นอกจากนี้เราจะมีกาละมังใส่น้ำไว้ให้ เพื่อให้ควายดื่มกินอย่างมี

คอกควายอย่าให้แฉะ สุขภาพควายจะได้ดี ถ้าคอกแฉะเราก็จะตักทิ้ง ส่วนขี้ควายชาวบ้านแถวนี้จะมารับซื้อในราคากระสอบละ 50 บาท เราจ้างชาวบ้านบรรจุกระสอบละ 3 บาท

“สรุปแล้ว คนคิดจะมาเลี้ยงควาย ถ้าอยากเลี้ยงต้องเข้าหาผู้รู้ก่อน ไม่ว่าคนเลี้ยงควายที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรศัพท์มาปรึกษาผมได้ที่เบอร์ 089 7155133 หรือมาหาได้ที่คุ้มควายกาฬสินธุ์ อยู่ติดกับศูนย์ฝึกอบรมภูสิงห์ บ้านแก้งนคร หรือชาวบ้านเรียกบ้านน้ำโจก อ.สหัสสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เมื่อเรามีความรู้แล้ว เราต้องมีความรักต่อควาย ต้องขยัน และมีการพัฒนาสายพันธุ์ เราต้องการพ่อพันธุ์ที่มีน้ำหนักประมาณตันครึ่ง เพื่อมาผสมกับแม่พันธุ์ ลูกควายที่ได้จะตัวโต ตลาดต้องการ แม้แต่จีนและเวียดนาม ยังต้องการควายตัวละ 800 กิโลกรัมเป็นต้นไป”

“สูตรสำเร็จเกษตรกรหรือพี่น้องที่จะมาเลี้ยงควายไม่เหมือนกัน อาชีพเกษตรกรไม่ได้จน แต่ต้องลงมือทำเอง ตนลงมือเลี้ยงควายมา มีอะไรมากมายจากวิถีควาย ไปไหนไม่กลัวอดตาย คนอีสานรู้จักผมดี เราต้องมีเครือข่ายที่ดี เราต้องรักกัน เราไม่โกรธใคร โมโหใคร เราก็จะมีแต่คนรัก วิถีควายเป็นวิถีที่พอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 9 เราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขครับ” ดร.ต๋อง กล่าวทิ้งท้ายอย่างภาคภูมิใจ

ในฐานะสื่อมวลชนด้านการเกษตร ต่อวิกฤตโควิด 19 ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เราทุกคนได้รับผลกระทบไปตามๆกัน แต่ในฐานะที่คลุกคลีวนเวียนอยู่กับพี่น้องเกษตรมายาวนาน ทำให้อดคิดถึงและห่วงใยพี่น้องเกษตรกรไม่ได้ เราเคยประกาศถึงแนวทางการทำงานข่าวว่า “เกษตรคือประเทศไทย” พยายามที่จะให้คนไทยทุกคนเห็นว่า ประเทศไทยจะพัฒนาก้าวไกลไปได้ก็ด้วยการเกษตร “ความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญ” (ในหลวง รัชกาลที่ 9) และต่อมาเราประกาศว่า

ในปี 2563 ทีมงานเกษตรก้าวไกล จึงมีมติร่วมกันว่าจะปรับแผนงานใหม่ ตั้งแต่การนำเสนอข่าวสารที่ต้องสอดคล้องกับวิกฤตช่วงนี้ ภายใต้หลักคิด “เราจะรอดไปด้วยกันได้อย่างไร” โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรไทยที่เราไปปลุกขวัญมาอย่างต่อเนื่อง 2 ปีเต็มๆ ว่าเกษตรคือประเทศไทย ซึ่งทำให้เห็นจุดที่เราจะต้องช่วยเสริมหลายอย่าง แต่เมื่อเหตุการณ์มันยังไม่เอื้ออำนวยเราก็ต้องทำในสิ่งที่คิดว่าทำได้ก่อน ด้วยการประกาศแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้จะขอเป็นหุ้นส่วนกับพี่น้องเกษตรกรไทยทั่วประเทศ https://bit.ly/2UBQJll กับภารกิจออกเดินทาง ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย https://bit.ly/3azviac ในปีที่ผ่านมา และในปี 63 ที่เราประกาศว่าจะทำภารกิจติดอาวุธ(ความรู้)ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย (Mission Farmer 2020 https://bit.ly/2X5v9ak) แต่ไม่ทันจะเริ่มดำเนินการก็เกิดโควิด 19 ทุกอย่างก็เลยต้องเปลี่ยนแปลง

