นละ 25 บาท
พริกไทย ราคาต้นละ 25 บาท
วานิลลา (สูง 1 เมตร) ราคาต้นละ 300 บาท
ข้อปฏิบัติ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

มาตรา 32 : ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ โดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ทรงสิทธิ์ในพันธุ์ใหม่นั้น จึงสามารถอนุญาตให้บุคคลใดใช้สิทธิ์ในพันธุ์พืชใหม่ของตนหรือโอนสิทธิ์ให้ในพันธุ์พืชใหม่ให้แก่บุคคลอื่นได้

มาตรา 33 : กรมวิชาการเกษตร มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการผลิตขายหรือจำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือมีไว้เพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่

มาตรา 64 : ผู้ใดกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 33 หรือ 47 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ที่ซื้อพันธุ์ทุเรียนจันทบุรี 1-9 ปฏิบัติได้ดังนี้
สามารถปลูกต้นทุเรียนในสวนของตนเองได้
ขยายพันธุ์ต้นทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 1-9 เพื่อปลูกในสวนของตนเองได้ แต่ขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายไม่ได้
(ประกาศโดย : ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี /16 พ.ค.62)

เมื่อวันที่ 22 พฤกษภาคม 2562 นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ พร้อมคณะลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำนาท่อม จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่เพาะปลูก ได้แก่ ข้าวและยางพารา ซึ่งมักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่การเกษตรเกือบทุกปี

กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาบรรทัด ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม(โซน C) มากกว่า 500 ไร่ และมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จึงเข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 54 โดยขั้นตอนการศึกษาจะดำเนินตามแนวทางขอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การศึกษาความเหมาะสมโครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิต รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และมีส่วนร่วมของประชาชน

สำหรับพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่” ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ส่วนพื้นที่ชลประทานอยู่ในเขตอำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอเมืองพัทลุง ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีระยะเวลาศึกษา 360 วัน เริ่มตั้งแต่ 18 เมษายน 2562 จนถึง 11 เมษายน 2563

“การพัฒนาโครงการฯ นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่มีปริมาณน้ำมั่นคง ลดความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้ง มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร อีกทั้ง ยังจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่โครงการฯและบริเวณใกล้เคียงให้สูงขึ้น จากผลิตผลทางเกษตรที่จะได้ผลและมีคุณภาพที่ดีขึ้น” รองอธิบดีกรมชประทาน กล่าว (ชมคลิป รองอธิบดี พบ

หลังจากนั้น ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบให้แสดงความคิดเห็น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกเสียดาย เพราะมีความผูกพันกับพื้นที่มาเป็นเวลานาน แต่ก็พร้อมที่จะเสียสละหากกรมชลประทานศึกษาแล้วได้ประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่า แต่ก็อยากให้ช่วยเหลือจัดหาที่ทำกินหรือตอบแทนให้เกิดความพอดี (ชมคลิปได้ที่

อนึ่ง ในวันเดียวกันนี้ คณะของรองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่ไปดูงานก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองนาท่อม ต.อ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ซึ่งการก่อสร้างรุดหน้า 80 % และมีกำหนดแล้วเสร็จ เดือนกันยายน 2562 ก่อสร้างขึ้นเพื่อบริหารควบคุมการผันน้ำจากคลองนาท่อมเข้าสู่คลองระบายน้ำลำเบ็ด (โครงการพัฒนาและบรรเทาอุทกภัยเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง) (ชมคลิปได้ที่ https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/413684172551220/) และยังเดินทางไปที่ฝายนาท่อม ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อน้ำอุปโภคบริโภคของการประปาพัทลุงอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 โครงการที่มาตรวจเยี่ยมนี้ เป็นโครงการที่ได้รับน้ำมาจากอ่างเก็บเก็บน้ำคลองใหญ่โดยตรง ซึ่งอ่างเก็บน้ำจะตั้งอยู่เหนือขึ้นไป

กรมส่งเสริมการเกษตร แสดงผลสำเร็จของการดำเนินการแปลงใหญ่ พร้อมเปิดดาวดวงใหม่ ผลไม้แปลงใหญ่ โกอินเตอร์ ได้แก่ สับปะรดผลสด มะขามหวาน มะพร้าวน้ำหอม โชว์สินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มตลาดส่งออกดี ในต่างประเทศ แนะเกษตรกรรวมกลุ่มทำแปลงใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการผลิต และทำแผนการผลิตครบวงจร

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังการจัดงาน Meet the Press ครั้งที่ 1 “เปิดดาวดวงใหม่ ผลไม้แปลงใหญ่ โกอินเตอร์” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ว่า โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 เข้าสู่ปีที่ 4 ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 70 ชนิดสินค้า จำนวน 5,518 แปลง พื้นที่ 5,542,805 ไร่ เกษตรกร 334,969 ครัวเรือน ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าแปลงใหญ่ กว่า 22,000 ล้านบาท เกิดเครือข่าย การบริหารจัดการร่วมกัน

