อย่างไรก็ตาม การพักหนี้จะไม่เกิดประโยชน์และล้มเหลวเหมือน

ที่ผ่าน ๆ มา หากลูกหนี้ ไม่มีรายได้เพิ่มในช่วงดังกล่าว ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้ที่มีนโยบายปฏิรูปภาคเกษตรให้ทันสมัย จึงได้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คัดเลือกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานและมีความเข้มแข็ง มีมาตรฐานในการบริหารจัดการ เพราะถือว่ามีความพร้อมมากที่สุดในการรับนโยบายไปทำงานที่จะเริ่มดีเดย์ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลมีระยะเวลาในการบริหารงานเหลืออยู่เพียงไม่กี่เดือน ทั้งนี้ มีการตั้งชื่อโครงการนี้ว่า “1 สหกรณ์ 1 อำเภอ” โดยมีเป้าหมายให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

ส่วนใหญ่ของสหกรณ์ที่คัดเลือกมาร่วมโครงการนี้ เป็นสหกรณ์ที่รวบรวมผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ผลไม้ โคเนื้อ โคนม และสินค้าแปรรูป เพื่อยกระดับสหกรณ์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมทั้งต่อยอดนโยบายของรัฐบาลในการดูแลและส่งเสริมเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกร การบริหารจัดการสินค้าการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เริ่มตั้งแต่ส่งเสริมเกษตรกรผลิตสินค้าคุณภาพตรงกับความต้องการตลาด การรวบรวมผลผลิตการเกษตรเพื่อนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า และการประสานภาคเอกชนเข้ามาส่งเสริมช่องทางการตลาด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาที่เป็นธรรม มีรายได้และความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

สหกรณ์ที่เข้าร่วมในครั้งนี้จะเป็นสหกรณ์การเกษตรทางด้านข้าวกว่า 462 แห่ง มีสหกรณ์ 200 กว่าแห่งที่มีเครื่องมืออุปกรณ์การผลิต-การตลาดครบ สหกรณ์มันสำปะหลัง 63 แห่ง สหกรณ์ข้าวโพด 60 แห่ง สหกรณ์อ้อย 12 แห่ง สหกรณ์สวนยาง 73 แห่ง สหกรณ์ทำสวนผสม 55 แห่ง สหกรณ์ปาล์มน้ำมัน 27 แห่ง ฯลฯ

“สมคิด” จี้สหกรณ์ใช้นวัตกรรม-ขายผ่านเว็บไซต์

“ถ้าเปรียบเทียบประเทศไทยกับอิสราเอลที่มีประชากร 5-6 ล้านคน ต้องมีคำถามกันว่า เราฉลาดสู้เขาไม่ได้จริงหรือ ?

จริง ๆ แล้วเราขาดความจริงจัง ถ้าเราพัฒนาทุกวัน เราไม่แพ้เขาเด็ดขาด ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ล็อกเราอยู่ 20 ล้านคน ในภาคเกษตร อำนาจซื้อก็ไม่มี ต้องเปลี่ยนใหม่ ทำทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพย์สินของประเทศ ต้องทำให้เป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือต้องทำเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ จะแข่งอย่างไร ? ประเทศเจริญไม่ได้ ถ้ามีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้

ของประชากรในประเทศ เป็นจุดอ่อน อย่ามามัวแต่พูดกัน โครงการที่จะทำต้องอยู่กันได้ก่อน ราคาจำนำข้าวต่อไปต้องใกล้เคียงกับตลาด ชาวนาที่ไม่มีสวัสดิการก็จะสร้างบัตรประชารัฐขึ้นมา รายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปีต้องเกื้อหนุน ธ.ก.ส.พักหนี้ พักดอกเบี้ย ต่อไปจะพักหนี้ให้สหกรณ์ด้วย คือทำอย่างไรจะบรรเทาให้ประชาชนอยู่ได้ สิ่งเหล่านี้รัฐบาลกำลังดูแลอยู่

วันข้างหน้าเขาจะได้ยืนอยู่ได้ แต่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จะปลูกอะไร ต้องลดการปลูกพืชบางอย่าง เพิ่มการปลูกพืชบางอย่างให้การตลาดนำ” นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวและย้ำว่า