แนวทางที่ 1 ช่วยกระจายข่าวสาร เกี่ยวกับการกระจายผลผลิตของพี่น้องเกษตรกร (Market for Farmer) ออกไปสู่ประชาชน (พร้อมที่จะร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน รวมทั้งเสนอบทความข่าวของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ส่งเข้ามา)

แนวทางที่ 2 นำเสนอไอเดีย การใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน การทำงานอยู่กับบ้าน (Work from Home) ทั้งข่าวที่หน่วยงานต่างๆส่งมา เกษตรกรส่งมา รวมทั้งที่จัดทำขึ้นเอง

แนวทางที่ 3 หาผู้รู้มาสาธิตวิธีการที่จะสร้างรายได้เพิ่ม เช่น การตอนกิ่ง หรือการขยายพันธุ์พืชไม้ผลชนิดต่างๆ ที่สามารถทำงานอยู่กับบ้านได้ หรือหลังจากโควิด 19 ผ่านพ้นไป

แนวทางที่ 4 จัดทำคลิปหรือข่าว (Video for Farmer) โดยร่วมมือกับผู้สนับสนุน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

แนวทางที่ 5 ให้คำปรึกษาเรื่องการทำตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) รวมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้อง ให้กับพี่น้องเกษตรกร (Digital for Farmer) และอาจมีการจัดสอนผ่านออนไลน์ในกรณีที่มีผู้ให้ความสนใจเชิงลึกเยอะๆ

#แนวทางพิเศษหลังวิกฤตผ่านพ้นไป จะจัดกิจกรรมติดอาวุธความรู้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย เน้นหลักสูตรที่จำเป็นเร่งด่วน และจะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีกำลังเข้ามามีส่วนร่วม โดยยึดหลักคิด “ห้องเรียนกลางสวน” ตามที่เราได้ทดลองนำร่องไปหลายที่ในปีที่ผ่านมา เน้นแนวทางการฟื้นฟูอาชีพเป็นสำคัญและเจาะจงตามกลุ่มบุคคลและพื้นที่ แต่แนวทางพิเศษนี้เราไม่สามารถทำคนเดียวได้ จึงขอประกาศให้ผู้ที่มีกำลังมาเข้าร่วมกันเยอะๆ ซึ่งจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนก็จะแจ้งให้ทราบกันต่อไป

ท่านที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม…ติดต่อ โทร.ไอดีไลน์ 0813090599 (ลุงพร) อีเมล์ kasetkaoklai@gmail.com ยกเว้นแนวทางที่ 5 กรณีที่ต้องการปรึกษาทางโทรศัพท์ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0659096919 (อาจารย์สายัญ บรรเทิงใจ)

โควิด 19 จะอยู่กับเรานานแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้ เพราะคำตอบอยู่ที่ตัวเราทุกคน…เราพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไทยและเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของสังคม…เราจะสู้ไปด้วยกันครับ

เห็นข่าวคราวตุนอาหารกันอุตลุด ทำให้อาหารบางชนิดแพงหูฉี่ตาลาย อย่างไข่ไก่เป็นที่ถวิลหากันมาก เพราะนำไปปรุงได้ง่ายแสนง่าย บ้างก็ตุนเนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อหมู เนื้อไก่ ฯลฯ อะไรที่ว่าทำกินง่ายๆเล่นตุนกันหมด ทำเอาตู้เย็นที่บ้านต้องทำงานหนัก แถมบางคนนั้นตุนอาหารกันมาข้ามปี อย่างเนื้อสัตว์ที่แช่ไว้ห้องแช่แข็ง ถามว่ามันจะยังกินอยู่ได้ไหม คุณค่าอาหารยังอยู่ครบไหม แถมอาหารสำเร็จรูปบางอย่างนั้นหมดอายุก็มี ไม่ใช่ว่าอยู่ในตู้เย็นแล้วมันจะไม่เป็นไรนะ กินเข้าไปมีโทษต่อร่างกายนะจะบอกให้…