ซึ่งภาครัฐเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้เกษตรกร สามารถดำเนินการผลิต มีแผนการผลิต ปัจจุบันทุกสินค้ามีตลาดรองรับ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งต้องผ่านโรงงานแปรรูป ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง โดยผลผลิตจากแปลงใหญ่ จะได้ราคาสูงกว่าเกษตรกรรายย่อยทั่วไป เนื่องจากคุณภาพและปริมาณที่ภาคอุตสาหกรรมมั่นใจได้ รวมทั้งสินค้าอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ ยังมีการเชื่อมโยงกับ modern trade ต่างๆ เช่น Tesco Lotus, Tops โดยเฉพาะผลไม้ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ นอกจากขายตลาดในประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีผลไม้ดาวเด่นอีกหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น สับปะรดผลสด มะพร้าวน้ำหอม และมะขามหวาน ที่มีศักยภาพสูงที่จะส่งออก

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานฯ ในวันนี้ ยังแสดงให้เห็นถึง การส่งเสริมการเกษตรของสินค้าดาวเด่น 3 ชนิด ได้แก่ สับปะรดผลสด มะขามหวาน และมะพร้าวน้ำหอม ว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ รวมทั้ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย ที่มาช่วยแนะนำในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และหาตลาดอย่างไร นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณปภาวี สุทธาวิวัฒน์ ผู้แทนจากภาคเอกชนในการส่งออกผลไม้ และว่าที่ร้อยตรี พิทักษ์ พึ่งพเดช เจ้าของแบรนด์ “เดี่ยว บ้านแพ้ว” เกษตรกรแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมที่มาร่วมให้ข้อแนะนำในการผลิตสินค้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร เข้าใจและตระหนักถึงการรักษาคุณภาพ ให้ได้มาตรฐาน พร้อมทั้งแนะวิธีการในการผลิตเพื่อการส่งออก ทำอย่างไรสินค้าเกษตรถึงจะไปสู่ตลาดโลกได้

ปัจจุบัน สับปะรดผลสด เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 35 แปลง เกษตรกร เข้าร่วม 1,622 ครัวเรือน พื้นที่ 32,729 ไร่ มีจังหวัดที่ดำเนินการ 15 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชลบุรี ชัยภูมิ เชียงราย นครพนม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี ลำปาง เลย หนองคาย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

มะขามหวาน เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 16 แปลง เกษตรกรเข้าร่วม 901 ราย พื้นที่ 16,791 ไร่ จังหวัดที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา น่าน อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ

มะพร้าวน้ำหอม เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 11 แปลง เกษตรกรเข้าร่วม 401 ราย พื้นที่ 5,135 ไร่ จังหวัดที่ดำเนินการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร

“ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำตรัง จังหวัดตรัง ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำตรัง ที่ไหลล้นเข้าท่วมในเขตอำเภอเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างมาก”

นี่คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้สรุปให้ สื่อมวลชนได้รับทราบ ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำตรัง ในระหว่างการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรดูงานการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อเร็วๆนี้ ณ จุดที่จะสร้างประตูระบายน้ำ(ปตร.)แม่น้ำตรัง
ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และนำมาซึ่งความเดือดร้อน ในฐานะที่กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบเพื่อดำเนินการแก้ไข จึงได้มีการศึกษาและวางแผนการแก้ไขปัญหาภารใต้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตรัง-ปะเหลียน โดยดำเนินการขุดลอกและขยายลำน้ำเดิม ขุดช่องลัด ขุดคลองผันน้ำ “แต่ปรากฏว่า ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก” รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ซึ่งต่อมาโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น และขุดคลองสายใหม่ เพื่อบรรเทาอุทกภัย กรมชลประทาน โดยสำนักงานบริหารโครงการ ได้จัดทำรายงานวางโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ซึ่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม อุปโภคบริโภค และบรรเทาอุทกภัยได้เป็นอย่างดี “แต่เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำของแม่น้ำตรังมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง เพื่อควบคุมปริมาณการระบายน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง”

คาด ศึกษา EIA แล้วเสร็จ ส.ค.62 เริ่มก่อสร้างปี 64
รองอธิบายกรมชลประทานอธิบายต่อไปว่า กรมชลประทาน จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย อาทิ บริษัท ซิกมา ไฮโดร คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นต้น ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง

สำหรับเหตุผลความจำเป็นในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำตรัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก เข้าข่ายการจัดทำรายงาน EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยในโครงการนี้นั้นจะศึกษา EIA ทั้งพื้นที่รับผลกระทบ ทั้งพื้นที่ก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง,พื้นที่แนวคลองผันน้ำหนองตรุด-คลองช้าง พื้นที่แนวปรับปรุงแม่น้ำตรังบริเวณคอขวด และพื้นที่ช่องลัดน้ำแม่น้ำตรัง รวมถึงพื้นที่ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับประโยชน์ ประกอบด้วยพื้นที่รับประโยชน์คลองระบายน้ำหลากหนองตรุด-คลองช้าง 10,000 ไร่,พื้นที่รับประโยชน์ด้านเหนือประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง 7,600 ไร่ และพื้นที่รับประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัย 59,573 ไร่

