สำหรับการบริหารจัดการผลไม้ของจังหวัดยะลา ซึ่งมีผลผลิต

แบ่งเป็น ทุเรียน 41,507 ตัน มังคุด 4,037 ตัน เงาะ 1,371 ตัน และลองกอง 12,158 ตัน ได้ดำเนินการในทิศทางเดียวกับภาพรวมของการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ โครงการทุเรียนคุณภาพและการบริหารจัดการทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจังหวัดยะลาได้รวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่มากที่สุดในประเทศ จำนวน 16 แปลง เกษตรกรสมาชิก 951 ราย พื้นที่รวม 6,495.50 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 900 กก./ไร่ เป็นผลผลิตจากแปลงใหญ่รวม 5,845.95 ตัน สร้างรายได้ 320 ล้านบาทต่อปี

จากการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ทุเรียนที่ผ่านมาส่งผลให้มีผลการดำเนินงาน 5 ด้าน ดังนี้ 1) การลดต้นทุนการผลิต ลดลง 10.1% จาก 8,616 บาท/ไร่ คงเหลือ 7,750 บาท/ไร่ โดยการใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 2) การเพิ่มผลผลิต เพิ่มขึ้น 8.4% จาก 830 กก./ไร่ เป็น 900 กก./ไร่ โดยการจัดการสวนที่ดีและใช้ปุ๋ยถูกต้อง เหมาะสม

มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการผลิต 3) การพัฒนาคุณภาพ ได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ รับรองสินค้าที่สามารถทำได้ หรือเป็นที่ต้องการของตลาด 4) การบริหารจัดการผ่านกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการเข้าถึงการส่งเสริม

สนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านองค์ความรู้ แหล่งทุน ให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต 5) ด้านการตลาด โดยการเชื่อมโยงการตลาด/การสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกษตรกรสามารถรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกส่งตลาดออนไลน์ Facebook และมีการแปรรูป เช่น ทุเรียนทอด ทุเรียนเชื่อม ทุเรียนกวน เพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด สามารถส่ง จำหน่ายทั่วประเทศโดยทางไปรษณีย์ โดยกลุ่มสามารถกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการจัดทำแผนธุรกิจของกลุ่มที่ชัดเจน

ด้านนายจำนงค์ เพชรอนันต์ เกษตรจังหวัดยะลา กล่าวว่า ทุเรียน นับว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ที่มีเสน่ห์ รูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่น กลิ่นและรสชาติที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน สำหรับจุดเด่นของทุเรียนยะลา คือ สภาพภูมิอากาศ และพื้นที่ปลูกที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเทมีผืนป่า “ฮาลาบาลา” โอบล้อม ทำให้ไม่มีปัญหาน้ำแช่ขัง ทุเรียนจึงมีคุณภาพดี เนื้อแห้ง เนียนนุ่ม รสชาติหอมหวานมัน

จนได้รับฉายาว่า “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” ซึ่งถือเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยพื้นที่ปลูกทุเรียนกว่า 67,000 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยวประมาณ 48,000 ไร่ และมีแนวโน้มการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ให้ผลผลิตรวมกว่า 41,000 ตันต่อปี สร้างรายได้ 1,600 ล้านบาทต่อปี จังหวัดยะลาจึงนับเป็นแหล่งปลูกทุเรียนแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง

นอกจากนี้ ยะลายังได้กำหนดให้ทุเรียนเป็น 1 ในวาระของจังหวัด ยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) ตั้งเป้าหมายให้จังหวัดยะลาเป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง เน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพ ตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นหลัก ด้วยการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูป และที่สำคัญคือให้เป็นศูนย์กลางตลาดค้าส่ง และธุรกิจแปรรูปทุเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่ต้องการยกระดับศักยภาพการแข่งขัน และการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง ส่งเสริมผู้ประกอบการที่เข้มแข็งและพาณิชย์ดิจิตอล พัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจเพิ่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของของคนไทยและสนับสนุนให้มีการขยายตลาดที่มีแบรนด์สินค้าและช่องทางการตลาดที่เป็นของตนเองมากขึ้น ตลอดจนพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรม และมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา

เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนวาระจังหวัดยะลา ยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ทุกอำเภอ ซึ่งมีฐานการเรียนรู้ตามประเด็นต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูทุเรียน การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การจัดการน้ำในสวนทุเรียน การตลาดนำการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากผลผลิตทุเรียน

สำหรับราคาฤดูกาลทุเรียนปีนี้ จังหวัดยะลาได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตและส่งออกสู่ท้องตลาดผ่านพ่อค้าคนกลางหรือ ล้ง รับซื้อทุเรียนไปแล้วกว่า 15% ซึ่งราคารับซื้อขณะนี้ ทุเรียนเกรด AB อยู่ที่ราคา 86 บาทต่อกิโลกรัม เกรด C ราคา 67 บาทต่อกิโลกรัม และตกไซต์ประมาณ 40 บาทต่อกิโลกรัม โดยราคาดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวสวนทุเรียนมีความพึงพอใจกับราคาเป็นอย่างมาก มีรายได้เพิ่มขึ้น

อันเนื่องมาจากทุเรียนมีคุณภาพจากการเข้าไปส่งเสริมพัฒนาให้ชาวสวนได้รับใบรับรอง GAP และโดยเฉพาะการคัดเลือกเกษตรกรแปลงใหญ่เข้าร่วมกับโครงการทุเรียนคุณภาพของสถาบันปิดทองหลังพระฯ เพื่อเชื่อมโยงด้านการตลาด ช่องทางการจำหน่าย รวมถึงความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งได้เข้ามาส่งเสริมตั้งแต่เริ่มฤดูการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนคุณภาพ รวมทั้งนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการไปศึกษาดูงาน และนำกลับมาใช้ปรับปรุงสวนของตนเองต่อไป

ถือเป็นโอกาสดีของผู้ที่คิดจะปลูกทุเรียน “เกษตรอคาเดมี” ในเครือเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล ร่วมกับ สวนเพชรนครไทย จ.พิษณุโลก ได้ฤกษ์เปิดห้องเรียนกลางสวน เรื่องการปลูกทุเรียนนอกถิ่น ปลูกอย่างไรให้รอดและรวย โดย ดร.วีรวุฒิ กตัญญูกุล เจ้าของสวน (ประวัติ/ผลงาน ดร.วีรวุฒิ ค้นหาจาก Google หรือ Youtube) จะถ่ายทอดความรู้ทั้งวิชาการและประสบการณ์ ซึ่งได้ลงหลักปักฐานปลูกทุเรียนมา 12 ปีเต็มๆ จากเริ่มต้นเพียง 5 ต้น เป็น 1,000 กว่าต้นในปัจจุบัน

ดร.วีรวุฒิ กล่าวว่าการปลูกทุเรียนนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากที่จะเรียนรู้ โดยตนเองนั้นเป็นคนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของทุเรียน ต่อมามีการปลูกทุเรียนกันหลายจังหวัด ทั่วประเทศ บางคน บางจังหวัด ปลูกทุเรียนต้นแล้วต้นเล่า ตายแล้วตายอีก เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ…

ดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินแบบไหน ถ้าไม่เหมาะสมจะแก้ไขอย่างไร
ปลูกอย่างไรที่ได้ผลดี หลุมปลูก พันธุ์ปลูก ควรปลูกช่วงไหน ระยะห่างเท่าไร
การปลูกไม้กันลม การปลูกไม้ผลผสม ควรปลูกไม้ผลชนิดไหนดี
การวางระบบน้ำที่ดี ปริมาณน้ำที่ทุเรียนต้องการในแต่ละช่วง
การจัดการสวนทุเรียนตั้งแต่ปลูกใหม่จนอายุ 12 ปี เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโรคแมลง ฯลฯ (ทุเรียนที่สวนมีตั้งแต่อายุ 1-12 ปี)
ฯลฯ