เพื่อให้เข้ากับกระแสของคนที่ชอบตุนอาหาร เรามาดูกันหน่อยว่า อาหารที่ตุนไว้ เน้นเฉพาะที่เก็บตุนไว้ในตู้เย็น เพราะเชื่อเหลือเกินว่าอาหารส่วนใหญ่จะถูกขังอยู่ในตู้เย็น และเกือบทุกบ้านน่าจะมีตู้เย็นแช่อาหารกัน โดยปกติแล้วอาหารแต่ละอย่างมีระยะเวลาในการแช่ตู้เย็นที่แตกต่างกัน ดังนี้:

เนื้อวัว : แช่เย็น 1 – 2 วัน แช่แข็ง 90 วัน
ไก่ : แช่เย็น 2-3 วัน แช่แข็ง 360 วัน
ปลา : แช่เย็น 1 – 2 วัน แช่แข็ง 90 – 180 วัน
ไข่สด : แช่เย็น 30 – 60 วัน
ไข่ปรุงสุก : แช่เย็น 6 – 7 วัน
นม : แช่เย็น 5-6 วัน
โยเกิร์ต : แช่เย็น 7 – 10 วัน
สเต็ก : แช่เย็น 2-3 วัน แช่แข็ง 270 วัน
ไส้กรอก : แช่เย็น 9 วัน แช่แข็ง 60 วัน
อาหารกระป๋อง: ยังไม่เปิดฝา แช่เย็น 360 วัน
เนยถั่วลิสง, ซอสงา : ที่เปิดฝาแล้ว แช่เย็น 90 วัน
กาแฟ : เปิดฝาแล้ว แช่เย็น 14 วัน
แอปเปิ้ล : แช่เย็น 7- 12 วัน
ส้ม : แช่เย็น 7 วัน
ลูกแพร์ : แช่เย็น 1 – 2 วัน
มะเขือเทศปรุงสุก: แช่เย็น 12 วัน
ผักโขม : แช่เย็น 3 – 5 วัน
แครอท, ผักชีฝรั่ง : แช่เย็น 7 – 14 วัน
ฯลฯ
ข้อมูลทั้งหมดอาจไม่ครบถ้วนชนิดอาหาร แต่ก็พอจะนำไปปรับใช้ประโยชน์ได้ และเป็นข้อมูลเดิมๆที่ยังทรงคุณค่า หาอ่านได้จากโลกออนไลน์ แต่ที่นำมากล่าวอ้างกันอีกคราก็เพราะว่าเจ้าโควิด 19 ที่กำลังออกมาอาละวาด ทำให้คนต้องตุนอาหาร ทีนี้คนก็ต้องรู้ว่าถ้ากินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หมดคุณค่าทางอาหาร ก็จะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง พอร่างกายไม่แข็งแรงก็ถูกโควิด 19 โจมตีได้ง่าย สรุปว่าเจ้าโควิดมันต้องการให้คนมีระเบียบวินัย ฝึกให้คนทำงานอยู่กับบ้าน ฝึกให้คนอยู่กับครอบครัว ฝึกให้คนใช้โลกออนไลน์ให้เป็น ฯลฯ

สรุปอีกครั้งก็คือว่า ถ้ากินอาหารที่ตุนไว้นานๆมันก็ไม่มีประโยชน์ และดีไม่ดีเจ้าแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารที่มันค่อยๆเติบโต จะเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกายเราได้ นี่ก็ โหรฟองสนาน จามรจันทร์ ได้โพสต์ข้อความคำทำนายด้านร้ายของเมืองปี 2563 ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “ตั้งแต่ประมาณวันเกิดดวงเมืองที่ 21 เมษายน 2563 เป็นต้นไป-สิ้นปีคนในเมืองควรระวังอาหารการกิน-โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (ทักษาจรเมืองตกภูมิพุธ๔ถ้าเป็นคนมีโฉลก..อย่ากินเนื้อ กินนก จะร้อนอกเจ็บนาภี…)” ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ เอาเป็นว่ากินอาหารให้ถูกสุขลักษณะเป็นดีที่สุด และสู้วิกฤตโควิด 19 ไปด้วยกันนะครับ