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ประตูระบายน้ำแห่งนี้ ตามกำหนดดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2562 นี้ หลังจากนั้นต้องนำเข้าสู่ขบวนการพิจารณา โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานหลักการพิจารณา ซึ่งหากผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้วจะเข้าสู่การกำหนดการก่อสร้าง หากไม่มีปัญหาคาดว่าสามารถก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรังได้ในประมาณปี 2564 นี้” รองอธิบดีกรมชลประธาน กล่าว

อนึ่ง สำหรับการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่น้ำตรังนี้ ทางกรมชลประทานได้มีการกำหนด การชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน ทั้งบริเวณก่อสร้าง ปตร. รวมผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดภายในโครงการ ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 88 แปลง ของประชาชน จำนวน 46 ราย ซึ่งทุกรายพร้อมต่างยินดีและพร้อมเสียสละ เพื่อนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาและสร้างคุณภาพชีวิตของชาวจังหวัดตรังให้ดีขึ้น ด้วยไม่ต้องประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงหน้าฝน

ประโยชน์ที่เกิด สร้างสุขให้กับคนตรัง
สำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนั้น รองอธิบดีกรมชลประทานอธิบายว่า ประตูระบายแม่น้ำตรังจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเข้าสู่ตัวเมืองตรังได้มากกว่า 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที) ในช่วงฤดูน้ำหลาก และทดน้ำเข้าคลองผันน้ำในอัตราที่เหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ อีกทั้ง ยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย” นายเฉลิมเกียรติกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้วางแผนขุดลอก/ปรับปรุงแม่น้ำตรังร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง เนื่องจากพบว่าแม่น้ำตรังบริเวณช่วงสุดท้ายจุดบรรจบกับคลองผันน้ำมีลักษณะคดเคี้ยว เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ดังนั้น เพื่อให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น จะต้องดำเนินการขุดขยายแม่น้ำตรังช่วงท้ายน้ำร่วมกับการขุดช่องลัดแม่น้ำตรัง ด้วยการขุด ใน 4 ช่องทาง ได้แก่

ช่องลัดที่ 1 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมืองตรัง ระยะทางประมาณ 245 เมตร
ช่องลัดที่ 2 (ขุดใหม่) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 563 เมตร
ช่องลัดที่ 3 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 350 เมตร
ช่องลัดที่ 4 (แนวคลองเดิม) บริเวณพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง ระยะทางประมาณ 874 เมตร รวมระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

“ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถย่นระยะทางการระบายน้ำได้มากกว่า 6 กิโลเมตร ช่วยบรรเทาและลดปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองตรังได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในฤดูแล้ง รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในการช่วยผลักดันน้ำเค็มในฤดูแล้ง” รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในที่สุด

เรื่อง/ภาพ : ลุงพร เกษตรก้าวไกล

วันนี้ (30 พ.ค.62) “เกษตรก้าวไกล” เข้าป่ากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นป่าไม้ชุมชนบางเสด็จ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ธนาคารต้นไม้ชุมชนบางเสด็จ” ตั้งอยู่บริเวณวัดท่าสุทธาวาส ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ถือว่าเป็น 1 ในชุมชนต้นไม้ 6,804 ชุมชน ที่ ธ.ก.ส.ให้การสนับสนุน

ในการเข้าป่าชุมชนครั้งนี้ นอกจากจะได้ชมความก้าวหน้าของธนาคารต้นไม้ ซึ่งวันนี้ คุณป้าเพยาว์ แสงประไพ ในฐานะประธานธนาคารต้นไม้ภาคกลาง ได้สาธิตวิธีการวัดต้นไม้ให้ดูชม และ คุณกรสมรรถ เลาพิกานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาอ่างทอง เป็นพี่เลี้ยงที่คอยอธิบายหรือให้ข้อมูลเสริมเพื่อความถูกต้อง เพราะว่าทั้งหลายทั้งหมดวิธีการประเมินแบบนี้ทางธ.ก.ส.จะนำมาใช้ในการประเมินค่าหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรหรือชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่นไปในตัว

หลักการของ ธ.ก.ส.ที่จะพิจารณาว่าต้นไม้ชนิดไหนควรจจะมีค่าหรือมีราคาเท่าไรได้จัดแบ่งประเภทพันธุ์ไม้เศรษฐกิจเป็น 4 กลุ่ม จากทั้งหมด 58 ชนิด โดยใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโต รอบตัดฟัน และมูลค่าของเนื้อไม้ วิธีการนี้ทางคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ศึกษาจัดทำขึ้นร่วมกับธ.ก.ส.และทดลองนำร่องมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นการตอบรับที่ภาครัฐได้มีการปลดล็อกให้มีการปลูกไม้มีค่าเป็นไม้เศรษฐกิจ

กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ เช่น ยูคาลิปตัส สัตตบรรณ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ ยางนา กระบาก สะตอ ฯลฯ
กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง ได้แก่ สัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม มะค่าโมง ฯลฯ

หลักการอีกอย่างของ ธ.ก.ส. www.thehistoryof.net ในการประเมินราคาต้นไม้ที่กำหนดไว้เบื้องต้นคือต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป มีลำต้นตรง 2 เมตรขึ้นไป โดยจะต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินตนเอง และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้นๆ