วันที่ 1 กันยายนนี้ ให้เริ่มงานกันเลย คิดโครงการขึ้นมา นวัตกรรมใหม่ ๆ จะหวังให้ทุกคนร่วมทำยาก จนกว่าจะเห็นว่า ไม่มีความเสี่ยงสำหรับคนรุ่นเก่า ส่วนคนรุ่นใหม่ “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” ที่กล้าเสี่ยง กล้าหาโอกาส ต้องเข้ามาช่วยคิดแผนงานด้วย ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯก็ต้องคิดออกมาว่าจะปลูกอะไร ธ.ก.ส.ต้องช่วย หอการค้าจังหวัดด้วย นี่คือการปฏิรูปจริง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า เอาเทคโนโลยีมาช่วย เรียนรู้ตลาด

เอาออนไลน์มาช่วยเป็นทิศทาง เหมือนอาลีบาบาเข้ามาส่งสินค้าไทยไปเมืองจีน เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่อย่างนั้น โปรดักทิวิตี้จะไม่ดี อย่างที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่น จีดีพีเกษตรของเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งสูงมาก เพราะใช้เกษตรนวัตกรรมตั้งแต่สินค้าเนื้อยันผลไม้ พืชผัก ขายผ่านเว็บไซต์สหกรณ์ ขายไปทั่วโลก

ดังนั้น สหกรณ์เกษตรของไทย 700 กว่าแห่งที่มา ต้องค้าผ่านเว็บไซต์ได้ ต้องปฏิรูปตัวเอง ทุ่ม 1,700 ล้านเตรียมความพร้อมทำโครงการ

ขณะที่ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการ 1 สหกรณ์ 1 อำเภอ ที่ทำต่อเนื่องกับนโยบายพักหนี้ เพราะต้องการให้เกษตรกรหารายได้เสริม หลังจากทำนาเสร็จแล้ว จะปลูกพืชอะไรเสริม ทั้งการปลูกทดแทนข้าวนาปรัง การปลูกข้าวโพดหลังทำนา ตามนโยบายรัฐบาล (ดูตาราง

ประกอบ) ให้สหกรณ์ที่มา 700 กว่าแห่ง ที่ถือว่าเป็นปลั๊กตัวแรกในการขับเคลื่อน กลับไปวางแผนว่า สิ่งที่คิดไว้จะทำกันกี่ไร่ กี่คน ถ้าไม่มีตลาดก็ไม่ทำเด็ดขาด ต้องไปคุยกับพ่อค้ารายใหญ่มาทำร่วมกับสหกรณ์ ซึ่งโครงการนี้จะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ต่อปีจาก ธ.ก.ส. แก่สมาชิกสหกรณ์เป็นเวลา 3 ปี จากระยะเวลากู้นาน 7 ปี

ล่าสุด กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำโครงการนำร่องปลูกพืชกับสหกรณ์การเกษตรที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ และที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก แห่งละ 3,000 ไร่ ถ้าไปได้ เดือนพฤศจิกายนนี้จะดีเดย์ทั่วประเทศ ที่ผ่านมาเกษตรกรสูงวัยจ้างทุกอย่าง ต่อไป

สหกรณ์จะไปรับจ้างจัดการให้สมาชิก ถ้าต้นทุนต่ำกว่าน่าจะไปได้ ถ้าเท่าเดิมจะไม่ทำ จะเอาพ่อค้าไปซื้อสินค้าจากสหกรณ์ เพื่อสร้างรายได้หลังพักหนี้

รัฐได้จัดสรรงบฯกลางมาให้แล้ว 1,700 ล้านบาท มาช่วยเหลือสหกรณ์ ทั้งการช่วยจัดทำโครงการแผนงานต่าง ๆ บวกกับการกระตุ้นการตลาด การค้าขายของสหกรณ์ใดที่ยังทำไม่ครบวงจรหรือสุดทาง ก็จะช่วยหาผู้ที่รู้มาช่วย เช่น การค้าขายผ่านออนไลน์ ถ้ามีปัญหาอุปสรรคอะไรให้บอกมา สหกรณ์จังหวัดต้องลงไปพิจารณาร่วมว่า กลุ่มสหกรณ์เป้าหมายจะขับเคลื่อนได้หรือไม่ มีจุดอ่อนอะไรบ้าง ขาดเงินทุน ขาดเครื่องจักรกล อุปกรณ์อย่างไร มีคุณสมบัติพื้นฐานครบหรือไม่ มีแผนอย่างไร เพื่อเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