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลสำรวจข้อมูลเอกภาพของไม้ผลตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ปี 2563 (ข้อมูล ณ 26 มีนาคม 2563) โดย สศก. ร่วมกับคณะทำงานสำรวจข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก พบว่า ไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง มีผลผลิตรวม จำนวน 995,501ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวน 886,959 ตัน (เพิ่มขึ้น 108,542 ตัน หรือร้อยละ12) โดย ทุเรียน ให้ผลผลิต 550,035 ตัน เงาะ 210,637 ตัน มังคุด 212,345 ตันและลองกอง 22,484 ตัน ทั้งนี้ ผลผลิตจะออกมากช่วงปลายเดือนเมษายน ต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563

สำหรับสถานการณ์ไม้ผลทั้ง 4 ชนิด พบว่า ทุเรียน เงาะ มังคุด ออกดอกแล้วร้อยละ 100 ส่วนลองกองออกดอกร้อยละ 60 ในขณะที่ มังคุด ผลผลิตเพิ่มมากที่สุดร้อยละ 18 ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเติบโต ผลผลิตรุ่นแรกเก็บได้ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2563 และจะออกชุกช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องถึงต้นเดือนมิถุนายน 2563 รองลงมาได้แก่ ทุเรียน ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในช่วงแรกเป็นทุเรียนพันธุ์เบาและทุเรียนที่ใช้สารกระตุ้นการออกดอก โดยจะเป็นพันธุ์กระดุมและหมอนทอง ซึ่งทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมแล้วไปสิ้นสุดฤดูต้นเดือนสิงหาคม 2563 ส่วนผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนเมษายน หลังสงกรานต์ ต่อเนื่องไปถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 เงาะ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ10 ส่วนใหญ่อยู่ในระยะขึ้นลูกและเติบโต โดยเงาะพันธุ์สีทอง ซึ่งแหล่งผลิตอยู่ที่จังหวัดตราด จะออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2563 และเงาะพันธุ์โรงเรียนของภาคตะวันออกจะเก็บเกี่ยวมากในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ส่วน ลองกอง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 โดยคาดว่าจะมีผลผลิตออกมากในช่วงเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้ออยู่ ส่งผลให้ระบบขนส่งภายในประเทศ มีความยากลำบาก ถึงแม้ตลาดปลายทางของจีนจะมีสัญญานความต้องการสินค้าจากไทย โดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด นอกจากนี้ ยังพบว่าล้งปรับเปลี่ยนการรับซื้อผลผลิตทุเรียนแบบเหมาสวน เป็นการเหมาแบบตีราคากันเดือนต่อเดือน ซึ่งเดือนมีนาคม 2563 ราคาเหมาอยู่ที่130-155 บาท/กก. ส่วนราคาเหมาล่วงหน้าเดือนเมษายน ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 อยู่ที่ 115-130 บาท/กก.ซึ่งราคาอยู่ในเกณฑ์สูงเกษตรกรพึงพอใจ ทั้งนี้ ภาครัฐได้แจ้งให้ล้งมีมาตรการป้องกันควบคุมการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับคนงานและลูกค้าอย่างรัดกุมแล้ว

ด้าน นายสุชัย กิตตินันทะศิลป์ ผู้อำนวยการ สศท.6 กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ ตลาดปลายทางต่างประเทศยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในไทย อาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติม นอกเหนือจาก GAP และ GMP เช่น มาตรฐานตรวจรับรองการปลอดเชื้อของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมาตรการรองรับการบริหารจัดการหากเกิดปัญหาการส่งออก โดย ส่งเสริมการบริโภคสดภายในประเทศ เน้นจำหน่ายตรงกับผู้บริโภค การจำหน่ายผ่านหน่วยงานราชการหรือวิสาหกิจชุมชนต่างๆ การแปรรูปสินค้า ซื้อขายผ่านกลไกสหกรณ์การเกษตร รวมถึงตลาด Modern Trade ตลาดกลางสินค้าเกษตรต่างๆ และการซื้อขายผ่านระบบ online ทั้งนี้ข้อมูลเอกภาพของไม้ผลตะวันออก ปี 2563 ได้นำไปใช้บริหารจัดการผลไม้แต่ละจังหวัดแล้ว การบริหารจัดการผลไม้ปีนี้คงต้องติดตามสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลไม้ผลภาคตะวันออกเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรีโทร.