“ผมได้มีโอกาสไปเรียนหนังสือได้รับทุนจากรัฐบาล เมื่อมีความรู้ขนาดนี้ จึงอยากจะถ่ายทอดให้เพื่อนเกษตรกร ซึ่งเขายังลำบากอยู่ ไม่ได้มองเรื่องรายได้หรือกำไรอะไรมาก ก็อยากให้เกษตรกรของเรามีฐานะดีขึ้นเหมือนประเทศอื่นๆเขา ทุกวันนี้เกษตรกรของเราปลูกไม้ล้มลุก ปลูกพืชไร่ ซึ่งต้องปลูกทุกปี แต่ไม้ผลปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 30-40 ปี แต่ต้องมีวิธีบริหารจัดการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะทุเรียนที่ปลูกนอกถิ่น หรือทุเรียนถิ่นใหม่” ดร.วีรวุฒิ บอกถึงความมุ่งมั่น และย้ำว่า บั้นปลายชีวิตแล้ว อยากทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน

วิธีสมัครเรียน ท่านที่สนใจ จองเรียนได้ที่โทร.ไอดีไลน์ 0897877373 (คุณภัทรานิษฐ์) ค่าเรียน 1,800 บาท (พิเศษลดเหลือ 1,600 บาท เฉพาะรุ่นเปิดตัว วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562 และกรณีมา 2 คนขึ้นไป ลดเพิ่มอีกคนละ 200 บาท คงเหลือคนละ 1,400 บาท) ใช้เวลาเรียนรู้ 1 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. (รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเอกสาร) ภาคเช้าจะเรียนทฤษฎี ที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน สวนเพชรนครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งมีห้องประชุมและมุมกาแฟวิวอ่างเก็บน้ำแก่งไฮ และภาคบ่ายจะเรียนกลางสวน ล้อมวงคุย สาธิตวิธีการ เน้นความรู้จากสวนจริง ดูการปลูกในรูปแบบต่างๆ เช่น ปลูกทุเรียนร่วมสะตอ ไผ่ เงาะ มะม่วง ฯลฯ กรณีที่ผู้เรียนต้องการพักค้างคืนจะมีที่พักในราคามิตรภาพ ซึ่งจะเหมาะเหมาะแก่การมาเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ

เปิดเรียนวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2562…ขอให้รีบลงทะเบียนเรียนล่วงหน้านะครับ หมายเหตุ : หลังจากสมัครแล้วทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี คุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ โทร.ไอดีไลน์ ยืนยัน 0897877373

เรื่องราวการเปิดสอน “ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ น้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์” โดยเจ้าของสูตรผู้เป็นต้นตำรับคือ อาจารย์ป้าสิรินารถ และ อาจารย์ลุงตระการ ทรงสายตระกูล หลายท่านคงได้ฟังและรับรู้กันมาบ้างแล้ว เพราะว่าเป็นสูตรที่ลือลั่นมีผู้สนใจมาเรียนจากทั่วประเทศ เดิมนั้นเปิดสอนเป็นประจำที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน แต่ด้วยความอาวุโสของวิทยากร ไม่สามารถที่จะสอนแบบเดิมได้ เพราะว่าลูกหลานต้องการให้พักผ่อนอยู่กับบ้านบ้าง เนื่องจากเปิดขายที่ร้านมา 15 ปี และสอนอีก 15 ปี รวมเป็น 30 ปี