อย่างไรก็ตาม สหกรณ์การเกษตรที่เหลืออีก 3,000 กว่าแห่งไม่ต้องน้อยใจ โครงการนี้ยังจะมีในรอบ 2-3 อีก ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น สหกรณ์ที่คัดเลือกมารอบแรกเพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาแล้วก็อย่าทำเสียโอกาส ในการร่วมงานกันเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้นต่อไป

เกษตรกรพัทลุงเร่งปรับตัว ปลูกสละ-แปรรูป หารายได้ชดเชยราคายางพาราตกต่ำ นักวิชาการการเกษตรชี้เกษตรควรปรับคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ตลาด

นายกอนี วิจารณ์ เจ้าของสวนสละ บ้านทุ่งเหรียง หมู่ 2 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ปลูกสละมาร่วม 6 ปี โดยสละแต่ละกอได้ขยายตัวออกไปเป็นประมาณ 1,000 ต้นในปัจจุบัน จากพื้นที่จำนวน 3 ไร่

นายกอนี กล่าวอีกว่า ได้ปลูกสละสายพันธุ์อินโดนีเซีย 200 ต้น ขณะนี้มีราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาท/กก. สายพันธุ์เนินวงศ์ 800 ต้นราคา 50 บาท/กก. และสายพันธุ์สุมาลีราคา 70 บาท/กก. โดยในด้านการขาย จะมีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงหน้าสวน นอกนั้นขายปลีกในพื้นที่

ปัจจุบันเกษตรกรหลายรายใน จ.พัทลุงได้โค่นยางพาราและหันมาปลูกสละกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด ปลูกแล้วกว่า 200 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์สุมาลี และยังไม่ให้ผลผลิต

“ขณะนี้ในกลุ่มเกษตรกรสละ กำลังหารือพูดคุยกันถึงจะต้องมีการแปรรูปสละเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการตลาด เพราะมีเกษตรกรหันมาปลูกสละกันมากขึ้น” นายกอนีกล่าว

นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ สำนักงานเกษตร จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จ.พัทลุง เป็นแหล่งปลูกสะละรายใหญ่ทางภาคใต้ ประมาณขณะนี้หลักหมื่นไร่ และ จ.พัทลุง มีพื้นที่เหมาะสม ยกเว้นบางพื้นที่เขต 5 อำเภอติดกับทะเลสาบสงขลา

โดยปัจจุบันสละปลูกมาก ที่ อ.ป่าบอน และ อ.ศรีบรรพต และขณะนี้ปลูกทุกอำเภอ สะละมีผลผลิตยังไม่พอกับความต้องของตลาด และตลาดที่สำคัญ จ.ภูเก็ต จ.สตูล และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายไพรวัลย์ อธิบายว่าส่วนตัวเลขเงินหมุนสะพัด ไม่สามารถรวบรวมได้เพราะราคาหน้าสวนกับราคาหน้าแผงต่างกัน โดยหน้าแผงมีราคาตั้งแต่ 100 -120 บาท/กก. แต่หน้าสวนราคา 50–80 บาท/กก. เมื่อประมาณการโดยเฉลี่ยพบว่าสละจะสร้างรายได้ 6,000 บาท/ต้น/ปี โดยสละ 1 กอ จะมีประมาณ 3 ต้น และหากเทียบแล้ว สะละ 1 กอ จะให้ผลตอบแทนเท่ากับยางพารา 1 ไร่

“สละลงทุนมากช่วงแรก จากค่าต้นพันธุ์ ค่าระบบน้ำ นอกจากนี้ประการสำคัญคือต้องพัฒนาคุณภาพ เพราะบางส่วนยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการอยู่ โดยสละ จ.พัทลุง ได้มีการพัฒนาแปรรูปหลายผลิตภัณฑ์ มีตั้งแต่ น้ำสละ สละลอยแก้ว สละผง สละแยม ฯลฯ

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยสงขลาต่อยอดธุรกิจท่องเที่ยว จัด “โครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์สงขลา” หวังดันยอดรายได้ท่องเที่ยวสงขลาทะลุ 50,000 ล้านบาท

นายพิชัย จงไพรัตน์ ประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัด ประมาณ 50,000 กว่าล้านบาท/ปี เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ แต่ทำอย่างไรจะให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ดังนั้นทางสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สงขลา จึงได้จัดโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์สงขลา