“โลกยุคใหม่ ชนบทคือความทันสมัย”

คือบทสรุปของเราทีมงานเกษตรก้าวไกล จากที่ได้เดินทาง “ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย” ไปทั่วประเทศ “เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั่น” เรามองว่าเกษตรกรกำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดี…

พวกเราทุกคนคงทราบดีว่าวิกฤตเคยเกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนหน้านี้หยกๆ เราถูกยุค disruption ยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้ทำลายล้างหลายอาชีพให้สูญสิ้นไป และก่อเกิดอาชีพใหม่ที่มาแรงมากมาย และมาถึงวันนี้ วิกฤตลูกใหม่มันช่างมาเร็วเหลือเกิน “COVID-19” ได้ออกมาอาละวาดไปทั่วโลก ไม่เพียงทำให้อาชีพใดอาชีพหนึ่งต้องล้มหายตายจาก แต่คราวนี้มันทำให้มวลมนุษย์ชาติต้องล้มหายตายจาก

วิกฤตการณ์นี้ได้ให้บทเรียนแก่มวลมนุษย์มากมาย หันมาดูประเทศไทยเราถือว่ายังโชคดีมากๆ เมื่อเทียบกับหลายประเทศในโลกนี้ เพราะว่าบ้านเรานั้นมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง นั่นก็คือภาคเกษตร และในหลวงรัชกาลที่ 9 “พ่อของเรา” ได้พร่ำสอนให้เราไม่ประมาท ให้มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง

อาจกล่าวได้ ประเทศไทยโชคดี คนไทยโชคดี คนไทยที่ว่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ที่วิกฤตทุกครั้งเราก็ได้ภาคเกษตรคอยรองรับ “เกษตรคือประเทศไทย” จากตัวเลขที่มีการคาดการณ์บอกว่า วิกฤตครั้งนี้จะมีคนตกงานร่วม 7 ล้านคน มากถึง 15 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะเหตุนี้ภาคเกษตรจึงกลับมาทรงพลังอีกครั้งหนึ่ง “เกษตรคือต้นทุนที่ล้ำค่าของเรา” ว่าก็ว่าไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปมากทีเดียว มีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Young Smart Farmer เข้ามาทดแทนเกษตรกรรุ่นเก่าที่เป็นพ่อแม่มากขึ้น ก็หวังว่าอนาคตอันใกล้นี้ เกษตรบ้านเราจะติดปีกบิน ถนนทุกสายจะตัดตรงมาที่ภาคเกษตร มาที่ฟาร์ม มาที่เรือกสวนไร่นา มาที่บ่อปลา คอกวัว คอกหมู คอกไก่ ฯลฯ

ห้องเรียนของมนุษย์ยุคใหม่ จะมาอยู่กลางสวน กลางนา…มหาลัยคอกหมู มหาลัยคอกวัว มหาลัยคอกควาย มหาลัยคอกไก่ ฯลฯ จะเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทดแทนมหาวิทยาลัยยุคเก่าที่ยึดติดห้องเรียน แต่มหาวิทยาลัยยุคใหม่อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ พอๆกันการเกิดขึ้นของโฮมสเตย์ ที่เกษตรกรจะเข้ามามีบทบาทโดยตรง เกษตรกรจะยกระดับจากผู้ผลิตอย่างเดียวมาเป็นผู้ให้บริการเพิ่มอีกก็คราวนี้

ตลาดสินค้าเกษตรที่เคยผูกขาดด้วยพ่อค้าคนกลางก็จะยักย้ายถ่ายเท “ถึงเวลาที่จะทวงโอกาสทางการตลาดให้เกษตรกรแล้ว” คุณสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้ เพราะระบบซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์จะเข้ามาแทนที่ และเกษตรกรสามารถสร้างแบรนด์สร้างตราสินค้าและขายตรงกับผู้บริโภคได้ทันที