เมื่อเป็นเช่นนี้อาจารย์ทั้งสองท่านจึงงดทำการสอนแบบประจำ ยกเว้นเมื่อต้นปี 2562 มานี้ ได้มาสอนให้เป็นกรณีพิเศษกับ “ลุงพร สอนอาชีพ” เป็นการสอนให้กับกลุ่มผู้เรียนที่อ่านจากหนังสือเคล็ดลับจากครู ภาคพิเศษ 2 “อาหารง่ายเงินดี 1 วันทำได้” ที่ลุงพรได้เป็นผู้รวบรวมสูตรจากวิทยากรต่างๆ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้มีสูตรข้าวมันไก่ฮ่องเต้อยู่ด้วย (ปัจจุบันหนังสือไม่มีขายในร้าน แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งที่เก็บไว้ และผู้สนใจติดต่อได้เบอร์โทร.เดียวกับจองเรียนข้าวมันไก่) ซึ่งเดิมนั้นลุงพรได้แนะนำผู้อ่านให้ไปเรียนที่ศูนย์อาชีพฯ มติชนอยู่แล้ว แต่เมื่ออาจารย์ทั้งสองงดสอนประจำ จึงเป็นที่มาของการเปิดสอนเป็นกรณีพิเศษที่หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์-ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

การเปิดสอนดำเนินไปได้ประมาณ 10 รุ่น โดยในการสอนประมาณ 5-6 รุ่น จะมีอาจารย์ป้าสิรินารถและอาจารย์ลุงตระการมาเป็นวิทยากรหลัก และทุกครั้งจะมี คุณบุญญา พงศาปาน เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ จน 4-5 รุ่นหลังมานี้ทางคุณบุญญา สามารถสอนเดี่ยวได้ ซึ่งทางอาจารย์ป้าและลุงได้ถ่ายทอดวิชาความรู้จนหมดสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องสูตรและวิธีการทำที่ทำออกมารสชาติเหมือนกันทุกครั้ง ยกเว้นที่ไม่เหมือนกันคือประสบการณ์ แต่ก็ได้บอกกับผู้เรียนทุกคนว่า หากมีอะไรจะสอบถามเจ้าของต้นตำรับตัวจริงก็ไม่ติดขัด ทางอาจารย์ป้าและลุงพร้อมจะตอบคำถามและแนะนำเพิ่มเติมอย่างเต็มที่…

ข้าวมันไก่ฮ่องเต้ สอนอะไรบ้าง?
วกมาที่เรื่องการสอนข้าวมันไก่ฮ่องเต้ ว่ามีหัวข้อการสอนในเรื่องอะไรบ้าง

เริ่มต้นจาการรู้จักวัตถุดิบที่จะมาทำข้าวมันไก่และน้ำจิ้ม ว่าวัตถุดิบแต่ละตัวหาซื้อที่ไหน ราคาเท่าไร มีหลักในการเลือกซื้ออย่างไร
ขั้นตอนการหุงข้าวมันไก่ ข้าวสารที่ใช้เป็นแบบไหน สูตรที่ว่าหุงข้าวไม่ซาวนี้เป็นอย่างไร ดีกว่าสูตรอื่นตรงไหน
การหุงข้าวหม้อไฟฟ้า มีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรบ้าง เช่น การใช้ไม้พายคนข้าว ทำไมต้องคนไปทางเดียวกัน
การต้มไก่ การต้มเลือด และเครื่องใน โดยเฉพาะการต้มไก่นั้นทำไมต้องยกขึ้นลงในน้ำร้อนเดือดจัด 15-25 นาที
การทำน้ำซุป มีกรรมวิธีอย่างไร
การทำน้ำจิ้มสูตรมหัศจรรย์ มันมหัศจรรย์ตรงไหน ส่วนผสมมีอะไรบ้าง
การสับไก่ การเสิร์ฟ รวมทั้งการแนะนำเปิดร้าน ต้นทุน กำไรต่างๆ
รุ่นต่อไปกำหนดสอนวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 ตั้งแต่เวลา 09.30-15.30 น. ณ หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

วิธีสมัครเรียนข้าวมันไก่ฮ่องเต้…
สอบถามรายละเอียดและสมัครเรียนได้ที่ โทร.-ไอดีไลน์ 089 7877373 (คุณภัทรานิษฐ์) หลังจากสมัครแล้วทำการโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด เลขที่บัญชี 142-2-33729-4 ชื่อบัญชี คุณภัทรานิษฐ์ จีระประเสริฐ…ค่าเรียนท่านละ 2,500 บาทเหมือนเดิม และมั่นใจว่าเรียนจบบินได้ทันที (ทำได้ทุกคน)