เป็นโครงการเชิงรุก และเป็นโครงการแรกของประเทศไทย โดยนำทรัพยากรในท้องถิ่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับวิถีชุมชน ดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกัน ตอนนี้อยู่ระหว่างการเชื่อมโยงเส้นทางชุมชน กลุ่มกิจกรรม และจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยได้นำเสนอโครงการผ่านทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การสนับสนุน ซึ่งโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์นี้ หากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ ให้การสนับสนุนจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เพราะว่าโครงการนี้ไม่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น

“ท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์ เป็นการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น มีการสอนทำอาหารท้องถิ่น ฯ เป็นต้น”

สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งวางแผนจะให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่หลายวันขึ้น จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดสงขลาไม่เกิน 3 วัน ทำอย่างไรให้อยู่นานขึ้นอีก 1 วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร จะมีรายได้เพิ่มขึ้นและทั่วถึง

นายพิชัยกล่าวต่อไปว่า จังหวัดสงขลามีรายได้หลักจากภาคการเกษตร เช่น ยางพารา การประมง หากยางพารามีราคา ภาพรวมเศรษฐกิจการค้าก็ดีขึ้น เพราะคนมีกำลังซื้อ แต่เมื่อยางพาราราคาไม่ดี กำลังซื้อภายในจังหวัดก็ไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สงขลา จึงเติมกำลังซื้อด้วยโครงการท่องเที่ยว 7 วันมหัศจรรย์

นายพิชัยกล่าวถึงภาพรวมการทำกิจกรรมของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลาในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาว่า ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ ทั้งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น เรื่องการค้าออนไลน์ การเน้นสร้างนวัตกรรม และความแตกต่างของสินค้าเพื่อหาจุดเด่น และการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ที่ดีมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (26 ต.ค.2561) ชาวบ้านจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปา หมู่ 4 ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย ประมาณ 100 คน นำโดยนายจันทร์ติ๊บ คำอ้าย ประธานกลุ่ม ไปชุมนุมที่ศาลากลาง จ.เชียงราย โดยถือป้ายข้อความเรียกร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือชาวบ้านที่ขายข้าวอินทรีย์ แต่ไม่ได้รับเงินรวมกันกว่า 3,728,555 บาท

โดยมีป้ายข้อความต่างๆ บางป้ายเรียกร้องไปถึง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีกำหนดจะเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่ จ.เชียงราย วันที่ 29-30 ต.ค.นี้ด้วย

นายจันทร์ติ๊บ กล่าวว่าเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนชาวบ้านได้รับส่งเสริมให้ปลูกข้าวอินทรีย์จากโรงเรียนชาวนาโดยวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย จึงได้รวมกลุ่มกันและเข้ารับการอบรมและปลูกข้าวอินทรีย์โดยไม่ใช้สารเคมีตามหลักการที่อบรมมาทุกอย่าง กระทั่งได้ผลผลิตและส่งให้กับผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนที่มารับข้าวไป

ปลายปี 2560 ชาวนาได้ส่งอินทรีย์ให้วิสาหกิจชุมชนมูลค่ารวมกันทั้งหมด 6,095,829 บาท ปรากฎว่ามีการชำระเงินให้กับชาวบ้านเพียงแค่ 2,367,274 บาท คงเหลืออีกกว่า 3,728,555 บาทที่ยังไม่ได้รับ โดยเฉลี่ยคนมีเงินคงค้างรายละตั้งแต่ 10,000-200,000 บาท

นายจันทร์ติ๊บ กล่าวอีกว่าปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนักเพราะชาวบ้านไม่มีรายได้อื่นนอกจากทำนา ต้องมีเงินหมุนจากการขายข้าวเมื่อจะขึ้นฤดูกาลใหม่และต้องเก็บเกี่ยวข้าวของตน หลายคนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งเรื่องยืดเยื้อมาเกือบ 1 ปี เพราะเคยทวงค่าขายข้าวไปยังผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนแล้วก็ถูกบ่ายเบี่ยงและเลื่อนมาตลอด โดยอ้างว่าติดขัดเรื่องสถาบันการเงิน ทำให้ชาวบ้านหมดความอดทนและไปยื่นร้องต่อหน่วยงานภาครัฐให้ช่วยเหลือดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าต่อมานายลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์ดำรงค์ธรรม จ.เชียงราย พ.อ.พักตร์พงษ์ เงสันเที๊ยะ หัวหน้ากลุ่มงานนโยบายแผนและการข่าว กอ.รมน.จ.เชียงราย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ารับเรื่อง และประสานเร่งด่วนไปยังผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนเพื่อนัดเจรจากับชาวบ้านที่ศาลากลาง จ.เชียงราย ในวันพุธที่ 1 พ.ย.2561 ที่จะถึงนี้