ทั้งหลายทั้งหมดมันก็เหมือนความฝัน หลายคนฟังแล้วก็บอกว่ามองโลกในแง่ดีเกินไป (ไม่มีทางเป็นไปได้) แต่นี้คือความท้ายทายครั้งใหม่ที่ไม่เกินความสามารถของพี่น้องเกษตรกรไทย ว่าแต่ภาครัฐที่กุมนโยบายจะต้องปล่อยอำนาจมาสู่เกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้ “มหาอำนาจบ้านนา” เกิดขึ้นเยอะๆ

ยุค disruption ก็แล้ว ยุค “COVID-19” ก็ใช่ จะให้ตายแล้วเกิดใหม่อีกสักกี่ครั้ง เกษตรกรไทยถึงจะร่ำรวยได้สักที…สู้ไปด้วยกันครับ ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว หลังจากที่เราตั้งโครงการ #เกษตรคือประเทศไทย เราก็ได้ออกเดินทางไปตามหาเกษตรกรทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น ภารกิจของเราครั้งนี้ อาจจะยังไม่สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้มากนัก

ต่อมาในปีที่ 2 คือเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา เราก็ได้ดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่อง คราวนี้เราได้ตั้งแนวคิดว่า ตามหายอดมนุษย์เกษตรกรไทย ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี

กระทั่งปี 2563 คือปีที่ 3 นี้ เราก็จะดำเนินภารกิจ “เกษตรคือประเทศไทย” อย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดเสริม ติดอาวุธความรู้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย แต่แล้วเหตุการณ์ COVID-19 ก็มาเยือนมนุษย์โลกแบบไม่ทันได้ตั้งตัว จึงทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักลง

อย่างไรก็ดี จากหลักการทำงานของเราที่ว่า จะขอเป็นหุ้นส่วนกับพี่น้องเกษตรกรไทยทุกคน ก็จะยังคงดำเนินการต่อไป เพียงแต่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์

วันนี้ ผมอยากเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรทุกคน ได้ทบทวนในสิ่งที่ผ่านมาว่าพวกเราจะเดินหน้าต่อไปกันได้อย่างไร “เราจะพลิกวิกฤตโควิดให้เป็นโอกาสได้อย่างไร” รวมทั้งมาช่วยทบทวน(ถ้ามีเวลา)ว่าสิ่งที่เราได้ดำเนินการ 2 ปีที่ผ่านมาว่ามันตรงกับที่ท่านต้องการหรือไม่ ซึ่งเราได้พยายามเชื่อมโยงสังคมชนบทไปสู่สังคมอื่นๆ ทั่วประเทศไทย โดยใช้วิธีการ LIVE สด “เกษตรกรอยู่ที่ไหนเราอยู่ที่นั่น”

(คลิกชม https://www.facebook.com/kasetkaoklai/live_videos/)

อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้สื่อสารออกไป ยังมีการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ เกษตรก้าวไกล เกษตรว้อยซ์ page facebook เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน เกษตรว้อยซ์ และ YouTube เกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน

ขอบคุณ ทุกท่านที่ได้ติดตามมาโดยตลอด และเราสัญญาว่าจะทำหน้าที่สื่อมวลชนเกษตรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ด้วยความรักและห่วงใย

จาก ลุงพร เกษตรก้าวไกล และทีมงานทุกคน (1ุ6 เม.ย. 63) หลังจากตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวนมากกว่า ๑๗๐ คน จากหลายพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ได้มีประกาศจังหวัดภูเก็ตให้ปิดห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และสถานที่เสี่ยงต่าง ๆ ทั้งจังหวัด เพื่อไม่ให้คนออกมารับเชื้อและแพร่เชื้อ ส่งผลกระทบให้สถานบริการ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าต้องปิด รวมถึงตลาดราไวย์ที่เป็นตลาดซื้อขายปลาและสัตว์ทะเลสด ทำให้ชาวเลที่เป็นคนพื้นเมืองจำนวนกว่า ๑,๓๐๐ คน ซึ่งมีอาชีพหลักคือการออกทะเลหาปลาและสัตว์ทะเล แต่ไม่สามารถขายปลาและสัตว์ทะเลได้ จึงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักไม่มีเงินที่จะซื้อข้าวสาร สมาคมชาวยโสธรซึ่งเคยร่วมโครงการทัพฟ้าช่วยชาวนา และเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่มีความพร้อม จึงเสนอการช่วยเหลือในลักษณะการแลกเปลี่ยนข้าวสารไปแลกกับปลาแห้ง แต่ประสบปัญหาเรื่องระยะทางและเวลาที่ใช้ในการขนส่งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนชาวเล

วันนี้ (๑๘ เมษายน ๒๕๖๓) พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้สั่งการให้จัดกำลังพลของกองทัพอากาศ ยานพาหนะ และเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๘ หรือ C-130 ซึ่งมีขีดความสามารถในการบรรทุกได้ถึง ๑๒ ตันหรือ ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัม สนับสนุนโครงการนำร่อง ทัพฟ้าช่วยไทย ต้านภัยโควิด-19 ขนข้าวชาวนา เปลี่ยนปลาชาวเล เพื่อช่วยเหลือชาวเลที่กำลังเดือดร้อนอย่างหนักให้เร็วที่สุด โดยการขนส่งข้าวสารจากจังหวัดยโสธรไปแลกเปลี่ยนปลาแห้งที่จังหวัดภูเก็ต และนำปลาแห้งกลับไปส่งที่จังหวัดยโสธร ในเบื้องต้นกองทัพอากาศได้เตรียมกำลังพล ยานพาหนะ และเครื่องบินไว้พร้อมแล้ว รอการดำเนินการรวบรวมข้าวหอมมะลิและปลาแห้งของแต่ละชุมชน และกำหนดดำเนินการขนข้าวไปแลกปลาในวันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓

โครงการนี้ถือเป็นโครงการนำร่อง เป็นตัวอย่างในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนเมือง หรือประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เคยมีมาแต่โบราณ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีให้แก่ชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ องค์กร และชุมชน ลดภาระของส่วนราชการในการไปดูแลชุมชนดังกล่าว ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่จะสร้างให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ.

อีสท์ เวสท์ ซีด เปิดตัว E–commerce พร้อมทั้งลงขายช่องทาง Market Place อย่างเป็นทางการ ลูกค้าสามารถซื้อเมล็ดพันธุ์ตราศรแดงบน www.sorndaengseed.com และ Lazada เป็นช่องทางการซื้อใหม่พร้อมส่งตรงถึงบ้านคุณ

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันกระแสการซื้อของออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค หรืออื่น ๆ อีกมากมาย เราจึงมองเห็นโอกาสในการให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ผ่านการขยายช่องทางการขายออนไลน์เพิ่มขึ้นไป เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ของเราได้อย่างทั่วถึงมากที่สุด”

“ในช่วงที่ทุกคน อยู่บ้านกันมากขึ้น ไม่ได้เดินทางไปไหน ห่างไกลจากแหล่งสะดวกซื้อ การซื้อของออนไลน์ส่งตรงถึงบ้าน เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำได้ง่ายและสะดวกเพียงปลายนิ้วมือ บวกกับเทรนด์ในการปลูกผักอยู่บ้าน เป็นกิจกรรมภายในครอบครัวที่กำลังมาแรง การซื้อเมล็ดพันธุ์จึงไม่ควรเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป ทางศรแดงเองได้สนับสนุนให้ทุกคนปลูกผักอยู่บ้านกันอยู่แล้ว ได้ทั้งสุขภาพ มีผักที่สะอาดปลอดภัย ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว ตรงกับคอนเซป “ความสุขปลูกได้” ของบริษัทอีกด้วย”

เมล็ดพันธุ์ตราศรแดงของเรา หาซื้อได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น 1.www.sorndaengseed.com 2.แพลตฟอร์มขายของยอดนิยมอันดับต้น ๆ อย่างแอปพลิเคชัน lazada เราเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์รายแรกในไทยที่เปิดการขายผ่านช่องทาง Lazada official หรือที่เรียกว่า Lazmall เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าโดยคลอบคลุมมากที่สุด เพียงค้นหาคำวา ศรแดง ก็จะเจอเราแล้วครับ