ออ..เกือบลืมบอกไปว่า ถ้ารุ่นนี้ผ่านไปแล้ว รุ่นต่อไปจะมีเมื่อไรอีก ก็ตอบได้เลยว่าจะเปิดสอนเดือนละประมาณ 1 ครั้ง ยกเว้นมีผู้ต้องการเรียนเร่งด่วนก็อาจจะเปิดรอบเสริม…สรุปว่าอยากรู้ว่ารุ่นต่อไปวันไหนก็ให้ไลน์ถาม หรือโทร.คุย นะครับ.

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่บริเวณบึงแท่น หมู่ที่ 7 ตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการจัดกิจกรรมโครงการ ปั่น ปล่อย ปลูก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา และองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง โดยมี ว่าที่ ร.ต.อภินันท์ เผือกผ่อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิด ท่ามกลางแขกผู้เกียรติจากส่วราชการต่างๆ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

นายนรินทร์ สุวรรณบริรักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า การปลูกป่าในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปั่น ปล่อย ปลูก เป็นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ระยะที่ 4 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งนี้ สำนักงานธ.ก.ส. จังหวัดนครราขสีมา ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปี 2554 ในพื้นที่ทั้งหมด 1,200 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความดูแลของ องค์การส่วนตำบลสำพะเนียง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ธ.ก.ส.

“ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯมาแล้วรวม 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2554 ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 184 ไร่ คิดเป็นต้นไม้จำนวน 36,800 ต้น ได้แก่ ไม้แดง ยางนา ประดู่ กระถิน เทพา พยุง มะค่าโมง สัก สะเดา นนทรี และหญ้าแฝก การดำเนินโครงการในระยะที่ 1 มุ่งหวังเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าและเป็นแหล่งอาหาร รวมถึงไม้ใช้สอยให้กับชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ระยะที่ 2 ปี 2555 ดำเนินการปลูกต้นไม้ทั้งสิ้น 1,100 ต้น โดยในระยะที่ 2 นี้ เป็นการปลูกซ่อมแซมในพื้นที่เดิมที่ต้นไม้ไม่เติบโต และขยายพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นเป็นเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และระยะที่ 3 ปี 2556 ได้ดำเนินการ 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การมอบพันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติทนต่อดินเค็มจำนวน 26,000 ต้น ได้แก่ ขี้เหล็ก แคนา สะเดา และมะพร้าวน้ำหอม เพื่อปลูกในพื้นที่ 130 ไร่ และกิจกรรมที่ 2 การก่อสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์ เรือนเพาะชำกล้าไม้ และศาลาอเนกประสงค์ รวมสองกิจกรรมใช้งบประมาณจำนวน 2,810,500 บาท”

“ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ ได้ก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ชุมชนสามารถนำผลผลิตจากป่าไปประกอบอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขี้เหล็ก สะเดา ลูกตาล และไข่มดแดง นอกจากนั้นต้นไม้ที่เติบโตขึ้น ยังสามารถนำมาเป็นไม้ใช้สอยในครัวเรือนได้ด้วย เช่น ต้นไผ่ ต้นตาล ก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกในการปลูกป่าและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” นายนรินทร์ กล่าว