เกษตรกรเมืองตรังแปรรูปถั่วดาวอินคาเป็นสบู่ โลชั่น และชา ส่งออกขายในหลายพื้นที่ สรรพคุณลดสิว ฝ้า ความดันเลือด เบาหวาน และเหน็บชา

นายมณี เพ่งพิศ เกษตรกร จ.ตรัง เปิดเผยว่า ตนและภรรยา ได้ใช้ภูมิปัญญาจากตำราหมอชาวบ้านที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษนำถั่วดาวอินคา ซึ่งเป็นพืชไม้เลื้อยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ โลชั่น และใบชาถั่วดาวอินคา ส่งออกขายในหลายพื้นที่ รายได้ดี

โดยตนทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับถั่วดาวอินคา มานานกว่า 5 ปีแล้ว โดยนำมาแปรรูปเป็นสบู่ซึ่งมี 3 สูตรด้วยกัน สูตรที่ 1 ตัวขัดผิว สูตรที 2 เป็นสบู่ 6 เหลี่ยม เป็นตัวบำรุงหน้า ช่วยแก้สิว ฝ้า และตัวที่ 3 สูตรน้ำผึ้งผสมกับขมิ้นชัน

อีกผลิตภัณฑ์คือการแปรรูปเป็นโลชั่นกันแดด โดยจะใช้ทุกส่วนของถั่วดาวอินคา ไม่ว่าจะเป็น ใบ เมล็ด ฯลฯ ปัจจุบันมีส่งขายตามจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัด เช่น ลพบุรี กรุงเทพฯ เขตปริมณฑล และภาคอีสาน ส่วนภาคใต้ก็จะมี จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ จ.สงขลา จ.ปัตตานี เป็นต้น

นอกจากผลิตภัณฑ์สำหรับการอุปโภคแล้ว ถั่วดาวอินคายังสามารถมาสกัดทำเป็นชาถั่วดาวอินคาได้อีกด้วย เนื่องจากมีการวิจัยและค้นพบว่ามีสรรพคุณช่วยลดความดันในเลือด เบาหวาน ช่วยเรื่องความจำ แก้เหน็บชา ป้องกันข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย

โดยสบู่ถั่วดาวอินคานั้นจะขายในราคาส่งก้อนละ 20-40-50 บาท ตามขนาด ส่วนโลชั่นราคาขวดละ 80 บาท และยังมีชาดาวอินคาขายในราคาส่งถุงละ 50 บาท

วันที่ 22 มกราคม 2562 เวลา 13.30 น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เรื่องสถานการณ์และแนวทางการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/62 ว่า ทางคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/62 ในโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2561/62 ด้วยวงเงินงบประมาณ 45 ล้านบาท

นายณัฐพร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมระหว่างสมาชิกและสถาบันเกษตรกรตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันเกษตรกร เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับสถาบันเกษตรกรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2561/62 กับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจำหน่ายต่อ หรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

รวมถึงเพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรได้มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่หลากหลายยิ่งขึ้นจากเดิมที่แหล่ง รับซื้อส่วนใหญ่จะเป็นประกอบการเอกชน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมหรือรับซื้อและสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตร วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท โดยใช้เงินทุน ธ.ก.ส. ซึ่งทาง ธ.ก.ส. จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี โดยคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแก่ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้ และตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เป็นต้นไป แต่จะต้องไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

วันนี้ (25 มกราคม 2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดตรังเตรียมพร้อมฤดูกล้วยไม้ป่าบานต้อนรับนักท่องเที่ยว ในขณะที่รองเท้านารี โดยเฉพาะสายพันธุ์เหลืองกระบี่ เหลืองตรัง ขาวชุมพร คางกบใต้ ออกช่อบานสะพรั่งให้ได้ชมแล้วในช่วงนี้

นางสาวิตรี ศรีหมอก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ในสังกัดกองขยายพันธุ์พืชกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้ทางศูนย์ฯได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสังกัดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในโครงการได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ป่าต่างๆ มาให้ได้ชม ซึ่งในตอนนี้มีกล้วยไม้ป่าสายพันธุ์เหลืองกระบี่ที่กำลังเบ่งบาน นับว่าเป็นกล้วยไม้ป่าที่ผลิบานเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์

นางสาวิตรี เปิดเผยต่อไปว่า หากนักท่องเที่ยวท่านใดอยากมาสัมผัสสามารถมาชมได้ในช่วงนี้ นอกจากนี้ยังมีกล้วยไม้ขาวชุมพร ช่องอ่างทอง เหลืองตรัง ขาวสตูล ฯลฯ และในช่วงมีนาคม-พฤษภาคม กล้วยไม้ไอยเรศหรือหางกระรอก จะออกช่อบานสะพรั่งเต็มพื้นที่ นอกจากที่กล่าวในกลุ่มรองเท้านารีแล้วนั้น ยังมีกล้วยไม้กล้วยไม้ดินบางส่วน ได้แก่ กล้วยไม้เอื้องแปรงสีฟัน เอื้องเขากวางอ่อน เอื้องสายจำปา ที่ออกช่อบานสะพรั่งเช่นกัน

ปรากฏการณ์ลมวนขั้วโลกเหนือ หรือ “โพลาร์ วอร์เท็กซ์” (polar vortex) ที่ซัดกระหน่ำหลายพื้นที่ในสหรัฐอเมริกากว่าหนึ่งสัปดาห์ ขณะนี้กำลังทำลายเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในการเกษตรและปศุสัตว์ ทำให้ธุรกิจหลายรายถูกแช่แข็งชั่วคราว
รายงานของ “รอยเตอร์ส” ระบุว่า หลายมลรัฐในสหรัฐ ตั้งแต่ภาคตะวันตกกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบภัยหนาวรุนแรงนับตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา มวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเหนือไหลลงมาทางตอนใต้มากกว่าปกติ โดยอุณหภูมิในสหรัฐในบางพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา วัดได้มากถึง -50 องศาเซลเซียส

ทั้งนี้ เกษตรกรหลายรายในรัฐนอร์ทดาโกตาและรัฐไอโอวา รัฐสำคัญในด้านเกษตรและปศุสัตว์ของสหรัฐ กล่าวว่ายังคงเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น

ฟาร์มเลี้ยงหมูเกินกว่า 50% ไม่สามารถรับมือกับอุณหภูมิที่ลดลงต่ำฉับพลันได้ทัน หมูและไก่หลายร้อยตัวแข็งตายท่ามกลางพายุหิมะ เพราะเครื่องทำความร้อนในฟาร์มไม่เพียงพอ

ขณะที่บริษัท Cargill Inc ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของสหรัฐ ปิดโรงงานธัญพืชทั้งหมดในมิดเวสต์ เพราะสภาพอากาศหนาวจัด อุณหภูมิติดลบมากที่สุดถึง -40 องศาเซลเซียส

ทั้งระบุด้วยว่า อาจปิดยาวเป็นสัปดาห์จนกว่าอุณหภูมิจะอุ่นขึ้น เพราะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติส่งผลต่อคุณภาพของธัญพืช ส่วนบริษัท Archer-Daniels-Midland (ADM) ผู้ผลิตข้าวโพดรายใหญ่ในสหรัฐ กล่าวถึงต้นทุนจากการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางขนส่งใหม่ ขณะที่โรงงานเก็บเมล็ดพืชในมิดเวสต์ต้องปิดลงชั่วคราว จนกว่าสภาพอากาศจะดีขึ้นเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ บริษัท Tyson Foods Inc จากรัฐอาร์คันซอ หนึ่งในบริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์รายใหญ่ ปิดโรงงานเนื้อหมู 2 แห่ง ในเมืองวอเตอร์ลู รัฐไอโอวา ส่วนบริษัท Hormel Foods Corp ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารและเนื้อแช่แข็ง ประกาศปิดไลน์ผลิตชั่วคราวในเมืองออสติน รัฐมินนิโซตา ซึ่งเป็นรัฐที่มีอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐ

นายโจอี้ เมเยอร์ เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์แห่งหนึ่งในรัฐนอร์ทดาโกตา กล่าวว่า ปรากฏการณ์โพลาร์วอร์เท็กซ์ กำลังทำให้เนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น เพราะสินค้าขาดตลาด แต่ปัญหาคือเกษตรกรไม่สามารถสนองดีมานด์ของผู้บริโภคได้ เพราะได้รับผลกระทบเช่นกัน ขณะที่ต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อนหลายพันเครื่อง

รายงานระบุว่า ชิคาโกเป็นหนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในสหรัฐ ขณะนี้ค่าใช้จ่ายด้านความร้อนเพิ่มขึ้น 6-7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับปีก่อน ที่เพิ่มขึ้น 1-2%

ทีมวิจัยข้อมูลของ “Accuweather” หน่วยงานพยากรณ์อากาศในสหรัฐคาดการณ์ว่า ความเสียหายจากปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐถึง

14,000 ล้านดอลลาร์ เพราะกระทบในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่การยกเลิกเที่ยวบิน รถไฟ รายได้ของธุรกิจบริการ รวมถึงสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ ขณะที่ในทุก ๆ ปีเทศกาลวันปีใหม่ของจีน สหรัฐคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน แต่สภาพอากาศที่แปรปรวนหนักทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป

นายโจ เมเยอร์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Accuweather กล่าวว่า ที่น่าห่วงคือการที่อุณหภูมิในหลายพื้นที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสูงขึ้นฉับพลันกว่า 60 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่ในตอนนี้ละลาย ถึงตอนนั้นหลายพื้นที่ของสหรัฐจะเกิดอุทกภัย และตามด้วยอุณหภูมิจะกลับมาลดลงต่ำอีกครั้ง ความแปรปรวนนี้จะเกิดขึ้นตลอดเดือน ก.พ.

“แมคคินเซย์ แอนด์ คอมพานี”

บริษัทให้คำปรึกษาชั้นนำกล่าวว่า นอกจากเศรษฐกิจของสหรัฐจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงการบริหารประเทศของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะอยู่ในตำแหน่งอีก 2 ปีก่อนหมดวาระลง โดยเฉพาะการเกิดวิกฤตชัตดาวน์ และสงครามการค้ากับจีน สภาพอากาศเลวร้ายก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ลงอีก

บทเรียนที่เคยได้รับจากปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นรุนแรง เคยเกิดขึ้นในสหรัฐแล้วในระหว่างปี 2013-2014 ซึ่งในตอนนั้นเศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 2.1% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2014 แต่หากเทียบกับปรากฏการณ์โพลาร์วอร์เท็กซ์ในครั้งนี้ ยังไม่มีใครตอบได้ว่าผลของความเสียหายจะรุนแรงมากแค่ไหน

เริ่มจากปรับเปลี่ยนพื้นที่และเลือกปลูกพืชที่กิน ไปพร้อมกับการเปิดใจเรียนรู้และพัฒนาสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนที่พัฒนาตัวเองสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่กับเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานสามารถเลือกซื้อผลผลิตสดๆ จากสวนด้วยตัวเอง สร้างทั้งรอยยิ้มและรายได้ให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

สารคดีเสียงจากแผ่นดิน season4 ep21 วิสาหกิจชุมชนธนาคารหมู่บ้านบกห้องพัฒนา ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ รวมกลุ่มระดมทุน สร้างเครือข่ายอาชีพ เพิ่มรายได้ในชุมชนอย่างแท้จริง

เมื่อชุมชนเกิดปัญหา รายได้ในชุมชนเริ่มไม่สอดคลองกับรายจ่าย การระดมทุนเพื่อสร้างความร่วมมือจึงก่อเกิดขึ้นในชุมชน เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจที่บริหารจัดการโดยคนในชุมชน ต่อยอดพัฒนาสู่อาชีพที่คนในชุมชนถนัด สร้างมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.ตรังว่า หนุ่มวิศวกรไฟฟ้าจูงมือภรรยาสาวจบเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาปลูกเมล่อนและทำฟาร์มเกษตร 4.0 เมื่อสำเร็จแล้วจึงต่อยอดมาปลูกแตงโมพันธุ์ช้างแสดและช้างดำในโรงเรือน มีทั้งชนิดเนื้อสีเหลืองและสีแดง เมล็ดกินได้แถมเป็นยาชูกำลัง ผลตอบรับดีมากจนไม่พอขาย