ด้าน คุณอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวว่า “ความต้องการและพฤติกรรมการซื้อของของลูกค้าในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในยุคที่ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ทันใจในการซื้อสินค้า ส่งตรงถึงมือในระยะเวลาอันสั้นนั้น นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ทางบริษัทของเรา ต้องก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ปรับตัวให้ทันกับโลก ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ให้ได้ในจุด ๆ นี้ โดยช่องทางการขายออนไลน์ใหม่ของเรา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ www.sorndaengseed.com และแอปพลิเคชัน lazada ภายใต้ชื่อร้าน East-West Seed Thailand ล้วนใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงตามมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ส่งตรงจากโรงงานถึงมือคุณ เพราะเราอยากให้การสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์คุณภาพเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย ให้ทุกคนมีความสนุกกับการลงมือปลูกผักลงกระถางที่บ้านท่าน “เพราะความสุขปลูกได้” ง่าย ๆ ที่บ้านท่านครับ”

ขั้นตอนการซื้อก็สะดวกสบาย เพียงแค่ 1.เลือกสินค้าที่ท่านต้องการลงในตะกร้า 2.กรอกรายละเอียดต่างๆ ตามขั้นตอน 3.ชำระเงิน 4.ลูกค้าจะได้การยืนยันคำสั่งซื้อ และเลขพัสดุต่อไป 5.รอรับเมล็ดพันธุ์ตราศรแดงได้ที่บ้านท่าน

วันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 11.30น. ณ ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วย นางนิศากร วิศิษฎ์สรอรรถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และนางรักใจ กาญจนะวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี รับมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว(ตราศรแดง) จากบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด โดยมี นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป และ นายอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการ ฝ่ายขายและการตลาด เป็นตัวแทนส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผัก เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” และช่วยลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตของประชาชน หากมีเหลือก็แบ่งปันกัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักหลากหลายชนิดให้กับจังหวัดนนทบุรี อาทิ ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา มะเขือแทศ กะเพรา และพริก จำนวน 3,000 ซอง เพื่อนำไปแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชนชาวนนทบุรี ที่จะได้ใช้ชีวิตในช่วงอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ มาทำการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน โดยในช่วงนี้หัวหน้าส่วนราชการทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนชาวจังหวัดนนทบุรีมีความตื่นตัวในการปลูกพืชผักสวนครัวกันเป็นอย่างมาก หลังจากที่กรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดนนทบุรีได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยจังหวัดนนทบุรี มีครัวเรือนเป้าหมายที่อยู่ในแผนปฏิบัติการทั้งสิ้น 132,209 ครัวเรือน ขณะนี้จังหวัดนนทบุรีมีครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วจำนวน 41,719 ครัวเรือน ซึ่งจังหวัดได้กำหนดให้เป็นแผนมาตรการในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้ระดมทุกภาคส่วนรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวให้ครบตามจำนวนเป้าหมาย จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดนนทบุรีมาร่วมปลูกผักสวนครัว ซึ่งจะช่วยสร้างความรักความอบอุ่น ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในครอบครัว และยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและมีผักปลอดภัยไว้ทำอาหารอีกด้วย

นายวิชัย เหล่าเจริญพรกุล กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่เป็นตัวแทนบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด มอบเมล็ดพันธุ์ผักตราศรแดง แก่จังหวัดนนทบุรี เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวจังหวัดนนทบุรี ในแผนปฏิบัติการ 90 วัน “ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” เนื่องจากทางบริษัทได้ดำเนินธุรกิจด้านปัจจัยการเกษตร หนึ่งในธุรกิจหลัก คือธุรกิจเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง

ที่มียอดขายอับดับหนึ่งในไทยและเอเชีย สมัครพนันออนไลน์ อยู่ในตลาดเมล็ดพันธุ์มามากกว่า 30 ปี มีมาตรฐานสินค้าที่ดีที่สุด เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ตลอดจนการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชาชน ดังนั้นบริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด จึงพร้อมให้การสนับสนุน และขอเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการนี้

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Quick win 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน