ในตอนท้าย ลุงพร กล่าวว่า การเดินทางจะเริ่มต้นจากภาคอีสาน

ต่อด้วยภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลาง “การเดินทางครั้งนี้ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วม หรือออกเดินทางไปด้วยกัน เพียงช่วยกันติดแฮชแท็ค #เกษตรกรคือยอดมนุษย์ หรือติดตามผ่านผ่านสื่อออนไลน์ในเครือเกษตรก้าวไกล ก็จะสามารถทราบความเคลื่อนไหวตลอดการเดินทาง” และได้กล่าวขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนสำคัญให้การจัดงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสหกรณ์การเกษตร จันทบุรี แนะนโยบายรัฐชุดใหม่ ยึดเกษตรกรเป็นหลัก ลดเอื้อกลุ่มทุน พยุงราคาสินค้าเกษตร ลดต้นทุนการผลิต

นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันปาล์ม ปัจจุบัน โรงงานรับซื้อ อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.20 บาท แต่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3.38 บาท เห็นได้ชัดว่า เกษตรกรอยู่ในภาวะขาดทุน ในไทย เกษตรกรไม่สามารถตั้งราคาผลผลิตเองได้ แต่พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนด อยากให้กระทรวงพาณิชย์ สร้างความเป็นธรรมให้กับสินค้าราคาเกษตร ไม่ใช่เปลี่ยนกลไกตลาดเพื่อกลุ่มทุน รวมทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต

การหาเทคโนโลยี วิธีการต่างๆ มาช่วยเกษตรกร ตัวอย่างที่ผ่านมาความไม่แน่นอนจากนโยบายการใช้สารเคมีเกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส หารลดปริมาณนำเข้าโดยไม่มองความเป็นจริง ทำให้ราคาสารเคมี 3 ตัวแพงขึ้นทันที ทั้งๆ ที่กระทรวงฯ ควรดูแลเกษตรกร ต้องมองเห็นความจำเป็นสำหรับเกษตรกร ไม่เชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ทั้งๆ ที่ไม่มีผลต่อสุขภาพในเกษตรกรกลุ่มปาล์ม เพราะใช้มานานกว่า 40 ปี ควรเน้นการให้ความรู้ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เพราะยังไม่มีสารทดแทน รวมทั้ง สารเคมี กลูโฟซิเนต ที่แนะนำให้ใช้แทนนั้น จะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีผล

ลกระทบในระยะยา และราคาแพงกว่า 5 เท่า นับเป็นการทำร้ายเกษตรกรและผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม

ด้านสหกรณ์การเกษตรจังหวัดจันทบุรี นายอนุวัฒน์ อิ่มสมบูรณ์ เลขานุการ และเป็นผู้ปลูกทุเรียนส่งออก กล่าวเสริมว่า นโยบายเกษตรของรัฐบาลชุดใหม่ อยากให้เน้นเรื่องมาตรการส่งออก ภาษี และแรงงาน เนื่องจากปัจจุบัน รัฐบาลสามารถดำเนินการเรื่องราคาสินค้าเกษตรในส่วนของผู้ผลิตทุเรียนได้ดีแล้ว แต่ความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายการใช้สารเคมีเกษตรกร กลับส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิต ที่ขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว เนื่องจากกระแสข่าวการใช้สารเคมีเกษตร ทำให้เกิดการกักตุน ราคาสูงขึ้น สารเคมีผิดกฎหมายถูกนำเข้ามามากขึ้น แนวทางแก้ไขที่เหมาะสม ควรเป็นการให้คำแนะนำเรื่องการใช้ มากกว่าการยกเลิกหรือลดการนำเข้าอย่างถูกกฎหมาย จึงอยากให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจกับกระบวนการผลิตของเกษตรในแต่ละพืชปลูกให้ดี ก่อนออกมาตรการดังเช่นที่ผ่านมา ซึ่งเรียกว่า “เกาไม่ถูกที่คัน”

นายทนงศักดิ์ ไทยจงรักษ์ กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสรุปว่า สถานการณ์ปัญหาของกลุ่ม คือ การกีดกันทางภาษี และการค้าในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากปัญหาศัตรูพืชและภัยแล้งธรรมชาติ ดังนั้น การจัดการเรื่องมาตรการส่งออกสินค้าเกษตร ควบคู่ไปกับการวางแผนระบบชลประทานเพื่อภาคการเกษตร จะช่วยเกษตรกรได้มากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกในพื้นที่ระบบชลประทานเข้าถึงได้ เพราะที่ดินมีราคาสูง

จึงต้องเพาะปลูกในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้ง ศัตรูพืชที่มีอยู่ตลอดช่วงการเพาะปลูก ทำให้จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเกษตรกรข้าวโพดหวานส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตร GAP แล้ว ผลผลิตจึงอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่ต้องกังวล ดังนั้น นโยบายที่ออกมาจำกัดการใช้สารกำจัดวัชพืช จึงเป็นต้นเหตุและมีปัญหาต่อต้นทุนการผลิต เกษตรกรเห็นด้วยกับภาครัฐที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการใช้อย่างถูกต้อง แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร ต้องให้เวลาจัดการแบบค่อยค่อยไป ทำให้เกษตรกรยอมรับที่จะปรับตัว จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนที่สุด

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จับมือ 3 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมการข้าว กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm กระตุ้นเกษตรกรไทยทำเกษตรแบบไม่เผา ผ่านเกษตรกรต้นแบบ การปาฐกถาพิเศษ กิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบปลอดการเผา ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้าจัดงานสัมมนา Agri Forum ขึ้น ซึ่งเป็นงานสัมมนาครั้งใหญ่ประจำปีที่สยามคูโบต้าได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรไทย ได้พัฒนาการทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุด โดยในปีนี้ งานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดการเผา ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด The World of Unburnt Farm โดยได้จับมือกับ 3 พันธมิตรหน่วยงานภาครัฐในเรื่องข้าว อ้อย และสินเชื่อเพื่อเกษตรกร รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันเชิงนโยบายและการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร ซึ่งตั้งเป้าพื้นที่ภาคการเกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้ปลอดการเผา 100% ภายในระยะเวลา 3 ปี

ในงานสัมมนา Agri Forum 2019 เกษตรปลอดเผา มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 Showcase Best Practice: หัวข้อ ถ้าวันนั้น…ไม่หยุดเผา การสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบในการปลูกข้าวและอ้อยแบบปลอดการเผา ที่เปลี่ยนจากการทำการเกษตรแบบเดิมมาเป็นแบบรักษ์โลก ช่วงที่ 2 Government Policy: Lecture of Pollution Problem and Policy ปาฐกถาพิเศษจากผู้แทนภาครัฐด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร โดย กรมการข้าว หัวข้อ ข้าวไทย..ไปต่อไม่รอแล้วนะ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หัวข้อ ชาวไร่อ้อย 4.0 ของ มัน ต้อง เป็น และสยามคูโบต้า หัวข้อ Zero Burn Solution: เทคโนโลยีเกษตรปลอดการเผาเพื่ออนาคต และ ช่วงที่ 3 Panel Discussion: หัวข้อ Agri Circular Economy คิดก่อน…(เผา)…ทิ้ง เสวนาที่ช่วยสร้างความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (ดิน,อากาศ) และสุขภาพ เพื่อเพิ่มรายได้จากการนำสิ่งเหลือใช้มาสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยกรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสยามคูโบต้า

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดการเผา การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว ใบอ้อย และใบข้าวโพด โดยแบ่งออกเป็น 2 โซน ได้แก่ โซน Zero Burn Solution ด้วยวิธี KUBOTA (Agri) Solutions พืชข้าวและอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร Machinery Solutions และองค์ความรู้ด้านการเกษตร Knowledge Solutions มาปรับใช้ และโซน Zero Burn Benefits นิทรรศการให้ความรู้และประโยชน์ของการทำเกษตรแบบปลอดการเผา จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรทั่วประเทศเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการทำเกษตรที่ไม่เผา ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว

นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสยามคูโบต้า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริม และทำกิจกรรมร่วมกันในการสนับสนุนชาวนาทำเกษตรแบบปลอดการเผา โดยกรมการข้าวได้วางมาตรการหลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้ชาวนา 2.การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3.มาตรการทางกฎหมาย โดยในปี 2562 นี้มีเป้าหมายนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท และปทุมธานี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศ ซึ่งในงานสัมมนา Agri Forum 2019 กรมการข้าวได้ร่วมนำเสนอด้านนโยบายและโครงการสนับสนุนเกษตรปลอดการเผาเพื่อเกษตรกร