นายนรินทร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปลูกป่าในกิจกรรมโครงการ ปั่น ปล่อย ปลูก ครั้งนี้ เป็นการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องในระยะที่ 4 ซึ่งธ.ก.ส. สาขาโนนแดง และ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดนครราชสีมา ได้สำรวจพื้นที่ป่าร่วมกัน พบว่า พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เติบโตได้ดี แต่มีพื้นที่บางส่วนที่ต้นไม้หักโค่นเองตามธรรมชาติ และบางส่วนต้นไม้ไม่เติบโตเนื่องจากเกิดความแห้งแล้ง จึงทำให้เกิดพื้นที่ว่างเป็นหย่อม ๆ ในผืนป่า หากได้มีการปลูกป่าเสริมเพิ่มเติมในพื้นที่ว่างดังกล่าว ก็จะช่วยให้ผืนป่าเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ มีต้นไม้เติบโตเต็มโครงการ ตรงตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของโครงการฯอย่างแท้จริง ดังนั้น ธ.ก.ส.สาขาโนนแดง และสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ระยะที่ 4 ขึ้นเพื่อทำการปลูกป่าเสริมในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งซ่อมแซมอาคารอเนกประสงค์ ให้อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้ในระยะยาว โดยโครงการการในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง และชุมชนอุดมสุขสาขาโนนแดง

ขณะที่ นายจักรภพ ศรีสุวรนันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธ.ก.ส. สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในการดำเนินการตามระยะที่ 4 นั้นจะเน้นกิจกรรมปลูกต้นไม้ซ่อมเสริมพื้นที่ป่าเดิมที่ไม่เจริญเติบโตและปลูกเพิ่มในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อให้เป็นป่าผืนเดียวกัน จำนวน 1,000 ต้น อาทิ ต้นยางนา ขี้เหล็ก สะเดา ไผ่ ฯลฯ พร้อมกันนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ใหญ่ความสูงประมาณ 3 เมตร บนถนนที่เข้าสู่โครงการจำนวน 150 ต้น และยังมีกิจกรรมบูรณะอาคารอเนกประสงค์อีกด้วย

“หลังเสร็จสิ้นการดำเนินการในระยะที่ 4 แล้ว ทางธ.ก.ส.จะส่งมอบผืนป่าให้ชุมชนดูแลรักษาต่อไป ดังนั้นจึงขอฝากประชาชนในพื้นที่ได้ช่วยกันดูแลรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ให้ก่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไม่ว่าในด้านการฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมและเพิ่มพื้นที่ป่าให้แก่ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน และการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความรักความหวงแหนต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม” นายจักรภพ กล่าว

ด้าน นายวรากรณ์ พุฒิพงศ์พยอม นายกอบต.สำพะเนียง กล่าวว่า การที่ ธ.ก.ส. เข้ามาจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาที่บึงแท่นมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงระยะที่ 4 ในวันนี้ ได้สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก สำหรับการดูแลรักษาป่าแห่งนี้ต่อไปนั้น ทาง อบต.สำพะเนียงจะทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลอย่างเต็มที่ ภายใต้มาตรการที่เป็นข้อตกลงของชุมชน เช่นการปลูกป่าเพิ่มเติมให้มากขึ้นด้วยการใช้นโยบายปลูกป่า 1 ต้น ตกปลาได้ 1 วัน โดยประชาชนที่จะเข้ามาตกปลาในบึงแท่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมาในการมอบพันธุ์ปลามาปล่อยเลี้ยง จะต้องนำต้นไม้มาปลูกคนละ 1 ต้น จึงจะสามารถเข้ามาตกปลาเพื่อนำไปทำเป็นอาหาร และมาตรการอื่นๆ เพื่อสร้างประโยชน์และความยั่งยืนจากโครงการที่หน่วยงานต่างๆได้เข้ามาดำเนินการในครั้งนี้

กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดโชว์ระบบการขึ้นทะเบียนข้อมูลเกษตรกร มั่นใจฐานข้อมูลการเกษตร มีระบบรับรองและตรวจสอบได้ นอกจากนี้ปัจจุบันยังสามารถวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล ได้ประมาณ 100 ล้านไร่