นายภคิน ไทรงาม อายุ 40 ปี เจ้าของสวนคีพบ๊อกซ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตน ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และภรรยา ที่เรียนจบเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีใจรักด้านการเกษตร จึงนำที่ดินเนื้อที่กว่า 2 ไร่ ที่แต่เดิมคิดว่าจะสร้างคอนโดหรูใจกลางเมืองตรังมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท มาเป็นแปลงเกษตรแบบผสมผสาน เมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มปลูกผักและผลไม้ที่ชอบรับประทานก่อน โดยเฉพาะเมล่อนสายพันธุ์ต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ ขายได้ตลอดทั้งปี

สำหรับในปีนี้ได้นำเมล็ดพันธุ์แตงโมช้างดำ ซึ่งมีเนื้อเป็นสีแดง และช้างแสดซึ่งมีเนื้อเป็นสีเหลืองมาปลูกไว้ในโรงเรือนกว่า 100 ต้น โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 6 แล้ว ใช้เวลาปลูกประมาณ 60-65 วันก็สามารถเก็บขายได้ในราคากิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งแพงกว่าแตงโมทั่วไปถึง 3 เท่า แต่ได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก จนผลิตไม่พอขายและต้องสั่งจองล่วงหน้าแบบรุ่นต่อรุ่น เพราะปลอดภัยจากการใช้สารเคมี ใช้ระบบน้ำหยดทำให้ประหยัดน้ำและไม่มีโรคและแมลงรบกวน

“สำหรับแตงโมช้างแสดและช้างดำ มีข้อดีคือเนื้อละเอียด เมล็ดลีบสามารถกินได้ทั้งเมล็ด แถมยังเป็นยาชูกำลัง บางกรอบ หอมหวานชุ่มคอ ลงมีดแล้วลั่นแตกตามรอยมีด สามารถนำไปทำบิงชู น้ำแตงโมปั่น และทำเมนูอื่นได้ นำออกขายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่พลาดโอกาสซื้อเป็นลูก ส่วนผักและผลไม้อื่น ๆ ยังคงเก็บขายได้ตลอดทั้งปี ที่เหลือนำมาแปรรูปเป็นไอศรีม โยเกิรต์ สร้างรายได้รวมกันแล้วกว่า 100,000 บาทต่อเดือน” นายภคิน กล่าว

นายภคิน กล่าวว่า ล่าสุดมีการนำเมล็ดพันธุ์เมล่อน แตงโมช้างแสดและช้างดำขายให้กับเกษตรกรที่สนใจนำไปปลูก เพื่อสร้างรายได้เสริมในช่วงหน้าแล้งปีนี้ ส่วนเกษตรกรรายใดสนใจสามารถไปศึกษาดูงานได้ฟรีทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ที่ คีฟบ๊อกซ์ฟาร์ม หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-9581181 หรือทางเพจคีพบ๊อกซ์ฟาร์มจ.ตรังก็ได้ ทั้งนี้ ลักษณะเด่นของช้างแสดคือเนื้อกรอบ รสชาติถูกปากลูกค้า ส่วนช้างดำเป็นแตงโมเนื้อสีแดงสามารถกินเมล็ดได้แถมเป็นยาชูกำลัง ลูกค้าสามารถจองผ่านเฟสบุ๊กได้ ซึ่งปลูกในโรงเรือนทำให้ปลอดภัยจากสารเคมี

ต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน บ้านใครบ้านมัน ชุมชนแบ่งเป็น 3 โซน ต้นซอย กลางซอย ท้ายซอย เวลามีงานก็ทำใครทำมัน ส่งผลทำให้ชุมชนไม่เกิดการพัฒนา

ฟังแนวทางการแก้ไขปัญหา นำมาซึ่งอาชีพ สมัคร GClub และรายได้ให้กับคนในชุมชนที่ตั้งอยู่กลางเมืองหลวง “ชุมชนราชทรัพย์บางซื่อ” “เมื่อก่อนปลูกแบบชาวบ้านเฉยๆ ไม่เน้นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ไม่มีกระบวนการผลิต ไม่มีกระบวนการลดต้นทุน ไม่มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เมื่อมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้ว จึงมาเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ องค์ความรู้ ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตเราได้มีโอกาสรวมกลุ่มสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 15 ราย เพิ่มมาเป็น 29 ราย แล้วปี 59 เป็น 52 ราย”