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพ จึงได้นำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติรับทราบและเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 โดยจะดำเนินการใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.มาตรการทางกฎหมาย 2.การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ และ 3.มาตรการภาคสมัครใจ นอกจากนี้ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า องค์กรชาวไร่อ้อย สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เพื่อกำหนดแนวทางจัดการเกษตรแบบปลอดการเผาในอ้อย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาอีกด้วย สำหรับงานสัมมนา Agri Forum 2019 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้เกษตรกรได้เห็นอุปกรณ์ เทคนิคและนวัตกรรมให้นำไปปรับใช้ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน ที่จะนำไปสู่การเกษตรแบบปลอดการเผาอย่างยั่งยืน

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 และ 10 กรกฎาคม 2562 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับสยามคูโบต้า เพื่อกำหนดแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในการปล่อยสินเชื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ในโครงการเกษตรปลอดการเผา นอกจากนี้ธนาคารยังมีผลิตภัณฑ์สนับสนุนโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม ได้แก่ สินเชื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Credit) สินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรสู่ความยั่งยืน ซึ่งในงานสัมมนา Agri Forum 2019 ธนาคารพร้อมที่จะสนับสนุนและดูแลเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปลูกข้าวโพดที่ยังไม่มีเจ้าภาพในขณะนี้ เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างการรับรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์แนวโน้มการตลาดของสินค้าเกษตรในปัจจุบันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นควบคู่ไปกับการช่วยลดปัญหามลพิษ

2 ส.ค.2562–พล.อ.ต.ประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ เจ้ากรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ เป็นประธานเปิดงาน “เกษตรปลอดภัย ก้าวไกลกับทัพฟ้า” โดยมีนายมนตรี เอราวรรณ์ นายกสมาคมชาวยโสธร กล่าวรายงาน มีเครือข่ายพี่น้องเกษตรกรเข้าร่วมคับคั่ง ที่สนามธูปะเตมีย์

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เนื่องด้วยกองทัพอากาศได้มีการส่งเสริมและทำกิจกรรมต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและทำแปลงทดลองในการแก้ปัญหาภัยแล้งแก่เกษตรกร รวมถึงได้จัดหาช่องทางการจำหน่ายแก่เกษตรกรที่มีความพร้อมทั้งสินค้าทั่วไปและการแปรรูป

ภายในงานมีการออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรเครือข่ายกองทัพอากาศและเกษตรกรจากจังหวัดยโสธร รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะนำสินค้ามาจำหน่ายผลผลิตด้านการเกษตรของปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกร และบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

ชวนเที่ยวงาน ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2562 ณ สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ท่านอาจารย์พิศ หมอยาดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ท่านนายกสมาคมชาวยโสธร แขกผู้มีเกียรติ และพี่น้องเกษตรกรที่รักทุกท่าน

กองทัพอากาศ โดยท่านพลอากาศเอกชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ได้เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรทุกท่าน โดยเฉพาะปัจจุบันภาคการเกษตรประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

กองทัพอากาศมีภารกิจสำคัญในการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการฝนหลวง ด้วยการจัดทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะปีนี้พบว่าเกิดสภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศยังมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนพื้นที่จัดจำหน่ายผลิตผลให้กับพี่น้องเกษตรกร นับตั้งแต่โครงการทัพฟ้าช่วยชาวนา เมื่อครั้งชาวนาประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งพี่น้องชาวนาสามารถจำหน่ายข้าวโดยตรงได้มากกว่า 140 ตันเลยทีเดียว

ต่อมา กองทัพอากาศยังได้จัดงานใหญ่ภายใต้แนวคิด เกษตรตามรอยพ่อ สานต่อที่พ่อทำ ในงาน “กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา” เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา โดยการรวบรวมปราชญ์เกษตรมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเปิดพื้นที่ให้พี่น้องเกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายในงาน เป็นการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำให้กับภาคเกษตรได้เป็นอย่างดี

ทั้ง 2 งานที่กองทัพอากาศจัดขึ้น ได้ใช้พื้นที่ของสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปเตมีย์) แห่งนี้เป็นที่จัดงาน และครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้ง ที่กองทัพอากาศเล็งเห็นปัญหาของเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง จึงได้จัดโครงการ “กองทัพอากาศช่วยเหลือเกษตรกรสู้ภัยแล้ง” และจัดงาน “เกษตรปลอดภัย ก้าวไกลกับทัพฟ้า” ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายเป็นเวลา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม

ในนามกรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องเกษตรกร องค์กรที่เกี่ยวข้องทุกท่าน จะประสบความสำเร็จในการประกอบการในการมาร่วมงานในครั้งนี้

ขอขอบคุณทุกภาคส่วน เกษตรกรเครือข่ายกองทัพอากาศ ที่ร่วมกันจัดงานครั้งนี้ และขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการงานที่ท่านได้ดำเนินการอยู่ทุกท่านครับ

ด้วยความขอบคุณ

พลอากาศตรีประสิทธิ์ ยิ้มเจริญ เจ้ากรมสวัสดิการทหารอากาศ “หากชีวิต คิดอยากจะชาร์ตแบต เพื่อเพิ่มพลัง” การท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง นับเป็นคำตอบที่ดีมากสุดๆ ดังเป็นที่รู้แก่ใจของทุกคน ท่ามกลางความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้น “การท่องเที่ยวเชิงเกษตร” นับเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจยิ่ง การได้ไปสัมผัสบรรยายกาศของเรือกสวนไร่นา การได้สัมผัสเรียนรู้วิถีเกษตรของผู้คนในสาขาอาชีพต่างๆของภาคการเกษตร รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเพียบพร้อมในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ คืออีกหนึ่งความสุขที่จะหาได้อย่างง่ายๆ

เที่ยวได้ง่ายๆ ด้วยแอฟ..เกษตรเช็คอิน
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในวันนี้ สามารถไปง่ายเที่ยวง่าย ชิม ช๊อป แชะได้อย่างสุดหรรษา เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาจนทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดขึ้นในทุกจังหวัด โดยเพียงแค่ดาวโหลด “Application เกษตรเช็คอิน” ซึ่งเป็น Application ที่กรมส่งเสริมการเกษตร จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบบหลากกิจกรรม หลายบรรยากาศ และมากมายสถานที่

ด้วยในวันนี้ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเฉพาะในวิสาหกิจชุมชนต่างๆ นับเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้องชมในทั่วประเทศถึง 55 แห่ง ซึ่งล้วนแต่มีความงดงามน่าสัมผัส น่าตื่นตาตื่นใจทั้งสิ้น

แล้วจะรู้อย่างไรว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแต่ละแห่งนั้น มีมาตรฐานพร้อมสำหรับรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวได้ จุดนี้ขอเพียงให้สังเกตหรือสอบถาม โดยตรงว่า วิสาหกิจชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นได้รับ ตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) หรือไม่

เพราะตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) คือเครื่องหมายมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด โดยวิสาหกิจชุมชนที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ตามมาตรฐานนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 ข้อ คือ หนี่ง เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินการในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน สอง มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สาม มีกิจกรรมการเกษตรหรือมีนวัตกรรมด้านการเกษตรที่โดดเด่น ห้า มีความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว หก การคมนาคมสะดวก เจ็ด ใกล้แหล่งท่องเที่ยวหลักหรือท่องเที่ยวธรรมชาติ และแปด ชุมชนหรือนักท่องเที่ยวร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มหัศจรรย์สันเขาผลไม้ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันเขา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) ตั้งอยู่ที่ 3/1 หมู่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ 08-9642-1461 เป็นหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ต้องชมของกรมส่งเสริมการเกษตร และได้รับตราสัญลักษณ์ A (Agrotourism) ซึ่งพร้อมให้ทุกคนได้มาสัมผัสกับบรรยายกาศภายใต้สีสันความมหัศจรรย์แห่งสันเขาผลไม้หลากหลายชนิด เรียกว่า เที่ยวอิ่มหลับสบายกันเลยทีเดียว

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชหลักของสมาชิก โดยเน้น การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน, ส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลิลการเกษตรที่มีมากตามฤดูกาล, ส่งเสริมการออมของสมาชิก, จัดหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนปัจจัยการผลิต ตามแผนการผลิตของสมาชิก และประสานงานเรื่องการตลาด ในการจัดจาหน่ายสินค้า ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 164 คน

นายไพบูลย์ ชูเอียด ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) และเกษตรกรเจ้าของสวนเกษตรไพบูลย์ ผู้นำการจุดประกายทั้งด้านแนวทางการประกอบอาชีพของผู้คนในพื้นที่จากการการทำปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาสู่การทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคตด้วยการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้ย้อนอดีตให้ฟังระหว่างการเยี่ยมชมกิจกรรมการปลูกไม้ผลในพื้นที่สวนไพบูลย์ ว่า