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึง การขึ้นทะเบียนเกษตรกรถือเป็นหน้าที่ที่เกษตรกรทุกคนควรถือปฏิบัติ โดยหลังจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับสมุดทะเบียนเกษตรกร เพื่อเป็นเอกสารใช้แสดงสถานภาพการเป็นเกษตรกร ยืนยันความเป็นเกษตรกร โดยเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอปรับปรุงข้อมูลการทำการเกษตร หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง ตามที่ตั้งแปลงปลูกพืชของตัวเอง และที่สำคัญเกษตรกรจะต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตามกรอบระยะเวลาการปลูกพืช โดยปกติปรับปรุงหลังจากการปลูก ไม่น้อยกว่า 15 – 60 วัน ตามแต่ละชนิดพืช และหากเกษตรกรไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี (นับถัดจากวันที่ 23 มิ.ย 60 ถึง วันที่ 22 มิถุนายน 2563) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เกษตรกรจำนวนนี้จะสิ้นสถานภาพการเป็นเกษตรกรทันที และทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจากโครงการของรัฐบาล

ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีการตรวจสอบด้วยระบบโปรแกรมทั้งการตรวจสอบข้อมูลบุคคลกับสำนักทะเบียนราษฎร กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลชื่อ สกุล สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการตรวจสอบเนื้อที่เพาะปลูกของเกษตรกรจากการวาดผังแปลงเพาะปลูก (ผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล) โดยซ้อนกับผังแปลงกับกรมที่ดิน สปก. และภาพถ่ายดาวเทียม โดยมีการวาดผังแปลงแล้ว จำนวน 13,824,739 แปลง คิดเป็นพื้นที่กว่า 100 ล้านไร่ (คิดเป็น 72 % ของพื้นที่การเกษตรประมาณ 139 ล้าน) ซึ่งข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ได้สามารถนำมาใช้ในการวางแผนภาครัฐทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อให้ตอบสนองกับการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายมากขึ้น เช่น การตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร ที่มีพื้นที่ที่ถูกต้อง สามารถเข้ารับสมัครฝึกอบรม เพื่อรับสิทธิ์ซื้อสารเคมี ตามมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดได้ โดยการตรวจสอบที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำ การตรวจสอบแปลงเพาะปลูกเพื่อยืนยัน การเพาะปลูกหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบด้วยระบบดิจิทัลแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรยังมีการตรวจสอบทางสังคม โดยให้คนในชุมชนร่วมกันตรวจสอบกันเอง การนำข้อมูลการเพาะปลูกของเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ไปปิดประกาศในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นเวลา 3 วัน เพื่อยืนยันหรือคัดค้านว่ามีการเพาะปลูกจริงในชุมชนนั้นหรือไม่

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาและนำเครื่องมือ เทคโนโลยี มาปรับปรุงวิธีการรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร รวมทั้งการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดทำ Application FARMBOOK หรือ สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล เพื่อลดภาระในการเดินทาง ซึ่ง แอพฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถแจ้งปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนได้ด้วยตนเอง ผ่าน Smart Phone และสามารถติดตามสิทธิ์โครงการช่วยเหลือจากภาครัฐ และให้เจ้าหน้าที่สามารถวางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดของสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันสามารถดาวน์โหลด Android และ iOS และเริ่มใช้งานผ่านระบบด้วยการใช้เลขที่ในทะเบียนเกษตรกร หรือหมายเลขโทรศัพท์ ที่ใช้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ 2 นำเครื่อง GPS มาใช้จับพิกัด วัดขนาดพื้นที่ และวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล นอกจากนั้นยังมี Application FAARMis สำหรับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลออกให้บริการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรนอกสถานที่โดยสามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ทั้งเกษตรกรรายใหม่ และเกษตรกรรายเดิม

สำหรับ ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ประกอบด้วย ข้อมูล 9 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน 2. สมาชิกในครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร 3. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งที่เป็นของตนเอง ที่ดินเช่า ประเภทเอกสารสิทธิ์ เลขที่เอกสาร และเนื้อที่ตามเอกสาร 4. การประกอบกิจกรรมการเกษตร (ประเภทกิจกรรมการเกษตร/ วันที่ และเนื้อที่ปลูก /วันที่และเนื้อที่ที่จะเก็บเกี่ยว 5. การเข้าร่วมโครงการภาครัฐ 6. รายได้ 7. หนี้สิน 8. เครื่องจักรกลการเกษตร 9. แหล่งน้ำ นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการใช้ประโยชน์จากทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นข้อมูลหลักสำหรับการทำงานของกรมฯ ช่วยตอบโจทย์โครงการต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงไปสู่ระบบของหน่วยงานอื่น รวมทั้งที่มีหน่วยงานต่างๆ ขอใช้ประโยชน์จากข้อมูลขึ้นทะเบียนเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรจะยึดหลักการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดต่อไป.

สยามคูโบต้า เปิดตัวเลขยอดขายครึ่งปีแรก 27,000 ล้านบาท มั่นใจสามารถปิดปีได้ตามเป้าที่ 60,000 ล้านบาท เผยกลยุทธ์ นำนวัตกรรมการเกษตรแบบครบวงจรเป็นโซลูชั่นสำคัญในการตอบโจทย์ เกษตรกรในยุคดิจิทัลควบคู่กับการรุกจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวแคมเปญการตลาดล่าสุด “ช้างศึก” (CHANGSUEK EDITION) เอาใจแฟนบอลไทย ตั้งเป้าอีก 5 ปีข้างหน้ายอดขายทะลุ 100,000 ล้านบาท

นายฮิโรโตะ คิมุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ผลประกอบการในครึ่งปีแรกของปี 2562 สยามคูโบต้ามียอดขายอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท แบ่งเป็นในประเทศ 17,000 ล้านบาท และต่างประเทศ 10,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 60:40 เติบโตขึ้นประมาณ 9 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่ม

ราคาพืชหลักอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงานคนในภาคการเกษตร อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงครึ่งปีแรก ได้แก่ แทรกเตอร์ขนาด 57 แรงม้า รุ่น MU5702 ซึ่งเจาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ผสม ติดตั้งระบบคูโบต้า นวัตกรรมอัจฉริยะ KIS (KUBOTA Intelligence Solutions) และเครื่องหยอดข้าว รุ่น DS10 เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ในส่วนของตลาดต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกตลาดหลักยังคงเป็นประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

ในปี 2562 บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 60,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ประมาณ 12 % ซึ่งคาดว่าในปี 2562 บริษัทฯ จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าเกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้นจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยสภาพอากาศ ระบบการจัดการน้ำ นโยบายด้านการเกษตรที่วางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ตลอดจนนวัตกรรมการเกษตร ขณะที่สถานการณ์ในตลาดต่างประเทศ สยาม
คูโบต้ายังคงเป็นอันดับ 1 ที่ส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตร พร้อมตั้งเป้านำกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จในไทยไปปรับใช้ในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะงานขายและบริการ พร้อมชูประเด็นสินค้าครบวงจร และอุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานในกลุ่มพืชหลัก ทั้งนี้ สยามคูโบต้าตั้งเป้าหมายอีก 5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณ 10 % โดยในปี 2567 จะมีมูลค่ายอดขายรวมประมาณ 100,000 ล้านบาท และเน้นการทำตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งตลาดในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50 : 50

“ปัจจุบันรูปแบบการทำเกษตรของญี่ปุ่นมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการรวมกลุ่มทำเกษตรแปลงใหญ่ และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วย อีกทั้งเกษตรกรมืออาชีพ (Smart Farmer) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คูโบต้า

ญี่ปุ่นจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สมัคร Genting Club เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจการทำเกษตรมากขึ้น อาทิ ระบบจัดการฟาร์ม (KSAS: Kubota Smart Agri System) เทคโนโลยีไร้คนขับ (Autonomous Agricultural Machinery) โดรนฉีดพ่นเพื่อการเกษตร (Spraying Drone) ซึ่งสยามคูโบต้าจะร่วมพัฒนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย และประเทศในแถบอาเซียนต่อไป” นายคิมุระ กล่าวเพิ่มเติม