“ด้วยพื้นที่ใน 2 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก ที่ประกอบด้วย ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง และ ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง เป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยตั้งอยู่บนสันเขา สภาพพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 400-600 เมตร จึงทำให้มีความเหมาะสมในการปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด เช่น อินทผาลัม มะยงชิด ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด มะม่วง ลำไย มะขามป้อมยักษ์ มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ เป็นต้น

“ที่สำคัญ ผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่ จะมีผลผลิตอกต่อเนื่องหมุนเวียนเกือบตลอดทั้งปี ที่นี่นอกจากผลไม้จะมีความอร่อยสุดยอดแล้ว สมาชิกในกลุ่มทุกคนยังเน้นการปลูกผลไม้แบบปลอดภัยจากสารเคมี วันนี้ทุกสวนต่างได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วทั้งสิ้น เพราะเป็นนโยบายสำคัญของกลุ่มฯ เลยว่า พวกเราต้องเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) เพื่อผู้บริโภค”

ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) บอกต่อไปว่า ด้วยความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่า ความสวยงามของพื้นที่ที่มีการทำสวนเกษตรลดหลั่งกันไปตามแนวสันเขา สภาพอากาศดีสะอาด หายใจได้เต็มปอด เป็นแหล่งโอโซนชั้นเยี่ยมที่ไม่แพ้ที่ใด สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้คนที่มาเยือน จึงทำให้เกิดแนวคิดที่เห็นชอบร่วมกันในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯแห่งนี้ในการต่อยอดในอาชีพ สร้างสวนผลไม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของทุกคนที่ต้องการมาสัมผัสบรรยากาศความงดงามของจังหวัดพิษณุโลก

ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานบัวสวรรค์ (กลุ่มสันเขา) แห่งนี้มีความพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าการมาเที่ยวเยี่ยมชม มาเลือกซื้อผลไม้ปลอดภัยที่หลากหลาย มาถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก จะมาวันเดี่ยวกลับหรือมาพักผ่อนหลายๆ เรามีทุกอย่างพร้อมรองรับ โดยเฉพาะการพักผ่อนสัมผัสความงดงามยามค่ำคืนด้วยบรรยากาศของที่พักแบบโฮมสเตย์

“ที่สำคัญยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการทำสวนผลไม้ให้ประสบความสำเร็จ หากคิดจะปลูกแล้ว ต้องดูแลอย่างไร ต้องป้องกันกำจัดโรคแมลงแบบปลอดภัยอย่างไร ทุกอย่างเรามีองค์ความรู้ต่างๆให้ทุกคนสามารถมาเรียนรู้ได้ทุกเรื่องทุกความต้องการเลยทีเดียว” ประธานไพบูลย์ กล่าว

เลาะสันเขา..ชมบรรรยากาศ ชิมผลไม้อร่อยกลางสวน
แล้วผลไม้อะไรเด่นและดัง ประธานไพบูลย์ขอยกตัวอย่างแบบไม่พูดมากเจ็บคอ แต่อยากให้มาสัมผัสด้วยตนเอง อาทิ มะยงชิด สภาพอากาศ ดินที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตมะยงชิดออกก่อนพื้นที่อื่นๆประมาณ 1 เดือน อีกทั้งยังมีผิวสวย รสชาติดี ทุเรียนหลงรักไทยเป็นอีกชนิดที่ห้ามพลาด ด้วยเป็นทุเรียนที่โดดเด่น โดยได้มีการนำพันธุ์หลงลับแลมาปลูกเป็นเวลากว่า 20 ปี เมื่อมีผลผลิตออกมาปรากฏว่า เนื้อละเอียดแน่น ไม่เละ สีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน รสชาติไม่แพ้ต้นฉบับ อันเป็นผลมาจากที่ในพื้นที่แห่งนี้มีสภาพอากาศดี เย็น และดินมีความอุสมบูรณ์มีแร่ธาตุอาหารเพียบพร้อบ จึงทำให้ทุเรียนหลงรักไทยอร่อยมาก ส่วนผลไม้อื่นๆ ต้องมาชิมแล้วจะรู้ว่า ดีอย่างไร..งานนี้ต้องบอกว่าอย่าพลาดที่จะมา

ความโดดเด่นอีกประการของการเดินทางมาท่องเที่ยวยังวิสาหกิจชุมชนฯแห่งนี้คือ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในสวนเกษตรของสมาชิกวิสาหกิจชุมทชนแห่งนี้ฯ ด้วยการเดินทางบนถนนสายหลักที่ลัดเลาะผ่านสันเขา สองข้างทางจะเป็นที่ตั้งของสวนสมาชิก และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งประธานไพบูลย์ได้ไล่เรียงแนะนำดังนี้

เริ่มต้นจาก สวนมณีทิพ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ขนุน ส้มโอ ทุรียน ฯลฯ ที่อยู่ 784/3 หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-2803176, สวนศรปัก ดอกหน้าวัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่อยู่ 255 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-9727449, ฟาร์มกวางแดง RED DEER FARM เลี้ยงกวางดาว กวางรูซ่า และกวางแดง พร้อมจำหน่ายเนื้อกวาง และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่ 568/3 หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 095-5322207, ภักดีฟาร์ม เลี้ยงกวาง พร้อมจำหน่ายเนื้อ และผลิตภัณฑ์จากกวาง ที่อยู่หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-8452993

จากนั้นเดินทางไปยังสวนเกษตรไพบูลย์ ศูนย์เรียนรู้การเกษตร ไม้ผลผสมผสาน เช่น มะขามเปรี้ยวยักษ์ มะม่วง มะยงชิด อินทผลัม ฯลฯ ที่อยู่ 3/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-6421461, 087-3109216, สวนโพธิ์ทอง สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น ลำไย ขนุน มะม่วง มะนาว ฯลฯ และจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล ที่อยู่ 284 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 089-0112741, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซำตะเคียน ผลิตภัณฑ์แปรรูปผลผลิตการเกษตร ไม้ผล พืชผัก ที่พัก และอาหาร ที่อยู่ 285/1 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-4744310

ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังมี สวนสมพลการ์เดนท์ สวนผลไม้ผสมผสาน เช่น มังคุด เงาะ ลำไย มะไฟ ฯลฯ ที่อยู่ 304 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 081-1359777, บ่อคาการ์เดนท์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่อยู่ 148 หมู่ที่ 9 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง โทร. 094-6265551, บ้านและสวนพูพูน สวนมะยงชิด ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9737839, สวนหลงรักไทย สวนทุเรียนหลงรักไทย จำหน่ายผลผลิตและกิ่งพันธุ์ ที่อยู่ 10/2 หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 083-3333316, สวนพงษ์แตง สวนลำไย ที่พักและอาหาร ที่อยู่ 437 หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง โทร. 081-9917073

พร้อมกันนี้ยังสามารถไปสัมผัสความงดงามของน้ำตกไผ่สีทอง หมู่ที่ 13 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง และเสริมศิริมงคลให้ชีวิตด้วยการกราบสัการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดไผ่ใหญ่ไพรญาราม หมู่ที่ 10 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง ได้อีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือ อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเกษตรที่ต้องชม ณ ที่แห่งนี้ จังหวัดพิษณุโลก… กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนเกษตรกรจังหวัดยะลาพัฒนาทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เน้นรวมกลุ่มแปลงใหญ่สร้างเครือข่ายเข้มแข็ง พร้อมกำหนดแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบสร้างเสถียรภาพด้านราคาในภาคใต้ตอนล่าง

ว่าที่ร้อยตรี สมสวย ปัญญาสิทธิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยในโอกาสเดินทางไปร่วมให้ข้อมูลและติดตาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการโครงการทุเรียนคุณภาพและการบริหารจัดการทุเรียนคุณภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ณ บริเวณตลาดกลางยางพารา ต.สะเตง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ว่า

กรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล โดยส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการผลิตตามมาตรฐานและยกระดับสู่การรับรอง (GAP) การพัฒนาคุณภาพผลผลิตสู่การส่งออก การรวมกลุ่มทำตลาดล่วงหน้า การยกระดับสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการจัดตั้งสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ วางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกรเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนระดับประเทศ

โดยเชื่อมโยงกลุ่มชาวสวนทุเรียนทั้ง 6 ภูมิภาค www.kodiakcamera.com มาร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางพัฒนาและบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบ ซึ่งในเบื้องต้นได้คัดเลือกจากเกษตรกรแปลงใหญ่ระดับอำเภอใน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ชลบุรี ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี ระนอง กระบี่ สงขลา นราธิวาส สตูล และตาก